มิลินท ปัญหา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 2 สิงหาคม 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> มิลินท ปัญหา </center> <center> ธัมมวิโมกข์ฉบับรวมเล่ม </center> <center> ตอนที่ ๑ </center> <center> คำนมัสการพระรัตนตรัย </center> <center> ของพระติปีฎกจุฬาภัยเถระ </center> <center> *************** </center> พระจริยาอันเป็นประโยชน์แก่โลกทั้งปวง ของพระสัมพัญญูพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณธรรมอันใหญ่พระองค์ใดมีอยู่ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้สมเด็จพระบรมครูพระองค์นั้นซึ่งเป็นผู้มีอนุภาพอันเป็นอจินไตย ผู้เป็นนายกอันเลิศของโลก
    สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์พระองค์ใด เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาจรณะ นำหมู่สัตว์ออกจากโลกด้วยธรรมะอันใด ข้าพระเจ้าขอกราบไหว้ธรรมอันนั้น ซึ่งเป็นธรรมอันสูงสุด เป็นธรรมะอันสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบูชา
    พระอริยะสงฆ์ใดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลคุณเป็นต้น เป็นผู้ตั้งอยู่ในมรรค 4 ผล 4 ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระอริยะสงฆ์นั้น ผู้เป็นนาบุญอันเยี่ยมของโลก
    บุญอันใดที่ข้าพเจ้าทำให้เกิดขึ้นด้วย การนอบน้อมพระรัตนตรัยอย่างนี้ ด้วยเดชแห่งบุญอันนั้น จงให้อันตรายหายไปจากข้าพเจ้าในที่ทั้งปวง จงให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ปราศจากอันตราย
    มิลินทปกรณ์ คือคัมภีร์มิลินท์อันใดที่ประกอบด้วยปุจฉาพยากรณ์ทีอยู่ ขอท่านทั้งหลายจงฟังปัญหาทั้งหลายอันละเอียดลึกซึ้ง ที่มีอยู่ในคัมภีร์มิลินทปัญหานั้น เพราะการฟังมิลินทปัญหานั้น จักทำให้เกิดประโยชน์สุข

    <center> พุทธพยา
    กรณ์ในวันปรินิพพาน
    </center> เมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับเหล่าพระภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จไปที่เมืองกุสินารามมหานคร ในเวลาที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธองค์ทรงบรรทมบนบัลลังก์ หันพระเศียรไปทางทิศอุดร ในระหว่างนางรังทั้งคู่อันมีอยู่ในพระราชอุทยาน ของพวกมัลลกษัตริย์ แห่งเมืองกุสินารา จึงตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลายให้รู้ว่า สังขารทั้งปวงมีความสิ้นเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงทำกิจทั้งปวง ด้วยความไม่ประมาทเถิด
    ธรรมวินัยอันใด เราบัญญัติไว้แล้ว เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ธรรมวินัยนั้นแหละ จะเป็นครูของพวกเธอ
    เมื่อเราปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสป จะระลึกถึงถ่อยคำไม่ดีของ สุภัททภิกขุ ผู้บวชเมื่อแก่ แล้วจะกระ ทำสังคายนา เพื่อรักษาพระพุทธวจนะไว้มิให้คลาดเคลื่อน
    ต่อนั้นไปอีก ๑๐๐ ปี พระยสกากัณฑกบุตร ผู้ย่ำยีซึ่งถ้อยคำของพวก ภิกษุวัชชีบุตร จะได้กระทำ สังคายนาครั้งที่ ๒
    ต่อไปได้ ๒๑๘ ปี พระโมคคัคลีบุตรติสสเถระ ผู้จะลบล้างลัทธิของพวกเดียรถีย์ภายนอก จักได้กระทำ สังคายนาครั้งที่ ๓
    ต่อมาภายหลัง พระมหินทเถระ จะไปประดิษฐานศาสนาของเรา ลงไว้ที่ตามพปัณณิทวีป ( ลังกา )
    ต่อจากเราปรินิพพานไปล่วงได้ ๕๐๐ ปี จักมีพระราชาองค์หนึ่ง ชื่อว่า "มิลินท"์ ผู้ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ดีแล้ว จะทำให้เกิดปัญหาอันละเอียดขึ้น ด้วยอานุภาพปัญญาของตน จะย่ำยีเสียซึ่งสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยปัญหาอันละเอียด
    จะมีภิกษุองค์หนึ่ง ชื่อว่า "นาคเสน" ไปทำลายถ้อยคำของ มิลินทราชา ทำให้มิลินทราชาเกิดความร่าเริงยินดีด้วยอุปมาเป็นอเนก จะทำศาสนาของเราให้หมดเสี้ยนหนามหลักตอ จะทำศาสนาของเราให้ตั้งอยู่ตลอด ๕๐๐๐ พรรษา" ดังนี้
    เพราะฉะนั้น จึงกล่าวไว้ว่า ผู้ใดเกิดในตระกูลในเวลาล่วงได้ ๕๐๐ ปี จากปีที่พระพุทธเจ้าปริพพานแล้วนั้น ผู้นั้นจักได้ชื่อว่า " มิลินทราชา " เสวยราชย์อยู่ใน สาคลนคร อันเป็นเมืองอุดม
    มิลินทราชานั้น จักได้ถามปัญหาต่อพระนาคเสน มีอุปมาเหมือนกับน้ำในแม่น้ำคงคาไหล ไปสู่มหาสมุทรสาครฉะนั้น
    พระองค์เป็นผู้มีถ้อยคำอันวิจิตร ได้เสด็จไปหาพระนาคเสน มีคบเพลิงจุดสว่างไสว แล้วถามปัญหาล้วนแต่ละเอียดลึกซึ้ง
    ขอท่านทั้งหลายจงตั้งใจไว้ด้วยดี ฟังปัญหาอันละเอียดในคัมถีร์มิลินทนั้นเถิด จะเกิดประโยชน์สุขแก่ท่านตลอดกาลนาน ดังนี้

    <center> พระนคร
    ของพระเจ้ามิลินท์
    </center> มีคำเล่าลือปรากฎมาว่า "เมืองสาคลนครของชาวโยนก เป็นเมืองที่งดงามด้วยธรรมชาติอันรื่นรมย์ อุทยานอันมีสระน้ำ สวนดอกไม้ผลไม้ ตกแต่งไว้อย่างดี มีหมู่นกมากมายอาศัยอยู่
    ป้อมปราการก็แข็งแรง ปราศจากข้าศึกมารบกวน ถนนหนทางภายในพระนครเกลื่อนกล่นไปด้วยช้างม้าอันคล่องแคล่วอีกทั้งหมู่สัตรีล้วนมีรูปร่างสวยงาม ต่างเที่ยวสัญจรไปมา ทั้งเป็นที่พักพาอาศัยของสมณพราหมณ์ พ่อค้าสามัญชนต่าง ๆ
    เมืองสาคลนครนั้น สมบูรณ์ด้วยผ้าแก้วแหวนเงินทอง ยุ้งฉาง ของกินของใช้ มีตลาดร้านค้าเป็นที่ไปมาแห่งพ่อค้า
    ข้างนอกเมืองก็บริบูรณ์ด้วยพืชข้าวกล้า อุปมาเหมือนข้าวกล้าในอุตตรกุรุทวีป หรือไม่ก็เปรียบเหมือนกับ "อารกมัณฑาอุทยาน" อันสถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชฉะนั้น"

    <center> สรุป
    หัวข้อปัญหา
    </center> ท่านพรรณนามาถึงตอนนี้ แล้วจึงได้แยกเรื่องไว้ ๖ อย่าง คือ
    บุพพโยค ๑ มิลินทปัญหา ๑
    เมณฑกปัญหา ๑ อนุมานปัญหา ๑
    ลักขณปัญหา ๑ อุปมากถาปัญหา ๑
    ฉะนั้น ก่อนที่ท่านผู้อ่านจะพบกับเนื้อความดังต่อไปนี้ ผู้รวบรวมข้อสรุปหัว ข้อปัญหาให้ทราบไว้ก่อนดังนี้
    ๑ บุพพโยค คือเรื่องเบื้องต้นก่อนที่จะถาม ปัญหา
    ๒ มิลินทปัญหา เป็นปัญหาที่พระเจ้ามิลินท์ถาม ปัญหานี้มี ๗ วรรค
    ๓ นอกวรรค มีเพียงปัญหาเดียว คือโคตมีปัญหา
    ๔ เมณฑกปัญหา คือการถามปัญหาที่เป็นสองแง่ ปัญหาชุดนี้มี ๙ วรรค
    ๕ อุปมาปัญหา ว่าด้วยอุปมาต่าง ๆ ปัญหาชุดนี้สุดท้ายนี้มี ๗ วรรค
    เมื่อจบการถามตอบปัญหาแล้วก็ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ต่าง ๆ ต่อ มาพระเจ้ามิลินท์ได้ทรงสละราชสมบัติ เมื่อทรงออกผนวชแล้วก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ เป็นอันว่าท่านผู้อ่านก็ได้ทราบแล้วว่า ในเว็บนี้มีการจัดหมวดหมู่ไว้อย่างไรบ้างช่วยไห้ง่ายต่อการจดจำ จึงหวังว่าท่านทั้งหลายคงจะมีความอุตสาหะอ่านตั้งแต่ต้นจนจบ และพยายามทบทวนทำความเข้าใจในถ้อยคำของท่าน แล้วจะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาล ณ โอกาสนี้ จึงขอเชิญท่านผู้อ่านทุกท่านพบกับเรื่องบุพพโยค คือเรื่องเบื้องต้นได้ตั่งแต่บัดนี้.......

    ( ธัมมวีโมกข์ฉบับรวมเล่ม )
    มิลินทปัญหา
    โดย....วัฒนไชย


    http://larnbuddhism.net/milintapanha
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center>[​IMG] </center> <center> พระเจ้ากุสราชบรมโพธิสัตว์ </center> กุสราชชาดกนี้มีใจความว่า เมื่อครั้งพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็น พระเจ้ากุสราช พระองค์เป็นผู้ฉลาดรู้จบศีลปศาสตร์ทั้งปวง แต่มีพระรูปขี้เหร่ จนพระอัครมเหสีต้องเสด็จหนีไม่อภิรมย์ด้วย
    พระองค์ได้เสด็จตามและได้ทรงพยายามด้วยประการต่าง ๆ ที่จะได้พระมเหสีกลับคืนมา ภายหลังก็ได้รับความอนุเคราะห์ของท้าวสักกะ จึงได้ปรองดองกัน ต่อไปนี้เป็นเนื้อความพิสดารใน พระสุตตันตปีฏกขุททกนิกาย สัตตกนิบาต เริ่มต้นว่า
    เมื่อครั้งสมเด็จพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้มีความกระสันอยากจะสึกรูปหนึ่งให้เป็นเหตุจึงตรัสเทศนาชาดกนี้ ให้เป็นผลแก่ชุมชนทั้งหลาย มีเนื้อเรื่องเบื้องต้นว่า
    ยังมีกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง ได้ถวายชีวิตออกบวชในพระพุทธศาสนา วันหนึ่งเธอเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี เห็นสตรีนางหนึ่งซึ่งแต่งกายงดงาม เกิดความรักใคร่พอใจ จนถึงกับเบื่อหน่ายในพระธรรมวินัยทิ้งกิจวัตรต่าง ๆ เสีย
    โดยที่สุดแม้แต่ผมก็ไม่โกน เล็บก็ไม่ตัด มีจีวรเศร้าหมอง ทั้งข้าวปลาอาหารก็กินไม่ได้ จึงมีร่างกายซูบผอมลงทุกวัน มีเส้นเอ็นขึ้นสะพรั่งไปทั่งตัว
    มีอุปมาเหมือนกับเทพบุตรทั้งหลายผู้ที่จะจุติจากเทวโลก ย่อมมีบุพนิมิต ๕ ประการเกิดขึ้น คือ
    พวงดอกไม้ทิพย์เหี่ยวแห้ง ๑ ผ้าทิพย์เศร้าหมอง ๑ ผิวพรรณไม่ผ่องใส ๑ มีเหงื่อออกตามรักแร้ ๑ ไม่รู้สูกยินดีในทิพยอาสน์ ๑
    ส่วนภิกษุผู้จะสึกจากพระพุทธศาสนาก็บุพนิมิต ๕ ประการเกิดขึ้นก่อนเหมือนกันได้แก่
    ดอกไม้คือศรัทธา ย่อมเหี่ยวแห้งไป ๑ ผ้าคือศีลย่อมเศร้าหมอง ๑ ผิวพรรณไม่ผ่องใส ๑ มีเหงื่อคือกิเลสเกิดขึ้นครอบงำ ๑ ไม่ยินดีที่จะอยู่ในป่า หรือโคนต้นไม้ หรือเรือนว่าง ๑ ดังนี้ บุพนิมิตทั้งหลายปรากฏแล้วแก่ภิกษุนั้น ลำดับนั้นภิกษุทั้งหลาย จึงได้นำเธอเข้าไปในสำนักของพระศาสดา แล้วกราบทูลเล่าเรื่องถวายให้ทรงทราบ
    สมเด็จพระบรมโลกนาถจึงทรงชักถาม เมื่อภิกษุนั้นรับตามความเป็นจริงแล้ว จึงทรงตรัสว่า
    “ดูก่อนภิกษุ เธออย่าตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลสเลย ธรรมดาว่ามาตุคามนี้เป็นข้าศึก (ต่อการประพฤติพรหมจรรย์) เธอจงหักห้ามจิตใจจากมาตุคามนั้นเสีย แล้วยินดีในศาสนาของเราเถิด
    บัณฑิตทั้งหลายในปางก่อน ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจวาสนายังเสื่อมเสียจากอำนาจ ตกทุกข์ได้ยาก เพราะรักใคร่ในมาตุคามเลย”
    ครั้นตรัสดังนี้แล้วก็ทรงนิ่งอยู่ ได้รับการอาราธนาจากภิกษุเหล่านั้น จึงทรงยกชาดกนี้แสดงต่อไปว่า

    <center> กุสาวดีราชธานี </center> [​IMG] ในอดีตกาล พระเจ้าโอกกากราช ครองราชสมบัติโดยธรรม ในกุสาวดีราชธานีแว้นแคว้นมัลละ
    พระบาทท้าวเธอมีพระอัครมเหสี ทรงพระนามว่า สีลวดี แต่ทว่าพระนางหามีโอรสและธิดาไม่
    ต่อมาชาวเมืองไม่พอใจต่างพากันกราบทูลให้พระราชาปล่อยนางนักสนมออกไป แต่ก็ไม่มีผู้ใดจะได้บุตรกลับมา จึงให้พระอัครมเหสีไปเป็นนางบำเรอของบุรุษทั้งหลายบ้าง
    ครั้งนั้น ด้วยอำนาจศีลของพระนางจึงทำให้ทิพยอาสน์ของสมเด็จอมรินทราธิราชเร่าร้อนผิดสังเกต
    เมื่อทรงทราบเหตุดังนั้นแล้ว จึงเสด็จไปวอนพระโพธิสัตว์ และเทพบุตรอีกองค์หนึ่ง ให้ลงมาถือกำเนิดเกิดในพระครรภ์ของพระนางสีลวดี
    ครั้นแล้วสมเด็จสมเด็จอมรินทราธิราชได้ทรงจำแลงเป็นพราหมณ์ชราพาพระนางสีลวดีออกไปนรมิตเรือนแก้วขึ้นที่ข้างประตูพระนคร
    เมื่อพระนางเอนกายลง พระองค์จึงทรงลูบพระกายของพระนางด้วยพระหัตถ์ พอพระนางถูกต้องทิพยสัมผัสแล้ว ก็ทรงเคลิบเคลิ้มหลับไปในทันที
    ท้าวหัสนัยน์จึงทรงอุ้มพระนางไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พอถึงกำหนด ๗ วันก็ทรงตืนจากบรรทม
    ครั้นได้ทรงเห็นทิพยสมบัติทั้งปวงแล้วจึงทราบว่า พราหมณ์ชราที่พามานั้นเป็นพระอินทร์ ซึ่งกำลังประทับทอดพระเนตรนางอัปสรฟ้อนรำถวายอยู่ พระนางจึงลุกขึ้นไปถวายบังคม
    สมเด็จอมรินทราธิราชจึงตรัสว่า
    “ดูก่อนพระนาง เราจักให้พรแก่เจ้าสักอย่างหนึ่ง ขอเจ้าจงเลือกเอาตามประสงค์เถิด”
    พระนางจึงกราบทูลว่า
    “เมื่อพระองค์จะทรงพระกรุณาแล้ว หม่อมฉันขอพระราชทานพระโอรสสักพระองค์หนึ่งเถิดเพคะ”
    ท้าวสักกเทวราชาจึงตรัสว่า
    “เราจักให้สัก ๒ คน คนหนึ่งมีปัญญาแต่รูปร่างไม่สวย อีกคนหนึ่งรูปร่างสวยแต่ไม่เฉลี่ยวฉลาด ทั้งสองคนนี้ เจ้าจักต้องการใครก่อน?”
    พระนางทูลสนองว่า
    “หม่อมฉันต้องการคนที่ฉลาดก่อนเพคะ”
    สมเด็จอมรินทราจึงตรัสว่า
    “ได้....เราจะให้สมประสงค์”
    แล้วทรงประทานของ ๕ อย่างแก่พระนางคือ หญ้าคา ๑ ผ้าทิพย์ ๑ จันทน์ทิพย์ ๑ ดอกปาริฉัตตก์ทิพย์ ๑ พิณชื่อโกกนท ๑
    ครั้นพระนางทรงรับของทั้ง ๕ อย่างนั้นแล้ว พระองค์จึงพาพระนางลงมาส่งวางลงไว้บนพระแท่นบรรทมของพระบรมของพระกษัตริย์ผู้เป็นพระราชสวามีของพระนาง แล้วทรงลูบพระนาภีของพระนางพระนางด้วยปลายนิ้วพระหัตถ์เบื้องซ้าย
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center>[​IMG] </center> <center>
    พระโพรธิสัตว์จุติจากเทวโลก
    </center> ในขณะนั้น พระโพธิสัตว์ทรงถึอกำเนิดในพระครรภ์ของพระนางแล้ว ท้าวสักกะก็เสด็จกลับสู่เทวสถาน พระเทวีทรงทราบว่าพระองค์ทรงพระครรภ์
    เมื่อพระราชาทรงตื่นบรรทมขึ้น ได้ทอดพระเนตรเห็นพระนาง จึงทรงซักถามเรื่องราวที่ผ่านมา พระนางก็ทูลเล่าให้ฟังตามความเป็นจริง
    เมื่อพระราชายังทรงกริ่งอยู่ในพระทัย พระนางจึงให้เห็นเป็นประจักษ์พยาน ท้าวเธอจึงทรงเชื่อว่า พระอินทร์ได้เป็นผู้นำพระนางไปสมกับคำให้การของพระนางจริงทุกประการ
    พระองค์จึงตรัสถามต่อไปว่า
    “ก็เธอได้บุตรหรือไม่ ?”
    พระเทวีทูลว่า
    “ได้แล้วเพคะ บัดนี้หม่อมฉันกำลังตั้งครรภ์”
    พระบาทท้าวเธอก็ทรงดีพระทัย จึงทรงพระราชทานเครื่องบริหารรักษาพระครรภ์แก่พระนาง พอได้กำหนดครบถ้วนทศมาสนั้น พระนางเจ้าก็ประสูติพระราชโอรส อันมีนามปรากฏว่า กุสติณะ ซึ่งแปลว่า หญ้าคา
    ในกาลที่กุสติราชกุมารเจริญวัยทรงพระดำเนินได้ พระนางก็ได้ประสูติพระราชโอรสอีกพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า ชยัมบดี
    พระราชกุมารที่เป็นพระเจ้าพี่ คือพระบรมโพธิสัตว์เจ้ามีพระปรีชาเฉลียวฉลาดในศีลปศาสตร์ทุกประการ
    พอพระองค์มีพระชนม์ได้ ๑๖ พระชันษา พระราชบิดาทรงปราถนาจะมอบพระราชสมบัติให้ จึงทรงปรึกษากับพระเอกอัครมเหสีเพื่อหาพระราชธิดามาอภิเษกให้เป็นเอกอักครมเหสีของลูก
    ฝ่ายพระมหาสัตว์เจ้าทรงทราบข่าว จึงทรงพระดำริว่า เรามีรูปร่างไม่สะสวยงดงาม พระราชธิดาผู้สมบูรณ์ด้วยรูป แม้ถูกนำตัวมาพอเห็นเรา ก็จักหนีไปด้วยความรังเกียจความอับอายก็จะพึงมีแก่ตัวเรา
    เพราะฉะนั้น เราไม่ควรจะต้องการราชสมบัติ จะตั้งหน้าปฏิบัติพระชนกชนนีไปจนกว่าจะสิ้นบุญของท่าาน แล้วเราก็จักออกบวช
    ครั้นทรงดำริอย่างนี้แล้ว จึงแจ้งข่าวให้ทรงทราบ พระราชาก็ทรงเสียพระทัย พอล่วงไป ๒ - ๓ วันก็ทรงส่งข่าวสาส์นไปอีก พระราชกุมารนั้นก็คัดค้านอีกเหมือนเดิม
    เมื่อเป็นอย่างนี้ถึง ๓ ครั้งที่ ๔ จึงทรงดำริว่า
    ธรรมดาลูกจะขัดขืนมาดาบิดาอยู่ร่ำไปนั้น ย่อมไม่เป็นสมควร เราจักกระทำอุบายสักอย่างหนึ่ง

