ภาพ "พระโพธิสัตว์ ๑๐ พระองค์" ในพุทธศาสนาวัชรยานแห่งทิเบต...สัญลักษณ์และความหมาย

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ง้วนดิน, 4 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%"><TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    พระโพธิสัตว์วัชรสัตโต
    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    โอม.เบญจา.สัต.โต.ซา.มา.ยา.มา.นู.ปา.ลา.ยา*เบญจา.สัต.โต.เต.โน.ปา.ตี.ธา.ดี.โด.เม.บา.วา* ซุ.โต.คา.โย.เม.บา.วา.*ซุ.โป.คา.โย.เม.บา.วา. อา.นู.รัต.โต.เม.บา.วา.*ซาวา.สิท.ธิ.เมม.ปาร.ยา.จา.*ซาวา.กา.มา.ซุ.จา.เม.*จิต.ตำ.ชรี.ยำ.กู.รู.โฮุม. ฮา.ฮา.ฮา.ฮา.โฮ.*บา.กา.วาน.*ซาวา.ตะ.ถา.คะ.ตา.เบญจา.มา.เม.มุณ.จา.เบนจือ.บา.วา.มา.หา.ซา. มา.ยา.สัต.โต.อา.**
    [​IMG]

    ธิเบตเรียก โด.เจ.เซม.ปา.
    จีนเรียก กิมกังสักตอ

    วัชรสัตโต ท่านเป็นสัญลักษณ์แห่งโพธิจิตทั้งปวงแห่งจักรวาล เป็นโพธิจิตอันมั่นคงแข็งแกร่งประดุจวัชระ สรรพสัตว์เมื่อได้รับการอภิเษกจากท่านโพธิจิตก็บังเกิด ในมหายานนิกายเปิดองค์ท่านก็คือพระสมันตรภัทรโพธิสัตว์ ซึ่งถือว่าท่านเป็นบุตรคนโตของพุทธเจ้าทั้งปวง

    ผู้ศึกษาปฏิบัติธรรม เมื่อตั้งปณิธานในการปฏิบัติ เริ่มด้วยการขอสรณะ ในการปฏิบัติที่ตามมาได้เกิดอุปสรรคต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งเกิดจากกรรมทั้งเก่าและใหม่ กรรมทั้งมวลเกิดจากจิต เมื่อจิตไม่บริสุทธิ์โพธิจิตก็บังเกิดขึ้นไม่ได้ การขอขมากรรมเป็นหนทางย้อนสู่จุดเริ่มต้นเพื่อประกอบและไม่ประกอบกรรม อันเป็นต้นเหตุแห่งจิตบริสุทธิ์ ในพุทธศาสนาทุกนิกายมีวิธีการขอขมากรรมแตกต่างกันมากมาย ซึ่งการขอขมากรรมในบทปฏิบัติขององค์วัชรสัตโตนั้น ถือว่าเป็นการขอขมากรรมขั้นสูงสุดเพื่อเข้าสู่พุทธภูมิ การปฏิบัติด้วยความศรัทธา สำนึกผิดและปณิธานไม่ผิดอีก อกุศลกรรมความไม่บริสุทธิ์ทั้งมวลจะถูกกำจัดออกไปจนหมดสิ้น

    องค์วัชรสัตโตองค์ท่านใสบริสุทธิ์ดังเช่นหินผลึก ใสปรุโปร่งดุจดังสายรุ้ง มีหนึ่งเศียรสองแขน สวมอาภรณ์สัมโภคกายประดับจินดามณี มือขวาถือวัชระอยู่บริเวณหัวใจ ซึ่งวัชระนี้ก็คือปัญญาแห่งพุทธเจ้าห้าพระองค์ มือซ้ายถือกระดิ่ง ซึ่งก็คือปรัชญาปารามิตาหรือศูนยตาสภาวะ ท่านนั่งบนดอกบัวสีขาวในท่าวัชรอาสน์ ท่านเป็นสัญลักษณ์แห่งวัชรธรรมของพุทธเจ้าทั้งปวง วัชระในมือขวาของท่านขจัดอุปสรรคสิบประการ กระดิ่งในมือซ้ายดุจดังเสียงแห่งศูยนตาธรรมปลุกสรรพสัตว์ให้ตื่นจากสภาวะแห่งอวิชชา

    บทปฏิบัติขององค์วัชรสัตโตท่านสำคัญมากในการปฏิบัติพุทธตันตระยาน ด้วยว่าเป็นบทปฏิบัติหนึ่งที่ต้องปฏิบัติก่อนการปฏิบัติใด ๆ ในทุกนิกาย


    ..............................................................................
    ที่มา : http://www.mahayana.in.th
    โดย ริโวเช่ ธรรมสถาน Riwoche dharma center






    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2007
  2. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    <TABLE width=600 border=0><TBODY><TR><TD width="100%"><TABLE style="WIDTH: 704px; HEIGHT: 39px" width=704 border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    พระโพธิสัตว์อมิตายุส
    </TD></TR></TBODY></TABLE>คาถาประจำองค์[​IMG]โอม.อา.มา.รา.นี.จี.เวน.ตา.เย.โซ.ฮา.


    [​IMG]

    ธิเบตเรียก เซ.ลา.นัม.ซุม.
    จีนเรียก เชียงซิ่วฮุก

    อามิตายุสโพธิสัตว์ มีความหมายว่า อายุสุดประมาณ เป็นพระโพธิสัตว์ที่ประทานอายุวัฒนะ ท่านทรงเป็นสัมโภคกายของพระอมิตาภะพุทธเจ้า ภาพอมิตายุสโพธิสัตว์ส่วนใหญ่แล้วจะมีภาพพระโพธิสัตว์อีก ๒ องค์ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ที่ประทานอายุวัฒนะเช่นกันคือ นำเกียวมาโพธิสัตว์และดาราขาวโพธิสัตว์



    ..............................................................................
    ที่มา : http://www.mahayana.in.th

