เรื่องเด่น มรรค 8 ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย alfed, 15 ตุลาคม 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    พูดเองนะ ตัวแดงที่ขีดเส้นใต้ก็ชัดอีกว่า แก้ปัญหาภาคปฏิบัติทางจิต/ภาคปฏิบัติกรรมฐานไม่ได้
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้, มักมาคู่กับสติ

    สัมปชัญญะ ๔ ได้แก่ ๑. สาตถกสัมปชัญญะ รู้ชัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักว่าตรงตามจุดหมาย
    ๒. สัปปายสัมปชัญญะ รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ หรือตระหนักว่าเกื้อกูลเหมาะกัน

    ๓. โคจรสัมปชัญญะ
    รู้ชัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงานของตน

    ๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ รู้ชัดว่าไม่หลงหรือตระหนักในตัวสภาวะ ไม่หลงใหล ไม่สับสนฟั่นเฟือน
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    คคห.นี้ ให้ดูเฉพาะหัวข้อของมรรค (ยังมิใช่เนื้อหารายละเอียด) ในฐานะต่างๆ เช่น

    มรรค ในฐานะมัชฌิมาปฏิปทา

    มรรค ในฐานะข้อปฏิบัติหรือทางชีวิต ทั้งของบรรพชิตและคฤหัสถ์

    มรรค ในฐานะหลักปฏิบัติที่เนื่องด้วยสังคม

    มรรค ในฐานะทางให้ถึงความสิ้นกรรม

    มรรค ในฐานะอุปกรณ์สำหรับใช้ มิใช่สำหรับยึดถือหรือแบกไว้โก้ๆ

    มรรค ในฐานะพรหมจรรย์ หรือพุทธจริยา

    มรรค ในฐานะมรรคาสู่จุดหมายขั้นต่างๆของชีวิต

    มรรค ในฐานะไตรสิกขา หรือระบบการศึกษาสำหรับสร้างอารยชน

    อริยมรรค กับ ไตรสิกขา

    จากมรรคมีองค์ ๘ สู่สิกขา ๓

    ชาวบ้าน ดำเนินมรรคาด้วยการศึกษาบุญ

    กระบวนธรรมในตัวคน ของมรรค กับ กระบวนการฝึกคน ของสิกขา

    ฯลฯ
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เพื่อให้เห็นเค้า ขอลงเนื้อหาสาระหัวข้อข้างบน (ระดับสูงสุด) สักหนึ่งข้อ

    มรรคในฐานะอุปกรณ์สำหรับใช้ มิใช่สำหรับยึดถือหรือแบกโก้ไว้

    "ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกล พบห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งข้างนี้ น่าหวาดระแวง น่ากลัวภัย แต่ฝั่งข้างโน้น ปลอดโปร่ง ไม่มีภัย ก็แล เรือ หรือสะพาน สำหรับข้ามไปฝั่งโน้น ก็ไม่มี บุรุษนั้นพึงดำริว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่ ฝั่ง ข้างนี้ น่าหวาดระแวง ...ถ้ากระไร เราพึงเก็บรวมเอาหญ้า ท่อนไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ มาผูกเป็นแพ แล้วอาศัยแพนั้น พยายามเอาด้วยมือและเท้า พึงข้ามถึงฝั่งโน้นได้โดยสวัสดี"

    "คราวนั้น เขาจึง...ผูกแพ...ข้ามถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดี ครั้นเขาได้ข้ามไป ขึ้นฝั่งข้างโน้นแล้ว ก็มีความดำริว่า แพนี้ มีอุปการะแก่เรามากแท้ เราอาศัยแพนี้...ถ้ากระไร เราพึงยกแพนี้ขึ้นเทินบนหัว หรือแบกขึ้นบ่าไว้ ไปตามความปรารถนา"

    "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเห็นเป็นเช่นไร ? บุรุษนั้น ผู้กระทำอย่างนี้ จะชื่อว่า เป็นผู้กระทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น หรือไม่?"

