เรื่องเด่น มส.บุกยูเอ็นดูลาลีสร้างสันติภาพโลก

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 31 กรกฎาคม 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    83090_th.jpg


    มส.บุกยูเอ็นดูลาลีสร้างสันติภาพโลก
    พระพรหมบัณฑิตอธิการบดี'มจร' ได้สิทธิ์ร่วมถกทุกเวลา



    2560-06-12-UnitedNationsNYC05.jpg

    691490.jpg

    2560-06-12-UnitedNationsNYC14.jpg

    2560-06-12-UnitedNationsNYC12.jpg

    19149354_1532907290077120_4483788780516346239_n.jpg

    2560-06-12-UnitedNationsNYC08.jpg

    19059175_1532907193410463_752203023354330430_n.jpg

    2560-06-12-UnitedNationsNYC02.jpg


    โอกาสที่พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เยือนประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมคณะ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาประจำปี ครั้งที่41/2560 และงานฉลองวัดมงคลรัตนารามครบ 35 ปีที่วัดมงคลรัตนาราม เมืองแทมพ้า รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา แสดงพระธรรมเทศนา "ขันติโสรัจจกถา" เรื่องความอดทนและความเสงี่ยมตน เนื่องในพิธีบำเพ็ญกุศลอายุวัฒนมงคล 92 ปี พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี) ณ วัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2560 เป็นต้นมา หลังจากนั้นได้เยี่ยมชมสถานที่สำคัญต่างๆ


    ต่อมาวันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน 2560 พระพรหมบัณฑิตและคณะเข้าเยี่ยมชมสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะห้องประชุมของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC) โดยมีนายนนทวัฒน์ จันทร์ตรี อัครราชทูตที่ปรึกษา ณ สำนักงานผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติเป็นผู้นำชม


    จากนั้นพระพรหมบัณฑิต ได้ทำบัตรผ่านเข้าออกสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติเพื่อเข้าร่วมประชุมองค์การสหประชาชาติได้ตลอดเวลาในฐานะประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV) ซึ่งได้รับการรับรองให้เป็นองค์กรที่ปรึกษาพิเศษของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC - Economic and Social Council)


    เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจที่องค์การสหประชาชาติแล้ว พระพรหมบัณฑิต นำคณะเข้าประชุมแลกเปลี่ยนกับสมาชิกขององค์กรสตรีเพื่อส่งเสริมสันติภาพโลก (GPIW) และองค์กรเรียวยูไกนานาชาติเพื่อการแสวงหาทางจิตวิญญาณ (ITRI) ซึ่งต่างก็เป็นองค์กรที่ปรึกษาพิเศษของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติเช่นเดียวกับสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV) พร้อมกันนี้ยังได้มอบหนังสือพระไตรปิฎกสากลกับบุคคลต่างๆด้วย


    ทั้งนี้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นสถาบันทางการศึกษาที่เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาของชาวพุทธทั่วโลก ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้นำทางการเมือง ผู้นำทางศาสนาต่างๆ นักวิชาการพระพุทธศาสนาและกลุ่มคนทั่วไปได้เดินทางมาร่วมกิจกรรมนานาชาติที่มหาวิทยาลัยได้จัดขึ้นเพื่อสร้างสันติภาพโลกลดความขัดแย้งระหว่างศาสนาสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันตามลำดับดังต่อไปนี้


    1) การจัดประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งโลก ครั้งที่ 2 ในระหว่างวันที่ 9 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 1543 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับคณะสงฆ์นิกายเนนบุตซูชุ ประเทศญี่ปุ่น จัดประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แห่งโลก ครั้งที่ 2 ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม การประชุมครั้งนี้เน้นการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวพุทธทั่วโลก เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเผยแผ่ศาสนา และเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในวโรกาส มหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชมมายุครบ 72 พรรษา


    2) การประชุมสภาผู้นำศาสนาแห่งโลก ระหว่าง วันที่ 12 – 14 มิถุนายน พ.ศ. 2544 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ จัดประชาสภาผู้นำศาสนาโลก ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ การประชุมครั้งนี้ มุ่งสงเสริมเรื่องความร่วมมือทางศาสนาในการแก้ปัญหาความรุนแรงและสร้าง สันติภาพให้เกิดขึ้นในโลก


    3) การประชุมสุดยอดผู้นำเยาวชนโลกเพื่อสันติภาพ ระหว่างวันที่ 24 – 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ จัดประชุมสุดยอดผู้นำเยาวชนโลกเพื่อสันติภาพ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติกรุงเทพฯ การประชุมครั้งนี้เน้นการสนับสนุนให้เยาวชนได้แลกเปลี่ยนความคิดความเห็น เรื่องสันติภาพและเพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชน ให้ทำกิจกรรมส่งเสริมสันติภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน


    4) การประชุมเถรวาทและมหายาน ระหว่าง วันที่ 16 – 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดประชุมนานาชาติว่าด้วยพระพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ การประชุมครั้งนี้เน้นการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรทางพระ พุทธศาสนา ในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ แสวงหาหนทางทำให้การศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นที่สนใจของเยาวชนคนรุ่นใหม่


    5) การสัมมนาร่วมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและศาสนาอิสลามในประเด็นความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ศาสนาระหว่างอีหร่านกับไทย ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 ทั้งนี้ มีนักวิชาการทั้งสองศาสนาเข้าร่วมกว่า 950 รูป/คน


    6) การประชุมการประชุมผู้นำศาสนาเพื่อสันติภาพในประชาคมอาเซียน ครั้งที่ 1 เรื่อง ขันติธรรมทางศาสนา ระหว่างวันที่ 24-29 กันยายน พ.ศ.2557 โดยมีผู้นำศาสนา 5 ศาสนาจาก 10 ประเทศในประชาคมอาเซียน 80 คน รวมถึงคนไทยร่วมงานประมาณ 500 คน ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ภายใต้การดำเนินการของโครงการปริญญาโทหลักสูตรสันติศึกษา มจร. โดยเริ่มอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2557 ที่ มจร.วังน้อย โดยมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธาน


    การประชุมครั้งนี้ผู้นำทั้ง 5 ศาสนาเห็นชอบในปฏิญญาที่ตกลงร่วมกัน ดังนี้ คือ 1.ส่งเสริมขันติทางศาสนาตามประกาศของยูเนสโก ปี ค.ศ.1995 2.จะดำเนินการเสวนาต่อไปและเสริมสร้างเครือข่ายของผู้นำศาสนา ส่งเสริมกันและกัน 3.เพื่อให้ประชาคมอาเซียนมีความรู้ในศาสนาของตนเองและศาสนา อื่นๆ 4.เพื่อดำเนินแบบต่อเนื่องไม่เหน็ดเหนื่อยเพื่อสันติภาพ เข้าใจถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 5.จะกระทำให้เกิดความคุ้นเคยระหว่างกันเพื่อความเป็นเอกภาพของผู้นำศาสนา และ 6.เพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี ไม่ให้ศาสนาตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองและสื่อมวลชน

    -------------
    ขอบคุณที่มา :
    http://www.banmuang.co.th/news/education/83090
     

แชร์หน้านี้

Loading...