มหาปุญโญวาท

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 20 มีนาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พุท – โธ ให้อยู่กับตา
    วันหนึ่งในขณะองค์หลวงปู่นำภาวนา ได้ประมาณ ๓๐ นาที ผ่านไปแล้วมีแม่ชีคนหนึ่งเธอนั่งเหงานอน หงึกหงักสับพะหงกพะเหงาอยู่
    องค์ หลวงปู่จึงได้บอกอุบายขณะนั้นว่า
    “นั่ง...มันอยากหลับ (ขณะนั่งภาวนาแล้วง่วงนอน
    อย่าไปหลับตา ลืมตามืนตาขึ้น (อย่าปิดเปลือกตา ให้ลืมตา)
    เอาพุท – โธ อยู่กับตา
    นึก พุท – โธ, พุท – โธ อยู่ อย่าหลับตาให้ลืมตาแล้วบริกรรมอยู่”

    มันสมควรได้เวลาของมันแล้ว
    “ เก้าสิบปีดิ้นขี้เป็นดิ๊กน้อย
    ร้อยปีเดินหงายว่าไฟไหม้
    ร้อย ได้ปลายสิบยี่สิบไข้กะตายมิไข้กะตายปีนี้อายุจะได้ร้อยแล้ว มันไม่ยอมละไม่ยอมหนีจากรูปอันนี้ มันห่วงอาลัยอยู่เลยละไม่ได้ ขี้คร้านอยู่แล้วนะ” องค์หลวงปู่ปรารภถึงองค์ท่านเอง
    [อธิบาย : ดูเหมือนเป็นจริงยิ่งนัก
    ๙๐ ปี เล่นอุจจาระปัสสาวะของตนเอง หลงลืมหลงหน้าหลงหลัง เหมือนกับเด็กตัวเล็กๆ อึออกมาแล้วก็นั่งเล่นอึตัวเอง
    ๑๐๐ ปี วันใดเดือนหงายก็เข้าใจว่าไฟจะไหม้บ้านไหม้เมือง เอะอะโวยวายเรียกลูกหลานเหลนโหลนให้ลุกขึ้นดับไฟ
    ๑๐๐ ปีเศษ ๑๐ ปี ๒๐ ปี ไข้ก็ตายไม่ป่วยไข้ก็ตาย ทนทานอยู่มิได้ เป็นไม้ร่วงหล่นไปตามกาลเวลาอายุขัยวัยวัน
    เชื้อแซงแตงเต้าขององค์หลวง ปู่เป็นเชื้อสายเลือดที่อายุยืน เช่นโยมยายลาว ผิวขำ อายุได้ ๑๐๑ ปี, น้าสาวชื่อสาวนารี เสียงล้ำ อายุได้ ๙๔ ปี (แก่บอ) น้าสาวอีกคนชื่อสาวแอ้ (แก่สงค์) แสนโคตรบ้านหนองสูง อายุได้ ๑๐๔ ปี น้าสาวอีกคนชื่อสาวโถน (แก่ท้อน) เสียงล้ำ อายุได้ ๙๒ ปี
    มาถึงรุ่น พี่ชายขององค์หลวงปู่ชื่ออ้ายแดง ผิวขำ อายุได้ยืน
    มาถึงองค์หลวงปู่ และ น้องสาวชื่อสาวจา ก็อายุยืน
    เป็นที่น่าสังเกตว่า ปู่แก่ย่าแก่ (แก่คือทวด) ที่มีอายุยืนทุกท่านเหล่านี้ชอบทำ “สัมมาธิ : สมาธิภาวนา”
    ใจ บุญ ใจสบาย มีจิตเลื่อมใสมั่นในพระพุทโธ พระธัมโม พระสังโฆ ใส่บาตรทุกวัน ไปวัดไปส่งจังหันเกือบจะได้ทุกวัน อายุมากแล้วการงานอื่นๆ เบาบางมีเวลาช่วงเช้าก็จะไปจังหัน หรือบางท่านศรัทธากล้าแข็ง เข้าบวชเป็นชี บำเพ็ญตนของตน ความที่มีจิตใจงดงาม เปี่ยมเมตตาการุณย์ จึงเป็นร่มพฤกษ์ไทรแก้ว แก่ลูกหลาน – เหลน – โหลน ได้อย่างอบอุ่น ร่มเย็น และได้เห็นแบบอย่างอันดีอันงดงามยิ่ง

    อยู่ที่ตัวเรา
    กลับมาจากวัดโคกเหล่งา นอนป่วย รักษาโรคเหน็บชา เพิ่นหลวงปู่ฝั้น (อาจาโร) ว่า “ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ในใจ อยู่ที่ใจนะ”
    เรา ก็ว่า ครับกระผม
    นอนป่วย พ่อแม่พี่น้องอุ้มลงหามลงมาอยู่ตระแคร่ใต้ถุนบ้านในกลางวัน กลางคืนก็อุ้มขึ้นบ้าน ทรกรรมลำบากกับญาติพี่น้องพ่อแม่
    ตัวเราอง ก็นึกอ่านอยู่เสมอว่า นี่ต้องตอบแทนคุณของพ่อแม่พี่น้องให้ได้ทรัพย์สินข้าวของสืบทอดมรดกแม้จะ สร้างจะสาให้ให้มากเท่าใด ก็ตอบแทนไม่เต็ม จะตอบแทนให้เต็มได้คือ พาให้เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    บางวันเพิ่นพร้อมหมู่พระเณรออก มาบิณฑบาต ก็จะต้องบอกเราว่า “กรรมเน้อจาม
    มิใช่อย่างอื่น ใช้ไปเถ๊อะ มันอุบัติแล้ว”
    เพิ่นหลวงปู่ฝั้น (อาจาโร) บอกสอนอย่างนี้ ให้เราได้กำลังใจต่อสู้พ่อออกแม่ออกก็สลับกันไปวัด โดยมากเป็นพ่อออกไป แม่ออกจัดของใส่บาตรและทำกับทำแกงส่งจังหันทุกวันมิได้ขาด
    ในคราวนี้ หล่ะ คราวที่เพิ่นหลวงปู่ฝั้นมาอยู่ (๒๔๗๔) ชาวบ้านห้วยทรายยุคสมัยนั้นกะยองกะหย๋อยตื่นขึ้นกันอีกรอบว่ามีครูบาญาครู เป็นผู้ไทด้วยกันเข้าบวชเป็นศิษย์ของเพิ่นครูอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต)
    ผู้ ข้าฯ นอนป่วย ๓ ปีกว่าจึงทุเลา เดินไปมาได้ แต่นั้นก็ตั้งใจภาวนาอยู่บ้าน อยู่นา ไปวัด ฝึกหัดค้าขาย ไปเล่นไปแอ่นสาวตามเรื่องคนหนุ่มแต่ไม่ละการไหว้พระภาวนา
    เพราะเพิ่น หลวงปู่ฝั้น ย้ำก่อนจากไปว่า “อยู่ที่ตัวเรา การปฏิบัติอยู่ที่ใจนะ”
    ๑๘ กันยายน ๒๕๕๐
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตายแล้วไปไหน
    หลวงปู่ครับ ตายแล้วไปไหน คือ คนเรานั้นครับเกิดมาแล้ว เมื่อตายจะไปไหน?
    ตอบ : ไฟเทียนที่ถูกลมพัดให้ดับไป นี้อย่าง ๑
    อีก อย่างหนึ่ง คือ ไฟหมดเชื้อแล้วก็ไป
    แล้วไฟที่มีเชื้ออยู่ก็เกิดไฟได้ อีก จนกว่าจะหมดเชื้อแล้วดับไป ทีนี้พอหมดเชื้อแล้วจะจุดให้เกิดไฟก็เกิดไม่ได้ แล้วจะถามว่า ไฟอยู่ที่ไหน เกิดแล้วดับ – ดับแล้วสูญ หรืออย่างไร
    ปุถุชนมีเชื้อพา ให้เกิด
    พระอรหันต์นั้นหมดเชื้อ คือ ดับกิเลสได้ สิ้นตัณหาแล้ว ท่านก็ไม่เกิดอีกแต่ก็มิใช่สูญ
    ถาม : ไม่สูญแล้วจะอย่างใดครับ
    ตอบ : ไม่ มีภาษาจะมาพูดได้หรอก
    พ้นหนทางของถ้อยวาจาใดๆ ทั้งนั้น
    ถาม : ครับ

    ๏ ดับ เกิดเสื่อมดับด้วย ธรรมดา
    ร้อน รุ่มเร่งเล็งหา โล่งแจ้ง
    ผ่อน ดอกผ่อนต้นยา เยียวโลภ
    เย็น ยะเยือกตะวันกล้า เกลี่ยร้อน กลืนหาย๚๛
    ขรรค์ ชัย บุนปาน
    ศิลปวัฒนธรรม มีนาคม ๒๕๕๐

    ปัจจัย ชื่อว่าเครื่องต่อ
    จะต่อทุกข์หรือต่อสุข
    จะต่อโลก หรือต่อธรรม
    จะต่อดี หรือต่อชั่ว
    จะต่อบุญ หรือต่อบาป
    จะต่อนรก หรือต่อสวรรค์
    จะ ต่ออะไร อย่างใด ก็สุดแท้แต่อาการ
    “ปัจจัย” ในที่นี้คือ ปัจจัย ๔
    จตุปัจจัย
    มูลค่า ของกระดาษ (ธนาบัติ) เหรียญกษาปณ์
    ยิ่งเฉพาะนักบวชใด พระเณรใด มาปฏิบัติต่อปัจจัยเหล่านี้ไม่ดีไม่ถูกต้องด้วยแล้ว ชื่อว่า
    ไม่มี สัจจะ
    ไม่มีสัจจะต่อธรรมวินัย
    ไม่มีสัจจะต่อทรัพย์
    ไม่มี สัจจะต่อใจตน
    ไม่มีสัจจะต่ออารมณ์ของตน
    ไม่มีสัจจะต่อหน้าที่
    ที นี้จะเป็นบุญบารมี หรือจะเป็นกรรมที่เป็นไปได้ สุดแท้แต่
    หน้าที่ของ นักบวชต้องระวังตัวใจตัวมิใช่หรือ
    อย่าให้ได้สะดุ้งเพราะกรรมของตัว
    เมื่อ ญาติโยมเขาให้บริจาคเงินมาด้วยศรัทธาธรรมแล้ว ตนของตน ไม่เข้มงวดกับปัจจัยเสียแล้วก็จะมีแต่ประสบเคราะห์กรรมและอัปราชัย เหตุว่า ทำตามตนมากกว่าจะตามธรรมวินัยขององค์พุทธะ


    .............................................................................................................................................