    ภิกษุทั้งหลาย ทูลตอบว่า ไม่ถูก จึงตรัสต่อไปว่า

    "บุรุษนั้นทำอย่างไร จึงจะชื่อว่าทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น ? ในเรื่องนี้ บุรุษนั้น เมื่อได้ข้ามไปถึงฝั่งโน้นแล้ว มีความดำริว่า แพนี้ มีอุปการะแก่เรามากแท้... ถ้ากระไร เราพึงยกแพนี้ขึ้นไว้บนบก หรือผูกให้ลอยอยู่ในน้ำ แล้วจึงไปตามปรารถนา บุรุษนั้นกระทำอย่างนี้ จึงจะชื่อว่า เป็นผู้กระทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น นี้ฉันใด"


    "ธรรม ก็มีอุปมาเหมือนแพ เราแสดงไว้ เพื่อมุ่งหมายให้ใช้ข้ามไป มิใช่เพื่อให้ยึดถือไว้ ฉันนั้น เมื่อเธอทั้งหลาย รู้ทั่วถึงธรรม อันมีอุปมาเหมือนแพที่เราแสดงแล้ว พึงละเสียแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปใยถึงอธรรมเล่า" * (ม.มู.12/280/270)

    "ภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิ (หลักการ ความเข้าใจธรรม) ที่บริสุทธิ์ถึงอย่างนี้ ผุดผ่องถึงอย่างนี้ ถ้าเธอทั้งหลาย ยังยึดติดอยู่ เริงใจกระหยิ่มอยู่ เฝ้าถนอมอยู่ ยึดถือว่าเป็นของเราอยู่ เธอทั้งหลาย จะพึงรู้ทั่วถึงธรรม ที่เราแสดงแล้ว เพื่อมุ่งหมายให้ใช้ข้ามไป มิใช่เพื่อให้ยึดถือเอาไว้ ได้ละหรือ" * (ม.มู.12/445/479)



    พุทธพจน์ทั้งสองแห่งนี้ นอกจากเป็นเครื่องเตือนไม่ให้ยึดมั่นในธรรมทั้งหลาย (แม้ที่เป็นความจริง ความถูกต้อง) โดยมิได้ถือเอาประโยชน์จากธรรมเหล่านั้นตามความหมาย คุณค่า และประโยชน์ตามความเป็นจริงของมันแล้ว ข้อที่สำคัญยิ่งก็คือ เป็นการย้ำให้มองเห็นธรรมทั้งหลาย ในฐานะเป็นอุปกรณ์ หรือวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย มิใช่สิ่งลอยๆ หรือจบในตัว

    ด้วยเหตุนี้ เมื่อปฏิบัติธรรมข้อใดข้อหนึ่ง จะต้องรู้ตระหนักชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ของธรรมนั้น พร้อมทั้งความสัมพันธ์ของมันกับธรมอย่างอื่นๆ ในการดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์นั้น

    วัตถุประสงค์ในที่นี้ มิได้หมายเพียงวัตถุประสงค์ทั่วไปในขั้นสุดท้ายเท่านั้น แต่หมายถึงวัตถุประสงค์เฉพาะตัวของธรรมข้อนั้นๆ เป็นสำคัญ ว่าธรรมข้อนั้นปฏิบัติ เพื่อช่วยสนับสนุนหรือให้เกิดธรรมข้อใด จะไปสิ้นสุดลงที่ใด มีธรรมใดรับช่วงต่อไป ดังนี้เป็นต้น

    เหมือนการเดินทางไกลที่ต่อยานพาหนะหลายทอดและอาจใช้ยานพาหนะต่างกัน ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ จะรู้คลุมๆ เพียงว่าจะไปสู่จุดหมายปลายทางที่นั่นๆ เท่านั้นไม่ได้ จะต้องรู้ด้วยว่า ยานแต่ละทอดแต่ละอย่างนั้น ตนกำลังอาศัยเพื่อไปถึงที่ใด ถึงที่นั้นแล้ว จะอาศัยยานใดต่อไป ดังนี้ เป็นต้น * (พระสูตรที่ช่วยเน้นข้อความที่กล่าวมานี้ ได้แก่ รถวินีตสูตร ม.มู.12/292-300/287-297 ซึ่งแสดงให้เห็นวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เฉพาะของธรรมแต่ละอย่าง ตามลำดับวิสุทธิ ๗)



