มหาปุญโญวาท

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 20 มีนาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td>[​IMG]</td><td colspan="2">
    </td></tr> </tbody></table> [​IMG]มหาปุญโญวาท 6 : ภาค ๑ มหาปุญโญวาท 9
     ตีไม่หลบ ทบไม่หัก 
    “ผู้ข้าฯ แต่เมื่อหน้อยยังหนุ่มบวชใหม่ ไปมากับท่านอาจารย์ชอบ (ฐานสโม) เพิ่นทดสอบน้ำใจการอยู่ด้วยกันหลายอย่าง จนที่สุดเพิ่นยอมรับจนพูดปรารภขึ้นว่า “ตุ๊ตนนี้ ตีไม่หลบ ทบบ่หัก”
    แต่ นั้นมาอัธยาศัยน้ำใจเข้ากันได้ตลอดมา ไม่เคยกระทบกระเทือนแก่จิตแก่ใจกัน
    นั้น หล่ะ การฝึกฝนอบรมตัวเจ้าของนี้
    มิใช่ของง่ายๆ แต่อย่างนั้นลำพังใจตัวก็ยังดื้ออยู่
    ผู้ที่ยังไม่ผ่านการฝึกฝนอบรม หรือไม่รับคำของใคร ไม่คำนึงถึงรายได้ของตนแล้ว ยากที่จะได้ดี
    ยากที่จะ ได้ความดี
    จึงว่าไม่มีใครที่จะเป็นดีมีสุขก่อนการฝึกฝนอบรม
    อย่านิ่ง นอนใจในความดื้อของตนเอง
    กิเลสตัวพาให้ใจดื้อ ใจกำเริบ ยังมีอยู่ ยังละไม่ได้อยู่ตราบใด ตัวของตัวอย่าหมายว่าดีไปได้โดยไม่ต้องอาศัยถ้อยคำของผู้ใดอีก”
    จากถ้อยคำสอนขององค์หลวงปู่ในวันนี้
    ทำให้อัตตโน อดใจมิได้ที่จะคิดย้อนไปในกิจของนักบวชหมู่พระเณรที่ยังคั่งค้างอีก ที่ยังต้องทำอีก
    “เหลาะๆ แหละๆ อยู่ไปกินไป เล่นเที่ยวไปเรื่อย หาเวลาจะอยู่วัดมิได้ เป็นเณรอยู่บ้านสมภารอยู่เมือง เป็นไปไม่เข้าเรื่อง กิจของตัวไม่ดูไม่พิจารณา
    แทนที่คุณธรรมในตนจะดี ขึ้น จะมีขึ้น แต่ก็เหลวไหล
    มันไม่ได้อะไรหน๋า สู้เจ้าทำอย่างนี้ มันไม่เข้าเรื่อง”
    นี้เองหล่ะ... ประโยชน์สุขของการได้อยู่กับพระอุปัชฌาย์พ่อแม่ครูบา อาจารย์
    ได้อบรมได้อยู่ด้วยกับครูของตน
    - อย่างใดจะมีน้อย
    - อย่าง ใดจะพอดีพออยู่
    - อย่างใดจะไม่คลุกคลี
    - อย่างใดจะไม่เกียจคร้าน
    - อย่าง ใดจะมีสติ
    - อย่างใดจะมั่นคง
    - อย่างใดจะฉลาดรอบรู้
    - อย่างใดจะ ไม่เนิ่นช้า
    - อย่างใดจะยินดีในธรรม
    ในสิ่งเหล่านี้ล้วนได้รับได้ถ่ายจากครูบาอาจารย์ของตน แม้จะไม่มากไม่น้อยก็หากแต่ว่าได้อยู่ด้วย ได้ศึกษา ได้รับคำ ได้ทำการอบรมพร่ำบอกมาแล้วเสมอกัน
    หากแต่ทีนี้ยกให้เป็นเรื่องของบุคคล โดยเฉืบไป”
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    องค์หลวงปู่ได้พูดถึงผญาธรรมบทหนึ่งว่า
    “ อัศจรรย์ใจโอ้
    ข้าวสารในโอโงคอตอดไก่
    ไม้ไผ่ในกอโงคอตอดช้าง
    ปลา ย่างอยู่หิ้งไล่เต้นคุบแมว
    คึดได้แล้วแมวเลยแถโห๋เข้าบวช
    หนูซิงตาสวด มาเป็นแม่ออกค้ำ
    อีหน้าซ้ำง้ำถ้าคุ้ยแต่ตอน
    บักหน้าสอนหลอนพอแค่ได้ เห็นลายถ้วย
    ผู้นั่งจ้วยถ้วย คือ เจ้าผู้ได๋”
    ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

     อดเรียนเพียรทำ 
    “ ตั้งใจให้ดีเสียดีกว่าที่จะมาถามอาตมาว่าจะได้ธรรมจะได้สำเร็จในมรรคในผลอัน ใด อย่าใช้ความด่วนอยากเกินไป มันไม่ดี
    หากใช้ความอยากนำหน้าแล้ว นี้ มันไม่ถูก
    เพราะว่า “ทำ” ไม่สม “อยาก”
    “อยาก” ไม่สม “ทำ”
    อด ทน พากเพียร ทำไปเถอะ ผลสำเร็จจะปรากฏขึ้นมาได้ จะมากจะน้อยก็เป็นเรื่องของเหตุแห่งการปฏิบัติ
    การเจริญภาวนา ใครบอกว่าจะให้เห็นนั่นนี่ เป็นนั่นนี่ นิมิตนั่นนี้ แต่ท่านให้รู้ให้เห็นใจของตนจิตของตน
    รู้ใจนี้หล่ะสำคัญที่สุด
    ขอให้ ตั้งใจให้ดีเทอะ ต้องตั้งใจจริงๆ
    อย่าเอาความเหลาะแหละโลเลมาทำ
    ความ ไม่เอาไหน อันนั้น มันทำลายตน
    มันทำร้ายหมู่
    ความอยากที่เกินไป นั้นมันปิดกั้นหนทาง”

    (ข้อสังเกต : ที่อัตตโนบันทึกไว้ในวันนี้ อย่างนี้ เพราะอาศัยข้อคำถามของโยมผู้หนึ่ง ที่เธอเขียนถามว่า “ทำอย่างไรจึงจะสำเร็จมรรคผลได้?)
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
     สำรวมซ่อนเร้น 
    วันหนึ่งมีโยมชาววัดได้นำเอาสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีเรื่องอันเกี่ยวด้วยองค์ หลวงปู่มาถวายให้องค์ท่านได้ดู เพื่อจะได้ทราบว่าท่าทีว่าองค์ท่านจะว่าอย่างไร
    “เขาเห็นเราดี เขาก็ชอบ ใจชื่นชมต่อ
    จนที่สุดยกย่องสรรเสริญไปต่างๆ นานา
    แต่ในผู้ไม่ดีความ ดีของเรา เขาก็เห็นว่าเราไม่มีความดีมีแต่ความชั่ว เขาก็ให้นินทาว่าร้าย ไม่ชอบใจ
    แต่นี่ดีของเรา หรือชั่วของเรา ตัวเราเป็นผู้รู้จัก
    ความดีของเราใช้ความพากเพียรจึงได้ว่า เสาะหาแต่สิ่งที่จะพาให้เป็นความดี พอเมื่อเป็นดีแล้วนั้นอย่างไร จึงจะรักษาความดีเอาไว้ได้ พวกเราปุถุชนต้องรักษาความดีต้องทำความดี เพราะประโยชน์ของการได้เกิดในภูมิ มนุษย์มีอยู่ตรงนี้
    เพราะความจริงในโลกเป็นอยู่เช่นนี้
    คิดอ่านให้ดีเน้อ
    อย่าเมากับเขานิยม อย่าหลงกับที่เขาชอบพอ อย่าชังต่อตอบในการที่มีผู้อื่นมาชังมาหน่ายต่อตัวของเฮา
    นักบวชพระเณร... ความสำรวมต้องมาก่อน
    หากความสำรวมแล้วการที่จะ เป็นนักบวชที่ดีก็เป็นได้ยาก..โทะ.. ผู้ข้าฯ คนเฒ่าก็อยู่อย่างนี้หล่ะ
    เอ้า... ให้ โลกเขาว่าไปเถ๊อะ...”


    .....................................................................................................

    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือมหาปุญโญวาท 6 พิมพ์ถวายวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ( วัดหลวงปู่จาม ) บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร โดยสำนักพิมพ์มติชน
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td>[​IMG]</td><td colspan="2">
    </td></tr> </tbody></table> [​IMG]มหาปุญโญวาท 6 : ภาค ๑ มหาปุญโญวาท 10
     อย่าด่วนเชื่อถือเพราะเห็นว่าท่านผู้นี้เป็นครูบาอาจารย์ของเรา (หรือบวชมาก่อนเรา)
    มา สมโณ ครุกาจาริโย

    แต่ให้ประสบ (ทั้งทุกข์แลโชค) ด้วยตนเองเสียก่อน ว่าอะไรคืออะไร อะไร? ใครผู้ใด? ให้คุณหรือให้โทษทุกข์บาปกรรมเยี่ยงใด
    เมื่อประสบปัญหาด้วยตนเองแล้ว แก้ปัญหานั้นได้ แก้ทุกข์นั้นได้ จะไม่เชื่อถือในคำของใครๆ อีกก็ได้ หากแก้ไม่ได้ก็ตายไปจากข้อวินัยธรรมของนักบวช
    แต่การไม่เชื่อในถ้อยคำ นั้นๆ ต้องเป็นไปด้วยธรรมะ
    มิใช่เป็นไปด้วยทิฐิมานะอัตตา
    ในเรื่องนี้ให้หมั่นพิจารณาตนเอง ตรวจสอบตนเองให้ได้เสียก่อน
    ๑. ยัง ชอบใจในสิ่งที่ชวนติดใจอยู่หรือ?
    ๒. ความหงุดหงิดงุ่นง่านขัดเคืองใจมี อยู่หรือ?
    ๓. ยังลุ่มหลงในสิ่งชวนลุ่มหลงอยู่หรือ?
    ๔. ยังมัวเมาใน สิ่งที่ชวนมัวเมาอยู่หรือ?
    หากยังมีอารมณ์ร้ายเหล่านี้อยู่ก็แสดงว่า ตนของตน ยังหวั่นไหวครั่นคราม สะดุ้ง หวาดหวั่น เป็นทุกข์โทมนัส บีบคั้น
    เมื่อ ตัวคุ้มตัวเองยังมิได้โดยรอบเช่นนั้นแล้ว
    ก็ควรละอัตตาตัวตนลงบ้าง
    อปฺป มาโท ไม่ประมาท
    สติเจตโส มีสติด้วยตนเอง
    อารกฺโข รักษาจิตของตน
    ปล่อยความยึดถือเสียบ้างก็น่าจะดี
    เพราะหากปล่อยได้แล้ว ย่อมมีความสุข มีความปลอดโปร่ง เบาใจ
    จิตที่แบกอุ้มกิเลสตัวตนเอาไว้ ย่อมหนักและเหนื่อยหน่าย อ่อนล้า แม้แกจะพร่ำบ่นว่า เหนื่อยเหลือเกิน ไม่ไหวแล้ว ไม่มีใครช่วยเลย แต่ก็ยังพอใจต่อการแบกอุ้มนั้นต่อไป
    นี่ เป็นเพราะถือเอาแต่ตนนำหน้า
    ซึ่งตรงกันข้ามกับชีวิตของท่านผู้ไม่มีการ ยึดการถือ
    ชีวิตของท่านเป็นชีวิตที่ปลอดโปร่ง มีคุณค่า เป็นแบบอย่าง
    เหตุ เพราะท่านปล่อยสิ่งทั้งหลายให้เป็นไปตามเหตุปัจจัย ยถา ปจฺจยํ ปวตฺตมานิ แม้เกี่ยวข้องอยู่ท่านก็เกี่ยวข้องด้วยปัญญาอันชอบ รู้เท่าทัน
    มิ ใช่เข้าไปเกี่ยวข้องอย่างมืดบอด ไม่ดูหน้าไม่ดูหลัง จนเป็นโทษทุกข์นานา
    ข้อวิจารณ์ที่ยกมานี้ อัตตโนได้เขียนเพื่อขยายความจากคำปรารภขึ้นมาขององค์หลวงปู่ หลังจากที่องค์หลวงปู่ได้รับฟังจากโยมหลานสาว อย่างทุลักทุเลจึงเข้าใจได้ว่า พระหนุ่มลูกศิษย์รูปหนึ่งไปรักสาว มีความรักขึ้นในใจ (สาวแม่ชี)
    “เอาเถอะ... ชอบใจอย่างใดก็เอาเถอะ
    บวช มาแล้วให้เสาะหามรรคผลหนทาง แต่ยังไม่ทันได้ จะไปเอาสาวก็เอา ผู้ข้าฯมันเฒ่าแก่แล้วนี้ ไม่รักไม่หลงใครดอก เขามันหนุ่มมันแหน้น กามยังหนักยังแรง ตามเรื่องเถ๊อะ”
    การปล่อยวางขององค์หลวงปู่เยี่ยงนี้ มิใช่ว่าองค์ท่านไม่รักษา ไม่ถนอมลูกศิษย์พระเณรภายในอาณัติ หากแต่รักษาอย่างเต็มที่สุดกำลัง และรักษามาโดยตลอดเป็นแต่ศิษย์ดื้อไม่ข่มกายข่มใจตาม ไม่ทำตาม ไม่ถือเอาคำ ไม่ถือเอาอุบายแห่งการปฏิบัตินั่นเองเป็นสำคัญ
    ทุกรูปทุกองค์มีกี่รูปมีกี่องค์ ก็สอนเท่ากันบอกเท่ากัน
    เป็นศิษย์ แต่ผู้เป็นศิษย์เท่านั้นที่ไม่เท่ากัน
    “เรื่องรักเรื่องชัง ไม่ใช่อะไร หรอก
    มันเป็นเรื่องของคนไม่รักษาจิตใจของตนนั่นหล่ะ
    ผู้ข้าฯ มันเฒ่าใกล้ตายแล้วนี้ ไม่มีใครถือเอาคำหรอก”
    องค์หลวงปู่บ่นว่าปรารภ เท่านี้สำทับท้ายแล้วก็ล้มตัวลงนอน และบอกให้ผู้บันทึกเอาผ้าห่มซ้อนทับอีก ๒ ผืน เพราะวันนี้อากาศหนาวเย็น


    ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
    ๐๘.๕๐ น. : หลวงปู่ถามโยมสองพ่อ-ลูกสาว มากราบตอนเช้า
    ว่าเป็นใคร ตัวพ่อขาขาดข้างหนึ่งเขาเปิดให้หลวงปู่ดู หลวงปู่ถามด้วยอาการสลดสังเวชจากสีหน้า
    ถามว่า เป็นใคร มาจากไหน วงศ์ตระกูลใด?
    ๑๒.๔๐ น. : พระภิกษุ ๒ รูป พร้อมโยม ๓ คน มาจากบ้านแก้งคำป่าหลาย จังหวัดมุกดาหาร มากราบนมัสการหลวงปู่ หลวงปู่ให้ขึ้นไปไหว้พระธาตุฯ
    ๑๒.๔๕ น. : ขณะหลวงปู่นั่งอยู่บนที่นอนมีอาการน้ำมูกไหลเล็กน้อย เห็นองค์ท่านเอานิ้วด้านซ้ายออกมานับด้วยมือข้างขวา โดยนับว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นับอยู่ประมาณ ๓ - ๕ ครั้ง แบบเบาๆ
    (ผู้บันทึก สงสัยว่า ท่านกำลังพิจารณาสังขารขันธ์ หรือเปล่า ช่วยบอกที?)
    [ข้อสังเกต : จากการบันทึกของท่านเทศาภิบาล ชาครธมฺโม พระเฝ้าเวรอุปฐากในตอนกลางวันนี้ และจากการเฝ้าสังเกตขณะครูพักลักจำมาพิจารณาไตร่ตรอง ทำให้เห็นความจริงจากนิทรรศการจริงอันแสดงโดยองค์หลวงปู่นั้นนับว่ายัง ประโยชน์หย่อนโอกาสให้แก่ศิษยานุศิษย์มีมีใจต่อ มิได้ขาดห้วงแลขาดหายแต่ประการใด
    ก็ขันธ์อาการ ๕ นี้ เป็นภาระหนักอึ้งของปวงสัตวโลก ลงพิจารณาแต่รูปขันธ์อันเดียวก่อนก็ได้หนักหนายิ่ง
    พิจารณาให้ดีเถิด
    รูป – ร่างกายของมนุษย์เป็นภาระแก่มนุษย์เพียงใด ต้องถนอมปรนเปรอทุกๆ วัน มิได้เว้นจนตลอดชีวิตนี้อีก มิหน้ำซ้ำทุกข์ระกำระหว่างนี้ก็มีมากนัก ยากที่จะต้านทาน ทนได้ยาก
    ภารา หเว ปญฺจกฺขธา ขันธ์อาการ ๕ เป็นภาระอันหนักแท้
    การปลงภาระนี้ได้เป็นความสุขยิ่ง ภารนิกฺเขปนํ สุขํ
    รูปก็หนักของรูป นามก็หนักสมนาม
    หนักหนาเป็นภาระยิ่ง มิรู้จบมิรู้สิ้น
    หนักหนาเป็นภาระยิ่ง มิรู้จบมิรู้สิ้น มิรู้ยั้งมิรู้หยุด
    หนักไปด้วยกิเลสาวะ หนักไปด้วยทุกข์นานา
    มีรูป หลงรูป ยึดรูปยึดกาย
    มีเวทนา หลงเวทนา ยึดเวทนา
    มีสัญญา หลงสัญญา ยึดสัญญา
    มีสังขาร หลงสังขาร ยึดสังขารยึดในสิ่งปรุงแต่งจิต
    มี วิญญาณ หลงวิญญาณ ยึดในความรู้อารมณ์ ยึดในความรู้ความเข้าใจ
    และหากจะปลดปลงภาระทุกข์ภาระหนักนั้นได้ต้อง
    ๑. ย่ำยีความเมา
    ๒. ดับ ความกระหาย
    ๓. ถอนอาลัย
    ๔. ตัดวัฏฏะ
    ๕. ขุดรากถอนโคนตัณหา
    ๖. ฆ่า กำหนัดให้สิ้นไป
    ๗. ดับเพลิงทุกข์ ดับเพลิงกิเลสให้สิ้นซาก
    กิจลำพังตนขององค์หลวงปู่วันนี้ นับได้ ทบทวนได้ แจ่มแจ้งแม้ทุกขเวทนากายิกทุกข์ยังคงทำหน้าที่อยู่ก็มีอำนาจอยู่แต่ชั้น เปลือกนอก หาได้เสียดแทงร้อยรัดใดๆ แม้จะยังใช้เบญจขันธ์อยู่ หากแต่โดยใจความแล้ว “ได้ความ” แล้ว
    เบญจขันธ์อันบ่งบอกสมมติก็เป็นสมมติ อยู่
    ที่ว่าเป็นสมมติก็เพราะเป็นของไม่มีมาแต่เดิม จึงเป็นของดับได้อย่างกระจ่างชัด “กระจ่างใจ” ขององค์ท่านแล้วแต่ช้านาน.
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
     สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า คน
    ทุกชีวิต... ทำไมต้องมีความซับซ้อนซ่อนปม มีความสลับซับซ้อนร้อยเปลี่ยนพันแปลงหมื่นแปร จนสับสนและยุ่งเหยิง
    ยาก ที่เข้าใจ
    ยากที่จะอธิบาย
    ทำไมคนๆ หนึ่งจึงเป็นเช่นนั้น เช่นนี้ เป็นไปได้ถึงเพียงนั้น
    ทำไมจึงชอบใจที่จะทำเช่นนั้น
    มีอะไรบ่งการอยู่เบื้องหลังของผู้คนสิ่งสัตว์
    ชีวิตความเป็นอยู่ ความเป็นไปจึงได้วุ่นวายนัก
    ข้อเขียนข้างต้นนี้ อัตตโนรจนาจากถ้อยคำปรารภขององค์หลวงปู่ที่พูดต่อพฤตินัยของศิษย์ผู้หนึ่ง ว่า “กรรมของมันมีอยู่”
    จริงที่เดียว จริงที่สุด
    กรรมเป็นผู้บงการ กรรมเป็นผู้บังคับ กรรมเป็นผู้บัญชาบีบคั้น
    เจือจาง – เข้มข้น, อ่อนเปลี้ย – รุนแรง ไม่เท่ากัน หากแต่ส่วนบุคคลแล้วไม่มีแรงใดเสมอกับแรงกรรม
    และในเรื่องกรรมส่วนบุคคลนี้
    จำต้องวินิจฉัยเป็นเรื่องๆ เป็นรายๆ ไป
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
     ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
    ๑๕.๑๐ น. : โยมกลุ่มหนึ่งขอฟังเทศน์ จากหลวงปู่
    หลวงปู่ : เอ้า! ตั้งใจ เป็นมนุษย์แล้วน่ะ
    เป็นมนุษย์แล้วได้พบปะพุทธเจ้าแล้ว
    เป็น มนุษย์แล้วต่อแต่นี้ให้ได้ไปสวรรค์
    เป็นมนุษย์แล้วให้ตั้งใจรักษาศีลของ ตน
    เป็นมนุษย์แล้วอย่าให้เสียประโยชน์นะ
    เอาละพอ

     เช้านี้องค์หลวงปู่ปรารภขึ้นหลังจากลุกนั่งสวดมนต์ทำวัตรเช้าว่า
    “ความสุขในโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยงสักอย่างสักอัน
    มีสุขน้อยมีทุกข์ มาก
    ตามมาก็มาแต่โศกเศร้าเสียใจ ห่อเหี่ยว
    ไม่มีอะไรมั่นคงถาวร คิดว่าจะเป็นสุขกลับเป็นทุกข์
    นี่... ดอกบัว ๒ แจกันนี้ วันวานซืน สดชื่นดี
    สองวันเท่านั้นเหี่ยวเฉาแล้ว
    อันนี้เพิ่นฮ้องอามิสบูชา เสาะหามา ไม่รู้ใครเอามาบูชา”
    “โยมจากบัวขาว เป็นครูโรงเรียน” กราบเรียน
    “เอ้า..! เอ้าไปโยนเข้าป่าไม้สักพุ้น มันเศร้าหมองแล้ว”
    “ครับ ผม”

    ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
    อรุณรุ่งสาง

     อยู่ที่ธรรมะ 
    “ บวชใหม่ บวชเก่า
    บวชก่อน บวชหลัง
    สำคัญอยู่ที่ ธรรมะวินัย
    มี ธรรมะอยู่ในใจหรือ”
    องค์หลวงปู่ปรารภถึงพระบวชใหม่ในวันนี้ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
    แล้วองค์ท่านถามว่า “จะบวชกี่วัน?”
    “อยู่ไปเรื่อยๆ”
    “เอา... อยู่ไปเทอะ เห็นกล้วยว่าอยากบวช
    เห็นหีสวดว่าอยากสึก
    บวชแล้วตั้งใจ ศึกษาศีลวินัยให้เข้าใจ จะมาฝึกหัดสละภายในนี้ก็ให้ตั้งใจ
    อันใดหยาบเอา อันออกไป อย่าให้ผู้ข้าฯ ว่าสอนเน้อ
    แก่เฒ่าแล้วหูไม่ดี พู้นเทอะให้ครูอาจารย์ผู้หนุ่มให้เขาว่าให้เขาบอกสอนไป ตั้งใจไปเถ๊อะบวชเข้ามาแล้ว”

     อย่าวางใจ 
    “ อย่าไปวางใจในชีวิตอินทรีย์
    ตายเป็นเน้อ...! ชื่อว่า “คน”
    ชื่อ ว่า “สัตวโลก”
    ต้องดับต้องตาย อย่าวางใจ
    ให้หมั่นอบรมตนเองอยู่เสมอ
    ทำ ดี อย่าไปทำชั่ว เอาอะไรเป็นอาหารแก่จิต
    คิดดีก็ดีไป”


    ..........................................................................

    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือมหาปุญโญวาท 6 พิมพ์ถวายวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ( วัดหลวงปู่จาม ) บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร โดยสำนักพิมพ์มติชน
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td>[​IMG]</td><td colspan="2">
    </td></tr> </tbody></table> [​IMG]มหาปุญโญวาท 6 : ภาค ๑ มหาปุญโญวาท 11
     “ หมู่อยู่ด้วยกันว่าฮ้าย หมายกิริยาหยาบช้า อย่าได้เคียดคุงใจ
    ดีเสียอีกที่ยังมีผู้ว่าให้ฮ้ายให้
    เพราะเขามารักษาตัวเราช่วยตัว เรา หากเราไม่รับความหวังดีนั้น
    ก็แสดงว่าเราฮ้ายจนเคียดคุงใจ แด่นแด้ (ตั้งหน้าตั้งตา) ฮ้ายคืน
    เรานักบวช หากทำดี
    รักษาตัวเองได้ดีแล้ว ก็ชื่อว่าบริสุทธิ์
    เมื่อ ดีอยู่บริสุทธิ์อยู่ย่อมได้ผลมาก หากเราไม่ดีแล้วก็อย่าหวังได้ว่าจะตอบแทนคุณบูชาคุณแห่งครูของตนได้
    หวังจะทำตนของตนให้พ้นทุกข์ อย่าได้ให้การบวชนั้นเป็นโมฆะ
    ให้แก้ไข ความยุ่งเหยิงภายใน...”
    ข้อเขียนนี้อัตตโนได้ประมวลจากถ้อยคำขององค์หลวงปู่จาม จากครั้งเมื่อคราวพระหนุ่มสองรูปทุบตีกันแต่หลายปีผ่านมา
    มาเมื่อเช้า นี้ ก็มีพระหนุ่มสองรูปยัวะใส่กัน
    ผลจะลงเอยอย่างใด โปรดติดตาม
    ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

    สวัสดีปีชวด
     สวัส ดิมงคเลศแคล้ว เคราะห์เมิน
    ดี ต่อท่อดีเผชิญ ซึ่งหน้า
    ปี หนู แม่แม้เงิน ขัดดอก
    ชวด เงอะๆ งะๆ คว้า ขวดน้ำเหลวริน ๚๛

