มนุษย์ 4 ทวีป ตามจักวาลพุทธ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Kamen rider, 4 ตุลาคม 2004.

  1. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    ภูเขาสิเนรุ
    เป็นศูนย์กลางของมงคลจักรวาล คือ จักรวาลที่เราอาศัยอยู่นี้
    เป็นเขาที่ละเอียดมองไม่เห็นด้วยตา

    จักรวาลหนึ่ง ๆ วัดโดยรอบได้ ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์
    ส่วนที่เป็นพื้นดินหนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์
    โดยมีพื้นน้ำรองรับหนา ๘๔๐,๐๐๐ โยชน์
    น้ำนี้ตั้งอยู่บนลม ซึ่งมีความหนา ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์

    เขาสิเนรุ เป็นภูเขาสูงสุดตั้งอยู่ท่ามกลางจักรวาล
    ยอดเขาสิเนรุ เป็นผืนแผ่นดินแห่งแรก
    ที่โผล่ขึ้นหลังจากโลกธาตุได้ถูกทำลายลงด้วยน้ำ
    ซึ่งทำลายขึ้นไปจนถึงเทวโลก และพรหมโลก
    คือ ถึง ชั้นสุภกิณหา (ตติยฌานภูมิ ๓)

    แผ่นดินที่โผล่เป็นครั้งแรกนี้ เป็นที่ตั้งของเทวดาชั้น ดาวดึงสาภูมิ
    ภูมิที่อยู่สูงขึ้นไป คือ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี
    ต่อจากนั้นก็เป็นภูมิของ รูปพรหม ๑๖ ชั้น และ อรูป พรหม ๔ ตามลำดับ
    ภูมิเหล่านี้สถิตอยู่สูงขึ้นไป ต่อจากยอดเขาสิเนรุทั้งสิ้น
     
  2. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  3. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    ขุนเขาสิเนรุ สูง ๑๖๘,๐๐๐ โยชน์
    จมอยู่ในมหาสมุทรสีทันดรครึ่งหนึ่ง
    คือหยั่งลงสู่ห้วงน้ำ ๘๔,๐๐๐ โยชน์
    และสูงขึ้นไปในอากาศ ๘๔,๐๐๐ โยชน์
    วัดรอบเขาได้ ๒๕๒,๐๐๐ โยชน์ พื้นดินยอดเขาประกอบด้วย
    รัตนะ ๗ ตามไหล่เขา ๔ ด้าน...ด้านตะวันออกเป็น เงิน
    ด้านตะวันตก เป็น แก้วผลึก...ด้านใต้ เป็นแก้ว มรกต
    ด้านเหนือเป็น ทอง...น้ำในมหาสมุทร อากาศ ต้นไม้ ใบไม้
    ที่อยู่ในด้านนั้น ๆ จะเป็น สีน้ำเงิน สีผลึก สีเขียว สีทอง
    ตามสีของไหล่เขานั้นด้วย

    กลางเขาสิเนรุ เป็นที่ตั้งของเทวดาชั้น จาตุมหาราชิกาภูมิ
    รอบเขาทั้ง ๔ ทิศ เป็นที่สถิตของท้าวมหาราชทั้ง ๔ คือ
    ท้าวธตรัฏฐ ประจำอยู่ทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหก ประจำอยู่ทิศใต้
    ท้าววิรุฬปักข์ ประจำอยู่ทิศตะวันตก และท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ
    ประจำอยู่ทิศเหนือ มหาราชทั้ง ๔ เป็นเทวดาชั้นผู้ให_่ที่ดูแล
    เทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ ทั้งหมด รวมทั้งมนุษยโลกของเราด้วย

    ตอนกลางของภูเขาสิเนรุ ลงมาจนถึงตอนใต้พื้นมหาสมุทร
    มีชานบันไดเวียน ๕ รอบ คือ
    ชั้นที่ ๑ ที่อยู่ใต้พื้นน้ำ เป็นที่อยู่ของพ_านาค
    ชั้นที่ ๒ เป็นที่อยู่ของครุฑ
    ชั้นที่ ๓ เป็นที่อยู่ของ กุมภัณฑ์เทวดา
    ชั้นที่ ๔ เป็นที่อยู่ของยักเทวดา
    ชั้นที่ ๕ เป็นที่อยู่ของ จาตุมหาราชิกา ๔ องค์

    รอบเขาสิเนรุ มีภูเขาล้อมรอบอยู่ ๗ รอบ
    เป็นภูเขาทิพย์ เรียกว่า สัตตบรรพ์
    รอบที่ ๑ ชื่อว่า ยุคันธร
    รอบที่ ๒ ชื่อว่า อีสินธร
    รอบที่ ๓ ชื่อว่า กรวิก
    รอบที่ ๔ ชื่อว่า สุทัสสนะ
    รอบที่ ๕ ชื่อว่า เนมินธร
    รอบที่ ๖ ชื่อว่า วินัตตถะ
    รอบที่ ๗ ชื่อว่า อัสสกรรณ

    นอกจากนี้ ยังมีภูเขาจักรวาล ซึ่งเป็นภูเขาที่กั้นระหว่างจุฬโลกธาตุด้วย

    ในสารัตถทีปนีฎีกา กล่าวไว้ว่า
    มหานรก ทั้ง ๘ ขุม และ อุสสทนรก ซึ่งเป็นนรกบริวารของมหานรก
    ตั้งอยู่ที่ใต้พื้นดินธรรมดา ลึกลงไปตรงกันกับชมพูทวีป
    รวมเนื้อที่กว้าง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ สูง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ เป็นรูปสี่เหลี่ยม
     
  4. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    ทวีป ๔,พื้นที่ในจักรวาล

    จักรวาลหนึ่ง ๆ ซึ่งประดับด้วยทวีปให_่ ๔ ทวีป และ
    ทวีปน้อย ๒ พันทวีป อย่างนี้ คือ
    ๑. ปุพพวิเทหทวีป ซึ่งมีปริมณฑลถึง ๗ พันโยชน์
    ซึ่งประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.
    ๒. อุตตรกุรุทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๘ พันโยชน์
    ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.
    ๓. อมรโคยานทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๗ พันโยชน์
    ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.
    ๔. ชมพูทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๑ หมื่นโยชน์
    ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.


