มาร์คพิตบูลต้องบุพกรรมตามพระไตรปิฏก

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 23 พฤศจิกายน 2017.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    สัญญานเตือน ครั้งที่ ๓ การวิจารณ์พระเวสสันดรชาดก
    ว่าด้วยเรื่องความเสื่อมของ:พระเวสสันดรชาดก

    ครั้งที่ ๑ การทำลายดูหมิ่น
    พระไตรปิฏก พระสาวกแก้ว บทสวดมนต์ต่างๆฯลฯ พระพุทธรูป รอยพระพุทธบาท พระอริยสงฆ์ตลอดจนถึง พระราชประเพณีอันดีของไทย และ อภยปริตร มหาสุบิน ๑๖(ผู้ทำลาย สำนักคลอง๑๐ )
    (ปเทสญานกำหนดเวลาทางพระพุทธศาสนาจะถูกทำลายในทุกกึ่งพุทธกาลตามพุทธสมัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ)
    ครั้งที่ ๒ การทำลายดูหมิ่น
    พระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์และอภิธรรมปิฏก (ผู้ทำลาย สำนักคลอง๑๐ )




    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=128




    เจ้าตัวรับทราบแล้วในเบื้องต้น ใครในพระศาสนาจะกล้าเสี่ยงลอกเลียนแบบ โดยที่ตนเองก็ไม่รู้พระไตรปิฏก ไม่เคยศึกษา

    มาร์คเป็นชาวพุทธ แต่กล้าที่จะวิจารณ์ ออกสื่อ เหมือนฆ่าตัวตาย อย่างมั่นใจและจงใจแม้เราเองก็ไม่กล้าอย่างนั้น ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ

    ผู้ที่เริ่มคิดเห็นตามอย่างก็มีไม่ใช่ไม่มี

    แต่ผู้ที่สละทานเพื่อบำเพ็ญบารมีได้เยี่ยงนั้นก็มีแต่จะไม่ได้สภาวะเหมือนกันกับพระมหาโพธิสัตว์เวสสันดร

    แต่มีไม่มาก ในประเทศและต่างประเทศ ในต่างนิกาย เช่น ทิฆัมพร หรือเชน หรือ พราหมณ์ ก็มีอยู่ มองไปในโลกกว้างๆ แล้วศึกษา สักวันจะเข้าใจเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2017
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ด้วยความอัศจรรย์ของพระไตรปิฏกที่กล่าวไว้ล่วงหน้าเกือบ ๓,๐๐๐ ปี

    ในที่สุดก็มาถึงจุดที่ชาวพุทธควรต้องมาใส่ใจในพระธรรมคำสั่งสอนครั้งใหญ่






    นายมารค์เขาเป็นเพียงเครื่องจักรและกลไกในการขับเคลื่อนของกระแสธรรมเพียงเท่านั้น !

    เขาเป็น
    สัญญานเตือนโดยที่ไม่รู้ตนเองแก่ชาวพุทธผู้ไม่รู้ธรรม

    เขาทำกรรมทำบุญฯมาอย่างนั้นฯ รองรับอย่างนั้นมา

    ไม่มีคำว่าบังเอิญฯ


    ผู้ที่รู้ธรรม ย่อม กล่าว สรรเสริญ สาธุการ แด่พระ รัตนตรัย อันมีพระธรรมเป็นที่พึ่ง

    สมดังที่
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในการนี้แลฯ

    สาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2017
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    แต่ละเคสแต่ละผลงาน ฝีมือชนชาติไทยทั้งนั้น ไม่มีเจือด้วยชนชาติอื่น

    แปลกแต่จริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2017
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอกธัมมาทิบาลีวรรคที่ ๑



    อรรถกถาวรรคที่ ๑๐ วรรคที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า อชฺฌตฺติกํ ได้แก่ สิ่งที่เป็นไปภายในด้วยอำนาจเกิดเฉพาะภายในตน.
    บทว่า องฺคํ แปลว่า เหตุ.
    บทว่า อิติ กริตฺวา แปลว่า กระทำอย่างนี้.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิบายไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากระทำสิ่งที่เป็นไปทับตน คือเฉพาะตน อันตั้งขึ้นในสันดานของตน ว่าเป็นเหตุแล้ว ย่อมไม่เห็นเหตุอื่นสักอย่างหนึ่ง ดังนี้.
    บทว่า พาหิรํ ได้แก่ สิ่งที่เป็นภายนอกจากสันดานภายในตน.
    บทว่า ธมฺมสฺส ได้แก่ พระสัทธรรม. อธิบายว่า พระศาสนา.
    บทว่า สมฺโมสาย ได้แก่ เพื่อความพินาศ.
    บทว่า อนฺตรธานาย ได้แก่ เพื่อความไม่ปรากฏ.
    บทว่า ฐิติยา ได้แก่ เพื่อความตั้งอยู่ตลอดกาลนาน.
    บทว่า อสมฺโมสาย อนนฺตรธานาย พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามจากที่กล่าวแล้วนั่นแล.
    คำที่เหลือในสูตรนี้มีนัยดังกล่าวแล้วในธรรมที่มี ๔ เงื่อนนั่นแล.
    ในคำว่า อธมฺมํ ธมฺโมติ ทีเปนฺติ เป็นต้น เบื้องหน้าต่อจากนี้ พึงทราบความโดยปริยายแห่งพระสูตรก่อน.
    กุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่าธรรม. อกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่าอธรรม.
    อนึ่ง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ชื่อว่าธรรม.
    ธรรมนี้คือ สติปัฏฐาน ๓ สัมมัปปธาน ๓ อิทธิบาท ๓ อินทรีย์ ๖ พละ ๖ โพชฌงค์ ๘ มรรคมีองค์ ๙ และอุปาทาน ๔ นิวรณ์ ๕ อนุสัย ๗ มิจฉัตตะ ๘ ชื่อว่าอธรรม.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธมฺโม ความว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อถือเอาส่วนแห่งอธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแสดงว่า เราจักทำอธรรมนี้ให้เป็นธรรม กุศลจิตของอาจารย์ของพวกเราจักเป็นนิยยานิกธรรมเครื่องนำออก และพวกเราจักปรากฏในโลกด้วยอาการอย่างนี้ จึงกล่าวอธรรมนี้ ว่านี้เป็นธรรม ชื่อว่าแสดงธรรมว่าเป็นธรรม.
    เมื่อถือเอาส่วนหนึ่ง ในส่วนแห่งธรรมเช่นนั้นเหมือนกัน แล้วแสดงว่า นี้เป็นอธรรม ชื่อว่าแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม.
    แต่เมื่อว่าโดยปริยายแห่งพระวินัย กรรมที่โจทย์ด้วยเรื่องที่เป็นจริงให้ระลึกได้ แล้วปรับอาบัติตามปฏิญญา ชื่อว่าธรรม. กรรมที่ไม่ได้โจทย์ไม่ให้ระลึกได้ด้วยเรื่องอันไม่เป็นจริง แล้วปรับอาบัติโดยที่ไม่ได้ปฏิญญาไว้ ชื่อว่าอธรรม.
    เมื่อว่าโดยปริยายแห่งพระสูตร ธรรมนี้คือ การกำจัดราคะ การกำจัดโทสะ การกำจัดโมหะ การสังวร การละ การพิจารณา ชื่อว่าวินัย. การไม่กำจัดราคะเป็นต้น การไม่สังวร การไม่ละและการไม่พิจารณา ชื่อว่าอวินัย. เมื่อว่าโดยปริยายพระวินัย ธรรมนี้คือ วัตถุสมบัติ ญัตติสมบัติ อนุสาวนาสมบัติ สีมาสมบัติ ปริสสมบัติ ชื่อว่าวินัย. วัตถุวิบัติ ปริสวิบัติ นี้ชื่อว่าอวินัย.
    เมื่อว่าโดยปริยายแห่งพระสูตร คำนี้ว่า สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อริยมรรคมีองค์ ๘ พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้. คำนี้ว่า สติปัฏฐาน ๓ สัมมัปปธาน ๓ อิทธิบาท ๓ อินทรีย์ ๖ พละ ๖ สัมโพชฌงค์ ๘ มรรคมีองค์ ๙ พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้.
    เมื่อว่าโดยปริยายพระวินัย คำนี้ว่า ปาราชิก ๔ สังฆาฑิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้. คำนี้ว่า ปาราชิก ๓ สังฆาฑิเสส ๑๔ อนิยต ๓ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๑ พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้.
    เมื่อว่าโดยปริยายแห่งพระสูตร กิจนี้คือการเข้าผลสมาบัติ การเข้ามหากรุณาสมาบัติ ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ทรงแสดงพระสูตรเนื่องด้วยเหตุที่เกิดเรื่องขึ้น การตรัสชาดก ทุกวันๆ พระตถาคตเคยประพฤติมา. กิจนี้คือการไม่เข้าผลสมาบัติ ฯลฯ การไม่ตรัสชาดก ทุกวันๆ พระตถาคตไม่เคยประพฤติมา.
    เมื่อว่า โดยปริยายแห่งพระวินัย กิจนี้คือ เมื่อถูกนิมนต์ อยู่จำพรรษาแล้วต้องบอกลาจึงหลีกไปสู่ที่จาริก ปวารณาแล้วจึงหลีกไปสู่ที่จาริก การกระทำปฏิสันถารก่อนกับด้วยภิกษุผู้อาคันตุกะ พระตถาคตเจ้าเคยประพฤติมา. การไม่กระทำกิจที่พระตถาคตเคยประพฤติมานั้นนั่นแล ชื่อว่าไม่เคยประพฤติแล้ว.
    เมื่อว่าโดยปริยายแห่งพระสูตร สติปัฏฐาน ๔ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ชื่อว่า พระตถาคตทรงบัญญัติ. สติปัฏฐาน ๓ มรรคมีองค์ ๙ นี้ชื่อว่า ตถาคตไม่ทรงบัญญัติไว้.
    เมื่อว่าโดยปริยายแห่งพระวินัย ปาราชิก ๔ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ นี้ชื่อว่า ตถาคตทรงบัญญัติ. ปาราชิก ๓ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๑ นี้ชื่อว่า ตถาคตไม่ทรงบัญญัติไว้.

    ก็ในคำที่ตรัสไว้ในที่สุดแห่งสูตรทั้งปวงว่า ก็ภิกษุเหล่านั้นย่อมยังธรรมนี้ให้อันตรธานไปนั้น ชื่อว่า
    อันตรธานมี ๕ อย่าง คือ
    อธิคมอันตรธาน อันตรธานแห่งการบรรลุ ๑
    ปฏิปัตติอันตรธาน อันตรธานแห่งการปฏิบัติ ๑
    ปริยัตติอันตรธาน อันตรธานแห่งปริยัติ ๑
    ลิงคอันตรธาน อันตรธานแห่งเพศ ๑
    ธาตุอันตรธาน อันตรธานแห่งธาตุ ๑.

    ใน ๕ อย่างนั้น มรรค ๔ ผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ วิชชา ๓ อภิญญา ๖ ชื่อว่า อธิคม.
    อธิคมนั้น เมื่อเสื่อมย่อมเสื่อมไป ตั้งแต่ปฏิสัมภิทา.
    จริงอยู่ นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๑๐๐๐ ปีเท่านั้น ภิกษุไม่สามารถจะให้ปฏิสัมภิทาบังเกิดได้ ต่อแต่นั้นก็อภิญญา ๖. แต่นั้นเมื่อไม่สามารถทำอภิญญาให้บังเกิดได้ ย่อมทำวิชชา ๓ ให้บังเกิด. ครั้นกาลล่วงไปๆ เมื่อไม่สามารถจะทำวิชชา ๓ ให้บังเกิดก็เป็นพระอรหันต์สุกขวิปัสสก โดยอุบายนี้เองก็เป็นพระอนาคามี พระสกทาคามีและพระโสดาบัน.
    เมื่อท่านเหล่านั้นยังทรงชีพอยู่ อธิคมชื่อว่ายังไม่เสื่อม อธิคมชื่อว่าย่อมเสื่อมไป เพราะความสิ้นไปแห่งชีวิตของพระอริยบุคคลผู้โสดาบันชั้นต่ำสุด ดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอันตรธานแห่งอธิคม.
    ภิกษุไม่สามารถจะให้ฌาน วิปัสสนา มรรคและผล บังเกิดได้ รักษาเพียงจาตุปาริสุทธิศีล ชื่อว่าอันตรธานแห่งข้อปฏิบัติ.
    เมื่อกาลล่วงไปๆ ภิกษุทั้งหลายคิดว่า เราจะรักษาศีลให้บริบูรณ์และจะประกอบความเพียรเนืองๆ แต่เราก็ไม่สามารถจะทำให้แจ้งมรรคหรือผลได้ บัดนี้ไม่มีการแทงตลอดอริยธรรมจึงท้อใจ มากไปด้วยความเกียจคร้าน ไม่ตักเตือนกันและกัน ไม่รังเกียจกัน (ในการทำชั่ว) ตั้งแต่นั้นก็พากันย่ำยีสิกขาบทเล็กน้อย. เมื่อกาลล่วงไปๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถุลลัจจัย ต่อแต่นั้นต้องครุกาบัติ.
    เพียงอาบัติปาราชิกเท่านั้นยังคงอยู่. เมื่อภิกษุ ๑๐๐ รูปบ้าง ๑๐๐๐ รูปบ้างผู้รักษาอาบัติปาราชิก ยังทรงชีพอยู่ การปฏิบัติชื่อว่ายังไม่อันตรธาน จะอันตรธานไปเพราะภิกษุรูปสุดท้ายทำลายศีล หรือสิ้นชีวิต ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าอันตรายแห่งการปฏิบัติ.
    บทว่า ปริยตฺติ ได้แก่ บาลีพร้อมทั้งอรรถกถาในพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก.
    บาลีนั้นยังคงอยู่เพียงใด ปริยัตติก็ชื่อว่ายังบริบูรณ์อยู่เพียงนั้น. เมื่อกาลล่วงไปๆ พระราชาและพระยุพราชในกุลียุคไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพระราชาและยุพราชเหล่านั้นไม่ตั้งอยู่ในธรรม ราชอมาตย์เป็นต้นก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม แต่นั้นชาวแคว้นและชาวชนบทก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ฝนย่อมไม่ตกต้องตามฤดูกาล เพราะคนเหล่านั้นไม่ตั้งอยู่ในธรรม. ข้าวกล้าย่อมไม่บริบูรณ์ เมื่อข้าวกล้าเหล่านั้นไม่บริบูรณ์ ทายกผู้ถวายปัจจัยก็ไม่สามารถจะถวายปัจจัยแก่ภิกษุสงฆ์ได้ ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยปัจจัยก็ไม่สามารถสงเคราะห์พวกอันเตวาสิก.
    เมื่อเวลาล่วงไปๆ ปริยัติย่อมเสื่อม ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถจะทรงจำอรรถไว้ได้ ทรงจำไว้ได้แต่พระบาลีเท่านั้น. แต่นั้นเมื่อกาลล่วงไปก็ไม่สามารถจะทรงบาลีไว้ได้ทั้งสิ้น. อภิธรรมปิฎกย่อมเสื่อมก่อน เมื่อเสื่อมก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา.
    จริงอยู่ ปัฏฐานมหาปกรณ์ย่อมเสื่อมก่อนทีเดียว เมื่อปัฏฐานมหาปกรณ์เสื่อม ยมก กถาวัตถุ บุคคลบัญญัติ ธาตุกถา ธัมมสังคณีก็เสื่อม เมื่ออภิธรรมปิฎกเสื่อมไปอย่างนี้ สุตตันตปิฎกก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา อังคุตตรนิกายเสื่อมก่อน. เมื่ออังคุตตรนิกายเสื่อม เอกาทสกนิบาตเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้นทสกนิบาต ฯลฯ ต่อนั้นเอกนิบาต. เมื่ออังคุตตรนิกายเสื่อมไปอย่างนี้ สังยุตตนิกายก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา.
    จริงอยู่ มหาวรรคเสื่อมก่อน แต่นั้นสฬายตนวรรค ขันธกวรรค นิทานวรรค สคาถวรรค เมื่อสังยุตตนิกายเสื่อมไปอย่างนี้ มัชฌิมนิกายย่อมเสื่อมตั้งแต่ท้ายมา.
    จริงอยู่ อุปริปัณณาสก์เสื่อมก่อน ต่อนั้นมัชฌิมปัณณาสก์ ต่อนั้นมูลปัณณาสก์.
    เมื่อมัชฌิมนิกายเสื่อมอย่างนี้ ทีฆนิกายเสื่อมตั้งแต่ท้ายมา.
    จริงอยู่ ปาฏิยวรรคเสื่อมก่อน แต่นั้นมหาวรรค แต่นั้นสีลขันธวรรค เมื่อทีฆนิกายเสื่อมอย่างนี้ พระสุตตันตปิฎกชื่อว่าย่อมเสื่อม. ทรงไว้เฉพาะชาดกกับวินัยปิฎกเท่านั้น. ภิกษุผู้เป็นลัชชีเท่านั้นทรงพระวินัยปิฎก. ส่วนภิกษุผู้หวังในลาภ คิดว่า แม้เมื่อกล่าวแต่พระสูตรก็ไม่มีผู้จะกำหนดได้ จึงทรงไว้เฉพาะชาดกเท่านั้น. เมื่อเวลาล่วงไปๆ แม้แต่ชาดกก็ไม่สามารถจะทรงไว้ได้.
    ครั้งนั้น บรรดาชาดกเหล่านั้นเวสสันตรชาดกเสื่อมก่อน
    ต่อแต่นั้นปุณณกชาดก มหานารทชาดกเสื่อมไปโดยย้อนลำดับ ในที่สุดอปัณณกชาดกก็เสื่อม. เมื่อชาดกเสื่อมไปอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายย่อมทรงไว้เฉพาะพระวินัยปิฎกเท่านั้น.
    เมื่อกาลล่วงไปๆ ก็ไม่สามารถจะทรงไว้ได้แม้แต่พระวินัยปิฎก แต่นั้นก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา. คัมภีร์บริวารเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้นขันธกะ ภิกษุณีวิภังค์ก็เสื่อม แต่นั้น ก็ทรงไว้เพียงอุโปสถขันธกเท่านั้นตามลำดับ.
    แม้ในกาลนั้น ปริยัตติก็ชื่อว่ายังไม่เสื่อม ก็คาถา ๔ บาทยังหมุนเวียนอยู่ในหมู่มนุษย์เพียงใด ปริยัตติก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธานเพียงนั้น.
    ในกาลใด พระราชาผู้มีศรัทธาเลื่อมใสทรงให้ใส่ถุงทรัพย์หนึ่งแสนลงในผอบทองตั้งบนคอช้าง แล้วให้ตีกลองร้องประกาศไปในพระนครว่า ชนผู้รู้คาถา ๔ บทที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้ว จงถือเอาทรัพย์หนึ่งแสนนี้ไป ก็ไม่ได้คนที่จะรับเอาไป แม้ด้วยการให้เที่ยวตีกลองประกาศคราวเดียว ย่อมมีผู้ได้ยินบ้าง ไม่ได้ยินบ้าง จึงให้เที่ยวตีกลองประกาศไปถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ได้ผู้ที่จะรับเอาไป. ราชบุรุษทั้งหลายจึงให้ขนถุงทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ นั้น กลับสู่ราชตระกูลตามเดิม.
    ในกาลนั้น ปริยัตติ ชื่อว่าย่อมเสื่อมไป ดังว่านี้ ชื่อว่าการอันตรธานแห่งพระปริยัตติ.
    เมื่อกาลล่วงไปๆ การรับจีวร การรับบาตร การคู้ การเหยียด การดูแล การเหลียวดู ไม่เป็นที่นำมาซึ่งความเลื่อมใส. ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ปลายแขนถือเที่ยวไป เหมือนสมณนิครนถ์ถือบาตรน้ำเต้าเที่ยวไป. แม้ด้วยอาการเพียงเท่านี้ เพศก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธาน.
    เมื่อกาลล่วงไปๆ เอาบาตรลงจากปลายแขนหิ้วไปด้วยมือหรือด้วยสาแหรกเที่ยวไป แม้จีวรก็ไม่ทำการย้อมให้ถูกต้อง กระทำให้มีสีแดงใช้. เมื่อกาลล่วงไป การย้อมจีวรก็ดี การตัดชายผ้าก็ดี การเจาะรังดุมก็ดี ย่อมไม่มี ทำเพียงเครื่องหมายแล้วใช้สอย. ต่อมากลับเลิกรังดุม ไม่ทำเครื่องหมาย ต่อมาไม่กระทำทั้ง ๒ อย่าง ตัดชายผ้าเที่ยวไปเหมือนพวกปริพาชก.
    เมื่อกาลล่วงไปก็คิดว่า พวกเราจะต้องการอะไรด้วยการกระทำเช่นนี้ จึงผูกผ้ากาสายะชิ้นเล็กๆ เข้าที่มือหรือที่คอ หรือขอดไว้ที่ผม กระทำการเลี้ยงภรรยา เที่ยวไถ่หว่านเลี้ยงชีพ.
    ในกาลนั้น ชนเมื่อให้ทักขิณาย่อมให้แก่ชนเหล่านั้นอุทิศสงฆ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาข้อนี้ จึงตรัสว่า๑-
    ดูก่อนอานนท์ ในอนาคตกาล จักมีโคตรภูบุคคลผู้มีผ้ากาสายพันคอ เป็นผู้ทุศีล เป็นผู้มีธรรมอันลามก ชนทั้งหลายให้ทานในคนผู้ทุศีล ผู้มีธรรมอันลามกเหล่านั้น อุทิศสงฆ์ อานนท์ ในกาลนั้น เรากล่าวว่า ทักษิณาไปแล้วในสงฆ์ มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2017
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    แต่นั้น เมื่อกาลล่วงไปๆ ชนเหล่านั้นคิดว่า นี้ชื่อว่าเป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า พวกเราจะต้องการอะไรด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้านี้ จึงทิ้งท่อนผ้าโยนไปเสียในป่า.
    ในกาลนั้น เพศชื่อว่าหายไป.
    ได้ยินว่า การห่มผ้าขาวเที่ยวไปเป็นจารีตของคนเหล่านั้น มาแต่ครั้งพระกัสสปทศพล ดังว่านี้ ชื่อว่าการอันตรธานไปแห่งเพศ.
    ชื่อว่าอันตรธานไปแห่งธาตุ พึงทราบอย่างนี้ :-
    ปรินิพพานมี ๓ คือ
    กิเลสปรินิพพาน การปรินิพพานแห่งกิเลส,
    ขันธปรินิพพาน การปรินิพพานแห่งขันธ์,
    ธาตุปรินิพพาน การปรินิพพานแห่งธาตุ.
    บรรดาปรินิพพาน ๓ อย่างนั้น
    กิเลสปรินิพพาน ได้มีที่โพธิบัลลังก์.
    ขันธปรินิพพาน ได้มีที่กรุงกุสินารา.
    ธาตุปรินิพพาน จักมีในอนาคต.
    จักมีอย่างไร?
    คือ ครั้งนั้น ธาตุทั้งหลายที่ไม่ได้รับสักการะและสัมมานะในที่นั้นๆ ก็ไปสู่ที่ๆ มีสักการะและสัมมานะด้วยกำลังอธิษฐานของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เมื่อกาลล่วงไปๆ สักการะและสัมมานะก็ไม่มีในที่ทั้งปวง. เวลาพระศาสนาเสื่อมลง พระธาตุทั้งหลายในตามพปัณณิทวีปนี้ จักประชุมกันแล้วไปสู่มหาเจดีย์ จากมหาเจดีย์ไปสู่นาคเจดีย์ แต่นั้นจักไปสู่โพธิบัลลังก์. พระธาตุทั้งหลายจากนาคพิภพบ้าง จากเทวโลกบ้าง จากพรหมโลกบ้าง จักไปสู่โพธิบัลลังก์แห่งเดียว. พระธาตุแม้ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดจักไม่หายไปในระหว่าง.
    พระธาตุทั้งหมดจักประชุมกันที่มหาโพธิมัณฑสถานแล้ว รวมเป็นพระพุทธรูป แสดงพุทธสรีระประทับนั่งขัดสมาธิ ณ โพธิมัณฑสถาน. มหาปุริสลักษณะ ๓๒ อนุพยัญชนะ ๘๐ พระรัศมีประมาณวาหนึ่งทั้งหมดครบบริบูรณ์ทีเดียว.
    แต่นั้นจักกระทำปาฏิหาริย์แสดง เหมือนในวันแสดงยมกปาฏิหาริย์. ในกาลนั้น ชื่อว่าสัตว์ผู้เป็นมนุษย์ ไม่มีไปในที่นั้น.
    ก็เทวดาในหมื่นจักรวาฬประชุมกันทั้งหมด พากันครวญคร่ำรำพันว่า วันนี้พระทสพลจะปรินิพพาน จำเดิมแต่บัดนี้ไป จักมีแต่ความมืด.
    ลำดับนั้น เตโชธาตุลุกโพลงขึ้นจากพระสรีรธาตุ ทำให้พระสรีระนั้นถึงความหาบัญญัติมิได้. เปลวไฟที่โพลงขึ้นจากพระสรีรธาตุ พลุ่งขึ้นจนถึงพรหมโลก เมื่อพระธาตุแม้สักเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดยังมีอยู่ ก็จักมีเปลวเพลิงอยู่เปลวหนึ่งเท่านั้น เมื่อพระธาตุหมดสิ้นไป เปลวเพลิงก็จักขาดหายไป.
    พระธาตุทั้งหลายแสดงอานุภาพใหญ่อย่างนี้แล้ว ก็อันตรธานไป.
    ในกาลนั้น หมู่เทพกระทำสักการะด้วยของหอม ดอกไม้และดนตรีทิพย์เป็นต้น เหมือนในวันที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายปรินิพพาน กระทำประทักษิณ ๓ ครั้ง ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์จักได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เสด็จอุบัติขึ้นในอนาคต ดังนี้แล้วก็กลับไปที่อยู่ของตนๆ.
    นี้ ชื่อว่าอันตรธานแห่งพระธาตุ.
    การอันตรธานแห่งปริยัตตินั่นแลเป็นมูลแห่งอันตรธาน ๕ อย่างนี้.
    จริงอยู่ เมื่อพระปริยัตติอันตรธานไป ปฏิบัติก็ย่อมอันตรธาน. เมื่อปริยัตติคงอยู่ ปฏิบัติก็คงอยู่. เพราะเหตุนั้นแหละ ในคราวมีภัยใหญ่ครั้งพระเจ้าจัณฑาลติสสะในทวีปนี้ ท้าวสักกเทวราชนิรมิตแพใหญ่แล้วแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภัยใหญ่จักมี ฝนจักไม่ตกต้องตามฤดูกาล ภิกษุทั้งหลายพากันลำบากด้วยปัจจัย ๔ จักไม่สามารถเพื่อจะทรงพระปริยัติไว้ได้. ควรที่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจะไปยังฝั่งโน้นรักษาชีวิตไว้ โปรดขึ้นแพใหญ่นี้ไปเถิด เจ้าข้า ที่นั่งบนแพนี้ไม่เพียงพอแก่ภิกษุเหล่าใด ภิกษุเหล่านั้นจงเกาะขอนไม้ไปเถิด ภัยจักไม่มีแก่ภิกษุทั้งปวง.
    ในกาลนั้น ภิกษุ ๖๐ รูปไปถึงฝั่งสมุทรแล้วกระทำกติกากันไว้ว่า ไม่มีกิจที่พวกเราจะไปในที่นั้น พวกเราจักอยู่ในที่นี้แล จักรักษาพระไตรปิฎก ดังนี้แล้วจึงกลับจากที่นั้นไปสู่ทักขิณมลยะชนบท เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยรากเหง้าและใบไม้. เมื่อร่างกายยังเป็นไปอยู่ก็พากันนั่งกระทำการสาธยาย เมื่อร่างกายเป็นไปไม่ได้ ย่อมพูนทรายขึ้นล้อมรอบศีรษะไว้ในที่เดียวกันพิจารณาพระปริยัติ. โดยทำนองนี้ ภิกษุทั้งหลายทรงพระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถาให้บริบูรณ์อยู่ได้ถึง ๑๒ ปี.
    เมื่อภัยสงบ ภิกษุ ๗๐๐ รูปไม่ทำแม้อักขระตัวหนึ่ง แม้พยัญชนะตัวหนึ่งในพระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถาจากสถานที่ๆ ตนไปแล้วให้เสียหาย มาถึงเกาะนี้แหละ เข้าไปสู่มณฑลารามวิหาร ในกัลลคามชนบท.
    ภิกษุ ๖๐ รูปผู้ยังเหลืออยู่ในเกาะนี้ได้ฟังเรื่องการมาของพระเถระทั้งหลาย คิดว่าจักเยี่ยมพระเถระทั้งหลาย จึงไปสอบทานพระไตรปิฎกกับพระเถระทั้งหลาย ไม่พบแม้อักขระตัวหนึ่ง แม้พยัญชนะตัวหนึ่ง ชื่อว่าไม่เหมาะสมกัน.
    พระเถระทั้งหลายเกิดสนทนากันขึ้นในที่นั้นว่า ปริยัติเป็นมูลแห่งพระศาสนา หรือปฏิบัติเป็นมูล. พระเถระผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรกล่าวว่า ปฏิบัติเป็นมูลแห่งพระศาสนา. ฝ่ายพระธรรมกถึกทั้งหลายกล่าวว่า พระปริยัติเป็นมูล.
    ลำดับนั้น พระเถระเหล่านั้นกล่าวว่า เราจะไม่เชื่อโดยเพียงคำของท่านทั้งสองฝ่ายเท่านั้น ขอพวกท่านจงอ้างพระสูตรที่พระชินเจ้าทรงภาษิตไว้. พระเถระ ๒ พวกนั้นกล่าวว่า การนำพระสูตรมาอ้าง ไม่หนักเลย.
    พระเถระฝ่ายผู้ทรงผ้าบังสุกุลจึงอ้างพระสูตรว่า ดูก่อนสุภัททะ ก็ภิกษุทั้งหลายในพระศาสนานี้พึงอยู่โดยชอบ โลกไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย.๑- ดูก่อนมหาบพิตร พระศาสนาของพระศาสดา มีปฏิบัติเป็นมูล มีการปฏิบัติเป็นสาระ เมื่อทรงอยู่ในการปฏิบัติ ก็ชื่อว่ายังคงอยู่.
    ____________________________
    ๑- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๑๓๘