    ๓ มกราคม ๒๕๕๑
    ศิลปวัฒนธรรม ; ขรรค์ชัย บุนปาน
    อนึ่งเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการสืบชีวิตอันได้ยากแสนยากนี้ อัตตโน เกิดปีชวด ๒๕๑๕ ปีนี้ ๓๖ ปี ๓ รอบ จึงได้ฝากคติคนปีหนูไว้ดังนี้
    คนปีชวด
    ตามตำราบอกว่าเป็นคนมีเสน่ห์ ชอบการสมาคม เจ้าความคิด หัวไว มักใหญ่ใฝ่สูงและเป็นนักฉวย โอกาส มีความสามารถรอบด้าน มองการณ์ไกล เจ้าเล่ห์
    อย่างไรก็ตาม ในด้านความรัก เป็นคนโรแมนติค น่ารักจนยากจะห้ามใจ!
    ผู้ ที่เกิดปีชวดจะเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ดี มักทำให้ผู้ที่อยู่ด้วยสบายใจ ไม่อึดอัด จึงมีเพื่อนฝูงมาก มักสนใจเรื่องรอบตัว เก่งการเข้าสมาคม ชอบสรรหาสิ่งดีๆ ให้แก่ชีวิต เชี่ยวชาญในเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม เป็นผู้มีมีวาทศิลป์พูดจาโน้มน้าวใจคนเก่ง และยังมีสายตายาวไกล เป็นนักวิจารณ์ที่ดี
    แม้คนปีชวดจะเป็นคนมีเสน่ห์ แต่อีกด้านหนึ่งทำให้ดูเป็นคนเจ้าเล่ห์ แต่อีกด้านหนึ่งทำให้ดูเป็นคนเจ้าเล่ห์ ลื่นไหล เป้าหมายในชีวิตคือพัฒนาให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคนปีชวดจึงเป็นนัก ฉวยโอกาสตัวยง หัวไว เจ้าความคิด และกล้าเสี่ยงในบางครั้ง
    ชาวปีชวด โดยทั่วไปจะเหมาะกับงานใช้สมองมากกว่าใช้แรง จะเก่งในงานที่ต้องพบปะผู้คน เช่น งานด้านการตลาด การขาย การประชาสัมพันธ์ และนักบัญชี สามารถเป็นนักเขียนที่ดีได้ด้วย หรือทำงานที่มีอิสระตามความคิดริเริ่มของตนเองได้ หากต้องอยู่ในงานที่มีระเบียบเคร่งครัด หรืองานราชการ จะกลายเป็นคนจู้จี้ พิถีพิถัน เคร่งระเบียบกฎเกณฑ์ไปได้เหมือนกัน
    คนปี ชวดเป็นคนทำงานตรงไปตรงมา ระวังมากกับงานที่เกี่ยวกับเงินทอง เพราะเป็นคนมัธยัสถ์ แต่หลังจากประหยัดเก็บสะสมเงินได้พักหนึ่ง เขาอาจใช้เงินอย่างง่ายดายไปในทันที แต่โดยทั่วไปคนปีชวดจะสุขุมในเรื่องการเงินและบางครั้งถึงขั้นขี้เหนียว
    กับ ครอบครัวคนใกล้ชิด คนปีชวดจะใจดีเป็นพิเศษ จะส่งเสริมสนับสนุนคู่ครองเป็นอย่างดี และคอยประสานความสัมพันธ์ในครอบครัวอยู่เสมอ เขาจึงเป็นผู้สร้างครอบครัวที่ดี จะเป็นพ่อแม่ที่รักและห่วงใยลูกจะคอยกระตุ้นส่งเสริมลูกๆ และจัดแต่งบ้านช่องได้น่าอยู่และมีรสนิยม
    อย่างไรก็ตาม คนปีชวดชอบความเป็นส่วนตัว ไม่ชอบรับผิดชอบใคร นอกจากตัวเอง หากพบว่าตัวเองอยู่ในสถานการณ์คับขันก็จะปรับตัวให้รอดด้วยสถานการณ์นั้น
    สำหรับ สาวปีชวด จะเป็นคนกระฉับกระเฉงมีชีวิตชีวา ชอบชีวิตนอกบ้าน เป็นคนตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ว่าจะประสบความสำเร็จอย่างไรเรื่องของครอบครัวต้องมาก่อนเสมอสาวปีชวด จะรู้ว่าจะทำตัวให้เป็นที่เตะตาของผู้คนได้อย่างไร
    ส่วนหนุ่มปีชวด เป็นคนชอบชีวิตนอกบ้านเช่นกัน อ่อนโยนและมีความมั่นใจ แต่ภายใต้บุคลิกสุภาพนุ่มนวลนี้ มีความทะเยอทะยานซ่อนอยู่
    ชาวปีชวด มีจุดอ่อนเหมือนกัน ด้วยความต้องการทำทุกอย่างให้ดีที่สุด จึงดูเป็นคนละโมบและชอบเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องหลายอย่างจนรับมือไม่ไหว
    บาง ครั้งคนปีชวดดูใจแคบ และเป็นคนซ่อนความรู้สึกได้ดี
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๘ มกราคม ๒๕๕๑ : วันนี้มีโยมผู้หนึ่งเข้ากราบเรียนถามองค์หลวงปู่ว่า “จิตที่รักษาได้ให้คุณต่อธรรมอย่างไร ?” องค์หลวงปู่ตอบสั้นๆ ว่า “ไม่มีทุกข์” จากนั้นก็เป็นภาระของผู้เขียนที่จะต้องอธิบายให้โยมผู้นี้เข้าใจว่า “อย่างไร ? จึงจะไม่มีทุกข์”
    ให้รู้จิตทุกกิริยา ทุกรูปแบบ
    การรู้ เท่าทันจิต หรือ การดูจิต ไม่มีการยกเว้นแม้ในกิริยาใดๆ ของจิต
    จิต ที่นิ่ง – จิตที่หลุดพ้น – จิตที่เศร้าหมองมีเครื่องห่อหุ้ม – จิตที่ไม่มีอะไร
    ให้รู้จักจิตอย่างเหมาะสมทุกกิริยา – ให้รู้ตามจริงว่า จิตมีราคะเป็นอย่างใด
    จิตมีโทสะเป็นอย่างใด
    จิต มีโลภะเป็นอย่างใด
    จิตมีโมหะเป็นอย่างใด
    จิตมีมานะทิฐิเป็นอย่าง ใด
    จิตหยาบคายอยู่หรือ – หรือว่า จิตประณีตสุขุมแล้ว
    ทุกสภาวะของ จิตมันเป็นอย่างใด เที่ยงหรือไม่เที่ยง เป็นไปเพื่อทุกข์ หรือเป็นไปเพื่อสุข
    ไม่เที่ยงเป็นธรรมดาอย่างไร จิตมิใช่ตัวตนอย่างไร จิตอย่างใดยิ่งหย่อนกว่ากัน จิตรู้จิต จิตเข้าไปรู้จักจิตอย่างใด ? จิตรู้จักในรูปธรรมนามธรรมในแง่ของความมิใช่ตัว มิใช่ตนได้ชัดเจนหรือไม่ กำลังสติกำลังปัญญาเป็นปัจจัยหลักที่จะมารู้จักในความไม่เที่ยง ความไม่ทน ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนในรูปแบบใดๆ
    จิตที่เข้าถึงแก่นแท้ของพุทธธรรม นั้นเป็นอย่างใด ?
    ควรจะมีคุณลักษณะอย่างใด ? เช่นใดบ้าง ?
    จะเอา เกณฑ์อันใดมาเป็นเครื่องวัดสภาวจิตเพื่อจะเป็นทนทางในการดำเนินตามหลักการ ของทาน ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อที่จะเป็นสภาวจิตที่สมบูรณ์แบบ หรือสภาวะอันเป็นผู้ตื่น ผู้รู้ ผู้เบิกบานนั้นเป็นอย่างไร ?
    จิตที่ อบรมดีแล้ว
    ควรมีความเปิดกว้าง ไม่ปิดแคบ ไม่รู้สึกอึดอัดขัดข้องด้วยพิษร้ายของความเห็นแก่ตัว เป็นจิตที่ไม่ตระหนี่ในตัว เยือกเย็นไม่รุ่มร้อน ไม่เดือดร้อนเพราะการมีแลการไม่มี ไม่กังวลกับการใช้สอยเป็นอยู่ ไม่มีการผูกใจเจ็บไม่อาฆาตพยาบาท ไม่คิดร้ายจองเวร จิตมีทานเจตสิกเจือแทรกเอิบอาบซาบซ่านอยู่ จิตที่เป็นทานจิตอยู่ตลอด วัตถุทาน อภัยทาน ธรรมทาน มีอยู่โดยปกติอยู่เสมอ
    จิตที่อบรมดีแล้ว
    ควรมีความผ่องใสสะอาด ไม่สกปรกเศร้าหมอง ไม่รุงรังด้วยความคิดชั่วใดๆ อกุศลต่างๆ ไม่มีการกำเริบขึ้นอีกในจิตนั้น ไม่มีความอยากทำร้ายใคร ไม่ต้องการให้ใครๆ เดือดร้อนแม้แต่น้อยนิด ไม่มีความโลภอยากได้สิ่งหนึ่งสิ่งใด ความอยากต้องการถามไม่มีอยู่ ไม่พูดอันใดอย่างไรประโยชน์ ไม่มีความอยากบริโภคเกินความจำเป็น ไม่ใช้สอยหรือเสพปัจจัยอันใดที่เกินกว่าประโยชน์จะพึงมี
    เป็นจิตที่มั่น คงอยู่ในข้อห้าม แลข้ออนุญาตอันเป็นไปตามพุทธบัญญัติสิกขาวินัยมั่นคงสมบูรณ์แล้วอาจาระ โคจระ จริยาจรณะ แลศีลวัตร
    แจ่มแจ้งทั้งนอกนัยยะและภายในนัยยะ ว่าจิตเป็นศีลจิตอยู่โดยปกติธรรมชาติ แม้หากจะดำเนินไปก็เป็นไปด้วยกุศลเจตสิกเจตนาของศีลคอยกำกับอยู่ตลอด
    จิต ที่อบรมดีแล้ว
    ควรมีความตั้งมั่น ควรแก่ธรรม ไม่ซัดส่าย นิ่มนวล ไม่แข็งกระด้าง ไม่โลเล ไม่ล้ม ไม่คลาดเคลื่อนใดๆ อีก เหตุของความฟุ้งซ่าน คือ
    กิเลสอย่างหยาบบ้าง
    กิเลสอย่างกลางบ้าง
    กิเลสอย่างละเอียดบ้าง
    ไม่ มีเหลืออยู่แล้ว
    เป็นจิตที่จับรู้อยู่เฉพาะกับปัจจุบันจิต ไม่มีติด ไม่มีหลง อดีตอนาคตไม่มาหลอกลวงอีกต่อไป นิวรณ์ อนุสัย อุปกิเลสมอดไหม้ดับสนิทไปได้แล้ว เป็นจิตที่สะอาด เป็นจิตที่ควรแก่มรรคเป็นมรรค ควรแก่ผลเป็นผล ควรแก่ธรรมเป็นธรรม
    จิต ที่อบรมดีแล้ว
    ต้องมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์บริบูรณ์เบิกบานอยู่ เป็นอิสระเต็มแบบ รู้ได้เอง เห็นได้เอง ไม่ต้องระวังในโมหะอีกต่อไป
    เป็น จิตที่ไม่สงสัยแล้วในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ
    เป็น จิตที่แจ่มแจ้งแทงตลอดแล้วใน ทุกข์ อนิจจา อนัตตา
    ไม่มีภาวะอันใดใน จิตให้ยึดให้ถือเอาอีก
    ไม่เคลื่อนจากความเป็นเช่นนี้อีก
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สติ สมาธิ ปัญญา
    อดทน แน่วแน่
    จึงจะปลอดภัย
     มีสามเณรรูปหนึ่งเข้าเฝ้าถามองค์หลวงปู่เรื่องที่ตัวของสามเณร ต้องการปรารถนา อยากจะเป็นพุทธโอรสอย่างเดียวกันกับพระราหุล องค์หลวงปู่จึงได้บัญชาให้ไปเสาะหาประวัติอนุพุทธะมาอ่าน ผู้เขียนจึงพอใจบันทึกเสริมเอาไว้ดังนี้
    ประวัติพระราหุลเถระ
    ๑. สถานะเดิม
    พระราหุลเถระ นามเดิม ราหุล เป็นพระนามที่ตั้งตามอุทานของพระสิทธัตถะ พระราชบิดา ที่ตรัสว่า ราหุลํ ชาตํ เครื่องผูกเกิดขึ้นแล้วเมื่อทรงทราบข่าวว่า พระกุมารประสูติ
    พระ บิดา ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ
    พระมารดา ทรงพระนามว่า ยโสธรา หรือพิมพา
    ๒. มูลเหตุแห่งการบวชในพระพุทธศาสนา
    พระศาสดาเสด็จไปยังกรุงกบิลพัส ดุ์ ในวันที่ ๓ ทรงบวชให้นันทกุมาร ในวันที่ ๗ พระมารดาพระราหุลทรงให้พระกุมารไปทูลขอมรดกกับพระองค์ พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า กุมารนี้อยากได้ทรัพย์ของบิดา แต่ว่าทรัพย์นั้นพันธนาใจให้เกิดทุกข์ไม่สุขจริง เราจะให้ทรัพย์ประเสริฐยิ่ง ๗ ประการ ที่เราชนะมารได้มา จึงรับสั่งหาท่านพระสารีบุตร มีพุทธดำรัสว่า สารีบุตร เธอจงจัดการให้ราหุลกุมารนี้บรรพชา พระเถระจึงทูลถามถึงวิธีบรรพชา พระศาสดาตรัสให้ใช้ตามวิธีติสรณคมนูปสัมปทา เปล่งวาจาถึง พระรัตนตรัย ให้พระกุมารบวช วิธีนี้ได้ใช้กันสืบมาถึงทุกวันนี้ เรียกว่า บวชเณร
    พระ ราหุลเถระนี้ได้เป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา ครั้นอายุครบ ๒๐ ปี จึงอุปสมบทด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรม ในสมัยเป็นสามเณร ท่านสนใจใคร่ศึกษาพระธรรมวินัย ลุกขึ้นแต่เช้าเอามือทั้งสองกอบทรายได้เต็ม แล้วตั้งความปรารถนาว่า ขอให้ตนได้รับโอวาทจากพระศาสดาหรือพระอุปัชฌาย์อาจารย์ จดจำและเข้าใจให้ได้จำนวนเท่าเม็ดทรายในกอบนี้
    วันหนึ่งท่านอยู่ในสวน มะม่วงแห่งหนึ่ง พระศาสดาเสด็จเข้าไปหาแล้วตรัสจูฬราหุโลวาทสูตร แสดงโทษของการกล่าวมุสา อุปมาเปรียบกับน้ำที่ตรงคว่ำขันเททิ้งไป ผู้ที่กล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่แก่ใจ ความเป็นสมณะของเขาก็ไม่ต่างอะไรกับน้ำในขันนี้ แล้วทรงชี้ให้เห็นว่า ไม่มีบาปกรรมอะไรที่ผู้หมดความละอายใจกล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้จะทำไม่ได้
    ต่อ มาได้ฟังมหาราหุโลวาทสูตรใจความว่า ให้พิจารณาร่างกายให้เห็นเป็นธาตุ ๕ ประการ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา แล้วตรัสสอนให้อบรมจิตคิดให้เหมือนกับธาตุแต่ละอย่างว่า แม้จะมีสิ่งที่น่าปรารถนา หรือไม่น่าปรารถนาถูกต้อง ก็ไม่มีอาการพอใจรักใคร่ หรือเบื่อหน่ายเกลียดชัง
    สุดท้ายทรงสอนให้ เจริญเมตตาภาวนา เพื่อละพยาบาท เจริญกรุณาภาวนาเพื่อละวิหิงสา เจริญมุทิตาภาวนา เพื่อละความริษยา เจริญอุเบกขาภาวนา เพื่อละความขัดใจ เจริญอสุภภาวนา เพื่อละราคะ เจริญอนิจจสัญญาภาวนา เพื่อละอัสมิมานะ ท่านได้พยายามฝึกใจไปตามนั้นในที่สุดได้สำเร็จพระอรหัตผล
    ๓. งานประกาศพระศาสนา
    พระราหุลเถระนี้ ถึงแม้จะไม่มีในตำนานว่า ท่านได้ใครมาเป็นศิษย์บ้าง แต่ปฏิปทาของท่าน ก็นำมาซึ่งความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแก่บุคคลผู้ได้ศึกษาประวัติของ ท่านในภายหลัง ว่าท่านนั้นพร้อมด้วยสมบัติ ๒ ประการ คือ ชาติสมบัติและปฏิปัตติสมบัติ เป็นผู้ไม่ประมาทรักษาศีลสนใจใคร่ศึกษา เคารพอุปัชฌาย์อาจารย์ มีปัญญารู้ทั่วถึงธรรม มีความยินดีในพระศาสนา
    ๔. เอตทัคคะ
    พระราหุลเถระนี้ เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ดังได้กล่าวมาแล้ว เพราะฉะนั้นท่านจึงได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในการศึกษา
    ๕. บุญญาธิการ
    พระราหุลเถระนี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการ อันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมานาน ในกาลแห่งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ได้บังเกิดในเรือนผู้มีสกุลครั้นรู้เดียงสาแล้วได้ฟังธรรมของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในฐานะที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ใคร่ต่อการศึกษา จึงปรารถนาตำแหน่งนั้นบ้าง แล้วได้สร้างความดีมากมาย มีการทำความสะอาดเสนาะสนะ และการทำประทีปให้สว่างไสวเป็นต้น ผ่านพ้นไปอีกหลายพุทธันดร สุดท้ายได้รับพรที่ปรารถนาไว้ ในสมัยแห่งพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย ดังได้กล่าวมา