    การปฏิบัติธรรมที่ขาดความตระหนักในวัตถุประสงค์ ความเป็นอุปกรณ์ และความสัมพันธ์กับธรรมอื่นๆ ย่อมกลายเป็นการปฏิบัติที่เลื่อนลอย คับแคบ ตัน และที่ร้ายยิ่งคือ ทำให้เขวออกนอกทาง ไม่ตรงจุดหมาย และกลายเป็นธรรมที่เฉื่อยชา เป็นหมัน ไม่แล่นทำการ ไม่ออกผลที่หมาย

    เพราะการปฏิบัติอย่างไร้จุดหมายเช่นนี้ ความไขว้เขว และผลเสียหายต่างๆ จึงเกิดขึ้นแก่หลักธรรมสำคัญๆ เช่น สันโดษ อุเบกขา เป็นต้น

    (พุทธธรรมหน้า 531)
     
  5. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    อ๋อแน่นอนครับ ไม่ได้ตั้งใจจะมาเป็นอาจารให้กับใครหรือมาสอนใคร เพียงแค่มาเพื่อหาเพื่อนทางธรรม กัลยานมิตรเท่านั้นเองครับ มีธรรมอาไรมาแนะนำกันมีเรื่องอาไรติดขัดมาพูดคุยกัน ก้อาจจะเหมือนสอนกันบ้างแต่เรียกว่าแค่แนะนำกันจะดีกว่านะครับ เพราะเราไม่รู้ตื้นลึกหนาบางของแต่ละคนที่จะไปสรุปตัดสินใครได้ครับ เรื่องแก้อะไรให้ใครนั้นคงทำไม่ได้ได้แค่แนะนำเท่านั้นครับ
     
  6. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    มันเป็นความคิดเห็นของท่าน มจด เองนะครับ ต่อไปงูๆปลาๆจะแยกเวลาตอบระหว่างความจริงกับความคิดเห็นของท่าน มจด จะได้เข้าใจได้ง่ายครับ
    แต่เรื่องทำบุญทำเป็นประจำครับ และเรื่องพูดคุยกันระหว่างกัลยานมิตรนี่ งูๆปลาๆว่าไม่เกินไปหรอกครับ นอกจากว่าคิดว่าเหนือกว่าเค้าคิดว่าดีกว่าเค้าแบบนี้สิครับจึงมีคำว่าเกินไป ปัญญามากหรือน้อยนั้นพูดคุยกันได้ส่วนสารที่ส่งไห้นั้นไว้ให้ผู้รับตัดสินดีกว่านะครับ ส่วนความคิดของท่าน มจด ตัดสินว่าไร้ปัยญาไร้ค่า งูๆปลาๆก้ไม่ได้ว่าอะไรครับ มันก้เป็นความคิดของท่าน มจด เอง
     
  7. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ท่านมจด ท่าจะมีคุณธรรมสูงนะครับ แต่เหมือนว่าน่าจะพิจารณากิเลสแบบละเอียดหน่อยดีไหมครับ พวก มานะ อุทธัจจะ อวิชชา เผื่อว่าจะลดความลำคานใจลงได้บ้างนะครับจะได้ไม่สนใจว่าจะดีกว่าเค้าเก่งกว่าเค้าเค้าด้อยปัญญาหรือเค้าเป็นอย่างไรๆ
     
  8. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    ขันติธรรม ขันติบารมี บารมีธรรมที่เกืัอกูลองค์มรรค

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ขันติ เป็นเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง" หนึ่งในโอวาทปาติโมก

    ขันติธรรม และ โสรัจจะ ทำให้คนงาม

    การยกจิตให้เหนืออารมณ์และการกระทำ ต้องอาศัยปัญญา มีขันติเป็นธรรมเกื้อกูลให้สำเร็จ

    หลาย ๆ คน นั่งสมาธิได้นานแสนนาน ทนปวดทนเมื่อย. แต่พอออกจากสมาธิ แต่กลับทนอารมณ์ไม่ได้ หลาย ๆ คน ต้องตกเป็นเหยื่อของอารมณ์โดยมานั่งเสียใจภายหลัง บางคนไม่รู้เท่าทันอารมณ์ บางคนรู้เท่าทันแต่กลับให้อารมณ์มีอำนาจเหนือกว่า

    วิธีฝึกขันติบารมีสำหรับผู้ฝึกเบื้องต้น...

