ภาวนาอย่างไรจึงจะทำให้เกิดญาณ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Prasit5000, 18 มกราคม 2017.

  1. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    ......การภาวนา เป้าหมายก็เพื่อให้เกิดวิปัสสนาญาณ ก่อนที่จะเกิดวิปัสสนาญาณ เราก็ต้องเรียกตัวญาณออกมาก่อน

    .....เมื่อ เกิดญาณ แล้ว เราก็น้อมจิตให้เกิดการรับรู้ด้วยญาณ ที่เรียกว่า วิปัสสนาญาณ
    .....วิปัสสนาญาณ คือเกิดญาณรับรู้ หรือที่เรียกว่า ตรัสรู้ ว่า ขันธ์ห้า รวมจิตด้วย เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ....ปัญหาคือเราจะเรียกตัวญาณออกมาได้อย่างไร ลำพังคิดเองเออเองคงไม่ใช่แนวทางที่ดีแน่นอน ลองมาดูพระสูตรนี้ดู
    ....."
    [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำ
    ให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้า
    ยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
    หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
    กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจ
    เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร
    หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่ง
    ในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

    ........ภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
    .......สติ คือการที่จิตรู้ สิ่งเกิดขึ้นคือลมเข้า ลมออก
    ......สัมปชัญญะ คือ การรู้สึกอีกแบบหนึ่ง ก็คือรู้ชัดว่า นี้คือหายใจออกยาว
    ......จะเห็นว่า ในพระสูตร เน้น ให้รู้แบบรู้ด้วย สัมปชัญญะ
    .....มีสติ รู้ลมเข้า ตามด้วยสัมปชัญญะ รู้สึกตัวว่า ลมสั้น ลมยาว
    .....การฝึกให้สัมปชัญญะที่ต่อเนื่อง ก็คือ การฝึกให้เกิดญาณนั้นเอง

    ......"รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่..." ท่านเน้นให้รู้สึกตัว แบบเน้นๆเลย

    .....ตัวสัมปชัญญะ จะเกิดได้ก็เพราะตัวสติเกิดก่อน
    ....ตัวสัมปชัญญะที่เกิดอย่างต่อเนื่องก็จะพัฒนาไปเป็นตัวญาณ
    ....ตัวญาณคืออะไร ก็คือการเห็นของตัวนิพพานธาตุนั้นเอง
    ....อุปมานะครับ เช่น คนธรรมดาเห็น เขาเรียกว่าเห็น พระราชาเห็น เขาเรียกว่า ทอดพระเนตร เช่นกัน ตัวจิตเห็น เขาเรียกว่ารับรู้ด้วยใจ ตัวนิพพานธาตุเห็น เขาเรียกว่า รู้ได้ด้วยญาณ

    .....อานาปานสติ นับว่าเป็นของยากมากๆ ฝึกยากมากๆ เราจะต้องฝึกให้มีสติกับลมหายใจ เพียงจุดหนึ่ง เพื่อให้เกิดเอกคตาจิต เพื่อให้จิตเป็นสมาธิ เพื่อเกิดพลังในการน้อมจิต เพื่อให้ตัวญาณที่เกิด รับรู้ความเป็นไตรลักษณ์ ของตัวขันธ์ห้า
    .....อานาปานสติ ยากตรงที่เราต้อง สร้างสัมปชัญญะ ตามตัวสติทุกครั้งอันนี้สิถือว่ายากมากๆ ที่จะให้เกิดความรุ้สึกตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง และพร้อมกับจิต เป็นสมาธิ ยากนะครับ
    .....ถ้าใครเดินตามแนวนี้ได้นับว่ายอดมาก

    .....ใครมีวิธีทีดีกว่านี้แนะนำได้ครับ
     
  2. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    อ่านแล้ว มึนตึ๊บ....ใช้ภาษายากไปครับ มีขั้นตอนเยอะไปด้วย อ่านแล้ว เข้าใจไม่ง่ายเลยครับ อิอิ เอาที่คุณเจ้าของกระทู้เข้าใจได้ สรุปมาง่ายๆตามที่ตนเองเข้าใจ จะดีกว่าครับ
     
  3. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ก่อนที่คุณ ประสิทธิ จะพูดเรื่อง สติเอย สัมปะชัญญะเอย จิตรู้เอย นิพพานธาตุเอย...ผมว่าคุณมาทำความเข้าใจ ในความหมายของคำว่า ญาณ....ให้มันถูกต้องก่อน น่าจะดีกว่านะครับ...

