มิลินท ปัญหา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 2 สิงหาคม 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ตอนที่ ๓๕ </center> <center> องค์ ๕ แห่งอากาศ </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งอากาศได้แก่สิ่งใด ?”
    [/FONT] “ขอถวายพระพร ธรรมดา อากาศ ไม่มีใครจับถือฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งอากาศ
    ธรรมดาอากาศ ย่อมเป็นที่เที่ยวไปแห่ง ฤาษี ดาบส ภูต สัตว์มีปีก ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรให้ใจสัญจรไปในสังขารทั้งหลายว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งอากาศ
    ธรรมดาอากาศ ย่อมเป็นที่เกิดแห่งความสะดุ้งกลัวฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทำใจสะดุ้งกลัวต่อการเกิดในภพทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งอากาศ
    ธรรมดาอากาศ ย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีที่ประมาณฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นผู้มีลีลาจารวัตร ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีปริมาณฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งอากาศ
    ธรรมดาอากาศ ย่อมไม่ติดไม่ข้องไม่ตั้งไม่พัวพันอยู่ในสิ่งใดฉันใด พระโยาคาวจรก็ไม่ข้อง ไม่ควร ไม่ควรติด ไม่ควรตั้งอยู่ ไม่ควรผูกพันอยู่ในตระกูล หมู่คณะ ลาภ อาวาส เครื่องกังวล ปัจจัย และกิเลสทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งอากาศ
    ข้อนี้สมกับที่ทรงสั่งสอน พระราหุล ไว้ว่า
    “ดูก่อนราหุล อากาศย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ใดฉันนั้น เธอจงอบรมจิตใจให้เสมอกับอากาศฉันนั้น เพราะเมื่อเธออบรมจิตใจให้เสมอกับอากาศใด้แล้ว อารมณ์ที่มากระทบอันเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ย่อมไม่ครอบงำจิตใจได้” ดังนี้ ขอถวายพรพร”

    <center>
    องค์ที่ ๕
    แห่งดวงจันทร์
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งดวงจนัทร์ได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา ดวงจันทร์ ย่อมขึ้นในเวลาข้างขึ้น แล้วเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นฉันใด พระโยคาวจรก็ควรให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นในอาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติ อาคม (พระปริยัติธรรม) อธิคม (มรรคผล) ความสงัดความสำรวมอินทรีย์ ความรู้จักประมาณใจโภชนะ ความเพียรฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งพระจันทร์
    ธรรมดาพระจันทร์ ย่อมเป็นอธิบดียิ่งอย่างหนึ่งฉันใด พระโยคาวจรก็ควรมีฉันทาธิบดีอันยิ่งฉันนั้นอันนี้จัดเป็นองค์ที่ ๒ แห่งพระจันทร์
    ธรรมดาพระจันทร์ ย่อมเที่ยวไปในกลางคืนฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเที่ยวไปด้วยวิเวกฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งพระจันทร์
    ธรรมดาพระจันทร์ ย่อมมีวิมานเป็นธงชัยฉันใด พระโยคาวจรก็ควรมีศีลเป็นธงชัยฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งพระจันทร์ vธรรมดาพระจันทร์ ย่อมมีผู้อยากให้ตั้งขึ้นมาฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเข้าไปสู่ตระกูล ด้วยมีผู้นิมนต์ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งพระจันทร์ ข้อนี้สมกับประพันธ์พุทธภาษิตใน สังยุตตนิกาย ว่า
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเข้าไปสู่ตระกูล ด้วยอาการเหมือนดวงจันทร์อย่าทำกายใจให้คดงอในตระกูล อย่าคะนองกายใจในตระกูล” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ที่ ๗
    แห่งดวงอาทิตย์
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๗ แห่งดวงอาทิตย์ได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา ดวงอาทิตย์ ย่อมทำพืชทั้งปวงให้เหี่ยวฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทำกิเลสทั้งปวงให้แห้งฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งดวงอาทิตย์
    ธรรมดาดวงอาทิตย์ ย่อมกำจัดมืดฉันใด พระโยคาวจรก็ควรกำจัดความมืดทั้งปวง คือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งดวงอาทิตย์
    ธรรมดาดวงอาทิตย์ ย่อมเที่ยวไปเนือง ๆ ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรกระทำโยนิโสมนสิการเนือง ๆ ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งดวงอาทิตย์
    ธรรมดาดวงอาทิตย์ ย่อมมีรัศมีเป็นมาลา (ระเบียบ) ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรมีรัศมีคืออารมณ์เป็นมาลาฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งดวงอาทิตย์
    ธรรมดาดวงอาทิตย์ ย่อมทำให้หมู่มหาชนร้อนฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทำให้โลกนี้กับทั้งเทวโลกร้อนด้วยอาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธบาท อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งดวงอาทิตย์
    ธรรมดาดวงอาทิตย์ ย่อมกลัวภัย คือราหูฉันใด พระโยคาวจรได้เห็นบุคคลทั้งหลายที่รกรุงรังไปด้วยทุจริต และทุคติ สวมด้วยเครื่องขนานคือทิฏฐิ เดินไปผิดทาง ก็ควรทำให้ใจสลดด้วยความกลัวสังเวช อันนี้เป็นองค์ที่ ๖ แห่งดวงอาทิตย์
    ธรรมดาดวงอาทิตย์ ย่อมทำให้เห็นของดีของเลวฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทำตนให้เห็นโลกิยธรรม โลกุตตรธรรม ด้วยอินทรีย์ พละ โพชฌงค์ สติปัฏฐาน สัมปปธราน อิทธิบาทฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๗ แห่งดวงอาทิตย์
    ข้อนี้สมกับคำของ พระวังคีสเถระ ว่า
    “เมื่อดวงอาทิตย์ตั้งขึ้น ย่อมทำให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ทั้งสะอาดไม่สะอาด ดีเลว ฉันใด พระภิกษุผู้ทรงธรรม ก็ทำให้หมู่ชนอันถูกอวิชชาปกปิดไว้ ให้ได้เห็นทางธรรมต่าง ๆ เหมือนกับดวงอาทิตย์ที่ตั้งขึ้นมาฉันนั้น”

    <center>
    องค์ที่ ๒
    แห่งท้าวสักกะ
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๓ แห่งท้าวสักกะได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา ท้าวสักกะ ย่อมเพี่ยบพร้อมด้วยสุขอย่างเดียวฉันใด พระโยคาวจรก็ควรยินดีในสุข อันเกิดจากวิเวกอย่างเยี่ยมฝ่ายเดียวกันฉันนั้น อันนี้เป็นองค์แห่งองค์ที่ ๑ แห่งท้าวสักกะ
    ธรรมดาท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมเทพทั้งหลาย ได้เห็นเทพยเจ้าทั้งหลายแล้วก็ทำให้เกิดความร่าเริงฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเกิดความร่าเริงไม่หดหู่ ไม่เกียจคร้านในกุศลธรรมทั้งหลายฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งท้าวสักกะ
    ธรรมดาท้าวสักกะ ย่อมไม่เกิดความเบื่อหน่าย ไม่เกิดความรำคาญฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรให้เกิดความเบื่อหน่ายในสิ่งที่สงัดฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งท้าวสักกะ
    ข้อนี้สมกับคำของ พระสุภูติเถระ ว่า
    “ข้าแต่มหาวีระเจ้า นับแต่ข้าพระองค์ได้บรรพชาในศาสนาของพระองค์ ย่อมไม่รูสึกว่า มีสัญญาสักอย่างเดียว อันเกี่ยวกับกามมารมณ์เกิดแก่ข้าพระองค์เลย” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ที่ ๔
    แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๔ แห่งพระเจ้าจักรพรรดิได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา พระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมทรงสงเคราะห์ประชาชนด้วยสังคหวัตถุ ๔ ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรสงเคราะห์ ควรประคอง ควรอนุเคราะห์ ควรทำให้ร่าเริงแก่บริษัท ๔ ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ
    ธรรมดาในแว่นแคว้นพระเจ้าจักรพรรดิย่อมไม่มีโจรผู้ร้ายฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรให้มีโจรผู้ยร้าย คือกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ฉันนั้น ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า
    “ผู้ใดยินดีในการระงับวิตก อบรมอสุภะ มีสติมุกเมื่อ ผู้นั้นจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้จะตัดเครื่องผูกแห่งมารได้” ดังนี้
    ธรรมดาพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมเสด็จเลียบโลก เพื่อทรงพิจาณาดูคนดีคนเลวทุกวันฉันใด พระโยคาวจรก็ควรพิจารณากายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทุกวันแล้วทำให้บริสุทธิ์ ด้วยคิดว่า
    วันคืนของเราผู้ไม่ข้องอยู้ด้วยฐานะทั้ง ๓ นี้ ได้ล่วงเลยไปแล้วอย่างไร อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าจักรพรรดิ
    ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในคัมภีร์ อังคุตตรนิกาย ว่า
    “บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่” ดังนี้
    ธรรมดาพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมทรงจัดการรักษาให้ดี ทั้งภายในภายนอกฉันใด พระโยคาวจรก็ควรตั้งนายประตู คือสติให้รักษากิเลสทั้งภายในภายนอกฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ
    ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีนายประตู คือสติ ย่อมละอกุศล อบรมกุศล ละสิ่งที่มีโทษ อบรมสิ่งที่ไม่มีโทษ รักษาตนให้บริสุทธิ์” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] จบจักกวัตติวรรคที่ ๓ [/FONT]</center>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> กุญชร
    วรรคที่ ๔
    </center> <center> องค์ ๑ แห่งปลวก </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งปลวกได้แก่อะไร ?”