    <center> หล่อพระรูปทองคำ </center> ครั้นทรงดำริแล้ว จึงหาช่างทองมาคนหนึ่งมาเฝ้า ได้ประทานทองคำให้เป็นอันมากแล้วตรัสว่า
    “เจ้าจงเอาทองคำเหล่านี้ไปหล่อเป็นรูปผู้หญิง แล้วนำมาให้เรา”
    แต่พอช่างทองรับเอาทองไปแล้วพระองค์ก็ทรงหล่อรูปผู้หญิงด้วยทองคำขึ้นไว้รูปหนึ่งด้วยพระองค์เอง แล้วเอาตั้งไว้ในห้องแห่งหนึ่ง
    พอช่างทองนำรูปผู้หญิงที่ตนทำนั้นมาถวาย ก็ทรงติว่ายังไม่สวยพอ จึงทรงรับสั่งให้นายช่างไปยกรูปซึ่งอยู่ในห้องนั้นมาดู
    พอช่างทองโผล่เข้าไปในห้องนั้นก็ตกใจว่า รูปนั้นเป็นนางเทพธิดาที่จะมาเป็นพระชายาของพระราชกุมาร ไม่อาจจะเอื่อมมือไปแตะต้องได้
    จึงกลับออกมาทูลว่า รูปที่สั่งให้ไปยกมานั้น ข้าพระองค์ไม่เห็น เห็นแต่พระแม่เจ้าผู้เป็นพระชายาประทับอยู่ในห้องนั้นพระองค์เดียว
    จึงตรัสสั่งอีกว่า เธอจงไปยกมาเถิดนั้นแหละคือรูปหล่อที่เราหล่อขึ้นเอง
    ช่างทองจึงกลับไปยกรูปนั้นออกมาถวาย แล้วให้เก็บเอารูปหล่อ ที่พระองค์ทรงหล่อเองนั้นอย่างวิจิตรงดงามแล้วให้ไปถวายพระราชมารดา ทรงสั่งให้กราบทูลว่า
    “ถ้าพระแม่เจ้าทรงหาหญิงที่มีเหมือนรูปร่างงามเหมือนกับรูปทองคำนี้ได้แล้ว หม่อมฉันจึงจะยอมมีอัครเหสี”
    เมื่อพระชนนีได้เห็นรูปหล่อ และทรงทราบความประสงค์ของพระราชโอรสแล้วจึงโปรดให้ประชุมเหล่าเสวกามาตย์ราชมนตรีทั้งหลายแล้วตรัสเล่าให้ฟังว่า
    “ดูก่อนอำมาตย์ทั้งหลาย ลูกชายของเราซึ่งเป็นผู้มีบุญญาธิการมาก ที่พระอินทร์ทรงประทานให้นั้น เขาอยากได้อัครมเหสีที่มีรูปสวยเหมือนกับรูปหล่อนี้
    “โดยเหตุนี้ ท่านทั้งหลายจงยกรูปหล่อนี้ขึ้นตั้งไว้บนยานอันปกปิดแล้วพาไปสืบเสาะหากุมารีในที่ต่าง ๆ
    ด้วยวิธีเอารูปไปตั้งไว้ตั้งไว้ในที่ใดที่หนึ่งแล้วคอยฟังดูว่า จะมีใครพูดกันว่ามีผู้หญิงที่งดงามเหมือนรูปหล่อนี้บ้าง
    ถ้าได้พบแล้วจงไต่สวน ให้รู้ว่าเป็นลูกเต้าเหล่ากอของใคร ถ้าเป็นลูกกษัตริย์จงเข้าไปทูลขอที่เดียวว่า
    บัดนี้ พระเจ้าโอกกากราชมีพระประสงค์จะทรงอภิเษกพระราชโอรส ให้เสวยราชสมบัติแทนพระองค์ จึงโปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวง มาทูลขอพระราชธิดาของพระองค์ ไปอภิเษกเป็นเอกอัคครมเหสีของพระโอรสนั้น
    เมื่อกษัตริย์พระองค์นั้นทรงยินยอมยกให้แล้ว จงทูลนัดฤกษ์วันเวลาที่จะทำพิธีอาวามงคล เมื่อตกลงอย่างไรแล้ว จงกลับมาแจ้งแก่เราโดยเร็วอย่าได้ช้า”
    พวกอำมาตย์รับพระราชทานเสาวนีย์แล้วก็นำรูปหล่อนั้นขึ้นยานอันปกปิดนำออกจากพระนครไป
    เมื่อไปถึงราชธานีใด ก็ประดับประดารูปหล่อนั้นให้ดี แล้วก็ยกไปตั้งไว้ข้างมรรคาที่คนทั้งหลายไปมาเป็นอันมาก เป็นต้นว่าทางที่จะไปอาบน้ำอันมีในบ้านเมืองนั้น ๆ แล้วพากันไปแอบฟังเสียงคนทั้งหลายพูดกัน
    เมื่อคนทั้งหลายได้เห็นรูปหล่อนั้นแล้ว ก็เข้าใจว่าเป็นหญิงจริง ๆ ได้พากันชมเชยด้วยถ้อยคำต่าง ๆ แล้วพากันกลับไป
    อำมาตย์เหล่านั้นก็ทราบได้ว่า ในเมืองนี้ไม่มีหญิงคนใดที่จะสวยเหมือนรูปนี้ จึงตกลงกันว่า พวกเราควรจะออกจากเมืองนี้
    แล้วก็พากันออกจากเมืองนั้นไปเมืองอื่นต่อไปอีก และได้กระทำพิธีทดลองตามที่ทำมาแล้วจนกระทั้งถึง สาคลบุรี ในประเทศมัทราชโดยลำดับ
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center>[​IMG] </center> <center> พระนางประภาวดี </center> ในเวลานั้นพระเจ้าแผ่นดินในเมืองสาคละซึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้ามัทราช ทรงมีพระราชธิดาอยู่ ๘ พระองค์ ทรงพระรูปพระโฉมงดงามปานดังนางฟ้า
    พระราชธิดาองค์ใหญ่มีพระนามว่า ประภาวดี พระนางมีรัศมีซ่านออกจากพระกายข้างละ ๑ วา พระรัศมีนั้นมาดังสีพระอาทิตย์แรกอุทัย
    แต่พระรัศมีนี้ หมายถึงพระรัศมีแผ่ออกไปในเวลากลางวัน ส่วนในเวลากลางคืนนั้น พระรัศมีส่องสว่างมากกว่านี้ จนไม่ต้องจุดไฟในเวลาราตรี ในห้องที่พระนางประทับอยู่
    พระนางประภาวดีนี้มีพี่เลี้ยงคนหนึ่งชื่อว่า นางขุชชา เป็นหญิงค่อมพิการ ในเวลาเย็น มีพวกอำมาตย์ของพระเจ้าโอกกากราชนำรูปทองคำไปตั้งไว้ข้างทางที่จะลงท่าน้ำ
    นางขุชชาให้พระนางประภาวดีเสวยเสร็จแล้ว ส่วนตนได้ออกจากพระราชวัง ลงไปสู่ท่าน้ำกับพวกทาสี ประมาณ ๗ - ๘ คน
    พอไปเห็นรูปหล่อนั้น จึงร้องออกไปด้วยความโกรธว่า
    “พระนางนี้ช่างว่ายากเสียจริง ๆ เขาจักมาตักน้ำไปถวายไม่ได้หรือ จึงต้องเสด็จมาเอง ถ้าพระราชบิดามารดาทรงทราบเข้า พวกหม่อมฉันมิต้องย่อยยับไปหรือ...”
    ว่าแล้วก็ตรงไปจับรูปหล่อนั้น จึงรู้ว่าไม่ใช่พระนางประภาวดี พวกอำมาตย์ได้เห็นดังนี้ จึงออกจากที่ซ่อนพากันไปซักถามว่า
    “เหตุไรจึงมาจับรูปหล่อของเรา?”
    นางขุชชาจึงตอบว่า
    “เพราะเข้าใจว่าเป็นรูปพระนางประภาวดีซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าอยู่หัวของเรา”
    “พระราชธิดาของพระเจ้าอยู่หัวเมืองนี้สวยเหมือนกับรูปหล่อนี้หรือ?”
    “สวยยิ่งกว่านี้อีกเจ้าข้า”
    พวกอำมาตย์นั้นจึงพากันเข้าไปกราบทูลพระเจ้ามัทราช ตามที่ได้รับมอบหมายมาแล้วนั้น
    เมื่อพระเจ้ามัทราชทรงรับเครื่องราชบรรณาเหล่านั้นไว้ พวกอำมาตย์จึงพากันกลับไปกราบทูลพระเจ้าโอกกากราชและพระราชเทวีให้ทรงทราบ กษัตริย์ทั้งสองจึงเสด็จมาสู่สาคลนครโดยเร็วพลัน

    <center>  อุบาย
    ของพระนางสีลวดี
    </center> ฝ่ายพระนางสีลวดีทอดพระเนตรเห็นพระนางประภาวดี จึงทรงดำริว่า
    ราชธิดาองค์นี้ เป็นหญิงรูปร่างงดงามมากนัก ส่วนโอรสของเรามีรูปร่างไม่งดงามถ้านางได้เห็นโอรสของเราแล้ว คงจะรีบหนีไปเป็นแน่แท้ แม้เพียงราตรีเดียวก็ไม่อาจจะอยู่ร่วมได้ เห็นทีเราจักต้องทำกลอุบาย
    ครั้นทรงดำริอย่างนี้แล้ว จึงทูลพระเจ้ามัทราชว่า
    “นางประภาวดีนี้สมควรกับพระโอรสของหม่อมฉันแท้ แต่ทางบ้านเมืองของหม่อมฉันมีราชประเพณีอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งถือกันมานานแล้วคือ
    ถ้าพระภัสดากับพระชายาคู่ใดอยู่ด้วยกันยังไม่ทันมีครรภ์แล้ว ห้ามไม่ให้ทั้งสองเห็นหน้ากัน ในเวลากลางวันหรือในที่สว่างเป็นอันขาด ให้เห็นกันในเวลากลางคืน ในที่มืด ๆ เท่านั้น ต่อเมื่อมีครรภ์แล้วจึงให้เห็นกันได้ทุกเวลา
    ถ้าพระนางประภาวดีประพฤติตามพระราชประเพณีนี้ได้ หม่อมฉันก็ยินดีจะรับเขาเป็นศรีสะใภ้ของหม่อมฉัน”
    ครั้นพระเจ้ามัทราชหันไปตรัสถามพระราชธิดา พระนางกราบทูลว่าได้แล้ว พระเจ้าโอกกากราชจึงได้ถวายพระราชทรัพย์เป็นอันมากแก่พระเจ้ามัทราช แล้วทรงรับพระนางประภาวดีเสด็จไปสู่พระนครของพระองค์
    เมื่อกลับถึงราชธานีแล้ว จึงทรงรับจัดการราชาภิเษกพระราชโอรส ให้ขึ้นครองรามสมบัติ พรงพระนามว่า พระเจ้ากุสราช กับพระราชเทวีอันทรงพระนามว่า ประภาวดี
    พระราชาทั้งหลายในชมพูทวีปทั้งหมดพระองค์ใดมีพระราชธิดา ก็ส่งพระราชธิดาไปถวาย พระองค์ใดมีพระราชโอรส ก็ทรงส่งพระราชโอรสไปถวาย พระราชาเหล่านั้นทรงหวังความเป็นมิตรไมตรีกับพระเจ้ากุสราชนั้น
    พระโพธิสัตว์เจ้าทรงมีพระนางสนมเป็นบริวารมากมาย ทรงปกครองพระราชสมบัติด้วยพระอิสริยยศอันยิ่งใหญ่เกรียงไกร ดังนี้
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> พระราชา
    ทรงปลอมพระองค์
    </center> นับแต่นั้นมาพระเจ้ากุสราชกับพระอัครมเหสี ได้ทรงพบกันแต่ในราตรีเท่านั้น พระรัศมีของพระนาง ไม่อาจส่องให้เห็นพระพักตร์ของพระราชสวามีได้ถนัด ด้วยอำนาจบุญญาภินิหารของพระโพธิสัตว์แรงกล้า [​IMG]
    แต่พอ ๒-๓ วันผ่านพ้นไปพระราชามีความปรารถนาจะได้เห็นพระอัครมเหสีในเวลากลางวัน จึงทูลถามพระราชมารดาให้ทรงทราบ พระราชมารดาก็ทรงห้ามว่ารอให้ได้พระโอรสองค์หนึ่งก่อนเถิด
    เมื่อพระราชาอ้อนวอนบ่อย ๆ เข้า พระมารดาไม่อาจขัดขืนได้จึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นเจ้าจงปลอมเป็นคนเลี้ยงช้างไปอยู่ในโรงช้างเถิด แม่จะพานางไปในที่ตรงนั้น แต่ระวังอย่าให้นางเกิดสงสัยได้ พระราชาก็ได้กระทำตามนั้น
    ลำดับนั้น พระมารดาจึงรับสั่งให้คนตกแต่งโรงช้าง แล้วตรัสชักชวนพระนางประภาวดีให้เข้าไปชมช้างต้นของพระราชาภายในโรงช้าง
    พระราชาทรงปลอมพระองค์เป็นคนเลี้ยงช้าง ทอดพระเนตรเห็นพระมเหสีเสด็จตามหลังพระราชดา จึงหยิบเอาขี้ช้างก้อนหนึ่งขว้างไปที่หลังของพระนางประภาวดี พระนางทรงกริ้วกราดตวาดออกไปว่า
    “เจ้าบังอาจมาก เราจักให้พระราชาทรงตัดมือของเจ้าเสีย”
    ฝ่ายพระราชมารดาจึงได้ทรงปลอบ ประโลมเอาพระทัยว่า อย่าถือสากับคนเลี้ยงช้างเลย แล้วทรงช่วยปัดข้างหลังให้ ต่างพากันเสด็จกลับพระราชนิเวศน์
    ต่อมาพระราชา ใครจะได้เห็นนางอีก จึงใช้วิธีปลอมเป็นคนเลี้ยงม้า แล้วทรงเอาก้อนขี้ม้านั้น ขว้างไปเหมือนเดิมอีก พระนางก็ทรงกริ้วใหญ่ พระสัสสุ (แม่ผัว) ก็ทรงปลอบเหมือนคราวที่แล้วอีกเช่นกัน
    พระมเหสีใคร่จะได้เห็นพระราชาบ้าง
    ในเวลาต่อมา พระนางประภาวดีทรงใคร่จะได้เห็นพระราชสวามี จึงทูลแก่พระสัสสุเป็นหลายครั้ง พระสัสสุจึงรับวั่งว่า
    “ถ้าอย่างนั้น ในวันพรุ่งนี้พระราชสวามีของเจ้าจะเสด็จเลียบพระนคร เจ้าจงคอยดูที่ช่องพระแกลเถิด”
    ครั้นตรัสสั่งดังนี้แล้วจึงโปรดให้ตกแต่งพระนครในวันรุ่งขึ้น แต่ให้ พระชยัมบดี   ผู้เป็นพระเจ้าน้องของพระโพธสัตว์เจ้า ทรงเครื่องกษัตริย์ ประทับนั่งชนหลังช้างพระที่นั่งแทน ส่วนพระโพธิสัตว์เจ้า แต่งองค์เป็นควาญช้างประทับนั่งบนอาสนะข้างหลัง แล้วให้เสด็จเลียบพระนคร
    เวลานั้น พระราชมารดาทรงพาพระนางประภาวดีไปประทับยืนที่สีหปัญชรแล้วตรัสว่า
    “เจ้าจงดูเถิด พระราชสวามีของเจ้าจะมีรูปทรงสวยสง่างามสักเพียงไร”
    ฝ่ายพระนางประภาวดีทรงเข้าพระทัยว่า เราได้พระสวามีที่มีความเหมาะสมกันดังนี้แล้ว ทรงปลาบปลื้มดีพระทัยเป็นอย่างยิ่ง
    ฝ่ายพระราชาได้ทอดพระเนตรพระนางประภาวดีเหมือนกัน ทรงพอพระหฤทัยเป็นอันมาก จึงได้แสดงอาการยั่วเย้าด้วยด้วยการยกพระหัตถ์ เมื่อช้างพระที่นั่งคล้อยหลังไปแล้ว พระสัสสุจึงตรัสถามว่า
    “เจ้าเห็นพระภัสดาของเจ้าแล้วหรือ ?”
    “เห็นแล้วเพคะ แต่นายควาญช้างคนนั้น ช่างไม่รู้จักขนบธรรมเนียมเสียบ้างเลย มันทำกิริยาเคาะแคะหม่อมฉัน ทั้งท่าทางก็ดูไม่มีผู้ดีเลย เหตุไรจึงได้ให้เป็นควาญช้างพระที่นั่งเล่าเพคะ”
    พระสัสสุจึงตรัสตอบว่า
    เขาต้องการเพียงแค่การระมัดระวังช้างพระที่นั่งเท่านั้น เขาหาได้ต้องการขนบธรรมเนียมแต่ประการใดไม่”
    พระนางประภาวดีได้ทรงดำริว่า ควาญช้างคนนี้ได้รับอภัยเสียเหลือเกินหรือควาญช้างคนนี้เป็นพระเจ้ากุสราช พระองค์คงมีรูปร่างน่าเกลียด พระราชมารดาจึงทรงหาอุบายไม่ให้เราได้พบเห็นกัน
    พระนางประภาวดีจึงทรงกระซิบนางขุชชา ผู้เป็นพี่เลี้ยงว่า
    “พี่จงตามไปดูทีหรือว่า พระเจ้ากุสราชประทับช้างข้างหน้าหรือข้างหลัง แล้วจงมาบอกแก่เรา”
    นางขุชชาผู้เป็นหญิงค่อมกราบทูลว่า
    “หม่อมฉันจะรู้ได้อย่างไร ว่าคนไหนเป็นพระเจ้ากุสราช ?”
    พระนางตรัสตอบว่า
    “ถ้าคนไหนลงก่อน ก็คนนั้นแหละ คือพระเจ้ากุสราช”
    นางขุชชาจึงสกดรอยไปดู ก็เห็นพระโพธสัตว์เจ้าเสด็จลงจากช้างพระที่นั่งก่อน พอพระโพธิสัตว์เจ้าทอดพระเนตรเห็นนางขุชชาก็ทรงแน่พระทัยว่า นางมาพิสูจน์พระองค์ จึงตรัสเรียกมากำชับว่า เจ้าอย่าไปบอกพระนางประภาวดีเป็นอันขาด
    นางค่อมนั้นจึงกลับไปกราบทูลพระนางว่า พระเจ้ากุสราชผู้เสด็จประทับอยู่ข้างหน้าช้างที่นั่งเสด็จลงก่อน พระนางประภาวดี ก็ทรงเชื่อถ้อยคำของนางค่อมนั้น
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระมเหสี
    เสด็จหนีกลับพระนคร
    ครั้นต่อมาพระราชาทรงใคร่เห็นพระนางอีก จึงทูลอ้อนวอนพระราชมารดาแล้วพระราชมารดาไม่อาจทรงห้ามได้ จึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นเจ้าจงปลอมตัวไปแอบอยู่ที่ประตูพระราชอุทยานอย่าให้ผู้ใดผู้หนึ่งรู้เห็น
    ฝ่ายพระราชาเสด็จไปยังอุทยานแล้วทรงยืนแช่น้ำอยู่ในสระโบกขรณีประมาณแค่คอ ปกพระเศียรด้วยใบบัว บังพระพักตร์ด้วยดอกบัวบาน แม้พระราชมารดาก็ทรงพาพระนางประภาวดีไปยังพระราชอุทยาน แล้วทรงพานักสนมกำนันไปลงเล่นน้ำในสระโบกขรณี
    ส่วนพระนางประภาวดีได้ทอดพระเนตรเห็นดอกบัวที่พระโพธิสัตว์เจ้าซ่อนอยู่นั้น จึงเสด็จว่ายน้ำเข้าไปเก็บ พระบรมโพรธสัตว์จึงทรงเปิดใบบัวออกเสีย แล้วคว้าข้อพระหัตถ์ของพระนางไว้ รับสั่งดัง ๆ ว่า [​IMG]
    “ตัวเรานี้แหละ คือพระเจ้ากุสราช...?”
    พระนางพอได้ทอดพระเนตรเห็นก็ทรงร้องขึ้นด้วยสำคัญว่ายักษ์จับเรา แล้วสิ้นพระสติสมฤดีอยู่ที่ตรงนั้นเอง พระราชาจึงทรงปล่อยพระหัตถ์ละจากพระนาง
    ครั้นพระนางรู้สึกพระองค์ได้แล้วทรงดำริว่า พระเจ้ากุสราชนี้เองได้ปลอมเป็นคนเลี้ยงช้าง และเป็นคนเลี้ยงม้า เรานี้ได้ผัวมีหน้าตาน่าเกลียดขนาดนี้ เราจำเป็นต้องทิ้งกลับไปหาผัวใหม่ให้จงได้
    ครั้นทรงดำริอย่างนี้แล้ว จึงให้พวกอำมาตย์ทั้งหลาย นำความไปกราบทูลพระเจ้าโอกกากราช พระองค์จึงทรงดำริว่า ถ้าไม่ให้นางไปนางก็คงตรอมใจตาย เราควรจักอนุญาตให้นางไปเสียก่อน แล้วค่อยคิดผันผ่อนนำมาต่อภายหลัง พอทรงดำริดังนี้แล้ว จึงอนุญาติให้พระนางเสด็จกลับไปได้
    ฝ่ายพระบรมโทธิสัตว์เจ้า ก็เสด็จกลับเข้าสู่พระนาคร กำลังทรงสะท้อนพระทัยด้วยทรงอาลัยในพระนางเจ้าเป็นหนักหนา
    ต่อนี้ไปจะกลับจะกลับกล่าวถึงเหตุแห่งบุคคลทั้งสองไว้ดังนี้