    ๖. ธรรมวาทะ
    สัตว์ทั้งหลาย เป็นดังคนตาบอด เพราะไม่เห็นโทษในกาม ถูกข่ายคือตัณหาปกคลุมไว้ ถูกหลังคาคือตัณหาปกปิดไว้ ถูกมารผูกไว้ด้วยเครื่องผูกคือความประมาท เหมือนปลาที่ติดอยู่ในลอบ เราถอนกามนั้นขึ้นได้แล้ว ตัดเครื่องผูกของมารได้แล้ว ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้วเป็นผู้เยือกเย็น ดับแล้ว
    ๗. ปรินิพพาน
    พระราหุลเถระ ครั้นสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วได้ช่วยพระศาสดาประกาศพระศาสนาตลอดอายุขัยของ ท่าน สุดท้ายได้ปรินิพพานดับสังขารเหมือนกับไฟที่เผาเชื้อหมดแล้วก็ดับไป ณ แท่นกัมพลศิลาอาสน์ ที่ประทับของท้าวสักกเทวราช
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
     เอาจนจิตนี้มันอยู่ 
    เขียนถาม : ขอหลวงปู่แนะนำการภาวนา
    ตอบ : ภาวนาให้ ระลึก พุท-โธ, พุท-โธ อยู่เสมอ
    ระลึกอยู่เสมอจนจิตไม่ฟุ้งซ่าน
    หาก ภาวนาอยู่แต่จิตฟุ้งซ่านนี้ไม่เรียกภาวนา
    ถาม : หลวงปู่จะได้นิพพานไหมครับ?
    ตอบ : อย่าว่าอย่างนั้น
    อย่า (ด่วน) ถามหานิพพานเลย
    เอะอะ...ก็ว่าจะไปนิพพานอย่างนั้นอย่างนี้
    ให้ ภาวนาให้รู้ในความสงบดูก่อนว่า ได้ไหมความสงบจิตใจนี้ ถ้าไม่สงบ นิพพานไม่เกิด ไม่สงบเพราะเหตุอันใด
    ศีลวินัยเป็นอย่างใด จิตเป็นอย่างใด มรรคเป็นอย่างใด
    ถาม : แล้วอย่างใดจึงจะสงบ?
    ตอบ : ตั้งใจภาวนา ทำไป ทำไป ทำไปเรื่อยๆ อย่าขี้คร้าน
    ฟุ้งซ่านไปก็ ตั้งใหม่ ฟุ้งไปก็เอาใหม่ ดึงกลับมาใหม่ เริ่มใหม่ ทำอยู่อย่างนั้น เอาอยู่อย่างนี้ จนตั้งอารมณ์ได้ชื่อว่า สมาธิ
    อารมฺมน ปจฺจโย จนเป็นอารมณ์ที่อยู่ของใจ
    เหตุปจฺจโย ตรงนี้เป็นเหตุของความสงบ
    จิต สงบ จิตแจ้งสว่าง จึงเป็นมรรคาหนทางสู่นิพพาน
    ถาม : มันยากครับผม
    ตอบ : แน่ะ มาโทษว่ามันยากอีก
    ก็ยากหล่ะตัวไม่ทำ
    ผมหน๋า...”พุท – โธ” มาแต่หน้อยแต่หนุ่มจนเฒ่าปานนี้ก็ยัง “พุท – โธ” อยู่มิได้ขาด ต่อไปเมื่อหน้าก็จะเอาอีก โทะ....! มิแม่นของง่ายนอนก็พุทโธ นั่งก็พุทโธ ย่างเดินก็พุทโธ ฝึกไปเรื่อย อย่าทิ้งอย่าป๊ะอย่าละ
    ถาม : หลวงปู่จะแนะนำ อะไรอีกครับ?
    ตอบ : ให้ทำความดี อย่าทำความชั่ว
    ถามตัวหมู่เพื่อนลูกหลานเดี๋ยวนี้ว่า จิตสงบได้ไหม
    ปัญญา ปรากฏในใจแล้วหรือยัง
    ถาม : ยังครับ
    ตอบ : แน่... ก็อย่างนี้หล่ะ จึงว่ามันยาก เอาเทอะ.... ตั้งใจไปเทอะ
    ถาม : ครับกระผม
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ เป็นบทสนทนาระหว่างองค์หลวงปู่กับหมู่คณะพระเณร ๔ รูป จากวัดมีชื่อแห่งหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี คล้อยหลังหมู่คณะชุดนี้ ก็มีพระอีก ๒ รูป จาริกรอนแรมเที่ยวเดินธุดงค์มาแต่อำนาจเจริญ เข้ากราบขออุบายธรรมจากองค์หลวงปู่ เขียนกระดานสื่อสาร

    เขียนถาม : มากราบพ่อแม่ครูอาจารย์ ขออุบายธรรมะ เดินธุดงค์มาขอรับ
    ตอบ : เอาอะไรไปธุดงค์
    ธุดงค์แล้วได้อิหยัง ไปได้ไปดีนี่จนตัวดำตัวคล้ำหมดเอาแท้ๆ หล่ะกับคนหนุ่มคนแหน้น ได้อิหยังหมู่เพื่อนลูกหลานเอ๋ย
    ใจเจ้าของนั่นหล่ะ เบิ่ง (ดู)ให้ดี
    อย่า ไปดูไปแลแต่อย่างอื่น
    ใจนี้จิตนี้ กายนี้ ไปมากับเราตลอด จิตพาไปแท้ๆ
    ......
    มา... จะเป่าหัวให้ เข้ามาใกล้ๆ จะไปหรือจะพักให้ไปว่ากับพระหนุ่มพระหน้อยหมู่นั้นเถอะ ผู้ข้าฯ หูไม่ได้ยิน