    ฝ่ายเหล่าพระธรรมกถึกได้ฟังพระสูตรนั้นแล้ว เพื่อจะรับรองวาทะของตน จึงอ้างพระสูตรนี้ว่า
    พระสูตรยังดำรงอยู่ตราบใด พระวินัยยังรุ่งเรือง
    อยู่ตราบใด ภิกษุทั้งหลายย่อมเห็นแสงสว่าง
    เหมือนพระอาทิตย์อุทัย อยู่ตราบนั้น เมื่อพระ
    สูตรไม่มีและแม้พระวินัยก็หลงเลือนไป ในโลก
    ก็จักมีแต่ความมืด เหมือนพระอาทิตย์อัสดงคต
    เมื่อภิกษุยังรักษาพระสูตรอยู่ ย่อมเป็นอันรักษา
    ปฏิบัติไว้ด้วย นักปราชญ์ผู้ดำรงอยู่ในการปฏิบัติ
    ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ ดังนี้
    เมื่อพระธรรมกถึกนำพระสูตรนี้มาอ้าง พระเถระผู้ทรงผ้าบังสุกุลทั้งหลายก็นิ่ง. คำของพระเถระผู้เป็นธรรมกถึกนั้นแล เชื่อถือได้. เหมือนอย่างว่า ในระหว่างโคผู้ ๑๐๐ ตัว หรือ ๑๐๐๐ ตัว เมื่อไม่มีแม่โคผู้จะรักษาเชื้อสายเลย วงศ์เชื้อสายก็ไม่สืบต่อกันฉันใด เมื่อภิกษุเริ่มวิปัสสนาตั้ง ๑๐๐ ตั้ง ๑๐๐๐ รูปมีอยู่ แต่ปริยัติไม่มี ชื่อว่าการแทงตลอดอริยมรรคก็ไม่มี ฉันนั้นนั่นแล.
    อนึ่ง เมื่อเขาจารึกอักษรไว้หลังแผ่นหิน เพื่อจะให้รู้ขุมทรัพย์ อักษรยังทรงอยู่เพียงใด ขุมทรัพย์ทั้งหลาย ชื่อว่ายังไม่เสื่อมหายไปเพียงนั้น ฉันใด
    เมื่อปริยัติยังทรงอยู่ พระศาสนาก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธานไป ฉันนั้นเหมือนกันแล.
    จบอรรถกถาวรรคที่ ๑๐
    -----------------------------------------------------
     
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ไม่ใช่ครั้งแรกในพระพุทธศาสนาที่มีการถวายบุตรเป็นทาน ทานที่ให้ได้ยากในอดีตสมัยพระพุทธเจ้าแต่กาลก่อนก็มีเฉกเช่นเดียวกัน และ พระมหาโพธิสัตว์ ท่านก็ทรงรับธรรมสมบัติต่อมาด้วยพระพุทธพยากรณ์นี้แลฯ

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 339

    เขาว่า ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ พระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงมีพระโอรสและพระชายา ในอัตภาพเช่นเดียวกับอัตภาพเป็นพระเวสสันดร ประทับอยู่ ณ ภูเขาเช่นเดียวกับเขาวงกต. ครั้งนั้น ยักษ์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ตนหนึ่งกินมนุษย์เป็นอาหาร ชอบเบียดเบียนคนทุกคน ชื่อขรทาฐิกะ ได้ข่าว่า พระมหาบุรุษชอบให้ทาน จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์เข้าไปหา ทูลขอทารกสองพระองค์กะพระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์ทรงดีพระทัยว่า เราจะให้ลูกน้อยสองคนแก่พราหมณ์ดังนี้ ได้ทรงประทานพระราชบุตรทั้งสองพระองค์แล้ว ทำให้แผ่นดินหวั่นไหวจนถึงน้ำ ขณะนั้น ทั้งที่พระมหาสัตว์ทรงเห็นอยู่ ยักษ์ละเพศเป็นพรามหมณ์นั้นเสีย มีดวงตาเหลือกเหลืองดังเปลวไฟ มีเขี้ยวโง้งไม่เสมอกันน่าเกลียดน่ากลัว มีจมูกบี้แบน มีผมแดง หยาบยาว มีเรือนร่างเสมือนต้นตาลไหม้ไฟใหม่ๆ จับทารกสองพระองค์เหมือนกำเหง้าบัวเคี้ยวกิน พระมหาบุรุษมองดูยักษ์ พอยักษ์อ้าปาก ก็เห็นปากยักษ์นั้น มีสายเลือดไหลออกเหมือนเปลวไฟก็ไม่เกิดโทมนัสแม้เท่าปลายผม เมื่อคิดว่าเราให้ทานดีแล้ว ก็เกิดปีติโสมนัสมากในสรีระ. พระมหาสัตว์นั้นทรงทำความปรารถนาว่า ด้วยผลแห่งทานของเรานี้ ในอนาคตกาล ขอรัศมีทั้งหลายจงแล่นออกโดยทำนองนี้ เมื่อพระองค์อาศัยความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว รัศมีทั้งหลายจึงเปล่งออกจากสรีระ แผ่ไปตลอดสถานที่มีประมาณเท่านั้น.



    การบริจาคบุตรเป็นทาน พระมงคลพุทธเจ้า
     
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    อรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์๓. มังคลพุทธวงศ์