    โดย ริโวเช่ ธรรมสถาน Riwoche dharma center




    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2007
  3. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    <TABLE width=600 border=0><TBODY><TR><TD width="100%"><TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    พระโพธิสัตว์มัญชูศรี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>คาถาประจำองค์ [​IMG]โอม.อา.รา.ปา.จา.นา.ดี


    [​IMG]

    ธิเบตเรียก จัม.บาล.จัง.
    จีนเรียก บุนซูซือลีผู่สัก

    พระองค์ทรงเป็นปัญญาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง

    ภาพพระมัญชูศรีโพธิสัตว์มีหลายลักษณะ ในภาพเป็นปางที่แพร่หลายที่สุด มีหนึ่งเศียรสองกร มือขวาถือกระบี่แห่งปัญญา (กระบี่แห่งปัญญาอันคมกริบตัดขาดอวิชชาทั้งมวล)มือซ้ายอยู่ในท่ามุทราหมุนธรรมจักรถือสายบัวดอกบัวขึ้นไปทางไหล่ซ้าย บนดอกบัวมีพระสูตรปรัชญาปารามิตาสูตร ("พระสูตรหัวใจแห่งปัญญานำพาข้ามฟากฝั่ง" เสริมสร้างปัญญาอันสมบูรณ์พร้อมเพื่อเข้าสู่โลกุตระ) นั่งในท่าวัชรอาสน์ บางลักษณะก็นั่งในท่าครึ่งวัชระห้อยเท้าซ้ายลงมา หรือบ้างก็นั่งมาบนหลังสิงโต(สิงโตเป็นสัญลักษณ์แห่งเจ้าป่าไม่มีความกลัวในอุปสรรคทั้งปวง)บทปฏิบัติในองค์มัญชูศรีโพธิสัตว์ มีหลายบทเปลี่ยนไปตามวรรณะแห่งองค์ท่าน เช่นสีขาว สีดำ สีแดง ในแต่ละบทของการปฏิบัติก็ไม่เหมือนกัน พุทธเกษตรของท่านอยู่ที่ภูเขาอูไท่ มีความเชื่อกันว่ากษัตริย์ และปรมาจารย์ ในธิเบตและจีนที่ทรงความสามารถและธรรมคือองค์อวตารของท่าน ดังเช่น ลองเชนปะ สซองคาปา และสังฆราชแห่งนิกายสักยะทุกองค์

    ความหมายในคาถาหัวใจ
    โอม การของสรณะเพื่อเข้าสู่การปฏิบัติธรรม
    อา การเข้าสู่ศูนยตาสภาวะไม่เกิดไม่ดับ
    รา ความบริสุทธิ์ไปแปดเปื้อนด้วยเหตุแห่งวัฏฏ
    ปา ความเท่าเทียมกัน (สรรพสัตว์เท่าเทียมกันในการบรรลุ)
    จา ในศูนยตาสภาวะไม่จำเป็นต้องมีธรรมและการปฏิบัติ
    นา ในศูนยตาสภาวะปราศจากรูปแบบใดๆ
    ดี อักขระประจำองค์

    การเข้าใจความหมายในคาถาหัวใจขององค์พระมัญชูศรีโพธิสัตว์ขึ้นอยู่กับความรู้ลึกซึ้งในปรัชญาปารามิตาสูตร



    ..............................................................................
    ที่มา :
    http://www.mahayana.in.th
    โดย ริโวเช่ ธรรมสถาน Riwoche dharma center






    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2007
  4. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    <TABLE width=600 border=0><TBODY><TR><TD width="100%"><TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คาถาประจำองค์[​IMG]โอม.มา.นี.เปด.เม.โฮุม.


    [​IMG]


    ธิเบตเรียก เชนเรซิก
    จีนเรียก พระโพธิสัตว์กวนอิม

    พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เป็นที่เคารพนับถือของชาวพุทธทั่วโลก พระองค์ทรงเป็นตัวแทนแห่งพระมหากรุณาของพระพุทธเจ้าทั้งปวง พระองค์ถือกำเนิดขึ้นด้วยพระมหากรุณาแห่งพระอมิตาภะพุทธเจ้า น้ำตาแห่งความสงสารในความหลงผิดของสรรพสัตว์ บังเกิดเป็นองค์พระอวโลกิเตศวรขึ้น เพื่อทำหน้าที่ชักจูงสรรพสัตว์พ้นห้วงทุกข์

    ในภาพพระโพธิสัตว์ทรงพระขรรค์คือพระมัญชูศรีโพธิสัตว์ซึ่งทรงเป็นตัวแทนแห่งพระปัญญาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง และพระโพธิสัตว์อีกองค์ที่หน้าดุ ๆ คือวัชรปาณีโพธิสัตว์ซึ่งเป็นตัวแทนแห่งพลังของพระพุทธเจ้าทั้งปวง พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์โปรดสัตว์ในปางต่าง ๆ มากมาย เพื่อให้เหมาะสมแก่ภารกิจที่จะโปรดในแต่ละครั้ง

    หากรุณาเป็นคุณสมบัติประการหนึ่งที่เป็นตัวบ่งบอกคุณลักษณะของความเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระโพธิสัตว์ และเป็นพื้นฐานสำคัญประการหนึ่งที่ต้องปฏิบัติในการปฏิบัติพุทธตันตระธรรม โดยใช้ชื่อเรียกว่า โพธิจิต หลักการของโพธิจิต คือการตั้งปณิธานในการปฏิบัติเพื่อนำพาสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์หรือช่วยยกระดับของสรรพสัตว์ให้สูงขึ้น การให้สิ่งที่ดีแก่ผู้อื่นแน่นอนผู้รับย่อมได้ผลจากการนั้น แต่ผลที่ผู้ให้ได้รับนั้นยิ่งใหญ่กว่า การเห็นธรรมชาติของอัตตา อนัตตา อารมณ์ ความโลภ ความโกรธ ทุกประการเกิดขึ้นพร้อมกัน โพธิจิตเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าเรายังคงยึดถือในอัตตา ความโลภ ความโกรธ ดังนั้นผลแห่งการตั้งปณิธานในโพธิจิตผู้ให้จึงเป็นผู้ได้รับผลอย่างแท้จริง

    พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาพเป็นปางสี่แขน ซึ่งชาวธิเบตถือว่าท่านเป็นผู้ปกป้องชาวธิเบต ชาวธิเบตมากกว่า ๙๙ เปอร์เช็นที่บูชาท่านและภาวนาคาถาหัวใจของท่านอยู่เป็นประจำ โอมมานีเปดเมโฮุม มีทั่วทุกซอกทุกมุมของธิเบต องค์อวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ท่านพระวรกายสีขาวกระจ่างสดใส สวมมงกุฎพุทธเจ้าห้าพระองค์ ผมดำมวยเป็นจุก สองมือพนมถือจินดามณี มือขวาถือประคำหินผลึก มือซ้ายถือดอกบัวแปดกลีบ ใบหน้ายิ้มน้อย ๆ ฉายแววแห่งพระเมตตา เชื่อกันว่าสายตาของท่านมองสู่ผู้ใด ผู้นั้นได้รับพลังในการบำบัดทุกข์ ไหล่ซ้ายมีหนังกวางพาดอยู่ สวมอาภรณ์สัมโภคกายห้าสี นุ่งผ้าไหมสีแดง สวมเครื่องประดับกายหลากหลาย โดยเฉพาะสวมสร้อยสามเส้น เส้นแรกสั้นอยู่บริเวณคอ เส้นที่สองอยู่บริเวณอก เส้นที่สามยาวถึงสะดือ นั่งในท่าวัชรอาสน์บนแท่นบัวรัศมีจันทร์ ประกายแสงห้าสีเปล่งออกจากพระวรกาย

    ความหมายแห่งองค์ท่าน เศียรเดียวคือความรู้แจ้งแทงตลอดในพุทธธรรม สี่แขนหมายถึงพรหมวิหารสี่ กายขาวคือจิตเดิมทรงความบริสุทธิ์ปราศจากมลทินทั้งมวล ไม่ตกอยู่ในภาวะสงสัยลังเลสับสน มงกุฎคือปัญญาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งห้า ผมดำคือความบริสุทธิ์แห่งสภาวะปัจจุบัน อาภรณ์ห้าสีเปรียบดังพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ สีแดงของผ้านุ่งคือสัญลักษณ์แห่งตระกูลปัทม ตุ้มหูเปรียบดังการคอยฟังเสียงร้องขอความช่วยเหลือจากสรรพสัตว์ทั้งหกภูมิ สร้อยคอสั้นคือการปฏิบัติได้มาซึ่งฌานองค์อักโษภยพุทธเจ้า สร้อยขนาดกลางคือการปฏิบัติได้มาซึ่งทานบารมีแห่งองค์พระรัตนสัมภวพุทธเจ้า สร้อยเส้นยาวคือการปฏิบัติได้มาซึ่งขันติบารมีแห่งองค์อโมฆสิทธิพุทธเจ้า ท่านั่งคือการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ท่าพนมมือคือปัญญาและพลังแห่งหนทาง ลูกประคำเปรียบดังการหลุดพ้นของสรรพสัตว์หนึ่งลูกต่อหนึ่งชีวิตที่พ้นทุกข์


    ความหมายในคาถาหัวใจ

    โอม สีขาว คือองค์ปัญญาของท่าน ฌานบารมีของท่านได้ขจัดความเฉื่อยชา หลงในความสุขสบายของอัตตา ไม่ต้องเข้าสู่ภูมิเทวดา ดุจดังพระรัตนสัมภวะพุทธเจ้าทางทิศใต้

    มา สีเขียว คือเมตตาจิตของท่าน ขันติบารมีของท่านได้ขจัดความริษยา การแสวงหาชัยชนะด้วยเล่ห์กลต่างๆ ไม่ต้องเข้าสู่ภูมิอสูร ดุจดังพระอโมฆสิทธิพุทธเจ้าทางทิศเหนือ

    นี สีเหลือง คือกาย วาจา ใจ การกระทำ และบุญบารมีของท่าน ศีลบารมีของท่านได้ขจัดความยึดติดในตน ความปารถนาไม่สิ้นสุด ไม่ต้องเข้าสู่ภูมิมนุษย์ ดุจดังพระวัชรปาณิโพธิสัตว์

    เปด สีฟ้า คือเสมอภาพ ปัญญาบารมีของท่านได้ขจัดความโง่เขลา ชาด้าน เก็บกด ไม่ต้องเข้าสู่ภูมิเดรัจฉาน ดุจดังพระไวโรจนพุทธเจ้าอยู่ตรงศูนย์กลาง

    เม สีแดง คือความอิสระ ความมั่งคั่ง ทานบารมีของท่านได้ขจัดความโลภ ความหิวกระหาย ไม่ต้องเข้าสู่ภูมิเปรต ดุจดังพระอมิตภพุทธเจ้าทางทิศตะวันตก

    โฮุม สีดำ คือมหาเมตตากรุณา วิริยะบารมีของท่านได้ขจัดความโกรธแค้น การต้องการทำลาย ไม่ต้องเข้าสู่นรกภูมิ ดุจดังพระอักโษภยพุทธเจ้าทางทิศตะวันออก
    อานิสงส์ในการปฏิบัติธรรมในองค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ดุจดังแก้วสารพัดนึก



    ..............................................................................
    ที่มา : http://www.mahayana.in.th
    โดย ริโวเช่ ธรรมสถาน Riwoche dharma center








    </TD></TR></TBODY></TABLE>



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2007
  5. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    <TABLE width=600 border=0><TBODY><TR><TD width="100%"><TABLE style="WIDTH: 670px; HEIGHT: 39px" width=670 border=1><TBODY><TR><TD width="100%" bgColor=#ffffff>
    พระโพธิสัตว์วัชรปาณิ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คาถาประจำองค์ [​IMG] โอม.เบญจา.เจน.ดา.มาหา.โร.ชา.นา.โฮุม.เพด.