    ฝึกตามสถานที่ธรรมชาติ ไม่ต้องเข้าสมาธิระดับลึก อยู่กับการรู้ตัว ปล่อยให้ยุง มด แมลง ไร มาตอม โดยนิ่งเฉยอยู่อย่างนั้น โดยมีสัจจะปฏิบัติกี่นาทีกี่ชั่วโมงจะนิ่งอยู่อย่างนั้นโดยมิได้ขยับเขยื้อนเลย และให้สังเกตุดูใจ กับ ผัสสะ ที่ได้รับ และความรู้สึกทางกายที่ได้รับ ส่งผลให้ใจมีปฏิกิริยาอย่างไร. ระหว่างที่นั่งอยู่ด้วยสัจจะ เราจะเห็นความอดทนทางใจ. ความอดทนต่อเวทนา รู้สึกอย่างไร. ความขันติอดทนตัวนี้แหละ. ที่เราจะนำไปใช้อดทนต่ออารมณ์ของคนอื่นระหว่างที่เราเคลื่อนไหว

    เพราะส่วนใหญ่ที่ตกเป็นทาสของอารมณ์ ล้วนแล้วมีเหตุมาจากไม่รู้เท่าทันอารมณ์ ๑. เกิดจากขันติต่ออารมณ์ไม่พอ หรือ ฝึกใจไว้ไม่ดีพอ ๑

    ผู้ที่นั่งสมาธิส่วนใหญ่ จะฝึกสมาธิหนีอารมณ์ คือทิ้งกายทิ้งเวทนา. ลองฝึกอีกวิธีคือ อยู่กับกายและเวทนาอารมณ์เดียว ให้อยู่กับรู้ด้วยสติสัมปชัญญะ แล้วดูผัสสะที่กระทบ ให้พิจารณาด้วยสติปัญญา เราจะเห็นคุณค่าของความอดทนทางกาย และ ความอดทนทางใจ ต่อยุงลิ้นไรที่มาตอมร่างกายด้วยการฝึกรู้ให้ชินเป็นนิสัย กรณีนี้ถ้าฝึกในห้องแอร์ หรือ ฝึกที่สถานที่มิดชิด จะไม่ได้ผล

    เป็นทางเลือกอีกทางสำหรับผู้ที่ต้องการฝึกขันติ เคยสังเกตุคนหลายคน ทำไมนั่งสมาธิได้ชั่วโมงสองชั่วโมง แต่พอมียุงมากัด ไรมาตอม มีปฏิกริยาตอบกลับโดยทันที แต่เราผู้ฝึกรูัอย่างชาชิน พอมีผัสสะกระทบก็เกิดตัวรู้ก่อนเป็นอย่างแรก จะกระทำอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการว่าจะปัดหรือไม่ปัด นั้นคือ รู้เท่าทันอารมณ์แล้ว ต่อไปก็อยู่ที่ปัญญาและขันติ นี้แหละคือ ความขันติที่จะนำมาใช้อดทนทางใจต่ออารมณ์ของตนเองและผู้อื่นธรรมที่เกื้อกูลให้มรรคสำเร็จ เพราะขันติได้ อารมณ์ก็หายไป. ตั้งอยู่ไม่นาน กรรมทั้งสามก็ไม่เกิดไม่มี มีเพียงแต่รู้เฉยได้ต่อทุกผัสสะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2017
  9. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    มีอีกวิธีหนึ่งค่ะ การฝึกอยู่กับรู้ด้วย. สติ สัมปชัญญะ ด้วยวิธีการเดินจงกลม วิธีนี้จะให้ผลที่เด่นชัด เพราะส่วนใหญ่สร้างกรรม ล้วนเกิดมาจาก ธาตุเคลื่อนไหว ร่างกายเคลื่อนไหว

