มองปัญหาด้วยปัญญา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 19 มีนาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉาวิสัชนา <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">26 ตุลาคม 2547 16:23 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    แผ่เมตตา
    การนั่งสมาธิช่วง 2-3 นาที แล้วแผ่เมตตา สรรพสัตว์ทั้งหลายจะได้รับหรือไม่เจ้าคะ

    วิสัชนา
    เอาเป็นว่าจะนั่งหรือไม่นั่ง ก็ขอให้คุณตั้งจิตแผ่เมตตาแก่สัตว์ทั้งหลายให้ได้ทุกวัน อย่างน้อยๆ ก็ เป็นการสร้างไมตรีแก่สรรพสัตว์ทั้งปวง จิตใจ ใบหน้า แววตาปัญญาคุณก็จะแจ่มใส เป็นที่รักของเทวดา มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย

    ปุจฉา
    พลังจิต

    มนุษย์เราเกิดมาจะมีพลังจิตไหม ถ้าตายแล้ว พลังจิตจะตายไปด้วยหรือเปล่า ถ้าไม่ตายพลังจิตจะไปที่ไหน

    วิสัชนา
    มนุษย์เกิดมามีพลังจิต ถ้าตายไปแล้วพลังจิตจะตายไปด้วยหรือเปล่า ก็ต้องขอพูดถึงวิชาฟิสิกส์ประสานกับพลังงาน ถ้าเราแยกกายเป็นสสาร จิตเป็นพลังงาน เมื่อสสารแตกสลายแต่พลังงานก็ยังคงที่ แต่มีการเปลี่ยนที่อยู่เท่านั้น
    มันอยู่ที่อำนาจการดึงดูดที่พลังงานตัวนั้น เช่น มีคลื่นไฟฟ้าแม่เหล็กมา ซึ่งมีพลังเหนือกว่าพลังแห่งจิต มันก็จะดูดเอาพลังแห่งจิตไปอยู่ในที่ที่มันต้องการไป และอะไรคือคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านั้น ถ้ามาเปรียบกันแล้วพลังคลื่นแม่ เหล็ก คือ อำนาจกรรม ส่วนพลังกรรม ก็คือ การกระทำของตน
    คนเรานี้อะไรๆ ก็จะไม่มีอำนาจเหนือกรรม แม้แต่พระพุทธเจ้าก็หนีพลังกรรมไม่พ้น กรรม คือ การกระทำที่เราลงมือกระทำด้วยตัวของเราเอง ร่วมกันทำ ใช้เขาทำ คิดที่จะทำ สิ่งเหล่านี้แหละ สะสมพอกพูนและเป็นพลังอำนาจแม่เหล็กอันใหญ่ ที่จะมาคอยดึงเอาพลังน้อยๆ เปรียบเหมือนแสงหิ่งห้อยให้ลอยไปตามอำนาจที่มันต้องการ และดลบัลดาลให้ต้องได้รับผล

    ลูกรัก
    ชั่วชีวิตของลูก
    บางครั้งก็ร้องไห้
    บางครั้งก็เลวร้าย
    สลับสับเปลี่ยนกันไป
    ยังไม่รู้ว่าเมื่อไรจะหมดสิ้น
    ลูกไม่รู้จักเบื่อบ้างหรือ

    ปุจฉา
    ระบบความ ผูกพันทางวิญญาณ
    เคยได้ยินหลวงปู่สอนว่า "คนที่มีบารมีธรรมร่วมกันนั้นไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ต้องมาเจอกัน" ขอเมตตาหลวงปู่ชี้แนะระบบความผูกพันธ์ทางจิตวิญาณ ดังกล่าวว่า มีการสร้างสมอย่างไร? มีระยะเวลายาวนานขนาดไหน? มีวิถีทางที่จะพัฒนาขึ้นได้หรือไม่?

    วิสัชนา
    การที่จักสะสมอบรมบารมีธรรมร่วมกัน อันดับแรก ต้องมีความเห็นตรง กัน มีการกระทำร่วมกัน และมีไมตรีต่อกัน เช่นนี้ จึงจักถือว่าเป็นการสร้างสัมพันธภาพอันดีต่อกันทางจิตวิญญาณและพฤติกรรม
    ถามว่า ต้องทำเป็นระยะยาวนานขนาดไหน อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับคุณว่า คุณมีความประสงค์จักสมาคมกับเขา ให้อยู่ในระดับไหน ถ้าเพียงแค่พอให้เห็นหน้า พูดคุย และทำความรู้จัก ก็มิต้องใช้เวลาในการสั่งสมบารมีร่วมกันมากนัก แค่มีโอกาสทำร่วมกันเช่นนี้ก็ถือว่าสำเร็จประโยชน์
    แต่ถ้าปรารถนาจะคบหาสมาคมกันให้อยู่ในระดับแนบแน่น ดังนี้ ก็ต้องสร้างบารมีร่วมกันบ่อยๆ มากๆ และต้องด้วยอาการ 3 อย่าง ดังกล่าวมาแล้ว เป็นเช่นนี้ก็ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาสัมพันธภาพแก่กันและกันให้แนบแน่นเจริญ

    ปุจฉา
    บทบาทและการวางตัวของพระ
    ในขณะที่สังคมกำลังอยู่ในภาวะที่ขาดศีลธรรม พระควรมีบทบาท และ วางตัวอย่างไร

    วิสัชนา
    พยายามพึ่งตนเองให้ได้มากที่สุดและทำตนเองให้เป็นที่พึ่งอัน ปลอดภัยซื่อตรงแก่ผู้อื่น พร้อมทั้งเป็นอยู่เพื่อจักกราบตนเองให้ได้ ไหว้ตนเองให้สนิท อย่าเป็นอยู่เพียงเพื่อรอให้ผู้อื่นไหว้
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉาวิสัชนา <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">26 ตุลาคม 2547 16:23 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    แผ่เมตตา
    การนั่งสมาธิช่วง 2-3 นาที แล้วแผ่เมตตา สรรพสัตว์ทั้งหลายจะได้รับหรือไม่เจ้าคะ

    วิสัชนา
    เอาเป็นว่าจะนั่งหรือไม่นั่ง ก็ขอให้คุณตั้งจิตแผ่เมตตาแก่สัตว์ทั้งหลายให้ได้ทุกวัน อย่างน้อยๆ ก็ เป็นการสร้างไมตรีแก่สรรพสัตว์ทั้งปวง จิตใจ ใบหน้า แววตาปัญญาคุณก็จะแจ่มใส เป็นที่รักของเทวดา มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย

    ปุจฉา
    พลังจิต

    มนุษย์เราเกิดมาจะมีพลังจิตไหม ถ้าตายแล้ว พลังจิตจะตายไปด้วยหรือเปล่า ถ้าไม่ตายพลังจิตจะไปที่ไหน

    วิสัชนา
    มนุษย์เกิดมามีพลังจิต ถ้าตายไปแล้วพลังจิตจะตายไปด้วยหรือเปล่า ก็ต้องขอพูดถึงวิชาฟิสิกส์ประสานกับพลังงาน ถ้าเราแยกกายเป็นสสาร จิตเป็นพลังงาน เมื่อสสารแตกสลายแต่พลังงานก็ยังคงที่ แต่มีการเปลี่ยนที่อยู่เท่านั้น
    มันอยู่ที่อำนาจการดึงดูดที่พลังงานตัวนั้น เช่น มีคลื่นไฟฟ้าแม่เหล็กมา ซึ่งมีพลังเหนือกว่าพลังแห่งจิต มันก็จะดูดเอาพลังแห่งจิตไปอยู่ในที่ที่มันต้องการไป และอะไรคือคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านั้น ถ้ามาเปรียบกันแล้วพลังคลื่นแม่ เหล็ก คือ อำนาจกรรม ส่วนพลังกรรม ก็คือ การกระทำของตน
    คนเรานี้อะไรๆ ก็จะไม่มีอำนาจเหนือกรรม แม้แต่พระพุทธเจ้าก็หนีพลังกรรมไม่พ้น กรรม คือ การกระทำที่เราลงมือกระทำด้วยตัวของเราเอง ร่วมกันทำ ใช้เขาทำ คิดที่จะทำ สิ่งเหล่านี้แหละ สะสมพอกพูนและเป็นพลังอำนาจแม่เหล็กอันใหญ่ ที่จะมาคอยดึงเอาพลังน้อยๆ เปรียบเหมือนแสงหิ่งห้อยให้ลอยไปตามอำนาจที่มันต้องการ และดลบัลดาลให้ต้องได้รับผล

    ลูกรัก
    ชั่วชีวิตของลูก
    บางครั้งก็ร้องไห้
    บางครั้งก็เลวร้าย
    สลับสับเปลี่ยนกันไป
    ยังไม่รู้ว่าเมื่อไรจะหมดสิ้น
    ลูกไม่รู้จักเบื่อบ้างหรือ

    ปุจฉา
    ระบบความ ผูกพันทางวิญญาณ
    เคยได้ยินหลวงปู่สอนว่า "คนที่มีบารมีธรรมร่วมกันนั้นไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ต้องมาเจอกัน" ขอเมตตาหลวงปู่ชี้แนะระบบความผูกพันธ์ทางจิตวิญาณ ดังกล่าวว่า มีการสร้างสมอย่างไร? มีระยะเวลายาวนานขนาดไหน? มีวิถีทางที่จะพัฒนาขึ้นได้หรือไม่?

    วิสัชนา
    การที่จักสะสมอบรมบารมีธรรมร่วมกัน อันดับแรก ต้องมีความเห็นตรง กัน มีการกระทำร่วมกัน และมีไมตรีต่อกัน เช่นนี้ จึงจักถือว่าเป็นการสร้างสัมพันธภาพอันดีต่อกันทางจิตวิญญาณและพฤติกรรม

    ถามว่า ต้องทำเป็นระยะยาวนานขนาดไหน อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับคุณว่า คุณมีความประสงค์จักสมาคมกับเขา ให้อยู่ในระดับไหน ถ้าเพียงแค่พอให้เห็นหน้า พูดคุย และทำความรู้จัก ก็มิต้องใช้เวลาในการสั่งสมบารมีร่วมกันมากนัก แค่มีโอกาสทำร่วมกันเช่นนี้ก็ถือว่าสำเร็จประโยชน์
    แต่ถ้าปรารถนาจะคบหาสมาคมกันให้อยู่ในระดับแนบแน่น ดังนี้ ก็ต้องสร้างบารมีร่วมกันบ่อยๆ มากๆ และต้องด้วยอาการ 3 อย่าง ดังกล่าวมาแล้ว เป็นเช่นนี้ก็ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาสัมพันธภาพแก่กันและกันให้แนบแน่นเจริญ

    ปุจฉา
    บทบาทและการวางตัวของพระ
    ในขณะที่สังคมกำลังอยู่ในภาวะที่ขาดศีลธรรม พระควรมีบทบาท และ วางตัวอย่างไร

    วิสัชนา
    พยายามพึ่งตนเองให้ได้มากที่สุดและทำตนเองให้เป็นที่พึ่งอัน ปลอดภัยซื่อตรงแก่ผู้อื่น พร้อมทั้งเป็นอยู่เพื่อจักกราบตนเองให้ได้ ไหว้ตนเองให้สนิท อย่าเป็นอยู่เพียงเพื่อรอให้ผู้อื่นไหว้
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา - วิสัชนา <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">18 ตุลาคม 2547 14:16 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    ใส่บาตรวันไหนดี

    มีคนมักจะพูดเสมอว่า การใส่บาตรในวันพระนั้นจะให้ผลบุญแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว มากกว่าการใส่บาตรในวันธรรมดา (ที่ไม่ใช่วันพระ) จริงหรือไม่ประการใด

    วิสัชนา
    เป็นความเชื่อของคนเหล่านั้น ซึ่งเชื่อกันว่าวันโกน วันพระ คือวันที่นรกภูมิได้ปลดปล่อยให้วิญญาณมาเยี่ยมญาติในโลกมนุษย์ พวกเขา จึงคิดว่าทำบุญตักบาตรในวันโกนวันพระเป็นการทำบุญให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว โดยตรง ที่เรียกเป็นภาษาทางวิชาการว่า เปรตพลี
    แต่ความเชื่อในพระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อว่า การทำบุญบริจาคทาน คือ การทำลายความตระหนี่คับแคบ เห็นแก่ตัว ละโมบโลภมาก อิจฉาริษยาที่มีอยู่ในใจ ในกายตนให้ลดน้อยถดถ้อยลงไป ด้วยการให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน และเมื่อจะให้ด้วยมุ่งหวังว่าขอ ญาติและสัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุข ก็ไม่จำเป็นต้องเลือกวัน เวลา นาที เดือน ปี หรือโอกาส ผู้มีจิตเมตตาที่จะให้น่าจะให้ได้ทุกโอกาสที่นึกได้
    ส่วนที่บอกกันว่าในวันพระวันโกนรู้จักทำบุญใส่บาตร บริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เข้าวัด ฟังธรรม คนโบราณท่านต้องการสอนให้รู้ว่าภายใน 7 วันที่ผ่านพ้นและมีชีวิตอยู่เราอาจจะทำดีบ้างไม่ดีบ้างด้วยความรู้เท่าทัน หรือรู้ไม่เท่าทันก็ตาม ก็ขอให้มีวันหนึ่งภายใน 1 สัปดาห์ที่ตั้งใจ คิดดี พูดดี และทำดี ด้วยหัวใจที่เต็มเปี่ยมไป
    ด้วยความเอื้ออารีและเป็นดีที่มีในใจ ชีวิตจะได้รู้สึกโล่ง โปร่ง เบาสบาย ผ่อนคลายจากมลภาวะ และปัญหาที่หมักหมม

    ปุจฉา
    แนว ทางแห่งความดี
    ขอให้หลวงปู่ช่วยชี้แนวทางแห่งความดีในสถานการณ์ที่ลูกต้องทำงานประกอบอาชีพ และต้องอยู่ในสภาพเหมือนสนับสนุนให้เกิดระบบคอรัปชั่น ต้องขายสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อรู้เมื่อเห็นหรือต้องให้ รู้สึกเบื่อโลกนี้เสียเหลือเกิน แต่โดยหน้าที่การงานแล้วสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ แต่ภายในใจรู้ว่าไม่ถูกต้อง จะเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่นช่วงนี้ก็ยาก เหตุและผลของกรรมเหล่านี้มีอย่างไรครับ

    วิสัชนา
    น่าเห็นใจในวิถีชีวิตของคุณผู้หวังที่จะพูดดี ทำดี คิดดี ซึ่งก็ต้องใช้วิถีแห่งความกล้าหาญอย่างยิ่ง พระบรมศาสดาจึงทรงกล่าวว่า พระ ธรรมนี้ เป็นสิ่งที่ทวนกระแส ไม่ง่ายเลยที่จะทำตามถ้าคนผู้นั้นยังมีอินทรีย์อันอ่อน ซึ่งเรื่องเช่นนี้ก็มิได้มีเฉพาะคุณเท่านั้น แต่ถึงยังไงฉันก็ขอเป็น กำลังใจให้คุณมีกุศลจิตที่กล้าแข้งพร้อมที่จะเพียรพยายามทำดี พูดดี คิดดี แค่นี้ฉันก็ถือว่าเป็นกำไรของชีวิตคุณแล้ว ขออย่ามีชีวิตอยู่เพื่อรอการ ขาดทุนเลย โทษของการประพฤติทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวง หลอกลวงเขา คนเหล่านี้เกิดในชาติต่อๆ ไป จะเป็นคนหรือสัตว์ที่โง่เขลา จะทำพูดคิด หรืออยู่ร่วมกับใครก็มิได้มีผู้ใดให้ความไว้วางใจ ไม่เชื่อหน้า ปัญญาทราม แถมมักจะโดนคนอื่นผู้อื่นหลอกลวงอยู่เป็นนิจ และถ้าเผอิญเกิดมามีทรัพย์ ชาติ ตระกูลดี แต่ในที่สุดก็ต้องโดนผู้อื่นปอกลอก หลอกลวงจนเสียหาย ผลเหล่านี้จะให้ผลทั้งปัจจุบัน และอนาคต ขอได้โปรดหลีกเลี่ยงอย่าทำ

    ปุจฉา
    ขอธรรมะสำหรับผู้นำองค์กร
    หนึ่ง จะใช้ธรรมะข้อใดมาปราบความรู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ อ่อนแอ และพ่ายแพ้ในตนเองให้ได้ ผู้นำขององค์กรมีสิทธิจะท้อแท้บ้างไหมคะ
    สอง ผู้นำที่ดีขององค์กรควรจะมีคุณสมบัติอย่างไร และผู้นำควรจะใช้ธรรมะข้อ ใดในการนำองค์กรที่กำลังแตกแยกกันเนื่องจากมีแต่คนเก่งแต่ไม่ยอมลงรอยกัน ให้รวมกันเป็นหนึ่งให้ได้
    สาม การข่มใจด้วยขันติ กับการวางเฉย(อุเบกขา) การข่มนิวรณ์ด้วยองค์คุณแห่งฌาน (วิขัมภนปหาน) และความสงบใจ (อุปสมะ) แตกต่างกันอย่างไร ควรจะยึดหลักธรรมะข้อไหนดีกว่ากันคะ

    วิสัชนา
    ข้อ หนึ่ง ความรัก ความศรัทธา ความเพียร สติ ความอดทน ปัญญา เหล่านี้เป็นธรรมที่ช่วยกำราบความสิ้นหวัง พ่ายแพ้ ท้อถอย อ่อนแอ
    ผู้นำองค์กรถ้ายังเป็นมนุษย์ ปุถุชนธรรมดาก็ย่อมเป็นธรรมชาติอยู่เองที่ย่อมมีความรู้สึกเหนื่อยหน่าย ท้อแท้
    ข้อสอง เป็นที่พึ่งแก่ตนเอง และทำตนเองให้เป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่นได้ เข้มแข้ง ซื่อตรง มีน้ำใจ และต้องรู้จักให้อภัย
    ข้อสาม นั่นเพราะใจนี้ รับรู้อะไรจนปรุงเป็นอารมณ์ เมื่อเกิดและมีอารมณ์ จึงจำเป็นต้องใช้ความอดทน อดกลั้น ที่เรียกว่า ขันติ
    อุเบกขา คือ สภาพที่ใจนี้รู้อะไร แต่ไม่ปรุงเป็นอารมณ์ จึงไม่ทำอารมณ์ให้เกิดอะไร วิขัมภนปหาน คือ การข่มกิเลสด้วยอำนาจแห่งฌาน พอฌานเสื่อมกิเลสก็ปรากฏขึ้นอีก อุปสมะ คือ สภาพแห่งจิตที่ปราศจากกิเลส โดยมิต้องมีการข่มบังคับเป็นวิถีแห่งพระนิพพาน
    ฉันเลือกให้คุณไม่ได้ มีแต่คุณเท่านั้นที่จะเลือกสิ่งดีที่สุดให้แก่ชีวิตคุณ และต้องถูกตรงต่อสภาวะความเป็นจริงในปัจจุบันของคุณด้วย
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉาวิสัชนา <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">11 ตุลาคม 2547 14:49 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    นั่งภาวนาแล้วง่วงนอน

    ทำอย่างไรจะชนะความขี้เกียจได้ ตลอดไป และทำอย่างไรจะชนะความโกรธได้ตลอดกาล ดิฉันชอบนอนมากๆ ทำอย่างไรถึงจะแก้ได้เพราะเป็นอุปสรรคในการภาวนามาก นั่งภาวนาไม่คอยปวดเมื่อยแต่ง่วงนอนอย่างเดียว แล ะไม่ชอบเดินจงกรมด้วย เมตตาตอบด้วยเจ้าค่ะ

    วิสัชนา
    ขอตอบว่า เจริญสติ ฝึกสติ ทำให้เกิดสติทุกลมหายใจ รายละเอียดในการฝึกสติ ขอให้หาอ่านดูในหนังสือ 'วิถีแห่งพุทธะ' เพราะถ้าจะตอบตรงนี้คงจะใช้เวลามากพอสมควร
    สำหรับคำถามที่ว่า ภาวนาทีไรง่วงนอนทุกที แสดงว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะคุณไม่ได้ภาวนา ถ้าภาวนาอยู่จักไม่ง่วง ที่ง่วงเพราะไม่ได้ภาวนา เหตุที่ไม่รู้ว่า ภาวนา หรือไม่ เพราะคุณขาดสติ
    อยากจะแนะนำคุณว่า ถ้านั่งอยู่แล้วมันง่วงก็ลุกขึ้นยืน ในขณะที่ยืนก็มีสติรับรู้ รูปยืน กิริยาที่ยืน สำรวจตรวจดูว่า คุณยืนตรงหรือไม่ ยืนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งหรือเปล่า
    ถ้ารับรู้ได้ ว่า คุณยืนด้วยอาการลักษณะเช่นไร นั่นแหละคือตัวสติแล้วละ คุณจักหายง่วงเอง

    ปุจฉา
    สติ อนุสสติ กับ มหาสติ

    สติ อนุสสติ (เช่น พุทธานุสสติ มรณานุสติ) มหาสติ แตกต่างกันอย่างไร ?จะใช้สติที่แตกต่างกันเหล่านี้ มากำกับจิตที่แตกต่างกันหรือไม่? การมีสติมากำกับจิตทุกดวงที่เกิดดับ คือสติตัวไหน? ทำได้อย่างไร ?