    ญาณ...แปลว่า..ปัญญาที่รู้ได้จากการเข้าไปรู้เห็นความจริง เมื่อรู้แล้วจะไม่มีการเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น เขาจึงเรียกว่า ญาณ หรือ ปัญญา ครับ

    จะมาพูดว่า เราจะเรียกตัวญาณ ออกมา....แบบนี้ มันไม่ถูกครับ เพราะญาณคือการที่ได้รู้ความจริงหรือการเข้าถึงความจริง...มันรู้แล้วคือ รู้เลย ครั้งเดียว เข้าใจเลยครับ

    ไม่มีการดึง ญาณ มาหรอกครับ
     
  4. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ชื่อกระทู้ ก็ตั้งชื่อดีนะครับ ว่า ภาวนาอย่างไรให้เกิดญาณ...แต่กลับไปพูดถึงมีการดึงญาณมาให้ได้..นี่ มัน ไม่ถูกต้องนะครับ

    ภาวนา แปลว่า จะทำให้เกิดความสงบได้ด้วย วิธิใดอย่างไร กรรมฐานอย่างไร
    ถ้าภาวนาเป็นหรือถูกต้อง มันจึงจะเกิดความสงบ ความสงบที่ยาวนานต่อเนื่องเพื่อรักษาสติเรียกว่าฌาณ ฌาณที่สงบมากมากต่อเนื่องมากมาก แล้วเอาสตินั้นมาเฝ้าดู ความจริงของ กายเวทนาจิตธรรม เรียกว่า เป็นการวิปัสนาที่ถูกต้อง วิปัสสนา คือวิธีการในการเฝ้าดูความจริง จนเริ่มสงบเริ่มเห็นความจริงเพราะทำถูกวิธี เดินตามเส้นทางที่ถูกต้อง จนเข้าไปรู้ความจริง ตามลำดับขั้น เรียกญาณท้ศนะ คือ ได้พบเห็นในสิ่งที่ถูกต้องที่จะทำให้เกิดปัญญาที่แท้จริง จนถึงที่สุดของความจริง จึงจะเรียกว่าญาณ ครับ ญาณ แปลว่ารู้ความจริงแล้ว ครับ
     
  5. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    คำแนะนำคือ เอาแต่พระสูตรมาลงอย่างเดียว
    โดยไม่ต้องแทรกความเห็นตัวเองเถอะครับได้โปรด...
    ..
    อย่าแสดงความเห็น หรือพยายาม คิดวิเคราะห์ วิพากษ์เอาเลยครับ
    เพราะมันเป็นลักษณะจับต้นชนปลาย เอายอดมาไว้โคนต้น
    เอาโคนต้นมาไว้ยอด และเอาโคนต้นนั้นมาไว้ยอดต้นนี้
    เอายอดต้นนี้มาไว้โคนต้นนั้น เรียกว่า
    มั่วได้อย่างน่าอัศจรรย์สญาณ เกรงว่าจะแรงเกิ๊นไปหากจะกล่าว...

    ส่วนตัวพอปฏิบัติมาบ้าง
    แม้ว่าปัญญาทางธรรมจะอยู่ในระดับที่แสนจะหยาบๆ
    ยังไม่เคยพบว่าในทางปฏิบัติจะมีการเรียก ญานออกมาก่อนเลย
    จากการเริ่มต้นภาวนาเหมือนที่พูดมาเลยนะครับ...
    ในทางปฎิบัติตอบได้เลยโอกาสที่จะเกิด ศูนย์เปอร์เซนต์
    สิ่งที่ได้ น่าจะเป็นมโนสญาน
    หรือว่าวนเวียนเดาสญานมากกว่าครับ...
    หรือคงเป็นการปฏิบัติทางพุทธศาสนาใน
    ระบบกาแลคซี่อื่นๆ ที่ยังไม่มีการค้นพบหรือเปล่าครับ


    อ่านคำว่า ญาณ แปลว่า อะไรที่ คุณ วรณ์นิ เขียนไว้ก่อนก็ดีครับ
    พระสูตรที่คณยกมาไม่ใช่ไม่ดี แต่เป็นเพียงผลที่ได้..
    ซึ่งคนที่จะเข้าใจถึงสภาวะได้จริงๆ..
    จะต้องพอมีพื้นฐานจากการปฏบัติมาบ้าง
    อ่านแล้วถึงเข้าใจจริงๆครับ......

