มิลินท ปัญหา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 2 สิงหาคม 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ตอนที่ ๑๓ </center> <center> เมณฑกปัญหา
    วรรคที่ ๑
    </center> <center> ปัญหาที่ ๑ </center> <center> ว่าด้วยการบูชาพระพุทธเจ้า </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    ลำดับนั้น พระเจ้ามิลินท์จึงทรงดำริว่า พระนาคเสนให้ โอกาสแก่เราแล้ว ครั้นทรงดำริดังนี้แล้ว จึงทรงหมอบลงในที่ใกล้เท้าของพระนาคเสน แล้วทรงประนมอัญชลีขึ้นที่พระเศียรแล้วตรัสว่า
    [/FONT] “ข้าแต่พระนาคเสน พวกเดียรถีย์กล่าวว่า ถ้าพระพุทธเจ้ายังทรงยินดีต่อการบูชาอยู่ก็ยังไม่ชื่อว่าปรินิพพาน ยังเกี่ยวข้องอยู่กับโลก ยังติดอยู่ในโลก ยังสาธารณะอยู่กับโลกการบูชาพระพุทธเจ้าก็ไม่เป็นหมัน ยังมีผลอยู่
    ถ้าพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับโลกแล้ว หลุดพ้นไปจากภพทั้งปวงแล้ว การบูชาพระพุทธเจ้าก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะผู้ปรินิพพานแล้ว ย่อมไม่รู้จักยินดีต่อสิ่งใด การบูชาพระพุทธเจ้าผู้ไม่รู้จักยินดีก็เป็นหมัน ไม่มีผลอันใด
    ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ปัญหานี้เป็น อุภโตโกฎิ สองเงื่อนสองแง่ ไม่ใช่วิสัยของผู้มีความคิดสติปัญญาน้อยเลย เป็นวิสัยของผู้มีความคิดสติปัญญามาก ขอพระผู้เป็นเจ้าจงทำลายข่ายคือทิฎฐินี้เสีย
    พระผู้เป็นเจ้าสามารถทำลายข่าย คือทิฎฐินี้ได้โดยแท้ ปัญหานี้ได้มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ขอพระผู้เป็นเจ้าจงให้ดวงตา คือปัญญาแก่พระชินบุตรทั้งหลายในอนาคต เพื่อจะได้ข่มเสียซึ่งถ่อยคำอันหลักตอในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าข้า”
    ลำดับนั้น พระนาคเสนเถระจึงตอบว่า “มหาราชะ ขอถวายพระพร มหาบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระพิชิตมารปรินิพพานแล้วจริง พระองค์เมื่อยังไม่ปรินิพพาน ก็ไม่ทรงยินดีต่อการบูชา เพราะว่าได้ทรงสละความยินดีเสียที่ภายใต้ไม้ศรีมหาโพธิโน้นแล้ว ไม่ต้องกล่าวถึงพระพุทธเจ้า ผู้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ข้อนี้สมกับที่ พระสารีบุตร ผู้เป็นพระธรรมเสนาบดีได้กล่าวไว้ว่า


    “พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้เสมอกับพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอเหมือน ผู้อันเทพยดามนุษย์ทั้งหลายสักการบูชาแล้วนั้น ย่อมไม่ทรงยินดีต่อการบูชาเลย อันนี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”


    “ดังนี้ ขอถวายพระพร”
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า
    “ข้าแต่พระนาคเสน ธรรมดาบุตรก็ย่อมสรรเสริญบิดา บิดาก็ย่อมสรรเสริญบุตร ข้อนี้ไม่เป็นเหตุให้ข่มขี่ถ่อยคำของผู้อื่นได้ ข้อนี้ยังเชื่อฟังไม่ได้ก่อน
    ขอพระผู้เป็นเจ้าจงกล่าวถึงเหตุการณ์ทั้งปวง เพื่อให้ถ่อยคำของพระผู้เป็นเจ้ามั่นคงเพื่อทำลายเสียซึ่งข่าย คือทิฎฐินี้เถิด”

    <center>
    อุปมาเหมือนกองไฟใหญ่
    </center> “ขอถวายพระพร พระตถาคตเจ้าได้ดับขันธปรินิพพานแล้วจริง พระองค์นั้นย่อมไม่ทรงยินดีต่อการบูชา
    แต่เทพยดามนุษย์ทั้งหลายกระทำซึ่งพระอัฎฐิธาตุของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่ทรงจักทรงยินดีผู้ปรินิพพานแล้วนั้นให้เป็นอารมณ์ ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ ก็ย่อมได้สมบัติ ๓ ประการ (คือมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ)
    เนื้อความข้อนี้ควรทราบได้ด้วยอุปมาจะอุปมาเหมือนอะไร...เปรียบเหมือนกองไฟใหญ่ลุกรุ่งเรืองแล้วดับไป อาตมาขอถามว่ากองไฟใหญ่นั้น ยินดีต่อเชื่อไฟ คือหญ้าและไม้หรือ...มหาบพิตร?”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า กองไฟใหญ่นั้น ถึงจะยังลุกโพลงอยู่ ก็ไม่ยินดีต่อเชื่อ คือหญ้าและไม้ ไม่ต้องพูดถึงไฟที่ดับไปแล้ว เพราะไฟไม่มีเจตนาจะยินดีอย่างไร”
    “ขอถวายพระพร เมื่อไฟนั้นดับไฟแล้วโลกมิสูญจากไฟหรือ...พวกมนุษย์ที่ต้องการไฟก็ไม่สมหวังน่ะชิ ?”
    “ข้าแต่พระผู้เจ้า ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะว่าไม้ย่อมเป็นวัตถุที่จะให้เกิดไฟขึ้นได้ พวกที่ต้องการไฟก็เอาไม้มาสีกัน แล้วก็ทำให้เกิดไฟขึ้นได้”
    “ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นถ่อยคำของพวกเดียรถีย์ที่ว่า การบูชาพระพุทธเจ้าผู้ไม่รู้จักยินดี เป็นของหมัน ไม่มีผลนั้นก็ผิดไป เพราะว่าพระพุทธเจ้าย่อมรุ่งเรืองอยู่ในหมื่นโลกธาตุด้วยพระพุทธรัศมี เหมือนกับกองไฟใหญ่ฉะนั้น
    ขอถวายพระพร กองไฟใหญ่ลุกรุ่งเรืองแล้วดับไปฉันใด พระพุทธเจ้าก็ทรงรุ่งเรืองด้วยพระพุทธรังสีในหมื่นโลกธาตุ แล้วดับไปด้วยการดับขันธฉันนั้น
    ไฟที่ดับแล้วย่อมไม่ยินดีต่อเชื่อ คือหญ้าและไม้ฉันใด พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงยินดีต่อเครื่องสักการบูชาฉันนั้น
    เมื่อไฟดับแล้ว มนุษย์เอาไม้มาสีไฟให้เกิดขึ้นได้อีกฉันใด เทพยดามนุษย์ทั้งหลายนึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้วผู้ไม่รู้จักยินดีแล้ว ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ ก็ได้สมบัติ ๓ ประการฉันนั้น

    <center>
    อุปมาเหมือนลมใหญ่
    </center> “ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตรจงทรงสดับเหตุการณ์อื่นอีกขึ้นไปกว่านี้ ถ้ามหาบพิตรยังเคลือบแคลงสงสัยอยู่ ด้วยเหตุที่การบูชาพระพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ไม่ทรงยินดีว่า ไม่เป็นหมัน ยังมีผลอยู่นั้น
    อาตมาภาพจะอุปมาถวาย กล่าวคือ ลมใหญ่พัดมาแล้วหายไป ขอถามว่า ลมที่หายไปแล้วนั้น จะกลับพัดมาอีกหรือไม่?”
    “ไม่กลับพัดมาอีก ผู้เป็นเจ้า เพราะลมนั้นไม่มีความผูกใจ หรือการกระทำไว้ในใจที่จะพัดมาอีกเลย ด้วยเหตุว่า ลมนั้นไม่มีเจตนา”
    “ขอถวายพระพร ลมที่หายไปนั้นชื่อว่าขาดหายไปด้วยหรือ?”
    “ไม่ขาดหายไป ผู้เป็นเจ้า คือมนุษย์เหล่าใดร้อนมาแล้ว มนุษย์เหล่านั้นก็ทำให้ลมเกิดขึ้นด้วยใบตาล หรือด้วยเครื่องพัดอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามเรี่ยวแรงกำลังของตน แล้วกระทำให้ให้ความร้อนนั้นหายไปด้วยลมนั้น”
    “ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น ถ้าอย่างนั้นคำที่พวกเดียรถีย์ว่า การบูชาพระพุทธเจ้าผู้ดับขันธปรินิพพานแล้ว ผู้ไม่รู้จักทรงยินดี เป็นของหมัน ไม่มีผลนั้นก็ผิดไป
    เพราะพระพุทธเจ้าได้พัดสัตว์โลกให้เย็นด้วยลมคือพระเมตตาพรหมวิหาร อันเกษมศานต์ สุขุมเย็นใจ แผ่ไปทั่วหมื่นโลกธาตุเหมือนกับลมใหญ่พัดให้สัตว์โลกเย็นฉะนั้น
    ลมใหญ่พัดมาแล้วหายไปฉันใด พระพุทธเจ้าก็พัดสัตว์โลกในหมื่นโลกธาตุ ให้เย็นด้วยเมตตาอันสุขุมยิ่ง แล้วดับขันธไปฉันนั้น
    ลมที่หายไปแล้วกลับพัดขึ้นมาอีก ก็ไม่รู้สึกยินดีฉันใด ความยินดีของพระพุทธเจ้าผู้ทรงเกื้อกูลโลกก็สงบแล้วฉันนั้น
    พวกมนุษย์ที่ร้อน ที่มีอุปมาฉันใดเทพยดามนุษย์ทั้งหลายที่เร่าร้อนด้วยไฟกิเลส ๓ กอง ก็มีอุปมาฉันนั้น
    ใบตาลและเครื่องพัด ย่อมเป็นเหตุให้ลมเกิดขึ้นฉันใด พระธาตุรัตนะ พระญาณรัตนะ ของพระพุทธเจ้า ก็เป็นเหตุให้ได้สมบัติ ๓ ประการ ฉันนั้น
    เมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่หรือเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วก็ดี ผู้ใดสักการบูชาด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ผู้นั้นก็ได้ความรื่นเริงบันเทิงใจ พวกที่ปรารถนาสมบัติ ๓ ปราการ ก็ได้สำเร็จสมความปรารถนา
    พวกมนุษย์ที่ร้อนทำให้ลมเกิดชึ้นด้วยใบตาล หรือด้วยเครื่องพัดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ทำให้ความร้อนนั้นดับไปได้ฉันใด
    เทพยดามนุษย์ทั้งหลาย บูชาพระธาตุรัตนะ และพระญาณรัตยะ ของพระพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ไม่ทรงยินดี ทำกุศลให้เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับความเร่าร้อน ๓ ประการด้วยกุศลนั้น
    ด้วยเหตุนี้แหละ มหาบพิตร จึงเป็นอันว่า การบูชาพระพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ไม่รู้จักทรงยินดี ไม่เป็นหมัน ยังมีผลอยู่”
    “ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวบรรยายมากเกินไป ขอจงกล่าวเฉพาะใจความให้กระทัดรัดเถิด”

    <center>
    อุปมาเหมือนเสียงกลอง
    </center> “ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตรจงทรงสดับเหตุอื่นให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก เพื่อข่มขี่ถ่อยคำผู้อื่นเสีย คือบุรุษคนที่หนึ่งตีกลองทำให้เสียงเกิดขึ้น เสียงกลองที่บุรุษนั้นทำให้เกิดขึ้นก็หายไป เสียงกลองที่หายไปแล้วนั้นยินดีที่จะเกิดมาอีกหรือไม่?”
    “ไม่ยินดีเลย ผู้เป็นเจ้า เพราะว่าเสียงกลองนั้น ไม่มีความผูกใจหรือใส่ใจอันใด เมื่อดังขึ้นแล้วหายไปก็เป็นอันขาดเสียง แต่กลองนั้นยังเป็นของผู้ที่จะทำให้เกิดเสียงได้อยู่ เมื่อเหตุปัจจัยมีบุรุษก็ตีกลองให้เกิดเสียงได้อีก”
    ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระธาตุรัตนะ อันพระองค์ทรงอบรมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ ญาณทัสสนะ ไว้แล้ว ทรงตั้งพระธรรมวินัยให้แทนพระองค์ไว้แล้ว จึงดับขันธปรินิพพานไป ไม่ใช่ว่าเมื่อพระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานไปแล้ว การได้สมบัติจะขาดไป
    คือสัตว์ทั้งหลายที่ถูกความทุกข์ในโลกบีบคั้นแล้ว ก็กระทำพระธาตุรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระวินัยรัตนะ ให้เป็นปัจจัยสืบต่อไป แล้วก็ทำให้เกิดสมบัติได้ตามปรารถนา เหมือนกับกลองทำให้เกิดเสียงได้ฉะนั้น
    ขอถวายพระพร ถ้ากลองที่จะทำให้เกิดเสียงมีอยู่ เมื่อมีผู้ตีกลองก็ทำให้เกิดเสียงได้อีกฉันใด เมื่อพระธาตุรัตนะมีอยู่ ผู้ปรารถนาสมบัติกระทำพระธาตุรัตนะ ให้เป็นปัจจัยสืบต่อไป ก็ย่อมได้สมบัติฉันนั้น
    ด้วยเหตุอันนี้จึงชี้ให้เห็นว่า การบูชาพระพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ไม่รู้จักทรงยินดียังมีอานิสงส์ ยังมีผลอยู่ ข้อนี้สมกับที่สมเด็จพระศากยมุนีได้ตรัสไว้ว่า


    “ดูก่อนมานนท์ ต่อไปข้างหน้าจะมีผู้กล่าวว่า ศาสนาไม่มีพระศาสดาแล้ว พระศาสดาของพวกท่านก็ต้องไม่มี ดังนี้
    แต่อานนท์ไม่ควรเห็นอย่างนี้ คือธรรมวินัยอันใดที่เราแสดงไว้แล้ว บัญญัติไว้แล้ว ธรรมวินัยอันนั้นแหละ เมื่อเราล่วงไปแล้ว จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย” ดังนี้


    เพราะเหตุนี้แหละ มหาบพิตร จึงว่าคำที่พวกเดียรถีย์ว่า การบูชาพระพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ไม่รู้จักทรงยินดี เป็นของหมัน ไม่มีผลนั้น ผิดไป”

    <center>
    อุปมาเหมือนแผ่นดินใหญ่
    </center> “ขอถวายพระพร ขอจงทรงสดับเหตุอย่างอื่นยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก เพื่อให้ทรงเข้าพระทัยว่าการบูชาพระพุทธเจ้า ผู้ปรินิพพานแล้วนั้น ยังมีอานิสงส์ ยังทีผลอยู่ คือแผ่นดินอันใหญ่นี้ย่อมยินดีว่า พืชทั้งปวงงอกงามขึ้นในตัวเราหรือไม่ ?”
    “ไม่ยินดีเลย พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร เมื่อแผ่นดินอันใหญ่ไม่ยินดี เหตุใดพืชทั้งปวงนั้นจึงงอกงามขึ้น มีรากมั่นคง มีต้น มีแก่น กิ่งใบ ดอกผลเล่า?”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถึงแผ่นดินใหญ่จะไม่ยินดีก็ดี ก็เป็นที่ตั้งแห่งพืชเหล่านั้น พืชเหล่านั้นจึงงอกงามขึ้นได้”
    “ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นก็เป็นอันว่าได้กำจัดถ่อยคำขอพวกเดียรถีย์ให้หมดสิ้นไปแล้ว ด้วยอุปมาข้อนี้
    ขอถวายพระพร พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาจรณะผู้เสด็จไปดี ผู้รู้ตลอดโลก เหมือนกับแผ่นดินอันใหญ่ คือแผ่นดินใหญ่ไม่รู้จักยินดีต่อพืชใด ๆ ฉันใด พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงยินดีต่ออะไรในโลกฉันนั้น
    ขอถวายพระพร พืชทั้งปวงนั้น ได้อาศัยแผ่นดินแล้วงอกงามขึ้น มีราก มีลำต้น กิ่งใบ ดอกผลฉันใด
    เทพยดามนุษย์ทั้งหลาย ได้อาศัยพระญาณรัตนะของพระพุทธเจ้า ผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ไม่ทรงยินดีต่อสิ่งใด ก็เกิดรากคือกุศลมั่นคงเกิดแก่นคือสมาธิธรรม มีกิ่งคือศีล มีดอก คือวิมุตติ มีผลคือโลกุตตรผล ฉันนั้น
    ด้วยเหตุอันนี้จึงชี้ให้เห็นว่า การบูชาพระพุทธเจ้าผู้ดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่เป็นหมันยังมีผลอยู่”

    <center>
    อุปมาเหมือนสัตว์เลี่ยง
    </center> “ขอถวายพระพร จงทรงสดับเหตุอื่นให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก คือ อูฐ โค ลา ช้าง กระบือ สัตว์ของเลี้ยง และมนุษย์ทั้งหลายเหล่านี้ ยินดีต่อหมู่หนอนที่มีอยู่ในท้องของตนหรือไม่ ?”
    “ไม่ยินดีเลย พระผู้เป็นเจ้า”
    “ในเมื่อไม่ยินดี เหตุไรหมู่หนอนเหล่านั้นจึงมีลูก หลาน เหลน เกิดขึ้นมากมายในท้องของสัตว์เหล่านั้น ?”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เพราะเหตุบาปกรรมของสัตว์เหล่านั้น ทำให้เกิดหมู่หนอนในท้องน่ะชิ”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร สักการบูชาที่บุคคลกระทำต่อพระพุทธเจ้า จึงไม่เป็นหมัน ยังทีผลอยู่ เพราะพระธาตุรัตนะ พระญาณรัตนะ ของพระพุทธเจ้านั้น ยังมีกำลังแรงกล้าอยู่”

    <center>
    อุปมาเหมือนกับโรคต่าง ๆ
    </center> “ขอมหาบพิตรจงทรงสดับเหตุอื่นให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก คือมนุษย์ทั้งหลายยินดีให้ฉัพพนวุติโรค คือโรค ๙๖ ประการ เกิดขึ้นในร่างกายของตนหรือไม่?”
    “ไม่ยินดีเลย พระผู้เป็นเจ้า”
    “ในเมื่อไม่ยินดี เหตุไรโรคเหล่านั้น จึงเกิดขึ้นในร่างกายของมนุษย์ ?”
    “เหตุทุจริตที่เขาทำไว้ในปางก่อนน่ะชิ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร ถ้าอกุศลที่เขาทำไว้ในชาติก่อน ทำให้ได้รับผลในชาตินี้ กุศลกรรม อกุศลกรรม ที่เขาทำไว้ในชาติก่อนก็ดี ในชาตินี้ก็ดี ก็ต้องไม่เป็นหมัน ยังมีผลอยู่
    ถึงด้วยเหตุอันนี้ก็ชี้ให้เห็นว่า การบูชาพระพุทธเจ้า ผู้ดับขันธปรินิพพานแล้ว ก็ไม่เป็นหมัน ยังมีผลอยู่”

    <center>
    เรื่องนันทกยักษ์
    </center> “มหาบพิตรได้เคยทรงสดับหรือไม่ว่า นันทกยักษ์ มีจิตคิดร้ายต่อ พระสารีบุตรเถระ แล้วถูกแผ่นดินสูบ ?”
    “ได้เคยสดับ ผู้เป็นเจ้า เพราะเรื่องนี้ปรากฎอยู่ในโลก”
    “ขอถวายพระพร พระสารีบุตรยินดีให้นันทกยักษ์ถูกแผ่นดินสูบหรือไม่ ?”
    พระเจ้ามิลินท์ตอบว่า
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถึงมนุษย์โลกเทวโลกเป็นไปอยู่ก็ดี ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จะตกลงมาที่พื้นดินก็ดี พระยาเขาสิเนรุจะแตกกระจัดกระจายก็ดี พระสารีบุตรก็ไม่ยินดีต่อทุกข์ของผู้อื่น
    เพราะเหตุว่าพระเถระนั้น ได้ตัดมูลเหตุที่ให้เกิดความยินดียินร้ายเสียแล้ว ถึงจะมีผู้ทำลายชีวิตของท่าน ท่านก็ไม่โกรธ”
    พระนาคเสนจึงถามต่อไปว่า
    “ขอถวายพระพร ถ้าพระสารีบุตรไม่ยินดีให้แผ่นดินสูบนันทกยักษ์ เหตุใดนันทกยักษ์จึงถูกแผ่นดินสูบจมลงไปใต้พื้นดิน ?”
    “อ๋อ...เพราะเหตุอกุศลกรรมเขาแรงกล้าน่ะชิ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร ถ้านันทกยักษ์จมลงไปในพื้นดิน เพราะอกุศลกรรมของเขาแรงกล้า การบูชาพระพุทธเจ้าผู้ไม่รู้จักทรงยินดี ก็ไม่เป็นหมัน ยังมีอนิสงส์อยู่ เพราะกุศลกรรมเป็นของแรงกล้า
    ด้วยเหตุอันนี้ก็ดี จึงชี้ให้เห็นว่า การบูชาพระพุทธเจ้าผู้ดับขันธปรินิพพานแล้ว ผู้ไม่รู้จักทรงยินดี ก็ยังมีผลอยู่”