    วิสัชนา
    สติ คือ ความระลึกได้ อนุสติ คือ อารมณ์ที่ควรระลึกถึง เหตุปัจจัยที่ควรระลึกถึงอยู่เนืองๆ ตลอดเวลามี 10 อย่าง พุทธานุสต คือ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
    ธรรมานุสต ิคือ ระลึกถึงคุณของพระธรรม สังฆานุสติ คือ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ สีลานุสติ คือ ระลึกถึงศีล จาคานุสติ คือ ระลึกถึงประโยชน์ในการบริจาคทาน เทวตานุสติ คือ ระลึกถึงคุณธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา มรณานุสติ คือ ระลึกถึงความตายที่จะเกิดขึ้นกับตน และคนอื่นสัตว์อื่น กายคตานุสติ คือ ระลึกถึงความจริงแท้มีอยู่ในกายนี้ อานาปานุสติ คือ ระลึกถึงลมหายใจที่เข้าและออก อุปสมานุสติ คือ ระลึกถึงธรรมที่เป็นเหตุทำให้กิเลสระงับ
    ส่วน มหาสติ คือ สติที่กำกับจิตทุกดวงที่เกิดดับ มีสติรู้สภาวะตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในกาย เวทนา จิต และธรรม ให้เกิดสติรับรู้ทุกขณะลมหายใจเข้าออกทำให้เกิดขึ้นได้ ด้วยการฝึกปรือ อบรม บ่มเพาะ อย่างจริงจัง ตั้งใจ จดจ่อ และจับจ้อง

    ปุจฉา
    แสงมาจากไหน

    บางครั้งหลังจากสวดมนต์แล้ว ดิฉันก็ลองนั่งสมาธิเพื่อสำรวจใจตนเอง และเพื่อให้สุขภาพดีขึ้น ในการนั่งสงบจิตสงบใจนี้ บางครั้งรู้สึกว่าสว่างไสวมาก ไม่ทราบว่าแสงมาจากไหน ในครั้งต่อไป ถ้าเห็นแสงสว่างนี้อีก ดิฉันควรที่จะกำหนดจิตอย่างไรหรือไม่ หรือควรปล่อยให้เป็นเช่นนั้นเอง?

    วิสัชนา
    แสง มาจากจิตที่สงบ ไม่ควรใส่ใจ เพราะแสงนั้น เป็นเพียงแค่มายา การแห่งจิตที่สงบชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น คุณควรจะรับรู้ในสิ่งที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความสงบอันนั้นต่อไปอย่างแจ่ม แจ้ง ชัดเจน และจริงจังโดยไม่สนใจต่อเหตุปัจจัยอื่นใดทั้งหมด

    ปุจฉา
    วิธีปฏิบัติตนเมื่อห่างไกลครู

    กราบนมัสการองค์หลวงปู่ที่เคารพรัก ตั้งใจที่จะเป็นฆราวาสผู้ปฏิบัติธรรม เจริญสติ ฝึกจิต ให้ สะอาด สว่าง สงบ ในขณะที่ต้องทำงานอยู่ในปัจจุบันท่ามกลางสิ่งแวดล้อมอัน แตกต่างที่ฉุดดึงออกไปให้ห่างครู เนื่องจากยังไม่เข้มแข็งพอ และจะมีวิธี ใดบ้างที่จะน้อมนำให้สามารถปฏิบัติได้ดีเหมือนตอนที่อยู่ไกล้ครู

    วิสัชนา
    เป็นธรรมชาติของจิตแหละคุณ จิตนี้เหมือนกระแสน้ำย่อมไหลลงสู่ที่ ต่ำอยู่เสมอ จิตนี้เหมือนน้ำมันบรรจุลงในหม้อดิน บุคคลผู้นำพาหม้อดินที่มีน้ำมันบรรจุอยู่เต็มย่อมต้องพยายามประคับประคองมิ ให้น้ำมันในหม้อกระฉอกกระเพื่อมหกฉันใด การฝึกจิตนี้จะต้องพยายามประคับ ประคองมิให้กระฉอกกระเพื่อมไปตามกระบวนการหลอกล่อ ทั้งภายในภายนอก ฉันนั้น
    คุณต้องหาทางสร้างแรงจูงใจสร้างกำลังใจให้เข้มแข็งกล้าหาญเด็ดเดี่ยวพร้อม ที่จะฝึกหัดดัดจิตนี้ให้ซื่อตรง มีสติระลึกได้อยู่เสมอ ต้องค่อยทำค่อยไป ไม่รีบร้อน ทำบ่อยๆ ทำแบบเต็มใจทำ อย่าทำแบบจำใจ
    เพราะอย่างนี้แหละบรรดา พระมหาโพธิสัตว์เจ้าจึงจำเป็นต้องบำเพ็ญ บารมีทั้ง 10 คือ ทานบารมี ศีล เนกขัม ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจอธิษฐาน เมตตา อุเบกขา เพื่อเป็นเครื่องพยุงจิตให้กล้าแข็งต่อการฝึกหัด ค่อยๆบำเพ็ญบารมีไปสักวันหนึ่งชัยชนะจะเป็นของคุณ
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา - วิสัชนา <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">4 ตุลาคม 2547 15:14 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    กึ่งพุทธกาล

    ปี 2500 ที่คนมักเรียกกันว่า กึ่งพุทธกาล ความจริงเป็นอย่างไร พระพุทธศาสนาจะมีอายุ 5,000 ปี ใช่หรือไม่

    วิสัชนา
    ที่สงสัยว่าพุทธกาลของเรามีแค่ 5,000 ปีเท่านั้นเองหรือ อยากจะถามว่าใครบอก พระพุทธเจ้าไม่เคยคำนวณหรือไม่เคยทายทักอายุพระศาสนา พระองค์ทรงบอกว่า ไม่มีประโยชน์อันใดที่เราตถาคต จะไปทำนายทายทักอายุพระศาสนา ตราบใดที่พระธรรมวินัยของเราตถาคต ยังมีภิกษุ บริษัทสี่ ปฏิบัติได้ไม่ขาดไม่เกิน ถือว่าตราบนั้นศาสนาเราก็จะยิ่งใหญ่ไม่เสื่อมโทรม และเจริญรุ่งเรือง

    พุทธบริษัทสี่ มีใครบ้างล่ะ ก็มี ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา สี่เหล่านี้ปฏิบัติธรรมะ เรียนรู้ธรรมะ ศึกษาธรรมะ ใช้ปัญญาญาณใคร่ครวญ วิจารณ์พิจารณาธรรมะ ปฏิบัติ รับเอามาศึกษา มาท่องจำท่องบ่น อบรมดัดกาย วาจา ใจ ของตนได้อย่างไม่ขาดไม่เกินแล้วนี้ ศาสนาอยู่ได้เป็นล้านปี

    แต่ถ้าตราบใดที่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ละเลยเพิกเฉย ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของเราตถาคต ถือว่าเมื่อนั้นก็ถึงการวิบัติ การฉิบหาย และแตกสลายของพระศาสนา แสดงว่าพระองค์ไม่ได้ทำนายไว้ว่าเมื่อไรจะฉิบหาย ไอ้ที่ทำนายกันไม่ใช่พระพุทธเจ้าหรอก หมดดูโคนต้นไม้ นักบวชชั้นหลังเขาเขียนกันไว้ ที่บอกพุทธทำนาย ไม่จริงหรอก พระพุทธเจ้าไม่เคยทำนาย

    พระสารีบุตรเคยถามว่าพระพุทธศาสนาจะเจริญกี่ ร้อยกี่พันปี พระองค์ทรงวิจารณ์ให้ฟังเหมือนกันว่า จากหลัง 2,000 ปีจะไม่มีภิกษุณี พระอรหันต์จะลดน้อยลง อะไรอย่างนี้ แต่ไม่ใช่ทำนายอายุว่า กี่พันปีศาสนาจะเสื่อมโทรม

    ความเสื่อมโทรมไม่ได้อยู่ที่การทำนาย แต่อยู่ที่การปฏิบัติดีหรือไม่ของพุทธบริษัท 4
    คนมันเสื่อมนะ ไม่ใช่ศาสนาเสื่อม ใจคนมันเสื่อม พอใจเสื่อมไม่อยากทำก็เลยเสื่อมตามไปหมด ความเสื่อมของหัวใจมันมีความเสื่อมของคนมันมี มันก็ทำให้ข้อวัตรปฏิบัติของศาสนาซึ่งเป็นของส่วนกลางเสื่อม พวกเราเข้าใจเสียใหม่ว่า ศาสนาไม่ใช่แผนที่ ไม่ใช่เข็มทิศ ไม่ใช่ตำราไม่ใช่คัมภีร์อักษรภาษา ไม่ใช่วัตถุธาตุ ศาสนาเป็นนามธรรม ไม่มีใครทำลายพลังแสง สี เสียง ของอาทิตย์ได้ฉันใด ก็ไม่มีใครทำลายศาสนาได้ฉันนั้น เราไม่ใช่มัน มันก็ยังคงที่อยู่ตรงนั้น ศาสนาเป็นของที่มีมาแล้ว พระพุทธเจ้าเป็นผู้ฉลาดกว่าเพื่อนจึงเอามาใช้

    เพราะฉะนั้น คำสอนและธรรมะเป็นของที่ปรากฏอยู่แล้ว เป็นของที่มีอยู่แล้ว ทุกข์ก็มีอยู่แล้ว สมุทัยก็มีอยู่แล้ว นิโรธก็มีอยู่แล้ว มรรคก็มีอยู่แล้ว แต่ไม่มีใครรู้จัก พระพุทธเจ้ารู้จักก่อน จึงเอามาใช้เอามาบอกมาสอน

    เพราะฉะนั้น อย่าเข้าใจว่าศาสนาจะเสื่อมโทรมและโดนทำลายด้วยมือ บุคคล ที่มันไม่เจริญเพราะคนไปทำมันเท่านั้นเอง แต่ทำลายสูญหายไม่มีหรอก อย่างน้อยก็ยังมีอยู่ในหัวใจ

    อย่างลืมว่า เรามีศาสนากันมาตั้งแต่เกิดแล้ว ออกจากท้องแม่รู้จักเรียกขานว่า "แม่" นั่นแหละเป็นคำสอนของศาสนาแล้ว เพราะ คำว่าแม่ เป็นคำยกย่องคนที่เหนือชีวิตตน ยอมรับเรื่องของบุญคุณ และยอมรับพระคุณของผู้เป็นแม่ คำว่าแม่มีสอนในศาสนาแล้วยอมรับคือผู้น้อยยอมรับผู้ใหญ่ เป็นการเคารพกันและกัน อย่างนี้ถือว่ามีศาสนาแล้ว ไม่จำเป็นต้องมาแสดงตนเป็นพุทธมามกะ อุบาสก อุบาสิกา

    เพราะฉะนั้น จะเห็นว่าศาสนามีอยู่ในชีวิตวิญญาณแล้ว ไม่จำเป็นต้องคอยมาบอกมาสอน แต่ที่ต้องมาบอกมาสอน เพื่อให้รู้มากขึ้น ให้เข้าใจมากขึ้น ให้กระจ่างชัดมากขึ้น และจะได้ทำให้ถูกต้อง ไม่โดนต้ม และก็จะไม่บ้าไปตามคำนิยมของชาวบ้านเท่านั้นเอง

    ปุจฉา
    ศาสนากับความขัดแย้ง

    การรบราฆ่าฟันกันระหว่างศาสนา ควรจะทำอย่างไร ศาสนาไม่ได้ช่วยขจัดความขัดแย้งหรือ

    วิสัชนา
    ถ้าจะถามกันตรงๆ ว่า ศาสนาจะช่วยให้คนหยุดรบกันบ้างไม่ได้หรือ ที่จริงแล้ว สำหรับความขัดแย้งนี้ หลวงปู่ไม่อยากจะตอบให้มันเกี่ยวกับศาสนา มนุษยชาติมีปกติแห่งความขัด แย้ง ซึ่งเขาถือกันได้อย่างนั้น แต่ถ้าตามธรรมชาติแล้ว ถือเป็นความผิดปกติ

    สำหรับสังคมของสัตว์มนุษย์ หรือมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคม มีความเป็นปกติที่จะต้องอยู่แล้วก็อยู่ อะไรที่ทำให้ตัวเองต้องอยู่ไม่ได้ ทำให้ตัวเองต้องอยู่น้อยลงกว่าเก่า ก็แสดงว่าต้องเป็นปฏิปักษ์ เหตุอันนี้แหละจึงเป็นตัวต้นเหตุแห่งความขัดแย้ง ซึ่งไม่เกี่ยวกับกระบวนการศาสนา
    ก็อย่างที่เราเข้าใจแล้วว่า ศาสนาทุกศาสนาเขาสอนให้เราเป็นคนดี เขาคงจะไม่สอนให้คนฆ่ากันแน่ คนที่ฆ่ากันคงไม่เกี่ยวกับศาสนา มันเกี่ยวกับกระบวนการข้ดแย้งผลประโยชน์ ที่เกิดจากหัวใจตนก่อน เช่น คำว่าสัตว์สังคงที่ต้องอยู่ แต่อยู่ไปอยู่มา ตัวเองกลับไม่ได้อยู่หรืออยู่น้อยกว่าเก่า ก็มีความรู้สึกต้องขัดแย้งเป็นธรรมดา การขัดแย้งอันนั้นอาจจะก่อกำเนิด จากหัวใจของตนก่อน ซึ่งเป็นการขัดแย้งที่เป็นเรื่องส่วนตัวและก็แพร่ขยายออกเป็นขบวนการส่วนรวม จึงก่อตัวออกมาเป็นลักษณะของการต่อสู้ ฆ่าฟัน ในระบบศาสนานิกายหรือลัทธิ ซึ่งจริงๆ แล้วกระบวนการของศาสนานี้ เป็นกระบวนการของการจรรโลง ครอบคลุม สร้างสรรค์ แล้วก็อุดหนุนจุนเจือ นี่คือคำนิยามของทุกศาสนา

    แล้วถ้าอะไรที่มันผิดคำนิยาม ก็ถือว่านั่นไม่ใช่ศาสนา มันเป็นกระบวนการของบุคคล กลุ่มชน และสังคม ทีนี้เมื่อมีกระบวนการของบุคตคล กลุ่มชน และสังคม ก็ต้องไปยึดถือเอาตัวการใหญ่ว่า ไอ้กลุ่มชนอันนั้น กระบวนการอันนั้น สังคมอันนั้น มันนับถืออะไรเป็นสัญลักษณ์จะเรียกขานมัน ก็เลยไปให้สัญลักษณ์ว่า นี่ฝ่ายพุทธนะ นั้นฝ่ายคริสต์ โน่นฝ่ายอิสลาม
    จริงๆ แล้วตัวศาสนาระหว่างคริสต์ พุทธ อิสลาม ไม่ได้กัดกัน ศาสนาไม่ได้กัดกัน แต่กลุ่มคนสังคมต่างหากกัดกันแล้วก็นำพาเอาศาสนาไปกัดด้วย ซึ่งจะว่ากันแล้ว ศาสนาก็เปรียบเหมือนกับเงา ไม่ได้รู้เรื่องอะไรกันเลย เพราะมันมีกระบวนการคำนิยามของมันแล้วว่า จรรโลง สร้างสรรค์ ครอบคลุมรักษาอยู่ มันไม่ต้องการฆ่าฟันแก่งแย่งชิงดีกันอยู่แล้ว

    เพราะฉะนั้น การที่เป็นเช่นนี้ก็ต้องถือว่า เป็นไปตามอำนาจกฎแห่งกรรมชนิดหนึ่ง อีกเรื่องหนึ่งก็คือ เป็นไปตาม สภาวะกิเลสของสัตว์สังคม ยิ่งสังคมของวัตถุเจริญรุ่งเรือง สังคมของจิตนิยมต่ำทราม สังคมของคนแบ่งแยกชนชั้น เหยียดหยาม ดูถูก แบ่งพรรคแบ่งพวกก็จักตามมา

    แต่ถ้ายุคใดสมัยใดมีสังคมแห่งจิตนิยม รุ่งเรืองวัตถุนิยมลดน้อย จิตนิยมยิ่งใหญ่ ยุคนั้นสมัยนั้นก็จะรู้สึกว่า อะไรๆ มันก็จะรักกัน บูชากัน เทิดทูนกัน ยอมรับเหตุผลของกันและกัน

    กระบวนการจิตนิยม คือ ความมีจิตมีใจเป็นระบบมีระเบียบอยู่ในสังคม
    คือ เรานิยมชมชอบกันด้วยความสมานฉันท์ รักใคร่กลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เห็นอกเห็นใจกัน เคารพในสิทธิของตนและคนอื่น อย่างนี้เขาเรียกว่าเป็นกระบวนการจิตนิยม
    แต่ถ้ายุคใดสม้ยใด ผู้คนต่างพากันมาสนใจแต่วัตถุ นิยมวัตถุ บูชาว้ตรถุ ผู้คนเหล่านั้น สังคมนั้นๆ ก็จักทำทุกวิถีทาง เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุ ยื้อแย่งวัตถุหวงแหนวัตถุ ปกป้องรักษาวัตถุ แล้วก็พร้อมทุกอย่างที่จะสะสมวัตถุ
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา - วิสัชนา <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">27 กันยายน 2547 15:24 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    ถือศีลห้ามฆ่าสัตว์ ต้องงดเนื้อสัตว์?

