ภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย wvichakorn, 2 มีนาคม 2013.

  1. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,661
    ค่าพลัง:
    +9,236
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    ขอนอบน้อมแด่พระธรรม และพระสงฆ์

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓
    ภิกขุนีวิภังค์



    ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๘
    เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
    โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี
    เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอนมส้มเขามาฉัน. คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ
    ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอนมส้มเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใครจะ
    ไม่พอใจ อาหารที่อร่อยใครจะไม่ชอบ.
    ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้
    มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอนมส้มเขามาฉันเล่า ...
    ทรงสอบถาม
    พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุณี
    ฉัพพัคคีย์ขอนมส้มเขามาฉัน จริงหรือ?
    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
    ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉน พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอ-
    *นมส้มเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
    เลื่อมใส ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
    พระบัญญัติ
    ๒๒๙. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอนมส้มมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า
    ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
    ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยประการ
    ฉะนี้.
    เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ.
    เรื่องภิกษุณีอาพาธ
    ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ. เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้ได้ถามภิกษุณีผู้อาพาธ
    ทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ?.
    ภิกษุณีผู้อาพาธตอบว่า แม่เจ้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอนมส้มเขามาฉันได้ด้วยเหตุที่ฉันนม-
    *ส้มได้นั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้ พวกดิฉันรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้าม
    เสียแล้วจึงไม่กล้าขอ เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันนมส้มนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน.
    ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ...
    ทรงอนุญาตนมส้ม
    พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้อาพาธขอนมส้ม
    เขามาฉันได้.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
    พระอนุบัญญัติ
    ๒๒๙. ๘. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอนมส้มมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดง
    คืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
    เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ.
    สิกขาบทวิภังค์
    บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่าผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
    บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
    ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
    ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นนมส้มก็มีความผาสุก.
    ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นนมส้มแล้วไม่มีความผาสุก.
    ที่ชื่อว่า นมส้ม ได้แก่ นมส้มของสัตว์มีโคเป็นต้น เหล่านั้นแล.
    ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเขามาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค ได้มารับประเคนไว้
    ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุกๆ คำกลืน.
    บทภาชนีย์
    ติกะปาฏิเทสนียะ
    ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอนมส้มมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.
    ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอนมส้มมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.
    ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอนมส้มมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.
    ทุกะทุกกฏ
    ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
    ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
    ไม่ต้องอาบัติ
    ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.
    อนาปัตติวาร
    อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉันนมส้มที่เหลือของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑
    ฉันนมส้มของญาติ ๑ ฉันนมส้มของคนปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์
    ของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
    ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๘ จบ.
    -----------------------------------------------------
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๗๐๑๓ - ๗๐๗๕. หน้าที่ ๓๒๔ - ๓๒๖.
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=3&A=7013&Z=7075&pagebreak=0

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.2545617/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...