    <center>
    ผู้ที่ถูกแผ่นดินสูบมี ๕ คน
    </center> “ขอถวายพระพร พวกมนุษย์ที่ถูกแผ่นดินสูบในครั้งพุทธกาลนี้ มีอยู่สักเท่าไร...มหาบพิตรได้เคยสดับหรือไม่?”
    “ขอเชิญมหาบพิตรว่าไป คือใครบ้าง ?”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คนที่ถูกแผ่นดินสูบนั้น โยมได้สดับมาว่ามีอยู่ ๕ คน คือ นางจิญจมาณวิกา ๑ สุปปพุทธสักยะ ๑ พระเทวทัต ๑ นันทกยักษ์ ๑ นันทมาณพ ๑”
    “ขอถวายพระพร บุคคลเหล่านั้นผิดต่อใคร?”
    “ผิดต่อพระพุทธเจ้าก็มี ผิดต่อพระสาวกก็มี พระผู้เป็นเจ้า”
    ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าทรงยินดีให้บุคคลเหล่านั้น ถูกแผ่นดินสูบจมลงไปในแผ่นดินหรือ ?”
    “ไม่ทรงยินดีเลย พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นขอจงเข้าพระทัยเถิดว่า การบูชาพระพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ไม่รู้จักทรงยินดี จึงไม่เป็นหมัน ยังมีผลอยู่”
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสสรรเสริญว่า
    “ข้าแต่พระนาคเสน ปัญหาอันรู้ได้ยาก พระผู้เป็นเจ้าทำให้รู้ได้ง่ายแล้ว ปัญหาอันลึกพระผู้เป็นเจ้าทำให้ตื้นแล้ว
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] พระผู้เป็นเจ้าได้ทำลายข้อลี้ลับแล้ว ทำลายข้อยุ่งยากแล้ว ทำลายถ้อยคำของผู้อื่นแล้ว ความเห็นอันชั่วร้ายของพวกเดียรถีย์สิ้นแล้ว พระผู้เป็นเจ้ามาถึงแล้ว ซึ่งความเป็นผู้ประเสริฐในหมู่ผู้ประเสริฐ” [/FONT]
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๒ </center> <center> ถามถึงความเป็น
    พระสัพพัญญูของพระพุทธเจ้า
    </center>
    “ข้าแต่พระนาคเสน พระพุทธเจ้าเป็นพระสัพพัญญู คือรู้ทุกสิ่งจริงหรือ ?”
    “ขอถวายพระพร จริง แต่ว่าความรู้ความเห็นของพระพุทธเจ้านั้น ไม้ใช่ปรากฎอยู่เป็นนิจ คือเป็นของเนื่องด้วยการนึก พระพุทธเจ้าทรงนึกอยากรู้สิ่งใด ก็รู้สิ่งนั้นสิ้นเท่านั้น”
    “ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้น พระพุทธเจ้าก็ไม่ใช่พระสัพพัญญู เพราะถ้าความรู้สิ่งทั้งปวง ยังเป็นของต้องแสวงหาอยู่”
    “ขอถวายพระพร มีข้าวเปลือกอยู่ ๑๐๐ เกวียน บุคคลตักออกคราวละ ๕ ทะนาน ๔ ทะนาน ๓ ทะนาน ๒ ทะนาน จิตที่เป็นไปในขณะลัดนิ้วมือเดียว อันกำหนดข้าวเปลือกว่ามีเท่านั้น ๆ ก็ถึงซึ่งความสิ้นไป

    <center>
    จิตของผู้ที่ยังไม่อบรม
    </center> บุคคลเหล่าใดยังมีราคะ โทสะ โมหะ ตัญหา กิเลสอยู่ ไม่ได้อบรมกาย ไม่ได้อบรมศีล ไม่ได้อบรมจิต ไม่ได้อบรมปัญญา จิตของบุคคลเหล่านั้นก็เกิดช้า เป็นไปช้า เพราะไม่ได้อบรมจิต
    เหมือนกับบุคคลตัดไม้ไผ่ที่มีแขนง เกี่ยวกระหวัดรัดรึงหุ้มห่อ รกรุงรัง ให้ขาดแล้ว ก็ดึงมาได้ช้าฉันนั้น อันนี้เป็น จิตดวงที่ ๑

    <center>
    จิตของพระโสดาบัน
    </center> จิตที่ ๒ นั้นได้แก่จิตของพระโสดาบัน คือพระโสดาบันทั้งหลาย ผู้พ้นอบายภูมิแล้วผู้ถึงความเห็นแล้ว ผู้รู้แจ้งพระพุทธศาสนาแล้วมีอยู่
    จิตของพระโสดาบันทั้งหลายนั้น ย่อมเกิดไว เป็นไปไวในที่ทั้ง ๓ (คือสักกายทิฎฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส) แต่เกิดช้า เป็นไปช้า ในชั้นสูงขึ้นไป เพราะยังไม่ได้ละกิเลสชั้นสูง
    ข้อนี้เหมือนกับบุคคลตัดไม้ไผ่แล้ว ลิดข้อลิดปมทั้ง ๓ ข้อ แต่ยังไม่ตัดยอดเบื้องบนให้ขาด ให้หายรุงรัง ก็ดึงมาได้ช้าฉะนั้น

    <center>
    จิตของพระสกิทามี
    </center> จิตดวงที่ ๓ นั้น ได้แก่จิตของพระสกิทามี คือจิตของพระสกิทามี ผู้มีราคะ โมสะ โมหะ น้อยเบาบางลงมากนั้น ย่อมเกิดเร็ว เป็นไปเร็ว ในฐานะทั้ง ๕ แต่เกิดช้า เป็นไปช้า ในชั้นสูงขึ้นไป
    เปรียบเหมือนกับบุคคลตัดไม้ไผ่ ลิดข้อทั้ง ๕ ให้ขาดแล้ว ก็ดึงได้ไว้หน่อย แต่ว่าเมื่อข้างปลายยังรกรุงรังอยู่ ก็ยังดึงมาได้ช้าเพราะเบื้องบนยังรุงรัง อันเปรียบเหมือนยังไม่ได้ละกิเลสชั้นสูงฉะนั้น

    <center>
    จิตของพระอนาคามี
    </center> จิตดวงที่ ๔ ได้แก่จิตของพระอนาคามีที่ละสังโยชน์ ๕ เบื้องต่ำได้ขาดแล้ว จิตของพระอนาคามีย่อมเกิดเร็ว เป็นไปเร็ว ในฐานะทั้ง ๑๐ แต่เกิดช้า เป็นไม่ช้าในชั้นสูงขึ้นไปเพราะยังไม่ได้ละกิเลสชั้นสูง
    เหมือนกับบุคคลตัดไม้ไผ่ ลิดข้อทั้ง ๑๐ ให้เกลี้ยงเกลาดีแล้ว ก็ดึงมาได้เร็วเพียง ๑๐ ปล้องเท่านั้น พ้นจากนั้นยังดึงมาได้ช้าฉะนั้น

    <center>
    จิตของพระอรหันต์
    </center> จิตดวงที่ ๕ ได้แก่จิตของพระอรหันต์ คือจิตของพระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวกิเลสทั้งหมดแล้ว ย่อมเกิดเร็ว เป็นไปเร็วในวิสัยของสาวกแต่เกิดช้า เป็นไปช้า ในภูมพระปัจเจกพุทธเจ้าที่สูงขึ้นกว่า
    เปรียบเหมือนบุคคลตัดไม้ไผ่ ลิดข้อทั้งปวงให้ตลอดลำแล้ว ก็ดึงมาได้เร็วฉันนั้น

    <center>
    จิตของพระปัจเจกพุทธเจ้า
    </center> จิตดวงที่ ๖ ได้แก่จิตของพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้เอง ไม่มีอาจารย์ ก็เกิดได้เร็วเป็นไปได้เร็ว ในภูมิของตนเท่านั้น แต่เกิดช้าเป็นไปช้า ในภูมิของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพราะภูมิของพระสัพพัญญูพุทธเจ้านั้น เป็นของใหญ่
    เปรียบเหมือนบุรุษผู้ไม่กลัวน้ำ ก็ว่ายข้ามแม่น้ำได้ตามสบาย แต่พอไปถึงน้ำมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ แลไม่เห็นฝั่งก็กลัวสะดุ้ง ก็ช้า ก็ไม่อาจข้ามไปได้ฉะนั้น

    <center>
    จิตของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า
    </center> จิตดวงที่ ๗ ได้แก่จิตของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้ทรงทศพลญาณ จตุเวสารัชชญาณประกอบด้วยพุทธธรรม ๑๘ ชนะไม่มีที่สิ้นสุด มีญาณไม่มีที่สิ้นสุด ย่อมเกิดเร็วเป็นไปรวดเร็วในสิ่งทั้งปวงเพราะจิตบริสทธิ์ในทั้งปวงแล้ว
    ขอถวายพระพร ลูกศรที่ไม่มีปมที่เกลี่ยงเกลา ไม่มัวหมอง อันนายธนูยกขึ้นสู่แล่งธนู อันไม่คดโก่ง อันเลี่ยนสุขุมเป็นอันดี แล้วยิงไปที่ผ้าฝ้าย หรือผ้ากัมพลเนื้อละเอียดลูกศรนั้นจะทำลุไปได้ช้า หรือว่าจะข้องอยู่ที่ผ้าประการใด ?”
    “อ๋อ...ไม่ช้า พระผู้เป็นเจ้า ลูกศรนั้นต้องทะลุไปได้อย่างรวดเร็ว”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ความคิดของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ก็ทะลุปรุโปร่งไปในสิ่งทั้งปวงได้รวดเร็วฉะนั้น
    ขอถวายพระพร จิตของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ได้ล่วงเลยจิตทั้ง ๖ ไปแล้ว จึงเป็นจิตบริสุทธิ์ เป็นจิตรวดเร็ว เป็นจิตหาเครื่องเปรียบมิได้ ด้วยคุณอันคณานับมิได้
    เพราะเหตุที่จิตของพระพุทธเจ้า เป็นจิตบริสุทธิ์รวดเร็วนั้นเอง พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงยมกปาฎิหารย์ได้ จิตของพระพุทธเจ้าในเวลาทรงทำยมกปาฎิหารย์นั้น เป็นไปรวดเร็วนักไม่มีใครอาจชี้เหตุการณ์ได้
    มหาบพิตร ปาฎิหารย์เหล่านั้น เมื่อเทียบกับจิตของพระสัพพัญญูทั้งหลายแล้ว ยังไม่ได้เสี่ยวหนึ่ง เพราะพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้า เนื่องการนึกด้วยจิตนั้นพอนึกก็รู้ได้ตามความประสงค์

    <center>
    อุปมาเหมือนผู้ยกสิ่งของ
    </center> ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่าบุรุษยกของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่วางอยู่ที่มือข้างหนึ่งมาไว้บนมืออีกข้างหนึ่ง หรืออ้าปากพูด กลืนอาหาร ลืมตา คู้แขน เหยียดแขน อันนับว่ารวดเร็วอยู่แล้ว
    แต่ยังช้ากว่าพระสัพพัญญุตญาณ คือพอพระพุทธเจ้าทรงนึกก็รู้ได้ทันที ไม่ใช่ว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะไม่เป็นพระสัพพัญญูด้วยเหตุเพียงนึกเท่านี้”
    “ข้าแต่พระพนาคเสน เมื่อยังนึกหาอยู่ก็ยังไม่เชื่อว่าเป็นพระสัพพัญญู ขอนิมนต์ชี้แจงให้โยมเข้าใจตามเหตุการณ์อีกเถิด”

    <center>
    อุปมาเหมือนบุรุษผู้มั่งคั่ง
    </center> “ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนกับบุรุษผู้หนึ่ง เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีเครื่องกินมาก มีเงินทองมาก มีเครื่องปลื้มใจมาก มีธัญชาติ ข้าวสาลี ข้าวเปลือ ข้าวสาร งา ถั่ว ฟักแฟง แตงเต้า เนยใส น้ำมัน นมข้น นมสด นมส้ม น้ำผึ้ง น้ำอ้อย อยู่มาก
    เวลามีแขกมาหา ซึ่งเป็นผู้ควรต้อนรับด้วยอาหาร อาหารก็ทำเสร็จแล้ว ยังแต่จะต้องคดข้าวออกจากหม้อเท่านั้น บุรุษนั้นจะเรียกว่า เป็นผู้มีทรัพย์มาก หรือจะเรียกว่าไม่มีทรัพย์มาก ด้วยเหตุเพียงเวลาคดข้าวจากหม้อเท่านั้นหรืออย่างไร ?”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ทำไมจึงว่าอย่างนี้ ถึงในราชมณเฑียรของพระเจ้าจักรพรรดิก็ตามถ้านอกเวลาก็ต้องรอเวลาอาหารสุก ไม่ต้องพูดถึงในบ้านเรือนของคฤหบดี”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือต้องพระสัพพัญญุตญาณอันเนื่องด้วยการนึกของพระพุทธเจ้านั้น พอนึกก็รู้ได้ตามประสงค์”

    <center>
    อุปมาเหมือนต้นไม้ที่มีผล
    </center> “ขอถวายพระพร ต้นไม้ทีมีผลดกเต็มต้นยังไม่มีผลหล่นลงมาเลย เมื่อรอเวลาผลหล่นลงมา จะเรียกว่าต้นไม้นั้น ไม่มีผลได้หรือไม่ ?”
    “ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า เพราะต้นไม้นั้นเนื่องด้วยการหล่นแห่งผล พอผลหล่นลงคนเก็บเอาได้ตามประสงค์” “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร พระสัพพัญญุตญาณก็เนื่องด้วยการนึกของพระพุทธเจ้า พอนึกก็รู้ทันที”
    “ข้าแต่พระนาคเสน เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าทรงนึกก็รู้ทันทีอย่างนั้นหรือ ?"
    "”อย่างนั้น มหาบพิตร คือพระเจ้าจักรพรรดิพอทรงนึกถึงจักรแก้ว จักรแก้วก็มาปรากฎทันทีฉันใด พระพุทธเจ้าพอนึงก็รู้ทุกสิ่งฉันนั้นขอถวายพระพร”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ข้าแต่พระนาคเสน โยมตกลงรับว่า พระพุทธเจ้าเป็น พระสัพพัญญู แน่ละ” [/FONT]
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ตอนที่ ๑๔ </center> <center> ปัญหาที่ ๓ </center> <center> ถามเรื่องโปรดให้
    พระเทวทัตบรรพชา
    </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า พระตถาคตเจ้าเป็นผู้มีพระมหากรุณา เป็นผู้แสวงหาสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นผู้อนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลายอย่างนั้นหรือ”?”
    [/FONT] “อย่างนั้น มหาบพิตร”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระเทวทัต ใครบวชให้ ขอจงว่าไปตามจริง ?”
    “ขอถวายพระพร สมเด็จพระชินวรเจ้าทรงบวชให้พร้อมกับ พระภัททิยะ พระอนุรุทธ พระอานนท์ พระภัคคุ พระกิมพิละ พระอุบาลี ”
    “ข้าแต่พระนาคเสน พระเทวทัตบวชแล้วจึงทำสังฆเภทได้ เพราะคฤหัสถ์ หรือภิกษุณี นางสิกขมานา สามเณร สามเณรี ทำสังฆเภทไม่ได้ ทำได้แต่เฉพาะภิกษุ ผู้เป็นภิกษุอยู่ตามปกติ ยังร่วมกับสงฆ์ได้อยู่ อยู่ในเสมาอันเดียวกันกับสงฆ์เท่านั้น”
    “ถูกอย่างนั้น มหาบพิตร พระเทวทัต บวชแล้วจึงทำสังฆเภทได้”

    <center>
    พระพุทธเจ้าทรงทราบเหตุล่วงหน้า
    </center> “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทำสังฆเภทได้รับกรรมอย่างไร?”
    “ขอถวายพระพร ผู้ทำสังฆเภทต้องตกนรกอยู่ตลอด ๑ กัป”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระตถาคตเจ้าทรงทราบหรือไม่ว่า พระเทวทัตบวชแล้วจักทำสังฆเภท แล้วจักไปตกนรกอยู่ตลอดกัป ?”
    “ขอถวายพระพร ทรงทราบ”
    พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสต่อไปว่า
    “ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าทรงทราบ คำที่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้มีพระมหากรุณาแสวงหาประโยชน์ โปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายนั้น ก็ผิดไป ถ้าไม่ทรงทราบ พระพุทธเจ้าก็ไม่ใช่พระสัพพัญญู
    ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ มีสองแง่ ได้มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแก้ไขให้สิ้นสงสัย พระภิกษุมีความรู้ดังพระผู้เป็นเจ้า ในภายหน้าโน้นจักหายาก ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแสดงกำลังปัญญาของพระผู้เป็นเจ้าไว้”

    <center>
    ทรงใช้วิธีผ่อนหนักเป็นเบา
    </center> “ขอถวายพระพร พระตถาคตเจ้าเป็นผู้มีพระมหากรุณาจริง เป็นพระสัพพัญญูจริง เป็นพระสัพพัสสาวี คือเห็นทุกสิ่งจริง เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงเล็งดูคติของพระเทวทัตด้วยพระสัพพัญญุตญาณ อันประกอบด้วยพระมหากรุณา ก็ได้ทรงเห็นว่า
    พระเทวทัตถ้าเป็นคฤหัสถ์ ก็จักทำบาปกรรมอันจักให้ไปตกนรก เกิดเป็นเปรต อสุรกาย เดรัจฉาน หลายกัป และทรงทราบว่า กรรมของพระเทวทัตไม่มีที่สิ้นสุด
    แต่เมื่อพระเทวทัตได้บรรพชาในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็จักมีที่สิ้นสุดได้ เมื่อได้บรรพชาแล้ว ก็จักทำกรรมเพียงให้ตกนรกอยู่ ๑ กัป เท่านั้น ทรงเห็นอย่างนี้ จึงโปรดให้พระเทวทัตบรรพชา ด้วยอำนาจพระมหากรุณา”
    “ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้น ก็เป็นอันว่า พระตถาคตเจ้าทุบตีพระเทวทัตแล้วทาน้ำมันให้ ผลักให้ล้มแล้ว ดึงแขนให้ลุกขึ้น ฆ่าแล้วชุปชีวิตให้ เพราะให้ทุกข์ก่อนแล้วจึงให้สุขต่อภายหลัง”

    <center>
    อุปมามารดาบิดาลงโทษบุตร
    </center> “ขอถวายพระพร พระตถาคตเจ้าทรงทำอย่างนั้นจริง ข้อนี้ควรทราบด้วยอุปมา เหมือนมารดาบิดาเฆียนตีบุตรแล้ว ให้ประโยชน์ทีหลังฉันใด พระตถาคตเจ้าก็ทรงทำฉันนั้น
    พระเทวทัตถ้าไม่ได้บรรพชา ยังเป็นคฤหัสถ์อยู่ ก็จักทำบาปกรรม อันจักให้ไปตกนรกอยู่หลายแสนกัป
    เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงทราบอย่างนี้ จึงได้ทรงพระกรุณาให้บรรพชา ได้ทรงทำทุกข์หนักให้เป็นทุกข์เบา ด้วยทรงเล็งเห็นว่า เมื่อพระเทวทัตได้บรรพชาในศาสนาของเราแล้วทุกข์ก็จักมีที่สิ้นสุด”

    <center>
    อุปมาบุรุษผู้มีอำนาจ
    </center> “มหาราชเจ้า เปรียบประดุจบุรุษผู้มีกำลังทรัพย์ ยศ ศักดิ์ ญาติวงศ์ รู้ว่าญาติหรือมิตรจะต้องได้รับพระราชอาญาหนัก ก็ช่วยให้เบาตามความสามารถของตนได้ฉันใด
    สมเด็จพระจอมไตรทรงทราบว่า พระเทวทัตจะได้รับทุกข์อยู่หลายแสนกัป จึงให้บรรพชาช่วยให้หนักเป็นเบา ด้วยอำนาจศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณฉันนั้น”

    <center>
    อุปมาเหมือนหมอผ่าตัด
    </center> “อีกอย่างหนึ่ง หมอผ่าตัดย่อมผ่าตัดโรคที่หนัก ๆ ออกเสียทำให้เบาลง ด้วยอำนาจยาอันแรงกล้าฉันใด
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นว่า พระเทวทัตจะได้รับทุกข์หนักอยู่หลายแสนกัป จึงโปรดให้บรรพชาทำทุกข์หนักให้เป็นทุกข์เบาด้วยกำลังยา คือพระธรรม อันประกอบด้วยพระมหากรุณาฉันนั้น
    ขอถวายพระพร เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงทำพระเทวทัตผู้จะได้ทุกข์มาก ให้ได้รับทุกข์น้อย จะได้บาปอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ ?”
    “ไม่ได้บาปอย่างใดเลย พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร เหตุการณ์ข้อนี้ มหาบพิตรจงรับไว้ตามความจริงว่า พระพุทธเจ้าได้โปรดให้พระเทวทัตบรรพชา เพราะทรงพระมหากรุณาแท้ ๆ”

    <center>
    อุปมาเหมือนผู้จับโจร
    </center> “อีกประการหนึ่ง เมื่อมีผู้จับโจรมาถวาย พระราชอาญา พระราชาก็ตรัส สั่งให้นำไปตัดศีรษะ แต่มีผู้ที่ได้รับพรจากพระราชาทูลขอชีวิตไว้นั้น จะได้บาปอย่างไรหรือ ?”
    “ไม่ได้บาปอย่างไรเลย พระผู้เป็นเจ้า”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือพระพุทธเจ้า ทรงพระกรุณาให้พระเทวทัตบรรพชาด้วยทรงพิจรณาเห็นว่า
    เมื่อพระเทวทัตได้บรรพชาแล้ว กรรมของพระเทวทัตก็จักมีที่สิ้นสุด ในเวลาที่พระเทวทัตจะถึงมรณะ ก็ได้เปล่งวาจานับถือพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งด้วยคำว่า