    [​IMG]

    ธิเบตเรียก ชัค.นา.โด.เจ
    จีนเรียก กิมกังชิ้วผ่อสัก

    วัชรปาณิโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์แห่งพลังอำนาจ เป็นสัญลักษณ์ของพลังความโกรธเกรี้ยวและความและความสุขสงบ ในพุทธศาสนาวัชรยาน องค์วัชรปาณิทรงศักดิ์สูงมาก ท่านเป็นผู้รักษากฎของพระพุทธไวโรจนพุทธมีเรื่องเล่าว่า พระนาครชุนได้เข้าสู่เจดีย์เหล็กของวัชรปาณิโพธิสัตว์ในเมืองนาครนครได้นำคัมภีร์ของวัชรปาณิโพธิสัตว์ (หนึ่งในคัมภีร์นั้นคือ มหาปรัชญาปารามิตา)และได้รับปัญญาทั้งมวลขององค์วัชรปาณิโพธิสัตว์มาด้วย วัชรปาณิโพธิสัตว์อยู่ในตระกูลวัชระ ซึ่งท่านก็คือองค์อวตารปางปราบมารของพระโพธิสัตว์มหาสถามปราบโพธิสัตว์(ไต้ซี่จี่ผู่สัก) โดยพื้นฐานการปฏิบัติวัชรยานแล้วต้องปฏิบัติในบทของท่านก่อน ด้วยว่าท่านสามารถช่วยเหลือผู้ปฏิบัติในการขจัดอุปสรรคหรือมารผู้ขัดขวาง ก่อกวนให้สิ้นไป

    วัชรปาณิโพธิสัตว์มีหลายปาง เช่น หนึ่งหน้าสองแขน หนึ่งหน้าสี่แขน สามหน้าสี่แขน สามหน้าหกแขน หรือในปางยับยัม

    ในภาพเป็นปางหนึ่งหน้าสองแขนสามตา วรกายสีน้ำเงินเข้ม สวมมงกุฎกระโหลกห้าหัว ผมชี้ชึ้นสีแดง คิ้วดังเปลวเพลิง มีเขี้ยวทั้งบนและล่าง ลิ้นม้วน ดวงตากลมโต ท่าทางดุร้าย เป็นการแสดงบารมีเพื่อข่มโลกทั้งสาม มือขวาถือวัชรอยู่ในท่าที่ทรงพลังที่สุดในท่าสยบมาร มือซ้ายถือเชือกขอ ประดับกายด้วยกระดูกและงู นุ่งหนังเสือและผ้าตวนสีฟ้า ขาขวางอ ขาซ้ายเหยียด ยืนอยู่บนแท่นบัวพระอาทิตย์ ล้อมรอบด้วยเปลวเพลิงแห่งปัญญา ท่านทรงพลังแห่งการปกป้องพุทธธรรมมีพลังสูงสุด

    ในธิเบตภูมิประเทศค่อนข้างแห้งแล้ง ในช่วงที่เกิดภัยแล้งชาวธิเบตจะทำพิธีบูชาท่านเพื่อขอฝน มีตำนานเล่าว่าท่านมีหน้าที่ในการปกป้องภัยแก่นาคให้น้ำ ด้วยว่ามีนกสีทองคอยก่อกวนการทำหน้าที่ให้น้ำของนาค เมื่อนาคถูกก่อกวนก็จะหนีไปทำให้เกิดความแห้งแล้ง ในบางครั้งท่านก็ได้แปลงร่างเป็นนกสีทองเข้าโจมตีนกสีทองตัวจริงให้หนีไป (ในภาพบางภาพจะมีรูปนกอยู่ด้วย) ดังนั้น วัชรปาณิโพธิสัตว์จึงเป็นผู้ที่ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล

    คำว่า ปาณิ ในภาษาสันสฤตแปลว่าน้ำ วัชรปาณิโพธิสัตว์ท่านอยู่ทางทิศเหนือ เป็นหัวหน้าผู้ควบคุมเทพธรรมบาลทั้งปวง เทพสมบัติทุกองค์ อสูร ยักษ์ เจ้ามังกร หน้าที่หลักของท่านก็คือช่วยเหลือพระอมิตาภะพุทธเจ้านำพาสรรพสัตว์เข้าสู่พุทธภูมิ

    อานิสงส์ในการปฏิบัติธรรมในองค์วัชรปาณิโพธิสัตว์ เกิดบุญบารมีสุดประมาณ ได้รับการปกป้องภัยพิบัติซึ่งเกิดจากดิน น้ำ ลม ไฟ สมปรารถนาในสิ่งที่ต้องการ

    ภาพวัชรปาณิโพธิสัตว์ส่วนใหญ่จะมีภาพโพธิสัตว์อีกสององค์อยู่ด้วย คือ มัญชูศรีโพธิสัตว์ ซึ่งก็คือพระปัญญาของพุทธเจ้า ภาพพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ซึ่งก็คือพระเมตตาของพระพุทธเจ้า และวัชรปาณิโพธิสัตว์ ซึ่งก็คือพลังอำนาจของพระพุทธเจ้าทั้งปวง



    ..............................................................................
    ที่มา : http://www.mahayana.in.th
    โดย ริโวเช่ ธรรมสถาน Riwoche dharma center







    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2007
  6. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    <TABLE width=600 border=0><TBODY><TR><TD width="100%"><TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    พระโพธิสัตว์ดาราขาว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    คาถาประจำองค์

    [​IMG]
    โอม.ตา.รา.ตู.ตา.เร.ตู.เร.เบญจา.อา.ยุ.เค.โซ.ฮา.
    [​IMG]

    ธิเบตเรียก ดอล.มา.คาร.โม.
    จีนเรียก แปะโต๋วบ้อ

    พระโพธิสัตว์ดาราขาว ถือกำเนิดพร้อมกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ด้วยความเศร้าที่พระอมิตาภะพุทธเจ้าทรงเห็นสรรพสัตว์ลุ่มหลงอยู่แต่ในห้วงทุกข์ น้ำตาที่ไหลออกมาข้างขวาเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ข้างซ้ายเป็นดาราขาวโพธิสัตว์ เมื่อโพธิสัตว์ทั้ง ๒ องค์บรรลุธรรมแล้วได้เป็นกำลังสำคัญในการโปรดสรรพสัตว์ พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในพระโพธิสัตว์ผู้ประทานอายุวัฒนะ