    การทานอาหารที่ทำด้วยเนื้อสัตว์ เป็นการฆ่าสัตว์ทางอ้อมหรือเปล่าคะ ถ้าเราจะถือศีลที่ว่าห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เราก็ต้องงดทานเนื้อสัตว์ด้วยหรือเปล่าคะ

    วิสัชนา
    กิริยา ที่ทำให้ผิดศีลในข้อ ฆ่าสัตว์ ต้องประกอบไปด้วย
    กิริยาฆ่าด้วยตนเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ชี้ให้เขาฆ่า มีเจตนาที่จะฆ่า
    ถ้าคุณมิได้มีกิริยาอาการดังกล่าวมา ก็ไม่ต้องไปคิดมากหรอกคุณ เดี๋ยวแก่เร็ว

    ปุจฉา
    ใครกำหนดนิสัยเรา

    กล่าวกันว่ากรรมเป็นตัวกำหนดวิถีอย่างคร่าวๆของตัวเรา กระผมใคร่ขอถามว่าแล้วอุปนิสัยตัวจริงของเรานั้น สิ่งใดที่เป็นตัวกำหนด หากเมื่อเราทราบว่าคือสิ่งใด ก็แปลว่าเราสามารถกำหนดนิสัยความคิด ของเราไปได้ทุกภพชาติ

    วิสัชนา
    ใครบอกคุณว่า กรรมเป็นตัวกำหนดชีวิตอย่างคร่าวๆ ล่ะคุณ ผมทุกเส้น หนังทุกชิ้น กระดูกทุกท่อน เป็นผลผลิตของกรรมทั้งนั้น แม้แต่ความสูง ต่ำ ดำ ขาว หล่อ สวย ซวย ดูโทรม โง่ ฉลาด ชาติตระกูล รวย จน รวมทั้งสังคมรอบข้าง รวมทั้งอุปนิสัยด้วย ยังไง ๆ ฉันก็ยังยืนยัน นอนยันว่า
    "เรามีกรรมเป็นแดนเกิด"
    "เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์"
    "เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย"
    "เรามีกรรมเป็นที่ไปและที่มา"

    ปุจฉา
    แก่นแท้ของศาสนาคืออะไร

    นมัสการพระคุณท่าน (หลวงปู่พุทธะอิสระ) ดิฉันมีโอกาสติดตามรายการพบคนพบธรรม ที่หลวงปู่แสดงธรรม ในหลาย ๆ ตอน รู้สึกดีใจที่ศาสนามีพระที่เผยแพร่อย่างจริงจัง ตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย และที่สำคัญ รู้และนำมาปฏิบัติ ทำให้คนไทยหลายๆ คนเกิดความเข้าใจในศาสนาของตนเอง ดิฉันขอเรียนถามว่า แก่นของศาสนาที่แท้คืออะไร และการเข้าถึงต้องทำอย่างไรบ้าง(ในความเข้าใจคือการทำความดี คิดดี พูดดี และทำความดี)
    กราบนมัสการมาด้วยความเคารพ

    วิสัชนา
    ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส จนสามารถปล่อยวางได้ทุกสิ่ง การเข้าถึงพุทธธรรมนั้นไม่ยาก โดยทำหน้าที่ของตนให้ถูกต้อง

    ปุจฉา
    พระพุทธเจ้าทั้ง 7 ตรัสรู้อะไร

    พระพุทธเจ้าทั้ง 7 องค์ ตรัสรู้อะไรบ้างครับหลวงปู่

    วิสัชนา
    ไม่ว่าจะกี่พระองค์ ก็ตรัสรู้เหมือนๆ กัน คือ
    "รู้ทุกข์" "รู้เหตุเกิดทุกข์" รู้ทางดับทุกข์" "รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์"

    ปุจฉา
    จิตอยู่ที่ไหน

    จิต อยู่ที่ไหนค่ะ ศีลกับสมาธิ เกี่ยวข้องกันอย่างไรค่ะ

    วิสัชนา
    จิต ไม่มีรูปร่าง แต่ต้องการที่อยู่ และที่อยู่ของจิตก็เป็นไปตามอำนาจของกรรม ที่จะนำพาไปสำหรับในกายนี้ จิตสามารถจะอยู่ทุกที่ที่รับความรู้สึกได้
    ศีล คือ ความสำรวม กาย วาจา ให้เรียบร้อย ส่วนสมาธิ เป็นเครื่องรักษาใจ ให้สงบ

    ปุจฉา
    ปรมัตถเทศนากับปรมัตถปฏิปทา

    1.ปรมัตถเทศนา 2.ปรมัตถปฏิปทา แปลว่าอะไรและจำแนกเป็นกี่อย่าง

    วิสัชนา
    ปรมัตถเทศนา - เทศนาในเรื่องราวที่ละเอียดอ่อนมากๆ เช่นเรื่อง จิต = ธรรมชาติที่คอยรับรู้ เจตสิก = เครื่องปรุงจิต รูป = สภาวะปรุงแต่งแห่งสังขาร และธาตุทั้ง 4 มี ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น นิพพาน = สภาวะการดับของกิเลสทั้งปวง
    ปรมัตถปฏิปทา - ข้อปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ เบื้องต้นมี ศีล สมาธิ ปัญญา, เบื้องกลาง ปฏิบัติตามหลักมรรคมีองค์ 8 ประการ, เบื้องปลาย จนเกิดปัญญา รู้ชัดตามความเป็นจริงของ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา - วิสัชนา <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">21 กันยายน 2547 13:54 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    ช่วยครอบครัวจนไม่มีเงินเก็บ

    นมัสการค่ะหลวงปู่ ขอถามคำถามเกี่ยวกับครอบครัวค่ะ การช่วยเหลือครอบครัว ควรจะมีขอบเขตแค่ไหนคะ หนูหมายถึงในด้านการเงินค่ะ เพราะเท่าที่ผ่านมาหนูเป็นลูก หลานที่ดี ช่วยเหลือญาติๆ และคุณแม่มาตลอด แต่ตัวหนูเองกลับไม่ค่อยจะมีเงินเก็บค่ะ เพราะเอาไปช่วยครอบครัวไปเสียหมด ขอความกรุณาถามหลวงปู่ด้วยค่ะ นมัสการค่ะ

    วิสัชนา
    พระพุทธเจ้าท่านสอนหลักการใช้เงินเอาไว้ เรียกว่า ประโยชน์ในการใช้ทรัพย์ 4 อย่าง หมายความว่า เมื่อทำงานหาเงินได้ก็ให้รู้จักแบ่งเงินนั้นออกเป็น 4 ส่วน คือ
    1.ใช้เลี้ยงตัวเอง และหมู่ญาติ
    2.ใช้ซ่อมแซม สร้างเสริม ที่อยู่อาศัยให้แข็งแรง สามารถทำให้พ้นจากอันตรายต่างๆ
    3.บริจาคทาน ให้เป็นพลีแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเสียภาษี
    4.เก็บรักษาเอาไว้เมื่อยามแก่ชรา

    ปุจฉา
    อยากช่วยพ่อให้ขึ้นสวรรค์

    การทำบุญอะไรที่ได้อานิสงส์มาก ระหว่างการถวายไตรจีวร ผ้าอาบน้ำฝน แจกหนังสือธรรมะ และมีบุญแบบไหนที่จะช่วยให้พ่อที่เสียชีวิตไปแล้วได้ขึ้นสวรรค์(ในกรณีทำ กรรมมามาก เช่นฆ่าผู้อื่น) จะช่วยพ่อได้อย่างไรคะ

    วิสัชนา
    บุญแต่ละอย่างให้ผล ไม่เหมือนกัน เช่น
    - ผู้ถวายผ้าไตรจีวร เกิดชาติภพต่อๆ ไป จักมีผิวพรรณดี
    - ผู้ถวายผ้าอาบน้ำฝน จักไปเกิดในที่ใด ก็จะมีแต่ความสะดวกสบาย ผ่อนคลายไม่เดือดร้อน
    - ผู้ถวาย หรือแจกหนังสือธรรมะ ก็จักเป็นผู้รุ่งเรืองปัญญา มีบริวารมาก
    ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ สามารถอุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้วได้ทั้งนั้น ผู้ใดทำกรรมไว้เช่นไร ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นเอง ไม่ช้าก็เร็ว ไม่ว่าจักเป็นกรรมดีหรือชั่ว

    ปุจฉา
    อยากให้แม่มีอายุยืนยาว

    กราบนมัสการท่านหลวงปู่พุทธะอิสระค่ะ มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งได้เตือนดิฉันให้ระวังคุณแม่อาจจะต้องพรากจากกันไปในช่วง ปลายปี 47 นี้ ดิฉันไม่แน่ใจเรื่องแบบนี้ เลยลองไปดูหมอ ไม่ได้ถามตรงๆ แต่หมอดูก็ทักให้ระวังเช่นกัน ดิฉันถามว่าจะมีทางแก้ไขอย่างไร หรือไม่ หมอดูแนะให้ทำบุญอุทิศกุศลอาจจะช่วยได้

    ถามหลวงปู่ว่า ควรจะทำอย่างไร เพื่อให้คุณแม่มีความสุข และอายุยืนยาว ตอนนี้คุณแม่อายุย่างเข้า 67 ปี มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน แต่ดูยังแข็งแรงดี ไม่ท้อแท้ ชอบไปอยู่สวนดูต้นไม้ที่ต่างจังหวัดคนเดียวบ่อยๆ

    วิสัชนา
    สรรพชีวิต เริ่มประปราย ดารารายเปลี่ยนวิถี ทะเลลึกเนิ่นนานปี มาวันนี้แผ่นดินก็สูง

    เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสมบัติของสรรพสัตว์ไม่มีผู้ใดหนีพ้น คุณก็อย่าไปคิดมากในเรื่องคำทำนายทายทักเลย ทำวันนี้ให้ดีที่สุด ถ้าคุณรักแม่ คุณก็เอาใจใส่ดูแลรักษาท่านให้มีความสุข ผ่อนคลาย เบาสบาย มีเวลาให้แก่ท่านอย่างสม่ำเสมอ แม้ไม่มาก แต่ต้องอาทรห่วงใย แค่นี้ก็ทำให้แม่คุณอายุยืนยาวได้

    นอกจากนี้ก็หาวิธีรักษาอาการเจ็บป่วยของท่านให้ถูกวิธี พาท่านออกกำลังกายให้เหมาะสม พอดี ฉันเชื่อว่า แม่คุณจะอยู่ได้อีกนาน

    ปุจฉา
    ช่วยคนตายให้วิญญาณสงบ

    ทำไมพอคนเราจะตายถึงต้องมีการสั่งเสีย หรือชอบพูดถึงคนที่ตาย หรือทำอะไรให้คนที่เรารักคุยกับคนที่เขารัก แล้วทำอย่างไรให้วิญญาณเขาสงบ และเป็นสุขไปอย่างหมดห่วง

    วิสัชนา
    เป็นธรรมชาติของผู้ที่รู้ตัวว่า จะจากในสิ่งที่ตนรัก ห่วง เป็นอารมณ์ของผู้มีความหลง
    ทำให้เขาละห่วง หมดกังวล พ้นจากความหลง จิตจึงจะสงบ

    ปุจฉา
    วิญญาณรอคำพิพากษา

    เคยได้ยินได้ฟังความเชื่อว่า เมื่อคนตายไปแล้ววิญญาณออกจากร่าง จะไปรอการพิพากษาความดี ชั่วจากยมบาล อยากสอบถามหลวงปู่ว่า
    1. ความเชื่อเหล่านี้เป็นจริงหรือไม่อย่างไร
    2. ถ้าข้อ 1 เป็นจริง ขอถามว่า แล้วถ้าเป็นสัตว์ หรือสรรพสัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น นาค ล่ะ ต้องเข้ากติกาไปรอยมโลกไหม

    วิสัชนา
    1. ฉันจะตอบคุณอย่างไร เพราะฉันก็ยังไม่ได้ตาย เอาเป็นว่าเชื่อเอาไว้ ก็ไม่น่าจะผิดอะไรอย่างน้อยๆ มันก็ทำให้ผู้ที่เชื่อรู้จักละอายชั่วกลัวบาป แต่ถ้าคุณจะให้ฉันตอบจริงๆ ก็ต้องตอบได้เลยว่า สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม กรรมเป็นเครื่องพิพากษา กำหนดว่าผู้ใดจะได้ไปเกิดเป็นอะไร ตามแต่ผลของกรรมนั้นๆ จะผลักดันไป
    2. นาค จัดว่าเป็นสัตว์เดรัจฉานประเภทหนึ่ง ก็ไม่พ้นต้องเป็นไปตามอำนาจของกรรม
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉาวิสัชนา <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">13 กันยายน 2547 16:09 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    ใครๆ ก็ไม่ชอบผม

    ผมเหงาใจจังครับ รู้สึกว่าตนเองไม่มีเพื่อนเลย รู้สึกว่าใครๆ ก็ไม่ชอบผม ทำอย่างไรดีครับ

    วิสัชนา
    คนในโลก มีไม่น้อย ที่เขาอยู่คนเดียว อย่างไม่สิ้นหวัง ฉันว่าคุณลองฝึกตนให้เป็นคนเชื่อมั่นตนเอง เข้มแข็ง ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ หางานอดิเรกทำ ทำทาน รักษาศีล ปฏิบัติธรรมดูบ้าง จะได้รู้ว่า ชีวิตนี้อยู่คนเดียวสบายกว่าเยอะเลย

    ปุจฉา
    วิธีเตรียมตัวก่อนสอนเอนท์
    กราบนมัสการหลวงปู่ที่เคารพรักอย่างสูง
    1.หลวงปู่ช่วยแนะนำวิธีการเตรียมตัวก่อนสอบเอนทรานซ์ ให้อ่านหนังสือแล้วจำได้ไม่ลืมยาก และผลสอบออกมาดี ซึ่งวิธีนี้เหมาะแก่ปุถุชนทั่วไปที่ จิตหยาบซึ่งไม่ยากเกินที่จะปฏิบัติได้
    2.เราควรจะทำอย่างไรถ้าเราไม่เก่งวิชา วิชาหนึ่งซึ่ง ไม่ยากไม่ง่าย ผมพยายามชอบแล้ว ก็คือชอบ ตั้งใจเรียนแล้ว แต่จำไม่ได้ ควรทำอย่างไรดีครับ
    3.สุดท้ายนี้ผมขอให้หลวงปู่แข็งแรง โรคภัยขอให้บรรเทา ผมรักและห่วงหลวงปู่เสมอ

    วิสัชนา
    เริ่มอ่านหนังสือมาแต่ต้นภาคเรียนทุกวัน แล้วทำความเข้าใจว่า หนังสือที่เราอ่าน กำลังจะบอกอะไรแก่เรา อ่านจนจบเล่ม แล้วเขียนบทสรุปสั้นๆ ของใจความสำคัญของหนังสือ อย่างตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม เมื่อใกล้สอบ หยิบมาทบทวนอีกครั้ง เมื่อถึงวันสอบ ทำใจให้สบาย แล้วเข้าห้องสอบ เธอจะตอบได้ทุกปัญหาที่เขาถาม
    - ทำอย่างเดียวกันกับคำตอบแรก
    - ขอบใจ ขอให้สิ่งที่เธอให้ฉัน จงย้อนกลับไปหาเธอเป็นร้อยเท่าพันทวี

    ปุจฉา
    แฟน ละเมิดศีลข้อ 3
    กราบนมัสการหลวงปู่ ชีวิตของผมเมื่อพบเจอเพื่อนหญิง คนที่1 เหตุการณ์เมื่อ 2537 และครั้งที่ 2 เหตุการณ์ในขณะนี้ เหตุการณ์ที่เหมือนกันก็คือ เขาจะแอบไปละเมิดศีลข้อ 3 คือยุ่งกับสามีของคนอื่น ด้วยความเมตตาของผม (ไม่รู้ว่าจะเมตตาถูกทางหรือเปล่า) ก็ให้อภัยเขา ครั้งที่ 1 ก็แล้ว ครั้งที่ 2 ก็แล้ว ครั้งที่ 3 ก็แล้ว ครั้งที่ 4 ผมขอเป็นครั้งสุดท้าย

    ผมได้สอนเรื่องวิบากกรรมของการละเมิดศีลข้อ 3 แนะนำให้เขาถือศีลได้ 1 คืน พาเขาทำบุญถวายสังฆทาน สร้างพระพุทธรูป ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ และทำบุญ ทำทานปล่อยสัตว์หลายต่อหลายครั้ง ส่วนตัวผมเองได้สวดมนต์แผ่ส่วนกุศล และนั่งกรรมฐานแผ่ส่วนกุศลให้เขาเป็นประจำ

    ตอนนี้ผมเริ่มท้อแท้ และไม่อยากยุ่งกับเวรกรรมของเขาแล้ว มานึกว่าผมคงไม่ใช่ผู้วิเศษอะไรที่จะไปช่วย ไปรั้งเวรกรรมใครได้ ผมขอคำแนะนำและให้สติผมด้วยครับ ตอนนี้เหตุการณ์กำลังวุ่นวายมาก

    วิสัชนา
    กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมสนอง มนุษย์เอย อย่าเห็นกงจักร เป็นดอกบัว อย่างนี้ต้องร้องว่า ปล่อยเขาไป ๆ

    ปุจฉา
    ช่วย ด้วย..คนรักจิตแข็ง?
    กราบนมัสการหลวงปู่ ดิฉันขออนุญาตรบกวนหลวงปู่ช่วยชี้แนวทางให้ด้วยค่ะ คนรักของดิฉันเป็นคนที่จิตแข็งมาก โดยเฉพาะช่วงกลางคืน เขาจะคิดเรื่องต่างๆได้มากมายและเปลี่ยนได้หลายๆเรื่อง ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับโปรเจคที่สนใจต่างๆ แต่ไม่มีโอกาสได้ทำเลยสักครั้งเดียว เนื่องจากโปรเจคที่คิดแต่ละอย่างไม่สามารถทำเองได้ และเพราะเหตุนี้เขาไม่สามารถนอนหลับแบบปกติได้เลย เคยปรึกษาจิตแพทย์และได้ทานยานอนหลับประมาณ2-3เดือนก็ไม่ได้ผล และนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เขาต้องพึ่งเบียร์ โดยที่ดื่มวันละประมาณ 4 ขวด เคยลองไม่ดื่มเลยเพราะใจจริงไม่อยากดื่ม แต่ปรากฏว่าไม่สามารถนอนได้เลยจนถึงเช้า ดิฉันสงสารแต่ไม่ทราบว่าจะช่วยอย่างไรได้ ขอหลวงปู่ช่วยแนะนำด้วยค่ะ

    วิสัชนา
    คนรักของคุณ ไม่น่าจะเป็นคนใจแข็งอย่างที่คุณว่า ฉันว่าน่าจะเป็นฟุ้งซ่าน จิตอ่อนเสียมากกว่า วิธีจะให้นอนหลับไม่ยาก

    ตอนกลางวัน คุณให้เขาหางานทำ จะเป็นงานอะไรก็ได้ แม้แต่ซักผ้า กวาดบ้าน รดน้ำต้นไม้ ล้างส้วม พอตกเย็นคุณให้เขาลองออกกำลังกายให้เหนื่อย เหงื่อออกมากๆ ตอนมืดอาบน้ำ กินข้าว แปรงฟัน สวดมนต์ไหว้พระ เข้านอน พร้อมกับกำหนดรู้ลมหายใจ ที่เข้าและออก เดี๋ยวก็หลับไปเอง

    ปุจฉา
    วิธีปรับตัวกับสังคมหน้ากาก
    เมื่อเรารู้สึกเหนื่อยใจ จากสังคมในวิทยาลัยที่เราอยู่ มีความรู้สึกอึดอัดใจ กับการใส่หน้ากากจากโดยรอบ ซึ่งเราเองไม่สามารถที่จะบอก จะพูดอะไรตรงๆ ไม่ได้ และยังรู้สึกเดียวดาย

    เราจะมีวิธีใดบ้างในการปรับตัวเข้ากับสังคมแบบนี้ ซึ่งข้าพเจ้าเองนั้น กำลังเผชิญอยู่กับมัน ทั้งที่เราพยายามปรับตัวเข้าด้วยแล้วยิ่งทำให้เรารู้สึกแย่มาก เราควรแยกตัวออกมาหรือเปล่า แต่เขาก็เป็นเพื่อนๆของข้าพเจ้าเอง

    วิสัชนา
    ไม่เห็นจะต้องไปทำอย่างไร แค่ไม่นำมันมาปรุงแต่งให้เป็นอารมณ์ แค่นี้มันก็ไม่มีอะไรแล้ว อย่าไปแบกมันมากนักเลยคุณ วางๆ มันลงไปเสียบ้าง แล้วคุณจะรู้สึกเบาสบาย

    ปุจฉา
    ขอวิธีดูคนจริงใจ
    ดูอย่างไรถึงจะรู้ว่าผู้นั้นจริงใจกับเรา(ทุกเรื่อง)ไม่ปกปิดเรา ขอหลวงปู่ช่วยบอกวิธีสังเกตหน่อยซิคับ

    วิสัชนา
    ไม่มีหรอกคุณ คนที่เขาจะจริงใจกับเราทุกเรื่อง โดยธรรมชาติของคนทุกคนจะมีโลกส่วนตัวของตนเอง ซึ่งก็ไม่มีใครอยากให้ใครเข้ามาก้าวก่าย เรื่องของเรื่องเลยต้องกลายเป็นปกปิด ทั้งที่เขาไม่อยากปกปิด เพียงแต่ต้องการโลกส่วนตัวเท่านั้น
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉาวิสัชนา <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">9 กันยายน 2547 11:15 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    สติ สมาธิ และเวรกรรม


    1. ทำไมสมาธิบางคนมีได้เร็วและอยู่ยาวนาน
    2. มีวิธีทำอย่างไรให้ง่ายในการเรียกสติออกมาใช้ในเหตุการณ์ได้อย่างรวดเร็ว
    3. มีวิธีไหนที่เราจะทราบได้ว่าเราหมดเวรกรรมกับบุคคลหนึ่งบุคคลใด

