ภพ-ภูมิ วิญญาณ-ศาลพระภูมิ เทวดา และ นรกสวรรค์

ในห้อง 'ภพภูมิ-สวรรค์ นรก' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 23 กุมภาพันธ์ 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    <TABLE width=700 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>"ดูกรอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จะมาด้วยความเชื่อว่าพระตถาคตเจ้าประสูติในที่นี้ก็ดี พระตถาคตเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ก็ดี พระตถาคตเจ้าแสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตรในที่นี้ก็ดี พระตถาคตเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในที่นี้ก็ดี ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ คือ สังเวชนียสถาน มีจิตเลื่อมใสแล้ว ถึงแก่กรรมลง คนเหล่านั้นทั้งหมดหลังจากตายไปแล้ว ก็จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์" เป็นความจริง หรือไม่ </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>นี้เป็นความจริง ถ้าในขณะที่ไปกราบไปไหว้สังเวชนียสถาน แม้แต่ไหว้พระพุทธรูป ไหว้พระสงฆ์ อยู่ในบ้านเมืองเรานี้ ถ้าหากไหว้พระด้วยมีจิตศรัทธา มีความเคารพ เลื่อมใส อย่างจริงจัง ตายลงไปในขณะนั้นไปเกิดสวรรค์ <DD>ยกตัวอย่างเช่น มัฏฐกุณฑลี ที่กำลังเจ็บป่วยอย่างหนัก พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรด เพียงแต่แผ่รัศมีไปต้องจักษุ เขาหันมามองเห็นพระพุทธเจ้าเพียงนิดเดียว แล้วก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาขึ้นในจิตว่า โอ้ พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดเรา แล้วก็ดับจิตในขณะนั้น ก็ไปเกิดในสวรรค์ </DD></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600> สัมภเวสี คือ อะไร เป็นภูมิหนึ่งในบรรดา ๓๑ ภูมิ ใช่หรือไม่ </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>สัมภเวสี หมายถึง ผู้แสวงหาที่เกิด สัตว์ทั้งหลายที่ท่องเที่ยวไปมา ไปเข้าฝันคนโน้น เข้าฝันคนนี้ พวกนั้นไปหาที่เกิด เรียกว่า สัมภเวสี ภูมิหนึ่งในบรรดา ๓๑ ภูมิ สัมภเวสีก็เป็นภูมิอันหนึ่ง ในบรรดาหลาย ๆ ภูมิ ซึ่งเรียกว่า ๓๑ ภูมิ อันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับภพ ภูมิ ของวิญญาณที่ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏะ </TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>ควรจะปฏิบัติอย่างไร กับเรื่องศาลพระภูมิ จึงจะชื่อว่า ไม่งมงาย </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>การตั้งศาลพระภูมิ โดยส่วนมาก หมอผู้ที่ตั้งศาลพระภูมิ บางท่านก็สามารถจะมองเห็นว่า เมื่อตั้งศาลพระภูมิขึ้นมาแล้ว ผู้ที่จะมาอยู่ในศาลพระภูมินั้น เป็นผี หรือเป็นเทวดา บางท่านก็รู้จักทำตามตำรับตำรา แต่หารู้ไม่ว่า ผีที่มาอยู่ศาลพระภูมิ เป็นผีเทวดา หรือผีหัวโกร๋น