    และขั้นตอนที่ทำให้เกิดญานทัศนะ
    อ่านของ คุณ วรณ์นิ ดูก็ได้ใน #Rep ก่อนหน้าข้าพเจ้า
    อ่านแล้วพอรู้ว่า เอ่อคนนี้ ปฏิบัติในเรื่องนี้ได้อยู่แฮะ.
    ส่วนจะละเอียดหรือทะลุทะลวงแค่ไหน เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ

    ส่วนคุณ อย่าพึ่งไปพูดถึงนิพพง นิพพานธาตุ
    หรือเรื่องเอกคัตตาจิต หรือสมาธิทำให้เกิดพลังอะไรเลย...
    ไปเจริญสติในชีวิตประจำวันให้ต่อเนื่องเหอะครับ..
    จนเกิดเป็นสติทางธรรมให้ได้ก่อนในเบื้องต้น
    จะดีกว่าครับ...ชาตินี้ยังจะพอมีโอกาสได้บ้างครับ...

    ปฏิบัติให้มันได้ก่อนบ้าง ค่อยไปอ่านตำรา อย่ายึดตำรามากไป
    เอ๊ะอะ ก็จัดความคิดตนมาเสริม มันฟ้องว่า
    เราปฏิบัติยังไม่ได้อะไรเลย เพราะมันจะเป็นความคิดที่
    จะวกวนเวียนอยู่ในอ่างอย่างนั้นหละครับ
    เพราะในตำรานั้น เดิมทีมีฐานมาจากการปฏิบัติครับ
    การที่จิตเราถึงจะเข้าถึงสภาวะนามธรรมที่แฝงในตำราได้..
    เราก็ควรที่จะต้องปฏิบัติให้เข้าถึงมาก่อนบ้าง...
    ยกเว้นว่า เราจะอ่านไปสอบปรับคุณวุฒิ
    หรือว่าคุณตั้งใจจะเอาปริญญาเอก
    ทางด้านพระสูตรก็ไม่ว่ากันครับ....
     
  6. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    964
    ค่าพลัง:
    +1,221
    สุตตมยปัญญา อันนี้มีเยอะมาก
    จินตามยปัญญา อันนี้ก็เยอะ
    ภาวนามยปัญญา อันนี้สิ
     
  7. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    คำว่า เห็นกายในกาย.....คือมีสภาวะอารมณ์ ที่ประกอบด้วย ....มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ.....มันไม่ได้ชี้ลงไปว่า การรู้ลมเข้าลมออก หรือ ลมเข้าลมออก เป็นการเห็นกายในกายหรอกนะครับ

    1.มีความเพียร
    2.รู้สึกตัว
    3.มีสติ

    สามอย่างนี้...ประกอบ ในการดูลมเข้าออก ความเพียรคือ ตั้งใจดี จดจ่อ ต่อเนื่อง รักษาสติให้รู้สึกตัวทั้งหมดตามไปด้วย..ได้ตลอดเวลา..มันจะมาเหลือ ยกมาแค่ ว่า เอาลมเข้าลมออกเป็นการเห็นกายในกาย แค่นี้ไม่ได้นะครับ การเปรียบเทียบว่าเป็นการเห็นกายในกายนั้น คือ การมีสติรู้ทันทั่วกายทั้งหมดแล้วเข้าไปเห็นการทำงานทั้งหมดของกาย อันได้แก่ เห็น ผัสสะที่เกิด เห็นเวทนาที่เกิดจากกาย เห็นการรับรู้ของจิตที่รับเวทนามาจากกาย เห็นการทำงานของจิตที่เข้าไปรับรู้เวทนา การเห็นการทำงานของผัสสะ เห็นเวทนากาย เวทนาจิต...นี่จึงถือว่า เป็นการเห็นกายในกาย....ไม่ไช่ จับเอา ว่า การเห็นลมเข้าลมออก คือการเห็นกายในกาย นะครับ
     
  8. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    รู้ลม...
    รู้ตัว....ทั่ว