     ๑๖ มกราคม ๒๕๕๑ ลูกศิษย์ “คณะครอบครัวลูก – ศิษย์มุกดาหาร” ได้ส่งกลอนมาบูชาพระคุณของพระอุปัชฌาย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ ดังนี้
    พระคุณที่สาม ...
    ครูบาอาจารย์ที่ท่านประทานความรู้มาให้
    อบรมจิต ใจให้รู้ผิดชอบชั่วดี
    ก่อนจะนอนสวดมนต์อ้อนวอนทุกที
    ขอกุศลบุญบารมี ส่งเสริมครูนี้ให้ร่มเย็น
    ครูมีบุญคุณจะต้องเทิดทูนเอาไว้เหนือเกล้า
    ท่าน สั่งสอนเราอบรมให้เราไม่เว้น
    ท่านอุทิศไม่คิดถึงความยากเย็น
    สอนให้ รู้จัดเจนเฝ้าแนะเฝ้าเน้นมิได้อำพราง
    พระคุณที่สามงดงามแจ่มใสแต่ว่าใคร หนอใคร
    เปรียบเปรยครูไว้ว่าเป็นเรือจ้าง
    ถ้าหากจะคิดยิ่งคิดยิ่งเห็น ว่าผิดทาง
    มีใครไหนบ้างแนะนำแนวทางอย่างครู
    บุญเคยทำมาตั้งแต่ปางใด เรายกให้ท่าน
    ตั้งใจกราบกรานเคารพคุณท่านกตัญญู
    โรคและภัยอย่ามาแผ่ว พานคุณครู
    ขอกุศลผลบุญค้ำชู ให้ครูมีสุขชั่วนิรันดร
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
     ๒๐ มกราคม ๒๕๕๑
    วันนี้วันคล้ายวันเกิดขององค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    อัตตโนระลึกใน โอวาทธรรมว่า
    “ใจเป็นที่อยู่ของกิเลส
    ใจเป็นที่สถิตอยู่แห่งธรรมทั้งหลาย
    กิเลสก็ดี
    ธรรมก็ดี เกิดขึ้น ที่ใจ
    เจริญขึ้นที่ใจ
    ดับลงที่ใจ จึงว่า อย่ามองข้ามใจ”
    และ เมื่อคืนวันพระ ๘ ค่ำขึ้นเดือนยี่ ๑๕ ม.ค. ๕๑
    ตกค่อนคืนได้นิมิต ว่า องค์หลวงปู่ขาว อนาลโย มาสอนธรรมะว่า”
    “ธัมมธาระ เจ้าฮู้จักใจ ของเจ้าหือยังหนอ
    ใจเป็นสมบัติของตนเน้อ
    เพราะเหตุว่า ธรรมทั้งหลายเจริญขึ้นที่ใจ
    คือที่ใจของผู้ประพฤติธรรมเท่านั้น”
    เหตุ ที่ทุกคืนวันพระ อัตตโนละถือปฏิบัติในอิริยาบถ ๓ เท่านั้นนับแต่บวชมามิเคยละเลย
    และในวันเดียวกันนี้ องค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ปรารภในขณะนั่งพักผ่อนอิริยาบถผิงแดดขณะจะกลับจากศาลาหอฉันขึ้นกุฏิว่า
    “ สติ เตสํ นิวารณํ
    สติอุ่นใจ ไอแดดอุ่นกาย”
    ก็ในข้อปรารภธรรมข้อ นี้เอง อัตตโนประหวัดในใจแล้วได้ถ่ายทอดเอาไว้ตรงนี้ว่า จริงทีเดียว สติมีอยู่ตราบ ใดใจย่อมอบอุ่นอยู่ตราบนั้น
    เพราะขาดสติขาดปัญญา ใจจึงหนาว จึงหนาวใจ
    เหตุ ว่า อดีต อนาคต ปัจจุบันเป็นทางโคจรของจิตเมื่อโคจรไปก็มีโลภมีโกรธ มีหลง ราคะ กิเลส ตัณหา ก็เกิดขึ้นมา เกิดขึ้นที่ใด ก็เกิดที่ใจนี้
    แสดงออก จากใจนี้
    แสดงออกแล้วทำลาย กางกั้นความดี
    แต่เมื่อใดมีสติสัมปชัญญะ ชั่วทั้งหลายก็ดับไป
    นี่ขอท่านผู้สนใจโปรดได้พิจารณาในคร่าวเครือธรรม ที่ได้ยกมาเพื่อประเทืองปัญญาพฤติการณ์ของท่านทั้งหลาย
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมาธินิมิต ของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต  เมื่อคราวถึงวันคล้ายครบรอบวันมรณภาพ (๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๒) อัตตโนได้นำพาท่านผู้อ่านศึกษาย้อนไปศึกษา ถึงปัจฉิมโอวาทขององค์ท่าน มาคราวนี้มาถึงวันคล้ายวันเกิด (๒๐ มกราคม ๒๔๑๓) จะได้นำพาท่านอ่านศึกษาถึงธรรมสมาธินิมิตขององค์ท่านโดยจะอรรถาธิบายให้เต็ม กำลังสามารถเป็นข้อๆ ไปเหมือนกันเมื่อคราวเปิดไขปฤษณาผญาธรรมใน “โพธิ์พระเบื้องพุทธบาท”
    ๑. อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค
    พระอริยมรรค มีองค์ ๘
    อ้างความจาก : “สมาธินิมิต ทั้ง ๕ วาระ อันเกิดขึ้นเมื่อท่านเจริญกรรมฐานภาวนาอยู่วัดเลียบเมืองอุบล...ในวาระที่ ๕ ขณะขึ้นสะพานถึงกลางสะพาน ปรากฏเห็นท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ (สิริจันทเถระ จันทร์) เดินสวนมา และกล่าวว่า อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค แล้วต่างก็เดินต่อไป...”
    ในข้อนี้อัตตโนก็ให้ฉงนมานานนักแล้ว ว่าจักปฏิบัติอย่างไร ?
    (โปรดค้นอ่านจากหนังสืออนุสรณ์ที่แจกในงานฌาปน กิจ เมื่อ ๓๑ ม.ค. ๒๔๙๓)
    อรรถาธิบาย ความว่า “อัฏฐังคิกมรรค เป็นมัชฌิมาปฏิปทา อันหากย่นย่อลงก็ได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา รวมความให้กระชับรัดกุมที่สุดคือ การปฏิบัติ
    การประกาศพระอัฏฐังคิมรรค ของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ได้ทรงแสดงจากผลสืบมาหาเหตุ คือทรงแสดงปัญญายกขึ้นมาก่อน แล้วจึงแสดงศีลและสมาธิ เป็นลำดับ
    การ ประกาศแสดงผลก่อนเหตุนี้ อัตตโนเข้าใจว่า น่าจะอนุโลมตามผู้ฟังผู้รับพระธรรมเทศนา เหตุว่าในคราวแรกที่ตรงแสดงพระอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ผู้ฟัง คือ พระปัญจวัคคีย์ษีทั้ง ๕ ซึ่งเป็นผู้มีศีล มีสมาธิ เต็มตนอยู่แล้ว จึงได้ทรงแสดงปัญญาสาวจากผลมาหาเหตุ
    คือทรงยกสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ, สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ อันสงเคราะห์ ลงในปัญญาขันธ์ขึ้นก่อน
    จากนั้นก็ยกศีลขันธ์ คือ ธรรมคุณหมวดศีลขึ้นมาแสดงสืบความต่อ
    สัมมาวาจา เจตนาวิรัติทางวาจาชอบ, สัมมากัมมันโต เจตนาวิรัติทางกายกรรมชอบ, สัมมาอาชีโว เจตนาวิรัติทางเลี้ยงชีพชอบ แล้วจากนั้นก็ทรงยก สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ, ขึ้นมาแสดงเน้นย้ำลงให้แน่นหนา
    โปรดตั้งใจอ่าน
    ลำดับนี้จักอธิบายขยายเนื้อความน้ำธรรมของพระอริยมรรคทั้ง แปดองค์ ตามนิเทศแห่งอัตตโนมติตามที่ได้ตรากตรำไต่สวนมาพอแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อทำความบำรุงบำเรอสติปัญญาของตนนี้เป็นอาทิ แล้วเจือจานมายังท่านผู้อ่านศึกษาเป็นที่สอง
    เหตุว่าภัยในวัฏฏะนี้มี อยู่เสียโดยรอบทุกทิศทาง
    แล้วเผื่อว่าจะได้เห็นทุกข์โทษภัยอันตรายเหล่า นี้แล้วก็อาจจักที่ประสงค์จะออกจากโลกทุกข์ทุรนนี้บ้าง
    ในองค์สัมมา ทิฏฐิ ปัญญาความเห็นชอบ คือว่าให้เห็นอะไรบ้างจึงจะชอบ ?
    แก้ว่า เห็นทุกข์ เห็นสมุทัย เห็นนิโรธ เห็นมรรค
    เห็นทุกข์ ต้องอธิบายว่าเห็นที่ไหน ?
    แก้ว่า ต้องเห็นที่สกลกายของตนนี้แล เพราะสกลกายรูปนี้เต็มไปด้วยชาติความเกิด, ชราความแก่, มรณะความตาย, พยาธิ ความเจ็บไข้ ซึ่งเป็นอยู่ประจำเต็มที่อยู่เสมอมิย่อหย่อนประการใด ตั้งแต่ปฏิสนธิเกิดมา จนที่สุดแห่งชีวิต ก็สกลกายนี้เองที่ชื่อว่าตัวทุกข์ ทุกข์เป็นของควรกำหนดรู้ และทุกข์ใดๆ เหล่านี้มีมาแต่เหตุ คือสมุทัย
    เห็นสมุทัย ต้องอธิบายต่อไป
    แก้ว่า สมุทัยอันเป็นเชื้อชาติก่อเหตุให้ทุกข์ขึ้นมานี้ จำต้องไต่สวนทวนเรื่องให้ดี อย่าให้เบื่ออย่าด่วนงงงันไปก่อน เพราะสมุทัยคือ ความไม่รู้ตัวเอง คือ ไม่รู้ตัวว่าตัวเป็นชาติเป็นชรา เป็นพยาธิ เป็นมรณะ หากรู้ก็ไปรู้แต่ชาติชราพยาธิมรณะภายนอกของนอก แน่นอนของภายนอกเป็นของไม่มีในตัว คือ ชาติที่เป็นอดีตไม่มีแล้วในตน ชราพยาธิมรณะอันเป็นอนาคตก็ไม่มีอยู่ในตนได้ที่แก่หง่อมผมหงอก ฟันร่วงหลุดหล่นตายเข้าหีบเข้าโกศเข้าโลง นับว่าเป็นของไม่มีในตนแต่กลับวิ่งวุ่นวายออกไปรู้ไปดูไปเห็น
    ความไม่ รู้ของจริงเหล่านี้แลชื่อว่า สมุทัยชาติทุกข์ หรือทุกขสมุทัย
    รู้นิโร ธะ นั้นอย่างไรจงว่าไป
    แก้ว่า นิโรธะ นั้นคือองค์ปัญญาที่เกิดขึ้น เห็นชาติ เห็นชรา เห็นพยาธิ เห็นมรณะที่เป็นตัวปัจจุบัน มีประจำอยู่ทุกเมื่อ ส่วนที่เป็นอดีตอนาคตก็เป็นอันดับไปตามสัญญาโลก
    ชื่อ ว่าสังขารโลกดับเป็นตัวนิโรธธรรม
    รู้มรรคเล่าจะรู้อย่างไร
    กล่าวว่า อาการแห่งผู้รู้มรรค คือ
    ปัญญาที่รู้ว่า ตนเป็นทุกข์ ด้วยอาการอย่างนี้
    ตนเป็นสมุทัยด้วยอาการอย่างนี้
    ตนเป็น นิโรธด้วยอาการอย่างนี้
    คือเห็นตัวของตัวเป็นมรรค เพราะเหตุว่า เป็นทุกข์อยู่ด้วย
    เป็นสมุทัยอยู่ด้วย
    เป็น นิโรธอยู่ด้วย
    เป็นมรรคอยู่ด้วย
    อาการนี้เองเป็นตัวมรรคคือ มรรคเห็นมรรค
    มรรคเห็นมรรคแล้วจึงชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ
    สัมมาทิฏฐิ เกิดแล้วย่อมชำระมลทินทุกข์โทษใดๆ ให้สะอาดขึ้นได้ ความคิดนึกตรึกตรองด้วยปัญญาอยู่ก็ย่อมเป็นสัมมาสังกัปโป เป็นความดำริชอบแล้ว คือ ดำริออกจากกาม
    ดำริออกจากพยาบาท
    ดำริ ออกจากวิหิงสา
    เหตุว่าได้เห็นโทษของกาม, เห็นว่ากามเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวรัดรึงดวงจิตมิให้ผ่องใสได้ จึงดำริหาจิตวิเวกคอยกีดกันมิให้จิตไปเกาะเกี่ยวในกาม และคอยบำรุงดวงจิตให้อยู่ด้วยเมตตากรุณาธรรมเพื่อกีดกันพยาบาทวิหิงสา อาการนี้เป็นเป็นกิริยาของ สัมมาสังกัปโป
    เมื่อความดำริชอบมีขึ้นเป็น พื้นฐานในใจได้แล้ว ย่อมเป็นธรรมดาตามอัตโนมัติปัจจัตตังอยู่เองที่จะกล่าววาจาชอบเป็นสัมมา วาจา คือเว้นจากมิจฉาวาจาทั้ง ๔ อย่าง อันได้แก่เว้นจากคำเท็จ, เว้นจากคำหยาบ, เว้นจากคำส่อเสียด, เว้นจากคำเหลวไหลไร้ประโยชน์
    หากว่าตามอาการแห่งการรักษาแล้ว คำเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด รักษาง่าย ส่วนคำเหลวไหลเฮฮาคะนองรักษาไว้ได้ยาก
    เหตุนี้จำต้องสมาทานโดยอาศัย ชีวิตให้เป็นแดนและรักษาให้ได้จริงๆ ด้วย จึงจักเป็นสัมมาวาจาในองค์แห่งพระอริยมรรค ถ้าหากรักษาได้บ้างไม่ได้บ้างเป็นแต่ได้กุศลในชั้นกรรมบถเท่านั้น สัมมาวาจานี้ สำเร็จมาแต่สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปโป
    เมื่อมีวาจาชอบ เป็นพื้นในใจตนอยู่แล้ว
    ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่จะประกอบกิจการงานด้วยกาย ชอบ เป็นองค์สัมมากัมมันโตอยู่ได้เอง คือตั้งอยู่ในกิจของพรหมประพฤติอยู่ นั่นคือ มีศีล ๕ อย่างมั่นคงยืนพื้นอยู่ เหตุว่าเป็นผู้มีความเห็นอันตรงถูกต้องว่า ชีวิตเป็นของรักทั่วกัน, สมบัติเป็นของสงวนของทุกคน, กามมีโทษมากมีทุกข์มาก, โทษแห่งวจีทุจริตมีมากนัก, สติที่มีเมตตากรุณามุทิตา อุเบกขาอยู่ทุกเมื่อย่อมได้สุข เหตุนี้เองเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม จึงเป็นองค์แห่งสัมมากัมมันโต
    เมื่อกายกรรมสุจริต วจีกรรมสุจริตแล้ว วัตถุที่ได้มาก็เป็นอันสุจริต ได้มาโดยชอบอยู่นั่นเอง การเลี้ยงชีวิตก็ชอบธรรมเที่ยงตรงได้ ชื่อว่าได้องค์แห่ง สัมมาอาชีโว
    กาย วาจา ใจ วัตถุ ตรงกันก็เป็นอาชีวะอันสะอาดได้ เพราะประพฤติได้ตรง
    สัมมาวาจา, สัมมากัมมันโต, สัมมาอาชีโว มรรค ๓ อย่างนี้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ในดวงจิตของใครผู้ใดแล้ว ผู้นั้นชื่อว่ามีอริยกันตศีล มีขันธสันดานเป็นสีลขันโธ
    ความพากเพียร ที่เป็นไปทางกาย ทางวาจา ทางวัตถุ เป็นอันสำเร็จมาแต่ศีลนั้นแล้ว ความเพียรชอบในใจของผู้ปฏิบัติจึงจักเป็นไปในใจอย่างเดียว ละบาปได้ดี บำเพ็ญบุญได้มากขึ้น เว้นบาปรักษาจิตรักษาบุญของตนไว้ได้ อาการอย่างนี้เป็น สัมมาวายาโม ดังว่า
    สีลปริภาวิโต สมาธิมหปฺพโล โหติ ศีลนั้นแลเมื่อบุคคลอบรมให้เกิดให้มีแล้วย่อมมีสมาธิเป็นมหาผล ก็ใช่อื่นคือว่าความเพียรในองค์อริยมรรคนี้แลเป็นอุปการธรรมแก่สมาธิสติก็ ต้องเพียรทำด้วยปัญญาอันตรงเป็นปัจจุปัฏฐาน คือเป็นสมาธิ
    ความหลักว่า สติปัฏฐาน ๔ อันเป็นที่ตั้งของสติคือ กาย -๑-
    เวทนา -๑-
    จิต -๑-
    ธรรม -๑-
    ให้เข้าใจว่า สติมีอันเดียว คือ ความระลึกแต่ที่ตั้งไว้มี ๔ ดังที่กล่าวมาแล้ว
    และให้พึงเข้าใจ โดยชัดเจนว่า กาย เวทนา จิต ธรรม ก็มิใช่อื่นไป คือรูปกายสกลกายนี้ทั้งหมด คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ วิญญาณ อันประชุมกันอยู่อันหนึ่งก้อนแห่ง กาโย นี้เองชื่อว่ากาย
    อันที่หมาย สุข หมายทุกข์ หมายอุเบกขานี้มีประจำสกลกายนี้ ชื่อว่า เวทนา
    หมาย ความรู้ประจำอยู่ทั้งสกลกายนี้เอง ชื่อว่าจิต
    หมายความเป็นเอง คือธรรมดาประจำอยู่ทั่วสกลกายนี้ เสมอมาชื่อว่าธรรม
    การตั้งสติ ก็ให้ตั้งสติไว้ที่กาย เพ่งกาย
    กายดับเป็น เวทนา เพ่งเวทนา
    เวทนาดับเป็นจิต เพ่งจิต
    จิตดับเป็น ธรรม
    สติปัฏฐานมีมรรคเป็นยอด กิริยานี้ชื่อ สัมมาสติ
    ถ้าสติ ตั้งอยู่ที่ธรรมเป็นองค์สมาธิ จะเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิ ก็ตามก็ได้ชื่อว่าสมาธิธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น คือเป็นสัมมาสมาธิ ที่แก่กล้าขึ้นเรื่อย
    เมื่อสมาธิเกิดขึ้นแล้ว ความเพียรก็สะอาด สติก็แจ่มชัด จิตก็ตั้งมั่นเมื่อนั้นแล
    เป็นอันว่า สมาธิขันธ์เกิดขึ้นได้นี้ ก็มาแต่สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโปเป็นเหตุนั่นเอง
    ปัญญา ขันโธ ศีลขันโธ สมาธิขันโธ เป็นเหตุเป็นปัจจัยอัญญมัญญแก่กันและกันดังนี้แล