ก็ไม่รู้ การปฏิบัติต่อศาลพระภูมินี้ เราเชื่อว่าศาลพระภูมิ ในเมื่อสิ่งนั้นมาอยู่ สิ่งนั้นเป็นวิญญาณพระภูมิเทวดา หรือพระภูมิเจ้าที่ ๆ หมายถึงเทวดานั่นเอง การปฏิบัติต่อท่านเหล่านั้น ถ้าเราเอาสิ่งของไปเซ่นสรวง ก็จะเป็นอุบายให้ผูกท่านติดอยู่ในศาลพระภูมินั้นแหละ เพราะในเมื่อเราไปปฏิบัติต่อท่าน ท่านก็ติดในความดีของเรา <DD>ถ้าหากเราจะปฏิบัติให้ถูกต้องกันจริง ๆ พวกที่มาอยู่ศาลพระภูมินี้เป็นวิญญาณชั้นต่ำ คอยอาศัยกินบุญจากมนุษย์เราผู้มีชีวิตอยู่ ถ้าเราทำบุญสุนทร์ทานอย่างไรแล้ว กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้พระภูมิ เมื่อพระภูมิได้อนุโมทนาแล้วก็บอกพระภูมิว่า (ท่านจะอนุโมทนาหรือไม่อนุโมทนาก็ไม่รู้ละ) แต่เราทำบุญแล้ว เราอุทิศส่วนบุญให้ท่าน เมื่อท่านได้อนุโมทนาแล้ว ท่านจะพ้นจากความเป็นผีพระภูมิ อาจจะเกิดเป็นเทวดาชั้นสูงขึ้นไปก็ได้ แต่การไหว้นี้คนที่มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก อยู่ภายในจิต ภายในใจนี้ เราจะไหว้ตรงไหนก็ถูกพระของเราทุกหนทุกแห่ง เพราะเรามีคุณพระอยู่ในจิตในใจ การไหว้พระภูมิ เพียงแต่แสดงคารวะ โดยที่เราถือว่ามีอะไรอยู่ที่นี้ เพียงแค่นั้น ไม่ทำให้เสียคุณพระรัตนตรัย เป็นการแสดงความมีน้ำจิตน้ำใจนิดหน่อยเท่านั้น เหมือน ๆ กับเราไหว้เพื่อนฝูง หรือพ่อแม่ ไม่ขาดจากพระไตรสรณคมน์ </DD></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>จิต กับ วิญญาณ มีความแตกต่างกัน ในด้านจิตวิทยา หรือ พุทธศาสตร์อย่างไร </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>จิต หมายถึงสิ่งที่ นึก คิด สิ่งที่ รู้สึก รู้นึก รู้คิด รู้ร้อน รู้เย็น รู้หนาว อันนี้เรียกว่าจิต วิญญาณ นี้ก็อาศัยจิต เพราะมีจิตจึงมีวิญญาณ จิตนี้ดั้งเดิมของมันเป็นตัวรู้ ตัวรู้นี้เรียกว่า มโนธาตุ และตัวมโนธาตุนี้ก็เป็นตัววิญญาณอีกเหมือนกัน ตัวมโนธาตุซึ่งเรียกว่า วิญญาณนี้ เพราะมันเป็นสิ่งที่รู้จักปฏิสนธิ รู้จักเกิด รู้จักตาย เช่นอย่าง เกิดเป็นคน เป็นสัตว์ แล้วมันก็รู้จัก จุติ ตาย ๆ แล้วก็ไปเกิดใหม่ เพราะอาศัยอำนาจของกิเลส <DD>ส่วนวิญญาณนี้ แบ่งออกเป็น ๒ ภาค <DD>ภาคหนึ่งเรียกว่า ปฏิสนธิวิญญาณ คือ วิญญาณรู้จักจุติปฏิสนธิ หมายถึง วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท หรือวิญญาณที่เกี่ยวเนื่องกับจิตที่จะนำไปผุด ไปเกิด <DD>อีกภาควิญญาณหนึ่งนั้น หมายถึง วิญญาณในเบญจขันธ์ วิญญาณในเบญจขันธ์นี้หมายเฉพาะ <DD>ตา กับ รูป กระทบกันเข้า เรียกว่า จักษุวิญญาณ <DD>เสียงกระทบหู เกิดความรู้สึกเข้า เรียกว่า โสตวิญญาณ <DD>กลิ่นกระทบจมูก รู้สึกขึ้นเรียกว่า คันธวิญญาณ <DD>ลิ้นลิ้มรส เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ <DD>กายถูกต้องสัมผัส เรียกว่า กายวิญญาณ <DD>จิตรู้อารมณ์ เรียกว่า มโนวิญญาณ <DD>เพราะฉะนั้น ในทางจิตวิทยา จิตวิทยานี้หมายถึง