    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือมหาปุญโญวาท 6 พิมพ์ถวายวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ( วัดหลวงปู่จาม ) บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร โดยสำนักพิมพ์มติชน
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td>[​IMG]</td><td colspan="2">
    </td></tr> </tbody></table> [​IMG]มหาปุญโญวาท 6 : ภาค ๑ มหาปุญโญวาท 3
    มุ่งสร้างบารมี
    มีโยมผู้หนึ่งได้เขียนจดหมายถึงองค์หลวงปู่
    แล้วถามว่า ขณะที่กำลังสร้างบุญญาบารมีนี้อยู่ จะทำอย่างไรครับ เมื่อองค์หลวงปู่ได้เข้าใจเนื้อความแล้ว องค์ท่านตอบว่า “ให้ตั้งใจทุกอย่างไป” แล้วบัญชาให้ผู้เขียน ขยายความเขียนตอบกลับไป ดังนี้
    กองการกุศลเพื่อสืบสร้างบารมีธรรม
    ๑. การหมั่นเจริญพระพุทธมนต์พระรัตนคุณสดุดีนั้น จะมีผลานิสงส์ให้เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายทั้งตนทั้งปริวารชน
    ๒. พระโพธิสัตว์เจ้าตนใดมีเทวดาเป็นบริวารมากนับแต่หมื่นโลกธาตุเป็นอาทิ ครั้นแล้วเมื่อตั้งศาสนาแห่งพระสัพพัญญูเจ้าแล้วจะได้อริยสาวกชั้นพระ อรหันต์มากกว่าอื่น
    ๓. ยุคใดที่สัตว์โลกมีไมตรีจิตต่อกันมาก เป็นเพราะว่ายุคนั้นพระพุทธโพธิสัตว์เจ้าได้เจริญให้มากในพรหมวิหารพรต
    ๔. ในยุคใดที่หมู่มวลสัตว์โลกไม่ถูกบีบคั้นด้วยโรคาพยาธิ เป็นเพราะว่าพระโพธิสัตว์เจ้าเป็นผู้เจริญในกายคตาสติอยู่เสมอ
    ๕. เมื่อผู้คนทั้งหลายต่างก็เชื่อฟังในถ้อยคำของกันและกันทั่วทั้งโลก เป็นเพราะว่าพระโพธิสัตว์นั้น ให้โลกคือหมู่สัตว์ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์
    ๖. การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ยังให้ได้สติปัญญาดี
    การเจริญอิทธิบาท ๔ ยังให้ได้รูปกายดี
    การเจริญจตุปฏิสัมภิทา ๔ ยังให้ได้โภคทรัพย์เลี้ยงชาวโลกได้
    ๗. หากท่านจักปรารถนาในการบรรลุโพธิญาณ ก็จงทำ ทานบารมี, ศีลบารมี, เนกขัมมบารมี, ปัญญาบารมี, วิริยาบารมี, ขันติบารมี, สัจจบารมี, อธิษฐานบารมี, เมตตาบารมี, อุเบกขาบารมี
    ให้เต็มเปี่ยม
    เพราะทสธรรมเหล่านี้เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ
    ๘. เมื่อเป็นผู้สมาทานอย่างมั่นคงในกุศลกรรมบถ, ไม่ถอยหลังในสุจริต, รักษาการให้, รักษาศีล, รักษาอุโบสถ, ปฏิบัติดีต่อบิดามารดาสมณชีพราหมณ์, เคารพต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ประกอบในกุศลอันพาให้ถึงภูมิปรารถนาแห่งตน ครั้นได้สั่งสมพอกพูนในกรรมเหล่านี้เอาไว้แล้ว แม้สุคติโลกทิพยสถานของสวรรค์ก็จักบังเกิด
    ครั้นที่สุดแห่งตนแล้ว ยุคสมัยนั้น - มีแต่ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์
    - ไม่มีโทษภัยใดๆ
    - ไม่มีการปรับไหมใส่โทษ จองจำ, ไม่มีหมู่โจร, ไม่มีมนุษย์ที่เป็นข้าศึก, ไม่มีการประหารเข่นฆ่า
    โดยส่วนตน ไม่มีข้าศึกษาภายใน
    ไม่มีข้า ศึกภายนอก ผู้คนใดๆ มิอาจจักข่มเหงได้
    ๙. บุรุษใดนำความสุขมาให้แก่ชนเป็นอันมาก ปลดเปลื้องภัยความสะดุ้งหวาดหวั่นมุ่งคุ้มครองป้องกัน, ได้ให้ทานวัตถุ ๑๐ ประการ
    ผู้ประพฤติเช่นนี้ย่อมได้บริวารมาก และต่างก็อยู่ด้วยธรรมคำสอน
    ๑๐. หากละปาณาติบาต เว้นขาดจากศัสตรา
    มีหิริโอตตัปปะ มีใจกรุณา อนุเคราะห์ในประโยชน์เกื้อกูลของปวงสัตว์
    ในข้อนี้ ส่งผลให้เป็นผู้มีอายุยืนยาว วรกายแข็งแรง และยังให้ชำนาญในอิทธิภาวนา
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๑. ผู้ให้ของที่ควรเคี้ยว, ควรบริโภค ควรชิม, ควรลิ้ม, ควรดื่ม, ควรใช้, ให้ปานะอันประณีต ข้อนี้ได้รูปกายอันอิ่มเต็ม อ่อนนุ่ม ได้ตามที่ให้ไว้
    ตัดกิเลสเครื่องผูกได้ง่าย ๑๒. ให้เป็นผู้ที่สงเคราะห์ชนทั้งหลายด้วย สังคหวัตถุ
    - ให้ด้วยใจ
    - พูดจาน่ารักน่าฟัง
    - พูดแต่คำก่อประโยชน์
    - เสมอในสุขแลทุกข์, เสมอในฉันทะ
    ข้อนี้ย่อมเป็นที่รักแก่ปวงชนตลอดไป, ผู้คนกระทำตามถ้อยคำอันตรวจตราและสงเคราะห์ละการบริโภคกามได้ง่าย
    ๑๓. ผู้กล่าววาจาประกอบด้วยกรรมบถ - มีวาจาประกอบประโยชน์
    แนะ นำชี้แจงนำประโยชน์สุขมาให้, ให้ธรรมทานเป็นปกติอยู่ ข้อนี้ย่อมได้ฐานฐานะอันดีอันเลิศยิ่ง ประเสริฐสูงสุดกว่าผู้ใด
    ๑๔. ตระหนักอยู่เสมอว่า ทำอย่างไรชนทั้งปวงจึงจักแจ้งในศิลปะวิทยาการ วิชชาจรณะ รู้แจ้งในเรื่องกรรม, อย่างไรจะพ้นทุกข์ได้ผู้ศึกษาจะไม่ลำบากนาน, ไม่มีกำมือ ในข้อนี้เป็นผลให้ได้ในพาหนะอันดี ได้เครื่องอุปโภคอันดีได้สะดวกสบายได้บริขารอันดีเรื่อยๆ ได้ระยางค์กายอันงดงาม ทรวดทรงดี ได้ในสิ่งที่สมควรได้
    ๑๕. ให้เป็นผู้ประสงค์ในความรู้ ทั่วถึงในจริยจรรยาใดๆ บำรุงบรรพชิต ตั้งใจฟัง มุ่งประโยชน์ภายใน ไตร่ตรองในถ้อยธรรมคำพูด
    กุศลอกุศลอย่าง ไร
    คุณและโทษอย่างไร
    อะไรควรไม่ควร
    กรรมอันใดอย่างใด
    ใน คุณธรรมข้อนี้ผู้ใดมีอยู่ ผู้นั้นยังกายให้มีผิวพรรณอันดี แม้ที่สุดเป็นผู้มากด้วยปัญญา ปัญญาแน่นหนา ปัญญามาก ปัญญาไว ตัดกิเลสได้ดี เป็นผู้ประเสริฐด้วยปัญญา แจ้งปัญญาอันวิเศษ มีปัญญากว้างดุจแผ่นดินแผ่นน้ำ
    ๑๖. ผู้ใดไม่ตกอยู่ในอำนาจของโทสะ ไม่มากไปด้วยความคับข้องใจ ไม่ขัดเคืองใจ ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่จองล้างใคร ไม่แสดงโทสะ ความเคืองและไม่พอใจแก่ใครๆ
    หากให้ทานด้วยเครื่องลาดอันดีอันอ่อนนุ่ม ให้ของนุ่งห่มอันดีด้วยแล้ว ย่อมจักส่งผลให้ได้รูปกายอันประดุจหุ้มด้วยทองคำ แม้วัตถุที่ได้มาก็เป็นของอันดีอันเลิศ ได้เครื่องรองรับกายนี้ อันวิจิตรละเอียดนัก
    ๑๗. การนำญาติมาพบปะกัน, การทำบุญอุทิศให้ญาติ, การประสานสามัคคีในหมู่ญาติ, การจรรโลงความอบอุ่นในหมู่คณะ พร้อมเพรียงกันชื่นชมกันอยู่
    เช่นนี้แล้วย่อมได้สมบัติอันน่าเพลิด เพลิน ได้บุตรที่ดี ได้โอรสมาก ได้อริยสาวกฝ่ายอรหันต์มาก แม้สาวกหมู่อื่นก็จะดำเนินตามถ้อยคำ
    ๑๘. มุ่งสงเคราะห์มหาชนด้วยการไตร่ตรองไว้แล้ว ใครควรแก่ลาภสักการะใด ใครควรแก่ธรรมะใด ดังนี้จึงได้สิริราศี เป็นมิ่งขวัญของปวงชน
    ได้โภคะมาก ได้ทรัพย์มาก ได้อุปกรณ์ชีวิตอันดียิ่ง ไม่อดอยาก
    ได้สัปปุริสธรรม แลสละกามได้ง่ายดาย
    ๑๙. เป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมจากโยคะ มิให้เสื่อมจาก ศีล จาคะ สุตตะ พุทธิ โลกิยธรรม และปัญญา, มุ่งให้เจริญด้วยทรัพย์ทั้งปวง ข้อนี้ยังรูปกายให้งดงามอิ่มเต็ม
    ไม่มีเสื่อมจากสมบัติในภูมิใดๆ มีความไม่เสื่อมเป็นคู่ใจ
    ๒๐. มิให้เบียดสัตว์โลกด้วยกิริยาใดๆ
    ข้อนี้ยังให้เป็นผู้มีโรค น้อย มีอาพาธน้อย มีเตโชธาตุเผาอาหารได้ดี อาจมน้อย กามน้อย รูปกายเป็นที่สบาย ได้สุขเพราะอาหาร
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๒๑. ไม่ให้เพ่งสายตาด้วยอำนาจของ ราคะ โทสะ โมหะ โลภะ ไม่ปัดชายตามองตรง เพ่งด้วยสายตาเมตตากรุณา เพ่งมองตรง ดูด้วยดวงตาอันเป็นที่รัก ผลอานิสงส์ ให้เป็นผู้มีสายตาดี มีดวงตาผ่องใส ใครเห็นแล้วใครรัก เป็นที่เลื่อมใส เป็นผู้แลดูน่ารัก เป็นที่รักของชนอันมาก ๒๒. ประพฤติตนเป็นหัวหน้าในทางแห่งสุจริต ยินดีในธรรมจริยา ยินดีในปฏิปทาของปราชญ์ ข้อนี้นอกจากจะเป็นผู้นำหมู่คณาแล้ว ยังปราดเปรื่องเชี่ยวชาญในธรรมทั้งปวงชนอันมากยินดีในคุณคือคำสอน เจริญตามธรรม
    ๒๓. ผู้ใดพูดแต่คำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน มีธรรมสัตวอยู่เสมอไป มีปฏิญญาสัจจะผู้เช่นนี้ย่อมเป็นที่พึ่งแก่ชนเป็นอันมาก เป็นที่ประพฤติตามของปวงชน
    ๒๔. ผู้ใดละคำส่อเสียด พูดจาแต่ประสานสามัคคี สรรสร้างความสุขโดยทั่วถ้วน ไม่แตกร้าวใดๆ ไม่แตกแยกใด ๆ ไม่วิวาทมูลใดๆ พูดอ่อนโยนอ่อนหวาน ผู้เช่นนี้ ปากมีกลิ่นหอม ฟันดี เพลินสุขอยู่ได้ บริษัทไม่แตกร้าว ผู้แวดล้อมไม่แตกกัน บริวารไม่หวั่นไหว
    ๒๕. ผู้ใดเว้นขาดจากคำหยาบ พูดไม่มีโทษ ไพเราะ น่าฟัง จับใจ เสนาะโสต เว้นจากคำด่าว่า เว้นจากกิริยาให้เจ็บใจ ผลการประพฤติเช่นนี้ คำพูดเป็นที่เชื่อถือ ผู้ฟังทำตามได้ คนหมู่มากชอบใจ และเชื่อฟัง ถือปฏิบัติตาม วาจาเป็นสุภาษิตเป็นอรรถเป็นธรรม
    ๒๖. ผู้ใดละคำเพ้อเจ้อ พูดถูกต้อง อิงอรรถธรรมคำสอน มีหลักฐาน มีที่อ้าง มีกำหนดประกอบประโยชน์ เป็นเสียงแห่งสุข อย่างนี้จึงไม่มีข้าศึกศัตรูจะมาเบียดเบียน
    ๒๗. เป็นผู้มีอาชีวะสะอาด เป็นไปโดยธรรม
    ละกรรมอันเป็นบาป เว้นจากกิริยาของอทินนทาน
    ในข้อนี้ทำให้มีทวารสะอาด ปากฟันดีมาก มีฟันเรียบขาวเงางาม
    ในข้อนี้ทำให้มีบริวารสะอาด ทรัพย์เจริญ มีปัญญาละเอียด
    เป็นผู้ละเอียด สุขุม รอบคอบ
    กำจัดบาปใดๆ ได้ง่าย
    ๒๘. การให้ทานด้วยดีย่อมให้ผลอานิสงส์โดยมากนัก
    - ให้ด้วยศรัทธา ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
    รูป งามน่าทัสนา มีผิวพรรณดี
    - ให้โดยเคารพ ย่อมได้บริวารมาก ตั้งชอบอยู่ในธรรม ผู้คนฟังคำ เชื่อในโอวาท
    - ให้ตามกำลัง ย่อมได้รับการช่วยเหลือ ยังประโยชน์น้อยใหญ่ให้สำเร็จ
    - ให้ด้วยจิตอนุเคราะห์ ย่อมได้สภาวะจิตที่น้อมไปในคุณงามความดี อันมีศีลวัตร เนกขัมมธรรม และได้ใช้สอยโภคะอัน โอฬาร และได้มาเนืองๆ
    - ให้โดยไม่กระทบกระเทือนใดๆ ให้ได้โภคะอันดี, อันตรายใดๆ จะทำร้ายมิได้ เป็นสุขและปลอดภัย
    - ให้โดยสม่ำเสมอ ย่อมได้ทรัพย์อย่างเพียงพอ ได้ลาภเนืองๆ
    - ให้ตามกาล จะได้ลาภลอยเนืองๆ
    ตัดกิเลสาวะใดๆ ได้โดยธรรม ได้สุขจากการได้ธรรม
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผู้เที่ยงต่อโพธิญาณจะไม่มีใจติดพันในสิ่งอันใด
    ถาม : หลวงปู่ครับเมื่อได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วนั้นมีอะไรที่ต่าง กันบ้างในแต่ละองค์พุทธะ
    ตอบ : อรรถกถาจารย์ตอบว่า
    ในกำหนด ๘ ประการที่ไม่เหมือนกัน
    ๑. กำหนดอายุ
    ๒. กำหนดสูงต่ำ
    ๓. กำหนดตระกูล
    ๔. กำหนดการบำเพ็ญเพียร
    ๕. กำหนดรัศมี
    ๖. กำหนดพาหนะที่จะออกบรรพชา
    ๗. กำหนดไม้ศรีมหาโพธิ์
    ๘. กำหนดรัตนบัลลังก์
    (อธิบาย : - กำหนดอายุต่างกัน
    ตั้งแต่ ๑๐๐ ปี จนถึงแสนปีเป็นอายุขัย สร้างบารมีนานอายุมาก สร้างบารมีอยู่น้อยอายุน้อย
    - กำหนดสูงต่ำ
    ตั้งแต่ ๘ ศอกจนถึง ๙๐ ศอก
    - กำหนดตระกูล จะเกิดในตระกูลของกษัตริย์ และตระกูลของพราหมณ์ อุภุโตมหาศาลชาติ
    - กำหนดในความเพียรจะให้ บรรลุพระโพธิญาณ
    นับเป็นวันก็มี, นับเป็นเดือนก็มี, นับเป็นปีก็มี
    - กำหนดพุทธรัศมี
    นับด้วยจำนวนวา, โยชน์, ครอบโลก
    - กำหนดพาหนะ ทรงช้าง, ทรงม้า, ทรงรถ, ประทับปราสาท, ดำเนินและคานหาม
    - กำหนดโพธิพฤกษ์ เช่น ไม้มะขวิด, ไม้กากะทิง, ไม้รถฟ้า, ไม้ช้างน้าว, ไม้รัง, ไทร, ไม้ไผ่, ไม้กุ่มบก, ไม้จำปา, ไม้สะเดา, ไม้กรรณิการ์, ไม้ประดู่, ไม้มะขามป้อม, ไม้แคป่า, ไม้มะม่วง, ไม้รัง, ไม้ซึก, ไม้มะเดื่อ, ไม้ปาแป้ง
    - กำหนดบัลลังก์
    กำหนดในส่วนกว้างและสูง แต่ ๑๔ ศอก ถึง ๖๐ ศอก
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เมื่ออยากจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องทำตัวอย่างไรในชั้นต้น
    ถาม : ผมนี้ต้องการที่จะเป็นพระพุทธเจ้าต่อไปในอนาคต แต่จะต้องทำตัวอย่างไรบ้างครับ...ขอหลวงปู่เมตตา
    ตอบ : ให้รักษาความ เป็นมนุษย์ผู้ชายเอาไว้
    รักษาความปรารถนานั้นเอาไว้
    รักษาศีล รักษาธรรม รักษาพุทธธรรมคำสอน
    ประพฤติเนกขัมมนิสัย
    ตั้งใจ ฝึกหัดภาวนา ตั้งองค์ฌานให้ได้
    ให้เอาชีวิตเข้าแลก รักใคร่พอใจอยู่เสมอในความต้องการพุทธภูมิของตน
    ถาม : เคยได้ยินหลวงปู่ว่า น้ำใจพระโพธิสัตว์นั้นอย่างไรครับ
    ตอบ : มี ความอุตสาหะบากบั่นมั่นในจิตใจ
    สะสมขัดเกลาปัญญาอยู่ตลอดทุกภพทุกชาติ
    มั่น คงไม่หวั่นไหวใดๆ
    เจริญจิตอยู่ด้วยเมตตาพรหมวิหารธรรมเป็นปกติใจอยู่
    ประกอบ ไปด้วยกุศลธรรมทุกอย่างไป
    ถาม : เทพบุตรสมเด็จพระศรีอริยเมตไตรยบรมโพธิสัตว์ก็เคยกล่าวถึงน้ำใจ อัธยาศัยโพธิสัตว์ เช่นเดียวกัน
    ตอบ : อ๋อ..นั่นอย่างนั้น
    พระ มาลัยเถระเจ้าได้เคยถามไว้ว่า “จะกระทำอัธยาศัยน้ำใจเพื่อจะให้ได้ในพระโพธิญาณอันแก่กล้านั้นจะทำอย่างไร”
    พระ มหาโพธิสัตว์ตอบว่า “ได้ตั้งอยู่ในอัธยาศัยน้ำใจดังนี้
    ๑. พอใจที่จะบวช รักในเพศบรรพชิต
    ๒. พอใจอยู่สงัดวิเวกแต่ผู้เดียว
    ๓. พอใจบริจาคทาน
    ๔. พอใจในความไม่โกรธ เจริญเมตตาอยู่
    ๕. พอใจเสพหากับผู้มีปัญญา
    ๖. พอใจที่จะยกตนออกจากภพ ยินดีต่อพระนิพพาน
    รวมความว่าไม่พอใจในโลภะ โทสะ โมหะ
    อยู่ใน ท่ามกลางความอึกทึกวุ่นวายอย่างได้สงบ มุ่งหวังบำเพ็ญกองการกุศลเพื่อสืบสานสร้างพระบารมีให้ยิ่งใหญ่ต่อไป
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ศีลอันบุคคลจะรักษาไว้ได้
    ถาม : บุคคลจะรักษาศีลไว้ได้ดี ได้บริสุทธิ์ได้บริบูรณ์นั้น จะต้องรักษาอย่างไร
    ตอบ : ศีลจะต้องอยู่ได้จะต้องอาศัยความเป็นผู้มี สติ มีความระลึกได้ มีความรู้ตัว
    ศีลจะมีกำลังขึ้นมาได้จะต้องบำรุง ด้วยอาหาร คือเมตตาจิตปรารถนาในสุขทุกถ้วนหน้า, กรุณาจิตสงสารตนและผู้อื่นมีแต่จะช่วยเหลือให้พ้นทุกข์, มุทิตาจิต มีจิตอ่อนน้อมพลอยยินดีในความดีของสัตว์ทุกข์ทุกจำพวก, อุเปกขาจิต มีการปล่อยวางเป็นกลางในธรรม
    เปรียบเทียบให้เข้าใจว่า สติเป็นบิดา
    สัมปชัญญะ เป็นมารดา
    อัปปมัญญาเป็นอาหาร กรรมอันประกอบด้วยพรหมวิหารธรรมเป็นเครื่องพาให้ศีลตั้งมั่นและถาวร
    ศีล เมื่อบุคคลรักษาไว้ได้ย่อมประกอบด้วยสัตย์ ผู้มีสัตย์ชื่อว่ามีทรัพย์ของพระอริยเจ้า จึงเป็นแต่ได้รับความสุข
    รวม ความว่า ศีลดีไปจนแก่เฒ่าเจ้าชรา สีลํ ยาว ชรา สาธุ
    ศีลเป็นเลิศ ในโลก สีลํ โลเก อนุตฺตรํ
    ศีลมีกลิ่นหอมเป็นเลิศ สีลคนฺโธ อนุตฺตโร