    พระแม่ดาราขาวมีดวงตาเจ็ดดวง ฝ่ามือสองดวง ฝ่าเท้าสองดวง กลางหน้าผากหนึ่งดวง ดวงตาปกติสองดวง พระแม่ดาราขาวได้ชื่อเรียกอีกชื่อว่า พระแม่เจ็ดตา

    อานิสงส์ในการปฏิบัติธรรมในองค์พระแม่ดาราขาว คือ ความมีอายุวัฒนะ สุขภาพที่ดี หายป่วยจากโรคภัย



    ..............................................................................
    ที่มา : http://www.mahayana.in.th
    โดย ริโวเช่ ธรรมสถาน Riwoche dharma center







    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2007
  7. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    <TABLE width=600 border=0><TBODY><TR><TD width="100%"><TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    พระโพธิสัตว์ดาราเขียว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>คาถาประจำองค์[​IMG]โอม.ตา.เร.ตู.ตา.เร.ตู.เร.โซ.ฮา.
    [​IMG]

    ธิเบตเรียก ดอล.มา.ชาง.คู.
    จีนเรียก เสี่ยกิ๊วโต๋วบ้อ หรือ เลกโต๋วบ้อ ดอล มา ชาง คู

    ชื่อเดิมคือ ดารากวนอิมโพธิสัตว์

    ดารา ภาษาสันสกฤตคือพระแม่ผู้เมตตา ท่านเป็นปางอวตารปางหนึ่งของพระโพธิสัตว์กวนอิม และท่านก็คือองค์ที่ชาวจีนเรียกว่า น่ำไฮ้กวนอิม

    องค์กวนอิมโพธิสัตว์ท่านมีความผูกพันกันสรรพสัตว์ในวัฏฏสงสารมาก สรรพสัตว์ที่ตกอยู่ในทุกข์มีมากมายมหาศาล แต่ผู้ที่สามารถโปรดสัตว์ได้มีเพียงนิดเดียว ประดุจน้ำหนึ่งหยดกับมหาสมุทร ด้วยพระเมตตาท่านจึงได้แบ่งภาคเพิ่มขึ้นเป็นกวนอิมพันมือ เพื่อช่วยงานโปรดสัตว์ได้มากขึ้น แต่ก็ยังไม่พอ งานมากเกินกว่าจะทำได้ ท่านจึงได้แบ่งภาคเพิ่มขึ้นอีก เป็นองค์พระแม่ดาราเขียว หรือเสี่ยกิ๊วโต๋วบ้อ ซึ่งเป็นองค์หลักของพระแม่ดาราทั้งยี่สิบเอ็ดองค์ (องค์ดาราเขียวที่เป็นหนึ่งในยี่สิบเอ็ด ไม่ใช่องค์หลักนี้ แต่เป็นการแบ่งภาคร่างขององค์หลัก)

    คนส่วนใหญ่รู้จักแต่กวนอิมโพธิสัตว์ ไม่รู้จักพระแม่ดารา ซึ่งที่ถูกต้องแท้จริงแล้ว ภาพกวนอิมโพธิสัตว์ในรูปผู้หญิงเกือบทั้งหมดนั้น เป็นภาพของพระแม่ดาราซึ่งเกิดมาจากองค์หลักคือ กวนอิมโพธิสัตว์นั่นเอง

    ในอินเดียโบราณมีบทปฏิบัติในองค์พระแม่ดารามากมาย เป็นไปตามภาคร่างที่ปรากฏ บางตำนานได้กล่าวไว้ว่าหลังจากพระแม่ดาราได้เกิดขึ้นแล้ว ได้ไปตั้งปณิธานต่อหน้าพระอโมฆสิทธิพุทธเจ้า ว่าจะโปรดสัตว์ทั่วจักรวาลให้พ้นจากทะเลทุกข์ และนี่เองเป็นที่มาของชื่อพระแม่ดาราเขียว

    อานิสงส์ในการปฏิบัติธรรมในองค์พระแม่ดารา ขจัดอกุศลกรรม หมู่มารหลีกหนี ขอบุตรชายหญิงได้สมใจ ขอทรัพย์ได้ทรัพย์ ขออายุได้อายุ ขอสุขภาพได้สุขภาพ สุดท้ายช่วยคุ้มครองปกป้องผู้ต้องการเข้าสู่พุทธภูมิให้ได้เข้าสู่พุทธภูมิ



    ..............................................................................
    ที่มา :
    http://www.mahayana.in.th
    โดย ริโวเช่ ธรรมสถาน Riwoche dharma center





    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2007
  8. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    <TABLE width=600 border=0><TBODY><TR><TD width="100%"><TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    พระโพธิสัตว์ปารามิตตา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    คาถาประจำองค์

    [​IMG]
    ตา.ยา.ถา.โอม.คะ.เต.คะ.เต.ปา.รา.คะ.เต.ปา.รา.สัง.คะ.เต.โบ.ธิ.โซ.ฮา.
    [​IMG]

    ธิเบตเรียก เศส.เรบ.กยี.ภา.โรล.ตู.ชิน.มา.
    จีนเรียก ปอ แย ปอ ลอ มิก ตอ

    พระองค์ทรงเป็นบุคคลาธิษฐานแห่งการข้ามสู่ฝั่งโลกุตระ

    พระอวโลกิเตศวร ได้ทรงสอนคำสอนปรัชญาปารามิตาไว้แด่หมู่พระโพธิสัตว์สัมโภคกาย และได้ตกทอดคำสอนนี้แก่มนุษย์โดยผ่านทางคุรุนาครชุน พระสูตรปรัชญาปารามิตา เป็นพระสูตรสำคัญในพุทธศาสนามหายานและวัชรยาน "คำสอนประกายแห่งปัญญานำพาข้ามฟากฝั่ง"