วิชาการที่ศึกษาให้รู้เรื่องของจิต เป็นวิทยาการอันหนึ่ง ไม่ได้หมายถึงว่า จิตตัว รู้สึก รู้คิด รู้นึก เป็นวิชาการที่จะต้องศึกษาให้รู้เรื่องของจิต จึงเรียกว่า จิตวิทยา <DD>ทางพุทธศาสตร์นั้น ก็หมายถึงตัวจิตที่ รู้นึก รู้คิด และในหลักอภิธรรมที่จำได้ว่า จิตเป็นผู้ก่อ เป็นผู้สะสม สภาวะใดเป็นผู้ก่อ เป็นผู้สะสม คือสะสมความดี ความชั่ว สะสม กุศล อกุศล สะสมวิชาความรู้ สะสมสิ่งต่าง ๆ เอาไว้ในจิต สิ่งนั้นเรียกว่า จิต พระอภิธรรมท่านว่าอย่างนี้ </DD></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>ผีและวิญญาณ มีจริงหรือไม่ ตามประสบการณ์ของพระคุณเจ้า </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>เรื่องวิญญาณหรือผีมี หรือไม่มีนี้ ถ้าใครยังไม่เคยเห็นผี แล้วยังไม่เคยโดนผีหลอก นึกว่าผีไม่มี ก็ชอบแล้ว แต่ถ้าใครเคยเห็นผี แล้วก็โดนผีหลอกมาแล้ว จะยอมรับว่าผีมี ก็เป็นการชอบแล้ว เพราะมีเหตุผล แต่ถ้าหากใครยังไม่เคยเจอรับฟังเอาไว้ สิ่งใดย่อมมีคำพูดกล่าวขวัญถึง มีชื่อเรียก สิ่งนั้นย่อมมีจริง แต่เรายังค้นไม่พบ <DD>เรื่องนี้อาตมาจะนำมาเล่าให้ฟังย่อ ๆ เมื่อปี ๒๕๐๑ มีผู้ศรัทธามอบที่ดินแห่งหนึ่งให้ ที่ดินตรงนั้นเป็นที่ผีสิง และก็อาตมาพาพระเณรไปอยู่ที่นั้น ๔-๕ องค์ พออยู่ได้ ๓ วัน ก็เกิดผีมาตบหน้า ก่อนที่ผีมันจะมาตบหน้าหลังจากที่นั่งสมาธิภาวนาแล้ว ถึงเวลาที่จะจำวัด (นอน) พอมีอาการเคลิ้ม ๆ ลงไป ก็มองเห็นเป็นกลุ่มวิ่งมาจากตะวันตก แล้วก็มาสัมผัสกับใบหน้าเหมือนกับฝ่ามือตบ ทีนี้มานึกว่า เอ๊ะ ฝันหรืออย่างไร ถ้าฝันทำไมเจ็บ ก็เลยเกิดข้อสงสัยขึ้นมา เอ๊า ผีจะตบหรือไม่ตบก็ช่าง วันนี้ต้องมาดูให้รู้เรื่องกัน วันนั้นเลยตัดสินใจไม่จำวัด เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาอยู่ตลอดคืน พอเดินไปได้สักหน่อยหนึ่ง ได้ยินเสียงตก ตูม ลงมา เดินไปดูไม่มีอะไร เป็นอยู่อย่างนั้นจนกระทั่งถึงตี ๓ พอถึงตี ๓ แล้วไปเข้าที่นั่งสมาธิ มองไปข้าหน้ามองเห็นแสงโตเบ้อเร่อ ขนาดตะเกียงเจ้าพายุมี ๒ แสง วิ่งวนไล่กันอยู่ ในที่ตรงนั้นมีพระองค์หนึ่งไปจำวัดอยู่ที่นั้น พออาตมานึกว่าพระองค์นั้นจะตื่นหรือเปล่าหนอจะได้เห็นอะไรพอเป็นขวัญตา พอนึกแค่นั้นแหละ แสง ๒ แสง ผละจากพระองค์นั้นวิ่งมาหาอาตมา อาตมาก็กำหนดจิต เอ๊า ถ้าแน่จริงมาชนอาตมาให้ตายทีเดียว ให้อาตมาสำเร็จพระนิพพาน พอมันเข้ามาระยะห่าง ๕ วา แสงนั้นก็ตกลงกับดิน แล้วก็หายไป <DD>ก็เลยได้เห็นข้อเท็จจริงว่า ผีมันมีจริง ๆ วิญญาณมันมีจริง ๆ ถ้าใครไม่เห็นแล้ว ก็อย่าเพิ่งรับรอง พยายามดูให้มันเห็นเสียก่อน </DD></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>จิตใจ และ วิญญาณ ต่างกันหรือไม่ อยู่ที่ส่วนไหนของร่างกาย </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>จิตใจและวิญญาณ เป็นปัญหาที่ค่อนข้างละเอียด โดยความรู้สึก ถ้าเราตีความหมายรูปศัพท์ จิตกับใจมีมูลรากมาจากธาตุอันเดียวกัน จิต ธาตุเป็นไปในความก่อ ความสะสม แต่ว่าท่านเจ้าพระคุณอุบาลีฯ สิริจันโท (จันทร์) ท่านอธิบายไว้ว่า ใจคือส่วนที่เป็นกลาง จิตเป็นอาการที่ใจส่งกระแสออกไปรับรู้อารมณ์ ในเมื่อสัมผัสอารมณ์แต่ละอย่าง ก็เป็นการสัมผัสจิตแต่ละอย่าง ๆ แต่ตัวใจเป็นกลางอยู่ตลอดเวลา นี้ท่านเจ้าคุณอุบาลี ฯ ท่านอธิบายไว้อย่างนี้ <DD>ทีนี้แหละอยู่ที่ตรงไหนของร่างกาย ท่านทั้งหลายเรียนมาแล้วว่า ที่เกิดของความคิดอยู่ที่สมอง โดยธรรมชาติของจิตแล้ว ถ้าไม่มีส่วนประกอบเขาจะทำอะไรไม่ได้ <DD>วิญญาณนี้ขอตอบเป็นสองนัย ๆ หนึ่ง วิญญาณในขันธ์ ๕ หมายถึงอายตนะภายนอก อายตนะภายใน กระทบกันเข้าแล้วเกิดความรู้สึกขึ้น เรียกว่าวิญญาณตามทวารนั้น ๆ อันนี้เป็นวิญญาณในขันธ์ ๕ อีกอันหนึ่งนั้น ปฏิสนธิวิญญาณ คอ วิญญาณที่รู้จักจุติ และ ปฏิสนธิ หมายถึง วิญญาณ ในปัญหาที่ว่า คนตายแล้วไปเกิดใหม่ หรือไม่ ตัวปฏิสนธิวิญญาณนี้ เป็นวิญญาณดั้งเดิม เมื่อปฏิสนธิวิญญาณนี้มีแต่วิญญาณล้วน ๆ มันจะไม่มีความรู้สึกนึกคิดนึกอะไรทั้งสิ้น และก็ทำอะไรไม่ได้ แต่เมื่อมีส่วนประกอบ คือ ประสาทในส่วนสมองหรือมันสมองเป็นส่วนประกอบแล้ว มันจึงจะมีปฏิกิริยาสร้างความคิดนึกขึ้นมา </DD></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>ตามที่กล่าวว่า จิตหรือวิญญาณเดิมนั้น เป็นประภัสสร ซึ่งหมายว่า จิตวิญญาณก่อนที่จะเข้าปฏิสนธิ คนเมื่อตายแล้ววิญญาณ หรือจิต จะออกจากร่างไปพร้อมกับนำกรรมชั่ว กรรมดี ไปปฏิสนธิในร่างใหม่ แสดงว่าจิต หรือวิญญาณดวงนี้ไม่ประภัสสร เพราะมีกิเลส </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>จิตประภัสสรได้ ในภาษิตที่ว่า จิตเป็นธรรมชาติประภัสสร อันนี้หมายถึงจิตดั้งเดิม คำว่า ประภัสสรในจิตขั้นนี้ เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาด ๆ พร้อมที่จะดูดสิ่งสกปรกคือ สี ย้อมได้ จิตประภัสสร หมายถึง จิตไปนิ่งเฉย ๆ โดยที่ยังไม่มีอายตนะมาเป็นส่วนประกอบ เช่น จิตของคนเรา เมื่อออกจากร่างแล้ว มีแต่จิตดวงเดียว ยังไม่ถือปฏิสนธิ ก็มีแต่จิตล้วน ๆ ที่ไม่มีอวัยวะประกอบ คือ ยังไม่มีร่างกาย มันทำอะไรไม่สำเร็จ มีแต่ล่องลอยอยู่เฉย ๆ <DD>ทีนี้กรรมที่เราได้ทำไว้ในภพนี้ ชาตินี้ ไปหนุนส่งให้จิตดวงที่ไม่มีตัวนั้น ไปเกาะกับสิ่งใด สิ่งหนึ่งขึ้นมา แล้วมันจะมีความรู้สึกนึกคิด ไปตามประสาทของร่างกายที่มันก่อภพก่อชาติขึ้น ในเมื่อมันยังไม่มีตัว มันก็เป็นจิตประภัสสร แต่ไม่ใช่จิตบริสุทธิ์สะอาดเหมือนจิตที่สำเร็จพระนิพพาน </DD></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>พระพุทธองค์กล่าวว่า พระอรหันต์ที่มรณภาพแล้ว จิต หรือ วิญญาณของท่านไปอยู่ที่ใดไม่ทราบ เปรียบเหมือนควันไฟที่ลอยไปในอากาศ ซึ่งไม่ทราบว่าควันไฟ มันไปลอยอยู่ที่ ณ แห่งใด สำหรับผู้ที่มิใช่พระอรหันต์ เมื่อตายไปแล้วพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า