    ทำไมจึงว่าเป็นของยาก
    ถาม : หลวงปู่ว่า การทำสมาธิเป็นของยาก ทำไมจึงว่าเช่นนี้
    ตอบ : หรือ ไม่จริง หากทำได้ง่าย ก็สบายกันไปหมดทุกคนแล้วที่มาทำสมาธิตั้งกายให้ตรงดำรงสติให้มั่นไม่ ฟั่นเฟือน
    มีความเพียรไม่ขี้เกียจขี้คร้าน
    ตนเป็นผู้มาสนใจ
    แล้ว ทำให้ถูกต้อง
    ในลำดับเหล่านี้จะมิใช่ของยากดอกหรือ
    ปัญหามีอยู่ ว่า ให้สนใจจริงๆ แล้วทำให้ถูกต้อง
    ก็จักได้รับประโยชน์ตามสมควรแก่ กำลังของตน
    จะยากไม่ยาก ก็อยู่กับผู้ทำ
    ถาม : ขอหลวงปู่อธิบายประโยชน์ของการปฏิบัติภาวนา
    ตอบ : อธิบายมิ ได้ ทำเองรู้เอง ตั้งใจทำไปเถ๊อะ อย่าถามก่อนทำ
    เมื่อจิตยังไม่ทัน ตั้ง ก็ไม่รู้จักหรอก
    ผู้ที่ตั้งจิตได้แล้ว หัดใจตนได้แล้ว ย่อมเป็นใจที่ผ่องใสมั่นคง แปลว่า ใจมีหลัก มีหลักคิดมีหลักทำ มีหลักปฏิบัติ ทำประโยชน์แก่ตนได้
    ใจตั้งมั่นเหมือนไม้ที่แก่น เมื่อตายก็มีประโยชน์ ยังไม่ตาย ต้นไม้ก็ทรงตัวอยู่ได้ เพราะสมาธิธรรมเป็นสาระแก่นสารของจิต เป็นที่ตั้งของปัญญา
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วันหนึ่งมีโยมได้นำภาพภิกษุสันดานกา และภาพวาดอื่นๆ ของคุณอนุพงษ์ จันทร โดยเอาภาพมาจากอินเตอร์เน็ต มาให้องค์หลวงปู่พิจารณา
    องค์หลวงปู่ให้คติว่า “กาฝากคอยแอบอ้างอาศัยเอาเลศเล่ห์ เพื่อการเลี้ยงชีวิตของตนหาร่ำรวย มาบวชแล้วสักแต่ว่าบวชเป็นคนเปล่า มันไม่สมกับคำที่ให้ไว้ในวันบวชในท่ามกลางสงฆ์
    ลืมสัจจะ ลืมคำพูดของตัวเอง
    บวชเข้ามาแล้ว เอาอย่างกา ไม่ใช่จะมีเฉพาะกา ที่พระพุทธเจ้านำมาเปรียบเทียบเอาไว้ให้ได้พิจารณา หมาขี้เรื้อนก็มี ข้าวลีบต้นข้าวผีก็มี กะลาเปล่าก็มี
    เมื่อเป็นเช่นนี้มีแต่จะทำให้ ศาสนาเสื่อมเพราะพุทธบริษัทเสื่อมถอย

    รักษาใจ
    ถาม : หลวงปู่ครับ มโนกรรม นี้จะรักษาอย่างไร ?
    ตอบ : โลภะ ความโลภเกิดจากความเพ่งเล็งอยากได้ก่อน จากนั้นเกิดโลภทางกาย ทางวาจา ทางจิตคิดดิ้นรนขวนขวายอยากได้ จนเกิดเป็นความเดือดร้อนว้าวุ่น ทางกาย วาจา และจิต นี้ก็ใจทุกข์
    โทสะ เกิดจากพยาบาทก่อน จึงได้เกิดความโกรธแค้น แล้วเป็นโทสะประทุษร้าย แสดงความร้อนเป็นไฟออกทางกาย วาจา จิต นี้ก็ใจทุกข์
    โมหะ ความหลงเกิดจากความเห็นผิด
    อวิชชาความไม่รู้ว่าดีว่าชั่วก็ตามมา เผล็ดผลออกทางไตรทวาร กาย วาจา ใจ
    นี้เป็นทุกข์ใหญ่
    กรรม ที่เป็นกุศลเป็นความดี
    เป็นกรรมที่ควรประพฤติ ควรทำ ควรรักษาไว้ให้มีอยู่ ประจำตนของตน กิเลสใดๆ ก็จักดับไปได้
    ความ เพ่งเล็งอยากได้ให้ฆ่าด้วยทานะจาคะ
    พยาบาทฆ่าด้วย พรหมวิหารธรรม เว้นจากกรรมมีโทษ
    มิจฉาทิฐิ ฆ่าด้วยการคบค้าสมาคมกับคนดี ปราชญ์ผู้รู้ หมั่นศึกษา หาความรู้ให้ได้ให้เกิดสติปัญญา
    นี้แหละ ชื่อว่ารักษาใจ ให้สุจริต ให้สะอาด
    ทำความดีรักษาความดีไว้ ได้
    แต่ การรักษาใจเป็นของยากที่สุดเน้อ
    เหตุว่าใจมิได้ตั้งมั่นแน่วแน่นั่น หละ

