มหาปุญโญวาท

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 20 มีนาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
     กิเลสมิดับได้โดยง่าย 
    ถาม : หลวงปู่ครับ คนที่อวดตัวกับกิเลสนี้ทำไมมีมากนักละครับ ?
    ตอบ : ก็ บ่ใช่เรื่องอะหยังหล่ะ
    ขี้โง่ใคร่ง่าวทั้งนั้นหล่ะ นี้หล่ะ ท่านอาจารย์ตื้อ (อจลธมฺโม) ได้ด่าแม่ชีคนหนึ่งอยู่ศาลาวัด อโศการาม
    อี ยายแม่ชีคนนั้นบวชได้ไม่นานหรอก หากะบวชเข้ามา แล้วมาปฏิบัติอวดตัวว่าเก่งอย่างนั้นเก่งอย่างนี้ ทุกวันก็กิเลสละลดลงไปได้ทุกวัน เบาบางแล้วได้อริยะภูมิแล้ว หลายวันมันก็มาว่ากลางหมู่กลางคณะ
    “อิฉันนะหลวงตา เดี๋ยวนี้กิเลสใกล้จะดับหมดได้แล้ว ใจเยือกเย็นนัก”
    มันพูดไปหลาย อย่างหลายอัน ท่านอาจารย์ตื้อ ก็นิ่งเฉยอยู่ปล่อยให้มันพูดไปจนจบ อย่างนั้นหลายวัน
    จนได้วันหนึ่งมันก็ว่าอย่างเก่า วันนั้นญาติโยมผู้คนมาทำบุญกันเต็มศาลามันว่าอวดโอ่ของมันจนหมด
    “หมด จริงๆ หรือคุณนาย
    “หมดแล้วเจ้าค่ะ”
    “จริงหรือ”
    “จริงเจ้าค่ะ”
    “แน่ นะ”
    “แน่ใจเจ้าค่ะ”
    “อีตอแหล”
    พอท่านอาจารย์ตื้อว่าให้ว่า “อีตอแหล” เท่านั้นหละมันลุกขึ้นด่าว่าท่านอาจารย์ตื้อว่า เป็นพระเป็นสงฆ์ผู้คนเคารพกราบไหว้ กลับมาพูดจาหยาบคาย เสียแรงนับถือ ไม่นับถือแล้ว” มันว่าแล้วก็ลงส้นตึงๆ ไป ผู้คนชาวศรัทธา โฮ่กันซาว
    “โอ... ดีแล้วท่านอาจารย์ ปราบกิเลสมันบ้าง รำคาญหูนักกับแม่ชีคนนี้”
    “นั่น หล่ะ กิเลสมันไม่หมดง่ายๆ หรอก”

     ครั้งหนึ่งมีญาติโยมนำกล้าโพธิ์จากอินเดียมาถวาย และต้องการจะให้ปลูกไว้ในวัด องค์หลวงปู่รับไว้ แล้วชี้แจงกับโยมว่า “วัดนี้พื้นที่แคบจะปลูกต้นโพธิ์ไม้ใหญ่ไพรหนา ไม่ได้ เพราะกินพื้นที่
    มหาโพธิ์ ต้นศรีมหาโพธิ์ คือ ปลูกแล้วอุปโลกน์สมมุติไว้เป็นองค์แทนพระศาสนา นี่หากปลูกแล้วบอกกล่าวกันไว้แล้ว จะตัดจะย้ายจะทำลายมิได้ เพราะเคารพบูชากันแล้ว ยกจากไม้ปาแป้ง ขึ้นมาเป็นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นใหญ่ใบดก ร่วงหล่นเหยียบย่ำ หรือ กวาดเผาก็ไม่สนิทใจ เกรงจะเป็นบาปจะเอาให้วัดที่เขามีพื้นที่มากไปปลูกให้”
    ครั้นเมื่อโยม เจ้าศรัทธารายนี้กลับไปแล้ว จึงได้กราบเรียนถามว่า “เป็นต้นโพธิ์ต้นแรกที่พระพุทธเจ้านั่งประทับหรือไม่ครับ ?” องค์หลวงปู่ตอบว่า คงไม่ใช่ เพราะต้นแรกนั้นเป็นสหชาติ เป็นอัสสัตถพฤกษาพื้นบ้านเขาเรียกไม้ปาแป้ง พอพุทธะอุบัติก็ใส่ชื่อว่า พระศรีมหาโพธิ์ เพราะการทำลายเบียดเบียนต้นโพธิ์นี้
    ผู้คนพระเณรตายกัน มามาก บาปมากบุญก็มาก ผู้ข้าฯ อยู่เมืองเหนือพวกตัดทำลาย ตายเลือดออกปากออกหู เป็นแผลเป็นหนองทั่วกายตายกันเป็นหมู่เป็นคณา
    บ้าน เรานี้ก็มีตายไปเป็นเปรตเลือดไหลเลือดซึมอยู่เหมือนกับยางโพธิ์ที่ไหลซึมออก มา”

     ถาม : หลวงปู่ครับผมมีความทุกข์ใจมาก ขณะนี้เป็นทุกข์มาก มากราบขอเมตตาองค์หลวงปู่ครับ ?
    ตอบ : ความทุกข์ในใจ
    คนผู้ไม่ รู้จักทุกข์มัก (ชอบ) เก็บเอาไว้ในใจ
    คนผู้รู้จักได้แล้ว บางคนก็เก็บ บางคนก็รู้จักเท่าทัน
    ความสุขในใจ
    คนไม่รู้จักความสุขก็สุขได้
    แต่ คนรู้นั้นสุขได้มากกว่า
    ผู้ใดรู้สุขรู้ทุกข์ ผู้นั้นรู้จักธรรม
    ผู้ อาศัยธรรมแล้ว ไม่ติดในทุกข์สุขประการใดๆ
    เพราะได้ธรรมะ
    ถาม : กราบ ขอบคุณครับ หลวงปู่
    ตอบ : นั่นสิทุกข์ไปทำไม
    ถาม : ครับผม
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
     รู้เจียมรู้ถ่อมและหลบซ่อน
    วันหนึ่งมีนายตำรวจผู้ใหญ่จากจังหวัดมากราบขอพรวันเกิดจากองค์หลวงปู่จะ มาประจวบกับเวลากำหนดภาวนา ๑๓.๑๕ น. ลูกศิษย์วัดก็ประสงค์จะให้เวลาแก่เจ้านายก่อน จึงเข้าสมาธิภายหลัง องค์หลวงปู่ก็นั่งรออยู่
    จนที่สุดเลยเวลามาก ก็ตัดสินใจไม่รอ
    องค์ หลวงปู่ว่า “เว้านำเจ้านำนาย
    บายขี้ควายดีกว่า”
    แปลความ ว่า พูดกับเจ้ากับนาย สู้จับขี้ควายดีกว่า แปรความหมายไปอีกโสดหนึ่งว่า เราผู้ราษฎรต่ำต้อย (ยิ่งเป็นนักบวชด้วยแล้ว) จะตื่นเต้นตื่นตูมไปอะไรกับเจ้านาย เพราะสู้กับการจับขี้ควายใส่พืชพันธ์ปลูกฝังมิดีกว่าหรือนัยว่า ให้รู้จักสำรวมตนของตน รู้เจียมรู้ถ่อม และหลบซ่อน