    พรรณาวงศ์พระมังคลพุทธเจ้าที่ ๓ ดังได้สดับมา เมื่อพระโกณฑัญญศาสดาเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ศาสนาของพระองค์ดำรงอยู่แสนปี เพราะพระสาวกของพระพุทธะและอนุพุทธะอันตรธาน ศาสนาของพระองค์ก็อันตรธาน.
    ต่อจากสมัยของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า ล่วงไปอสงไขยหนึ่ง ในกัปเดียวกันนี่แล ก็บังเกิดพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ คือ พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตะ.
    ใน ๔ พระองค์นั้น พระมงคลพุทธเจ้าผู้นำโลก ทรงบำเพ็ญบารมีสิบหกอสงไขยกำไรแสนกัป ก็บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงดำรงตลอดอายุในสวรรค์ชั้นนั้น เมื่อบุพนิมิต ๕ ประการเกิดขึ้นแล้ว ก็เกิดพุทธโกลาหลขึ้น.
    ครั้งนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลก็ประชุมกันในจักรวาลนั้น จึงพากันอ้อนวอนว่า
    กาโลยํ เต มหาวีร อุปฺปชฺช มาตุ กุจฺฉิยํ
    สเทวกํ ตารยนฺโต พุชฺฌสฺสุ อมตํ ปทํ.
    ข้าแต่ท่านมหาวีระ นี้เป็นกาลอันสมควรสำหรับ
    พระองค์ โปรดเสด็จอุบัติในพระครรภ์ของพระมารดาเถิด
    พระองค์เมื่อทรงยังโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามโอฆสงสาร
    โปรดตรัสรู้อมตบทเถิด เจ้าข้า.
    ทรงถูกเทวดาทั้งหลายอ้อนวอนอย่างนี้แล้ว ทรงพิจารณาวิโลกนะ ๕ ประการก็จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางอุตตราเทวี ราชสกุลของพระเจ้าอุตตระผู้ยอดเยี่ยม ในอุตตระนคร ซึ่งเป็นนครสูงสุดเหนือนครทุกนคร.
    ครั้งนั้นได้ปรากฏปาฏิหาริย์เป็นอันมาก.
    ปาฏิหาริย์เหล่านั้นพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว ในวงศ์ของพระทีปังกรพุทธเจ้านั่นแล.
    นับตั้งแต่พระมงคลมหาสัตว์ผู้เป็นมงคลของโลกทั้งปวง ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางอุตตระมหาเทวีพระองค์นั้น พระรัศมีแห่งพระสรีระก็แผ่ไปตลอดเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ศอกทั้งกลางคืนกลางวัน แสงจันทร์และแสงอาทิตย์สู้ไม่ได้ พระรัศมีนั้นกำจัดความมืดได้โดยที่พระรัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์เกิดขึ้น ไม่ต้องใช้แสงสว่างอย่างอื่น พระพี่เลี้ยงพระนม ๖๘ นางคอยปรนนิบัติอยู่.
    เล่ากันว่า พระนางอุตตราเทวีนั้นมีเทวดาถวายอารักขา ครบทศมาสก็ประสูติพระมังคลมหาบุรุษ ณ มงคลราชอุทยาน ชื่อว่าอุตตรมธุรอุทยาน อันมีไม้ดอกหอมอบอวล ไม้ต้นติดผลมีกิ่งและค่าคบ ประดับด้วยดอกบัวต้นและบัวสาย มีเนื้อกวาง ราชสีห์ เสือ ช้าง โคลาน ควาย เนื้อฟานและฝูงเนื้อนานาชนิดเที่ยวกันไป น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง.
    พระมหาสัตว์พระองค์นั้นพอประสูติเท่านั้น ก็ทรงแลดูทุกทิศ หันพระพักตร์สู่ทิศอุดร ทรงย่างพระบาท ๗ ก้าว ทรงเปล่งอาสภิวาจา.
    ขณะนั้น เทวดาสิ้นทั้งหมื่นโลกธาตุก็ปรากฏกาย ประดับองค์ด้วยทิพยมาลัยเป็นต้น ยืนอยู่ในที่นั้นๆ แซ่ซ้องถวายสดุดีชัยมงคล ปาฏิหาริย์ทั้งหลายมีนัยที่กล่าวแล้วทั้งนั้น.
    ในวันขนานพระนามพระมหาบุรุษนั้น โหรทำนายลักษณะขนานพระนามว่ามงคลกุมาร เพราะประสูติด้วยมงคลสมบัติทุกอย่าง.
    ได้ยินว่า พระมหาบุรุษนั้นมีปราสาท ๓ หลัง คือ ยสวา รุจิมา สิริมา. สตรีเหล่านาฏกะ [ฟ้อน, ขับ, บรรเลง] จำนวนสามหมื่น มีพระนางยสวดีเป็นประธาน ณ ปราสาทนั้นพระมหาสัตว์เสวยสุขเสมือนทิพยสุข เก้าพันปี ทรงได้พระโอรสพระนามว่าสีลวา ในพระครรภ์ของพระนางยสวดี พระอัครมเหสี ทรงม้าตัวงามนามว่าปัณฑระ ที่ตกแต่งตัวแล้ว เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ทรงผนวช มนุษย์สามโกฏิก็พากันบวชตามเสด็จพระมหาสัตว์ที่ทรงผนวชพระองค์นั้น พระมหาบุรุษอันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้วทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ ๘ เดือน.
    แต่นั้นก็เสวยข้าวมธุปายาส มีโอชะทิพย์ที่เทวดาใส่ไว้อันนางอุตตรา ธิดาของอุตตรเศรษฐี ในหมู่บ้านอุตตรคามถวายแล้ว ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาละวัน ซึ่งประดับด้วยไม้ดอกหอมกรุ่น มีแสงสีเขียว น่ารื่นรมย์ทรงรับหญ้า ๘ กำที่อุตตระอาชีวกถวาย เสด็จเข้าไปยังต้นไม้ที่ตรัสรู้ชื่อนาคะ [กากะทิง] มีร่มเงาเย็นคล้ายอัญชันคิรี สีครามแก่ ประหนึ่งมียอด มีตาข่ายทองคลุม เว้นจากการชุมนุมของฝูงมฤคนานาพันธุ์ ประดับด้วยกิ่งหนาทึบ ที่ต้องลมอ่อนๆ แกว่งไกวคล้ายฟ้อนรำ ถึงต้นนาคะโพธิที่น่าชื่นชม ก็ทรงทำประทักษิณต้นนาคะโพธิ ประทับยืนข้างทิศอีสาน [ตะวันออกเฉียงเหนือ] ทรงลาดสันถัตหญ้า ๕๘ ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิเหนือสันถัตหญ้านั้น.
    ทรงอธิษฐานความเพียรอันประกอบด้วยองค์ ๔ ทรงทำการพิจารณาปัจจยาการ หยั่งลงโดยอำนาจอนิจจลักษณะเป็นต้นในขันธ์ทั้งหลาย ก็ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณโดยลำดับ ทรงเปล่งอุทานว่า
    อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ
    คหการํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ
    คหการก ทิฏฺโฐสิ ปุน เคหํ น กาหสิ
    สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏํ วิสงฺขตํ
    วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา.
    เราแสวงหาตัณหานายช่างผู้สร้างเรือนเมื่อไม่พบ
    ก็ท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมาก การเกิด
    บ่อยๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนตัณหานายช่างผู้สร้างเรือน
    ตัวท่านเราพบแล้ว ท่านจักสร้างเรือนไม่ได้อีกแล้ว
    โครงสร้างเรือนของท่านเราหักเสียหมดแล้ว ยอดเรือน
    ท่าน เราก็รื้อเสียแล้ว จิตเราถึงธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง
    ไม่ได้ เพราะเราบรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว.
    ส่วนรัศมีแห่งพระสรีระพระมงคลพุทธเจ้ามีเกินยิ่งกว่าพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ รัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์ ไม่เหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ ซึ่งมีรัศมีพระสรีระ ประมาณ ๘๐ ศอกบ้าง วาหนึ่งบ้างโดยรอบ ส่วนรัศมีแห่งพระสรีระของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น แผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุเป็นนิจนิรันดร์ ต้นไม้ ภูเขา เรือน กำแพง หม้อน้ำ บานประตูเป็นต้น ได้เป็นเหมือนหุ้มไว้ด้วยแผ่นทอง.
    พระองค์มีพระชนมายุถึงเก้าหมื่นปี. รัศมีของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดวงดาวเป็นต้นไม่มีตลอดเวลาถึงเท่านั้น การกำหนดเวลากลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลายทำการงานกันทุกอย่างด้วยแสงสว่างของพระพุทธเจ้าเท่านั้น เหมือนทำงานด้วยแสงสว่างของดวงอาทิตย์เวลากลางวัน โลกกำหนดเวลาตอนกลางคืนกลางวัน โดยดอกไม้บานยามเย็นและนกร้องยามเช้า.
    ถามว่า อานุภาพนี้ของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ ไม่มีหรือ.
    ตอบว่า ไม่มี หามิได้.
    ความจริง พระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น เมื่อทรงประสงค์ ก็ทรงแผ่พระรัศมีไปได้ตลอดหมื่นโลกธาตุหรือยิ่งกว่านั้น แต่รัศมีแห่งพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้ามงคล แผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุเป็นนิจนิรันดร์ เหมือนรัศมีวาหนึ่งของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ ก็ด้วยอำนาจความปรารถนาแต่เบื้องต้น.
    เขาว่า ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ พระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงมีพระโอรสและพระชายา ในอัตภาพเช่นเดียวกับอัตภาพเป็นพระเวสสันดร ประทับอยู่ ณ ภูเขาเช่นเดียวกับเขาวงกต.
    ครั้งนั้น ยักษ์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ตนหนึ่งกินมนุษย์เป็นอาหาร ชอบเบียดเบียนคนทุกคน ชื่อขรทาฐิกะ ได้ข่าวว่า พระมหาบุรุษชอบให้ทาน จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์เข้าไปหา ทูลขอทารกสองพระองค์กะพระมหาสัตว์.
    พระมหาสัตว์ทรงดีพระทัยว่า เราจะให้ลูกน้อยสองคนแก่พราหมณ์ดังนี้ ได้ทรงประทานพระราชบุตรทั้งสองพระองค์แล้ว ทำให้แผ่นดินหวั่นไหวจนถึงน้ำ ขณะนั้น ทั้งที่พระมหาสัตว์ทรงเห็นอยู่ ยักษ์ละเพศเป็นพราหมณ์นั้นเสีย มีดวงตากลมเหลือกเหลืองดังเปลวไฟ มีเขี้ยวโง้งไม่เสมอกัน น่าเกลียดน่ากลัว มีจมูกบี้แบน มีผมแดงหยาบยาว มีเรือนร่างเสมือนต้นตาลไหม้ไฟใหม่ๆ จับทารกสองพระองค์ เหมือนกำเหง้าบัวเคี้ยวกิน.
    พระมหาบุรุษมองดูยักษ์ พอยักษ์อ้าปากก็เห็นปากยักษ์นั้น มีสายเลือดไหลออกเหมือนเปลวไฟ ก็ไม่เกิดโทมนัสแม้เท่าปลายผม เมื่อคิดว่าเราให้ทานดีแล้ว ก็เกิดปีติโสมนัสมากในสรีระ. พระมหาสัตว์นั้นทรงทำความปรารถนาว่า ด้วยผลแห่งทานของเรานี้ ในอนาคตกาล ขอรัศมีทั้งหลายจงแล่นออกโดยทำนองนี้ เมื่อพระองค์อาศัยความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว รัศมีทั้งหลายจึงเปล่งออกจากสรีระ แผ่ไปตลอดสถานที่มีประมาณเท่านั้น.
    บุพจริยาอย่างอื่นของพระองค์ยังมีอีก. เล่ากันว่า ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ พระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นี้เห็นเจดีย์ของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง คิดว่า ควรที่จะสละชีวิตของเราเพื่อพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ให้เขาพันทั่วทั้งสรีระโดยทำนองพันประทีปด้าม ให้บรรจุถาดทองมีค่านับแสนซึ่งมีช่อดอกไม้ตูมขนาดศอกหนึ่ง เต็มด้วยของหอมและเนยใส จุดไส้เทียนพันไส้ไว้ในถาดทองนั้น ใช้ศีรษะเทินถาดทองนั้นแล้วให้จุดไฟทั่วทั้งตัว ทำประทักษิณพระเจดีย์ของพระชินเจ้าให้เวลาล่วงไปตลอดทั้งคืน.
    เมื่อพระโพธิสัตว์พยายามอยู่จนอรุณขึ้นอย่างนี้ ไออุ่นก็ไม่จับแม้เพียงขุมขน ได้เป็นเหมือนเวลาเข้าไปสู่ห้องดอกปทุม.
    จริงทีเดียว ชื่อว่าธรรมนี้ย่อมรักษาบุคคลผู้รักษาตน.
    ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
    ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ
    ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
    เอสานิสํโส ธมฺเม สุจิณฺเณ
    น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี.
    ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่
    ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ใน
    ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรม ย่อมไม่ไป
    ทุคติ ดังนี้.
    ด้วยผลแห่งกรรมแม้นี้ แสงสว่างแห่งพระสรีระของพระองค์จึงแผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุ.
    ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
    ต่อจากสมัยของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า พระพุทธ
    เจ้าผู้นำโลก พระนามว่ามงคล ก็ทรงกำจัดความมืดในโลก
    ทรงชูประทีปธรรม.
    รัศมีของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น ไม่มีผู้
    เทียบยิ่งกว่าพระชินเจ้าพระองค์อื่นๆ ครอบงำแสงสว่าง
    ของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ หมื่นโลกธาตุก็สว่างจ้า.
    แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมํ ได้แก่ ความมืดในโลกและความมืดในดวงใจ.
    บทว่า นิหนฺตฺวาน ได้แก่ ครอบงำ.
    ในคำว่า ธมฺโมกฺกํ นี้ อุกฺกา ศัพท์นี้ใช้ในอรรถเป็นอันมาก มีเบ้าของช่างทองเป็นต้น.
    จริงอย่างนั้น เบ้าของช่างทองทั้งหลาย พึงทราบว่า อุกฺกา ในอาคตสถานว่า สณฺฑาเสน ชาตรูปํ คเหตฺวา อุกฺกามุเข ปกฺขิเปยฺย ใช้คีมคีบทองใส่ลงในปากเบ้า.
    ภาชนะถ่านไฟของช่างทองทั้งหลาย ก็พึงทราบว่า อุกฺกา ในอาคตสถานว่า อุกฺกํ พนฺเธยฺย อุกฺกํ พนฺธิตฺวา อุกฺกามุขํ อาลิมฺเปยฺย พึงผูกภาชนะถ่านไฟ ครั้นผูกภาชนะถ่านไฟแล้ว พึงฉาบปากภาชนะถ่านไฟ.
    เตาไฟของช่างทอง ก็พึงทราบว่า อุกฺกา ในอาคตสถานว่า กมฺมารานํ ยถา อุกฺกา อนฺโต ฌายติ โน พหิเปรียบเหมือนเตาของช่างทองทั้งหลาย ย่อมไหม้แต่ภายใน ไม่ไหม้ภายนอก.
    ความเร็วของพายุ พึงทราบว่า อุกฺกา ในอาคตสถานว่า เอวํวิปาโก อุกฺกาปาโต ภวิสฺสติ มีอุกกาบาตจักมีผลเป็นอย่างนี้.
    คบเพลิง ท่านเรียกว่า อุกฺกา ในอาคตสถานว่า อุกฺกาสุ ธาริยมานาสุ เมื่อคบเพลิงทั้งหลายอันเขาชูอยู่.
    แม้ในที่นี้คบเพลิง ท่านประสงค์ว่า อุกฺกา. เพราะฉะนั้นในที่นี้จึงมีความว่า ทรงชูคบเพลิงที่สำเร็จด้วยธรรม พระองค์ทรงชูคบเพลิงอันสำเร็จด้วยธรรมแก่โลก ซึ่งถูกความมืดคืออวิชชาปกปิดไว้ อันความมืดคืออวิชชาครอบงำไว้.
    บทว่า อตุลาสิ ได้แก่ ไม่มีรัศมีอื่นเทียบได้ หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน.
    ความว่า มีพระรัศมีอันพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ เทียบไม่ได้.
    บทว่า ชิเนหญฺเญหิ ตัดบทเป็น ชิเนหิ อญฺเญหิ แปลว่า กว่าพระชินเจ้าพระองค์อื่นๆ.
    บทว่า จนฺทสุริยปฺปภํ หนฺตฺวา ได้แก่ กำจัดรัศมีของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์.
    บทว่า ทสสหสฺสี วิโรจติ ความว่า เว้นแสงสว่างของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ หมื่นโลกธาตุย่อมสว่างจ้าด้วยแสงสว่างของพระพุทธเจ้าเท่านั้น.
    ก็พระมงคลสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบรรลุพระโพธิญาณแล้ว ทรงยับยั้ง ณ โคนต้นไม้ที่ตรัสรู้ ๗ สัปดาห์ ทรงรับคำวอนขอให้ทรงแสดงธรรมของพรหม ทรงใคร่ครวญว่าเราจะแสดงธรรมนี้แก่ใครหนอ ก็ทรงเห็นว่า ภิกษุสามโกฏิที่บวชกับพระองค์ ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย.
    ครั้งนั้น ทรงดำริว่า กุลบุตรเหล่านี้บวชตามเราซึ่งกำลังบวชอยู่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย พวกเขาถูกเราซึ่งต้องการวิเวกสละไว้ เมื่อวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เข้าไปอาศัยสิริวัฒนนคร อยู่ยังชัฏสิริวัน เอาเถิด เราจักไปแสดงธรรมแก่พวกเขาในที่นั้น แล้วทรงถือบาตรจีวรของพระองค์ เหาะสู่อากาศ เหมือนพระยาหงส์ ปรากฏพระองค์ ณ ชัฏสิริวัน.
    ภิกษุเหล่านั้นถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แสดงอันเตวาสิกวัตรแล้วนั่งแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมาแล้ว แก่ภิกษุเหล่านั้น.
    ต่อจากนั้น ภิกษุสามโกฏิก็บรรลุพระอรหัต ธรรมาภิสมัยการตรัสรู้ธรรม ได้มีแก่เทวดาและมนุษย์แสนโกฏิ.
    ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
    พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงประกาศสัจจะ ๔
    อันประเสริฐสุด เทวดาและมนุษย์นั้นๆ ดื่มรสสัจจะ
    บรรเทาความมืดใหญ่ได้.
    ธรรมาภิสมัย การตรัสรู้ธรรม ได้มีแก่เทวดา
    และมนุษย์แสนโกฏิ ในปฐมธรรมเทศนาของพระผู้มี
    พระภาคเจ้าผู้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่ชั่งไม่ได้.
    แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุโร แปลว่า ๔.
    บทว่า สจฺจวรุตฺตเม ความว่า จริงด้วย ประเสริฐด้วย ชื่อว่าสัจจะอันประเสริฐ.
    อธิบายว่า สัจจะสูงสุด.
    ปาฐะว่า จตฺตาโร สจฺจวรุตฺตเม ดังนี้ก็มี ความว่า สัจจะอันประเสริฐสูงสุดทั้ง ๔.
    บทว่า เต เต ได้แก่ เทวดาและมนุษย์นั้นนั่นอันพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแนะนำแล้ว.
    บทว่า สจฺจรสํ ได้แก่ ดื่มรสอมตะคือการแทงตลอดสัจจะ ๔.
    บทว่า วิโนเทนฺติ มหาตมํ ความว่า บรรเทาคือกำจัด ความมืดคือโมหะ ที่พึงละด้วยมรรคนั้นๆ.
    บทว่า ปตฺวาน ได้แก่ แทงตลอด.
    ในบทว่า โพธึ นี้ โพธิศัพท์นี้
    มคฺเค ผเล จ นิพฺพาเน รุกฺเข ปญฺญตฺติยํ ตถา
    สพฺพญฺญุเต จ ญาณสฺมึ โพธิสทฺโท ปนาคโต.
    ก็โพธิศัพท์มาในอรรถ คือ มรรค ผล นิพพาน
    ต้นไม้ บัญญัติ พระสัพพัญญุตญาณ.
    จริงอย่างนั้น โพธิศัพท์มาในอรรถว่ามรรค ได้ในประโยคเป็นต้นว่า โพธิ วุจฺจติ จตูสุ มคฺเคสุ ญาณํ ญาณในมรรค ๔ เรียกว่าโพธิ.
    มาในอรรถว่าผล ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย สํวตฺตติ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้พร้อม.
    มาในอรรถว่านิพพาน ได้ในประโยคนี้ว่า ปตฺวาน โพธึ อมตํ อสงฺขตํ บรรลุพระนิพพานอันไม่ตาย ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้.
    มาในอรรถว่าต้นอัสสัตถะ ต้นโพธิใบ ได้ในประโยคนี้ว่า อนฺตรา จ คยํ อนฺตรา จ โพธึ ระหว่างแม่น้ำคยาและต้นโพธิ.
    มาในอรรถว่าบัญญัติ ได้ในประโยคนี้ว่า โพธิ โข ราชกุมาโร โภโต โคตมสฺส ปาเท สิรสา วนฺทติ พระราชกุมารพระนามว่าโพธิ ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระโคดม ด้วยเศียรเกล้า.
    มาในอรรถว่าพระสัพพัญญุตญาณ ได้ในประโยคนี้ว่า ปปฺโปติ โพธึ วรภูริเมธโส พระผู้มีพระปัญญาดีอันประเสริฐดังแผ่นดิน ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ.
    แม้ในที่นี้ก็พึงเห็นว่าลงในอรรถว่าพระสัพพัญญุตญาณ ลงในอรรถแม้พระอรหัตมรรคญาณก็ควร.
    บทว่า อตุลํ ได้แก่ เว้นที่จะชั่งได้ คือเกินประมาณ.
    อธิบายว่า ไม่มีประมาณ.
    พึงถือความว่า ในปฐมธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้วทรงแสดงธรรม.
    สมัยใด พระมงคลพุทธเจ้าทรงอาศัยนคร ชื่อจิตตะ ประทับอยู่ ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ข่มมานะของพวกเดียรถีย์ ณ โคนต้นจำปา เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทรงทำยมกปาฏิหาริย์ที่โคนต้นคัณฑัมพพฤกษ์ แล้วประทับนั่งเหนือพื้นพระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ใต้โคนต้นปาริฉัตตกะ ณ ภพดาวดึงส์ ซึ่งเป็นภพประเสริฐสำเร็จด้วยทองและเงินใหม่งดงาม เป็นแดนสำเริงสำราญของเหล่าเทวดาและอสูรหนุ่มสาว ตรัสพระอภิธรรม.
    สมัยนั้น ธรรมาภิสมัยการตรัสรู้ธรรมได้มีแก่เทวดาแสนโกฏิ นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒.
    สมัยใด พระเจ้าจักรพรรดิพระนามสุนันทะ ทรงบำเพ็ญจักรวรรดิวัตร ณ สุรภีนคร ทรงได้จักรรัตนะ.
    เล่ากันว่า เมื่อพระมงคลทศพลเสด็จอุบัติขึ้นในโลก จักรรัตนะนั้นก็เขยื้อนจากฐาน. พระเจ้าสุนันทะทรงเห็นแล้ว ก็หมดความบันเทิงพระหฤทัย จึงทรงสอบถามพวกพราหมณ์ว่า จักรรัตนะนี้บังเกิดเพราะกุศลของเรา เหตุไฉนจึงเขยื้อนจากฐาน.
    สมัยนั้น พราหมณ์เหล่านั้นจึงพยากรณ์ ถึงเหตุที่จักรรัตนะนั้นเขยื้อนแด่พระราชาว่า จักรรัตนะจะเขยื้อนจากฐาน เพราะพระเจ้าจักรพรรดิหมดพระชนมายุ เพราะพระเจ้าจักรพรรดิทรงผนวช หรือเพราะพระพุทธเจ้าปรากฏ.
    แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระชนมายุของพระองค์ยังไม่สิ้นดอกพระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงมีพระชนมายุยืนยาว. แต่พระมงคลสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้วในโลก ด้วยเหตุนั้น จักรรัตนะของพระองค์จึงเขยื้อน.
    พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิราชพร้อมทั้งบริษัท จึงทรงไหว้จักรรัตนะนั้นด้วยเศียรเกล้า ทรงวอนขอว่า ตราบใดเราจักสักการะพระมงคลทศพล ด้วยอานุภาพของท่าน ขอท่านอย่าเพิ่งอันตรธานไป ตราบนั้นด้วยเถิด.
    ลำดับนั้น จักรรัตนะนั้นก็ได้ตั้งอยู่ที่ฐานตามเดิม.
    แต่นั้น พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิผู้มีความบันเทิงพระหฤทัยพรั่งพร้อม อันบริษัทมีปริมณฑล ๓๖ โยชน์แวดล้อมแล้ว ก็เสด็จเข้าเฝ้าพระมงคลทศพลผู้เป็นมงคลของโลกทั้งปวง ทรงอังคาสพระศาสดาพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวกให้อิ่มหนำสำราญด้วยมหาทาน ถวายผ้าแคว้นกาสีแด่พระอรหันต์แสนโกฏิรูป ถวายบริขารทุกอย่างแด่พระตถาคต ทรงทำการบูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งทำความประหลาดใจสิ้นทั้งโลก แล้วเข้าเฝ้าพระมงคลพุทธเจ้าผู้เป็นนาถะของโลกทั้งปวง ทรงทำอัญชลีดั่งช่อดอกบัวอันไร้มลทิน อันรุ่งเรืองด้วยทศนขสโมธานไว้เหนือเศียรเกล้า ทรงถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง.
    แม้พระราชโอรสของพระองค์ พระนามว่าอนุราชกุมาร ก็ประทับนั่งอย่างนั้นเหมือนกัน.
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุบุพพิกถาโปรดชนเหล่านั้น ซึ่งมีพระเจ้าสุนันทจักรพรรดิเป็นประธาน พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิพร้อมทั้งบริษัท บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔.
    ลำดับนั้น พระศาสดาทรงสำรวจบุพจริยาของชนเหล่านั้น ทรงเห็นอุปนิสสัยแห่งบาตรจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์ ก็ทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาซึ่งประดับด้วยข่ายจักร ตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด. ในทันทีภิกษุทุกรูปก็มีผมขนาดสองนิ้ว ทรงบาตรจีวรสำเร็จด้วยฤทธิ์ ถึงพร้อมด้วยอาการอันสมควรแก่สมณะ ประหนึ่งพระเถระ ๖๐ พรรษา แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า.
    นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓.
    ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
    พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม ในสวรรค์ชั้น
    ดาวดึงส์ ภพของท้าวสักกะจอมทวยเทพ ธรรมาภิสมัย
    ครั้งที่ ๒ ได้มีแก่เทวดาแสนโกฏิ.
    สมัยใด พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิเสด็จเข้าไปเฝ้า
    พระสัมพุทธเจ้า สมัยนั้น พระสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐได้
    ทรงลั่นธรรมเภรีอันสูงสุด.
    สมัยนั้น หมู่ชนที่ตามเสด็จพระเจ้าสุนันทะมี
    จำนวนเก้าสิบโกฏิ ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมดไม่มีเหลือ
    เป็นเอหิภิกขุ.
    แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุรินฺทเทวภวเน ความว่า ในภพของท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพอีก.
    บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ พระอภิธรรม.
    บทว่า อาหนิ ได้แก่ ตี.
    บทว่า วรุตฺตมํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐได้ทรงลั่นธรรมเภรีอันสูงสุด.
    บทว่า อนุจรา ได้แก่ เสวกผู้ตามเสด็จประจำ.
    บทว่า อาสุ ํ ได้แก่ ได้มีแล้ว. ปาฐะว่า ตทาสิ นวุติโกฏิโย ดังนี้ก็มี.
    ความว่า หมู่ชนของพระเจ้าสุนันทจักรพรรดิพระองค์นั้นได้มีแล้ว.
    ถ้าจะถามว่า หมู่ชนนั้นมีจำนวนเท่าไร ก็จะตอบได้ว่า มีจำนวนเก้าสิบโกฏิ.
    เล่ากันว่า ครั้งนั้น เมื่อพระมงคลโลกนาถประทับอยู่ ณ เมขลบุรี.
    ในนครนั้นนั่นแล สุเทวมาณพและธัมมเสนมาณพ มีมาณพพันหนึ่งเป็นบริวาร พากันบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
    เมื่อคู่พระอัครสาวกพร้อมบริวารบรรลุพระอรหัต ในวันเพ็ญเดือนมาฆะ พระศาสดาทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในท่ามกลางภิกษุแสนโกฏิ นี้เป็นการประชุมครั้งแรก.
    ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในการประชุมของบรรพชิต ในสมาคมญาติอันยอดเยี่ยม ณ อุตตรารามอีก นี้เป็นการประชุมครั้งที่ ๒.
    ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในท่ามกลางภิกษุเก้าหมื่นโกฏิ ในสมาคมคณะภิกษุพระเจ้าสุนันทจักรพรรดิ นี้เป็นการประชุมครั้งที่ ๓.
    ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
    พระมงคลพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมีการ
    ประชุม ๓ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๑ ประชุมภิกษุแสนโกฏิ.
    ครั้งที่ ๒ ประชุมภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๓ ประชุม
    ภิกษุเก้าสิบโกฏิ ครั้งนั้น เป็นการประชุมภิกษุขีณาสพ ผู้
    ไร้มลทิน.
    ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราเป็นพราหมณ์ชื่อว่าสุรุจิ ในหมู่บ้านสุรุจิพราหมณ์ เป็นผู้จบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ ทั้งประเภทอักขรศาสตร์ ชำนาญร้อยกรอง ชำนาญร้อยแก้ว ทั้งเชี่ยวชาญในโลกายตศาสตร์และมหาปุริสลักษณศาสตร์.
    ท่านสุรุจิพราหมณ์นั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรมกถาอันไพเราะของพระทศพลแล้วเลื่อมใสถึงสรณะ นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวกว่า พรุ่งนี้ ขอพระองค์โปรดทรงรับอาหารของข้าพระองค์ด้วยเถิด.
    ท่านพราหมณ์นั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ท่านพราหมณ์ ท่านต้องการภิกษุจำนวนเท่าไร จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุบริวารของพระองค์มีเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า.
    ครั้งนั้น เป็นการประชุมครั้งที่ ๑ เพราะฉะนั้น เมื่อตรัสว่ามีแสนโกฏิ สุรุจิพราหมณ์จึงนิมนต์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเป็นเช่นนั้น ขอพระองค์โปรดทรงรับอาหารของข้าพระองค์ พร้อมกับภิกษุทุกรูปพระเจ้าข้า.
    พระศาสดาจึงทรงรับนิมนต์
    พราหมณ์ ครั้นนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้นแล้วก็กลับไปบ้านตนคิดว่า ภิกษุจำนวนถึงเท่านี้ เราก็สามารถถวายข้าวต้มข้าวสวยและผ้าได้ แต่สถานที่ท่านจะนั่งกันจักทำอย่างไร.
    ความคิดของท่านพราหมณ์นั้นก็ร้อนไปถึงพระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสหัสนัยน์สักกเทวราช ซึ่งสถิตอยู่เหนือยอดขุนเขาพระเมรุ ระยะทางแปดหมื่นสี่พันโยชน์.
    ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงเห็นอาสน์ร้อนขึ้นมา ก็เกิดปริวิตกว่า ใครหนอประสงค์จะให้เราเคลื่อนย้ายจากที่นี้ ทรงเล็งทิพยเนตรตรวจดูมนุษยโลกก็เห็นพระมหาบุรุษ คิดว่า พระมหาสัตว์ผู้นี้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน คิดถึงเรื่องสถานที่ภิกษุสงฆ์นั้นจะนั่ง แม้เราก็ควรจะไปที่นั้นแล้วรับส่วนบุญ จึงปลอมตัวเป็นนายช่างไม้ถือมีดและขวานแล้วปรากฏตัวต่อหน้าพระมหาบุรุษ กล่าวว่า ใครหนอมีกิจที่จะจ้างเราทำงานบ้าง.
    พระมหาสัตว์เห็นแล้วก็ถามว่า ท่านสามารถทำงานของเราได้หรือ.
    เขาบอกกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าศิลปะที่เราไม่รู้ ไม่มี ผู้ใดประสงค์จะให้ทำสิ่งไรๆ ไม่ว่าจะเป็นมณฑป ปราสาทหรือนิเวศน์เป็นต้นไรๆ อื่น เราก็สามารถทำได้ทั้งนั้น.
    พระมหาสัตว์บอกว่า ถ้าอย่างนั้นเรามีงาน. เขาถามว่า งานอะไรเล่า นายท่าน. พระมหาสัตว์บอกว่า เรานิมนต์ภิกษุจำนวนแสนโกฏิ เพื่อฉันอาหารวันพรุ่งนี้ ท่านจักต้องสร้างมณฑปสำหรับภิกษุเหล่านั้นนั่งนะ. เขากล่าวว่า ได้สิ พ่อคุณ.
    เขากล่าวว่า ดีละ ถ้าอย่างนั้นเราจักทำ แล้วก็ตรวจดูภูมิประเทศแห่งหนึ่ง ภูมิประเทศเหล่านั้นประมาณสิบสองโยชน์ พื้นเรียบเหมือนวงกสิณน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง. เขาคิดอีกว่า มณฑปที่เห็นเป็นแก่นไม้สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการจงผุดขึ้น ณ ที่ประมาณเท่านี้ แล้วตรวจดู ในทันใด มณฑปที่ชำแรกพื้นดินผุดโผล่ขึ้นก็เสมือนมณฑปจริง มณฑปนั้นมีหม้อเงินอยู่ที่เสาทอง มีหม้อทองอยู่ที่เสาเงิน มีหม้อแก้วประพาฬอยู่ที่เสาแก้วมณี มีหม้อแก้วมณีอยู่ที่เสาแก้วประพาฬ มีหม้อรัตนะ ๗ อยู่ที่เสารัตนะ ๗.
    ต่อนั้น เขาตรวจดูว่าข่ายกระดิ่งจงห้อยระหว่างระยะของมณฑป พร้อมกับการตรวจดู ข่ายกระดิ่งก็ห้อย ซึ่งเมื่อต้องลมพานอ่อนๆ ก็เปล่งเสียงไพเราะ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง เหมือนอย่างดนตรีเครื่อง ๕ ได้เป็นเหมือนเวลาบรรเลงทิพยสังคีต.
    เขาคิดว่า พวงของหอม พวงดอกไม้ พวงใบไม้และพวงรัตนะ ๗ ของทิพย์ จงห้อยลงเป็นระยะๆ. พร้อมกับคิด พวงทั้งหลายก็ห้อย. อาสนะ เครื่องลาดมีค่าเป็นของกับปิยะและเครื่องรองทั้งหลาย สำหรับภิกษุจำนวนแสนโกฏิ จงชำแรกแผ่นดินผุดโผล่ขึ้น ในทันใด ของดังกล่าวก็ผุดขึ้น. เขาคิดว่าหม้อน้ำ จงตั้งอยู่ทุกๆ มุมๆ ละหม้อ ทันใดนั่นเองหม้อน้ำทั้งหลายเต็มด้วยน้ำสะอาดหอมและเป็นกัปปิยะมีรสอร่อย เย็นอย่างยิ่ง มีปากปิดด้วยใบตองก็ตั้งขึ้น.
    ท้าวสหัสสนัยน์นั้น ทรงเนรมิตสิ่งของมีประมาณเท่านี้แล้ว เข้าไปหาพราหมณ์กล่าวว่า นายท่าน มานี่แน่ะ ท่านเห็นมณฑปของท่านแล้ว โปรดให้ค่าจ้างแก่เราสิ.
    พระมหาสัตว์ไปตรวจดูมณฑปนั้น เมื่อเห็นมณฑปนั่นแลสรีระก็ถูกปีติ ๕ อย่างถูกต้อง แผ่ซ่านมิได้ว่างเว้นเลย.
    ครั้งนั้น พระมหาสัตว์เมื่อแลเห็นก็คิดอย่างนี้ว่า มณฑปนี้มิใช่ฝีมือมนุษย์สร้าง อาศัยอัธยาศัยของเรา คุณของเรา จึงร้อนถึงภพของท้าวสักกเทวราช ต่อนั้น ท้าวสักกจอมทวยเทพจึงทรงเนรมิตมณฑปนี้แน่แล้ว.
    พระมหาสัตว์คิดว่า การจะถวายทานวันเดียวในมณฑปเห็นปานนี้ไม่สมควรแก่เรา จำเราจะถวายตลอด ๗ วัน.
    ธรรมดาทานภายนอกแม้มีประมาณเท่านั้น ก็ยังไม่อาจทำหัวใจของพระโพธิสัตว์ให้พอใจได้ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายอาศัยจาคะ ย่อมจะชื่อว่าพอใจ ก็แต่ในเวลาที่ตัดศีรษะที่ประดับแล้วหรือควักลูกตาที่หยอดแล้ว หรือถอดเนื้อหัวใจให้เป็นทาน.
    จริงอยู่ ในสิวิชาดก เมื่อพระโพธิสัตว์ของเราสละทรัพย์ห้าแสนกหาปณะทุกๆ วัน ให้ทาน ๕ แห่ง คือท่ามกลางนครและที่ประตูทั้ง ๔. ทานนั้นไม่อาจให้เกิดความพอใจในจาคะได้เลย. แต่สมัยใด ท้าวสักกเทวราชปลอมตัวเป็นพราหมณ์มาขอจักษุทั้งสองข้าง. สมัยนั้น พระโพธิสัตว์นั้นก็ควักจักษุเหล่านั้นให้ กำลังทานนั่นแหละจึงเกิดความร่าเริง จิตมิได้เปลี่ยนแปลงแม้แต่เท่าปลายเส้นผม.
    ด้วยประการดังกล่าวมานี้ พระสัพพัญญูโพธิสัตว์ทั้งหลายอาศัยแต่ทานภายนอกจึงมิได้อิ่มเลย เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษแม้พระองค์นั้นคิดว่า เราควรถวายทานแก่ภิกษุจำนวนแสนโกฏิ จึงให้ภิกษุเหล่านั้นนั่ง ณ มณฑปนั้นแล้วถวายทาน ชื่อว่าควปานะ [ขนมแป้งผสมนมโค] ๗ วัน.
    โภชนะที่เขาบรรจุหม้อขนาดใหญ่ๆ ให้เต็มด้วยน้ำนมโคแล้วยกตั้งบนเตา ใส่ข้าวสารทีละน้อยๆ ลงที่น้ำนมซึ่งสุกโดยเคี่ยวจนข้นแล้วปรุงด้วยน้ำผึ้งคลุกน้ำตาลกรวดละเอียดและเนยใสเข้าด้วยกัน เรียกกันว่าควปานะ
    ในบาลีนั้น ควปานะนี้นี่แหละ เขาเรียกว่าโภชนะอร่อยมีรส ๔ ดังนี้ก็มี.
    แต่มนุษย์ทั้งหลายไม่อาจอังคาสได้ แม้แต่เทวดาทั้งหลายที่อยู่ช่องว่างช่องหนึ่งจึงอังคาสได้ สถานที่นั้นแม้มีขนาดสิบสองโยชน์ ก็ยังไม่พอรับภิกษุเหล่านั้นได้เลย แต่ภิกษุเหล่านั้นนั่งโดยอานุภาพของตนๆ.
    วันสุดท้าย พระมหาบุรุษให้เขาล้างบาตรภิกษุทุกรูป บรรจุด้วยเนยใส เนยข้น น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นต้น ได้ถวายพร้อมด้วยไตรจีวร ผ้าจีวรที่ภิกษุสังฆนวกะในที่นั้นได้แล้วก็เป็นของมีค่านับแสน.
    ครั้งนั้น พระศาสดาเมื่อทรงทำอนุโมทนา ทรงใคร่ครวญดูว่า มหาบุรุษผู้นี้ได้ถวายมหาทานเห็นปานนี้จักเป็นใครกันหนอ ก็ทรงเห็นว่า ในอนาคตกาล เขาจักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ ในที่สุดสองอสงไขยกำไรแสนกัป แต่นั้นจึงทรงเรียกพระมหาสัตว์มาแล้วทรงพยากรณ์ว่า ล่วงกาลประมาณเท่านี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ.
    ลำดับนั้น พระมหาบุรุษสดับคำพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็มีหัวใจปลาบปลื้ม คิดว่า พระองค์ตรัสว่าเราจักเป็นพระพุทธเจ้า เราก็ไม่ต้องการอยู่ครองเรือนจึงละสมบัติเห็นปานนั้นเสียเหมือนก้อนเขฬะ บวชในสำนักของพระศาสดา เรียนพระพุทธวจนะ ยังอภิญญาและสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด มีฌานไม่เสื่อม ดำรงอยู่จนตลอดอายุ ที่สุดอายุบังเกิดแล้วในพรหมโลก.

    ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
    สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ ชื่อว่าสุรุจิ เป็นผู้คง
    แก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท.
    เราเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถึงพระองค์เป็นสรณะ
    แล้วบูชาพระสงฆ์มีพระสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วย
    ของหอมและดอกไม้ ครั้นบูชาด้วยของหอมและดอกไม้
    แล้วก็เลี้ยงให้อิ่มหนำสำราญด้วยขนมควปานะ.
    พระมงคลพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นยอดของสัตว์สองเท้า
    แม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็น
    พระพุทธเจ้า ในกัปที่ประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
    ตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัศดุ์แล้ว
    ตั้งความเพียรกระทำทุกกรกิริยาแล้ว ฯลฯ๑- พวกเราจัก
    อยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
    เราฟังพระดำรัสของพระมงคลพุทธเจ้านั้นแล้ว
    ก็ยังจิตให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นไป แล้วอธิษฐานข้อวัตรยิ่งขึ้น
    เพื่อบำเพ็ญบารมีให้สมบูรณ์.
    ครั้งนั้น เราเพิ่มพูนปีติเพื่อบรรลุพระสัมโพธิญาณ
    อันประเสริฐ ก็ถวายเคหะของเราแด่พระพุทธเจ้า แล้วบวช
    ในสำนักของพระองค์.
    เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัยและนวังคสัตถุศาสน์
    ทั้งหมด ยังศาสนาพระชินเจ้าให้งดงาม
    เราอยู่ในพระศาสนานั้น อย่างไม่ประมาท เจริญ
    พรหมวิหารภาวนา ก็ถึงฝั่งอภิญญา เข้าถึงพรหมโลก.

    ____________________________
    ๑- ดูความพิศดารในวงศ์พระสุมนพุทธเจ้าที่ ๔ หน้า ๓๕๘.
    แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คนฺธมาเลน ได้แก่ ด้วยของหอมและดอกไม้.
    คำว่า ควปานะ นี้ได้กล่าวมาแล้ว. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ฆตปาเนน ดังนี้ก็มี.
    บทว่า ตปฺปยึ แปลว่า ให้อิ่มหนำสำราญแล้ว.
    บทว่า อุตฺตรึปิ วตมธิฏฺฐสึ ได้แก่ อธิษฐานข้อวัตรยวดยิ่งขึ้น.
    บทว่า ทสปารมิปูริยา ได้แก่ เพื่อทำบารมี ๑๐ ให้เต็ม.
    บทว่า ปีตึ ได้แก่ ความยินดีแห่งใจ.
    บทว่า อนุพฺรูหนฺโต ได้แก่ ให้เจริญ.
    บทว่า สมฺโพธิวรปตฺติยา ได้แก่ เพื่อบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า.
    บทว่า พุทฺเธ ทตฺวาน ได้แก่ บริจาคแด่พระพุทธเจ้า.
    บทว่า มํ เคหํ ความว่า บริจาคเคหะคือสมบัติทุกอย่างของเรา แด่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เพื่อเป็นปัจจัย ๔.
    บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในพระพุทธศาสนานั้น.
    บทว่า พฺรหฺมํ ได้แก่ เจริญพรหมวิหารภาวนา.
    ก็พระผู้มีพระภาคมงคลพุทธเจ้ามีพระนครชื่อว่าอุตตรนคร แม้พระชนกของพระองค์เป็นกษัตริย์ พระนามว่าพระเจ้าอุตตระ แม้พระชนนีพระนามว่าพระนางอุตตระ คู่พระอัครสาวกชื่อว่าพระสุเทวะและพระธรรมเสนะ มีพระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระปาลิตะ มีคู่พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระสีวลาและพระอโสกา ต้นไม้ที่ตรัสรู้ชื่อต้นนาคะ [กากะทิง] พระสรีระสูง ๘๘ ศอก พระชนมายุประมาณเก้าหมื่นปี. ส่วนพระชายาพระนามว่ายสวดี พระโอรสพระนามว่าสีวละ เสด็จอภิเนษกรมณ์โดยยานคือม้า ประทับ ณ พระวิหาร อุตตราราม อุปัฏฐากชื่ออุตตระ.
    เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นดำรงพระชนม์อยู่เก้าหมื่นปีก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน หมื่นจักรวาลก็มืดลงพร้อมกัน โดยเหตุอย่างเดียวเท่านั้น มนุษย์ทุกจักรวาลก็พากันร่ำไห้คร่ำครวญเป็นการใหญ่.
    ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
    พระมงคลพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมีนคร
    ชื่ออุตตรนคร มีพระชนกพระนามว่าพระเจ้าอุตตระ พระ
    ชนนีพระนามว่าพระนางอุตตรา.
    มีคู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสุเทวะ พระธรรมเสนะ
    มีพระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระปาลิตะ.
    มีคู่พระอัครสาวิกาชื่อพระสีวลาและพระอโสกา ต้น
    ไม้ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เรียกว่าต้นนาคะ.
    พระมหามุนี สูง ๘๘ ศอก พระรัศมีแล่นออกจาก
    พระสรีระนั้นหลายแสน.
    ในยุคนั้น ทรงมีพระชนมายุเก้าหมื่นปี พระองค์
    ดำรงพระชนม์อยู่เท่านั้น ก็ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้
    ข้ามโอฆสงสาร.
    คลื่นในมหาสมุทร ใครๆ ไม่อาจนับคลื่นเหล่านั้น
    ได้ฉันใด สาวกของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น ใครๆ
    ก็ไม่อาจนับสาวกเหล่านั้นได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
    พระมงคลสัมพุทธเจ้าผู้นำโลก ยังดำรงอยู่เพียงใด
    ความตายของผู้ยังมีกิเลสในศาสนาของพระองค์ ก็ไม่มี
    เพียงนั้น.
    พระผู้มีพระยศใหญ่พระองค์นั้น ทรงชูประทีป
    ธรรม ยังมหาชนให้ข้ามโอฆสงสาร แล้วก็เสด็จดับขันธ
    ปรินิพพาน เหมือนดวงไฟลุกโพลงแล้วก็ดับไปฉะนั้น.
    พระองค์ ครั้นทรงแสดงความที่สังขารทั้งหลาย
    เป็นสภาวธรรมแล้ว ก็เสด็จดับขันธปรินิพพานเหมือน
    กองไฟลุกโพลงแล้วก็ดับ เหมือนดวงอาทิตย์ส่องแสง
    สว่างแล้ว ก็อัสดงคตฉะนั้น.
    แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต ได้แก่ จากพระสรีระของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
    บทว่า นิทฺธาวตี ก็คือ นิทฺธาวนฺติ พึงเห็นว่าเป็นวจนะวิปลาส.
    บทว่า รํสี ก็คือ รัศมีทั้งหลาย.
    บทว่า อเนกสตสหสฺสี ก็คือ หลายแสน.
    บทว่า อูมี ได้แก่ ระลอกคลื่น.
    บทว่า คเณตุเย แปลว่า เพื่อคำนวณ คือนับ.
    อธิบายว่า คลื่นในมหาสมุทร ใครๆ ไม่อาจนับว่าคลื่นในมหาสมุทรมีเท่านี้ฉันใด แม้สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ใครๆ ก็ไม่อาจนับได้ ที่แท้เกินที่จะนับได้ ก็ฉันนั้น.
    บทว่า ยาว ได้แก่ ตลอดกาลเพียงใด.
    บทว่า สกิเลสมรณํ ตทา ความว่า บุคคลเป็นไปกับด้วยกิเลสทั้งหลาย ชื่อว่าผู้เป็นไปกับด้วยกิเลส. ความตายของผู้เป็นไปกับด้วยกิเลส ชื่อว่าสกิเลสมรณะ ความตายของผู้มีกิเลส. ความตายของผู้มีกิเลสนั้นไม่มี.
    เขาว่า สมัยนั้น สาวกทั้งหลายในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น บรรลุพระอรหัตแล้ว ก็พากันปรินิพพานหมด ผู้เป็นปุถุชนหรือเป็นพระโสดาบันเป็นต้นก็ยังไม่ทำกาลกิริยา [ตาย].
    อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สมฺโมหมารณํ ตทา ดังนี้ก็มี.
    บทว่า ธมฺโมกฺกํ แปลว่า ประทีปธรรม.
    ไฟ ท่านเรียกว่า ธูมเกตุ แต่ในที่นี้พึงเห็นว่าประทีป เพราะฉะนั้น จึงมีความว่า เหมือนประทีปส่องแสงแล้วก็ดับไป.
    บทว่า มหายโส ได้แก่ พระผู้มีบริวารมาก.
    อาจารย์บางพวก กล่าวว่า นิพฺพุโต โส สสาวโก.
    บทว่า สงฺขารานํ ได้แก่ สังขตธรรมธรรมที่มีปัจจัย.
    บทว่า สภาวตฺตํ ได้แก่ สามัญลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น.
    บทว่า สุริโย อตฺถงฺคโต ยถา ความว่า ดวงอาทิตย์ซึ่งมีรัศมีนับพัน กำจัดกลุ่มความมืดทั้งหมด และส่องสว่างหมดทั้งโลก ยังถึงอัสดงคตฉันใด แม้พระมงคลพุทธเจ้าผู้เป็นดั่งดวงอาทิตย์ ผู้ทำความแย้มบานแก่เวไนยสัตว์ผู้เป็นดั่งดงบัว ทรงกำจัดความมืดในโลกทั้งภายในทั้งภายนอกทุกอย่าง ทรงรุ่งเรืองด้วยพระรัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์ ก็ถึงความดำรงอยู่ไม่ได้ก็ฉันนั้น.
    คาถาที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล. จบพรรณนาวงศ์พระมังคลพุทธเจ้า
    -----------------------------------------------------
    .. อรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๓. มังคลพุทธวงศ์ จบ
     
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    บุพกรรมของกัณหา-ชาลี
    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)


    ท่านสาธุชนทั้งหลาย วันนี้ขอพบกับบรรดาท่านพุทธบริษัทในเรื่องของกรรมเก่า
    ที่ตามภาษาบาลีท่านเรียกว่าบุพกรรม คือ กรรมของกัณหา-ชาลี
    ในเรื่องนี้ปรากฎว่า บรรดาประชาชนในสมัยปัจจุบัน
    พากันโจมตีองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เนือง ๆ
    ความจริงการโจมตีพระพุทธเจ้านี้ไม่ได้มีประโยชน์อะไรกับบรรดาผู้พูด
    เพราะเรื่องราวต่าง ๆ มันผ่านพ้นไปนานแล้ว
    แต่เห็นทางมีอยู่ทางเดียว คือจะประณามองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว
    บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เสื่อมทราม
    แต่ทว่า การจะทำอย่างไรก็ตาม
    พระพุทธเจ้าจะเสื่อมทรามหรือเสียหายไม่ได้


    ทั้งนี้เพราะว่าองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ทรงเข้าสู่พระปรินิพพานไปแล้ว
    เราจะนั่งนินทาว่าร้ายพระพุทธเจ้าสักเพียงใดก็ตาม
    ความชั่วมันก็ตกอยู่กับตัวของบุคคลผู้พูดแต่ฝ่ายเดียว
    ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่า
    นินฺทา ปสํสา คำว่า นินทาและสรรเสริญ
    เป็นความชั่วของบุคคลที่เกิดมา
    ผลที่เขาจะพึงได้รับในปัจจุบันนั่นคือ ความเสียหาย
    เขาเสียหายกันตรงไหน บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย จะพูดให้ฟัง
    คือเสียหายเพราะเสียเวลาประกอบกิจการงานของเขา
    ถ้าเขาจะเอาเวลาที่เขามานั่งนินทาพระพุทธเจ้า
    ไปประกอบการงานให้เป็นประโยชน์
    เขาก็จะมีประโยน์ มีทุนทรัพย์ขึ้นมามาก


    สมมุติว่า เขานั่งนินทาวันละ 1 นาที ถ้า 10 วัน ก็ 10 นาที
    100 วัน 100 นาที ปีหนึ่ง 365 วัน สิ้นเวลาการงานไป 365 นาที
    ถ้าลองคิดว่า เวลา 365 นาทีนี้ ถ้
    าเขาจะถอนหญ้าหน้าบ้านเขานาทีละ 1 ต้น
    หญ้าที่มันรกอยู่มันก็จะเตียนไป 365 ต้น
    เห็นไหม บรรดาท่านพุทธศาสนิกชน ท่านผู้ถูกนินทาไม่มีความเสียหาย
    แต่ว่าบุคคลที่นินทาเท่านั้นมีแต่ความเสียหาย
    เมื่อการนินทาไม่ได้อะไร แล้วก็เสียหายผลประโยชน์ของตน


    ต่อแต่นี้ไป เรามาพูดถึงอุปนิสัย
    คือ จริยาขององค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ที่พระองค์ทรงให้ทานกัณหาและชาลี
    นี่เป็นประเพณีของบุคคลที่จะเป็นพระพุทธเจ้าทุกท่าน
    เพราะมีกฎเกณฑ์บังคับว่า ท่านที่จะเป็นพระพุทธเจ้าได้ต้องเสียสละใหญ่
    คือ เสียของที่รักที่สุดของตัว นั่นก็คือ บุตรธิดาและภรรยา เป็นต้น
    เพราะสิ่งทั้งสองประการนี้ บรรดาประชาชนทั้งหลายมีความรักกันมาก
    คนที่จะเป็นองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ต้องเป็นนักเสียสละเพราะอะไร
    เพราะว่าพระพุทธเจ้าไม่มีค่าจ้างรางวัลใด ๆ
    แม้แต่เทศน์ให้ชาวบ้านฟัง ก็ไม่มีค่าจ้างเหมือนกับพระสมัยปัจจุบัน
    สิ่งที่จะตอบสนองคุณท่านนั้นก็คือ ความดีของบรรดาท่านพุทธบริษัท
    พระองค์มีความพอใจอยู่เพียงนั้น
    ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัทผู้รับฟังมีผลตามความประสงค์ คือ
    1. ไม่ทำความชั่วทั้งหมด
    2. ทำแต่ความดี
    3. รักษาชำระจิตใจของตนเองให้สะอาดบริสุทธิ์จากกรรมที่เป็นอกุศล


    องค์สมเด็จพระทศพลต้องการผลตอบสนองเพียงเท่านี้
    นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท
    องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์ที่ทรงบำเพ็ญบารมีมาถึง 4 อสงไขย
    กำไรแสนกัปป์ ต้องการผลเพียงเท่านี้
    ไม่ใช่ค่าจ้างรางวัล ใครเขาจะนินทาว่าร้ายนั้น
    องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้คำนึงถึง
    เพราะพระองค์ทรงทราบอยู่แล้วว่า เขาจะนินทาแบบไหนก็ตาม
    ถ้าพระองค์ทำดี พระองค์ก็ไม่ทรงเลวไปตามเขาว่า
    แต่ถ้าพระองค์เลวแล้ว
    ใครจะชมสักเท่าไรก็ตามที พระองค์ก็ไม่ดีตามคำชม


    ทีนี้กฎเกณฑ์แห่งการเป็นพระพุทธเจ้า
    จะต้องเสียสละลูกและเมียเป็นทาน
    ถ้ายังไม่สละลูก ไม่สละเมียเป็นทานเพียงใด
    ท่านผู้นั้นจะถือว่าเป็นพระพุทธเจ้ายังไม่ได้
    จะไม่มีโอกาสได้บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ
    และโดยปกติ ลูกและเมียทั้งสองฝ่ายนี้
    ถ้าหากสร้างกรรมดีเข้าไว้ ก็จะไม่ต้องทุกข์ทรมานอะไร
    ดูตัวอย่างเช่นพระนางมัทรี


    เมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร
    หน่อพระบรมพงศ์โพธิสัตว์ เมื่อให้ลูกเป็นทานไปแล้ว
    ต่อมาองค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็ให้นางมัทรีเป็นทาน
    สละเมียเป็นทานไปอีก ตอนสละเมียเป็นทานนี้
    ความจริงพระนางมัทรีไม่มีกรรมใหญ่ที่จะเข้าสนองผล
    ก็เป็นเหตุให้ทิพยอาสน์ของพระอินทร์บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์
    ที่เคยอ่อนประดุจสำลีแข็งกระด้างขึ้นมา
    ท้าวเธอมีความสงสัยว่า เหตุอะไรจะเกิดแก่บุคคลผู้มีบุญ
    ก็ทรงทราบอุปนิสัยความนึกคิดขององค์สมเด็จพระจอมไตร
    ในสมัยที่เป็นพระเวสสันดรว่า
    หน่อพระทินกรจะต้องสละพระนางมัทรีให้เป็นของคนอื่น
    และพระนางมัทรีนี้ก็เป็นคนคู่บารมีขององค์สมเด็จพระชินสีห์มานาน
    เป็นกษัตริย์และเป็นคนดี
    ถ้าให้ไปกับคนอื่นที่มีนิสัยหรือมีสัญชาติเป็นทาส ทาสี ก็ไม่เหมาะ
    สมควรที่พระองค์เองจะต้องเสด็จไปรับเสียเอง


    ฉะนั้น พระอินทร์มีความกรุณาในพระนางมัทรี
    เพราะอาศัยความดีที่สั่งสมบารมีมามาก
    เป็นคู่บารมีขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
    พระอินทร์จึงได้แปลงเป็นพราหมณ์ลงมาขอพระนางมัทรี
    องค์สมเด็จพระชินสีห์ก็ทรงประทานให้
    ก่อนที่จะประทานให้ก็แจ้งกับพระนางมัทรีว่า
    อันนี้เป็นจริยาของบุคคลที่จะได้บรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ต้องให้ลูกและภรรยาเป็นทาน
    ขอนงคราญจงอย่าขัดข้องเลย จงโมทนาด้วย


    เมื่อพระนางมัทรีทรงทราบเจตนาองค์สมเด็จพระชินสีห์ก็ไม่ว่าอะไร
    ตามใจทุกอย่าง ยอมไปตกอยู่ในอำนาจของพราหมณ์
    แล้วองค์สมเด็จพระพิชิตมารเวลาที่เป็นพระเวสสันดรก็นำพระนางมัทรีมา
    แล้วนั่งใกล้ท่านพราหมณ์ เขาเรียกกันว่าอินทพราหมณ์
    คือ พระอินทร์แปลงตัวเป็นพราหมณ์
    เมื่อเข้ามาใกล้แล้วจึงได้หลั่งทักษิโณทกให้ตกบนฝ่ามือ แสดงถึงการให้


    เมื่อพระอินทร์ได้รับพระราชทานพระนางมัทรีแล้ว
    จึงได้กล่าวถวายองค์สมเด็จพระประทีปแก้วว่า
    เวลานี้พระนางมัทรีเป็นสิทธิของข้าพระพุทธเจ้า
    แต่ว่าข้าพระพุทธเจ้าขอถวายคืนเข้าไว้
    แต่ขอพรว่า ถ้าจะให้พระนางมัทรีกับใครแล้ว
    ต้องขออนุญาตข้าพระพุทธเจ้าก่อน เพราะข้าพระพุทธเจ้าเป็นเจ้าของ
    แต่การมอบไว้นี้ก็ให้เป็นสิทธิ์ในการใช้สอย อยู่ร่วมในฐานะสามีภรรยาก็ได้
    หรือจะรับไว้เป็นคนใช้ก็ได้ ห้ามบุคคลอื่นทั้งหลายที่จะมาขอต่อ
    ถ้าใครจะมาขอต่อก็ต้องขออนุญาตก่อน
    เมื่อข้าพระพุทธเจ้าไม่อนุญาต องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถจะให้ไม่ได้
    องค์สมเด็จพระจอมไตรในสมัยนั้นที่เป็นพระเวสสันดรก็ทรงรับ


    นี่แหละ บรรดาท่านพุทธบริษัท มาดูพระนางมัทรีที่ถูกให้
    แต่กฎของกรรมเดิมที่นางทำไว้ กรรมชั่วมันไม่มี
    ก็เป็นเหตุให้ทิพยอาสน์ของท้าวโกสีย์สักกเทวราช
    แข็งกระด้างเป็นเครื่องเตือนใจ
    เป็นเหตุให้พระนางมัทรีไม่ต้องไปอยู่กับพราหมณ์
    แต่ความจริงไปอยู่ก็ไม่เป็นประโยชน์ เพราะพราหมณ์นั้นเป็นพระอินทร์
    เมื่อพระองค์พระราชทานพระนางมัทรีให้เป็นชายาของพราหมณ์
    พราหมณ์ถวายแล้ว พราหมณ์จึงได้แสดงความจริงกับองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว
    แปลงกายจากพราหมณ์กลับมาเป็นพระอินทร์ตามเดิม
    แล้วก็ประกาศให้ทรงทราบว่า ข้าพเจ้าคือพระอินทร์
    พระนางมัทรีเป็นของข้าพเจ้า พระองค์จะให้ใครไม่ได้เด็ดขาด


    เมื่อองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถทรงรับรองแล้ว
    จึงได้ขอพรกับพระอินทร์ 8 ประการ พร 8 ประการนี้คือ

    1. ขอให้ได้เข้าครองพระราชฐานตามเดิม

    2. ให้ได้รับความกรุณาเมตตาจากพระราชบิดาพระราชมารดา
    และประชาชนทั้งหลาย เป็นต้น

    เป็นอันว่าพร 8 ประการ ไม่ต้องกล่าวกัน
    เราไม่ได้มาเทศน์อัฏฐพรกัน
    อัฏฐพร คือ พร 8 ประการที่ขอจากพระอินทร์ ไม่ได้เทศน์เรื่องนี้


    เรามาคุยกันถึงเรื่องบุพกรรมของกัณหา และชาลี
    ที่ชาวบ้านชอบโจมตีว่า พระเวสสันดรเห็นแก่ตัวมาก
    ไม่เห็นแก่ความลำบากของลูกและเมีย
    แต่ว่าคนที่พูดนั้นไม่ทราบความจริงก็ไม่น่าตำหนิท่าน
    ถ้าคนเราลองโง่เสียอย่างเดียว ตำหนิกันไม่ได้
    แต่คนที่จะตำหนิได้นั้นก็ต้องเป็นคนที่ไม่โง่
    แต่ว่าคนโง่แล้วไม่รู้ตัว่าโง่ อวดฉลาด
    อย่างนี้เขาเรียกกันว่า โง่แกมหยิ่ง
    ไม่ว่าชายหรือหญิง ใช้อะไรไม่ได้ทั้งหมด
    แต่องค์สมเด็จพระบรมสุคตท่านได้ตำหนิ
    อาตมาก็ไม่ได้ตำหนิ แต่พูดให้ฟังว่าโง่จริง ๆ นี่น่าสงสาร
    ถ้าโง่แกมหยิ่ง ไม่น่าสงสารเลย


    เรามาพูดถึงเรื่องกัณหาและชาลี
    เมื่อพระราชบิดามอบหมายตนเองให้เป็นสิทธิของตาชูชก
    เมื่อตาชูชกแกได้กัณหาและชาลีเป็นสิทธิแล้ว
    ตาแก่ผู้ใจแกล้วแทนที่จะปลอบโยนกัณหาและชาลีเป็นการเอาอกเอาใจ
    กลับมีความคิดเสียใหม่ว่า เด็กทั้งสองคนนี้เป็นลูกของกษัตริย์
    ถ้าเราจะเอาใจเธอทั้งสองคน พ่อหน้ามนก็จะทะนงตัว
    เมื่อไปอยู่กับเราก็จะถือตนว่าเป็นลูกกษัตริย์ จะเป็นนายของเราเข้าไป
    จึงตั้งอารมณ์เสียใหม่ว่า เราต้องข่มขู่เสียตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
    ฉะนั้น ตาชูชกจึงได้นำเถาวัลย์มาผูกมือทั้งสองของกุมารากุมารีแล้ว
    ก็เฆี่ยนตี ฉุดกระชาก ใช้อำนาจให้เด็กทั้งสองกลัว


    นี่แหละ บรรดาท่านพุทธบริษัท ตอนนี้เองที่บรรดาท่านทั้งหลาย
    หลายท่านด้วยกันโจมตีองค์สมเด็จพระทรงธรรมบรมศาสดาว่า
    เป็นคนเห็นแก่ตัว สร้างความชั่วให้แก่บุคคลอื่นเพื่อความดีของตน
    ความจริงถ้าเขารู้จักองค์สมเด็จพระทศพลเขาก็คงไม่พูดแบบนั้น
    แต่ว่าเราจะเอาขนมอะไรไปป้อนให้ควายกินเล่า
    บรรดาท่านพุทธบริษัท ควายที่จะมาชอบทองหยิบฝอยทองนั้นมันไม่มี
    หรือว่าจะหาขนมเค้กอย่างดี ขนมอะไรก็ตามมาป้อนให้กิน ควายมันก็ไม่ชอบ
    เพราะควายมันชอบกินหญ้า ข้อนี้มีอุปมาฉันใด คนที่โง่แกมหยิ่งมันก็เหมือนกัน
    บรรดาท่านพุทธบริษัท ชอบคิดแต่สิ่งที่ชั่วร้าย
    ส่วนที่เป็นความดีที่เป็นเหตุแห่งความสบายใจเขาไม่ชอบคิดกัน


    ทีนี้ก็จะกล่วถึงบุพกรรมของกัณหาและชาลี
    เรื่องนี้เคยมีพระถามพระพุทธเจ้าในกาลที่เล่าเรื่องเรียบร้อยแล้ว
    บรรดาพระสงฆ์จึงได้กราบทูลองค์สมเด็จพระประทีปแก้วว่า
    กัณหาและชาลี ทั้งสองศรีนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นขัตติยราช เป็นบุตรกษัตริย์
    เป็นคนมีจริยาดี แสดงความเคารพนบนอบ อ่อนโยนกับตาชูชกด้วยดี
    แต่ว่าเมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์พระราชทานแล้ว ทำไมตาชูชกจึงได้ทำอย่างนั้น


    องค์สมเด็จพระภควันต์จึงได้ทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า
    ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    เหตุที่จะเกิดขึ้นเช่นนั้นก็เพราะอาศัยกรรมเก่าของกัณหาและชาลี
    เดิมทีกัณหาและชาลีเป็นลูกของชาวบ้าน คือ ชาวนาธรรมดา
    ตาชูชกตัวแก่เฒ่าชราคนนี้แกเป็นควายแก่
    เมื่อต้นข้าวขึ้นมาใหม่ ๆ บิดาและมารดาให้สองศรีนี้ไปเฝ้าต้นข้าว
    เพื่อกันควายไม่ให้เข้ามากิน พอเด็กสองคนนี้เผลอเมื่อไร
    เจ้าควายแก่ก็ย่องเข้ามากินเมื่อนั้น
    บิดาและมารดาก็ดุว่าเด็กทั้งสองนี้บ้าง เฆี่ยนตีบ้าง หาว่าละเลยหน้าที่
    เมื่อจะไล่จะปาสักเท่าไรก็ตามที เจ้าควายแก่ตัวนี้มันไปไม่ไกล
    ทำทีเหมือนว่าหันหน้าหนีไปแล้ว กินหญ้าอยู่
    พอโฉมตรูทั้งสองกุมารเผลอเมื่อไร มันก็ย่องเข้ามากินต้นข้าวอ่อนเมื่อนั้น
    เป็นเหตุให้สองกุมารมีความโกรธ จึงได้พากันจับควายเฒ่าตัวนั้นไปผูกไว้กับต้นไม้
    คือเอาเชือกผูกที่ตะพายแล้วก็ผูกติดกับต้นไม้
    สองคนพี่น้อยช่วยกันหาไม้เรียวหนามมาตีควายแก่ตัวนี้เสียจนหนำใจ
    เรียกว่าจนพอใจ แล้วจึงปล่อยควายแก่นี้ไป


    องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
    เพราะกรรมในอดีตที่กัณหาและชาลีตีควายแก่
    กรรมนั้นมันมาสนองเธอทั้งสอง
    เจ้าควายแก่ตัวนั้นมันมาเกิดเป็นชูชก
    ทีนี้เมื่อมอบหมายให้ชูชกแล้ว กรรมเก่ามันเข้าสนองใจ
    ทำให้ชูชกเห็นผิด คิดในใจว่า
    เราต้องปราบปรามให้เด็กพวกนี้เข็ดเสียก่อน กลัวเรา
    ไม่เช่นนั้นแล้ว ไปอยู่กับเราก็จะทำตัวเป็นนาย
    เพราะจะถือตัวว่าเป็นลูกเจ้าใหญ่นายโต


    นี่แหละ บรรดาท่านพุทธบริษัท
    ความสงสัยของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายในเรื่องนี้ก็คงจะหมดไป
    รือไม่หมดก็ตามใจ เพราะบุคคลที่สอนได้นั้นก็มีอยู่ 3 ขั้นด้วยกันคือ

    อุคฆฏิตัญญู มีปัญญาดีมาก แนะนำแต่เพียงหัวข้อก็มีความเข้าใจ

    คนระดับที่สองรองลงมานั้นไซร้ ก็คือ วิปจิตัญญู
    คนประเภทนี้ องค์สมเด็จพระบรมครูบอกว่า แนะนำหัวข้อเขาไม่เข้าใจ
    จะต้องอธิบายนิดหน่อย จึงจะเข้าใจ

    คนประเภทที่สาม เรียกว่า เนยยะ
    คนประเภทนี้จะสั่งสอนเท่าไรก็ไม่สามารถจะเป็นพระอริยเจ้าได้
    แต่ก็มีความดี เข้าถึงไตรสรณาคมน์ มีศีล 5 บริสุทธิ์ ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ดี
    จัดเป็นกัลยาณชน คือคนดี หรือคนงาม

    คนประเภทที่สี่ คือ ปทปรมะ ท่านแปลว่า มีบทบาทอย่างยิ่ง
    บุคคลประเภทนี้จะเป็นชายจะเป็นหญิง จะศึกษาวิชาการสูงขนาดไหนก็ตาม
    ก็มีความโง่เป็นปกติ เรื่องความดี เรื่องบุญ เรื่องกุศล
    ทำตน และบุคคลอื่นให้มีความสุข บุคคลประเภทนี้ไม่เคยคิด
    และก็เป็นคนไร้เหตุไร้ผล ไม่ยอมรับทราบ ผลของบุคคลผู้ใด
    เหตุผลจะเป็นประการใดฉันไม่ฟัง
    ฉันต้องการอย่างเดียว คิอคัดค้านให้มันพินาศไป


    แม้แต่ประเทศชาติของตนที่กำลังเป็นไท ไม่ใช่ทาส
    บุคคลประเภทนี้ก็พยายามทำลายชาติให้พินาศ ด้วยการขายชาติให้แก่ศัตรู
    ความจริงตัวของเขาเองไม่รู้หรอก
    บรรดาท่านพุทธบริษัท ว่าการขายชาติของเขามันมีผลร้ายสักเพียงใด
    ญาติพี่น้องของเขาทั้งหลายที่เกิดอยู่ในประเทศไทยก็จะพากันลำบาก
    ตัวเขาเองที่ถูกป้อยอว่า ถ้ายึดประเทศไทยได้เมื่อไร เขาจะให้เป็นใหญ่


    แล้วใครที่ไหนเล่า บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
    เขาจะให้คนจัญไรประเภทนี้ปกครองประเทศ
    แม้แต่บ้านพ่อบ้านแม่ บ้านปู่ย่าตายายของเขา เขายังทรยศได้
    แล้วเจ้านายผู้จ้างเขามา เป็นอะไรที่เขาจะไว้วางใจ
    เรื่องการไว้วางใจย่อมไม่มีในที่สุด
    คนอัปรีย์พวกนี้ก็จะต้องตายโหงไปตาม ๆ กัน


    นี่เราพูดกันเรื่องกรรมนะ กรรมของกัณหาชาลีเป็นเช่นใด
    คนที่สร้างกรรมชั่วไว้ ผลกรรมก็จะต้องรับเหมือนกัน
    ที่นำผลของกรรมมากล่าวกับบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน
    เพื่อให้มีความเข้าใจในกฎของกรรม ที่เป็นความดีหรือความชั่ว
    ขอท่านทั้งหลายจงระมัดระวังตัว
    จงอย่าคิดว่ากรรมชั่วนิดหน่อยมันจะไม่ให้ผล


    ตามที่องค์สมเด็จพระทศพลกล่าวถึงกฎของกรรม ของกัณหาและชาลี
    ความจริงถ้าจะคิดกันไปดูอีกที เจ้าควายตัวนี้มันมาลักข้าวเขากิน
    การลงโทษประเภทนั้นควรจะมีผลเสมอกัน
    กล่าวคือหายกันไป แต่ความจริงมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น มันไม่หายสิ
    มันติดตามมาเล่นกัณหาและชาลีเข้าในชาติสุดท้าย
    ตอนที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา
    เป็นพระเวสสันดรหน่อพระบรมพงศ์โพธิ์สัตว์


    ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทจำไว้ให้ดี
    จงอย่าคิดว่า ยุงตัวเล็ก ๆ มันเป็นเด็ก ฆ่าแล้วไม่บาป
    หรือที่เขากล่าวกันบอกว่า สัตว์ทั้งหลายเกิดมาเป็นอาหารของมนุษย์
    แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาฆ่ากินกัน
    แล้วกรรมทั้งหลายเหล่านี้นั้น มันก็ไม่ให้อภัยกับบุคคลผู้ฆ่าเหมือนกัน
    ต่อไปในชาติเบื้องหน้า ถ้าเกิดใหม่ก็ต้องฆ่ากันไปฆ่ากันมา
    ผลัดกันฆ่าอยู่แบบนั้น เช่นเจ๊กกับหมู เจ๊กกับไก่ เป็นต้น


    นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ก็ดูในกาลต่อไป
    เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของเทวดา
    การที่ชูชกจะรู้ว่ากัณหาและชาลีอยู่ที่ไหน
    ก็เป็นเรื่องของเทวดาช่วย นางอมิตตดาที่เป็นเมียชูชก
    อยู่ ๆ เธอก็โกรธชูชกขึ้นมา หาว่าชาวบ้านด่าเธอ
    เธอปฏิบัติความดีกับชูชกมาก ดีเกินหน้าไป
    เป็นเหตุให้บรรดาสาวสรรกำนัลใน
    คือ หญิงชาวบ้านแถวนั้นถูกผัวไปต่อว่า
    ว่านางอมิตตดาเขามีผัวแก่ เขายังมีความดี
    สร้างความดีให้แก่สามีมีความสุข
    ส่วนตนเองเป็นสามีภรรยาอายุไล่เรี่ยกัน
    แต่ไม่ปฏิบัติตามนั้น ทำให้มีความทุกข์


    เมื่อบรรดาหญิงทั้งหลายเหล่านั้น
    ได้รับการกระทบกระเทือนถูกด่าว่าจากสามี
    จึงได้มาโกรธนางอมิตตดา นี่เป็นนิสัยพาล
    มาด่ามาว่า มาพูดประชดประชัน
    อยากจะให้นางอมิตตดาไปเสียจากที่นั้น ตัวจะได้มีความสุข
    สามีจะได้ไม่ว่าไม่ด่า ไม่ทุบ ไม่ตี


    นางอมิตตดาเมื่อถูกหญิงทั้งหลายเหล่านั้นว่าประชดประชัน
    ใจก็นึกขึ้นมาว่า เวลานี้องค์สมเด็จพระทรงธรรมพระเวสสันดร
    หน่อพระบรมพงศ์โพธิ์สัตว์ออกสู่ภิเนษกรมณ์
    จะต้องให้บุตรและภรรยาเป็นทาน
    ความจริงนางไม่รู้เรื่องเพราะบ้านเมืองสมัยนั้นไม่มีวิทยุ
    ไม่มีหนังสือพิมพ์ แต่ที่นางรู้ขึ้นมาได้ก็เพราะเทวดาเขาแนะนำกัน
    ถ้าหากพระเวสสันดรไม่มีโอกาสให้สองกุมารเป็นทาน
    พระเวสสันดรก็ไม่มีโอกาสที่จะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้


    เมื่อกัณหาชาลีทั้งสองศรีนี้ไซร้ ถูกชูชกทรมานไประหว่างทาง
    ก็ปรากฎว่าเทวดาก็เข้ามายุ่งอีก
    คือเมื่อเวลากลางคืน ก็แปลงเป็นพระเวสสันดรองค์หนึ่ง
    แปลงเป็นพระนางมัทรีองค์หนึ่ง
    มาให้สองกุมารนอนบนตัก ปฐมพยาบาลจนหลับไป
    พอตื่นขึ้นเช้า ทั้งสองเทวดาก็หายไป ชูชกลากไป
    คราวนี้เทวดาผู้เป็นเจ้ากี้เจ้าการก็เลยพาให้ชูชกหลงทาง
    พอไปหาพระเจ้าปู่ เมื่อไปหาพระเจ้าปู่ ไปใกล้พระเจ้าปู่เห็นเข้า
    พระเจ้าปู่จึงได้ให้อำมาตย์ทั้งหลายไปตามเข้ามา
    เพราะจำได้ว่าเป็นหลาน ว่าใครหนอไปลักหลานของเรามา
    ไปจับมันเข้ามา เมื่อพระเจ้าปู่พบพระเจ้าหลานแล้ว
    จึงได้เรียกหลานแก้วทั้งสองให้ขึ้นมานั่งบนตัก


    ตอนนี้เทวดาก็มีสร้างความเมตตาขึ้นมาอีก
    ก่อนที่พระเวสสันดรจะไป เทวดาก็ดลใจให้ถูกไล่
    ตอนนี้เทวดาก็ดลใจให้พระเจ้าปู่ พระเจ้าย่า
    คือพระเจ้ากรุงสญชัยกับพระนางผุสดีคิดถึงพระเวสสันดร
    บรรดาพสกนิกรทั้งหลายที่เคยโกรธก็ไม่โกรธ
    ที่ชาวบ้านเขาโกรธเพราะเทวดาแกล้งดลใจให้โกรธ
    นี่มันเรื่องของเทวดาปรารถนาจะให้พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าให้ได้
    ให้บำเพ็ญบารมีให้เต็ม


    เมื่อเด็กทั้งสองพบพระเจ้าปู่ พระเจ้าย่าแล้ว
    จึงได้บอกว่า พ่อตีราคามา
    ถ้ายังไม่ชำระหนี้ก็ยังไม่เป็นไท ยังเป็นทาสของชูชกอยู่
    สมเด็จพระเจ้าปู่จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณ
    อนุญาตให้นำเงินนำทองมาไถ่หลาน
    แล้วก็เลี้ยงดูชูชกจนอิ่มหนำสำราญ
    เมื่อแกกินมากเข้าไป ธาตุย่อยไม่ไหว
    เพราะเป็นขอทานมานาน ไม่เคยกินของดี ๆ ในที่สุด
    ตาชูชกนี้แกก็ตายเพราะธาตุไม่ย่อย