    วิสัชนา
    1. เพราะเขาสั่งสมมาแต่อดีต แม้ปัจจุบันก็ทำต่อเนื่อง
    2. จัดระเบียบของกาย จนเป็นระบบของความคิด ทำพูด คิด ทุกชนิด ต้องรู้ตัว
    3. มีสัมมาทิฐิ คือ ความเห็นถูกต้อง เช่น เห็นว่าสัตว์โลกเป็นไปตามกรรม เราทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี ทำกรรมชั่ว ผลชั่วย่อมตอบสนอง สรรพสิ่งรอบกาย ล้วนเกี่ยวเนื่องต่อกรรมที่เราทำทั้งที่เป็นอดีต และปัจจุบัน ถ้าคุณเข้าใจได้เช่นนี้ คุณก็จะเข้าใจต่อไปว่า เราจะไม่ทำกรรมใดๆ ที่เป็นเครื่องผูกเราให้ข้องอยู่กับอะไรอีกต่อไป เช่นนี้แหละเรียกว่าหมดเวร หมดกรรม

    ปุจฉา
    ขอวิธีลดโทสะ

    มองอย่างไรให้เป็นสุข และเกิดปัญญาขึ้นในใจ เมื่อเห็นพระสงฆ์ยืนบิณฑบาต โดยไม่เดินไปไหนยังคงยืนบริเวณร้านค้า ย่านชุมชนหรือตลาด ซึ่งมองแล้วรู้สึกเศร้าใจทุกครั้ง

    ทำอย่างไรจึงทำให้เราลดโทสะได้น้อยลงอย่างที่สุดจนกระทั่งหมดไม่เหลือ

    วิสัชนา
    มองว่าสัตว์โลกเป็นไปตามกรรม เขาทำกรรมอย่างไรย่อมได้รับผลเช่นนั้น และที่สำคัญคุณต้องไม่เป็นผู้สนับสนุนการกระทำกรรมนั้นๆ

    บริจาคทาน เจริญเมตตา ปรารถนาให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุข แผ่เมตตา รู้จักให้อภัย มีน้ำใจ ไม่เห็นแก่ตัว

    ปุจฉา
    ข่มใจกับสิ่งเร้า

    นมัสการหลวงปู่พุทธอิสระ ผมขอกราบเรียนถามหลวงปู่ว่า ในชีวิตประจำวันในปัจจุบัน เราจะจัดการกับจิตใจของตนเองอย่างไรในสังคมที่เต็มไปด้วยสิ่งเร้าต่างๆมาก มาย เช่นในกรณีที่เราพบเห็นการแต่งตัวที่ไม่เรียบร้อยของผู้หญิงแล้วความหมก หมุ่นทางเพศมันเกิดขึ้น ทั้งๆที่เราไม่อยากให้มันเกิดขึ้น เราควรจะจัดการมันอย่างไร ที่จะไม่เป็นการเก็บกดข่มมันไว้

    วิสัชนา
    เจริญสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เพื่อจะเตือนตนไม่ให้หลงผิด หรือไม่ก็อย่าหมกมุ่น ครุ่นคิดแต่ในเรื่องเพศมากนัก รู้จักหากิจกรรมที่ใช้พลังงานมาทำให้มากๆ และทำให้ได้ทุกวัน อารมณ์เพศก็จะลดน้อยลงไปเอง

    ปุจฉา
    ขอวิธีการฝึกฝนตนเอง

    นมัสการองค์หลวงปู่พุทธะอิสระ ที่เคารพบูชาอย่างสูง ลูกขอปุจฉาคำถามเพื่อเป็นปัญญาด้วยดังนี้ การอยู่ในสังคมที่มีอกุศลจิตของผู้อยู่ข้างๆ ที่ติฉินนินทาผู้อื่น การถือตัวถือตนไม่อ่อนน้อม ยกตนข่มท่าน การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว เบียดเบียนผู้อื่นและพิจารณาเห็น ทำให้บางครั้งเบื่อหน่าย จะทำอย่างไรที่จะมีส่วนช่วยให้บุคคลเหล่านี้สะอาด สว่าง สงบมากขึ้น ลูกรู้สึกว่าลูกยังมีปัญญาน้อย ยังมีความรักที่จะให้กับบุคคลเหล่านี้อยู่อย่างจำกัด ขอนมัสการถามองค์หลวงปู่ว่า ลูกจะมีวิธีการอย่างไรในการฝึกฝนตนเองให้เจริญปัญญายิ่งขึ้น สามารถอยู่ร่วมและเป็นประโยชน์ต่อบุคคลเหล่านี้ให้มากยิ่งขึ้นด้วยเถิด

    วิสัชนา
    ชั่วชีวิตของฉันไม่เคยมองโลกในแง่ดีเลย และก็ไม่เคยมองโลกในแง่ร้ายด้วย แต่ฉันจะมองโลกตามความเป็นจริงเสมอ เป็นความจริงที่คุณก็มิอาจปฏิเสธได้ว่า มนุษย์ทั่วไปมีลักษณะอย่างที่คุณยกตัวอย่างมา เมื่อคุณเปลี่ยนเขาไม่ได้ แต่คุณสามารถเปลี่ยนตัวเองได้ คุณลองเปลี่ยนตัวเองให้ยอมรับความเป็นจริง แล้วก็เข้าใจว่านี่คือธรรมชาติที่มีอยู่กับทุกคนไม่มากก็น้อย คุณจะได้ไม่จ้องจับผิดเขา และก็ไปคอยยกย่องเขา ปล่อยให้เขาเป็นไปอย่างที่เขาอยากจะเป็น ที่สุดธรรมชาติก็จะต้องลงโทษเขาเอง ทำไมคุณต้องไปเดือดร้อนแทนเขาด้วย หน้าที่ของคุณก็ต้องคอยระวังไม่ให้กระทำเช่นเขาก็แล้วกัน
    ขอถามเรื่องปฏิคาหก

    ปุจฉา
    ใจวอกแวกตอนทำสมาธิ

    กราบนมัสการหลวงปู่ ลูกชอบการทำสมาธิ เริ่มฝึกมานานแล้ว แต่เวลาทำสมาธิ ไม่ค่อยสงบ จิตใจวอกแวกเสมอ อยากให้หลวงปู่ช่วยแนะนำด้วยค่ะ

    วิสัชนา
    คุณลองนั่งในท่าสบายๆ อย่างผ่อนคลาย แล้วหลับตา ใช้มือขวา โดยใช้นิ้วโป้ง ชี้ กลาง นาง ก้อย ทำหน้าที่แทนตา ด้วยการค่อยๆ คลำไปที่นิ้วโป้งของมือซ้าย คลำไปทีละข้่อ คลำให้เจอกระดูก คลำด้วยความรู้สึกว่านิ้วสัมผัสแทนตา คลำให้ครบทุกนิ้ว ทุกข้อกระดูก แล้วสลับเปลี่ยน

    ปุจฉา
    หายใจแบบตัว"จ"

    กราบนมัสการหลวงปู่ ดิฉันขอกราบเรียนถามเกี่ยวกับการทำสมาธิโดยการหายใจแบบตัว "จ" ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไรคะ

    วิสัชนา
    มีสติระลึกรู้ลมหายใจเรา ผ่านช่องจมูก ลำคอ หน้าอก ช่องท้อง ทะลุไปที่กระดูกสันหลัง(ก้นกบ) ไหลย้อนขึ้นมา ตามกระดูกสันหลังถึงต้นคอด้านหลัง กะโหลกศีรษะด้านหลัง กลางกระหม่อม หน้าผาก ออกตรงจมูก แล้วหายใจเข้าไปใหม่ ทำความรู้สึกว่าลมหายใจผ่านตามจุดต่างๆ ดังกล่าวมา ปฏิบัติอยู่เช่นนี้จนสติ สมาธิตั้งมั่น
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉาวิสัชนา <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">30 สิงหาคม 2547 14:18 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    ผีเข้าสิงได้มั้ย

    กราบนมัสการหลวงปู่พุทธะอิสระ
    1. คนเราตายแล้วไปไหน
    2. กายของมนุษย์มีโอกาสถูกครอบงำโดยจิตวิญญาณดวงอื่นหรือไม่ และถ้าหากมี เราจะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร

    วิสัชนา
    1. ไปตามกรรม ทำกรรมดี ก็ไปสู่สุคติภพคือ เทวดา พรหม มนุษย์
    ทำกรรมไม่ดี ก็ไปสู่ทุคติภพ คือสัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย และสัตว์นรก
    2. เป็นไปได้ยาก ถ้ากายนั้นยังมีวิญญาณครองอยู่

    ปุจฉา
    การถวายข้าวพระพุทธ
    อยากจะเรียนถามหลวงปู่เกี่ยวกับการถวายข้าวพระพุทธ เพราะได้ฟังจากรายการโทรทัศน์ว่าเป็นการแสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้า ขอให้หลวงปู่อธิบายด้วยค่ะ และการถวายควรจะถวายปริมาณแค่ไหน

    วิสัชนา
    ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ การแสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้าสูงสุด คือการปฏิบัติธรรม รักษาศีล เจริญภาวนา

    ปุจฉา
    เรื่อง ภิกษุณี
    กราบนมัสการรบกวนถามคำถามหลวงปู่ดังนี้ค่ะ หลวงปู่มีแนวความคิดเกี่ยวกับภิกษุณีอย่างไรและเป็นไปได้ไหม ถ้าจะเปิดโอกาสให้สตรีไทยได้มีโอกาสบวชเป็นภิกษุณีเพื่อได้ปฏิบัติธรรมได้ เต็มที่ โดยมีพระนิพพานเป็นที่ตั้งสุดท้ายของชีวิต ขอรบกวนถามเพียงเท่านี้ กราบขอบพระคุณค่ะ

    วิสัชนา
    ไม่ต้องเป็นภิกษุณี ก็นิพพานได้ ขอเพียง "เพียงพยายามละชั่ว ทำดี ทำจิตนี้ให้ผ่องใส"

    ปุจฉา
    ทำบุญกับพระจริงพระปลอม
    การทำบุญกับพระที่ปฏิบัติจริงๆ กับพระปลอม (คนห่มผ้าเหลือง) แต่ความตั้งใจในการทำบุญเท่ากัน อย่างใดจึงจะได้บุญมากกว่ากัน เพราะบางคนเขาต้องไปทำบุญกับพระที่ปฏิบัติในป่า แต่ไม่กล้าใส่บาตรให้พระที่อยู่ในกรุงเทพฯ อย่างนี้ถือว่าเป็นการเลือกทำบุญหรือไม่ เพราะเคยได้ยินว่า พระพุทธเจ้าให้เลือกทำบุญ เปรียบเหมือนกับการทำนาคือการที่เราหว่านนาในที่ลุ่มกับที่ดอนได้บุญต่างกัน เปรียบได้ว่าทำบุญกับพระปฏิบัติหรือทำบุญกับพระที่ศีลขาดได้เหมือนกันใช่ไหม

    วิสัชนา
    คุณปลูกผลไม้ในดินดีพร้อมกันกับปลูกในดินไม่ดี แม้จักดูแลรักษาเท่ากัน ผลก็ย่อมออกมาแตกต่างกันอยู่ดี ทั้งที่ผลไม้ที่ปลูกก็พันธุ์เดียวกัน คนปลูกคนเดียวกัน ดูแลรักษาเท่ากัน ผลที่ได้รับย่อมต่างกัน พืชที่ปลูกในดินดีย่อมให้ผลดีกว่า ฉันใดก็ฉันนั้น คนคนเดียวกัน มีศรัทธาเหมือนกัน ถวายอาหารชนิดเดียวกัน แต่ผู้รับต่างกัน ผลที่ได้ย่อมไม่เหมือนกัน

    ปุจฉา
    ปฏิคาหกคืออะไร
    และมีความสำคัญอย่างไร

    วิสัชนา
    ปฏิคาหก แปลว่า ผู้รับซึ่งคู่กับทายก แปลว่า ผู้ให้คุณสมบัติของปฏิคาหก ต้องมีศีลเป็นสำคัญ เป็นผู้ช่วยให้ทานนั้นๆ สำเร็จประโยชน์แก่ผู้ให้ และหมู่ญาติของผู้ให้ ทั้งผู้ที่ยังมีชีวิตและล่วงลับไปแล้ว
    ถวายข้าวพระพุทธ

    ปุจฉา
    อยากรู้เรื่อง เอตทัคคะ
    พระที่ได้เอตทัคคะจากพระพุทธเจ้าจำเป็นต้องสำเร็จอรหันต์หรือไม่

    วิสัชนา
    เอตทัคคะ เป็นดังความช่ำชอง เชี่ยวชาญ ชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นคุณสมบัติพิเศษเฉพาะบุคคลไม่มีอยู่ทั่วไปในผู้อื่น อีกทั้งยังโดดเด่นกว่าคุณสมบัติทั้งปวงที่มีอยู่ในตน สำหรับมนุษย์เราจะเป็นคุณสมบัติอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่าอรหันต์เป็นไม่มี แต่ถ้าอรหันต์นั้นๆ มีความสามารถพิเศษกว่า เลิศกว่า ท่านก็เรียกความสามารถนั้นว่าเป็นผู้เลิศ เป็นเอตทัคคะ

    ปุจฉา
    ผิดโดยไม่ตั้งใจ
    ขอกราบนมัสการเรียนถามหลวงปู่ว่า หากรู้ตัวว่าเคยทำความผิดที่ไม่ใช่ขั้นรุนแรงนัก เช่น ไปขอความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นบ่อยๆ ตอนหลังมารู้ได้ว่าเป็นการทำความชั่ว นั่นคือเป็นการทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน จะแก้ไขโดยกล่าวคำขอโทษแก่เขา แล้วพยายามพึ่งตนเองให้ได้ ไม่ทราบว่าจะเป็นวิธีการที่ถูกต้องหรือไม่เจ้าคะ หากยังไม่ถูกต้องขอความกรุณาให้หลวงปู่ช่วยบอกด้วยเจ้าค่ะ

    วิสัชนา
    นับเป็นวิธีที่ดีที่สุด เท่าที่คุณทำได้

    ปุจฉา
    แนวคิดถูกหรือผิด
    หลวงปู่ครับ ผมมีคำถามดังนี้ครับ
    1. สำหรับคนไม่คิดในสิ่งที่ทำให้ตัวเป็นทุกข์ มองโลกในแง่บวก เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส มองเห็นค่าของน้ำที่ยังเหลืออยู่ในขวดมากกว่าจะมองว่ามันเหือดแห้งไปเท่าไร มีชีวิตอยู่ด้วยแนวความคิดที่ดีเป็นบวก สร้างสรรค์ บุคคลเช่นนี้ถือว่าพ้นทุกข์แล้วหรือยังครับ
    2. เพราะเหตุใดจะพ้นทุกข์ตามที่พระพุทธศาสนาบอกไว้ได้ ต้องกำจัดกิเลสให้สิ้นก่อนด้วยครับ
    3. เคยมีคนบอกว่า การพ้นทุกข์การนิพพานทางพระพุทธศาสนานั้น จะไร้ทั้งทุกข์และสุข คือไม่มีอารมณ์ทั้งความสุข ความทุกข์เลย เป็นความจริงไหมครับ.....ผู้สงสัย

    วิสัชนา
    1. ยัง
    2. ดับกิเลสและกองทุกข์ได้ทั้งหมดจึงจะได้ชื่อว่า ผู้พ้นแล้ว
    3. เมื่อไม่มีการเกิด ไม่มีตัวตน ไม่มีจิตที่จะให้เกิด แล้วความทุกข์จะเกิดจากที่ไหน
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉาวิสัชนา <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">23 สิงหาคม 2547 16:15 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    ตึกอาถรรพ์
    คือว่า ผมจะตั้งกิจการส่วนตัวที่ตึกแถวริมถนนแห่งหนึ่งครับ ซึ่งฝั่งตรงกันข้ามนั้น เป็นโรงพยาบาลด้วย ที่นี่เจ้าของตึกเคยตั้งกิจการมาก่อนแล้วครับ แต่อยู่ไม่ได้ เพราะเห็นบอกว่าผีดุ และมาหลอกหลอนเป็นประจำ เลยประกาศให้เช่าในราคาถูก ผู้เช่ารายต่อมาก็ทำกิจการอีกเหมือนกัน เพิ่งเปิดได้ไม่ถึงเดือน ก็บอกว่าจะย้ายออกแล้วเหมือนกัน แต่ด้วยความที่ตึกนี้เป็นตึก 4 ชั้นริมถนนเป็นตึกใหม่ตกแต่งไว้แล้ว ผมกับหุ้นส่วนจึงอยากจะได้ไว้ทำกิจการและค่าเช่ายังถูกมากด้วย จึงขอความเมตตาจากหลวงปู่นะครับ ว่าจะมีพิธีหรือวิธีปฏิบัติอะไรที่จะทำให้อยู่ได้อย่างเป็นสุข ทำมาค้าขึ้น ไม่มีปัญหาอะไรในการเช่าตึกนี้อยู่ ขอความกรุณาช่วยเหลือด้วยครับ กราบขอบพระคุณมากครับ

    วิสัชนา
    วันที่คุณเข้าไปใช้ตึก คุณควรอุ้มพระพุทธรูปเข้าไปก่อน แล้วรุ่งขึ้น ก็นิมนต์พระมาถวายสังฆทาน สัก 10 รูป กรวดน้ำ อุทิศผลบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และสรรพสัตว์ ผู้ร่วมเกิดแก่เจ็บตาย ที่อยู่อาศัยในตึกนั้นทุกวัน ถ้ามีโอกาสก็ให้ใส่บาตร ทำบุญอุทิศผลบุญให้เขาทุกวันติดต่อกัน 1 เดือน และถ้ามีโอกาสก็ใส่บาตรทุกวันพระต่อๆ ไป

    ปุจฉา
    หิ้ง พระวางตรงไหนดี
    1. ที่บ้านคุณแม่ตั้งหิ้งบูชาพระอยู่ชั้นล่างในห้องกินข้าวหันหน้าไปทางทิศ ตะวันออก ขณะที่ห้องนอนของผมอยู่ชั้น 2 อยู่เหนือหิ้งพระแต่เยื้องออกมาหน่อยจะผิดไหมครับ
    2. ที่บ้านของผมเอารูป ร. 5 ตั้งอยู่ในห้องนอน ความสูงระดับหัวเตียง แต่วางอยู่ด้านข้างเตียงจะผิดไหมครับ
    ขอขอบคุณหลวงปู่มากครับ

    วิสัชนา
    1. ผิดหรือไม่ มันอยู่ที่คุณกระทำ ถ้าทำดี พูดดี คิดดี ก็ไม่มีอะไรผิด ถ้าทำไม่ดี พูดไม่ดี คิดไม่ดี มันก็ผิดทั้งนั้น เอาเป็นว่า ถ้าคุณไม่สบายใจ ก็ลองย้ายหิ้งพระให้อยู่ตรงกับห้องของคุณ
    2. ทำไมคุณไม่ติดเอาไว้ที่ข้างฝาเหนือศีรษะที่คุณนอนล่ะ

    ปุจฉา
    อธิษฐานให้พ้นทุกข์
    กราบนมัสการองค์หลวงปู่ เราควรตั้งจิตอธิษฐานอย่างไร เพื่อการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายกิด (คือโดยปกติหลังจากเจริญมนต์แล้ว นั่งสมาธิ พร้อมทั้งแผ่เมตตาขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นสุขๆ เสมอ แล้วลูกควรหมั่นอธิษฐานอย่างไร เพื่อหลุดพ้นจากวัฏสงสาร) ขอความเมตตาองค์หลวงปู่ชี้แนะแนวทางปฏิบัติ ลูกขอขมามา ณ โอกาสนี้ หากใช้ถ้อยคำหรือปฏิบัติไม่สมควร บุญกุศลที่ลูกได้ทำแล้วแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ขอผลบุญนี้จงเป็นพลวปัจจัยให้หลวงปู่มีสุขภาพแข็งแรงเป็นที่พึ่งแก่สัตว์ ทั้งปวง.