    เอาสติรู้ทั้งหมด...ฝึกเอาสติรู้ให้ทั่ว ทัน ถึง ...การฝึก เรียกว่า การกระทำความเพียร ครับ....เพียรที่จะเอาสติเผ้าดูรู้ทันทั่วทั้วตัว อยู่ตลอดเวลา...รู้ทั้งลมเข้าลมออก รู้ทุกเวทนาที่เกิด ....พร้อมกับยังรู้ทั่วกายอยู่ตลอด ...ไม่ไช่ว่า คันหลังตรงไหน แล้วเอาสติไปจับเฉพาะตรงนั้น อันนี้ไม่ไช่รู้ทั่วกายนะครับ...ถ้าคันหลังสติก็รู้ว่าคันหลังตรงนั้น แต่สติยังคง รู้ลมเข้าออกอยู่ และยังเฝ้าดูทั่วกายอยู่ทุกขณะ...การเฝ้าดูทั้งกายนี่แหล่ะที่เรียกว่า รู้สึกตัวอยู่...ไม่ไช่รู้สึกที่สติตรงที่ใดที่หนึ่ง เช่นที่ว่า รู้ลมเข้าออกอยู่อย่างเดียว จนลืมดูกายนะครับ...ดังนั้น คำว่า สติปัฏฐานสี่ มันถึงเป็นการฝึกเพื่อให้สติได้เห็น ดู รู้ทั่วกัน ให้หมดทั้ง สี่ฐาน คือ กาย เวทนา จิต ธรรม (ธรรมคือ หมายถึง ความจริงที่ได้พบเห็นจากการเฝ้าดู กาย เวทนา จิต...มันทำงานร่วมกันยังไง ถ้าดูไม่ถูก ไม่ครบ ก็จะไม่เห็นธรรม หรือความเป็นจริงในนั้น)...ดังนั้นการฝึกสติ...ก็คือเพื่อให้สติได้สะสมความเพียรเรื่องความสงบ การรู้ทัน รู้ทั่วถึง ในกาย เวทนา จิต....จนถึงระดับที่เรียกว่า มหาสติ ตามที่หลายๆคนพูดถึง..มหาสติคือ สติที่กว้างใหญ่ หนักแน่น ไมาเผลอได้ มั่นคง จน...การฝึกคือการใช้สติ ..จนวันนึง ไม่จำเป็นต้องใช้สตินั่นแหล่ะคือ จบกิจของสติ...
     
  9. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    การรู้ทันทั่วกาย..คือรู้เห็นทุกเวทนาที่มันจะเกิด ที่มันกำลังเกิด ที่มันดับไป..พร้อมกับ รู้เห็นทุกความคิด(ทุกจิต) ที่มันเกิด มันกำลังเกิด มันดับไป พร้อมทั้ง รู้ทันอยู้ว่า ลมเข้าลมออกอยู่....การจะรู้พร้อมทั่วกายแบบนี้ได้ สติต้องมั่นคง ..รักษาสภาวะดูกายทั้งกาย เอาไว้ได้ตลอดเวลา...ไม่ไช่ว่า เวทนาเกิด สติก็แวะไปจับ จดจ่อกับเวทนานั้น แบบนี้เรียกว่า เผลอ ออกไปจากการรู้ทั่วกายไปแล้ว ต้องมาเริ่มใหม่ หรือ เวลาความคิดเกิด สติก็แวบไปรับรู้ในความคิดนั้น จนเผลอออกมาจากการรู้ทั่วกาย แบบนี้ก็ต้อง มาเริ่มรู้ทั่วกายใหม่...หรือเมื่อมีเสียงอะไรมากระทบผัสสะหู สติก็แวบไปจับ จดจ่อที่เสียงนั้น แล้วก็หลงคิดหาที่มาที่ไปของเสียงนั้น นี่สติมันเผลออกจากการรู้ทั่วกายไปแล้ว ต้องกลับมาเริ่มใหม่ หรือเวลาลิ้นมันรู้สึกในปาก สติก็แวบไปจับจดจ่อที่ลิ้นละ นี่คือการเผลออกไปจากการรู้ทั่วกายละ ต้องกลับมาเริ่มใหม่ หรือ เมื่อมีกลื่นลอยมาตามลม มาเตะจมูกปั๊บ สติมันแวบไปจับจดจ่อที่กลิ่นนั้นแล้วความคิดก็หลงพาสติไปร่วมปรุงตามอีกละ นี่ก็เผลอออกจากการรู้ทั่วตัวไปละ ต้องมาเนิ่มใหม่ ที่ เอาสติกลับมารู้ลมเข้าลมออก รู้ทั่วกาย อีกครั้ง.. แรกๆมันจะเป็นแบบนี้แหล่ะ เราจะเผลอออก และจะต้อง มีสติรู้ทันทีหลังมันว่า เราเผลอไปอีกแล้ว...ต้องรีบระลึกให้ทันที โดยระลึกเอาสติกลับมารู้ทั่วกายใหม่ ให้ทัน ถ้ารู้ตัวว่าเผลอไป...