    จะรักษาศีลอย่างไร
    ถาม : จะรักษาศีลอย่างไรครับ จึงจะรักษาได้ถูก ?
    ตอบ : ศีลเป็น อกาลิกธรรม รักษาได้ตลอดกาล
    รักษาเพื่อระงับสิ่งความชั่วอกุศลทั้ง ปวง
    จะรักษาอย่างไร ? นั้น ต้องเข้าใจก่อนว่า เมื่อตั้งใจสมาทานแล้วให้ศึกษาในโทษเวรของศีลอันตนรักษาก่อน แล้วละเว้นโทษนั้นด้วยตนเอง
    กายเว้นอย่างใด
    วาจาเว้นอย่างใด
    ใจ เว้นอย่างใด
    งดเว้นโทษและเวรด้วยใจของตนเอง รักษาไว้มิให้ขาด
    ตั้ง ความสำรวมระวังด้วยความละอาย
    ศีลจะตั้งอยู่ได้ก็ต้องอาศัยขันติธรรม และเมตตาพรหมวิหารธรรม
    หิริโอตตัปปะธรรมมีมากขันติธรรมก็มีมาก หากมีน้อยก็น้อย พอน้อยก็กลับไปหาความชั่วได้ง่าย
    เพิ่นครูอาจารย์ มั่น (ภูริทตฺโต)
    บอกว่า “ ผู้มีศีลเป็นผู้มีราคา
    และเป็น ภาชนะรองรับธรรมะได้”
    ถาม : หากรักษาไว้ได้อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์แล้วย่อมได้ในสมบัติทั้งสาม ตามอานิสงส์ อย่างนั้นสิ
    ตอบ : อย่าสงสัยให้รักษาไปก่อนจะรู้จักได้ ด้วยตนเอง ว่าได้ประโยชน์หรือจะได้โทษ
    ผู้รู้กายรู้จิตของตนย่อมรักษา ศีลได้ถูกต้อง
    เพราะอย่าลืมนะว่า ความเป็นปกติของ กาย วาจา ใจ โดยสุจริตชั่วว่าศีล เหตุว่า “เจตนาเป็นตัวศีล” นั่นเอง
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อันว่าความปกติ
    ถาม : เมื่อคืนนี้ท่านอาจารย์ได้เทศน์ว่า ศีลแปลว่าความปกติปราศจากบาปกรรมทุกข์โทษ ขอโอกาสช่วยขยายความเข้าใจเข้าถึงหน่อยเจ้าค่ะ ?
    ตอบ : ได้ ตั้งใจฟัง
    ความ ปกติในที่นี้ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทางกาย
    การไม่กล่าวชั่วทาง วาจา
    การไม่คิดชั่วทางใจ
    คือเว้นบาปเว้นโทษทางกาย วาจา ใจ
    เมื่อ ไม่มีโทษก็ไม่มีทุกข์ หมายความว่าละได้เว้นได้ก็เป็นปกติ ไม่เคลื่อนไหวไปในทางผิดทางทุกข์ ในส่วนปราศจากบาปกรรมทุกข์โทษนั้น ทำได้เต็มที่
    พูดได้เต็มที่ คิดอ่านพิจารณาได้เต็มที่
    ปกติได้ เพราะละชั่ว สิ่งใดควรละก็ต้องละ ควรเว้นก็เว้น ควรเจริญก็ให้เจริญ
    ถาม : ปกติอยู่ในชั้นของโลกียศีล
    ตอบ : โลกียศีลก็ยังดี เพราะเรามิ ใช่อริยภูมิ
    ปกติอย่างโลก – โลกีย์ก็ดีถมไปแล้ว
    จะเอาปกติที่ บริสุทธิ์ก็ให้เอาจากอริยะแต่ชั้นต้นเรื่อยไป
    ถาม : เคยได้ยินครูบาอาจารย์ พระเถระหลายรูป ท่านเทศน์ว่า ใครรักษาศีล ๕ ได้ผู้นั้นได้ภูมิพระโสดาบัน จริงหรือเท็จอย่างไรครับ ?
    ตอบ : จริง ของพระโสดาบัน
    เท็จของปุถุชน
    ปุถุชนจะรักษาศีลได้มากข้อเท่าใด ก็ตาม ก็ยังชื่อว่าอยู่ในเขตของโลกียศีลอยู่ดี และชื่อว่า โลกียศีลแล้วจะเป็นพระเณรก็ตาม จะเป็นฆราวาสหญิงชายก็ตาม จะเคร่งครัดใดๆ ก็ตาม จะย่อหย่อนก็ตาม ก็เป็นโลกียะทั้งสิ้นและตกอยู่ในฐานไม่เที่ยง บริสุทธิ์บ้าง ไม่สะอาดบ้าง ได้บ้าง เสียบ้าง เที่ยวไปอยู่ในภูมิต่างๆ
    แต่ศีล ๕ ของพระโสดาบันนั้นเป็นศีลปิดอบายภูมิได้ เป็นศีลในพุทธศาสนาเป็นศีลที่ประเสริฐกว่าศีลทั้งปวง เที่ยงตรงต่อพระนิพพาน โลกุตรศีลจึงเป็นศีลอันประเสริฐ ศีลนี้ทรงอยู่ในฆราวาสก็เป็นอริยะได้ ฆราวาสผู้ลุในภูมิพระโสดาบันจึงประเสริฐกว่าพระเณรปุถุชนผู้ทรงศีลอยู่ในโล กียภูมิ
    ถาม : น่าสนใจมาก ขอท่านอาจารย์จงอธิบายให้ความรู้จักกระจ่างใจต่อไป
    ตอบ : จะ กระจ่างแจ้งทั้งหมดมิได้ ตราบใดที่ยังอยู่ในภาวะปุถุชน ศีล ๕ ของพระโสดาบันนั้น
    ๑. ไม่เอาความทุกข์ความสุขทางกายมาฆ่าเบียดเบียนกุศลธรรม คือปล่อยวางกายนี้ได้ ไม่หนักในทุกข์ ไม่เอนไปทางสุข ไม่ยึดมั่นสำคัญผิด มีแต่ใช้จ่ายกายใจนี้เพื่อกองการกุศลเท่านั้น
    ๒. รูปนี้ความจริงเป็นแต่ธาตุ ๔ มิได้เป็นอื่น มิได้เอามาด้วย และจักไม่เอาไปด้วย ปล่อยวางคืนแก่โลก เพราะเป็นของมีอยู่ประจำโลก
    ๓. กาม – กามารมณ์ทั้งปวงเป็นโทษทุกข์ใหญ่ เบื่อหน่ายให้ระอา แม้จะยังมีจิตคิดจะสร้องเสพอยู่ก็มิได้ตกไปใน กามมิจฉา สันโดษอยู่ด้วยสทารกะ
    ๔. กายก็สัจจะ วาจาก็สัจจะ ใจก็สัจจะ
    เพราะเห็นเป็นของจริงไม่มีเท็จ
    ๕. ความไม่เมา ความไม่ประมาท เป็นปกติอยู่ในตนแห่งท่าน
    รวมความว่า ท่านได้กระทำสมาธิให้จิตตั้งมั่นจนได้ปัญญามาชำระสักกายทิฏฐิเห็นโทษแห่งกาย ใจอันหลงๆ อยู่ ตัดสักกายทิฏฐิได้ด้วยปัญญา จึงพ้นไปได้จากการหลงโลก หลงทางทุกข์สุขโลกโลกีย์นี้อยู่
    ศีล ๕ ของพระโสดาบันเป็นศีลธรรม เที่ยงตรงถาวร ไม่กลับกลายไม่สกปรก ไม่เศร้าหมอง เป็นไท ความประพฤติเป็นอิสระ หมดสงสัยในความผิดหรือถูก เพราะได้ปัญญามาวินิจฉัยชี้ขาดอยู่ตลอด
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประเภทของพระโสดาบัน
    ถาม : หลวงปู่ครับ พระโสดาบันมีอยู่ ๓ ประเภท อยากทราบว่าแต่ละประเภทมีอะไรเป็นเครื่องบอกคุณธรรม หรือ ลักษณะการบำเพ็ญ ของท่านครับ ?
    ตอบ : เป็นเพราะจริตนิสสัย
    ๑. ผู้เจริญสมถะไว้น้อย เจริญวิปัสสนามาก ก็ตรัสรู้ได้เร็ว เป็นพวกปัญญาธิกะ หนักใน พุทธิจริต มักใช้ความรู้ออกหน้า ผู้นี้สำเร็จได้แบบเอกพีชี
    ๒. ผู้เจริญในสมถะกับวิปัสสนาเสมอกัน เหมือนการก้าวเดินไปซ้ายไปขวา ใช้เวลานานปานกลางจึงจะแก้ไขตนของตนได้ เมื่อถึงสาระธรรมตกในกระแสของพระอริยะเจ้าก็จักได้โกลังโกละตระกูล ทั้งนี้ก็เป็นเพราะบำเพ็ญในศรัทธาธิกะ เหตุว่า จิตเสพคุ้นกับความเชื่อง่ายใจเร็ว เอนเอียงทางราคะมักกำหนัด
    ๓. ผู้ ที่เจริญในสมถจิตต์มาแล้วโดยมาก จึงมาเจริญในวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้มีวิชชามาก แม้จะตรัสรู้ช้าแต่ก็ละเอียด
    ที่ตรัสรู้ช้า เพราะว่า จิตมักตกในความงมงาย
    จิตมีวิตกพล่านอยู่กับวิชชาจรณะ
    หาก ได้ในภูมิของพระโสดาบันก็จะต้องเกิดอีก ๗ ชาติชีวิต จึงเรียกว่า วิริยะธิกะ ผู้พากเพียรมาอย่างหนัก
    อีกอย่างหนึ่งเพิ่นครูอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต)
    ได้ชี้แจงเอาไว้กับครูอาจารย์ขาว อนาลโย ว่า
    “ เนกขัม มจิตเนกขัมมธรรม เป็นลิ่มตอกย้ำขั้นสุดท้ายก่อนจะตกเข้ามาในกระแสธรรม เหตุว่าผู้ทำจิตออกจากกามได้ต่างๆ กันนั้น เป็นเพราะว่า บำเพ็ญในเนกขัมมบารมีมาต่างกัน ผู้ได้นิสัยบวชมานาน ก็ได้เอกพีชี
    ผู้ได้นิสัยปานกลาง ก็ได้โกลังโกละ
    ผู้ได้บวชผ่านนักบวชมา น้อย ก็ได้สัตตขัตตุปรมะ”
    ถาม : หมายความเอาที่กิริยาการบำเพ็ญมาต่างกันอย่างนั้นหรือครับ
    ตอบ : ถูก แล้ว
    ๑. ใช้ปัญญานำหน้า
    ๒. ใช้ศรัทธานำหน้า
    ๓. ใช้ความพากเพียรเป็นตัวนำ
    หย่อนกันอย่างนี้ อบรมส้องเสพมาต่างกัน อยู่กับจริตของจิตมาไม่เหมือนกัน ถือเนกขัมมกิจมามากน้อยต่างกัน
    หากจะ ว่าโดยรวมแล้ว จิตไม่แยกแต่กิริยาจิตเป็นเครื่องหมายที่หมายเอาเป็นเพราะจะยกอะไรขึ้นนำ หน้า ก็ลงที่จิต
    จะเอาจริตอะไรยกมาเทียบ ก็ลงที่จิต
    ดีกับชั่วก็ลง ที่จิต
    คือ จิตตั้งมั่นในสมถะความสงบใจ ๑
    จิตตั้งมั่นในความรู้จริงของใจ ๑
    และจิตที่ตั้งเอาไว้เป็นกลางในขณะ ๑
    จิตทั้ง ๓ ลักษณะนี้เองที่เป็นลักษณะของธรรมของพระโสดาบันบุคคลและแม้อริยภูมิชั้นอื่น ก็มิได้หนีไปจากคตินี้หากแต่ละเอียดขึ้นเป็นลำดับ เหมือนตัวเราเมื่อเป็นทารก, เมื่อเป็นเด็ก, เมื่อเป็นหนุ่มสาว, เมื่อเป็นวัยผู้ใหญ่ ก็ตัวคนผู้เดียวนั่นหล่ะ หากรู้โลกรู้ธรรมต่างกัน

