มหาปุญโญวาท 7 : ริ้วรอยแห่งกาลเวลา

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 24 มีนาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๔. วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่
    ดวงเดือน ประดับดาว
    วิถีแห่งการปฏิบัติ วิถีแห่งพระอาจารย์ “มั่น” วิถีแห่งสีลัง สีลา
    วันจันทร์ที่ ๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
    ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑๐๗๑๒ ราคา ๑๐ บาท
    สงสัยกันหรือไม่ในสมัยพุทธกาล พระปัญจวัคีย์ก็ดี พระยสะและบิดา มารดา ภรรยาเก่าของท่านก็ดี ภัททวัคคีย์ ชฏิลทั้งบริวารก็ดี พระเจ้าพิมพิสารและราชบริพาร ๑๒ นหุตก็ดี
    ก่อนฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ปรากฏว่าได้สมาทานศีลเสียก่อน
    ปรากฏว่า องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เทศนาไปทีเดียว ทำไมท่านเหล่านั้นจึงได้สำเร็จมรรคผล
    ศีล สมาธิ ปัญญา ของท่านเหล่านั้นมาแต่ไหน
    ตรงนี้แหละคือความละเอียดอ่อนต่อประเด็นเรื่อง ศีล ว่ามีความสำคัญมากน้อยเพียงใดส่งผลลึกซึ้งแค่ไหนต่อการปฏิบัติ
    ศีล มีความสำคัญอย่างแน่นอน
    พระท่านอุปมา ศีล ว่าเป็น ความสะอาด ขณะที่อุปมา สมาธิ ว่าเป็น ความสงบ และอุปมา ปัญญา ว่าเป็น ความสว่าง
    หากไม่มีความสะอาดก็ยากยิ่งนักที่จะเกิดความสงบและบรรลุถึงซึ่งปัญญา
    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อรรถาธิบายคำถามข้างต้นว่า “ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมมีขึ้นในท่านเหล่านั้นเองโดยไม่มีการขอและไม่มีการเอาให้ มัคคสามัคคี ไม่มีใครหยิบยกให้กัน จิตดวงเดียวเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา”
    กระนั้น พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก็วิสัชนาในเรื่อง “ศีล” โดยละเอียดอ่านหนังสือว่าด้วย “มุตโตทัย” ดังนี้
    สีลัง สีลา วิยะ
    ศีลคือความปกติ อุปมาได้เท่ากับหินซึ่งเป็นของหนักและเป็นแก่นของดิน แม้จะมีวาตธาตุมาเป่าสักเท่าใดก็ไม่มีการสะเทือนหวั่นไหวเลย
    แต่ว่าเราจะสำคัญถือแต่เพียงคำว่า ศีล เท่านั้นก็จะทำให้เรางมงายอีก
    ต้องให้รู้จักเสียว่า ศีล นั้นอยู่ที่ไหน มีตัวตนเป็นอย่างไร อะไรเล่าเป็นตัว ศีล ถ้าไม่เข้าใจเรื่อง ศีล ก็จะงมงายไปถือ ศีล เพียงนอกๆ
    เดี๋ยวก็จะไปหาเอาที่นั้นที่นี้จึงจะมีศีล ไปขอเอาที่นั่นที่นี่จึงมี
    เมื่อยังเที่ยวหา เที่ยวขออยู่ ไม่ใช่หลงศีลดอกหรือ ไม่ใช่สีลพัตตปรามาส ถือนอกๆ ลูบๆ คลำๆ อยู่หรือ
    อิทัง สัจจภินิจเวทิฏฐิ จะเห็นความงมงายของตนว่าเป็นของจริงเที่ยงแท้
    ผู้ไม่หลงย่อมไม่ไปเที่ยวขอ เที่ยวหา เพราะเข้าใจแล้วว่าศีลก็อยู่ที่ตนนี้ จะรักษาโทษทั้งหลายก็ตนเป็นผู้รักษา
    ดังที่ว่า
    เจตนาหัง ภิกขะเว สีลัง วทามิ เจตนา เป็นตัวศีล เจตนาคืออะไร เจตนานี้ต้องแปลงอีก จึงจะได้ความ
    ต้องเอาสระ เอ มาเป็นอิ เอา ต สะกดเข้าไป เรียกว่า จิตตะ คือจิตใจ
    คนเราถ้าจิตใจไม่มีก็ไม่เรียกว่าคน มีแต่กายจะสำเร็จการทำอะไรได้ ร่างกายกับจิตต้องอาศัยซึ่งกันและกัน
    เมื่อจิตใจไม่เป็นศีลก็ประพฤติไปต่างๆ
    จึงกล่าวได้ว่า ศีลมีตัวเดียว นอกนั้นเป็นแต่เรื่องโทษที่ควรละเว้น โทษ ๕ โทษ ๘ โทษ ๑๐ โทษ ๒๒๗
    รักษาไม่ให้มีโทษต่างๆ ก็สำเร็จเป็นศีลตัวเดียว
    รักษาผู้เดียวนั้นได้แล้วมันก็ไม่มีโทษเท่านั้นเอง ก็จะเป็นปกติ แนบเนียน ไม่หวั่นไหว ไม่มีเรื่องหลงมาหา หลงขอ
    คนที่หาขอ ต้องเป็นคนทุกข์ ไม่มีอะไรจึงเที่ยวหาขอ
    เดี๋ยวก็กล่าว ยาจามิ ยาจามิ ขอแล้วขอเล่า ขอเท่าไรยิ่งไม่มี ยิ่งอดอยาก ยากเข็ญ
    เราได้มาแล้ว มีอยู่แล้วซึ่งกายกับจิต รูปกายก็เอามาแล้วจากบิดา มารดาของเราจิตก็มีอยู่แล้ว
    ชื่อว่าของเรามีพร้อมบริบูรณ์แล้ว
    จะทำให้เป็นศีลก็ทำเสีย ไม่ต้องกล่าวว่า ศีลมีอยู่ที่โน่นที่นี่ กาลนั้นจึงจะมี กาลนี้จึงจะมี ศีลมีอยู่ที่เรานี้แล้ว
    อกาลิโก รักษาได้ ไม่มีกาล ได้ผล ก็ไม่มีกาล
    คำเตือน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก็คือคนเราถ้าจิตใจไม่มีก็ไม่เรียกว่าคน มีแต่กายจะสำเร็จการทำอะไรได้ ร่างกายกับจิตต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อจิตใจไม่เป็นศีลก็ประพฤติไปต่างๆ
    เราไม่หลงศีล จึงจะเป็นวิญญูชนอันแท้จริง
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิถีแห่งวิจารณ์
    โดย พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว
    “ของคุณค่าคือศีลของตน
    ของอดทนคือสมาธิเพียรทำ
    ของนำทางคือ ปัญญาแว่นแก้ว บวชมาแล้วเสาะหาใส่ตน”
    รวมความว่า ศีลเป็นภาคพื้นที่ จะปลูกกุศลผลบุญทั้งปวง ถ้าศีลไม่ดีจะปลูกกุศลผลบุญก็ไม่งอกงาม ข้อนี้อุปมาฉันใด จิตใจที่ยังมีโลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อิจฉา พยาบาท เป็นอาทิมีอยู่ในจิตใจแล้ว ศีลของเราก็ไม่อาจที่จักถึงความบริสุทธิ์ได้ หากจะปลูกผลบุญมีทาน ศีล สมาธิ – ปัญญา ความสะอาด ความสงบ ความสว่าง ก็มิอาจงอกงามขึ้นได้
    ด้วยเหตุนี้นักปฏิบัติจำต้องศึกษาในกองศีลให้แจ่มชัดเสียก่อนใจจึงจักไม่งมงายผิดเพี้ยนถือศีลตามเขาว่า เหตุว่าประเภทของศีลมีมากแต่อย่างใดก็การรักษาศีลก็คือรักษากายกับวาจาโดยใจเป็นผู้รักษาดูแลตนและจะรักศีลระดับใดภูมิใด ก็พึงรักษาให้ดีเท่านั้น
    การรักษาให้ดีก็คือให้รักษากายกับวาจาของตนให้ตรงต่อข้อสิกขาบทของพระพุทธบัญญัติทั้งปวง
    จะเป็นศีลก็ให้เป็นศีล จะเป็นนอกๆ เฉยๆ อย่างใดก็ให้เป็นไปก่อน
    จะเป็นอธิศีลก็ให้เป็นอธิศีล
    เพราะเป็นกิจอันพึงทำ คือทำตนของตนให้ถึงพร้อมในเรื่องในเรื่องศีล
    ดังข้ออนุศาสนสิกขาว่า อธิสีลสิกฺขา อธิจิตฺตสิกฺขา อธิปญฺญาสิกฺขา สิกฺขิตฺตพฺพา สมฺพตฺถ อปฺปมาเทน สมฺปาเทตพฺพํ
    ให้เข้าใจว่า ศีลเป็นอธิศีลได้ทุกประเภท
    มีคำถามสอดขึ้นมาว่า แล้วเราจักวินิจฉัยอธิศีลด้วยอาการจิตเช่นใด ด้วยอาการของญาณเช่นใด จึงจักรู้ได้ว่าศีลของเราเป็นอธิศีลแล้วหรือ
    ในมติของผู้วิจารณ์
    เชื่อมั่นว่า อธิศีลในตนของตนนี้เองเป็นท่าข้ามของภพทั้งปวง
    เพราะว่าใกล้ต่ออริยมรรคอริยผลแล้ว
    เพราะว่าเป็นมัคคสามัคคี
    เพราะว่าเป็นอกาลิกธรรม ให้ผลพ้นกาล รักษาได้ไม่อ้างเวลา
    ดังนี้แล้ว
    เราจะเพิกเฉยเสียไม่ศึกษาก็ชื่อว่าไม่เชื่อพระอุปัชฌาย์ ไม่ทำตามพระศาสดาเจ้าเพราะท่านผู้มุ่งสู่ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา โลกุตตรศีล โลกุตตรจิต โลกุตตรปัญญาโดยตรงอย่างนี้เราควรศึกษาให้รู้ เพราะเป็นกิจอันเร่งด่วนจำเป็นโดยแท้
    หากทว่าไม่รู้จักปฏิบัติให้ถูกให้ถึงอย่างใดแล้ว ถึงวัตถุแลวิชชาที่ตนต้องการก็มิอาจจักได้จักถึงได้ ในสิ่งใดวัตถุใด วิชชาใดๆ ที่ตนต้องการก็มิอาจจักได้จักถึงได้ ในสิ่งใด วัตถุใด วิชชาใดๆ ที่ตนต้องการตนก็ควรรู้จักลักษณะอาการของวัตถุสิ่งนั้นวิชชานั้นๆ เสียก่อน (แต่การแสวงหาความพากเพียรให้ได้ให้มีนั้นก็เป็นอีกโสดส่วนหนึ่ง)
    จากวิถีแห่งสีลัง สีลา ข้างต้นนั้น
    เป็นองค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้แสดงด้วยอาการยกเอาศีลคือความปกติมาตั้งวางไว้เป็นปัญหาขึ้น เพื่อจักได้ออกความเห็นสู่กันฟังสู่กันศึกษา ไม่เห็นพ้องก็ให้คัดค้านได้ ถ้าถึงความจริงแล้วหมดหนทางอยู่นั่นเอง

    องค์ท่านได้แสดงเรื่องศีลไว้เป็นทางตรึกตรอง
    เมื่อสำนึกว่าตัวยังเป็นสมมติอยู่
    คือยังเป็นนาม เป็นรูป เป็นธาตุ เป็นขันธ์ เป็นอายตนะ เป็นสังขารอยู่ก็ยังจะเอาตัวสังขารเป็นผู้รับสมาทานในศีลทั้งปวง และถึงจะรักษาให้ดีให้วิเศษสักปานใดก็เป็นแค่เพียงศีลเท่านั้น เพราะสังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา ก็เป็นได้แต่เพียงโลกียศีล เป็นสีลพตปรามาสอยู่นั่นแล
    คือยังเที่ยวหา เที่ยวขอ ที่นั่นที่นี่อยู่
    คือยังถือนอกๆ ลูบๆ คลำๆ กันอยู่
    อิทํ สจฺจาภินิเวสาย
    ผู้ไม่หลงย่อมไม่เที่ยวขอเที่ยวหา เพราะเห็นศีลอยู่ในตน
    คือเพิกสังขารออกจากตนได้ เหลืออยู่ก็เป็นวิสังขาร เป็นสังขารกลางเป็นสังขารที่ไม่หวั่นไหว เมื่อเอาอเณญชาภิสังขารนี้เป็นฐานรองรับศีล ศีลก็มั่นคงเป็นอธิศีลได้
    การเพิกสังขารคือรู้เท่าสังขาร
    รู้เท่าสังขารคือรู้เท่าสมมติ
    เมื่อสังขารกับสมมติมาด้วยกัน วิสังขารกับวิมุตติก็เป็นอันเดียวกันเพราะเป็นฐานเดิมเดียวกัน หมายความว่า
    สมมติเป็นของไม่มีมาแต่เดิม
    ที่ยืนรับสมมติคือตัววิมุตติตัววิสังขาร
    ดังนี้แล้วในท่านผู้เป็นวิญญูชน
    ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมมีขึ้นได้ ตั้งทรงอยู่ได้
    และสามารถดับความประพฤติอันเป็นไปต่างๆ ได้
    ดับได้จนเป็นปรกติธรรม
    คือ กายปรกติ วาจาปรกติ ใจปรกติ

    หมายเหตุ : ในผู้โง่เขลาอยู่
    เมื่อมีการขอจึงมีการให้
    อาราธนาศีลแล้วก็ต้องให้ศีล
    จึงจักได้สามัคคีธรรม แต่มิใช่หลง
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๕. วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่
    ดวงเดือน ประดับดาว
    วิถีแห่งการปฏิบัติ วิถีแห่งพระอาจารย์ “มั่น” วิถีแห่งกรรมฐาน
    หนังสือพิมพ์มติชนรายวันจันทร์ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐
    ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑๐๗๑๙ ราคา ๑๐ บาท
    ท่ามกลางการแสวงหา ย่อมมีความปรารถนาเป็นพื้นฐานอันสำคัญเป็นพื้นฐานก่อให้เกิดการขับเคลื่อน
    เพราะเมื่อไม่มีความปรารถนาก็ย่อมไม่จำเป็นต้องแสวงหา
    กล่าวในทางโลกียวิสัย เมื่อเกิดความปรารถนาอันนำไปสู่การแสวงหา ก็มักจะเป็นการมุ่งไปแสวงหายังที่อื่น
    เป็นการมองออกไปจากตัวตน
    ตรงกันข้าม กล่าวในทางธรรมอันเป็นเรื่องทางจิต แม้จะมีความหลงผิดในการแสวงหาในความปรารถนา แต่จนถึงที่สุดแล้วภายในกระบวนแห่งการแสวงหาก็มักจะหวนกลับมายังจุดตั้งต้น
    ในหนังสือ “มุตโตทัย” จากการจดบันทึกของพระอาจารย์วัน อุตฺตโม กับพระอาจารย์ทองคำ ญาโณภาโส มีบทหนึ่งสะท้อนวิถีแห่งการแสวงหาได้เป็นอย่างดี
    นั่นก็คือ แทนที่จะแสวงหาจากภายนอก กลับเป็นการแสวงหาจากภายใน
    นั่นก็คือ บทว่าด้วย “มูลกรรมฐาน” ซึ่งพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต นำเอาเรื่องพื้นฐานของการศึกษา การปฏิบัติ มาเป็นแนวทางของการค้นพบความเป็นจริง
    โปรดอ่าน
    กุลบุตรผู้บรรพชาอุปสมบทเข้ามาในพระพุทธศาสนานี้แล้ว ใครเล่าไม่เคยเรียนกรรมฐานมา
    บอกได้ทีเดียวว่า ไม่เคยมี
    พระอุปัชฌาย์ทุกองค์เมื่อบวชกุลบุตรจะไม่สอนกรรมฐานก่อนแล้วจึงให้ผ้าภายหลัง ไม่มี ถ้าอุปัชฌาย์องค์ใดไม่สอนกรรมฐานก่อน อุปัชฌาย์องค์นั้นดำรงความเป็นอุปัชฌาย์ต่อไปไม่ได้
    ฉะนั้น กุลบุตรผู้บวชมาแล้วจึงได้ชื่อว่าเรียนกรรมฐานมาแล้วไม่ต้องสงสัยว่าไม่ได้เรียน
    พระอุปัชฌายะสอนกรรมฐาน ๕ คือ เกสา ผม, โลมา ขน, นขา เล็บ, ทันตา ฟัน, ตโจ หนัง
    ในกรรมฐานทั้ง ๕ นี้ มีหนังเป็นที่สุด
    ทำไมจึงสอนถึงหนังเท่านั้น เพราะเหตุว่าหนังมันเป็นอาการใหญ่ คนเราทุกคนต้องมีหนังหุ้มห่อถ้าไม่มีหนังหุ้มห่อถ้าไม่มีหนัง ผม ขน เล็บ ฟัน ก็อยู่ไม่ได้ ต้องหลุดหล่นทำลายไป
    เนื้อ กระดูก เอ็น และอาการทั้งหมดในร่างกายนี้ก็จะอยู่ไม่ได้ ต้องแตกต้องทำลายไป
    คนเราจะหลงรูปก็มาหลงหนัง หมายความสวยๆ งามๆ เกิดความรักใคร่แล้วก็ปรารถนาเพราะมาหมายอยู่ที่หนัง เมื่อเห็นเห็นแล้วก็สำคัญเอาผิวพรรณของมัน คือ ผิว ดำ – ขาว – แดง – ดำแดง – ขาวแดง ผิดอะไรต่ออะไรก็เพราะหมายสีหนัง
    ถ้าไม่มีหนังแล้ว ใครเล่าจะหมายว่าสวยงามใครเล่าจะรักจะชอบจะปรารถนา มีแต่จะเกลียดหน่ายไม่ปรารถนา
    ถ้าหนังไม่หุ้มห่ออยู่แล้ว เนื้อ เอ็น และอาการอื่นๆ ก็จะอยู่ไม่ได้ ทั้งจะประกอบกิจการอะไรก็ไม่ได้
    จึงว่าหนังเป็นของสำคัญนัก
    จะเป็นอยู่ได้กินก็เพราะหนัง จะเกิดความหลงสวยงามก็เพราะมีหนัง ฉะนั้น พระอุปัชฌายะท่านจึงสอนถึงแต่หนังเป็นที่สุด
    ถ้าเรามาตั้งใจพิจารณาจนให้เห็นความเปื่อยเน่าเกิดอสุภนิมิตปรากฏแน่แก่ใจแล้ว ย่อมจะเป็นอนิจจสัจธรรม ทุกขสัจธรรม อนันตาสัจธรรมจึงจะแก้ความหลงสวยหลงงามอันมั่นหมายอยู่หนังที่
    ย่อมไม่สำคัญหมายและไม่ชอบใจ ไม่ปรารถนาเอาเพราะเห็นตามความเป็นจริง
    เมื่อใดเชื่อคำสอนของพระอุปัชฌายะไม่ประมาทแล้วจึงจะได้เห็นสัจธรรม ถ้าไม่เชื่อคำสอนพระอุปัชฌายะย่อมแก้ความหลงของตนไม่ได้ ย่อมตกอยู่ในบ่วงแห่งรัชชนิอารมณ์ ตกอยู่ในวัฏจักร
    เพราะฉะนั้น คำสอนที่พระอุปัชฌายะได้สอนแล้วแต่ก่อนบวชนั้นเป็นคำสอนที่จริงที่ดีแล้วเราไม่ต้องไปหาทางอื่นอีก ถ้ายังสงสัยยังหาไปทางอื่นอีก ชื่อว่ายังหลงงมงาย
    ถ้าไม่หลงจะไปหาทำไม คนไม่หลงก็ไม่มีการหา คนที่หลงจึงมีการหา หาเท่าไรยิ่งหลงไปไกลเท่านั้น
    ใครเป็นผู้ไม่หา มาพิจารณาอยู่ในของที่มีอยู่นี้ก็จะเห็นแจ้งซึ่งภูมิธรรม ฐีติธรรม อันเกษมจากโยคาสวะทั้งหลาย
    นี่ย่อมมิได้เป็นมติของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หรือของพระอุปัชฌาย์อย่างเป็นเอกเทศ
    ตรงกันข้าม นี่ย่อมเป็นบัญญัติอันเนื่องแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งแต่เบื้องต้น เป็นอนุสติให้เริ่มจากตนเองให้เริ่มจากตัวตนอันเป็นของเรา
    แท้จริงแล้ว กายของเราก็เท่ากับเป็นโลกๆ หนึ่ง
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิถีวิจารณ์
    โดย พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว
    เมื่อยืนอยู่ ณ ที่ใด
    ต้องกระทำเรื่องที่ผู้อยู่ในที่นั้นพึงกระทำ
    กระทำเพราะมีความปรารถนา
    คือกระทำการแสวงในความปรารถนาจากภายในแห่งตนของตน เพราะนี้เป็นแนวทางในการสืบค้นให้ถึงของจริง ความเป็นจริง
    อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา
    อนิจจาสัจธรรม ทุกขสัจธรรม อนัตตาสัจธรรม ก็ตนของตนนี้แลมิใช่อื่น
    เพราะ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เป็นฐานของการพิจารณา