    พระเจ้ากรุงสญชัยจึงได้บอกให้คนทั้งหลาย
    ประกาศหาญาติของตาชูชก ก็หาญาติไม่ได้
    เป็นอันว่าทรัพย์สมบัติทั้งหลายที่ยกให้ชูชกก็ตกเป็นของหลวงไป
    แล้วก็ถามสองกุมารว่า บิดามารดามีความสุขหรือประการใด
    เด็กทั้งสองก็บอกว่า บิดามารดามีความทุกข์มาก
    ลำบากด้วยความเป็นอยู่และการบริโภค


    ฉะนั้น พระเจ้ากรุงสญชัยบรมกษัตริย์ พระบาทท้าวเธอจึงสั่งจตุรงคเสนา
    ยกกองทัพไปรับพระเวสสันดรกลับเข้าเมือง เรื่องมันแค่นี้แหละ
    บรรดาท่านพุทธบริษัท ที่คนเขาโจมตีพระเวสสันดรอย่าเห็นกับเขาด้วยเลย
    จงพากันรับทราบกฎของกรรมว่า กรรมเพียงเล็กน้อย มันย่อมให้ผลใหญ่


    เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
    สำหรับบุพกรรมของกัณหา-ชาลี ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้
    ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน สวัสดี

    %CB%C5%C7%A7%BE%E8%CD%C4%D2%C9%D5%C5%D4%A7%B4%D3~0.jpg
    พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)


    คัดลอกจาก...หนังสือธรรมสัญจร เล่ม 4
     
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    มิลินทปัญหา
    [​IMG]
    [​IMG]
    เวสสันตรปัญหา
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรจึงมีพระราชโองการตรัสถามปัญหาอื่นสืบต่อไปว่า
    ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้จำเริญ สพฺเพ โพธิสตฺตา บรรดาพระโพธิสัตว์แต่ปางก่อน
    ย่อมบริจาคบุตรและภรรยาให้เป็นทานเหมือนกันทุกพระองค์มาหรือว่าบริจาคแต่พระเวส
    สันดรพระองค์เดียว
    พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ พระโพธิ-
    สัตว์ทั้งหลาย ย่อมบริจาคบุตรและภรรยาให้เป็นทาน เป็นพระเพณีสืบมา จะบริจาคแต่พระเวส
    สันดรพระองค์เดียวหามิได้ ขอถวายพระพร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร จึงมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต ข้าแต่พระ
    ผู้เป็นเจ้า ซึ่งพระเวสสันดรบรมโพธิสัตว์ บริจาคบุตรและภรรยาให้เป็นทานนั้น บุตรและภรรยา
    ยินดีด้วยทานของพระองค์หรือหามิได้
    พระนาคเสนจึงถวายวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพร อันว่าภรรยานั้นย่อมยินดี
    ด้วย แต่บุตรนั้นไม่อาจเลื่อมใสยินดี เพราะยังเป็นเด็จอยู่ไม่รู้เดียงสา จึงร้องไห้ปริเทวนารำพัน
    เพ้อไปต่างๆ ถ้าแม้ว่าบุตรนั้นเป็นผู้ใหญ่อาจรู้เหตุผลได้แล้ว ก็จะยินดีอนุโมทนาไม่ร้องไห้ร่ำไร
    ขอถวายพระพร

    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร จึงมีพระราชโองการตรัสถามต่อไปว่า ภนฺเต ข้าแต่
    พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งพระเวสสันดรโพธิสัตว์ทรงบริจาคพระโอรสรักอันเลิศจากอกให้เป็นทาน
    แก่พราหมณ์ อันจะพาไปเป็นทาสนั้น เป็นกรรมยากที่สามัญชนจะทำได้เป็นข้อที่ ๑ เมื่อ
    พราหมณ์เอาเครือเถาผูกข้อพระกรสองพระโอรสแล้วและโบยรันตีต้อนไปต่อหน้า พระองค์ก็
    งดอดกลั้นซึ่งความวิหิงสาไว้ได้ ดำรงพระทัยในอุเบกขาญาณ อันนี้ก็เป็นกรรมยากที่ผู้อื่นจะทำ
    ได้เป็นข้อนี้ ๒ อนึ่งเล่า เมื่อสองพระโอรสดิ้นหลุดจากเครื่องผูกในมือพราหมณ์ด้วยกำลังตน
    แล้วพากันวิ่งเข้ามาวิงวอนให้ช่วย พระองค์ก็ไม่ทรงช่วยเหลือประการหนึ่งประการใดเลย อันนี้ก็เป็น
    กรรมยากที่ผู้อื่นจะทำได้ข้อนี้ ๓ อนึ่งเล่า เมื่อสองพระโอรสร้องไห้รำพันว่า ข้าแต่สมเด็จ
    พระบิดา พราหมณ์ชรานี้เห็นจะเป็นยักษ์ปลอมแปลงมา ตาแกจักนำเอาลูกยาทั้งสองนี้ไปเคี้ยว
    กินเป็นอาหาร พระโพธิสัตว์ได้สวนาการก็ทรงนิ่งเฉยอยู่ มิได้ตรัสประการใด ที่สุดเพียงจะตรัส
    ปลอบว่า เจ้าทั้งสองอย่ากลัวเลยฉะนี้ก็หามิได้ อันนี้เป็นกรรมยากที่ผู้อื่นจะทำได้เป็นข้อ ๔
    อนึ่งเล่า เมื่อพระชาลีกุมารกลิ้งเกลือกเสือกสนซบอยู่แทบพระบาทยุคลทั้งคู่แล้ว ทูลวิงวอนว่า
    ข้าแต่สมเด็จพระบิดา ขอพระองค์จงให้พระนางน้องกัณหาอยู่เถิด ลูกจะไปกับด้วยยักษ์แต่ผู้เดียว
    ยอมให้ยักษ์เคี้ยวกินเป็นอาหาร พระองค์ก็มิทรงรับและไม่ตรัสจำนรรจาประการใด อันนี้ก็เป็น
    กรรมยากที่ผู้อื่นจะทำได้เป็นข้อที่ ๕ อนึ่งเล่า เมื่อพระชาลีไปทูลว่า ข้าสมเด็จพระบิดา เฒ่า
    ชราตาแกผูกมัดลูกแน่นหนาตึงนัก เสมือนหนึ่งว่าเอาหินมาถ่วงไว้สุดที่ลูกจะทนทานแล้ว เหตุ
    ไฉนทูลกระหม่อนแก้วไม่ห้ามพราหมณ์ ยอมให้พราหมณ์อันมีใจดุร้ายอำมหิตเป็นมหายักษ์พา
    ลูกรักไปในไพรวันอันเปล่าเปลี่ยว พระองค์ก็มิได้แลเหลียวทรงกรุณาพระโอรส อันนี้ก็เป็น
    กรรมยากที่ผู้อื่นจะทำได้เป็นข้อที่ ๖ อนึ่ง เมื่อพระชาลีร้องไห้ด้วยเสียงอันน่าสังเวชสยดสยอง
    ควรที่จะกรุณา พราหมณ์ฉุดลากกระชากพาไปต่อหน้าพระที่นั่ง พระองค์ (น่าจะเป็นพระโอรส)
    มีพระหฤทัยดุจหนึ่งว่าจะภินท์พังแตกแยกออกไปได้ร้อยภาคและพันเสี่ยง อันนี้ก็เป็นกรรม
    ยากที่ผู้อื่นกระทำได้เป็น ข้อที่ ๗ รวม ๗ ประการฉะนี้ นี่แหละพระผู้เป็นเจ้า พระเวสสันดร
    โพธิสัตว์เป็นมนุษย์มีพระหฤทัยปรารถนาจะทรงสร้างกุศลบำเพ็ญบารมี ด้วยหวังพระโพธิญาณ
    มาบริจาคพระโอรสและพระชายาให้เป็นทานอันเป็นเครื่องก่อความลำบากยากเข็ญให้ผู้อื่นเช่นนี้
    เป็นการสมควรละหรือ โยมนี้สงสัยนักหนา พระผู้เป็นเจ้าจงได้โปรดวิสัชนาแก้ไขให้โยมแจ้งก่อน
    พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ซึ่งมี
    พระราชโองการตรัสว่า พระเวสสันดรโพธิสัตว์เจ้าทรงกระทำกรรมซึ่งยากที่ผู้อื่นทำได้นั้นเที่ยง
    แท้จะแปรผันผิดเพี้ยนไปหามิได้ กิตติศัพท์ของพระองค์ย่อมฟุ้งขจรตลอดไปในเทวดาและ
    มนุษย์ทั่วหมื่นโลกธาตุ เทวดาอสูรสุบรรณนาคกับสมเด็จอัมรินทราธิราชแลยักษ์ทั้งหลาย ก็
    ซ้องสาธุการสรรเสริญ ต่างพากันขนพองสยองเกล้าทุกแหล่งหล้า กิตติศัพท์ของพระองค์
    ย่อมระลือเลื่องมาโดยลำดับ ตราบเท่าจนทุกวันนี้ ที่เราทั้งสองนำเอามานั่งซักไซ้ไต่ถามกัน
    อยู่เช่นนี้ จะว่าทานนั้นเป็นอันพระองค์ให้ด้วยดีหรือชั่วช้าประการใดเล่า มหาราช ขอถวาย
    พระพร อาตมาจักรถวายวิสัชนาให้เข้าพระทัย กิตติศัพท์เสียงที่เล่าลือกันกระฉ่อนนั้น แสดงให้
    เห็นปรากฏอานิสงสคุณ ๑๐ ประการ ของพระโพธิสัตว์ผู้นักปราชญ์อย่างเอก และพระพุทธคุณ
    พระธรรมคุณ อานิสงสคุณ ๑๐ ประการนั้นคือ อคฺเค ททตา ได้ให้ทานในเขตอันเลิศประการ ๑
    นิราลยตา ไม่มีความอาลัยในของที่รักประการ ๑ จาโค บริจาคได้ประการ ๑ ปหานํ สละได้
    ประการ ๑ อนิวตฺติ ไม่คิดหวนเสียดายสอดแคล้วกันแหนงประการ ๑ สุขุมตฺตํ ความเป็นทาน
    สุขุมประการ ๑ มหนฺตตฺตํ ความเป็นใหญ่ประการ ๑ ทุโพธตฺตํ ความเป็นทานอันบุคคลรู้ได้
    ยากประการ ๑ ทุลฺลภตฺตํ ความเป็นอันบุคคลได้โดยยากประการ ๑ อสทิสตฺตํ ความเป็น
    ทานไม่มีใครจะให้เสมอเทียมถึงได้ ประการ ๑ สิริเป็นอานิสงสคุณ ๑๐ ประการด้วยกัน
    มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ กิตติศัพท์นั้นแสดงอานิสงสคุณ ๑๐ ประการ ดังถวายวิสัช-
    นามาฉะนี้ ขอถวายพระพร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร จึงมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต ข้าแต่พระ
    ผู้เป็นเจ้า ทานที่บริจาคยังผู้อื่นให้ได้รับความทุกข์เป็นการเดือดร้อน จะให้ผลเป็นสุข ส่งให้เกิด
    ในสวรรค์ได้ละหรือ
    พระนาคเสนจึงถวายวิสัชนาว่า มหาราช ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ มหาบพิตรตรัสอะไร
    ซึ่งว่าทานของพระโพธิสัตว์นั้นจะไม่มีผล อย่าพึงกล่าเลย
    พระเจ้ากรุงมิลินท์ จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระผู้
    เป็นเจ้าจงชักเหตุมาแสดงอุปมาอุปไมยให้โยมแจ้งในกาลบัดนี้ก่อน
    พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาก่อน มหาราช ขอถวายพระพร ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ ผิดแล
    ว่าพึงมีสมณะและพราหมณ์ผู้มีศีลมีจิตเป็นกุศลเป็นง่อยเปลี้ยเสียขาหรือป่วยไข้ได้ทุกข์อาพาธ
    ครอบงำเป็นประการใดก็ดี จะเดินไปไหนก็ไม่ได้ ยังมีบุรุษผู้หนึ่งซึ่งเป็นผู้ปรารถนาบุญกุศล พึง
    ยกเอาสมณะและพราหมณ์ชีต้นนั้นขึ้นสู่ยาน นำไปส่งให้ถึงประเทศสถานอันเป็นสุขสบาย
    ตามที่สมณะและพราหมณ์นั้นมุ่งหมายปรารถนาจะไป บุรุษผู้นั้นจะได้กุศลผลบุญที่เป็นความสุข
    และจะได้บังเกิดในสุคติภพบ้างหรือว่าหามิได้ นะบพิตรพระราชสมภาร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า บุรุษผู้
    ส่งสมณะและพราหมณ์เห็นปานนั้นจะพึงได้ยวดยานคานหามอันเป็นทิพย์ และจะได้รถรัตน์
    หัตถีและม้าและยายพาหนะ ที่จะไปทางบกและทางน้ำทุกประการ ถเล ถลยานํ เมื่อไป
    ทางบกจะได้ยานทางบก ชเล ชลยานํ เมื่อไปทางน้ำจะได้ยานทางน้ำ เมื่อไปเกิดในเทวโลกก็ได้
    ยานในเทวโลก เมื่อมาบังเกิดในมนุษยโลก ก็จะได้ยานในมนุษยโลก จะได้ยานอันสมควรแก่กำ
    เนิดของตนทุกชาติทุกภพไป ไม่เลือกว่าเกิดในที่ได้จะมีแต่ความสุขสำราญเสมอไป และเมื่อจะ
    บังเกิดนั้นก็จะเกิดแต่ในสุคติภพเท่านั้น ที่จะต้องไปสู่ทุคติหามิได้ และกุศลนั้นจะอุปถัมภ์เป็นดัง
    ยานพาแล่นเลี้ยวไปสู่เมืองแก้ว อันกล่าวแล้วคือพระอมตมหานฤพาน อันเป็นที่เกษมศานต์
    แสนสบายสุดที่จะพรรณนา
    พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ ถ้าบุรุษที่ยกเอา
    สมณพราหมณ์ที่อาพาธหนักขึ้นสู่ยาน แล้วนำไปให้ถึงสถานอันสบายได้ผลเป็นสุข กุศลนั้นนำ
    ไปบังเกิดในสวรรค์ได้แล้ว ทานที่ให้ด้วยก่อทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ก็มีผลเป็นสุขให้เกิดในสวรรค์
    ได้เหมือนกัน พระเวสสันดรโพธิสัตว์นั้น ถึงจะให้สองพระโอรสได้รับทุกข์ ด้วยพราหมณ์ทำเข็ญ
    ผูกรัดด้วยเถาวัลย์ ก็จะได้เสวยวิบากผลเป็นสุข เหมือนบุรุษที่ส่งสมณพราหมณ์ผู้อาพาธนั้น
    อปรํปิ มหาราช ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ บพิตรจงทรงพระสวนาการเหตุอย่างอื่น
    ยิ่งขึ้นไปอีก ผิแลว่า พึงมีสมเด็จบรมกษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ให้เรียกส่วยเก็บพลีซึ่ง
    พระองค์ควรจะได้โดยชอบธรรม จากไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเหล่าราษฎร ถ้าผู้ใดมิให้ เอาตัวไป
    เร่งรัดจำจองไว้ใช้งาน เป็นการทำให้ราษฎรต้องรำคาญเดือดร้อน อาณาปวตฺเตน ทานํ ทเทยฺย
    ้ถ้าแลพระบรมกษัตริย์นั้น พึงทรงบริจาคทานด้วยทรัพย์ที่รีดเร่งเก็บมาจากราษฎรนั้น จะได้ผล
    เป็นสุขบังเกิดในสวรรค์ หรือเป็นประการใด บพิตรพระราชสมภาร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นภูมิบาล จึงมีพระราชโองการตรัสว่า อาม ภนฺเต ข้าแต่พระผู้
    เป็นเจ้า สมเด็จพระบรมกษัตริย์พระองค์นั้นจะได้ผลยิ่งล้นเหลือคณนา จะได้เป็นพระยาล่วงเสีย
    ซึ่งพระยาทั้งปวง เป็นเทวดาล่วงเสียซึ่งเทวดาทั้งปวง เป็นพรหมและสมณพราหมณ์ล่วงเสียซึ่ง
    เหล่าพรหมและสมณพราหมณาจารย์ทั้งหลาย ถ้าได้บรรลุพระอรหัตเป็นพระอรหันต์มีคุณธรรม
    พิเศษยิ่งกว่าพระอรหันต์ทั้งหลาย
    พระนาคเสนจึงมีเถราภิปรายตอบว่า มหาราช ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ ผิแลว่า พระ
    มหากษัตริย์เก็บส่วยเร่งรัดรีดจากราษฎรด้วยพระราชอาญา ได้ทรัพย์มาบริจาคก็ได้ผล คือยศ
    และสุขอันเลิศเห็นปานนั้น ไฉนทานของพระสัตว์ที่บริจาคด้วยให้สองพระโอรสต้องลำบาก
    จักไม่มีผลเล่า ทานนั้นจะให้สุขเป็นผลและพาไปเกิดในสวรรค์ได้โดยแท้แล บพิตรพระราชสมภาร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นภูมิบาลจึงตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา
    ซึ่งพระเวสสันดรโพธิสัตว์บริจาคพระชายาของพระองค์ เพื่อให้เป็นภรรยาของผู้อื่น และบริจาค
    พระโอรสทั้งสองให้เป็นทาสแห่งผู้อื่นนั้น ชื่อว่าเป็นทานที่พระองค์บริจาคยิ่งเกิน บัณฑิตทั้ง
    หลายในโลกย่อมพากันติเตียนนินทา จะได้สรรเสริญหามิได้ มีอุปมาเหมือนหนึ่งเกวียน
    ถ้าบรรทุกมากนักเพลาก็หัก เรือถ้าบรรทุกหนักนักก็จม บริโภคอาหารเกิดขนาด อาหารนั้นย่อย
    ไม่ทันข้าวก็กลายเป็นพิษให้โทษแก่ผู้บริโภค ฝนตกชุกมากเกินไป น้ำมากล้นจะท่วมข้าวตาย
    คนที่ให้ทานมิได้เหลียวหลังคิดดูทุนทรัพย์ ก็ต้องตกอับถึงความสิ้นสมบัติ ไม่มีโภคทรัพย์จะใช้
    สอย ร้อนจัดหนักแผ่นดินก็จะพึงลุกเป็นไฟขึ้น คนที่ราคะจักจนเกินไปจะต้องกลายเป็นบ้ากาม
    ลุอำนาจแก่โทสะไม่อดกลั้น ย่อมจะพาให้ต้องรับโทษ บุคคลที่โมหะกล้ายิ่งไม่มีสติ ก็หลงเพ้อไป
    ในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ จะต้องถึงความฉิบหาย เป็นคนโลภมากอยากได้ทรัพย์ของเขาจนทนอยู่
    ไม่ได้จะต้องกลายเป็นโจร พูดมานักมักจะพลาด น้ำมากนักซัดตลิ่งพัง ลมจัดยักย่อมพัด
    อสุนิบาตให้ตก ไฟมากนักย่อมเผาน้ำให้กลายเป็นไอขึ้นไปในอากาศ คนที่เรียนมากนักย่อม
    จะชักให้เป็นบ้า คนกล้านักอายุจักไม่ยืน ยถา ความเปรียบทั้งหลายเหล่านี้ มีครุวนาฉันใด
    ทานที่พระเวสสันดรโพธิสัตว์บริจาค บัณฑิตย่อมติเตียนนินทาว่า เป็นทานที่ให้เกินให้ยิ่ง
    ฉันนั้น จะพึงหวังผลอะไรในทานนั้นเล่า พระผู้เป็นเจ้า
    พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาก่อน มหาราช ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ ซึ่งว่าทานให้เกินให้ยิ่งนั้น
    บัณฑิตในโลกจะติเตียนนินทาหามิได้ ย่อมจะพากันเชยชมสรรเสริญทั่วไป แล้วต่างพากันบริจาค
    ให้ ผู้ที่ให้ทานเช่นนี้ ย่อมถึงกิตติศัพท์เลื่องลือไปในโลก เปรียบเหมือนคนปล้ำ จะปล้ำสู้เข้าได้
    ผลักไสให้อีกฝ่ายหนึ่งล้ม ก็เพราะมีกำลังยิ่งกว่า แผ่นดินจะรับรองทรงไว้ได้ซึ่งบุคคลชายหญิง
    และเนื้อนกภูเขาต้นไม้และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ก็เพราะเป็นของใหญ่ยิ่ง อากาศไม่มีที่สุดก็เพราะ
    กว้างเกิน พระอาทิตย์กำจัดหมอกทั้งหลายเสียได้ ก็เพราะมีแสงสว่างไสวยิ่งนัก พระยาราชสีห์
    หมดภัยไม่คิดกลัวต่อสัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็เพราะเป็นสัตว์มีชาติล่วงเสียซึ่งสัตว์ทั้งปวง
    แก้วมณีเป็นของให้สำเร็จความปรารถนาได้ทุกประการ ก็เพราะเป็นของมีคุณยิ่งล้น พระ
    บรมกษัตริย์ได้เป็นใหญ่เป็นประธาร ก็เพราะมีบุญยิ่งกว่าชนทั้งปวง อัคคีไหม้สรรพวัตถุให้เป็น
    จุณวิจุณไปได้ ก็เพราะมีเดชยิ่งนัก แก้ววิเชียรเจียระไนแก้วมณีแก้วมุกดาและแก้วผลึกได้ ก็
    เพราะเป็นของกล้าแข็งยิ่ง หมู่ชายหญิงยักษ์อสูรจะยอมยอบหมอบกายก้มลงกราบเท้าของภิกษุ
    ก็เพราะเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งศีลอันยิ่งใหญ่ พระพุทธเจ้าหาผู้ใดจะเปรียบปานมิได้ ก็เพราะเป็นผู้
    ประเสริฐยิ่ง ยถา ความดังกล่าวมานี้ มีครุวนาฉันใด เอวเมวโข มหาราช ขอถวายพระพร
    ทานที่ให้เกินให้ยิ่งนั้น บัณฑิตผู้เป็นปราชญ์ทั้งหลาย ก็สรรเสริญชมเชยแล้วต่างพากันบริจาคให้
    มีกิตติศัพท์เลื่องลือกระฉ่อนทั่วโลก มีอุปไมยฉันนั้น พระเวสสันดรโพธิสัตว์ให้ทานอันยิ่งเกิน
    นั้นแล้ว ได้รับความเลื่องลือกระฉ่อนไปทั่วไป อันเทวดาและมนุษย์นาคครุฑทั้งหลายสรรเสริญ
    แล้วในหมื่นโลกธาตุ ในปัจฉิมชาติที่สุดได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นองค์พระพุทธ-
    เจ้าอันเลิศในโลกนี้ ก็เพราะบริจาคทานยิ่งกว่านั้น มหาราช ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ อาตมา
    จะขอถาม การให้ทานในโลกนี้โดยอนุมานมีกำหนดอยู่หรือหามิได้ ขอถวายพระพร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
    พระนาคเสนผู้ปรีชา ทานที่ไม่นับว่าเป็นทานกระทำผู้บริจาคให้ไปสู่อบายมีอยู่ ๑๐ ประการ คือ
    อิตฺถีทานํ ให้หญิงเป็นภรรยาชายด้วยหมายเมถุนธรรมประการ ๑ อุสภทานํ ให้แม้โคแก่
    พ่อโคประการ ๑ มชฺชทานํ ให้น้ำเมา คือ สุราและเมรัยประการ ๑ จิตฺตกรณทานํ ให้รูปภาพ
    รูปเขียนประการ ๑ สตฺถทานํ ให้ศาสตราวุธประการ ๑ วิสทานํ ให้ยาพิษประการ ๑ สงฺขลิก-
    ทานํ ให้โซ่ให้ตรวนที่จะพึงใส่จองจำประการ ๑ กุกฺกุฏทานํ ให้แม่ไก่แก่พ่อไก่ ประการ ๑ สุกร-
    ทานํ ให้แม่สุกรแก่พ่อสุกรประมาณ ๑ มานกุฏตุลากุฏนาฬิกุฏทานํ ให้คะแนนเครื่องนับและตรา
    ชูเครื่องชั่งทะนานเครื่องตวงอันจักใช้โกงกันได้ประการ ๑ สิริเป็น ๑๐ ประการด้วยกันฉะนี้
    ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ทาน ๑๐ ประการนี้ บัณฑิตไม่นับว่าเป็นทาน ผู้ใดให้ทาน ๑๐
    ประการนั้น ผู้นั้นจะพึงต้องไปสู่อบาย นะพระผู้เป็นเจ้า
    พระนาคเสนจึงมีเถราภิปรายว่า มหาราช ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ อาตมาจะได้ถาม
    ทานที่มินับว่าทานกับบพิตรนั้นหามิได้ อาตมถามว่า การให้ทานว่าโดยอนุมาน ท่านกำหนด
    เขตไว้เป็นประการใดหรือหามิได้เท่านั้น ขอถวายพระพร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
    พระนาคเสนผู้จำเริญ การให้ทานว่าโดยอนุมานจะมีกำหนดเขตไว้อย่างไรก็หามิได้ สุดแต่ว่าที่มี
    จิตเลื่อมใส บางคนก็ให้ข้าวน้ำ บางคนก็ให้ผ้านุ่งผ้าห่ม บางคนก็ให้ที่นอนและเสื่อสาดอาสนะ
    บางคนก็ให้ทาสหญิงชาย เรือกสวนไร่นา สัตว์สองเท้า สัตว์สี่เท้า บางคนก็ให้ทรัพย์ ร้อยหนึ่ง
    พันหนึ่ง หรือเป็นอันมาก ที่ให้ราชสมบัติให้ชีวิตก็มี มีต่างกันเช่นนี้แหละ พระผู้เป็นเจ้า
    พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ ผิแลว่าจะให้ชีวิตของผู้อื่น
    ก็ได้ ทำไมบพิตรจึงติเตียนพระเวสสันดรโพธิสัตว์ว่า ให้พระโอรสและพระชายาเป็นนักหนา ที
    เดียวเล่า มหาราช ขอถวายพระพร โดยความคิดของชาวโลกตามปรกติ เมื่อบิดาเป็นหนี้เขา
    ก็ดี ยากจนไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีวิตก็ดี บิดาจะให้บุตรรับใช้หนี้แทนหรือขายบุตรเลี้ยงชีวิต