    การเดินจงกลม ที่ฝึกรู้ อีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้ที่ยังไม่มีแนวทาง หรือจะลองดูก็ได้ค่ะ

    การเดินจงกลมที่อยู่กับรู้ด้วยสติสัมปชัญญะ

    ๑.เดินจงกลมอย่างรู้ด้วยสัมปชัญญะ ทุกครั้งที่เท้าลงถึงพื้น จะรับรู้ความรู้สึกได้ทั้งเท้า และเพิ่มความรู้สึกจากเท้า ขึ้นไปสู่ร่างกาย ให้รู้สึกได้ทั้งร่าง

    ๒.เดินจงกลมอย่างรู้ ทุกการเคลื่อนไหวของฝ่าเท้า ขณะยกเท้า ขณะลงเท้า ขณะย่างเท้า รูัทุกการเคลื่อนไหวตลอด อย่าให้คลาดตัวรู้ ให้เพียรรู้ท่วงท่าตลอด

    ๓.เดินจงกลมด้วยรู้เส้นสายพลังงาน หรือ เรียกว่า รู้ความรู้สึกขณะย่าง ทุกย่างก้าว จะรับรู้ความรู้สึกขณะเท้าย่างตลอด จนกำหนดความรู้สึกเป็นตรงตามที่เท้าย่างได้ รู้ได้ทุกขณะที่เยื้องก้าวเป็นเส้นความรู้สึกอย่างไร

    ๔.เดินจงกลมด้วยรู้ด้วยความนิ่ง ทุกขณะที่เดินมตามองออกไปข้างหน้า มีแต่ตัวรู้อยู่ นิ่งอยู่ เห็นการเคลื่อนตัวอยู่ ไม่มีความคิดความนึกใดอยู่เลย ถ้าเริ่มมีความคิดตัวรู้สัมปชัญญะเริ่มลดลง แต่ถ้ารู้ตัวเต็ม ๆ ความคิดจะหายไป

    การฝึกสติสัมปชัญญะแบบอีกทางเลือกหนึ่งค่ะ
     
  10. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    มานะ
    • สิ่งนี้เลิศกว่าสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้เลิศกว่าสิ่งนั้น
    • สิ่งนี้เลิศกว่าสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้เสมอสิ่งนั้น
    • สิ่งนี้เลิศกว่าสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้ด้อยกว่าสิ่งนั้น
    • สิ่งนี้เสมอสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้เลิศกว่าสิ่งนั้น
    • สิ่งนี้เสมอสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้เสมอสิ่งนั้น
    • สิ่งนี้เสมอสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้ด้อยกว่าสิ่งนั้น
    • สิ่งนี้ด้อยกว่าสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้เลิศกว่าสิ่งนั้น
    • สิ่งนี้ด้อยกว่าสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้เสมอสิ่งนั้น
    • สิ่งนี้ด้อยกว่าสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้ด้อยกว่าสิ่งนั้น
    อีกอย่างหนึ่ง
    • ถือว่าเราดีกว่าเขา
    • ถือว่าเราเสมอเขา
    • ถือว่าเราเลวกว่าเขา
    เป็นกิเลสชั้นละเอียด เป็นทั้งอนุสัยกิเลส และ สังโยชน์ ๑๐
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อ๋อแน่นอนครับ ไม่ได้ตั้งใจจะมาเป็นอาจารให้กับใครหรือมาสอนใคร ฯลฯ

    อ้อ ถ้ายังงั้นที่นี่

    http://palungjit.org/threads/ทำยังไงจึงจะฝึกภาวนาได้โดยไม่มีความอยากนำ.623706/page-2