    ทวีปให_่ในทิศทั้ง ๔ ของภูเขาสิเนรุ แต่ละทวีปให_่ทั้ง ๔ ทิศนั้น แลดล้อมด้วยทวีปน้อยเป็นบริวาร อีกทวีปละ ๕๐๐ รวมทวีปน้อยมี ๒๐๐๐ ทวีป
    ทวีปให_่ หรือพื้นแผ่นดินทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์นั้น มีชื่อเรียกกันดังนี้คือ
    ๑. อุตตรกุรุทวีป อยู่ทางทิศเหนือของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคุณสมบัติ ๓ ประการ คือ
    ๑) ไม่ยึดถือเอาทรัพย์สินเงินทองว่าเป็นของตน
    ๒) ไม่มีการยึดถือในบุตร, ภริยา, สามี ว่าเป็นของตน
    ๓) มีอายุยืนถึง ๑๐๐๐ ปี
    มนุษย์ในอุตตรกุรุทวีปนี้มีการรักษาศีล ๕ เป็นนิจ เมื่อตายไปแล้วย่อมเกิดในเทวโลก แน่นอน ดังสารัตถทีปนีฏีกา แสดงว่า
    คติปิ นิพฺพตฺถา มโต สคฺเคเยว นิพฺพตฺตนฺติ
    แปลความว่า มนุษย์อุตตกุรุนี้ เมื่อตายแล้ว ย่อมไปบังเกิดในชั้นเทวโลกอย่างแน่นอน
    หมายความว่า เมื่อตายจากภพมนุษย์แล้วย่อมไปบังเกิดในชั้นเทวโลกแต่ถึงเวลาที่จุติจากเทวโลกแล้ว อาจไปเกิดในอบายภูมิ ๔ หรือมนุษย์ในทวีปอื่นใดก็ได้ จะไม่ไปสู่อบายภูมิเพียงชั่วภพถัดไปจากที่กำลังเป็นมนุษย์อุตตรกุรุเท่านั้น

    ๒. ปุพพวิเทหทวีป อยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้าตอนบนตัดโค้งมนลงส่วนล่างคล้ายบาตร มีอายุยืนถึง ๗๐๐ ปี

    ๓. อปรโคยานทวีป อยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้ากลม คล้ายวงพระจันทร์ มีอายุยืนถึง ๕๐๐ ปี

    ๔. ชมพูทวีป อยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้ารูปไข่ กำหนดอายุขัยไม่แน่นอน โดยความยิ่งหย่อนในคุณธรรม สมัยใดคนชมพูทวีปมีกาย วาจา ใจ เพียบพร้อมยิ่งด้วยคุณธรรมสมัยนั้นคนชมพูทวีปมีอายุยืนถึงอสงไขยปี สมัยใด คนชมพูทวีป กาย วาจา ใจ ย่อหย่อนด้วยคุณธรรม สมัยนั้นมีอายุลดน้อยถอยลงมาเพียง ๑๐ ปี เป็นอายุขัย
    กำหนดเกณฑ์อายุขัยของผู้เกิดใน ๔ ทวีปนี้มาใน สังยุตตนิกายอรรถกถา ว่า
    ชมฺพูทีปวาสีนํ อายุปฺปมาณํ นตฺถิ, ปุพฺพวิเทหานํ สตฺตวสฺสสตายุกา, อปรโคยานวาสีนํ ป_ฺจวสฺสสตายุกา อุตฺตรกุรุวาสีนํ วสฺสสหสฺสายุกา เตสํ เตสํ ปริตฺตทีปวา สีนมฺปิ ตทนุคติกาล
    ในมนุษย์ภูมินี้ มุ่งหมายเอามนุษย์ที่เกิดในชมพูทวีป เป็นมุขยนัย (โดยตรง) โดยสทิสูปจารนัย (โดยอ้อม) ได้แก่มนุษย์ในทวีป ทั้ง ๓ อีกด้วย คุณสมบัติของมนุษย์ชมพูทวีป มีแสดงไว้หลายนัย ตามวจนัตถะ ดังต่อไปนี้
    ๑. มโน อุสฺสนฺตํ เอเตสนฺติ = มนุสฺสา
    คนทั้งหลาย ที่ชื่อว่า มนุษย์ เพราะมีใจรุ่งเรืองและกล้าแข็ง
    หมายความว่า จิตใจของคนชมพูทวีปนั้น กล้าแข็งทั้งฝ่ายดีและไม่ดี คือฝ่ายดีนั้นสามารถสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจ้า, อัครสาวก, มหาสาวก, ปกติสาวก, สำเร็จอภิ__าลาภีหรือฌานลาภีบุคคล, ตลอดจนเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
    ข้างฝ่ายไม่ดีนั้น ให้กระทำการวิบัติตัดชีวิต บิดามารดา, พระอรหันต์, กระทำโลหิตุปบาท, และสังฆเภท
    ๒. การณากรณํ มนติ ชานาตีติ = มนุสฺโส
    คนชมพูทวีป ชื่อว่า มนุษย์ เพราะมีความเข้าใจในเหตุอันควรและไม่ควร
    หมายความว่า คนชมพูทวีป ย่อมมีความสามารถค้นหาเหตุผลของธรรมได้โดยเฉพาะ เช่นการเห็น เกิดขึ้นได้ เพราะอาศัยจักขุปสาท กับรูปารมณ์ กระทบกันเป็นต้น ตลอดจนรู้ภาวะของรูป
     
  5. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    เท่าที่รู้มา ฟังไว้ก่อน ครับ เปิดมุมมอง

    ทวีปทั้ง 4 ในมงคลจักวาลเรา คือ จักรวาลย่อย ล้อม รอบ ภูเขาสิเนรุ และ ตำแหน่งของทวีป คือ ดาว ทั้ง 4 ดวง รวมทั้งดาวโลก ด้วย แต่ อยู่ในระนาบเดียวกัน ตัดตามขวาง


    ที่เรียกว่าทวีปเพราะเกิดขึ้นท่ามกลางอากาศ.....เมื่อง้วนดินเกิดขึ้นลอยอยู่ในท่ามกลางมหาสมุทรจักรวาล(เหมือนเนยข้นลอยอยู่บนผิวน้ำคล้ายน้ำมัน)เวลานั้น ง้วนดินได้จับกลุ่มเป็นโลกขึ้น ไม่ใช่โลกเราโลกเดียว แต่เกิดเป็นถึง 4 ทวีปให_่.......หลายทวีป = 1 จักรวาล(Universe)......หลายจักรวาล = 1 โลกธาตุ(Galaxy)........4 ทวีปให_่นี้คือ

    1.อุตตครุทวีป คือ จักรวาลสัคเคดากา
    2.บุพพวิเทหะทวีป คือ จักรวาลเทคเคอร์นากา
    3.อปรโคยานทวีป คือ จักรวาล แคทเทอร์ราดา
    4.ชมพูทวีป คือ จักรวาลสิทธัตถะเมดา
     
  6. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    ดวงดาวฤกดิ์ ต่างๆ พระจันทร์ พระอาทิตย์ ที่มีแสง