    จากข้ออ้างอิงในเบื้องต้นนั้น เป็นแหล่งอ้าง คือ อ้างว่าท่านพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) เป็นผู้บอกมัคควิภาคภาวนานี้แก่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เมื่อครั้งเจริญภาวนากรรมฐานอยู่ที่วัดเลียบในพรรษาต้นๆ ของการบวช
    (โปรด เสาะค้นอ่าน)
    น่าสืบค้น น่าศึกษา ยิ่งนักเพราะ
    เป็นข้อบอกกล่าว ที่สำคัญอย่างสูง
    เพราะเน้นย้ำลงที่ การปฏิบัติในใจนั่นเอง คือเป็นใจที่จะรองรับมัคคสมังคี นั่นหมายความว่า เห็นชอบที่ใจ, ดำริชอบที่ใจ, วิรัตเจตนาด้วย กาย วาจา อาชีวะด้วยใจ, เพียรชอบที่ใจ, ตั้งสติชอบที่ใจ, ตั้งจิตไว้เสมอที่ใจ
    รวมความว่าเป็นอริยมรรคพร้อมขณะ ด้วยองค์ขึ้นที่ใจ จึงชื่อว่า มัคคสมังคี
    เมื่อองค์มรรคทั้ง ๘ มีพร้อมที่ใจแล้วก็จักเป็นเหตุให้เกิด ญาณทัสสนะวิปัสสนาญาณได้ ณ ที่นั้น
    จะ กล่าวง่ายๆ ก็ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา นี้เองที่สามัคคีกันที่ใจแล้ว ย่อมเป็นของมากที่กำลังมีญาณมีทัสสนะ จนรู้จริงเห็นจริงตามเป็นจริงได้
    มีคำถามแทรกขึ้นว่า จะรู้เห็นเป็นไปในอะไรอีกเล่า
    แก้ว่า ก็รู้เห็นในสกลกาย รูปนาม ธาตุขันธ์ อายตนะ นี้เองหล่ะ มิใช่อื่นใดหรอก
    รู้ โลกิยธรรมรู้โลกุตตรธรรม
    รู้ว่าส่วนสมมติทั้งปวงหมดเป็นโลกีย์
    หาก มีญาณทัสสนะมารู้เท่าสมมตินี้ ก็ชื่อว่า แจ้งโลก ถึงธรรม (โลกวิทู ธรรมวิทู)
    รู้โลก – โลกดับ – เป็นวิมุตติ
    เมื่อเป็นวิมุตติก็ เป็นที่สกลกายนี้
    สกลกายนี้ก็มีอยู่เป็นอยู่เท่าเดิมคงเดิม แต่เป็น โลกุตตรธรรม
    ธาตุคงธาตุ ขันธ์คงขันธ์ ธรรมคงธรรม
    รู้เห็นเป็น รู้เป็นอยู่เท่านี้แล้ว ก็เห็นพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
    ผู้ ใดปฏิบัติถึงจะเห็นได้รู้ได้ เห็นเองรู้เอง
    ไม่กำหนดกาล เพราะเป็นของที่อยู่ทุกเมื่อ มีจริง
    น้อมขึ้นสู่ใจได้แล้ว จำเพาะตนแล้ว
    และในประเด็นดังกล่าวนี้เอง ยังปรากฏใน มุตโตทัย ข้อที่ ๑๗ คัดความว่า
    “...มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ มีทั้งสัมมาทิฏฐิ สัมมาสมาธิ...ผู้จะบรรลุวิมุตติธรรม จำต้องบำเพ็ญมรรค ๘ บริบูรณ์ มิฉะนั้นก็บรรลุวิมุตติธรรมไม่ได้
    ไตรสิกขาทั้งศีล สมาธิ ปัญญาอันผู้จะได้อาสวักขยญาณจำต้องบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์ทั้ง ๓ ส่วน...”
    ดังนี้แล้ว เมื่อท่านได้อ่านศึกษาในพระอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้วนี้จงอุตสาหะพากเพียรประพฤติปฏิบัติตามให้ได้เถิด
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๒. อฏฺฐ เตรส
    มรรคมีองค์ ๘ กับธุดงควัตรสิบสามเป็นสามัคคีธรรม
    อ้างความจาก : บำบัดอาพาธด้วยธรรมโอสถ
    “...คราวที่พักอยู่เสนาสนะป่าบ้านห้วยแคน อาพาธกำเริบอีก ได้พยามยามระงับด้วยธรรมโอสถ โดยพิจารณามรรค ๘ กับธุดงค์ ๑๓ เมื่ออาพาธสงบแล้วจึงปรากฏบาทคาถาขึ้นว่า อฏฺฐ เตรส พิจารณาความว่า “มรรค ๘ กับธุดงค์ ๑๓ ประชุมลงเป็นสามัคคีกัน” อาพาธครั้งนี้ ๗ วัน จึงระงับ”
    อรรถาธิบาย : อฏฺฐ คือพระอริยมรรค มีองค์ ๘ ได้อธิบายไว้แล้วในข้อ ๑
    เตรส คือ ๑๓ ข้อของธุดงควัตร
    ธุดงควัตร คือ อะไร
    แก้ว่า ธุดงควัตร เป็นข้อวัตรที่เลิศยิ่ง ประเสริฐวิเศษนัก เพราะเป็นสัลเลขธรรม เป็นอุบายเครื่องขัดเกลากองกิเลสให้เบาบาง ทั้งเป็นเครื่องฟอกศีลธรรม ให้ผ่องใสสะอาด ปราศจากมลทินโทษทุกข์
    ธุดงควัตรนี้เป็นเครื่องประดับของสัตบุรุษพุทธบริษัททั้ง ๔ ผู้ที่ตั้งใจรักษาได้จนบริสุทธิ์เรียบร้อยแล้ว ให้เป็นคนมีสง่าราศี มีรัศมีรุ่งเรืองไพโรจน์ยิ่งนัก เพราะเป็นไปเพื่อความมักน้อย สันโดษ ปราศจากความมักมาก มักได้ มักหลาย มักใหญ่ มักโต มักโอ้อวด
    เป็น คุณคือ เครื่องระงับกุปปธรรมความกำเริบของใจมิให้ฟุ้งฟูเสิบสานทุกข์ใดๆ ขึ้นมาอีก แล้วจากนั้นจึงจักสมควรแก่การที่เจริญสมถกัมมัฏฐาน วิปัสสนากัมมัฏฐานให้หนักขึ้นอีก ยังศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ เพราะอาศัยเตรสธุดงค์ เป็นวัตรเป็นพื้นที่ของใจ
    ธุดงควัตร ๑๓ ได้แก่อะไรบ้าง
    แก้ว่า ได้แก่ข้อปฏิบัติได้ยาก ๔ หมวด ๑๓ อาการ ดังนี้
    หมวดที่ ๑ ว่าด้วยเครื่องนุ่งห่ม
    ๑. ปังสุกุลิกังคะ ถือทรงผ้าบังสุกุล เป็นวัตร
    ๒. เตจีวริกังคะ ถือทรงผ้าไตรจีวรเป็นวัตร
    หมวดที่ ๒ ว่าด้วยบิณฑบาต
    ๓. ปิณฑปาติกังคะ ถือเที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตร
    ๔. สปาทานจาริกังคะ ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร
    ๕. เอกาสนิกังคะ ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียว
    ๖. ปัตตปิณฑิกังคะ ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร
    ๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ถือห้ามภัตอันนำมาภายหลังจากฉันแล้ว
    หมวดที่ ๓ ว่าด้วยเสนาสนะ
    ๘. อารัญญิกังคะ ถือยู่ป่าเป็นวัตร
    ๙. รุกขมูลิกังคะ ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร
    ๑๐. อัมโภกาสิกังคะ ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร
    ๑๑. โสสานิกังคะ ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร
    ๑๒. ยถาสันถติกังคะ ถืออยู่ในเสนาะสนะอันท่านจัดให้
    หมวดที่ ๔ ว่าด้วยอริยบถ
    ๑๓ เนสัชชิกังคะ ถือนั่งเป็นวัตร
    รวมความว่า ธุดงควัตร ทั้ง ๑๓ อาการนี้นับเป็นข้อวัตรของพระพุทธเจ้า เป็นพุทธวัตรที่พระองค์บำเพ็ญมาด้วยพระองค์เองมาก่อนแล้ว จึงได้นำมาแจกจ่ายใน พุทธบริษัททั้ง ๔ ให้ได้บำเพ็ญตาม
    เราท่านทั้งหาย ได้มาพบปะได้มาอ่านศึกษา มาเป็นผู้ปฏิบัติพระพุทธศาสนา เมื่อหวังความพ้นทุกข์ในสงสาร ก็ต้องเอาชีวิตเป็นที่ต้องรองรับธรรมะอุบายการปฏิบัติให้ได้ เพื่อสืบต่ออายุของพระพุทธศาสนาให้เป็นไปได้ เพราะเหตุว่า พระพุทธศาสนาอยู่กับคน เมื่อคนเสื่อมก็ทำให้เสื่อมได้ เมื่อคนทำให้เจริญก็เจริญได้
    เหตุนี้เราท่านทั้งหลาย จงตั้งใจรักษาธุดงควัตรเถิด
    ทีนี้ย้อนหลับ ไปดูกันก่อนว่า องค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้ถือในธุดงควัตรอาการใดบ้างที่ถือทรงไว้เป็นอาจิณ
    จากหนังสือชีวประวัติ (๓๑ ม.ค. ๒๔๙๓) กล่าวว่า ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ มีอยู่ ๔ ประการ
    ๑. ปังสุกูลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุลนับตั้งแต่วันอุปสมบทมาจนตราบกระทั่งวัยชรา จึงได้ผ่อนใช้คหบดีจีวรบ้าง เพื่ออนุเคราะห์แก่ศรัทธาผู้นำมาถวาย
    ๒. ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารวัตรเที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์แม้อาพาธไปในระแวกบ้านไม่ได้ ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉัน จนกระทั่งอาพาธลุกไม่ได้ ในปัจฉิมสมัยจึงงดบิณฑบาต
    ๓. เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาตรใช้ภาชนะในเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธหนักในปัจฉิมสมัยจึงงด
    ๔. เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ตลอด แม้ถึงอาพาธหนักในปัจฉิมสมัยก็มิได้เลิกละ
    ส่วน ธุดงค์อื่นนอกนี้ ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราว ที่นับว่าปฏิบัติได้มากคือ อรัญญิกังคธุดงค์ ถืออยู่เสนาสนะป่าห่างบ้าน...
    ...นับว่าในสมัยที่ ท่านแข็งแรง ได้ออกวิเวกโดดเดี่ยว แสวงวิเวกไปในป่าดงพงลึก จนสุดวิสัยที่ศิษย์หมู่ใหญ่จะติดตามไปถึงได้ เช่นเมื่อครั้งที่อยู่ทางภาคเหนือ
    ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางการถือทรงธุดงควัตร ข้อปฏิบัติขององค์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตเป็นการถือทรงที่เป็นแบบอย่างแก่ศิษยานุศิษย์จนปัจจุบัน
    หาก แต่ว่า
    อฏฺฐ เตรส
    มรรค ๘ กับธุดงค์ ๑๓ ประชุมลงเป็นสามัคคีกัน
    แล้ว เป็นธรรมโอสถได้ด้วยเหตุใด
    ในที่นี้มีข้อคำถามแทรกว่า การบำบัดอาพาธด้วยธรรมโอสถนั่นคือ อย่างใด
    แก้ ว่า เป็นวิธีการระงับอาพาธด้วยธรรมโอสถ คือ ถือทรงเอาธรรมปฏิบัติเป็นยาแก้อาพาธ ธาตุกำเริบ ไม่ย่อยอาหารที่บริโภคเข้าไป ถ่ายออกเหมือนเมื่อแรกบริโภคเข้าไป ชั้นแรกได้พยายามรักษาด้วยธรรมดาจนสุดความสามารถอาพาธก็ไม่ระงับ จึงวันหนึ่งในขณะที่ไปแสวงหายารากไม้เพื่อมาบำบัดอาพาธนั้นได้ความเหน็ด เหนื่อยมาก เพราะยังฉันจังหันมิได้ ครั้นได้ยาพอและกับมาถึงที่พักแล้ว บังเกิดความคิดขึ้นว่า เราพยายามรักษาด้วยยาธรรมดามาก็นานแล้ว อาพาธก็ไม่ระงับ เราจะพยายามรักษาด้วยยาธรรมดาต่อไปก็คงไร้ผลเหมือนแต่ก่อน
    บัด นี้อาพาธก็กำเริบยิ่งขึ้น ควรระงับด้วยธรรมโอสถดูบ้าง หากไม่หายก็ให้มันตายด้วยการประพฤติธรรมดีกว่า ครั้นแล้วก็นั่งเข้าที่คู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติสัมปชัญญะกำเนิดพิจารณากายคตาสติกรรมฐาน ไม่นานก็ได้ความสงบจิต อาพาธก็ระงับหายวันหายคืนโดยลำดับ จนร่างกายแข็งแรงดังเก่า...
    นี่คือ ยารักษาโรคขององค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    และในข้อนี้
    จักอรรถาธิบายให้ตื้นขึ้นมาอีกว่า
    พระ อริยมรรค มีองค์ ๘ ก็มีอยู่ในสกลกายนี้ทั้งหมด และ
    ข้อปฏิบัติ ธุดงควัตร ๑๓ ประการก็เป็นเรื่องของสกลกายนี้ทั้งหมดเช่นกัน
    เมื่อ ทั้ง ๒ ข้อปฏิบัติ มารวมกันเข้าแล้วจึงเป็นธรรมสามัคคี เกิด ณ กายใจ ของตนนี้
    และเมื่อกายใจเป็นธรรมอันเอกด้วยกันแล้ว ก็สามัคคีพร้อมขณะที่ใจ
    ดังนี้แล้วจึงเป็น พละกำลังใหญ่ เอาชนะโรคกายโรคใจได้
    แต่ทว่าการเอาชนะโรคทางกายก็ชนะได้ด้วยเป็นครั้งเป็นคราวๆไป
    แต่ การเอาชนะโรคทางใจนั้น เอาชนะได้แล้วไม่กำเริบคืนอีก
    รวมความว่าการสละ ชีพรักษาธุดงควัตรนี้
    องค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้ถือเอาแนบอย่างของพระพุทธเจ้า
    เหตุว่านับตั้งแต่วันได้ทรงตรัสรู้ ตลอดจนวันปรินิพพาน พระองค์ทรงปฏิบัติอยู่ จึงได้ชื่อว่าพระพุทธองค์ทรงสละชีพรักษาธุดงค์ ดำรงพระพุทธศาสนาตลอดชาติ
    ผู้ ปฏิบัติทั้งหลาย ควรถือเอาแบบแผนเยี่ยงอย่าง และควรสละชีวิตรักษาธุดงควัตร ตามเยี่ยงอย่างของพระบรมศาสดาจารย์เจ้าของเรานี้ ให้จงได้ มิควรท้อถอยทอดธุระในเรื่องนี้เลย
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๓. สจฺจานํ จตุโร ปทา
    อริยสัจจ์ ๔ ชื่อว่าบท
    อ้างความจาก : มุตโตทัย ข้อที่ ๑๔ ความว่า
    ข้อ ๑๔. เรื่องโสฬสกิจ
    กิจในพระธรรมวินัยนี้ ที่นับว่าสำคัญที่สุดเรียกว่า โสฬสกิจ เป็นกิจที่โยคาวจรกุลบุตรพึงพากเพียรพยายามทำให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วยความไม่ ประมาท
    โสฬสกิจ ได้แก่กิจในอริยสัจจ์ ๔ ประการ คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคชั้นโสดาบันก็ประชุม ๔ สกิทาคามีก็ประชุม ๔ สองสี่ก็เป็น ๘ สองแปดเป็น ๑๖ กำหนดสัจจะทั้ง ๔ รวมเป็นองค์อริยมรรคเป็นชั้น ๆ ไป
    เมื่อ เราเจริญอริยมรรคทั้ง ๘ อัน มีอยู่ในกายในจิต คือทุกข์เป็นสัจจะของจริงที่มีอยู่ที่รู้ว่ามีอยู่ เป็นปริญเญยยะควรกำหนดรู้ก็ได้ กำหนดรู้สมุทัยเป็นสัจจะของจริงที่มีอยู่ก็รู้ว่ามีอยู่เป็น ปหาตัพพะ ควรละก็ละได้แล้ว นิโรธเป็นสัจจะของจริงที่มีอยู่ก็รู้ว่ามีอยู่ เป็นสัจฉิกาตัพพะ ควรทำให้แจ้งก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว มรรคเป็นสัจจะของจริงที่มีอยู่ก็รู้ว่ามีอยู่ เป็นภาเวตัพพะ ควรเจริญให้มาก ก็ได้เจริญให้มากแล้ว เมื่อมากำหนดพิจารณาอยู่อย่างนี้ ก็แก้โลกธรรม ๘ ได้สำเร็จ
    มรรคอยู่ที่กายกับจิต คือ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ รวมเป็น ๖ ลิ้น ๑ เป็น ๗ กาย ๑ เป็น ๘ มาพิจารณารู้เท่าสิ่งทั้ง ๘ นี้ไม่หลงไปตามลาภยศสรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทาทุกข์ อันมาถูกต้องตนของตนจิตก็ไม่หวั่นไหว โลกธรรม ๘ เป็นคู่ปรับกับมรรค ๘ เมื่อรู้เท่าส่วนทั้งสองนี้แล้ว เจริญมรรคให้บริบูรณ์เต็มที่ก็แก้โลกธรรม ๘ ได้ก็เป็น ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ อโสกํ วิรชํ เขมํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ โลกธรรมถูกต้องจิตผู้ใดแล้ว จิตของผู้นั้นไม่หวั่นไหว เมื่อไม่หวั่นไหวก็ไม่เศร้าโศก เป็นจิตปราศจากเครื่องย้อม เป็นจิตเกษมจากโยคะ จัดว่าเป็นมงคลอันอุดมเลิศ ฉะนี้แล ฯ
    และอ้างความจากบทธรรมบรรยายข้อที่ ๓ ความว่า