     มีลูกศิษย์ผู้หนึ่งส่งหนังสือ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์) นักปราชญ์จากแดนอีสาน มาถวาย จึงได้นำกราบเรียนองค์หลวงปู่ องค์ท่านอ่านพยายามทำความเข้าใจ สนใจมาก พร้อมกับปรารภว่า “นี้หล่ะเรื่องของปราชญ์พระอรหันต์ ไม่มียุคไม่มีกาล เวลาใดๆ คนผู้ยินดีพอใจในทางพ้นทุกข์ก็ต้องยินดีตามศึกษาตาม ปราชญ์เมืองอุบล ปราชญ์บ้านหนองใหลนี้มีอยู่หลายองค์
    เพิ่นเจ้าคุณ (อุบาลีฯ) นี้ เป็นพระธรรมกถึกเอก หาได้ยาก แม้แต่เพิ่นครูอาจารย์เสาร์ (กนฺตสีโล) เพิ่นครูอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) ก็ศึกษาธรรมปฏิบัติมาจากท่าน คนอาจหาญกล้าแกร่ง เด็ดเดี่ยว ได้สำเร็จมรรคสุดท้ายแต่เมืองเชียงตุง การก่อสร้างซ่อมแซมก็เก่ง
    อ่านไปเถ๊อะ ศึกษาแบบอย่างของเพิ่น
    สู เจ้าคนหน้อยหนุ่มตาดีอ่านได้แจ้งใส
    ผู้ข้าฯ แต่ก่อนก็อ่านมาสมัยอยู่เมืองเชียงใหม่ เป็นเณรก็เคยได้อ่านท่องจำโลกนิติ์”

     “ข้าพเจ้ามาจากกรุงเทพฯ ทำงานรับราชการอยู่ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (แยกมาจากกรมป่าไม้)
    มาที่วัดนี้เพื่อต้องการ มากราบหลวงปู่จาม และต้องการให้ท่านสั่งสอนและแนะนำในเรื่องธรรมะและเรื่องอื่นๆ เพื่อให้ข้าพเจ้าได้มีดวงตาเห็นธรรม”
    เมื่อองค์หลวงปู่อ่านข้อความที่ อ้างมาข้างต้นนี้แล้ว
    จึงได้ปรารภว่า “ อยากเห็นธรรมะ
    อยากได้ ธรรมะ
    ต้องทำตนให้เป็นธรรมะเสียก่อน คำสอนคำแนะนำจะให้ประโยชน์ได้ต้องทำตาม มิใช่ทำตามอยากนะ ให้ทำตามธรรม
    ให้ ตนตามธรรม ธัมมาธิปไตย
    อย่าให้ธรรมะมาตามตน
    อย่าเป็น อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย ใจเป็นใหญ่เหนือธรรมะนั้นไม่ดีหรอก ตั้งใจไปเถอะ”

     มโนคติสติปัญญา โพธิสัตว์ค่าประเสริฐศรี
    มติแห่งคุณงามความดี เพื่อมวลมนุษย์โลกนี้อเนกอนันต์
    ..... เพียรพายสำเภาแก้ว
    สู้ ถึงแล้วนีรพาน
    กุศลส่งธัมม์บันดาล พุทธโพธิญาณกล้า ล้วนเลิศหล้าบารมี......

    ๏ พระ พุทธผุดผ่องแผ้ว พระพุทธองค์
    พระ ธรรมทอดธำรงค์ เด่นหล้า
    พระ สงฆ์วิสุทธิสงฆ์ ใสสะอาด
    พระ ไตรรัตน์อุบัติเจ้า แจ่มพื้นไตรภูมิ ๚๛