    การรู้ทันลมเข้าลมออก รู้ทันทุกเวทนาในกาย รู้ทันทุกความคิดที่เกิด(ทันจิต แค่รู้ทันหลังรู้ว่ามันเกิดมาแล้วนี่ก็ ดีแล้วนะ แค่เริมต้น)...การรู้ทัน จึงไม่ไช่การไปจับจดจ่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งของกาย แต่รู้ทั้งตัว ..ที่เรียกว่า การมีสติรู้สึกตัว นั่นแหล่ะ ดังนั้น การรู้แค่ลมเข้าลมออกจึงเป็นการจดจ่อแต่ที่ลม ไม่ไช่การเจริญสติปัฏฐานสี่ ..แต่เป็น อานาปาณสติ ไม่ไช่.สติปัฏฐานสี่ .....ปัฏฐานสี่ จึงต้องครอบคลุมทั้งสี่ฐาน ไปพร้อมๆกัน..
     
  10. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ดังนั้น การเจริญสติปัฏฐานสี่ จึงไม่ง่าย แต่ อานิสงค์ มัน ส่งถึง การบรรลุธรรมความจริง เป็นเส้นทางตรง ถึงนิพพานได้เลย...

    เห็นกายในกาย...คือเห็นการทำงาน ทั้งหมดของ กาย อันได้แก่ เวทนากาย เวทนาจิต(ส่วนที่จิตปรุงแต่งต่อจากเวทนากาย) และการทำงานของจิต(ความคิด)

    เห็นเวทนาในเวทนา ...คือ เห็นความเกิดของเวทนา ในส่วนของกาย ในส่วนของจิต(ความคิด) แล้วนำไปสู่ปัญญาในการรู้ และแยกแยะ ว่า เวทนากายแค่ส่วนไหน เวทนาจิตคือส่วนไหน

    เห็นจิตในจิต...คือเห็นว่าในส่วนของความคิด ใครเป็นตัวรับผัสสะต่อมาจากกายแล้วเอามาปรุงแต่งต่อ ตัวไหนที่จัดการรับรู้มาแล้วปรุงแต่ง ส่วนไหนคือส่วนที่รู้ทันแต่ไม่ได้เข้าไปร่วมปรุงแต่ง (ย่อมเป็นฝ่ายของสติที่เฝ้าดู รู้ทันจึงไม่ได้ร่วมปรุงแต่ง)

    เห็นธรรมในธรรม....แปลว่า การเข้าไปรู้เห็นความจริง ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ที่กายทำงาน ที่เวทนาทำงาน ที่ความคิดมันทำงาน(ที่จิตมันทำงาน)..ความจริงที่รู้ ที่เห็น เรียกว่า เห็นธรรม เห็นความจริงใน ความเคลื่อนทั้งหลาย เห็นความจริงในการเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย ของ กาย ของเวทนา ของความคิด (หรือจิต)...อะไรเห็น...อะไรเป็นตัวรู้ตัวเห็น....เรียกสิ่งที่รู้ สิ่งที่ได้รับรู้แบะเข้าไปเห็นในความจริงทั้งหลายเหล่านี้ว่า...เป็น .ฝญาณทัศนะ...ปัญญาที่จะเกิดเมื่อได้รู้เห็นในความเป็นจริง...และนำไปใช้ประโยชน์ในการ รู้เห็นความเป็นจริงตามเส้นทางที่ถูกต้อง ต่อเนื่องไป..เพื่อถึงที่สุดแห่งการรู้ ในเบื้องปลาย...ต่อไป
     
  11. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ทีนี้ มาว่ากันเรื่อง จริต ความชอบ เทคนิคในการ ฝึกสติปัฏฐาน หรือบางคนอาจเรียกว่า จะพิจารณาอย่างไร จะภาวนาแบบไหน.. จะเริ่มแบบไหน...วิธีการ หลายแบบนี้ เขาเรียก แต่ละวิธี ที่ต่างการของแต่ละคน ..ว่า เป็น กรรมฐานแบบต่างๆ..คือกรรมฐานที่ใช้เรียก...เฉยๆ ชื่อของฐานในการเริ่มต้น...ในการนำมาภาวนา...เพื่อนำไปสู่ การฝึกสติปัฏฐานสี่ ให้ ครบฐานในกาลต่อไป...และต้องรู้สึกตัวให้ครบด้วยทั้งสี่ฐานด้วย เขาถึงเรียก ว่า เป็นการวิปัสสนา....วิปัสนาแปลว่า ..วิธีที่ทำให้ถูกต้องเพื่อให้เกิดปัญญา หรือ ญาณ.... ทุกเหตุที่กนะทำเพื่อให้เกิดปัญญา รู้เห็นในความจริง เรียกว่า วิปัสนาถูกต้อง วิปัสนา คือ การกระทำที่ ครบมีเหตุมีผล ส่วนมากคนจะเอามา คิดเข้าข้างตนเองว่า มันคือการคิดที่มีเหตุมีผล....แต่ที่ถูกต้อง คือการปฏิบัติ กระทำตามขั้นตอนที่ถูกต้อง ที่ประกอบด้วยเหตุด้วยผล ที่จะพาเราได้รู้เห็นในความเป็นจริง...คือการวิปัสนา บางคนเอา คำว่ากรรมฐานมาต่อท้าย...วิปัสนากรรมฐาน ก็คือ การฝึกสติภาวนาที่มีฐานที่ถูกต้อง และกระทำถูกต้อง ตามเหตุผลที่ จะนำพาให้ไปรู้เห็นในความเป็นจริงของ กายเวทนาจิต เพื่อจะได้รู้เห็นธรรมตามความเป็นจริง..ทั้งหมด ถ้าเป็นวิธีที่ครบ และถูกต้อง เรียกว่า ได้พบกับ ญาณทัศนะที่ ถูกต้อง...นั่นเอง...เพื่อ ได้รู้เห็นเข้าใจ ในธรรมที่เป็นความจริงและถูกต้อง...ที่เรียกว่า ญาณ....นั่นเอง