    ..........................................................................

    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือมหาปุญโญวาท 6 พิมพ์ถวายวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ( วัดหลวงปู่จาม ) บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร โดยสำนักพิมพ์มติชน
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td>[​IMG]</td><td colspan="2">
    </td></tr> </tbody></table> [​IMG]มหาปุญโญวาท 6 : ภาค ๑ มหาปุญโญวาท 12
    ข้อ ๓. เรื่องปาฏิโมกขสังวรศีล
    พระวินัย ๕ พระคัมภีร์ สงเคราะห์ลงมาในปาฏิโมกขุทเทส เมื่อปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระวินัยย่อมข้ามไม่ได้ ผู้ปฏิบัติถูกตามพระวินัยแล้ว โมกฺขํ ชื่อว่าเป็นทางข้ามพ้นวัฏฏะได้ ปาฏิโมกข์นี้ก็ยังสงเคราะห์เข้าไปหาวิสุทธิมรรคอีก เรียกว่าปาฏิโมกขสังวรศีล ในสีลนิเทศ
    สีลนิเทศนั้น กล่าวถึงเรื่องศีลทั้งหลาย คือปาฏิโมกขสังวรศีล ๑ อินทรียสังวรศีล ๑ ปัจจยสันนิสสิตศีล ๑ อาชีวปาริสุทธิศีล ๑ ส่วนอีก๒ คัมภีร์นั้น คือ สมาธินิเทศ และปัญญานิเทศ วิสุทธิมรรคทั้ง ๓ พระคัมภีร์นี้สงเคราะห์เข้าในมรรคทั้ง ๘ มรรค ๘ สงเคราะห์ลงมาในสิกขาทั้ง ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อจะกล่าวถึงเรื่องมรรคแล้ว ความประโยคพยายามปฏิบัติตัดตนอยู่ ชื่อว่าเดินมรรค สติปัฏฐานทั้ง ๔ ก็เรียกว่ามรรค อริยสัจจ์ ๔ ก็ชื่อว่ามรรค เพราะเป็นกิริยาที่ยังทำอยู่ยังมีการดำเนินอยู่ ดังภาษิตว่า “สจฺจานํ จตุโร ปทา ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตา” สำหรับเท้าต้องมีการเดิน คนเราต้องไปด้วยเท้าทั้งนั้น ฉะนั้น สัจจะทั้ง ๔ ก็ยังเป็นกิริยาอยู่เป็นจรณะเครื่องพาไปถึงวิสุทธิ์ธรรม วิสุทธิ์ธรรมนั้น จะอยู่ที่ไหน? มรรคสัจจะอยู่ที่ไหน? วิสุทธิธรรมก็ต้องอยู่ที่นั่น! มรรคสัจจะไม่มีอยู่ที่อื่น มโนเป็นมหาฐาน มหาเหตุ วิสุทธิธรรมจึงต้องอยู่ที่ใจของเรานี่เอง ผู้เจริญมรรคต้องทำอยู่ที่นี้ ประชุม ๔ สองสักเป็น ๘ ชั้นอนาคามีประชุม ๔ ชั้นอรหันต์ก็ ไม่ต้องไปหาที่อื่น การหาที่อื่นอยู่ชื่อว่ายังหลง ทำไมจึงหลับไป หากที่อื่นเล่า? ผู้ไม่หลงก็ไม่ต้องหาทางอื่น ไม่ต้องหากับบุคคลอื่นศีลก็มีในตน สมาธิก็มีในตน ปัญญาก็มีอยู่กับตน ดังบาลีว่า เจตนาหํ ภิกฺขเว สีลํ วทามิ เป็นต้น กายกับจิตเท่านี้ประพฤติปฏิบัติเป็นศีลได้ ถ้าไม่มีกายกับจิต จะเอาอะไรมาพูดออกว่าศีลได้ คำที่ว่าเจตนานั้นเราต้องเปลี่ยนเอาสระเอขึ้นนบนเป็นสระอิ เอาตัว ต สะกดเข้าไป ก็พูดได้ว่าจิตฺตํ เป็นจิตจิตเป็นผู้คิดงดเว้น เป็นผู้ระวังรักษา เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติ ซึ่งมรรคผลและผลให้เป็นไปได้ พระพุทธเจ้าก็ดี พระสาวก ขีณาสวเจ้าก็ดี จะชำระตนให้หมดจดจากสังกิเลสทั่งหลายได้ ท่านก็มีกายกับจิตทั้งนั้น เมื่อท่านจะทำมรรคและผลให้เกิดมิได้ก็ทำอยู่ที่นี่ (คือที่กายกับจิต) ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า มรรคมีผู้อยู่ตนของตนนี้เอง เมื่อเราจะเจริญซึ่งสมถะหรือวิปัสสนา ก็ไม่ต้องหนีจากกายกับตจิต ไม่ต้องส่งนอกให้พิจารณาอยู่ในตนของตนเป็นโอปนยิโก แม้จะเป็นของมีอยู่ภายนอก เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นต้นก็ไม่ต้องส่งออกเป็นนอกไป นอกไปต้องกำหนดเข้ามาเทียบเคียงตนของตน พิจารณาอยู่ที่นี้ ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ เมื่อรู้ก็ต้องรู้เฉพาะตนรู้อยู่ในตน ไม่ได้รู้มาแต่นอกเกิดขึ้นกับตน มีขึ้นกับตน ไม่ได้หามาจากที่อื่น ไม่มีใครเอาให้ไม่ได้ขอมาจากผู้อื่นจึงได้ชื่อว่า ญาณทสฺสนํ สุวิสุทฺธํ อโหสิ ฯลฯ เป็นความรู้เห็นที่บริสุทธิแท้ ฯลฯ
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๔. ฌายี ตปติ อาทิจฺโจ
    ฌานแผดเผาเหมือนดวงอาทิตย์
    อ้างความจาก : ชีวประวัติ (๓๑ ม.ค. ๒๔๙๓) ตอนบำบัดอาพาธด้วยธรรมโอสถ ความว่า
    อีกครั้งหนึ่ง เมื่อท่านอาพาธเป็นไข้มาเลเรียขึ้นสมองเจ้าคุณพระเทพโมลี (ธมฺมธโร พิมพ์) อาราธนามารักษาที่วัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่ ท่านก็ยินยอมให้รักษาดู ท่านเจ้าคุณจึงไปเชิญหมอแผนปัจจุบันมารักษาฉีดหยูกยาต่างๆ จนสุดความสามารถของหมอ วันหนึ่งหมอกระซิบบอกท่าเจ้าคุณว่าหมดความสามารถแล้ว พอหมดไปแล้ว ท่านอาจารย์จึงนิมนต์เจ้าคุณพระเทพโมลีไปถามว่าหมอว่าอย่างไร ? ท่านเจ้าคุณก็เรียนให้ทราบตามตรง ท่านอาจารย์จึงบอกว่าไม่ตายดอกอย่าตกใจ แล้วจึงบอกความประสงค์ให้ทราบว่าท่านได้พิจารณาแล้วรู้ว่าอาพาธครั้งนี้จะ ระงับได้ด้วยธรรมโอสถ ณ สถานที่แห่งหนึ่งคือ ป่าเปอะ อันเป็นสถานที่วิเวกใกล้นครเชียงใหม่ท่านจะไปพักที่นั่น เจ้าคุณพระเทพโมลีก็อำนวยตามความประสงค์ ท่านไปพักทำการเจริญกายคตาสติกรรมฐาน เป็นอนุโลม ปฏิโลม เพ่งแผดเผาภายในอยู่ทั้งกลางวันกลางคืน ไม่นานอาพาธก็สงบ จึงปรากฏบาทคาถาขึ้นว่า “ฌายี ตปติ อาทิจฺโจ” พิจารณาได้ความว่า “ฌาน แผดเผาเหมือนดวงอาทิตย์ฉะนั้น”
    อีกครั้งหนึ่ง เมื่อจากนครเชียงใหม่มาสู่อุดรธานีตามคำนิมนต์ของเจ้าพระคุณพระธรรมเจดีย์ พักที่วัดโนนพระนิเวศน์ ๒ พรรษา เพื่อสงเคราะห์สาธุชน ณ ถิ่นนั้นแล้วมาสกลนครตามคำนิมนต์ของนางนุ่ม ชุวานนท์ พักที่วัดป่าสุทธาวาส เพื่อสงเคราะห์สาธุชนพอสมควรแล้ว เลยออกไปพักที่เสนาสนะป่าบ้านนามน และบ้านนาสีนวนนั้นอาพาธกำเริบ เป็นไข้และปวดท้องได้พิจารณาตามโพชฌงค์มิท้อถอย เมื่อพิจารณาโพชฌงค์พอแล้วได้อยู่ด้วยความสงบ ไม่นานอาพาธก็สงบ จึงปรากฏบาทคาถาขึ้นว่า “ฌายี ตปติ อาทิจฺโจ” พิจารณาได้ ความเหมือนหนหลัง
    ด้วยอำนาจของการพิจารณาในองค์แห่งฌาน
    เอาความสงบเป็นกำลังของการ พิจารณาแล้วดำเนินสู่การมนสิการในกองทุกข์ คือ โรคาพาธอันปรากฏอยู่ ว่าตามสัญญาแล้วเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างไร มีอะไรเป็นปัจจัยเมื่อจิตทรงธรรมอยู่ด้วยอำนาจของการพิจารณา
    ยังความรู้ แจ้งธรรมที่เกิดขึ้น พร้อมด้วยเหตุ
    เมื่อรู้เท่าทันเหตุอันสืบเรื่องกัน อยู่ ก็เป็นอันดับอาพาธได้
    ดังว่า “เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรแห่งอยู่เมื่อนั้นความ สงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ยอมสิ้นไป เพราะรู้ธรรมพร้อมด้วยเหตุ”
    คำว่า “ความสงสัย” ในที่นี้
    คือ เหตุแห่งการอาพาธ
    และเมื่อรู้แจ้งในทั้ง เหตุทั้งปัจจัยแล้ว ก็เป็นอันระงับทุกข์ แผดเผาทุกข์ที่เกิดจากธาตุประจำสกลกายที่เกิดจากธาตุประจำสกลกายที่แปรปรวน ได้
    ดังพระพุทธอุทานเมื่อปัจฉิมยามว่า “เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นพราหมณ์ผู้นั้นย่อมกำจัดมารและเสนามารเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยทำให้ท้องฟ้าสว่างฉะนั้น”
    รวมความว่า อยู่กับความสงบ
    พิจารณา ธรรม
    รู้เท่าจึงเป็นปกติ
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๕. นาญฺญตร โพชฌา ตปสา นาญฺญตร ปฏินิสฺสคฺคา
    ธรรมอื่นเว้นโพชฌงค์เสียแล้ว จะเป็นเครื่องแผดเผาไม่มี
    อ้างความ จาก : ชีวประวัติตอนบำบัดอาพาธด้วยธรรมโอสถ (๓๑ ม.ค ๒๔๙๓) ความว่า
    “...อีก คราวหนึ่งเมื่อท่านอาศัยอยู่ห้วยน้ำกึงอันเป็นอรัญญสุขวิหารราวป่าชัฏ ก่อนจะอยู่ที่นั่นท่านพิจารณาธาตุขันธ์ ได้ความว่าอาพาธจะกำเริบ และจะระงับได้ในสถานที่นั้นจึงได้หลีกหมู่คณะไปอยู่องค์เดียวในสถานที่นั้น พอตกกลางคืนอาพาธอันเป็นโรคประจำมาแต่ยังเด็กกำเริบ คือปวดท้องอย่างแรง นั่งนอนไม่เป็นสุขทั้งนั้น จึงเร่งรัดพิจารณาวิปัสสนาประมาณ ๑ ชั่วโมง อาพาธก็สงบ ปรากฏว่าร่างกายนี้ละลายพรึบลงสู่ดินเลย จึงปรากฏคาถาขึ้นว่า “นาญญตฺร โพชฌา ตปสา นาญญตร ปฏินิสฺสคฺคา” พิจารณาได้ความว่า ธรรมอื่นเว้นโพชฌงองค์เสียแล้วจะเป็นเครื่องแผดเผามิได้มี”