    คือ ยอดวิมาณ ของ เทวดา ถ้ายังเปล่งอยู่ แปลว่า ยังเสวยทิพยสมบัติ์อยู่ ถ้าดับเมื่อไร แปลว่าหมดบุณ


    [​IMG]


    แปลกดีป่ะ ไม่ได้แต่งเองนะ ผมรู้มาแบบนี้ ฟังเอาหนุกๆ ก็ได้
     
  7. ธุลีดิน

    ธุลีดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2004
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +156
    ความมหัศจรรย์แห่งจักรวาลและมิติแห่งภพ....น่าศึกษามากๆ:eek:
     
  8. Star Platinum

    Star Platinum เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    355
    ค่าพลัง:
    +1,152
    สุดยอดครับ

    ขอบคุณนะครับที่นำมาให้อ่านกัน

    น่าสนใจมากๆ
     
  9. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,710
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    ปุพพวิเทหทวีปและอปรโคยานทวีป


    ปุพพวิเทหทวีป-มีมนุษย์ราว 200,000 คนเศษ อายุประมาณ 700 ปี มีหญิงมากกว่าชายหลายเท่า พระราชาชื่อ "โอ๊ก" .....พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่เขาสูง ขรุขระ เป็นพวกปัญญาพอมี แต่ไม่มีบุญกุศล เป็นคล้ายนรกน้อยๆ กลางคืนมาก กลางวันน้อย ผู้คนไม่ใส่เสื้อผ้า เหมือนชีเปลือย ผสมพันธุ์กันอยู่เกือบตลอดเวลา ดูแล้วทุเรศนัยน์ตามาก ผู้หญิงเป็นฝ่ายไปขอชาย มีลูกเยอะ เป็นแฝด2-4-6 แต่มักตายเกือบหมด มีงูกินศพตัวใหญ่ยาวมากทั่วไป กินคนเป็นๆด้วย พวกนักวิทยาศาสตร์ ผลิตเซรุ่ม มีปัญญาทางโลก นักวิจัย ค้นคว้าจากโลกเรามาเกิดที่นี่ ส่วนมากเป็นชาวรัสเซีย กับอียิปต์มาเกิดที่นี่กันมาก มนุษย์ที่นี่ผสมพันธุ์กับสัตว์ก็มี ดูมั่วไปหมด เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิด หนักไปในทางโมหะ(หลง) พวกเดรัจฉาน เป็นคนมุสลิมมากกว่าอื่นทั้งหมด สัตว์มีกิ้งก่ายักษ์ งูยักษ์ มีสัตว์ที่นี่มากกว่าคน พวกที่มาเกิดที่นี่ ส่วนใหญ่เคยเกิดเป็นช้าง ม้า วัว ควายมาจากโลกมนุษย์เรา มนุษย์ในทวีปนี้ มีกลิ่นตัวเหม็นน่ารังเกียจมาก.......คนโลกเราที่มีท้องไม่ดี กินแล้วต้องถ่ายหนักทันทีและถ่ายมากๆด้วย เกิดมาจากคนทวีปนี้แหละ มักมากในกามคุณอย่างยิ่ง....

    อปรโคยานทวีป-มีมนุษย์ราว 800,000 คนเศษ หน้าตาใบหน้ากลม มีอายุประมาณ 500 ปี โมหะมาก มีเล็บคมยาวมาก ป่าเถื่อน กินเนื้อคน ไม่กินสัตว์อื่นๆ ชอบกินของสดๆคาวๆ ออกลูกมาแล้วเอาเล็บฉีกกินเอง ไม่กินข้าว เป็นนรกชัดๆนี่เอง พระราชาชื่อ "ต๊อด" มนุษย์ทวีปนี้เป็นผู้มืดบอดทางปัญญาโดยสิ้นเชิง ไม่มีอะไรเป็นที่น่าอภิรมย์เลย ดูแล้วน่าสมเพชเศร้าใจมากกว่าอย่างอื่น......

    ทั้ง 4 ทวีปใหญ่ๆนี้เป็นรูปปรมาณูเสีย 3 ทวีป(ยกเว้นชมพูทวีป)เล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น อุตตรกุรุทวีปใหญ่สุด ปุพพวิเทหทวีปรองลงมา อปรโคยานทวีปลดหลั่นลงไปอีก ชมพูทวีป คือ โลกมนุษย์เรา(ราหู)ที่เล็กที่สุด.......
    อุตตรกุรุทวีป-พวกมีบุญแรง มีโอกาสเกิดเป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราช หรือดาวดึงส์ต่อไป มีแต่สุขอย่างเดียว เป็นสวรรค์น้อยๆ มีปัญญา แต่ไม่มีบุญวาสนาที่จะได้ฟังธรรมหรือพบแสงธรรม......

    ปุพพวิเทหทวีป-พวกโมหะ มีแต่ความหลง มิจฉาทิฏฐิ มีปัญญาบ้างแต่น้อยมาก มัวเมาในกามคุณหมกมุ่นอย่างมาก เป็นนรกน้อยๆ.....

    อปรโคยานทวีป-พวกวิตกจริต ขาดปัญญาสิ้นเชิง มืดบอดทุกอย่าง เป็นนรกชัดๆนี่เอง......

    ชมพูทวีป-โลกเรา วุ่นวายที่สุด เดือดร้อนที่สุด แต่มีคนหลายๆแบบปะปนกันอยู่ทั่วไป เป็นทั้งสวรรค์และนรกในตัวเอง มีทั้งคนมีปัญญา ปานกลาง และมืดบอด เหมือนบัว 4 เหล่า แตกต่างกันไปตามวาสนาบารมีที่สั่งสมมาแต่อดีต มีพระพุทธเจ้ามาโปรดสอนทวีปเดียว อีก 3 ทวีปไม่มี ห่างจากแสงพระ แสงธรรมมาก ขอพวกเราทั้งหลายถ้าอยากมาเกิดอีก ก็จงมาเกิดชมพูทวีปที่เดิม อย่าไปเกิดทวีปอื่นเลยครับ.......มาเกิดแล้ว ก็ศึกษาปฏิบัติธรรม พัฒนาจิตวิญญาณของแต่ละคนไปสู่ความหลุดพ้น คือ มหาอมตะนิพพานเถิด ........



