มนุสสภูมิ

ในห้อง 'ภพภูมิ-สวรรค์ นรก' ตั้งกระทู้โดย Sonny, 10 กรกฎาคม 2006.

  1. Sonny

    Sonny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +156
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#cc0000 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99 border=2><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>
    -ประเภทแห่งมนุษย์-


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    มนุสสภูมิ หรือโลกมนุษย์นี้ เป็นโลกที่อาศัยแห่งสัตว์ ผู้มีใจสูง เมื่อแยกคำออกมาก็เป็น มน + อุสส + ภูมิ มน = ใจ อุสส = สูง ภูมิ = ที่อาศัย รวมกันเป็น มนุสสภูมิ ก็แปลว่า ที่อาศัยของสัตว์ผู้มีใจสูง ซึ่งได้แก่ โลกมนุษย์ อันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งมนุษย์เรานี่เอง

    ที่ว่ามนุษย์เป็นผู้มีใจสูงนั้น ก็เพราะมีใจสูงส่งกล้าหาญ องอาจกล้าหาญในการประกอบกรรมต่างๆ ยิ่งนัก ขึ้นชื่อว่ากรรมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรือเป็น อกุศลกรรม สัตว์ในภูมิอื่นใด ที่จะใจกล้าสามารถกระทำ ให้เกินมนุษย์เป็นไม่มี

    กล่าวคือ ในกรณีแห่งอกุศลกรรม คือ กรรมที่ชั่วช้าลามก สัตว์ในมนุสสภูมิองอาจสามารถกระทำได้อย่างยอดเยี่ยม ตั้งแต่บาปกรรมที่มีโทษเล็กน้อย จนกระทั่งถึงบาปกรรม ที่มีโทษสูงสุดเป็นอุกฤษฏ์ อาทิเช่น ปาณาติบาตอกุศล กรรม มนุษย์ก็สามารถฆ่าได้ตั้งแต่สัตว์เล็กๆ เช่น กุ้ง ปู ปลา มาเป็นอาหารเป็นประจำ ไปจนถึงสัตว์ใหญ่ๆ ไปจน ถึงสัตว์ที่ว่าดุร้ายเป็นถึงเจ้าป่า เจ้าไพร เช่น เสือสมิง สมิงร้าย ควายป่า กระทิงเถื่อน ที่ว่าดุร้ายน่าเกรงขาม นักหนา ก็เคยปรากฏว่าถูกมนุษย์ใจหาญ ฆ่าให้ตายมา เสียมากต่อมากแล้ว นอกจากนั้น ยังฆ่ามนุษย์ด้วยกันเอง ด้วยโทสะก็ตาม ด้วยอาฆาตพยาบาทก็ตาม บางมนุษย์ ก็มีอาชีพเป็นเพชฌฆาตฆ่าเพื่อนมนุษย์ด้วยกันตั้งแต่ หนึ่งคนไปจนเป็นร้อยเป็นพันคน นอกจากนั้นมนุษย์ ยังอาจหาญฆ่าผู้มีพระคุณต่างๆ เช่น บิดามารดา ครูบาอาจารย์ อันเป็นบาปสูงสุดขนาดอนันตริยกรรม ได้ ฉะนั้น จึงได้นามว่า มนุษย์ = ผู้มีใจสูงในเชิง กล้าหาญที่จะประกอบอกุศลกรรม