    ขรรค์ ชัย บุนปาน
    ศิลปวัฒนธรรม มีนาคม ๒๕๔๙

     วันหนึ่งขณะผู้เขียนนั่งฉันน้ำชาช่วงบ่ายอยู่ใต้ถุนกุฏิ ได้มีโยมมาขอเข้ากราบองค์หลวงปู่ จึงได้นำขึ้นกราบองค์หลวงปู่ องค์ท่านได้ให้โอวาทว่า
    “ ให้ตั้งใจไหว้พระสวดมนต์
    ตั้งใจใน ศีล ๕
    ตั้งใจในตนของตนทุกอย่างไป
    อยากจะไปสวรรค์ก็จะได้
    ตั้ง ใจไปเถ๊อะ”
    จากนั้นโยมเขียนถามว่า “ศีล ๕ รักษาอย่างไร ?” องค์หลวงปู่ว่า “ผู้ข้าฯ หูไม่ดี ให้ถามเอากับตุ๊(พระ) ต๋นนี้เถอะ” ว่าพร้อมชี้มือมาที่ผู้เขียน เมื่อจบจากองค์หลวงปู่แล้วจึงได้อธิบายแก่ความโยมคณะนั้นว่า....
    ศีล ๕ นั่นอย่างไร ?
    “ผู้จะตามรักษาศีล จงเป็นผู้มีศีลเป็นที่รักด้วยดี มีความเคารพศีลทุกเมื่อดุจนกน้อยต้อยตีวิดตามรักษาฟองไข่ ดุจจามรีตามรักษาขนหาง
    “นรชนพึ่งสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ
    พึ่ง สละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต
    พึ่งสละชีวิต เพื่อรักษาธรรม”
    “เราจะ สละชีวิตของเรา แม้สิ้นร้อยชาติก็ตาม
    เราจะไม่ทำลายศีลของเรา
    หรือเมื่อทำลายศีลของเราแล้วจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิครองทวีปทั้งหมด เราก็ไม่ทำ”
    เมื่อจะรักษาศีลก็พึงศึกษาเรื่องศีล
    วันนี้จะอธิบาย เรื่อง นิจศีล หรือปกติศีล คือ ศีลที่ควรให้มีอยู่เป็นประจำวันประจำกายใจของเรานี้อยู่
    คำว่า “ศีล” คือที่ตั้งที่อาศัยที่เกิดขึ้นของคุณธรรมต่างๆ ทั้งหลาย
    เมื่อบุคคล มาตั้งมั่นอยู่ในศีลแล้ว คุณธรรมย่อมไม่เสื่อม
    พระบรมศาสดาตรัสว่า “บุคคลผู้มีปัญญา ตั้งมั่นในศีล อบรมกาย อบรมจิต อบรมปัญญา เป็นผู้มีความเพียร มีปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครองของตน เห็นภัยในวัฏฏะอยู่ บุคคลเช่นนี้ย่อมสางความรก คือ ตัณหาได้”
    การมีศีลธรรมอันดีนั้น เป็นการมีชีวิตใช้ชีวิตในทางอันไม่มีโทษ ต่อมาจนการหาเครื่องเลี้ยงชีพ การใช้ทรัพย์สินที่ได้มาอย่างมีความสุข ไม่มีความหวาดระแวง ไม่ต้องสะดุ้งกลัวหวาดเสียว เพราะไม่มีความชั่วในตนให้ต้องทุกข์ เพราะไม่มีความหวาดระแวงใดๆ มาคอยหลอกหลอน
    เช่น ผลที่ได้รับจากการงดเว้นปาณาติบาต
    ๑. มีอวัยวะน้อยใหญ่ไม่สมบูรณ์
    ๒. มีความถึงพร้อมด้วยสัดส่วน ส่วนสูงพอดี ส่วนกว้างพอดี ทรวดทรงงาม
    ๓. มีเชาว์ไวไหวพริบดี
    ๔. มีเท้าตั้งอยู่เรียบดี มีโรคน้อย
    ๕. มีความสวยงาม หล่อเหลา สวยสด
    มี กายนุ่มนวล ผิวกายสะอาดสะอ้าน ผิวพรรณดั่งจุลจันท์
    ๖. มีความกล้า หาญ มีพละกำลังมาก องอาจ
    ๗. เป็นผู้มีถ้อยคำสละสลวย
    ๘. เป็นที่รักที่พอใจของสัตวโลกทุกหมู่ ไม่พลัดพราก ไม่มีความแตกแยกในหมู่ ศัตรูกำจัดได้ยาก ไม่เป็นอันตราย
    ๙. มีพรรคพวกบริวาร มีมิตรมีสหายดี ชอบอยู่ในธรรม
    ๑๐. ไม่เศร้าโศก มีอายุยืน
    “ภิกษุ ทั้งหลาย ปาณาติบาต อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก กำเนิดในสัตว์เดรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากของปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด ย่อมยังให้เป็นผู้มีอายุน้อย”
    ปาณาติบาต นี้จะมีโทษมากน้อยขึ้นอยู่กับร่างกายของสัตว์, คุณธรรมของสัตว์ และจิตที่พยายามจะฆ่าให้ตายของผู้ฆ่า
    เช่น รู้ว่าสัตว์ รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต มีจิตคิดจะฆ่า พยายามหาทางที่จะฆ่า จนฆ่าสัตว์นั้นจนขาดชีวิตตายไป ฆ่าสัตว์ ใหญ่ บาปมากกว่า
    ฆ่าสัตว์มีคุณมากบาปมาก
    ฆ่ามนุษย์มีโทษมาก
    คุณ – ๑, ขนาด – ๑, ความพยายาม – ๑, กิเลสเจตนา – ๑
    ทั้ง ๔ ประการนี้เองที่เป็นเกณฑ์ในการวินิจฉันโทษของปาณาติบาต
    อริยสาวกในธรรม วินัยนี้ งดเว้นจากปาณาติบาตแล้ว มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ธรรมไปตลอดทิศอยู่ ไพบูลย์อยู่ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน
    อริยสาวกทั้งหลายได้ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตวางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอายบาป มีความเอ็นดูเกื้อกูลอนุเคราะห์ในสรรพสัตว์อยู่”
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คำว่า “ปาณาติบาต” แปลว่าทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
    ก็หมายเอา ความว่า การฆ่า การปลงชีวิต
    การฆ่าก็อาจจะด้วยกาย หรือศัสตราอาวุธเนื่องด้วยกาย และการฆ่าด้วยวาจา สั่งผู้อื่นฆ่าหรือออกอุบาย และการฆ่าด้วยอาการทั้ง ๒ นี้ ก็ออกไปจากใจ คือ มีจิตคิดจะฆ่า
    คุณของการละการเว้นจากการฆ่ามีอยู่
    โทษของการฆ่า ประหัตประหารมีอยู่ เมื่อรู้แล้วอย่างใดก็ให้ตกแต่งเอาไว้ในตนของตนเถิด ๒. อทินนาทาน การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ เอาของที่เขาหวงแหน เช่น ขโมย หรือกิริยาต่างๆ อันเป็นงานของโจร เช่นว่า ลัก, ขโมย, คิดอยากได้โลภ, ผลาญสมบัติสาธารณะ, ปิดกั้น, โกง, รับสินบน, ปลอมแปลงปลอมปน, ละเมิดสิทธิและทรัพย์สิน, อื่นๆ อีก
    รวมความว่า การถือเอาของคนอื่นที่เขาหวงแหนอยู่ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยกิริยาโจร ชื่อว่า อทินนาทาน
    มีไถยจิตเจตนาจะลัก ผลักดันให้เกิดความพยายามที่จะเอาในของของคนอื่นของอันที่เขาหวงอยู่ จนที่สุดลักมาได้ในครอบครอง
    โทษของการลักขโมยมีอยู่ เช่นว่า “ภิกษุทั้งหลาย อทินนทาน ที่บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ ให้ไปในนรก ในกำเนิดของเดรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากของอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อมถึงความพินาศแห่งทรัพย์ เป็นคนยากจนข้นแค้นขาดแคลนทรัพย์ประการใดๆ”
    ส่วนคุณของการเว้น อทินนาทานนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เพราะพระเมตตากรุณาทั้งหลายตั้งอยู่ จึงละอทินนาทาน” อทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาหวงแหน หวังแต่ของที่เขาให้ มีตนอันไม่เป็นขโมย มีความเป็นอยู่สะอาด