    <center> บุพพกรรม </center> ในอดีตกาล มีหมู่บ้านอันตั้งอยู่ใกล้ประตูเมืองพาราณสี มีตระกูล ๒ ตระกูลที่ถนนหมู่บ้านนั้น มีตระกูลหนึ่งมีลูกชายอยู่ ๒ คน อีกตระกูลหนึ่งมีลูกหญิง ๑ คน อยู่มาตระกูลที่มีลูกชาย ๒ คนนั้นเติบโต มารดาจึงไปขอภรรยาให้ลูกชายคนใหญ่
    อยู่มาวันหนึ่งน้องชายได้ไปป่าเสีย ส่วนพี่สะใภ้อยู่ทางบ้านจึงทำขนมเบื้อง โดยแบ่งไว้ให้น้องสามีส่วนหนึ่ง ที่เหลือนั้นแจกแบ่งกันบริโภคจนหมด
    พอกินขนมหมดแล้วก็มีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งเสด็จไปบิณฑบาต พี่สะใภ้จึงคิดว่า เราจะทำขนมไว้ให้น้องผัวของเราใหม่ ส่วนนี้จะเอาใส่บาตรเสีย
    ครั้นคิดแล้ว จึงเอาขนมส่วนนั้นไปใส่บาตรพระปัจเจกพุทธเจ้า พอน้องผัวกลับมาถึงก็เล่าเรื่องให้ฟัง น้องผัวก็โกรธว่า ส่วนของพี่ ๆ ได้กินเสียหมด ยกเอาส่วนของเราไปทำบุญเสียแล้วเราจะกินอะไร ว่าแล้วก็ตามไปแย่งเอาขนมมาจากบาตรพระปัจเจกพุทธเจ้า
    ฝ่ายพี่สะใภ้จึงไปหาเนยใส่ใหม่ ซึ่งมีสีเหมือนดอกจำปามาทอดขนมถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าอีกจนเต็มบาตร ขนมนั้นมีสีเหลืองปรากฏขึ้นในบาตร
    นางนั้นจึงตั้งความปราถนาว่า
    “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเกิดในภพใด ๆ ขอให้ร่างกายของดิฉัน จงเกิดม่รัศมีเปล่งปลั่ง และมีรูปร่างสดสวยงดงามเป็นอย่างยิ่งและขออย่าให้ได้พบคนเลวเหมือนกับน้องผัวของดิฉันคนนี้เลย”
    พอน้องผัวได้ฟังดังนั้น จึงเอาขนมของตนนั้น กลับไปใส่บาตรพระปัจเจกพุทธเจ้าอีก วางขนมของตนทับของพี่สะใภ้ลงไปแล้ว ตั้งความปรารถว่า
    “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะไปเกิดในชาติใดภพใดก็ตาม ขอให้พบกับพี่สะใภ้คนนี้อีก ถึงอยู่ไกลกันตั้งร้องโยชน์ก็ตามขอให้ข้าพเจ้านำมาเป็นภรรยาให้จงได้”
    เมื่อคนทั้งสองตายแล้ว ก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ ส่วนพี่สะใภ้จุติจากสวรรค์แล้ว ลงมาเกิดเป็น พระนางประภาวดี ส่วนน้องผัวลงมาเกิดเป็น พระเจ้ากุสราช คือพระโพธิสัตว์เจ้านี้เอง
    แต่ด้วยอำนาจแห่งบุพพกรรม ที่โกรธแล้วเอาขนมกลับคืนมานั้น พระโพธิสัตว์เจ้าจึงได้เป็นผู้มีรูปร่างไม่งดงามน่าเกลียด ดังนี้
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระราชา
    เสด็จตามพระมเหสี
    ฝ่ายพระเจ้ากุสราชแม้ทรงบำรุงบำเรอจากนางสนมทั้งหลาย ก็ไม่อาจคลายความเศร้าโศกอาลัยได้ พระองค์จึงกราบทูลพระราชมารดาไปสาคลนคร เพื่อติดตามหานางประภาวดีเอกอัครมเหสีต่อไป
    เมื่อพระราชาจะเสด็จออกจากพระนคร พระองค์ทรงเหน็บพระแสงอาวุธ ๕ อย่างและทรงบรรจุกหาปณะพันหนึ่งลงในย่าม พร้อมด้วยภาชนะพระกระยาหาร มือถือพิณทิพย์ไปตามลำพังแต่พระองค์ พระโพธิสัตว์ทรงมีพระกำลังเรี่ยวแรงมาก ทรงดำเนินไปสิ้นระยะทาง ๑๐๐ โยชน์ ก็ถึงเมืองสาคละในเวลาเย็น
    เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปแล้วเท่านั้น ด้วยเดชเดชานุภาพแห่งพระโพธิสัตว์ พระนางประภาวดีจะทรงบรรทมอยู่บนพระที่มิได้ ต้องเสด็จลงมาบรรทมเหนือภาคพื้น
    ในขณะที่พระองค์ทรงดำเนินมาตามถนน มีหญิงคนหนึ่งเชื่อเชิญให้ประทับในบ้านของตน พร้อมได้จักที่บรรทมและพระกระยาหารเสวย ครั้นเสวยเสร็จแล้วได้พระราชทานทรัพย์พันหนึ่ง กับภาชนะทองคำแก่หญิงคนนั้น แล้วฝากพระแสงเบญจาวุธไว้ที่บ้านนั้น
    พระองค์ทรงถือเอาพิณเสด็จไปยังโรงช้าง ขออนุญาตจากคนเลี้ยงช้างแล้วบรรทมระงับความเห็ดเหนื่อยแล้ว จึงทรงลุกขึ้น ดีดพิณขับร้องประสานเสียง ด้วยทรงมุ่งหวังจะให้ชาวเมืองสาคละได้ยิน
    พอพระนางประภาวดีได้ทรงสดับเสียงขับร้อง ก็ทรงทราบว่าพระเจ้ากุสราชคงจะเสด็จตามเรามาอย่างแน่นอน

    <center> พระโพธิสัตว์
    ทรงปลอมเป็นนายช่าง

    </center> เมื่อพระเจ้ากุสราชทรงเห็นว่า อยู่ที่โรงช้างไม่อาจจะได้เห็นพระนางประภาวดี พระองค์จึงเสด็จกลับไปที่เรือนหญิงนั้นอีก ทรงฝากพิณไว้แล้วได้เสด็จไปขอเป็นลูกมือช่างปั้นภาชนะต่าง ๆ ถวายหลวง พระองค์ได้ทรงปั้นภาชนะที่เขาจะไปถวายพระนางประภาวดีนั้น ทำให้มีลวดลายต่าง ๆ [​IMG]
    เมื่อทรงปั้นและเผาเสร็จแล้วให้พวกช่างนำไปถวายพระเจ้ามัทราช พระบาทท้าวเธอทรงแปลกพระหฤทัย จึงตรัสถามจนได้ทราบความจริงแล้ว ได้พระราชทานทรัพย์พันหนึ่งเป็นรางวัล พร้อมกับรับสั่งอีกว่า
    “คน ๆ นี้ไม่ควรเป็นศิษย์ของเจ้า ที่ถูกต้องเป็นอาจารย์ของเจ้า เจ้าจงศึกษากับเขาเถิด นับตั้งแต่นี้ไปจงจักให้เขาเป็นคนทำเครื่องปั้น ให้เป็นเครื่องเล่นสำหรับธิดาของเราทุก ๆ คน”
    ช่างปั้นนั้นก็รับเอาพระราชทรัพย์กลับมาถวายพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ก็ปั้นเครื่องเล่นต่าง ๆ ส่งเข้าไปถวายพระราชธิดาทั้ง ๗ พระองค์ของพระเจ้ามัทราช เฉพาะที่จะถวายพระนางประภาวดีนั้น พระองค์ทรงปั้นให้วิจิตรบรรจงยิ่งกว่าองค์อื่น ๆ
    พอพระนางได้ทอดพระเนตรเห็นพระรูปของพระราชสวามี และรูปนางขุชชาอยู่ในเครื่องปั้นก็ทรงทราบว่า เป็นของพระเจ้ากุสราชกระทำ จึงโยนของนั้นทิ้งตรัสว่าใครอยากได้ก็จงเอาไป
    ฝ่ายพระเจ้าน้องทั้งหลายทรงยิ้มแล้วกราบทูลว่า ขอพระพี่นางจงทรงรับไว้เถิด เพราะของพวกนี้นายช่างได้ทำขึ้นเฉพาะพระพี่นางเท่านั้น พระนางประภาวดีก็ทรงนิ่งเสีย ไม่ตรัสบอกว่าเป็นของพระเจ้ากุสราชทรงกระทำ เพราะไม่ต้องการที่จะให้ใครทราบว่า พระเจ้ากุสราชเสด็จตามมา
    ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า เราอยู่ในที่นี้ไม่อาจเห็นพระนาง จึงไปขอเป็นลูกมือของนายช่างจักสาน ออกจากนายช่างจักสานและดอกไม้ต่าง ๆ เข้าไปถวาย เหตุการณ์ก็เป็นเช่นเดิม โดยเฉพาะพระนางประภาวดี ได้โยนทิ้งเสียทุกคราว พระเจ้ากุสราชจึงเสด็จไปขอเป็นลูกมืออยู่กับเจ้าหน้าที่ห้องเครื่องต้น ซึ่งเป็นผู้ทำเครื่องเสวยพระเจ้ามัทราช
    วันหนึ่งพระโพธิสัตว์ได้ปิ้งเนื้อถวายพระเจ้ามัทราช พระองค์เสวยก็ทรงรู้สึกว่ามีโอชารสแปลกกว่าเนื้อปิ้งที่เคยเสวยแล้วจึงตรัสสั่งให้เป็นพนักงานทำพระกระยาหารถวายพระราชธิดาของพระองค์
    นับแต่นั้นไปพระโทธิสัตว์ได้ทรงทำเครื่องเสวยเสร็จแล้ว ทรงหาบไปถวายพระราชธิดาเอง พระนางประภาวดีได้ทอดพระเนตรเห็นก็ทรงดำริว่า พระเจ้ากุสราชมาทำงานอย่างทาสกรรมกร ไม่สมควรแก่พระองค์เลย ถ้าเราจะปล่อยให้เสด็จมาอย่างนี้ เขาก็จะเข้าใจว่าเรารักเขา จำเราจะด่าเสียให้เจ็บใจ เพื่อไม่ให้มาอีกต่อไป
    พระนางจึงไปแอบอยู่ที่บานประตูหนึ่งแล้วตรัสว่า
    “ท่านต้องมาแบกหามให้ได้รับความลำบาก ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืนเช่นนี้ ด้วยความประสงค์ตัวเรา แต่เราขอบอกว่าเชิญท่านกลับไปบ้านเมืองเสียดีกว่า จงไปหานางยักษิณีซึ่งมีหน้าคล้ายขนมเบื้องไปเป็นมเหสีเถิด เราไม่ต้องการที่จะอยู่กับท่านอีกแล้ว”
    พระโพธิสัตว์ได้ทรงสดับอย่างนี้แล้วทรงดีพระทัยจึงตรัสว่า
    “เราติดใจในรูปโฉมของเจ้ามาก การที่เราต้องทิ้งบ้านเมืองเพราะอยากเห็นหน้าเจ้า น้องประภาวดี....นอกจากตัวเจ้าแล้วเราไม่ต้องการสิ่งใดอีก”
    พระโพธิสัตว์ตรัสอย่างนี้แล้ว พระนางประภาวดีจึงทรงปิดประตูเสีย พระองค์จึงทรงหามเครื่องเสวยไปถวายพระราชธิดาองค์อื่น ๆ ตามลำดับ สำหรับเครื่องเสวยของพระนาง ทรงโปรดให้นางขุชชาบริโภค และได้เสวยส่วนของนางขุชชาแทน แล้วได้ทรงซ่อนพระองค์อยู่ภายในห้องบรรทม ไม่ให้พระบรมโพธิสัตว์ได้ทรงเห็นอีก
    ฝ่ายพระเจ้ากุสราชปรารถนาจะทดลองดูว่า พระนางจะมีความรักต่อพระองค์บ้างหรือไม่ จึงทรงหาบเครื่องเสวยเปล่าฝ่านประตูพระตำหนักของพระนางแล้ว ทรงแกล้งล้มสลบอยู่ตรงนั้น พระนางได้ยินเสียงดังโครมครวาม จึงเปิดประตูทรงเห็นพระโพธิสัตว์ล้มลงสลบ ก็เกิดสังเวชพระทัยว่า พระเจ้ากุสราชนี้ช่างมาลำบากเพราะตัวเราแท้ ๆ
    พระนางจึงรีบเสด็จออกไปก้มลงดูพระพักตร์เพื่อจะตรวจลมหายใจที่พระนาสิก (จมูก) ของพระเจ้ากุสราช พอได้ทีพระโพธิสัตว์ก็ถ่มพระเขฬะ (น้ำลาย) รดพระพักตร์พระนางเจ้า พระนางทรงพิโรธด่าว่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย แล้วเสด็จเข้าสู่พระตำหนักประทับยืนตรัสอยู่ข้างประตูว่า
    “ดูก่อนพระเจ้ากุสราช คนใดที่อยากได้คนที่ไม่อยากได้ตัว คนนั้นย่อมไม่มีความเจริญ ก็ฉันไม่รักท่าน ท่านจะมาให้ฉันรักท่าน มาอยากได้คนที่เขาไม่รักตัวเช่นนี้ ท่านก็ไม่มีความเจริญ”
    พระโพธิสัตว์เจ้าตรัสตอบว่า
    “นี้แน่ประภาวดี คนใดได้คนซึ่งเขาจะรักตัวก็ตาม ไม่รักตัวก็ตาม มาเป็นที่รักสมประสงค์แล้ว ฉันเรียกการได้นั้นว่าเป็นการดี ผิไม่ได้เป็นการไม่ดี”
    ทั้งสองได้ตรัสโต้ตอบกันอีกหลายคำ แต่รวบรัดตัดตอนว่าไม่สามารถตกลงกันได้ พระนางจึงปิดประตูเข้าตำหนักไป พระโพธิสัตว์จึงทรงยกหาบเครื่องเสวยกลับจากพระตำหนักทันที ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่ได้ทรงพบเห็นพระนางอีก
    เมื่อพระบรมกษัตริย์เจ้าทรงทำหน้าที่พนักงานเครื่องต้นอยู่นั้นทรงลำบากยิ่งนัก พอเสวยเช้าแล้วก็ต้องทรงผ่าฟืน ทรงล้างภาชนะน้อยใหญ่เสร็จแล้วไปตักน้ำ ถึงยามบรรทมก็บรรทมอยู่ข้างรางน้ำ
    พอตื่นบรรทมขึ้นก็ทรงทำเครื่องเสวยแล้วหาบไปถวายพระราชธิดาทั้งหลาย การที่พระองค์ต้องทรงลำบากอย่างยิ่งนี้ ก็เพราะอาศัยรักใคร่ยินดีในกามารมณ์เป็นต้นเหตุ
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] [​IMG] [/FONT]<center> นางขุชชา
    รับเป็นแม่สื่อ
    </center> อยู่มาวันหนึ่งพระองค์ทอดพระเนตรเห็นนางขุชชามาที่ข้างห้องเครื่อง จึงตรัสขอร้องให้นางค่อมช่วยทำให้พระนางประภาวดีมีความกรุณา อย่างน้อยแค่ให้แลดู หรือยิ้มแย้มแจ่มใสต่อพระองค์บ้าง เมื่อกลับไปกรุงกุสาวดีแล้วจะมอบรางวัลให้อย่างเต็มที่
    นางขุชชาก็ทูลรับคำว่า อีกสองสามวันหม่อมฉันจะทำพระนางประภาวดีให้อยู่ในอำนาจของพระองค์ กราบทูลดังนี้แล้วก็กลับเข้าไปในตำหนักพระนาง ทำทีเข้าไปปัดกวาดจัดตั้งเป็นที่ประทับ แล้วกราบทูลว่าจะสางพระเกศาถวาย
    เมื่อมีโอกาสจึงทูลขึ้นว่า
    “พระราชบุตรีนี้ช่างไม่ทรงระลึกถึงครั้งยังอยู่กับพระเจ้ากุสราช บัดนี้พระราชสวามีได้เสด็จมาเป็นคนรับใช้ การที่พระองค์ต้องทรงทนลำบากเช่นนี้ เป็นเพราะทรงอาลัยในพระแม่เจ้าผู้เดียวเท่านั้น
    แต่พระแม่เจ้าช่างไม่มีเยื่อใย ทำเหมือนอย่างเป็นคนอื่นคนไกล หม่อมฉันเห็นว่าไม่เป็นการสมมควรยิ่งนัก”
    ครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้วก็หยุดวาจานิ่งฟัง ว่าพระนางเจ้าจะตรัสประการใด
    พระนางประภาวดีได้ทรงสดับถ้อยคำของพี่เลี้ยงดังนี้แล้วก็ทรงกริ้วว่า พระพี่เลี้ยงแนะนำให้พระนางทรงโน้มพระทัยต่อพระราชสวามี ผู้มีรูปโฉมอันน่าเกลียด
    พระพี่เลี้ยงก็ทำเป็นโกรธผลักพระนางเข้าไปในห้องแล้วปิดประตูเสีย พระนางขัดพระทัยขึ้นมาจึงด่าออกไป แต่นางขุชชาก็ไม่เปิดประตูถวาย แต่กลับทูลสรรเสริญพระเจ้ากุสราชว่า [​IMG]
    “อันความสวยงามของพระแม่เจ้าจะเอาไปทำสิ่งใดได้ อย่าเทียบพระเจ้ากุสราชด้วยพระรูปพระโฉม พระองค์นั้นสมบูรณ์ด้วยพระราชอิสริยยศ พระแม่เจ้าจงทรงรักพระองค์ด้วยพระคุณสมบัติของพระองค์จึงจะเป็นการดี
    พระเจ้ากุสราชนั้นเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยพระราชทรัพย์ ทรงพระกำลังกายใจเข้มแข็ง มีพระราชอาณาจักรอันกว้างใหญ่ ประเสริฐกว่ากษัตริย์ทั้งหลาย มีพระสุรเสียงก้องกังงานอันไพเพราะ เป็นผู้ทรงชำนาญในศิลปศาสตร์ทั้ง ๑๐๐ อย่าง โดยไม่ได้ศึกษามาจากผู้ใด
    ขอพระแม่เจ้าทรงเทียบพระพรูปสมบัติของพระแม่เจ้า กับคุณสมบัติของพระเจ้ากุสราชจึงจะถูกต้อง แล้วทรงรักใคร่ในพระเจ้ากุสราชด้วยพระคุณสมบัติจึงจะเป็นการดี”
    เมื่อพระนางประภาวดีได้ทรงสดับถ้อยคำดังนี้แล้ว จึงทรงขู่ว่าตวาดออกมาบ้าง ฝ่ายนางขุชชาก็แกล้งเอ็ดขึ้นว่า จะไปกราบทูลพระราชบิดาให้ทรงทราบเรื่องนี้ให้จงได้ พระนางเกรงว่าจะมีผู้รู้เรื่องเข้าจึงยอมแพ้นางขุชชา
    ตั้งแต่นั้นมาพระบรมโพธิสัตว์ก็ไม่ได้เห็นพระนางประภาวดีเลย พระองค์ทรงลำบากยากแค้นอยู่ถึง ๗ เดือน ด้วยการเสวยและการบรรทม จนพระบรมโพธิสัตว์หมดอาลัยในพระอัครมเหสี จึงทรงพระดำริที่จะกลับพระนครของพระองค์ ดังนี้
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876