    ปัญญา ที่ใช้ในการ ชำระ มานะ สังโยชน์ หรือ กิเลสตัณหา หรือความไม่รู้จริง ในขั้นตอน ตามทางที่เดิน ด่านแต่ละด่าน ใช้ความรู้ที่ต่างกัน ละเอียด ความเข้มข้นของสติต่างกัน ญาณทัศนะ หรือปัญญาที่ใช้ผ่านด่านต่างๆ จาก หยาบไปหา ละเอียด จึงมีชื่อแตกต่าง กันไป ตามแต่จะสมมุติบัญญัติกันขึ้นมาเรียก ในช่วงเวลา นั้นๆ ด่านนั้นๆ ตามลักษณะของมานะสังโยชน์หรือกิเลสตัณหานั้นๆ.....เพราะคนเรา บางคน ใช้เวลาหลายสิบปี ในการทำความเพียร เป็นช่วงเวลาที่ ยาวนานย่อม มีสภาวะ ที่ต่างกัน ในความคิดความรู้สึก มันจึงมีชื่อเรียก ในปัญญาญาณเหล่านั้น แตกต่างกันไป ตามกาละและเทศะ...อย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้

    เอางี้สิ..ฝ.ถ้าคุณเริ่มฝึก สติปัฏฐาน ได้ในเวลา 1 ชั่วโมง แล้ว ถึงนิพพานได้เลย...มันจำเป็นมั้ยจะต้องมานั่ง แยกแยะ ว่า ช่วงไหน คือ ช่วงไหน ก็ในเมื่อ ขั้นตอนการชำระ มัน สั้นเพียง 1 ชั่วโมง เอง...

    แต่คนที่ จะ พูดเยอะ ขั้นตอนเยอะ..เพราะมัน มัวแต่ ยึดๆยักๆ พักๆ เพียรๆ คนถึงเร็ว ย่อมมีคำพูด น้อยกว่าคนที่ถึงช้า....นั่นเอง

    ดังนั้น อย่าได้มัวแต่หลง ไปติด อยู่กับ กระท่อมข้างทาง ที่เดินผ่าน แต่ให้ ระลึกถึง เป้าหมายเป็นหลัก พร้อมกับ การรู้ตัวตลอดเวลา เมื่อถึงเป้าหมาย...เพราะเมื่อมีคนถาม จะได้ตอบได้หมดว่า คุณมาถึงที่หมายได้อย่างไร...นั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2017
  12. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    สวัสดีปีใหม่ครับ
    "ภาวนาอย่างไรจึงจะทำให้เกิดญาณ"

    ก็คุณยกพระสูตรมาแล้วนี้ครับ
    พระศาสนาตรัสไว้ครบถ้วนแล้วนี้ครับ
    ในพระสูตรเดียว เนื้อหาครบบริบูรณ์อยู่ในตัว

    นั้นแหละทำให้เกิดญาณเผากิเลส
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2017
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    หลักต้องแม่น นิดนึง แล้วจะไม่ยาก

    ที่ยากเพราะไปคิดเอง เออเอง ซึ่งห้ามไม่ได้
    แล้วไม่ต้องห้าม จะเครียดจนพาไปเพ่งจ้องลม