    จะได้หรือหามิได้ นะบพิตรพระราชสมภาร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นภูมิบาล มีพระราชโองการตรัสตอบว่า อาม ภนฺเต บิดาจะให้
    บุตรรับใช้หนี้แทนหรือขายเลี้ยงชีวิตได้อยู่ ไม่มีใครที่จะติเตียน
    พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ พระเวสสันดาโพธิ-
    สัตว์ปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณ แต่ยังไม่ได้ เวลานั้นพระองค์ก็ขัดสนจนทรัพย์ จะเอาพระ
    โอรสและพระชายาให้ทานซื้อเอาพระสัพพัญญุตญาณ ทำไมบพิตรจึงไม่เลื่อมใส ติเตียนเป็น
    นักหนาเล่า ขอถวายพระพร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
    พระนาคเสนผู้ปรีชา โยมนี้จะได้ติเตียนทานของพระเวสสันดรหามิได้ โยมติเตียนพระเวสสันดร
    ว่าให้โอรสและพระชายาต่างหาก ที่ถูกเมื่อยาจกมาขอโอรสและชายา พระเวสสันดรปรารถนา
    สัพพัญญุตญาณ ควรจะให้ตัวเองแลจะดีกว่าให้พระโอรสและพระชายา
    พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ เขาขอพระโอรสและ
    พระชายาไพล่ไปให้ตัวเองนั้น จะเป็นกรรมอันนักปราชญ์ผู้เป็นสัตบุรุษจะพึงทำนั้นหามิได้ เขา
    ขอสิ่งใดให้สิ่งนั้นจึงเป็นกรรมของสัตบุรุษ มหาราช ขอถวายพระพร ถ้ามีคนขอน้ำจะให้ข้าว
    จะนับว่าได้ทำกิจธุระให้เขาได้ละหรือ
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์จึงตรัสตอบว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ เขาขอน้ำให้ข้าว
    หาถูกไม่ ที่ถูกเขาขอน้ำก็ต้องให้น้ำ กระทำดังนี้จึงจะนับว่าได้ทำกิจธุระให้เข้าได้
    พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า ความที่ว่านี้มีครุวนาฉันใด เอวเมว โข การที่พระ
    เวสสันดรโพธิสัตว์ให้พระโอรสและพระชายาเป็นทานก็มีอุปไมยฉันนั้น พราหมณ์มาขอพระโอรส
    และพระชายา มิได้ขอพระองค์เอง พระองค์จะให้ตัวพระองค์เองอย่างไรได้ จึงต้องให้พระโอรส
    และพระชายาแก่พราหมณ์ตามที่ทูลขอ มหาราช ขอถวายพระพร ผิแลว่าพราหมณ์นั้นพึงขอ
    ตัวพระองค์เองแล้ว พระองค์จะเสียดายหรือห่วงใยประการใดก็หาไม่ จะบริจาคให้ทีเดียว ไม่
    ต้องรอให้ขอเป็น ๒ คำ แม้ถ้าพยัคฆ์หรือสุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก จะเข้าไปขอพระองค์เอาไปกิน
    เป็นอาหาร พระองค์จะเนิ่นนานชักช้าอยู่ก็หามิได้ จะบริจาคให้ในทันที พระกายของพระเวสสัน-
    ดรโพธิสัตว์นี้ เป็นสาธารณ์ทั่วไปแก่สัตว์เป็นอันมาก มีครุวนาเหมือนชิ้นเนื้อชิ้นเดียวที่ทั่วไปแก่
    สัตว์เป็นอันมากฉะนั้น ประการหนึ่งเหมือนต้นไม่ที่เผล็ดดอกออกผล ย่อมสาธารณ์ทั่วไปแก่หมู่
    นกต่างๆ และมนุษย์เป็นอันมาก ไม่เลือกว่าผู้ใด เมื่อต้องประสงค์ก็เก็บเอาได้ทั้งนั้น ด้วย
    พระองค์มามั่นหมายในพระทัยว่าซึ่งพระองค์ปฏิบัติดังนั้น จักได้บรรลุแก่พระสรรเพชญโพธิญาณ
    อนึ่ง พระเวสสันดรโพธิสัตว์นั้นเป็นผู้แสวงหาโพธิญาณ จึงบริจาคทรัพย์และข้าว
    เปลือกยานพาหนะ ทาสหญิงทาสชายและสมบัติทั้งหลายสิ้นทั้งมวล ตลอดจนพระโอรสพระชายา
    หนังเนื้อโลหิตหัวใจและชีวิตของพระองค์เป็นที่สุด ให้ทานได้ทั้งภายในทั้งภายนอกเพื่อได้ความ
    ยินดีเลื่อมใสในพระพุทธคุณและธรรมคุณแลกเอาพระโพธิญาณ ปานดังบุรุษที่ขัดสนจนทรัพย์
    เมื่อต้องการทรัพย์ก็เที่ยวแสวงไปในดงในป่า ค้าขายทั้งทางน้ำและทางบก รวบรวมทรัพย์สมบัติ
    มาด้วยกายบ้างด้วยวาจาบ้าง ใช้ความคิดอ่านหามาด้วยใจบ้าง พยายามจะให้ได้ทรัพย์มาสม
    แก่ความปรารถนา ยถา มีครุวนาฉันใด พระเวสสันดรโพธิสัตว์เจ้าก็แสวงหาโพธิญาณโดย
    อาการต่างๆ มีอุปไมยฉันนั้น แม้พระโพธิสัตว์ทั้งหลายแต่ปางก่อน หรือจะมีมาภายหลัง พระ
    องค์ก็ทรงพยายามแสวงหาโพธิญาณเช่นนี้ทุกๆ พระองค์ จะได้ผิดเพี้ยนกันหามิได้
    มหาราช ขอถวายพระพร ประการหนึ่ง มหาอำมาตย์ของสมเด็จพระบรมกษัตริย์
    เป็นผู้ใคร่ต่อความเจริญ อยากจะกระทำตนให้เป็นใหญ่ เป็นที่จงรักภักดีและนับถือของมหาชน
    ทั้งหลาย เมื่อได้ราชสมบัติในภายหลัง จึงแจกจ่ายทรัพย์และข้าวเปลือกเงินทองแก้วแหวนทั้งปวง
    ของตนบรรดามีให้แก่มหาชนไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั้งหลาย ยถา มีครุวนาฉันใด พระเวสสันดร
    โพธิสัตว์ก็บริจาคทรัพย์ทั้งภายในและภายนอกให้เป็นทาน เพื่อได้บรรลุแก่พระอนุตรสัม-
    โพธิญาณ มีอุปไมยฉันนั้น มหาราช ขอถวายพระพร ประการหนึ่ง พระเวสสันดรโพธิสัตว์
    มาทรงดำริอย่างนี้ว่า พราหมณ์ขอสิ่งใดควรเราจะให้สิ่งนั้น จึงจะได้ชื่อว่า ทำกิจธุระให้
    สมความประสงค์ของพราหมณ์ พระองค์จึงบริจาคพระโอรสและพรชายาให้เป็นทาน พระองค์
    จะมีพระหฤทัยคิดจะให้พระโอรสและพระชายาได้รับความลำบากแล้วบริจาคไปก็หาไม่ หรือจะ
    เป็นผู้มักมากบริจาคไปก็หาไม่ หรือบริจาคให้ไปด้วยทรงดำริว่าเราได้อาจเลี้ยงดูก็หาไม่ หรือ
    พระองค์เกลียดชังไม่รักใคร่ ประสงค์จะไล่ส่งไปเสียให้พ้นหูพ้นตาก็หาไม่พระโอรสและพระชายานั้น
    เป็นที่รักใคร่พอพระทัยของพระองค์เสมอด้วยชีวิต พระองค์บริจาคให้ด้วยรักใคร่ปรารภนาพระ
    สัพพัญญุญาณ อันเป็นรัตนะอย่างประเสริฐโดยแท้ทีเดียว ขอถวายพระพร แม้เมื่อพระองค์ได้
    ตรัสรู้แก่อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นบรมศาสดาเป็นเทวดาล่วงเสียซึ่งเทวดาทั้งปวงแล้ว ก็ได้
    มีพระพุทธฎีกาตรัสไว้ในจริยาปิฎกว่า
    น เม เทสฺสา อุโภ ปุตฺตา มทฺที เทวี น อปฺปิยา
    สพฺพญฺญุตํ ปิยํ มยฺหํ ตวฺมา ปิเย อทาสีหํ ดังนี้
    ใจความในพุทธฎีกานั้นว่าพระโอรสทั้งสอง เราจะได้เกลียดชังก็หาไม่ พระนางมัทที
    เทวีเล่า ใช่ว่าเราจะไม่รักเมื่อไร แต่เรารักพระสัพพัญญุตญาณเป็นที่ยิ่ง เพราะฉะนั้น เราจึง
    บริจาคของที่รักให้เป็นทาน พระพุทธบริหารนั้นมีความดังนี้
    มหาราช ขอถวายพระพร ก็แหละพระเวสสันดรโพธิสัตว์ ครั้นให้ทานแล้วมีจิตผ่องแผ้ว
    ในทาน แต่ด้วยความสงสารสองพระโอรส จึงเข้าไปสู่บรรณศาลา ตรอมพระหฤทัยทรงพระ
    กรรแสงให้เศร้าโศกเป็นกำลัง จนพระหฤทัยร้อนรนพระนาสิกไม่พอจะหายใจ ต้องปล่อยให้ลม
    อัสสาสะปัสสาสะออกทางช่องพระโอษฐ์ พระอัสสุธาราก็กระเซ็นเป็นโลหิต นี่แหละบพิตรพระ
    ราชสมภาร พระเวสสันดรบรมกษัตริย์หวังจะให้พระทานบารมีเสื่อม จึงสู้ทนยาก บริจาคพระ
    โอรสพระชายาให้เป็นทาน
    มหาราช ขอถวายพระพร ประการหนึ่ง พระเวสสันดรบรมกษัตริย์มาพิจารณาเห็น
    อานิสงส์ ๒ ประการ จึงบริจาคโอรสทั้งสองให้เป็นทานแก่พราหมณ์ อานิสงส์ ๒ ประการนั้น
    คือ พระองค์พิจารณาเห็นว่า ทานตโป อปริหีโน พระทานบารมีของพระองค์จักไม่เสื่อมไป
    อยฺยโก โปเสสฺสติ พระโอรสทั้งสองของพระองค์อยู่ในป่าต้องเสวยมูลผลาเป็นภักษาหาร
    ได้รับความทุกข์ยากลำบากเหลือ เมื่อให้พราหมณ์แล้ว พราหมณ์จักพาไปกรุงพิชัยเชตุตร
    สมเด็จพระอัยกาจักถ่ายไว้เลี้ยงให้เป็นสุขสำราญ ดังนี้ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง พระองค์
    พิจารณาเห็นว่า บุคคลเหล่าอื่นที่จะไม่ใครอาจสามารถเอาพระโอรสของพระองค์ไปใช้เป็น
    ทาสนั้นหามิได้ เมื่อพราหมณ์พาสองพระโอรสไป พระอัยกาจะถ่ายเอาไว้ อันนั้นแลจักเป็นเหตุ
    ให้มารับพระองค์กลับหลังยังพระนคร ด้วยพระเวสสันดรโพธิสัตว์ทรงพิจารณาเห็นเหตุ ๒
    ประการฉะนี้ จึงบริจาคพระโอรสให้เป็นทานแก่พราหมณ์
    มหาราช ขอถวายพระพร อีกประการหนึ่ง พระเวสสันดรโพธิสัตว์มาทรงพิจารณา
    ทรงทราบชัดในพระกมลหฤทัยว่า พราหมณ์ทชีชูชกนี้เป็นคนแก่เฒ่าชราทุพพลภาพมีอายุล่วง
    เข้าปัจฉิมวัยใกล้จะถึงความตายอยู่แล้ว และตาแกเป็นคนมีบุญวาสนาน้อยสัญชาติถ่อยต่ำ
    ช้า ไม่อาจใช้สอยพระโอรสของพระองค์เป็นทาสได้ ขอถวายพระพร พระจันทร์และพระอาทิตย์
    มีฤทธาศักดานุภาพเป็นอันมาก จะมีใครอาจสามารถหยิบเอาไปใส่ในหีบหรือในกล่องใช้ตาม
    ต่างประทีปโคมไฟได้ละหรือ มหาบพิตร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์จึงตรัสตอบว่า น หิ ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ใครจะเอา
    พระจันทร์พระอาทิตย์ไปใส่หีบใส่กล่องใช้ตามต่างไฟได้ ไม่มีใครอาจสามารถกระทำได้เลย
    พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ ความที่ว่านี้ ยถา
    มีครุวนาฉันใด เอวเมว โข ทชีชูชกพราหมณ์พฤฒาจารย์เป็นคนแก่เฒ่าชราวาสนาน้อยก็ไม่อาจ
    ใช้สอยพระโอรสของพระองค์เป็นทาสได้ มีอุปไมยฉันนั้น
    อปรํปิ มหาราช ขอถวายพระพร บพิตรจงทรงพระสวนาการอุปมาข้ออื่นอีก พระ

    โอรสทั้งสองของพระเสสันดรนั้น ใครๆ จะใช้เป็นทาสได้ มีอุปมาเหมือนหนึ่งแก้วมณีรัตนะ
    อันวิเศษ อันเป็นของสำหรับบุญญานุภาพของสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิราช มีรัศมีงามโอภาส
    ผ่องใสยาวได้ ๔ ศอก โตประมาณเท่าดุมเกวียน ใครหรือจะอาจเอาผ้าห่อไว้ไม่ให้รัศมีสว่างไสว
    ได้ ถึงจะห่อไว้ก็เปล่งรัศมีออกไปได้ดึงร้อยโยชน์โดยปรกติ บุคคลที่มีบุญน้อยไม่อาจเอาไปใช้
    สอยได้ ยถา มีครุวนาฉันใด เอวเมว โข พระโอรสทั้งสองของพระเวสสันดร ใครๆ ก็ไม่อาจ
    เอาไปเป็นทาสช่วงใช้ได้ มีอุปไมยฉันนั้น
    อปรํปิ มหาราช ขอถวายพระพร บพิตรจงทรงพระสวนาการอุปมาใหม่อีกเล่า
    อุโปสโก นาคราชา ช้างกุญชราชาติอุโบสถเผือกผู้ผ่องหมดทั่วสรรพางค์ เป็นเจ้าฝูงแห่งช้างทั้ง
    หลาย มีกายสูงได้ ๘ ศอ ประดับด้วยสรรพาภรณ์สมสกุลหัตถี น่าดูน่าเลื่อมใสยิ่งนัก ใคร
    หรือจักอาจขึ้นขับขี่ช้างนั้นได้ ประการหนึ่ง ใครๆ จะปิดบังช้างนั้นได้ด้วยกระด้งดังลูกโค
    น้อยๆ ที่ยังดื่มนมเล่า ยถา ความที่ว่านี้ครุวนาฉันใด เอวเมว โข ใครๆ ก็ไม่อาจช่วงใช้
    สองพระโอรสเป็นทาสได้ มีอุปไมยฉันนั้น
    อปรํปิ มหาราช ขอถวายพระพร บพิตรจงทรงพระสวนาการอุปมาใหม่อีก สมุทฺโท
    อันว่ามหาสมุทรทั้งยาวทั้งลึกประมาณไม่ได้ จะหยั่งก็ไม่ถึงและกว้างขวางมองไม่เห็นฝั่ง มีน้ำ
    เค็มอยู่เป็นนิตย์ ไม่มีใครอาจปิดให้มิดหมดแล้วเว้นบริโภคใช้สอยแต่ท่าเทียว ยถา มีครุวนา
    ฉันใด เอวเมว โข พระโอรสทั้งสองของพระเวสสันดรก็ไม่มีใครอาจเอาไปช่วงใช้เป็นทาส
    ได้มีอุปไมยฉันนั้น
    อปรํปิ มหาราช ขอถวายพระพร บพิตรจงทรงพระสวนาการเหตุอื่นอีก นนฺโทปนนฺ-
    ทนาโค อันว่าพระยานันโทปนันทนาคราช สตฺตกฺขตฺตุ ํ ปริเวเฐตฺวา นอนพันภูเขาสิเนรุราช
    ได้ถึง ๗ รอบ ผู้ใดมิอาจรวบรัดจัดพระยานาคนั้นใส่ลงในหีบหรือในกล่องเล่นได้ ยถา มีครุวนา
    ฉันใด เอวเมว โข พระโอรสทั้งสองของพระเวสสันดรเจ้าก็ไม่มีใครอาจเอาไปใช่เป็นทาสได้ฉันนั้น
    อปรํปิ มหาราช ขอถวายพระพร บพิตรจงทรงพระสวนาการเหตุใหม่ให้ยิ่งไปกว่านี้
    ธรรมดาว่าหิมวันตราชคิรีเขาเอก อจฺจุคฺคโต นเภ สูงเทียมเมฆจะคณนาได้ ๕๐๐ โยชน์ โดย
    ส่วนยาวและส่วนกว้างนั้นคณนาได้ ๓,๐๐๐ โยชน์ จตุราสีติกูฏสหสฺเสหิ ปฏิมณฺฑิโต
    ประดับด้วยยอดนั้นมากมายหนักหนาจะคณหาได้ ๘๔,๐๐๐ ยอด ปญฺจมหานทีปภโว
    เป็นที่หล่อหลั่งน้ำให้ไหลไปยังมหานทีแม่น้ำใหญ่ทั้ง ๕ มหาภูตคณาลโย มีหมู่สัตว์น้อยใหญ่
    อาศัยอยู่เป็นอันมาก ทิพฺโพสถลคสมลงฺกโต ประดับด้วยเครือเถาวัลย์อันเป็นยาทิพย์ นภพลา-
    หโก วิย แลดูลิบสูงสุดเวหา อุปมาดุจเมฆอันลอยฟ้า ยถา มีครุวนาฉันใด เอวเมว โข อันว่า