    [/FONT] “ขอถวายพระพร ธรรมดา ปลวก ย่อมทำหลังคาปิดตัวเองแล้วอาศัยอยู่ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทำหลังคา คือศีลสังวรปิดใจของตนอยู่ฉันนั้น เพราะเมื่อปิดใจของตนด้วยศีลสังวรแล้ว ย่อมล่วงพ้นภัยทั้งปวงได้ อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งปลวก
    ข้อนี้สมกับคำของ พระอุปเสนเถระ ว่า
    “พระโยคีกระทำเครื่องมุ่งใจ คือศีลสังวรแล้ว ไม่ติดอยู่ในอะไร ย่อมพ้นจากภัยได้” ดังนี้ ขอถวายพระพร

    <center>
    องค์ ๒
    แห่งแมว
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งแมวได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา แมว เวลาไปที่ถ้ำหรือที่ซอก ที่รู ที่โพรง ที่ระหว่างถ้ำก็ดีก็แสวงหาแต่หนูฉันใด
    พระโยคาวจรผู้ไปอยู่ที่บ้าน ที่ป่า หรือที่โคนต้นไม้ ที่แจ้ง ที่ว่างบ้านเรือน ก็ไม่ควรประมาท ควรแสวงหาโภชนะ คือ กายคตาสติฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งแมว
    ธรรมดาแมว ย่อมเสวงหาอาหารในที่ใกล้ ๆ ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรพิจรณาขันธ์ ๕ ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีความตั้งขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา
    ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า
    “ไม่ต้องกล่าวไปให้ไกลแต่นี้นัก ภวัคคพรหม (พรหมชั้นสูงสุด) จักทำอะไรได้ควรเบื่อหน่ายเฉพาะในกายของตน อันมีอยู่ในปัจจุบันนี้แหละ” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๑
    แห่งหนู
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งหนูได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา หนู ย่อมเที่ยวหาอาหารไปข้างนี้ฉันใด พระโยคาวจรเมื่อเที่ยวไปข้างโน้นข้างนี้ ก็ควรแสวงหาโยนิมาสิการฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งหนู
    ข้อนี้สมกับคำของ พระอุปเสนเถระ ว่า
    “ผู้แสวงหาธรรมต่าง ๆ ผู้เห็นธรรมต่าง ๆ ผู้ไม่ย่อท้อ ผู้สงบ ย่อมมีสติอยู่ทุกเมื่อ” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๑
    แห่งแมงป่อง
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งแมงป่องได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา แมงป่อง ย่อมมีหางเป็นอาวุธ ย่อมชูหางของตนเที่ยวไปฉันใด พระโยคาวจรก็ควรมีญาณเป็นอาวุธ ควรชูญาณฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งแมงป่อง
    ข้อนี้สมกับคำของ พระอุปเสนเถระ ว่า
    “ภิกษุผู้ถือเอาพระขรรค์ คือญาณผู้เห็นธรรมด้วยอาการต่าง ๆ ย่อมพ้นจากภัยทั้งปวง ภิกษุนั้นย่อมอดทนสิ่งที่ทนได้ยากในโลก” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๑
    แห่งพังพอน
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งพังพอนได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา พังพอน เมื่อจะไปสู้กับงู ย่อมมอมตัวด้วยยาเสียก่อนจึงเข้าไปใกล้งู เพื่อจะสู้กับงูฉันใด พระโยคาวจรเมื่อจะเข้าใกล้โลก อันมากไปด้วยความบาดหมาง ความทะเลาะวิวาท ก็ทาอวัยวะด้วยยา คือเมตตาเสียก่อน จึงจะให้โลกทั้งปวงดับความเร่าร้อนใด้ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งพังพอน
    ข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า
    “พระภิกษุควรมีเมตตาแก่ตนและผู้อื่นควรแผ่จิตเมตตาไป อันนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๒
    แห่งสุนัขจิ้งจอก
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งสุนัขจิ้งจอกได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา สุนัขจิ้งจอก ได้โภชนะแล้วย่อมไม้เกลียดชัง ย่อมกินพอความประสงค์ฉันใด พระโยคาวจรได้โภชนะแล้ว ก็ไม่ควรเกลียดชัง ไม่ว่าชนิดไหน ควรฉันพอให้ร่างกายเป็นไปได้ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งสุนัขจิ้งจอก
    ข้อนี้สมกับคำของ พระมหากัสสปเถระ ว่า
    “เวลาเราออกจากเสนาสนะเข้าไปบิณฑบาตถึงบุรุษโรคเรื้อนที่กำลังกินข้าวอยู่ กำเอาคำข้าวด้วยมือเป็นโรคเรื้อนมาใส่บาตรให้เรา เราก็นำไปฉัน ไม่เกลียดชังอย่างไร” ดังนี้
    ธรรมดาสุนัขจิ้งจอกได้โภชนะแล้ว ย่อมไม่เลือกว่าเลวดีอย่างไรดีฉันใด พระโยคาวจรได้โภชนะแล้ว ก็ไม่เลือกว่าเลวดี ยินดีตามที่ได้ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งสุนัขจิ้งจอก
    ข้อนี้สมกับคำของ พระอุปเสนเถระ ว่า
    “บุคคลควรยินดีแม้ด้วยของเลว ไม่ควรปราาถนาอย่างอื่น ใจของผู้ข้องอยู่ในรสทั้งหลาย ย่อมไม่ยินดีในฌาน ความสันโดษ ตามมีตามได้ ย่อมทำให้เป็นสมณะบริบูรณ์” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๓
    แห่งเนื้อในป่า
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ที่ ๓ แห่งเนื้อในป่าได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา เนื้อในป่า ย่อมเที่ยวไปในป่า ในเวลากลางคืน ในที่แจ้งฉันใด พระโยคาวจรก็ควรอยู่ในป่าในเวลากลางวัน ส่วนในเวลากลางคืนควรอยู่ในที่แจ้งอันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งเนื้อในป่า
    ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า
    “ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมอยู่ในที่แจ้งเวลากลางคืนหน้าหนาว ส่วนกลางวันอยู่ในป่าสำหรับเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน เวลากลางวันเราอยู่ในที่แจ้ง เวลากลางคืนเราอยู่ในป่า”
    ธรรมดาเนื้อในป่า ย่อมรู้จักหลบหลีกลูกศรฉันใด พระโยคาวจรก็ควรรู้จักหลบหลีกกิเลสฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งเนื้อในป่า
    ธรรมดาเนื้อในป่า ได้เห็นมนุษย์แล้วย่อมวิ่งหนี ด้วยคิดว่าอย่าให้มนุษย์ได้เห็นเราฉันใด พระโยคาวจรได้เห็นพวกทุศีล พวกเกียจคร้าน พวกยินดีในหมู่คณะ ก็ควรหนีไปด้วยคิดว่าอย่าให้พวกนี้ได้เห็นเรา อย่าให้เราได้เห็นพวกนี้อันนั้นเป็นองค์ที่ ๓ แห่งเนื้อในป่า
    ข้อนี้สมกับคำอัน พระสารีบุตรเถระ กล่าวไว้ว่า
    “เรานึกว่าคนมีความต้องการในทางลามกคนเกียจคร้าน คนท้อถอย คนสดับน้อย คนประพฤติไม่ดี คนไม่สงบ อย่าได้พบเห็นเราเลย” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๔
    แห่ง โค
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๔ แห่งโคได้แก่อะไร ?”