    เป็นฐานของการเรียน
    เป็นฐานของการปฏิบัติ
    เป็นฐานของธรรม

    เพราะเมื่อสงเคราะห์อาการแห่งกรรมฐานทั้ง ๕ เป็นอาทิลงในลักษณะแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนแต่อย่างใด ก็จักได้อุทธาหรณ์ความหน่ายในทุกข์ เห็นความไม่เที่ยงเป็นตัวทุกข์ เห็นความทนได้ยากเป็นตัวทุกข์ เห็นภาวะมิใช่ตัวมิใช่ตนเป็นตัวทุกข์ คือเห็นโทษของสังขารนั่นเอง
    ความเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลายนี้เองเป็นทางแห่งกรรมฐานวิสุทธิ์
    เพราะสังขารธรรมทั้งปวง ย่อมเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นธรรมธาตุ เป็นธรรมฐีติ เป็นธรรมนิยาม เป็นของที่ตั้งธรรมดาอยู่อย่างนั้นไม่แปรฝันเป็นอื่นไป
    พระองค์เจ้าเราตถาคตตรัสรู้ดีแล้วนำมาแนะนำพิจารณาชี้ให้ดู การทำให้ตื้นเห็นแจ้งรู้จริงในคติแห่งสังขารตาม จึงเข้าถึงคติแห่งวิสังขารอันเป็นภูติธรรม ฐีติธรรม นิยามธรรม อันเกษมจากโยคาสวะทั้งหลาย
    เมื่อหากย่นย่อกรรมฐานอาการ ๕ เป็นอาทิ มาให้รู้พิจารณา ก็ควรจักดูรู้พิจารณาแต่ รูปสี สัณฐาน อาการ ที่อยู่ ลักษณะ แล้วสงเคราะห์ลงในอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ให้ได้ให้แจ้งเถิด
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]มหาปุญโญวาท 7 : ริ้วรอยแห่งการเวลา 13
    ๒๙. วาระ ๘๙ ปี พระศรีสุพลพุทธวิเวก : หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
    ในวาระครบ ๘๙ ปี พระศรีสุพลพุทธวิเวก พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล พร้อมคณะศรัทธาญาติโยม ได้สร้างไว้ที่วัดถ้ำจำปากันตสีลาวาสบ้านนาคันแท อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๒
    ลุมาปี ๒๕๕๐ คณะสงฆ์พร้อมทายกทายิกา ได้พร้อมใจกันบูรณะขึ้นรูปใหม่ครอบองค์เดิม ตลอดจนได้ปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบ
    ในวาระกาลดังกล่าวนี้ จึงได้นำท่านศรัทธาสาธุทั้งหลายตามรอยธุดงควัตรของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ในอีกแง่มุมหนึ่งของปฏิปทาจริยาวัตรดังนี้


    [​IMG]


    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:stroke joinstyle="miter"></v:stroke><v:formulas><v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"></v:f><v:f eqn="sum @0 1 0"></v:f><v:f eqn="sum 0 0 @1"></v:f><v:f eqn="prod @2 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @0 0 1"></v:f><v:f eqn="prod @6 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="sum @8 21600 0"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @10 21600 0"></v:f></v:formulas><v:path o:connecttype="rect" gradientshapeok="t" o:extrusionok="f"></v:path><?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:lock aspectratio="t" v:ext="edit"></o:lock><v:shape style="Z-INDEX: -1; POSITION: absolute; MARGIN-TOP: 63.45pt; WIDTH: 226.05pt; HEIGHT: 279pt; MARGIN-LEFT: 103.2pt" id=_x0000_s1026 stroked="t" strokeweight="4.5pt" strokecolor="#930" type="#_x0000_t75"><v:imagedata o:title="หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล" src="file:///C:DOCUME~1POMPAMLOCALS~1Tempmsohtml11clip_image001.jpg"></v:imagedata></v:shape>
    ๘๙ ปี
    พระศรีสุพลพุทธวิเวก
    โดย
    พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล (พระครูวิเวกพุทธกิจ)


    ๑. ประวัติปฏิปทา
    หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล เป็นพระธุดงคกัมมัฏฐานรูปแรกที่ได้นำคณะพระภิกษุสามเณรผู้เป็นศิษย์ มาเยือนแถบถิ่นภูไท หรือผู้ไทย เมืองหนองสูงคำชะอี ในยุคนั้นสมัยนั้นเรียกกันว่าเป็นพระหัสดงค์บ้าง พระอัสะดงค์บ้าง พระธุดงค์บ้าง
    หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล นับได้ว่าเป็นพระบูรพาจารย์ ของชนเผ่าภูไทในแถบถิ่นนี้ เป็นองค์แรกที่มาเยือนมาอยู่มาโผด (โปรด) มาผาย (เผยแพร่) ธรรมะธัมโมโต๋ธรรม
    หมู่บ้านแรกที่องค์ท่านมาเยือนมาอยู่คือ บ้านห้วยทราย
    ดังบันทึกในหนังสือธรรมประวัติของหลวงปู่จาม มหาปุญโญ ว่า “หมู่บ้านห้วยทรายนี้ พระธุดงคกรรมฐาน หมู่แรกที่มาก่อนคือ เพิ่นครูอาจารย์เสาร์ (กนฺตสีโล) มากับพระเณร ๖ - ๗ รูป มาอยู่ป่าดอนหนองน่อง
    คนบ้านห้วยทรายแต่ก่อนก็ถือผี ผีฟ้าผีแถนผีเมืองแมนเบื้องบน ถือผีปู่ผีย่าผีบรรพบุรุษ มีการฟ้อนรำเซ่นไหว้ บวงสรวงผีทะดามเหศักดิ์ ไปเอาผีเสื้อบ้านทรงเมืองมาแต่บ้านนาคำมาไว้อยู่ดงหอผีใกล้ลำห้วยทรายไปทางทิศเหนือของบ้าน
    ศาสนาพุทธก็มีอยู่ แต่ไม่ลึกซึ้งอะไร เป็นพระวัดบ้าน กินข้าวแลงเสาะหาล่าเนื้อ ทำบั้งไฟ อัญญาครู อัญญาซา หม่อม โจ ไปตามเรื่อง
    เพิ่นครูอาจารย์เสาร์มาก่อนเพิ่นครูอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) ๒ ปี เพิ่นครูอาจารย์เสาร์มาอยู่วัดหนองน่อง ผู้ข้าฯ ได้ไปส่งจังหันกับย่า แต่พระเณรไม่มาก นับได้ ๗ องค์ทั้งเพิ่นครูอาจารย์เสาร์ (กนฺตสีโล)
    เพิ่นครูอาจารย์เสาร์มาอยู่นี่ก็สอนได้ไม่กี่คน ไม่กี่บ้านหลังคาเรือนที่ทำบุญใส่บาตร ได้เรือนปู่เรือนย่า ได้เรือนบ่าวตาซ้น ได้เรือนบ่าวเพชร ได้เรือนบ่าวพรหมา ๕ - ๖ หลังคาเรือนหนีละทิ้งผีไปก่อน ไม่รับเอาผีอีกเพราะรับไตรสรณคมณ์จากเพิ่นหลวงปู่เสาร์มาถือไว้แล้ว
    เพิ่นครูอาจารย์เสาร์มาอยู่ใหม่ๆ ใครๆ ก็กลัวกัน เด็กน้อยคนใหญ่วิ่งหนีวิ่งหลบกันจ้าละหวั่น เพราะไม่เคยเห็นพระเดินดงเดินป่ามาแบบนี้มาก่อน บ่าวทิดซ้อมไปถามเพิ่นว่า ไปอย่างใดมาอย่างใด ต้องการอะไร เป็นเจ้านายหรือเป็นกบถผีบุญ
    เพิ่นครูอาจารย์เสาร์ ก็ว่า “เป็นพระภิกษุลูกศิษย์พระพุทธเจ้า, เดินธุดงค์มาพักปลีกวิเวกเสาะหาที่เจริญภาวนา ไม่ต้องการอิหยัง ตอนเช้าขอบิณฑบาตเท่านั้น”
    ๓ - ๔ วันแรกท่านก็พักไปตามยถากรรมอัธยาศัยของท่าน หลายวันต่อมาก็พากันออกไปดูว่าทำอะไร อยู่อย่างไร แอบไปเฝ้าสังเกตดูอยู่หลายวัน
    ไปเห็นแล้วตกใจ องค์ที่นั่งนิ่งเฉยอยู่ก็มี
    องค์ที่เดินไปมาก็มี
    องค์ที่ยืนนิ่งเฉยอยู่ก็มี
    เข้าไปถามว่า “ต้องการอยากได้อะไรอีกไหม” เพิ่นว่า “นี่ก็ใกล้เข้าพรรษาอยู่ประจำที่แล้วหากได้ห้างร้านที่พักเป็นเพิงพออยู่ได้ก็ดี”
    ทีนี้ก็ตื่นเต้นกันใหญ่ ทำที่พักห้างร้านมุงหญ้า ฝาหญ้า พื้นสับฟาก เสาไม้ตีเปลือก ทำทางจงกรม ทำร้านน้ำ ทำถาน ทำที่ต้มน้ำ หาอุแอ่งหม้อน้ำไปให้ใช้ ขาดเหลืออะไรก็หาไปไว้ จนเพิ่นครูอาจารย์เสาร์บอกว่า พอแล้วๆ อย่าเอามาอีก”
    จากนั้นมาพวกคนเฒ่าคนแก่เค้าบ้านเจ้าเรือน ก็พากันไปศึกษาเรียนรู้ในข้อวัตรอุปัฏฐากการบำรุงดูแล ธรรมเนียมของพระธุดงค์ ทิ้งผีกันมากขึ้น แต่ก็ยังไม่หมด ตื่นเต้นยินดีพอใจกับพระธุดงค์กรรมฐานก็มากขึ้นเป็นลำดับ
    สมัยนั้นคนเฒ่าเรียกพระธุดงค์ว่า พระอัสดงค์หรือพระหัสดง”เพิ่นครูอาจารย์เสาร์ (กนฺตสีโล) ก็ว่า “ดีแล้วธุดงค์ก็ดี อัสดงค์ก็ดี หัสดงค์ก็ดี แปลว่า ผู้ทำความดับอยู่เสมอ ดับทุกข์อยู่เสมอ”
    จากนี้ขอให้ย้อนไปศึกษาประวัติโดยสังเขปของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ดังนี้
    กำเนิดชาติภูมิ
    องค์ท่านถือกำเนิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๐๓ ที่บ้านข่าโคม ตำบลปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
    เป็นบุตรของพ่อทา แม่โม่ มีพี่น้องร่วมกัน ๕ คน
    ชีวิตวัยเยาว์
    องค์ท่านเป็นคนผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ หน้าตาคมคาย ผิวพรรณดี มีความพึงพอใจชอบพอกับวัดวาศาสนามาก เพราะท่านอยู่ในครอบครัวที่มั่นศรัทธา เลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งนัก มีอุปนิสัยในการเสาะหาวิชาความรู้อยู่เสมอ ใฝ่เรียนใฝ่รู้ จนอายุได้ ๑๒ ปี จึงได้ตัดสินใจเข้าวัดเพื่อบวชเล่าบวชเรียน โดยเลือกที่จะฝากตัวเป็นศิษย์วัดเพื่อฝึกหัดดัดนิสสัยในสมณเพศ ณ วัดใต้ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
    บวชเณร
    ท่านได้เข้าพักอาศัยร่มเงาใบบุญของวัดใต้เทิง ตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี จวบจนอายุได้ ๑๕ ปี จึงได้บวชเป็นสามเณร เมื่อได้บวชแล้ว ก็อุตสาหะตั้งใจให้ดีขึ้นกว่าเดิม มุ่งมั่น แน่วแน่ ขยันขันแข็ง ตั้งใจในกิจการงานของวัด ตั้งใจในการศึกษาภูมิปัญญาชาววัดชาวบ้านไม่นิ่งนอนใจ ไม่เหลาะแหละเหลวไหลในการท่องบ่นทรงจำสาธยายเฮียนสูตรเฮียนมนต์เฮียนมูลน้อย มูลใหญ่ มูลไทย มูลกัจจานะ...
    จนที่สุดร่ำเรียนได้คล่องแคล่วชำนาญ
    และแม้ในส่วนของการปฏิบัติวัตรถากอุปัชฌาย์ครูบาอาจารย์ของตนก็มิได้ละทิ้งเลื่อนลอยแต่ประการใด เป็นผู้ตั้งอกตั้งใจ และว่าง่ายยิ่งนัก ไม่มีมานะถือตัวเป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน นิยมอยู่อย่างสงบเสงี่ยมรู้เจียมรู้ถ่อม
    เนื่องจากท่านเป็นสามเณรโข่ง เป็นสามเณรใหญ่ คือ ใหญ่ทั้งอายุใหญ่ ทั้งรูปร่าง ในกิจการงานของพระอุปัชฌาย์ครูบาอาจารย์ท่านจะรับไว้ทั้งหมด โดยไม่เห็นแก่เหนื่อยยากลำบากกายใจประการใดๆ ทั้งสิ้น เช่น
    การรับบาตร
    การติดตามไปในที่นิมนต์
    การสุผ้า ซักผ้า ย้อมผ้า
    การงานของวัดหลายอันหลายอย่าง
    จนที่สุดก็เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจ เป็นที่รักที่เมตตาของหมู่พระสงฆ์สามเณรทั้งสำนัก และเป็นที่รู้จักชอบพอของญาติโยมอีกด้วย
    เพราะท่านเป็นคนร่างใหญ่ อายุเข้าวัยกำลังอยู่กำลังกิน การขบการฉันของท่านจึงได้ค่อนข้างมาก ฉันได้มาก เจริญภัตต์ได้ดี เช่นว่าเมื่อไปฉันตามบ้านตามที่กิจนิมนต์ ญาติโยมเจ้าศรัทธาต้องจัดไว้ให้มากเป็นพิเศษแม้ท่านเองก็นิยมฉลองศรัทธาเสียอีกด้วย จึงเรียกว่าให้บุญชาวบ้านได้มากในเรื่องกัปปิยภัณฑ์จังหันคาวหวานลูกไม้ผลไม้
    สมกับที่ท่านทำงาน รับธุระได้อย่างเยี่ยมนั่นเอง
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บวชพระ
    หลังจากบวชมาได้ ๕ ปี ของสามเณร พออายุได้ครบ ๒๐ สมควรที่จะบวชพระได้แล้ว ท่านจึงได้บวชเป็นพระภิกษุตามพระวินัยบัญญัติ ณ วัดใต้เทิงที่เดิมนั้น เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๒ จากนั้นก็ตั้งใจในกิจปฏิบัติข้อวัตรของพระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนาสืบมา สำเร็จหลักสูตรนวกะภูมิหลักสูตรเบื้องต้น หลักสูตรชั้นสูง ลำดับมัชฌิมภูมิ เถระภูมิ จนได้ทำหน้าที่เป็นครูเป็นอาจารย์ของผู้กุลบุตรเข้ามาใหม่
    ท่านได้บวชเป็นสามเณรฝ่ายมหานิกาย ๕ พรรษา
    แต่บวชพระมาจนปัจจุบันขณะได้เถระภูมิได้ ๑๐ พรรษาพอดีนี้ได้มาถือในกิจของผู้อบรมหมู่คณะพระเณรชาวบ้านเจ้าศรัทธาหมู่คณะต่างๆ จนได้รับขนานนามว่า “ญาครูเสาร์” หรือ “อัญญาครู”
    อยากจะลาสิกขา
    ได้บวชแล้วแต่สามเณร จนได้เป็นอัญญาครู ได้เป็นหัวหน้าหมู่คณะ พรรษาก็ได้สิบกว่า ท่านได้ไตร่ตรองหลายทบหลายท่าวเท้าความย้อนกลับไปมา มิหนำซ้ำก็ทราบข่าวจากบ้านท่าโคมคำบ้านข่าโคมว่าผู้เป็นลุงได้ทำการค้าขายทางเรือต่างทางน้ำได้กำไรดีมาก
    จิตใจของท่านได้รับรู้ข้อมูลทางโลกมากไปแล้วในระยะหลังมานี้ เขาเป็นพ่อค้าวาณิชเขาร่ำรวยกัน ตริตรึกนึกคิดเช่นนั้นบ่อยๆ จิตใจก็ออกหากจากพระธรรมปริยัติอันตนเชี่ยวชาญชำนาญแจ้งนั้นอยู่
    จนที่สุดก็ตกลงใจว่าจะลาสิกขา ลาเพศบรรพชิตนี้ออกไปท่านก็ตระเตรียมเงินทอง วัตถุอื่นๆ อีกมาก อันใดญาติโยมเขาถวายเป็นการส่วนตัวท่านก็จะเก็บสะสมเอาไว้ อันใดส่วนรวมท่านก็จะสละแก่ส่วนรวมหมู่พระเณร บนกุฏิของท่านจึงมากไปด้วย ข้าวของต่างๆ นานาทุกอันทุกอย่างทุกชิ้น พอที่จะขายจะค้าได้ทั้งนั้น
    ความชำนาญในการล่องเรือตามน้ำ ทวนน้ำ ลำเซ ลำชี ลำมูล ก็คล่องแคล่วชำนาญ หากได้รับคำแนะนำจากลุงอีกเล็กน้อยก็อาจจะเป็นไปได้ กิจการเดินเรือค้าเรือต่างทางน้ำจึงเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาในจินตนาการของท่าน จะออกไปใช้ชีวิตเป็นพ่อค้า ขายทุกอย่างที่ขายได้กำไรมากน้อยเท่าใดก็ว่าไป ลำชี ลำมูล ลำโขง อุบล จำปาศักดิ์ เมืองโขง สีทันดร แวะทุกบ้านผ่านทุกเมือง ซื้อมาขายไป ซื้อที่นี่ไปขายที่อื่น ซื้อของเมืองนั้นมาขายเมืองนี้ ความร่ำรวยทรัพย์สินเงินคำกำแก้ว ก็จะมีจะมาเป็นแน่แท้
    ในเวลานั้นยังขาดอยู่ก็แต่เรือบรรทุกสินค้า หากได้เรือทุกอย่างก็พร้อมและนับว่าเป็นจังหวะอันเหมาะ ท่านได้ทราบข่าวจากชาวบ้านว่ามีต้นไม้แคนต้นใหญ่ต้นหนึ่ง เหมาะที่จะขุดเรือ
    แต่ต้นไม้ที่ว่านั้นเป็นไม้กลางดง เป็นต้นไม้มีอาถรรพณ์ ไม่มีใครสามารถเข้าไปใกล้เข้าไปตัดฟันใดๆได้ พวกคนที่อยากได้เข้าไปใกล้ก็มีอันเป็นไปต่างๆ นานา มีผู้อยากได้หลายคนแต่ก็ไม่สำเร็จ บางคนต้องตาย บางคนเจ็บป่วย บางคนเป็นบ้า บางคนก็ขยาดหวาดกลัวหัวโกร๋นไปเลยก็มี
    ท่านได้ยินเรื่องราวเช่นนั้นจึงตัดสินใจไปดูด้วยตนเอง พอไปเห็นเท่านั้นท่านชอบใจมาก ได้ลักษณะ หากขุดเจาะลงแล้วถ่างออกถากแต่งก็จะเป็นเรือลำใหญ่ใส่ข้าวของได้มาก ท่านจึงได้ควบคุมว่าจ้างขุดต่อเรือ เริ่มแต่ล้มต้นไม้ กะวัดขนาด จนที่สุดเป็นเรือต่างค้าลำยาวใหญ่ จึงได้ลอยลำมาไว้ที่ท่าน้ำหน้าวัด
    ทุกอย่างทุกประการเป็นไปตามที่คิดเอาไว้
    บัดนี้ทุกอย่างพร้อมแล้ว
    ความคิดวาดแผนการ ความคิดที่จะลาสิกขา ยังคงรุ่มร้อนฮ้อนแฮงมากขึ้นทุกวัน เพียงแต่อยู่ไปพรางๆ ก่อนยังไม่กำหนดวันเวลาที่แน่นอน
    สลดใจได้จุดเปลี่ยน
    ในช่วงนั้นเอง เป็นเวลาปัจจุบันทันด่วนคือ โยมมารดาของท่านได้เสียชีวิตลงที่บ้านข่าโคม ความโศกเศร้าสะเทือนใจกระทบจิตของท่านอย่างหนักเป็นความทุกข์ใจอย่างใหญ่หลวงที่เกิดขึ้นมีอยู่ ท่านจึงได้เดินทางกลับไปบ้านเกิด เพื่อประกอบพิธีเผาศพให้โยมแม่ เมื่อแล้วเสร็จจากงานศพแล้วก็กลับมาพักที่วัดใต้เทิง ตามเดิม
    แต่ความโศกเศร้าเสียใจอาลัยอาวรณ์ในโยมแม่นั้นก็ยังมีอยู่มากนักท่านได้นั่งพักไตร่ตรองอะไรต่อมิอะไร ตามลำพังอยู่บ่อยๆ
    อะไร ? คือแก่นสารสาระของชีวิตผู้เกิดมา
    อะไร ? พอจะนับว่าได้จากการเกิดมา
    ชีวิตนี้ไม่แน่นอน แต่ความตายเป็นของแน่นอน
    ชีวิตนี้ไม่เที่ยง แต่ความตายนั้นเที่ยงแท้
    ท่านได้ระลึกสำนึกเข้าสู่จิตใจภายใน ได้ธรรมสังเวช “ทรัพย์สมบัติที่หามาได้ เก็บออมเอาไว้ หวงแสนหวง ห่วงแสนห่วง สุดท้ายนำอะไรไปได้บ้างสักอย่างสักอัน แม้ข้าวของสิ่งของที่ใส่ให้ในโลง แม้เสื้อผ้าชุดใหม่ชุดงามที่เปลี่ยนให้หลังจากตายใหม่ๆ สุดท้ายก็ต้องเป็นเถ้าเป็นควัน แล้วเช่นนี้มันสาสมกับความเหนื่อยยากลำบากมาตลอดชีวิตแล้วหรือ
    อะไรจะเป็นที่พึ่งในโลกหน้า ?
    อะไรจะเป็นผลของความทุกข์ความยาก ?
    ท่านได้ถามตอบตนเอง คิดทบทวนสวนเรื่องทุกเรื่องจนกระจ่างชัดแล้วในตน บ่อยครั้งที่ท่านมองไปที่เรือใหญ่ลอยลำโคลงตัวไปมาตามแรงน้ำแรงลม จิตใจที่ว้าวุ่นครุ่นครวญ จิตใจที่สับสนจับต้นชนปลายไม่ถูกเริ่มถูกตีตะล่อมเข้าสู่ภายใน จิตใจนิ่งได้สมาธิได้สงบราบเรียบลง