    “ข้าพเจ้าขอนับถือพระพุทธเจ้า ผู้เป็นบุคคลอันล่ำเลิศ ผู้เป็นวิสุทธิเทพยิ่งกว่าเทพยดาทั้งหลาย ผู้ฝึกฝนบุคคลที่ควรฝึกฝน ผู้มีพระจักษุรอบพระองค์ ผู้มีลักษณะแห่งบุญอันคุณด้วย ๑๐๐ ด้วยกระดูกของข้าพระเจ้า ที่ยังมีลมหายใจอยู่อีก” ดังนี้



    <center>ดัวยอานิสงส์เพียงเท่านี้ </center> “ขอถวายพระพร กัปที่ยังเหลืออยู่นี้ แบ่งออกเป็น ๖ ส่วน พระเทวทัตได้ทำสังฆเภทในส่วนแรก จักไปตกนรกอยู่ตลอด ๕ ส่วน พ้นจากนรกแล้ว จักได้สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า “อัฏฐิสสระ”
    ขอถวายพระพร พระตถาคตเจ้าผู้ทรงทำอย่างนี้ ได้ชื่อว่าทรงทำสิ่งที่ควรทำต่อพระเทวทัตแล้วหรือ ?”
    “ข้าแต่พระนาคเสน พระตถาคตเจ้าผู้ทรงทำอย่างนี้ ชื่อว่าทรงประทานสิ่งทั้งปวงแก่พระเทวทัตแล้ว ข้อที่พระตถาคตเจ้าได้ทรงทำให้พระเทวทัต ได้สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ ขื่อว่าได้ทรงทำสิ่งทั้ปวงให้พระเทวทัตแล้ว ไม่มีอะไรที่จะได้ชื่อว่า ไม่ได้ทรงกระทำ”
    “ขอถวายพระพร พระตถาคตเจ้าจะได้บาป เพราะเหตุที่พระเทวทัตทำสังฆเภทแล้วไปทนทุกข์อยู่ในนรกบ้างหรือ ?”
    “เปล่าเลย พระผู้เป็นเจ้า เพราะพระเทวทัตไปตกนรกด้วยกรรมของพระเทวทัตเอง พระพุทธเจ้าจะได้บาปมาแต่ไหน”
    “ขอถวายพระพร แม้เหตุการณ์ดังนี้ ก็ขอมหาบพิตรจงทรงรับเถิดว่า พระพุทธเจ้าได้ให้พระเทวทัตบรรพชาด้วยพระมหากรุณาแท้ ”

    <center>
    อุปมามาดาบิดาผู้ใหกำเนิด
    </center> “ขอมหาบพิตร จงทรงสดับเหตุการณ์ให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก คือมารดาบิดาทำให้บุตรเกิดขึ้นมาแล้ว ก็กำจัดปัดเป่าสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เสีย มีแต่ทำให้เป็นประโยชน์ ทำให้บุตรเติบโตขึ้น
    แต่เมื่อบุตรเติบโตขึ้นแล้ว บุตรก็ได้ทำบาปกรรมไว้ มารดาบิดาจะพลอยได้รับบาปกรรม ที่บุตรกระทำนั้นหรือไม่ ?”
    “ไม่ได้เลยรับเลย พระผู้เป็นเจ้า มารดาบิดาผู้เลี้ยงบุตรให้เติบโตขึ้นนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีอุปการคุณมากแท้ แต่บุตรจักได้รับโทษแห่งบาปกรรมที่เขาทำด้วยตนเองต่างหาก”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร พระพุทธเจ้าก็เสมอกับมารดาบิดา ที่ได้ให้พระเทวทัตบรรพชา ก็เพราะทรงพระมหากรุณา เหตุอันนี้ขอจงทรงรับเถิดว่า พระพุทธเจ้าให้พระเทวทัตบรรพชาด้วยพระมหากรุณาแท้”

    <center>
    อุปมาหมอรักษาแผล
    </center> “ขอมหาบพิตร จงทรงสดับเหตุการณ์ให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก คือเหมือนอย่างว่าหมอผ่าตัดจะรักษาแผล อันเต็มด้วยบุพโลหิต มีรูอยู่ข้างใน มีลูกศรฝั่งอยู่ อันเป็นที่ไหลออกแห่งของเปื่อยเน่า มีกลิ่นเหม็นฟุ้ง
    ต้องชำระล้างปากแผลอ่อนดีแล้ว จึงตัดด้วยมีดแล้วจี้ด้วยซี่เหล็กแดง แล้วราดด้วยน้ำด่างอันแสบเค็ม แล้วทายา แล้วเนื้อที่แผลก็งอกขึ้น แผลก็หายเป็นลำดับไป
    จึงขอถามมหาบพิตรว่า จะว่าแพทย์ผ่าตัดนั้น ไม่มีจิตเมตตาหรืออย่างไร ?”
    “ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า แพทย์ผ่าตัดนั้น เป็นผู้มีจิตรเมตตาแท้ทีเดียว”
    “ขอถวายพระพร ทุกขเวทนาอันเกิดแก่ผู้บาดเจ็บนั้น ด้วยการรักษาของหมอมีอยู่ หมอนั้นจะได้บาปอย่างไรหรือไม่ ?”
    “ไม่ได้บาปอย่างใดเลย ผู้เป็นเจ้า มีแต่จะได้บุญไปสวรรค์”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือพระพุทธเจ้าได้โปรดให้พระเทวทัตบรรพชา ด้วยทรงพระมหากรุณา เพื่อปลดเปลื้องพระเทวทัตให้พ้นทุกข์ จึงไม่ได้บาปอะไร”

    <center>
    อุปมาผู้ถูกหนามตำที่เท้า
    </center> “ขอมหาบพิตร จงทรงสดับเหตุการณ์ให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก คือเปรียบประดุจบุรุษคนหนึ่งถูกหนามปักเข้าไปที่เท้า หรือโดนหลักตอ
    มีบุรุษคนหนึ่งมุ่งจะให้บุรุษนั้นสุขสบายจึงบ่งด้วยหนามอันแหลม หรือด้วยมีดแหลม ๆ แล้วชักหนามหรือตอนั้นออก ทั้งที่มีโลหิตไหลอยู่ จะว่าบุรุษผู้ชักหนามหรือตอออกนั้น ไม่มีจิตเมตตาหรือ ?”
    “ว่าไม่ได้เลย พระผู้เป็นเจ้า เพราะบุรุษนั้นมุ่งให้มีความสวัสดีแท้ ๆ ถ้าเขาไม่ช่วยนำหนามหรือตอนั้นออก บุรุษนั้นก็จะต้องถึงซึ่งความตาย หรือถึงซึ่งทุกข์แทบประดาตาย ”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ หมาบพิตร คือถ้าพระพุทธเจ้าไม่โปรดให้พระเทวทัตบรรพชา พระเทวทัตก็จะต้องไปไหม้อยู่ในนรกหลายแสนกัป”
    พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสว่า
    “ข้าแต่พระนาคเสน เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงช่วยพระเทวทัต ผู้ไหลไปตามกระแสน้ำ ให้ไหลทวนขึ้นมาเหนือน้ำ ผู้ถึงซึ่งความวิบัติ ให้ถึงซึ่งความเจริญ ผู้ตกไปในเหว ให้ขึ้นจากเหว ผู้เดินทางผิด ให้มาเดินทางถูก
    ข้าแต่พระนาคเสน เหตุการณ์เหล่านี้ ไม่มีบรรพชิตอื่นจะชี้บอกให้เห็นได้ นอกจากผู้มีความรู้ดี ดังพระผู้เป็นเจ้านี้เท่านั้น”

    <center>
    ฏีกามิลินท์
    </center> ข้อที่ว่า “พระเทวทัตจักไปตกนรกอยู่หลายแสนกัปนั้น” คือพระเทวทัตไม่ได้บรรพชาในพระพุทธศาสนา ก็จักเป็นมิจฉาทิฏฐิ อันมีโทษหนักยิ่งกว่าสังฆเภท เพราะมิจฉาฏิฐินั้น ต้องตกนรกอยู่หลายแสนกัป
    ยิ่งเป็นอัจจันตมิจฉาทิฏฐิ คือเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนักด้วยแล้ว ก็ยิ่งไม่มีกำหนดว่าจะพ้นจากนรกเมื่อใด จักเป็นหลักตออยู่ในนรกหากำหนดมิได้
    คำว่า “ พระเทวทัตทำสังฆเภทแล้วไปตกนรกอยู่ตลอด ๑ กัปนั้น ” หมายถึง อันตรกัป คือกัปในระหว่างกัปใหญ่เท่านั้น ไม่ใช่หมายเอาตลอดกัปใหญ่ (กัปหนึ่ง ๆ แบ่งเป็น ๖๔ อันตรกัป)
    เมื่อพระนาคเสนเถระแก้ปัญหาข้อนี้เสร็จสิ้นลงไปแล้ว ก็มีเทวดาตั้งแต่ภูมเทวดาขึ้นไปจนถึงชั้นอกนิฏฐพรกมโลก (พรหมชั้น ๑๖ ) เปล่งเสียงสาธุการ ดอกไม้ทิพย์ในสวรรค์ก็ตกลงมาบูชา
    พระเจ้ามิลินท์กับข้าราชบริพารทั้งหลายพร้อมกันประนมมือสาธุการ สรรเสริญว่า ยกพระสารีบุตรเถระเสียแล้ว ไม่มีผู้อื่นจะมีปัญญาเสมอเหมือนพระนาคเสน
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] เมื่อพระนาคเสนกลับไปแล้ว พระเจ้ามิลินท์ก็สร้างวัดถวาย ชื่อว่า “ มิลินทวิหาร ” แล้วถวายปัจจัย ๔ แก่พระภิกษุทั้งหลายทุกวันไป [/FONT]
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๔ </center> <center> ถามถึงเหตุ
    ให้แผ่นดินไหว
    </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] [/FONT][FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    พระเจ้ามิลินท์ได้ตรัสถามว่า “ข้าแต่พระนาคเสน พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เป็นคำขาดว่า “เหตุปัจจัยที่จะทำให้แผ่นดินไหวใหญ่นั้น มีอยู่ ๘ ประการเท่านั้น ไม่มีถึง ๙” ถ้าคำนี้จริงแล้ว คำที่ว่า “แผ่นดินไหวถึง ๗ ครั้ง ด้วยมหาทานของ พระเวสสันดร” นั้นก็ผิด
    [/FONT]
    ถ้าว่าคำที่ว่า “แผ่นดินไหวถึง ๗ ครั้ง ด้วยมหาทานของ พระเวสสันดร” นั้นถูก คำที่ว่า “เหตุให้แผ่นดินไหวใหญ่มีเพียง ๘ อย่างเท่านั้น” ก็ผิด เพราะว่าการให้ทานไม่นับเข้าในเหตุอย่างหนึ่ง ในเหตุ ๘ อย่างที่แผ่นดินไหวนั้น
    เพราะฉะนั้น ปัญหาข้อนี้จึงเป็นอุภโตโกฎิมีสองง่ามสองแง่ เป็นปัญหาละเอียด เป็นปัญหาใหญ่ เป็นปัญหาชี้ให้เห็นได้ว่า เป็นปัญหาที่ให้เกิดความมืด แต่ปัญหานี้ได้มาถึงพระผู้เป็นเจ้า ผู้มีจักษุญาณแล้ว ผู้อื่นนอกจากพระผู้เป็นเจ้า ไม่อาจแก้ปัญหานี้ได้”
    พระนาคเสนจึงตอบว่า
    “ขอถวายพระพร คำสองคำนี้จริงทั้งนั้นคือคำที่ว่า “เหตุให้แผ่นดินไหวมีอยู่ ๘ ก็เป็นของจริง คำที่ว่า “แผ่นดินใหญ่ได้ไหวถึง ๗ ครั้ง เพราะมหาทานของ “พระเวสสันดร” ก็เป็นของจริง ไม่ใช่ของเหลาะแหละ”

    <center>
    อุปมาเมฆนอกฤดูกาล
    </center> “ขอถวายพระพร ในโลกนี้มีเมฆอยู่เพียง ๓ ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อนเท่านั้นถ้าเมฆอื่นนอกจาก ๓ ฤดูนั้น จะทำให้ฝนตกลงมา เมฆนั้นก็ไม่นับเข้ากับเมฆที่คนทั้งหลายรู้เรียกว่า “อกาลเมฆ” ฉันใด
    การที่แผ่นดินใหญ่ไหวถึง ๗ ครั้ง ด้วยอำนาจมหาทานของพระเวสสันดร ก็เป็น “อกาลกัมปนัง” คือแผ่นดินไหวนอกจากเหตุ ๘ ประการ ฉันนั้น”

    <center>
    อุปมาด้วยแม่น้ำ
    </center> “นที ๕ สายย่อมไหลมาจากภูเขาหิมพานต์ อีก ๑๐ นที คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหิ สินธุ สตธู วิชา ปิปาสิ จันทภาคี ก็นับรวมเข้าในคำว่า “นที” นทีนอกนั้นไม่นับเข้าในนที เพราะไม่มีน้ำประจำอยู่เป็นนิจฉันใด
    การที่แผ่นดินใหญ่ไหวถึง ๗ ครั้ง ด้วยอำนาจมหาทานของพระเวสสันดรนั้น ก็ไม่นับเข้าในเหตุ ๘ อย่าง เพราะว่าไม่ใช่เหตุที่จะให้แผ่นดินไหวเสมอไปฉันนั้น”

    <center>
    อุปมาหมู่
    เสนาอำมาตย์
    </center> “ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่าอำมาตย์ของพระราชามีอยู่ ๑๐๐ หรือ ๒๐๐ ก็ดี ก็นับเข้าในหมู่อำมาตย์เพียง ๖ คนเท่านั้น อำมาตย์ ๖ คนนั้น คือ
    เสนาบดี ๑ ปุโรหิต ๑ ผู้ตัดสินถ้อยความ ๑ ผู้รักษาพระราชทรัพย์ ๑ ผู้กั้นเศวตฉัตร ๑ ผู้ถือพระขรรค์ ๑ เท่านั้น นอกจาก ๖ คนนี้ ไม่นับเข้าว่าเป็นอำมาตย์
    ข้อนี้มีอุปมาฉันใด การที่แผ่นดินไหวถึง ๗ ครั้ง ด้วยมหาทานของพระเวสสันดรนั้นก็ไม่นับเข้าในเหตุ ๘ อย่างฉันนั้น”

    <center>
    ผู้ได้รับผล
    บุญเห็นทันตา ๗ คน
    </center> “ขอถวายพระพร มหาบพิตรได้เคยทรงสดับหรือไม่ว่า ผู้ที่ทำบุญในพระพุทธศาสนานี้แล้ว ได้รับผลบุญเห็นทันตา มีกิตติศัพท์ลือชาและยศศักดิ์ ปรากฎไปในเทพยดาและมนุษย์ ?”
    “เคยได้ฟัง พระผู้เป็นเจ้า”
    “ ขอถวายพระพร บุคคลเหล่านั้นมีอยู่กี่คน?”
    “มีอยู่ ๗ คนผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร คือใครบ้าง ?”
    “คือ นายสุมนมาลาการ ๑ พราหมณ์เอกสาฎก ๑ ลูกจ้างชื่อว่า นายปุณณะ ๑ พระนางมัลลิกาเทวี ๑ พระนางโคปาลมาตาเทวี ๑ นางสุปิยาอุบาสิกา ๑ นางปุณณทาสี ๑ รวมเป็น ๗ คนเท่านี้แหละ พระผู้เป็นเจ้า”

    <center>
    ผู้ที่ได้ขึ้น
    สวรรค์ทั้งเป็น ๗ คน
    </center> “ขอถวายพระพร มหาบพิตรได้เคยทรงสดับมาหรือไม่ว่า ผู้ที่ได้ทำความดีไว้ในพระพุทธศาสนาก่อน ๆ โน้น ได้ไปสวรรค์ทั้งเป็นไปด้วยรูปร่างมนุษย์มีอยู่หรือไม่ ?”
    “มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ได้แก่ใคร...มหาบพิตร?”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ได้แก่ โคตติลคันธัพพราชา ๑ สาธิน ราชา ๑ เนมิราชา ๑ มันธาตุราชา ๑ ทั้ง ๔ คนนี้ ได้ขึ้นไปดาวดึงส์สวรรค์ทั้งเป็น เพราะคนเหล่านั้น ได้ทำความดีไว้นานแล้ว” [/FONT]
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center>ทานของผู้อื่น
    ไม่เป็นเหตุให้แผ่นดินไหว
    </center> “ขอถวายพระพร มหาบพิตรได้เคยทรงสดับหรือไม่ว่า ผู้มีชื่ออย่างนี้ ๆ ให้ทานอยู่ในอดีตกาล หรือในปัจจุบันกาล ทำให้แผ่นดินใหญ่นี้ไหวครั้งหนึ่ง หรือสองสามครั้ง ?”
    “ไม่เคยได้ยินได้ฟังเลย ผู้เป็นเจ้า” “ขอถวายพระพร อาตมาภาพผู้มีอาคมคือพระปริยัติธรรม และอธิคม คือมรรคผลกับการสดับฟังพระปริยัติ การเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า การฟังก็ดี การไต่ถาม การอยู่ร่วมกับอาจารย์ การปฎิบัติอาจารย์ ก็ไม่เคยได้ยินได้ฟังว่า
    เมื่อผู้อื่นให้ทานเกิดแผ่นดินไหวเพียงครั้งเดียว หรือ ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง นอกจากการให้ทานของพระเวสสันดรเท่านั้น”

    <center>
    อุปมาด้วยเกวียน
    </center> “ขอถวายพระพร ในระหว่างพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือพระศากยมุนีพุทธเจ้า กับ พระกัสสปพุทธเจ้านั้น ล่วงมาแล้วหลายโกฎิปี ในระหว่างนั้นก็ไม่เคยได้ยินว่าผู้อื่นให้ทานทำให้แผ่นดินไหว
    แผ่นดินไหวอันใหญ่นี้ไม่ไหวด้วยความ ความเพียนเท่านั้น ด้วยความบากบั่นเพียงเท่านั้นแผ่นดินอันใหญ่หนักด้วยของหนัก คือคุณความดีของบุคคล จนไม่อาจรับไว้ได้ จึงสะเทือนสะท้านหวั่นไหว
    เกวียนที่บรรทุกหนักเกินไป จนดุมเกวียน กำเกวียน กงเกวียนทนไม่ไหว เพลาเกวียนก็หักฉันใด แผ่นดินอันใหญ่อันหนักด้วยคุณความดีของบุคคล จนไม่อาจรับไว้ได้จึงไหวฉันนั้น”

    <center>
    อุปมาด้วยท้องฟ้า
    </center> “อีกประการหนึ่ง ท้องฟ้าอันปกคลุมด้วยก้อนเมฆ หนักด้วยก้อนเมฆ มีลมพัดแรงเกินไป ก็มีเสียงดังกึกก้องฉันใด แผ่นดินใหญ่ เมื่อไม่อาจทรงของหนัก คือความไพบูลย์ แห่งกำลังทานของพระเวสสันดรจึงไหวฉันนั้น
    เพราะว่าพระหฤทัยของพระเวสสันดรนั้น ไม่ได้เป็นไปด้วยอำนาจ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฎฐิ กิเลส ความโกรธ ความริษยา อย่างใดเลย เป็นไปมากด้วยอำมาจแห่งทานอย่างเดียวเท่านั้น
    คือพระเวสสันดรคิดอยู่ว่า พวกยาจกที่ยังไม่มาก็ขอให้มา ที่มาแล้วก็ขอให้ได้ตามประสงค์ ได้แล้วขอให้มาอีก”

    <center>
    คุณธรรม
    ของพระเวสสันดร
    </center> “พระเวสสันดรนั้น มีพระหฤทัยมั่นอยู่ในธรรม ๑๐ ประการ คือ ความฝึกใจ ๑ ความสำรวม ๑ ความอดทน ๑ ความระวัง ๑ ความแน่นอน ๑ ความไม่โกรธ ๑ ความไม่เบียดเบียน ๑ ความจริง ๑ ความสอาดใจ ๑ ความเมตตา ๑
    พระเวสสันดรนั้น ได้ละการแสวงหากามารมณ์เสียแล้ว ระงับการแสวงหาภพเสียแล้ว มุ่งแต่การแสวงหาพรหมจรรย์เท่านั้น
    พระเวสสันดรนั้น สละการรักษาตัวเสียแล้ว มุ่งแต่รักษาผู้อื่นทุกเวลาว่า ทำอย่างไรหนอ สัตว์บุคคลทั้งสิ้นจึงจะพร้อมเพรียงกันจึงจักไม่มีโรค จึงจักมีทรัพย์ จึงจักมีอายุยืน
    พระเวสสันดรนั้น ไม่ได้ทรงให้ทานเพราะปรารถนาภพ หรือทรัพย์ หรือการตอบแทน การสรรเสริญ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ยศ บุตร ชีวิต แต่อย่างใดเลย พระองค์ทรงมุ่งแต่ “พระสัพพัญญุตญาณ” เท่านั้น