    ในจักรวาลของโลกมนุษย์เรา หมายถึงภายในขอบเขตของดวงอาทิตย์ดวงนี้ มีอยู่ 4 ทวีป คือ1)ชมพูทวีป คือ โลกมนุษย์เราทั้งโลกนี้ที่มนุษย์อาศัยอยู่ ไม่ใช่ประเทศอินเดียประเทศเดียวอย่างทีเข้าใจกันทั่วไป 2)อุตตรกุรุทวีป 3)อปรโคยานทวีป และ 4)บุพพวิเทหทวีป.......ทุกทวีปล้วนมีมนุษย์อยู่อาศัยทั้งนั้น เป็นกายหยาบ ไม่ใช่กายละเอียดเป็นปรมาณูแบบเทพ พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกายต่างๆในอบายภูมิและสวรรค์ภูมิ.......
    อุตตรกุรุทวีป-โลกของเขาแต่ละโลกใหญ่กว่าโลกเราถึง 9 เท่า แต่มีมนุษย์อยู่เพียง 90,000 กว่าคนเศษเท่านั้น มีอายุประมาณ 1,000 ปี มากกว่ามนุษย์โลกเราราว 10 เท่า มีร่างกายสูงใหญ่ คนเตี้ยที่สุดสูงราว 175 ซม. รูปร่างสะโอดสะองทั้งหญิงและชายใบหน้าสี่เหลี่ยมเหมือนลูกเต๋าตัดมุม คล้ายๆพระพุทธรูป คิ้วโก่ง คางกลม ตาเรียวยาว ปากหนา มีพระราชาชื่อ วะตายีราชา ไม่มีพระราชินี พวกเขาเกิดด้วยบุญกุศลแรงแก่กล้ามาก(ทำด้วยเงินมากๆ) เช่นสร้างโบสถ์คนเดียว แต่ไม่มีปัญญา บุญจึงส่งไปเกิดที่นี่ มีความสุขสบายมาก ถือศีล 5ประจำ ป่วยเจ็บไม่ค่อยมี เหมือนอยู่บนสวรรค์น้อยๆ หาลูกยาก ผู้หญิงตั้งครรภ์ 3 ปี จึงออกลูกครั้งหนึ่ง ตายยาก ไม่รู้จักความทุกข์ ไม่มีการฆ่าคน หรือสัตว์ อากาศดี อาหารดี พื้นที่ราบเป็นส่วนใหญ่ นักวิทยาศาสตร์ในโลกมนุษย์ตายแล้วมาเกิดที่นี่มาก ผิวพรรณเต่งตึง ถนนทำด้วยทองคำล้วนๆ ผู้คนมีตัณหาจัด เลือกคู่ได้ตามใจชอบเพราะเขาไม่ถือกัน มีอิสระเสรีมาก แต่ไม่มีพระพุทธเจ้ามาโปรด เพราะมีปัญญา แต่ไม่สามารถสั่งสอนได้เนื่องจากไม่รู้จักทุกข์ เป็นโลกที่ไม่มีธรรมะ แต่พวกเขามีศีลโดยปกติของเขาเอง ตายไปมีโอกาสเป็นเทวดาได้.......ทำมาหากินเหมือนโลกมนุษย์ แต่ข้าวปลา อาหารไม่ต้องหา เกิดเองโดยธรรมชาติ เก็บไปกินได้เลย....

    ผู้แสดงความคิดเห็น พุทธญาณ

     
  10. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    กระทู้ดีมีประโยชน์
     
  11. karain

    karain เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    639
    ค่าพลัง:
    +707
    ใหญ่โตมโหฬาร
     
  12. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    กระทู้ดีมีประโยชน์
     
  13. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    [​IMG]


    การเรียงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของ นิพพาน ภพสาม โลกันต์


    [​IMG]
    ๑. อายตนะนิพพาน

    อายตนะ (นิพพาน) เป็นอายตนะอย่างหนึ่งที่พ้นไปจากภพ ๓ ตามความเห็นของนักปริยัติเชื่อเพียงว่า นิพพานเป็นเพียงความไม่มีกิเลสเท่านั้น เป็นธรรมายตะ หรือธรรมารมณ์อย่างหนึ่งของพระอรหันต์ผู้ยังเป็นอยู่

    มิใช่หมายถึงอายตนะอย่างหนึ่งต่างหากจากภพ ๓ ซึ่งเป็นสถานที่ประทับของพระผู้หมดกิเลสหลังนิพพานแล้ว เหมือนอายตนะเป็นที่เกิดที่อาศัยอยู่ของสัตว์ในภพ ๓ เช่น อสัญญีสัตตายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นต้น

    พระอรหันต์ดับขันธ์แล้วก็เป็นอันสิ้นสุดการเกิดในภพ ๓ แต่ไปสถิต ณ ที่ใดมิได้กล่าว ความเห็นเช่นนี้เฉียดไปทางตายแล้วสูญ คนส่วนใหญ่จึงไม่ต้องการไปนิพพานกัน

    ในคัมภีร์พุทธศาสน์มีบางแห่งเหมือนกันที่กล่าวคล้ายกับว่ามีอยู่ต่างหากจากภพ ๓ เช่นกล่าวว่า

    นิพพานเป็นคติทางไปของพระอรหันต์, หรือโลกที่มัจจุ (ความตาย)ไปไม่ถึง, หรือที่พระยโสธราเถรีกล่าวว่า ชาติ ชรา พยาธิและมรณะ มิได้มี จักไปสู่นิพพานสถานที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นบุรีอันไม่มีความแก่ ความตายและความไม่มีภัย

    ในอรรถกถาโอฆตรณสูตร[1]กล่าวทำนองว่า พระนิพพานอยู่เบื้องบนของภพ ๓ ก็มี เช่นกล่าวว่า “โอฆะ เป็นเหตุให้ตกไปในเบื้องต่ำ ยังสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในอำนาจของตนให้ตกไปในเบื้องต่ำ คือให้เกิดในทุคติต่างๆ มีนรกเป็นต้น เมื่อไม่ให้ไปใน

    เบื้องบนคือพระนิพพาน ย่อมให้ไปในเบื้องต่ำ คือในภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ และ สัตตาวาส ๙ ”

    ในโลหิตตัสสสูตรกล่าวว่า เป็นที่สุดโลก (โลกนฺโต) ที่ ไปไม่ถึงด้วยยวดยานพาหนะในโลกนี้ (พระอรรถกถาก็แก้ว่าหมายถึง สังขารโลก)

    จึงไม่ได้กล่าวว่าตั้งอยู่ที่สุดโลกตามแนวใด แต่ถ้าประมวลความเข้ากับอรรถกถาโอฆตรณสูตร ก็ต้องเป็นที่สุดโลก (ที่สุดจักรวาลหรือที่สุดโลกธาตุ) เบื้องบน เพราะเป็นสิ่งประเสริฐ

    แต่ตามความรู้เห็นด้วยญาณทัศนะ (มิใช่เป็นเพียงความเชื่อหรือความคิดเห็น) ของพระนักปฏิบัติทั้งหลาย เช่น พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เห็นว่า พระนิพพานมีอยู่ต่างหากอยู่เบื้องบนจากภพ ๓ ขึ้นไปอีกระยะห่างประมาณ ๓ เท่าตัวของภพ ๓ มีลักษณะกลมโดยรอบตัว (กลมเหมือนดวงแก้วใส)