    เรือลอยลำไหลโคลงไม่เคยหยุดพัก เพราะแรงน้ำแรงลม
    จิตใจไหวหวั่นเพราะทุกข์แลสุขสลับกันออกแรง
    ท่านได้นิ่งสงบอยู่ทั้งกายและใจ เวลาผ่านไปพักใหญ่ๆ ท่านจึงได้ย้อนพิจารณาย้ำซ้ำในธรรมสังเวชนั้นอีกครั้ง แล้วแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลแก่โยมมารดาของท่าน แล้วท่านบอกแก่โยมมารดาว่า
    “โยมแม่...ขอโยมแม่จงรับรู้และอนุโมทนาบุญ
    ต่อแต่นี้ไปญาคูนี้จะยกกายใจบูชาถวายพรหมจรรย์ต่อพระพุทธเจ้าตลอดชีวิตจะไม่ยอมสึกเด็ดขาด”
    เมื่อท่านติดสินใจเด็ดขาดเช่นนั้นแล้ว ภายในจิตใจเกิดพละกำลังได้ความเชื่อมั่น ได้ความมุมานะเข้มแข็ง ได้ความสุขอิ่มขึ้นมาในบัดดล
    ท่านลุกขึ้นมุ่งตรงไปยังท่าน้ำ จัดการแก้เชือกที่ผูกหัวเรือเอาไว้ “เจ้าคือโลก ข้าฯ คือธรรม เจ้ากับข้าฯ จะแยกจากกันตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป” ว่าแล้วท่านก็ผลักหัวเรือสุดแรงสุดกำลัง เรือได้แรงดันแรงน้ำส่งก็ไหลริ่วพุ่งฉิวตามน้ำไปจนไกลลิบสุดสายตาลอยลับลอยลำไปแล้ว ท่านรู้สึกโล่งอกโล่งโปร่งขึ้นมากทันที สุขใจสบายใจนักแล้ว
    การปลดเปลื้อง การปล่อยวาง การเพิกตนออกจาก เป็นสุขเช่นนี้เอง
    จากนั้นท่านก็ประกาศแก่หมู่คณะว่า “สิ่งของใดๆ ที่ท่านมีอยู่สะสมมาแล้วนั้นใครผู้ใดอยากได้ให้มาพิจารณาเอาไปได้ จะแจกทานไปให้หมด ใครอยากได้ให้มารับ” พอท่านประกาศเช่นนั้นหมู่เพื่อนพระเณร ญาติโยมต่างก็อนุโมทนาสาธุการไปตามๆ กัน ต่อแต่นี้ไปญาคูเสาร์จะไม่สึก
    แสวงหาท่านผู้รู้เป็นครูตน
    เมื่อท่านสละสิ่งของให้ทานหมดแล้ว ท่านได้ย้อนกลับพิจารณาในการศึกษาที่ผ่านมา ในปริยัติที่ท่านเข้าใจ ในการปฏิบัติในข้อศีลข้อวัตร ในการปฏิบัติด้วย กาย วาจา ใจ ในระยะที่บวชเรียนมาแล้วมากกว่า ๑๐ ปี สิ่งที่ได้คืออะไร ?
    รู้ฉลาดรักษาอะไรในตนได้บ้าง ?
    ความเป็นญาคูให้อะไรบ้าง ?
    การปฏิบัติเยี่ยงใดถูกต้องตรงที่สุดในธรรมวินัยนี้ ?
    ในระหว่างนั้นท่านก็พอทราบอยู่ว่า อัญญาท่านม้าว เทวธมฺมี แห่งวัดศรีทอง เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตรงต่อพระธรรมวินัย ตรงต่อมรรคผลนิพพาน
    เมื่อท่านได้พิจารณาโดยรอบคอบแล้ว
    จึงได้ละทิ้งสลัดทิฏฐิความเป็น ญาคูของท่าน มุ่งตรงไปยังวัดศรีทองเพื่อเข้ากราบและขอให้เทศน์ธรรมให้ฟัง
    อัญญาท่านม้าว เทวธมฺมี ได้เทศน์อบรมพร่ำสอนให้ละให้เลิกการกระทำอันไม่ถูกต้องตามธรรมวินัย และกิจอันไม่ใช่หนทางจริยาของพระพุทธเจ้าที่ได้ทำมาที่ได้ประพฤติสืบๆ กันมา อาทิ การเซ็นสรวงบูชา การแต่งแก้ การเสียเคราะห์ เสียคายหงายขัน การผูกดวงดูดวง การหาฤกษ์หายาม การประกอบเครื่องรางของขลัง การสักอักขระสักยันต์คงกระพันชาตรี ฯลฯ
    เพราะการกระทำเหล่านี้เป็นการกระทำนอกลู่นอกทางห่างไกลจากมรรคผลนิพพาน เป็นการมอมเมาผู้คนชาวศรัทธานำพาพวกเขาออกไปนอกรีตนอกรอยของพระพุทธเจ้า มิหนำซ้ำเป็นการย่ำยีวินัยบัญญัติธรรมศาสนาของพระพุทธเจ้า
    นอกจากนั้นก็ให้เลิกละเครื่องเกี่ยวข้องในประเพณีอันติดไปทางโลกโลกีย์ติดไปทางการสะสม การพอกพูน การมากภาระธุระ ซึ่งพระเณรไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว เช่น การเล่นจุดบั้งไฟ การเล่นกลอง การเส็งกลอง การไฮ่กลอง การเล่นเรือซ่วงเรือแข่ง การจัดความรื่นเริงในวัด เป็นต้น
    ให้มาตั้งใจปฏิบัติในพระธรรมวินัยโดยแท้จริง
    ถือศีลวินัยให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ฝึกหัดภาวนา “พุท-โธ” และสะสมอบรมขัดเกลาปัญญาญาณให้เต็มรอบให้สมบูรณ์มิให้วิปริตแปรผันไป เพราะหนทางนี้ปฏิปทานี้เป็นแนวเนตติอันพระอรหันตเจ้า และพระพุทธเจ้าได้พาดำเนินมาแล้วนั่นเอง
    พระเณรเป็นผู้สละเพศแล้วจากคฤหัสถ์
    พระคือ ผู้ประเสริฐ
    ผู้ประเสริฐเป็นผู้ไม่ขวนขวายเพื่อลาภ ยศ สุข สรรเสริญ เพราะมันเปรียบเหมือนก้อนเหล็กแดง เหมือนแท่งเหล็กแดง เป็นของร้อนโดยแท้
    พระเราต้องรู้ จะต้องทำความเข้าใจ เพราะเป็นผู้เห็นภัยในวัฏฏะ
    เพราะเป็นผู้ทำความดับทุกข์
    เพราะเป็นเนื้อนาบุญของชาวโลก
    การปฏิบัติที่ กาย วาจา ใจ ของเรานี้เองหล่ะที่ เป็นหนทางอันเอก
    เป็นหนทางของพระอริยเจ้า
    การปฏิบัติของผู้เดินในเส้นทางของศีล สมาธิ ปัญญา การปฏิบัติของสาวกผู้ยึดมั่นในธุดงควัตร ๑๓ คือ กุลบุตรของพระตถาคตโดยแท้ การปฏิบัติการประพฤติอันใดที่นอกเหนือไปจากอริยสัจจ์เสียแล้ว ผู้นั้นและการปฏิบัติเช่นนั้นเป็นโมฆะ เป็นผู้หลงทาง
    เมื่ออัญญาท่านม้าว เทวธมฺมี แนะนำพร่ำเตือนเช่นนั้นแล้ว ท่านก็ได้ตรึกตรองตาม เข้าใจเห็นจริงไปตามกระแสธรรมนั้น และได้ตกลงใจลงมือปฏิบัติในทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข ไม่สงสัยอันใด
    จากนั้นท่านก็ตั้งใจในการฝึกหัดขัดเกลา ประพฤติปฏิบัติจนเห็นผลเป็นชั้นๆ ขั้นๆ จากการเริ่มต้นนั่งสมาธิ เดินจงกรม เปลี่ยนแปลงจากวิถีชีวิตเดิมๆ มุ่งมั่นวาดหวังต่อการแก้นิสสัยของตนเสียใหม่
    จากการพลิกหน้ามือเป็นหลังมือนี้เองที่เป็นเหตุให้ท่านต้องต่อสู้กับคำปากคนพูด และการขัดขวางของคนที่ไม่เห็นด้วย แต่ท่านก็เอาชนะอุปสรรคนั้นๆ ได้ด้วยความอดทน ความสงบเย็นของท่านนั่นเอง
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุต
    ท่านได้ใช้ความสงบเป็นที่ตั้งในการต่อสู้กับนานาทัสสนะของผู้คน แต่กระนั้นก็ยังไม่สงบดีนัก เพราะมีมาเรื่อยๆ เป็นระลอก การพูดจาว่าร้ายการขัดขวางจากชาวบ้านชาวศรัทธาที่เป็นศรัทธาดั้งเดิม จากพระมหานิกายด้วยกัน ยิ่งเฉพาะจากพระผู้ใหญ่บางคนถึงกับแสดงความรังเกียจเดียดฉันท์
    หากแต่โดยรวมแล้วประเด็นนี้มิใช่ปัญหาใหญ่โตอะไรนัก เพราะการปฏิบัติธรรมของท่านในแนวทางอันใหม่นี้ ได้รับความสงบเย็น ปลอดโปร่งและเป็นไปด้วยดี แต่ทว่ามาติดอยู่กับการขัดข้องในการเข้าร่วมอุโบสถสังฆกรรม ขัดข้องในระเบียบอื่นๆ อีก เช่นการประเคน เป็นต้น
    ในที่สุดท่านพร้อมด้วยหมู่คณะพระเณรตลอดจนชาวศรัทธาผู้ที่ชอบพอก็ยินยอมพร้อมใจในแนวทางการปฏิบัติของคณะธรรมยุต
    พระเณรทั้งหมดพร้อมใจกันเข้าญัตติเป็นพระเณรสังกัดคณะธรรมยุตกันทั้งสำนัก ณ อุโบสถวัดศรีทอง
    พระครูทา โชติปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอธิการสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    นับแต่นั้นมาวัดใต้เทิงก็เป็นวัดพระธรรมยุตไปโดยปริยาย
    ความเพียรเป็นหลักใหญ่ของพระธุดงค์
    เมื่อได้เป็นพระธุดงค์กัมมัฏฐานแล้ว เข้ารับการฝึกฝนอบรมจากอัญญาท่านม้าว เทวธมฺมี จนได้นิสสัยได้ระเบียบได้แบบอย่างแล้ว ก็ไม่นิ่งนอนใจไม่ทอดธุระ ระลึกเสมอในวันวัยเวลาแห่งชีวิต พร้อมพากันตั้งใจ กินน้อยนอนน้อย พูดน้อย มักน้อย พอให้เป็นไปได้ ไม่เห็นแก่ลาภสักการะ ชื่อยศใดๆ
    และที่สำคัญคือ ต่างก็พากันยึดมั่นในข้อวัตร ข้อธุดงค์ เพื่อการขัดเกลา แก้ไขตนของตนยิ่งขึ้น
    จะอยู่ที่ใด จะไปที่ใด จะเป็นเช่นใดจิตใจก็มิให้ห่างไปจากกัมมัฏฐานมิให้ห่างไปจากการปรารภความภาคก์ความเพียร นับแต่ตื่นนอน ไหว้พระสวดมนต์ออกบิณฑบาต ปัดตาดกวาดลานวัด จัดอาหารฉันจังหัน ดูแลสนาสนะ ล้างบาตรล้างกระโถน เย็บย้อมผ้า เดินไปมา การจัดการงานใดๆ ยืนเดินนั่งนอนทุกอริยาบถ มีสติกำหนดจดจ่ออยู่เสมอ ไม่รับอารมณ์อื่นใดนอกจาก พุท-โธ
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พื้นเพเมื่อครั้งออกปฏิบัติ
    ด้วยที่ท่านเป็นผู้ถือสันโดษ มักน้อย ชอบวิเวกสงบ ไม่ระดมด้วยกับชนหมู่มาก ไม่ชอบความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ถ้าหากที่ใดเกลื่อนกล่นไปด้วยความวุ่นวายความว้าวุ่นจุ้นจ้าน ท่านก็จะปลีกตัวจากไป ที่ใดผู้คนไม่เห็นประโยชน์ก็ไม่อยู่ เพราะหากอยู่ไปก็เป็นโทษ แต่อยู่ที่ใดได้ประโยชน์แก่ผู้คน ได้สัปปายะเป็นที่สบายในธรรมท่านก็จะอยู่นาน แต่การไปไวมาไวไปเร็วมาเร็วนี้เอง ท่านจึงเที่ยวไปได้หลายที่หลายถิ่น
    ความสงบสงัด ความสัปปายะ ความวิเวก ความเบาสบาย ความบริสุทธิ์ จึงนับว่าเป็นพื้นเพเดิมแท้ของจิตใจ แม้จะหมู่มากหากก็แต่สงบสงัดนัก เงียบเหมือนกับไม่มีคนอยู่ในบริเวณนั้นๆ
    และถิ่นใดที่ท่านได้พำนักอาศัยปักกลดอยู่ ที่นั้นต่อมาก็มักจะเป็นสำนักเป็นวัด เป็นอนุสรณ์แห่งองค์ท่านมาจนปัจจุบันนี้
    แม้ชีวิตเป็นอยู่ทุกขณะ ทุกความเคลื่อนไหวไปมาจะไม่ยอมให้สูญเปล่าประโยชน์ เพราะมีความรู้สึกตัวอยู่กับความเพียรให้เป็นไปอยู่ตลอด
    อีกทั้งต้องวางตัวเป็นแบบอย่างให้แก่หมู่คณะพระเณรผู้เกิดตามอีกด้วยซึ่งท่านเหล่านั้นก็พากันรักษาขนบธรรมเนียมข้อวัตรข้อปฏิบัติของพระธุดงคกัมมัฏฐานเอาไว้ได้เป็นอย่างดี ต่างพากันสืบทอดปฏิปทา วัตรปฏิบัติเป็นมรดกมาแต่พระบูรพาจารย์ต้นยุคต้นวงศ์ อย่างมิขาดมิหาย
    เมื่อท่านได้สละโดยเด็ดขาดทุกอย่างทุกประการแล้ว ยึดมั่นในคลองศีลคลองธรรม เด็ดเดี่ยวแน่วแน่ในข้อธุดงค์ และชอบใจในความสงบอย่างยิ่ง
    เมื่อใดได้สมณศักดิ์
    การได้ที่ “พระครูวิเวกพุทธกิจ”
    เพราะท่านชอบความสงบสงัดและความวิเวกอย่างแท้จริง
    อุปนิสัยชอบวิเวก มักน้อย ไม่ระคนปะปนหมู่ชนให้วุ่นวายปลีกตัวหลีกเร้นปฏิบัติบำเพ็ญเพียรมุ่งสู่ความหลุดพ้นและทำให้ดับระงับไปจากกิเลสาวะโดยแท้จริง
    และเหตุเพราะสมณศักดิ์นี้เอง
    ที่เป็นเหตุอันนำมาซึ่ง พระนามของพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ท่านพร้อมคณะศิษย์ หมู่พระเณรอุบาสกอุบาสิกาได้ ปั้นขึ้น ณ ถ้ำจำปาบ้านนาคันแท นามว่า “พระศรีสุพลพุทธวิเวก”
    เริ่มออกธุดงค์ ณ แถบเมืองอุบล
    ในหน้าแล้ง ปี พ.ศ.๒๔๓๔ หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว ท่านได้จาริกออกธุดงค์ไปพักที่กุดเม็ก เป็นบริเวณปลายสุดของลำห้วยยาง ในบริเวณนั้นมีต้นสะเม็กเกิดขึ้นมาก เป็นแง่ห้วยยางสายหนึ่ง มีน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอดปี
    ท่านได้มาพักบำเพ็ญอยู่ที่นั่น (บ้านคำบง ตำบลสงยาง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน) เป็นสถานที่สัปปายะ เป็นที่ที่ผู้คนขยาดกลัวเกรง เป็นป่าเปลี่ยวห่างไกลจากผู้คน
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ได้ศิษย์เอก
    ศิษย์เอกของท่าน คือ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต แห่งบ้านคำบง ซึ่งก่อนหน้านี้ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี บวชเณรได้ ๒ ปี ท่านจำต้องลาสิกขา เพื่อออกมาช่วยงานทางบ้านทางเรือนตามคำของร้องของบิดา
    ณ ที่นั้นเอง ท่านอัญญาคูเสาร์ (กนฺตสีโล) ได้พบกับเชียงน้อยหนุ่มน้อย ชื่อ “มั่น” เป็นเด็กหนุ่มที่มีคุณลักษณะที่ผิดแผกแตกต่างไปจากคนอื่นๆ มีนิสัยชอบปลีกตัว ชอบสงบ ชอบพอกับท่านยิ่ง เทียวเข้าเทียวออกระหว่างบ้านกับกุดเม็กอันเป็นที่อยู่รุกขมูล แม้จะห่างไกลไม่เท่าไหร่ก็ตามบางวันเทียวไปมาได้หลายเที่ยว บางคืนก็ไม่กลับเรือน นอนอยู่กับอัญญาคูเสาร์ที่ป่านั่นหล่ะ เพื่ออุปัฏฐากรับใช้ตามแต่ผู้เป็นอัญญาคูจะใช้สอย อยู่เพื่อจะได้ฝึกหัดสมาธิธรรมกัมมัฏฐาน ล้างบาตร เช็ดบาตร ต้มน้ำ สุผ้า ซักผ้า ประเคนสิ่งของนั่นนี่
    นับว่าหนุ่มน้อยเป็นผู้ได้นิสัยของผู้จะเข้าบวชบ้างแล้ว อีกอย่างน้ำใจอัธยาศัยของหนุ่มน้อยก็เอนเอียงมาทางบวชอยู่
    จนที่สุดอัญญาคูเสาร์ (กนฺตสีโล) ออกปากชวน
    “เจ้าไปบวชกับข้อยซะน้อ”
    “เจ้าสิไปบวชบ่”
    “ไปบวชกับเฮาเน๊าะ”
    เมื่อหนุ่มน้อยถูกชักชวนบ่อยๆ ก็ตอบตกลง
    จากนั้น ท่านจึงออกปากขอหนุ่มน้อยผู้นี้จากโยมผู้เป็นพ่อเป็นแม่ แม้โยมทั้งสองก็ไม่ขัดข้องแต่ใดๆ
    กำเนิดพระผู้ให้ปัญญาประดุจแผ่นดิน
    หลังจากตกลงกันทุกอย่างทุกประการแล้ว ก่อนจะเข้าพรรษาเดือนเศษๆ ท่านได้นำหนุ่มนาคน้อย เดินทางรอนแรมจากบ้านคำบง มุ่งสู่ตัวเมืองอุบลราชธานีจนลุถึงตัวเมือง กำหนดวันบวชได้แล้วก็จัดแจงหาบริขารที่จะใช้บวชพระ
    หนุ่มนาคน้อย “มั่น แก่นแก้ว” ได้เข้ารับการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในคณะธรรมยุต ณ วัดศรีทอง
    โดยมีพระอริยกวี (อ่อน ธมฺมรกฺขิโต) เป็นพระอุปัชฌาย์
    มีพระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    มีพระครูประจักษ์อุบลคุณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๖
    ได้รับฉายามคธว่า ภูริทตฺโต
    แปลว่า ผู้มีปัญญาประดุจแผ่นดิน
    ความช่วงนี้จะขอพักและขอข้ามช่วงระยะเวลาแห่งการบำเพ็ญธรรมของพระอุปัชฌาย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ทั้งสอง องค์ไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อน แล้วมาทำความเข้าใจให้เชื่อมต่อเรื่องราวในระหว่างที่มาเยือนถิ่นผู้ไทห้วยทราย – หนองสูง จากธรรมประวัติของหลวงปู่จาม ข้อ (๑๔ – ๑๕ – ๑๖) และ (ข้อ ๒๐) ดังนี้
    ๑๔. ปีนั้นอายุได้ ๗ ปี เพิ่นครูบาอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) มาจากจังหวัดอุบลราชธานีผ่านมาอำนาจเจริญผ่านมาเมืองยโสธร เพิ่นมาถึงบ้านห้วยทรายตกหน้าแล้ง เก็บเกี่ยวข้าวพอดีแล้วเสร็จ เดือนอ้ายเดือนยี่
    หลังจากนั้นพระธุดงค์ก็ทะยอยกันมามากจน ๓๐ - ๔๐ รูป เห็นจะได้ พระเณรมากขนาดนั้นเราเข้าไปในเขตวัด เงียบสงบไม่มีเสียงคนคุยกันเลย
    เพิ่นครูอาจารย์เสาร์ (กนฺตสีโล) ย้ายไปอยู่ถ้ำบ้านกลางในตอนเช้า พอตอนค่ำ เพิ่นครูอาจารย์มั่นก็พาพระเณรมาถึงบ้านห้วยทราย
    เพิ่นครูอาจารย์มั่นมาอยู่บ้านห้วยทรายครั้งแรก มาอยู่วัดหนองแวงทางทิศเหนือของบ้านห้วยทราย พากันออกไปต้อนรับ เราเป็นเด็กน้อยก็ออกไปดู คนใหญ่ก็ถากถางพออยู่ไปได้ก่อน เป็นที่ๆ ที่เฉพาะองค์ ตัดตอข้าวเอาเฟืองไปปูให้
    ที่เฉพาะเพิ่นครูอาจารย์มั่นคนใหญ่เขาหามแคร่ไปให้เพิ่นนอน
    การเคลื่อนไหวไปมา ความนิ่งสงบของเพิ่นงดงามมากคนเฒ่าผู้หญิงก็หาหมากพลูบุหรี่ไปถวาย หาน้ำอ้อยก้อนไปถวายจนมืดจนค่ำแล้วจึงพากันกลับบ้าน ทำอย่างนั้นจนได้เสนาสนะครบทุกองค์ทุกรูป
    กลับจากวัดเราก็เอาผ้าห่มมาห่มเฉวียงบ่าอย่างที่พระเณรเพิ่นห่มผ้า
    แม่ออกก็ว่าให้ เดี๋ยวจะเป็นบาปเด้อ
    ขี้กลากจะขึ้นหน้า อย่าไปเลียนแบบ
    พระเณรครูบาอาจารย์มันบาปเด้อ ” ”
    ๑๕. “ตื่นเช้ามาเรามีหน้าที่คอยช่วยเหลือแม่ในงานครัวก่อนงานอื่นๆ แม่ออกจะนึ่งข้าว ๒ หวดใหญ่ พี่ชายอ้ายแดง อ้ายเจ๊กก็ลงตำข้าวใช้ซกตำ(ใช้ครกมือ) เป็นซกไม้เจาะให้ลึกลงไป ใช้สากขนาดใหญ่ซ้อมข้าว
    ข้าวนึ่งสุกหวดแรกจะใส่บาตรพระเณร อีกหวดเอาไว้กินอยู่บ้านทำอย่างนี้ทุกวัน ส่วนของกับของกินก็ก่อเตาอีกเตาแล้วทำไปพร้อมๆ กับนึ่งข้าวให้สุก ก็ทันกันพอดี เอาแกงเอากับมาห่อใบตองกล้วยเป็นห่อ เป็นห่อกะประมาณให้ครบพระเณร
    วันไหนไม่ครบบาตร ก็จะเอาไปดักใส่ใกล้เขตวัดเพราะพระเณรเพิ่นไม่รับบาตรภายในเขตวัด และไม่รับอาหารนอกบาตร
    เราก็จะตามแม่ไปทุกวันพ่อออกก็ไปก่อนแล้วอุ้มบาตรไปส่งเพิ่นครูอาจารย์มั่น เอาบาตรไปส่ง ช่วยเหลือในการประเคนของขบของฉัน
    วันใดหมกห่อมากในบาตร ก็จะเหลือออกมา วันใดมีน้อยก็พอดีพระเณรแบ่งกันพอดีของเพิ่นเองทุกรูปทุกองค์
    ฉันเสร็จแล้วก็เหลือออกมาเป็นข้าวก้นบาตร ญาติโยมตามไปวัดก็จะพากันยกออก ไปกินให้ห่างออกไป กินกันอิ่มแล้วก็ล้างถ้วยล้างถาด กระโถน ปัดกวาด เก็บกวาดให้เรียบร้อย
    ในระหว่างที่เพิ่นครูอาจารย์มั่นพระเณรฉันจังหันกันอยู่ญาติโยมที่ไปวัด พ่อออกแม่ออก คนเฒ่าหลายคนก็พากันแยกย้ายกันไปเดินดูตามที่พักของพระเณร ดึงหญ้าถอนหญ้า ตัดตอไม้เล็กตามลานตัดรากไม้ฟูขึ้นตามทางจงกรม เครือเขาเถาวัลย์พันเกี่ยวให้รกรุงรังดูความเรียบร้อยตามที่ต่างๆ แต่ไม่เข้าไปยุ่มย่ามกับกุฏิที่พักห้างร้านและห้องถานของพระเณรดูแต่บริเวณรอบๆ
    เราเป็นเด็กน้อย นิสัยการกราบไหว้นั้นติดมาแต่ย่าสอนไว้แต่ปีสองปีแล้ว ก็ได้แต่กราบแต่ไหว้ โดยเฉพาะของเพิ่นครูอาจารย์หลวงปู่มั่น (ภูริทตฺโต)
    ทางจงกรม ก็กราบก็ไหว้
    ห้างร้านกุฏิ ก็กราบก็ไหว้
    ถานวิดหลุมส้วม ก็กราบก็ไหว้
    ผ้าที่ท่านตากไว้ ก็กราบก็ไหว้
    ช่วงที่พระเณรมาอยู่ใหม่ๆ
    ตอนช่วงกลางวัน ญาติพี่น้องหลายคน ก็มาช่วยเหลือกันตัดไม้ สับฟาก เอาหญ้ามาไพ จักตอก ทำที่พักห้างร้าน กุฏิเพิง ทำทางจงกรม ทำหลุมถาน ทำทางไปมา
    พ่อออกกับแม่ออกมิได้หยุดสักวัน
    พากันทำไปจนครบจำนวนพระเณร แล้วยังปลูกไว้เผื่ออีกเป็นหลังๆ เพราะพระเณรทะยอยกันมาตามกันมาอยู่ทุกวัน
    เพิ่นครูอาจารย์มั่นพาพระเณรมาอยู่วัดหนองแวง พระเณรก็เข้าออก - เข้าออกหมู่ละ ๒ หมู่ละ ๓ หมู่ละ ๔
    ทีนี้เพิ่นอยู่นานเท่าใดเราก็จำมิได้ รู้แต่ว่าจากบ้านห้วยทรายแล้วเพิ่นก็ขึ้นไปทางธาตุพนมไปอุดรไปเมืองเลย ไปหนองคาย มาเมืองสกลนคร มาธาตุพนมลงไปเมืองอุบล
    แต่บ้านห้วยทรายก็มีพระธุดงค์ไปมาอยู่มิได้ขาด”
    [๑๖" target="_blank"> “อายุของผู้ข้าฯ ได้ ๗ ปี เพิ่นครูอาจารย์มั่นมาอยู่บ้านห้วยทรายเป็นครั้งแรก มาสอนผู้คนให้ทิ้งผีให้ละผี ให้ถือไตรสรณคมณ์เพิ่นครูอาจารย์เสาร์ย้ายจากดอนหนองน่อง ไปอยู่ถ้ำบ้านกลาง แล้วไปอยู่บ้านขุมขี้ยางภูเขาทิศใต้ของบ้านนาไคร้ แล้วกลับมาอยู่ถ้ำจำปา เพิ่นไปมาหาสู่กันอยู่ แต่การมาอยู่รอบแรกของเพิ่นครูอาจารย์มั่นนี้เพิ่นอยู่ได้ไม่นานแต่อยู่ในพรรษาเท่านั้น ขึ้นเดือนอ้ายแล้วเพิ่นก็พาพระเณรไปทางธาตุพนม
    แต่ในพรรษาเพิ่นก็สอนผู้คนชาวบ้านจนหลายๆ คนละความคิดความเห็นแบบเก่าแบบงมงายมานับถือพุทธศาสนาได้มากจนเกือบจะหมดหมู่บ้าน”
    ๒๐. “ปีแรกที่เพิ่นครูอาจารย์มั่นมาอยู่วัดหนองแวงรอบที่สองผู้ข้าฯ อายุ ๑๑ ปี พระเณรก็แยกย้ายกันไปต่างคนต่างก็ไปเหลืออยู่กับเพิ่นครูอาจารย์มั่น ๔ -๕ องค์
    เพิ่นรอท่าให้ศรัทธาญาติโยมแล้วเก็บเกี่ยวเสียก่อน และพระเณรก็เหลืออยู่น้อย เพิ่นดำริว่า “อยู่นี่ก็ดีอยู่สะดวกสบายดี แต่มันอยู่ใกล้หมู่บ้าน ใกล้คน อีกอย่างเป็นทางผ่านไปมาของผู้คน ต่อไปก็เป็นหน้าแล้ง สัตว์เลี้ยงงัวควายก็จะมารบกวนเอาได้ จะย้ายไปอยู่ดอนหนองน่องที่พ่อแม่ครูอาจารย์เพิ่นอยู่มาก่อนแล้วนั้น ซุมเจ้าจะว่าอย่างใด๋”
    ก็เลยตกลงรื้อถอนเสนาสนะเอาแต่อันพอที่จะเอาไปได้ แล้วไปปลูกไปแปงเสนาสนะใหม่ อยู่ที่ข้างสวนหม่อนของบ่าวตาซ้นสาวด่อน พ่อแม่ย่าแก้ว (คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ)
    ปลูกห้างร้าน สูงครึ่งขาพอยกก้นขึ้นนั่งได้ ฝาแถบตองยกเงิบออกไปได้ ๓ ด้าน หลังก็มุงหญ้าคา พื้นสับฟากไม้ไผ่ ขุดหลุมถานหลุมวิด ทำทางจงกรม ทำที่หอฉัน แต่โดยมากก็ไปแปลงเอาใหม่แต่อาศัยของเก่าสมัยเพิ่นครูอาจารย์เสาร์อยู่มาก่อนแล้วพอทำเสนาสนะเรียบร้อยแล้ว เพิ่นครูอาจารย์มั่นก็อยู่ฉลองศรัทธาให้ ๔ เดือน แล้วเพิ่นจะไปธุระเมืองอุบลเรื่องกิจนิมนต์และจะลงไปรับแม่ออกของเพิ่นหรืออะไรนี้หล่ะ
    เพิ่นครูจารย์เสาร์ อัญญาท่านใหญ่ มาอยู่บ้านห้วยทรายวัดหนองน่องเทศน์ให้พ่อออก แม่ออกว่า “ ให้สำนึกตน
    ดูตนเอง อย่าดูผู้อื่น”
    การเดินจงกรมของเพิ่น ก็เดินทุกวันถึงเวลาแล้วก็เดิน ฝนตกก็ตากฝนเดิน แดดออกก็เดิน เดินแต่ละช่วงก็หลายชั่วโมง ปฏิปทาของเพิ่นแบบอย่างของเพิ่นนี้ พ่อออกก็ถือเอาปฏิบัติตามแบบอย่างตอนอยู่ภูเก้า จนล้มคาทางจงกรม (เพิ่น = ท่าน)
    ( พ่อออก แม่ออก = โยมพ่อโยมแม่ขององค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ )
    พวกเราเป็นคนไทย มาทำบุญให้ทาน ผู้ไทเรณู ผู้ไทกุดสิม คำชะอี หนองสูง บัวขาว วาริช เมืองสกล ไทผู้ไท ไทย้อ ไทโซ่ง พวกกะเลิง พวกซ่ง พวกละว้า พวกข่า พวกโย้ย พวกเย้ย หลายพวกหลายหมู่ เป็นคนหมู่น้อย ชนกลุ่มน้อยพากันหนีลงมาแต่เมืองจีนมาอยู่หัวเมืองแกว มาอยู่เมืองลาวย้ายข้ามโขงมาอยู่ทางอีสาน
    แต่เพิ่นครูบาอาจารย์มั่น เป็นลาวเมืองอุบลแท้ๆ ก็ยังเลือกอยู่กับผู้ไท เพิ่นว่าคนผู้ไท บอกง่าย สอนง่าย ว่ากล่าวง่าย ดูแลบำรุงพระเณรได้ดี เพราะเป็นเชื้อสายของพระเวสสันดร สืบต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน (ธรรมปฏิสันถารขององค์หลวงปู่)
    “ เมืองอีสานชาวบ้านบำรุงใส่ใจพระเณรดีกว่าทางอื่นทิศอื่น
    เพิ่นครูอาจารย์เสาร์ เพิ่นครูอาจารย์มั่น พากันมาอยู่จำพรรษาบ้านห้วยทรายก็ว่าคนชาวภูไทจิตใจอ่อนน้อมดีใส่ใจดูแลพระเณรดี สอนง่าย เข้าใจง่ายภาวนาก็เป็นเร็ว คนละเอียดก็ละเอียดได้ ส่วนผู้ใดหยาบ แล้วก็ไม่ยอมรับจนได้รับโทษบาปกรรมเป็นผู้สยบก็มี” ”
    ข้อความอันเป็นส่วนๆ ชิ้นๆ ทั้งหมดที่ยกมาเพื่ออ่านศึกษานั้นก็เพื่อว่าจะรื้อฟื้นและปูพื้นฐานความเข้าใจในการมาเยือนมาเหย้ามาอยู่ของครูบาอาจารย์อริยสงฆ์ในแถบถิ่นนี้
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    โปรดอ่านต่อไป
    วัดหนองน่อง – ถ้ำจำปา
    พ.ศ.๒๔๕๗ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโลมาเยือนมาอยู่วัดหนองน่อง บ้านห้วยทราย อยู่ที่นี่ ๒ พรรษา ครั้นพอหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต มาถึง อยู่ด้วยศึกษาร่วมกันพอสมควรแล้ว หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้รับนิมนต์ให้ไปอยู่ถ้ำจำปาภูผากูด ฟากหนองสูงนาคันแท จากนั้นก็อยู่ปฏิบัติที่ถ้ำนี้นานเป็นเวลา ๕ ปี
    ส่วนถ้ำจำปา เป็นเพิงผาหลืบหิน มีลานท้องถ้ำยาวประมาณ ๕๐ เมตร เป็นชะง่อนผาเพิงหินที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี
    เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๒ ให้มีการสร้างศาลาธรรมสภาคะมังคะลา เป็นศาลาไม้ยกพื้นสูง ๗๐ เซนติเมตร เพื่อเป็นศาลาอเนกประสงค์ภายในท้องถ้ำนั้น
    เลียบหน้าผาห่างออกไปทางขวามือประมาณ ๑๕๐ เมตรจะเป็นเรือนถ้ำยาวเรือกไปตามหน้าผาหิน เป็นถ้ำลักษณะเดียวกัน แต่เล็กกว่า ตื้นกว่า เรียกว่า “ถ้ำแม่ขาว” หรือชาวบ้านว่า “ถ้ำย่าขาว” ย่าขาวหรือแม่ขาวเป็นคำเรียกแทนแม่ชี เป็นที่พักกุฏิหลังน้อยของคุณแม่ชีจันทร์ แก่นแก้ว ผู้เป็นโยมมารดาของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต นั่นเอง
    ส่วนด้านซ้ายของท้องถ้ำจำปา นับแต่บริเวณที่มีต้นจำปา หรือลั่นทมดอกขาวเหลืองกลิ่นหอมแรง เกิดขึ้นเอง และได้ถือเอานิมิตนี้เองเป็นชื่อเรียกขานว่าถ้ำจำปา นับแต่หน้าต้นจำปาจะมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ ขนาดใหญ่ศิลปะอีสานพื้นบ้านโดย หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล พร้อมศิษยานุศิษย์ในยุคสมัยนั้นพากันปั้นขึ้นรูปประดิษฐานบนก้อนหินแท่นปูน หันพระพักตร์ออกหน้าถ้ำ หันหลังพิงผนังถ้ำ ต่ำลงมาอีกทางแท่นข้างซ้ายมือ ก็จะมีรอยพระพุทธบาทจำลอง สูงขึ้นไปทางขวามืออีกก็จะเป็น ถ้ำวิมุตติธรรม เป็นเพิงหินซะง่อนก้อนใหญ่ อันเป็นที่นั่งภาวนาของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล อากาศดีมากบรรยากาศสัปปายะยิ่ง ประกาศวิเวกสงัดยิ่ง
    ด้วยความที่สภาพป่า ดินฟ้าอากาศ ผู้คน อาหาร อุตุ เป็นที่สบายอีกทั้งความเป็นผู้ชำนาญป่าเขาภูติภูมิ ชีวิตในป่าของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ธรรมะขับเคลื่อน ป่าเขาขับกล่อม ภูติภูมิยินดี ผู้คนบูชา ท่านจึงได้เลือกที่จะอยู่ที่นี่นานกว่าที่อื่น เป็นดงเป็นป่า แต่โปร่ง อากาศดี มีป่าไฝ่ ป่ามะค่า ไม้รัง ไม้แดง และไม้ป่าให้ร่มเงาอื่นๆ แม้จะโคจรบิณฑบาตไกลบ้างหากก็แต่เหมาะกับผู้มีอุปนิสัย ปลีกวิเวก ไม่เกลื่อนกล่น ข้างล่างมีลำธารน้ำไหลผ่าน พอได้ดื่มกินใช้สอย แมกไม้ส่ำสัตว์ก็ไม่อึกทึกไม่มาเบียดเบียน
    ในช่วงระยะเวลาที่หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ย้ายไปพำนักพักรุกขมูลคูหาท้องถ้ำจำปาบ้านนาคันแทนั้น หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ก็อยู่ที่ดอนหนองน่องบ้านห้วยทรายอยู่กันด้านละฟากภูเขาภูผากูด
    เหตุการณ์มีให้เอื้อนอ้าง
    อยู่มาวันหนึ่ง หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล นั่งพักผ่อนอิริยาบถอยู่พิจารณาด้วยจิตตภาวนาทราบว่า หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต กำลังเดินทางข้ามเขามาหา
    ท่านก็เตรียมตัวรับศิษย์เอกที่ลานโถงถ้ำ เมื่อหลวงปู่มั่นเดินทางมาถึงแล้วก็เข้ากราบนมัสการพระผู้เป็นอาจารย์ตามอาจาริยวัตร ท่านทั้งสองได้ไต่ถามสารทุกข์สุขดิบเป็นอยู่ธาตุขันธ์ และแล้วจึงวกเข้าสู่หัวข้อของการปฏิบัติ
    หลวงปู่มั่น ถามหลวงปู่เสาร์ผู้เป็นอาจารย์ว่า “อาจารย์ได้พิจารณาอริยสัจธรรมหรือไม่ ?”
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ตอบว่า “เราก็ได้พิจารณาเหมือนกัน”
    ท่านหลวงปู่มั่นถามต่อ “ได้ผลเป็นอย่างไรบ้าง ?”
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ “ได้ผลเหมือนกัน แต่มันไม่ชัดเจน”
    ท่านหลวงปู่มั่น “เพราะเหตุอะไรครับ”
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ “เราได้พยายามอยู่ คือ พยายามพิจารณาถึงความแก่ ความตาย แต่ว่าบางคราวมันก็แจ่มแจ้ง และบางคราวมันก็ไม่แจ่มแจ้ง”
    ท่านหลวงปู่มั่น “ถ้าเช่นนั้น คงมีเรื่องอะไรเป็นเครื่องห่วงอยู่ หรือกระมัง?ขอรับ”
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ “เราพยายามพิจารณาอยู่เหมือนกัน แต่ก็หาสิ่งขัดข้องไม่ได้ ความจริงความสว่างของดวงจิตก็ปกติดีอยู่ แม้มันจะดีบ้าง ไม่ดีบ้าง มันก็เป็นธรรมดาของสมาธิ แต่ว่าเมื่อจิตพิจารณาทีไร รู้สึกว่าไม่ก้าวไป”
    ท่านหลวงปู่มั่น “กระผมคิดว่าคงมีอะไรเป็นเครื่องห่วง?”
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ “และเธอรู้ไหมว่า เรามีอะไรเป็นเครื่องห่วง ?”
    ท่านหลวงปู่มั่นเห็นเป็นโอกาสที่จะถวายความรู้ครั้งอยู่ที่ถ้ำสาลิกาโน้น ที่ท่านได้ทราบวาระจิตของท่านพระอาจารย์เสาร์ “ท่านอาจารย์คงห่วงเรื่องการปรารถนา พระปัจเจกโพธิ กระมังครับ”
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ “แน่ทีเดียว ในจิตใจเราตั้งอยู่ว่า จะขอให้รู้ธรรมเอง โดยมิต้องให้ใครมาแนะนำหรือบอกให้ และมันก็ตั้งอยู่ในใจของเรามาตลอด”
    เมื่อได้ฟังเช่นนี้ท่านหลวงปู่มั่นจึงกราบขอโอกาส แล้วได้บอกกับพระอาจารย์เสาร์ว่า
    “ขอให้ท่านอาจารย์อย่าเป็นห่วงเลย ขอให้พิจารณาอริยสัจเพื่อความพ้นทุกข์เสียแต่ในชาตินี้เถิด เพราะกระผมเองก็ปรารถนาพระโพธิญาณ และกระผมก็ได้ละความปรารถนานั้นไปแล้ว เนื่องด้วยการท่องเที่ยวในสังสารวัฏนี้มันนานเหลือเกิน”
    ในวันนั้นท่านพระอาจารย์เสาร์ต้องประหลาดใจ ที่ศิษย์ของท่านได้ล่วงรู้ถึงความจริงอันปรากฏมีอยู่ ณ ส่วนลึกที่สุดในใจของท่าน ซึ่งเรื่องนี้ท่านเองไม่เคยปริปากบอกใครเลยแม้แต่น้อย ฉะนั้นจึงทำให้ท่านรู้สึกว่า ศิษย์ของท่าน คือท่านหลวงปู่มั่นนี้ต้องมีความดี มีความจริง มีความชัดเจนในใจอย่างแน่นอนแน่แท้แล้ว
    อยู่มาวันหนึ่งท่านพระอาจารย์เสาร์นั่งอยู่ที่สงัดเฉพาะองค์เดียว ท่านเริ่มการพิจารณาถึงอริยสัจ ได้รู้ ได้เห็นตามความเป็นจริงนั้น และในวันนั้นท่านก็ตัดเสียซึ่งความสงสัยได้อย่างเด็ดขาด พอจวนจะถึงกาลปวารณาออกพรรษา ท่านก็ได้ทราบชัดถึงความเป็นจริงทุกประการ ท่านจึงได้บอกกับท่านหลวงปู่มั่นว่า
    “เราได้เลิกการปรารถนาพระปัจเจกโพธิแล้ว และเราก็ได้เห็นธรรมตามความเป็นจริงแล้ว”
    ท่านหลวงปู่มั่น ได้ยินดังนั้น ก็เกิดปิติเป็นอย่างมากและได้ทราบวาระว่า
    “พระอาจารย์พบทางวิมุติแล้วในอัตภาพนี้”
    ซึ่งเรื่องนี้ ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี ได้แต่งไว้ในหนังสือประวัติ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ เช่นกันว่า...
    เท่านพระอาจารย์เสาร์ เดิมทีท่านเคยปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า (ซึ่งการจะบรรลุ สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้นั้น จำต้องบำเพ็ญบารมี ท่องเที่ยวเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ในวัฏสงสาร รับทุกข์ทรมานในภพชาติต่างๆ ต่อไปอีกหลายกัปหลายกัลป์) เวลาออกบำเพ็ญเข้มข้นพอเร่งความเพียรเข้ามากๆ ใจก็รู้สึกประหวัด ๆ ถึงความปรารถนาเดิมเพื่อความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แสดงออกเป็นเชิงอาลัยเสียดายความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ยังไม่อยากนิพพานในชาตินี้ ท่านเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อความเพียรเพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ ท่านเลยอธิฐานของดจากความปรารถนาเดิมนั้นเสีย และขอประมวลมาเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาตินี้ ไม่ขอเกิดมารับความทุกข์ทรมานบำเพ็ญบุญญาบารมีในภพชาติต่างๆ เพื่อความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าอีกต่อไป พอท่านปล่อยวางของดจากความปรารถนาเดิมแล้วนั้น การบำเพ็ญเพียรรู้สึกได้รับความสะดวกแลเห็นผลไปโดยลำดับ ไม่มีอารมณ์เครื่องเกาะเกี่ยวค้างคาเหมือนแต่ก่อน สุดท้ายท่านก็บรรลุถึงแดนแห่งความเกษมดังใจหมาย”
    ท่านหลวงตาพระมหาบัว เขียนเล่าไว้ต่อไปอีกว่า...
    “พระอาจารย์เสาร์ ท่านมีแปลกอยู่อย่าง คือ เวลาที่ท่านเข้าที่นั่งสมาธิ ตัวของท่านชอบลอยขึ้นเหนือพื้นเสมอๆ บางครั้งตัวท่านลอยสูงขึ้นผิดสังเกตจนถึงกับท่านเองเกิดความแปลกใจในขณะนั้นว่า ตัวท่านน่าจะลอยขึ้นจากพื้นเป็นแน่แท้ เลยเผลอลืมตาขึ้นดูตัวเองว่าใช่ลอยขึ้นจริงๆ หรือไม่ พอลืมตาดูเท่านั้น ก็ปรากฏว่าตัวท่านตกวูบลงมาก้นกระแทกพื้นดังปังใหญ่ ต้องเจ็บเอวอยู่หลายวัน เพราะตัวท่านลอยขึ้นสูงจากพื้นจริงๆ ในขณะที่ท่านลืมตาดูตัวเองนั้น จิตได้ถอนออกจากสมาธิ จึงไม่มีสติยับยั้งไว้บ้าง ทำให้ท่านตกลงสู่พื้นอย่างแรง ในคราวต่อไปท่านจึงหาอุบาย เวลาท่านนั่งสมาธิพอรู้สึกตัวลอยขึ้นจากพื้น ท่านพยายามตั้งสติ ให้อยู่ในองค์ของสมาธิแล้วค่อยๆ ลืมตาดูตัวเอง ก็ประจักษ์ว่าตัวท่านได้ลอยขึ้นจริงๆ แต่คราวนี้ไม่ได้ตกวูบลงสู่พื้นเหมือนคราวแรก เพราะท่านตั้งสติคอยประคองจิตให้อยู่ในองค์สมาธิ ท่านจึงรู้เรื่องของท่านได้ดี
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ท่านเป็นที่มีความละเอียดถี่ถ้วนลึกซึ้งอยู่มาก แม้ท่านจะเห็นด้วยตาแล้วว่าตัวท่านลอยได้ แต่ท่านก็ยังไม่แน่ใจ ท่านจึงคิดวิธีพิสูจน์ได้โดยนำเอาวัตถุชิ้นเล็กๆ ขึ้นไปเหน็บไว้ใต้หญ้าคามุงกุฏิ แล้วกลับมาทำสมาธิ จนพอจิตสงบ และตัวเริ่มลอยขึ้นไปอีก ท่านพยายามประคองจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิ เพื่อตัวจะได้ลอยขึ้นไปจนถึงวัตถุเครื่องหมายที่นำไปเหน็บไว้ แล้วค่อยๆ เอื้อมมือจับด้วยความมีสติ ดึงเอาวัตถุนั้นติดมือลงมาโดยทางสมาธิภาวนาคือพอหยิบได้วัตถุนั้นแล้วก็ค่อยๆ ถอนจิตออกจากสมาธิ เพื่อกายจะได้ค่อย ๆ ลงมาจนถึงพื้นอย่างปลอดภัย แต่ไม่ถึงกับให้จิตถอนออกจากสมาธิจริงๆ เมื่อท่านได้ทดลองจนเป็นที่แน่ใจแล้ว ท่านจึงเชื่อตัวเองว่าตัวของท่านลอยขึ้นได้จริงในเวลาเข้าสมาธิในบางครั้ง แต่มิได้ลอยขึ้นเสมอไป”
    นี้เป็นจริตนิสัยแห่งจิตอย่างหนึ่งของท่านพระอาจารย์เสาร์
    เยี่ยงอย่างพระอาจารย์
    ท่านปฏิบัติพระอาจารย์เสาร์เหมือนท่านเป็นพระนวกะ
    ในระยะนั้นท่านหลวงปู่มั่น ได้พรรษาที่ ๒๖ ท่านได้ปฏิบัติท่านพระอาจารย์เสาร์เหมือนกับท่านเป็นพระใหม่ คือ ปฏิบัติตั้งแต่การล้างบาตร ซักจีวร ปูที่นอน ตักน้ำ ถวายสรง ถูหลังให้ทุกประการ แม้ท่านพระอาจารย์เสาร์จะห้ามอย่างไรก็ตาม ท่านก็ยังปฏิบัติต่อโดยมิได้มีการแข็งกระด้างแต่ประการใด นี่คือเยี่ยงอย่างของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ท่านมีความกตัญญูรู้คุณพระผู้เป็นอาจารย์ ส่วนท่านพระอาจารย์เสาร์ก็ยอมรับฟังคำแนะนำจากศิษย์ด้วยความตั้งอกตั้งใจ ไม่มีทิฐิถือตนเองเป็นอาจารย์เลย คุณธรรมของพระบุรพาจารย์ทั้งสองท่านช่างประเสริฐเลิศยิ่งนัก
    โยมแม่ชีจันทร์ แก่นแก้ว
    ท่านติดตามจากอีสานเหนือมาอยู่บ้านห้วยทรายและต่อมาก็ติดตามมาอยู่ภูผากูดฟากบ้านนาคันแท
    ก่อนเข้าพรรษาในปีนี้ ก็ปรากฏว่า มารดาของท่านหลวงปู่มั่นซึ่งกระหายต่อการปฏิบัติธรรมอยู่มิวาย ท่านจึงอุตส่าห์เดินทางมา ล้มลุกคลุกคลาน ไปตามวิบากของคนแก่คนเฒ่า ติดตามมาจนถึงถ้ำจำปา บนภูผากูด เพื่อศึกษาอบรมตนให้รู้แจ้งเห็นจริงในธรรมะปฏิบัติ เมื่อมาถึงถ้ำท่านพระอาจารย์เสาร์จึงได้กำหนดบวชชีให้อยู่ปฏิบัติ ณ ถ้ำบนภูผากูดนี้ โดยท่านได้จับจองเอาที่เงื้อมผาแถบนั้นแห่งหนึ่ง เรียกถ้ำแม่ขาว เป็นที่ปฏิบัติธรรม มารดาของท่านหลวงปู่มั่น ท่านมีจิตใจมั่นคงเด็ดขาดแม้จะอยู่ในวัยของสังขารร่วงโรยก็ตาม แต่จิตภายในของท่านหาได้เสื่อมถอยไปตามสังขารไม่ กลับมีความแจ่มใสเบิกบานเป็นอย่างยิ่ง ถ้าแม้จิตใจไม่แน่วแน่จริงคงไม่สามารถฟันฝ่าอุปสรรคนำสังขารของท่าน ผ่านป่าผ่านดงที่มองไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน อีกทั้งต้องผ่านเส้นทางสัตว์ป่าจำพวกช้าง เสือ หมี งู ตะขาบมาได้แน่ ด้วยจิตใจที่แจ่มใส มั่นคง สงบ เยือกเย็นนี้ เป็นผลในการภาวนาของคุณแม่ชีจันทร์ ผู้เป็นมารดาของท่านหลวงปู่มั่นเป็นอย่างมากการปฏิบัติของท่านก้าวหน้ามาก ท่านคุณแม่ชีจันทร์ท่านได้เร่งความเพียรเป็นยิ่งยวด ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืนอยู่ ณ ภูผากูดแห่งนี้เอง นับว่าเป็นวาสนาของท่านคุณแม่ชีจันทร์ที่มีท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านหลวงปู่มั่น จำพรรษาให้การแนะนำและอุบายธรรม
    คุณูปการของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
    นับตั้งแต่หลวงปู่เสาร์ กนตฺสีโล มาอยู่จำพรรษา พักรุกขมูล หลบหลีกปลีกเว้นจากทางการคณะปกครอง มาอยู่แถบถิ่นบ้านห้วยทราย บ้านกลาง บ้านศรีมงคล บ้านนาคันแท บ้านขุมขี้ยาง
    นอกจากองค์ท่านได้ให้คำแนะนำพร่ำสอนแล้ว ยังคงวางระเบียบในเรื่องของ
    ๑. การเข้าถึงไตรสรณคมน์
    ๒. การวางรากฐานการบวชตาปะขาว – นางชี
    ๓. การก่อตั้งสำนักธรรมยุต
    ๔. การก่อสร้างพระพุทธรูปที่ถ้ำจำปา
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]มหาปุญโญวาท 7 : ริ้วรอยแห่งการเวลา 14
    ๑. แนวธรรมคำสอน ของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
    ประมวลคำสอนขององค์หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล

     ให้พากันละบาปและบำเพ็ญบุญ
    อย่าให้เสียชีวิตลมหายใจไปเปล่า
    เพราะได้มีวาสนาเกิดมาเป็นคนแล้ว
     เขาสิเชื่อความดีที่เฮาเฮ็ดหลายกว่าคำสอนที่เฮาเว้าเฮาสอน
    (คนเขาเชื่อความดีที่เราทำมากกว่าคำสอนที่เราพูดเราสอน)
     ข้อยเฮ็ดให้เบิ่งยังบ่เบิ่ง
    เทศน์ให้หมู่เจ้าฟัง หมู่เจ้าสิฟังอยู่บ๊อ
    (ทำให้ดูก็ไม่ดู ทำเป็นตัวอย่างแล้วก็ไม่ทำตาม เทศน์บอกสอนแล้วจะฟังหรือไม่)
     ปฏิบัติให้เบิ่งอยู่ทุกมื้อ
    เฮ็ดหยังคือ บ่เฮ็ดตาม (ปฏิบัติให้ดูอยู่ทุกวัน มัวทำอะไรอยู่ ทำไมไม่ทำตาม)
     ดีก็รู้อยู่แล้ว ชั่วก็รู้อยู่แล้ว
    จะเอาอิหยัง (อะไร) มาว่ามาสอนอีก
     ดีกับชั่วมันมีอยู่ในโลกนี้
    หนีไปจากโลกสงสารนี้แล้วกะไม่มีดีไม่มีชั่ว
     เกิดมาเป็นคน
    อย่าเอาคลองสัตว์ (แนวทางของสัตว์) มาประพฤติ
    เพราะ เฮา (เรา) จะตกต่ำกว่าสัตว์ไปอีก
    อย่าพากันทำ
     อย่าเฮ็ด (ทำ) ความชั่ว
    ให้ทำความดี
    นั่งสมาธิ เดินจงกรม ปฏิบัติเจ้าของ
     จะให้ทานมากหลายท่อใด๋ (เท่าใด)
    กะสู้บวชเป็นชีเป็นขาวรักษาศีลอุโบสถบ่ได้
     รักษากายให้บริสุทธิ์
    รักษาวาจาให้บริสุทธิ์
    รักษาใจให้บริสุทธิ์ เด้อ หมู่เจ้าทั้งหลายทุกคน
     ให้ภาวนา “พุทโธ” – “พุทโธ”
     ให้พากให้เพียรกับเจ้าของ
     ตั้งใจให้ดี ตั้งสติให้ดี
     เกิดกับตายเป็นของคู่กัน
    อย่าลืมตาย
     อันใด๋ที่เฮาเฮ็ด (เราทำ)
    มันมีน้ำหนักกว่าคำเว้า (คำพูด)
     ขนฺติ อด
    ขนฺติ ทน เป็นไฟเผาบาป
     การปฏิบัติเท่านั้นที่จะเห็นธรรม พูดไม่สำเร็จ คิดไม่สำเร็จ
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประมวลคำสอนขององค์หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล : คัดจาก ;
    โลกนี้โลกหาได้ (ฉบับรวมเล่ม) หน้า ๕๒๒ – ๕๒๓
    ธรรมเทศนาของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
    คัดจากหนังสือธรรมะในหลวงปู่จาม มหาปุญโญ