     องค์หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ เป็นผู้มีใจหนักแน่น ตั้งตนไว้ในธรรม น้อมธรรมไว้ในตน ยอมทำตนให้เป็นสะพานทอดต่อธรรม เพื่อให้สานุศิษย์ ได้เดินเข้าหา
    และบ่อยครั้งที่องค์ท่านจะเป็นฝ่ายเข้าหาศิษย์ เพื่อสอนธรรมะให้ศิษย์ เพื่อนำทางหย่อนโอกาสแก่ผู้สนใจใคร่ศึกษามาตลอดมาเรื่อยมา
    นี่เป็นธรรมในตัวครูบาอาจารย์ ที่ศิษย์ควรจะได้เห็น - เป็นตัวอย่าง เห็นได้ในแบบที่สวยงาม ไม่บิดไม่เบี้ยว
    องค์ท่านบอกว่า“ ธรรมะมิใช่ของเล่นๆ กว่าจะรู้ได้
    จะมาเล่นหัว (ล้อเล่นหัวเราะเยาะเล่น) อย่างนี้ไม่ได้หรอก”
    นี่คือ ความที่องค์ท่านเคร่งครัดต่อธรรม มีสมถะต่อชีวิต มีฉายาอันผ่องใสเยือกเย็น
    มีบางเสียงว่า เข้าหาหลวงปู่จาม นั้นเข้าหายาก ทำความสนิทสนมได้ยาก นี่ก็อาจจะเป็นเพียงบางเสียงเท่านั้น เพราะที่จริงองค์หลวงปู่เป็นกันเองกับทุกคนทุกชั้นทุกวัย ทุกคนเสมอกันเพราะความเสมอภาคนี้คือปกติของท่าน ยิ่งเมื่ออยู่ใกล้ยิ่งได้เห็นปกติอันน่าเลื่อมใส
    การเป็นอยู่การรักษา ไตรทวารก็เป็นแต่บริสุทธิ์อยู่เสมอ ปราศจากโทษ เป็นสมณะแท้
    เมื่อหลาย ปีปัจฉิมวัยมานี้ ท่านจะสอนด้วยการทำตัวอย่างให้เห็น ทำมากกว่าพูด และพูดสอนเช่นใดก็ได้เพราะทำมาแล้วเช่นที่องค์ท่านได้พูดเทศน์ธรรมเอาไว้ มุ่งอนุเคราะห์ศิษย์ให้ได้รับประโยชน์จริงๆ
    ความรู้ความประพฤติ และจิตใจ ในสามอย่างนี้องค์ท่านได้ทุ่มเทกำลังกายและกำลังใจกำลังความรู้และกำลังญาณ เพื่อจักเจียระไนศิลาแก้วสักก้อน คือ ศิษย์ในสำนักสักรูปสองรูปให้งามได้เป็นผู้นำทางต่อไปได้
    องค์หลวงปู่ได้ เปรยกับศิษย์ว่า “ไม่ต้องมากหรอก ได้สักรูปสองรูปก็ดีถมไป พอที่จะบอกสอนผู้คนต่อไปได้ แค่นี้ก็อุ่นใจแล้ว”
    ในข้อนี้อัตตโน ได้สำนึกอยู่เสมอ
    “มิใช่ผู้ข้าฯ ครูบาเฒ่าจะไม่มีข้อบกพร่องนะ กับรูปกับนามนี้ปกติของมัน ต้องบกต้องพร่อง เช่นนี้ก็อย่าตำหนิให้กันและกัน แปลว่า มิให้เอาข้อบกพร่องนี้ไปเป็นครู การพร่ำเตือนบอกสอนเป็นหน้าที่ของผู้มาก่อน ผู้มาใหม่ก็ให้เคารพกราบไหว้ไปตามธรรมเนียมของวินัย อย่าติครูใครตำหนิครูของตน คนนั้นเหมือนติเรือทั้งลำ”
    (ใช่ใครตำหนิครู ตนคนนั้นอยู่ไหนก็อัปราชัยให้พินาศ)
    องค์หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ โดยรวมแห่งความเป็นองค์ท่านแล้ว
    มีปัญญาความรู้จริง
    มีเมตตา กรุณาต่อศิษย์โดยมิเลือกบุคคล
    มีชีวิตที่บริสุทธิ์สะอาดด้วยธรรม วินัยขององค์พุทธะ


    ............................................................................................................................................

    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือมหาปุญโญวาท 6 พิมพ์ถวายวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ( วัดหลวงปู่จาม ) บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร โดยสำนักพิมพ์มติชน
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td>[​IMG]</td><td colspan="2">
    </td></tr> </tbody></table> [​IMG]มหาปุญโญวาท 6 : ภาค ๑ มหาปุญโญวาท 4
     วันนี้มีพระเถระปูนกลางรูปหนึ่ง เข้ากราบองค์หลวงปู่ แล้วพักค้างคืนอยู่จำวัดอยู่ด้วยสองราตรี ยานพาหนะเป็นรถคันงามราคาลิ่ว มีญาติโยมผู้คนแห่แหนเป็นพรวน องค์หลวงปู่ได้พิจารณาแล้วปรารภว่า
    “พระ สมัยใหม่ พระทันสมัย ป่วงไปตามเรื่อง (เที่ยวไปเรื่อย) บวชได้นานหลายพรรษาหลายปี ผู้คนนับหน้าถือตา ก็เมาไปเรื่อย หลงไปเรื่อย เสาะหาศรัทธา(ผู้คน) เสาะหาญาติโยม จนไม่มีเวลาอยู่วัด ลูกศิษย์พระเณรอยู่เฝ้าวัดเป็นลิงเป็นค่าง เจ้าอาวาสอยู่บ้านสมภารอยู่เรือน ไม่ค่อยได้อยู่วัด ในพรรษาก็หาเหตุลาสัตตาหะไป
    เขาอยู่กับความสงบไม่เป็น ไม่มีเวลาทำตนให้สงบ
    ดวงจิตก็หมักหมมด้วย โลภ โกรธ หลง
    จะหาช่อง หนทางให้ทุเลาเบาบาง ลดความวุ่นวายลงก็ไม่เอาไม่ทำ
    วิ่งหาเงิน หายศ หาเกียรติ หาคน จนลืมคุณค่าภายใน
    อะไรคือคุณค่าภายในเขาไม่รู้ ความสงบความเกษมเขาไม่รู้
    ไม่รู้ว่าบวชเขามาแล้วจะต้องอยู่อย่างสงบ เพื่อจะได้นำความสงบนี้แจกจ่ายแก่ผู้คนที่เขาต้องการได้
    นี่ยุคนี้สมัย นี้ พระก็แข่งขันกันในเรื่องชาวศรัทธา การก่อสร้างเกินกิจตัว การได้รถขี่ การได้ของขบเคี้ยว ลาภยศสักการะใดๆ
    มีมาให้เห็นเรื่อยๆ หล่ะ โลกนี้
    ผู้ข้าฯ หล่ะขี้คร้านจะเห็นแล้ว พระสมัยนี้ เขาทันสมัยในโลก แต่เขาล้าสมัยในธรรม”
    ๑๓ พฤศจิ’ ๕๐

    ๏ ตา หู จมูก ปากลิ้น กาย ใจ
    ส่าย สลับสัมผัสใน นอกสิ้น
    หลง เคลิ้ม เพริดใกล้ไกล เกลือกกลั้ว
    ร้อย พ้นปัญหาปลิ้น ปลอกป้อนตระกาย กระหาย๚๛
    ขรรค์ ชัย บุนปาน
    ศิลปวัฒนธรรม กรกฎาคม ๒๕๔๙

     หลวงปู่ครับ หลวงปู่สอนว่า ความเกิดแก่เจ็บตาย เป็นความทุกข์
    การ ทำไม่ให้คนเกิดเป็นการตัดกระแสความทุกข์ คือคุมกำเนิด
    ๑. ไม่ยอมให้เขาเกิด
    ๒. เขาเกิดมาแล้วเป็นทุกข์ทรมานทุกข์ยากลำบากต่างๆ นานา
    ในข้อนี้หลวงปู่มีความคิดอย่างไรครับ จะไม่ขัดกับที่หลวงปู่สอนหรือครับ ?
    ตอบ : เอ้า...แล้วโยมเกิดมาทำไม
    ตัว ได้เกิดแล้ว ปิดกั้นไม่ให้ผู้อื่นเกิด มันใช้ได้หรือ
    ในโลกทุกข์นี้ จะมีอะไรเล่าที่จะรุนแรงเท่ากับกรรมที่สัตว์โลกทำเอาไว้ ก็ตัวหากเกิด เกิดมาแล้วทุกข์ ทุกข์แล้วว่ายวนอยู่ในความทุกข์
    นี่ตัวได้เกิดมา แล้วนี้ ก็กระหยิ่มยินดี แล้วไม่ให้โอกาสคนอื่น
    เกิดตายเรื่องของ ใครของมัน กรรมของใครๆ มิใช่ของเรา จะทุกข์จะสุขก็เรื่องของเขาสิมิใช่ธุระของเรา อาตมาไม่ฝืนพระพุทธเจ้าหรอก พระพุทธองค์ตรัสว่า ความเกิดเป็นความทุกข์ แล้วพระองค์ก็สอนเรื่องดับความเกิดคือพระนิพพาน ให้สังเกตให้ดีสิ
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td>[​IMG]</td><td colspan="2">
    </td></tr> </tbody></table> [​IMG]มหาปุญโญวาท 6 : ภาค ๑ มหาปุญโญวาท 5
    ธรรมานุสรณ์รำลึก วันครบรอบมรณภาพปีที่ ๕๗ ขององค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒
    เมื่อเวลา ๐๒.๒๓ น. เป็นเวลาแห่งการดับขันธ์ขององค์ท่าน
    หากเมื่อนับอายุรวมเป็นสิริมิ่ง ขวัญแก่ศิษยานุศิษย์ แล้วนับคำนวณได้ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วัน รวม ๕๖ พรรษา
    วัด ป่าสุทธาวาสเป็นสถานที่ดับขันธ์ เมืองสกลนครเป็นเมืองที่องค์ท่านนอนทิ้งร่างกายเป็นครั้งสุดท้าย
    ใน โอกาสอ้างเหตุรำลึกนี้ อัตตโนมีความพอใจ ย้อนกลับไปเสาะศึกษา “โอวาทธรรมสุดท้ายขององค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต” จากแหล่งต่างๆ
    (๑) จากอาจาริยธรรม รจนาโดย พระหล้า เขมปัตโต (องค์หลวงปู่หล้า) วัดภูจ้อก้อ มุกดาหาร ท่านได้บันทึกไว้ว่า “ พวกเราทั้งหลาย...!
    จง รีบเร่งปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม...ให้จิตใจเบื่อหน่ายคลายเมาวัฏฏสงสาร ทั้งโลกภายใน คือหนังหุ้มอยู่โดยธรรม
    ทั้งโลก ภายนอก คือที่รวมแห่งสังขารโลก...
    ให้ยก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขึ้นพิจารณาติดต่ออย่างไม่มีกลางวัน กลางคืนเถิด…ความได้รับแบบเย็นๆ และแยบคายด้วยจะเป็นสัมมาวิมุตติและสัมมาญาณะอันถ่องแท้....”
    จากส่วน แห่งรายละเอียดข้างต้นนี้ องค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ยังได้บอกถึงความลำบากยุ่งยากหลายประการว่าจะเกิดขึ้นในกาลต่อมา เช่นว่า
    ผู้ ถือว่าไม่มีบาปไม่มีบุญ -๑-
    มนุษย์แม้จะนับวันตายก็มัวถือเอาแต่ความ ประมาท -๒-
    นโยบายทางโลกีย์ใดๆ ก็มีการแก่งแย่งและแข่งขัน -๓-
    การ ปฏิบัติของพระป่าก็จะลำบาก เพราะด้วยที่อยู่ไม่เหมาะสม -๔-
    ศาสนา มิจฉาทิฏฐิก็นับจะแสดงอำนาจ -๕-
    คนโง่เขลาก็จะถูกจูงไป ผู้ฉลาดก็จะเหลือน้อย -๖-
    ทั้ง ๖ ประเด็นนี้ ก็นับว่ามีแล้ว เป็นแล้วมีมาเป็นมาและเป็นอยู่
    จากบันทึกอาจาริยธรรม ขององค์ท่านหลวงปู่หล้า เขมปัตโต ทั้งสองส่วนนี้ทำให้ทราบถึงนัยประหวัดของแหล่งที่มา คือท่านผู้รจนา และยังได้ชวนให้ค้นคว้าสืบไปจากแหล่งอื่น
    (๒) จากประวัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เรียบเรียงโดย พระญาณวิริยาจารย์ วัดธรรมมงคล ตอนหนึ่งความว่า.....ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของชีวิต....
    วันนั้นเป็นวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ พ.ศ. ๒๔๙๒ ท่านอาจารย์มั่น ลุกขึ้นเดินไปไหนไม่ได้เป็นวันแรก เมื่อบรรดาพระอาจารย์ได้เข้าไปประชุมกัน แล้วท่านลุกนั่งแสดงธรรมะให้แก่ศิษย์ทั้งหลายฟังอยู่ประมาณ ๑ ชั่วโมง เป็นเนื้อความว่า
    การปฏิบัติจิตถือเป็นเรื่องสำคัญ
    การทำจิตให้ สงบถือเป็นกำลัง
    การพิจารณาอริยสัจจ์ถือเป็นการถูกต้อง
    การ ปฏิบัติข้อวัตรมีการฉันหนเดียวเป็นต้นเป็นทางพระอริยะ
    ผู้เดินผิดทาง ย่อมไม่ถึงที่หมาย คือ พระนิพพาน”
    (๓) จากหนังสือรำลึกวันวาน รจนาโดยพระอาจารย์ทองคำ จารุวณฺโณ (ญาโณภาโส) หน้า ๘๑ ได้บันทึกโอวาทธรรมที่องค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้เทศนาไว้แก่ชาวพรรณนานิคม ณ วัดป่าบ้านภู่ดังนี้
    “ หมู่ญาติโยมพากัน มามาก มา ดูพระเฒ่าป่วย
    ดูหน้าตาสิเป็นอย่างนี้หล่ะ ญาติโยมเอ๋ย ไม่ว่าพระ ไม่ว่าคน พระก็มาจากคน มีเนื้อหนังเหมือนกัน คนก็เจ็บป่วยได้ พระก็เจ็บป่วยได้ สุดท้ายก็คือตาย ได้มาเห็นอย่างนี้แล้วจงพากันนำไปพิจารณา เกิดมาแล้วแก่ เจ็บ ตาย แต่ก่อนจะตาย ทานยังไม่มีก็ให้มีเสีย
    ศีลยังไม่เคยรักษาก็ให้รักษาเสีย
    ภาวนา ยังไม่เคยเจริญก็เจริญให้พอเสีย จะได้ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา (ดำเนินตน) ด้วยความไม่ประมาทนั้นหล่ะ จึงจะสมกับที่ได้เกิดมาเป็นคน เท่านี้หล่ะ พูดมากก็เหนื่อย”
    จากความทั้งหมดนี้
    เป็นประเด็นจากข้อ ทรงจำ และเป็นข้อสรุปของพระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร และเป็นประเด็นที่เขียนจบลงเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๒ เวลา ๒๔.๒๖ น. อันนับว่าเป็นชีวประวัติขององค์หลวงปู่มั่น ฉบับที่ ๒
    ฉบับ ที่ ๑ แจกเมื่อ ๓๑ มกราคม ๒๔๙๓ โดยพระอริยคุณาธาร
    ฉบับที่ ๓ โดยพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน พ.ศ. ๒๕๑๔
    ฉบับที่ ๔ โดย พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ พ.ศ. ๒๕๔๒
    ทุกฉบับล้วนแต่น่าอ่านน่า ศึกษา น่าเก็บความรู้ทั้งหมดเอาไว้
    และทุกฉบับมีความสมบูรณ์ในตัว แต่มิใช่เป็นความสมบูรณ์ทั้งหมด
    แต่อย่างไรก็ตามหากนับว่าให้ประโยชน์ ยิ่งนักทีเดียว
    จากประเด็นการเรียบเรียงทั้งหมด
    จากการเรียบเรียง ของทั้ง ๔ พระอาจารย์ ทั้งสี่สำนวน
    แม้ว่าจะต่างกัน คือต่างกันเพราะการถือไว้ทรงจำมา
    กล่าวคือ ความสามารถในการจับใจความได้ต่างกัน
    แต่อรรถธรรมนั้นหาได้แตกต่างกัน ไม่ เพราะเนื่องมาแต่องค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตนั่นเอง
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    จะถามทำไมว่า บวชไปเพื่ออะไร
    อาตมาบวชของอาตมา ก็มิได้เป็นภาระแก่ใครๆ และมิได้เอาใครผู้ใดมาเป็นภาระหนักเพิ่มธุระใส่ตน ดีชั่วใครมัน ตามแต่เรื่องของเรื่อง
    แต่บวชมา ก็ยอมมอบกายใจ นี้เพื่อปฏิบัติในศาสนาของพุทธองค์นี้ทั้งหมด
    นี่มีสัจจะกับตนอย่างนี้ ตั้งใจเป็นที่สุด
    ใส่ใจเป็นที่สุด
    เพื่อการทำตนของตนให้ เป็นที่พอใจแก่ตน
    ใครผู้ใด, อะไร, สิ่งใดๆ หากเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นมลทินแก่ตนแล้ว จะไม่รับสิ่งนั้นๆ ผู้คนเช่นนั้น