    ในพุทธตันตระยาน การบรรลุเกิดจากการแปรเปลี่ยน โลภ โกรธ หลง ซึ่งเป็นพลังหนึ่งในตัว ให้เป็นพลังในการสู่โพธิญาน ทุกสรรพสิ่งที่บังเกิดสัมผัสรับรู้ได้ในมณฑลแห่งการปฏิบัติ ทุกภาพทุกประสบการณ์ในชีวิตบังเกิดเป็นนิมิต ทุกกระแสเสียงคือการภาวนามนตราของพระพุทธองค์ ของพระโพธิสัตว์ ทุกความคิดคือกระแสจิตแห่งมณฑล อันดำรงตนอยู่ในศูนยตาสภาวะอันไร้ขอบเขต ผู้ปฏิบัติมิได้เห็นการเริงระบำของหมู่ทวยเทพด้วยตา หรือได้ยินมนตราดังกึกก้องรอบบริเวณ ด้วยหู รับรู้ถึงแสงสีวิจิตรพิสดารในดวงจิต หากการได้เห็นได้ยินเสียงหรือได้รับรู้ในสิ่งต่างที่บังเกิดขึ้นและยึดติดกับมัน ก็จะทำให้อัตตาความยึดมั่นถือมั่นแข็งแกร่งมากขึ้น ในประสบการณ์อันสูงสุดในมณฑล ทุกภาพ ทุกเสียง ทุกสีสันเป็นเพียงอุปมาอุปไมย ดังเช่นหากคุณประสบกับโทสจริตอันเด่นชัด คุณย่อมถ่ายทอดมันเป็นรูปของเปลวเพลิงอันโชติช่วง โลภจริตในรูปของเครื่องถนิมพิมพาภรณ์ อัตตาตัวตนในรูปซากมนุษย์ใต้พระบาทองค์ยิดัม ตั้งแต่โบราณกาลผู้ฝึกฝนพุทธตันตระได้สร้างงานจิตรกรรมในรูปแบบต่างๆ ในรูปบุคคลาธิษฐาน ในรูปสัญลักษณ์แห่งมโนอันกระจ่างชัด ในรูปลัญลักษณ์แห่งพลังจักรวาล ฯลฯ ไว้มากมาย สำหรับผู้ฝึกฝนพุทธตันตระ การเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งถึงพลังแห่งจักรวาลในรูปของสัญลักษณ์ ลวดลาย สีสัน และทรวดทรงจึงไม่ใช่เรื่องของจิตนาการหรือปรุงแต่ง หากแต่เป็นธรรมชาติอันจริงแท้ เปรียบดังบทเพลงอันแสนไพเราะได้สร้างความเคลิบเคลิ้ม และรู้สึกได้ถึงอารมณ์อันสุนทรีจนสามารถบรรยายเป็นรูปลักษณ์และสร้างสรรค์เป็นประติมากรรมขึ้นจากบทเพลงนั้น กระแสเสียงได้กลายสภาพเป็นสิ่งที่มีรูปร่าง สีสีสัน มีลวดลาย บุคคลาธิษฐาน รูปสัญลักษณ์ สีสันลวดลายทั้งหลายที่บังเกิดขึ้น นั่นคือ "มหามุทรา" ซึ่งหมายถึงสัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่ โลกทั้งโลกคือสัญลักษณ์ สัญลักษณ์ในมหามุทราเป็นสัญลักษณ์ในปรมัตถ์สัจจ์ ไม่ใช่ในแง่ของสมมุติสัจจ์ ดังนั้น มหามุทราจึงเป็นสุดยอดแห่งสัญลักษณ์อันอันคมชัด กระจ่างใสของสรรพสิ่งที่มีอยู่จริง

    องค์ปารามิตาถือว่าท่านเป็นสัญลักษณ์หนึ่งเดียวอันเกิดจากพระสูตร ซึ่งก็คือพระสูตรปรัชญาปารามิตา อันเป็นพระปัญญาสู่นิพพานของพระพุทธเจ้าทั้งปวง ท่านถือเป็นมารดาของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ด้วยว่าพุทธเจ้าทุกพระองค์อาศัยพระสูตรปรัชญาปารามิตาเข้าสู่ความเป็นพุทธะ

    องค์ปารามิตาโพธิสัตว์ท่านกายสีเหลืองทอง หนึ่งเศียร สี่แขน มือขวาถือวัชระสีทองเก้าแฉก มือซ้ายถือพระสูตรปรัชญาปารามิตาสีทอง สองแขนด้านหน้าอยู่ในท่าสมาธิ นั่งในท่าวัชรอาสน์ สวมอาภรณ์สัมโภคกาย คาถาหัวใจของพระสูตรปรัชญาปารามิตาก็คือคาถาหัวใจขององค์ท่าน ซึ่งก็มีความหมายว่า"มหาสติ เกิดปัญญา นำพาข้ามวัฏฏสู่ฝั่งพุทธภูมิ"

    อ้างอิงหนังสือTHE MYTH OF FREEDOM AND THE WAY OF MEDITATION เชอเกียม ตรุงปะเขียน



    ..............................................................................
    ที่มา : http://www.mahayana.in.th
    โดย ริโวเช่ ธรรมสถาน Riwoche dharma center





    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2007
  9. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    <TABLE width=600 border=0><TBODY><TR><TD width="100%"><TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    พระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คาถาประจำองค์[​IMG]โอม.บุด.ดา.ไม.ตรี.มิน.โซ.ฮา.