    ขอถวายพระพร ธรรมดา โค ย่อมไม่ทิ้งคอกของตนฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรทิ้งโอกาสของตนฉันนั้น คือไม่ทิ้งซึ่งการนึกว่า กายนี้มีการขัดสีอบรมอยู่เป็นนิจ มีการแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งโค
    ธรรมดาโคย่อมถือเอาแอก ย่อมนำแอกไปด้วยความสุขและความทุกข์ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรประพฤติพรหมจารย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต ด้วยการสู้สุขสู้ทุกข์ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งโค
    ธรรมดาโคย่อมเต็มใจดื่มน้ำฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเต็มใจฟังคำสั่งสอนของพระอุปชฌาย์ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งโค
    ธรรมดาโคเมื่อเจ้าของฝึกหัดให้ทำอย่างไรย่อมทำตามทุกอย่างฉันใด พระโยคาวจรก็ควรยินดีรับคำสอนของภิกษุด้วยกัน หรือของอุบาสกชาวบ้านฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งโค
    ข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า
    “ถึงผู้บวชในวันนั้นมีอายุเพียง ๗ ขวบสอนเราก็ตาม เราก็ยินดีรับคำสอน เราได้เห็นผู้นั้น ก็ปลูกความพอใจ ความรักอย่างแรงกล้า ยินดีนอบน้อมว่าเป็นอาจารย์แล้วแสดงความเคารพเนือง ๆ” ดังนี้

    <center>
    องค์ ๒
    แห่งสุกร
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งสุกรได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา สุกร ย่อมชอบนอนแช่น้ำในฤดูร้อนฉันใด พระโยคาวจรก็ควรอบรมเมตตาภาวนาอันเย็นดี ในเวลาจิตเร่าร้อนตื่นเต้นฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งสุกร
    ธรรมดาสุกรย่อมขุดดินด้วยจมูกของตนทำให้เป็นรางน้ำในที่มีน้ำ แล้วนอนแช่อยู่ในรางฉันใด พระโยคาวจรก็ควรพิจารณากายไว้แล้วฝังอารมณ์ให้นอนอยู่ภายในใจฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งสุกร ข้อนี้สมกับคำของ พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ว่า
    “ภิกษุผู้เล็งเห็นสภาพแห่งกายแล้ว ควรหลีกออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว แล้วนอนอยู่ในภายในอารมณ์” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๕
    แห่งช้าง
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งช้างได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา ช้าง เมื่อเที่ยวไป ย่อมเอาเท้ากระชุ่นดินฉันใด พระโยคาวจรผู้พิจารณากาย ก็ควรทำลายกิเลสทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งช้าง
    ธรรมดาช้าง ย่อมแลไปตรง ๆ ไม่แลดูทิศโน้นทิศนี้ฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรเหลียวดูทิศโน้นทิศนี้ ไม่ควรแหงนดูก้มดู ควรดูเพียงชั่วระยะแอกฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งช้าง
    ธรรมดาช้าง ย่อมไม่นอนประจำอยู่ในที่แห่งเดียว เที่ยวหากินในที่ใด ไม่พักนอนในที่นั้นฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรนอนประจำคือไม่ควรห่วงใยในที่เที่ยวบิณฑบาต ถ้าได้เห็นที่ชอบใจ คือปะรำ หรือโคนต้นไม้ หรือถ้ำหรือเงื้อมเขา ก็ควรเข้าพักอยู่ในที่นั้น แล้วไม่ควรห่วงใยในที่นั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งช้าง
    ธรรมดาช้าง เวลาลงน้ำย่อมเล่นน้ำตามสบายฉันใด พระโยคาวจรเวลาลงสู่สระโบกขรณี คือมหาสติปัฏญาน อันเต็มเปี่ยมด้วยน้ำอันประเสริญ คือพระธรรมอันเย็นใสอันดาษไปด้วยดอกไม้ คือวิมุตติ ก็ควรเล่นอยู่ด้วยการพิจารณาสังขาร อันเป็นองค์ที่ ๔ แห่งช้าง
    ธรรมดาช้าง ย่อมมีสติทุกเวลายกเท้า ขึ้นวางเท้าลงฉันใด พระโยคาวจรก็ควรมีสติสัมปชัญญะทุกเวลายกเท้าขึ้นวางเท้าลงทุกเวลาเดินไปมา คู้เหยียด แลเหลียว ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งช้าง
    ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในคัมภีร์ สังยุตตนิกาย ว่า
    “การสำรวมกาย วาจา ใจ เป็นของดีการระวังในสิ่งทั้งปวงเป็นของดี ผู้ระวังในสิ่งทั้งปวง ผู้มีความละอาย เรียกว่า ผู้รักษากาย วาจา ใจ ดีแล้ว” ดังนี้ ขอถวายพระพร

    <center>[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    จบกุญชรวรรค์ที่ ๔
    [/FONT]</center>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> สีห
    วรรคที่ ๕
    </center> <center> องค์ ๗ แห่งราชสีห์ </center>
    “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๗ แห่งราชสีห์ได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา ราชสีห์ ย่อมมีกายขาวบริสุทธิ์ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรให้มีจิตขาวบริสุทธิ์ ปราศจากความรำคาญฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งราชสีห์
    ธรรมดาราชสีห์ ย่อมเที่ยวไปด้วยเท้าทั้ง ๔ มีการเที่ยวไปงดงามฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเที่ยวไปด้วยอิทธิบาท ๔ ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งราชสีห์
    ธรรมดาราชสีห์ ย่อมมีไกรสรคือสร้อยคอสีสวยงามยิ่งฉันใด พระโยคาวจรก็ควรมีไกรสร คือศีลอันสวยงามยิ่งฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งราชสีห์
    ธรรมราชสีห์ถึงจะตาย ก็ไม่ยอมอ่อนน้อมต่อใครฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรอ่อนน้อมต่อใคร เพราะเห็นแก่ปัจจัย ๔ ถึงจะสิ้นชีวิตก็ช่าง อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งราชสีห์
    ธรรมดาราชสีห์ ย่อมเที่ยวหาอาหารไปตามลำดับ ได้อาหารในที่ใดก็กินให้อิ่มในที่นั้นไม่เลือกกินเฉพาะเนื้อที่ดีๆ ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับพระกูล ไม่ควรเลือกตระกูลและอาหารฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งราชสีห์
    ธรรมดาราชสีห์ ย่อมไม่สะสมอาหารกินคราวหนึ่งแล้วไม่เก็บไว้กินอีกฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรสะสมอาหารฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๖ แห่งราชสีห์
    ธรรมดาราชสีเวลาหาอาหารไม่ได้ ก็ไม่ทุกข์ร้อน ได้แล้วก็ไม่ติดฉันใด พระโยคาวจรเวลาหาอาหารไม่ได้ ก็ไม่ควรทุกข์ร้อน เวลาได้ก็ไม่ควรติดใจรสอาหาร ควรฉันด้วยการพิจารณา เพื่อจะออกจากโลก อันนี้เป็นองค์ที่ ๗ แห่งราชสีห์ ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในคัมภีร์ <bสังยุตตนิกาย></bสังยุตตนิกาย> ว่า
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระกัสสปนี้ ย่อมยินดีด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ สรรเสริญความยินดีในบิณฑบาตตามมีตามได้ไม่แสวงหาบิณฑบาตในทางที่ไม่ชอบ เมื่อไม่ได้ก็ไม่ควรทุกข์ร้อน เวลาได้ก็ไม่ติดในรสอาหาร รู้จักพิจรณาโทษแห่งอาหาร” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๓
    แห่งนกจากพราก
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๓ แห่งนกจากพรากได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา นกจากพราก ย่อมไม่ทิ้งเมียจนตลอดชีวิตฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรทิ้งโยนิโสมนสิการจนตลอดชีวิตฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งนกจากพราก