     วัดมิใช่ที่เก็บสะสมคนไม่อยากเรียน ไม่อยากทำงาน คนเหลวไหล คนไม่เอาไหน หรือมิใช่ที่เก็บเศษคนเดนคน
    อีกอย่างศาสนาพุทธ เป็นศาสนาของผู้เจริญ เป็นศาสนาของคนดี
    ถ้าหากอยากให้พระพุทธศาสนา เจริญ ก็ควรให้ลูกที่อบรมดีแล้วบวชเข้ามา
    เอาคนที่ประพฤติตนดีแล้ว มาไว้ที่วัด
    อย่าลืมนะว่าศาสนาพุทธ เป็นศาสนาของคน ผู้จะมาเป็นพระสงฆ์สามเณรก็ต้องมาด้วยความเต็มใจ มาแล้วต้องปกครองตนเองได้ มิใช่จะมาพึ่งวัดทั้งหมด
    ขอให้เอาอย่างพระ เจ้าอโศกมหาราชนะ ในเรื่องที่จะให้ลูกเข้ามาบวช คือ เอาพระราชโอรส พระราชธิดา ที่อบรมดีแล้วมาบวชค้ำชูพระศาสนา
    เดี๋ยวนี้ชาวพุทธมีทัสสนคติเปลี่ยนเพี้ยนไปมาก
    คือเห็นกันว่า วัดเป็นที่ดัดนิสัยคน เป็นที่อบรมฝึกฝนคน ทำคนร้ายให้กลายเป็นคนดี เหมือนโรงพยาบาลทำคนป่วยให้หาย
    แล้วบอกว่า โปรดพ่อโปรดแม่
    คือเห็น จะเป็นว่าพ่อแม่ได้สบายใจขณะลูกบวชอยู่
    ญาติโยมก็อยากจะให้พระท่าน เห็นอกเห็นใจ บางครั้งดูเหมือนแต่จะเอาแต่ใจของตนด้วยซ้ำไป ไม่ค่อยมีใครมาเห็นใจพระเท่าใดนัก
    เพราะ ใครมีลูกไม่ดีก็เอามาทำให้ดี
    ใคร มีลูกสกปรกก็เอามาให้พระท่านช่วยชำระล้าง แต่ก็ใช่จะดีจะสะอาดได้ ในวันสองวัน จำต้องใช้เวลานานในการฝึกหัดฝึกฝนอบรม
    ยิ่งผู้เป็น กุลบุตรเข้ามาบวชอีกก็หนักหนามิใช่เล่น เพราะมักจะเที่ยวทำอะไรต่อมิอะไรเลอะเทอะตามสันดานเดิมอยู่
    บางคนความ ชั่วจับจนหนาแน่นเข้ามาบวชแล้วก็แก้มิได้ ลำบากนักชำระล้างขัดเกลาเท่าใดก็ไม่สะอาดขึ้นได้ ก็เลอะเทอะเหลวใหลอย่างเดิม

    สำหรับผู้อยู่ข้างในแล้วนี้อยากได้คน ดี อยากได้คนมีความรู้จักประครองตน อยากได้คนว่านอนสอนง่าย อยากได้คนหวังดีหวังเจริญในพระศาสนาจริงๆ มาบวช
    ไม่ใช่เอาแต่คนที่ไม่ เอาไหนมาบวช
    เพราะถ้าหากอยู่ไม่ได้ ลาสิกขาออกไปมิใช่จะร้ายกว่าเดิมหรอกหรือ จะมาใส่โทษว่าวัดพร่ำสอนอบรมไม่ดีก็คงจะมิได้
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สำหรับผู้บวช
    บวชเข้ามาแล้วต้องทำประโยชน์ให้แก่แผ่นดิน แก่ศาสนา
    อย่าขี้เกียจ กินแล้วนอน
    รับบำรุงของแผ่นดินโดยเปล่า
    ตั้งใจทำดีเฉพาะตัวให้ได้ ก่อน (แล้วจึงสอนให้ผู้อื่นดีตาม)
    พระสงฆ์ก็เป็นกำลังของแผ่นดินจากผู้ คนชาวศรัทธาได้เช่นกัน
    ข้อเขียนทั้ง ๓ หัวข้อที่อ่านผ่านมาแล้วนี้อัตตโนเรียบเรียงจากคำให้คติธรรมแก่ญาติโยมที่นำ ลูกมาถวายองค์หลวงปู่ เพื่อให้บวชเป็นพระในศาสนาเป็นข้อเขียนที่ประมวลประไมจากหลายวาระหลายโอกาส ก่อนที่จะรับคนเข้าบวช

    พระเจ้าอโศกปิยทัสสี - พ.ศ. ๓๑๑
    พระเจ้าอโศกวัฒนา พ.ศ. ๒๗๓ ลำดับได้พระนามว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
    เป็นผู้มีความเมตตากรุณาต่อสัตว์โลกทั้งมวล นับแต่เดรัจฉาน
    เป็นผู้มีความสัตย์ทางใจ ทางวาจา และการกระทำด้วยกาย
    มุ่ง สร้างธรรมะในจิตใจ ให้มีความเคารพนบน้อมต่อผู้อาวุโส บิดามารดาและพระเณรเถรชี
    มุ่งบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ทวยราษฎร์ตลอดทิวา ราตรี
    กระทำทุกอย่างเพื่อยกศีลธรรมจรรยาและพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์
    ซื่อสัตย์ เที่ยงตรง รู้แจ้งทำจริง
    ทรงอุปถัมภกยอยกพระพุทธศาสนาด้วย การออกทรง ผนวชระยะหนึ่งพรรษา ครั้นออกพรรษาแล้วเสด็จไปนมัสการ สังเวนียสถานทั้ง ๔ แห่งเมื่อได้กาลก็ลาสิกขา
    จากนั้นก็ สร้างพระพุทธเจดียสถาน (มากจนนับไม่ถ้วน : ๘๔,๐๐๐ องค์)
    สังคายนาพระธรรมวินัย (ตติยะ)
    แพร่ ศาสนาธรรมไปนานาประเทศราช (๘ สาย)