    เป็นที่ประทับของพระธรรมกายพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและที่สถิตอยู่ของพระธรรมกายอรหันต์นับไม่ถ้วนที่ดับกายที่มีปฏิสนธิ อันเป็นเหตุให้เกิดในภพสามได้หมดแล้ว จึงไปสู่อายตนะนิพพานนั้น

    รายละเอียดจะไม่ขอกล่าวไว้ ณ ที่นี้ หากนักศึกษาสนใจพึงศึกษาได้จากคู่มือสมภารหรือศึกษาต่อในชั้นอภิธรรมศึกษา ๔ ต่อไป จาก ญาณทัศนะวาทะดังกล่าวจึงทำให้เป็นที่คัดค้านของเหล่านักปริยัติรุ่นหลังเป็น อันมากที่หวังยึดตำราไปนิพพาน ซึ่งเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องพิจารณาโดยแยบคายเพื่อประโยชน์ใหญ่แก่ตนเองต่อ ไป


    [​IMG]

    ๒. โลกธาตุ


    โลกธาตุ ในที่นี้มุ่งหมาย โอกาสโลก ซึ่งเป็นที่อยู่ของสัตว์ มีลักษณะเป็นทรงกลมรอบตัว โครงสร้างของโลกธาตุหนึ่ง ๆ ประกอบด้วย กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ อันเป็นโอกาสโลก

    ซึ่งก็มีลักษณะเป็นทรงกลมรอบตัวเหมือนกัน เรียงซ้อนอยู่ภายในโลกธาตุอีกทีหนึ่ง เรียงลำดับจากล่างขึ้นบน คือ กามภูมิอยู่ล่างสุด ถัดขึ้นไปเป็นรูปภูมิอยู่กลาง สูงขึ้นไปเป็นอรูปภูมิ หากจะเปรียบเทียบก็จะคล้ายเอาลูกปิงปอง ลูกเทนนิส และลูกแฮนด์บอล มาบรรจุเรียงไว้ภายในลูกฟุตบอล โดยเอาลูกปิงปองอยู่ข้างล่างตามลำดับ ภาพรวมภูมิสามมีดังนี้

    ก.) กามภูมิ ลักษณะเป็นทรงกลมรอบตัวมีเขาสิเนรุเป็นแกนจุดศูนย์กลาง

    - ข้างล่างเขาสิเนรุเป็นมหานรก ๘ ขุม มีอุสสทนรก และยมโลกนรก เป็นบริวาร
    ล้อมรอบทั้ง ๔ ทิศ,

    - ตามแนวระนาบเริ่มแต่ตอนกลางเขาสิเนรุจะมีภูเขาล้อมรอบ ๗ ลูก เรียงล้อม
    ลดหลั่นกันไปทีละครึ่งตามลำดับจนถึงลูกที่ ๗ ต่ำสุด คือ ๑. ยุคันธร ๒. อิสินธร

    ๓. กรวิกะ ๔. สุทัสสนะ ๕. เนมินธร ๖. วินัตตกะ ๗. อัสสกัณณะ,

    - ในทิศทั้ง ๔ ของเขาสิเนรุจะเป็นทวีปทั้ง ๔ คือ ๑.อุตตรกุรุทวีป ๒. ปุพพวิเทหทวีป

    ๓. อปรโคยานทวีป และ ๔. ชมพูทวีป พร้อมด้วยทวีปที่เป็นบริวารอีกทวีปละ ๕๐๐
    ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์

    - ตั้งแต่ตอนกลางเขาสิเนรุ หรือบนยอดเขายุคันธรลงมา จะเป็นที่อยู่ของเทพชั้นจาตุ
    มหาราชิกา มีพระอาทิตย์ พระจันทร์เวียนโดยรอบเขาสิเนรุ

    - ยอดเขาสิเนรุไปจะเป็นที่อยู่ของเทพชั้นดาวดึงส์ เหนือขึ้นไปตามลำดับจะเป็นที่อยู่
    ของเทพชั้นยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัสดี


    ข.) รูปภูมิ สูงถัดขึ้นไปจากกามภพ มีลักษณะเป็นทรงกลมรอบตัวเหมือนกันแต่มี
    ขนาดใหญ่กว่ากามภพ ประกอบด้วยรูปภพ ๙ ชั้น (ภาคพื้น) สูงขึ้นไปเป็นลำดับ
    เป็นที่อยู่ของรูปพรหม ๑๖ ประเภท

    ค.) อรูปภูมิ สูงถัดขึ้นไปจากรูปภพ มีลักษณะทรงกลมรอบตัวมีขนาดใหญ่กว่ารูปภพ
    อีก ประกอบด้วยอรูปพรหม ๔ ชั้น สูงขึ้นไปเป็นลำดับ เป็นที่อยู่ของอรูปพรหม
    ที่มีวิญญาณและสัญญาที่ละเอียด และกายที่ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของรูป ๒๘

    ทั้งหมดนี้เรียกว่า โลกธาตุ ๑

    ช่องว่างระหว่างภูมิ ๓ โดยรอบ จนจรดขอบในของโลกธาตุโดยรอบเป็นอากาศภายในโลกธาตุ ช่องว่างนอกขอบโลกธาตุไปโดยรอบเป็น อัชชฎากาส หรืออัชโฌกาส คือ อากาศเวิ้งว้างภายนอกโลกธาตุ อันไม่มีที่สิ้นสุด แนวขวางแนวเดียวกันไปโดยรอบก็จะเป็นโลกธาตุอื่นอีกไม่มีที่สิ้นสุด[1]

    ซึ่งแสดงว่าโลกธาตุอื่นจะไม่ซ้อนกันทั้งแนวบนแนวล่าง เพราะที่สุดเบื้องบนเป็นอายตนะนิพพาน ที่สุดเบื้องล่างเป็นโลกันตนรก ตรงตามภาคปฏิบัติ

    โลกธาตุหรือจักรวาลยังแบ่งเป็นขนาดกลุ่มอีก คือ จักรวาลหรือโลกธาตุขนาดเล็กมีพันจักรวาล ขนาดกลางมีหนึ่งล้านจักรวาล ขนาดใหญ่มีแสนโกฏิจักรวาล[2] (รายละเอียดดูในจูฬนีสูตร) หรือถ้าแบ่งตามพุทธเขต[3]ก็ได้ ๓ คือ

    ๑.ชาติเขต เป็นสถานที่เสด็จอุบัติของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์มีเขตเกิดโดยรอบ หมื่นจักรวาล หมายความว่า ในหมื่นจักรวาลนี้จะมีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติคราวละ ๑ พระองค์เท่านั้น มีจักรวาลที่เป็นศูนย์กลางเป็นที่เสด็จอุบัติเรียกว่า มงคลจักรวาล โดยมีจักรวาลอื่นเวียนโดยรอบอีก ๙,๙๙๙ จักรวาล