    # 22
    งูๆปลาๆ said:

    ส่วนแรกนิวรณ์ยังบดบังคุณอยุ่ ส่วนที่สองคุณต้องทำให้เกิดความเป็นวสีระหว่างการเข้าออกสมาธิหรือการคงสมาธิไว้และออกจาดสมาธิโดยสิ้นเชิง ทั้งสองส่วนจะรวมตัวกันเละเผยส่วนแรกให้กระจ่างครับ พิจารณาความคาดหวัง ผลของการคาดหวัง อย่าไห้มีสิ่งที่หวังไว้ ปล่อยให้ผลเป็นในสิ่งที่เป็นจริงๆ
    ..........
    ขอบคุณมากครับคุณ งูๆปลาๆ รบกวนขยายความในเรื่อง "ทั้งสองส่วนจะรวมตัวกันและเผยส่วนแรกให้กระจ่าง" ได้มั้ยครับ ผมจะได้ไม่ตีความไปเอง

    ที่ # 28 มจด.ยังช่วย จขกท.กระตุ้น งูๆปลาๆให้ตอบเลย ไม่เชื่อไปดูดิ :D
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    มจด.ไม่ใช่อรหันต์นะ คิกๆๆ จะได้ละสังโยชน์สามตัวนั้นได้ อิอิ

    งูๆปลาๆ เหมาะกับสิ่งเหล่านี้ ตย.

    http://palungjit.org/threads/สุจริต-๓.624350/

    http://palungjit.org/threads/สัจจะกะนิครนถ์-ผู้มีนิสัยละทิ้งความสัตย์ใฝ่ใจจะยกย่องถ้อยคำของตนให้สูง.624356/
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    มันเกินตัว เกินใจ :) ตกลงนี่ฮูๆปลาๆไม่เชื่อตามที่ มจด.แนะนำหรอขอรับนี่ คิกๆๆ ดื้อจริงๆ คนอะไร
    ก็อย่างที่บอก เรื่องประวัติสาวก ประวัติเถียรถีย์ นั่นๆนี่ๆ อย่างสองลิงค์นั่น มาลงเครไม่มีปัญหา
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อริยบุคคล ๘ จัดตามกิเลสหรือสังโยชน์ที่ละได้ในแต่ละขั้น พร้อมไปกับความก้าวหน้าในการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ดังนั้นจึงควรรู้จักสังโยชน์ไว้ ดังนี้


    สังโยชน์ แปลตามศัพท์ว่า เครื่องผูก หมายถึงกิเลสที่ผูกใจสัตว์ หรืออกุศลธรรมที่ผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ เหมือนผูกเทียมสัตว์ไว้กับรถ มี ๑๐ อย่าง *
    คือ

    ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ หรือขั้นหยาบ) ๕ อย่าง
    คือ

    ๑ . สักกายทิฏฐิ
    ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ความเห็นที่ยังติดแน่นในสมมติว่าเป็นตัวตน เราเขา เป็นนั่นเป็นนี่ มองไม่เห็นสภาพความจริง ที่สัตว์บุคคลเป็นเพียงองค์ประกอบต่างๆ มาประชุมกันเข้า ทำให้มีความเห็นแก่ตัวในขั้นหยาบ และความรู้สึกกระทบกระทั่งบีบคั้นเป็นทุกข์ได้รุนแรง *

    . วิจิกิจฉา ความลังเล สงสัย เคลือบแคลงต่างๆ เช่น สงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในเรื่องที่มาที่ไปของชีวิต ในปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น ทำให้ไม่มั่นใจ ไม่เข้มแข็งแกล้วกล้าที่จะดำเนินชีวิตตามหลักธรรม ด้วยความมีเหตุมีผล และในการที่จะเดินหน้าแน่วดิ่งไปในอริยมรรคา

    ๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต คือความยึดถือผิดพลาดไปว่า จะบริสุทธิ์ จะหลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและพรต ได้แก่ การถือศีล ระเบียบ แบบแผน บทบัญญัติ และข้อปฏิบัติต่างๆ โดยสักว่าทำตามๆกันไปอย่างงมงาย เห็นเป็นขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ ติดอยู่แต่รูปแบบหรือพิธีรีตอง ก็ดี ถือด้วยตัณหาและทิฏฐิ คือปฏิบัติเพราะอยากได้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะเห็นว่าจะทำให้ได้เป็นนั่นเป็นนี่ ก็ดี ไม่เป็นไปตามความหมาย และความมุ่งหมายที่แท้จริงของศีลและพรต ทำให้เขวออกนอกลู่นอกทาง หรือเลยเถิดไป เป็นอย่างศีลและพรตของนักบำเพ็ญตบะ เป็นต้น ไม่เข้าสู่อริยมรรค