    [​IMG]
    <center> อนุภาพ
    ท้าวสักกเทวราช
    </center> ในขณะนั้นท้าวสักกเทวราชก็ทรงทราบว่า พระโพธิสัตว์ทรงตกทุกข์ได้ยากไม่ได้ทรงพบเห็นอัครมเหสีถึง ๗ เดือนแล้ว เราควรจะช่วยพระองค์ได้สำเร็จพระราชประสงค์
    ครั้นแล้วจึงทรงเนรมิตบุรุษขึ้น ๗ คน ต่างอ้างว่าเป็นราชฑูตของพระเจ้ามัทราช นำพระราชสาส์นไปถวายกษัตริย์ทั้ง ๗ พระนครว่า
    “บัดนี้พระนางประภาวดีทรงละทิ้งพระเจ้ากุสราชกลับมาแล้ว ถ้าพระองค์มีพระราชประสงค์ ก็จงเสด็จออกมารับเอาพระนางไปเถิด”
    พระราชาทั้ง ๗ พระนครจึงพากันมาพร้อมด้วยบริวารใหญ่ เมื่อเสด็จถึงสาคลนครแล้ว ต่างองค์ก็ทรงไต่ถามซึ่งกันและกัน จนได้ทราบเหตุถึงกับทรงพิโรจ จึงพร้อมใจกันยกพลเข้าประชิดติดพระนครไว้ และได้ส่งราชฑูตเข้ากราบทูลพระเจ้ามัทราช
    พระบาทท้าวเธอทรงตระหนกตกพระทัย จึงรีบประชุมเสนาอำมาตย์มีพระราชดำรัสปรึกษา ฝ่ายเสนาอำมาตย์พากันกราบทูลขอให้พระองค์โปรดส่งพระนางประภาวดีออกไปถวายกษัตริย์นั้นเสีย
    พระเจ้ามัทราชจึงตรัสว่า ถ้าเราส่งลูกสาวให้แก่กษัตริย์องค์หนึ่ง กษัตริย์ที่เหลืออีกจักกระทำการรบ เราไม่อาจจะยกลูกสาวของเราให้แก่กษัตริย์องค์หนึ่งองค์ใดได้
    อีกประการหนึ่ง เราได้ยกให้แก่พระเจ้ากุสราชแล้ว แต่นางได้หนีมาออกมาจากพระองค์เสีย เพราะฉะนั้นเราจะต้องทำให้หนำใจ คือเราจะต้องตัดนางให้ออกเป็น ๗ ท่อน แล้วส่งไปให้พระราชาทั้ง ๗ พระองค์
    เมื่อตรัสดังนี้แล้วก็มีผู้นำความไปกราบทูลพระนางประภาวดี พอพระนางได้ทรงสดับเรื่องนี้ก็ทรงหวาดกลัวต่อความตายเป็นอย่างยิ่งจึงพร้อมด้วยพระกนิษฐา (น้องสาว) ทั้งหลายไปเฝ้าพระราชมารดาทูลรำพึงรำพันต่าง ๆ นานา

    <center> 
    ทรงระพึง
    ถึงพระเจ้ากุสราช
    </center> ฝ่ายพระเจ้ามัทราชจึงตรัสสั่งให้เรียกนายเพชฌฆาตเข้ามา พระราชมารดาของพระนางประภาวดีจึงทรงเศร้าโศกเป็นอันมาก เมื่อได้ทรงทราบข่าวนี้จึงได้เสด็จไปยังพระตำหนักของพระราชา แล้วกราบทูลถามว่า
    “พระองค์จะทรงฆ่าพระธิดาของหม่อมฉัน บั่นให้เป็นท่อน ๆ แล้วจะประทานแก่กษัตริย์ทั้งหลายจริงหรือเพคะ ?”
    พระราชาตรัสว่าจริงเพราะเรื่องยุ่งยากคราวนี้ได้เกิดเพราะลูกคนเดียว ถ้านางไม่ทิ้งพระเจ้ากุสราชมาก็จะไม่มีเรื่องยุ่งยากอย่างนี้ พระราชเทวีได้ทรงสดับดังนี้ จึงเสด็จกลับไปหาพระราชธิดาทรงรำพันว่า
    “พระลูกน้อยเอ๋ย.. พระราชบิดาไม่ทรงกระทำตามคำขอร้องของแม่ลูกจะต้องตายในวันนี้แล้วผู้ใดถ้าไม่ทำตามคำของบิดามารดา ผู้มีเมตตาหาประโยชน์ในภายหน้าให้ ผู้นั้นจะได้รับโทษเหมือนตัวเจ้านี้ ถ้าเจ้ายังอยู่กับพระเจ้ากุสราชจนวันนี้ ก็จะมีพระราชโอรสสักองค์หนึ่งแล้ว ตัวเจ้ากับหมู่ญาติก็จะมีความสุขไม่ต้องได้รับทุกข์อย่างนี้
    อันกรุงกุสาวดีนั้น สนุกสนานด้วยเสียงร้องรำทำเพลง ช้างม้าที่เป็นสัตว์พาหนะพากันคำรณกึกก้องอยู่เป็นนิตย์ นกต่าง ๆ ก็ส่งเสียงร้องไพเราะจับใจอยู่ในพระราชวังของพระเจ้ากุสราช ลูกคิดอย่างไรจึงได้กลับมาเสีย
    ถ้าพระเจ้ากุสราชประทับอยู่ในที่นี้ ก็จักเสด็จออกต่อตีกับกษัตริย์ทั้ง ๗ พระนครนั้นให้แตกไปโดยเร็ว บัดนี้ พระเจ้ากุสราชผู้สามารถปราบศัตรูให้พ่ายแพ้นั้น เสด็จอยู่ที่ไหนหนอ....”
    ฝ่ายพระนางประภาวดีจึงทรงดำริว่า ถ้าจะปล่อยให้พระมารดารำพันถึงพระเจ้ากุสราชอยู่อย่างนี้ เห็นทีจะไม่รู้จบ ควรที่เราจะกราบทูลให้ทรงทราบ ครั้นทรงดำริอย่างนี้แล้ว จึงกราบทูลขึ้นว่า
    “พระเจ้ากุสราชซึ่งทรงสามารถปราบอริศัตรูให้พ่ายแพ้ และแก้ไขให้พวกเราได้พ้นทุกข์ ได้เสด็จอยู่ที่นี่แล้วเพคะ”
    พระมารดาจึงทรงดำริว่า ลูกของเราเห็นจะกลัวตายเกินไปจึงพูดเพ้อไปได้เช่นนี้ ดังนี้แล้วจึงตรัสว่า
    “เจ้าเป็นบ้าไปแล้วหรือไร จึงได้พูดอย่างนี้ ถ้าพระเจ้ากุสราชเสด็จอยู่ในที่นี้จริงทำไมมารดาจึงไม่ทราบเล่า”

    <center>  พระโพธิสัตว์
    ทรงแสดงพระองค์
    </center> เมื่อพระนางประภาวดีทรงเห็นว่า พระราชชนนีไม่ทรงเชื่อถือถ่อยคำนี้ พระนางจึงจับพระหัตถ์ของพระราชชนนี เสด็จไปที่ช่องพระแกลแล้วชี้ให้พระมารดาดูว่า
    “นั่นแน่ะ....พระเจ้ากุสราชซึ่งทรงปลอมพระองค์เป็นพ่อครัว นุ่งผ้าหยักรั้งกำลังล้างภาชนะอยู่ในตำหนักของพวกน้อง ๆ นั้น”
    กล่าวคือ เวลานั้นพระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า ความประสงค์ของเราจะสำเร็จในวันนี้แล้ว เพราะเมื่อพระนางประภาวดีมีความกลัวตาย ก็จำกราบทูลพระราชบิดาให้ทรงทราบว่าเราได้มาอยู่ที่นี่แล้ว
    เมื่อทรงดำริอย่างนี้แล้วจึงทรงจัดแแจงล้างถ้วยล้างชามวุ่นอยู่ในเวลานั้น
    ฝ่ายพระราชชนนีจึงตรัสขึ้นว่า
    “เจ้าเป็นหญิงชั่วช้าเลวทรามหรือจึงมีผัวเป็นทาสเช่นนี้ ไม่สมกับที่เจ้าเกิดในตระกูลกษัตริย์มัทราชเลย”
    พระนางประภาวดีจึงเสนองพระวาทีว่า
    “หม่อมฉันหาได้เป็นภรรยาทาสไม่ นั้นคือพระเจ้ากุสราชผุ้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าโอกกากราชโดยแท้ แต่พระมารดาเข้าพระทัยว่าเป็นทาสไปเอง
    พระเจ้ากุสราชนั้น เมื่อพระองค์ยังทรงประทับอยู่ในพระนครของพระองค์ ได้พระราชทานอาหารเลี้ยงพราหมณ์วันละ ๒ หมื่นอยู่เป็นนิตย์
    พวกพนักงานช้าง กรมม้า กรมรถ ได้พากันจัดช้าง ม้า และรถไว้อย่างละ หมึ่น ๆ เพื่อใช้ในราชกิจได้ทันท่วงทีอยู่เป็นนิตย์
    พวกพนักงานรีดนมโค ก็ได้รีดนมจากแม่โควันละ ๒ หมื่นตัว ไปถวายทุกวันมิได้ขาด ผู้นั้นแหละ คือพระเจ้ากุสราชที่สมบูรณ์ด้วยพระราชพาหนะพลโยธาหาญ ทรัพย์ศฤคาร ดังที่หม่อมฉันกราบทูลถวายแล้วนี้”
    เมื่อราชชนนีได้ทรงฟังพระนางกราบทูล โดยท่าทางมิได้สะทกสะท้านก็ทรงเชื่อว่าเป็นจริง จึงเสด็จไปเฝ้าพระเจ้ามัทราช กราบทูลให้ทรงทราบตามคำบอกเล่านั้น
    พระเจ้ามัทราชจึงรีบเสด็จไปยังตำหนักพระนางประภาวดี ทรงตรัสถามจนทราบความนี้แล้ว แต่พระองค์ยังไม่ทรงเชื่อถือ จึงได้ตรัสถามนางขุชชา ได้ความจริงตามถ้อยคำของพระราชธิดาแล้วตวาดพระนางว่า
    “ดูก่อนเจ้าผู้เป็นพาล เหตุไรจึงไม่บอกพ่อให้ทราบเสียแต่ต้น ปล่อยให้พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์อันประเสริฐปลอมเป็นคนครัวเช่นนี้เล่า...”
    ครั้นตวาดพระราชธิดาอย่างนี้แล้ว จึงรีบเสด็จไปขอโทษพระบรมโพธิสัตว์ว่า
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์อันประเสริฐในพื้นปฐพี ขอพระองค์จงทรงกรุณาอดโทษแก่หม่อมฉันด้วยเถิด ที่ไม่ทราบว่าพระองค์เสด็จมาในที่นี้ เพราะเหตุที่พระองค์ปกปิดเสีย”
    ฝ่ายพระโพธิสัตว์จึงทรงดำริว่า
    ถ้าเราจะตัดพ้อต่อว่าขึ้น พระเจ้ามัทราชก็จะสดุ้งกลัวจนถึงกับความตาย ควรเราจะโลมเล้าเอาพระทัยท้าวเธอไว้ เมื่อทรงดำริดังนี้แล้วจึงตรัสว่า
    “หม่อมฉันไม่ได้ปกปิดตัวเลย หม่อมฉันได้เข้ารับเป็นพนักงานเครื่องต้น ขอพระองค์อย่าทรงเสียพระทัยเลย ความผิดจะได้มีแก่พระองค์ก็หามิได้”
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระนางประภาวดี
    ทรงขอขมาโทษ
    ครั้นพระเจ้ามัทราชได้ทรงสดับดังนี้แล้วจึงเสด็จกลับมาสู่ปราสาท ตรัสสั่งพระประภาวดีให้ไปขอขมาโทษต่อพระเจ้ากุสราช พระนางได้ทรงสดับพระราชโองการก็ไม่รู้จะทำประการใด จึงพร้อมด้วยพระราชกุมารีผู้เป็นน้อง ๆ กับเหล่าสนมนารี ไปเฝ้าพระโพธิสัตว์โดยความจำเป็น
    ในเวลานั้น พระโพธิสัตว์กำลังทำงานหน้าที่พ่อครัวอยู่ เมื่อพระองค์ทรงเห็นพระนางประภาวดีเสด็จมา จึงทรงพระดำริว่า วันนี้เราจักทำลายทิฏฐิมานะของพระนางให้หมอบลงติดกับโคลนข้างเท้าของเรานี้ให้ได้
    ทรงดำริอย่างนี้แล้ว จึงทรงเทน้ำมันที่พระองค์ตักมาทิ้งลงไปในดิน แล้วเหยียบให้เป็นโคลนกว้างเท่าลานนวดข้าว พอพระนางเสด็จมาถึง จึงหมอบลงแทบพระบาทของพระโพธิสัตว์ แล้วทูลขอโทษว่า
    “ข้าแต่ใต้ฝ่าพระบาท หม่อมฉันขอน้อมเกล้าลงถวายบังคมพระบาทของพระองค์ทั้งคู่ โทษที่หม่อมฉันได้เกลียดชังพระองค์ตลอดกาลนานแล้วนี้ ขอพระองค์ได้ทรงอดโทษแก่หม่อมฉันด้วยเถิด
    นับแต่วันนี้ไปหม่อมฉันจะไม่เกลียดชังพระองค์อีกแล้ว ถ้าพระองค์ไม่ทรงพระกรุณาแก่หม่อมฉันในเวลานี้แล้ว หม่อมฉันจักไม่แคล้วจากความตาย ขอพระองค์จงทรงโปรดแก่หม่อมฉัน ให้พ้นจากอันตรายครั้งนี้ด้วยเถิดเพคะ” [​IMG]
    หน่อพระบรมพงษ์โพธิสัตว์จึงทรงดำริว่า ถ้าเราจักไม่โต้ตอบ หรือจักตวาดให้แก่พระนางในเวลานี้ เธอก็จักต้องขาดใจตายเป็นแน่นอน
    ครั้นทรงดำริดังนี้แล้ว จึงตรัสปลอบพระทัยว่า
    “เมื่อน้องอ้อนวอนอยู่อย่างนี้ ไฉนพี่จักไม่ทำตามคำของน้องเล่า พี่ไม่โกรธไม่เกลียดชังน้องอีกต่อไป ความจริงพี่สามารถทำลายตระกูลกษัตริย์มัทราช แล้วนำน้องไปได้ แต่เพราะความรักต่อน้อง พี่จึงสู้ยอมทนทุกข์มากมายเช่นนี้...”
    พระบาทท้าวเธอทรงตรัสอย่างนี้แล้วทรงรับอาสาออกต่อสู้กับกษัตริย์ทั้ง ๗ พระนครนั้น แล้วเสด็จเป็นจอมทัพออกไปต่อสู่กับข้าศึก จึงตรัสประกาศขึ้น ๓ ครั้งว่า ตัวเรานี้แหละ คือพระเจ้ากุสราช ใครยังรักชีวิตก็จงอ่อนน้อมยอมสวามิภัคดิ์โดยเร็วพลัน
    ครั้นกษัตริย์ทั้ง ๗ พระนครพร้อมทั้งพลโยธาหาญได้สดับพระราชโองการดังนี้ ต่างก็มีความสยดสยองทิ้งกองทัพหนีไปด้วยอำนาจพระบารมีของพระบรมโพธิสัตว์