    <center>
    ข้อนี้สมกับที่พระองค์
    ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า
    </center> “เมื่อเราให้ทานบุตรธิดา คือ ชาลีกัณหา และเทวี คือพระนางมัสทรี เราไม่ได้คิดอย่างอื่นเลย เรามุ่งต่อพระโพธิญาณอย่างเดียวเท่านั้น” ดังนี้
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] พระเวสสันดรนั้น ชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ ชนะคนไม่ไดีด้วยความดี ชนะคนตระหนี่ด้วยการให้ ชนะคนเหลาะแหละนั้นด้วยความจริง ชนะอกุศลทั้งปวงด้วยกุศล” [/FONT]
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center>เหตุอัศจรรย์
    เพราะมหาทาน
    </center> “เมื่อพระเวสสันดรให้ทานอยู่อย่างนั้นลมใหญ่ภายไต้ก็ไหว เมื่อลมใหญ่ภายไต้ไหวน้ำที่อยู่บนลมก็ไหว เมื่อมีน้ำไหว หินที่อยู่บนน้ำก็ไหว เมื่อหินที่อยู่บนน้ำไหว แผ่นดินใหญ่นี้ก็ไหว
    ครั้งนั้น พวกอสูร ครุฑ นาค ยักษ์ทั้งหลาย ที่มีฤทธิ์มีเดชน้อย ก็สดุ้งตกใจกลัวว่า แผ่นดินไหวใหญ่เพราะอะไร ไม่ทราบว่าเป็นเพราะการให้ทานของพระเวสสันดร ต่อเมื่อได้ยินเสียงป่าวร้องสาธุการของเทพยดาทั้งหลายจึงรู้
    เป็นอันว่า แผ่นดินใหญ่นี้ตั้งอยู่บนหิน หินตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม เมื่อลมข้างล่างไหว ก็ไหวเป็นลำดับขึ้นมาจนถึงแผ่นดินใหญ่นี้ ดังนี้”
    <center>
    อุปมาเหมือนแก้วต่าง ๆ
    </center> “ขอถวายพระพร แก้วต่าง ๆ ย่อมมีอยู่ที่พื้นดินเป็นอันมาก คือ แก้วอินทนิล แก้วมหานิล แก้วโชติรส แก้วไพฑูรย์ แก้วอุมมารปุปผา แก้วมโนห์รา แก้วสุริยกันต์ แก้วจันทกันต์ แก้ววิเชียร แก้วกโชปักมกะ แก้วบุษราคัม แก้วแดง แก้วลาย
    แก้วเหล่านี้ทั้งสิ้น สู้แก้วมณีของพระเจ้าจักรพรรดิไม่ได้ แก้วมณีของพระเจ้าจักรพรรดิย่อมแผ่รัศมีไปข้างละ ๑ โยชน์โดยรอบฉันใด ทานที่มีอยู่ทั้งสิ้น มี อสทิสทาน เป็นอย่างเยี่ยมก็สู้มหาทานของพระเวสสันดรไม่ได้ฉันนั้น
    เมื่อพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญมหาทานอยู่แผ่นดินใหญ่ได้ไหวถึง ๗ ครั้ง ขอมหาบพิตรจงทรงพระสวนาการฟังให้เข้าพระทัยในกาลบัดนี้”
    “ข้าแต่พระนาคเสน ปัญหาที่ลี้ลับลึกซึ่ง พระผู้เเป็นเจ้าก็ได้คลี่คลายขยายออกแล้ว ได้ทำลายข้อที่ฟั่นเฝื่อได้สิ้นแล้ว”
    <center>
    บทผนวก
    </center> การสนทนาได้ยุติลงเพียงแค่นี้ เรื่องแผ่นดินไหวนี้ พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายไว้ใน พรหมชาลสูตร ผู้เรียบเรียงขอนำมาให้ทราบไว้ดังนี้
    “...พึงทราบแผ่นดินไหวด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ
    ๑. ธาตุกำเริบ (ไหวตามธรรมชาติ)
    ๒. อนุภาพของผู้มีฤทธิ์
    ๓. พระโพธิสัตว์ก้าวลงสู่พระครรภ์
    ๔. เสด็จออกจากพระครรภ์พระมารดา
    ๕ . บรรลุพระสัมโพธิญาณ
    ๖. ทรงแสดงพระธรรมจักร
    ๗ . ทรงปลงอายุสังขาร
    ๘. เสด็จดับขันธปรินิพพาน

    ข้าพเจ้า (พระพุทธโฆษาจารย์) จักกล่าวในคราววรรณนาพระบาลี ที่มาใน มหาปรินิพพานสูตร อย่างนี้ว่า
    “ดูก่อนอานนท์ เหตุปัจจัย ๘ เหล่านี้แลที่ให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ดังนี้เทียว ก็แผ่นดินใหญ่นี้ได้ไหวในฐานะ ๘ แม้อื่น คือ
    ๑. คราวเสด็จมหาภิเนษกรมณ์
    ๒. คราวเสด็จเข้าสู่โพธิมัณฑสถาน
    ๓. คราวรับผ้าบังสุกุล
    ๔. คราวรับซักผ้าบังสุกุล
    ๕. คราวแสดงกาลสูตร
    ๖ . คราวแสดงโคตมกสูตร
    ๗. คราวแสดงเวสสันดรชาดก
    ๘. คราวแสดงพรหมชาลสูตรนี้