    ธรรมดานกจากพราก ย่อมกินหอย สาหร่าย จอกแหน เป็นอาหารด้วยความยินดี จึงไม่เสื่อมจากกำลังและสีกาย ด้วยความยินดีนั้นฉันใด พระโยคาวจรก็ควรยินดีตามมีตามได้ฉันนั้น เพราะผู้ยินดีตามมีตามได้ ย่อมไม่เสื่อมจากศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ และกุศลธรรมทั้งปวง อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งนกจากพราก
    ธรรมดานกจากพราก ย่อมไม่เบียดเบียนสัตว์ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทิ้งท่อนไม้และอาวุธ ควรมีความละอาย มีใจอ่อน นึกสงเคราะห์สัตว์ทั้งหลายด้วยเมตตามฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งนกจากพราก ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ใน จักกวากชาดก ว่า
    “ผู้ใดไม่ฆ่าเอง ไม่ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง ไม่ให้ผู้อื่นชนะ ผู้นั้นชื่อว่ามีเมตตาในสัตว์ทั้งหลาย เวรย่อมไม่มีแก่ผู้นั้นด้วยเหตุใด ๆ” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๒
    แห่งนางนกเงือก
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งนกเงือกได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา นางนกเงือก ย่อมให้ผัวอยู่เลี้ยงลูกในโพรงด้วยความหึงหวงฉันใด พระโยคาวจรเมื่อกิเลสเกิดขึ้นในใจของตนก็ควรเอาใจของตนใส่โลงในโพรง คือการสำรวมโดยชอบ เพื่อความกั้นกางกิเลส แล้วอบรมกายคตาสติไว้ด้วยมโนทวาร อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งนางนกเงือก
    ธรรมดานางนกเงือก เวลากลางวันไปเที่ยวหากินในป่า พอถึงเวลาเย็นก็บินไปหาเพื่อนฝูง เพื่อรักษาตัวฉันใด พระโยคาวจรก็ควรหาที่สงัดโดยลำพังผู้ดียว เพื่อให้หลุดพ้นจากสังโยชน์ เมื่อได้ความยินดีในความสงัดนั้น ก็ควรไปอยู่กับสงฆ์ เพื่อป้องกันภัย คือการว่ากล่าวติเตียนฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งนางนกเงือก
    ข้อนี้สมกับคำที่ ท้าวสหัมบดีพรหม ได้กล่าวขึ้นในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าว่า
    “พระภิกษุควรอยู่ในที่นั่งที่นอนอันสงัดเพื่อปลดเปลื้องจาดสังโยชน์ ถ้าไม่ได้ความยินดีในที่สงัดนั้น ก็ควรไปอยู่ในหมู่สงฆ์ควรมีสติรักษาตนให้ดี” ดังนี้

    <center>
    องค์ ๑
    แห่งนกกระจอก
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งนกกระจอกได้แก่อะไร ?”
    "ขอถวายพระพร ธรรมดา นกกระจอก ย่อมอาศัยอยู่ในเรือนคน แต่ไม่เพ่งอยากได้ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งของคน มีใจเป็นกลางเฉยอยู่มากไปด้วยความจำฉันใด
    พระโยคาวจรเข้าไปถึงตระกูลอื่นแล้ว ก็ไม่ควรถือเอานิมิตในเตียง ตั่ง ที่นั่ง ที่นอน เครื่องประดับประดา เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ เครื่องกิน ภาชนะใช้สอยต่าง ๆ ของสตรีหรือ บุรุษในตระกูลนั้น ควรมีใจเป็นกลาง ควรใส่ใจไว้แต่ในสมณสัญญาฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งนกกระจอก ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ใน จูฬนารทชาดก
    “ภิกษุเข้าไปสู่ตระกูลอื่นแล้ว ควรขบฉันข้าวน้ำตามที่เขาน้อมถวาย แต่ไม่ควรหลงไหลไปในรูปต่าง ๆ”

    <center>
    องค์ ๒ แห่งนกเค้า
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งนกเค้าได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา นกเค้า ย่อมเป็นศัตรูกันกับกา พอถึงเวลากลางคืนก็ไปตีฝูงกา ฆ่าตายเป็นอันมากฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นข้าศึกกับอวิชชา ควรนั่งอยู่ในที่สงัดแต่ผู้เดียว ควรตัดอวิชชาทิ้งเสียพร้อมทั้งรากฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งนกเค้า
    ธรรมดานกเค้าย่อมซ่อนตัวอยู่ดีฉันใด พระโยคาวจรก็ควรซ่อนตัวไว้ดี ด้วยการยินดีในที่สงัดฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งนกเค้า
    ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในคัมภีร์ สังยุตตนิกาย ว่า
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอควรอยู่ในที่สงัด เพราะผู้อยู่ในที่สงัด ผู้ยินดีในที่สงัดย่อมพิจรณาเห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค”

    <center>
    องค์ ๑ แห่ง ตะขาบ
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งตะขาบได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา ตะขาบ ย่อมร้องบอกความปลอดภัย และความมีภัยแก่ผู้อื่นฉันใด พระโยคาวจรก็ควรแสดงธรรมบอกนรก สวรรค์ นิพพาน แก่ผู้อื่นฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งตะขาบ
    ข้อนี้สมกับคำที่ พระปิณโฑลภารทวาชเถระ กล่าวไว้ว่า
    “พระโยคาวจรควรแสดงสิ่งที่น่าสะดุ้งกลัวในนรก และความสุขอันไพบูลย์ในนิพพานให้ผู้อื่นฟัง” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๒
    แห่งค้างคาว
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งค้างคาวได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา ค้างคาว บินเข้าไปในเรือนแล้ว บินวนไปวนมาแล้วก็บินออกไป ไมากังวลอยู่ในเรือนฉันใด พระโยคาวจรเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน เที่ยวไปตามลำดับแล้วได้หรือไม่ได้ก็ตาม ก็ควรกลับออกไปโดยเร็วพลันฉันนั้น ไม่ควรกังวลอยู่ในบ้าน อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งค้างคาว
    ธรรมดาค้าวคาว เมื่ออาศัยอยู่ในเรือนคน กฌไม่ทำความเสียหายให้แก่คนฉันใด พระโยคาวจรเข้าไปถึงตระกูลแล้ว ก็ไม่ควรทำความเดือดร้อนเสียใจให้คนทั้งหลาย
    ด้วยการขอสิ่งนั้นสิ่งนี้ หรือด้วยการทำไม่ดีทางกาย หรือด้วยการพูดมากเกินไป หรือด้วยการทำตนให้เป็นผู้มีสุขทุกข์เท่ากับคนในตระกูลนั้น ไม่ควรทำให้เสียบุญกุศลของเขา ควรทำแต่ความเจริญให้เขาฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งค้างคาว
    ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ใน ลักขณสังยุต ในคัมภีร์ทีฆกายว่า
    “ภิกษุไม่ควรทำให้ชาวบ้าน เสื่อมศรัทธา ศีล สุตะ พุทธ จาคะ ธรรมะ ทรัพย์สมบัติ ไร่นา เรือกสวน บุตร ภาายา สัตว์ ๔ เท้า ญาติมิตร พวกพ้อง กำลัง ผิวพรรณ ความสุขสบายแต่อย่างใด พระโยคาวจรย่อมมุ่งแต่ความมั่นคงให้แก่ชาวบ้าน” ดังนี้

    <center>
    องค์ ๑ แห่งปลิง
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งปลิงได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา ปลิง เกาะในที่ใดก็ตาม ต้องเกาะให้แน่นในที่นั้นแล้วดูดกินเลือดฉันใด พระโยคาวจรมีจิตเกาะในอารมณ์ใด ควรเกาะอารมณ์นั้นให้แน่น ด้วย สี สัณฐาน ทิศ โอกาส กำหนด เพศ นิมิต แล้วดื่มวิมุตติรสอันบริสุทธิ์ด้วยอารมณ์นั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งปลิง
    ข้อนี้สมกับคำของ พระอนุรุทธเถระ ว่า
    “ภิกษุควรมีจิตบริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในอารมณ์แล้ว ควรดื่มวิมุตติรสอันบริสุทธิ์ด้วยจิตนั้น” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center> องค์ ๓ แห่งงู </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๓ แห่งงูได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา งู ย่อมไปด้วยอกฉันใด พระโยคาวจรก็ควรไปด้วยปัญญาฉันนั้น เพราะจิตของพระโยคาวจรผู้ไปด้วยปัญญา ย่อมเที่ยวไปในธรรมที่ควรรู้ ย่อมละเว้นสิ่งที่ไม่ควรกำหนดจดจำ อบรมไว้แต่สิ่งที่ควรกำหนดจดจำฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งงู
    ธรรมดาเมื่องูเที่ยวไป ย่อมหลีกเว้นยาแก้พิษของตนฉันใด พระโยคาวจรก็ควรหลีกเว้นทุจริตฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งงู
    ธรรมดางูเห็นมนุษย์แล้ว ย่อมทุกข์โศกฉันใด พระโยคาวจรเมื่อนึกถึงวิตกที่ไม่ดีแล้วก็ทุกข์โศกเสียใจว่า วันของเราได้ล่วงไปด้วยความประมาทเสียแล้ว วันที่ล่วงไปแล้วนั้นเราไม่อาจได้คืนมาอีกแล้ว อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งงู
    ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ใน กินนรชาดก ว่า
    “ดูก่อนนายพราน เราพลัดกันเพียงคืนเดียว ก็นึกเสียใจไม่รู้จักหาย นึกเสียใจว่า คืนที่เราพลัดกันนั้น เราไม่ได้คืนมาอีก” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๑
    แห่งงูเหลือม
    </center> “ขอถวายพระพร องค์ ๑ แห่งงูเหลือมได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา งูเหลือม ย่อมมีร่างกายใหญ่ มีท้องพร่องอยู่หลายวันไม่ได้อาหารพอเต็มท้อง ได้พอยังร่างกายให้เป็นไปได้เท่านั้นฉันใด พระโยคาวจรผู้เที่ยวไปบิณฑบาต ก็มุ่งอาหารที่ผู้อื่นให้ งดเว้นจากการถือเอาด้วยตนเอง ได้อาหารพอเต็มท้องได้ยาก
    แต่ผู้อยู่ในอำนาจเหตุผล ถึงได้ฉันอาหารยังไม่อิ่ม ต้องมีอีก ๔ หรือ ๕ คำจึงจักอิ่ม ก็ควรเติมน้ำลงไปให้เต็ม อันนี้เป็นองค์ ๑
    ข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า
    “ภิกษุผู้ฉันอาหาร ทั้งสดและแห้ง ก็ไม่ควรฉันให้อิ่มนัก ควรให้มีท้องพร่อง รู้จักประมาณในอาหาร ควรมีสติละเว้น ไม่ควรฉันอาหารให้อิ่มเกินไป
    เมื่อรู้ว่ายังอีก ๔ - ๕ คำก็จักอิ่ม ก็ควรหยุด ดืมน้ำเสีย เพราะเท่านี้ก็พออยู่สบาย สำหรับภิกษุผู้กระทำความเพียร” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    จบสีหวรรคที่ ๕
    [/FONT]</center>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ตอนที่ ๓๖ (ตอนจบ) </center> <center> มักกฏ
    วรรคที่ ๖
    </center> <center> องค์ ๑ แห่งแมงมุม </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งแมงมุมได้แก่อะไร ?”
    [/FONT] “ขอถวายพระพร ธรรมดา แมงมุม ชักใยขวางทางไว้แล้วจ้องดูอยู่ ถ้าหนอนหรือแมลงมาติดในใยของตน ก็จับกินเสียฉันใด พระโยคาวจรก็ควรชักใย คือสติปัฏฐาน ขึงไว้ที่ทวารทั้ง ๖ ถ้ามีแมลง คือกิเลสมาติด ก็ควรฆ่าเสียฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๖ แห่งแมงมุม
    ข้อนี้สมกับคำของ พระอนุรทธเถระ ว่า
    “เพดานที่กั้นทวารทั้ง ๖ อยู่ คือสติปัฏฐานอันประเสริฐ เวลากิเลสมาติดที่เพดาน คือสติปัฏฐานนั้น พระภิกษุก็ควรฆ่าเสีย” ดังนี้ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๑ แห่งทารก
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งทารกที่ยังกินนมอยู่ได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา ทารกที่ยังกินนมอยู่ ย่อมขวนขวายในประโยชน์ของตน เวลาอยากกินนมก็ร้องไห้ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรขวนขวายในประโยชน์ของตนฉันนั้น คือขวนขวายในธรรมอันชอบใจตน ขวนขวายในการเล่าเรียนไต่ถาม การประกอบความสงัด การอยู่ในสำนักครู การคบกัลยาณมิตร อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งทารก
    ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ใน ทีฆนิกายปรินิพพานสูตร ว่า
    “ดูก่อนอานนท์ พวกเธอจงประกอบในประโยชน์ของตน อย่าได้ประมาทในประโยชน์ของตน” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๑ แห่งเต่าเหลือง
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งเต่าเหลืองได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวยพระพร ธรรมดา เต่าเหลือง ย่อมเว้นน้ำเพราะกลัวน้ำ เมื่อเว้นน้ำก็มีอายุยืนฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเห็นภัยในความประมาท เห็นคุณวิเศษในความไม่ประมาท จึงจักไม่เสื่อมจากคุณวิเศษ จักได้เข้าใกล้นิพพาน อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งเต่าเหลือง ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ใน พระธรรมบท ว่า
    “ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท ผู้เห็นภัยในความประมาท ย่อมไม่เสื่อม ย่อมได้อยู่ใกล้นิพพาน” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๕ แห่งป่า
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งป่าได้แก่สิ่งใด ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา ป่า ย่อมปิดบังคนที่ไม่สะอาดไว้ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรปิดบังความผิดพลั้งของผู้อื่นไว้ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งป่า
    ธรรมดาป่าย่อมเป็นที่ว่างเปล่า ไม่มีคนไปมาฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นผู้ว่างเปล่าจากกิเลสทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งป่า
    ธรรมดาป่าย่อมเป็นที่เงี่ยบสงัดฉันใด พระโคาวจรก็ควรเงียบสงัดจากสิ่งที่เป็นบาปอกุศลฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งป่า
    ธรรมดาป่าย่อมเป็นผู้ที่บริสุทธิ์ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นบริสุทธิ์ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งป่า
    ธรรมดาป่าย่อมเป็นที่อาศัยอยู่ของพระอริยชนฉันใด พระโยคาวจรก็ควรคบอริยชนฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งป่า ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในคัมถีร์ สังตตนิกาย ว่า
    “บุคคลควรอยู่ร่วมกับอริยะผู้สงัดผู้มีใจตั้งมั่น ผู้รู้แจ้ง ผู้มีความเพียรแรงกล้าเป็นนิจ” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๓ แห่งต้นไม้
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๓ แห่งต้นไม้ได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา ต้นไม้ ย่อมทรงไว้ซึ่งดอกและผลฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งดอกคือวิมุตติ ผลคือ สมณคุณ อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งต้นไม้
    ธรรมดาต้นไม้ย่อมให้ร่มเงาแก่ผู้เข้าไปพักอาศัยฉันใด พระโยคาวจรก็ควรต้อนรับผู้ที่เข้ามาหาตน ด้วยอามิสหรือธรรมฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งต้นไม้
    ธรรมดาต้นไม้ย่อมไม่ทำเงาของตนให้แปลกกัน ย่อมแผ่ไปให้เสมอกันฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรทำให้แปลกกันในสัตว์ทั้งหลายฉันนั้น คือควรแผ่เมตตาไปให้เสมอกันทั้งในผู้เป็นโจร เป็นผู้จะฆ่าตน เป็นข้าศึกของตนและตนเอง อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งต้นไม้
    ข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า