    อนึ่ง เขตนี้ก็ยังเป็นเขตโปรดสัตว์โลกที่อยู่ภายในข่ายพระญาณของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์[4]

    ๒. อาณาเขต เขตที่ถูกคุ้มครองด้วยอำนาจพระปริตรของพระพุทธเจ้า ๑ องค์ มี
    อาณาเขตโดยรอบแสนโกฏิจักรวาล


    ๓. วิสัยเขต เขตที่เป็นอารมณ์แห่งพระญาณของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ๆ แผ่ไปได้ กินอาณาเขตจักรวาลไม่มีที่สิ้นสุด ตามแต่พระองค์ประสงค์จะรู้เห็นสิ่งใดมีประมาณเท่าใดก็ทรงแผ่พระญาณไปได้ เพียงนั้น

    บางแห่งกล่าวความหมายของโลกธาตุกับจักรวาลเป็นหน่วยเดียวกัน คือ ๑ จักรวาล เท่ากับ ๑ โลกธาตุอันเป็นโอกาสโลก สถานที่รองรับสัตว์โลกแต่ละหน่วยเท่ากัน[5]

    บางแห่งกล่าวความหมายของโลกธาตุกว้างกว่า เช่นกล่าวว่า โลกธาตุอย่างเล็กมีพันจักรวาล โลกธาตุอย่างกลางมีล้านจักรวาล โลกธาตุอย่างใหญ่มีแสนโกฏิจักรวาล เป็นต้น

    ประมวลความตามนี้ โลกธาตุน่าจะหมายถึง ขนาดของกลุ่มจักรวาล แต่ละกลุ่ม[6]
    คำว่าจักรวาล” บางแห่งกำหนดเอาเพียงที่อำนาจของรัศมีพระอาทิตย์พระจันทร์แผ่ไปถึงจนจรดภูเขาจักรวาลเท่านั้น นั่นหมายความว่า

    คำว่า จักรวาล มีความหมายครอบคลุมเพียงในกามภพเท่านั้น ในกามภพก็กำหนดเพียงอำนาจการโคจรของพระอาทิตย์และพระจันทร์โดยรอบเขาสิเนรุ ด้านขวาง มีรัศมีแผ่ไปรอบตัว ๑,๘๐๐,๐๐๐ โยชน์ กินพื้นที่ ๓ ทวีปจรดกลางภูเขาจักรวาลบรรพต[7]

    (มนุษย์ ๔ ทวีป จนถึงเทพชั้นจาตุมหาราชิกา) ด้านบนจรดใต้ภพดาวดึงส์เป็นที่สุด และภูเขาจักรวาลซึ่งตั้งโอบล้อมพหิทะนที[8] ก็มีขนาดต่ำกว่าเขาสิเนรุ[9]

    อันเป็นแกนกลางของกามภพ และฐานที่ตั้งของเขาจักรวาลก็อยู่โดยรอบกามภพแนวเดียวกันกับเขาสิเนรุเท่า นั้น ในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องศึกษาในภาคปฏิบัติของท่านผู้รู้ใน ภาคปฏิบัติต่อไป

    นักศึกษาได้ทราบที่ตั้งของภูมิต่าง ๆ ในโครงสร้างของโลกธาตุโดยย่อก่อน ซึ่งในที่นี้จะขอจัดภูมิตามที่กล่าวไว้ในอภิธัมมัตถสังคหะแบ่งเป็น ๓ คือ ๑.กามภูมิ ๑๑ (อบายภูมิ ๔ กามสุคติภูมิ ๗ )

    ๒. รูปาวจรภูมิ ๑๖

    ๓. อรูปาวจรภูมิ ๔

    อันเป็นฐานภูมิ ดังนี้

    ๒.๑. กามภูมิ
    กามภูมิ แปลว่า ภูมิเป็นที่ท่องเที่ยวไปของเหล่าสัตว์ผู้ติดข้องในกามคุณโดยมาก ได้แก่ อบายภูมิ ๔ กามสุคติ ๗ รวมเป็นกามภูมิ ๑๑ ภูมิ มีลักษณะกลมรอบตัว มีเขาสิเนรุเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาลกามภูมิ


    [​IMG]
    [​IMG]


    ๑. ที่ตั้งอบายภูมิ ๔
    อบายภูมิ มี ๔ ภูมิ จัดอยู่ในกามภูมิ จัดแบ่งตามลำดับผลของการกระทำอกุศลกรรมจากหนักเป็นลำดับไป ดังนี้

    ๑. นิรยภูมิ แต่ละขุมก็มีลักษณะทรงกลมรอบตัวเหมือนกัน ตั้งอยู่ภายใต้เขาตรีกูฏ (เขาสามยอด) ซึ่งเป็นที่รองรับเขาสิเนรุ เป็นลำดับไปจากมหานรก (ขุมใหญ่)

    ขุมที่ ๑ ถึงขุมที่ ๘ ในแต่ละขุมใหญ่จะมีขุมบริวาร คือ อุสสทนรก อยู่โดยรอบทั้ง ๔ ทิศ ทิศละ ๔ ขุม รวมมีนรกขุมบริวาร ๑๒๘ ขุม ถัดจากอุสสทนรกออกไปจะเป็นนรกขุมย่อยคือ ยมโลก อยู่โดยรอบทิศทั้ง ๔ ของมหานรก ทิศละ ๑๐ ขุม รวมมีนรกขุมย่อย ๓๒๐ ขุม รวมขุมนรกทั้งหมด ๔๕๖ ขุม

    ๒. เปตติวิสยภูมิ อยู่ซอกด้านนอกของเขาตรีกูฏก็มี อยู่ซ้อนกับภูมิมนุษย์ก็มี

    ๓. อสุรกายภูมิ อยู่ซอกด้านนอกของเขาตรีกูฏก็มี อยู่ซ้อนกับภูมิมนุษย์ก็มี

    ๔. ดิรัจฉานภูมิ อยู่ปนกันกับมนุษย์ภูมิ ไปจนถึงเทวภูมิชั้นต่ำ ตั้งแต่กลางเขาสิเนรุลงมา เช่น พวกนาค ครุฑ และสัตว์หิมพานต์ทั้งหมด


    (ดูภาพประกอบ)

    [​IMG]
    [​IMG]
    ภาพรวมโครงสร้างนิรยภูมิในภพสามแต่ละขุม ๆ ละ 57
    รวมทั้งหมด8 x 57 = 456 ขุม
    ๒. ที่ตั้งกามสุคติภูมิ