    เหตุที่ได้ยกพระราชประวัติของ พระเจ้าอโศกมหาราชมาอ้างไว้นี้ เนื่องด้วยมีผู้มาถามองค์หลวงปู่ว่า “หลวงปู่ครับพระเจ้าอโศกเมืองปาฏลีบุตร เดี๋ยวนี้ไปเกิดที่ไหน ? องค์หลวงปู่ตอบว่า “ท่านอาจารย์ตื้อ (อจลธมฺโม) บ้านข่าบอกว่า มาเกิดเป็นท่านอาจารย์ลี (ธมฺมธโร) วัดอโศการาม สมุทรปราการ * (รายละเอียดอยู่ในธรรมประวัติ ผู้มากมีบุญ)
    และในที่นี้จึงได้ค้นคว้าข้อมูลจาก สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย ปรากฏเรื่องของพระเจ้าอโศกมหาราชดังนี้
    พระเจ้าอโศกมหาราช
    (สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย)
    พระราชอำนาจ แผ่ไป
    ในสมัยนั้น พระเจ้าพินทุสารมีพระราชโอรส ๑๐๑ พระองค์ พระเจ้าอโศกทรงสั่งให้สำเร็จโทษพระราชโอรสเหล่นั้นเสียทั้งหมด เว้นไว้แต่เจ้าติสสกุมารผู้ร่วมพระมารดาเดียวกันกับพระองค์ เมื่อท้าวเธอสั่งให้สำเร็จโทษแล้ว ยังมิได้ทรงอภิเษกเลย ทรงครองราชย์อยู่ถึง ๔ ปี หลังจากล่วงได้ ๔ ปี ในปีที่ ๒๑๘ นับจากปีที่ปรินิพพานของพระตถาคต จึงทรงได้รับการอภิเษกเป็นเอกราชในชมพูทวีปทั้งสิ้น
    ก็ด้วยอานุภาพแห่งการทรงอภิเษกของท้าวเธอ ฤทธิ์ทั้งหลายเหล่านี้ได้มาแล้ว พระราชอำนาจแผ่ไปภายใต้มหาปฐพีประมาณ ๑ โยชน์ ในอากาศเบื้องบนก็เหมือนกัน
    พระราชทรงมีพระศรัทธาเกิดแล้วในพระศาสนา ได้ทรงแบ่งน้ำ ๘ หม้อ จากน้ำดื่ม ๑๖ หม้อ ที่พวกเทวดานำมาจากสระอโนดาตวันละ ๘ หาบ ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ทรงพระไตรปิฎกประมาณ ๖๐,๐๐๐ รูปวันละ ๒ หม้อ พระราชทานแก่พระนางอสันธิมิตตาผู้เป็นพระอัครมเหสีวันละ ๒ หม้อ พระราชทานแก่เหล่าสตรีนักฟ้อน ๑๖,๐๐๐ นางวันละ ๒ หม้อ ทรงใช้สอยด้วยพระองค์เองวันละ ๒ หม้อ
    กิจคือการชำระพระทนต์และการชำระฟันทุกๆ วันของพระราชา ของพระมเหสีของเหล่าสตรีนักฟ้อน ๑๖,๐๐๐ นาง และของภิกษุประมาณ ๖๐,๐๐๐ รูป ย่อมสำเร็จได้ด้วยไม้ชำระฟันชื่อนาคลดา อันสนิทอ่อนนุ่มมีรสดี ซึ่งมีอยู่ในป่าหิมพานต์ที่เทวดาทั้งหลายนั่นเองนำมาถวายทุกๆ วัน
    อนึ่ง เทวดาทั้งหลายนำมะขามป้อมที่เป็นพระโอสถ สมอที่เป็นพระโอสถ และมะม่วงสุกที่มีสีเหมือนทอง ซึ่งสมบูรณ์ด้วยกลิ่นและรส มาถวายแด่พระราชานั้นทุกๆ วัน เหมือนกัน และยังได้นำผ้านุ่งผ้าห่มที่มี ๕ สี ผ้าเช็ดพระหัตถ์ที่มีสีเหลือง และน้ำทิพย์จากสระฉัททันต์ มาถวายทุกวันเหมือนอย่างนั้น
    ส่วนพญานาคทั้งหลายก็นำเครื่องพระสุคนธ์ สำหรับสนานพระเศียร พระสุคนธ์สำหรับไล้พระวรกาย ผ้ามีสีคล้ายดอกมะลิที่มิได้ทอด้วยด้ายเพื่อเป็นพระภูษาห่ม และยาทาพระเนตรที่มีค่ามาก จากนาคพิภพมาถวายแด่พระราชาพระองค์นั้นทุกๆ วันเช่นกัน
    นกแขกเต้าทั้งหลายคาบข้าวสาลี ๙,๐๐๐ เกวียนที่เกิดเอง ในสระฉัททันต์นั่นแลมาถวายทุกๆ วัน หนูทั้งหลายก็เกล็ดข้าวเหล่านั้นให้หมดแกลบและรำ ข้าวสารที่หักแม้เมล็ดเดียวก็ไม่มี ข้าวนี้แหละถึงความเป็นพระกระยาหารเสวยของพระราชาในที่ทุกสถาน ตัวผึ้งทั้งหลายก็ทำน้ำผึ้ง พวกหมีก็ผ่าฟืนที่โรงวัว พวกนกการเวกก็บินมาร้องส่งเสียงอย่างไพเราะทำพลีกรรมถวายแด่พระราชา
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พญากาฬนาคเนรมิตพระพุทธรูป
    พระราชาผู้ทรงประกอบแล้วด้วยฤทธิ์เหล่านี้ วันหนึ่งทรงใช้สังขลิกพันธ์อันกระทำด้วยทอง ให้นำพญานาคนามว่ากาฬะซึ่งมีอายุ ๑ กัป ผู้ได้พบเห็นพระรูปของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ เชิญให้ขนดเหนือบัลลังก์อันมีค่ามาก ภายใต้เศวตฉัตร ทรงกระทำการบูชาด้วยดอกไม้ทั้งที่เกิดในน้ำ ทั้งที่เกิดบนบกหลายร้อยพรรณ และด้วยดอกไม้มีสีดังทองทรงแวดล้อมด้วยหญิงนักฟ้อน ๑๖,๐๐๐ นาง ผู้ประดับแล้วด้วยเครื่องอลังการทั้งปวงตรัสว่า “ขอเชิญท่านกระทำพระรูปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงยังจักรคือพระสัทธรรมอันประเสริฐให้หมุนไป ทรงพระญาณอันหาที่สุดมิได้ ให้ถึงคลองแห่งดวงตาเหล่านี้ของข้าพเจ้าก่อนเถิด”
    พระราชาทอดพระเนตรพระ พุทธรูป อันพญานาคนามว่ากาฬะนั้นเนรมิตแล้วประหนึ่งว่าพื้นน้ำอันประดับแล้วด้วยดอก อุบลและปุณฑริกซึ่งแย้มบาน ประหนึ่งว่าผืนฟ้าอันพร่างพรายไปด้วยความระยิบระยับ ด้วยการพวยพุ่งแห่งข่ายรัศมีของกลุ่มดาว เพราะความที่พระพุทธรูปนั้นมีพระสิริด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ประดับด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ ซึ่งบังเกิดแล้วด้วยอำนาจแห่งบุญอันพรรณรายทั่วพระสรีระทั้งสิ้น งดงามด้วยจอมพระเศียรอันเฉิดฉายด้วยพระเกตุมาลาซึ่งปราศจากมลทินสีต่างๆ ประหนึ่งยอดแห่งภูเขาทองอันแวดวงด้วยพระสายรุ้งและสายฟ้าอันกลมกลืนกับแสง เงิน ประหนึ่งจุดดึงดูดดวงตาแห่งเหล่าพรหม ทวยเทพ มวลมนุษย์ ฝูงนาคและหมู่ยักษ์ เพราะพระพุทธรูปนั้นมีความแพรวพราวด้วยความฉวัดเฉวียนแห่งพระรัศมีอันแผ่ออก ข้างละ ๑ วา วงล้อมรัศมีอันวิจิตรด้วยสีมีสีเขียวสีเหลืองสีแดงเป็นต้น พระองค์ได้ทรงกระทำการบูชาอันได้นามว่า การบูชาด้วยดวงตาตลอด ๗ วัน
    ไม่ทรงเลื่อมใสนักบวชนอกศาสนา
    พระราชาทรงรับการอภิเษกแล้ว ได้ทรงนับถือลัทธิภายนอกตลอดเวลา ๓ ปีทีเดียว ในปีที่ ๔ จึงได้ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
    ได้ยินว่า พระเจ้าพินทุสารพระชนกของพระราชาพระองค์นั้น ได้ทรงนับถือพวกพราหมณ์ ท้าวเธอได้ทรงตั้งนิตยภัตไว้แก่พวกพราหมณ์ และปริพาชกผู้นุ่งห่มขาวเป็นต้น ผู้ถือลัทธิปาสัณฑะอันเป็นของประจำชาติพราหมณ์ซึ่งมีประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ คน แม้พระเจ้าอโศกก็ทรงถวายทาน ที่พระชนกให้เป็นไปแล้วในภายในพระนครของพระองค์เหมือนอย่างนั้น
    ในวัน หนึ่ง พระราชาประทับยืนอยู่ที่สีหบัญชร ได้ทอดพระเนตรเห็นพวกพราหมณ์เหล่านั้น ผู้กำลังบริโภคอาหารด้วยมารยาทที่เหินห่างจากความสงบเรียบร้อย ไม่มีความสำรวมอินทรีย์ ไม่ได้รับฝึกหัดกิริยามารยาท จึงทรงดำริว่า “การที่เราใคร่ครวญเสียก่อน แล้วให้ทานเช่นนี้ในเขตบุญที่เหมาะสมจึงควร” ครั้นทรงดำริอย่างนี้แล้ว จึงตรัสเรียกพวกอำมาตย์ว่า “ไปเถิดท่าน พวกท่านจงนำสมณะและพราหมณ์ที่พวกท่านนับถือ ผู้ที่ชาวโลกยกย่องกันว่าดี มายังภายในพระราชวัง เราจักถวายทาน”
    พวกอำมาตย์ทูลรับพระราชโองการว่า “ดีละ พระเจ้าข้า” ได้นำนักบวชนอกศาสนามีคนนุ่มห่มผ้าขาว ปริพาชก อาชีวก และนิครน์เป็นต้นมาแล้วทูลว่า “ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ท่านเหล่านี้เป็นพระอรหันต์ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”
    เวลานั้น พระราชาทรงรับสั่งให้ปูลาดอาสนะทั้งสูงและต่ำไว้ภายในพระราชวัง แล้วรับสั่งว่า “เชิญท่านทั้งหลายเข้ามาเถิด” จึงทรงเชิญเหล่านักบวชผู้มาถึงแล้วว่า “เชิญนั่งบนอาสนะที่สมควรแก่ตนเถิด” บรรดานักบวชเหล่านั้น บางพวกนั่งบนตั่งอันเลิศ บางพวกก็นั่งบนตั่งแผ่นกระดาน
    พระราชาทอดพระ เนตรเห็นกิริยาที่นั่งนั้นแล้ว ก็ทรงทราบว่า “นักบวชเหล่านั้นไม่มีธรรมที่เป็นสาระในภายในเลย ได้ถวายของควรเคี้ยวควรบริโภคที่ควรแก่นักบวชเหล่านั้น แล้วก็ทรงส่งกลังไป”
    เมื่อกาลเวลาล่วงไปอยู่อย่างนั้น วันหนึ่ง พระเจ้าอโศกประทับยืนอยู่ที่สีหบัญชรได้ทอดพระเนตรเห็นนิโครธสามเณร ผู้ฝึกฝนคุ้มครองตน มีอินทรีย์สงบ สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ กำลังเดินผ่านไปทางพระลานหลวง
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นิโครธสามเณร
    ถามว่า นิโครธนี้คือใคร
    ตอบว่า นิโครธนี้เป็นพระโอรสของสุมนราช กุมาร ผู้เป็นพระโอรสองค์แรกของพระเจ้าพินทุสาร ในเรื่องนั้นมีอนุปุพพีกถาดังต่อไปนี้
    ได้ยินว่า ในเวลาที่พระเจ้าพินทุสารทรงทุพพลภาพนั่นแล อโศกกุมารได้สละราชสมบัติในกรุงอุชเชนีที่ตนได้แล้ว เสด็จกลับมายึดเอาพระนครทั้งหมดไว้ในเงื้อมมือของตนแล้วได้จับสุมนราชกุมาร ไว้
    ในวันนั้นเอง พระเทวีของสุมนราชกุมารชื่อสุมนา ได้ทรงพระครรภ์แก่เต็มที่แล้วพระนางสุมนาเทวีนั้นปลอมเพศหนี เดินมุ่งไปสู่บ้านคนจัณฑาลแห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล ได้ทรงสดับเสียงของเทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นนิโครธแห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลจากเรือนของหัวหน้าหมู่บ้านคนจัณฑาล ซึ่งกล่าวเชิญอยู่ว่า “ข้าแต่พระแม่เจ้าสุมนา ขอจงเสด็จเข้ามาทางนี้เถิด” ก็ได้เสด็จเข้าไปใกล้เทวดานั้น
    เทวดาได้นิรมิตศาลาหลังหนึ่งด้วยอานุภาพของตน แล้วได้ถวายว่า “ขอพระแม่เจ้าโปรดทรงประทับอยู่ที่ศาลาหลังนี้เถิด” พระเทวีนั้นได้เสด็จเข้าไปสู่ศาลาหลังนี้แล้ว ในวันที่พระนางเสด็จเข้าไปถึงนั่นเองก็ประสูติพระโอรส เพราะเหตุที่พระโอรสนั้น อันเทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นนิโครธรักษาไว้ พระนางเทวีนั้นจึงทรงขนานพระนามว่านิโครธ
    หัวหน้าหมู่บ้านคนจัณฑาลได้ สำคัญพระเทวีนั้น เป็นดุจธิดาแห่งนายของตน ตั้งแต่วันที่ตนได้พบเห็น จึงได้ตั้งข้อปฏิบัติประจำไว้ พระราชธิดาได้ประทับอยู่ในที่นั้นสิ้น ๗ ปี ฝ่ายนิโครธกุมารก็มีอายุได้ ๗ ปีแล้ว
    ในครั้งนั้น พระเถระรูปหนึ่งชื่อมหาวรุณเถระ เป็นพระอรหันต์ ได้เห็นความถึงพร้อมแห่งเหตุของทารก ได้พิจารณาว่า “บัดนี้ ทารกมีอายุได้ ๗ ปี เป็นเวลาสมควรที่จะให้เขาบวชได้” จึงทูลพระราชธิดาให้ทรงทราบ แล้วให้นิโครธกุมารนั้นบวชในเวลาปลงผมเสร็จนั่นเอง พระกุมารได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
    วันหนึ่งนิโครธสามเณรนั้น ได้ชำระร่างกายแต่เช้าตรู่ ทำอาจาริยวัตรและอุปัชฌายวัตรเสร็จแล้ว ถือเอาบาตรและจีวรคิดว่า “เราจะไปยังประตูเรือนของโยมมารดา” แล้วก็ออกไป ก็สถานที่อยู่แห่งโยมมารดาของนิโครธสามเณรนั้น ต้องเดินเข้าไปยังพระนครทางประตูด้านทิศใต้ ผ่านท่ามกลางพระนครไปออกทางประตูด้านทิศตะวันออก
    ในสมัยนั้นพระเจ้าอโศก ธรรมราช ทรงเสด็จจงกรมอยู่ข้างสีหบัญชร ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ขณะนั้นเอง นิโครธสามเณร ผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ ทอดสายดูประมาณชั่วแอก เดินไปถึงพระลานหลวง เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวไว้ว่า “วันหนึ่ง พระเจ้าอโศกประทับยืนอยู่ที่สีหบัญชร ได้ทอดพระเนตรเห็นนิโครธสามเณร ผู้ฝึกฝนคุ้มครองตน มีอินทรีย์สงบ สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ กำลังเดินผ่านไปทางพระลานหลวง”
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระเจ้าอโศกทรงเลื่อมใสนิโครธสามเณร
    ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว พระราชาได้ทรงพระรำพึงดังนี้ว่า “ชนแม้ทั้งหมดนี้ มีจิตฟุ้งซ่าน มีส่วนเปรียบเหมือนเนื้อที่วิ่งพล่านไป ส่วนทารกคนนี้ มีจิต ไม่ฟุ้งซ่าน การมองดู การเหลียวดู การคู้แขนและกายเหยียดแขนของเขาช่างงามยิ่งนัก ภายในของทารกคนนี้ น่าจักมีโลกุตรธรรมแน่นอน” พร้อมกับการทอดพระเนตรเห็นของพระราชานั่นเอง พระหฤทัยก็ทรงเลื่อมใสในสามเณร ความรักก็ได้เกิดขึ้น
    ถามว่า เพราะเหตุ ไร
    แก้ว่า เพราะว่า แม้ในกาลก่อน ในเวลาทำบุญ นิโครธสามเณรนี้ได้เป็นพ่อค้าผู้เป็นพี่ชายใหญ่ของพระราชา
    สมจริงดังคำ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
    ความรักนั้นย่อมเกิดเพราะเหตุ ๒ อย่าง คือเพราะการอยู่ร่วมกัน ในภพก่อน ๑ เพราะการเกื้อกูลกันในปัจจุบัน ๑ เหมือนดอกอุบลและปทุมเป็นต้น เมื่อเกิดในน้ำ ย่อมเกิดได้เพราะอาศัยเหตุ ๒ ประการ คือน้ำและโคลนตม ฉะนั้น
    ลำดับนั้น พระราชาทรงเกิดความรัก ความนับถือมากในสามเณรนั้น จึงทรงสั่งพวกอำมาตย์ไปว่า “พวกเธอจงนิมนต์สามเณรนั่นมา” ท้าวเธอทรงรำพึงว่า “อำมาตย์เหล่านั้นมัวชักช้าอยู่ จึงทรงสั่งอำมาตย์ไปอีก ๒ – ๓ นายด้วยสั่งว่า “จงให้สามเณรนั้นรีบมาเถิด” สามเณรได้เดินไปตามปกติของตนนั่นเอง
    พระ ราชาตรัสว่า “ท่านทราบอาสนะที่ควรแล้ว นิมนต์นั่งเถิด”
    สามเณรนั้น เหลียวดูข้างโน้นข้างนี้แล้วคิดว่า “บัดนี้ไม่มีภิกษุเหล่าอื่น” จึงเดินเข้าไปใกล้บังลังก์ซึ่งยกเศวตฉัตรกั้นไว้ แล้วแสดงอาการแด่พระราชาเพื่อต้องการให้ทรงรับบาตร
    พระราชาทรงทอดพระ เนตรเห็นสามเณรนั้น กำลังเดินเข้าไปใกล้บัลลังก์นั่นแล จึงทรงดำริว่า “วันนี้เอง สามเณรรูปนี้จักเป็นเจ้าของราชมณเฑียรนี้ในบัดนี้”
    สามเณร ถวายบาตรที่พระหัตถ์พระราชาแล้วขึ้นนั่งบนบัลลังก์ พระราชาทรงน้อมถวายอาหารทุกชนิด คือข้าวต้ม ของควรเคี้ยวและข้าวสวย ที่เขาเตรียมไว้เพื่อพระองค์แก่สามเณรนั้น สามเณรรับอาหารพอยังอัตภาพของตนให้เป็นไปเท่านั้น
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระเจ้าอโศกมหาราชตรัสถามข้อธรรม
    ในเวลาเสร็จภัตกิจ พระราชาตรัสถามว่า “พ่อเณรรู้พระโอวาทที่พระศาสดาทรงประทานแก่พวกพ่อเณรหรือ”
    สามเณร. “มหาบพิตร อาตมภาพย่อมรู้เทศนาบางอย่าง”
    พระราชา. “พ่อเณร โปรดแสดงโอวาทที่พ่อเณรรู้นั่นแก่โยมบ้าง”
    สามเณณ. “ได้มหาบพิตร แล้วได้กล่าวอัปปมาทวรรคในธรรมบท ตามสมควรแด่พระราชา เพื่อประโยชน์แก่การอนุโมทนา
    พระราชาพอได้ทรงสดับว่า
    ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย
    ดังนี้เป็นต้นก็ทรงสั่ง ว่า “พ่อเณร โปรดยังธรรมเทศนาที่ได้รู้แล้วให้จบ”