    วิสัชนา
    พ้นทุกข์ มิใช่จักพ้นได้ด้วยการอธิษฐาน แต่พ้นได้ด้วยการปฏิบัติ เจริญสติ จนลุถึงปัญญารู้แจ้งชัดตามความเป็นจริงจนไม่หลงไม่ยึดต่อในสรรพสิ่ง ภพชาติ

    ปุจฉา
    ทำบุญแทนคนป่วย
    กราบนมัสการหลวงปู่ ลูกกราบเรียนถามธรรมะจากหลวงปู่เป็นข้อๆ ดังนี้
    1. เราจะทำบุญแทนพี่ชายที่ป่วยเป็นอัมพาตได้อย่างไร เพราะเขาไม่สามารถที่จะทำได้ เพราะรู้ว่าเป็นโรคเวรโรคกรรม จึงอยากที่จะเอาบุญรักษาเขา แต่ไม่ทราบว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อที่เขาจะได้รับบุญจากที่เราทำไปให้เขา เพราะทุกวันนี้ลูกทุกข์ใจมาก เพราะสงสารแม่ที่จะต้องคอยดูแลรักษา ท่านเหนื่อยมาก และมีพี่ชายกับพี่สาวอีก 2 คนที่ป่วยเหมือนกัน แม่ก็ต้องคอยดูแลลูกอยากที่จะช่วยเหลือพวกเขาแต่ไม่รู้จะทำอย่างไร
    2. ลูกพูดธรรมะให้แม่ฟัง ตามหลักคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ เพื่อให้แม่เห็นธรรม ไม่ทราบว่าเป็นบาปไหม เพราะบางครั้งเหมือนสั่งสอนท่าน เพราะท่านไม่ค่อยที่จะฝักใฝ่ในธรรมเท่าใด

    วิสัชนา
    1. ทำให้เขาได้ ต่อเมื่อเขาต้องมีส่วนร่วมยินดีในการกระทำนั้นๆ ด้วย
    2. เจตนาที่คุณทำถือว่าดี แต่ก็คงต้องเลือกหาวิธีที่ถูกด้วย และวิธีที่ถูกคุณควรหาเทปธรรมะต่างๆ ไปเปิดให้ท่านฟังจะดีกว่า ถ้ามีเวลาก็พาท่านไปใส่บาตรรักษาศีล เจริญภาวนา ตามวัดต่างๆ บ้าง สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งก็ยังดี

    ปุจฉา
    เป็นกรรมหรือไม่ที่แท้งลูก
    อยากจะทราบว่า สำหรับผู้หญิงที่แท้งลูกโดยไม่คาดฝันแสดงว่า ผู้หญิงทำกรรมไว้ หรือว่าเป็นเพราะเจ้ากรรมนายเวรของเด็กที่อยู่ในท้อง ตามมาจองกรรมเอาชีวิต แล้วอย่างนี้ผู้หญิงจะมีบาปหรือเปล่าคะ แล้ววิญญาณของเด็กคนนั้นก็ต้องวนเวียนต่อไปเรื่อยๆ เหรอคะ แล้วดิฉันเคยได้ยินมาว่า ถ้าผู้ใดตายด้วยอุบัติเหตุก็หมายความว่า ผู้นั้นโดนเจ้ากรรมนายเวรตัดทอนชีวิต แต่ถ้าตายด้วยโรคหรือแก่ตายก็หมายความว่า หมดอายุไขพอดี เป็นความจริงเหรอคะ แล้วถ้าเราทำบุญไปให้เจ้ากรรมนายเวรบ่อยๆ แต่เราตายเร็วด้วยอุบัติเหตุอย่างนี้แปลว่าเจ้ากรรมนายเวรไม่รับ หรือว่าเจ้ากรรมนายเวรไม่อโหสิกรรมให้เหรอคะ แล้วเราจะทำอย่างไรดีล่ะคะ อีกอย่างสุดท้ายก็คือ ถ้าสมมติว่าเราตายไปแล้วได้ขึ้นสวรรค์ไปเป็นนางฟ้า แล้วเราจะต้องเกิดใหม่ไหมคะ ถ้าเราต้องเกิดใหม่ จะหมายความว่าเราไม่มีกรรมติดตัวไปตอนเกิดเป็นมนุษย์ใช่ไหมคะ และถ้าสวดมนต์แล้วแต่ไม่ได้กรวดน้ำจะเป็นอะไรไหมคะ

    วิสัชนา
    สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม คุณกับเด็กคนนั้นอาจจะมีกรรมร่วมกันมาแค่นั้น และเขาอาจจะทำกรรมหนักอย่างใดอย่างหนึ่งมา จึงมิอาจเกิดมาลืมตาดูโลกได้

    ไม่เสมอไป การตายด้วยอุบัติเหตุ เขาอาจจะหมดอายุขัยด้วยก็ได้ แต่ที่ต้องประสบอุบัติเหตุตาย เพราะเขาทำกรรมมาเช่นนั้น

    การทำบุญ ถือได้ว่าเป็นทุนส่วนตัวของผู้ทำ ส่วนจะแบ่งปันให้แก่ผู้ใด ก็ต้องแน่ใจว่า ผู้รับเขาต้องการ แต่ถ้าเขาไม่รู้ ไม่ต้องการ บุญนั้นก็ยังเป็นของคุณอยู่เช่นเดิม
    คนมีบุญตายไป ถ้าไปเกิดเป็นชาวสวรรค์ เขาเรียกว่า อุบัติเทพ เป็นเทพโดยมิต้องคลอด ไม่ต้องเลี้ยงให้โต

    สวดมนต์ก็ถือว่าได้ทำดี เป็นบุญส่วนจะแบ่งดีให้ใคร หรือไม่ มันอยู่ที่คุณมีน้ำใจหรือเปล่า
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉาวิสัชนา <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">16 สิงหาคม 2547 15:53 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    จะสงบใจอย่างไรให้ถึงธรรม

    วิสัชนา
    ก็ขอน้อมเอาการที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาชื่อว่า "ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร" โปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 อันมี โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แคว้นเมืองพาราณสี ในวันอาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 มาใช้เป็นธรรมประคองใจ ดังมีใจความโดยย่อว่า บรรพชิตไม่ควรเสพ 2 อย่างคือ

    1. การทำตัวให้พัวพันอยู่ในกามสุข อันมีรัก โลภ โกรธ หลง ในรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ก่อเวร เป็นทางแห่งอกุศลกรรม มิใช่ทางของพระอริยเจ้า มิเป็นประโยชน์ เหล่านี้เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค

    2. การประพฤติตนให้ลำบาก แม้ที่สุดก็มิได้รับผลตามสมควรแก่การปฏิบัติ เช่นการถือเคร่งครัดว่าจะไม่กิน ไม่นอน จะอยู่แต่ในอริยาบถยืนกับเดิน อย่างนี้เป็นต้น รวมทั้งพวกที่ถือศีลพรตอย่างเคร่งครัด จนเป็นเหตุให้เดือดร้อนตนและคนอื่น เหล่านี้รวมกันเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

    แล้วพระองค์ก็ทรงชี้ให้เห็นถึง มัชฌิมาปฏิปทา หนทางสายกลาง ซึ่งไม่หย่อนเกินไป ไม่ตึงเกินไป อันได้แก่ อริยมรรค มีองค์ 8 ประการ

    1. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่ตรงและถูกต้อง เบื้องต้นต้องเห็นว่าสัตว์โลกเป็นไปตามกรรม เห็นว่ากรรมยอมจำแนกสัตว์ให้ดี ชั่ว เลว หยาบ เห็นว่ากรรมมิใช่ผู้ใดกระทำให้ แต่ตนต้องเป็นผู้กระทำ พร้อมทั้งต้องเห็นด้วยปัญญาว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ การพลัดพลากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ แม้ที่สุดความไม่สบายทั้งกายและใจก็เป็นทุกข์ รวมทั้งเห็นด้วยปัญญาว่า เหตุแห่งทุกข์นี้มีอยู่ คือ อวิชชา ความไม่รู้ ตัณหา ความทะยานอยาก ถ้าจะดับทุกข์ก็ต้องดับที่เหตุ ด้วยหลักปฏิบัติทั้งแปดประการ หรือที่เรียกว่ามรรค 8

    2. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ อันได้แก่การการดำริที่จะออกจากกาม ดำริที่จะไม่พยาบาท ดำริที่จะไม่เบียดเบียน ดำริที่จะออกจากอวิชชา ตัณหา อุปาทาน

    3. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ด้วยการละเว้นจากการพูดไม่จริง พุดส่อเสียดใส่ร้าย พูดคำหยาบและหยุดการพูดจาไร้สาระเพ้อเจ้อเสียที เปลี่ยนมาเป็นพูดไพเราะ พูดตรง พูดจริง พูดแต่เรื่องที่ประเทืองปัญญา โดยไม่จำเป็นต้องพูดมาก

    4. สัมมากัมมันตะ การทำหน้าที่ให้ถูกต้องต่อหน้าที่ ด้วยความมีปัญญาระลึกรู้ว่า การกระทำหน้าที่นี้ต้องไม่เบียดเบียนตนและคนอื่นให้เดือดร้อน เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม

    5. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ที่ต้องไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนจากการอยู่รอดของตน แต่ทำให้ผู้อื่นไม่รอด เช่น ไม่ค้าขายเครื่องฆ่าฟันทุกชนิด รวมทั้งยาพิษ แม้น้ำเมาและยาเสพติดทุกประเภทก็ต้องไม่ขาย และที่สุดก็คือชีวิตทั้งของคนและสัตว์ก็ขายมิได้ (ดูจะทำได้ยาก แต่ถ้าอยากพ้นทุกข์ก็ต้องทำ) เพราะเมื่อถึงขั้นที่ต้องการพ้นทุกข์จริง ๆ ผมเชื่อว่า ท่านไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว

    6. สัมมาวายามะ ความเพียรพยายามที่จะไม่ให้บาปอกุศลเกิด แล้วถ้ามันเกิดขึ้นต้องเพียรพยายามละบาปอกุศลนั้นๆ แล้วอย่าอยู่เฉย ต้องเพียรพยายามสร้างกุศลให้เกิดขึ้นและเพียรพยายามทำกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เติบโตเจริญ แม้ที่สุดก็เพียรละเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง

    7. สัมมาสติ ความระลึกรู้สึกตัว ทั่วพร้อมในกาย อารมณ์ จิต และสภาพธรรมทั้งหลาย อย่างเป็นผู้รู้แจ้งชัดตามความเป็นจริง แล้วไม่ยึดติดผูกพัน

    8. สัมมาสมาธิ ความตั้งอารมณ์ไว้ในองค์คุณแห่งสมาธิ ตั้งแต่ขั้นที่ 1 ถึง 4 ดังมีอารมณ์เบื้องต้นคือ "วิตก" คือตรึกในส่วนกุศลคือกรรมฐานที่กำลังเจริญ "วิจาร" คือคิดค้นหาวิธีเจริญกรรมฐานนั้นๆ ให้แยบคาย จนบังเกิดผลเป็น ปีติสุขและวางเฉย ดังนี้เป็นต้น

    แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงสรุปปฐมเทศนาด้วยความว่า เหล่านี้แลภิกษุทั้งหลาย เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง รู้จริง รู้ดี รู้ประเสริฐ เพื่อพระนิพพาน พร้อมทั้งยังทรงยกเอาอริยสัจ 4 ที่ว่าด้วยเรื่อง ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ รู้ทางดับทุกข์ รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทั้งหลายต้องเห็น

    ครั้นเมื่อจบ พระปฐมเทศนา ธรรมจักษุ คือปัญญาที่เห็นธรรมได้บังเกิดขึ้นแก่พระอัญญาโกณฑัญญะ ว่า "สิ่งใดสิ่ง หนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา" พระพุทธองค์ทรงทราบวาระจิต ของพระอัญญาโกณฑัญญะ จึงทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า "อญญาสิ วะตะ โภ โกณฺฑัญโญ" แปลว่า "อัญญาโกณฑัญญะ รู้แล้วหนอ"

    พระอัญญาโกณฑัญญะ เมื่อได้ดวงตาเห็นธรรม หมดความสงสัยในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์จึงขอบวช เป็นปฐมสาวก

    พระพุทธองค์จึงทรงประทานการอุปสมบทด้วยพระวาจาว่า "ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด" วิธีให้อุปสมบทเช่นนี้เรียกว่า "เอหิภิกขุ อุปสัมปทา" พระพุทธองค์ทรงกระทำได้แต่พระองค์เดียว ผู้อื่นทำมิได้ หลังจากทรงให้อุปสมบทแก่พระอัญญาโกณฑัญญะ ปฐมสาวกแล้ว รุ่งขึ้นก็เป็นฤดูฝนชุก พระพุทธองค์และพระสาวกก็ทรงจำพรรษา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั่นเอง ถือว่าเป็นปฐมพรรษาที่พระพุทธองค์ทรงจำ หลังจากที่ได้ตรัสรู้และแสดงปฐมเทศนาแล้ว

    หวังว่าท่านผู้ประพฤติตามทั้งหลาย คงจะหลบจากสถานการณ์ว้าวุ่น รุ่มร้อน ที่ปรากฎอยู่ในสังคมเวลานี้ เข้าไปสงบจิต สงบใจ ทำบุญกุศล สร้างเหตุปัจจัยของการพ้นทุกข์ ให้บังเกิดขึ้น ถึงแม้จะไม่ได้มากมายอะไร ก็ยังดีกว่ามิทำเอาไว้เสียเลย วันหนึ่งข้างหน้าใครจะไปรู้ว่าเราจะต้องเจอกับทุกข์ขนาดไหน

    วาง ๆ มันลงไปเสียบ้าง เถิดครับ ท่านพระอรหันต์ พระบ้าน พระป่า รวมทั้งพวกลิ่วล้อทั้งหลาย ว่างๆ ก็หันมาชวนคนเข้าวัดฟังธรรม (ที่มิใช่อธรรม) กันดีกว่า อย่ามัวมาเสียเวลากับเรื่องสะสมกองกิเลสกันอยู่เลย ด้วยความเป็นห่วงทุกเพื่อนร่วมทุกข์
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉาวิสัชนา <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">9 สิงหาคม 2547 18:28 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    จิตกับใจแยกกันได้ไหม

    มีคำถามจะฝากนมัสการเรียนถามหลวงปู่เกี่ยวกับธรรมะข้อหนึ่งค่ะ คือ จิตกับใจแยกจากกันได้จริง (ไม่ใช่ตอนตายหมายถึงตอนที่ยังมีลมหายใจอยู่)ทำได้อย่างไร เช่นเวลาที่กายเจ็บป่วยแล้วใจก็เศร้าหมอง เราจะมีทางระงับได้อย่างไรเพื่อไม่ให้กายเป็นนายของใจ

    วิสัชนา
    จริงๆแล้วคำถาม ถามค่อนข้างจะสับสน ก่อนที่จะมาพูดถึงเรื่องจิต กับใจแยกกันได้จริงหรือไม่ หลายคนอาจจะสงสัยว่าอะไรคือจิต และอะไรคือใจจิตในภาษาธรรมะวิชาการศาสนา เขาเรียกมันเป็นสภาวธรรม จิตนี้เป็นสภาวธรรม ไม่มีรูปร่างแต่ต้องการที่อยู่ ธรรมชาติของจิตคือมีความซึมสิง ซึมทราบ มีตัวรู้ เมื่อจิตไม่มีรูปร่างแต่ต้องการที่อยู่ มีคุณสมบัติคือรับรู้อารมณ์ รับรู้สภาวธรรม ที่อยู่ของจิตก็คือกายนี้

    ส่วนใจ หรือภาษาบาลี หรือภาษาวิชาการศาสนา เขาเรียกว่า หะทะยัง หรือหัวใจ มีสันฐานกลมเหมือนดอกบัวตูม ใหญ่เล็กเท่าเจ้าของกับกำปั้นของคนๆนั้น รูปร่างจะใหญ่โตเท่ากับกำปั้นของผู้เป็นเจ้าของใจๆนั้น

    ใจนี้มีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เหมือนโรงงานสูบน้ำ เพราะฉะนั้นจิตอิงอาศัยกายและใจนี้ โดยภาษาธรรมะแล้ว จิตนี้ เปรียบดั่งพลังงาน มีอำนาจเหนือการควบคุมของสมอง สำหรับผู้ไม่ได้รับการฝึกปรือ แต่ สำหรับผู้ควบคุมแล้ว คือ ฝึกปรือแล้ว ก็สามารถควบคุมจิตนี้ให้ดำรงตั้งมั่น หรือ แยกออกจากกายและใจนี้ได้

    การควบคุมหรือการฝึกปรืออันนั้น ก็ได้มาจากการเจริญสติและทำให้สติตั้งมั่น เมื่อสติตั้งมั่นอยู่ในจิตนี้แล้ว เราก็จะควบคุมจิตนี้ได้ไม่ให้รับความรู้สึกจากเวทนาที่ปรากฏทางใจ หรือ เวทนาที่ปรากฏทางกาย


    คำถามที่ถามว่า ทำอย่างไรที่จะแยกจิตออกจากใจ ก็คือ ต้องฝึก ต้องมีสติ ฝึกให้จิตนี้ปรากฏสติทุกดวงที่เกิดดับ จนเป็นความชำนาญสามารถแยกจิตออกจากใจได้เมื่อจิตออกจากใจก็คือ เหมือนกับจิตที่ออกจากกายกายตรงไหนที่เป็นทุกข์เดือดร้อน เช่น ปวดขา ปวดมือ ปวดหัว ปวดท้อง อาการปวดเป็นเวทนา เมื่อ จิตนี้สามารถแยกออกจากใจได้ก็คือไม่รับรู้อารมณ์ที่ปรากฏขึ้น เวทนานั้นก็จะไม่มีอำนาจ คือ จะไม่มีอำนาจครอบคลุมกายนี้

    มีเรื่องอยากจะบอกคุณอีกนิดหนึ่งว่า โดยธรรมชาติของกาย มีสมองเป็นผู้ควบคุมการทำงานของกาย มีใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงสมอง มีจิตเป็นผู้ควบคุมการทำงานของสมอง ใจ กาย จิตจะทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ในและนอกกายนี้ เมื่อฝึกจิตดีแล้ว กายนี้ก็ย่อมไม่มีอิทธิพลต่อจิต

    ปุจฉา
    ลักษณะ จิตของพระอรหันต์
    หลวงปู่สอนไว้ว่าให้ใช้สติควบคุมจิต เหมือนประตูหน้าต่าง แสดงว่า อารมณ์ต่างๆ เช่น โทสะ โมหะ จะต้องเกิดขึ้นก่อนแล้วสติค่อยกำกับทีหลัง มีข้อยกเว้นสำหรับพระอรหันต์ที่ยังอยู่ในสังคมไม่ใช่อยู่ในป่า (สมมติว่ามี) หรือไม่ คือ จิตจะไม่เกิด อารมณ์ต่างๆที่ไม่ดีเลย หรือว่ามีอารมณ์เหมือนกันแต่สติตามได้ทันตลอดเวลา

    วิสัชนา
    ก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจก่อนว่า โทสะนั้นมีอยู่เดิม แต่บุคคลผู้รับโทสะหามีไม่ โมหะนั้นมีอยู่เดิมบุคคลผู้รับโมหะนั้นหามีไม่ ราคะนั้นมีอยู่เดิมแต่บุคคลผู้รับราคะนั้นมีอยู่ไม่ เมื่อโทสะ โมหะ ราคะ มันมีอยู่เดิมแล้ว เราไม่มี ก็คือตัวเราจริงๆไม่มี แต่ที่เราเข้าไปรับมัน ก็เพราะเราไปปรุงแต่งว่าตัวเรามีแล้วเรารับมันเข้ามาใช้ประโยชน์ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในโลกเดิมก่อนที่คุณจะเกิด ทีนี้เมื่อมันมีอยู่เดิม คุณเกิดมาหน้าที่ของคุณก็คือเพียงแค่ระวังอย่า ให้ไปเปื้อน อย่าให้ไปแปดเปื้อน อย่าให้มันมีอำนาจมาทำให้จิตวิญญาณของคุณขุ่นมัวเท่านั้นเอง