    ๔. กามราคะ ความติดใคร่ในกาม ความอยากได้ใฝ่หาในเรื่องรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ

    ๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง หรืองุ่นง่านใจ

    ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง หรือขั้นละเอียด) ๕ อย่าง
    คือ


    ๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน พอใจในรสความสุข ความสงบของสมาธิขั้นรูปฌาน ติดใจปรารถนาในรูปภพ เป็นต้น

    ๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน ติดใจปรารถนาในอรูปภพ เป็นต้น

    ๘. มานะ ความถือตัว ความสำคัญตนเป็นนั่นเป็นนี่ เช่นว่า สูงกว่าเขา เท่าเทียบเขา ต่ำกว่าเขา เป็นต้น

    ๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน จิตใจไม่สงบ ว้าวุ่น ซัดส่าย คิดพล่านไป

    ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง ไม่รู้เท่าทันสภาวะ ไม่เข้าใจกฎธรรมดาแห่งเหตุและผล หรือไม่รู้อริยสัจ
    ........
    ที่อ้างอิงตามลำดับที่ *
    * เช่น สํ.ม.19/349/90 ... (พึงสังเกตว่า ในบาลีทั่วไป สังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ เป็น กามฉันทะ และพยาบาท เฉพาะที่ องฺ.ติก. 20/524/312 เป็นอภิชฌา และพยาบาท แต่ที่เรียนกันมาเป็น กามราคะ และปฏิฆะนั้น ก็เพราะถือตามคัมภีร์ชั้นรอง และคัมภีร์รุ่นอรรถกถาฎีกา เช่น ขุ.ปฏิ.31/535/436 ฯลฯ)

    * คำจำกัดความตามแบบว่า มองเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร หรือวิญญาณ เป็นตน มองเห็นตน มีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร หรือมีวิญญาณ มองเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร หรือวิญญาณ ในตน หรือมองเห็นตน ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร หรือในวิญญาณ (ดู ม.มู. 12/507/548 ฯลฯ)
     
  15. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    รับฟังน่ะได้ครับใจของงูๆปลาๆไม่ได้ขัดข้องแต่อย่างไร แต่ให้เชื่อคงไม่ได้เพราะงูๆปลาๆจะเชื่อเมื่อพิจารนาด้วยปัญญาแล้วเท่านั้น แต่ตอนนี้ งูๆปลาๆ ยังไม่เห็นว่าท่าน มจดแสดงสิ่งใดที่เป็นสุจริตธรรมเลยซักอย่างเดียว ท่านมจด ไม่ได้กำหนดรับรู้สิ่งที่แสดงออกมาอย่างชัดเจนนี้หรอครับ ตั้งแต่ใจเริ่มคิด ส่งต่อถึงวาจาและออกมาจนเป็นการกระทำทุจริตต่างๆ รู้ให้ทันสิครับก้จะระงับได้ตั้งแต่ที่ใจที่เกลือก้ไม่มีอาไรตามมากิเลสหยาบๆนี่ไม่ค่อยเห็นแต่กิเลสละเอียดนี่พรั่งพรูออกมาเต็มเลยครับ ตั้งสติครับต้องผ่านไปได้แน่ๆ งูๆปลาๆ จะเอาใจช่วยนะครับ แต่ท่าหากยินดีที่จะทำรักสาในฝ่ายอกุศลไว้แม้จะรู้โทษเป็นอย่างดีแล้ว ตรงนี้งูๆปลาๆคงจะขัดท่านไม่ได้ และก้เป็นสิ่งที่งูๆปลาๆไม่ควรข้องแวะ ท่านคิดอย่างไรก้เชิญเถิดครับเพราะได้อทิบายไปหมดสิ้นแล้ว ตั้งสตินะครับตามให้ทัน ละกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ประกอปแต่ สุจริต3 จะได้เจริญในธรรม หลุดพ้นจากบ่วงกรรม
     