    ใน ๘ คราวนั้น คราวเสด็จมหาภิเนษกรมณ์ และ คราวเสด็จเข้าสู่โพธิมัณฑสถาน แผ่นดินได้ไหวด้วยกำลังแห่งพระวิริยะ คราวรับผ้าบังสุกุล แผ่นดินถูกกำลังความอัศจารย์กระทบแล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละมหาทวีป ๔ อันมีทวีป ๒ พันเป็นบริวารออกผนวชไปสู่ป่าช้าถือเอาผ้าบังสุกุล ได้ทรงกระทำกรรมที่ทำได้ยาก ดังนี้
    ได้ไหวแล้ว คราวชักผ้าบังสุกุล และ คราวแสดงเวสสันดรชาดก แผ่นดินได้ไหวด้วยคราวไหวมิใช่กาล
    คราวแสดงกาลามสูตร และ คราวแสดงโคตมกสูตร แผ่นดินได้ไหวด้วยความเป็นสักขีว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอเป็นสักขี”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] แต่คราวแสดงพรหมชาลสูตรนี้ เมื่อทรงแสดงสะสางคลี่คลายทิฎฐิ ๖๘ ประการอยู่พึงทราบว่า ได้ไหวด้วยอำนาจสาธุการ [/FONT]
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center>เหตุแผ่นดินไหว
    หลังพุทธปรินิพพาน
    </center> อนึ่ง มิใช่ในฐานะเหล่านี้อย่างเดียวเท่านั้นที่แผ่นดินไหว ที่จริงแผ่นดินไหวแล้วแม้ในคราวสังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง
    แม้ในวันที่ พระมหินทเถระ มาสู่ทวีปนี้ (มาลังกาหลังสังคายนาทั้ง ๓ ) นั่งแสดงธรรมในชาติวัน และเมื่อ พระบิณฑปาติยเถระ กวาดลานพระเจดีย์ในกัลยาณีวิหาร แล้วนั่งที่ลานพระเจดีย์นั้นแหละ ยึดปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เริ่มสวดพระสูตรนี้ (พรหมชาลสูตร) แผ่นดินได้ไหวไปถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุด
    มีสถานที่ชื่อ “อัมพลัฑฐิกะ” อยู่ด้านทิศตะวันออกของโลหปราสาท พระเถระผู้กล่าวคัมภีร์ทีฆนิกาย นั่งอยู่ในสถานที่นั้น เริ่มสวดพรหมชาลสูตร แม้ในเวลาที่พระเถระเหล่านั้นสวดจบ แผ่นดินก็ได้ไหวไหถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุดเหมือนกันดังนี้แล...”
    (เหตุให้แผ่นดินไหวในคราวสังคายนา ๓ ครั้งนั้น เกิดที่ประเทศอินเดีย นอกจากนั้นเป็นเหตุเกิดที่ประเทศลังกาทั้งสิ้น)
    <center>
    ตอนที่ ๑๔
    </center> เมื่อตอนที่แล้วท่านได้ยกตัวอย่าง “ผู้ที่รับผลบุญเห็นทันตา ๗ คน” คือ
    นายสุมนมาลาการ ๑ พราหมณ์เอกสาฎก ๑ นายปุญญะ ๑ พระนางมัลลิกาเทวี ๑ พระนางสุปิยอุบาสิกา ๑ นางปุณณทาสี ๑
    ในตอนนี้จึงขอนำเรื่องราวที่มีในพระสูตรมาให้ทราบประวัติแต่เพียงโดยย่อ เอาเฉพาะบางท่านเท่านั้น เพราะส่วนใหญ่หลวงพ่อเคยเล่าให้ฟังบ้างแล้ว จึงขอเริ่มท่านแรกเลย
    <center>นายสุมนมาลาการ </center> สมเด็จพระบรมศาสดาทรงปรารภนายสุมนมาลาการ ผู้เก็บดอกมะลิไปถวายพระเจ้าพิมพ์พิสารทุกวัน วันหนึ่งเขาได้พบพระศาสดาทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีรัศมี ๖ ประการ เสด็จเข้าสู่พระนครเพื่อบิณฑบาต พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เป็นวริวาร
    เขาจึงมีจิตยินดีเลื่อมใส ได้ตัดสินใจเอาดอกมะลิที่ตนจะต้องนำไปถวายพระราชา ด้วยคิดว่า เมื่อพระราชาไม่ทรงได้ดอกไม้ จะทรงฆ่าเราหรือขับไล่เสียจากแว่นแคว้น เราก็ยอมทุกอย่าง
    เมื่อคิดดังนี้แล้ว จึงได้ยอมสละชีวิตของตนเพื่อเป็นพุทธบูชา เขาได้ชัดดอกมะลิที่ละ ๒ กำ ขึ้นไปเบื้องบนแห่งพระตถาคต ปรากฎเป็นที่อัศจรรย์ ดอกมะลิทั้ง ๘ กำ ๘ ทะนาน ได้ลอยเป็นตาข่ายแวดล้อมพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ ด้าน
    พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบก็เลื่อมใส ได้พระราชทานสมบัติเป็นอันมากแก่นานสุมนมาลาการนั้น พระบรมศาสดาจึงตรัสพยากรณ์ด้วยเหตุนี้ว่า
    “อานนท์ เธออย่าได้กำหนดว่า การกระทำนี้มีประมาณเล็กน้อย การที่นายมาลาการได้สละชีวิตพระทำการบูชา ด้วยความเลื่อมใสในเราแล้ว จักดำรงอยู่ในเทวดาและมนุษย์ จักไม่ไปสู่ทุคติหลอดแสนกัปภายหลังเขาจักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า “สุมนะ”
    <center>
    พระนางมัลลิกาเทวี
    </center> ในกรุงสาวัตถีมีธิดาช่างดอกไม้ผู้ใหญ่คนหนึ่ง เป็นผู้มีรูปร่างสวยงามยิ่ง เป็นผู้มีบุญมาก มีอายุ ๑๖ ปี
    อยู่มาวันหนึ่ง ธิดาของช่างดอกไม้นั้นเอาขนมถั่วใส่กระเช้าดอกไม้ ออกไปที่สวนดอกไม้ ก็ได้พบองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดากับทั้งพระภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนครก็ดีใจ จึงเอาขนมเหล่านั้นใส่ลงในบาตของพระศาสดา ไหว้แล้วก็เกิดปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ แล้วยืนอยู่
    เมื่อสมเด็จพระบรมครูทอดพระเนตรดูแล้วทรงยิ้ม ก็ตรัสว่า
    “อานนท์ กุมาริกานี้จักได้เป็นอัครมเหสีของพระราชาโกศลในวันนี้ ด้วยผลที่ถวายขนมถั่ว” ดังนี้แล้วก็เสด็จไป
    ฝ่ายธิดาช่างดอกไม้นั้น ไปถึงสวนดอกไม้แล้ว ก็ร้องแพลงเก็บดอกไม้ไป ในวันนั้นเอง พระเจ้าปเสนทิโกศล ผู้ทรงสู้รบกับพระเจ้าอชาตศรัตรู เวลาพ่ายแพ้ก็เสด็จหนีขึ้นทรงม้าเสด็จมา ได้ทรงสดับเสียงร้องแพลงแห่งกุมาริกานั้น ก็มีพระทัยหฤทัยปฎิพัทธ์
    พระบาทท้าวเธอจึงเสด็จไปที่สวนดอกไม้ทรงทราบว่ากุมาริกานั้นยังไม่มีสามี จึงโปรดให้ขึ้นนั่งบนหลังม้า ห้อมล้อมด้วยพลนิกายเสด็จเเข้าสู่พระนคร แล้วโปรดให้ส่งกุมาริกานั้นกลับไปสู่เรือนตระกูล พอถึงเวลาเย็นก็โปรดให้รับมาด้วยสักการะใหญ่ อภิเษกบนกองแก้วแล้วตั้งให้เป็นพระอัครมเหสี
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] พระนางมัลลิกานั้น ได้เป็นที่โปรดปรานของพระราชา เป็นที่คุ้นเคยกระทั่งพระพุทธเจ้าเป็นต้น ปรากฎพระนามว่า “พระนางมัลลิกาเทวี” ดังนี้ [/FONT]
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center>พระนางโคปาลมาตาเทวี </center> ในครั้งพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่โน้น มีนิคมหนึ่งชื่อว่า “นาลินิคม” ที่นิคมนั้นมีธิดาเศรษฐีอยู่ ๒ คน คนหนึ่งเมื่อมารดาบิดาล่วงลับไปแล้วก็ยากจน จึงได้อาศัยอยู่กับพี่เลี้ยง แต่มีร่างกายสวยดี มีผมยาวกว่าสตรีอื่น
    อีกคนหนึ่งเป็นคนยังมั่งมีอยู่ แต่เป็นคนมีผมน้อย ได้เคยให้สาวใช้ไปขอชื่อผมของธิดาเศรษฐีนั้นเป็นราคาตั้งร้อยตั้งพันก็ไม่อาจซื้อได้
    ในวันนั้น ธิดาเศรษฐีผู้มีผมยาวได้เห็น พระมหากัจจายนะ เดินมาเที่ยวบิณฑบาตกับพระภิกษุ ๗ องค์ แต่ก็ไม่ได้อะไรในนิคมนั้น จึงให้พี่เลี้ยงไปนิมนต์พระเถระเหล่านั้น ให้ขึ้นมานั่งบนเรือน แล้วธิดาเศรษฐีก็เข้าห้องให้พี่เลี้ยงตัดผมของตน แล้วบอกว่า
    “พี่จงเอาผมเหล่านี้ไปให้แก่ธิดาเศรษฐี ซึ่งไม่มีผมชื่อโน้น เขาให้สิ่งใดมาก็จงนำสิ่งนั้นมา เราจะได้ถวายบิณฑบาตแก่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายด้วยสิ่งนั้น” แล้วก็ใช้ให้พี่เลี้ยงไป
    พี่เลี้ยงได้ไปทำอย่างนั้นแล้วได้เงิน ๘ กหาปณะ (๘ ตำลึง) มาให้แก่ธิดาเศรษฐีนั้นก็ให้ไปชื้ออาหารมา ๘ สำหรับ ๆ ละ ๑ ตำลึง แล้วถวายแก่พระเถระทั้งหลาย ส่วนตนเองหลบลี้อยู่ในห้อง
    พระมหากัจจายนะรู้เหตุการณ์นั้นแล้วจึงเรียกให้ออกมา ธิดาเศรษฐีนั้นก็ได้ออกมาด้วยความเคารพพระเถระเจ้า ไหว้พระเถระทั้งหลายแล้วก็เกิดศรัทธาแรงกล้า
    ธรรมดาทานที่บุคคลถวายในเนื้อนาที่ดีย่อมให้ผลในปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ผมของธิดาเศรษฐีนั้น จึงกลับเป็นปกติขึ้นพร้อมกับเวลาไหว้พระเถระเจ้า
    พระเถระรับบิณฑบาตแล้ว ก็พากันเลื่อนลอยขึ้นสู่เวหาต่อหน้าธิดาเศรษฐีนั้นแล้วไปลงที่กาญจนอุทยาน จึงได้ฉันในที่นั้น นายอุทยานได้เห็นพระเถระนั้น จึงไปกราบทูลพระราชา
    พระราชาจัณฑปัชโชต ได้เสด็จไปหาที่พระราชอุทยานพอดีพระเถระฉันเสร็จแล้ว พระบาทท้าวเธอก็กราบไหว้แล้วตรัสถามว่า วันนี้ท่านทั้งหลายได้อาหารที่ไหน พอได้ทรงสดับเรื่องดังกล่าวนี้แล้ว จึงเสด็จกลับพระราชนิเวศน์แล้วโปรดให้ไปรับธิดาเศรษฐีนั้น มาตั้งให้เป็นอัครมเหสีในวันนั้น
    ต่อมาภายหลังเมื่อพระอัครมเหสีนั้นได้พระราชโอรสแล้ว จึงทรงตั่งชื่อว่า “โคบาลกุมาร” เหมือนกับชื่อมหาเศรษฐีผู้เป็นตา จึงปรากฎพระนามว่า “พระนางโคบาลมาตาเทวี” ตามชื่อแห่งพระราชโอรส
    พระนางมีความเลื่อมใสต่อพระเถระยิ่งนัก จึงโปรดสร้างวัดถวายพระเถระไว้ในกาญจนอุทยานนั้น ดังนี้
    <center>
    นางสุปียอุบาสิกา
    </center> ในกาลที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในป่าอิสิปตนมิคทายวัน ครั้งนั้นมี สุปิยอุบาสกและสุปิยอุบาสิกา ได้เป็นอุปัฎฐากพระภิกษุทั้งหลาย ด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
    วันหนึ่งได้ทราบว่า มีภิกษุองค์หนึ่งฉันยาประจุรุถ่าย ปรารถนาจะฉันแกงเนื้อสักหน่อย สุปิยอุบาสิกา ก็รับว่าจะหามาถวาย จึงกลับไปยังเรือนใช้ไห้คนไปซื้อเนื้อ อันเขาขายอยู่ในในตลาดนั้น ปรากฎว่าหาซื้อเนื้อที่ตายแล้วมิได้เลย
    สุปิยอุบาสิกาจึงคิดว่า พระภิกษุที่อาพาธนั้น มิได้ฉันแกงเนื้อแล้วอาจจะอาพาธหนัก หรืออาจจะถึงตายได้เป็นมั่นคง และได้ตัวเราได้รับปากไว้แล้ว จึงได้ตัดสินใจเอามีดเชือดเนื้อที่ขาของตน แล้วส่งให้ทาสีว่า
    “เจ้าจงต้มแกงเนื้อนี้แล้ว จงนำไปถวายแก่พระภิกษุไข้ชื่อนั้น ๆ ถ้าผู้ใดถามว่าฉันไปไหนจงบอกว่าฉันเป็นไข้อยู่”
    สิปิยอุบาสิกาสั่งดังนั้นแล้ว จึงเอาผ้าห่มพันขาเข้าไว้ แล้วเข้าห้องขึ้นนอนอยู่บนเตียงนั้น ลำดับนั้น สิปิยอุบาสกไปยังเรือนสุปิยอุบาสิกาแล้วถามว่า
    “นางสุปิยาไปไหน?”
    ทาสีจึงบอกว่า “นางนอนอยู่ในห้อง”
    สุปิยอุบาสกจึงเข้าไปถาม เมื่อได้ทราบความดังนั้นแล้ว จึงสรรเสริญว่า
    “อัศจรรย์จริง ๆ แล้วหนอ...สุปียานี้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจริง ๆ แม้กระทั้งเนื้อหนังในกายตัวยังบริจากได้ จะว่าไปใยถึงสิ่งของภายนอกกายเหล่านั้นเล่า ซึ่งว่าจะมิได้ให้นั้นจะมิได้มีเลย”
    แล้วจึงไปอาราธนาพระพุทธองค์ พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์ทั้งปวง เพื่อจะให้เป็นบุญปีติปราโมทย์ในวันรุ่งเช้า ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเรือนนั้นแล้ว จึงตรัสถามสุปิยอุบาสกว่า
    “สุปิยอุบาสิกาไปไหนจึงไม่เห็น?”
    สุปิยอุบาสกจึงกราบทูลว่า
    “นางป่วยไข้อยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
    จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า
    “ท่านจงช่วยพยุงมาที่นี่เถิด”
    อุบาสกรับพระพุทธฎีกาแล้ว จึงไปพยุงนางออกมาสู่สำนักพระพุทธเจ้า แต่พอนางสุปิยอุบาสิกาได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นแผลอันใหญ่นั้นก็งอกเนื้อหนังเป็นปกฎิขึ้นดังเก่า คนทั้งสองจึงถวายภัตตาหารอันประณิตแก่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธองค์ทรงเป็นประธาน ดังนี้
    (ผลบุญที่บุคคลเหล่านี้กระทำแล้ว ด้วยการบูชายิ่งกว่าชีวิตของตน ได้ให้ผลทันทีในปัจจุบันนี้ เรื่องเหล่านี้ได้เกิดขึ้นแล้ว ในสมัยพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่
    ต่อไปจะเป็นเรื่องที่อัศจรรย์ยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสมัยที่ยังว่างจากพระศาสนา เป็นกาลที่พระพุทธเจ้ายังมิได้ทรงอุบัติ แต่บุคคลเหล่านั้นได้ขึ้นไปบนสวรรค์ทั้งเป็น มี ๔ ท่าน ดังนี้
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] โคตติลคันธพพราชา ๑ สมธินราชา ๑ เนมิราช ๑ มันธาตุราชา ๑ (บุคคลทั้ง ๔ ท่านนี้ ได้ขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ด้วยกายที่เป็นมนุษย์ ความจริงผู้มีชื่อทั้ง ๔ นี้ มิใชอื่นไกล เป็นสมเด็จพระจอมไตรองค์ปัจจุบันนี้เอง ได้เกิดขึ้นในสมัยที่เสวยพระชาติเป็นพระโพธสัตว์” นั้นเอง) [/FONT]
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center>โคตติลคันธัพพราชา </center> ในคราวที่ พระมหาโมคคัลลาน์ ได้ขึ้นไปที่ดาวดึงส์สวรรค์ ได้พบนางเทพธิดา ๓๖ องค์ ในวิมาน ๓๖ หลัง ซึ่งตั้งอยู่เป็นลำดับไป เมื่อได้กลับมาแล้วจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระพุทธองค์ให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าจึงตรัสเล่าว่าเรื่องอดีตของพระองค์ให้ฟังว่า
    ในอดีตกาล เมื่อครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เกิดในตระกูล “คันธัพพะ” คือ พระกูลดีดสีตีเป่า เป็นผู้มีศีลปะปรากฎทั่วไป เป็นอาจารย์ชื่อว่า “โตติลบัณฑิต”
    มีนักดีดสีตีเป่า ชื่อว่า “มุสิละ”อยู่เมืองอุชเชนี ได้มาขอเรียนด้วย เมื่อเรียนจบแล้วจึงขออาจารย์ไปแสดงศีลปะถวายพระราชาพระราชาโปรดให้อยู่ด้วย แล้วจะให้รางวัล ครึ่งหนึ่งของเบี้ยเลี้ยงที่ให้แก่อาจารย์
    นายมุสิละทูลขอให้เท่ากับอาจารย์ แต่พระราชาตรัสว่า ธรรมดาอาจารย์ย่อมใหญ่กว่าศิษย์ เราจักให้เจ้ากึ่งหนึ่ง นายมุสิละจึงกราบทูลขอทอดพระเนตรศีลปะของตนกับอาจารย์
    ฝ่ายพระโพธิ์สัตว์ได้รู้ข่าวเช่นนั้น คิดว่าอาจจะพ่ายแพ้เพราะความแก่เฒ่าชราของตน จึงคิดฆ่าตัวตาย พอเดินเข้าไปในป่าจะผูกคอตาย แต่พอนึกกลัวตายก็กลับมาอีก เดินกลับไปกลับมาอย่างนี้จนหญ้าเตียนไป
    พระอินทร์จึงลงมาปรากฎในอากาศทรงทราบเหตุดังนั้นแล้ว จึงแนะนำวิธีดีดพิณแก่พระโพธิสัตว์ พร้อมกับให้บ่วง ๓ บ่วงตรัสว่าเมื่อเสียงพิณดังแลัว ท่านจงโยนบ่วงๆ หนึ่งขึ้นไปในอากาศ จักมีนางฟ้าลงมาฟ้อนอยู่ข้างหน้าของท่าน
    เมื่อถึงวันประลองปรากฎว่า นายมุสิละก้ต้องพ่ายแพ้แก่อาจารย์ มหาชนได้พากันลุกฮือเข้าทำร้ายจนถึงแก่ความตาย พระราชาทรงโปรดให้พระราชทานทรัพย์เป็นอันมากแก่พระโพธิ์สัตว์ ฝ่ายชาวเมืองก็กระทำตามอย่างพระราชา
    สมเด็จอมรินทราได้ตรัสเล่าเรื่องนี้แก่เหล่าเทพธิดา พวกเทพธิดาจึงกราบทูลว่า หม่อมฉันอยากเห็นอาจารย์ ขอได้โปรดให้ไปนำมาในที่นี้ ท้าวโกสีย์จึงตร้สสั่งตรัสสั่งให้มาตลีเทพสารถี นำเวชยันตรถไปเชิญมา
    เมื่อพระโพธิ์สัตว์ขึ้นมาถึงแล้ว จึงได้แสดงศีลปะในการดีดพิณให้ฟัง เมื่อจบแล้ว จึงขอให้เทพธิดาทั้งหลายเล่าถึงบุญกุศลที่เป็นความดีให้ฟัง นางเทพกัญญาเหล่านั้นได้เล่าให้ฟังว่า ตนเองเคยเกิดในสมัยพระพุทธกัสสป ล้วนแต่ได้ถวายทานต่าง ๆ กันทั้งนั้น
    ครั้นล่วงไป ๗ วัน ท้าวสักกเทวราช จึงรับสั่งให้ท่านมาตลี อัญเชิญพระโพธิ์สัตว์กลับลงไปสู่กรุงพาราณสี เวลากลับมาแล้วก็ได้เล่าเหตุการณ์ ตามที่ตนได้ไปเห็นในสวรรค์ให้คนทั้งหลายฟัง
    จำเดิมแต่นั้นมา คนทั้งหลายก็มีความอุตสาหะในการทำบุญกุศล ส่วนพระโพธิ์สัตว์ก็มั่นอยู่ในการให้ทาน รักษาศีล แล้วได้ขึ้นไปเกิดในสวรรค์
    เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงเรื่องนี้ให้พระโมคคัลลาน์ฟัง จึงทรงประชุมชาดกว่า นายมุสิละ ในคราวนั้นได้มาเกิดเป็น พระเทวทัต ในคราวนี้ ทัาวโกสีย์ ได้มาเกิดเป็น พระอนุรุทธ พระราชา ได้มาเกิดเป็น อานนท์
    โคตติลบัณฑิต ได้มาเกิดเป็น เราตถาคต ในบัดนี้
    <center>
    สาธินราชา
    </center> ในอาดีตกาลพระโพธิ์สัตว์เป็นพระราชาทรงพระนามว่า “สาธินะ” ในเมืองมิถิลา รับสั่งให้สร้างโรงทานไว้ ๖ แห่ง แล้วทรงบริจากทรัพย์ ๖ แสนทุกวัน ทรงรักษาศีล ๕ บ้าง ทรงรักษาอุโบสถศีลบ้าง
    แม้พวกชาวเมืองก็ตั้งอยู่ในโอวาทของพระองค์ ทำบุญให้ทานเป็นต้น ตายไปก็ไปเกิดในสวรรค์ทั้งนั้น ได้ไปนั่งที่เทวสภานั้นแล้วต่างก็พรรณาคุณแห่งศีลและอาจาระ คือความประพฤติของพระราชาอยู่ทีเดียว ฝ่ายเทพยดาที่เหลือฟังคุณกถานั้นแล้ว มีความประสงค์จะเห็นพระราชา
    ท้าวสักกะทรงทราบความใจของทวยเทพเหล่านั้น จึงทรงบัญชามาตลีเทพบุตรว่า ท่านจงไปนำพระเจ้าสาธินะมาด้วยเวชยันตรถ มาตลีเทพบุตรจึงลงไปสู่เมืองมิถิลานำพระองค์มา ทวยเทพพร้อมด้วยพระอินทร์เห็นพระองค์แล้วต่างร่าเริงยินดี ทำการต้อนรับแล้ว
    ที่นั้นท้าวสักกะได้แบ่งเทพนคร นางอัปสรโกฎิครึ่ง และเวชยันตปราสาทครึ้งหนึ่งให้แก่พระเจ้าสิธินะ พระบาทท้าวเธอเสวยทิพยสมบัติอยู่ ๗๐๐ ปีล่วงไปแล้ว โดยการนับอย่างมนุษย์ ต่อมาบุญอันเป็นเหตุอยู่ในเทวโลก โดยอัตภาพนั้นสิ้นแล้ว ความไม่ยินดีก็เกิดขึ้น
    องค์อมรินทร์ทรงทราบเหตุนั้น จึงทรงบัญชาให้มาตลีเทพบุตรนำลงไปลงที่อุทยาน นายอุทยานเห็นดังนั้นแล้ว ได้กราบทูลแก่ พระเจ้านารทะ ผู้เป็นพระปนัดดาองค์ที่ ๗ ของพระองค์ (ทราบว่าเวลานั้นคนมีอายุขัย ๗๐๐ ปี)
    ฝ่ายพระเจ้านารทะเชิญให้เสวยราชสมบัติแล้ว พระเจ้าสาธินะตรัสว่า เราไม่มีความต้องการด้วยราชสมบัติ เพราะว่าเรามาในที่นี้เพื่อต้องการทำบุญ เรามีความประสงค์ที่จะให้ทานซึ่งหยุดเสียตั้ง ๗๐๐ ปี เพียง ๗ วันเท่านั้น
    พระเจ้านารทะจึงทรงจัดแจงมหาทานพระโพธิ์สัตว์ทรงให้ทานตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ สวรรคตแล้ว บังเกิดในภพดาวดึงส์นั้นเอง ดังนี้
    <center>
    มันธาตุราชา
    </center> เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่พระเชตวนาราม ทรงปรารภภิกษุผู้มีความฝักใฝ่ใคร่จะสึกรูปหนึ่งให้เป็นต้นเหตุ แล้วจึงทรงแสดงชาดกนี้แก่ภิกษุทั้งหลายว่า
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันความปรารถนา ในกามารมณ์ยากที่จะให้เพียงพอได้ เรื่องนี้นักปราชญ์ในปางก่อน ผู้มีอำนาจแผ่ไปในมนุษย์และสวรรค์ ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่อาจให้เพียงพอกับความปรารถนาในกามารมณ์ได้”
    ในต้นภัทรกัปนี้ที พระเจ้ามหาสมมุติราช พระองค์หนึ่ง ได้เสวยราชสมบัติเป็นพระบรมกษัตย์องค์แรกในโลก พระองค์มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า พระเจ้าโรชราช แล้วมีพระราชโอรสสืบราชสมบัติติดต่อกันดังนี้ คือ
    พระเจ้าวรโรชราช พระเจ้ากัลยาณบดี พระเจ้าอุโบสถราช พระเจ้าวรอุโบสถ และพระเจ้าวรอุโบสถนี้มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า พระเจ้ามันธาตุราช
    พระเจ้ามันธาตุราชนั้น ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชบริบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีฤทธาภินิหารแผ่ไปในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒ พันเป็นบริวาร แต่ถึงอย่างนั้นพระองค์ก็ยังไม่พอพระราชประสงค์
    วันหนึ่งพระองค์จึงทรงตบพระหัตถ์เบื้องซ้ายและเบื้องขวา เพื่อให้ห่าฝนแก้ว ๗ ประการ ตกลงมาจากอากาศดารดาษไปทั่วพื้นปฐพี จึงตรัสถามหมู่อำมาตย์ว่า
    ในที่ใดจะมีความสำราญยิ่งไปกว่านี้ ?”
    “สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชพระพุทธเจ้าข้า”
    พระองค์จึงเสด็จขึ้นทรงจักรแก้ว พร้อมด้วยหมู่อำมาตย์ ตามเสด็จขึ้นไปสู่ชั้นจาตุมหาราช เมื่อมหาราชทั้ง ๔ ได้ทราบ จึงพาหมู่เทพนิกรออกไปต้อนรับอย่างมโหฬารเชิญให้ผ่านสมบัติชั้นจาตุมหาราชอยู่ตลอดกาลนาน ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่พอพระราชประสงค์อีก จึงตรัสถามท้าวมหาราชทั้ง ๔ ว่า
    “ที่มีความสำราญยิ่งกว่านี้ ยังมีอีกหรือไม่ ?”
    ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จึงกราบทูลว่า
    “ยังมีอีก คือ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์”
    พระองค์จึงทรงจักรแก้วพร้อมด้วยราชบริพาร บ่ายพระพักตร์สู่ดาวดึงส์เทวสถาน ท้าวมัฆวานเทวราชผู้เป็นใหญ่ จึงพาเทพบุตรเทพธิดาทั้งหลาย เสด็จออกไปต้อนรับแห่แหนเข้าสู่ดาวดึงส์
    ส่วนขุนพลแก้วก็พาจักรแก้วกับบริวารกลับสู่มนุษย์โลก แล้วท้าวมัฆวานเทวราชจึงแบ่งทิพย์สมบัติในดาวดึงส์ ถวายพระเจ้ามันธาตุราชกึ่งหนึ่ง
    จำเดิมแต่นั้นมาพระราชาทั้งสองพระองค์ คือ พระเจ้ามันธาตุราชกับท้าวมัฆวานเทวราชได้เสวยทิพย์สมบัติอยู่ในดาวดึงสืบต่อไปกำหนดนับได้ ๓ โกฎิ ๖ หมื่นปีในมนุษย์ ท้าวมัฆวานองค์ใหม่อุบติขึ้นแทนโดยอุบายนี่ล่วงไปได้ ๓๖ ชั่วพระอินทร์ ซึ่งเรียกท้าวมัฆวานเทวราช
    ครั้นถึงพระอินทร์องค์ที่ ๓๗ พระเจ้ามันธาตุราชจึงทรงดำริว่า ต้องการอะไรที่เราจะเสวยทิพย์สมบัติให้เป็นสุขแต่เราผู้เดียว
    ครั้นทรงพระดำริอย่างนี้แล้วก็ไม่สามารถจะปลงพระชนม์ท้าวมัฆวานเทวราชนั้นได้ จึงทรงเป็นทุกข์ในพระราชหฤทัย ทั้งชราภาพก็เบียดเบียนพระวรกาย จึงพลัดตกลงมาจากเทวโลกสู่พระราชอุทยานของพระองค์ ด้วยเหตุว่าธรรมดามนุษย์ย่อมไม่แตกกายทำลายขันธ์ในเทวโลก
    แต่เมื่อถึงพระราชอุทยานแล้ว ก็หาเป็นอันตรายไม่ นายอุทยานจึงนำความไปกราบทูลแก่ราชตระกูล ราชตระกูลก็พากันออกมาจัดที่บรรทมถวายในพระราชอุทยาน ในขณะนั้น อำมาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลว่า
    “บัดนี้จักให้ข้าพระบาททั้งหลายทำอย่างไร ?”
    พระบาทท้าวเธอตรัสตอบว่า
    “ท่านทั้งหลาย จงประกาศให้มหาชนรู้ทั่วกันว่า เราได้เสวยสมบัติจักรพรรดิราชและทิพย์สมบัติ ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชและชั้นดาวดึงส์ อยู่ตลอดกาลนาน ก็ยังไม่เพียงพอแก่ความปรารถนาในกามารมณ์ จึงพลัดตกลงมาจากเทวสถาน มาอยู่ในพระราชอุทยานนี้ บัดนี้ได้เสด็จสวรรคตแล้ว"”
    ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จไปตามยถากรรมของพระองค์ กำหนดนับพระชนมายุของพระองค์ได้ ๑ อสงไขย
    ครั้นสมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงนำมาซึ่งอดีตเทศนาอย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า
    “ยาวตา จันทิมสริยา ปริหรันติ ฯลฯ สัมมาสัมพุทธสาวโก...แปลว่า
    พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งหลาย ย่อมหมุ่นเวียนรอบเขาสิเนรุราช เปล่งรัศมีโอภาสไปในทิศทั้งหลาย มีประมาณเท่าใด คนและสัตว์ทั้งสิ้นที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินมีประมาณเท่านั้นล้วนแต่เป็นทาสของ พระเจ้ามันธาตุราชสิ้น
    แต่ถึงอย่างนั้น พระเจ้ามันธาตุราชก็ยังไม่พอพระราชประสงค์ ด้วยห่าฝนแก้ว ๗ ประการที่ทรงบันดาลให้ตกลงมาเพื่อสงเคราะห์ทาสทั้งหลายของพระองค์
    บัณฑิตรู้แล้วว่า กามารมณ์ทั้งหลายเป็นของมีสุขน้อย มีทุกข์มาก จึงไม่ยินดีกามารมณ์อันเป็นทิพย์ สาวกแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมยินดีแต่พระธรรมเครื่องสิ้นตัณหาเท่านั้น”
    ครั้นสมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาโปรดประทานพระธรรมเทศนาอย่างนี้แล้ว จึงทรงแสดงอริยสัจสืบต่อไป ภิกษุผู้มีความกระสันอยากสึกนั้น ก็ได้สำเร็จพระโสดาปัตติผล ส่วนภิกษุทั้งหลายที่มาด้วยกัน ก็ได้บรรลุมรรคผลตามวาสนาบารมีของตน ๆ
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] แล้วสมเด็จพระทศพลจึงทรงประชุมชาดกว่า พระเจ้ามันธาตุราชบรมจักรพรรดิ ในครั้งนั้น คือ เราตถาคตในบัดนี้แล” [/FONT]
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๖ </center> <center> ถามเรื่องการตั้งครรภ์ </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า การตั้งครรค์ย่อมมีด้วยประชุม ๓ คือ มารดาบิดาร่วมกัน ๑ มารดา มีระดู ๑ มีสัตว์มาเกิด ๑ ดังนี้ ถ้าไม่พร้อมด้วยองค์ ๓ ย่อมเกิดไม่ได้
    [/FONT] ข้อนี้ทำให้โยมสงสัยไม่ได้ เพราะเพียง น้ำเงินฟ้า ทุกุลดาบส ถูกต้องสดือของนางน้ำเงินฟ้า ปาริกาตาปสินี ในเเวลามีระดูด้วยปลายนิ้วมือข้างขวา เพียงหนเดียวเท่านั้น ก็เกิด สุวรรณสามกุมาร ขึ้นได้
    มาตังคฤาษี ถูกต้องท้องของนางพราหมณี ด้วยปลายเล็บข้างขวาในเวลามีระดู เพียงหนเดียวเท่านนั้น ก็เกิด มัณฑพยมาณพ ขึ้นได้
    อิสิสิงคฤาษี เกิดขึ้นด้วยนางมฤคี (เนื้อ) ดื่มกินน้ำปัสสาวะของ ฤาษี สังกิจจฤาษี เกิดขึ้นด้วยกิริยาอย่างเดียวกัน พระกุมารกัสสป เกิดขึ้นด้วยการกลืนกินซึ่งสัมภวะ (น้ำอสุจิ) ของบุรุษ
    ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าการตั้งครรภ์มีขึ้นด้วยการประชุม ๓ จริงแล้ว คำที่ว่าบุคคลเหล่านั้น เกิดด้วยอาการอย่างนั้นก็ผิดไป
    ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฎิ ลึกละเอียดมาก ขอพระผู้เป็นเจ้าจงตัดความสงสัยของโยมด้วยเถิด”

    <center>
    ผู้ที่เกิดขึ้นด้วยการประชุม ๒
    </center> พระนาคเสนถวายพระพรว่า
    “มหาบพิตรได้ทรงสดับมาวา สุวรรณสาม ; อิสิสิงคดาบส พระกุมารกัสสป เกิดขึ้นด้วยเหตุอย่างนี้ ๆ หรือ ?”
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า
    “ถูกแล้วพระผู้เป็นเจ้า โยมได้สดับมาว่ามีแม่เนื้อ ๒ ตัว ไปสู่ที่ถ่ายปัสสาวะของดาบท ๒ องค์ในเวลามีระดู ได้ดื่มกินน้ำปัสสาวะอันเจือด้วยสัมภวะของฤาษี จึงเกิด อิสิสงคฤาษี และ สังกิจจฤาษี
    เมื่อ พระอุทายี ไปในที่พักของภิกษุณีนั้น ก็นึกรักรักนางภิกษุณี จึงได้เพ่งดูนางภิกษุณีนั้น เมื่อเพ่งดูสัมภวะก็ไหลออกมา เวลานั้นนางภิกษุณีกำลังมีระดู จึงอ้าปากรับสัมภวะนั้น แล้วตั้งครรภ์ อยู่มาก็เกิดเป็น พระกุมารกัสสป”
    พระนาคเสนจึงถามต่อไปว่า
    “คำที่ว่ามานี้ มหาบพิตรทรงเชื่อหรือ ?”
    “โยมเชื่อ พระผูเป็นเจ้า”
    “เชื่ออย่างไร ?”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พืชที่หว่านลงไป ในดินที่ทำไว้ดีแล้ว ย่อมงอกขึ้นได้ไวฉันใดการตั้งครรภ์ของนางภิกษุณีนั้นก็ฉันนั้น”
    “เป็นอันมหาบพิตรทรงรับว่า การตั้งครรภ์ของ พระกุมารกัสสป มีอย่างนั้นจริงหรือ ?”
    “โยมเชื่อว่ามีอย่างนั้นจริง”
    “ขอถวายพระพร ดีแล้ว ถ้าอย่างนั้นก็เป็นอันว่า มหาบพิตรทรงเชื่อแล้วว่า แม่เนื้อนั้นดื่มน้ำปัสสาวะแล้วก็ตั้งครรภ์”
    “เชื่อแล้ว พระผู้เป็นเจ้า ไม่ว่าสิ่งใด ๆ ที่บุคคลดื่มแล้ว กินแล้ว เคี้ยวแล้ว ลิ้มเลียแล้ว ตกลงไปในดินที่ดี ก็ย่อมงอกขึ้นได้ การตั้งครรภ์ด้วยการดื่มกินน้ำปัสสาวะ ก็มีขึ้นได้ฉันนั้น”
    “เป็นอันว่า มหาบพิตรทรงแน่พระทัยแล้วหรือว่า อิสิสิงคดาบส พระกุมารกัสสป เกิดขึ้นด้วยการประชุม ๒”
    “แน่ใจแล้ว พระผู้เป็นเจ้า”