    สติก็เป็นตัวกางกั้น สติมีหน้าที่ที่จะเปิดปิดประตูแห่งใจคุณว่า อะไรควรรับ อะไรไม่ควรรับ นี่เรียกว่า ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นทุนเดิมของโลกมีอยู่แล้ว ส่วนราคะ โทสะ โมหะที่เป็นทุนเดิมของกรรม หรือพิธีกรรม หรือจิตวิญญาณของคุณ ที่เป็นทุนเดิมเรียกว่า โลภะมูลจิต โทสะมูลจิต โมหะมูลจิต ก็คือคุณเกิดมาจากราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นมูลเดิมของจิตวิญญาณคุณที่สั่งสมอบรมมาแต่อดีตชาติ ที่เรียกว่าอนุสัย เมื่อสั่งสมอบรมมาแต่เก่าก่อนแล้วสิ่งเหล่านี่ หน้าที่ของคุณเกิดเป็นคนต้องชำระล้าง และตัดให้หลุด อย่าปล่อยให้มันมาฉุดเราอยู่ รวมๆ ก็คือ ราคะ โทสะ โมหะ มีทั้งภายใน ก็คือจิตเดิมของคุณมีมาเก่า และมีทั้งภายนอกก็คือมีอยู่ในโลกนี้แล้ว มันจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ประตูหน้าต่างมีเอาไว้สำหรับป้องกันพายุข้างนอก แต่ไม้กวาด ผ้าขี้ริ้ว ผ้าเช็ดถู มีสำหรับไว้ป้องกันฝุ่นละอองภายใน ถ้าคุณมีสองสิ่งนี้ได้ก็ถือว่าคุณมีสติ สมาธิ และปัญญา จะกำจัดสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ของจิตคุณทั้งภายในและภายนอกได้

    ส่วนคำถามที่ถามว่า พระอรหันต์เป็นผู้ที่เจริญซึ่งสติ สมาธิ และปัญญาแล้ว ก็คือมีทั้งประตูหน้าต่าง และเครื่องกำจัดภายใน ที่สมบูรณ์ที่ไม่มีรูรั่ว ที่สามารถป้องกัน ราคะ โทสะ โมหะ หรือภัยพิบัติจากข้างนอกได้แล้ว แล้วก็มีเครื่องดูดฝุ่น มีทั้งผ้าเช็ดพื้น มีทั้งไม้กวาดอันสมบูรณ์ และมีพนักงานซึ่งพร้อมที่จะทำลายสิ่งที่เป็นภายในที่เรียกว่าฝุ่นละอองนั้น หมดไปเรียบร้อยแล้ว รวมๆ ก็คือพระอรหันต์ไม่มีมลภาวะทั้งภายใน หมดแล้ว ภายนอกก็ไม่มีอำนาจเหนือท่านแล้ว พระอรหันต์ไม่ใช่ไม่มีมลภาวะแต่ภายนอก ภายนอกไม่มีสิทธิ์

    พระอรหันต์นี่ไม่สามารถที่จะไปทำลาย โทสะ โมหะ ราคะ ของโลกได้ ก็บอกแล้วว่ามันมีอยู่แล้วเป็นทุนเดิม ถ้าจะทำลายก็ต้องวางระเบิดเวลาเผาผลาญโลก หรือไม่ก็ทำลายโลกไป ก็ไม่แน่ใจว่าโลกนี้มันระเบิดแล้วจะหมด ราคะ โทสะ โมหะ หรือไม่ เพราะฉะนั้นพระ อรหันต์เป็นผู้หมดจากกิเลสทั้งภายในและไม่ปล่อยให้ภายนอกมามีอำนาจเหนือท่าน ราคะ โทสะ โมหะ ข้างนอกมีอยู่แต่ไม่ทำให้ท่านต้องเดือดร้อนเท่านั้นเอง
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา-วิสัชนา : สงสัยในศาสตร์ขยับกาย สบายชีวี วิถีพุทธ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">26 กรกฎาคม 2547 16:57 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    สงสัยในศาสตร์ขยับกาย สบายชีวี วิถีพุทธ ฝึกแล้วจะให้้ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายอย่างไร แหละที่ใช้คำว่าวิถีพุทธ หมายความว่าอย่างไร

    วิสัชนา
    การเคลื่อนไหวของการขยับกาย สบายชีวี วิถีพุทธนี้ คือ การสร้างเสริมพลัง ได้แก่พลังกาย พลังจิต พลังปราณ ที่มีอยู่ในตัวเรา วิชานี้จึงทำเพื่อการผ่อนคลาย
    การขยับกาย สบายชีวี วิถีพุทธ เป็นที่มาของการสร้างการกระตุ้นพลังงานออกมาใช้งาน และกระบวนการพัฒนาตัวรู้ในร่างกายเราให้พร้อมที่จะใช้งาน เพราะฉะนั้น ท่าทางต่างๆ มันมีท่าของมันและมีอารมณ์ ต้องเข้าใจถึงอารมณ์จริงๆ จึงจะรู้ว่าทุกท่าทางมีอารมณ์ มีพลัง เมื่อเราทำให้เข้าถึงอารมณ์จะรู้ว่ามันอัศจรรย์ จะรู้ว่าจิตของเรามันสงบ สงบแบบรับรู้ พร้อมที่จะตอบโต้ พร้อมที่จะถอยหลังอยู่ทุกขณะจิต เราจะเตรียมพร้อมตัวเองให้เหมาะสมกับทุกสถานการณ์
    การขยับกาย สบายชีวี วิถีพุทธ เป็นการปฏิบัติธรรมที่เป็นรูปธรรมที่สนุกและมีความสุข บรรยากาศของการเคลื่อนไหวขยับกาย ได้ในเรื่องของสติ สมาธิ เป็นการเจริญวิปัสสนา

    ปุจฉา
    คนที่ออกบวชเป็นภิกษุหรือเป็นนักบวช ประมาณ 15 วัน และปฏิบัติอย่างเคร่งครัดถูกต้องตามพระวินัย เมื่อครบกำหนดก็สึกออกไป
    เมื่อเทียบกับฆาราสที่ไม่ได้บวชแต่ปฏิบัติดีเสมอต้นเสมอปลายปฏิบัติธรรมตาม ทางสายกลางอยู่เป็นนิจ
    อยากทราบว่า อันไหนมีบุญหรืออนิสงค์มากกว่ากัน

    วิสัชนา
    ขึ้นอยู่กับว่า ผู้บวชกับผู้ปฏิบัติได้อะไร ถ้า 15 วัน ได้ความฉลาด สะอาด สว่าง สงบ เขาก็ย่อมได้อานิสงค์มากกว่าคนที่ไม่ได้บวช

    เหตุผลก็เพราะ การบวช นอกจากการได้ความฉลาด สะอาด สว่าง สงบ จริงๆ ตามที่เขาทำได้แล้ว เขายังได้การสร้างบารมีธรรมก็คือ เนกขัมมะ บารมีด้วยการบวช ถือว่าเป็นการสร้างบารมีธรรมชั้นสูง เรียกว่าเป็นเนกขัมมะปฏิบัติ ส่วนฆาราวาสที่ไม่ได้ออกบวช แต่ก็สามารถจะบวชใจได้ บวชใจที่จะ อด ลด ละ เลิก จากกามคุณ และ กามกิเลสทั้งปวง หากทำได้ก็ถือว่า เป็นผู้ปฏิบัติเนกขัมมะ เหมือนกัน แต่เป็นการปฏิบัติเนกขัมมะทางจิตวิญญาณทางใจ ซึ่งทางกายก็อาจจะล่วงเกิน ก้าวก่าย ละเมิดต่อศีลทางกายก็ได้

    แต่ถ้าสำรวมระวังทั้งกายใจนั้น ย่อมแน่นอนว่า มันสามารถทำให้ผู้ปฏิบัตินั้น ยังให้เกิดความฉลาด สะอาด สว่าง สงบ ก็มีอานิสงค์เหมือนกัน

    เพราะฉะนั้น ทั้งสองฝ่าย ถ้าทำแล้วมีผล เกิดมาเป็นประโยชน์ทั้งตนและคนอื่น มีอานิสงค์เหมือนๆ กัน ต่างกันตรงสภาวะที่เป็นอยู่ แต่ถ้าเผอิญบวชแล้ว ไม่ได้ทำอะไรเลย เช้าเอน เพลนอน บ่ายพักผ่อน กลางคืนจำวัด ดึกดูโทรทัศน์ ค่ำลงชัดมาม่า อย่างนี้ละก็
    คงไม่ได้ปัญญาบารมีอะไร อย่างดีก็ได้แค่การบวชเฉยๆ เรียกว่าบวชแล้วอาจจะตกนรกด้วยซ้ำไป

    แต่สำหรับคนไม่ได้บวชที่คิดว่าตัวเองบุญน้อย แล้วก็ขวนขวายทำแต่เรื่องดีๆ พยายามทำดี พูดดี คิดดี แล้วแบ่งดี ให้แก่คนอื่น ก็อาจจะมีบุญมากกว่าคนที่ได้บวชด้วยซ้ำ

    เพราะฉะนั้น อย่ามามัวแต่ชั่งกันอยู่แลยว่า คนบวชได้บุญมากคนไม่บวชได้บุญน้อย เอาเป็นว่า ขณะนี้คุณกำลังทำอะไรอยู่ แล้วคุณได้อะไรจากการทำนั้นมากน้อยแค่ไหน อย่างไร ใครสามารพึ่งพาอาศัยสิ่งที่คุณทำนั้นได้บ้างหรือไม่ แล้วชีวิตคุณมีอะไรเป็นสาระสูงสุด

    หลังความตาย คุณได้เตรียมสมบัติอันวิเศษกลับไปใช้บ้างหรือเปล่า และที่ สำคัญ คุณต้องรีบทำซะ อย่ามัวมาใส่ใจว่า ใครได้บวชหรือยังไม่ได้บวช แล้วจะได้อานิสงค์ หรือไม่ได้อานิสงค์ จบ
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา-วิสัชนา <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">3 สิงหาคม 2547 14:59 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    พระพุทธศาสนามีการสะเดาเคราะห์ ต่อชะตา เสริมมงคลชีวิต ด้วยหรือเปล่า ถ้าไม่มี ทำไมนักบวชสมัยนี้ บางที่ เขายังมีพิธีอย่างนี้อยู่

    วิสัชนา
    คำถามที่ว่า ทำไมนักบวชสมัยนี้ชอบทำสิ่งนี้ อาจเป็นเพราะว่า ลาภ ผล ศักดิ์ศรี ชื่อเสียง ยศ อำนาจ วาสนา และเงินทอง เป็นของหอมและเครื่องล่อ หรือว่านักบวชที่ไม่ดี ที่ทรยศต่อพระพุทธเจ้า ทรยศต่อพระศาสนา ทำอาชีพหลอกลวงเขากิน อย่างนั้นก็ได้
    แต่ถามว่า พระพุทธศาสนามีเรื่องอย่างนี้ไหม คิดว่าคงไม่มี

    อย่างเรื่องในพุทธศาสนา ที่ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงสุบินนิมิต 5 ประการ ที่พระองค์เคยฝันสมัยก่อนตรัสรู้ตอนเช้าว่า เราตถาคตเดินลุยเข้าไปในกองภูเขามูตรคูถและขี้่ มีหมู่หนอนหัวดำหัวขาว ไต่ขึ้นมายั้วเยี้ยตามชายจีวร แต่ตัวพระองค์ก็ไม่ได้เปื้อนมูตรคูถและกองขี้เหล่านั้นเลย ที่มีหมู่หนอนไต่ขึ้นมาตามชายจีวรก็เพราะ อยากจะพ้นจากมูตรคูถและกองขี้

    เมื่อพระองค์ตื่นมาก็วิจารณ์ความฝันของพระองค์ว่า กองภูเขามูตร คูถและกองขี้นั้นก็คือ เกียรติ ศักดิ์ศรี ชื่อเสียง วาสนา แก้วแหวน เงินทอง ยศฐาบรรดาศักดิ์ รวมแล้วเปรียบประดุจมูตรคูถและขี้

    พระพุทธเจ้าแสดงธรรมออกไป มีลาภสักการะมากมายมหาศาลประดุจภูเขา คือ มีคนศรัทธาเลื่อมใส ขนาดถวายแก้วแหวนเงินทองให้เป็นของสักการะมากมายเป็นภูเขาในข้อที่ว่า มีหมู่ หนอนที่หนีออกมาจากมูตรคูถและขี้ ก็คือ บุคคลที่เห็นโทษเป็นภัยจากเกียรติยศ ชื่อเสียง ลาภสักการะทั้งหลาย จึงออกมาบวชติดชายจีวรของพระองค์ไป

    เหตุที่ไม่เปื้อนชายจีวรก็เพราะ เชื่อฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และชี้ให้เห็นโทษภ้ยของเกียรติศักดิศรี ชื่อเสียง ลาภสักการะเหล่านี้

    รวมความแล้ว การที่จะส่งเสริมให้ดวงดี คือ การต่อชะตา เสริมมงคล ผูกดวง เสริมอำนาจ มันเป็นเรื่องราวของคนนอกศาสนา

    พระพุทธศาสนาไม่ได้บอกไว้ว่า เป็นเรื่องเป็นราวของพระองค์ และพระองค์ก็บอกกับคนที่เรียนรู้ตรงนี้ว่า พวก "วิชาเดรัจฉาน" ถ้าเป็นความรู้ก็บอกว่า "เดรัจฉานวิชา" ถ้าเป็นคำพูดก็บอกว่า "เดรัจฉานคาถา" คาถาแปลว่าคำพูด คำพูดของสัตว์เดรัจฉาน เช่น วันนี้ดวงไม่ดีนะ อะไรอย่างนี้

    เดรัจฉานตัวนี้แปลว่า ผู้ขวางไป เช่น หากผู้ใดไปเล่าเรียนว่า วันเดือนปีดีอย่างไร หรือเรียนต่อชะตา เสริมมงคลชีวิต ล้วนเป็นวิชาที่ต้องเรียกว่า เดรัจฉานวิชา คือ ผู้ที่ขวางไป
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา - วิสัชนา : แบบอย่างของคนดี <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">19 กรกฎาคม 2547 17:19 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    อย่างไร คือ แบบอย่างของคนดี
    วิสัชนา

    จากการที่เรามาสวดมนต์กันในบทการพิจารณาร่างกาย ซึ่งจริงๆ แล้วมัน เป็นเรื่องเก่าที่ทุกคนมี และก็พูดกันเข้าใจ แต่ไม่ค่อยขยันที่จะทำความซาบซึ้งกับมัน หลวงปู่ใช้คำว่า "เข้าใจกับซาบซึ้ง" เข้าใจเฉยๆ บางที บางครั้ง มันก็ไม่ซาบซึ้ง มันก็ไม่ได้ทำอะไรให้เกิดประโยชน์

    ในขณะที่พวกเราสวดมนต์ หากลองพิจารณาคิดไป ก็จะพบว่า "พระพุทธเจ้า" พระองค์ช่างเป็นคนที่ละเอียดอ่อนสุขุมคัมภีรภาพ เรื่องเล็กๆ น้อยๆ นิดๆ หน่อยๆ แม้แต่วาระสุดท้ายของชีวิตของพระองค์ ในขณะที่อายุ 85 แล้ว คนแก่ที่อายุ 85 ก่อนจะตาย หรือใกล้ตาย หรือ กำลังจะตายน่าจะมีความรู้สึกว่า ห่วงหวงตนเอง แต่ตรงกันข้าม พระองค์กลับต้องให้ความเอื้ออาทร หรือมีความเอื้ออาทรต่อสรรพสัตว์และพวกเราทั้งหลายอย่างสุดชีวิต

    ก่อนที่พระองค์จะตาย ยังสู้อุตสาห์สั่งเสีย ด้วยภาษาใจ กลายเป็นวลีที่สุดแสนจะเสนาะ ไพเราะ และมีค่ายิ่ง ว่า

    "หันทะทา นิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โวดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า วะยะธัมมาสังขารา สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ ท่านทั้งหลาย จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด

    อะยัง ตะภาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา นี่เป็นพระวาจาครั้งสุดท้าย ของเราตถาคต.."

    ด้วยคำพูดประโยคนี้ เราจะเห็นว่า พระองค์ช่างเต็มเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณ เต็มเปี่ยมไปด้วยพระปัญญาธิคุณ เต็มเปี่ยมไปด้วยความเอื้ออาทร ความกรุณาต่อพวกเรา อย่างสุดชีวิตจิตใจ แม้แต่ในวาระสุดท้ายที่พระองค์จะ "ปรินิพพาน" หรือจากเราไป พระองค์ก็ยังทรงห่วงใยอาทร เฝ้าเตือนเราให้ระวังรักษาประโยชน์ของตน และประโยชน์คนอื่น พระองค์ยังอาทรห่วงใย เฝ้าเพียรพยายาม อบรมสั่งสอน พร่ำบ่นเตือนสติให้เรายั้งคิดว่า โดยจริงแล้ว ร่างกายเรา ที่เราเฝ้าทะนุถนอมรักษาเลี้ยงดูมัน ทำนุบำรุงมัน ห่วงหวงอย่างสุดชีวิต จริงๆ แล้ว มันเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา เรากำลังทำให้มันผิดธรรมดา ถ้าเราเห็นคนเกิด ดีใจ เห็นคนแก่เสียใจ เห็นคนตาย ร้องไห้ ถือว่าเป็นความเห็นผิดธรรมดา เพราะพระองค์ทรงเตือนเราสอนเรา บอกให้เรารู้ว่า

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา"

    ความเรื่องนี้ มีเหตุปัจจัยที่พระองค์ทรงเตือนให้เราเข้าใจ ถึงความเป็นจริง ครั้งเมื่อพระพุทธองค์ทรงอาพาธ ถึงกับเวทนากล้า ใกล้ถึงปรินิพพาน พระอานนท์พระพุทธอุปฐากผู้เป็นอนุชา ท่านอยู่ด้วยกันมาตั้งแต่เล็กจนกระทั่งโตแล้วก็แก่ บัดนี้ พระศาสดาเจ้าจะปรินิพพานจากเราไปแล้ว ครั้งเมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ทั่วทุกสารทิศสุกสกาว แจ่มแจ้ง ด้วยธรรมจักษุแห่งพระบรมครู บัดนี้พระบรมครูจะจากเราไปแล้ว โอ้...ดวงตาของจักรวาลจะดับลงแล้ว

    ต่อแต่นี้ไป ทั้งทุกสารทิศคงจะมืดมน ไม่สุกสว่างเหมือนเดิมเป็นแน่ ปกติทุกวันเราต้องปฏิบัติทำนุบำรุง ปูอาสนะ ปัดกวาดเช็ดถู จัดหาน้ำใช้ น้ำฉัน ผ้าผ่อนท่อนสไบ เราต้องซักและพับ ต่อไปนี้ เราจะซักให้ใคร ทำนุบำรุงใคร และอุปฐากอุปถัมภ์ใครอีก พระอานนท์ก็เสียใจ แอบไปยืนร้องไห้

    พระศาสดาทรงทราบเข้า ทรงรู้ได้ด้วยญาณวิถี พระองค์ก็ทรงเรียกพระอานนท์และพระภิกษุทั้งหลายเข้ามาใกล้ ด้วยพระกำลังอันน้อยนิดที่จะพึงมี พูดออกมาเป็นภาษาที่สื่อให้เข้าใจถึงความหมายกันได้โดยการเตือนว่า...

    "อานนท์ เธอจงอย่าเสียใจไปเลย เมื่อเราตถาคตนิพพานไปแล้ว พระธรรมวินัยจะเป็นศาสดาสอนเธอเอง"

    "ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา การที่พวกเธอทั้งหลายจะมานั่งเศร้าโศกเสียใจ ร้องไห้ทุรนทุรายกับคนแก่คนหนึ่งที่ใกล้จะตาย ไม่ถือว่าเป็นเรื่องปกติ หรือว่า ไม่ใช่เรื่องธรรมดา เธอกำลังทำชีวิตให้ผิดธรรมดา เพราะธรรมดาของ โลกและสังขาร มีเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลางแล้วก็แตกสลายในที่สุด

    เราตถาคต ก็เป็นดั่งนั้น ตกอยู่ในกฎเกณฑ์และกติกาแห่งความเป็นธรรมดาเช่นนั้น ไม่มีใครในโลกจะพึงหนีพ้นได้ เช่นนี้ การที่เธอทั้งหลายมาเฝ้าเศร้าโศกเสียใจร้องไห้ อาลัยรักต่อเรา มิใช่เรื่องธรรมดา ไม่ใช่ตระกูลศากยะ ไม่ใช่สาวกแห่งเราตถาคต ไม่ใช่พุทธะอุปฐาก ไม่ใช่พุทธะอนุชา และก็ไม่ใช่สาวกแห่งพระศาสดา เพราะท่านกำลังจะทำเรื่องธรรมดาให้ผิดธรรมดา จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แปรปรวน สุดท้ายก็แตกสลาย ถือว่าเป็นเรื่องปกติ"

    ท่านที่รักทั้งหลาย การที่พระศาสดาทรงมีความเอื้ออาทรสุดชีวิตจิตใจต่อพระสงฆ์สาวก ต่อพวกเราพุทธบริษัททั้งหลาย ด้วยการเอื้อนเอ่ยวาจาครั้งสุดท้ายให้เรารับรู้ว่า "สังขารทั้งหลายมันมี ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังประโยชน์ตน และก็ประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด.."