    <center> พระโพธิสัตว์
    ทรงงดงามทั้งกายและใจ
    </center> ฝ่ายท้าวสักกเทวราชได้ทรงเห็นว่า พระโพธิสัตว์มีชัยแก่ข้าศึกแล้ว จึงพระราชทานแก้วมณีดวงหนึ่งให้แก่พระโพธิสัตว์ พระองค์จึงยกทัพกลับเข้าสู่พระนคร แล้วกราบทูลพระเจ้ามัทราชว่า ควรยกพระราชธิดาอีก ๗ พระองค์ ให้แก่กษัตริย์ทั้ง ๗ พระนครนั้น จึงจะเป็นการสมควร
    เมื่อพระเจ้ามัทราชทรงอนุญาตแล้ว พระกุสราชจึงจัดการราชาภิเษกพระราชธิดาทั้ง ๗ พระองค์ กับกษัตริย์ทั้ง ๗ พระนาครแล้วก็ส่งกลับพระนคร
    ส่วนพระเจ้ากุสราชได้ทรงรับแก้วมณีจากท้าวโกสีย์แล้ว ก็ทรงส่องแก้วมณีต้องพระพักตร์และพระกายทั้งสิ้น ก็มีพระพักตร์และพระกายทั้งสิ้น สุกใสเปล่งปลั่งขึ้นดังประหนึ่งแท่งทองชมพูนุทฉะนั้น
    นับแต่วันนั้นไป พระองค์ก็มีพระรูปพระโฉมอันงดงามล้ำเลิศ ด้วยอานุภาพของแก้วมณีดวงนั้น ทำให้พระนางประภาวดีทรงมีพระเสน่หาอาลัยอย่างสุดซึ้ง
    พระโพธิสัตว์จึงพาพระอัครมเหสีถวายบังคมลาพระราชบิดามารดา แล้วเสด็จกลับกรุงกุสาวดี พร้อมด้วยพลโยธาแห่แหนแน่นขนัด ทั้งสองพระองค์นั้นประทับอยู่ในพระราชรถคันเดียวกัน เสด็จเข้ากรุงกุสาวดีมีพระฉวีวรรณและพระรูปโฉมทัดเทียมกัน
    พระราชมารดาของพระโพธิสัตว์ และพระชยัมบดีราชกุมารผู้เป็นพระอนุชา ได้เสด็จไปต้อนรับถึงนอกพระนคร ในกาลนั้นพระเจ้ากุสราชและพระนางประภาวดีก็ทรงสัครสมานกัน ได้ทรงปกครองราชอาณาจักรกุสาวดีให้รุ่งเรืองตลอดกาลสวรรคต
    ครั้นสมเด็จพระทศพลโปรดประทานเทศนาชาดกนี้จบลงแล้ว จึงประกาศอริยสัจ ๔ สืบต่อไป โปรดให้ภิกษุผู้เป็นต้นเหตุแห่งพระธรรมเทศนานี้ได้สำเร็จพระโสดาปัตติผล แล้วทรงประชุมชาดกนี้ว่า
    พระชนกชนนีของพระเจ้ากุสราช นั้นได้มาเกิดเป็น พระนกชนนีของเราตถาคต นี้ ชยัมบดีราชกุมาร ได้มาเกิดเป็น พระอานนท์ นางขุชชา ได้มาเกิดเป็นนาง ขุชชุตตรา
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] พระนางประภาวดี ได้มาเกิดเป็น มารดาพระราหูล บริวารเหล่านั้นได้มาเกิดเป็นบริวารของเราตถาคต ส่วน พระเจ้ากุสราช คือ เราตถาคต ในบัดนี้แล จบ กุสชาดก แต่เพียงนี้ [/FONT]
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> เรื่องเบื้องต้น </center>
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] [/FONT] บุพพกรรมของ พระเจ้ามิลินท์ และ พระนาคเสน
    กล่าวคือ เมื่อครั้งศาสนาของ สมเด็จพระพุทธกัสสป โน้น
    มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระเจ้าวิชิตาวี เสวยราชอยู่ใน สาครนครราชธานี
    พระองค์ทรงอนุเคราะห์มหาชนด้วยสัคหวัตถุ ๔ สร้างมหาวิหารลงไว้แม่น้ำคงคา ถวายพระเถระทั้งหลายที่ทรงคุณธรรมต่าง ๆ กัน มีทรงพระไตรปิฎก เป็นต้นทั้งบำรุงด้วยปัจจัย ๔
    เมื่อพระองค์ทรงสิ้นแล้ว ก็ได้ขึ้นไปบังเกิดเป็น พระอินทร์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้วยอานิสงส์นั้น และมหาวิหารที่ท้าวเธอทรงสร้างไว้ ถึงพระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้วก็ดี ก็มีพระภิกษุอาศัยอยู่เป็นอันมาก
    ในพระภิกษุสงฆ์เหล่านั้น พระภิกษุทั้งหลายผู้สมบูญด้วยข้อวัตรเป็นอันดี เช้าขึ้นก็ถือเอาไม้กวาดด้ามยาว แล้วนึกถึงพระพุทธคุณ แล้วจึงพากันกวาดบริเวณพระเจดีย์ กวาดเอาหยากเยื่อไปรวมเป็นกองไว้
    มีพระภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีลองค์หนึ่งเรียกสามเณรองค์หนึ่งว่า
    "จงมานี้...สามเณร ? จงหอบเอาหยากเยื่อไปทิ้งเสีย"
    สามเณรนั้นก็เฉยอยู่ เหมือนไม่ได้ยิน พระภิกษุองค์นั้นเรียกสามเณรนั้นถึง ๓ ครั้ง เห็นสามเณรนั่งนิ่งเฉยอยู่เหมือนไม้ได้ยินก็คิดว่า สามเณรองค์นี้หัวดื้อ จึงไปตีด้วยด้ามไม้กวาด สามเณรก็ร้องไห้ด้วยความเจ็บปวด แล้วหอบเอาหยากเยื่อไปทิ้งด้วยความกลัว
    เมื่อหอบเอาหยากเยื่อไปทิ้งนั้น ได้ปรารถนาว่า
    “ด้วยผลบุญที่เราได้หอบหยากเยื่อมาทิ้งนี่หากเรายังไม่ถึงนิพพานเพียงใด เราจะเกิดในภพใด ๆ ก็ตาม ขอให้เรามีเดชเหมือนกับดวงอาทิตย์เที่ยงวันฉะนั้นเถิด"
    สามเณรตั้งความปรารถนาดังนี้แล้ว ก็เดินไปอาบน้ำที่แม่น้ำคงคา ดำผุดดำว่ายเล่นตามสบายใจ
    เมื่อสบายใจแล้วก็ได้เห็นละลอกคลื่นในแม่น้ำนี้มากมายนักหนา ก็ยินดีปรีดาจะใคร่มีปัญญาเฉลียวฉลาดไม่รู้สุดรู้สิ้น ดุจลูกคลื่นในแม่น้ำนั้น และได้คิดว่าอาจารย์ได้ใช้ให้เราหอบเอาหยากเยื่อมาทิ้งนี้ ไม่ใช่เป็นกรรมของเรา ทั้งไม่ใช่เป็นกรรมของอาจารย์แต่เป็นการอนุเคราะห์เราให้ได้บุญเท่านั้น
    ครั้นคิดดังนั้นแล้ว จึงปรารถนาขึ้นอีกเป็นครั้งที่ ๒ ว่า
    “ข้าพเจ้ายังไม่ถึงนิพพานตราบใด ไม่ว่าข้าพเจ้าจะไปเกิดในชาติใด ๆ ขอให้ข้าพเจ้ามีปัญญาไม่รู้สิ้นสุด เหมือนกับลูกคลึ่นในแม่น้ำคงคานี้เถิด”
    ส่วนพระภิกษุผู้เป็นอาจารย์นั้น เมื่อเอาไม้กวาดไปเก็บไว้ที่โรงเก็บไม้กวาดแล้ว ก็ลงที่ท่าน้ำคงคาเพื่อจะอาบน้ำ ก็ได้ยินเสียงสามเณรตั้งความปรารถนา จึงคิดว่า
    ความปรารถนาของสามเณรนี้ เป็นความปรารถนาใหญ่ จะสำเร็จได้เพราะอาศัยพระพุทธคุณ
    คิดดังนี้แล้ว จึงหัวเราะขึ้นด้วยความดีใจว่า สามเณรนี้ถึงเป็นผู้ที่เราใช้ก็ยังปรารถนาอย่างนี้ ความปรารถนาของสามเณรนี้ จักสำเร็จเป็นแน่แท้ คิดดังนี้แล้ว จึงตั้งความปรารถนาว่า
    “ข้าพเจ้ายังไม่สำเร็จนิพพานตราบใดขอให้ข้าเจ้ามีปัญญาหาที่สุดมิได้ เหมือนกับฝั่งแม่น้ำคงคานี้ ให้เป็นผู้สามารถแก้ไขปัญหาปฎิภาณทั้งปวง ที่สามเณรนี้ไต่ถามได้สิ้น
    ให้สามารถชี้แจงเหตุผลต้นปลายได้เหมือนกับบุรุษที่ม้วนกลุ่มด้าย สางด้ายอันยุ่งให้รู้ได้ว่า ข้างต้นข้างปลายฉะนั้น ด้วยอำนาจบุญที่ข้าพเจ้าได้กวาดวัด และใช้สามเณรให้นำหยากเยื่อมาเททิ้งนี้เถิด"
    เมื่อบุคคลทั้งสองนั้น ท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในเทพยดาและมนุษย์ ก็ล่วงมาถึง ๑ พุทธันดร พระพุทธเจ้าเราทั้งหลายผู้เป็นที่พึ่งของโลกได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า
    ความเกิดขึ้นแห่งพระเถระ มี พระโมคคลีบุตรติสสเถระ และ พระอุปคุตตเถระ เป็นต้น จักปรากฎฉันใด ความเกิดขึ้นแห่งบุคคลทั้งสองนั้น ก็จะปรากฎฉันนั้น
    เมื่อเราปรินิพพานล่วงไปได้ ๕๐๐ ปีแล้ว บุคคลทั้งสองนั้นจักเกิดขึ้น ธรรมวินัยอันใด อันเป็นของสุขุมที่เราแสดงไว้ ธรรมวินัยอันนั้น บุคคลทั้งสองนั้นจักแก้ไขให้หมดฟั่นเฝื่อด้วยการไต่ถามปัญหากัน ดังนี้
    ต่อมาสามเณรนั้น ก็ได้มาเกิดเป็น พระเจ้ามิลินท์ ในสาคลนคร อันมีในชมพูทวีปพระเจ้ามิลินท์นั้นเป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาดมีความคิดดี สามารถรู้เหตุการณ์อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันได้
    เป็นผู้ใคร่ครวญในเหตุการณ์ถี่ถ้วนทุกประการ เป็นผู้ได้ศึกษาศาสตร์ต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก ถึง ๑๘ ศาสตร์ด้วยกัน รวมเป็น ๑๙ กับทั้งพุทธศาสตร์

    <center> ศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ คือ </center> ๑. รู้จักภาษาสัตว์มีเสียงนกร้อง เป็นต้น ว่าร้ายดีประการใดได้สิ้น
    ๒. รู้จักกำหนิดเขาและไม้ เป็นต้นว่า ชื่อนั้น ๆ
    ๓. คัมภีร์เลข
    ๔. คัมภีร์ช่าง
    ๕. คัมภีร์นิติศาสตร์ รู้ที่จะเป็นครูสั่งสอนท้าวพระยาทั้งปวง
    ๖. คัมภีร์พาณิชยศาสตร์ รู้ที่จะเลี้ยงฝูงชนให้เป็นสิริมงคล
    ๗. พลศาสตร์ รู้นับนักขัตฤกษ์ รู้ตำราดวงดาว
    ๘. คันธัพพศาสตร์ รู้เพลงขับร้องและดนตรี
    ๙. เวชชศาสตร์ รู้คัมภีร์แพทย์
    ๑๐. ธนูศาสตร์ รู้ศิลปะการยิงธนู
    ๑๑. ประวัติศาสตร์
    ๑๒. ดาราศาสตร์ รู้วิธีทำนายดวงชะตาของคน
    ๑๓. มายาศาสตร์ รู้ว่านี่เป็นแก้ว นี่มิใช่แก้ว เป็นต้น
    ๑๔. เหตุศาสตร์ ผลศาสตร์ รู้จักเหตุรู้จักผลจะบังเกิด
    ๑๕. ภูมิศาสตร์ รู้จักที่จะเลี้ยงโคกระบือรู้จักการที่จะจะหว่านพืชลงในนาไร่ให้เกิดผล
    ๑๖. ยุทธศาสตร์ รู้คัมภีร์พิชัยสงคราม
    ๑๗. ลัทธิศาสตร์ รู้คัมภีร์โลกโวหาร
    ๑๘. ฉันทศาสตร์ รู้จักคัมภีร์ผูกบทกลอนกาพย์โคลง

    พระเจ้ามิลินท์นั้น มีถ้อยคำหาผู้ต่อสู้ได้ยาก ปรากฎยิ่งกว่าพวกเดียรถีทั้งปวง ไม่มีใครเสมอเหมือนในทางสติปัญญา ทั้งประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ คือ
    ๑. มีเรียวแรงมาก
    ๒. มีปัญญามาก
    ๓. มีพระราชทรัพย์มาก

    อยู่มาคราวหนึ่ง พระเจ้ามิลินท์ได้เสด็จออกจากพระนครด้วยพลนิกรเป็นอันมากหยุดอยู่นอกพระนครแล้ว ตรัสแก่พวกอำมาตย์ว่า
    "เวลายังเหลืออยู่มาก เราจะทำอะไรดีเราจะกลับเข้าเมืองก็ยังวันอยู่ สมณพราหมณ์เจ้าหมู่เจ้าคณะคณาจารย์ที่ยืนยันว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ใดหนอ อาจสนทนากันเราได้ อาจตัดความสงสัยของเราได้"
    เมื่อตรัสอย่างนี้ พวกโยนกข้าหลวงทั้ง ๕๐๐ ก็กราบทูลขึ้นว่า
    "ข้าแต่มหาราชาเจ้า บัณฑิตที่จะพอสนทนากับพระองค์ได้นั้นมีอยู่ คือครูทั้ง ๖ อันได้แก่ ปรูณกัสสป มักขลิโคลาส นิคัณฐนาฎบุตร สญชัยเวฬฎฐบุตร อชิตเกสกัมพล ปกุทธกัจจายนะ พระเจ้าข้า
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] ครูทั้ง ๗ นั้น เป็นเจ้าหมู่คณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียงปรากฎ มียศบริวารมีผู้คนนับถือมาก ขอมหาราชาเจ้าจงเสด็จไปไต่ถามปัญหา ต่อคณาจารย์เหล่านั้นเถิด คณาจารย์เหล่านั้นจะตัดความสงสัยของพระองค์ได้ พระเจ้าข้า” [/FONT]
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> เรื่องพระเจ้า
    มิลินท์เสด็จไปหาครูทั้ง ๖
    </center>
    ลำดับนั้น พระเจ้ามิลินท์ก็ห้อมล้อมด้วยข้าหลวงโยนกทั้ง ๕๐๐ ขึ้นทรงราชรถเสด็จไปหา    ปูรณกัสสป ทรงปราศรัยแล้วประทับนั่งลง ตรัสถามว่า
    “ท่านกัสสป อะไรรักษาโลกไว้?"
    ปูรณกัสสปตอบว่า
    "ขอถวายพระพร แผ่นดินรักษาโลกไว้"
    พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสว่า
    ถ้าแผ่นดินรักษาโลกไว้ เหตุไรผู้ทำบาปจึงล่วงเลยมาแผ่นดินลงไปถึงอวีจีนรกล่ะ?"
    เมื่อตรัสอย่างนี้ ปูรณกัสสปก็ไม่อาจโต้ตอบได้ ได้แต่นิ่งกลืนน้ำลายอยู่เท่านั้น
    ลำดับนั้น พระเจ้ามิลินท์จึงทรงดำริว่า ชมพูทวีปว่างเปล่าเสียแล้ว ชมพูทวีปไม่มีประโยชน์เสียแล้ว เพราะไม่มีสมณพราหมณ์เจ้าหมู่คณะ คณาจารย์ ผู้อวดอ้างตนว่า เป็นพระสมมาสัมพุทธเจ้า จะสามารถตัดความสงสัยของเราไได้
    ทรงดำริอย่างนี้แล้ว จึงเสด็จไปหา มักขลิโคสาล ตรัสถามว่า
    "ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีอยู่หรือ?"
    มักขลิโคสาลตอบว่า
    "ขอถวายพระพร ไม่มี...คือพวกใดเคย เป็นกษัตริย์ หรือพราหมณ์ เวศย์ ศูทร จัณฑาล คนเทหยากเยื่ออยู่ในโลกนี้ เวลาไปถึงโลกหน้าก็จะเกิดเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ เวศย์ ศูทร จัณฑาล คนเทหยากเยื่ออีกการทำบุญไม่มีประโยชน์อะไร"
    พระเจ้ามิลินทร์จึงตรัสอีกว่า
    "ถ้าอย่างนั้น พวกใดที่มีมือด้วนเท้าด้วนในโลกนี้ พวกนั้นไปเกิดในโลกหน้า ก็จะต้องมีมือด้วนเท้าด้วนอีกน่ะซี"
    มักขลิโคสาลตอบว่า
    "อย่างนั้น มหาบพิตร คือผู้ใดได้รับโทษถูกตัดมือตัดเท้าในโลกนี้ เวลาผู้นั้นไปเกิดในโลกหน้า ก็จะถูกตัดมือตัดเท้าอีก"
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า
    "โยมไม่เชื่อ"
    มักขลิโคสาลก็นิ่ง พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสต่อไปว่า
    นี่แน่ะ มักขลิโคสาล ข้าพเจ้าถามท่านว่า ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีอยู่หรือ ท่านก็แก้เสียอย่างนี้ ท่านเป็นคนโง่เขลา พวกใดทำกรรมที่จะให้เกิดไว้อย่างใด ๆ พวกนั้นก็ต้องไปเกิดด้วยกรรมนั้น ๆ
    ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงตรัสแก่พวกอำมาตย์ขึ้นว่า
    "นี้แน่ะ ท่านทั้งหลาย เวลานี้ก็ค่ำแล้วเราจะไปหาสมณพราหมณ์ เจ้าหมู่คณะ คณาจารย์ใด ๆ อีก ผู้ใดจะอาจสมทนากับเราได้ อาจตัดความสงสัยของเราได้"
    ตรัสอย่างนี้หลายหน แต่พวกอำมาตย์ก็พากันนิ่งอยู่ ไม่รู้ว่าจะกราบทูลอย่างไร ท้าวเธอก็เสด็จกลับเข้าสู่พระนคร
    ต่อจากนั้นไป พระองค์ก็ได้ไปเที่ยวไต่ถามสมณพราหมณ์ เจ้าหมู่คณะ คณาจารย์ ในที่นั้น ๆ ไม่เลือกหน้า
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] พวดใดแก้ปัญหาของท้าวเธอไม่ได้ พวกนั้นก็หนีไป พวกที่ไม่หนีก็สู้ทนยิ่งอยู่แต่โดยมากได้พากันหนีไปสู่ป่าหิมพานต์เมืองสาคลนครจึงเหมือนกับว่างจากสมณพราหมณ์อยู่ถึง ๑๒ ปี [/FONT]
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> พระอรหันต์ขึ้นไปเชิญ </center> <center> มหาเสนะเทพบุตร </center>
    ในคราวนั้น มีพระอรหันต์ ๑๐๐ โกฎิ อาศัยอยู่ที่ ถ้ำรักขิตเลณะ   ในภูเขาหิมพานต์ ได้ทราบประวัติการณ์ของพระเจ้ามิลินท์แล้วจึงได้ขึ้นไปประชุมกันที่ยอดเขายุคันธรตามกันขึ้นว่า
    "มีพระภิกษุองค์ใด สามารถโต้ตอบกับพระเจ้ามิลินท์ ตัดความสงสัยของพระองค์ได้?"
    ถามกันอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง พระอรหันต์ทั้ง ๑๐๐ โกฎิก็นิ่งอยู่ ลำดับนั้น พระอัสสคุตตะ ผู้เป็นหัวหน้า จึงกล่าวขึ้นว่า
    "ดูก่อนท่านทั้งหลาย มหาเสนะเทพบุตรที่อยู่ในเกตุมดีวิมาน ทางด้านตะวันออกแห่งเวชยันตวิมานของพระอินทร์มีอยู่ มหาเสนะเทพบุตรนั้นแหละ อาจโต้ตอบกับพระเจ้ามิลินท์ได้ อาจตัดความสงสัยของพระองค์ได้"
    พระอรหันต์ทั้ง ๑๐๐ โกฎิ จึงได้พร้อมกันขึ้นไปหาพระอินทร์ที่ดาวดึงสเทวโลก พระอินทร์จึงเสด็จออกมาต้อนรับกราบไหว้แล้วถามว่า
    “ข้าแต่ท่านทั้งหลาย มีพระภิกษุสงฆ์มาเป็นอันมาก โยมนี้เป็นเหมือนกับคนวัดสำหรับรับใช้ พระภิกษุสงฆ์จะให้โยมทำ อะไร ขอได้โปรดบอกเถิด"
    พระอัสสคุตต์จึงถวายพระพรว่า
    "เวลานี้มหาราชาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า "มิลินท์" อยู่ในชมพูทวีป เป็นผู้ได้เรียนศาสตร์ต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก ฉลาดเจรจา ไม่มีใครสู้ได้ ได้เที่ยวเบียดเบียนพระภิกษุสงฆ์ ด้วยการถามปัญหาตามลัทธิเดียรถีย์ ขอถวายพระพร"
    พระอินทร์จึงตรัสว่า
    "อ้อ...พระราชาองค์นั้น ได้จุติไปจากดาวดึงส์นี่เอง"
    “อย่างนั้นหรือ...มหาบพิตร?"
    "อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า ผู้ที่จะโต้ตอบกับพระเจ้ามิลินท์ได้นั้น มีแต่มหาเสนะเทพบุตรเท่านั้น โยมจะไปอ้อนวอนเขาให้ลงไปเกิดในมนุษย์โลก
    ตรัสอย่างนี้แล้ว พระองค์ก็พาพระภิกษุสงฆ์เสด็จไปที่เกตุมดีวิมาน ทรงเข้าไปสวมกอดมหาเสนะเทพบุตรแล้ว จึงตรัสขึ้นว่า
    "นี่แน่ะ มหาเสนะผู้หาทุกข์มิได้ บัดนี้พระภิกษุสงฆ์ขอให้เจ้าลงไปเกิดในมนุษย์โลก"
    มหาเสนะเทพบุตรจึงกราบทูลว่า
    ข้าแต่มหาเจ้า ข้าพระองค์ไม่ต้องการลงไปเกิดในมนุษย์โลก เพราะมนุษย์โลกเดือดร้อนด้วยการงานมาก ข้าพระองค์จะขึ้นไปเกิดในเทวโลกชั้นสูง ๆ ต่อไป แล้วจะเข้านิพพานจากเทวโลกชั้นสูงนั้น พระเจ้าข้า"
    พระอัสสคุตตเถระจึงกล่าวขึ้นว่า
    “นี่แน่ะ ท่านผู้หาทุกข์มิได้ พวกเราได้พิจราณาดูตลอดแล้วไม่เห็นมีผู้อื่นนอกจากท่าน ที่จะสามารถทำลายถ้อยคำของพระเจ้ามิลินท์ได้ สามารถเชิดชูพุทธศาสนาไว้ได้ พระภิกษุสงฆ์จึงได้ขึ้นมาอ้อนวอนท่าน ขอท่านจงลงไปเกิดในมนุษย์โลก ยกย่องพระพุทธศาสนาไว้เถิด"
    เมื่อพระภิกษุสงฆ์อ้อนวอนอย่างนี้แล้ว มหาเสนะเทพบุตรจึงกราบทูลพระอินทร์ว่า
    "ถ้าอย่างนั้นขอพระองค์จงประทานพรแก่ข้าพองค์ ให้ข้าพระองค์ทำลายล้างถ้อยคำของพระเจ้ามิลินท์ได้ สามารถเชิดชูพระพุทธศาสนาไว้ได้เถิด พระเจ้าข้า"
    ครั้นกราบทูลดังนี้แล้ว ก็ร่าเริงดีใจ มีใจฟูขึ้น ถวายปฎิญญาแก่พระภิกษุสงฆ์ว่า ข้าพเจ้าจะลงไปเกิดในมนุษย์โลก แล้วก็ได้รับพรจากพระอินทร์ ลำดับนั้น พระภิกษุสงฆ์ถวายพระพรลา กลับลงมาสู่ถ่ำรักขิตเลณะในภูเขาหิมพานต์อีก