    <center>
    ผู้ที่เกิดขึ้นด้วยการประชุม ๓
    </center> “ขอถวายพระพร สุวรรณสามก็ดี มัณฑพยมาณพก็ดี ได้เกิดขึ้นด้วยการประชุมทั้ง ๓ นั้น คือ ทุกดาบส และ นางปาริกาตาปสินี ทั้งสองนี้ได้ยินดีต่อวิเวกอยู่ในป่า มุ่งแสวงหาทางไปเกิดในพรหมโลกไม่นึกเกี่ยวข้องกับทางโลกเลย
    แต่คราวนั้น พระอินทร์ ทรงเล็งเห็นว่าต่อไปข้างหน้าคนทั้งสองนั้นจักเสียจักษุจึงได้กล่าวขึ้นว่า
    “ขอท่านทั้งสองจงกระทำตามถ้อยคำของข้าพเจ้าสักอย่างเถิด คือขอให้ท่านทั้งสองจงทำบุตรสักคนหนึ่ง บุตรจักได้ปรนนิบัติท่านทั้งสอง”
    “ดาบสและดาบสิณีทั้งสองนั้นก็ตอบว่า “อย่าเลยมหาบพิตร อย่าตรัสอย่างนี้เลย”
    พระอินทร์ ก็ได้อ้อนวอนขึ้นอีกเป็นครั้งที่ ๒ และที่ ๓ ดาบสดาบสินีทั้งสองจึงกล่าวขึ้นว่า
    “ถึงแผ่นดินนี้จะถล่มลงไป ท้องฟ้าจักตกลงมา พระเขาจักโค่น ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ในโลกจักตกลงมาก็ตาม เราทั้งสองก็จักไม่ยินดีในโลกธรรม ขอมหาบพิตรอย่ามาหาเราทั้งสองอีก เพราะความคุ้นเคยของมหาบพิตรจะทำให้เราทั้งสองเสีย”
    เมื่อพระอินทร์ทรงขออย่างนั้นไม่ได้ จึงได้ตรัสขึ้นว่า
    “เมื่อใดดาบสินีมีระดู เมื่อนั้นขอให้ท่านดาบสเอาปลายนิ้วก้อยข้างขวา แตะต้องสดือของนางดาบสินี ก็จะเกิดตั้งครรภ์ขึ้น ท่านดาบสจะทำเพียงเท่านี้ได้หรือไม่?”
    ท่านดาบสตอบว่า
    “เพียงเท่านี้พอทำได้ เพราะจะไม่ทำให้เสียศีลเสียธรรมของเรา”
    เมื่อดาบสรับอย่างนี้แล้ว พระอินทร์จึงกลับขึ้นสู่สวรรค์ ได้เสด็จอ้อนวอนเทพบุตรองค์หนึ่งซึ่งจวนจะจุติ ให้ลงมาถือกำเนิดในครรภ์ของนางดาบสินี เทพบุตรนั้นก็ไม่ยอมรับ ต่อเมื่อพระอินทร์ทรงอ้อนวอนถึง๓ ครั้ง จึงยอมรับ
    พออยู่มาไม่ช้านางดาบสินีก็มีระดูดาบสจึงแตะต้องสะเดือด้วยปลายนิ้วก้อยข้างขวาตามคำสั่งของพระอินทร์ ก็พอดีเทพบุตรนั้นจุติลงมาถือกำเนิด
    เป็นอันว่า เทพบุตรนั้นเกิดขึ้นด้วยการประชุม ๓ คือนางดาบสินีเกิดราคะตัณหาในเวลาที่ดาบสเอาปลายนิ้วก้อยแตะต้องสะดือ ๑ มีระดู ๑ วิญญาณของเทพบุตรมาถือกำเนิด ๑

    <center>
    เหตุตั้งครรภ์
    อีก ๔ ประการ
    </center> อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายย่อมตั้งครรภ์ด้วยเหตุ ๔ คือ ด้วยกรรม ๑ กำเนิด ๑ ถระกูล ๑ การอ้อนวอน ๑
    ที่เกิดด้วยกรรมนั้น คืออย่างไร...คือพวกที่ได้สะสมกุศลมูลมาแล้ว ย่อมได้เกิดในตระกูลกษัตย์มหาศาล หรือเกิดเป็นเทพเจ้าหรือเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ตามประสงค์เปรียบเหมือนผู้มั่งมี จะชื้อสิ่งใดก็ชื้อได้ตามประสงค์ฉะนั้น
    ที่เกิดด้วยกำเนิดนั้น คืออย่างไร...คือ พวกไก่ป่าย่อมตั้งท้องด้วยการได้ยินเสียงฟ้าร้อง ส่วนเทพยดาทั้งหลายนั้นไม้ได้เกิดในครรภ์
    เป็นอันว่าการต้งครรภ์ของสัตว์ทั้งหลายย่อมมีต่าง ๆ กัน เหมือนกิริยาของมนุษย์ทั้งหลาย ที่ต่าง ๆ กันด้วยการนุ่งห่มการแต่งตัวเป็นต้นฉะนั้น
    ที่เกิดด้วยอะนาจตระกูลนั้น คืออย่างไร คือตระกูลที่มีอยู่ ๔ อันได้แก่ ตระกูลเกิดในฟองไข่ ๑ ตระกูลเกิดในท้อง ๑ ตระกูลเกิดในเหงื่อไคล ๑ ตระกูลเกิดเอง ๑ สัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดในตระกูลทั้ง ๔ นี้
    ที่เกิดด้วยอำนาจการขอนั้น คือตระกูลที่ไม่มีบุตร แต่มีทรัพย์สมบะติมาก มีศรัทธา มาศีลธรรมอันดี แล้วอ้อนวอนขอให้มีบุตร ก็มี พระอินทร์ ช่วยอ้อนวอนเทพบุตรองค์ใดองค์หนึ่ง ให้ลงมาเกิดในตระกูลนั้น
    ขอถวายพระพร สุวรรณสาม ได้ลงมาเกิดในครรภ์ของนางปาริกาตาปสินี ตามคำอ้อนวอนของพระอินทร์ สุวรรณสามนั้นเป็นผู้ทำบุญไว้แล้ว ส่วนมารดาบิดาก็เป็นผู้มีศีลธรรมอันดี พอเหมาะกัน เปรียบเหมือนกับพืชที่หว่านลงในดินที่ดี ก็งอกงามขึ้นได้ฉันนั้น”

    <center>
    สุวรรณสาม
    เกิดด้วยเนรมิต ๓
    </center> “มหาบพิตรได้เคยทรงสดับว่า มีบ้านเมืองพินาศไปด้วยความข่มใจแห่งฤาษีทั้งหลายบ้างหรือ ?”
    “เคยได้ยิน พระผู้เป็นเจ้า คือบ้านเมืองของ พระราชาทัณฑกะ พระราชาเมชณะ พระราชากาลิงคะ พระราชามาตังคะ ได้ถึงความพินาศไปด้วยความขุ่นแค้นของฤาษีทั้งหลาย”
    “ขอถวายพระพร พวกที่ได้ความสุขเพราะใจผ่องใสของฤาษีทั้งหลายมีอยู่หรือ ?”
    “มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นขอจงทรงจำไว้เถิดว่า สุวรรณสามเกิดด้วยใจผ่องใสของสิ่งทั้ง ๓ ที่มีกำลังแรงกล้า คือ ฤาษีเนรมิต ๑ เทวดาเนรมิต ๑ บุญเนรมิต ๑
    อีกประการหนึ่ง เทพบุตรทั้ง ๔ องค์ได้ลงมาเกิดด้วยพระอินทร์ทรงอ้อนวอน เทพบุตรทั้ง ๔ องค์นั้น คือ สวรรณสาม ๑ พระเจ้ากุสราช ๑ พระเจ้ามหาปนาท ๑ พระเวสสันดร ๑ ขอถวายพระพร”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ข้าแต่พระนาคเสน ปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์นี้ พระผู้เป็นเจ้าได้แก้ไขถูกต้องดีแล้ว โยมรับว่าเป็นจริงทุกประการ” [/FONT]
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ตอนที่ ๑๗ </center> <center> ปัญหาที่ ๗ </center> <center> เรื่องอายุ
    พระพุทธศาสนา ๕,๐๐๐ ปี
    </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    สมเด็จพระบรมกษัตริย์ตรัสถามว่า “ข้าแต่พระนาคเสน ด้วยสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ว่า
    [/FONT] “ดูก่อนอานนท์ บัดนี้พระสัทธรรมจักตั้งอยู้เพียง ๕,๐๐๐ ปี เท่านั้น
    แต่ในเวลาจะปรินิพพาน สุภัททปริพาชก ทูลถาม ได้ตรัสอีกว่า
    “ดูก่อนสุภัททะ ถ้าภิกษุเหล่านี้ ยังปฎิบัติชอบอยู่โลกก็จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย” คำนี้เป็นคำไม่มีเศษ เป็นคำเด็ดขาด
    ถ้าสมเด็จพระบรมโลกนาถได้ตรัสไว้ว่า “โลกจักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย” ดังนี้ เป็นคำจริงแล้ว คำที่ว่า “บัดนี้พระสัทธรรมจักตั้งอยู่เพียง ๕,๐๐๐ ปีเท่านั้น” ก็ผิด
    ถ้าคำว่า “พระสัทธรรมจักตั้งอยู่เพียง ๕,๐๐๐ ปีเท่านั้น” เป็นคำถูก คำที่ว่า “โลกจักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลายนั้น” ก็เป็นคำผิด ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ โปรดแก้ไขให้โยมสิ้นสงสัยด้วยเถิด”
    พระนาคเสนถวายวิสัชนาว่า
    “ขอถวายพระพร ถูกทั้งสอง คือคำที่ สมเด็จพระชินวรตรัสไว้ว่า พระสัทธรรมจักตั้งอยู่เพียง ๕,๐๐๐ ปีเท่านั้น ก็เป็นคำที่ถูก ส่วนที่ตรัสไว้ว่า ถ้าภิกษุเหล่านั้นยังปฎิบัติชอบอยู่ โลกก็จักไม่ว่าจากพระอรหันต์ทั้งหลายนั้นก็ถูก
    คำทั้งสองนั้นมีอรรถพยัญชนะต่างกัน คำหนึ่งเป็น สาสนปริจเฉท คือ เป็นคำกำหนดพระศาสนา อีกคำหนึ่งเป็น ปฎิปัตติปริทีปนา คือ เป็นการแสดงซึ่งปฎิบัติ
    เป็นอันว่าคำทั้งสองไกลกันมาก ไกลกันเหมือนแผ่นดินกับแผ่นฟ้า เหมือนกับนรกกับสวรรค์ เหมือนกับกุศลกับอกุศล และเหมือนทุกข์กับสุขฉะนั้น แต่ว่าอย่าให้พระดำรัสถามของมหาบพิตรเป็นโมฆะเลย อาตมาภาพจักแสดงคำทั้งสองนั้น ให้เข้าเป็นอันเดียวกันได้
    คือคำที่ตรัสว่า “พระสัทธรรมจักตั้งอยู่เพียง ๕,๐๐๐ ปีเท่านั้น” เป็นการกำหนดความหนดตั้งอยู่แห่งพระสัทธรรม
    คือถ้าภิกษุณีไม่บรรพชา พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ถึง ๕,๐๐๐ ปี เมื่อพระตถาคตเจ้าตรัสอย่างนี้ ชื่อว่าตรัสถึงความอันตรธานแห่งพระสัทธรรม หรือชื่อว่าปฎิเสธการบรรลุมรรคผลอย่างนั้นหรือ....มหาบพิตร ?”
    “ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร เมื่อสมเด็จพระชินวรจะทรงกำหนดสิ่งที่หมดไปแล้ว จะทรงกำหนดสิ่งที่ยังเหลืออยู่ ก็ได้ทรงกำหนดไว้อย่างนั้น เหมือนอย่างบุรุษกำหนดของที่เหลือขึ้นแสดงแก่ผู้อื่นว่า ของเราหมดไปแล้วเท่านั้น นี้เป็นส่วนที่ยังเหลืออยู่ฉันใด
    เมื่อสมเด็จพระจอมไตรจะทรงกำหนดพระศาสนาที่หมดไป ก็ได้ทรงแสดงส่วนที่ยังเหลืออยู่ในท่ามกลางเทพยดามนุษย์ทั้งหลายว่า บัดนี้พระสัทธรรมจักตั้งอยู่เพียง ๕,๐๐๐ ปีเท่านั้น คำว่า พระสัทธรรมจักตั้งอยู่เพียง ๕,๐๐๐ ปีเท่านั้น เป็น สาสนปริเฉท คือเป็นการกำหนดพระศาสนา
    ส่วนคำที่ตรัสไว้ในเวลาจะปรินิพพานว่า “ถ้าภิกษุเหล่านี้ยังปฎิบัติชอบอยู่ โลกก็จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย” ดังนี้นั้น เป็นปฎิปัตติปริทีปนา คือเป็นการแสดงซึ่งปฎิบัติ ขอมหาบพิตรจงทรงกระทำ ปริทีปนา กับ ปริจเฉท ให้เป็นอันเดียวกัน
    ถ้ามหาบพิตรพอพระทัย อาตมภาพจักแสดงถวายให้เป็นอันเดียวกัน ขอมหาบพิตรอย่ามีพระทัยวอกแวก จงตั้งพระทัยสดับให้จงดีเถิด”

    <center>
    อุปมาดังสระน้ำ
    </center> เมื่อพระนาคเสนถวายพระพรอย่างนี้แล้วจึงถวายพระพรต่อไปอีกว่า
    “เหมือนอย่างสระน้ำเต็มเปี่ยมด้วยน้ำใหม่ มีน้ำเต็มเสมอปากขอบสระ เมื่อมีเมฆใหญ่ทำให้ฝนตกลงมาที่สระนั้นเนือง ๆ น้ำในสระนั้นจะแห้งจะหมดไปหรือไม่?”
    “ไม่แห้งไม่หมด พระผู้เป็นเจ้า”
    “เพราะอะไร มหาบพิตร ?”
    “เพราะฝนยังตกลงมาอยู่เนือง ๆ น่ะซิ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละมหาบพิตร คือสระใหญ่อันได้แก่พระสัทธรรมที่เป็นพระศาสนาของสมเด็จพระชินสีห์ เต็มเปี่ยมด้วยน้ำใสสะอาด คือ อาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฎิบัติ สมเด็จพระทรงสวัสดิ์ได้ตรัสมรรคภาวนาไว้แล้ว
    ผู้ใดกระทำให้ฝนตกคือ อาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฎิบัติ ตกลงมาเนือง ๆ ผู้นั้นได้ชื่อว่าได้อบรมมรรคภาวนาไว้แล้ว เมื่อเป็นอย่างนั้นสระใหญ่ คือพระสัทธรรม อันเป็นพระศาสนาสุงสุดของสมเด็จพระบรมสุคต ก็จักตั้งอยู่ตลอดกาลนาน โลกก็จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย”
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายความอย่างนี้ จึงได้ตรัสไว้ว่าถ้าภิกษุเหล่านี้ยังปฎิบัติชอบอยู่ โลกก็จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย”

    <center>
    อุปมาเหมือนกองไฟใหญ่
    </center> “ขอถวายพระพร เมื่อกองไฟใหญ่กำลังลุงรุ่งเรืองอยู่ มีคนทั้งหลายเอาหญ้าแห้งไม้แห้ง มูลโคแห้ง มาทิ้งเข้าในกองไฟใหญ่นั้นเรื่อย ๆ ไป กองไฟใหญ่นั้นจะดับไปหรือไม่ ?”
    “ไม่ดับเลย พระผู้เป็นเจ้า มีแต่จะลุกใหญ่เท่านั้น”
    ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือพระศาสนาอันประเสริฐของพระศาสดา ได้สว่างรุ่งเรืองอยู่ในหมื่นโลกธาตุ ด้วย อาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฎิบัติ
    ถ้าศากยบุตรพุทธชิโนรสยังประกอบด้วยองค์ของผู้มีความเพียร ยังฝึกฝนดี ยังไม่ประมาท ยังเต็มในใจใน ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ยังทำสิกขาให้บริบูรณ์ ทำจารีตและสีลสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศีล) ให้บริบูรณ์ พระศาสนาก็ยังมีพระภาคเจ้าทรงหมายความอย่างนี้ จึงได้ตรัสไว้ว่า ถ้าภิกษุเหล่านี้ยังปฎิบัติชอบอยู่โลกก็จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย”
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายความอย่างนี้ จึงได้ตรัสไว้ว่า ถ้าภิกษุเหล่านี้ยังปฏิบัติชอบ โลกก็ไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย”

    <center>
    อุปมาเหมือนกระจก
    </center> “อีกปราะการหนึ่ง กระจกอันบุคคลขัดดีแล้ว ทำให้ผ่องใสดีแล้ว และมีผู้ขัดอีกเนือง ๆ กระจกนั้นจะมัวหมองได้หรือไม่ ?”
    “ไม่มัวหมอง พระผู้เป็นเจ้า มีแต่จะผ่องใสยิ่งขึ้นไป”
    “ขอถวายพระพร ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ คือพระศาสนาของสมเด็จภควันต์บรมศาสดาผ่องใสอยู่เป็นปกติ คือไม่มัวหมองด้วยกิเลสตัญหาแต่อย่างใด
    ถ้าพระพุทธบุตรเหล่านั้นศึกษาพระศาสนาอันประเสริฐนั้นไว้ได้ผ่องใส ด้วย อาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฎิบัติ สัลเลข (ขัดเกลา) ธุดงคคุณ อยู่แล้ว พระศาสนาก็จะตั้งอยู่ตลอดกาลนาน โลกนี้จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย พระพุทธศาสนามีการปฎิบัติเป็นราก มีการปฎิบัติเป็นแก่น ตั้งอยู่ได้ด้วยการปฎิบัติ”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ข้าแต่พระนาคเสน ข้อที่ว่า พระสัทธรรมอันตรธานนั้น มีอยู่กี่ประการ ?” [/FONT]
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> อันตรธาน ๓ ประการ </center> “ขอถวายพระพร อันตรธานนั้น มีอยู่ ๓ ประการ คือ
    ๑ อธิคมอันตรธาน (มรรคผลสูญหายไป)
    ๒ ปฎิบัติอันตรธาน (ข้อปฎิบัติสูญหายไป)
    ๓ ลิงคอันตรธาน (เพศสูญหายไป)
    เมื่อ อธิคมอันตรธาน แล้ว ถึงมีผู้ปฎิบัติดี ก็ไม่มีธรรมภิสมัย คือการได้รู้ยิ่งซึ่งธรรม
    เมื่อ ปฎิบัติอันตรธาน แล้ว สิกขาบทบัญญัติก็อันตรธาน ยังเหลือแต่เพศเท่านั้น
    เมื่อ ลิงคอันตรธาน แล้ว ก็ขาดประเพณี คือความสืบต่อแห่งเพศบรรพชิตในพระพุทธศาสนา อันตรธานมีอยู่ ๓ ประการเท่านี้แหละ มหาบพิตร”
    “ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้ทำปัญหาอันลึกให้ตื้นแล้ว ได้ทำลายข้อยุ่งยากแล้ว ได้ทำถ้อยคำของผู้อื่นหมดไปแล้ว ซึ่งความเป็นผู้องอาจในหมู่คณะอันประเสริฐ”

    <center>
    อธิบาย
    </center> ข้อความในวงเล็บ ผู้เรียบเรียงได้เพิ่มเติมไป เพื่อความเข้าใจ ฎีกามิลินท์ อธิบายคำว่า “พระสัทธรรม คือ ปฎิเวชสัทธรรม ได้แก่ มรรค ผล นิพพาน
    ส่วนผู้แปลหนังสือเล่มนี้อธิบายว่า
    เมื่อท่านอ่านตาม อรรถกถา ฎีกาแล้วนี้ ยังไม่สิ้นสงสัย ก็ขอให้อ่านคำอธิบายต่อไป คือคำว่า สาสนปริจเฉท แปลว่า กำหนดพระศาสนานั้น อธิบายว่า ได้แก่การกำหนดอายุพระพุทธศาสนาว่ามีอยู่ ๕,๐๐๐ ปี
    คำว่า ปฎิตติปริทีปนา แปลว่า กำหนดแสดงซึ่งการปฎิบัตินั้น หมายถึงผลแห่งการปฎิบัติ หรืออานุภาพแห่งการปฎิบัติว่า ถ้ายังปฎิบัติอยู่ตราบใด พระพุทธศาสนาก็จักยังตั้งอยู่ตราบนั้น
    คำทั้งสองนี้ถูกทั้ง ๒ คำ เปรียบเหมือนคำว่า อายุของผู้นั้นมีกำหนด ๑๐๐ ปี อีกคำหนึ่งว่า ถ้าธาตุทั้ง ๔ ของผู้นั้นยังปกติอยู่ตราบใด ผู้นั้นก็จักมีอายุอยู่ตราบนั้น ดังนี้
    คำทั้งสองนี้ คำหนึ่งแสดงกำหนดอายุ อีกคำหนึ่งแสดงอานุภาพของธาตุ ๔ แต่ขอให้เข้าใจว่า อายุของผู้นั้นจักตั้งอยู่ได้เพียง ๑๐๐ ปีเท่านั้น แล้วธาตุทั้ง ๔ ของผู้นั้นก็ต้องวิปริตไป ข้อนี้มีอุปมาฉันใด พระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ก็ฉันนั้น
    ข้อสำคัญในปัญหาข้อนี้มีอยู่อย่างหนึ่ง คือข้อที่ว่า พระสัทธรรมจักตั้งอยู่เพียงแค่ ๕,๐๐๐ ปีนั้น ผิดจากที่กล่าวไว้ใน พระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก ที่เป็นพระบาลีกับอรรถกถาฎีกา คือ
    ในพระบาลีอรรถกถาฎีกาว่า
    “ถ้าไม่มีภิกษุณี พระสัทธรรมจักตั้งอยู่พันปี เมื่อมีภิกษุณีแล้ว พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ ๕๐๐ ปี่เท่านั้น” อันนี้เป็นคำในพระบาลี
    ส่วนในอรรถกถาว่า
    “เมื่อพระพุทธองค์ ทรงเล็งเห็นอย่างนั้น จึงได้ทรงบัญญัติครุธรรม ๘ ไว้ป้องกันเสียก่อน แล้วจึงทรงอนุญาติให้มีนางภิกษุณี”
    เมื่อทรงป้องกันแล้วก็ได้อีก ๕๐๐ ปี รวมกับ ๕๐๐ ปีที่เหลืออยู่นั้น จึงเป็นพันปีเท่ากับไม่มีนางภิกษุณี แล้วอธิบายไว้ตั้งแต่พันปีที่ ๑ ถึงพันปีที่ ๕ (รายละเอียดของดไว้)
    เมื่อสิ้น ๕ พันปีแล้ว อธิคมสัทธรรม คือผู้บรรลุมรรคผลก็สิ้นไป พระปริยัติธรรมก็หมดไปทีละน้อย ลงท้ายก็เหลือแต่เพศภิกษุที่มีผ้าเหลืองน้อยห้อยหู ทำไร่ไถนาเลี้ยงบุตรภารยา แล้วลงท้ายก็หมดผ้าเหลืองน้อยห้อยหู
    แม่เมื่อผู้ใดยังมีพระผู้จำพระพุทธวจนะได้เพียง ๑ คาถา อันกำหนดด้วยอักขระ ๓๒ ตัว เมื่อนั้นก็ยังเรียกว่า พระปริยัติศาสนายังอยู่ เมื่อไม่มีมนุษย์ผู้ใดในโลก จะจำพระพุทธวจนะเพียงคาถาเดียวได้ เมื่อนั้นแหละจึงเรียกว่า หมดพระศาสนาจริง ๆ
    และมีกล่าว เมื่อพระพุทธศาสนาคบ ๕,๐๐ ปีแล้ว พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าซึ่งอยู่ในที่ต่าง ๆ กัน จะเสด็จมารวมกันที่ไม้ศรีมหาโพธิ แล้วปรากฎเป็นองค์สมเด็จพระบรมสุคตขึ้น ทรงแสดงธรรมแก่เทพยดาอยู่ตลอด ๗ ทิวาราตรี เทพยดาหรือ ยักษ์ นาค ครุฑ อินท์ พรหม ผู้ใดเป็นธาตุเวไนย ผู้นั้นก็จักได้สำเร็จมรรค ผล นิพพาน ในคราวนั้น
    แล้วจวนรุ่งอรุณในคืนที่ ๗ พระบรมสารีริกธาตุที่ปรากฎเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นนั้น ก็จะมีเพลิงธาตุเกิดขึ้น ถวายพระเพลิงเผาให้ย่อยยับไปไม่มีเหลือ เมื่อนั้นแหละเรียกว่า
    “ธาตุอันตรธาน” ดังนี้
    (ต้องของดปัญหาไว้เพียงแค่นี้ก่อน เพราะตอนที่แล้วในเรื่อง “การตั้งครรภ์” ได้เกี่ยวพันถึงบุคคลในพระสูตร เช่น มาตังคฤาษี พระเจ้ากุสราช และ พระเจ้ามหาปนาท เป็นต้น จึงจะขอนำประวัติบุคคลเหล่านี้ มาให้ทราบแต่พอได้ในความดังนี้)