     เป็นพระภิกษุลุกศิษย์พระพุทธเจ้า, เดินธุดงค์มาปลีกวิเวกเสาะหาที่เจริญภาวนา ไม่ต้องการอิหยัง ตอนเช้าขอบิณฑบาตเท่านั้น
     ดีแล้ว... ธุดงค์ที่ดี อัสดงค์ก็ดี หัสดงค์ก็ดี แปลว่าผู้ทำความดับอยู่เสมอ
    เป็นผู้ดับทุกข์อยู่เสมอ
     ให้ตั้งใจภาวนา – พุท – โธ, พุท – โธ อย่าคิดห่วงอิหยัง
     ขันติ – อด
    ขันติ – ทน เป็นไฟเผาบาปให้มอดไหม้ไปได้
     สิ่งที่เฮาเฮ็ด มันมีน้ำหนักหลายกว่าคำเว้า
     กินได้ นอนหลับ ขับถ่ายดี กะอยู่ดี
     การเจริญภาวนาให้ผลยิ่งกว่าการรักษาศีล การให้ทาน
    เพราะการภาวนาทำให้มีสติ ไม่หลงทาง ไม่หลงโลก
    ศีล ทาน เมตตา มีภาวนาเป็นยอด
     การเจริญภาวนาเป็นทางของสุคติ
    หากยังไม่ได้ไม่ถึง ก็เป็นอุปนิสสัยของมรรคผล
    นั่งสมาธิ เดินจงกรม ปฏิบัติเจ้าของ
     ธมฺโม จ วินโย จ สุสํวุโต
    ให้ตั้งใจปฏิบัติพระธรรมวินัย กว้างแคบตามความสามารถของตน
     พระธุดงคกรรมฐาน แปลว่า ผู้ทำความดับอยู่เสมอ
    ชำระล้างตนให้สะอาดอยู่เป็นนิจ
     กายสุจึ กายให้สะอาด
    วจีสุจึ คำเว้าให้สะอาด
    มโนสุจึ จิตใจให้สะอาด
    กายใจที่สะอาดจึงเหมาะแก่ธรรม
     ให้เพียรอยู่กับ พุท – โธ
     บ่อด บ่ได้อิหยังดอก
     บ่พากบ่เพียร สิเห็นหนทางบ่บุหล่ะ
     ไปเรื่อยๆ ค่ำไหนนอนนั่น พอใจที่ใดก็พักไป อยู่ไป เพื่อ
    บำเพ็ญภาวนา ...การเดินธุดงค์ มิใช่จรจัดไม่มีที่อยู่
    โลกนี้เป็นที่อยู่ของสัตว์ทุกข์ผู้เกิดมา
     (สำหรับแนวทางการปฏิบัติที่องค์ท่านให้ความนิยมและยกย่องให้สานุศิษย์ได้ศึกษาแนวทางการปฏิบัติจากจตุรารักขกรรมฐานของสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทธสิริ) อันมีความย่อว่า
    ๑. ให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
    ๒. ให้เจริญในพรหมวิหารธรรม
    ๓. ให้รู้จักกฎของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ๔. ให้พิจารณากองทุกข์ คือ พิจารณาเกิดแก่เจ็บตาย)
    (...ในข้อนี้หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ สรุปว่า “จะอยู่ไหนก็ตามให้รู้จักเจริญรัตนานุสสติ ๒ เมตตา ๒ มรณา ๒ พิจารณาเกิดตาย เกิดดับ”...)
    ๒. การเข้าถึงไตรสรณคมณ์
    (ไม่ว่าจะเป็น จตุรารักษ์ หรือ
    สังขิตโตวาท หรือ
    แบบเข้าถึงพระไตรสรณคมน์ ได้กล่าวอ้างมาแล้วในหนังสือหลายเล่ม ของวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ในองค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญในข้อนี้ในที่นี่จะขอข้ามไป เพื่อท่านผู้อ่านศึกษาจะได้ฝึกนิสัยในการเป็นนักสืบนักเสาะหามาอ่านเองได้...โปรดอภัย...)
    ๓. การวางรากฐานการบวชตาปะขาวนางชี
    ชีปะขาว หรือตาผ้าขาว หรือตาปะขาว หรือชีผ้าขาว หมายเอาผู้นับถือพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งที่นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์ รักษาศีล ๘ ในฝ่ายพระป่าพระธุดงค์ชีปะขาวจะอาศัยอยู่กับพระภิกษุสามเณร อยู่ร่วมวัด และทำกิจต่างๆ เช่นเดียวกับพระภิกษุสามเณร เป็นแต่ว่ายังมิได้บรรพชาอุปสมบทเท่านั้น
    ชี เป็นชื่อนักบวชจำพวกหนึ่งนุ่งขาวห่มขาว
    ในปัจจุบันหมายเอา หญิงที่นุ่งขาวห่มขาว ถือบวชโกนผมโกนคิ้ว รักษาศีล ๘ สละเหย้าเรือนอยู่วัด ปฏิบัติตนเฉกเช่นนักบวชมีวัตรมีปฏิบัติ มีความประพฤติสูงกว่าคฤหัถส์ทั่วไป
    แม่ชีบางแห่งมีสำนักเป็นของตนเอง เผยแพร่ศาสนา แนะนำสั่งสอนตามหลักธรรมวินัย ทำประโยชน์แก่สังคม มีบทบาทเป็นที่ยอมรับกัน
    ชี แปลว่า ผู้ชนะ ผู้มีชัยชนะ
    เป็นคำกร่อนมาจาก ชินะ
    ก่อนจะบวชได้ในสายพระป่ายุคก่อนเก่า
    เมื่อกุลบุตรผู้มีศรัทธาจะบวชเป็นพระภิกษุสามเณร นอกจากต้องมีผู้รับรองเป็นหลักเป็นฐานให้แล้ว ตัวของผู้ประสงค์จะบวชเองนั้นต้องพิสูจน์ความมั่นคงในศรัทธาในตน ในครูบาอาจารย์เสียก่อนว่าจะเป็นผู้หนักแน่นมั่นคงพอหรือไม่
    ผู้มาขอบวชจะต้องทำใจ ปรับความรู้สึก ไม่ท้อแท้ มีความตั้งใจอย่างแรงกล้า อดทนอดกลั้น รอคอยการรอรับ การคัดเลือก และที่สำคัญกว่าจะได้โกนผมห่มผ้าขาว ตัวเองก็ต้องทำลายพยศลดมานะ ละทิฏฐิ เชื่อฟังครูบาอาจารย์ทั้งหมด
    อย่างที่วันที่อัตตโนเข้าขอบวชกับองค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ
    เมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา องค์ท่านว่า “นักบวชเป็นชีวิตที่ลำบากนะ”
    “บวชมิใช่ของลองเล่นนะ”
    “หมู่บ้านนี้บ้านคนทุกข์ อยู่กินลำบากนะ”
    “จะทำอะไรตามใจ ไม่ได้นะ”
    “รับหรือไม่รับ ให้อยู่ไปก่อน”
    ในเมื่อท่านว่าจะรับหรือไม่รับ ให้อยู่ไปก่อน เรื่องราวในขณะอยู่นี้เอง นับเป็นเรื่องราวของตนทั้งหมด ไม่ท้อถอยลากลับ มีปณิธานแน่วแน่ มุ่งแก้ไขสันดานเดิม แต่ในระหว่างนี้ ครูบาอาจารย์ผู้รับให้อยู่ด้วยนั้นท่านก็จะดูอยู่ตลอด ว่าน้ำใจอัธยาศัยโน้มเอียงมาทางเป็นนักบวชหรือไม่
    ตัวผู้จะบวชก็ต้องมีทักษะสังเกต ศึกษาพิจารณาอย่างใกล้ชิดนักบวชต้องทำข้อวัตรข้อปฏิบัติอะไรบ้าง เวลาไหนทำอะไรไม่ทำอะไร
    อยู่ต่อไปนานเท่าใดไม่ทราบได้
    หากแต่อยู่ที่ตัวผู้จะบวชนั่นเอง
    เป็นผู้สม่ำเสมอหรือไม่ มีวิริยอุตสาหะหรือไม่ สู้อุตส่าห์อดทนได้หรือไม่ ไม่แสดงออกในกิริยาอาการด้านร้าย เช่น หลีกเลี่ยงงาน หลบอู้ มีมายาเห็นแก่ได้ เห็นแก่ตัว ห่วงแต่ร่างกาย
    ผู้มีนิสัยอันละเอียดสุขุมก็จะได้รับการอนุญาตให้โกนผม ห่มขาว
    จากนี้เขาก็จะเรียกว่า “ตาผ้าขาวบ้าง” หรือ “ตาปะขาว” หรือหากจะเรียกให้เป็นกลางๆ ก็ว่า “พ่อนาค”
    การโกนหัว นี้เองที่ส่อแสดงว่าเป็นผู้ที่สละละทิ้งโลกียะวิสัยสันดานเดิมจากลูกชาวบ้านมาเป็นนักบวช
    ผู้เป็นอาจารย์ก็จะสอนว่า “เราจุดม่งหมายอะไร ?”
    “เราคือ ใคร ?”
    “เราทำอะไร ? อยู่” “มาทำสิ่งใด ?”
    “หน้าที่เราคืออะไร ?”
    หน้าที่การงานอื่นๆ ในขณะเป็นตาผ้าขาวนี้ต้องช่วยงานวัดโดยรอบด้าน เช่น ขุดดิน ถอนหญ้า ตัดไม้ ตักน้ำ หาฟืน ดูแลบริเวณวัด ตลอดจนงานปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมเสนาสนะภายในวัด
    ทุกวันทุกขั้นตอนในการเป็นอยู่นับเป็นการทดสอบ เพื่อตกลงใจว่าจะรับเข้าบวชหรือไม่ ช่วงนี้ดูเหมือนจะเป็นการทดสอบทางอารมณ์มากกว่าอื่นๆ เป็นทุกข์ยากลำบากใจบีบคั้น เป็นทุกข์ เพื่อมีทุกข์มีภาวะบีบคั้นจะได้สติได้ปัญญาจะมองเห็นความจริงของอารมณ์หรือไม่
    นี่เป็นความประพฤติประกาศตนโดยแท้
    จนที่สุดแล้วเป็นที่เชื่อใจของครูบาอาจารย์ น้ำใจอัธยาศัยไมตรีไปกันได้คลายความแข็งลดความกระด้างลงไปมากแล้ว ประพฤติปฏิบัติให้ประจักษ์แก่สายตาของครูบาอาจารย์ ว่าเป็นผู้มั่นคง มีศรัทธา มีกิริยามารยาทอันอ่อนน้อมถ่อมตน มีความซื่อตรง รู้จักข้อวัตรข้อปฏิบัติ
    ในภาวะเพศของชีผ้าขาวนี้ จำต้องฝึกหัดกิริยามารยาท เสขิยวัตรมารยาทที่เกี่ยวกับพระเณร ฝึกหัดในกิริยาท่าทาง การพูดจา การนึกคิด กิจของพระสงฆ์กิจของสมณะ เรียนรู้การปฏิบัติทางจิต นั่งสมาธิ จงกรม กำหนดสติตามจิตตนทุกขณะ ฝึกหัดในข้อวัตร ข้อวัตต์ ข้อธุดงค์
    จากนี้อีกนานกว่าจะได้บรรพชาเป็นสามเณร ได้อุปสมบทเป็นพระ
    ที่นำมาอ้างนี้เป็นส่วนเสี้ยวของรากฐานการบวชตาปะขาวที่องค์ท่านผู้เป็นพระปรมาจารย์ได้วางเอาไว้
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]มหาปุญโญวาท 7 : ริ้วรอยแห่งการเวลา 15