    คำว่า สุคติ หมายถึง สถานที่ที่ดี ที่ใครได้อยู่แล้วย่อมมีความสุขโดยมาก เป็น สถานที่ที่สัตว์โลก ที่ประกอบกรรมดีจะไปถือกำเนิดใหม่หลังจากตายแล้ว ผู้ที่สร้างกรรมดีพอประมาณ ปราศจากกรรมชั่ว หรือมีกรรมชั่วเพียงเล็กน้อย ก็อาจจะถือกำเนิดใหม่ในโลกมนุษย์อีกทันที

    ส่วนผู้สร้างกรรมดีไว้มากเป็นพิเศษ ก็จะได้โอกาสถือกำเนิดใหม่แบบโอปปาติกะในโลกสวรรค์ เสวยทิพยสุขเป็นเวลายาวนานแสนนาน กามสุคติภูมิ ๗ นี้ ได้แก่ มนุสสภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖

    มนุสสภูมิ มี ๑ ภูมิ จัดอยู่ในกามภพ เป็นภูมิที่ทำให้เกิดการกระทำที่เป็นกุศล และอกุศลและรับผลทั้งสุขและทุกข์ปนกัน มนุษย์มีที่เกิดที่อยู่ที่อาศัย ๔ ทวีป คือ

    ๑. ปุพพวิเทหทวีป อยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุ

    ๒. อปรโคยานทวีป อยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาสิเนรุ

    ๓. ชมพูทวีป อยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุ

    ๔. อุตตรกุรุทวีป อยู่ทางทิศเหนือของภูเขาสิเนรุ



    [​IMG]

    เทวภูมิ มี ๖ ภูมิจัดอยู่ในกามภพ จัดแบ่งตามลักษณะของการกระทำฝ่ายกุศล

    ๑. จาตุมหาราชิกาเทวภูมิ อยู่รอบเขาภูเขาสิเนรุตอนกลางลงมา

    ๒. ตาวติงสาเทวภูมิ อยู่บนหน้าตัดของภูเขาสิเนรุ

    ๓. ยามาเทวภูมิ อยู่สูงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ขึ้นไปในอากาศ

    ๔. ดุสิตาเทวภูมิ อยู่สูงจากสวรรค์ชั้นยามาขึ้นไปในอากาศ

    ๕. นิมมานรดีเทวภูมิ อยู่สูงจากสวรรค์ชั้นดุสิตขึ้นไปในอากาศ

    ๖. ปรนิมมิตวสวัตดีเทวภูมิ อยู่สูงจากสวรรค์ชั้นนิมมานรดีขึ้นไปในอากาศ


    (ดูภาพประกอบ)

    [​IMG]


    ๒.๒. รูปาวจรภูมิ
    รูปาวจรภูมิ แปลว่า ภูมิอันเป็นที่เกิดของรูปาวจรวิบากจิต และรูปพรหมทั้งหลาย
    ที่ตั้งรูปาวจรภูมิ

    รูปภูมิ มี ๑๖ ภูมิ(๙ ชั้น)หรือ ที่เรียกว่า รูปภพ เป็นที่เกิดที่อาศัยของพวกรูปพรหมจัดแบ่งตามความละเอียดของฌานที่ตนได้ สถานที่ตั้ง อยู่สูงจากสวรรค์ขึ้นไปเป็นชั้น ๆ ภูมิที่สูงกว่าจะมีขนาดใหญ่กว่า แต่มีบางภูมิมีภาคพื้นอยู่ในระดับเดียวกัน ให้นักศึกษาดูจากแผนภาพ รูปพรหม ๑๖ ประเภทคือ


    ๑. ปาริสัชชาภูมิ ๙. สุภกิณหาภูมิ

    ๒. ปุโรหิตาภูมิ ๑๐. เวหัปผลาภูมิ

    ๓. มหาพรหมาภูมิ ๑๑. อสัญญีสัตตาภูมิ

    ๔. ปริตตาภาภูมิ ๑๒. อวิหาภูมิ

    ๕. อัปปมาณาภาภูมิ ๑๓. อตัปปาภูมิ

    ๖. อาภัสสราภูมิ ๑๔. สุทัสสาภูมิ

    ๗. ปริตตาสุภาภูมิ ๑๕. สุทัสสีภูมิ

    ๘. อัปปมาณสุภาภูมิ ๑๖. อกนิฏฐภูมิ




    [​IMG]

    ๒.๓. อรูปาวจรภูมิ
    อรูปาวจรภูมิ แปลว่า ภูมิอันเป็นที่เกิดของอรูปาวจรวิบากจิต และอรูปพรหมทั้งหลายที่ตั้งอรูปาวจรภูมิ

    อรูปภูมิ มี ๔ ภูมิ หรือ ที่เรียกว่า อรูปภพ เป็นที่เกิดที่อาศัยของอรูปพรหมทั้งหลาย มีที่ตั้งสูงกว่ารูปภูมิขึ้นไปเป็นชั้นตามลำดับ มีขนาดใหญ่ขึ้นไปเรื่อย ๆ ชั้นบนสุดจะมีขนาดใหญ่ที่สุดดังนี้

    ๑. อากาสานัญจายตนภูมิ

    . วิญญาณัญจายตนภูมิ

    ๓.อากิญจัญญายตนภูมิ

    ๔.เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ


    [​IMG]


    เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาที่ตั้งของภูมิให้เห็นภาพรวมโดยย่อแล้ว นักศึกษาจะได้ศึกษาในเรื่องของภูมิ ๔ โดยละเอียดตามลำดับข้างหน้าต่อไป

    ๓. โลกันตนรก

    โลกันตนรก แปลว่า นรกอันมีในที่สุดโลก (โลก นฺต) เหมือนกัน แต่อยู่ที่สุดเบื้องล่างของโลกธาตุ ตรงข้ามกับ อายตนะนิพพานซึ่งเป็นที่สุดโลกธาตุเบื้องบน โลกันตนรกนี้ในคู่มือสมภารกล่าวว่า มีลักษณะกลมรอบตัว เหมือนลูกหินบดสีดำมี ขนาดใหญ่มากเท่ากับโลกธาตุ ๑ โลกธาตุ

    อยู่ต่ำจากเบื้องล่างจักรวาลไปอีกประมาณ ๓ เท่าตัวของขนาดจักรวาล ๓ จักรวาลมาเรียงซ้อนกัน เป็นที่เกิดของสัตว์นรกที่มีมิจฉาทิฏฐิดิ่ง จิตใจดำมืดมิดจนนรกในภพสามรองรับไม่ได้


    [​IMG]