    หลักคือ อริยสัจจ4

    ถ้าเปนบุคคลรู้เร็ว จะเฝ้นได้นัยยะ อนิจจา อนัตตา

    ถ้ารู้ช้า ก้จะเฝ้นหา ทุกข์ ซึ่งเหนยาก

    พูดในแง่ เรียบง่าย ก้คือ เหนไตรลักษณ์

    เวลาเหนไตรลักษณ์ จิตจะปล่อยสิ่งที่รู้ทันที
    ตามอำนาจของการเหนไตรลักษณ์ ต่อให้คิด
    เอาเองว่าเหน ก้ต้งรู้ว่าต้องปล่อย ดังนั้น
    สัมแชัญญะ คือจังหวะที่จิตเหนไตรลักษณ์
    จนปล่อย แล้วพิจารณา ลมหายใจซ้ำต่อเนื่อง
    หรือเปล่า

    ถ้า สติ เหนไตรลักษณ์ความแปรปรวน ตั้งไม่ได้
    ไม่ใช่ตัวตน ของตน เปนเพียง กรรมที่พาหมุนวน
    ให้ครอง และหมายในลม จิตจะปล่อยลมหายใจ
    ไม่เหนว่าเปน สัตวหายใจ ทันที

    ขณะจิตที่ปล่อย ญาณไตรลักษณ์เขาก้ดับ หลัง
    จากนั้นก้ฉวยลมเปนเราไปแล้ว เพราะลืมกำหนด
    รู้ ญาณ อริยสัจจญาณก้เกิด ดับ

    ทิ้งการงานไปแล้ว ลืมไตรลักษณ์ในการรู้ลมไปแล้ว

    ลองดู

    แล้วสังเกต ความเดืดอดร้อนของกิเลส มานะ
    สักกายยะ มันจะหลอกให้ตั้งคำถาม แทนการรู้


    ทีนี้ถ้าทำถูก

    จะเหนเลย ธรรมฐิติญาณเกิดก่อน ด้วยเหตุ สัททาต่อตถาคต

    วิปัสสนาญาณ......จริงๆ หมายเอา
    วิมุตติญาณทัสนะ เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
    เกิดทีหลัง

    พระพุทธทรงเปนผู้ฝึกหัด มนุษย เทวดา ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2017
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ถ้าภาวนาถูก วิญญานธาตุ จะปล่อยออก

    แล้ว วิญญานภายนอก ที่ไหน จะอาสัย เกาะ
    หรือ ตั้ง ได้ เปนอฐานะ

    สัตตะ ความติดข้องของ อุปทาน จะเปนเรื่อง
    กัมมันสัตตา ให้อนุโลมรู้ แล้ว อย่าทะลึ่งหยุด
    เพราะ ประมาท

    ต้องตบด้วย ไม่ประมาท อีกที สติ สัมปชัญญะ
    หรือ แม้แต่มรรค4 ผล4 ก้ทิ้ง อย่าประมาท ไม่ได้

    สำเร็จอรหันต์ แต่วาสนาสอนไม่มี แล้วทู้สี้แบกสังขารสอน

    เฮี.........
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2017
  15. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    หรือเป็นเพราะ หลายปีที่ผ่านมา ผมอธิบาย สั้นๆ ห้วนๆ ง่ายๆ เกินไป...ในการ ฝึกสติปัฏฐานสี่.....การใช้คำว่า แยก กาย ใจ จิต...มันคือการแยกออก รู้ เข้าใจด้วย ปัญญา..ที่เข้าไปรู้เห็น ความเป็นจริง ของกาย ใจ จิต.....แต่ถึงจะแยก ก็เป็นการแยกแยะให้เห็นในส่วนของการทำงาน ของผัสสะกาย ของผัสสะใจ ของจิตรู้(สติ)....ความจริง ผัสสะกายก็รับรู้ ผัสสะใจก็รับรู้ ตัวจิตหรือสติก็รับรู้.....ดังนั้น เมื่อพูดถึง การแยกแยะเป็นส่วนๆ ของการรับรู้ ในส่วนต่างๆ จึงเป็น ปัญญารู้ของผู้ที่ปฏิบัติได้ถึงจริงๆ...เมื่อเวลาเอามาอธิบายมันถึง กระชับ ชัดเจน ...ไม่มั่วกัน