    [​IMG]

    ธิเบตเรียก จัม.ปา.โกน.โป
    จีนเรียก มีเล็กฮุก

    ด้วยพุทธทำนายที่ว่าพุทธศาสนาในยุคปัจจุบัน คือยุคพระศากยมุนีพุทธเจ้า มีอายุ ๕,๐๐๐ ปี เมื่อถึงปลายยุคสรรพสัตว์ตกอยู่ในห้วงทุกข์มหาศาล ด้วยว่าได้หลงระเริงในวัฏฏะสงสาร พระธรรมคำสั่งสอนถูกลืมเลือนไปจนหมดสิ้น เมื่อเวลานั้นมาถึง พระศรีอริยเมตไตย ซึ่งขณะนี้ประทับอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดุสิต ก็จะลงมาบังเกิด เพื่อกระตุ้นเตือนสรรพสัตว์อย่าได้ละเลยในการปฏิบัติธรรมดังเช่นพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว

    ภาพพุทธลักษณะมีทั้งในปางพุทธเจ้าและในปางพระโพธิสัตว์ ในภาพนี้เป็นปางพระโพธิสัตว์พระวรกายสีทอง บนเศียรมีเจดีย์ มืออยู่ในท่ามุทราหมุนธรรมจักร นั่งบนสิงหอาสน์ พระบาทห้อย ใต้พระบาทมีแท่นบัวรัศมีจันทร์ มีดอกไม้อยู่ด้านหลัง ดอกขวามีธรรมจักร บนดอกซ้ายมีกาน้ำอมฤต

    ในวัดในประเทศธิเบตและจีนที่มีการสร้างพระประธานเป็นพระพุทธรูปสามองค์ ด้วยหมายถึงพระพุทธเจ้าแห่งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งองค์ทางขวามือคือองค์อมิตาภะพุทธเจ้า มีดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ คือพระพุทธเจ้าในอดีต องค์กลางก็คือองค์ศากยมุนีพุทธเจ้า มีบาตรเป็นสัญลักษณ์ คือพระพุทธเจ้าในปัจจุบัน และองค์ทางซ้ายมือองค์พระศรีอริยะเมตไตย มีเจดีย์เป็นสัญลักษณ์ คือพระพุทธเจ้าในอนาคต



    ..............................................................................
    ที่มา :
    http://www.mahayana.in.th
    โดย ริโวเช่ ธรรมสถาน Riwoche dharma center





    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2007
  10. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    <TABLE width=600 border=0><TBODY><TR><TD width="100%"><TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    พระโพธิสัตว์นำเกียวมา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คาถาประจำองค์

    [​IMG]
    โอม.โบม.โซ.ฮา. โอม.อา.มาริต.ตา.อา.ยุด.เด.โซ.ฮา.
    [​IMG]

    ซุดตอนำเกียวมา พระโพธิสัตว์ผู้ประทานอายุวัฒนะ ท่านเป็นหนึ่งในสาม พระโพธิสัตว์ผู้ประทานอายุ อันได้แก่ นำเกียวมาโพธิสัตว์ อมิตายุสโพธิสัตว์ และโพธิสัตว์ดาราขาว

    องค์นำเกียวมาโพธิสัตว์ มีสามหน้าแปดแขน แต่ละหน้ามีสามตา หน้ากลางขาวสงบ หน้าขวาเหลืองทองยิ้มนิด ๆ หน้าซ้ายสีฟ้ามีเขี้ยว ดุ วรกายอ่อนช้อยขาวบริสุทธิ์ ข้างขวามือหนึ่งถือวัชรกากบาท มือที่สองถือดอกบัวมีองค์อมิตภะพุทธเจ้านั่งอยู่ มือที่สามถือลูกศร มือที่สี่อยู่ในท่าประทานพร ข้างซ้ายมือที่หนึ่งอยู่ในท่าหมัดวัชรและมีเชือกอยู่ในมือ มือที่สองอยู่ในท่าไม่กลัว มือที่สามถือคันศร มือที่สี่อยู่ท่าสมาธิมีขวดน้ำอมฤตอยู่บนมือ สวมอาภรณ์สัมโภคกาย ท่านั่งวัชรอาสน์บนดอกบัวจันทร์

    การปฏิบัติในองค์นำเกียวมา องค์ท่านอยู่ตรงกลาง ขนาบข้างด้วยพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ถือดอกบัวขาว และวัชรปาณิโพธิสัตว์ปางสงบ องค์ยิดัมอยู่คุ้มครองทั้งสี่ทิศ องค์ยิดัมทุกองค์มือข้างหนึ่งถืออาวุธ อีกข้างอยู่ในท่าหมัดวัชร วรกายสีฟ้าทั้งสี่องค์ ผมแดง นุ่งหนังเสือ ประดับด้วยงู อยู่ในท่าปราบมารล้อมรอบด้วยเปลวเพลิง

    องค์นำเกียวมา หน้าสีขาวเปรียบดังการหยุดภัยอันตรายทั้งปวง หน้าสีเหลืองเปรียบดังการบังเกิดสรรพสิ่งที่ดีงาม หน้าสีฟ้าเปรียบดังการปราบมาร แขนทั้งหกเปรียบดังบารมีหก แขนข้างที่มีพระอมิตภพุทธเจ้า เปรียบดังการเทิดทูนครูบาอาจารย์ ศรเปรียบดังการขจัดความคิดที่ไม่ดี คันศรเปรียบดังการชนะทั้งสามโลก ขวดน้ำอมฤตให้อายุยืนปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ



    ..............................................................................
    ที่มา :
    http://www.mahayana.in.th
    โดย ริโวเช่ ธรรมสถาน Riwoche dharma center





    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2007
  11. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,998
    ค่าพลัง:
    +5,064
    ตราบเมื่อจิตบริสุทธิ์แล้ว จึงเกิด "โพธิจิต"
    การเดินทางของพุทธภูมิคือการทำจิตให้บริสุทธิ์
    เมื่อนั้น เขาจะรู้ตัวเองว่าเขามี "โพธิจิต"
    โดยไม่มีใครมาบอก เขาจะสงสัยตัวเอง
    และค้นหา จนค้นพบว่า "เขาคือใคร"


    โพธิจิตไม่มีทางเกิดได้ หากใจไม่บริสุทธิ์
     
  12. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    วัชรยาน....พุทธตันตระ (๑)