    ในกรณีแห่งกุศลกรรม คือ กรรมที่ดีงามเป็นบุญเป็นคุณ สัตว์ที่มาอุบัติเกิดในมนุสสภูมินี้ ก็องอาจสามารถที่จะ กระทำได้อย่างยอดเยี่ยมอีกเช่นเดียวกัน เช่น การให้ ทาน มนุษย์ทั้งหลายก็กระทำกันเป็นประจำ ไม่ว่า จะเป็นชาติไหนภาษาไหน ทุกกาลทุกสมัย นอกจากจะ ให้ทานกับเพื่อนมนุษย์แล้ว ยังมีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้ทานแก่สัตว์ในภูมิอื่นอีกด้วย เช่น ให้อาหารเป็นทาน กับเป็ด ไก่ หมู หมา นอกจากนั้น ยังกระทำกองกุศล ซึ่งสูงขึ้นไปกว่าทานคือการรักษาศีล ในมนุษยโลก มีการรักษาศีลตามกำลังความสามารถของแต่ละ มนุษย์ บางมนุษย์มีศรัทธารักษาศีล ๕ บางมนุษย์ ใจกล้ารักษาศีล ๘ ศีล ๑๐ หรือใจกล้าหาญสูงลิบ อุตส่าห์รักษาศีล ๒๒๗ เหล่าสัตว์ในภูมิอื่นใด จักมี น้ำใจกล้าหาญองอาจ รักษาศีลได้อย่างมนุษย์เป็น ไม่มีแน่ นอกจากจะมีน้ำใจอาจหาญสมาทานศีล ได้อย่างยอดเยี่ยมแล้ว ในกุศลอันสูงส่งยิ่งกว่าศีล คือการบำเพ็ญภาวนา มนุษย์ผู้มีใจกล้าหาญก็พยายาม บำเพ็ญมาตลอดทุกยุคทุกสมัย มีน้ำใจรักใคร่ในการ บำเพ็ญสมถภาวนาจนได้สำเร็จฌานไปอุบัติเกิดเป็น พระพรหมผู้วิเศษ ณ พรหมโลกต่างๆ ดังนี้ก็มีอยู่เป็น อันมากเหลือที่จะคณนา ครั้นมาถึงกาลพิเศษ เหตุเป็นกาลที่มีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ มาอุบัติตรัสในโลก ก็ทรงมิใช่ใครผู้ใดในภูมิอื่นเลย โดยที่แท้ ทรงเป็นมนุษย์อุบัติเกิดในมนุสสภูมินี่เอง ทรงมีพระวิริยะอย่างยอดเยี่ยม เมื่อมีพระมนัส มุ่งหมายพระบรมโพธิญาณ ก็ทรงมีพระทัยอาจหาญ บากบั่นแสวงหาสัจธรรม มิได้ทรงนำพาอาลัยถึง ความลำบากแห่งพระวรกาย จนกระทั่งได้บรรลุ พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ ได้สำเร็จเป็นองค์เอก อัครบรมศาสดาจารย์ ต่อจากนั้นก็ทรงมีพระมหา กรุณาสั่งสอนมนุษย์ใจกล้าผู้เป็นสาวกทั้งหลาย ให้บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนา จนกระทั่งได้สำเร็จ มรรคผลเป็นพระอริยบุคคลในพระบวรพุทธศาสนา ตามกำลังแห่งวาสนาบารมี คือบางท่านก็ได้เป็น พระอรหันต์ เป็นพระอนาคามี เป็นพระสกิทาคามี บางท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน อย่างนี้ก็มีอยู่ มากมายนับไม่ถ้วนในมนุสสภูมิ อนึ่งเล่า พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้มาอุบัติตรัสรู้แต่ลำพังพระองค์ เดียว ในกาลที่โลกว่างจากพระบวรพุทธศาสนา ก็มาอุบัติในมนุสสภูมินี้ด้วยเหมือนกัน จึงเป็นอันว่า มนุษย์นี้มีใจสูงในเชิงกล้าหาญประกอบการกุศล ตั้งแต่ขั้นต่ำที่สุดจนกระทั่งถึงกุศลขั้นอุกฤษฎ์ คือ สูงสุดขนาดเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังกล่าวมานี้ ฉะนั้น จึงได้นามว่า มนุษย์ = ผู้มีใจ สูงในเชิงกล้าหาญที่จะประกอบการกุศลกรรม

    เมื่อทั้งประกอบอกุศลกรรมและกุศลกรรมได้ชนิด สูงสุดทั้งสองด้านแล้วนั้น เมื่อกล่าวถึงชีวิตความ เป็นอยู่ เหล่ามนุษย์ในมนุสสภูมินี้ ย่อมมีชีวิตความ เป็นอยู่แตกต่างกันไปแต่ละมนุษย์แต่ละชีวิต ส่วนความพิสดารแห่งชีวิตจะแตกต่างกันเป็น ประการใดบ้างนั้น ก็เป็นที่ซาบซึ้งกันดีอยู่แล้ว จึงจะไม่กล่าวถึงในที่นี้อีก

    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#cc0000 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99 border=2><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>
    -บุคคล ๔ จำพวก-


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    (สังยุตินิกาย สคาถวรรค ข้อ ๓๙๔ หน้า ๑๓๖ บาลีฉบับสยามรัฐ)
    บุคคล ๔ จำพวก คือ
    ๑. บุคคลผู้มืดมาแล้วมืดไป
    ๒. บุคคลผู้มืดมาแล้วสว่างไป
    ๓. บุคคลผู้สว่างมาแล้วมืดไป
    ๔. บุคคลผู้สว่างมาแล้วสว่างไป

    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#cc0000 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99 border=2><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>
    -กรรมของมนุษย์-


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ก่อนอื่น ต้องทราบว่า เรื่องกรรมของมนุษย์นั้น ย่อมเป็นปัญหาใหญ่ ผู้คนทั้งหลายมักสงสัยว่า เป็นคนเหมือนกันแต่ทำไมไม่เหมือนกัน บางคนดี บางคนบ้า บางคนเป็นคนสูง บางคนเป็นคนต่ำ บางคนรวย บางคนยากจน บางคนมีปัญญา บางคนไร้ปัญญาอับวาสนา เพราะอะไรกัน

    กรรม! กรรมที่มนุษย์ทั้งหลายได้เคยกระทำไว้ นั่นเอง เป็นตัวแบ่งแยกให้คนทั้งปวงแตกต่างกันไป เช่นนั้น เพราะสัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน เป็น ทายาทแห่งกรรม กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและ ประณีตได้ อย่าได้สงสัยอะไรเลย

    ปฏิปทาให้มีอายุสั้น ดูกรมาณพ! บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรี ก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็นคนมักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นอยู่ในการ ประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต ครั้นเขาตายย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หากเขาตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แล้ว ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง เขาจะเป็นคนมีอายุสั้น