    “พระมุนี คือพระพุทธเจ้า ย่อมเป็นผู้มีพระหฤทัยเสมอไปแก่สัตว์ทั้งหลาย เช่น พระเทวทัต โจรองค์คุลิมาล ช้างธนบาล และ พระราหุล เป็นตัวอย่าง” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๕ แห่งเมฆ
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งเมฆได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา เมฆ ย่อมระงับเสียซึ่งละอองเหงือไคล คือเกิดแล้วฉันใด พระโยคาวจรก็ควรระงับเหงื่อไคล คือกิเลสฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งเมฆ
    ธรรมดาเมฆคือฝนที่ตกลงมา ย่อมดับความร้อนในแผ่นดินฉันใด พระโยคาวจรก็ควรดับทุกข์ร้อนของโลก ด้วยเมตตาภาวนาฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งเมฆ
    ธรรมดาเมฆย่อมทำให้พืชทั้งปวงงอกขึ้นฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทำให้พืช คือศรัทธาของบุคคลทั้งหลายให้งอกขึ้นฉันนั้น ควรปลูกพืชคือทรัทธานั้นไว้ในสมบัติทั้ง ๓ คือ มนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติ อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งเมฆ
    ธรรมดาเมฆย่อมตั้งขึ้นตามฤดูฝนแล้วเป็นฝนตกลงมา ทำให้หญ้า ต้นไม้ เครือไว้ พุ่มไม้ ต้นยา ป่าไม้ เกิดขึ้นในพื้นธรณีฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทำให้โยนิโสมนสิการเกิดขึ้นแล้วทำให้สมณธรรม และกุศลธรรมทั้งปวงเกิดขึ้นฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งเมฆ
    ธรรมดาเมฆคือก่อนน้ำ เมื่อตกลงมาก็ทำให้แม่น้ำ หนอง สระ ซอก ห้วยระแหง บึง บ่อ เป็นต้น ให้เต็มไปด้วยน้ำฉันใด
    พระโยคาวจรเมื่อเมฆ คือโลกุตตรธรรมตกลงมาด้วยการศึกษาพระปริยัติธรรม ควรทำใจของบุคคลทั้งหลาย ผู้มุ่งต่อโลกุตตรธรรม ให้เต็มบริบูรณ์ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งเมฆ ข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า
    “พระมหามุนีทรงเล็งเห็นผู้ที่ควรจะให้รู้ อยู่ในที่ไกลตั้งแสนโยชน์ก็ตาม ก็เสด็จไปโปรดให้รู้ทันที” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ที่ ๓
    แห่งแก้วมณี
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๓ แห่งแก้วมณีได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา แก้วมณี ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์แท้ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งแก้วมณี
    ธรรมดาแก้วมณี ย่อมไม่มีสิ่งใดเจือปนอยู่ข้างในฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรปะปนอยู่ด้วยสหายที่เป็นบาปฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งแก้วมณี
    ธรรมดาแก้วมณี ย่อมประกอบกับแก้วที่เกิดเองฉันใด พระโยคาวจรก็ควรประกอบกับแก้วมณีคือพระอริยะฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งแก้วมณี ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ใน สุตตนิบาต ว่า
     “ผู้บริสุทธิ์เมื่ออยู่กับผู้บริสุทธิ์ ผู้มีสติอยู่กับผู้มีสติ ก็จักมีปัญญาทำให้สิ้นทุกข์” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๔
    แห่งนายพราน
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๔ แห่งนายพรานได้แก่สิ่งใด ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา นายพราน ย่อมหลับน้อยฉันใด พระโยคาวจรก็ควรหลับน้อยฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งนายพราน
    ธรรมดานายพรานย่อมพรานผูกใจไว้ในหมู่เนื้อฉันใด พระโยคาวจรก็ควรผูกใจไว้ในอารมณ์ อันจักให้ได้คุณวิเศษที่ตนได้แล้วฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ ปห่งนายพราน
    ธรรมดานายพรานย่อมรู้จักเวลากระทำของตนฉันใด พระโยคาวจรก็ควรรู้จักเวลาฉันนั้น คือควรรู้ว่า เวลานี้เป็นเวลาเข้าสู่ที่สงัดเวลานี้เป็นเวลาออกจากที่สงัด อันนี้เป็นองค์ ที่ ๓ แห่งนายพราน
    ธรรมนายพรานพอแลเห็นเนื้อ ก็เกิดความร่าเริงว่า เราจักได้เนื้อตัวนี้ฉันใด พระโยคาวจรพอได้ความยินดีในอารมณ์ ก็ควรเกิดความร่าเริงใจว่า เราได้คุณวิเศษยิ่งขึ้นไปฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งนายพราน
    ข้อนี้สมกับคำของ พระโมฆราชเถระ กล่าวว่า
    “ภิกษุผู้มีความเพียร ได้ความยินดีในอารมณ์แล้ว ควรทำให้เกิดความร่าเริง ยิ่งขึ้นไปว่า เราจักได้บรรลุธรรมวิเศษอันยิ่ง” ดังนี้ ขอถวายพระ”
    (หมายเหตุ. คำสุภาษิตนี้ ฉบับพิสดารบอกว่า เป็นของพระโมคคัลลาน์)

    <center>
    องค์ ๒
    แห่งพรานเบ็ด
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งพรานเบ็ดได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา พรานเบ็ด ย่อมดึงปลาขึ้นได้ด้วยเหยื่อฉันใด พระโยคาวจรก็ควรดึงผลสมณะ อันยิ่งขึ้นมาให้ได้ด้วยญาณฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งพรานเบ็ด
    ธรรมดาพรานเบ็ดสละสัตว์ที่เป็นเหยื่อเพียงเล็กน้อย ก็ได้ปลามากฉันใด พระโยคาวจรก็ควรสละเหยืออันเล็กน้อย คืออามิสในโลกฉันนั้น เพราะพระโยคาวจรสละสุขของโลกเพียงเล็กน้อยแล้วก็ได้สมณคุณอันไพบูลย์ อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งพรานเบ็ด
    ข้อนี้สมกับคำของ พระราหุลเถระ ว่า
    “พระภิกษุสละโลกามิสแล้ว ย่อมได้อมิตตวิโมกข์ (หลุดพ้นเพราะไม่ถือนิมิตในร่างกาย) สุญญตวิโมกข์ (หลุดพ้นเพราะว่างจากกิเลส) อัปปณหิตวิโมกข์ (หลุดพ้นเพราะไม่ปรารถนาในร่างกาย) และผล ๔ อภิญญา ๖” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๒ แห่งช่างไม้
    </center> “ขอถวายพระพร องค์ ๒ แห่งช่างไม้ได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา ช่างไม้ ดีดบรรทัดแล้วถากไม้ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรดีดบรรทัดลงในคำสั่งสอนของสมเด็จพระชินวรเจ้า แล้วยืนอยู่ที่เหนือพื้นปฐพีคือศีลจับเอามีดคือปัญญาด้วยมือ คือศรัทธาแล้วถากกิเลสทั้งหลายให้สูญหายไปฉันนั้น อันนี้ เป็นองค์ที่ ๑ แห่งช่างไม้
    ธรรมดาช่างไม้ถากเปลือกกระพี้ออกทิ้งถือเอาแต่แก่นฉันใด พระโยคาวจรก็ควรถากซึ่งลัทธิต่าง ๆ เช่น มีความเห็นว่าโลกเที่ยงบ้างเห็นว่าตายแล้วสูญบ้าง เป็นต้น แล้วถือเอาแต่แก่น คือความเป็นเองแห่งสังขารทั้งหลายว่า ไม่มีอะไรเป็นสัตว์บุคคล ตัวตน เราเขามีแต่ของว่างเปล่า เป็นของที่ไม่เที่ยงทั้งนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งช่างไม้
    ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ใน สุตตนิบาต ว่า
    “ท่านทั้งหลายควรปัดเป่าเสียซึ่งความมืดควรกวาดเสียซึ่งหยากเยื่อเชื่อฝอย ควรทิ้งเสียซึ่งผู้ไม่ใช่สมณะแต่ถือตัวว่าเป็นสมณะควรทิ้งเสียซึ้งผู้มีนิสัยลามก มีความประพฤติและโคจรลามก ควรเป็นผู้บริสุทธิ์ อยู่กับผู้บริสุทธิ์ ควรเป็นผู้มีสติ อยู่กับผู้มีสติ” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    จบมักฏวรรคที่ ๖
    [/FONT]</center>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> กุมภ
    วรรคที่ ๗
    </center> <center> องค์ ๑ แห่งหม้อน้ำ </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งหม้อน้ำได้แก่อะไร ?”