    ๖. นโม วิมุตฺตานํ นโม วิมุตฺติยา
    ในหัวข้อนี้ให้ข้ามไปอ่าน
    ในภาคที่ ๒ ธรรมะละเมอ หน้า ๒๒๒ – ๒๒๘ (ในหนังสือเล่มนี้)

    ๗. ปุพฺเพ มชฺเฌ ปจฺฉา อุปสนฺโต มา เต วิชฺชตุ
    สิ่งใดมาก่อน ทำสิ่งนั้นให้เหือดแห้งไปก่อน
    ตัดกังวลในที่สุด ท่ามกลาง ก็ไม่ถือเอาจึงจักสงบระงับได้
    อ้างความจาก : บทธรรมบรรยาย ข้อ ๗ และข้อ ๙ ดังนี้
    ข้อ ๗. สังสารทุกข์
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนา ซึ่งสังสารทุกข์ไว้ว่า สังสาระ การท่องเที่ยวเกิดตายของสัตว์เปรียบเสมือนสระคือเป็นโอกาสที่เที่ยวที่ลงของ สัตว์ทั้งหลาย.
    สโรติ วุจฺจติ สํสาโร ก็ที่ท่านเรียกว่าสังสาระนี้ หมายถึงความท่องเที่ยวไปด้วยการบังเกิดและจุติ อาคมนํ การมาสู่โลกนี้ คมนํ การไปสู่โลกหน้า คมนาคมนํ ทั้งไปและมา กาลํ กาลกิริยาคือมรณะ ขาดชีวิตอินทรีย์ คติ ความไป ภวาภโว ภพน้อยภพใหญ่ จุติ ความเคลื่อนจากภพ อุปฺปตฺติ ความเข้าถึงอัตตภาพ นิพฺพตฺติ ความปรากฏชัดแห่งขันธ์ ชาติ ความเกิดชรา ความแก่มรณํ ความตาย.
    ความท่องเที่ยว บังเกิด กำเนิด เกิดแก่ ตาย อันเป็นประหนึ่งโคถูกรวบคอเข้าไปแอกฉะนั้น ได้ชื่อว่าสังสาระ คือเสือกไสดันไป ซึ่งท่านแสดงไว้ว่า ธนฺธานํ ปฏิปาฏิยา ธาตุอายตญฺจ อนฺโมจฺฉินฺนํ วฏฺฏมานา สํสาโรติ วุจฺจติ ลำดับแห่งขันธ์ธาตุ แลอายตนะทั้งหลายเป็นไปอยู่ไม่ขาดสาย ผู้รู้ท่านกล่าวว่า สังสาโร คือความเสือกซ่านท่องเที่ยวไป
    สังสาระนี้ เมื่อจะกำหนดนามในสาคร ๔ เป็นดังนี้ คือ สังสารสาคร ๑ ชลสาคร ๑ นยสาคร ๑ ญาญสาคร ๑ สังสาร สาครได้ชื่อว่าสโร คือสังสาระเปรียบเหมือนสระ
    บทว่า มชฺเฌ สรสฺมึ ติฏฺฐตํ นั้นแสดงว่า สระสังสาระสาครนี้ เป็นมัธยม สถานกลาง เพราะว่าที่สุดเบื้องต้น และที่สุดเบื้องปลายแห่งสังสาระนั้น อันบุคคลหารู้ทั่วรู้ชัดไม่ เงื่อนเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งสังสารนั้นไม่ปรากฏ จึงเป็นมัธยมสถานกลางด้วยประการฉะนี้.
    มชฺเฌ สํสาเร สตฺตา ฐิตา ก็แลสัตว์ทั้งหลายได้ตั้งอยู่แล้วในสังสาระอันเป็นสถานกลาง ซึ่งเป็นโอฆะห้วงน้ำใหญ่ท่วมทับ คือ กามโอฆะ ๑ ภวโอฆะ ๑ ทิฏฐิ โอฆะ ๑ อวิชชาโอฆะ ๑ โอฆะทั้ง ๔ แต่ละอย่างๆ อาศัยปัจจัยนั้น ๆ แล้วเกิดขึ้นเจริญทวีมากขึ้นเป็นห้วง พัดพาสัตว์ให้เพียบด้วยทุกข์ คือเกิดแก่ตาย อยู่ในสระสังสารนั้น ถูกภัยให้ใหญ่เบียดเบียนร่ำไป ภัยใหญ่คือชาติความเกิดชราความแก่พยาธิความเจ็บป่วยไข้ มรณํความตาย แตกขาดแห่งชีวิตดินทรีย์ ทุกฺขํ ความทุกข์ กาย ลำบากใจ เหล่านี้แหละเป็นภัยใหญ่หลวงนัก มีเกลื่อนกล่นอยู่ในสระสังสาระ ชรามจฺจุปเรตานํ เหล่าสัตว์ผู้ตั้งอยู่ ณ สังสาระอันเป็นสถานกลาง เกิดห้วงและมีภัยใหญ่หลวง เป็นสัตว์อันความแก่และความตาย แวดลอมรุมเบียดเบียนเป็นนิตย์ความแก่และความตาย ท่านกำหนดเป็นประธานแห่งความทุกข์ทั้งหลาย เอวมาทิตฺตเก โลเก ชราย มรเณน จโลกคือขันธ์ธาตุ อายตนะ รุ่งเรืองร้อนแต่ต้น เพราะความแก่และความตายเข้าจุดเผา เหล่าสัตว์ที่ตั้งอยู่ สระสังสาระ อันเป็นสถานกลางเกิดโทษและภัยใหญ่หลวงรุมล้อมเบียดเบียนด้วยประการฉะนี้
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ข้อ ๙. อุปสันตบุคคล
    สิ่งอันใดหรืออารมณ์อันใดที่ได้ยึดแล้วไว้แล้ว จับต้องแล้ว ถือมั่นแล้ว ด้วยอำนาจ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ อันมีอยู่ในสันดาน สิ่งอันนั้น หรืออารมณ์อันนั้น ท่านพึงสละละวางเสียพึงปลดเปลื้องเสียให้สิ้นพึงละเสีย พึงบรรเทาเสีย พึงกระทำให้มีที่สุด พึงให้ถึงซึ่งอันบังเกิดตามไม่ได้ มา เต วิชฺชตุ กิญฺจนํ เครื่องกังวลคือราคะโทษะโมหะ และทิฏฐิ กังวลคือกิเลส และทุจริตอย่างให้มีในสันดาน ยํปุพฺเพ ตํ วิโสเสหิ สิ่งใดมีในก่อนท่านจงยังสิ่งนั้นให้เหือดแห้ง ปจฺฉา เต มาหุ กิญจนํ กังวลในภายหลัง อย่าให้มีในสันดาน มชฺเฌ เจ โน คเหสฺสสิ ท่านอย่าได้ถือเอา ณ ท่ามกลาง อุปสนฺโต จิรสฺสสิ ท่านก็จักเป็นคนสงบระงับแล้วเที่ยวอยู่.
    ๘. อุทฺธํ อโธ ติริยญฺจาปิ มชฺเฌ
    เบื้องต้น แต่ปลาย ท่ามกลาง ไม่ให้มันรวมกัน
    อ้างความจาก : บทธรรมบรรยายข้อที่ ๒ สันตธรรม ความว่า
    ข้อ ๒. สันติธรรม
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงซึงสันติธรรมแก่โธตกมาณพ จึงตรัสพระคาถาว่า ยํ กิญฺจิ สญฺชานาสิ โธตก อุทฺธํ อโธ ติริยญฺจาปิ มชฺเฌ เอตํ วิทิตฺวา สงฺโคติ โลเก ภวาภวาย มาภาสิ ตณฺหํ แปลความว่า ดูกรโธตกะ ท่านมากำหนดรู้หมายรู้ซึ่งอารมณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเป็นเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาสถานกลางว่า เป็นเครื่องข้องอยู่ในโลกเครื่องเกี่ยวสัตว์ไว้ในโลกดังนี้แล้ว อย่าได้ทำซึ่งตัณหาความปรารถนาเพื่อภพน้อยภพใหญ่เลยดังนี้
    อธิบายว่า ท่านมารู้แจ้งสัญญานั้นด้วยปัญญา ว่าเป็นเครื่องข้อง เครื่องติดอยู่ในโลกดังนี้แล้ว อย่าได้ทำตันหาความปรารถนาเพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย ส่วนคำว่าเบื้องบนเบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลางในพระคาถานั้น ก็มีนัยอธิบายเป็น ๖ นับเช่นเดียวกับเรื่องวิเวกธรรมที่กล่าวมาแล้ว
    ทรงแสดงที่อาศัยแห่งกิเลสปปัญจธรรมมีสัญญาเป็นนิทานว่า ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อันทำให้สัตว์เนิ่นช้า ๓ ประการนี้ มีสัญญาความสำคัญหมายเป็นเหตุให้เกิดเมื่อบุคคลมาสำคัญหมายในส่วน อดีต อนาคต ปัจจุบัน สุข ทุกข์ อุเบกขา กุศลากุศล อัพยากฤต สามธาตุสามภพ ด้วยประการใดๆ ปปัญจสังจารที่ทำให้เนินช้า คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ บังเกิดกล้า เจริญทวีขึ้นด้วยประการใดๆ ทำให้บุคคลเกิดความเห็นถือมั่นด้วยตัณหาว่า เอตํ มม นั่นเป็นของเรา ถือมั่นด้วยมานะว่า เอโส หมสฺมิ เราเป็นนั่น ถือมั่นด้วยทิฏฐิว่า เอโส เม อตฺตา นั่นเป็นตัวตนแก่นสารของเรา ดังนี้แล้ว ก็ข้องอยู่ในอารมณ์นั้นๆ ด้วยฉันทะราคะ สิเนหอาลัยผูกพันจิตใจไว้ไม่ให้เปลื้องปลดออกได้ สัญญาอันเป็นนิทาน เป็นเหตุเกิดแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิก็ดี ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อันเกิดแต่สัญญานั้นก็ดี สงฺโค เป็นเครื่องข้องเครื่องติด เครื่องเกี่ยวสัตว์ไว้ในโลกไม่ให้พ้นไปได้ เอตํ วิทิตฺวา สงฺโคติ โลเก ท่านรู้แจ้งประจักษ์ว่าสัญญาเป็นเหตุแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ มีสัญญาเป็นเหตุดังนี้แล้ว ท่านอย่าได้ทำตัณหา คือความปรารถนาดิ้นรน ด้วยจำนงหวังต่างๆ เพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย ท่านจงหยั่งญาณรู้ชั่งด้วยตราชู คือปัญญา แล้วเห็นประจักษ์แจ้งชัดว่า เป็นเครื่องผูกจำ เป็นเครื่องเกี่ยวสัตว์ไว้ในโลกท่านอย่าได้ทำซึ่งตัณหา เพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย ตัณหาอันเป็นไปอาธารวิสัยคือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์แตกต่างโดยอาการปวัฏฏิเป็น ๓ ประการ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหา ๖ หมู่ ตามอารมณ์ สามอย่างตามอาการที่เป็นไปในภพ เป็นธรรมอันเกิดอีก เกิดขึ้นเป็นไปพร้อมกับทุกข์ คืออุปทานขันธ์ท่านอย่างได้ทำตัณหานั้น เพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย ท่านจงละตัณหานั้นเสีย จงบรรเทาเสีย ทำตัณหานั้นให้มีที่สุด ท่านจงยังตัณหานั้นให้ถึงซึ่งอันจะยังเกิดตามไม่ได้ ท่านจงละตัณหาด้วยสมุจเฉทปหานเถิดฯ”
     

แชร์หน้านี้

Loading...