    <center>พระโรหนะเถระได้รับมอบธุระ </center> <center>เพื่อให้นาคเสนกุมารได้บรรชา </center> เมื่อมาถึงแล้ว พระอัสสคุตตเถระ จึงถามพระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นว่า
    ดูก่อนท่านทั้งหลาย ภิกษุที่ไม่ได้มาในที่ประชุมสงฆ์นี้มีอยู่หรือ?"
    มีพระภิกษุองค์หนึ่งตอบว่า
    "มีอยู่ขอรับ คือ พระโรหนเถระ ท่านไปเข้านิโรธสมาบัติ อยู่ที่ภูเขาหิมพานต์ได้ ๗ วันแล้ว พวกเราควรจะใช้ทูตไปหา"
    พอดีในขณะนั้นพระโรหนเถระ ก็ออกจากนิโรธสมาบัติ นึกรู้ความประสงค์พระอรหันต์ทั้งหลายต้องการพบเรา จึงได้หายวับจากภูเขาหิมพานต์ มาปรากฎตัวที่ถ่ำรักขิตเลณะ ต่องหน้าพระอรหันต์ ๑๐๐ โกฎ
    ครั้งนั้น พระอรหันต์ ๑๐๐ โกฎ จึงกล่าวว่า
    “นี่แน่ะ ท่านโรหนะ เมื่อพระศาสนากำลังถูกกระทบกระเทือน เหตุไรท่านจึงไม่รู้จักช่วยเหลือไม่เหลียวกิจเหมือนสงฆ์?”
    พระโรหนะจึงตอบว่า
    "เป็นเพราะข้าพเจ้ามิได้กำหนดจิตไว้"
    พระสงฆ์จึงบอกว่า
    "ถ้าอย่างนั้น พวกเราจะลงทัณฑกรรมท่าน เพราะเหตุที่ท่านไม่ได้ใส่ใจในกิจของพระศาสนา"
    พระโรหนะจึงถามอีกว่า
    "จะลงทัณฑกรรมข้าพเจ้าอย่างไร?"
    พระสงฆ์ตอบว่า
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] "นี่แน่ะ ท่านโรหนะ มีบ้านพราหมณ์ ตำบลหนึ่งชื่อว่า ชังคละ ข้างป่าหิมพานต์มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อว่า โสนุตตระ อยู่ในบ้านนั้น เขาจะมีบุตรชื่อว่า นาคเสนกุมาร ท่านจงพยายามพยายามไปบิณฑบาตที่ตระกูลนั้น ให้ตลอด ๗ ปีกับ ๑๐ เดือน นำเอานาคเสนกุมารออกบรรพชาให้ได้ เมื่อนาคเสนกุมารได้บรรพชาแล้วท่านจึงจะพ้นจากทัฑณกรรมนั้น [/FONT]
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ตอนที่สอง </center> <center> มหาเสนะเทพ
    บุตรจุติจากเทวโลก
    </center>
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] [/FONT][FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] ฝ่ายมหาเสนะเทพบุตร ก็ได้จุติจากเทวโลกลงมาถือกำเนิดในครรภ์ของนางพราหมณ์ณี ในขณะนั้นก็มีอัศจรรย์ ๓ ประการปรากฎขึ้น คือ [/FONT]
    ๑. บรรดาอาวุธทั้งหลาย ได้รุ่งเรืองเป็นแสงสว่าง
    ๒. ฝนตกใหญ่นอกฤดูกาล
    ๓. เมฆใหญ่ตั้งขึ้น
    (ตอนนี้ใน ฉบับพิศดาร กล่าวว่าอัศจรรย์ทั้งนี้ดด้วยบรมีของมหาเสนะเทพบุตรที่ได้กระทำมาบอกเหตุที่เกิดมานี้ว่า จะได้มำนุบำรุงพระศาสนาให่รุ่งเรืองไปถ่วน ๕๐๐ พระวัสสา)
    จากฉบับ ส. ธรรมภัคดี ได้บรรยายต่อไปว่า ลำดับนั้น พระโรหนเถระก็ไปเที่ยวบิณฑบาตที่ตระกูลนั้น เริ่มตั้งแต่วันนั้นไปตลอด ๗ ปี กับอีก ๑๐ เดือน แต่ไม่ได้อะไรเลย เพียงแต่การยกมือไหว้หรือการแสดงความเคารพก็ไม่ได้ ได้แต่การด่าว่าเท่านั้น
    เมื่อล่วงมาจาก ๗ ปีนั้น จึงได้เพียงคำไต่ถามเท่านั้นคืออยู่มาวันหนึ่ง เมื่อพราหมณ์นั้นกลับมาจากดูการงานนอกบ้าน ก็ได้พบพระเถระเดินสวนมา จึงถามว่า
    "นี่แน่ะ บรรพชิต ท่านได้ไปที่บ้านเรือนของเราหรือ?"
    พระเถระตอบว่า "ได้ไป"
    พราหมณ์จึงถามต่อไปว่า
    "ท่านได้อะไรบ้างหรือ?"
    ตอบว่า "ได้"
    พราหมณ์นั้นก็นึกโกรธ จึงรีบไปถามพวกบ้านว่า
    "พวกท่านได้ให้อะไรแก่บรรพชิตนั้นหรือ?"
    เมื่อพวกบ้านตอบว่า ไม่ได้ให้อะไรเลย พราหมณ์ก็นิ่งอยู่ เวลารุ่งขึ้นวันที่สอง พราหมณ์นั้นจึงไปยืนอยู่ที่ประตูบ้านด้วยคิดว่าวันนี้แหละบรรชิตนั้นมา เราจักปรับโทษมุสาวาทให้ได้ พอพระเถระไปถึง พราหมณ์นั้นก็กล่าวขึ้นว่า
    "นี่แน่ะ บรรพชิต เมื่อวานนี้ท่านไม่ได้วัตถุสิ่งใดไปจากบ้านเรือนของเราเลย ทำไมจึงบอกว่าได้ การกล่าวมุสาวาทเช่นนี้ สมควรแก่ท่านแล้วหรือ?"
    พระโรหนะจึงตอบว่า
    “นี่แน่ะ พราหมณ์ เรานั้นเข้าสู่บ้านเรือนของท่านตลอด ๗ ปีกับ ๑๐ เดือนแล้วยังไม่เคยได้อะไรเลย พึ่งได้คำถามของท่านเมื่อวานนี้เพียงคำเดียวเท่านั้น เราจึงตอบว่าได้"
    เมื่อพราหมณ์ได้ฟังดังนี้ก็ดีใจ จึงคิดว่า พระองค์นี้เพียงคำปราศัยคำเดียวเท่านั้น ก็ยังบอกในที่ประชุมว่าได้ ถ้าได้ลาภอย่างใดอย่างหนึ่งไปจะไม่สรรเสริญหรือ นี่เพียงแต่ได้คำถามคำเดียวเท่านั้นก็ยังสรรเสริญ
    เมื่อคิดได้อย่างนี้แล้ว จึงสั่งพวกบ้านว่า พวกท่านจงเอาข้าวของเราถวายบรรพชิตนี้วันละ ๑ ทัพพีทุกวันไป ต่อนั้นพราหมณ์ก็เลื่อมใสต่ออิริยาบท และความสงบเสงี่ยมของพระเถระยิ่งขึ้นเป็นลำดับไป จึงขอนิมนต์ว่า
    "ขอท่านจงมาฉันอาหารคาวหวาน อันเป็นส่วนของตนแก่พระเถระทุกเช้าไป”
    พระเถระก็รับด้วยอาการนิ่งอยู่พราหมณ์ก็ได้ถวายอาหารคาวหวาน อันเป็นส่วนของตนแก่พระเถระทุกเช้าไป พระเถระฉันแล้วเวลาจะกลับ ก็กล่าวพระพุทธพจน์วันละเล็กละน้อยทุกวันไป
    คราวนี้จะย้อนกล่าวถึงพราหมณ์นั้นล่วงมา ๑๐ เดือน ก็คลอดบุตรให้ชื่อว่า "นาคเสน"
    <center>นาคเสนกุมารศึกษาไตรเพท </center> เมื่อนาคเสนกุมารเติบโตขึ้นอายุได้ ๗ ขวบ มารดาบิดาก็ให้ศึกษาไตรเพททั้ง ๓ กับศิลปศาสตร์อื่น ๆ สำหรับพระกูลพราหมณ์ร่ำเรียนสืบ ๆ กันมา นาคเสนกุมารรับว่าจะเรียนเอาให้ได้
    ส่วนว่าโสนุตตรพราหมณ์ผู้เป็นบิดา จึงให้เชิญพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์มาที่เรือนแล้วก็ให้พรัพย์ประมาณ ๑ พันกหาปณะเป็นค่าจ้าง ฝ่ายนาคเสนกุมารฟังพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์บอกวิชาเพียงครั้งเดียว ก็สามารถจำได้ครบทุกประการ จึงได้มีวาจาถามว่า
    "ข้าแต่บิดา คำสอนสำหรับสกุลพราหมณ์สิ้นสุดเท่านี้หรือ..หรือว่ายังมีอีกประการใดเล่า?"
    พราหมณ์ผู้เป็นบิดาจึงตอบว่า
    "นี่แน่ะนาคเสน คำสอนสำหรับพราหมณ์มาแต่ก่อนเก่านั้น ก็จบเพียงแค่นี้"
    เมื่อนาคเสนร่ำเรียนศึกษาจากสำนักพราหมณาจารย์แล้ว ก็ให้ทรัพย์ค่าจ้างบอกวิชาแล้ว ได้รับเอาชึ่งกำใบลานที่อาจารย์ให้เป็นกำใบลานหนังสือพราหมณ์ สำหรับที่จะได้ดูและอ่านการไตรเพ และศิลปศาสตร์ทุกสิ่งอัน
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] อยู่มาวันหนึ่ง นาคเสนกุมารจึงลงจากปราสาท ไปยืนพิจารณาเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุด แห่งไตรเพททั้ง ๓ กับศิลปศาสตร์ทั้งปวง อยู่ที่ศาลาข้างประตูทุกวันไปจนตลอดถึง ๓ วัน เมื่อไม่เห็นก็แก่นสารอันได จึงเกิดความไม่สบายใจว่า สิ่งเหล่านี้เปล่าทั้งนั้นไม่มีสาระประโยชน์อันใดเลย [/FONT]
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> พระโรหนะ </center> <center> ไปนำนาคเสน
    กุมารเพื่อจะให้บรรชา
    </center>
    ในคราวนั้น พระโรหนเถระ นั่งอยู่ที่วัตตนิยเสนะวิการ ได้ทราบความคิดของนาคเสนกุมาร จึงหายวับไปปรากฎขึ้น ข้างหน้านาคเสนทันที พอนาคเสนกุมารได้เลเห็น ก็เกิดความร่าเริงดีใจว่าบรรพชิตองค์นี้คงรู้จักสิ่งที่เป็นสาระเป็นแน่จึงถามขึ้นว่า
    “ผู้มีศีรษะโล้นนุ่งเหลืองเช่นนี้เป็นอะไร?”
    พระเถระตอบว่า “ เป็นบรรพชิต ”
    “เหตุไรจึงชื่อว่าบรรพชิต? ”
    “เหตุที่ว่าเว้นเสียซึ่งบาป เว้นเสียซึ่งโทษจึงได้ชื่อว่าบรรพชิต”
    “ท่านรู้จักศิลปศาสตร์บ้างหรือ?”
    “ รู้จัก ”
    “ศิลปศาสตร์อันใดทีสูงที่สุดในโลกมีอยู่ท่านจะบอกศิลปศาสตร์อันนั้นให้แก่กระผมได้หรือ?”
    “อาจบอกได้...พ่อหนู”
    “เหตุใดผมและหนวดของท่านจึงไม่เหมือนคนอื่น?”
    “นี่แน่ะ พ่อหนู บรรพชิตทั้งหลายเห็นความกังวล ๑๖ ประการ จึงได้โกนผมโกนหนวดเสีย
    <center>
    ความกังวล ๑๖ ประการนั้นคือ
    </center> ๑. กังวลด้วยอาภรณ์ คือเครื่องประดับ
    ๒. กังวลด้วยช่างทอง
    ๓. กังวลด้วยการขัดสี
    ๔. กังวลด้วยการเก็บเครื่องประดับ
    ๕. กังวลด้วยการฟอกผมสระผม
    ๖. กังวลด้วยดอกไม้
    ๗. กังวลด้วยของหอม
    ๘. กังวลด้วยเครื่องอบ
    ๙. กังวลด้วยเสมอ
    ๑๐. กังวลด้วยมะขามป้อม
    ๑๑. กังวลด้วยดินเหนียว (สมอ มะขามป้อม ดิน ทั้ง ๓ ประการนี้ ทำเป็นยาสระผม)
    ๑๒. กังวลด้วยเข็มปักผม
    ๑๓. กังวลด้วยผ้าผูกผม
    ๑๔. กังวลด้วยหวี
    ๑๕. กังวลด้วยช่างตัดผม
    ๑๖. กังวลด้วยการอาบน้ำชำระผม รวมเป็น ๑๖ ประการด้วยกัน