    [/FONT] “ขอถวายพระพร ธรรมดา หม้อน้ำ มีน้ำเต็มแล้วย่อมไม่มีเสียงดังฉันใด พระโยคาวจรเมื่อได้ความรู้ความดีเต็มแล้ว ก็ไม่มีเสียง ไม่มีมานะ ไม่ดูถูกผู้อื่น ไม่ปากกล้า ไม่โอ้อวดฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งหม้อน้ำ
    ข้อนีสมกับพระพุทธพจน์ว่า
    “หม้อที่มีน้ำพร่องย่อมมีเสียงดัง หม้อที่มีน้ำเต็มย่อมเงียบ คนโง่เปรียบเหมือนน้ำครึ้งหม้อ บัณฑิตเปรียบเหมือนน้ำเต็มหม้อ” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๒ แห่งกาลักน้ำ
    </center> “ขอถวายพระพร องค์ ๒ แห่งกาลักน้ำได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา กาลักน้ำ ย่อมดูดน้ำขึ้นมาฉันใด พระโยคาวจรก็ควรดูดใจขึ้นมาไว้ในโยนิมนสิการฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งกาลักน้ำ
    ธรรมดากาลักน้ำดูดน้ำขึ้นมาแล้ว ก็ไม่ปล่อยน้ำลงไปฉันใด พระโยคาวจรเกิดความเลื่อมใสขึ้นมาแล้ว ก็ไม่ควรปล่อยความเลื่อมใสนั้นเสีย ควรทำให้เกิดความเลื่อมใสยิ่งขึ้นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ว่า
    “คุณแห่งสมเด็จพระบรมศาสดาเลิศประเสริฐยิ่ง คุณแห่งพระธรรมนั้นพระองค์ทรงสั่งสอนไว้เป็นอันดี และพระอริยะสงฆ์ผู้ทรงคุณ คือปฏิบัติชอบ แล้วใช้ปัญญาพิจารณาว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง
    ครั้นเห็นดังนี้แล้วก็ไม่ควรปล่อยการพิจารณานั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งกาลักน้ำ ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า
    “ผู้บริสุทธิ์ในความเห็น ผู้แน่ในอริยธรรม ผู้ถึงคุณวิเศษ ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยสิ่งใด ย่อมเป็นผู้คงที่ในที่ทั้งปวง” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๓ แห่งร่ม
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๓ แห่งร่มได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา ร่ม ย่อมอยู่บนศีรษะฉันใด พระโยคาวจรก็ควรอยู่บนกิเลสฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งร่ม
    ธรรมดาร่มย่อมคุ้มกับศีรษะฉันใด พระโยคาวจรก็ควรคุ้มกันตนด้วยโยสิโสมนการฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งร่ม
    ธรรมดาร่มย่อมกำจัด ลม แดด เมฆ ฝนฉันใด พระโยคาวจรก็ควรกำจัดลัทธิสมณพราหมณ์ภายนอก และควรกำจัดเครื่องร้อน คือไฟ ๓ กอง ควรกำจัดฝนคือกิเลสฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งร่ม
    ข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า
    “ร่มใหญ่อันไม่ขาด ไม่ทะลุ แน่นหนา แข็งแรง ย่อมกันลม กันแดด กันฝนห่าใหญ่ฉันใด พระพุทธบุตรผู้กั้นร่มคือศีลผู้บริสุทธิ์ก็กันฝนคือกิเลส กันไฟ ๓ กอง อันทำให้เร่าร้อนได้ฉันนั้น” ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๓ แห่งนา
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๓ แห่งนาได้แก่สิ่งใด ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา นา ย่อมมีเหมือง ชาวนาย่อมไขน้ำจากเหมืองเข้าไปสู่นาเลี้ยงต้นข้าวฉันใด พระโยคาวจรก็ควรมีเหมือง คือสุจริตด้วยข้อวัตรปฏิบัติฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งนา
    ธรรมดานาย่อมมีคันนา ชาวนายย่อมรักษาน้ำให้อยู่เลี้ยงต้นข้าวด้วยคันนาฉันใด พระโยคาวจรก็ควรสมบูรณ์ด้วยคันนาคือศีล ควรรักษาความเป็นสมณะไว้ด้วยคันนาคือศีล จึกจักได้สามัญผล ๔ ฉันนั้น อันนี้เป้นองค์ที่ ๒ แห่งนา
    ธรรมดาซึ่งเป็นนาดี ย่อมทำให้เกิดความดีใจแก่เจ้าของ ถึงหว่านข้าวลงไปน้อยก็ได้ผลมาก ยิ่งหว่านลงไปมากก็ยิ่งได้ผลมากฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นนาดี ควรเป็นผู้ให้ผลมาก ให้เกิดความดีใจแก่พวกทายกถึงเขาจะถวายทานน้อยก็ให้ผลมาก อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งนา
    สมกับคำของ พระอุบาลีเถระ ผู้เป็นวินัยธรว่า
    “พระภิกษุควรเป็นผู้เปรียบด้วยนา ควรให้ผลอันไพบูลย์เหมือนกับนาดี ผู้ใดให้ผลอันไพบูลย์เหมือนกับนาดี ผู้ใดให้ผลอันไพบูลย์ได้ ผู้นั้นชื่อว่านาประเสริฐ” ดังนี้ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๒ แห่งยาดับพิษ
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งยาดับพิษได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ตัวหนอนต่าง ๆ ย่อมไม้อยู่ในยาดับพิษฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรให้กิเลสตั้งอยู่ในใจฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งยาดับพิษ
    ธรรมดายาดับพิษย่อมกำจัดพิษทั้งปวงอันเกิดจากถูกกัด หรือถูกต้อง หรือพบเห็น หรือกินดื่ม เคี้ยว ลิ้มเลีย ฉันใด พระโยคาวจรก็กำจัดพิษ คือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งยาดับพิษ
    ข้อนี้สมกับพระพุทธภาษิตว่า
    “พระโยคีผู้ใคร่จะเห็นความเป็นจริงแห่งสังขารทั้งหลาย ควรเป็นเหมือนยาดับพิษอันทำให้กิเลสพินาศ” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>
    องค์ ๓ แห่งโภชนะ
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๓ แห่งโภชนะได้แก่สิ่งใด ?”