    <center>
    มาตังคบรมโพธิสัตว์
    </center> ในอดีตเมื่อครั้ง พระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติในเมืองพาราณวี พระมหาสัตว์ได้บังเกิดในกำเนิดตระกูลคนจัณฑานมีนามว่า มาตังคมานพ เพราะเหตุที่มีปัญญาภายหลังจึงทีชื่อว่า มาตังคบัณฑิต
    ในเมืองนั้นมีธิดาเศรษฐีชื่อว่า ทิฎฐมังคลิกา วันหนึ่งนางได้เห็นพระโพธิสัตว์ทางช่องม่าน ข้างประตูอุทยาน เมื่อรู้ว่าเป็นคนบัณฑาลจึงล้างตาด้วยน้ำหอม แล้วกลับไปจากที่นั้น พวกบริวารของนางไม่ได้กินเหล้ากันก็พากันโกรธได้ประทุษร้ายมาตังคบัณฑิตจนสลบ แล้วก็พากันหลบหนีไป
    เมื่อมาตังคบัณฑิตฟื้นขึ้นแล้ว จึงคิดว่าผู้คนของนางทิฎฐมังคลากาโบยตีเราผู้หาความผิดมิได้ ถ้าเราไม่ได้นางมาเราจะไม่ลุกขึ้นครั้นตั้งใจดังนี้แล้ว จึงได้นอนลงที่ประตูบ้านบิดาของนาง ได้นอนอยู่ ๖ วัน ก็ยังไม่ได้ลุกไปไหน
    ธรรมดาว่าการอธิษฐานของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้นในวันที่ ๗ คนทั้งหลายจึงได้พานางทิฎมังลิกามามอบให้
    นางทิฎฐมังคลิกาจึงกล่าวขึ้นว่า
    “ลุกขึ้นเถิดนาย เราพากันไปบ้านของท่านเถิด”
    มาตังบัณฑิตจึงกล่าวว่า
    “วริวารของเจ้าทุบตีเราเสียบอบช้ำแล้วเจ้าจงยกเราขึ้นหลังแล้วพาไปเถิด”
    นางก็ทำตามสั่ง ได้ออกจากพระนครไปต่อหน้าชาวพระนคร ที่พากันมามุงดูแล้วก็ได้ไปสู่บ้านคนจัณฑาล
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] ในคราวนั้น พระมหาสัตว์เจ้ามิได้ล่วงเกินนาง ให้ผิดประเพณีแห่งเผ่าพันธุ์วรรณ ให้นางพักอยู่ที่เรือนของตน ๒-๓ วัน แล้วคิดว่า เราจะทำให้นางถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภยศนั้น เราจักต้องบรรพชาจึงจะทำใด้นอกจากนี้แล้วไม่มีทางทำได้ [/FONT]
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> มาตังคฤาษีผู้มีฤทธิ์ </center> เมื่อคิดดังนี้แล้ว จึงบอกนางว่าจะไปในป่าขอให้รออยู่ที่นี้จนกว่าจะกลับมา และได้สั่งคนในบ้านให้เอาใจใสต่อนาง แล้วก็ออกไปบรรพชาเป็นฤาษีอยู่ในป่า ตั้งใจเจริญสมณธรรมพอถึงวันที่ ๗ ก็ได้สำเร็จอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘
    จึงคิดว่า บัดนี้เราอาจเป็นที่พึ่งของนางทิฎฐมังคลิกาได้แล้ว จึงเหาะไปลงที่ประตูบ้านคนบัณฑาล แล้วเดินไปสู่ประตูเรือนของนาง
    ฝ่ายนางทิฎฐมังคลิกาออกมาต้อนรับแล้วรำพันต่าง ๆ นานา พระมหาสัตว์จึงปลอบโยนนางว่า
    “เจ้าอย่าเสียใจไปเลย คราวนี้เราจะทำให้เจ้ามียศใหญ่ยิ่งกว่ายศที่มีอยู่เก่าของเจ้า ก็แต่ว่าเจ้ามามารถพูดในที่ประชุมชนได้ไหมว่ามาตังคบัณฑิตไม่ใช่สามีของเรา ท้าวมหาพรหมเป็นสามีของเรา”
    นางทิฎฐมังคลิกาก็รับว่าได้ แล้วพระมหาสัตว์เจ้าจึงกล่าวต่อไปว่า
    “ถ้าอย่างนั้นเมื่อมีผู้ถามว่า เวลานี้สามีของเจ้าไปไหน ให้ตอบไปว่าพรหมโลก เมื่อเขาถามว่าจะกลับมาเมื่อไร ให้ตอบเขาว่านับแต่วันนี้อีก ๗ วันท้าวมหาพรหมผู้เป็นสามีของเรา จักแหวกพระจันทร์มาในวันเพ็ญ”
    ครั้นกล่าวกับนางอย่างนี้แล้ว ก็เหาะกลับไปสู่ป่าหิมพานต์ทันที ฝ่ายนางทิฎฐมังคลิกาก็เที่ยวประกาศอย่างนั้นในท่ามกลางมหาชน มหาชนก็เชื่อว่าอาจจะเป็นได้ เพราะถ้าไม่เป็นไปได้ นางมิฎฐมังคลิกาก็จะได้ประโยชน์อะไรในการกล่าวเช่นนี้
    ฝ่ายพระโพธิสัตว์พอถึงวันเพ็ญดวงจันทร์เด่นอยู่ในท้องฟ้า ก็จำแลงตัวเป็นท้าวมหาพรหม เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วแว่นแคว้นกาสีถึง ๓ รอบ
    เมื่อมหาชนพากันบูชาอยู่ด้วยดอกไม้และของหอม เป็นต้น ได้บ่ายหน้าไปหมู่บ้านคนจัณฑาล พวกพรหมภัต คือพวกจัดเครื่องต้อนรับพระพรหม ก็ได้พร้อมกันไปที่บัานคนจัณฑาล
    ครั้นเขาตกแต่งบ้านเรือนของนางทิฎฐมังคลิกาเสร็จแล้ว พระมหาสัตว์เจ้าก็ลงมาจากอากาศ เข้าไปนั่งอยู่บนที่นอนสักครู่หนึ่งในเวลานั้นนางได้มีระดู จึงลูบสะดือของนางด้วยปลายนิ้วมือ แล้วนางก็ตั้งครรภ์ขึ้น
    ต่อมาพระมหาสัตว์เจ้าจึงบอกว่า
    “เจ้าจักได้ลูกเป็นผู้ชาย เจ้ากับบุตรจักเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยลาภยศ เพียงแต่น้ำอาบของเจ้าก็เป็นยาวิเศษ รดศรีษะผู้ใด ผู้นั้นจะหายจากโรคทั้งปวง ผู้ที่กราบไหว้จักให้ทรัพย์แก่เจ้า เจ้าจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด”
    ครั้นให้โอวาทนางแล้วก็ได้ออกจากเรือนแล้วเลื่อนลอยขึ้นไปบนอากาศ ต่อหน้ามหาชนที่กำลังดูอยู่ แล้วเข้าไปสู่ดวงจันทร์

    <center>
    มัณฑบกุมาร
    </center> พวกพรหมภัตจึงได้ให้นางทิฎฐมังคลิกาขึ้นนั่งบนสุวรรณสีวิกา แล้วยกขึ้นทูลศรีษะ ของตนพากันเข้าไปสู่พระนคร มหาชนต่างก็พากันบูชากราบไหว้ได้ทรัพย์ถึง ๑๘ โกฎิ โดยเชื่อถือว่าเป็นภรรยาของท้าวมหาพรหม
    ครั้นพวกพราหมณ์นำไปรอบพระนครแล้ว ได้สร้างมณฑปใหญ่ขึ้นในท่ามกลางพระนคร แล้วให้นางทิฎฐมังลิกาอยู่ในนั้น และเริ่มก่อสร้างปราสาท ๗ ชั้น ไว้ที่ใกล้มหามณฑปนั้น
    ต่อมานางก็ได้คลอดบุตรในมณฑปนั้นเอง พราหมณ์จึงขนานนาม “มัณฑพยกุมาร” อีก ๑๐ เดือน ปราสาทจึงสำเร็จลงนางจึงอยู่ที่ปราสาทนั้น
    มัณฑพยกุมารนั้นก็เจริญขึ้นด้วยบริวารเป็นอันมาก ได้ไปศักษาวิชาไตรเพทจนอายุได้ ๑๖ ปี ก็เริ่มตั้งพิธีเลี้ยงพวกพราหมณ์เป็นนิจไป
    ในขณะนั้นเอง มาตังคบัณฑิตนั่งอยู่ที่อาศรมบทในป่าหิมพานต์ ได้เล็งเหตุการณ์ก็ทราบว่า ความประพฤติแห่งบุตรโน้มเอียงไปในลัทธิอันไม่สมควร จึงคิดว่าวันนี้เราจักไปฝึกมานพนั้น ให้รู้ว่าให้ทานในที่ใดจึงจะมีผลมาก
    คิดดังนี้แล้ว ก็ได้ไปที่สระอโนดาตโดยทางอากาศ ลงอาบน้ำชำระกายแล้วก็ขึ้นยืนอยู่ที่มโนศิลา ได้นุ่งผ้าสองชั้นคาดประคตเอวแล้วห่มผ่าจีวรผืนใหญ่ ถือเอาบาตรเหาะลงยืนอยู่ที่โรงทานซุ้มประตูที่ ๔
    มัณฑพยกุมารได้เห็นมาตังฤาษี ผู้จำเลงเพศเป็นภิกษุ จึงกล่าวว่า
    “ท่านนุ่งห่มด้วยผ้าขี้ริ้วสกปรกเหมือนปีศาจเล่นฝุ่น ท่านไม่สมควรแก่การถวายทานของเรา”
    พระมหาสัตว์เจ้าจึงกล่าวว่า
    “อาหารที่ท่านจัดไว้ให้พราหมณ์ทั้งหลายนั้น ก็ควรจะให้ทานแก่เราผู้เลี้ยงชีวิตด้วยอาหารผู้อื่นให้เช่นกัน แม้ถึงจะเป็นคนบัณฑาลก็ขอจงให้อาหารแก่เราบ้างเถิด”
    แต่มัณฑพยกุมารก็ไม่ยอมให้ กลับขับไล่ออกไป พระมหาสัตว์เจ้าจึงกล่าวว่า
    “ชาวนาผู้หวังผลย่อมหว่านพืชลงในที่ลุ่มบ้าง ในที่ดอนบ้าง ในที่เสมอไม่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ บ้างฉันใด ท่านจงให้ทานแก่บุคคลทั้งปวงด้วยศรัทธานี้ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงอย่างไรก็ดีกุมารก็จักได้บุคคลที่ควรแก่การถวาย”
    มัณฑพยกุมารจึงกล่าวต่อไปว่า
    “เรารู้ดีว่านาเหล่าใดเป็นนาดีในโลก เรารู้ดีว่าการหว่านพืช คือการให้ทานแก่พวกพราหมณ์ที่สมบูรณ์ด้วยชาติพระกูล และด้วยความรู้นี้เป็นทางได้ผลดี”
    ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าจึงว่า
    “ความเมาด้วยชาติตระกูล ความถือตัวเกินไป และโลภะ โทสะ โมหะ เหล่านี้ทีอยู่ในพวกใด พวกนั้นไม่จัดว่าเป็นเขตอันดี เมื่อสิ่งเหล่านี้ไม่มีอยู่ในพวกใด พวกนั้นจึงจัดว่าเป็นเขตอันดี”
    มัณฑพยกุมารไม่พอใจจึงให้นายประตูขับไล่ออกไป พวกนายประตูยังมาไม่ถึงตัวพระมหาสัตว์เจ้าก็ขึ้นไปยืนบนอากาศต่อหน้าคนทั้งหลายแล้วกล่าวว่า
    “ผู้ใดด่าว่าฤาษี ผู้นั้นชื่อว่าขุดภูเขาด้วยเล็บ เคี้ยวกินก้อนเหล็กด้วยฟัน ชื่อว่าพยายามกลืนไฟ”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงแหาะไปต่อหน้ากุมารและพราหมณ์ทั้งหลาย บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออก ไปลงที่ถนนสานหนึ่งแล้วอธิษฐานว่า ขอจงให้รอยเท้าของเราปรากฎอยู่ในที่นี้ แล้วก็เที่ยวบิณฑบาตได้อาหารแล้ว ก็นั่งฉันอยู่ที่ศาลาแห่งหนึ่ง [/FONT]
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> อานุภาพแห่งเทพพยดา </center> ฝ่ายเทวดาผู้รักษาพระนครนั้น ก็คิดว่ามัณฑกุมารได้กล่าวเบียดเบียนพระผู้เป็นเจ้าของเรา จึงจับศรีษะกุมารและพวกพราหมณ์ทั้งหลายบิดให้เหลี่ยวหลังไป นอนตัวแข็งทื่อตาค้าง อ้าปากน้ำลายไหลกลิ้งไปมา
    คนทั้งหลายจึงไปแจ้งนางทิฎฐมังคลิกาว่ามีสมณะองค์หนึ่งนุ่งห่มผ้าขาดเป็นริ้วรอยเข้ามาในที่นี้ บุตรของพระแม่เจ้าจึงเป็นอย่างนี้
    นางจึงคิดว่าเราจักไปเที่ยวค้นหาสามีของเรา แล้วสั่งให้ทาสและทาสีถือคณโฑน้ำทองคำเที่ยวติดตามไป ได้เห็นรอยเท้าที่พระมหาสัตว์เจ้าอธิษฐานไว้ก็รีบติดตามไปได้พบในขณะกำลังนั่งฉันอาหารอยู่ที่สาลานั้น นางจึงเข้าไปใกล้แล้วนั่งลงยกมือไหว้
    พระมหาสัตว์เจ้าได้เห็นนางมาถึง จึงเหลือข้าวสุกไว้ก้นบาตรแสดงอาการอิ่มแล้ว นางจึงน้อมคณโฑเข้าไปถวาย และกล่าวถามถึงเหตุดังกล่าวนั้น
    มาตังคฤาษีตอบว่าเป็นเพราะยักษ์ผู้รักษาพระนคร รู้จักคุณธรรมของพวกฤาษี ทราบว่าบุตรของเจ้าว่าร้ายต่อฤาษี จึงได้ทำบุตรของเจ้าให้เป็นอย่างนี้
    นางทิฎฐมังคลิกาจึงขอโทษว่า ยักษ์ทั้งหลายโกรธแล้ว ท่านอาจทำให้หายได้โดยน้ำเพียงจอกเดียว ข้าพเจ้าไม่กลัวยักษ์สักนิดเดียว กลัวท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์แต่ผู้เดียวเท่านั้น ขอท่านจงเมตตาอย่าได้โกรธบุตรข้าพเจ้าเลย
    พระโพธิสัตว์จึงกล่าวว่า เมื่อกี่บุตรของเจ้าด่าเรา เราก็ไม่คิดร้ายต่อบุตรของเจ้า ก็แต่ว่าบุตรของเจ้ากำลังมัวเมาว่ารู้ศีลปศาสตร์ไม่รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์ จึงได้โทษอย่างนี้ กล่าวดังนี้แล้วจึงให้ข้าวสุกที่เหลือ เพื่อหยอดเข้าไปในปากของบุคคลเหล่านั้น
    นางจึงแบ่งข้าวนั้นหยอดลงในปากแห่งบุตรของตน แล้วยักษ์ที่รักษาพระนครก็หนีไป มัณฑพยกุมารฟื้นขึ้นมาจึงกันไปดูพวกพราหมณ์ที่ยังสลบอยู่
    นางทิฎฐมังคลิกาจึงสั่งสอนว่า
    “เจ้ายังมีปัญญาน้อย ไม่รู้ว่าให้ทานในที่ใดจึงจะมีผลมาก เพราะการให้ทานแก่ผู้มีกิเลส ไม่มีสำรวม มีแต่กรรมเศร้าหมองถึงให้ทานมาก ก็ย่อมมีผลน้อย
    นี่แน่ะมัณฑพย ผู้รับการถวายทานของเจ้า บางคนก็รวบเกล้วทำเป็นชฎานุ่งผ้าหนังเสือมีหน้ารุงรังด้วยหนวดเครา เจ้าจงพิจรณาดูซึ่งผู้ที่ทำตนให้หม่นหมองอย่างนี้ การมุ่นเกล้าให้เป็นชฎาและนุ่งผ้าหนังเสือเช่นนี้ หาป้องกันผู้มีปัญญาน้อยได้ไม่
    ท่านเหล่าใดสำรอกราคะ โทสะ และ อวิชชาแล้ว หรือเป็นพระอรหันต์แล้ว ทานที่บุคคลถวายย่อมมีผลมาก”
    นางทิฎฐมังลิกากล่าวอย่างนี้แล้ว จึงเตือนให้ช่วยพวกพราหมณ์กินยาอันไม่รู้จักตายนั้น แล้วเทข้าวสุกที่เหลืออยู่ในนั้นลงในตุ่มน้ำขยำให้ดีแล้วจึงตักน้ำหยอดเข้าไปในปากพวกพราหมณ์ทั้งหมื่น ๖ พันคนนั้นก็ได้สติลุกขึ้นทันที
    ลำดับนั้น พวกพราหมณ์อื่นจากพวกนี้ ก็พากันติเตียนว่า พวกพราหมณ์เหล่านี้ได้กินน้ำเหลือเดนของคนจัณฑาล ทำให้เสียชาติตระกูล จึงพร้อมกันทำพราหมณ์เหล่านั้นไม่ให้เป็นพราหมณ์อีกต่อไป
    พราหมณ์ทั้งหมื่น ๖ พันคนก็ละอายใจได้ยกครอบครัวออกจากเมืองพาราณสี ไปอยู่กับ พระเจ้าเมชฌราช ในเมชฌนครเสีย

