มหาปัฏฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย งูๆปลาๆ, 12 มกราคม 2018.

  1. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    มหาปัฏฐาน เป็นคัมภีร์ที่ 7 ของพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ คัมภีร์มหาปัฏฐาน เป็น 1 ใน 7 คัมภีร์ที่พระพุทธองค์ทรงพิจารณาหลังจากที่ได้ตรัสรู้แล้ว ได้แก่ 1. ธัมมสังคณี, 2. วิภังคปกรณ์ 3. ธาตุกถา 4. ปุคคลบัญญัติ 5. กถาวัตถุ 6. ยมกปกรณ์ และ 7. มหาปัฏฐาน และเป็นคัมภีร์ที่พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ไว้ว่า จะสูญสิ้นเป็นคัมภีร์แรก เพราะเป็นคัมภีร์ที่ละเอียดลึกซึ้ง สุขุมคัมภีร์ภาพด้วยปัจจัยแห่งปรมัตถธรรม โดยที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเรื่องราวความเป็นไปของสภาพธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน โดยนัยมากมายทั้งพิสดารและละเอียดสุขุมลึกซึ้งยิ่งนัก ธรรมในมหาปัฏฐานนี้ ถ้าจะนับรวมกันทั้งหมดก็มีจำนวนถึงหลายโกฏิ ด้วยเหตุนี้ท่านอรรถกถาจารย์จึงเรียกคัมภีร์นี้ว่า “มหาปัฏฐาน” ตามหลักฐานกล่าวว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาพระอภิธรรม 7 คัมภีร์อยู่นั้น เมื่อทรงพิจารณาคัมภีร์ที่ 1 คือ ธัมมสังคณี จนถึงคัมภีร์ที่ 6 คือ ยมก มาตามลำดับมิได้มีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้น ต่อเมื่อทรงพิจารณาคัมภีร์ที่ 7 คือ ปัฏฐาน จึงได้เกิดรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระวรกายถึง 6 สี (หรือที่เรียกว่า ฉัพพรรณรังสี)

    ปัจจัย 24
    1. เหตุปัจจะโย = ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย
    2. อารัมมะณะปัจจะโย = ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย
    3. อธิปะติปัจจะโย = ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย
    4. อนันตะระปัจจะโย = ธรรมที่มีปัจจัยหาที่สุดมิได้
    5. สะมะนันตะระปัจจะโย = ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน
    6. สะหะชาตะปัจจะโย = ธรรมที่เกิดพร้อมเป็นปัจจัย
    7. อัญญะมัญญะปัจจะโย = ธรรมแต่ละอย่างต่างต้องอาศัยกันและกันเป็นปัจจัย
    8. นิสสะยะปัจจะโย = ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นนิสัยที่อาศัย
    9. อุปะนิสสะยะปัจจะโย = ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า
    10. ปุเรชาตะปัจจะโย = ธรรมที่เกิดก่อนเป็นปัจจัย
    11. ปัจฉาชาตะปัจจะโย = ธรรมที่มีธรรมเกิดภายหลังเป็นปัจจัย
    12. อาเสวะนะปัจจะโย = ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย
    13. กัมมะปัจจะโย = ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย
    14. วิปากาปัจจะโย = ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย
    15. อาหาระปัจจะโย = ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย
    16. อินทริยะปัจจะโย = ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย
    17. ฌานะปัจจะโย = ธรรมที่มีฌานเป็นปัจจัย
    18. มัคคะปัจจะโย = ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย
    19. สัมปะยุตตะปัจจะโย = ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย
    20. วิปปะยุตตะปัจจะโย = ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย
    21. อัตถิปัจจะโย = ธรรมที่มีเป็นปัจจัย
    22. นัตถิปัจจะโย = ธรรมที่ไม่มีเป็นปัจจัย
    23. วิคะตะปัจจะโย = ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย
    24. อะวิคะตะปัจจะโย = ธรรมที่ไม่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย
    ปัจจัยมีประการต่างๆมากมาย ในการแสดงปัจจัย 24 นั้น พระพุทธองค์ทรงจำแนกปัจจัยหนึ่งๆ มีธรรมเป็น 3 หมวด คือ ปัจจัยธรรม หมายความว่า ธรรมที่เป็นเหตุ (ปัจจัย มีวจนัตถะว่า ผลธรรมย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ได้เพราะอาศัยธรรมที่เป็นเหตุนี้ ธรรมที่เป็นเหตุนี้จึงชื่อว่า "ปัจจัย")

    ปัจจยุปบันธรรม หมายความว่า ธรรมที่เป็นผล (ปัจจยุปบันธรรม มีวจนัตถะว่า ผลธรรมที่เกิดจากเหตุปัจจัย ชื่อว่า "ปัจจยุปบัน")

    ปัจจนิกธรรม หมายความว่า ธรรมที่มิใช่ผล (คือธรรมที่นอกจากผล) (ปัจจนิก มีวจนัตถะว่า หมวดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อปัจจยุปบันธรรม ชื่อว่า "ปัจจนิก")



    คัมภีร์หลักในพระพุทธศาสนา
    พระไตรปิฎกเถรวาท
    ๔๕ เล่ม



    พระวินัยปิฎก


    คัมภีร์
    สุตตวิภังค์
    คัมภีร์
    ขันธกะ
    คัมภีร์
    ปริวาร



    พระสุตตันตปิฎก


    คัมภีร์
    ทีฆนิกาย
    คัมภีร์
    มัชฌิมนิกาย
    คัมภีร์
    สังยุตตนิกาย





    คัมภีร์
    อังคุตตรนิกาย
    คัมภีร์
    ขุททกนิกาย



    พระอภิธรรมปิฎก


    สงฺ วิภงฺ ธา
    ปุ. กถา ยมก พระไตรปิฏก นับเป็นปกรณ์ใหญ่ เรียกว่า "มหาปกรณ์" เป็นปกรณ์ที่เมื่อครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้วนั้น


    พระไตรปิฎก เล่มที่ 40 พระอภิธรรมปิฎก เล่ม 7 มหาปัฏฐานปกรณ์

    35px-Dharma_wheel.svg.png บทความเกี่ยวกับศาสนาพุทธนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:พระพุทธศาสนา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. กล้วยเน่า

    กล้วยเน่า สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2018
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +5
    เอามาให้อ่านเรื่อยๆก็ดีนะคะ แม้จะเป็นเพียงโครงคร่าวๆ แต่ก็ถือว่าเป็นการให้เพื่อนชาวพุทธด้วยกัน ได้ผ่านหูผ่านตา ไม่ให้ธรรมของพระพุทธเจ้าถูกลืมหายไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...