    ปฏิปทาให้มีอายุยืน ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้มีอายุยืนคือสตรีก็ตาม บุรุษ ก็ตาม เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ครั้นเขาตายไป ย่อมจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ หากไม่เข้า ถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง เขาจะเป็นคนมีอายุยืน

    ปฏิปทาให้มีโรคมาก ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้มีโรคมาก คือสตรีก็ตามบุรุษ ก็ตาม เป็นผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือด้วย ก้อนดิน ด้วยท่อนไม้หรือด้วยศาสตรา

    ปฏิปทาให้มีโรคน้อย ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้มีโรคน้อย คือสตรีก็ตามบุรุษ ก็ตาม เป็นผู้มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือ ด้วยก้อนดิน ด้วยท่อนไม้หรือด้วยศาสตรา

    ปฏิปทาให้มีผิวพรรณทราม ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้มีผิวพรรณทรามคือสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธความร้ายและความขึ้งเครียดให้ปรากฏ

    ปฏิปทาให้มีผิวพรรณงาม ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้มีผิวพรรณงามคือสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความ แค้นเคือง ถูกคนอื่นเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธความร้าย และความขึ้งเครียดให้ปรากฏ

    ปฏิปทาให้เป็นคนมีศักดาน้อย ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้เป็นคนมีศักดาน้อยก็คือสตรี ก็ตามบุรุษก็ตาม เป็นคนมีใจริษยา ย่อมมีใจริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิสสาริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น

    ปฏิปทาให้เป็นคนมีศักดามาก ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้เป็นคนมีศักดามากคือเป็นสตรี ก็ตามเป็นบุรุษก็ตาม เป็นคนมีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิสสาริษยาในลาภสักการะความ เคารพ ความนับถือ การไหว้และการบูชาของคนอื่น

    ปฏิปทาให้มีโภคะน้อย ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้มีโภคะน้อย คือจะเป็นสตรี ก็ตามเป็นบุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่อาศัย เครื่อง ตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์

    ปฏิปทาให้มีโภคะมาก ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้มีโภคะมาก คือจะเป็นสตรี ก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่ กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนาแก่คนที่ควรให้อาสนนะ ไม่ให้ทางแก่คน ที่ควรให้ทาง ไม่สักการะแก่คนที่ควรสักการะ ไม่เคารพ คนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ ควรบูชา

    ปฏิปทาให้เกิดในตระกูลสูง ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้เกิดในตระกูลสูง คือจะเป็น สตรีก็ตามเป็นบุรุษก็ตาม เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่ควรให้อาสนะ ให้ทางแก่คนที่ควร ให้ทาง สักการะแก่คนที่ควรสักการะ เคารพแก่คน ที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา

    ปฏิปทาให้มีปัญญาทราม ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้มีปัญญาทรามคือจะเป็น สตรีก็ตามเป็นบุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ไม่เคย เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์ แล้วสอบถามว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำลงไปแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความมิใช่ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์สิ้นกาลนาน อะไรเมื่อทำลงไปแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน

    ปฏิปทาให้มีปัญญาหลักแหลม ดูกรมาณพ! ปฏิปทาให้มีปัญญาหลักแหลม คือสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้เข้าไปหา สมณะหรือพราหมณ์ แล้วสอบถามว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำลงไปแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความมิใช่ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์สิ้นกาลนาน อะไรเมื่อทำลงไปแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน

    ดูกรมานพ! สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อม จำแนกสัตว์ทั้งหลายให้เลวและประณีตได้ ด้วยประการฉะนี้

    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#cc0000 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffcc99 border=2><TBODY><TR><TD bgColor=#ebebeb>
    -ปฏิปทาให้เกิดมาเป็นมนุษย์-


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ก่อนที่มนุษย์ทั้งหลาย จะได้มีโอกาสกลับมาเกิดเป็น มนุษย์ เป็นคนในมนุสสภูมินี้อีกนั้น มิใช่ว่าอยู่ๆ แล้ว พอตายไปก็กลับมาเกิดเป็นคนได้อีกอย่างง่ายดาย โดยที่แท้ จักกลับมาเกิดเป็นคนอีกได้ ก็เพราะมีเหตุ มีปัจจัย นั่นก็คือ มนุษยธรรม = ธรรมของมนุษย์ หรือธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ นั่นก็คือ เบญจศีล หรือปัญจสิกขาบทนั่นเอง

    จบ "มนุสสภูมิ"
    โพสท์ในลานธรรมเสวนาโดย คุณdeedi [ 9 ส.ค. 2542 ])
    เป็นส่วนหนึ่งของกระทู้ที่ 000214 เรื่อง กรรมวิบากและภพภูมิ
     
  2. yut2u

    yut2u เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    93
    ค่าพลัง:
    +464
    [​IMG]
     
  3. countdown

    countdown เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,018
    ค่าพลัง:
    +3,165
    เว็ปนี้งะสูงๆ ทั้งนั้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...