จิต หรือ วิญญาณ ผู้นั้นไปอยู่ที่แห่งใด </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>ยากสักหน่อย เพราะผู้ตอบยังไม่ใช่พระอรหันต์ แต่จะขอเอาคำตอบท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ สิริจันโท (จันทร์) มาตอบ ท่านกล่าวว่าพระอรหันต์ซึ่งสำเร็จพระนิพพานแล้ว อยู่เหนือโลก เพราะขั้นแห่งธรรมมีโลกียธรรม มีโลกุตตรธรรม สภาพจิตของท่านผู้ใด ยังข้องอยู่ในโลกีย์ ยังมีกิเลส ตัณหา อุปาทาน ยึดมั่น ถือมั่น ในสิ่งทั้งปวง สภาพจิตของผู้ปล่อยวาง กิเลส ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ได้แล้ว เป็นจิตที่บริสุทธิ์ ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ไม่ถือว่าโลกเป็นของเรา เป็นของเขา แม้จะมีร่างกายอาศัยโลกนี้อยู่แต่สภาพจิตก็เพียงแต่ว่าอาศัยร่างกายอยู่ จนกว่าวิบากกรรมจะสิ้นไป และความสำคัญมั่นหมายที่จะยึดสิ่งใดนั้นไม่มี ความผูกพันนั้นไม่มี ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ จึงว่า จิตพระอรหันต์อยู่เหนือโลก เหนือที่ตรงไหน เหนือตรงไม่มีสมมติบัญญัติว่าเป็นเรา เป็นเขา ของเรา ของเขา อันนี้เป็นคำตอบของท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ แต่ไม่ใช่คำตอบของ หลวงพ่อพุธ นะ </TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>วิญญาณัง อนิจจัง วิญญาณ ไม่เที่ยง เมื่อคนตายไปแล้ว จิต หรือ วิญญาณ ไปหาที่เกิดใหม่ เมื่อจิต วิญญาณ ไม่ตายไปพร้อมกับร่างกายตาย ก็แปลว่าวิญญาณนั้นเที่ยง </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>ที่ว่า วิญญาณัง อนิจจัง นี้ คำว่า วิญญาณมี ๒ อย่าง <DD>อย่างที่หนึ่ง วิญญาณเกิดรู้ขึ้น ในขณะที่อายตนะภายใน กับ อายตนะภายนอกกระทบกันเข้า เช่น ตากระทบกับรูป เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่า จักขุวิญญาณ แล้วก็แต่ละทวาร ๆ มีสิ่งกระทบโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ คือเกิดความรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อันนี้เป็นวิญญาณในขันธ์ห้า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สิ่งทั้งหานี้อาศัยรูปเป็นแดนเกิด มีรูปยังปรากฏอยู่ความรู้สึก มีสัญญา เวทนา สังขาร วิญญาณ คือความรับรู้ทางทวาร ๖ ยังปรากฏอยู่ ทีนี้เมื่อร่างกายอันนี้ตายสาบสูญลงไปแล้ว ทวาร ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็สลายตัวไป <DD>ยังเหลือวิญญาณอีกตัวหนึ่งซึ่งเรียกว่า ปฏิสนธิวิญญาณ ก็หมายถึงเป็นตัวมารับรู้สิ่งที่มากระทบนั่นเอง ลักษณะปฏิสนธิวิญญาณนี้ มีลักษณะสักแต่ว่า รู้จักไปผุด ไปเกิด รู้จักไปปฏิสนธิ รู้จักไปจุติ ยังเป็นวิญญาณังอนิจจังอยู่เหมือนกัน เพราะยังเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติ ซึ่งย่อมเป็นไปตามกฎแห่งกรรม ทำกรรมดีไปดี ทำกรรมชั่วไปชั่ว <DD>อย่างเวลานี้ เราเกิดเป็นมนุษย์ ภพหน้าอาจจะเกิดเป็นเทวดา ต่อไปเกิดเป็นพระอินทร์ ถ้าถึงคราวซวย ก็ไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน อันนี้เรียกว่าวิญญาณังอนิจจัง คือภพที่เกิดมันยังไม่แน่ มีคติยังไม่แน่ เพราะยังมีกิเลสอยู่มากมาย </DD></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>คนที่ตายแล้วกลับมาเกิดใหม่ จริงหรือไม่ วิญญาณออกจากร่างไปสู่ร่างใหม่เหมือนกับถอดเปลี่ยนเสื้อผ้าเก่าสวมชุดใหม่นั้น หรืออย่างไร </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>คนตายไปแล้วถ้าหากยังมีกิเลสเป็นเหตุให้เกิด ก็ต้องกลับมาเกิดอีก แต่จะเกิดมาเป็นอะไร สุดแท้แต่กรรมที่ทำไว้ วิญญาณเป็นของกลาง ถ้าตายไปแล้วิญญาณตัวนี้มันไปยึดอะไร หรือเคยทำบาปทำกรรมอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิตเอาไว้ ถ้าบาปกรรมอันนั้นจะให้ผลก็ไปเกิดเป็นสิ่งนั้น ทีนี้ในเมื่อท่านถามถึงคนที่ตายไปแล้วกลับมาเกิดใหม่ หรือไม่ อันนี้จริง ความตายของคนนี้ มีลักษณะ ๒ อย่าง <DD>ถ้าคนธรรมดาตาย ตายอยู่ในขณะที่จิตกำลังวุ่นวายไม่มีสมาธิ พอตายไปแล้วนี้ วิญญาณออกจากร่าง เขาจะรู้สึกว่ามีตัวติดไปด้วย แล้วเขาจะไม่มีความรู้สึกว่า ร่างกายที่เขาอาศัยอยู่ก่อนนั้นเป็นของเขา แม้ว่าผู้ที่จะเอาศพเขาไปเผา หรือเอาไปฝังก็ตาม เขาไม่รู้เลยว่า เอาอะไรไปฝัง เอาอะไรไปเผาเพราะเขาไม่รู้ว่าเป็นกายเดิมของเขา เขาลืมหมดสิ้น เพราะว่าในความรู้สึกของเขานั้น เขามีกายใหม่ติดตัวอยู่ อันนี้เป็นลักษณะของคนตายธรรมดา (ปุถุชน) <DD>ถ้าหากคนตายในสมาธิ ถ้าสมาธิท่องเที่ยวอยู่ในกามาวจรกุศล พอตายลงไป ความรู้สึกในจิตของเขาก็กลายเป็นว่า เขามีร่างเป็นเทวดา แต่ผู้นั้นจิตอยู่ในฌาน ตายลงไปนี้จะรู้สึกว่ามีดวงจิตอันเดียวเท่านั้น ไม่ปรากฏว่ามีร่างกาย อันนี้จากการที่อาตมาได้ลอง ๆ ตายดู หลายครั้งหลายหน แล้วมันเป็นอย่างนั้น ส่วนที่จะมาเกิดใหม่นี้ไม่ได้หมายความว่าตายจากคนแล้ว มาเกิดเป็นคน วิญญาณเป็นของกลาง ตายจากคนอาจจะกลายเป็นสัตว์ ก็ได้สุดแท้แต่กรรม <DD>ในเมื่อมาพูดถึงกรรมแล้ว ใคร่ที่จะทำความเข้าใจว่า บุญ กับ บาป เป็นสิ่งที่มีค่าเท่ากัน บุญ บาป มีค่าเท่ากันอยู่ที่ตรงไหน อยู่ตรงที่ดวงจิตของสัตว์ให้ติดข้องอยู่ในวัฏสงสาร แต่แตกต่างกันโดยการให้ผล บุญให้ผลเป็นสุข บาปให้ผลเป็นทุกข์ แต่คุณค่าของผู้ที่ทำให้ติดของบุญ และ บาป คือให้ติดข้องอยู่ในวัฏสงสาร มีค่าเท่ากัน เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมเมื่อบรรลุอรหัตตผลแล้ว ต้องสละทิ้งทั้งบุญและบาป ถ้ายังเกาะบุญอยู่ก็ยังข้องอยู่ในวัฏสงสาร เกาะบาปอยู่ก็ยังข้องอยู่ในวัฏสงสาร ยังไม่พ้น ต้องพ้นทั้งบุญและบาป อันนี้หลักฐานในพระไตรปิฎก กรุณาไปค้นดูเอาเอง </DD></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>คำว่า เทวบุตรมาร เป็นอย่างไร มีบางท่านว่า เป็นเทวดาที่คอยแกล้งผู้ที่ทำความดี จริงหรือไม่ </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>ถ้าจะว่าโดยบุคคลาธิษฐานแล้วก็ เทวบุตรมาร ก็หมายถึง เทวดาที่คอยมาหลอกหลอน ในปัจจุบันนี้ เทวบุตรมารมีเยอะ เช่นอย่าง นึกภาวนาไปแล้ว พอจิตจะเข้าที่รวมเป็นสมาธิที่ถูกต้องแล้ว ประเดี๋ยวก็มีพระบ้างละ มีผู้ยิ่งใหญ่บ้างละ มีเจ้าโน้น เจ้านี้บ้างละ เป็นวิญญาณมาบอก การทำอย่างนั้นไม่ถูก ๆ อย่าทำเลย อะไรทำนองนี้ อันนี้แหละ คือ เทวบุตรมาร ทีนี้ถ้าจะว่าโดยที่กิเลสมันมีอยู่ในตัวของเรานี้ เช่น เราตั้งใจว่าจะทำสมาธิภาวนาในวันนี้แหละ พอทำไป ๆ พอจะได้สบาย ก็มีความคิดอันหนึ่งมันเกิดขึ้นมาว่า เฮ้ย หยุดดีกว่า ไม่ต้องทำ อะไรทำนองนี้ หมายถึงความคิดที่คอยกระตุ้นเตือนให้เราหยุดพักการกระทำนั้น ในลักษณะแห่งความขี้เกียจ ท้อแท้ เป็นเรื่องของเทวบุตรมาร </TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600> นรก สวรรค์ มีจริงหรือไม่ ไม่ใช่เกิดจากจิตของมนุษย์ที่เกิดสุข เรียกว่า สวรรค์ เกิดทุกข์ เรียกว่า นรก หรือ </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>นรกนั้น มีจริง ทีนี้นรก สวรรค์ นั้นมีจริง หรือไม่มี ข้อเปรียบเทียบอยู่ที่ว่า ผีมีจริง หรือไม่จริง </TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>นรก สวรรค์ ตามตำราท่านกล่าวว่า นรกมี ๘ ขุม สวรรค์มี ๑ ชั้น แล้วมันอยู่ที่ตรงไหน </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>นรกก็อยู่ที่นี้ สวรรค์ก็อยู่ที่นี้ ในเมื่อผู้ที่ตายแล้วเป็นโอปปาติกะ เมื่อเกิดผุดขึ้นเป็นตน เป็นตัว มีบาปกรรมที่จะต้องตกนรก นรกผุดขึ้นมารองรับในขณะนั้น ส่วนผู้ที่ทำบุญแล้วจะได้ไปสวรรค์ ก็เกิดเป็นโอปปาติกะเทวดา ถ้าจะมีวิมานอยู่ วิมานก็ผุดขึ้นมารองรับ กิ่งไม้กิ่งหนึ่งที่เรามองเห็นด้วยตาว่าเป็นกิ่งไม้ แต่เทวดาไปเกาะอยู่ ในความรู้สึกของเทวดานั้น เหมือนกับเขาได้อยู่วิมานสูงถึง ๑๒ โยชน์ อันนี้เป็น กรรมนิมิต </TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>นรก สวรรค์ เริ่มมีมาแต่เมื่อไร นรก สวรรค์ เริ่มมีพร้อมพระพุทธเจ้าหรือไม่ </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>นรก สวรรค์ มีมาตั้งแต่สิ่งที่มีวิญญาณ เกิดขึ้นในโลก ถ้าหากทางนักวิทยาศาสตร์เข้าใจว่าโลกแผ่นดินนี้ เป็นชิ้นส่วนหนึ่งตกมาจากดวงอาทิตย์ในตอนแรก ๆ ก็มีความร้อนระอุเหมือนไฟ ภายหลังโลกมันเย็นลงเกิดมีสิ่งที่มีชีวิตขึ้นในโลก นรก สวรรค์ เกิดขึ้นพร้อมกับสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นในโลก <DD>ทีนี้ สวรรค์ นรก มีก่อนพระพุทธเจ้าเกิด พระพุทธเจ้าเพียงแต่รู้ว่านรกมี สวรรค์มี ดังที่ว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ สัจจธรรม ของจริงที่มีอยู่ ไม่ใช่ไปสร้างความเป็นจริงขึ้นมาแล้ว ไปสอนให้คนตรัสรู้ </DD></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>ถ้านรกสวรรค์มีก่อนพระพุทธเจ้าแล้ว