    หรือ อรรถถาจารย์แสดงผลที่ได้รับจากการงดเว้นอทินนาทาน ไว้ดังนี้
    ๑. ย่อม มีทรัพย์และข้าวเปลือกมาก
    ๒. ย่อมมีโภคะเป็นอเนกอนันท์
    ๓. มี โภคะยั่งยืนมั่นคง
    ๔. ย่อมได้ทรัพย์ตามต้องการ
    ๕. ทรัพย์เกิด เฉพาะตนได้ มีโภคะอันโอฬาร
    ๖. ย่อมถือความเป็นผู้นำ ไม่รู้จักคำว่าไม่มี
    ๗. มีความสุขสบายอย่างยิ่ง
    ด้วยเหตุนี้ตัว เราต้องมีศีล ข้อ ๒ ประจำไว้ในใจตน
    ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ที่บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากของความสุมิจฉาจารอย่างเบาที่สุด ย่อมก่อศัตรูเวรภัยให้เกิดขึ้นแก่ผู้ที่มาเกิดเป็นมนุษย์”
    คำว่า กาเมสุมิจฉาจาร คือห้ามเสพกาม เสพเมถุนกับผู้ที่ไม่ใช่คู่ครองของตน
    หรือ เรียกอีกอย่างก็ว่า สทารกสันโดษ ยินดีพอใจเฉพาะคู่ของตนเท่านั้น
    และ ให้เข้าใจไว้ว่า มิจฉาจารในเรื่องการเสพกามนี้ เป็นไปใน กามานุวัตร คือเน้นตีกรอบในบุคคลผู้ยังต้องเสพกามอยู่ ยังต้องเครื่องเตือน ให้รู้จักประมาณในกาม
    ส่วนผลของการงดเว้น
    ไม่มีศัตรูคู่เวร, ไม่แตกคู่, เป็นที่รักของกันและกัน, เป็นที่ชอบใจของมนุษย์ และสัตว์ทั้งหลาย, ได้สิ่งของมาโดยง่ายมีลาภลอย หลับสบาย, ตื่นขึ้นสดชื่น, พ้นจากทุกข์ในอบาย, ไม่เกิดเป็นกระเทย, เป็นคนจริง, มีคนนับหน้าถือตา, อินทรีย์บริบูรณ์, ชีวิตเป็นสุข, ไม่มีภัยไม่พลัดพรากจากสิ่งใดๆ อันไม่มีเหตุ
    ๔. มุสาวาท เว้นจากการประกอบเรื่องไม่จริง
    เรื่องไม่จริงมีอยู่ มีจิตคิดจะพูดเรื่องนั้น พยายามพูด พูดออกมาผู้อื่นเข้าใจความ
    มุสา คือ เรื่อง ไม่จริง เรื่องไม่แท้
    วาท คือ กิริยาที่ทำให้เขาเข้าใจในเรื่องนั้น ว่า จริงทั้งที่ไม่จริง เจตนาให้เคลือบไป เช่น การแสดงอาการโกหก
    วาจา แสดงอาการโกหก
    “แม้เราในวันนี้ได้ละมุสาวาท เว้นจากมุสาวาท พูดแต่คำจริง พูดจริงเสมอ มีถ้อยคำมั่นคง เป็นที่วางใจได้ ไม่ลวงโลกในวันคืน”
    อาศัยพุทธพจน์นี้เป็นพื้น
    เราทั้งหลาย พึ่งหลีกเลี่ยงการพูดเหลาะแหละ ไม่พูดคำไร้ประโยชน์ ไม่พูดคำไม่จริง พูดเฉพาะถ้อยคำจริงมีประโยชน์ พูดแต่ถ้อยคำสืบทอดสัจจะ พูดจริงตลอดกาล ไม่มีมุสา มั่นคงในคำ ยืนยันในคำได้
    เพราะผลอานิสงส์ของการงดเว้นจาก การมุสามีอยู่ เช่นว่า
    - ทำให้มีใบหน้าสดชื่น ผ่องใส, คำพูดสุภาพสละสลวย, อ่อนหวานเป็นปกติ, มีฟันเรียบ ฟันขาวสะอาด รูปกายสัดส่วนพอดีคือ ไม่สูง – ไม่ต่ำ – ไม่ผอม – ไม่อ้วน – ไม่ดำ – ไม่ขาว – มีสัมผัสเป็นสุข, เชื่อถือได้ มีกลิ่นปากหอม, วาจาดี, ลิ้นอ่อนแดงบาง รับรสได้ดี, มีคนอยากฟัง ไม่หดหู่ เศร้าซึม, จิตดีไม่ฟุ้งซ่าน
    “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย มุสาวาทที่บุคคลเสพแล้วเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมทำสัตว์ให้เป็นไปในนรก กำเนิดในสัตว์ กำเนิดในเปรต โทษอย่างเบาของมุสาวาท ย่อมถูกกล่าวอยู่ด้วยคำไม่จริง”
    มุสาวาท แล้วทำลายประโยชน์น้อยบาปน้อย หากทำลายประโยชน์มากบาปมาก
    อนึ่ง คนที่พูดมากย่อมพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดด่าหยาบ พูดเพ้อเจ้อ พูดไม่มีประมาณ คนพูดมากมิใช่คนพูดดี คนพูดดีมิใช่คนพูดเก่ง
    คน พูดดีนั้น พูดแต่พอประมาณ
    พูดถูกกาล
    พูดจาอ่อนหยาบ
    พูด มีประโยชน์ ไม่พูดเมื่อยังไม่มีเรื่องที่จะพูด หยุดพูดเมื่อหมดเรื่อง เรียกว่ามีความชอบคอยในกระพูด ตรองก่อนพูด
    คนพูดมากมักไม่ค่อยจะได้ ตรอง จึงพูดผิดไปมาก ก่อความเสื่อมมากกว่า
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๕. สุรา สิ่งใดเป็นของมึนเมามอมเมา มีจิตใคร่จะดื่ม พยายามจะดื่ม ดื่มกลืนล่วงลำคอ การล่วงละเมิด คือ ดื่มกลืนกินสุราเมรัย ของมอมเมาใดๆ ล้วนแต่เป็นโทษมีโทษมาก เพราะทำอันตราย ประทุษร้ายแก่อริยธรรม ทำคนดีกลายเป็นคนบ้า จนที่สุดไม่มีสติ แล้วสามารถประกอบกุศลกรรมใดๆ ก็ได้
    และ ท่านว่าสุราเมรัยมัชชะนี้เองที่เป็นที่ตั้งแห่งความเมามาย ทำลายสติ ทำลายปัญญา ประมาท ปมาทฏฺฐาน เป็นหน้าที่ตั้งของความไม่มี ไม่มีสัมปชัญญะ ไม่มีปัญญา ไม่มีหิริโอตตัปปะ
    สุรา – น้ำใส กลั่นจากน้ำหมักที่ทำจากแป้ง, จากขนม, จากข้าวสุก, ผสมเชื้อและปรุงรสปรุงกลิ่น
    เมรัย – น้ำขุ่น ได้จากการหมักดอกไม้ ผลไม้ น้ำพืชน้ำไม้, ผสมเชื้อและปรุงสีแต่งกลิ่น
    มัชชะ – ของมอมเมาต่าง อันมีผลทำลายกายทำลายสติจิตใจ
    ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ โทษของสุรามีอยู่มาก เช่น หมดทรัพย์, ก่อทะเลาะวิวาท บ่อเกิดของโรค, เสียชื่อเสียง, ด้านไม่มียางอาย บั่นทอนกำลังสติปัญญา
    แต่ผลดีของการงดเว้นก็มีมาก เช่น ไม่ประมาท, มีญาณความรู้, มีสติ, มีปฏิภาณไม่เกียจคร้าน, ไม่โง่ทึบ, ไม่เป็นคนบ้าใบ้, ไม่หวาดกลัว, ไม่ริษยาใครง่ายๆ ไม่คิดแข่งดีแข่งร้ายใคร, มีวาจาดี, มีจิตดี, มีกายดีโรคน้อย, ซื่อตรงกตัญญูกตเวที, มีทรัพย์, มีความคิดเห็นถูกต้อง, ฉลาดในประโยชน์ในโทษ
    ศีล ๕ , ศีล ๘ กุศลกรรมบถ ๑๐ -๑-
    ศรัทธา -๑-
    ไม่ถือมงคลตื่นข่าว -๑-
    ไม่ทำบุญนอกพุทธศาสนา -๑-
    ไม่ ประพฤติตนเป็น พุทธบริษัทที่ดี -๑-
    ข้อธรรมทั้งหมดนี้ เป็นธรรมข้อประพฤติของอุบาสกรัตนะอุบาสิกาแล้ว คืออุบาสกที่ดีอุบาสิกาที่ดี
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
     ผู้มีความอิ่มเอิบในธรรม, ธมฺมปีติ
    มีใจผ่องแผ้วอยู่, วิปฺปสนฺเนน เจตสา
    ยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้าประ กาศอยุ่ อริยปฺปเวทิเต ธมฺเม
    บุคคลเช่นนี้ย่อมอยู่เป็นสุข สุขํ เสติ.
    ข้อบันทึกข้างต้นนี้ อัตตโนเขียนขึ้นได้เพราอาศัยถ้อยคำพูดขององค์หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ ในขณะที่องค์ท่านกราบรูปภาพขององค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จะกลับกุฏิ พอกราบครบหนที่สาม องค์ท่านว่า “พระอริยเจ้าอยู่เป็นสุขได้แท้ๆ”

    ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

    บ่มีอันหยังได๋ กายก้อนนี้ เดี๋ยวก็ดับหายตายกันไป
    ธาตุแตกจาก ขันธ์ ขันธ์แตกจากกันก็หมดเรื่อง
    ดีชั่วสุขทุกข์ เดี๋ยวนี้ทั้งนั้นหล่ะ
    พิจารณา บ้างเน้อ สูได้รูปนี้
    สูได้กายนี้
    สูได้ตนนี้
    สูได้มาจากที่ใด ได้มาแล้วใช้ไปอย่างใด
    คิดอ่านให้ดี เอาหล่ะ จะปันพรให้...

    ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

    ๏ โลก นี้กำหนดอายุได้ โดยกาล
    นี้ นั่นโดนประหาร ประหัตล้าง
    มี เกิดมีดับจาร จดบอก
    ชรา เริ่มประจงสร้าง สภาพไร้ ๚๛

    ขรรค์ ชัย บุนปาน
    ศิลปวัฒนธรรม พฤศจิกายน ๒๕๕๐

     แย่ที่สุด 
    สูเจ้าไหว้อยู่หรือพระ
    ก่อนนอนไหว้พระ นี้นอนคน
    ก่อนนอนไหว้ พระ ภาวนาด้วย นี้นอนเทวดา
    ก่อนนอนไหว้พระ ภาวนา ตั้งใจในการเกิดมา นึกถึงคุณสมบัติใดๆ ของพุทธะนี้นอนอย่างพระ
    นี้หละ กินแล้วนอน เที่ยวเล่นไปเรื่อย ไหว้พระบ่ทำ
    นอนหมูนอนควาย กินแล้วนอน กินแล้วกาม กินแล้วเมา
    นี่สูเจ้าได้ทำดีมาแล้วหน๋า จึงได้รูปอันนี้
    คิดอ่านให้ ดีเน้อ
    สวรรค์ / นรก ไม่ได้เลือกบุคคล
    ไม่ได้หนีไปไหน
    พระนิพพาน ก็มีอยู่ ผู้ได้ผู้ถึงก็มีอยู่
    จะเอาอันใด จะไปทางใด ตายแล้วก็แล้วกันอย่างนั้นหรือ
    ในวันหนึ่งๆ สูเจ้าเพิ่มบุญได้อยู่หรือ เป็นบุญอยู่หรือ เป็นศีลธรรมพระพุทธะอยู่หรือ สูเจ้ายังจะได้เกิดในโลกอันนี้อีก อย่าทำบาปนะ
    ไหว้ พระ ทำบุญให้ทาน
    ศีล ๕ ฝึกหัดไป
    ถ้าไม่ได้ข้อวัตรเบื้องต้นนี้แล้ว ก็นับว่า แย่ที่สุด
    พุท-โธ, พุท-โธ, พุท-โธ อยู่ในใจ
    ฝึกภาวนาบ้างหนา อย่าเอาแต่จะให้ ทานอย่างนี้
    การให้ก็ดีอยู่หรอก แต่ ให้มีศีล ๕ ด้วย
    ให้ภาวนา ด้วย

     มีโยมผู้หญิงผู้หนึ่ง กราบเรียนถามองค์หลวงปู่ เมื่อครั้งอยู่ที่กรุงเทพภาวนาว่า “หลวงปู่เจ้าค่ะ ทำไมหลวงปู่สรรเสริญการสวดมนต์ไหว้พระ แผ่เมตตา การบริกรรมคาถา การอุทิศบุญให้ญาติๆ จะมีผลจริงหรือไม่ค่ะ”
    หลวงปู่ยิ้ม....ยิ้ม
    โยม : “จะให้ผลได้จริงหรือค่ะ พุทโธ ธัมโม สังโฆ นี่”
    หลวงปู่ : “อีผีบ้า”
    โยม : “โห... หลวงปู่ ทำไมมาด่าโยมอย่างนี้
    เสีย ทีเป็นพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบเสียเปล่า
    โยมหมดศรัทธา”

    (เธอ โกรธมากหน้าก่ำแดง ไม่กราบลุกหนีไป แต่พอคล้อยหลังไปอีก ๓ วัน เอกลับมาหน้าตายิ้มรื่นชื่นสุข เข้ากราบขมาลาโทษกับองค์หลวงปู่ ขอพรขอความดี)
    หลวงปู่ : “มาทำไม ในเมื่อไม่เป็นผล ไม่เห็นผล”
    โยม : “โอย... กราบขอขมาเจ้าค่ะ
    หนูเข้าใจแล้วเจ้าคะ “อีผีบ้า” ของหลวงปู่เข้าใจแล้วเจ้าค่ะ ได้สติแล้วเจ้าค่ะ ขออย่าได้เป็นบาปเป็นกรรมนะเจ้าค่ะ”
    หลวงปู่ : หัวเราะ “..... นั่นแหล่ะเพิ่นบอกเพิ่นสอน
    ตัวยังไม่ทำก็ด่วนปฏิเสะแล้ว
    “อี ผีบ้า” แค่ ๓ คำ
    พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ อรหํ นี้ตั้งหลายคำจะไม่ให้ผลได้อย่างไร ขอให้มีใจต่อเท่านั้นหล่ะ หิวก็กิน ง่วงก็นอน หนักเบาก็ถ่ายออก”
    โยม : “เจ้าค่ะ กราบขอบคุณหลวงปู่เจ้าค่ะ”
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td>[​IMG]</td><td colspan="2">
    </td></tr> </tbody></table> [​IMG]มหาปุญโญวาท 6 : ภาค ๑ มหาปุญโญวาท 13
     ในฤดูกาลมาฆะ เพ็ญเดือน ๓ ปี ๒๕๕๑
    พ.ต.อ.ญาณพล – คุณสุกัญญา ยั่งยืน พร้อมคณะได้เข้ากราบนมัสการต่อองค์หลวงปู่ กราบขอธรรมะวันเพ็ญเดือน ๓ กับองค์หลวงปู่ หากแต่องค์หลวงปู่บอกว่า “ผู้ข้าฯ หูไม่ดี ลืมหมดแล้วคำเทศน์ธรรม ไปเถ๊อะ... ไปถามเอากับตุ๊ต๋าแจ๋วเถอะ จะได้ความอยู่กับเพิ่นนั่นแหละ”
    จากนั้นเมื่อสบเวลาผู้เขียนก็ได้กล่าวประมวลธรรมะไว้ดังนี้โอวาท ปาฏิโมกข์อันเป็นรากฐานของพระพุทธศาสนา ทั้งส่วนหลักการปฏิบัติและหลักการเผยแพร่ อาทิ
    ๑. ให้ละชั่ว – ให้ทำความดี
    เป็นคนดี ทำความดี แล้วทำจิต ให้ผ่องใส
    ให้ หลุดไปจากกิเลสทั้งปวง
    ๒. ผู้มาปฏิบัติในหลักคำสอนของพระองค์ ต้องอดทนโดยรอบ
    ๓. อดทนจนถึงที่สุดไม่ติดข้องในกิเลสตัณหาเครื่องร้อยรัด ใดๆ
    ๔. การไม่ทำร้ายผู้ใด การไม่เบียดเบียนผู้ใด
    เป็นไปเพื่อความมี จิตเมตตาในปวงสัตวโลกทุกหมู่เหล่า
    ๕. การไม่กล่าวร้ายใคร การไม่ทำร้ายใคร
    การเป็นผู้มีวาจาทุจริต ไม่ควรมีในหมู่นักปฏิบัติ
    ๖. การ จำกัดตนอยู่ในศีลเป็นความดียิ่ง
    ๗. ความเป็นผู้รู้จักประมาณอาหารมีได้ใน ผู้ใด ผู้นั้นย่อมจักสามารถควบคุมกิเลสตัณหาด้านอื่นๆ ได้อีกมาก
    ๘. การ ทำความสงบกาย - -สงบใจ เป็นหน้าที่ของบรรพชิต
    ๙. การพากเพียรเพื่อให้ ใจ สงบระงับอย่างยิ่งนั้น
    เป็นเรื่องจำเพาะจิต จำเพาะตน
    ในโอวาทปาฏิโมกข์เหล่านี้
    จึงควรที่เราชาวพุทธจะน้อมนำธรรมะมาเป็นธร รมานุสสติ ยังจิตของตนให้สะอาดผ่องใส ควรค่าแก่ประโยชน์ให้ได้
    ยิ่ง เฉพาะหมู่คณะพระภิกษุสามเณรทั้งหมดทุกหมู่ทุกเหล่า

    ในวันมาฆบูชา ปี ๒๕๕๑ ปีนี้วันนี้
    อัตตโนขอนำโคลงของคุณขรรค์ชัย บุนปาน มาประกอบประดับไว้ดังนี้
    ๏ เดือน อรหันต์อรหัตเจ้า พบกัน
    สาม รัตน ตรัยประชัน ชุ่มชื้น
    ยาม สติตื่นตลอดวัน คืนขนาบ
    แล้ง หลบร้อนพลิก ฟื้น เพ่งเนื้อธรรม สนอง๚๛