    [​IMG]
    ส่วนรากฐานการบวชของแม่ชีนั้นมีสังเขปสรุป ให้ศึกษาดังนี้
    ปฏิปทาในศีลและวัตรปฏิบัติของคุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ และคณะแม่ชี
    สำนักชีบ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร


    ว่าด้วย ศีล ๘ (โดยเอกภัตติกา) ข้อวัตร ๑๐ กรรมบถ ๑๐ ขันธวัตร ๑๔ ธุดงควัตร ๑๓ และระเบียบข้อปฏิบัติทั่วไป
    ก่อนนำเข้าสู่เนื้อหาในหัวข้อนี้ ขออัญเชิญ “พระพุทธพจน์” และ “คติธรรมคำสอนคำเทศน์ของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ พระธุดงค์กรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต” มาไว้ที่นี้ เพื่อแสดงถึงสัมมาคารวะและกตัญญูกตเวทิตาแด่องค์คุณพระรัตนตรัยและพ่อแม่ครูบาอาจารย์ “เพิ่นอัญญาท่านเสาร์” “เพิ่นอัญญาท่านมั่น” และ “ญาท่านมหาบัว” ซึ่งเป็นคำเรียกของคุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ โดยท่าน “เอาขันธ์ห้าเป็นขันบูชา” ปฏิบัติมาตลอด ๕๔ พรรษา ท่านเป็นอริยพุทธสาวิกาแห่งบ้านห้วยทราย (แม่นกเอี้ยงกินหมากโพไฮตัวหนึ่ง) ที่ได้บากบั่นบำเพ็ญสร้างสำนักแม่ชีแห่งนี้ (รังนกเอี้ยง) พร้อมพร่ำสอนและวางแนวทางปฏิปทาในศีลและข้อวัตรให้คณะลูกนกลูกชีได้ดำเนินตามสาย ท่านได้น้อมนำคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าผ่านพ่อแม่ครูบาอาจารย์มาปฏิบัติอย่างถูกต้องและเคร่งครัด โดยยึดมรรคาเพื่อหลุดพ้นทุกข์ตามพุทธประสงค์ในการประกาศพระศาสนาดังนี้
     พระพุทธพจน์ ที่ว่าด้วยการประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนา 
    “พรหมจรรย์นี้ เรา (ตถาคต) มิใช่ประพฤติเพื่อหลอกให้คนนับถือ
    มิใช่เพื่อเรียกคนมาเป็นบริวาร มิใช่เพื่อลาภสักการะและคำสรรเสริญ
    มิใช่เพื่อเป็นเจ้าลัทธิ หรือเพื่อหักล้างลัทธิอื่น
    มิใช่เพื่อให้มหาชนเข้าใจว่าเป็นผู้วิเศษ
    ที่แท้ พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติเพื่อสำรวม เพื่อละ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับทุกข์อย่างสิ้นเชิง”
    “พรหมจรรย์นี้ จึงมิใช่มีลาภ มิใช่ความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์ สักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ แต่พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุด”