    สองราชดนัยพระโอรสแห่งพระเวสสันดรนั้นก็มีบุญเป็นมหันตโอฬาร น สกฺกา เกหิจิ บุคคลผู้ใด
    จะอาจหาญช่วงให้เป็นทาสนั้นหามิได้ เหตุว่าเป็นสกุลสูงใหญ่ระบือลือทั่วไปต่างอาณาเขตประเทศ
    ไกลๆ ปรากฏดังเขาหิมพานต์อันโตใหญ่ฉันนั้น
    อปรํปิ มหาราช ขอถวายพระพร บพิตรจงทรงพระสวนาการสดับเหตุอันอื่นให้ยิ่งขึ้นไป
    อุปริ ปพฺพตคฺเค อคฺคิ อันว่าไฟที่ตามไว้บนยอดภูเขาในเวลาราตรีอันมืดมัว ไฟนั้นย่อมจะส่องแสง
    ไปได้ ถึงอยู่ในที่ไกลก็แลเห็น ยถา มีครุวนาฉันใด เอวเมว โข อันว่าสองพระโอรสนั้น ก็มีเกียรติ
    ยศปรากฏไป อุปไมยเหมือนไฟที่ตามไว้บนยอดภูเขาฉันนั้น
    อปรํปิ มหาราช ขอถวายพระพร บพิตรจงทรงพระสวนาการเหตุให้ยิ่งขึ้นไปอีก
    นาคปุปฺผสมเย ในฤดูที่ต้นกากะทิงบนยอดภูเขาหิมพานต์ออกดอก ดอกกากะทิงย่อม
    บานสิ่งกลิ่นขจรหอมระรื่นฟุ้งไปตามลมไกลได้ ๑๒ โยชน์ ยถา มีครุวนาฉันใด เอวเมว โข อันว่า
    กิตติศัพท์แห่งสองหน่อไทยพระโอรส ก็ลือสะท้านปรากฏไปในแดนมนุษย์ได้ ๖๐๐ โยชน์ ใน
    เบื้องบนนั้นโสดก็ตลอดอสัญญีภพพรหมโลก เอตฺถนฺตเร ใต้นั้นลงมาก็อสูรคนธรรพ์ยักษา
    ผีเสื้อน้ำนาคกินนรและอินทรพิภพจบในกามาปรเมสณ์ประเทศไกลได้ ๑๒ โยชน์นั้น เมื่อมหันตา-
    นุภาพแผ่ไปดังนี้ ใครที่ไหนจะกระทำซึ่งสองพระโอรสให้เป็นทาสช่วงใช้ได้
    มหาราช ขอถวายพระพร ประการหนึ่ง เมื่อสมเด็จไทยธิเบศร์เวสสันดรจะประสาท
    สองบังอรให้แก่พราหมณ์ จึงตีค่าพระบรมเชษฐาชาลีเป็นทองพันตำลึง (บาลีว่า ๙,๐๐๐) ตี
    ค่าพระน้องกัณหาเป็นทองร้อยตำลึง (บาลีว่า ๙๐๐) กับทรัพย์หลายประการ มีคชสารรถ
    ยานม้ามิ่งทาสกรรมกรหญิงชาย วัวควายเรือกสวนไร่นาเป็นอาทิ นับให้ได้สิ่งละร้อยๆ พระองค์
    มาตีค่าตัวพระชาลีและกัณหาน้องทั้งนี้ หวังว่าจะให้พระอัยกาตามไถ่ จึงตรัสสั่งสอนไทยทารกเล่า
    ว่าเจ้าจงกระทำตามถ้อยคำพระบิดา ถ้าพระอัยกาจักไม่ไถ่เจ้า แย่งเอาจากพราหมณ์ด้วยข่มเหง
    อยฺยกสฺส วจนํ น กยิราถ เจ้าทั้ง ๒ อย่ากระทำตามคำของพระอัยกา อนุยายิโน จงก้มหน้าไป
    เป็นข้าพราหมณ์ตามอัธยาศัย พระลูกเอ่ยจงฟังคำพระบิดาไว้ให้จงได้ เอวเมว อนุสาสิตฺวา
    สมเด็จพระบรมราชธิเบศร์เวสสันดรสั่งสอนพระโอรสดังนี้ จึงบริจาคให้ทวีชูชกใจฉกรรจ์ ตโต
    ลำดับนั้นมา เมื่อพราหมณ์พาสองพระโอรสไป เทพเจ้าดลใจให้หลงไปสู่สำนักพระอัยกา พระชาลี
    จึงทูลพระอัยกาให้ถ่ายค่าตัวตามพระราชบิดาสั่ง นี่แหละจะว่าพระเวสสันดร ให้ทานยังผู้อื่นให้
    ลำบากละหรือ เมื่อพระองค์เห็นว่าพระโอรสอยู่ป่านั้นลำบากจึงบริจาคมา หวังจะให้พระอัยกา
    ไถ่เลี้ยงไว้ให้ได้รับความสุข เช่นนี้จะว่าพระองค์ให้ทานทำพระโอรสให้ต้องทุกข์ยากหรือให้ได้สุข
    เป็นประการใด บพิตรจงสันนิษฐานเข้าพระทัยให้จงดีด้วยประการฉะนี้ ขอถวายพระพร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ได้สวนาการฟังพระนาคเสนวิสัชนาฉะนี้ จึงมีพระ
    ราชโองการสรรเสริญว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่าปริศนานี้พระผู้เป็น
    เจ้าวิสัชนาแจ่มแจ้งเป็นอันดี ทีนี้แหละจะได้ทำลายเสียซึ่งคำเดียรถีย์ทั้งหลาย พระผู้เป็นเจ้า
    ขยายความนี้ประกอบด้วยอรรถพยัญชนะเป็นอันดี พระผู้เป็นเจ้าว่าถ้วนถี่ให้แจ้งทุกประการ
    ในกาลบัดนี้
    เวสสสันตรปัญหา คำรบ ๕ จบเพียงนี้


    อยากจะร้องไห้จริงๆ ขอให้ท่านสาธุชนทั้งหลายฯ คิดไตร่ตรองให้ดีเถิด ว่าเรื่องพระเวสสันดรนี้มียาวนานเพียงใด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2017
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    พระเจ้าเมนันเดอร์ ที่ 1 (อังกฤษ: Menander I Soter) เป็นที่รู้จักกันในวรรณกรรมภาษาบาลีว่าพระเจ้ามิลินท์ เป็นพระมหากษัตริย์อินโด-กรีก(165[1]/155[1]-130 ปี ก่อน ค.ศ.) ผู้ปกครองจักรวรรดิขนาดใหญ่ในภูมิภาคตะวันตกเฉียงหนือของเอเชียใต้จากเมืองหลวงของพระองค์คือ เมือง สาคละและพระองค์ถูกบันทึกว่าเป็นผู้อุปถัมภ์ศาสนาพุทธ

    พระเจ้าเมนันเดอร์ทรงกำเนิดที่แถบคอเคซัส เริ่มแรกทรงเป็นกษัตริย์ของแคว้นบักเตรีย หลังจากพิชิตแคว้นปัญจาบได้ [2] พระองค์สถาปนาจักรวรรดิขึ้นในเอเชียใต้ ขยายออกจากที่ราบหุบเขาลุ่มแม่น้ำคาบูลจากทางทิศตะวันตก ไปจรดถึงแม่น้ำราวีทางทิศตะวันออก และจากที่ราบหุบเขาลุ่มแม่น้ำสวัตทางตอนเหนือ ไปจรดถึงอะราโคเซีย(จังหวัดเฮลมันด์) เหล่านักบันทึกชาวอินเดียโบราณชี้ว่า พระองค์ได้ขยายอาณาจักรไปทางทิศใต้เข้ามาในรัฐราชสถานและขยายไปทางทิศตะวันออกไกลถึงแม่น้ำคงคาตอนล่างที่เมืองปาฏลีบุตร (ปัฏนา) และสตราโบนักภูมิศาสตร์กรีกเขียนไว้ว่า “(พระองค์พิชิตรัฐ (ในอินเดีย) ได้มากกว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

    เหรียญของพระองค์จำนวนมากที่ถูกขุดพบ ยืนยันถึงทั้งการค้าที่เจริญรุ่งเรืองและช่วงระยะเวลาของจักรวรรดิของพระองค์ พระเจ้าเมนันเดอร์ยังได้เป็นผู้อุปัฏภัมภ์พระพุทธศาสนา และบทสนทนาของพระองค์กับพระนาคเสน พระเถระนักปราชญ์ชาวพุทธ ก็ถูกบันทึกไว้เป็นผลงานสำคัญทางพระพุทธศาสนาชื่อว่า "มิลินทปัญหา" (ปัญหาของพระเจ้ามิลินท์) หลังจากที่พระองค์สวรรคตในปี 130 ก่อน ค.ศ. พระมเหสีของพระองค์พระนามว่า อะกาทอคลีอา (Agathokleia) ก็รับช่วงต่อโดยเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระโอรสของพระองค์พระนามว่า สตราโต ที่ 1 (Strato I ) การบันทึกของชาวพุทธบอกว่าพระองค์ส่งมอบอาณาจักรไปสู่พระโอรสและปลีกตัวเองจากโลก แต่พลูตาร์ชบันทึกว่าพระองค์สวรรคตในค่ายในขณะที่มีการออกรบทางทหาร และยังบอกว่า พระอัฏฐิของพระองค์ถูกแบ่งออกเป็นส่วนเท่าๆกันเพื่อเมืองต่างๆเพื่อนำไปประดิษฐานในอนุสรณ์สถานอาจจะเป็นสถูปทั่วทั้งอาณาจักรของพระองค์

    ตามที่ได้มีการนำสืบๆมา พระเจ้าเมนันเดอร์ยึดศรัทธาในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีบรรยายในมิลินทปัญหา ซึ่งเป็นวรรณกรรมพุทธบาลีคลาสสิก (ข้อความภาษาสันสฤตฉบับเดิมสูญหายแล้ว) การสนทนาระหว่างพระเจ้าเมนันเดอร์กับพระนาคเสนนักบวชพุทธ พระองค์ถูกบรรยายตลอดว่าอยู่พร้อมกับทหารองครักษ์ ๕๐๐ คน และอำมาตย์ที่ปรึกษาของพระองค์ชื่อ เดเมตริอัส กับ อันทิคัส (Demetrius and Antiochus) ในมิลินทปัญหา พระองค์ถูกบรรยายประวัติว่า

    20px-Cquote1.svg.png
    กษัตริย์แห่งเมืองสาคละในชมพูทวีปพระนามว่ามิลินท์เป็นผู้คงแก่เรียนมีไหวพริบปฏิภาณฉลาดสามารถและเป็นผู้สังเกตการณ์ที่มีศรัทธาและในเวลาที่สมควร การกระทำความจงรักภักดีและพิธีกรรมต่างๆทั้งหมดสั่งการโดยพระองค์เองด้วยบทสวดอันศักดิ์ที่เป็นเรื่องเกียวกับอดีตปัจจุบันและอนาคต เป็นผู้ได้ศึกษาศาสตร์ต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก ถึง ๑๘ ศาสตร์ด้วยกัน รวมเป็น ๑๙ กับทั้งพุทธศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการคือ ๑. รู้จักภาษาสัตว์มีเสียงนกร้อง เป็นต้นว่าร้ายดีประการใดได้สิ้น ๒. รู้จักกำเนิดเขาและไม้ เป็นต้นว่าชื่อนั้นๆ ๓. คัมภีร์เลข ๔. คัมภีร์ช่าง ๕. คัมภีร์นิติศาสตร์ รู้ที่จะเป็นครูสั่งสอนท้าวพระยาทั้งปวง ๖. คัมภีร์พาณิชยศาสตร์ รู้ที่จะเลี้ยงฝูงชนให้เป็นสิริมงคล ๗. พลศาสตร์ รู้นับนักขัตฤกษ์ รู้ตาราดวงดาว ๘. คัมธัพพศาสตร์ รู้เพลงขับร้องและดนตรี ๙. เวชชศาสตร์ รู้คัมภีร์แพทย์ ๑๐. ธนูศาสตร์ รู้ศิลปะการยิงธนู ๑๑. ประวัติศาสตร์ ๑๒. ดาราศาสตร์ รู้วิธีทำนายดวงชะตาของคน ๑๓. มายาศาสตร์ รู้ว่านี่เป็นแก้ว นี่มิใช่แก้ว เป็นต้น ๑๔. เหตุศาสตร์ ผลศาสตร์ รู้จักเหตุ รู้จักผลจะบังเกิด ๑๕. ภูมิศาสตร์ รู้จักที่จะเลี้ยงโคกระบือ รู้การที่จะหว่านพืชลงในนาไร่ให้เกิดผล ๑๖. ยุทธศาสตร์ รู้คัมภีร์พิชัยสงคราม ๑๗. ลัทธิศาสตร์ รู้คัมภีร์โลกโวหาร ๑๘. ฉันทศาสตร์ รู้จักคัมภีร์ผูกบทกลอนกาพย์โคลง พระเจ้ามิลินท์นั้น มีถ้อยคำหาผู้ต่อสู้ได้ยาก และเป็นบุคคลผู้เอาชนะได้ยาก เป็นผู้ยอดเยี่ยมที่ได้รับการยอมรับจากเจ้าสำนักนักคิดนักปรัชญาต่างๆทั้งหมด และเป็นผู้มีกำลังแห่งปัญญา มีกำลังกาย มีเชาวน์อันเร็ว และไม่มีคู่โต้วาทีที่สมน้ำสมเนื้อกับ[7]

    20px-Cquote2.svg.png
    ข้อความที่นำสืบมาของศาสนพุทธบอกเล่าว่า การสนทนาของพระองค์ตามที่กล่าวมานั้นกับพระนาคเสน พระยามิลินท์ก็เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา:

    20px-Cquote1.svg.png
    ขอให้พระคุณเจ้านาคเสนยอมรับเราว่าเป็นพุทธมามกะและเป็นผู้เปลี่ยนแปลงจริงๆนับแต่วันนี้เป็นต้นไปตลอดชั่วชีวิต[8]

    20px-Cquote2.svg.png
    จากนั้นพระองค์ก็ส่งมอบอาณาจักรของพระองค์ให้กับพระโอรสและปลีกพระองค์ออกจากโลกียวาส:

    20px-Cquote1.svg.png
    และหลังจากนั้น พระองค์ก็พอพระทัยในปัญญาของผู้อาวุโส พระองค์ส่งมอบอาณาจักรให้แก่พระโอรสของพระองค์ และสละการใช้ชีวิตในพระราชวังเพื่ออยู่แบบไม่มีเรือน เจริญก้าวหน้าในโพธิธรรม และพระองค์เองได้บรรลุพระอรหันต์[9]

    20px-Cquote2.svg.png
    อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากพินัยกรรมที่บงชี้ว่าพระองค์สละราชบัลลังก์เพื่อพระโอรสของพระองค์ตามความพอพระทัยแล้ว ยังมีหลักฐานบนเหรียญที่เซอร์ วิลเลี่ยม ตาร์น (Sir William Tarn) เชื่อว่า พระองค์สวรรคตจริงทิ้งให้พระอัครมเหสีของพระองค์เป็นผู้สำเร็จราชการ จนกระทั่งพระโอรสของพระองค์ สตราโบ สามารถที่จะขึ้นครองราชย์อย่างถูกต้อง[10]

    อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของการครองราชย์ของพระโอรส ก็เป็นที่ชัดเจนว่า หลังจากที่พระองค์สวรรคต จักรวรรดิก็ระส่ำระส่ายได้แตกแยกออกจากอาณาจักรที่มีรัชทายาทเป็นกษัตริย์อินโด-กรีกที่หลากหลาย จากขนาดที่หลากหลายและความมีเสถียรภาพ

    เอกสารอื่นๆของชาวอินเดีย[แก้]
    170px-Bharhut_Yavana.jpg
    รูปสลักที่อาจจะเป็นกษัตริย์อินโดกรีก, อาจจะเป็นพระเจ้าเมนันเดอร์, พร้อมด้วยไตรรัตน์สัญลักษณ์ที่ดาบ. เมืองบาร์ฮัต, 200 ปีก่อนคริสตกาล. พิพิธภัณฑ์อินเดีย, โกลกาตา.
    • 200 ปีก่อนคริสตกาล รูปสลักนูนต่ำจากสถูปทางพุทธศาสนาในเมืองบาร์ฮัต (Bharhut) ในภาคตะวันออกของรัฐมัธยมประเทศ (Madhya pradesh) (ทุกวันนี้รูปสลักนั้นอยู่ในพิพิธภัณฑ์เมืองโกลกาตา) รูปสลักนั้นเป็นทหารต่างประเทศพร้อมด้วยผมยิกสไตล์กรีกและผ้าพันศีรษะแบบหลวงปลายผ้าพลิวไหวตามลมแบบกษัตริย์กรีก และบางทีอาจจะวาดถึงพระเจ้าเมนันเดอร์ ในมือของรูปสลักถือกิ่งเถาวัลย์ สัญลักษณ์ของเทพเจ้าผู้เก็บเกี่ยวองุ่น ทั้งชายของผ้านุ่งห่มของรูปสลักก็เป็นแถวเป็นแนวพับแบบรูปทรงเรขาคณิต มีลักษณะสไตล์เฮเลนิก บนดาบของรูปสลักปรากฏสัญลักษณ์ทางศาสนาพุทธคือรัตนากร
    การค้นพบที่เก็บพระธาตุในเมืองบาจาเออ (Bajaur) มีข้อความจารึกเป็นการบริจาคของมีค่าเพื่ออุทิศ บอกถึง วันที่ 14 ของเดือนกัตติกา (เดือน 12 ตามจันทรคติ ราวเดือนพฤศจิกายน) ของปีที่แน่นอนของการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าเมนันเดอร์:

    20px-Cquote1.svg.png
    Minadrasa maharajasa Katiassa divasa 4 4 4 11 pra[na]-[sa]me[da]... (prati)[thavi]ta pranasame[da]... Sakamunisa ในวันที่ 14 ของเดือนกัตติกา ในการขึ้นครองราชย์พระเจ้าเมนันเดอร์มหาราช(ในปี...) (ของที่ระลึก)ของพรศรีศากยมุนี ซึ่งได้บริจาคอุทิศชีวิต...ได้ถูกก่อสร้าง[11]

    20px-Cquote2.svg.png
    • ตามแหล่งข้อมูลของศรีลังกาโบราณชื่อคัมภีร์มหาวงศ์บันทึกว่า ภิกษุชาวกรีกคาดว่าได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธในช่วงเวลารัชกาลของพระเจ้าเมนันเดอร์: พระมหาธรรมรักขิตะ ภิกษุชาวโยนะ (ชาวกรีก)กล่าวว่ามาจากเมืองอละสันดรา (Alasandra) (น่าจะเป็นเมืองอเล็กซานเดรียแห่งคอเคซัส เป็นเมืองที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ทรงก่อตั้งขึ้น ปัจจุบันอยู่ใกล้กรุงคาบูล) ท่านมาพร้อมกับพระภิกษุ ๓๐,๐๐๐ เพื่อมาพิธีวางรากฐานของพระมหาสถูป ณ เมืองอนุราธปุระ(อนุราธบุรี) ในศรีลังกา ในช่วงเวลา ๒๐๐ ปีก่อนคริสตกาล:
    20px-Cquote1.svg.png
    พระเถระผู้อาวุโส มหาธรรมรักขิตะพร้อมด้วยภิกษุ ๓๐,๐๐๐ รูปมาจากเมืองอละสันดรา (Alasandra) แห่งแคว้นโยนะ

    20px-Cquote2.svg.png
    มหาวงศ์ (Mahavamsa)[12]

    การก่อสร้างทางพระพุทธศาสนา[แก้]
    เหรียญของพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 ถูกพบในชั้นที่สองของบัตการาสถูป (Butkara stupa) ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการก่อสร้างชั้นที่สองของสถูปเพิ่มเติมในรัชสมัยของพระเจ้าเมนันเดอร์[13] ซึ่งพระองค์สร้างชั้นที่สองต่อจากการสร้างชั้นที่หนึ่งครั้งแรกในยุคราชวงศ์โมริยะ[14] องค์ประกอบเหล่านี้มีแนวโน้มบ่งบอกถึงความสำคัญทางพระพุทธศาสนาภายชุมชนชาวกรีกในอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือและบทบาทที่โดดเด่นของพระสงฆ์กรีก ซึ่งพวกเขาอาจจะอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระเจ้าเมนันเดอร์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    ผู้ที่บำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่า พระโพธิสัตว์(สัมมาสัมพุทธโพธิสัตว์) พระโพธิสัตว์ก็คือ บริจาคองค์บำเพ็ญบารมีอย่างครบถ้วน บริจาคสิ่งใหญ่ ๆ ๕ อย่าง เรียกว่าปัญจมหาบริจาค บริจาคอวัยวะ บริจาคชีวิต บริจาคทรัพย์ บริจาคราชสมบัติ บริจาคบุตร และภรรยา ทั้งหมดเป็นของที่เป็นที่รักและสละได้โดยยากทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่รักก็ตาม และสิ่งที่มีค่าและเป็นที่รักยิ่งกว่านั้น คือ พระสัมมาสัมโพธิญาณ พระบารมีที่ทรงบำเพ็ญทั้งหมด ก็เพื่อสิ่งนี้ เพื่อจะช่วยสัตว์โลกให้พ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง



    การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ ในแต่ละชาติของพระองค์ เพื่อประจักษ์แจ้งพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นความละเอียดลึกซึ้ง ของพระมหากรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณและพระปัญญาธิคุณของพระองค์ ซึ่งยากที่ปุถุชนทั่ว ๆ ไปผู้ไม่ได้สดับพระธรรม จะพิจารณาเข้าใจได้ แม้ผู้ที่ศึกษาพระธรรม มาบ้าง ก็ยังยากที่จะคิด พิจารณาให้เข้าใจถึงการกระทำทุกอย่างของพระโพธิสัตว์ในแต่ละชาติได้ โดยเฉพาะการบริจาคบุตรทั้งสอง คือ กัณหาและชาลี รวมถึงบริจาคภรรยา คือ พระนางมัทรี ในพระชาิติที่พระองค์ทรงเป็นพระเวสสันดร ซึ่งทั้งหมดนั้นจะต้องศึกษาพิจารณาอย่างละเอียดในเหตุในผลจริง ๆ จะเห็นได้ว่าทั้งพระนางมัทรี , กัณหาและชาลี ต่างก็มีความเข้าใจ ในเรื่องการบำเพ็ญพระบารมีเพื่อพระโพธิญาณของพระโพธิสัตว์ เป็นอย่างดี ซึ่งท่านเหล่านี้ล้วนเป็นผู้ที่สะสมบารมีมาเพื่อที่จะเป็นผู้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมในอนาคตข้างหน้า ทั้งนั้น [พระนางมัทรี คือ พระนางยโสธรา พิมพา, กัณหา คือ พระอุบลวรรณาเถรี, ชาลีคือ พระราหุล เป็นพระอรหันต์ทั้งหมดในกาลสมัยของพระพุทธเ้จ้าทรงพระนามว่า โคดม] และ ก็พร้อมที่จะถูกบริจาค เพื่อการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ตราบใดที่ยังเป็นผู้มีกิเลส ยังมีความกลัว ยังมีความเสียใจ เป็นธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม แต่ในที่สุดก็พร้อมที่จะถูกบริจาคเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้พระบารมีของพระโพธิสัตว์เต็มเปี่ยม ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของปัญญา เป็นเรื่องของความเข้าใจในพระธรรม ที่ได้สะสมอบรมมาทั้งนั้น ครับ.

    ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุก ๆ ท่านครับ...

    อ.คำปั่น /บ้านธัมมะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
     
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
     
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
     
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
     
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    นาทีที่ 22:27 เมื่อมารค์เริ่มกล่าวถึง คำทำนายตามบุพกรรม


    ปล.๑.นายมารค์อาจจะจับใจความยังไม่ได้อย่างที่แสดงไวในกระทู้ ๒.และผู้โทรไปไม่ได้มียศนายพันแค่จ่า ๓.อายุอ่อนกว่านายมารค์แน่นอนดันเรียกพี่ (สงสัยเพราะตากฝนหวัดลงคอเสียงมันเลยฟังดูแก่)

     
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ไม่มีศาสนาใดในโลกหรอกครับ ที่จะกล่าวถึงความสิ้นไปของศาสนา โดยไม่มีความประสงค์ให้ยึดติดและหลงไหลในคัมภีร์และตำราอย่างหน้ามืดตามัว มีแต่ศาสนาพุทธนี่แหละว่า อย่ายึดเพียงแค่ตำรา ประดุจอาศัยแพข้ามฝั่ง พอถึงฝั่งแล้วก็ปล่อย เหลือแต่ธรรมสมบัติถ่ายทอดทิ้งไว้ให้อนุชนคนรุ่นหลัง
     

แชร์หน้านี้

Loading...