    ขรรค์ชัย บุนปาน
    ศิลปวัฒนธรรม กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙

    และข้อที่ว่าหลักการปฏิบัติ /หลักการเผยแพร่ นั้นหากจะชี้ชัดลงไปก็อาจประมาณความได้ว่า “ ฝึกตัวเอง
    ฝนตัวเอง
    สร้าง ตัวเอง
    อบรมตัวเอง
    สอนตัวเอง
    ตักเตือนตัวเอง
    ทำตัวให้เป็นที่ พึ่งของตัวให้ได้ก่อน
    แล้วจึง ฝึกผู้อื่น
    ฝนผู้อื่น
    สร้างผู้อื่น
    อบรม ผู้อื่น
    สอนผู้อื่น
    ตักเตือนผู้อื่น
    อนึ่งผลของความเพียร คือ ความสงบของจิต
    ความสะอาดแจ่มแจ้งของปัญญา
    จิตสะอาดสงบได้ก็อาศัย ความเพียร และอาจารโคจรที่สมบูรณ์ในตนเองผู้ประพฤติปฏิบัติ นี่รวมถึงความเป็นผู้มีความอดทนโดยรอบในความดีอันยิ่ง
    มีชีวิต อยู่ เพื่อทำประโยชน์แก่พระศาสนา
    เพื่อทำประโยชน์แก่ประเทศชาติบ้าน เมือง
    รวมความว่า เป็นเรื่องจำเพาะจิต จำเพาะตน ในชั้นต้น
    เป็นเรื่องของ ผู้อื่น ในที่สุด
    ขอผู้อ่านโปรดพิจารณา
    คือ ให้พิจารณาจากคำขององค์หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญที่กล่าวในวันวานและวันนี้ซ้ำๆ กันบ่อยๆ ว่า “ เมื่อบวชแล้ว
    ควรประพฤติตัวให้เป็นสุข
    ให้รักษาใจ ให้ได้รับความสุข
    ความสุขของพระนิพพานนั้น จะยากก็ยาก
    จะง่ายก็ง่าย
    ยาก เพราะไม่รู้ไม่เห็น
    ง่ายเพราะถึงแล้วไม่ต้องขวนขวายอันใดอีก”
    และองค์ หลวงปู่ได้สำทับตอนท้ายอีกว่า
    “ อย่าไปมัวแต่จะดูแต่ผู้อื่น
    ตัวไม่ ดู ไม่สนใจตัว
    –วาสนา
    –บารมี
    –อุปนิสสัยเป็นอย่างไร
    พิจารณา คิดอ่านให้ดีเน้อ...”
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วันมาฆบูชา คือ วันบูชาพระรัตนตรัยในวันเพ็ญเดือน ๓ ประจำทุกปี
    เป็นวันคล้ายกับวันที่พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงโอวาทพระปาฏิโมกข์ในที่ ประชุมสงฆ์ ซึ่งล้วนแต่ เป็นพระอรหันต์
    เป็นพระภิกษุสงฆ์ที่พระ พุทธองค์บวชให้จำนวน ๑,๒๕๐ กับอีก ๑ พระพุทธเจ้าผู้เป็นประมุขสงฆ์ เป็นมหาสันนิบาตมาพร้อมกันโดยมิได้นักหมายล่วงหน้า จึงเรียกวันนั้นว่า มหาจาตุรงคสันนิบาต
    โอวาทปาฏิโมกข์ คือ โอวาทของพระพุทธเจ้า อันเป็นส่วนของหลักการปฏิบัติของพุทธบริษัททั้ง ๔ และเป็นส่วนของหลักการเผยแพร่พระศาสนธรรม คำสอน ซึ่งนับว่าเป็นรากฐานของพระพุทธศาสนาโดยรวมทั้งหมด
    เป็นแบบแผน หลักการแม่บทในศานาของเราตถาคต
    ขนฺตี......
    ............. ปนฺตญฺจ สยนาสนํ.
    ๑. ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
    ขันติ คือ ความอดทนอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง
    - ความอดทน คือ อดทนต่อ สภาพภูมิอากาศ
    สภาพแวดล้อม
    - ความอดกลั้น คือ อดกลั้นต่อถ้อยคำที่ถูกถากถาง เย้ยหยัน เสียดสี
    อดกลั้นต่อ ทุกขเวทนาต่างๆ
    ผู้มีความอดทนอดกลั้นย่อมมีใจอันสุขุม หนักแน่น เยือกเย็นไม่เดือดดาล ไม่หุนหันพลันแล่น ไม่ใช้อำนาจของตนเกินไป สามารถทำใจวางเฉยได้
    บำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์ตน
    บำเพ็ญตนเพื่อ ประโยชน์ของหมู่ คือ ประโยชน์ส่วนรวมได้
    จิตใจอันหนักแน่นเยือกเย็นนี้ เองชื่อว่า ตบะ
    ๒. นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
    พระพุทธเจ้าทั้ง หลาย ตรัสว่าพระนิพพานประเสริฐสุด
    ประเสริฐเพราะว่าเป็นสภาพธรรมที่ สิ้นกิเลสทั้งปวงหมด
    ความไม่โกรธ ประเสริฐสุด
    ความไม่หลง ประเสริฐ สุด
    ความไม่โลภ ประเสริฐสุด
    ประเสริฐอย่างใด ดีอย่างไร ต้องฝึกหัดตัวเอง มิให้โลภ
    มิให้โกรธ
    มิให้หลง
    เพียงแต่เรา โกรธใครๆ เราก็ไม่สบายใจแล้ว
    เพียงแต่เราหลงรัก/หลงชังใครๆ เราก็ไม่สบายใจแล้ว
    เพียงแต่เราอยากได้จนฉ้อจนโกง เราก็ไม่สบายใจแล้ว
    เพราะ ฉะนั้นความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เกิดขึ้นในจิตในใจของบุคคลใดบุคคลหนึ่งแล้ว ผู้นั้นหล่ะ ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว
    ๓. นหิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
    การทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าบรรพชิต
    การทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าพุทธบริษัท
    การทำ ร้ายผู้อื่น การเบียดเบียนผู้อื่น ได้แก่การกระทำทุจริต ๓
    ๑. กายทุจริต
    ๒. วจี ทุจริต
    ๓. มโนทุจริต - ไม่อยากได้ของใครมาเป็นของตน
    - ไม่ผูกโกรธคิด ร้ายใคร
    - ไม่เห็นผิดไปจากหลักคำสอน
    ๔. สมโณ โหติ ปรํ วิเหธยนฺโต
    ผู้เบียดเบียนผู้ อื่นอยู่ไม่ชื่อว่าสมณะ
    ผู้ทำตนให้สงบจากการเบียดเบียน ย่อมอยู่เป็นสุข
    เพราะ เป็นผู้สงบจากกิเลส
    ๕. สพฺพปาปสฺส อกรณํ
    เว้นจากบาปอกุศลทั้งปวง ด้วยการรักษาศีล
    เพราะศีลเป็นเบื้องต้นของการเจริญกุศลธรรมทั้งปวงหมด
    เว้น จากบาปได้ก็ เป็นความดี