     กันตสีโลวาท (องค์หลวงปู่เสาร์ สนุตสีโล) 
    “เขาสิเชื่อความดีที่เฮาเฮ็ดหลายกว่าคำสอนที่เฮาเว้าเฮาสอน”
    (คนเรามักจะเชื่อความดีที่เราทำมากกว่าคำสอนที่เราพูดเราสอน”
     ภูรทัตตกถา (องค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตมหาเถระ 
    “ให้ละ ละอิหยัง ละ ก็ละกิเลสนั่นล่ะ”
    “นกอิเอี้ยงกินหมากโพไฮ แซวๆ เสียงบ่มีโตฮ้อง แซวๆ ฮ้องตัวเดียวเบิ๊ดหมู่”
    (นกเอี้ยงกินหมากโพธิ์หมากไทร ได้ยินแต่เสียงร้องแต่ไม่เห็นตัว
    แต่ตัวหนึ่งร้อง ตัวอื่นก็ร้องตามแซวๆ)
    เรามักเรียกพระภิกษุสามเณรหรือแม่ชีกรรมฐานผู้เคร่งครัดในศีล จริยวัตร และพระธรรมวินัย ว่าเป็นผู้ปฏิบัติดี ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ปฏิบัติตรง (พระสุปฏิปันโน) เพราะนอกจากศีลสิกขาบท ๒๒๗ (พระภิกษุ) ศีล ๑๐ (สามเณร) และศีล ๘ (อนาคาริกแม่ชี) ที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดให้ถูกต้องแล้วยังมีปฏิปทาในข้อวัตรปฏิบัติต่างๆอีกมาก
    โดยทั่วไป “ศีล” หมายถึงการละเว้น สังวร ไม่ละเมิด หรือความเป็นปกติที่มีเส้นขีดแดนหรือข้อบัญญัติไว้ในกรอบให้ดำเนินชีวิตอยู่อย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม โดยชาวพุทธสามารถเลือกวิธีชีวิตที่ตนปรารถนาในท่ามกลางพุทธศาสนิกชนได้ เช่น ฆราวาสถือศีล ๕ แม่ชีหรือผู้ถืออุโบสถศีล ๘ เป็นต้น
    ส่วน “วัตร” หมายถึงข้อปฏิบัติที่เป็นบทบัญญัติในพระธรรมวินัยของพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นทั้งศีลและข้อวัตร เช่น ข้อวัตร ๑๐ ขันธวัตร ๑๔ เป็นต้น ในพระพุทธศาสนาเฉพาะนักบวชเท่านั้นไม่ว่าพระภิกษุสามเณรหรือแม่ชีแก้ว ศีลและวัตร (บางประการ) เหล่านี้มีบทลงโทษสำหรับผู้ประพฤติปฏิบัติผิดศีลข้อวัตรนั้นๆ ฝ่ายพระภิกษุสงฆ์เรียก “ปรับอาบัติ” ส่วนแม่ชีอุบาสิกาเรียก “บทลงโทษหรือบทลงทัณฑ์” ดังนั้น นักบวชชาวพุทธทุกรูป/ท่านจึงจำเป็นต้องศึกษาในเรื่องศีลและข้อวัตรของตนให้ถูกต้อง เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยและหลักเนติธรรมของหมู่คณะ ดังที่คุณแม่ชีแก้วสอนว่า
    “เราทุกคนมาสมาทานตั้งใจบวชถือศีลกันเสมอกัน อย่าได้ “โกหก” ตัวเอง
    การโกหกตนเองแล้วนั่นเอง จึงว่า “ผิดศีล”
    ถือเอาศีลข้อวัตรปฏิบัติ เป็นเครื่องรักษากายวาจาใจของตน
    ศีลเป็นหัวอกของเรา ศีลเป็นมารดาบิดาของเรา ศีลเป็นความงามของเรา
    ศีลของเรา ก็คือ หัว ๑ แขน ๒ ขา ๒
    แม่จะบอกไว้ ให้รู้จักละอายตัวเองแม้เพียง “จิต”
    ยิ่งเฉพาะจิตที่เลื่อนไหลไปตามอารมณ์หมกมุ่น ไฝ่ต่ำ รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนทุกขณะจิต ให้เกิด “ความรู้ตัว” อยู่เสมอ โดยเฉพาะอารมณ์ที่จะเป็นไปเพื่อทำลายศีลวัตร และระเบียบของคณะแม่ชี”
    ตามพระธรรมวินัย พระภิกษุสามเณรทุกรูปต้องสมาทานศีลของตน คือ พระภิกษุถือศีลสิกขาบท ๒๒๗ และสามเณรถือศีลสิกขาบท ๑๐ ส่วนนักบวชประเภทแม่ชีไม่มีบัญญัติในพระธรรมวินัย แต่คณะสงฆ์ไทยสงเคราะห์ให้เข้าอยู่ในอุบาสิกาบริษัท (หญิงผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย) ประเภทนักบวชสตรี และบัญญัติให้สมาทานศีลอุโบสถหรือศีล ๘ ทุกท่านเป็นแนวทางเดียวกัน นี่ว่าโดยหลักเนติธรรมทั่วไปของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
    แต่สำหรับสำนักชีบ้านห้วยทรายแห่งนี้ ซึ่งมีคุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ ผู้เป็นปฐมมาจารย์ผู้ก่อตั้งสำนัก ท่านได้วางรากฐานในเรื่องการสมาทานศีลอุโบสถตลอดชีวิตเพศชี โดยฉันอาหารมื้อเดียวในวันหนึ่ง (เอกะภัติกา) และข้อวัตรบางประการไว้เพิ่มเติม ทั้งนี้ เพื่อเกื้อกูลในการดำรงเพศพรหมจรรย์ตามแนวพระธุดงคกรรมฐานหรือพระป่ากรรมฐานฝ่านธรรมยุติกนิกาย ในเรื่องข้อวัตรต่างๆ นั้น ท่านได้ปรับและประยุกต์หลักเนติธรรมของพระภิกษุสงฆ์และหลักธรรมบางเรื่องบางประการเพื่อให้เข้ากับภาวะเพศชี กล่าวคือ ท่านและพ่อแม่ครูบาอาจารย์ได้นำ ข้อวัตร ๑๐ (ของพระภิกษุ กรรมบถ ๑๐ (หลักธรรม) และขันธวัตร ๑๔ (พระธรรมวินัย) มาถือเป็นหลักเนติธรรมของสำนักชีบ้านห้วยทรายด้วย ทั้งนี้ โดยเริ่มมาแต่ผู้เฒ่าผู้แก่ต้นเค้าของคณะแม่ชีบ้านห้วยทราย อันมี คุณแม่ชีแดง (มะแง้ ผิวขำ) คุณแม่ชียิ่ง ผิวขำ คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ ที่บวชมาก่อนหลังตามลำดับ และเริ่มปรับใช้เรื่อยมาพร้อมกับคำแนะนำของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ตั้งแต่สำนักชีในปี พ.ศ.๒๔๘๘
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สรุปความว่า หลักเนติธรรมที่ว่าด้วยศีลและข้อวัตรสำหรับสำนักชีบ้านห้วยทราย (พร้อมบทลงโทษลงทัณฑ์) ประกอบด้วย ศีล ๘ (โดยเอกะภัตติกา) กิจวัตร (แม่ชี) ๑๐ กรรมบถ ๑๐ และขันธวัตร ๑๔ ดังจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไปนี้
    ส่วนในเรื่อง “ธุดงควัตร ๑๓” เป็นวัตรหรือข้อปฏิบัติส่วนพิเศษ เพื่อความดีงามเคร่งครัดขัดเกลากิเลส และฝึกอบรมตนเองให้ยิ่งกว่าปกติ ผู้ที่จะปฏิบัติธุดงควัตรนั้น สามารถเลือกปฏิบัติเองตามสมัครใจและตามจริตนิสัยโดยเอกเทศ ว่าจะปฏิบัติข้อใดบ้าง เป็นเวลานานเท่าใด เมื่อจะถือปฏิบัติก็เพียงแต่กล่าวคำสมาทานธุดงควัตรข้อที่ตนเลือก แล้วก็เริ่มปฏิบัติได้เลย ดังนั้น ธุดงควัตรนี้ไม่ใช่ศีล ไม่มีบทลงโทษหรือปรับอาบัติอย่างศีลและขันธวัตร (บ้างข้อ) แต่เป็นมุ่งเหตุอาศัยในการบำเพ็ญภาวนาได้อย่างเอกอุ เป็นหนทางสายตรงมุ่งสู่มรรคผลนิพพานในชาติปัจจุบันได้ ดังเช่น ต้นแบบปฏิบัติปฏิปทาของพระมหากัสสประเถระ ผู้ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางถือธุดงค์ในสมัยพุทธการ ปฏิปทาธุดงควัตรของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริตทตฺโต ผู้ได้รับยกย่องว่าเป็นพระบูรพาจารย์ของพระธุดงคกรรมฐานสายธรรมยุติกนิกายในประเทศไทย หรือแม้แต่ปฏิปทาธุดงควัตรของคุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ แห่งสำนักชีบ้านห้วยทราย เป็นต้น
    ธุดงคธรรมหรือธุตะธรรม หมายถึง ธรรมอันมีเจตนาเป็นเครื่องกำจัดซึ่งกิเลส ประกอบด้วยคุณ ๕ ประการ ได้แก่ (๑) ความมักน้อย (๒) ความสันโดษ (๓) ความขัดเกลาอาสวะ (๔) ความสงัดและ (๕) ความต้องการด้วยกุศล ข้อสองแรกสงเคราะห์เป็นอโลภะ ข้อสองถัดมาเป็นทั้งอโลภะ และอโมหะ ส่วนข้อสุดท้ายจัดเป็นญาณโดยตรง ดังนั้น ผู้บำเพ็ญธุดงคธรรม (โยคีบุคคล) ย่อมจำกัดกามสุขัลลิกานุโยค คือการเสพวัตถุที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตแล้วด้วยอโลภะ และย่อมกำจัดอัตตกิลมถานุโยค คือความขัดเกลาอัสมิมานะอย่างเคร่งครัดในธุดงค์ทั้งหลายด้วยอโมหะ
    ดังนั้นแล้ว การเจริญกุศลมูลแห่งอโลภะและอโมหะ ตลอดจนปัญญาญาณ ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดอโทสะ อันเป็นมูลแห่งพฤติกรรมที่แสดงออกได้ชัดทางกายวาจา จึงทำให้ศีลและจริยวัตรต่างๆ บริสุทธิ์และงดงามในหมู่อริยชน มีให้เห็นและสืบปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องในโยคีบุคคลผู้ถือธุดงควัตรเป็นประจำ ด้วยเหตุนี้ พระธุดงคกรรมฐานหรือในที่นี้ คือแม่ชีกรรมฐานอย่างเช่นคุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ จึงนับเป็นอริยบุคคลตัวอย่างอีกกาลสมัยหนึ่ง ที่มีให้เห็นและนำสืบเป็นอนาคาริยวิถีฝ่ายแม่ชีไทยด้วยเช่นกัน
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ศีล ๘ (ศีลอุโบสถ)
    ศีล ๘ หรือ ศีลอุโบสถ คือข้อปฏิบัติในการฝึกหัดทางกายและวาจาสำหรับอุบาสิกาบริษัทในฐานะแม่ชี โดยอาศัยเจตนาเป็นเครื่องละเว้น ได้แก่
    ว่าโดยย่อ :-
    ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    - เว้นจากการปลงชีวิตสัตว์ การฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า การเบียดเบียน
    ๒. อทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    - เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้มา เว้นจากการลักฉ้อโกงของผู้อื่นด้วยตนเอง และไม่ใช้ให้ผู้อื่นลักฉ้อโกง เว้นจากการหลอกลวง ทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น
    ๓. อพฺรหฺมจาริยา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    - เว้นจากอสัทธรรม กรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์คือ เว้นจากการร่วมประเวณี หลีกเลี่ยงการรับของต่อมือกับบุรุษเพศเพื่อไม่ให้ศีลต่างพร้อย
    ๔. มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    - เว้นจาการพูดเท็จ คำไม่เป็นจริง คำล่อลวงอำพรางผู้อื่น รวมทั้งการแสดงอาการเป็นเท็จทางกายและการพูดส่อเสียด
    ๕. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาธิยามิ
    - เว้นจากกินสุราและเมรัย เครื่องดองของทำใจให้คลั่งไคล้ต่างๆ และละเว้นสิ่งเสพติดให้โทษ
    ๖. วิกาลโภชนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาธิยามิ
    - เว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล คือหลังเที่ยงไปแล้ว จนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ โดยฉันอาหารวันหนึ่งมื้อเดียว (เอกะภัตติกา)
    ๗. นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนมาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฎฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    - เว้นจาการฟัง ขับร้อง ฟ้อนรำ และประโคมเครื่องดนตรีต่างๆ และเว้นจาการดูกายเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล และทัดทรงตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับ ดอกไม้ ของหอมเครื่องทาเครื่องย้อม ผัดผิวให้งามต่างๆ
    ๘. อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    - เว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั้งมีเท้าสูงกินประมาณ และที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ภายในใส่นุ่นและสำลี อาสนะอันวิจิตรไปด้วยลวดลายด้วยเงินทองต่างๆ
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ข้อวัตร (แม่ชี) ๑๐
    ข้อวัตร หมายถึง กิจวัตร ๑๐ หมายถึง กิจที่ควรกระทำของแม่ชี ๑๐ ประการ อันจำเป็นต้องศึกษาให้ทราบชัดและจดจำไว้เพื่อจะนำมาปฏิบัติตามสมควรแก่สมณสารูปของแม่ชี อายุ และกำลังของตนดังนี้
    ๑. ลงศาลาปฏิบัติสามัคคี
    ๒. เข้าครัวทำอาหารเพื่อถวายพระเณรและฉันเอง
    ๓. สวดมนต์ไหว้พระ
    ๔. กวาดลานวัด (สำนักชี) และทำความสะอาดเสนาะสนะ
    ๕. รักษาบริขารของตน
    ๖. อยู่ประจำที่
    ๗. โกนผม ตัดเล็บ
    ๘. ศึกษาธรรมะสิกขาวินัย และปฏิบัติแม่ชีผู้สูงอายุและ/หรือสูงพรรษา รวมถึงแม่ชีอาจารย์
    ๙. ทุกวันพระเข้ารับโอวาทจากพระสงฆ์ทุกกึ่งเดือน
    ๑๐. พิจารณาปัจจัย ๔
    กรรมบถ ๑๐
    กรรมบถ ๑๐ หรือ กุศลกรรมบถ ๑๐ คือทางแห่งกุศลกรรมหรือทางแห่งการเกิดกรรมดีทาง กาย วาจา ใจ อันจะนำไปสู่ความสุข ความเจริญ และสุคติภูมิ สามารถเปลี่ยนสภาวะจากปุถุชนให้เป็นอริยบุคคลได้ อันได้แก่ ไปเกิดเป็นมนุษย์ (มนุษยสมบัติ) เทวดา พรหม (เทวสมบัติ) และการบรรลุธรรมถึงขั้นพระอรหันต์ (นิพพานสมบัติ) ทางตรงข้าวนี้เรียก อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือทางแห่งอกุศลกรรมหรือกรรมชั่วที่นำไปสู่ทุคติภูมิ อันได้แก่ นรก สัตว์ติดรัจฉาน เปรต และอสูรกาย (อบายภูมิ) ซึ่งในที่นี้จะไม่นำมาจำแนกกล่าวถึง เพราะมิใช่ปฏิปทาของคณะชีบ้านห้วยทราย หรือแม้แต่ชาวพุทธทุกคนก็ควรหลีกเลี่ยง
    ในพระบาลีนั้น กุศลกรรมบถ ๑๐ มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น ธรรมจริยา (ความประพฤติธรรมที่ถูกต้อง) โสไจย
    ความสะอาดหรือเครื่องชำระตัว) อริยธรรม (อารยธรรม หรือธรรมของผู้เจริญ) อริยมรรค (มรรคอันประเสริฐ) สัทธรรม (ธรรมดี ธรรมแท้) สัปปุริสธรรม (ธรรมของสัตบุรุษ) ฯลฯ
    โดยทั่วไป หลักธรรมนี้ถือเป็นวัตรปฏิบัติในหมู่พุทธบริษัท ๔ อยู่แล้ว ดังพระพุทธโอวาทที่ว่า “ละชั่ว ทำดี ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์” เพราะฉะนั้น ยิ่งเป็นเพศภาวะแห่งนักบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ข้อวัตรปฏิบัติในกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ จึงมาช่วยสนับสนุนและกำลังจิตใจให้ศีลที่ตนสมาทานแล้วได้ประพฤติปฏิบัติสมควรแก่ธรรมที่ตนปฏิบัติยิ่งๆ ขึ้นเพราะใจเป็นใหญ่ใจเป็นประธาน ใจเป็นตัวควบคุมอาตยนะทั้ง ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และตัวใจเอง ตามหลักไตรสิกขา ถือเป็นการเน้นย้ำธรรมจริยาแห่งเพศแม่ชีให้ได้ครองพรหมจรรย์ด้วยความบริสุทธิ์หมดจดและดีงามยิ่งขึ้น นี่จึงเป็นที่มาแห่งกรรมบถ ๑๐ ที่ว่าด้วย กายกรรม ๓ วิจีกรรม ๔ และมโนกรรม ๓ ดังต่อไปนี้
    หมวดกายกรรม ๓
    ๑. ปาณาติปาตํ ปหาย ฯเปฯ สพฺพปาณภูติหิตานุกมฺปี โหติ
    ละการฆ่า การเบียดเบียน มีเมตตากรุณาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
    ๒. อทินฺนาทานํ ปหาย ฯเปฯ อทินฺนํ เถยฺยสงฺขาตํ อนาทาตา โหติ
    - ละอทินนาทาน เคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น
    ๓. กาเมสุ มิจฺฉาจารํ ปหาย ฯเปฯ น จาริตฺตํ อาปชฺชิตา โหติ
    - ละการประพฤติผิดในกาม ไม่ล่วงละเมิดประเพณีทางเพศ
    หมวดวจีกรรม ๔
    ๔. มุสาวาทํ ปหาย ฯเปฯ น สมฺปชานมุสา ภาสิตา โหติ
    - ละการพูดเท็จ ไม่ยอมกล่าวเท็จ เพราะเหตุตนเอง ผู้อื่น หรือเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใดๆ
    ๕. ปิสุณํ วาจํ ปหาย ฯเปฯ สมคฺคกรณึ วาจํ ภาสิตา โหติ
    - ละการพูดคำส่อเสียด ช่วยสมานคนที่แตกร้าวกัน ส่งเสริมคนที่สมัครสมานกัน ชอบกล่าวถ้อยคำที่สร้างสามัคคี
    ๖. ผรุสํ วาจํ ปหาย ฯเปฯ พหุชนมนาปา ตถารูปึ วาจํ ภาสิตา โหติ
    - ละคำหยาบ พูดแต่คำสุภาพอ่อนหวาน
    ๗. สมฺผาปฺปลาปํ ปหาย ฯเปฯ กาลวาที ภูตวาที อตฺถวาที ธมฺมวาที วินยวาที นิธานวดี วาจํ ภาสิตา โหติ ฯเปฯ
    - ละการพูดเพ้อเจ้อ พูดแต่คำจริงมีเหตุผล มีสารประโยชน์ ถูกกาลเทศะ
    หมวดมโนกรรม ๓
    ๘. อนภิชฺฌาลุ โหติ ฯเปฯ
    - ไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น
    ๙. อพฺยาปนฺนจิตฺโต โหติ ฯเปฯ สุขึ อตฺตานํ ปริหรนฺตูติ
    - ไม่มีจิตคิดร้าย คิดปรารถนาแต่ว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีเวร ไม่เบียดเบียน ไม่มีทุกข์ ครองตนอยู่เป็นสุขเถิด
    ๑๐. สมฺมาทิฏฺฐิโก โหติ ฯเปฯ สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺตึติ
    - ความเห็นชอบ เช่นว่า ทานมีผล การบูชามีผล ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมี เป็นต้น ,
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขันธวัตร ๑๔
    ขันธวัตร ๑๔ คือวัตรหรือข้อปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์ที่มีมาในพระไตรปิฎก/พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ ชื่อจุลวรรค ภาค ๒ หมวดวัตรขันธกะ (หรือเรียกพระวินัยปิฎก “คัมภีร์จุลวรรค” ขันธกะที่ ๘ ว่าด้วยวัตตขันธกะหรือขันธวัตร) ในขันวัตรตามคัมภีร์พระบาลีนั้นจำแนกไว้ ๑๓ วัตร/ประการ (ขันธวัตร ๑๓) แต่ในปกรณ์พิเศษหรืออรรถาธิบายต่างๆ มักจำแนกเป็น ๑๔ วัตร/ประการ โดยท่านแตกย่อยข้อที่ ๔ ว่าด้วยภัตตัควัตร (วัตรในโรงฉัน) เป็น ๒ คือ ภัตตานุโทนาวัตร(การอนุโมทนาในโรงฉัน) และภัตตัคควัตร (วัตรในโรงฉัน) จึงรวมเป็น ขันธวัตร ๑๔ เพราะฉะนั้นที่ระบุว่าขันธ์วัตร ๑๓ หรือ ขันธวัตร ๑๔ นั้น ย่อมมีเนื้อหารายละเอียดในวัตรปฏิบัติตรงกันและเหมือนกัน ต่างกันเพียงแค่จำนวนตัวเลขข้อที่แยกย่อยออกมาเท่านั้น
    ส่วนสำนักชีบ้านห้วยทรายอนุโลมตามหลักปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จึงว่ามี ขันธวัตร ๑๔ ประการ ดังที่อธิบายไว้ข้างต้น ขันธวัตร ๑๔ ที่ว่าด้วยวัตรหรือข้อปฏิบัติในสำนักชีบ้านห้วยทรายตามหลักพระธรรมวินัย