    เพราะฉะนั้น คำว่า "ประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วย ความไม่ประมาท" เราจะเห็นว่า พระองค์ทรงเตือนเราให้มีชีวิตอยู่อย่างให้ประโยชน์ทำประโยชน์ แล้วจึงจะรับประโยชน์ พระองค์ไม่ได้เตือนให้เราเป็นผู้รับประโยชน์ ให้ประโยชน์ แล้วจึงทำประโยชน์ แต่พระองค์ทรงเตือนให้เราเป็นผู้ให้ประโยชน์ ทำประโยชน์ แล้วจึงรับประโยชน์ พระองค์ทรงเตือนให้เรามีชีวิตอยู่อย่างใช้ประโยชน์ในชีวิตให้คุ้มค่าในการ ที่ได้เกิดมาเป็นคนกับเขาชาติหนึ่ง อย่าปล่อยตัวเองให้หลงใหลลื่นถลากับตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัส ก็ถือว่าการกระทำชนิดนั้น เป็นการกระทำชั่วทางกาย ทางใจ ทางวาจา คนที่จะทำชั่ว หลวงปู่เคยพูดว่า...ไม่ใช่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน จึงถือว่าชั่ว คนที่ทำชั่วมิใช่ตีหัวคนอื่น จึงจัดว่าชั่ว แต่คนชั่วก็คือคนที่ทำให้ตนเองเสียประโยชน์ในการมีชีวิต และเกิดมามีชีวิตก็ไม่คิดบริหารให้สร้างสาระ แถมบางทียังทำร้ายสาระผู้อื่น

    คนที่เป็นคนชั่ว ก็คือคนที่ไม่ทำให้ตนเองได้รับประโยชน์จากการมีชีวิต คนที่เป็นคนชั่ว คือ คนที่ทำลายประโยชน์อันพึงได้พึงถึง จากการพิสูจน์ "เรียนรู้...รับทราบแล้วก็พัฒนาตน" มิใช่คนที่ทำชั่วโดยการทำให้คนอื่นเดือดร้อน คนที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนมิใช่คนที่ทำชั่ว แต่ถือว่าเป็นคนเลว แต่คนชั่วก็คือ คนที่มีชีวิตอยู่อย่างไม่ให้ประโยชน์แก่ตนถ่องแท้ ประโยชน์ที่ถ่องแท้ก็คือ "ประโยชน์ที่ปลุกจิตวิญญาณของตนให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน"

    ตามสถานการณ์ความเป็นจริงของโลก คนที่ให้ประโยชน์อย่างถ่องแท้แก่ตนเอง ไม่จัดว่าเป็นคนชั่วในสายตาคนอื่น วิถีชีวิตพระศาสดาพระพุทธะผู้ยิ่งใหญ่ก็คือ คนที่รู้ตื่น และเบิกบานในการดำรงชีวิต มีวิถีและวิธีการในการที่จะแสวงหา ทำ จำ พูด และคิดในการสร้างสม อบรมบ่มนิสัยให้เป็นผู้ได้ประโยชน์อย่างถ่องแท้จากการมีชีวิตเหล่านี้ จึงถือว่า พระองค์ทรงเป็นเยี่ยงอย่างที่ดี เป็นแบบอย่างของคนไม่ชั่ว คิดไม่ชั่ว ทำไม่ชั่ว และก็พูดไม่ชั่ว ซึ่งชาวเราทั้งหลาย ต้องเอาเป็นแบบอย่าง พร้อมกันนั้น พระองค์ก็ยังทรงมีพระเมตตาและมหากรุณา แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง โดยการอบรมสั่งสอน แนะนำวิถีอันประเสริฐ ให้สัตว์ทั้งปวงได้รู้และเดินตามไปสู่ความสำเร็จของชีวิตประเสริฐอีกด้วย เพราะฉะนั้น ใครก็ตามถึงแม้ว่าไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนแต่ทำร้ายทำลายประโยชน์ที่พึงได้จากการมีชีวิต ทำร้ายทำลายประโยชน์ตน อันพึงได้จากการรู้สึกนึกคิดที่เป็นความจริงและถูกต้อง ทำร้ายทำลายประโยชน์ตน อันพึงได้จากการกระทำหรือ คำที่พูดความจริง จึงถือว่าคนคนนั้นเป็นคนชั่ว เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะการที่เราปฏิเสธเรื่องจริง หลอกลวงให้ผู้อื่นหลงเชื่อในเรื่องไม่จริง ต้องเกิดเป็นคนโง่ถึง ๕๐๐ ชาติ คนเช่นนี้จึงถือได้ว่าไม่รักตัวเอง ตัวเองยังไม่รัก ตัวเองยังไม่ให้ประโยชน์ สาอะไรที่จะให้ประโยชน์และรักคนอื่น

    ฉะนั้น คนที่ชั่ว ไม่ใช่ชั่วจากการกระทำตัวให้เป็นโทษเป็นภัยต่อคนอื่น คนที่เป็นคนชั่ว ก็คือ คนที่ทำตัวเองให้เป็นโทษ เป็นภัยกับตัวเอง และมีชีวิตอย่างไร้สาระ และไม่ได้ประโยชน์จากการเกิด ไม่ได้ประโยชน์จากการใช้พลังงาน ไม่ได้ประโยชน์จากการกิน ไม่ได้ประโยชน์จากการมีชีวิต และไม่ได้ประโยชน์จากการใช้ลมหายใจ

    แล้วชีวิตเช่นไร วิถีทางอย่างไร จึงจะถือว่าเต็มไปด้วยการมีประโยชน์ ได้แก่ วิถีทางแห่งความเป็นผู้รู้ รู้ในหน้าที่ หน้าที่ของความเป็นคน หน้าที่ของความเป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นลูก เป็นผัว เป็นตัวตนของตนเอง และสุดท้ายก็หน้าที่ของการมีชีวิตที่แสวงหาหนทางแห่งการพึ่งพิงอิงอาศัยอัน ประเสริฐ และวิธีหลุดพ้นจากบ่วงเครื่องร้อยรัดทั้งปวง นั่นคือหน้าที่สุดท้ายที่เราต้องทำ แต่ถ้าหน้าที่เหล่านี้ไม่สมบูรณ์บกพร่อง ไม่ถูกต้อง พระพุทธะผู้ยิ่งใหญ่ในโลกทั้งหลายก็จะเรียกขานบุคคลเหล่านั้นว่า เป็นบุคคลผู้เปล่าประโยชน์ เป็น "อัปปะภะบุคคล" เป็น "โมฆบุรุษ" เป็น "โมฆะสตรี ชาวโลกเรียกขานคนเหล่านั้นว่าเป็นคนชั่ว

    และถ้าอยากเป็นคนเลว ก็ต้องทำให้คนอื่นได้รับโทษจากการกระทำ คำที่พูด สูตรที่คิดของเรา การกระทำเช่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นการกระทำที่จงใจ หรือมิจงใจ ถือว่าเป็นเหตุให้คนอื่นได้รับความเดือดร้อน เช่นนี้จัดว่าเป็นคนเลว เพราะฉะนั้น พระศาสดาทรงรู้ว่าคนจะชั่วก็ได้ จะเลวก็ได้ด้วยความประมาท จะชั่วก็ได้ จะเลวก็ได้ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และไม่เข้าใจหลักการเป็นจริงของโลกสังขารและสังคม พระองค์จึงต้องเตือนด้วยความเอื้ออาทรสุดชีวิตจิตใจ ครั้งสุดท้ายว่า.

    "หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว...ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า...วะยะธัมมา สังขารา...สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา...อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ...ท่านทั้งหลาย จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด... อะ ยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา...นี่เป็นพระวาจาครั้งสุดท้ายของเราตถาคต"

    ถ้าเราเข้าใจและทำได้อย่างนี้ ถือว่าเราป้องกันทั้งความชั่วในการมีชีวิตของตัวเอง และความเลวที่จะทำให้แตกหักกับสังคม เราจะเห็นว่า พระศาสดาสัมมาสัมพุทธะผู้ยิ่งใหญ่ เต็มไปด้วยความเอื้ออาทร และความกรุณาสุดหัวใจ แม้แต่วันตาย ครั้งสุดท้ายพระองค์ยังคิดถึงผู้อื่น คิดถึงพวกเราที่กลัวว่าจะมีชีวิตอยู่ด้วยความประมาทขลาดเขลา ไร้สติ ไร้สามัญสำนึก ไร้การพินิจพิจารณา และกลับกลายเป็นบุคคลที่มีชีวิตชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว คิดชั่ว จนที่สุดก็กลายเป็นคนเลวที่ทำแต่เรื่องเดือดร้อนต่อคนอื่น จนคนอื่นเรียกขานประณามเราว่า คนเลว...
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : ศิลปะการอยู่ร่วมกันอย่างมีวินัยเพื่อความผาสุก <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">12 กรกฎาคม 2547 16:50 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    อยู่อย่างไรให้ผาสุก
    มีวิธีการสร้างวินัย และ ศิลปะการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างไรให้ผาสุก

    วิสัชนา
    ต้องเริ่มต้น จัดระเบียบของกาย จนเป็นระบบของความคิด ความหมายของการจัดระเบียบของกาย คือ เริ่มต้นจากเรื่องพื้น ๆ ใกล้ ๆ ตัว อาจจะมาจาก การที่เราเคยใช้ของแบบสุรุ่ยสุร่าย ทิ้งไว้ไม่เป็นที่เป็นทาง ก็รู้จัก เก็บของให้เป็นที่เป็นทาง จะต้องรักษาสิ่งเหล่านั้นให้อยู่ คือ มีอายุยืนยาวต่อการใช้สอย ปกติเคย อาบน้ำ ผลัดผ้า แล้วโยนกองก็หันไปเก็บพับ หรือไม่ก็มาผึ่ง ถ้าไม่งั้นก็ซักเลย แล้วตากปกติลุกจากที่นอน เคยบิดขี้เกียจ ๓ ที ก็เปลี่ยนใหม่ เป็นลุกขึ้นมาอย่างกระฉับกระเฉง ดื่มน้ำหนึ่งแก้วใหญ่ ๆเสร็จแล้วก็ทำตัว ทำ ชีวิตจิตวิญญาณให้สดชื่นแจ่มใสและตื่นขึ้นมาด้วยความเบิกบาน พร้อมกับหันไปเก็บที่นอนให้เรียบร้อยเหล่านี้เป็นการจัดระเบียบของกาย

    เมื่อเรารู้จักที่จะสร้างระเบียบให้กับกายอย่างนี้้ ถือว่าเป็นการรักษากฎเกณฑ์ กติกา และวินัยของสังคมไปในตัว

    วินัยมี ๒ ประเภท คือ
    1.วินัยโดยสามัญสำนึก เรียกว่า จริยา
    จริยาของการเป็นคน เป็นมนุษย์ หรือ การมีชีวิต
    2. วินัยโดยสังคมกำหนด ระเบียบ หรือกติกาใดๆ หรือ กฎหมายใด ๆ
    เป็นเรื่องของสังคมกำหนด วินัยข้อนี้ อยู่ห่างไกลตัวมาก ถ้าเราไม่สามารถปฏิบัติวินัยโดยสามัญสำนึกได้ เราก็จะปฏิเสธวินัยที่เป็นกติกาของนอกกาย เป็นวินัยของโลกของสังคม เราจะยอมรับมันไม่ได้ และ รู้สึกอึดอัดที่จะทำตาม

    แต่ถ้าเมื่อใด เราปฏิบัติทำตนให้เป็นคนมีวินัยโดยหลักการ โดยสถานะที่จัดกาย วาจา ใจ ของตนให้เป็นระเบียบ จนมีความคิดเป็นระบบ ก็จะยอมรับ และเคารพต่อระเบียบวินัยของสังคม และก็คนอื่นๆ สำหรับในส่วนนี้ คงจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ จัดระเบียบของตัวเองให้ดี ดังที่ท่านบอก

    นอกจากนี้ ก็ให้รู้จักพัฒนาตน ให้มีศิลปะในการดำเนินชีิวิตก่อน อื่นอยากจะให้ข้อสังเกตว่า ศาสนาพุทธในประเทศไทยเป็นยังไงก็ไม่รู้ เพราะเวลาศาสนาพุทธเข้าญี่ปุ่นก็เปลี่ยนเป็นภาษาญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นเวลาสวดมนต์ก็รู้ว่าสวดเรื่องอะไร ว่าอย่างไร และก็ทำได้ตามนั้น ศาสนาพุทธเข้าประเทศจีนก็เปลี่ยนบทสวดเป็นภาษาจีน เข้าประเทศฝรั่งก็เปลี่ยนบทสวดเป็นภาษาฝรั่ง เข้าประเทศลาวก็เปลี่ยนบทสวดเป็นภาษาลาว แต่เข้าประเทศไทยทำไมเปลี่ยนไม่ได้ กลัวไม่ศักดิ์สิทธิ์กันหรือ

    ตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่เรา ว่านะโมมาตั้งแต่เกิดยังไม่รู้เลย ว่าแปลว่าอะไรเมื่อรู้ว่าแปลว่าอะไร ก็ไม่รู้จะสวดทำไม เพราะยิ่งสวดก็ยิ่งโง่สวดอย่างนี้เรียกว่า สวดแบบไม่มีศิลปะ ถ้าสวดแบบมี ศิลปะต้องสวดแบบผู้รู้ ผู้ตื่น รู้ในบทสวดที่เราเจริญนั้น แล้วจำทำได้ด้วยและในเสียงที่เปล่งออกไปในการสวดก็ต้องมีศิลปะ

    ในธิเบตถือนักหนาในเรื่องเสียง บทที่สวดออกไปจะต้องเปล่งออกมาจากลำคอ และต้องสูงต้องทุ้มต้องต่ำต้องแหลมตามวรรณยุกต์ และภาษาอักขระวิธี ไม่ใช่ตะเบ็งออกมาเหมือนเสียงควายออกลูก แล้วไม่รู้ว่ามันจะจบหรือไม่จบ ไม่ได้ฟังใครเขาทั้งนั้น

    การสวดมนต์ให้มีศิีลปะแบบพุทธะก็คือ ใช้ใจสวดให้มันซึมเข้าในในหัวใจ สวดแล้วให้เกิดปีติสุขในใจ สวดแล้วเกิดความสงบและสันติภาพในใจ เรียกว่า สวดอย่างมีศิลปะ ในพระไตรปิฎก บอกไว้ว่า พระเณรที่สวดมนต์ในถ้ำ เจริญพระพุทธมนต์อยู่ในถ้ำ สวดอย่างมีศิลปะเสียงทุ้มเสียงต่ำเสียงแหลม ค้างคาวที่เกาะอยู่บนผนังถ้ำ 500 กว่าตัว ได้ฟังเสียงสวดเพลิน ถึงขนาดพร้อมใจกันปล่อยตีนที่เกาะจากผนังถ้ำด้วยความเผลอ หัวโหม่งพื้นตายทั้งหมด แต่เพราะเสียงสวดที่จับจิตจับใจค้างคาวทั้งหลาย ทำให้บทสวดนั้นๆ เป็นกุศลส่งให้วิญญาณไปเกิดในชั้นดุสิตได้เป็นเทวดาเป็นเทพบุตรได้

    หลวงปู่ชอบที่จะสวดมนต์มากๆ แล้วก็ต้องสวดอย่างมีศิลปะ เพราะยิ่งสวดก็ยิ่งทำให้เราสว่าง สะอาด สงบ จิตใจเยือกเย็นมากขึ้น

    สำหรับชาวพุทธ ศาสนาสอนให้เรารู้ว่า การนับถือศาสนา การเรียนรู้ ทำให้ชีวิตคนมีศิลปะ ทำอะไรทุกอย่างเป็นศิลปะ ซึ่งมันก็จะตรงกับหลักมัชฌิมาปฏิปทา ที่สรุปลงท้ายว่า ความรู้ชอบ ความเพียรชอบ ความเจริญสติชอบ การเรียนรู้ชอบ การพูดชอบ การตั้งใจชอบ การประกอบอาชีพชอบ ทุกข้อลงท้ายว่าชอบ คนดูก็ชอบ คนทำก็ชอบ คนลงมือก็ชอบ ช่วยกันทำต่างคนต่างก็ชอบอย่างนี้ถือว่ามีชีวิตเต็มไปด้วยความชอบ เต็มไปด้วยศิลปะ

    สำหรับหลวงปู่แล้ว นิยมทำอะไรให้มีศิลปะ ถ้าให้เลือกระหว่างคำต่างๆ และระหว่างพิธีการพิธีกรรมต่างๆ ที่จะปรากฏขึ้น หลวงปู่ชอบที่จะเลือกใช้ประโยคและถ้อยคำที่พูดว่าศิลปะ เพราะในศัพท์นี้มันบรรจุไว้หลายๆ อย่างมากมาย หลายแขนงมีวิชาอยู่ในคำว่าศิลปะนี้มากมาย
    คนที่พูดที่คิดที่แสดงหรือ ทำอะไรอย่างมีศิลปะถือว่าเป็นคนมีเสน่ห์ แต่คนมักจะบอกว่า คนที่มีเสน่ห์คือคนที่ไปลงนะหน้าทอง นะหน้าเงิน ปลุกเสกเลขยันต์ ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ คำว่า "เสน่ห์" ของคนโบราณคือ ทำอะไรให้มีศิลปะเป็นที่ชอบใจ เป็นที่เจริญหูเจริญตา เจริญใจต่อผู้ได้พบเห็น เช่น พูด คำพูดมีศิลปะก็ทำให้ผู้ฟังไม่เบื่อ มีเสียงทุ้มเสียงหนัก เสียงเบา เสียงยาว เสียงสั้น เสียงแหลมใช้เสียงอักขระวิธีการให้ตรงถูกต้องตามวรรณยุกต์ลักษณะและสมัยของ ภาษานั้นๆ ถ้าคนเหล่านั้นพูดได้อย่างนี้ พระพุทธเจ้าเรียกเสียงนี้ว่าเสียงของท้าวมหาพรหม เพราะฟังแล้วไม่ต้องระทมกับการต้องมาแปล คือ ฟังแล้วรู้เรื่อง เข้าใจ ได้ใจความ ได้ความหมาย ฟังแล้วทำให้เราซึมสิงเข้าไปในหัวใจ สมอง และ ทำได้ด้วย ถือว่าเป็นการพูดอย่างมีศีลปะ

    นักร้องก็เหมือนกัน ถ้าร้องเพลงใดๆ แล้วเป็นที่เชิดหน้าชูตา คนทั้งหลายนิยมรักใคร่ โปรดปราน ก็ต้องยอมรับว่านักร้องผู้นั้นเป็นผู้ร้องเพลงอย่างมีศิลปะ เช่น ใช้วรรณยุกต์ ใช้ภาษาร้อง และท่วงทำนองที่ไพเราะเสนาะหู จำง่าย เด็กก็สามารถ ร้องตามและฟังรู้เรื่อง
    รวมความแล้ว คำว่าศิลปะ นอกจากบรรลุประยุกต์ในบทความ คำพูด บรรลุการร้อง ยังบรรลุในศิลปะการแสดงอีกด้วย

    ดาราคนใด ถ้าสามารถแสดงบทต่างๆ ได้อย่างแนบแน่นละเอียดอ่อน ที่เขาใช้ภาษาดาราหรือชาวโลกว่า ตีบทแตก แสดงว่านักแสดงผู้นั้นแสดงอย่างมีศิลปะ เรียนรู้จบหลักสูตรศิลปะการแสดง

    นักวาดเขียน นักแต่งกลอน แต่งบทกวี สิ่งเหล่านี้รวมความว่าเป็นศิลปะ มันรวมไปถึงการมีชีวิต การแต่งบทเพลง การบรรเลงดนตรี