    ในเส้นผมแต่ละเส้นย่อมมีหมู่หนอนอาศัยอยู่ที่รากผม ทำให้รากผมเศร้าหมองก็เศร้าใจเสียใจ คนทั้งหลายได้เห็นผมเศร้าหมองก็เศร้าใจ เสียใจ ไม่สบายใจ เมื่อมัวแต่ยุ่งกับผมด้วยกังวล ๑๖ อย่างนี้ ศิลปศาสตร์ที่สุขุมยื่งก็เสียไป เพราะฉนั้นแหละ บรรพชิตทั้งหลายจึงได้โกนผมโกนหนวดทิ้งเสีย”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้อนี้น่าอัศจรรย์เพราะเมื่อคนทั้งหลายกังวลอยู่กับเครื่องกังวล ๑๖ ประการอย่างนี้ ศิลปศาสตร์ที่สุขุมยิ่ง ต้องไม่ปรากฎเป็นแน่ ข้อนี้กระผมเชื่อ แต่ขอถามอีกทีว่า เหตุไรผ้านุ่งผ้าห่มของท่านจึงไม่เหมือนกับคนอื่น ๆ ?”
    “อ๋อ...การที่ผ้านุ่งผ้าห่มอย่างพวกเราคฤหัสถ์ทำให้เกิดความกำหนัดยินดีในสังขารร่างกายได้ง่าย ทำให้มีภัยอันตรายบังเกิดขึ้น เครื่องนุ่งห่มของเราจึงไม่เหมือนของคนอื่น ๆ”
    “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ท่านอาจสอนศิลปศาสตร์ที่ละเอียดยิ่ง ให้แก่กระผมได้หรือ?”
    “ได้...พ่อหนู”
    “ถ้าได้ขอได้โปรดสอนให้เดี๋ยวนี้เถิด”
    “เออ....พ่อหนู เวลานี้เรายังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในระแวกบ้าน ยังสอนให้ไม่ได้หรอก”
    ลำดับนั้น นาคเสนกุมารจึงรับเอาบาตรของพระโรหนเถระ แล้วนิมนต์ให้ขึ้นไปฉันที่เรือน เมื่อฉันแล้วจึงกล่าวว่า
    “ขอท่านจงบอกศิลปศาสตร์ที่ละเอียดให้แก่กระผมเดี๋ยวนี้เถิด”
    “โอ....พ่อหนู ตราบใดที่พ่อหนูยังมีกังวลอยู่ ตราบนั้นเรายังสอนให้ไม่ได้ ต่อเมื่อพ่อหนูขออนุญาตมารดาบิดาแล้ว ถือเพศอย่างเรา คือโกนผมนุ่งเหลืองห่มเหลืองเหมือนเรา เราจึงจะสอนให้ได้”
    นาคเสนกุมารจึงไปขออนุญาตต่อมานดาบิดา เมื่อมารดาบิดาไม่อนุญาต จึงนอนอดอาหาร ต่อเมื่อมารดาบิดาอนุญาต จึงบอกพระเถระว่า
    “กระผมจักถือเพศอย่างท่าน ขอท่านจงสอนศิลปศาสตร์ที่ละเอียดให้แก่กระผม”
    พระโรหนเถระจึงพานาคเสนกุมารกลับไปที่วัตตนิยเสนาสนะวิหาร ค้างอยู่คืนหนึ่ง รุ่งเช้าจึงพาไปหาพระอรหันต์ ๑๐๐ โกฎ ที่อยู่ที่ถ่ำรักขิตเลณะ
    <center>
    นาคเสนกุมารบรรพชา
    </center> ในคราวนั้น พระอรหันต์ ๑๐๐ โกฎิ ก็ได้ให้นาคเสนบรรพชาอยู่ที่ถ้ำรักขิตเลณะ นาคเสนกุมารบรรพชาแล้ว จึงกล่าวต่อพระโรหนเถระว่า
    “กระผมได้ถือเพศเหมือนท่านแล้ว ขอท่านจงสอนศิลปศาสตร์ที่ละเอียดยิ่งให้กระผมเถิด”
    พระโรหนเถระจึงคิดว่า เราจะสอนอะไรก่อนดีหนอ นาคเสนนี้มีปัญญาดี เราควรสอนอภิธรรมปิฎกก่อน ครั้นคิดแล้วจึงบอกว่า
    “นาคเสน เธอจงตั้งใจเรียนศิลปศาสตร์ที่ละเอียดยิ่งของเรา”
    กล่าวอย่างนี้แล้ว ก็เริ่มแสดงอภิธรรมทั้ง ๗ พระคัมภีร์ คือ
    คัมภีร์อภิธรรมสังคิณี ว่า “กุสลาธัมมา อกุสลา ธัมมา อัพยากตา ธัมมา” เป็นต้น และ คัมภีร์วิภังค์ ธาตุถาปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมกะ ปัฎฐาน เป็นลำดับไป
    นาคเสนสามเณรก็สามารถจำได้สิ้นเชิง มาตอนนี้ ฉบับพิศดาร พรรณาว่า
    ในขณะที่ฟังเพียงครั้งเดียว จึงได้กล่าวว่า ขอได้โปรดบอกเพียงเท่านี้ก่อนเถิด เมื่อกระผมท่องจำได้แม่นยำแล้ว จึงค่อยบอกให้มากกว่านี้อีก
    ต่อมานาคเสนสามเณรก็ได้นำความรู้ที่เรียนมาพิจรณา เช่นในบทว่า กุสลาธัมมา ได้แก่อะไร อกุสลา ธัมมา ได้แก่อะไร อัพยากตา ธัมมา ได้แก่อะไร ดังนี้เป็นต้น
    ท่านได้พิจรณาเพียงครั้งเดียวก็คิดเห็นเป็นกรรมฐานว่ามีความหมายอย่างนั้นๆ ด้วยปัญญาบารมีที่ได้บำเพ็ญไว้มาแต่ชาติก่อนโน้น
    เมื่อคิดพิจารณาธรรมะอย่างถ้วนถี่แล้วนาคเสนสามเณรจึงได้เข้าไปกราบนมัสการพระอรหันต์ทั้งหลาย พร้อมกับกล่าวว่า
    “กระผมจะขอแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ตามที่ได้เคยเรียนมาจากพระอุปชฌาย์โดยขออธิบายความหมายให้ขยายออกไปขอรับ”
    พระอรหันต์ทั้งหลายได้ฟังดังนั้นก็ดีใจจึงอนุญาตให้สามเณรแสดงได้ตามความประสงค์ สามเณรได้วิสัชนาอยู่ประมาณ ๗ เดือนจึงจบ ในขณะนั้น เหตุอัศจรรย์ ต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นคือ แผ่นดินใหญ่ก็เกิดหวั่นไหว เทพยดานางฟ้าทั้งหลายก็แสดงความชื่นชมยินดี พรหมทั้งหลายก็ตบมือสาธุการ
    ทุกท่านต่างก็ร้องช้องสาธุการ สรรเสริญปัญญาบารมีของสามเณร ได้โปรยปรายผงจันทน์ทิพย์และดอกไม้ทิพย์ บ้างก็เลื่อนลอย บ้างก็ปรอย ๆ เป็นฝนตกลงมา หอมฟุ้งขจรขจายไปทั่วบริเวณนั้น
    พระอรหันต์ ๑๐๐ โกฎิก็ให้สาธุการแสดงความชื่นชมยินดีว่า แต่นี้ไปศาสนาขององค์สมเด็จพระจอมไตร จะรุ่งเรืองวัฒนาถาวรตลอดไป
    <center>
    นาคเสนอุปสมบท
    </center> เมื่ออยู่นานมาจนกระทั้งนาคเสนสามเณรมีอายุครบอุปสมบทแล้ว พระอรหันต์ ๑๐๐ โกฎิ ก็ให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
    ในเวลาเช้า พระนาคเสนครองบาตรจีวร จะเข้าไปบิณฑบาตก็นึกขึ้นว่า พระอุปัชฌาย์ของเราเห็นจะเปล่าจากคุณธรรมอื่น ๆ คงรู้แต่อภิธรรมเท่านี้ อย่างอื่นคงไม่รู้
    ขณะนั้นพระโรหนเถระ จึงออกมากล่าวขึ้นว่า
    “นี้แน่ะ นาคเสน การนึกเธอไม่สมควรเลย เหตุไรเธอจึงนึกดูถูกเราอย่างนี้?”
    ฝ่ายพระนาคเสนก็นึกอัศจรรย์ใจว่า พระอุปัชฌาย์ของเราเป็นบัณฑิตแท้ เพียงแต่เรานึกในใจก็รู้ เราจักต้องขอโทษ ครั้นคิดแล้วจึงกล่าวขึ้นว่า
    “ขอจงอดโทษให้กระผมด้วยเถิด กระผมจะไม่นึกอย่างนี้อีก จะไม่ทำอย่างนี้อีก”
    “นาคเสน เรายังอดโทษให้ไม่ได้ ต่อเมื่อเธอทำให้พระเจ้ามิลินท์ ผู้เสวยราชย์อยู่ในสาคลนครเลื่อมใสได้ ด้วยการแก้ปัญหานั้นแหละ เราจึงอดโทษให้”
    “ท่านขอรับ อย่าว่าแต่พระเจ้ามิลินท์เพียงองค์เดียวเลย ต่อให้พระราชาในชมพูทวีปทั้งสิ้นเรียงตัวกันมาถามปัญหา กรกะผมก็จะทำให้เลื่อมใสได้สิ้น ขอท่านจงอดโทษให้กระผมเถิด”
    เมื่ออ้อนวอนอย่างนี้ถึง ๓ ครั้งก็ไม่เป็นผล จึงถามว่า
    “ในพรรษานี้ ท่านจะให้กระผมอยู่ในสำนักนี้ หรือว่าจะให้กระผมไปอยู่ในสำนักผู้ใดขอรับ?”
    พระโรหนะเถระจึงบอกว่า
    “เธอจงไปหา พระอัสสคุตตเถระ ถามถึงความสุขของท่าน และบอกความทุกข์สุขของเราแทนเรา แล้วอยู่ในสำนักของท่านเถิด”
    ลำดับนี้ พระนาคเสนจึงอำลาพระอุปัชฌาย์ ออกเดินทางไปหาพระอัสสคุตตเถระ กราบไหว้แล้วถามถึงทุกข์สุขตามคำสั่งของพระอุปัชฌาย์ แล้วขออาศัยอยู่
    พระอัสสคุตตเถระจึงถามว่า
    “เธอชื่ออะไร?”
    “กระผมชื่อนาคเสนขอรับ”
    พระอัสสคุตต์ใคร่จะลองปัญญา จึงถามว่า
    “ก็ตัวเราล่ะ ชื่ออะไร?”
    “พระอุปัชฌาย์ของกระผมท่านรู้อยู่แล้ว”
    “ดีล่ะ ๆ นาคเสน”
    พระอัสสคุตต์จึงรู้ว่า พระภิกษุองค์นี้มีปัญญา จึงคิดว่า พระนาคเสนนี้ปรารถนาจะเรียนพระไตรปิฎก เราได้สะเร็จมรรคผลก็จริงแหล่แต่ทว่าฝ่ายพระไตรปิฎกก็รู้เป็นเพียงกลางๆ ก็อย่าเลยเราจะกระทำกิริยา ไม่เจรจาด้วย ทำทีเหมือนจะลงพรหมทัณฑ์ด้วยภิกฑ์ด้วยภิกษุรูปนี้
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] ครั้นคิดได้ดังนี้แล้ว จึงได้ลงพรหมทัณฑ์คือไม่พูดกับพระนาคเสนถึง ๓ เดือน แต่พระนาคเสนก็ปรนนิบัติได้ปัดกวาดบริเวณและตักน้ำใช้น้ำฉันไว้ตลอดทั้ง ๓ เดือน ส่วนพระอุสสคุตต์จึงกวาดบริเวณด้วยตนเอง และล้างหน้าด้วยน้ำอื่น [/FONT]
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> พระนาคเสน </center> <center> แสดงธรรมเป็นธรรมเป็นครั้งแรก </center>
    พระอัสสคุตต์นั้นอุบาสิกาคนหนึ่งเป็นผู้อุปัฎฐากมาประมาณ ๓๐ พรรษาแล้ว เมื่อล่วง ๓ เดือนนั้นไปแล้ว อุบาสิกานั้นจึงออกไปถามพระเถระว่า
    ในพรรษานี้มีภิกษุอื่นมาอยู่กับผู้เป็นเจ้าบ้างหรือ?”
    พระเถระก็ตอบว่า
    “มี คือพระนาคเสน”
    อุบาสิกานั้นจึงกล่าวว่า
    “ถ้าอย่างนั้น พรุ้งนี้เช้าขอพระผู้เป็นเจ้ากับพระนาคเสน จงเข้าไปฉันภัตตาหารเช้าที่บ้านของโยมด้วย” พระเถระก็รับด้วยอาการนิ่งอยู่
    พระอัสสคุตตเถระมิได้สนทนากับพระนาคเสน จนตลอดถึงวันปวารณาออกพรรษา เช้าวันนั้นพระเถระจำต้องเจรจากับพระนาคเสน จึงกล่าวว่าอุบาสิกาเข้ามานิมนต์ไปฉันภัตตาหารเช้าด้วยกัน แล้วจึงพาพระนาคเสนเข้าไปฉันที่บ้านของอุบาสิกานั้น
    ครั้นฉันแล้ว จึงบอกให้พระนาคเสนอนุโมทนา ส่วนตัวท่านเองขอกลับไปก่อนฝ่ายอุบาสิกานั้นจึงกล่าวต่อพระนาคเสนว่า
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมแก่แล้ว ขอท่านจงอนุโมทนาด้วยคาถาที่ลึกซึ้งเถิด”
    พระนาคเสนก็อนุโมทนาด้วยคาถาอันลึกซึ้ง เมื่อจบคำอนุโมทนาลง อุบาสิกานั้นก็ได้สำเร็จพระโสดาปัตติผล
    ในขณะนั้น พระอุสสคุตตเถระกำลังนั่งอยู่ที่โรงกลมกว้างใหญ่ในวิหาร ได้ทราบความเป็นไปด้วยทิพจักขุญาณ จึงสาธุการว่า
    “สาธุ...สาธุ...นาคเสน ในที่ประชุมทั้งสอง คือมนุษย์และเทวดา เธอได้ทำลายให้คลายจากความสงสัย ด้วยลูกศรเพียงลูกเดียว กล่าวคือได้แสดงธรรมเพียงครั้งเดียว ก็ทำให้ผู้รับฟังบรรลุมรรคผลได้ สาธุ...เราขอชมสติปัญญาของเธอนี้ประเสริฐนักหนา”
    ในเวลาเดียวกันนั้น เหล่าเทพยดานางฟ้าอีกหลายพัน ต่างก็ได้ตบมือสาธุการ ผงจันทน์ทิพย์ในสวรรค์ ก็โปรยปรายลงมาดังสายฝน ขณะเมื่อจบลงแห่งพระสัทธรรมเทศนานั้น
    ฝ่ายพระนาคเสนก็กลับไปกราบพระอัสสคุตตเถระแล้วนั่งอยู่ พระอุสสคุตตเถระจึงกล่าวว่า
    “ตัวเธอมาอยู่ที่นี่นานแล้ว จงไปขอเรียนพระพุทธวจนะจาก พระธรรมรักขิต ผู้อยู่ในอโศการามด้านทิศอุดร แห่งเมืองปาตลีบุตรนครเถิด”
    พระนาคเสนจึงเรียนถามว่า
    “ท่านขอรับ เมืองปาตลีบุตรอยู่ไกลจากนี้สักเท่าใด? ”
    “ไกลจากนี้ประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ”
    “เมืองปาตลีบุตรอยู่ไกลมาก อาหารในระหว่างทางก็หาได้ยาก กระผมจะไปได้อย่างไรขอรับ?”
    “เธอจงไปเถิด ในระหว่างทางเธอจะได้อาหารล้วนแต่ข้าวสาลีไม่มีเมล็ดหักพร้อมทั้งกับข้าวอีกเป็นอันมาก”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] พระนาคเสนจึงกราบลาพระอัสสคุตต์แล้วออกเดินทางไปตามลำดับ [/FONT]
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ตอนที่ ๓ </center> <center> พระนาคเสนไปศึกษา
    พระไตรปิฎกกับพระธรรมรักขิต
    </center>
    ในคราวนั้นมีเศรษฐีชาวเมืองปาตลีบุตรคนหนึ่ง ได้เดินทางมาค้าขายตามชนบททั้งหลาย ครั้นขายของแล้วก็บรรทุกสินค้าใหญ่น้อยลงในเกวียน ๕๐๐ เล่ม ออกเดินทางกลับเมืองปาตลีบุตรได้เห็นพระนาคเสนออกเดินทางไป จึงให้หยุดเกวียนไว้ แล้วเข้าไปกราบนมัสการไต่ถามว่า
    “พระคุณเจ้าจะไปไหนขอรับ”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “อาตมาจะไปเมืองปาตลีบุตร”
    เศรษฐีได้ฟังดังนั้นก็ดีใจจึงกล่าวว่า
    “ถ้าอย่างนั้นไปกับโยมเถิดจะสะดวกดี
    “ดีแล้ว คหบดี”
    ลำดับนั้น เศรษฐีจึงจัดอาหารถวายเวลาฉันเสร็จแล้ว เศรษฐีจึงถามว่า
    “พระคุณเจ้าชื่ออะไรขอรับ”
    “อาตมาชื่อนาคเสน”
    “ท่านรู้พระพุทธวจนะหรือ?”
    “อาตมารู้เฉพาะอภิธรรม”
    “เป็นลาภอันดีของโยมแล้ว โยมก็ได้เรียนอภิธรรม ท่านก็รู้อภิธรรม ขอท่านจงแสดงอภิธรรมให้โยมฟังสักหน่อย”
    เมื่อนาคเสนแสดงอภิธรรมจบลงเศรษฐีก็ได้สำเร็จพระโสดาบัน แล้วพากันออกเดินทางต่อไป ครั้นไปถึงที่เมืองปาตลีบุตร เศรษฐีจึงกล่าวว่า
    “ข้าแต่พระนาคเสน ทางนั้นเป็นทางไปสู่อโศการาม พระผู้เป็นเจ้าจงไปทางนี้เถิด แต่ทว่าอย่าเพิ่งไปก่อน ขอนิมนต์ให้พรแก่โยมสักอย่างหนึ่งเถิด”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “อาตมาเป็นบรรพชิต จักให้พรอะไรได้
    “พรใดที่สมควรแก่สมณะ ขอท่านให้พรนั้น”
    “ถ้ากระนั้นโยมจงรับเอาพร คือการกุศล อย่าประมาทลืมตนในการกุศล พรอันนี้มีผลโดยสุจริต”
    ขณะนั้นเศรษฐีจึงถวายผ้ากัมพลพร้อมกับบอกว่า
    “ขอท่านจงกรุณารับผ้ากัมพลอันยาว ๑๖ ศอก กว้าง ๘ ศอกของโยมนั้นไปนุ่งห่มเถิด”
    พระนาคเสนจึงรับเอาผ้านั้นไว้ ส่วนว่าเศรษฐีถวายนมัสการแล้ว จึงกราบลา มาสู่ปาตลีบุตรนคร
    ส่วนพระนาคเสนก็ออกเดินทางไปสู่สำนัก พระธรรมรักขิต ที่อโศการาม กราบไหว้แล้วจึงเรียนท่านว่า
    “ขอท่านโปรดสอนพระพุทธวจนะให้กระผมด้วยเถิดขอรับ”
    <center>
    ศึกษาร่วมกับภิกษุชาวลังกา
    </center> ในคราวนั้น ยังมีภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่า   พระติสสทัตตะ ได้เรียนพระพุทธวจนะเป็นภาษาสิงหล ในเมืองลังกาจบแล้ว ปรารถนาจะเรียนพระพุทธวจนะอันเป็นภาษามคธ จึงโดยสารสำเภามาสู่สำนักพระธรรมรักขิตนี้ เมื่อกราบไหว้แล้วจึงกล่าวว่า
    “กระผมมาจากที่ไกล ขอท่านจงบอกพระพุทธวจนะให้แก่กระผมด้วยเถิด”
    ลำดับนั้น พระธรรมรักขิตจึงบอกพระนาคเสนว่า
    “เธอกับพระติสสทัตตะควรเรียนพระพุทธวจนะด้วยกัน จะได้เป็นเพื่อนสาธยายด้วยกัน อย่าใจร้อนไปเลย”
    พระนาคเสนจึงกล่าวว่า
    “กระผมมิอาจที่จะเรียนพระพุทธวจนะพร้อมกันด้วยภาษาสิงหลได้ ด้วยพระติสสทัตตะนี้เจรจาเป็นภาษาสิงหล”
    เป็นคำถามว่า เหตุไฉนเมื่อพระอาจารย์ ว่าจะให้พระติสสทัตตะกับพระนาคเรียนพุทธวจนะพร้อมกัน พระนาคเสนนั้นว่าไม่เรียนพร้อมกัน ด้วยพระติสสทัตตะกล่าวภาษาสิงหล (อันเป็นภาษาของชาวลังกา)
    แก้ความนั้นว่า พระนาคเสนเข้าใจว่าอาจารย์คงบอกพระพุทธวจนะเป็นคำภาษาสิงหล ด้วยภาษาสิงหลนี้เป็นคำวิเศษ กลัวว่าชาวประเทศสาคลราชธานีจะไม่เข้าใจ พระนาคเสนนั้นตั้งใจจะเรียนพระพุทธวจนะที่จะให้เข้าใจของชาวสาคลนคร มีพระเจ้ามิลินท์เป็นประธาน
    พระธรรมรักขิตจึงบอกขึ้นอีกเป็นครั้งที่ ๒ ว่า