    ถวายนิตยภัต
    ในที่สุดแห่งการอนุโมทนา พระราชาทรงรับสั่งว่า “พ่อเณร โยมจะถวายภัตประจำแก่พ่อเณร ๘ ที่”
    สามเณร. “มหาบพิตร อาตมภาพจะถวายภัตประจำเหล่านั้น แก่พระอุปัชฌายะขออาตมภาพ”
    พระ ราชา. “พ่อเณร ผู้ที่ชื่อว่าอุปัชฌายะนี้ได้แก่คนเช่นไร”
    สามเณร. “มหาบพิตร ผู้ที่เห็นโทษน้อยใหญ่แล้วตักเตือนและให้ระลึก ชื่อว่าพระอุปัชฌายะ”
    พระ ราชา. “พ่อเณร โยมจะถวายภัต ๘ ที่แม้อื่นอีกแก่พ่อเณร”
    สามเณร. “มหาบพิตร อาตมภาพจะถวายภัตเหล่านั้น แก่พระอาจารย์ของอาตมภาพ”
    พระราชา. “พ่อ เณร ผู้ที่ชื่อว่าพระอาจารย์นี้ได้แก่คนเช่นไร”
    สามเณร. “มหาบพิตร ผู้ที่ให้อันเตวาสิกตั้งอยู่ในธรรมที่ควรศึกษาในพระศาสนานี้ ชื่อว่าพระอาจารย์”
    พระราชา. “ดีละพ่อเณร โยมจะถวายภัต ๘ ที่แม้อื่นอีกแก่พ่อเณร”
    สามเณร. “มหาบพิตร อาตมภาพจะถวายภัตเหล่านั้นแก่พระภิกษุสงฆ์”
    พระราชา. “พ่อเณร ผู้ที่ชื่อว่าภิกษุสงฆ์นี้ได้แก่คนเช่นไร”
    สามเณร. “มหาบพิตร บรรพชาและอุปสมบทของอาจารย์และอุปัชฌายะของอาตมภาพ และบรรพชาของอาตมภาพอาศัยหมู่ภิกษุใด หมู่ภิกษุนั้นชื่อว่าภิกษุสงฆ์”
    พระ ราชาทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง แล้วทรงรับสั่งว่า “พ่อเณร โยมจะถวายภัต ๘ ที่แม้อื่นอีกแก่พ่อเณร” สามเณรทูลรับแล้ว ในวันรุ่งขึ้นได้พาภิกษุ ๓๒ รูปเข้าไปยังภายในพระราชวังฉันภัตตาหาร
    พระ ราชาทรงปวารณาว่า “ภิกษุ ๓๒ รูปแม้อื่นอีก พร้อมทั้งพวกท่านโปรดรับภิกษาในวันพรุ่งนี้เถิด” แล้วทรงให้เพิ่มภิกษุมากขึ้นทุกวัน ๆ โดยวิธีการนั้นนั่นแล ได้ทรงตัดภัตของพวกนักบวชนอกศาสนา มีพราหมณ์และปริพาชกเป็นต้นตั้ง ๖๐๐,๐๐๐ คนเสียแล้ว ได้ทรงตั้งนิตยภัตไว้สำหรับภิกษุ ๖๐๐,๐๐๐ รูปในภายในพระราชนิเวศน์ เพราะความเลื่อมใสที่เป็นไปในพระนิโครธเถระนั่นเอง
    ฝ่ายพระนิโครธเถระก็ ให้พระราชาพร้อมทั้งบริษัท ดำรงอยู่ในไตรสรณคมน์และเบญจศีล ทำให้เป็นผู้มีความเสื่อมใสไม่ไหวหวั่นด้วยความเสื่อมใสอย่างปุถุชน แล้วให้ดำรงมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนา


    ...........................................................................


    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือมหาปุญโญวาท 6 พิมพ์ถวายวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ( วัดหลวงปู่จาม ) บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร โดยสำนักพิมพ์มติชน
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td>[​IMG]</td><td colspan="2">
    </td></tr> </tbody></table> [​IMG]มหาปุญโญวาท 6 : ภาค ๑ มหาปุญโญวาท 6
    สร้างวัดและเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ แห่ง
    พระราชาทรงรับสั่งให้นายช่างสร้างมหาวิหารชื่อว่าอโศการาม แล้วก็ทรงตั้งภัตไว้เพื่อถวายภิกษุ ๖๐๐,๐๐๐ รูปอีก และทรงรับสั่งให้สร้างพระวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลัง ซึ่งประดับด้วยพระเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ องค์ ไว้ในพระนคร ๘๔,๐๐๐ แห่งทั่วชมพูทวีปทั้งสิ้น โดยความชอบธรรมเท่านั้น หาใช่โดยไม่ชอบธรรมไม่
    ได้ยินว่า ในวันหนึ่ง พระราชาทรงถวายมหาทานที่อโศการาม ประทับนั่งอยู่ในท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์ซึ่งนับได้ประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ รูป ทรงปวารณาพระสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ แล้วตรัสถามปัญหานี้ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชื่อว่าพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วมีประมาณไร”
    พระสงฆ์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร ชื่อว่าพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วนั้น ว่าโดยองค์มีองค์ ๙ ว่าโดยขันธ์มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์”
    พระราชาทรงเลื่อมใสในพระธรรมแล้ว ทรงรับสั่งว่า “เราจักบูชาพระธรรมขันธ์แต่ละขันธ์ด้วยวิหารแต่ละหลัง” ในวันเดียวเท่านั้น ได้ทรงสละพระราชทรัพย์ถึง ๙๖ โกฏิ แล้วได้ทรงสั่งพวกอำมาตย์ว่า “ไปเถิดท่าน พวกท่านเมื่อให้สร้างวิหารในนครแต่ละนคร จงให้สร้างพระวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลัง ไว้ในพระนคร ๘๔,๐๐๐ นครเถิด” ส่วนพระองค์เองได้ทรงเริ่มการงาน เพื่อประโยชน์แก่อโศกมหาวิหารในอโศการาม
    พระสงฆ์ได้ให้พระเถระชื่อว่า อินทคุตตเถระ ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สิ้นอาสวะแล้วเป็นผู้ดูแลการก่อสร้าง พระเถระได้ยังการงานที่ยังไม่สำเร็จนั้นๆ ให้แล้วเสร็จด้วยอานุภาพของตน พระเถระได้ให้การสร้างพระวิหารสำเร็จลง ๓ ปีแม้ด้วยอานุภาพอย่างนั้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...