    แต่ในภาคปริยัติบางแห่งใช้คำว่า โลกันตะ มีคำแปลดังที่กล่าวแล้ว บางแห่งใช้คำว่า โลกันตริกะ หรือโลกันตริยะ นรก แปลว่า นรกอันมีในระหว่างโลกธาตุ[1] เพราะอยู่ตรงช่องว่างระหว่างจักรวาล ๓ จักรวาลชนกัน เหมือนเอาลูกกลม ๓ ลูกมาชนกันตามแนวขวาง หรือดุจช่องว่างในท่ามกลางล้อเกวียน ๓ ล้อ หรือ แผ่น ๓ แผ่นที่วางชนกันฉะนั้น

    ช่องว่างตรงกลางนั่นแหละเป็นนรกโลกกันต์ เรียกว่า โลกันตริกะ หรือโลกันตริยะนรก แปลว่า นรกระหว่างโลกธาตุ แต่ละจักรวาลมีโลกันตริยนรกอยู่จักรวาลละหนึ่งแห่ง ซึ่งแต่ละแห่งกว้างใหญ่ประมาณ ๘,๐๐๐ โยชน์ บางแห่งว่า ๕๐๐ โยชน์ (ขนาดเล็กกว่ามหานรกอเวจีซึ่งมี ๑๐,๐๐๐ โยชน์) เบื้องล่างก็ไม่มีแผ่นดิน เบื้องบนก็ไม่มีแสงเดือน แสงตะวัน ไม่มีแสงประทีป แสงแก้วมณี มืดมิดตลอดกาล



    [​IMG]
    สัตว์นรกก็ตัวเล็กกว่า สัตว์นรกจะเกาะขอบภูเขาจักรวาลอยู่ดุจค้างคาว ถ้าอนุมานตามมติของพระอรรถกาจารย์ ก็ดูแปลกดี เพราะยังมีคำที่ค้านกันเอง คือ

    โลกันต์ ซึ่งแปลว่า ที่สุดโลกธาตุเบื้องล่าง อนึ่ง ถ้าภูเขาจักรวาลอยู่เฉพาะกามภพ ก็คงไม่จรดขอบกับจักรวาลอื่นอยู่นั่นเอง เพราะกามภพเล็กที่สุด ขอบกามภพเบื้องขวางก็ไม่จรดกับขอบจักรวาลภายนอกของตน มีแต่เบื้องล่างเท่านั้นที่จรด และกามภพก็เป็นภพที่เล็กที่สุดในจำนวนภพสาม สัตว์นรกอเวจีจะตัวใหญ่กว่าสัตว์นรกโลกกันต์ได้อย่างไร นักศึกษาลองพิจารณาเอาว่าจะเลือกตามทัศนะของผู้รู้เห็นด้วยญาณทัศนะหรือตาม มติ (ความคิด) ของผู้รจนา (แต่ง) คัมภีร์


    [​IMG]


    นรกขุมนี้เป็นขุมพิเศษอีกขุมหนึ่งที่อยู่ ภายนอกภพสาม เป็นขุมที่น่าศึกษา เพราะเป็นสถานที่สำหรับบุคคลที่ทำอกุศลกรรมหนาแน่นที่สุด จนจิตใจมืดมิด เมื่อตายไปนรกในกามภพไม่สามารถรองรับได้ จึงต้องไปเกิดในโลกันตนรกนี้

    สัตว์ที่มาเกิดในโลกันตนรกนี้มีร่างกายใหญ่โตยิ่งนัก มีเล็บมือเล็บเท้ายาว ต้องใช้เล็บมือเล็บเท้าเกาะอยู่ตามเชิงเขาจักรวาล ห้อยโหนโยนตัวอยู่ชั่วนิจนิรันดร์ เหมือนค้างคาวห้อยหัวอยู่บนกิ่งไม้ และก็จะรำพึงในใจว่า ทำไม เราจึงมาอยู่ที่นี่ สงสัยจะมีเพียงเราผู้เดียวกระมัง

    เหตุที่รำพึงเช่นนี้ก็เพราะว่า โลกันต-นรกนั้นมืดมิด ไม่มีแสงสว่างแม้เพียงนิดเดียว ต่างก็ห้อยโหนโยนตัวเปะปะด้วยความหิวโหย พอตะครุบไปถูกตัวซึ่งกันและกัน จึงคิดว่าเป็นอาหาร ต่างก็ปล้ำฟัดกันอยู่อย่างนี้

    ไม่ช้าต่างก็พลัดตกลงไปในทะเลน้ำกรดอันเยือกเย็น เนื้อตัวร่างกายก็เปื่อยแหลกเหลวตายไปในทันที (สัตว์นรกขุมนี้ตายเพราะความเย็น) แล้วก็กลับฟื้นขึ้นมาอีก ต้องได้รับความทุกข์ทรมานยาวนานมากเช่นนี้ไม่มีวันสิ้นสุดที่เรียกว่า ตอขวางวัฏฏะ จนกว่าบาปที่มืดมิดอยู่ในใจเพราะมิจฉาทิฏฐิจะเบาบาง จึงจะมีสิทธิพ้นจากขุมนี้ไปได้

    บุพกรรมของสัตว์นรก คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ เป็นคนประพฤติชั่วช้า ทำร้ายทรมานบิดามารดา หรือเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิดิ่ง ไม่เชื่อนรก ไม่เชื่อสวรรค์ ทำบาปกรรมชั่วช้าเป็นประจำ อีกประการหนึ่ง เป็นคนปากกล้า ด่าว่าบิดามารดา ปู่ย่าตายาย พี่ชาย พี่สาว ด้วยคำเจ็บแสบ หรือพอฉุนโกรธขึ้นมาก็ด่าว่าไม่เลือกหน้า ไม่ว่าจะเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ แม้ผู้ทรงศีล เช่น สมณะชีพราหมณ์ พระภิกษุสงฆ์ สามเณรหรือฆ่า พระภิกษุ สามเณร เผาวัดวาอาราม ศาสนวัตถุ เช่น พระพุทธรูป ในพระพุทธศาสนา

    ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นภาพรวมของ องค์รวมของธาตุธรรม ซึ่งเมื่อว่าโดยแก่นแท้ก็คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพานนั่นเอง และทั้งหมดนี้ก็เป็นอนันตธาตุอนันตธรรม ไม่มีที่สิ้นสุด หาจัดตามภูมิจิตย่อมได้ ๔ ภูมิ คือ ๑. กามาวจรภูมิ ๒. รูปาวจรภูมิ ๓. อรูปาวจรภูมิ ๔. โลกุตตรภูมิ
    บทที่ ๒ องค์รวมธาตุธรรม | พระอภิธรรมปิฎกออนไลน์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2012
  14. neromimz

    neromimz สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +11
    :cool::cool::cool:
    ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ !
     

แชร์หน้านี้

Loading...