    1.ผัสสะกาย ( ตาหูจมูกลิ้นกาย...ทำงานตลอดเวลา ทุกลมหายใจ)
    2.ผัสสะใจ(ทำงานตลอดเวลาทุกลมหายใจ..เช่นกัน มันคือหน้าที่คิด ปรุง แต่งเท่าที่ผัสสะกายจะรับมา)
    3.จิต(หรือ(สติสัมปะชัญญะ)...มันคือ ตัวร่วมรับรู้ที่มีมาอยู่แล้วใน ขันธ์ (อันได้แก่ที่เรียกว่า ปฏิสนธิจิต จุติจิต จิตขณะตาย มันคือ ส่วนของขันธ์..5 นั่นเอง ขันธ์5 ..แปลว่า มันมี เหตุปัจจัยของถพชาติครบ พร้อมแล้ว มีอยู่ในตัวของมันเอง...เช่น สัญญาอาหาร ตัวสังขารเสพอาหาร เวทนาอาการหลงว่าเป็นตัวตน หรือการที่หลงเสพอยู่นั้น ทำปฏิกิริยาต่อกันอยู่นั้น รู้ผิดอยู่นั้น เรียกว่ามีวิญญาณรู้..รวมทั้งหมดเรียกว่า..จิต หรือจิตวิญญาณ....ถ้าแยกด้วยปัญญาความสงบได้เรียก ว่า แยกออกมาเป็น กองขันธ์ทั้ง5...นั่นเอง)
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ฮี้ ฮี้ ฮี้ เกือบเข้าเป้า

    ขาดไปดื้อๆ ตรง วิญญานก้คืออาหาร

    ที่บอกว่าเหนชาติๆ เหนปฏิสนธิ เลยออกแนว ก้อปปี้ได้ดี
    จำไว้ขึ้นใจ แต่ไร้การ รู้ทั่วถึงสิ่งที่พูด
     
  17. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    นี่ ถ้า น้าจร เฝ้นคำเหลือแต่ พุทธวัจนะ แทบ
    ไม่นอกแนว หาที่ผิดไม่ได้

    ก้น่าจะฟัดกับ ปู่ฉับฉน สักตั้ง

    กลุ่มนั้น เอา พุทธวัจนะ หลอกเขาไม่ได้

    เสียเวลา เฝ้นหาวลี โวหาร ตายไป ลืมหมด

    เว้นไว้แต่รส สุขใจได้สดับ เกอะดับ เกอะดับ
     
  18. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    วิญญาณ คือการรู้ ...คือการหลงว่ารู้ถูก หรือหลงว่าที่รู้มันดี ที่ทำมันดี ที่จำมันดี..

    ขันธ์5 รูป เวทนา สังขาร วิญญาณ สัญญา...ถ้าจะเรียกรวมกัน ก็เรียกว่า จิตก็ได้ อัตตาก็ได้...อวิชชาก็ได้... ดังนั้นการแยกออกเป็น กองขันธ์ทั้ง5 เป็นการแยกออกเพื่อ จะได้อ้างการมีเหตุ มีผล มีปัจจัย มีต้นเหตุ มีเหตุตั้งต้น ตามหลักของ สมมุติบัญญัติ..ขึ้นมาเพื่ออธิบายให้คนที่ยังพอจะเข้าใจ ที่ปฏิบัติมาได้จริง ได้พอทำความเข้าใจ.....แต่ถ้าใครไม่เคยปฏิบัติ...พูดไป ฟังไป...ก็เท่านั้น...มันก็มึนตึ๊บ...ตามเคย แล้วก็ไปนั่งตีความ พระสูตร ตีค่า ความหมายใน สมมุติที่บัญญัติ กันต่อไป ตามเวรตามกรรม
     
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    อย่าว่า งู้นงี้เลยนะ น้าจร

    ตรงที่พูดว่า แยกกออกด้วยปัญญาความสงบ

    ตรงนั้นแหละผิด

    ถ้าพูดได้ว่า แยกออกด้วยปัญญา....ว่านั่น สงบ

    จะพอดี เดินได้

    ถ้าพูดว่า ด้วยความสงบ จะเปน ภพ เพื่ออยู่เพื่อเปน

    ถ้าเปน นั่น สงบ จะเปน ภาษาปฏิบัติ จรณะ วิชชา ปราศจาก อัตตวาทุปาทาน ฮะเออ
     
  20. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ก็เขา สับสน ....เขาไม่ได้เน้นเป้าหมาย มาที่ผมนี่ครับ เขาเน้นเป้าหมายไปที่พวกคุณๆทั้งหลาย ที่เขาเอ่ยชื่อถึง....อิอิ เขายกเว้น ชื่อผม เขาไม่เอ่ย มาไง

    แสดงว่า..เขาก็ รู้อะไร ในตัวของบุคคลที่เขาเอ่ยชื่อมา ...แต่ไม่สนใจในตัวผมไง...
    ผมเลย ไม่เข้าไป น่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...