    ประกอบด้วย :-
    ๑. อาคันตุกวัตร - ข้อปฏิบัติของภิกษุอาคันตุกะต่อเจ้าอาวาสหรือภิกษุเจ้าถิ่น (ผู้อยู่ประจำในวัด) เมื่อจะเข้าวัดอื่นที่ตนขอพักอาศัย
    ๒. อาวาสิกวัตร - ข้อปฏิบัติของเจ้าอาวาสหรือภิกษุเจ้าถิ่นต่อภิกษุอาคันตุกะ เพื่อให้ความเอื้อเฟื้อในการอยู่พักอาศัย
    ๓. คมิกวัตร - ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้จะเดินทางออกจากวัดไปที่อื่น พึงเก็บสิ่งของเสนาสนะให้เรียบร้อย เป็นต้น
    ๔. ภัตตานุโมทนาวัตร - ข้อปฏิบัติในการกล่าวอนุโมทนาในโรงฉัน
    ๕. ภัตตัคควัตร - ข้อปฏิบัติในโรงฉัน
    ๖. ปิณฑจาริกวัตร - ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
    (แม่ชีที่สำนักชีบ้านห้วยทรายไม่บิณฑบาต เพราะอนุโลมตามธรรมเนียมปฏิบัติในฐานะเป็นอุบาสิกา)
    ๗. อรัญญกวัตร - ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้อยู่ป่า
    ๘. เสนาสนวัตร - ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
    ๙. ชันตาฆรวัตร - ข้อปฏิบัติในเรือนไฟ
    ๑๐. วัจจกุฏิวัตร - ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับส้วม
    ๑๑. อุปัชฌายวัตร - ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับอุปัชฌายะที่สัทธิวิหาริก (ผู้ที่อุปัชฌายะบวชให้) พึงปฏิบัติต่อพระอุปัชฌายะ
    ๑๒. สัทธิวหาริวัตร - ข้อปฏิบัติต่อสัทธิวิหาริกที่ผู้อุปัชฌายะพึงปฏิบัติชอบในสัทธิวิหาริก (ผู้ที่ตนบวชให้)
    ๑๓. อาจาริยวัตร - ข้อปฏิบัติต่ออาจารย์ที่อันเตวาสิกะ (ศิษย์ผู้อยู่ในสำนัก) พึงปฏิบัติต่ออาจารย์
    ๑๔. อันเตวาสิกวัตร - ข้อปฏิบัติต่อเตวาสิกะที่อาจารย์พึงปฏิบัติชอบในอันเตวาสิกะ
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธุดงควัตร ๑๓
    ธุดงควัตร ๑๓ หมายถึง องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส ข้อปฏิบัติประเภทวัตรที่ผู้บำเพ็ญธรรมพึงสมาทานประพฤติได้โดยสมัครใจและตามจริตนิสัยโดย ๓ กรณี ได้แก่ (๑) ผู้ถือย่างอุกฤษฎ์ (๒) ผู้ถืออย่างกลาง และ (๓) ผู้ถืออย่างเพลา ทั้งนี้ เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส ส่งเสริมความมักน้อยความสันโดษ หรือความสงัด ดังที่ได้บรรยายไว้แล้วข้างต้น
    หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุตต์ – เกี่ยวกับจีวร
    ๑. ปังสุกูลิกังคะ – การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ใช้เฉพาะแต่ผ้าบังสุกุล คือไม่รับจีวรจากทายก เที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกลมาเย็บย้อนทำจีวรเอง
    ๒. เตจีวริกังคะ - การถือไตรจีวรเป็นวัตร คือถือผ้าเพียงสามผืน ได้แก่ จีวร สบง สังฆาฏิ อย่างละผืนเท่านั้น ไม่ใช้จีวรนอกจากผ้าสามผืนนั้น
    หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุตต์ – เกี่ยวกับบิณฑบาต
    ๓. ปิณฑปาติกังคะ – การถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คือไม่รับนิมนต์ หรือลาภพิเศษอย่างอื่นใดฉันเฉพาะอาหารที่บิณฑบาตมาได้
    ๔. สปทานจริกังคะ – การถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับบ้านเป็นวัตร คือรับตามลำดับบ้านตามแถวเดียวกัน ไม่รับข้ามบ้านข้ามแถว หรือเที่ยวบิณฑบาตไปตามตรอก ตามห้องแถวเรียงลำดับเรื่อยไปเป็นแนวเดียวกัน ไม่ข้ามไปเลือกรับที่โน้นที่นี่ตามใจชอบ
    ๕.* เอกาสนิกังคะ – การถือนั่งฉันที่อาสนะเดียวเป็นวัตร คือฉันวันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีกในวันนั้น
    ๖.* ปัตตปิณฑิกังคะ – การถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร คือถือการฉันเฉพาะในบาตร ไม่ใช้ภาชนะอื่น (สำหรับแม่ชีเรียกว่า “ขันเงินหรือขันข้าว” ไม่เรียกบาตรเพราะบาตรเป็นอัฏฐบริขารของพระภิกษุสามเณรเท่านั้น)
    ๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ – การถือห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลัง คือเมื่อลงมือฉันแล้ว มีผู้นำอาหารมาถวายอีก ก็ไม่รับ
    หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุตต์ – เกี่ยวกับเสนาสนะ
    ๘.* อารัญญิกังคะ – การถืออยู่ป่าเป็นวัตร คือไม่อยู่ไม่เสนาสนะใกล้บ้าน แต่อยู่ป่าห่างจากบ้านอย่างน้อย ๒๕ เส้น
    ๙.* รุกขมูลิกังคะ – การถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร ไม่อยู่ในที่มุงบัง
    ๑๐.* อัพโภกาสิกังคะ – การถือยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร คือ อยู่เฉพาะกลางแจ้ง ไม่อยู่ในที่มุงบัง หรือแม้แต่โคนไม้ (ห้ามถือในฤดุฝน)
    ๑๑.* โสสานิกังคะ – การถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร คือ อยู่แรมคืนในป่าช้าเป็นประจำ
    ๑๒.* ยถาสันถติกังคะ – การถือการอยู่ในเสนาสนะตามแต่เขาจัดให้ ไม่เลือกเสนาสนะเอาตามพอใจตัวเอง
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หมวดที่ ๔ วิริยปฏิสังยุตต์ – เกี่ยวกับความเพียร
    ๑๓.* เนสัชชิกังคะ – การถือการนั่งเป็นวัตร คือถือนั่ง ยืน เดิน เท่านั้น ไม่นอน
    ตามคัมภีร์วิสุทธมรรคนั้น ท่านว่าการถือธุดงค์สำหรับอุบาสกอุบาสิกา (ในที่นี้ รวมถึงแม่ชีด้วย) ถือได้ ๒ คือ ข้อวัตรที่ ๕ และ ๖ อันนี้คงว่าโดยสถานภาพแห่งสัมมาอาชีวะของเหล่าพุทธบริษัท แต่สภาพความเป็นจริงในทางปฏิบัติแล้ว อุบาสิกาแม่ชีสามารถสมาทานธุดงค์วัตรได้มากกว่านั้น อย่างเช่นชีวประวัติและปฏิปทาของคุณแม่ชีแก้ว ผู้ดำรงอยู่ในสมณเพศพรหมจรรย์แม่ชีมาตลอด ๕๔ พรรษา ท่านถือปฏิบัติธุดงควัตรประจำข้อที่ ๕, ๖, และ๑๓ อย่างอุกฤษฏ์และอย่างกลางจนถึงวาระสังขารไม่อำนวย และวัตรข้อ ๘ – ๑๒ ตามเหตุปัจจัยและพละกำลัง ส่วนข้อวัตรที่เหลือก็สามารถผ่อนผันปฏิบัติได้ในวิสัยแห่งพระธรรมวินัยของอุบาสิกาแม่ชีในประเทศไทย
    ระเบียบปฏิบัติทั่วไป
    นอกจากนั้น ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสำนักชีบ้านห้วยทรายในปี พ.ศ.๒๔๘๘ สมัยคุณแม่ชีแดง (มะแง้ ผิวขำ) เป็นหัวหน้าสำนักชี เรื่อยมาถึงสมัยคุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๐) สมัยคุณแม่ชีบุญแยง แสนโสม (รวม ๖๒ ปีแห่งสำนักชีบ้านห้วยทราย) ยังมีระเบียบปฏิบัติทั่วไปของสำนักชีบ้านห้วยทราย ที่กำหนดไว้อีกชุดหนึ่ง เพื่อให้แม่ชีทุกท่านเป็นผู้ที่เคร่งครัดในศีลวัตรอันบริสุทธิ์งดงาม ควรแก่การกราบไหว้บูชา และศรัทธาเลื่อมใสของชาวบ้าน ซึ่ง
    ระเบียบและข้อห้ามต่อไปนี้ คุณแม่ (คุณแม่ชีแก้ว) มิได้กำหนดขึ้นเองโดยลำพัง หากได้กราบเรียนปรึกษาแล้วจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์ และมิได้ประกาศไว้เป็นข้อๆ แต่คุณแม่จะอบรมสอนตักเตือนไว้เมื่อมีเหตุบ้าง หรือปรารภเหตุอื่นบ้าง หรือเมื่อมีผู้ถามขึ้น คุณแม่จะย้ำเสมอการอยู่ร่วมกันด้วยจิตใจเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น สัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย ให้ตั้งมั่นอยู่กับศีลวัตร อย่าได้ฝืนธรรม ฝืนศีล เชื่อฟังโอวาทคำสอนของครูบาอาจารย์ และบริขารสมบัติของวัดวาอารามอันใดอย่าได้ทำให้เสียหาย เพราะโทษมีอยู่ท่านว่าห้ามมรรค ห้ามผล ห้ามสวรรค์ ห้ามพรหมโลก ห้ามนิพพาน แต่ถ้าทำได้แล้ว ท่านว่าเป็นบุญเป็นกุศล เป็นสวรรค์ เป็นมรรค และเป็นผลต่อไปภายหน้า
    หมวดภัตตาหาร
     แม่ชีทุกคนต้องรับประทานอาหารเพียงหนเดียว ภาชนะเดียว เมื่อลุกจากที่นั่งแล้วไม่ควรรับประทานอีก และรวมกันฉันที่โรงฉันแห่งเดียว เว้นแต่ผู้คนควรยกเว้น
     แม่ชีทุกคนต้องรู้จักประมาณการจัดอาหาร จัดข้าวคาวหวาน อย่าให้เหลือจนได้ทิ้ง ควรประมาณและแบ่งให้เท่าๆ กัน
     ห้ามนำอาหารทุกชนิดไปเก็บไว้ในที่พักของตน
    หมวดเครื่องนุ่มห่มและบริขารส่วนตัว
     แม่ชีทุกคนต้องนุ่มห่ม แต่งกายให้เรียบร้อยตามแบบกำหนดของแม่ชี ไม่สั้นหรือยาวไป ไม่บางเบาเกินไป
     ห้ามไม่ให้ใช้บริขารสีอื่นแบบอื่น ให้เคารพต่อรูปแบบ และเครื่องแบบของตน
     การนุ่งห่มทั้งอยู่ภายในอาวาสและนอกอาวาสนอกสำนัก ก็ให้เรียบร้อยปกปิดให้มิดชิดอย่าปล่อยตัว
     ห้ามให้ผู้อื่นให้เครื่องนุ่งห่มของตนเด็ดขาด และต้องรู้จักประมาณความพอดีในเครื่องนุ่งห่มห้ามเก็บสะสม ห้ามอาลัยในของที่ให้ผู้อื่นไปแล้ว
     ไม่ประดับตกแต่งร่างกาย ห้ามผูกข้อต่อแขน ห้ามสวมลูกประคำคอ ประคำข้อมือ หรือกำไลสร้อย แหวน ห้ามไว้เล็บยาว ห้ามตกแต่งเล็บ
     เมื่อเครื่องใช้สอยและเครื่องนุ่งห่มบริขารใดๆ ขาดเขินขัดข้องไม่พอใช้ให้เรียนต่อหัวหน้าแม่ชีหรือเจ้าอาวาสฝ่ายพระสงฆ์ หรือผู้รองเพื่อพิจารณาจัดการต่อไป
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หมวดเสนาสนะและสิ่งก่อสร้างภายในสำนัก

     แม่ชีต้องแยกกันอยู่คนละกุฏิ คนละห้อง ไม่นอนรวมกัน ไม่นอนเบียดกันเว้นแต่มีเหตุ
     ห้ามถือสิทธิในกุฏิที่ตนสร้าง
    หมวดเภสัชและการรักษาพยาบาล
     เมื่อรู้ตัวว่าเจ็บไข้ได้ป่วย ต้องบอกหมู่คณะให้ทราบเพื่อรักษา เพื่อหายาหาหมอ ดูแลกันตามสมควร
    หมวดสิ่งของเครื่องใช้และทรัพย์ส่วนกลางภายในวัด
     ห้ามแม่ชีทุกคนแจกสิ่งของ พืชผัก ผลไม้ ตลอดจนอื่นๆ อันเป็นของที่มีอยู่ในวัด เกิดในอาวาสให้แก่บุคคลภายนอก
     ช่วยกันดูแลอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด หากขัดข้องชำรุดต้องระงับการใช้สอยและหาช่างมาแก้ไข
     ต้องช่วยกันประหยัด มัธยัสถ์ อดออม
    หมวดระเบียบผู้เข้าพำนักอาศัยและออกจากสำนัก
     แม่ชีที่สัญจรมาแต่ที่อื่นต้องแสดงหนังสือรับรองและหนังสือประจำตัวแก่หัวหน้าสำนักหรือผู้รับรอง
     เมื่อจะออกไปนอกวัด ต้องขออนุญาตจากหัวหน้าแม่ชีและควรไปอย่างมีเพื่อน หากต้องค้างแรมที่อื่นต้องขออนุญาตจากเจ้าอาวาสฝ่ายสงฆ์ ถ้าท่านไม่อนุญาตก็อย่าไป
     หญิงใดมีความประสงค์จะมาบวชชีชั่วคราว หรือยาวนานต้องได้รับความเห็นชอบเห็นควรจากการพิจารณาของพระสงฆ์ เมื่อท่านอนุญาตแล้วจึงบวช บวชแล้วจะไปอยู่ ณ ที่ใดต้องขออนุญาตจงสงฆ์ ส่วนการบวชชีพราหมณ์ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าชี หากเกินกำลังของหัวหน้าชีก็ให้อยู่ในการพิจารณาของพระภิกษุสงฆ์
     ผู้ที่จะเข้ามาบวชและเข้ามาบวชแล้ว ต้องศึกษาเรียนรู้ในพระธรรมวินัย ระเบียบสำนัก ข้อวัตรข้อศีลอันเป็นพื้นฐาน ดังนี้ คำบูชาพระ คำขอบวช คำนมัสการ ไตรสรณคมณ์ คำอาราธนาศีล คำสมาทานศีล องค์ของศีล กรรมบถและองค์ของกรรมบถ ศึกษาวัตร ๑๐ คำสวดมนต์ไหว้พระข้อทำวัตรเช้าเย็น ปริตรมงคลต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ ศึกษาวัตร ๑๔ ธุดงควัตร ๑๓ แล้วศึกษาให้สูงขึ้น เช่น เสขิยวัตร สาราณียธรรม มารยาท เมถุนสังโยค อปริหารนิยธรรม เป็นต้น แล้วศึกษาธรรมให้สูงขึ้นตามกำลังสามารถ
     แม่ชีต้องเอาใจใส่การเล่าเรียน แม้ในวิชาอื่นๆ ที่เหมาะสมแก่เพศภาวะของแม่ชีจะศึกษาก็ควรอยู่ส่วนวิชาในทางโลกนั้นไม่ควรเพราะรังแต่จะเป็นเครื่องยุ่ง
     แม่ชีผู้บวชใหม่ต้องศึกษาเล่าเรียนอยู่ในสำนักเท่านั้น เมื่อพอควรแล้วหากจะไปอยู่ ณ ที่อื่น ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสเท่านั้น หรือเมื่อเป็นผู้มีมารยาท โคจาระอาจาระความประพฤติพอควรพอเหมาะเป็นผู้ตั้งมั่นความดีแล้ว หากจะไปก็ให้มีหนังสือรับรองไปด้วย การขอหนังสือรับรองต้องขอจากเจ้าอาวาสฝ่ายสงฆ์เท่านั้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...