    ลัทธิตันตระ


    เดิมเป็นของฮินดู ซึ่งเชื่อว่าเทพเจ้าต้องมีศักติหรือชายา เพื่อเสริมอำนาจบารมี เช่น พระศิวะต้องมีศักติชื่อ อุมา หรือกาลี เป็นต้น ศาสนิกนี้ชอบปิดบังคำสอนจึงไม่รู้ว่าเกิดในยุคใด แต่มาแพร่หลายหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑ โดยซึมซาบเอาความเชื่อดั้งเดิมในจารีตวรรณกรรม และผสมปรัชญาพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาแบบตันตระถือเป็นวิวัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ในอินเดีย


    การพัฒนาการ ๓ ระดับ
    ของพุทธแบบตันตระในอินเดีย

    ระยะที่ ๑ มันตรยาน

    เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๐ จากนั้นก็พัฒนาการนำสิ่งใหม่เข้ามาสู่พุทธศาสนามีพิธีกรรมทางไสยศาสตร์เพื่อการบรรลุธรรม โดยนำเอา มันตระ มุทรา มัณฑละ และเทพเจ้าเข้ามาในพุทธศาสนาอย่างไม่เป็นระบบ เช่น การท่องบ่นมนต์ หรือ ธารณีแตกต่างกัน บูชาเทพเจ้า หรือพระโพธิสัตว์องค์ใดก็ได้ แล้วทำเครื่องหมาย มุทรา หรือนิ้วมือให้ถูกต้องก็จะศักดิ์สิทธิ์หรือสำเร็จผลได้

    ระยะที่ ๒ วัชรยาน

    พระพุทธศาสนานิกายนี้ได้พัฒนาคำสอนเป็นระบบตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ โดยผสมผสานกับคำสอนเดิมทุกสายกับหลักของพระเจ้า ๕ พระองค์ มีอาทิพุทธเจ้า เป็นต้น หลักการปฏิบัติเด่นชัด คือ สหัชญาณ เหมือนกับพุทธนิกายเซ็นในจีน คือเน้นการปฏิบัติ รู้แจ้งภายใน ถ่ายทอดผ่านคำปริศนาไม่ผูกมัดตัวเองด้วยคำสอนเก่า หรือคำสอนกำจัดแบบตายตัว วัชรยานนี้มีในทิเบต และภูฏานในปัจจุบัน

    ระยะที่ ๓ กาลจักร หรือ กาฬจักร

    หมายถึงวงล้อแห่งเวลา เป็นพัฒนาการยุคสุดท้ายของพุทธศาสนาแบบตันตระ โดยประสานความคิดที่แตกแยกกัน และเน้นโหราศาสตร์ ถือว่ามีศักติประจำพระพุทธเจ้า พระอิศวรปางดุร้าย และพระโพธิสัตว์ปางดุร้ายพร้อมกับมีธรรมบาล หรือยิดัมคุ้มครองรักษา กาฬจักรนี้เคยรุ่งเรืองในอินโดนีเซียมาก่อนศาสนาอิสลามจะมีอิทธิพล


    ที่มา : http://www.saengchandra.com/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=1&Id=415649
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2007
  13. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    วัชรยาน...พุทธตันตระ (๒)

    ลัทธิวัชรยาน

    ชื่อหนึ่งของลัทธิพุทธตันตระ ซึ่งถือว่ามีหลักปรัชญาสูงเหนือธรรมชาติ มีความแข็งเหมือนเพชร ใสเหมือนอากาศ ไม่มีใครต้านได้เหมือนสายฟ้า จึงเรียกปรัชญานั้นว่า วัชระ และเรียกลัทธิว่า วัชรยาน

    เป็นที่ทราบกันดีว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงหมุนกงล้อพระธรรมจักร 3 ครั้งด้วยกัน หมายความ ท่านได้เทศนาในหลักใหญ่ๆไว้ 3 เรื่อง 3 วาระ

    ครั้งแรกที่เมือง สารนาถ แค้วนพาราณสี
    ครั้งที่2 ที่กฤตธาราโกติแค้วนราชคฤห์
    ครั้งที่3 ที่ไวศาลีครั้งแรกเทศนาเกี่ยวกับพุทธศาสนาฝ่ายเถระวาท

    ครั้งที่2และครั้งที่ 3ท่านได้เทศนาเกี่ยวกับมหายานในมหายานได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากใน เรื่องของอุดมคติการหลุดพ้นของสรรพสัตว์ทั้งหมดเป็นอุดมคติของมหายานอุดมคตินี้ เรียกว่า โพธิจิตหรือจิตรู้แจ้งการพัฒนาโพธิจิตขึ้นเพื่อต้องการสำเร็จรู้แจ้งเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อประโยชน์ สุขของสรรพสัตว์ทั้งหมดบุคคลใดที่มีอุดมคตินี้และปฏิบัติอุดมคตินี้บุคคลนั้นก็คือพระโพธิสัตว์ ซึ่งการตายแล้วเกิดใหม่เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ชาวพุทธด้วยกันแต่ก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างใน พุทธศาสนิกแต่ละนิกายฉะนั้นถ้าเรายอมรับในเรื่องการตายแล้วเกิดใหม่ก็หมายความว่าในแต่ละ ครั้งแห่งการเกิดต้องมีบุพการี1กลุ่ม ในการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารนี้แต่ละคนได้มีบุพการีมาแล้วเป็นจำนวนที่นับไม่ถ้วนและด้วยเหตุผลนี้ต้องยอมรับว่าสรรพสัตว์ที่บังเกิดขึ้นได้เคย ดำรงสถานะภาพความเป็นบุพการีมานับครั้งไม่ถ้วนฉะนั้นการแสวงหาทางหลุดพ้นจึงควรเป็นไปพร้อมกันหรือให้บุพการีไปก่อน แล้วเราค่อยหลุดพ้นตามไปนี่คือความเป็นพระโพธิสัตว์

    พระอาจารย์ชาวทิเบตได้กล่าวไว้ในศตวรรษที่14 ว่า "ความทุกข์ทั้งหมดเกิดขึ้นจากการเห็นแก่ตัว ความสุขทั้งหมดเกิดขึ้นจากการหวังดีให้ผู้อื่นมีความสุข
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2007

แชร์หน้านี้

Loading...