    เป็นผู้สะอาดกาย/ วาจา/ ใจ
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๖. กุสลสฺสูป สมฺปทา
    การกระทำกุศลให้ถึงพร้อม
    - การให้ทาน
    - การกราบ/ การไหว้
    - การรักษาศีล
    ๗. สจิตฺต ปริโยทปนํ
    การยังจิตให้ผ่องใส ให้ผ่องแผ้วเป็นเรื่องจำเพาะตน
    - ทำจิตให้สงบ
    - ทำจิตให้เจริญด้วยปัญญา
    การเว้นจากความชั่ว/ การทำดี/ การปฏิบัติรักษาตน ให้สงบ
    ให้เจริญ
    ให้ปล่อยวางได้
    ๓ ประการนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
    ๘. อนูปวาโท
    การไม่ว่าร้าย/ ไม่กล่าวร้ายผู้ใด
    คือ ให้เว้นจากวจีทุจริต ๔
    ๙. อนูปฆาโต
    การไม่ทำร้ายผู้ใด คือ ให้เว้นจาก กายทุจริต
    วัตถุทุจริต
    ๑๐. ปาฏิโมก เข จ สํวโร
    ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ สำรวมในศีลของตน
    ๑๑. มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสมึ
    ให้รุ้ประมาณในโภชนะ
    ๑๒. ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
    การเสพเสนาสนะอันสงบสงัด
    ๑๓. อธิจิตฺ เต จ อาโยโค
    การประกอบความเพียรภายใน ตน
    ละบาป/ กำจัดบาป
    ทำบุญทำดี/ รักษาความดี
    เป็นคำสอน เป็นคำตักเตือน เป็นคำตีกรอบเอาไว้
    นับ เป็นหลักธรรม หลักการ แก่นแท้ในพระพุทธศาสนา
    เป็นหัวใจพระธรรม
    ๒๕๙๕ ปี ที่ผ่านมาคำสอนเหล่านี้จักยังสามารถนำมาประพฤติปฏิบัติได้โดยมิเลือกกาลมิ เลือกบุคคลใดๆ
    ขอให้ฝึกตนเอง/ ฝนตนเอง/ สร้างตนเอง/ อบรมตนเอง/ สอนตนเอง/ ตักเตือนตนเอง – ทำตัวให้เป็นที่พึ่ง
    รวมความว่าความสะอาด ความสงบสุข การปล่อยการวาง
    เป็นวิถีชีวิต ของ ผู้อยู่กับความดี
    ทำประโยชน์แก่ตน/ แก่พระศาสนาสืบไป
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
     วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ เวลา ๑๘.๓๐ น. คณะญาติโยมชาววัดเข้ากราบขอขมาคารวะขอฟังธรรม เนื่องในวันมาฆบูชา ๒๕๕๑ องค์หลวงปู่ได้ให้โอวาทธรรม ดังนี้
    “ เอาเน้อ สูเจ้าทุกคนนี้หนา
    การให้ทานได้ให้แล้ว การบูชาขมาคารวะแล้ว
    ศีล ๕ ยังมี, ศีล ๘ ยังมี, ศีล ๑๐ ยังมี, ศีล ๒๒๗ ยังมี, ศีลพระเณรยังมี วัดวาศาสนายังมีอยู่ จงพากันฝักใฝ่ตั้งใจ ให้ธรรมะงอกงามเกิดขึ้นในใจของเรา
    อย่าไปให้ความ ชั่วงอกงามขึ้นในใจของตน
    เราทุกคนยังจะเกิดต่อไปอีกภายข้างหน้า
    เรา เกิดมาถ้าทำความดีเอาไว้แล้วย่อมได้พบปะในศาสนาพุทธะ แล้วจะได้รับผลได้มาก ได้กระทำการสักการะบูชาด้วยปัจจัยทั้ง ๔ ในพระ(พุทธ)เจ้า, พระอรหันต์, พระผู้(ปฏิบัติ)ดี ผู้(ปฏิบัติ)ชอบ
    นี้ เองจึงให้คิดอ่านว่า
    อย่าเข้าใจว่าตัวของเราจะได้สำเร็จมรรคผล ได้ง่ายๆ ไม่ใช่ได๊
    อย่าเข้าใจว่าตัวของเราจะเป็นมนุษย์อย่างนี้ตลอดไป ไม่ใช่ได๊
    คั้นทำบาดี ก็ไปลงนรก, ไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน, ไม่ได้พบปะพระพุทธะพระเจ้าของธรรม
    จงคิดอ่านว่า เราทำความดีไว้ในเวลาบัด นี้เดี๋ยวนี้
    ให้พร้อมพากัน มีศีล ๕
    คิดอ่านให้ดีของตน
    บำเพ็ญของตนต่อ ไป
    จนกว่าเราจะได้สำเร็จได้
    เพราะความดีของเรา ได้เกิดมาเป็น มนุษย์
    ได้ทำความดี
    ได้พบปะศาสนาของพุทธะ
    ได้ทำดีมาแล้ว
    จึง ได้มายินดีในศาสนาของพุทธะ(ต่อไป) ให้เพิ่มความดี
    อย่าไปเพิ่มความ ชั่ว
    เพิ่มความดีนะ ๑. เพิ่มความดี
    ๒. เพิ่มธรรมะ
    ๓. เพิ่ม ปัญญาความฉลาด
    ๔. คบพบปะบัณฑิต
    อันนี้แปลว่าเพิ่มเติมความดีของตน ผู้ไม่เพิ่มความดีหน้าที่ต้องไปสู่นรก เป็นเปรตเป็นผี เป็นสัตว์เดรัจฉาน
    จง คิดอ่านในตนของตนให้ดีเถิด
    ตัวของเรานี้เติม - อย่าเข้าใจว่าร่างกายนี้เป็นตัวเราโดยแท้ ไม่ใช่
    ใจของเราเป็นตัว ของเราสำหรับใช้ให้ได้ประโยชน์เท่านั้น
    กายนี้ - รูปงาม บ่งาม ไปตามกรรม
    รูป สูง รูปต่ำ ไปตามกรรม
    รูปสมบูรณ์ไม่สมบูรณ์ ไปตามกรรม
    รูปทุกข์ รูปไม่เที่ยง รูปแต่(ส่วน)รูปเท่านั้น
    ใจนี้ - ใช้ใจให้ทำความดี
    - เป็น ใจโง่เป็นใจฉลาด
    อย่าเข้าใจว่าจะได้สำเร็จมรรคผลได้ง่ายๆ เน้อ
    แก้ไขตัวเองไปเถอะ
    ต่อ ไปเราจะได้พบปะ พระพุทธะ
    พระอรหันต์
    พระอริยเจ้า
    บัณฑิต นักปราชญ์
    ฤๅษีโยคี
    ในชีวิตนี้เราทำความดีของตน คนหนึ่งๆ จะได้อีกนานเท่าใด
    ๑. อานิสงส์ ไหว้พระ
    ๒. อานิสงส์ให้ทาน
    ๓. อานิสงส์นับถือศาสนาพุทธะ
    ๔. อานิสงส์ ไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิใดๆ
    นี้หล่ะรักษาความดีของตน จงตั้งใจ รักษาความดี – ทำความดี
    เว้นจากชั่วมอมเมากายใจ
    เพราะได้เป็นมนุษย์แล้วนี้นั่นเอง
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
     จากนั้น ญาติโยมคนศรัทธาชาววัด กราบองค์หลวงปู่ลงกุฏิมาที่กุฏิผู้เขียน ถวายเครื่องสักการบูชาต่อผู้เขียน พร้อมขอรับโอวาทธรรม จึงได้พูดปรารภขึ้นดังนี้