คนสมัยก่อนไม่ตกนรกหมดหรือเพราะยังไม่รู้ธรรม คำสอน รู้แต่การดำรงชีวิตอยู่เท่านั้น </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>การทำดีในระดับขั้นศีลธรรม ศาสนาคือ คำสอนนั้นแบ่งออกเป็น ๒ ภาค ภาคที่ ๑ ภาคศีลธรรม อีกภาคหนึ่งทำให้คนไปสู่ มรรค ผล นิพพาน ภาคศีลธรรมนี้ การให้ทาน ก็เป็นทางให้ถึงสวรรค์ การปฏิบัติดี เช่น การบำรุงเลี้ยงดูบิดามารดา เคารพต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ตายไปแล้วก็ไปเกิดเป็นพระอินทร์ ผู้ใดอยากเป็นเทวดา ก็ให้มี หิริโอตัปปะ ละอายต่อบาป สะดุ้งกลัวต่อบาป <DD>ผู้ที่ทำดีไปเกิดสวรรค์นี้ เช่นอย่างฝรั่ง เขามาตั้งโรงพยาบาลในเมืองไทยเรา เขาก็มาทำบุญสาธารณประโยชน์ อันนี้เขาก็ทำบุญได้ คนในลัทธิอื่นเขาก็ทำดีได้ไปเกิดในสวรรค์ได้ และเขาทำชั่วในขั้นที่จะไปตกนรกได้ ธรรมะที่ว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริงนี้ ถ้าเป็นการภาวนา ก็อยู่ในขั้นที่จิตเดินภูมิวิปัสสนา สามารถที่จะเดินสภาวธรรมให้รู้แจ้ง เห็นจริง ในลักษณะของพระไตรลักษณ์ คือเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนกระทั่งจิตปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์ อันนี้คือภูมิขั้นของศาสนาของพระพุทธเจ้า แต่ระดับของสมาธิตั้งแต่ฌานขั้นที่ ๔ ถอยลงมาถึงขั้นที่ ๑ เป็นระดับของสมาธิสาธารณะทั่วไปทุกลัทธิ ทุกศาสนาถ้าหากจิตของผู้ภาวนาติดอยู่แค่ฌาน ๔ ขั้นนี้ไม่ไปไหน ติดอยู่ที่ตรงนี้ ก็กลายเป็นเรื่องศาสนาพราหมณ์ไป แต่ถ้าบำเพ็ญฌานให้สะดวกสบายคล่องแคล่วดีแล้ว เอาจิตที่ได้ฌานนั้นฉวยโอกาส เวลาพอที่จะพิจารณาอะไรได้ น้อมไปสู่การพิจารณาสภาวธรรม ให้รู้แจ้ง เห็นจริงตามความเป็นจริง จนสามารถเห็น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตปล่อยวาง แล้วก็พ้นจากกิเลสได้ อันนี้อยู่ขั้นศาสนาพุทธโดยเฉพาะ </DD></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. ตระกูลศักดิ์

    ตระกูลศักดิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +1,371
    โอ้ช่างประเสริฐหนอดีแล้วหนอ เป็นบทความกระทู้ที่สร้างปัญญาให้เกิดแก่เราแม้จะมาจากคำสอนตรงบทใหนก้อตามก้อถือว่าในเนื้อความนั้นก็คือหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั่นเอง เราขอชื่มชมและสรรเสริญท่าน ดั่งบัณฑิตที่ฝึกดีแล้วสมควรยกย่องและคบไว้เป็นสหายมิตร
    สาธุ...สาธุ...สาธุ
     
  3. dearestguardian

    dearestguardian เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +1,418
    เพิ่งไปตอบกระทู้ศาสนาตายแล้วสูญมาเจอ อันนี้ทีหลัง น่าจะเจอก่อนไปตอบ
    ขอบูชาพระไตรรัตน์ยิ่งชีวิต พระธรรมที่พระพุทธตรัสสอนถูกต้องดีแล้วเป็นจริงเสมอไม่วันตายเลยจริงๆ มีทุกอย่างสมบูรณ์และเจนจบจริงๆ

    เอาลิงค์ ไปแปะมาแล้วค้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...