มรรคอริยสัจ หนทางถึงความดับทุกข์ : หลวงปู่ขาว อนาลโย

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย เสขะ บุคคล, 8 กุมภาพันธ์ 2016.

  1. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    [​IMG]

    มรรคอริยสัจ หนทางถึงความดับทุกข์
    ธรรมโอวาท หลวงปู่ขาว อนาลโย




    .. กุศลธรรมทั้งหลาย มีสติเป็นเค้ามูล ครั้นมีสติแล้ว กุศลธรรมทั้งหลายก็เกิดขึ้น


    ก็มีแต่ทำแต่ความดีทุกสิ่งทุกอย่าง รู้แล้วอย่างนี้ ก็ให้พากันหัดทำสติ มันผิดก็ให้รู้ เราจะทำด้วยกายก็ให้ระลึกนึกได้เสียก่อน เราจะพูด ก็ให้ระลึกนึกได้เสียก่อน เราจะทำด้วยกายก็ให้ระลึกนึกได้เสียก่อน จะคิดก็ให้ระลึกนึกได้เสียก่อน มันถูกเราจึงพูด มันถูกเราจึงทำ มันถูกเราจึงคิดนึก ให้ทำสติให้สำเหนียกให้แม่นยำ ให้พากันสมาทานเอง


    อธิสีลสิกฺขาสมาทาเน ให้พากันสมาทานกันให้ศีลของเรา เอาศีลของเราเป็นอธิศีล คือเป็นใหญ่ เป็นอธิบดี ให้เป็นศีลมั่นคง อย่าให้เป็นศีลง่อนแง่นคลอนแคลน


    อธิจิตตสิกขาสมาทาเน ให้พากันสมาทานเอา คือตั้งใจมีสติควบคุมจิตใจของตน ให้ตั้งมั่นอยู่อย่างนั้น ทำการทำงานพูดจาหรือ ก็ให้จิตตั้งมั่น หรือนั่งภาวนาก็ให้จิตตั้งมั่น ให้เป็นอธิบดี อธิคือว่าให้เป็นใหญ่กว่าสิ่งทั้งปวง เรียกว่าไม่หวั่นไหวต่อสิ่งทั้งปวง


    อธิปญฺญาสิกฺขาสมาทาเน


    ให้สมาทานเอาอธิปัญญา ความรู้จริง รอบคอบ รู้เท่าสังขาร ปัญญาความเห็น คือเห็นทุกข์ เห็นชาติ ความเกิดเป็นทุกข์ เห็นชรา ความเฒ่าความแก่เป็นทุกข์ เห็นพยาธิ ความเจ็บไข้ได้พยาธิเป็นทุกข์ เห็นมรณะ ความตายเป็นทุกข์


    ความทุกข์เกิดขึ้นในกาย ความไม่ดีเกิดขึ้นในกาย เวทนาไม่ดีเกิดขึ้นแต่สัมผัสทางกาย อันนี้เรียกว่าความทุกข์กาย ให้กำหนดให้ดี


    ความทุกข์เกิดขึ้นที่ใจ ความไม่ดีเกิดขึ้นที่ใจ เวทนาไม่ดีเกิดขึ้นที่ใจ เกิดขึ้นสัมผัสทางใจ อันนี้ได้แก่ความโศก ความเสียใจ ความเศร้าใจ


    ให้กำหนดให้มันรู้เรื่องทุกข์ ให้มันเห็นเรื่องทุกข์เสีย สัจจะทั้ง ๔ นี้ พระพุทธเจ้าว่าเป็นทางไปพระนิพพาน นี่แหละทางดับทุกข์ นี่แหละให้พิจารณา


    ความประจวบกับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รักที่เจริญใจ มีความไปร่วม มีความมาร่วม มีความประชุมร่วม สัตว์ทั้งนี้ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ เรียกว่า อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข ทุกข์น่าเกลียด ทุกข์น่าชัง ทุกข์ไม่พอใจ เป็นทุกข์ การพลัดพรากจากสัตว์และสังขาร อันเป็นที่รักที่เจริญใจ มีญาติพี่น้องที่พลัดพรากไปไกล หรือล้มหายตายเสีย ไปจากกันแล้ว ก็มีความทุกข์โศก เรียกว่า ปิเยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโข ความไม่ไปร่วม ความไม่มาร่วม ความไม่ประชุมร่วมกับสิ่งที่ชอบใจ อันนี้เป็นทุกข์ บุคคลปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นสมหวังก็เป็น


    ทุกข์ อันนี้มันมาจากไหน เราได้รับผลอย่างนี้มันมาจากไหน


    ต้องใช้สติปัญญาค้นคว้า มันก็จะเห็นกัน เมื่อทำจิตให้อยู่สงบ มันก็จะเห็นไป คือความอยาก มันเกิดมาจากความอยาก เรียกว่า