  16. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    เอว่าแต่กระทู้นี้ท่านเจ้าของก้ลงเรื่องมีสาระงูๆปลาๆก้เพียงแต่ยกเรื่องพระพาหิยะมาลง แต่ท่าน มจด ตอนแรกทีท่าก้เหมือนมาเสวนาธรรมในเรื่องเดียวกัน ไปๆมาๆเหมือนอยากจะมาพูดความในใจบางอย่าง อทิเช่น ไม่เก่งไร้ปัญญาอย่ามาสอนอะไรทำนองนี้ เหมือนจะมาระบายความรู้สึกอาไรหรือปล่าวครับ ริษยา อิจฉา ปติคะ มานะ และอีกเพียบเลยนะครับ งูๆปลาๆว่าอย่าไปตัดสินใครเลยดีกว่านะครับ รู้ตัวคนอื่นขนาดนั้น วกกลับมารู้ใจตนเองดีกว่าครับ แล้วท่าสิ่งที่สนทนาไม่ใช่ธรรมแต่เป็นสนองกิเลสตนนี่พอเทอะครับสงบระงับจิตตนบ้างครับ
     
  17. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ธรรมพื้นๆทั้งนั้นเลยนะครับมี่งูๆปลาๆแนะนำไป ดั่งเช่นที่ท่านมจด ต้องการ ทำสุจริตธรรมครับละทุจริต จะดีขึ้นเองครับคงไม่ต้องพิจารนาตีคสามยากเย็นอะไรก้น่าจะเข้าใจได้
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    นั่นแหละถึงบอกไงว่าลอกๆมาลงๆไว้แบบสองลิงค์นั่น :)
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    นั่นแน่ ทำเป็นรู้ใจ คิกๆๆ
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เอาอีกแระ ธรรมอีกแระ ธรรมเกิดจากการตีความ มันเป็นมโน ไม่น่าจะใช่ธรรม

    ย้อนกลับไปดู คคห.ที่ผ่านมาอีกที

    มาจากดิน said:
    คคห.เช่นงูๆปลาๆเป็นต้นนี่แหละ เมื่อมาปฏิบัติธรรมทางจิต มาภาวนามัย ฯลฯ เมื่อสภาวธรรมเกิดแล้ว ตนไม่รู้ไม่เข้าใจ ก็โทษกรรมเก่า โทษเจ้ากรรมนายเวร โทษภูตผีปีศาจ เป็นอาทิ นี่แหละจึงเป็นที่มาของความเพี้ยนแบบต่างๆ



    ขณะสวดมนต์แล้วได้เอนตัวลงนอนอย่างมีสติ...ได้บริกรรมพอง กับ ยุบ ไปเรื่อย ๆ ไม่ได้คิดอะไร...จนหลับไปไม่รู้ตัว...ระยะหนึ่ง...จิตได้เกิดกลางดึก คือ มีสติรู้ขึ้นมาทันทีของการพองยุบของท้อง และรู้สึกว่ามีนิ้วมือมากดที่สะดือแรงมาก เวลาที่พองออก ท้องก็จะพองออกมาก มือที่กดก็จะแรงไปตามการพองและยุบ จนรู้สึกกลัวมากเหมือนไส้จะหลุดออกมา.. แต่ผมก็พยายามดึงสติให้อยู่กับคำบริกรรมพอง ยุบอีก แต่พยายามแล้วจิตก็ทนไม่ได้ จิตสั่นไปหมดเหมือนท้องจะแตก จิตคิดตอนนั้นครับ

    คงจะไม่ใช่อย่างนั้นหรอกนะครับท่าน มจด
    พระธรรมนั้นลึกซึ้ง ผู้รับฟังธรรม ต่างมีภูมิธรรมที่แตกต่างกัน การจะเข้าใจธรรมนั้นก้แตกต่างเช่นกัน งูๆปลาๆไม่สามารถแก้ธรรมในใจใครได้หรอกนะครับ นอกจากพระธรรมขององค์ศาสดาเอง


     

แชร์หน้านี้

Loading...