    “เธอจงเรียนพร้อมกับพระติสสทัตตะเพราะพระติสสทัตตะเป็นบัณฑิต ไม่ใช่ผู้ไม่รู้จักภาษา”
    พระนาคเสนจึงคิดว่าอาจารย์คงไม่บอกภาษาเป็นภาษาสิงหลดอก อาจบอกเป็นภาษามคธ เราผิดเสียแล้ว จะขอโทษพระติสสทัตตะ
    เมื่อพระนาคเสนคิดได้อย่างนั้น จึงกราบขอโทษแล้วเริ่มเรียนพระพุทธวจนะพร้อมกัน โดยเรียนอยู่ ๓ เดือนก็จบพระไตรปิฎก ชักซ้อมอีก ๓ เดือนก็ชำนาญ
    <center>
    พระนาคเสนสำเร็จ พระอรหันต์
    </center> ฝ่ายพระธรรมรักชิตเห็นพระนาคเสนยังเป็นปุถุชนอยู่ จึงมีเถรวาจาเป็นทางจะให้รู้โดยคำอุปมาว่า
    “นี่แน่ะ นาคเสน ธรรมดาว่านายโคบาลได้เลี้ยงโค ไม่ได้รู้รสแห่งนมโค มีแต่ผู้อื่นได้ดืมรสแห่งนมโคฉันใดปุถุชนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส ถึงแม้จะทรงพระไตรปิฎก ก็มิได้รู้รสแห่งสามัญผลคือมรรคผลอันควรแก่สมณะ
    เปรียบเหมือนกับนายโคบาล ที่รับจ้างเลี้ยงโคและรีดนมโคขาย แต่มิได้เคยลิ้มชิมรสแห่งนมโคฉันนั้น”
    พระนาคเสนได้ฟังคำเช่นนั้นก็เข้าใจ จึงมีวาจาว่า
    “คำสั่งสอนของท่านเท่านี้พอแล้วขอรับ”
    ท่านกล่าวเพียงเท่านี้แล้วก็มาลาสู่อาวาส ต่อมาก็ได้พยายามเจริญสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ช้าก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ พร้อมด้วยปฎิสัมภิทาญาณ ในเวลากลางคืนอันเป็นวันที่พระธรรมขิตให้นัยนั้นเอง
    ในขณะที่พระนาคเสนสำเร็จพระอรหันต์นั้น ได้เกิดเหตุอัศจารรย์ แผ่นดินอันใหญ่นี้ก็บันลือลั่นหวั่นไหว ทั้งมหาสมุทรสาครก็ตีฟองนองละลอก ยอดภูเขาก็อ่อนโยกคลอนไปมา เทวดาอินทร์พรหมทั้งหลายก็ตรบมือสาธุการ ห่าฝนทิพยจุณจันทน์และดอกไม้ทิพย์ ก็ตกลงมาบูชาในกาลนั้น
    <center>
    พระอรหันต์ให้ทูตไปตาม พระนาคเสน
    </center> เมื่อพระนาคเสนได้สำเร็จพระอรหันต์แล้ว พระอรหันต์ ๑๐๐ โกฎิก็ไปประชุมกันที่ถ้ำรักขิตเลณะในภูเขาหิมพานต์ แล้วส่งทูตไปตามพระนาคเสน
    เมื่อพระนาคเสนทราบแล้ว ก็หายวับจากอโศการาม มาปรากฎข้างหน้าพระอรหันต์ ๑๐๐ โกฎิ ที่ถ้ำรักขิตเลณะในภูเขาหิมพานต์ กราบไหว้พระอรหันนต์ทั้งหลายแล้วจึงถามว่า
    “เพราะเหตุไรขอรับ จึงให้ทูตไปตามกระผมมา?”
    พระอรหันต์ผู้เป็นหัวหน้าตอบว่า
    “เป็นเพราะ มิลินทราชา เบียดเบียนพวกเราด้วยการไต่ถามปัญหา เธอจงไปทรมานมิลินทราชานั้นเถิด”
    พระนาคเสนจึงเรียนว่า
    “อย่าว่าแต่มิลินทราชาเลย บรรดาพระราชาในชมพูทวีปทั้งสิ้น ที่มีปัญหาตื้นลึกประการใด กระผมจะแก้ให้สิ้นสงสัย ให้มีพระทัยยินดีด้วยการแก้ปัญหา ขอพระเณรเจ้าทั้งหลายจงไปสู่สาคลนคร ด้วยความไม่สดุ้งกลัวเถิด”
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> พระเจ้ามิลินท์ </center> <center> เสด็จไปถามปัญหาพระอายุบาล </center>
    ในคราวนั้น ยังมีพระมหาเถระองค์หนึ่ง มีชื่อว่า พระอายุบาล ท่านเป็นผู้ชำนาญในนิกายทั้ง ๕ (มีฆนิกาย มัชฌิมกายสังยุตติกาย อังคุตตนิกาย ขุททกนิกาย) ได้อาศัยอยู่ที่อสงไขยบริเวณ
    ฝ่ายพระเจ้ามิลินท์ทรงดำริว่า ราตรีนี้ดีมาก เราควรจะไปหาสมณพราหมณ์ เจ้าหมู่เจ้าคณะคณาจารย์ใดดีหนอ ใครหนอจะสามารถสนทนากับเราได้ ใครหนอจะสามารถตัดความสงสัยของเราได้ ทรงดำริแล้วก็โปรดมีพระราชโองการตรัสถาม พวกราชบริพารโยนกทั้ง ๕๐๐ ก็กราบทูลว่า
    “มีพระเถระอยู่องค์หนึ่งชื่อว่า พระอายุบาล   ท่านเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก มีการแสดงธรรมวิจิตรมีปฎิภาณดี ชำนาญในนิกายทั้ง ๕ อยู่ที่อสงไขยบริเวณ ขอมหาราชเจ้าจงเสด็จไปถามปัญหาต่อพระอายุบาลเถิด พระเจ้าข้า”
    “ถ้าอย่างนั้นขอจงไปแจ้งให้พระผู้เป็นเจ้าทราบก่อน”
    ลำดับนั้น เนมิตตอำมาตย์จึงใช้ให้คนไปแจ้งแก่พระอายุบาลว่า พระเจ้ามิลินท์จะเสด็จมาหาพระอายุบาลตอบว่า เชิญเสด็จมาเถิด”
    ต่อนั้นพระเจ้ามิลินท์พร้อมกับหมู่โยนกเสนา ๕๐๐ ก็เสด็จขึ้นรถไปที่อสงไขยบริเวณ เมื่อไปถึงจึงตรัสสั่งให้หยุดรถทรงไว้ เสด็จไปด้วยพระบาทเปล่าเข้าสู่สำนักพระอายุบาล มนัสการแล้วกระทำปฎิสันถารโอภาปราศัยกันไปมา จึงมีพระราชดำรัสตรัสถามว่า
    “ข้าแต่พระอายุบาล บรรพชามีประโยชน์อย่างไร อะไรเป็นประโยชน์เยี่ยมของท่าน?”
    พระอายุบาลตอบว่า
    “ขอถวายพระพร มหาบพิตรพระราชสมภาร การบรรพชามีประโยชน์เพื่อจะได้ประพฤติธรรม ประพฤติความสงบ อันจะทำให้เกิดประโยชน์สุขแก่เทพพดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คฤหัสถ์ผู้ประพฤติธรรม ประพฤติความสงบ จะมีคุณวิเศษบ้างหรือไม่?”
    <center>
    จำนวนคฤหัสถ์ผู้ได้มรรคผล
    </center> “ขอถวายพระพร คฤหัสถ์ที่ประกอบไปด้วยความเสื่อมใสในคุณพระรัตนตรัยทรงศีล ๕ หรือศีล ๘ ไว้มั่นคง ให้ทานและภาวนาอุตสาห์ฟังธรรม ก็จัดว่าประพฤติให้เป็นประโยชน์เป็นผลแก่ตนเอง
    ดังตัวอย่างเมื่อองค์สมเด็จพระทศพลยังทรงพระชนม์อยู่ พระองค์ได้เสด็จไปยังเมืองพาราณสี โปรดประทานธรรมเทศนา พระธรรมจักรกัปปวัตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์ในป่าอิสิปตนมิคทายวัน
    ครั้นจบลงแล้วพรหมทั้ง ๑๘ โกฎิได้สำเร็จมรรคผล เป็นพระอริยะบุคคลในพระพุทธศาสนา พรหมทั้งหลายล้วนแต่เป็นคฤหัสถ์ทั้งนั้น จะได้อุปสมบทบรรพชาหามิได้ vในคราวที่พระพุทธองค์ทรงแสดง เวสสันดรชาดก ขทิรังคชาดกราหุโลวาทสูตร และทรงแสดงธรรมที่ประตูเมืองสังกัสสนครมีผู้สำเร็จมรรคผลประมาณ ๒๐ โกฎิ คนทั้งหลายนั้น กับเทพยดาและพรหมทุกชั้น ล้วนแต่เป็นคฤหัสถ์ทั้งนั้น ไม่ใช่บรรพชิตเลย”
    <center>
    กรรมของพระที่ถือธุดงค์
    </center> เมื่อพระอายุบาลแก้ไขดังนี้ พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสว่า
    “ข้าแต่ท่านอายุบาล ถ้าอย่างนั้นบรรพชาก็ไม่มีประโยชน์อะไร พวกสมณะทั้งหลายที่เป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส ที่ได้บรรพชารักษาธุดงค์ต่าง ๆ ทำให้ลำบากกรรมในปางก่อนทั้งนั้น
    นี่แน่ะ ท่านอายุบาล พวกพระที่ถือ “เอกา” ฉันจังหันหนเดียว แต่ชาติก่อนเป็นโจรเที่ยวปล้นชาวบ้าน ไปแย่งชิงอาหารเขาครั้นชาตินี้เล่าผลกรรมนั้นดลจิตให้ฉันหนเดียว ดูบรรพชานี้ไม่มีผล ถึงจะรักษาศีลรักษาตบะ รักษาพรหมจรรย์ ก็ไม่มีผลอันใด
    ประการหนึ่งเล่า พวกที่ถือธุดงค์ “อัพโพกาส” คืออยู่ในกลางแจ้งนั้น เมื่อชาติก่อนต้องได้เป็นพวกปล้นบ้านเผาเรือนชาตินี้จึงไม่มีที่กินที่อยู่
    ส่วนพวกถือ “เนสสัชชิกธุดงค์” คือถือ ไม่นอนเป็นกิจวัตร ได้แต่เดิน ยืน นั่ง เท่านั้น พวกนั้นต้องเป็นโจรปล้นคนเดินทางไว้เมื่อชาติก่อน จับคนเดินทางได้แล้วก็ผูกมัดให้นั่งจับเจ่าอยู่เท่านั้น
    โยมคิดดูซึ่งธุดงค์นี้ไม่มีผล จะป็นศีลจะเป็นตบะ จะเป็นพรหมจรรย์ก็หามิได้ ก็จะบรรพชารักษาธุดงค์ไปเพื่ออะไร ปฎิบัติในเพศคฤหัสถ์อยู่มิดีกว่าหรือ พระผู้เป็นเจ้า?”
    เมื่อพระเจ้ามิลินท์ตรัสอย่างนี้ พระอายุบาลก็ขี้คร้านที่จะตอบจึงนั่งนิ่งไป มิได้ถวายพระพรโต้ตอบต่อข้อปัญหานั้น
    พวกโยนก ๕๐๐ จึงกราบทูลขึ้นว่า
    “ข้าแต่มหาราชเจ้า พระภิกษุองค์นี้เป็นนักปราชญ์ ได้สดับเล่าเรียนมาก แต่ไม่แกล้วกล้าที่จะวิสัชนา จึงมิได้โต้ตอบต่อคำถามของพระองค์”
    พระเจ้ามิลินท์ได้ฟังคำข้าราชบริพานทูลเฉลยก็หาสนใจไม่ ทอดพระเนตรดูแต่พระพอายุบาล เห็นพระอายุบาลนิ่งอยู่ก็ทรงพระสรวล (หัวเราะ) พร้อมกับตบพระหัตถ์ตรัสเย้ยว่า
    “ชมพูทวีปว่างเเปล่าเสียแล้ว ไม่มีสมณพราหมณ์ เจ้าหมูเจ้าคณะ คณาจารย์ใด ๆ อาจสนทนากับเราได้ อาจแก้ความสงสัยของเราได้เลย เห็นทีจะสิ้นสุดครั้งนี้แล้วหนอ..”
    ฝ่ายหมู่โยนกได้ฟังก็มิได้ตอบคำสนองพระราชโองการ ส่วนพระอายุบาลได้เห็นอาการของพระเจ้ามิลินท์อย่างนั้น จึงคิดว่าเราเป็นสมณะไม่สมควรทะเลาะโต้เถียงกับใคร ที่จริงปัญหานี้จะวิสัชนาให้ฟังอีกก็ได้ แต่เป็นเพราะพระราชาถามปัญหาที่ไม่ควรถาม คิดอย่างนี้แล้ว จึงเก็บอาสนะลุกไปเสีย
    หลังจากพระเจ้ามิลินท์เสด็จเข้าสู่พระนครแล้ว จึงดำริว่า จะต้องมีภิกษุองค์ใดองค์หนึ่งอาจสนทนากับเราอย่างไม่สงสัย จึงตรัสถามเนมิตติอำมาตย์ขึ้นอีกว่า
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “นี่แน่ะ เนมิตติยะ ภิกษุผู้จะโต้ตอบกับเราได้ ยังมีอยู่อีกหรือไม่?” [/FONT]
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> กิตติศัพย์ของพระนาคเสน </center>
    ในคราวนั้น พระนาคเสนผู้ห้อมล้อมด้วยหมู่สมณะ ผู้เป็นเจ้าคณะคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฎ มียศบริวารชำนาญในพระตรัยปิฎก สำเร็จไตรเพท มีความรอบรู้แตกฉาน มีอาคมพร้อม สำเร็จปฎิสัมภิทาญาณ ทรงไว้ซึ่งพระปริยัติธรรมในศาสดนาของพระองค์สมเด็จพระบรมศาสดาอันประกอบด้วยองค์ ๙ ถึงแล้วซึ่งบารมีญาณ
    เป็นผู้ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ทั้งปวงเหมือนกับพญาเขาสิเนรุราช องอาจดั่งราชสีห์ มีใจสงบระงับเป็นอันดี มีปรีชาญาณล่ำเลิศ ย่ำยีซึ่งถ่อยคำอับเป็นปฎิปักษ์แก่พระพุทธศานาได้อย่างเด็ดขาด
    เป็นผู้ฉลาดในอุบายแนะนำ ชำนาญในอรรถธรรมทั้งปวง ไม่มีผู้ต่อสู้ ไม่มีผู้กั้นกางได้ ไม่มีผู้ล่วงเกินได้ ละเสียซึ่งที่เป็นข้าศึกทั้งปวง กระทำซึ่งแสงสว่างให้เกิด กำจัด เสียซึ่งความมืด
    เป็นผู้มีถ้อยคำประเสริฐ แตกฉานในอรรถ ธรรม นิรุตติ ปฎิภาณ ล่วงลุซึ่งบารมีญาณ มีปรัชาญาณเปรียบดังลูกคลื่นในห้องมหาสมุทร เป็นผู้สูงสุดกว่าหมู่คณะทั้งหลาย ย่ำยี่เสียซึ่งลัทธิเดียรถีย์ทั้งปวง
    เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลมแกล้วกล้าสามารถ มากไปปด้วยความสุขกายสบายใจเป็นผู้ทำสงฆ์ให้งดงาม เป็นพระอรหันต์ผู้ล่ำเลิศ เป็นที่สักการบูชาของพุทธบริษัททั้งสี่
    เป็นผู้ที่จะแสดงบาลี อรรถกถา อันทำให้เกิดความเลื่อมใสแก่บัณฑิตทั้งหลายผู้มีความรู้ ผู้ประกาศคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวรเจ้า อันประกอบด้วยองค์ ๙ ผู้จะเชิดชูซึ่งแก้วอันประเสริฐในพระพุทธศาสนาให้ปรากฎ
    เป็นผู้จะยกขึ้นซึ่งเครื่องบูชาพระธรรมผู้จะตั้งขึ้นซึ่งยอดพระธรรม ผู้จะยกขึ้นซึ่งธงชัยคือพระธรรมผู้จะเป่าสังข์คือพระธรรม ผู้จะตีกลองคือพระธรรมให้นฤนาท ผู้จะดีดกระจับปี่สีซอ โทน รำมะนา ดนตรี อันได้แก่อริยสัจ ๔
    เป็นผู้ที่จะบันลือเสียงดังพญาช้าง พญาอุสุภราช พญาราชสีห์ ผู้จะทำให้โลกเอิบอิ่มด้วยห่าฝนอันใหญ่ คือพระธรรมให้พิลึกกึกก้อง เรืองรองดังสายฟ้าด้วยญาณปรีชา
    <center>
    พระนาคเสนไปถึงบริเวณอสงไขย
    </center> เมื่อพระนาคเสนได้กราบลาพระอรหันต์ ๑๐๐ โกฎิแล้ว ก็ได้จาริกไปตามคามิคมชนบท เทศน์โปรดประชาชนทั้งหลายโดยลำดับ ก็บรรลุถึงซึ่งสาคลนครอันเป็นที่ประทับของพระเจ้ามิลินท์ ผู้เป็นปิ่นแห่งโยนก
    พระผู้เป็นเจ้าอาศัยอยู่ในอสงไขยบริเวณ อันเป็นที่อยู่แห่งพระอายุบาลในกาลก่อนนั้น เพราะฉะนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า
    พระนาคเสนเถระผู้เป็นพหูสูต มีการแสดงธรรมประเสริฐ มีสติปัญญาสุขุมคัมภีย์ภาพ แกล้วกล้าสามารถในที่ประชุมฉลาดในเหตุผลทั้งปวง มีปฎิภาณว่องไวหาผู้เปรียบมิได้ ทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎกอันประเสริฐ มีหมู่พระภิกษุสงฆ์ล้วนแต่ทรงพระไตรปิฎกห้อมล้อมเป็นบริวาร ได้ไปถึงอสงไขยบริเวณ แล้วพักอยู่ในที่นั้น
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] พระนาคเสนเถระนั้น ห้อมล้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงคุณธรรม เที่ยงตรงดั่งตาชั่ง ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งใด เหมือนกับพญาไกรสรราชสีห์ในป่าใหญ่ฉะนั้น พระนาคเสนนั้นเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง มีควมฉลาดรอบคอบในสิ่งที่ควรและไม่ควรทั้งปวง เป็นผู้ประกาศซึ่งอรรถธรรมทวีปทั้งสิ้น เป็นพหูสูตทรงพระไตรปิฎก ไม่มีผู้เสมอเหมือนดังนี้ [/FONT]
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> พระเจ้ามิลินท์ </center> <center> ได้ยินชื่อทรงตกพระทัยกลัว </center>
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] [/FONT][FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] ในคราวนั้น เทวมันติอำมาตย์ฟังข่าวเล่าลือ ซึ่งเกียรติคุณของพระนาคเสนดังแสดงมา จึงกราบทูลพระเจ้ามิลินท์ว่า [/FONT]
    “ขอได้โปรดก่อนเถิดมหาราชเจ้า บัดนี้มีข่าวเล่าลือว่า มีพระภิกษุองค์หนึ่งชื่อว่านาคเสน เป็นผู้แสดงธรรมอันวิเศษ มีสติปัญญาเฉียบแหลม แกล้วกล้าสามารถในที่ทั้งปวง เป็นผู้สดับเล่าเรียนมาก มีถ่อยคำไพเราะเสนาะโสต มีปฎิภานดี แตกฉานใน อรรถ ธรรม นิรุตติ ปฎิภาน ถึงซึ่งบารมีญาณ ไม่มีเทพยดาอินทร์พรหม ผู้ใดผู้หนึ่งจะสู้ได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนุษย์ พระเจ้าข้า”
    เมื่อพระเจ้ามิลินท์ได้ทรงสดับคำว่า “พระนาคเสน” เท่านี้ก็ตกพระทัยกลัว มีพระโลมาลุกชันขึ้นทันที พระบาทท้าวเธอจึงตรัสถามว่ามันติอำมาตย์ว่า
    “เวลานี้พระนาคเสนอยู่ที่ไหน เราใคร่เห็น ขอให้พระนาคเสนทราบ?”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] เทวมันติยอำมาตย์จึงใช้ให้ทูตไปแจ้งแก่พระนาคเสนว่า พระเจ้ามิลินท์มีพระราชประสงค์จะพบเห็น เมื่อทูตไปแจ้งแก่พระเถระแล้ว พระเถระจึงตอบว่า ถ้าอย่างนั้นขอจงเสด็จมาเถิด [/FONT]
     

แชร์หน้านี้

Loading...