    กามตัณหา ความใคร่ ความพอใจในรูป ในสิ่งที่มีวิญญาณและสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ ความใคร่ ความพอใจ ทุกข์มันเกิดขึ้นจากความอยาก ความใคร่


    ภวตัณหา ความอยากเป็น อย่างนี้ ความอยากได้ อยากหอบ อยากกอบ อยากโกยเอา อันไหนก็อยากกอบโกยมาเป็นของตัว อยากเป็นเศรษฐีคฤหบดี ราชามหากษัตริย์ อันนี้เรียกว่า ภวะ ความอยากเป็นอยากมี


    ความไม่พอใจ เหมือนอย่างหนังหดเหี่ยวเป็นเกลียว ความแก่หง่อมแห่งชีวิต ความเสื่อมแห่งชีวิต มีหนังหดเหี่ยวเป็นเกลียว ผมหงอก ฟันหัก อันนี้ไม่พอใจ อยากได้ อยากให้มันเป็นอยู่เหมือนเก่า หนังก็ดี แต่มีนหดเหี่ยวเสียแล้ว ผมมันหงอก กลับไปเอายาดำ ๆ นั่นมาย้อม มาย้อมมันก็ส่งกลิ่น มันก็ขายหน้าอีกแล้ว มันก็ดำอยู่แต่ปลาย ทางโคนนั่นมันก็ขาว ขายหน้าอีกแล้ว ก็ไม่พอใจ อันนี้เรียกว่า วิภวตัณหา


    ตัณหา ๓ ตัว ๓ อย่างนี่แหละ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นเหตุให้ทำชั่วอยู่บ่อย ๆ เราก็ใช้ปัญญาค้นหา มันเกิดอยู่ตอนไหน ตัณหามันเกิด มันจะเกิดมันเกิดขึ้นตอนไหน มันตั้งอยู่ มันตั้งอยู่ที่ไหน


    พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จกฺขุ◦ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ เอตฺเถสา ตณฺหา อุปฺปชฺชมานา อุปฺปชฺชติ เอตฺถ นิวิสมานา นิวิสติ ฯ .....เอตฺถ นิรุชฺฌมานา นิรุชฺฌติ ฯ” สิ่งใดเป็นที่รัก เป็นชนิดใด ใจไม่โลภ อะไรเป็นที่รัก ที่เป็นชนิดใด ใจไม่โลภ จกฺขุ◦” ที่ตา “โสตํ โลเก ปิยรูปํ ฯ ฆานํ โลเก ปิยรูปํ ฯ ชิวฺหา โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ ฯ กาโย โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ ฯ มโน โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ เอตฺเถสา ตณฺหา อุปฺปชฺชมานา อุปฺปชฺชติ ฯลฯ........ เอตฺถ นิรุชฺฌมานา นิรุชฺฌติ ฯ”


    มันเกิดขึ้นจากอายตนะทั้ง ๖ นี่เอง


    ตัณหาเกิดขึ้น ตัณหาเป็นที่รัก ตัณหาจะเกิดขึ้นที่ตา ตัณหาจะตั้งอยู่ที่ตา ตั้งอยู่ที่หู ตั้งอยู่ที่จมูก ตั้งอยู่ที่ลิ้น ตั้งอยู่ที่กาย สัมผัสอันใดมันมาถูกต้อง มันมีความพอใจ มีความกำหนัดชอบใจ


    อารมณ์อดีตที่ล่วงมาแล้ว อนาคตยังมาไม่ถึง แต่เอามาเป็นอารมณ์ เรียกว่าธรรมารมณ์ มันเกิดขึ้นที่ใจ รู้จักว่าบ่อนมันเกิดขึ้นที่นี่ ไม่เกิดขึ้นที่อื่น


    เกิดขึ้นจากอายตนะภายใน เกิดขึ้นจากอายตนะภายนอกประจวบกัน ต่อไปเกิดวิญญาณความรู้ขึ้น เกิดวิญญาณตัวนี้ขึ้น เกิดขึ้นจากสัมผัส เวทนาเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ขึ้นไป


    รู้แล้วเราเพียรละที่มันเกิด จากอายตนะภายนอก จากอายตนะภายใน เกิดขึ้นจากสัมผัส อายตนะเกิดขึ้นเพราะสัมผัส เมื่อรู้แล้ว เราก็เพียรละ เราเพียรปล่อยวาง


    เมื่อดับความทุกข์ชนิดนี้ได้ ความวิเวกดับทุกข์สิ้นดังนี้ ดับตัณหาทั้ง ๓ ได้ นิโรธ นิโรธคือความไม่หวั่นไหวเรียกว่า นิพพาน ..



    หลวงปู่ขาว อนาลโย
    ที่มา
    อนาลโยวาท กัณฑ์ที่ ๑๖ หลวงปู่ขาว อนาลโย



    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. choksila58

    choksila58 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    631
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,059
    ..สาธุ สาธุ สาธุ..
     

แชร์หน้านี้

Loading...