    “ขอถวายพระ ธรรมดา โภชนะ ย่อมเลี้ยงชีวิตสัตว์ทั้งปวงไว้ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรอุปถัมภ์สัตว์ทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งโภชนะ
    ธรรมดาโภชนะ ย่อมให้เจริญกำลังแก่สัตว์ทั้งหลายฉันใด พระโยคาวจรก็ควรให้เจริญบุญ แก่บุคคลทั้งหลายฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งโภชนะ
    ธรรมดาโภชนะ ย่อมเป็นที่ต้องการแห่งสัตว์ทั้งปวงฉันใด พระโยคาวจรก็ควรให้เป็นที่ต้องการแห่งโลกฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งโภชนะ
    ข้อนี้สมกับคำของ พระโมฆราชเถระ ว่า
    “พระโยคาวจรแน่ใจในความเป็นสมณะของตน ด้วยศีลและข้อปฏิบัติ ควรให้เป็นที่ปรารถนาของโลกทั้งปวง” ดังนี้

    <center>
    องค์ ๔
    แห่งนายขมังธนู
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๔ แห่งนายขมังธนูได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ธรรมดา นายขมัง ธนู เมื่อจะยิงธนู ย่อมเหยียบพื้นด้วยเท้าทั้งสองให้มั่น ทำเข่าไม่ให้ไหว ยกธนูขึ้นเพียงหูทำกายให้ตรง วางมือทั้งสองลงที่คันธนูจับคันธนูให้แน่น ทำนิ้วให้ชิดกัน เอี้ยวคอหลิ่วตา เม้มปาก ทำเครื่องหมายให้ตรงแล้วเกิดดีใจว่า เราจักยิงไปในบัดนี้ฉันใด
    พระโยคาวจรก็ควรเหยียบพื้นดินคือศีลด้วยเท้าคือวิริยะให้มั่น ทำขันติโสรัจจะไม่ไหว ตั้งจิตไว้ในความสำรวม น้อมตนเข้าไปในความสำรวม บีบกิเลสตัณหาให้แน่น กระทำจิตไม่ให้มีช่องว่างด้วยโยนิโสมนสิการ ประคองความเพียรไว้ ปิดทวารทั้ง ๖ เสีย ตั้งสติเข้าไว้ทำให้เกิดความร่าเริงว่า เราจักยังกิเลสทั้งปวงด้วยลูกศร คือญาณฉันนั้น อีนนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งนายขมังธนู
    ธรรมดานายขมังธนู ย่อมรักษาไม้ง่ามไว้เพื่อดัดลูกธนูที่คดที่งอให้ตรงฉันใด พระโยคาวจรก็ควรรักษาไม้ง่าม คือสติปัฏฐานไว้ในกายนี้ เพื่อทำจิตที่คดงอให้ตรงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งนายขมังธนู
    ธรรมดานายขมังธนู ย่อมเพ่งที่หมายไว้ให้แน่ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเพ่งกายนี้ฉันนั้น ควรเพ่งอย่างไร....
    ควรเพ่งว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ เป็นของทำให้ลำบาก เป็นของแปรปรวน เป็นของแตกหัก เป็นของจัญไร เป็นของอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว
    เป็นของผุพัง เป็นของไม่ยั่งยืน ไม่มีที่หลบลี้ ที่ต้านทาน ที่พึ่ง ที่อาศัย เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของมีโทษ เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
    ไม่มีแก่น เป็นรากเหง้าแห่งภัย เป็นผู้ฆ่าเป็นของมีอาสวะเครื่องดอง เป็นของน่าสงสัย เป็นของมีเหตุปัจจัยตกแต่ง เป็นเหยื่อแห่งมารมีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โศกเศร้ารำพันคับแค้น เป็นธรรมดา ดังนี้ อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งนายขมังธนู
    ธรรมดานายขมังธนู ย่อมหัดยิงธนูทั้งเย็นทั้งเช้าฉันใด พระโยคาวจรก็ควรฝึกหัดทั้งเช้าฉันใด พระโยคาวจร ก็ควรฝึกหัดในอารมณ์ ทั้งเย็นทั้งเช้าฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่ง นายขมังธนู
    ข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า
    “นายขมังธนูย่อมหัดยิงทั้งเย็นทั้งเช้าไม่ทิ้งการฝึกหัด จึงได้ค่าจ้างรางวัลฉันใด
    ฝ่ายพระพุทธบุตรก็พิจารณากายไม่ทิ้งการพิจารณากาย แล้วได้ความเป็นพระอรหันต์ฉันนั้น” ดังนี้ ขอถวายพระพร”

    <center>[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    จบกุมภวรรคที่ ๗
    [/FONT]</center>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> เกิดเหตุอัศจรรย์ </center> <center> ในวันที่
    ปุจฉาวิสัชนาจบแล้ว
    </center>
    ในเวลาจบการปุจฉาวิสัชนา ของพระราชาและพระเถระแล้ว
    แผ่นดินอันใหญ่ อันหนาได้ ๘ หมื่น ๔ พันโยชน์ ก็ได้แสดงอาการหวั่นไหวมีสายฟ้าแลบแปลบปลาบลงมา
    เหล่าเทพยดานางฟ้าทั้งหลาย ต่างก็ได้โปรยปราบทิพยบุปผาลงมาบูชา ท้าวมหาพรหมได้เปล่งเสียงสาธุการกึกก้อง ดังเสียงฟ้าร้องในท้องมหาสมุทรฉะนั้น
    พระเจ้ามิลินท์พร้อมด้วยข้าราชบริพารจึงพร้อมกันประนมอัญชลีถวายนมัสการ พระองค์มีพระราชหฤทัยเบิกบานยิ่ง เป็นผู้ทรงเล็งเห็นสาระประโยชน์ในพระพุทธศาสนาสิ้นความสงสัยในพระรัตนตรัย
    จึงทรงเลื่อมใสในคุณของพระเถระ คุณในบรรพชา คุณในข้อปฏิบัติ และอิริยาบถ ของพระเถระ เป็นผู้หมดทิฏฐิมานะ เหมือนพญานาคที่ถูกถอนเขี้ยวแล้ว
    พระองค์จึงทรงตรัสขึ้นว่า
    “สาธุ...สาธุ...พระนาคเสน ปัญหาอันเป็นพุทธวิสัย พระผู้เป็นเจ้าได้แก้ไขแล้ว
    ผู้อื่นยก พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ เสียแล้ว ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระเถระในการแแก้ปัญหา
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอดโทษให้แก่โยม ในการที่โยมได้ล่วงเกินด้วยเถิด ขอจงจำโยมไว้ว่าเป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป” [/FONT]
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> พระราชา </center> <center> เสด็จออกบรรพชา </center> <center> แล้วได้สำเร็จพระอรหันต์ </center>
    ในคราวนั้น พระเจ้ามิลินท์พร้อมกับพลนิกาย ก็เข้าห้อมล้อมพระเถระแห่กลับไปสู่ “มิลินทวิหาร”
    มอบมหาวิหารถวายพระมหาเถระแล้วก็ปฏิบัติพระมหาเถระกับพระอรหันต์ ๑๐๐ โกฏิ ด้วยปัจจัย ๔ ตลอดกาลเป็นนิจ
    อยู่มาภายหลัง สมเด็จพระเจ้ามิลินท์บรมกษัตริย์ผู้ปราชญ์เปรื่อง แห่งสาคลนครจอมบพิตรอดิศรจึงมอบราชสมบัติ ให้แก่พระราชโอรส แล้วเสด็จออกบรรพชา เจริญสมถวิปัสสนาจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
    สุภาษิตสรรเสริญผู้มีปัญญา
    เพราะฉะนั้น จึงมีคำกล่าวไว้ว่า
    “ปัญญาเป็นของประเสริฐในโลก ปัญญาทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ บัณฑิตทั้งหลายกำจัดความสงสัยด้วยปัญญาแล้วย่อมถึงความสงบ
    สติบกพร่องในขันธ์ใด ปัญญาก็ตั้งอยู่ได้ในขันธ์นั้น ผู้ประกอบด้วยปัญญา เป็นผู้ควรรับบูชาอันวิเศษ และเป็นผู้เลศประเสริฐหาผู้ใดจะเสมอเหมือนมิได้
    เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้เล็งเห็นความสุขของตน จึงควรบูชา “ท่านผู้มีปัญญา” เหมือนกับบูชา “พระเจดีย์” ฉะนั้น”
    <center>
    มิลินทปัญหา
    </center> <center>[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]จบบริบูรณ์ [/FONT]</center>
     

แชร์หน้านี้

Loading...