     อบรมธรรมะ เพ็ญเดือน ๓ – ๒๕๕๑ : วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
    ให้ เอาใจเว้นบาป
    บาปทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะใจ เว้นบาปให้ได้ เว้นด้วยตนเอง
    ใจ ที่เว้นบาปได้แล้ว ไม่มีความเดือดร้อนใดๆ
    บาปทั้งหลายอยู่ที่ใจ – ใจเป็นผู้ว่าการ
    จึงให้ใช้สติอบรมใจ
    รู้ว่า นี้เป็นบาปก่อทุกข์ให้ ใจไม่ทำ
    นี้เป็นบุญต้องทำ
    ใช้ปัญญาอบรมใจของตนอยู่เสมอ
    กายใจ อัตตภาพนี้มีมาด้วยกันเสมอกัน
    เกิดขึ้นแล้วแต่ต้นมา
    แปรปรวนในท่าม กลาง
    มีการทรุดโทรมเลื่อมสลายหายสูญไปในที่สุด
    แต่เป็นของยากที่จะ เข้าใจได้โดยง่าย
    จึงว่าให้ทำใจให้สงบ อยู่ปกติ อยู่สุขแล้ว พอจะเกิดปัญญาได้
    ใช้ความรู้ รอบรู้ในกองสังขาร กายใจนี้ใช้ปัญญาพิจารณาค้นคว้า
    ให้ เห็นว่าเป็นของอาศัยกันชั่วคราว
    อยู่ด้วยกันชั่วคราว ดิน – น้ำ – ไฟ – ลม – อากาศ
    ธาตุขันธ์อายตนะ
    กายใจนี้ต่างก็อยู่ด้วยกันชั่วครู่ชั่ว คราวเท่านั้น
    ให้อาศัยความชั่วคราวอันนี้ ก้อนชั่วคราวครู่ขณะอันนี้
    มา ทำดี พอจะใช้ความดีได้
    ให้รีบใช้
    ใช้ขวนขวายในการหาสมบัติภายในให้ แก่ตน
    สมบัติของใจ – ใจนี้เป็นสมบัติอันดีที่สุด
    กายวาจาเป็นภายนอก
    ใจ เป็นภายใน
    สมบัติภายในจะเกิดขึ้นมาได้นี้ต้องมาสมาทาน ในสีลสิกขา
    ใน จิตตสิกขา
    ในปัญญาสิกขา
    กาย วาจา เป็นความงามเป็นความเป็นปกติสุขในชั้นต้น
    จิตใจเป็นของแน่ว แน่อยู่ในท่ามกลาง ตั้งมั่น ผ่องใสอยู่ได้
    ความรู้เท่าทันในความเป็นไป ของกายใจ รูปนามนี้
    ธรรมเหล่านี้จะเกิดขึ้นในผู้สมาทาน เว้นจากความชั่ว ทุกอย่าง
    ทำความดีให้ดีให้เจริญ
    รักษาใจให้เป็นปกติสุขอยู่
    ชั่ว ทั้งหลายเว้นได้เพราะใจ/ ดีทั้งหลายทำได้เพราะมีใจ
    ใจนี้หากให้อยู่กับ ธรรมะ อยู่กับสิกขา ศีลอันตนใส่ตนอยู่ จิตอันตนรักษาอยู่ ปัญญาอันรักษาไว้ได้โดยรอบตนได้ประกอบไว้อยู่นับเป็นผลของตนอย่างแท้แน่นอน
    ขอให้รู้ แก่ ตายของตน - ให้เร่งรัดเข้าอย่าชักช้า
    ถ้ายังไม่มีความ เบื่อหน่ายในสังสารวัฏฏ์นี้เมื่อจากไปก็จะได้สุคติสวรรค์
    กุสลา ธมฺมา ก็อาศัยกายจิต
    อกุสลา ธมฺมา ก็อาศัยกายจิต
    กายจิตอัตตภาพนี้ ก่อคุณ/ ก่อประโยชน์แก่ตนของตนอย่างใด
    หรือจะใช้ไปในทางบาป จะให้ขาดทุน
    หรือ จะทำกำไร
    ก็อยู่กับตนเท่านี้ คนเดียวคนนี้หล่ะ
    ให้เร่งรัดขวนขวาย พอใจในการทำความดีของตน
    หันมาหาธรรมะ ก็เป็นธรรมขึ้นมาได้
    ความไม่ เที่ยงก็มีอยู่นี่
    ความทุกข์อันมีอยู่
    ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนก็มีอยู่ในนี่
    เกิดก็เป็นธรรมดาของเกิด
    แก่ก็เป็นธรรมดาของ แก่
    เจ็บป่วยก็เป็นธรรมดาของป่วยไข้
    มรณะก็เป็นธรรมดาของมรณะ
    ชื่อ ว่าธรรมดาแล้วแล้วมีอยู่ด้วยกันทุกคน
    เกิดมาชีวิตใด คราวใดก็มีอยู่เป็นอยู่ น่าเบื่อน่าหน่าย
    เดี๋ยวนี้ จิตตนเป็นอย่างไร, กายตนเป็นอย่างไร
    ศีล/ สมาธิ/ ปัญญา เป็นเช่นใด
    อย่างใดดวงจิตจะบริสุทธิ์ ขึ้นมาได้
    กายใจนี้ เป็นต้นทางของสุคติ
    เป็นต้นทางของโภคะ
    เป็นต้นทางของ ธรรมะ
    เป็นต้นทางของพระนิพพาน
    นี้หล่ะพระพุทธเจ้า จึงให้แนะนำพร่ำสอนให้อบรมจิตใจ
    สจิตฺต ปริโยทปนํ
    อบรมจิตโดยรอบ ให้เป็นจำเพาะตน คือ ตนต้องอบรมด้วยตนของตนเอง คือ มิให้จิตใจไปข้องแวะกับอารมณ์ที่เป็นทุกข์ ก่อความทุกข์ใดอารมณ์ทุกข์ อารมณ์บาป ต้องหลีกห่าง
    ให้จิตอยู่กับจิต รู้เท่าอยู่กับจิต
    บาปจะมา ทางใดตัดให้ขาด อย่าปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านยุ่งเหยิงเป็นโทษแก่ตนได้
    จิ ตฺตํ รกฺขถ เมธาวี ปราชญ์เจ้าทั้งหลายชอบพอกับการรักษาจิต พอใจดีใจกับการรักษาจิต อบรมตนให้รู้ตน
    พุทโธ – ผู้รู้ พุทโธมีอยู่ทุกรูปนามกายใจ
    สติผู้รู้เป็น พุท – โธ
    สัมปชัญญะ ผู้ตื่น ระลึกรู้ตัว ดีชั่วรู้ได้
    สติผู้รู้ – เป็นพุท – โธ
    สัมปชัญญะ – ผู้ตื่น ระลึกรู้ตัว ดีชั่วถูกผิดใดๆ
    ทำถูก – ทำดีเป็นพุทธะพุทโธ
    คิด ถูก – คิดดีเป็นพุทธะพุทโธ
    พูดถูก – พูดดีเป็นพุทธะพุทโธ
    จิตใจเบิกบานแช่มชื่น ไม่หวั่นไหว ไม่มีโทษ จิตเยือกเย็น
    ไม่มีความ เดือดร้อนใดๆ
    นี้หล่ะจึงให้มีพุท – โธ ในใจอยู่เสมอ
    อย่าขี้คร้าน/ อย่าประมาท/ อย่าใช้ความประมาท
    การอบรมจิตของตนอย่าขี้คร้าน
    - เอวํ -


    ...............................................................................................

    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือมหาปุญโญวาท 6 พิมพ์ถวายวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ( วัดหลวงปู่จาม ) บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร โดยสำนักพิมพ์มติชน
     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,569
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017

แชร์หน้านี้

Loading...