    ศิลปะอย่างนี้ไม่ใช่มีเฉพาะชาวโลก สำหรับศาสนาแล้ว ศาสดาของเราเป็นยอดแห่งศิลปะ เมื่อสมัย 2,000 กว่าปีก่อน พระองค์เรียนรู้ศิลปศาสตร์หลายวิชา จบหลักสูตรหลายแขนง เช่น ศิลปะการต่อสู้ ศิลปะการแต่งบทกวี ศิลปะการวาดรูป ศิลปะการยิงธนู ศิลปะการกล่าวกลบท คือ การกล่าวบทปริศนาธรรม ศิลปะการต่อปากต่อคำ นั่นคือ ปุจฉาและวิสัชนาศิลปะ ของความเป็นผู้น ศิลปะกระบี่กระบอง เพลงไม้พลองและดั้งเหล่านี้ โบราณเรียกว่า ศิลปะ ถ้าใครทำได้ก็เป็นที่เชิดหน้าชูตา เจริญหูเจริญตาต่อผู้พบเห็น
    เมื่อพระองค์เข้ามาบวชในพุทธศาสนา บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณใฝ่หาพระธรรมจนสำเร็จมรรคผลนิพพานได้ พระองค์ก็สั่งสอนมหาชนอยางมีศิลปะ เช่น ถ้อยคำที่ทรงพูดกับคนบางคน บางประเภท บางขณะ บางลักษณะ บางสังคม บางหัวเมือง บางประเทศ พระองค์จะทรงใช้ถ้อยคำและน้ำเสียงคล้ายๆ และกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมและสังคมนั้นๆ ทำให้คนเหล่านั้นฟังแล้วเจริญหูเจริญตาเจริญใจ

    ในตอนที่พระองค์ทรงบวชใหม่ๆ เหล่าแม่ยก แม่ยาย และแม่ใหญ่ทั้งหลาย รวมทั้งสาวแก่แม่ม่าย พ่อเฒ่าพ่อแก่เห็นองค์พระศาสดาทรงเดินยุรยาตรไปหาภิกขาจาร คือ หาอาหารในยามเช้า ถึงกับปรารภกันให้อึงมี่ว่า บุรุษผู้นี้ถ้าเป็นสามีใคร เมียก็ได้เป็นนิพพาน ถ้าเป็นลูกเต้าเหล่าใคร พ่อแม่ก็นิพพาน แปลว่า ดับ แล้วก็เย็น

    เพราะเป็นผู้เจริญหูเจริญตาเจริญใจแก่ผู้พบเห็น
    ข้อนี้พิสูจน์ได้ว่า

    พระองค์ทรงมีศิลปะ แม้กระทั่งการเดิน

    แสดงว่าสมัยก่อนไม่ได้มุ่งสอนเฉพาะศิลปะขับร้อง ฟ้อนรำ วาดรูป ต่อสู้ เขารวมไปถึงการมุ่งสอนศิลปะของการเดิน ยืน นั่ง และ นอน

    คน โบราณเวลาทำอะไร จึงมองดูแล้วองอาจ สง่า ผึ่งผาย และกล้าหาญ เปิดเผย ไม่หลบๆ ซ่อนๆ สิ่งเหล่านี้ได้มาจากการสืบทอดเรียนรู้ศิลปะในการใช้ชีวิตให้ผาสุข
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา-วิสัชนา : กรรมกับการอโหสิกรรม <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">5 กรกฎาคม 2547 16:16 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    อโหสิกรรม
    อโหสิกรรมก็คือกรรมที่ไม่ให้ผลใช่ไหมครับ แล้วถ้าสมมติว่านาย ก โดนนาย ข ทำร้าย แต่นาย ก อโหสิให้นาย ข แบบนี้นาย ข ก็จะไม่ได้รับผลกรรมที่ทำไว้หรือครับ กรรมที่ทำไว้จะหายไปเลยหรืออย่างไรครับ

    วิสัชนา
    สมมติว่าคุณมีผ้าขาวบริสุทธิ์ผืนหนึ่ง แล้วนาย ข มายืม แล้วเอาสีดำมาแต้ม เวลาต่อมา นาย ข เอาผ้าขาวมาคืน แล้วคุณก็ไม่ถือโทษต่อนาย ข เช่นนี้ ผ้าขาวผืนนั้นจะกลับขาวขึ้นเหมือนเดิมหรือไม่
    การอโหสิกรรม คือ การ ที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยกโทษไม่เอาผิดต่อการกระทำของฝ่ายตรงข้าม แต่ก็ใช่ว่า ผลของการกระทำของฝ่ายตรงข้ามหรือคู่กรณีจะหายไปด้วย เขาก็ยังมีมีโทษอยู่ ซึ่งก็อาจจะเป็นโทษที่ต้องชดใช้แค่ลำพังตน โดยไม่มีผู้อื่นมากล่าวโจทย์หรือร่วมเอาผิดด้วย ยังไงๆ ความผิดนั้นๆ ก็ยังต้องให้ผลกับเขาอยู่ ต่างกันตรงที่ว่า อาจจะเบาบางลงบ้าง เพราะได้รับการอโหสิกรรม

    ปุจฉา ใส่บาตรลบล้างกรรมได้ไหม
    สามีของดิฉันป่วยเป็นโรคหัวใจแต่ได้รับการผ่าตัดแล้ว ดิฉันได้ใส่บาตรทุกวันจะช่วยลบล้างกันได้ไหม

    วิสัชนา
    ฟังคำถามของคุณแล้ว ฉันยังมองไม่เห็นว่ามันจะเกี่ยวกันยังไง สามีคุณป่วย แต่คุณใส่บาตร ดูเหมือนว่าคุณจักพยายาม กิน ดื่ม นอน ถ่าย แทนสามีคุณ ถ้าทำแทนกันได้จริงๆ ก็ดีหละซิ แต่ข้อเท็จจริงมันไม่ได้นี่คุณ เว้นเสียแต่ว่าคุณจะบอกให้เขารู้ แล้วเขาก็มีส่วนร่วม จะด้วยทรัพย์หรือด้วยช่วยกระทำ แม้แต่ยินดีอนุโมทนาเหล่านี้ ก็น่าจะได้ผล
    แต่ถ้าจะให้ไปลบล้างต่อกรรมใดๆ นั้น อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับสามีคุณ ว่ามีเจ้าหนี้หรือเจ้าของกรรม ที่เขาจะใจอ่อนยกโทษให้หรือไม่ ฉันไม่สามารถตอบแทนเขาได้ แต่ก็ขอให้คุณและสามีคุณ เพียรพยายาม ทำ พูด คิดดี ที่คุณคิดว่าเป็นวิธีขอขมาให้เจ้ากรรมนายเวรเขาได้รับรู้แล้วอโหสิกรรม เช่นนี้ก็ดูว่าอาจจะได้ผลบ้างอย่างน้อยๆ ก็ดีกว่าอยู่เปล่าๆ

    ปุจฉา
    อกหักเพราะรักไม่เป็น หรือ เพราะกรรม
    ดิฉันไม่เข้าใจว่าทำไมดิฉันถึงได้ต้องพบต้องเจอกับเหตุการณ์ที่ถูกคนที่รัก และใกล้ชิดหลอกลวง หักหลังและไม่จริงใจด้วยอยู่บ่อย ๆ ทั้งที่ดิฉันเป็นคนที่ทุ่มเทความรู้สึกและความห่วงใยทั้งหมดให้ในทุก ๆ ครั้ง เหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นหลายครั้งหลายหน..จนกระทั่งดิฉันสงสัยว่ามันจะมี การจบสิ้นบ้างมั้ยและทำไมในทุก ๆ ครั้งถึงเป็นเหมือนเดิม จบแบบเดิม ๆ หากเป็นเพราะกรรม แสดงว่าดิฉันเคยทำกรรมลักษณะใดมา และพอจะมีทางให้กรรมนั้นเบาบางลงได้บ้างมั้ยคะ

    วิสัชนา
    เป็นธรรมชาติ ของความรัก มักจะมีความหลงแอบแฝงปะปนมาด้วยเสมอ เมื่อความรักปนเปื้อนด้วยความหลง ผู้ที่มีความหลงย่อมกลายเป็นคนโง่เขลา โดนหลอกลวงได้ง่าย นั่นแสดงว่าคุณรักไม่เป็น ถ้ารักเป็นต้องไม่หลง คนที่รักไม่หลง เขามีความคิดที่จะอาทร แบ่งปัน และการุณ ต่อผู้ที่ตนรักอยู่แล้ว จึงไม่คิดถึงความเสียเปรียบได้เปรียบ เรื่องความ รัก มันไม่รู้จักจบหรอกคุณ เพราะมันเกิดจากตัณหา เมื่อใดที่คุณหยุดตัณหาได้ คุณก็จะหยุดรักได้ ซึ่งก็มิได้เกี่ยวกับ ความเมตตา อาทร จริงใจ เหล่านี้ ได้โดยมิต้องอาศัยตัณหา และถ้าจะเรียกให้มันเป็นความรัก มันก็เป็นความรักที่บริสุทธิ์ โดยมิได้หวังสิ่งใดตอบแทน ฉันยังเชื่อคำที่ว่า ผู้ใดให้รัก ย่อมได้รับความรักตอบ แต่ต้องเป็นความรักที่บริสุทธิ์เท่านั้น ชีวิตจึงจะเป็นสุข
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา-วิสัชนา : วิธีแก้โรคเครียด <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">28 มิถุนายน 2547 17:52 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    เรื่องของจิต


    ผมมีปัญหาอยากขอคำแนะนำจากหลวงปู่พุทธะอิสระ
    1. จะแก้อาการของโรคเครียด วิตก กังวล ได้อย่างไร?
    2. จิตระดับมหาเทพเป็นอย่างไรครับ? คนธรรมดาจะพัฒนาจิตถึงระดับนั้นได้อย่างไร?
    3. มีผู้รู้บอกผมว่าจิตของผมมีปฏิสัมพันธ์กับจิตเทพ ให้ผมทำพิธียกขันธ์ห้า อยากขอคำแนะนำจากหลวงปู่ว่า ควรทำหรือไม่?
    4. ผมเริ่มฝึกสมาธิทางด้านพลัง ฝึกไปฝึกมาเกิดมีอาการมือขยับได้เองโดยมิได้สั่งการ แล้วก็มีคำพูดเกิดขึ้นในสมองโดยที่ผมยังไม่ได้คิด คือ เหมือนมีหลายคนในร่างเดียว ผมมีอาการอย่างนี้จะแก้ไขอย่างไรดีครับ?

    วิสัชนา
    1. ก่อนอื่น คุณต้องหาสาเหตุของอาการเครียดเหล่านั้นก่อนว่า เครียดเพราะเหตุใด แล้วค้นหาวิธีแก้ที่เหตุนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น เครียด เพราะมีความคิดสับสน จับจด ฟุ้งซ่าน ก็ลองแก้ด้วยการฝึกสติ แต่ถ้าเครียดเพราะหน้าที่การงาน ก็ต้องแก้ที่หน้าที่การงาน อย่าทำให้การงานนั้นตกค้าง ทำให้เสร็จด้วยความเรียบร้อย แต่ถ้าเครียด เพราะอยู่เปล่า ๆ แล้วไม่รู้จะทำอะไร คุณก็ต้องจัดหางานทำ งานอะไรก็ได้ที่ไม่ทำให้คุณอยู่เฉย
    2. คุณนี่ช่างว่างเสียจริง ๆ นะ สู้อุตส่าห์ไปหาเรื่องของคนอื่นเค้ามาถาม แต่เรื่องของตัวเองกลับไม่รู้จะทำอย่างไร แล้วทำไมอยากไปรู้เรื่องจิตของเทพ ของพรหม ทำไมคุณไม่ถามว่า จิตมนุษย์ที่วิเศษ หมดกิเลสเค้าทำอย่างไร
    เอาเหอะ...เมื่อคุณอยากถามฉันก็จะตอบ จิตที่เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา คือพรหมวิหารธรรม จิตนั้นถือได้ว่า เป็นจิตของมหาเทพ เรียกว่า เป็นเทพเป็นพรหมโดยสมมติ เมื่อตายไปแล้ว ก็จะไปบังเกิดเป็นมหาเทพ มหาพรหม โดยอุบัติ
    3. ฉันว่าผู้รู้ท่านนั้นของคุณ ช่างเป็นคนแสนรู้เสียจริง ๆ การจะมีสัมพันธ์กับเทพและพรหม ลงทุนแค่ยกขันธ์ห้า ก็ได้แล้ว ถ้าอย่างนั้น มหาโจร ขี้ยา ก็น่าจะมีสัมพันธ์อันดีต่อเทพต่อพรหมได้ แหมอย่างนี้เล่นไม่ยาก (แต่ขออภัย ฉันไม่อยากเล่น กลัวโง่)
    แสดงว่าคุณกำลังจะเพี้ยนแล้ว น่าจะต้องมาทบทวนวิชาที่ฝึกกันใหม่เสียแล้วหละ เพราะถ้าเป็นวิถีแห่งพุทธ คงไม่เป็นอาการอย่างที่คุณกล่าวมานี้ มีแต่ว่าจะทำให้ผู้ศึกษาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

    ปุจฉา
    พระเทวทัต
    กราบนมัสการหลวงปู่ที่เคารพ อยากทราบว่าพระเทวทัตนั้นสะสมบารมีอะไรจึงสามารถได้เกิดร่วมสมัยกับองค์ สมเด็จพระพุทธเจ้าและเกิดในตระกูลกษัตริย์เป็นพระญาติทั้งที่ในสมัยที่องค์ สมเด็จพระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์มหาเวสสันดรและพระเทวทัตใน สมัยนั้นก็เกิดเป็นชูชกและในอีกหลายๆ ชาติก็เป็นศัตรูกับพระพุทธองค์เสมอมาครับ
    วิสัชนา เหตุเพราะปฐมชาติของพระเทวทัต ผูกใจเจ็บต่อพระมหาโพธิสัตว์ถึงขนาดใช้มือทั้งสองข้าง กอบทรายขึ้นมา แล้วกล่าววาจา ผูกอาฆาต ตามจองเวร ทุกภพทุกชาติ เท่าจำนวนเมล็ดทรายในกอบมือ ด้วยเหตุนี้แหละ ทำให้พระเทวทัตได้ตามจองล้างจองผลาญพระมหาโพธิสัตว์ตลอดมา ต้องขอบอกคุณว่า การที่คนเราจักมีโอกาสเกิดร่วมชาติภพกันและได้ใกล้ชิดกัน หาได้เกิดเพราะทำแต่ความดีไม่ ทำผิดชั่วปาบต่อกันก็ทำให้ได้เกิดร่วมกันได้ ขึ้นอยู่กับว่าอยู่ร่วมกันโดยสถานใด มิตรหรือศัตรู ขึ้นอยู่ที่ว่าการกระทำที่ทำมาแต่อดีต

    ปุจฉา
    ฉีดยา ฆ่าแมลงบาปมั้ย
    การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงบริเวณบ้าน เพื่อป้องกันแมลงสาบ แล้วปรากฏว่ามีแมลงสาบต้องตายหลาย ๆ ตัว ถือว่าเป็นการทำบาปหรือไม่ ? (เพราะไม่ได้มีเจตนาจะฆ่ามันโดยตรง)

    วิสัชนา
    ยังไงก็บาปแหละคุณ เพราะการกระทำของคุณ ทำให้ชีวิตสัตว์ตกล่วง วิธีที่น่าจะดี ลองเปิดประตู ช่องลม หน้าต่าง เพื่อให้สัตว์เหล่านั้นได้มีโอกาสหนีได้ แล้วจึงฉีดยา เช่นนี้ก็น่าจะพอบรรเทาแต่ถึงยังไงก็ยังได้ชื่อว่าเบียดเบียนชีวิตสัตว์อยู่ ดี
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา - วิสัชนา : กรรมของคนผิดเพศ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">21 มิถุนายน 2547 17:26 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    กรรมของคนผิดเพศ
    คนที่ เกิดมาแล้วผิดปกติทางเพศ เช่น รักในเพศเดียวกัน คือ เป็นผู้ชายกลับชอบผู้ชาย หรือว่าเป็นผู้หญิงแต่ชอบผู้หญิงด้วยกัน คน ประเภทนี้ทำกรรมอะไรถึงได้เป็นเช่นนี้
    จะแก้ไขได้อย่างไรเพื่อ ไม่ให้เกิดเป็นเช่นนี้อีกในชาติหน้า กราบเรียนถามหลวงปู่ค่ะ
    วิสัชนา

    "ฉันหวังว่าคุณคงจะมิได้เป็นอย่างที่ถามมาหรอกนะ !!! แต่ถ้าเป็น ก็มิต้องเป็นทุกข์กังวลอะไรกับมันมากนัก ถือว่า...เป็นผลแห่งการกระทำของเราที่มีมาแต่อดีต และปัจจุบัน
    การ ที่บุคคลต้องผจญกับความ สมหวัง ผิดหวัง ผิดปกติ หรือเป็นปกติ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากการทำกรรมทั้งนั้น ถ้าเราปรารถนาให้หญิงรักเรา เราก็ต้องรักผู้หญิง ไม่ดูถูกเหยียดหยามต่อสถานภาพของผู้หญิง ทำดีและให้เกียรติต่อผู้หญิงทั้งต่อหน้าและลับหลัง ถ้าเราปรารถนาให้ผู้ชายรักเรา เราก็ต้องรักผู้ชาย ทำดีต่อผู้ชาย เคารพให้เกียรติต่อผู้ชาย ไม่ดูถูกเหยียดหยามสถานภาพของผู้ชาย มีความซื่อตรงต่อกันและกัน

    ที่จริงการมีความรักในเพศเดียวกันไม่ผิด มันจะผิดก็ตอนที่คิดจะยื้อแย่ง กอบโกยเอาสิ่งที่รักมาเป็นของเรา

    การที่คุณถามฉันว่า ทำกรรมอะไร ผู้ชายจึงรักชอบผู้ชายด้วยกัน หรือผู้หญิงจึงรักผู้หญิงด้วยกัน ที่จริง สิ่งที่คุณถามนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีมาแต่สมัยดึกดำบรรพ์แล้ว แม้ในศาสนาก็มีข้อบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ เหตุที่บุคคลต้องเป็นเช่น นี้ก็เพราะ เขามิได้มีความซื่อตรง จริงใจ มิได้ให้เกียรติใครมาแต่อดีต รวมทั้งไม่ได้ศึกษาปฏิบัติธรรมด้วยความซื่อตรงถูกต้อง ชีวิตจึงดูเหมือนบกพร่องในสายตาคนอื่น ซึ่งจริงๆ แล้วเจ้าตัวเองอาจจะมองเห็นว่าไม่บกพร่องก็ได้ เพราะเช่นนั้น ผู้ที่เป็นเช่นนี้ก็อย่าไปคิดมากเลย เพียรพยายามใช้ชีวิตที่มี ทำความดีอย่างจดจ่อ ซื่อตรงทุกโอกาส บุคคลเช่นนั้นก็จะหลุดพ้นจากบ่วงแห่งกรรมนั้นไปในที่สุด ฉันขอเป็นกำลังใจให้แก่ทุกคน"

    ปุจฉา
    สงสัยเรื่องถอดจิต
    ลูกเคยอบรมเกี่ยวกับพลังจิตมา Course หนึ่ง แล้วมาฝึกสมาธิด้วยตนเอง และฝึกจากหนังสือตามแนวหลวงพ่อโต แล้วนำมาปฏิบัติโดยการฝึกหายใจ แต่ก็จะมีอาการเหมือนจะถอดจิต 2 ครั้ง และเห็นภาพต่างๆ หลายครั้งในตอนกลางคืน คำถามของลูกก็คือ จะ ปลอดภัยหรือไม่ในการจะฝึกต่อไป เพราะกลัวว่าจะถอดจิตได้แล้วกลับไม่ได้ (เพราะครั้งที่ 2 นี้ เหมือนมีคนเรียกให้เราออกไปพบ จึงกลัวจะเป็นวิญญาณอื่นมาเรียก แต่เราไม่ยอมออก)

    ที่จริงลูกอยากจะฝึกแบบมีครูบาอาจารย์เหมือนกัน แต่ไม่ค่อยสะดวกก็เลยฝึกเองที่บ้าน ถ้าลูกเหมือนจะถอดจิตได้ ลูกจะทำอย่างไร

    วิสัชนา
    ไม่มีวิสัชนา ขอไม่ตอบ
     

แชร์หน้านี้

Loading...