    <center>
    ทรมานดาบสผู้มีมานะ
    </center> ในคราวนั้น มีพราหมณ์ผู้หนึ่งบวชเป็นดาบส อาศัยอยู่ริมฝั่งแมาน้ำเวตวดี แต่เป็นผู้มีมานะจนเกินการ พระมหาสัตว์เจ้าได้ทราบจึงคิดทำลายมานะของดาบสนี้เสีย
    แล้วจึงไปอาศัยอยู่เหนือแม่น้ำเวตวดีได้อธิษฐานขอให้ไม้สีฟัน ไปติดอยู่ที่ชฎาดาบศนี้ ไม่สีฟันก็ลอยไปติดอยู่ที่ชฎา ในขณะที่ดาบสนั้นลงอาบน้ำ
    ดาบสนั้นจึงด่าขึ้นว่า อ้ายคนฉิบหาย อ้ายคนชั่วร้าย แล้วคิดว่าอ้ายคนกาลกิณีนี้มาจากไหน จึงทิ้งสิ่งโสโครกมา เราจักไปดูแล้วก็ขึ้นเดินไปตามฝั่งแม่น้ำ จึงได้เห็นพระโพธิสัตว์ จึงถามว่าท่านมาจากไหนท่านเป็นคนชนิดใด
    พระมหาสัตว์เจ้าตอบว่า เรามาจากป่าหิมพานต์ เราเป็นคนจัณฑาล ดาบสจึงถามว่า ท่านทิ้งไม้สีฟันลงในแม่น้ำบ้างหรือ
    พระมหาสัตว์เจ้าตอบบว่าทิ้งลงไป ดาบสนั้นจึงได้ด่าว่า เจ้าคนถ่อย เจ้าอย่าอยู่ในสถานที่นี้จงไปอยู่เสียใต้ของแม่น้ำ
    พระมหาสัตว์เจ้าก็ไปนั่งอยู่ด้านใต้แม่น้ำ แล้วทิ้งไม้สีฟันลงไป ไม้สีฟันนั้นก็กลับไหลทวนน้ำ ไปติดอยู่ชฎาของดาบสนั้นอีก ดาบสนั้นก็โกรธแล้วสาปแช่งว่า อ้ายคนจัญไรถ้าเจ้าขืนอยู่ที่นี่ต่อไป ศรีษะเจ้าจักแตกเป็น ๗ ภาค ภายใน ๗ วัน
    พระมหาสัตว์เจ้าจึงคิดว่า ถ้าเราโกรธขึ้นบ้าง เราก็อาจทำให้ดาบสนี้ฉิบหาย แต่ศีลที่เรารักษาไว้ก็จักเสียไป เราจะทำลายมานะดาสนี้ด้วยอุบายวิธีของเรา พอถึงวันที่ ๗ จึงบันดาลไม่ให้ดวงอาทิตย์ปรากฎขึ้นในท้องฟ้า
    คนทั้งหลายพากันวุ่นวายเข้าไปหาดาบสนั้นว่า เหตุไรท่านจึงไม่ให้ดวงอาทิตย์ขึ้น ดาบสนั้นตอบว่า เราไม่ได้ทำเห็นมีแต่ดาบสจัณฑาลผู้หนึ่งคงเป็นผู้ทำ
    คนเหล่านั้นจึงพากันไปไต่ถามพระโพธิสัตว์ ท่านจึงได้เล่าความเป็นไปให้ฟังว่า เมื่อให้ดาบสนั้นมากราบที่เท้าเพื่อขอโทษต่อเราแล้วเราก็จะให้พระอาทิตย์ขึ้น
    คนทั้งหลายจึงพากันไปช่วยจับดาบสนั้นฉุดคร่าให้มาหมอบที่เท้าของพระมหาสัตว์เจ้าเพื่อขอโทษ แล้วอ้อนวอนขอให้พระอาทิตย์ขึ้นเถิด
    พระมหาสัตว์เจ้าตอบว่า เรายังให้ขึ้นไม่ได้ ถ้าเราปล่อยให้ขึ้น ศรีษะของดาบสนี้ก็จักแตก ๗ เสี่ยง
    เขาจึงถามว่าจะให้ทำอย่างไร พระมหาสัตว์เจ้าตอบว่า ท่านจงไปเอาก้อนดินเปียก ๆ มาพอกศรีษะของดาบสแล้วปล่อยดาบสนี้ลงไปอยู่ในน้ำ พอศรีษะของดาบสต้องแสงอาทิตย์ ดินเหนียวที่พอกศรีษะนั้นก็แตก แล้วให้ดาบสนี้ดำน้ำหลบหนีไป เมื่อทำอย่างนี้ ดาบสนี้จะพ้นจากความตาย
    คนทั้งหลายก็พากันกระทำตามทุกประการ พระมหาสัตว์เจ้าจึงคลายอิทธิปาฎิหารย์ปล่อยดวงอาทิตย์ขึ้น พอแสงอาทิตย์ขึ้นก็เป็นไปตามนั้นทันที

    <center> มาตังคฤาษีถูกลอบทำร้าย </center> เมื่อพระมหาสัตว์เจ้าทรมานดาบสให้สิ้นพยศแล้ว จึงนึกถึงพวกพราหมณ์ทั้งหมื่น ๖ พันคน ได้ทราบว่าเขาพากันไปอยู่กับพระเจ้าเมชฌราช จึงเหาะไปลงที่มุมเมืองเมชฌนครแล้วถือบาตรเที่ยวภิกขาจรไป
    พวกพราหมณ์เหล่านั้นได้เห็นจึงปรึกษากันว่า มาตังคฤาษีได้มาอยู่ในเมืองนี้แล้ว ไม่ช้าเขาก็จักทำพวกเราให้หาที่พึ่งไม่ได้ จึงพากันไปกราบทูลพระเจ้าเมชฌราชว่า วิชาธรซึ่งพวกข้าพระพุทธเจ้าเคยรู้จักได้เข้ามาในเมืองนี้แล้ว ขอพระองค์จงให้จับฆ่าเสีย
    ฝ่ายมหาสัตว์เจ้าพอบิณฑบาตได้แล้วก็ไปนั่งฉันอยู่ที่ชายคาเรือนแห่งหนึ่ง พระเจ้าเมชฌราชจึงตรัสสั่งให้พวกราชบุรุษติดตามไป
    พอเขาได้เห็นพระมหาสัตว์เจ้ากำลังนั่งฉันอาหารอยู่โดยไม่รู้ตัว ก็พากันแอบเอาดาบฟันคอของพระมหาสัตว์เจ้าให้ขาดสะบั้น แล้วพระมหาสัตว์เจ้าก็ได้ไปเกิดในพรหมโลก
    เทวดาทั้งหลายพากันโกรธเคือง จึงได้บันดาลให้เป็นฝนเถ้ารึงอันร้อนตกลงมาทั่วเมชฌนคร ไหม้สิ่งของทั้งปวงไม่มีเหลือ พระเจ้าเมชฌราชกับทั้งประขาชนก็ถึงซึ่งความพินาศสิ้น
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] ต่อมาภายหลัง มัณฑพยกุมาร ก็ได้มาเกิดเป็น พระเจ้าอุเทน ผู้เบียดเบียนบรรพชิต ส่วน มาตังคบัณฑิต ได้มาเกิดเป็น พระพุทธองค์ สิ้นเนื้อความใน มาตังคชาดก แต่โดยย่อเพียงเท่านี้ [/FONT]
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ตอนที่ ๑๘ </center> <center> ปัญหาที่ ๘ </center> <center> ถามเรื่อง
    สำเร็จสัพพัญญุตญาณ
    </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
    [/FONT] “ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา สมเด็จพระตถาคตเจ้าทรงเผาอกุศลสิ้นแล้ว จึงถึงพระสัพพัญญุตญาณ หรือว่าเผาอกุศลยังไม่สิ้นแต่ถึงพระสัพพัญญุตญาณ?”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร สมเด็จพระชินวรเจ้าเผาอกุศลทั้งปวงสิ้นแล้ว จึงถึงพระสัพพัญญุตญาณ การที่จะเผาอกุศลที่ยังเหลืออยู่ ไม่มีอีกเลย”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ทุกขเวทนาเคยเกิดในพระกายของพระพุทธเจ้าบ้างหรือไม่ ?”
    “เคยเกิด มหาบพิตร คือครั้งประทับที่กรุงราชคฤห์ พระบาทได้ถูกสะเก็ดศิลา ครั้งทรงจำพรรษาที่เวฬุวคาม ก็ทรงเกิดโลหิตปักขันทิกาพาธ (ลงแดง) หมอชีวกก็ถวายยาประจุ อีกครั้งหนึ่งเกิดพระอาพาธลม พระอานนท์ก็เที่ยวหาน้ำร้อนมาถวาย”
    พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสถามต่อไปว่า
    “ถ้าพระตถาคตเผาอกุศลทั้งปวงสิ้นแล้ว จึงสำเร็จพระสัพพัญญุตญาณ คำที่ว่า “พระอาพาธเกิดในพระสรีรกายของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นก็ผิด”
    ถ้าคำว่า “พระอาพาธเกิดในพระสรีรกายของพระพุทธเจ้านั้นถูก” คำว่า “พระตถาคตเจ้าเผาอกุศลทั้งปวงสิ้นแล้ว จึงสำเร็จพระสัพพัญญุตญาณนั้นก็ผิด”
    บุคคลย่อมได้เสวยทุกขเวทนานอกจาก กรรม ไม่มี กรรมเท่านั้นเป็นมูลราก บุคคลได้เสวยเวทนาเพราะกรรมเท่านั้น ปัญหาอันเป็นอุภโตโกฎินี้ได้มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ขอพระผู้เป็นเจ้าจงกำจัดเสียซึ่งความสงสัยเถิด”

    <center>
    เหตุให้เกิด
    ทุกขเวทนามี ๘
    </center> “ขอถวายพระพร ไม่ใช่ว่าเวทนาทั้งปวงมีกรรมเป็นมูลรากทั้งนั้น เพราะเหตุที่จะให้เกิดเวทนาอันเป็นทุกข์นั้นมีอยู่ ๘ ประการ คือ
    ๑ ทุกขเวทนามีลมเป็นสมุฎฐาน
    ๒ ทุกขเวทนามีดีเป็นสมุฎฐาน
    ๓ ทุกขเวทนามีเสมหะเป็นสมุฎฐาน
    ๔ ทุกขเวทนามีประชุมลม ดี เสมหะ เป็นสมุฎฐาน
    ๕ ทุกขเวทนามีการเปลียนฤดูเป็นสมุฎฐาน
    ๖ ทุกขเวทนามีการบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอเป็นมุฎฐาน
    ๗ ทุกขเวทนามีการกระทำของผู้อื่นเป็นสมุฎฐาน
    ๘ ทุกขเวทนาอันเกิดด้วยผลแห่งกรรมบุคคลเหล่าใด ถือว่าเกิดด้วยกรรมอย่างเดียว ไม่เกี่ยวกับเหตุ ๘ นี้ คำพูดของคนเหล่านั้นผิดไป”

    “ข้าแต่พระนาคเสน ทุกขเวทนาอันมีสิ่งทั้ง ๘ นี้เป็นสมุฎฐาน ก็เป็นอันว่า มีกรรมเป็นสมุฎฐานทั้งนั้น เกิดด้วยกรรมทั้งนั้น”

    <center>
    เหตุให้ลม
    ดี เสมหะกำเริบ
    </center> “ขอถวายพระพร ถ้าทุกขเวทนาเหล่านั้นมี กรรม เป็นสมุฎฐาน สิ่งเหล่านั้นก็ไม่ต้องมีลักษณะต่างกัน แต่นี้มีลักษณะต่างกัน คือ
    ลม เมื่อจะกำเริบก็กำเริบด้วยเหตุ ๑๐ อย่าง อันได้แก่ กำเริบด้วยเย็น ร้อน หิว กระหาย กินมากเกินไป ยืนนานเกินไป เพียรมากเกินไป วิ่งมากเกินไป การกระทำของผู้อื่น และผลแห่งกรรม
    ๙ อย่างข้างต้น จะเกิดขึ้นในอดีต อนาคต ก็หาไม่ ย่อมเกิดแต่ในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรกล่าวว่า เวทนาทั้งปวงเกิดจากกรรม
    ส่วน ดี เมื่อกำเริบด้วยเหตุ ๓ อย่าง คือ ร้อน กินไม่เป็นเวลา
    เสมหะ กำเริบด้วยเหตุ ๓ อย่าง คือ ด้วยเย็น ร้อน ข้าวน้ำ
    ลม ดี เสมหะ กำเริบด้วยเหตุเหล่านี้แล้วเจือกันก็ชักมีซึ่งเวทนา อันเป็นส่วนของตน ๆ
    เวทนาอันเกิดด้วยเปลี่ยนฤดู ก็เกิดขึ้นด้วยการเปลี่ยนฤดู เวทนาอันเกิดด้วยบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ ก็เกิดด้วยบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ คือเปลี่ยนอิริยาบทไม่พอสมควรกัน
    เวทนาอันเกิดจากความเพียร เป็นกิริยาก็มี เป็นวิบากก็มี เวทนาอันเกิดจากกรรมย่อมเกิดด้วยกรรมที่ได้กระทำไว้ในปางก่อน
    ด้วยเหตุที่ว่ามานี้แหละ ชี้เห็นว่าเวทนาอันเกิดด้วยกรรมมีน้อย เกิดด้วยอื่นม่มาก พวกโง่เขลาก็เข้าใจ เกิดด้วยกรรมทั้งนั้น กรรมนั้นไม่มีใครรู้ได้ นอกจากพระพุทธญาณเท่านั้น”

    <center>
    พระเทวทัตกลิ้งก้อนศิลา
    </center> “การที่พระบาทของพระพุทธเจ้าถูกสะเก็ดศิลาแล้ว ทำให้เกิดเวทนานั้น ไม่ใช่มีลม หรือดี เสมหะ หรือสิ่งทั้ง ๓ นี้ เป็นสมุฎฐานเลย ไม่ใช่เกิดด้วยการเปลี่ยนฤดู หรือด้วยการบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ เกิดด้วยการกระทำของผู้อื่นต่างหาก คือ
    พระเทวทัต ผู้ผูกอาฆาตต่อพระตถาคตเจ้ามาหลายแสนชาติแล้ว ได้กลิ้งก้อนศิลาใหญ่ลงไปจากยอดภูเขา ด้วยคิดจักให้ตกถูกพระพุทธองค์ แต่ก้อนศิลาที่กลิ้งลงมานั้น ได้มาพระทบก้อนศิลาใหญ่อีก ๒ ก้อน
    ก้อนศิลานั้นได้แตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ กระจายไป มีสะเก็ดเล็ก ๆ ก้อนหนึ่งกระเด็นไปถูกพระบาทของพระพุทธเจ้ามำให้พระโลหิตห้อขึ้น จะว่าเวทนานั้นเกิด
    ด้วยผลแห่งกรรม หรือด้วยการกระทำของพระองค์ไม่ได้ทั้งนั้น เกิดด้วยการกระทำของผู้อื่นต่างหาก”

    <center>
    ยกอุปมาขึ้นเปรียบเทียบ
    </center> “พืชย่อมงอกงามไม่ดี ย่อมเป็นเพราะที่ดินไม่ดี หรือเป็นเพราะพืชไม่ดีฉันใด เวทนานั้นก็เกิดแก่พระพุทธเจ้า เพราะผลแห่งกรรมหรือเพราะการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งฉันนั้นนอกนั้นย่อมไม่มี
    โภชนะที่กินเข้าไปแล้วย่อยไม่ดีฉันใด ย่อมเป็นเพราะท้องไม่ดี หรือโภชนะนั้นไม่ดีฉันนั้น เวทนาของพระพุทธเจ้านั้น ก็เกิดด้วยผลแห่งกรรม หรือเกิดด้วยการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งฉันนั้น
    ก็แต่ว่า เวทนาอันเกิดด้วยผลแห่งกรรมและเกิดด้วยการบริหานร่างกายไม่สม่ำเสมอย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้า มีด้วยเหตุ ๑ อย่าง นอกจาก ๒ อย่างนี้ต่างหาก ใครไม่อาจปลงพระชนม์ของพระพุทธเจ้าได้
    แต่ว่าเวทนาทั้งที่น่าต้องการ และไม่ต้องการ ดีและไม่ดี ย่อมมีในพระวรกายอันประกอบด้วยธาตุ ๔ ของพระพุทธเจ้าได้เป็นของธรรมดา
    ก้อนดินที่บุคคลขว้างขึ้นไปในอากาศย่อมตกลงมาที่พื้นดิน ด้วยกรรมเหล่านั้นได้ทำไว้ในปางก่อนหรือ...มหาบพิตร ?”
    “หามิได้ พระผู้เป็นเจ้า ก้อนดินเหล่านั้ไม่ได้ตกลงมาที่พื้นดินด้วยกรรมอะไร”
    “ขอถวายพระพร ควรเห็นว่าพระวรกายของพระตถาคตเจ้า ก็เปรียบเหมือนกับพื้นดินฉะนั้น การที่สะเก็ดศิลาถูกพระบาทของพระตถาคตเจ้านั้น ไม่ใช่เป็นเพราะบุพพกรรม
    อมาตมาภาพขอถามมหาบพิจรว่า การที่แผ่นดินใหญ่นี้ ถูกมนุษย์ทั้งหลายทำลายและขุดนั้น เป็นด้วยบุพพกรรมหรือ ?”
    “ไม่ใช่ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ข้อที่สะเกิดศิลาถูกพระบาทของพระพุทธเจ้า ทำให้พระโลหิตห้อนั้น ก็ไม่ใช่เพราะบุพกรรมฉันนั้น ถึงพระโรคลงแดงก็ไม่ได้เกิดด้วยบุพพกรรม เกิดด้วย ลม ดี เสมหะ ๓ อย่างกำเริบต่างหาก
    ทุกขเวทนาทางพระวรกายของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ไม่ได้เกิดด้วยบุพพกรรมเลย เกิดด้วยสมุฎฐาน ๖ ต่างหาก
    ข้อนี้ สมกับที่สมเด็จพระมหามุนีได้ตรัสไว้ใน “โมลิยสีวกเวยยากกรณะ” ในยุตตนิกายว่า
    “ดูก่อนสีวกะ เวทนาบางอย่างเกิดขึ้นเพราะมี “ดี” เป็นสมุฎฐาน บางอย่างที “ เสมหะ” เป็นสมุฎฐาน บางอย่างมี “สิ่งทั้ง ๓” นั้นเป็นสมุฎฐาน บางอย่างเกิดขึ้นเพราะเปลี่ยนฤดู
    บางอย่างเกิดขึ้นเพราะบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ บางอย่างเกิดขึ้นเพราะการกระทำของผู้อื่น บางอย่างเกิดขึ้นเพราะผลของกรรม
    สมณพราหมณ์เหล่าใดเห็นว่า สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุขทั้งสิ้น เกิดขึ้นเพราะบุพพกรรมทั้งนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าแล่นเลยความจริงไป ความคิดความเห็นของสมณพราหมณ์เหล่านั้นผิดไป”
    เพราะฉะนั้นแหละ มหาบพิตร อาตมาจึงว่า เวทนาทั้งสิ้นไม่ใช่มีกรรมเป็นสมุฎฐานไม่ใช่เกิดเพราะกรรมทั้งนั้น
    เป็นอันว่า พระตถาคตเจ้าได้เผาอกุศลกรรมสิ้นแล้ว จึงได้ถึงพระสัพพัญญุตญาณ ขอให้มหาบพิตรทรงจำไว้อย่างนี้เถิด ขอถวายพระพร”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า โยมขอรับไว้จำไว้อย่างนี้” [/FONT]
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ฎีกามิลินท์ </center> การที่พระนาคเสนกล่าวไว้ว่า “ทุกขเวทนาของพระพุทธเจ้าไม่ได้เกิดด้วยกรรมนั้น” เป็น เอกังสพยากรณ์ คือเป็นการกล่าวแก้ออกไปอย่างเด็ดขาดลงไปฝ่ายเดียวเท่านั้น
    เพราะฉะนั้น จึงควรวิจารณ์ อย่างไหนถูกกว่าก็ควรเอาอย่างนั้น การวิจารณ์นั้นมีว่า กิเลสเกิดทั้งหลายเป็นของที่มรรคฆ่าแล้วกรรมอันเกิดด้วยกิเลส ซึ่งจะทำให้เกิดโรคาพาธทั้งในปัจจุบันและอนาคต ของผู้สิ้นกิเลสแล้วนั้นไม่มี
    ท่านจึงว่า ไม่ได้เกิดด้วยกรรม หมายความว่า ไม่ได้เกิดด้วยกรรมที่กระทำในปัจจุบันและจักไม่เกิดในอนาคตเป็นอันขาด เพราะว่าสิ้นกิเลสอันเป็นเหตุให้ทำกรรมที่จะให้เกิดผลทั้งในปัจจุบันและอนาคตแล้ว
    ส่วนบุพพกรรมอันเป็น ปราปรเวทนียกรรม คือกรรมให้ผลในภพสืบ ๆ ไปนั้นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกเจ้าทั้งหลายก็ไม่อาจห้ามได้ เพราะฉะนั้นจึงควรถือเอาว่าเวทนาของพระพุทธเจ้านั้นเกิดด้วยบุพพกรรมไม่ได้เกิดด้วยปัจจุบันกรรม
    แต่เพราะเหตุไร พระเถระจึงกล่าวไว้หลายอย่าง เพราะเหตุว่า พระเจ้ามิลินท์อยากทรงสดับปฎิภาณอันวิจิตรต่าง ๆ จึงได้แก้หลายอย่างเช่นนั้น ดังนี้
    (ขอยับยั้งปัญหาไว้เพียงแค่นี้ก่อน เพราะตอนที่แล้วยังค้างเรื่องในพระสูตร จึงของย้อนพูดถึง ปัญหาที่ ๖ เรื่อการตั้งครรภ์ ตามที่ท่านกล่าวถึงเทพบุตร ๔ องค์ คือ
    สุวรรณสาม ๑ พระเจ้ามหาปนาท ๑ พระเจ้ากุสราช ๑ พระเวสสันดร ๑ ว่าได้ลงมาเกิดเพราะพระอินทร์ทรงอ้อนวอน
    สำหรับในตอนนี้จึงขอนำเรื่อง “พระเจ้ามหาปนาท” มาอ่านกันก่อน ส่วนในตอนหน้าจะเป็นเรื่อง “พระเจ้ากุสราช” ขออย่าได้พลาดในการติดตามต่อไป)

    <center>
    มหาปนาทชาดก
    </center> มหาปนาทชาดกนี้มีเนื้อความว่า สมเด็จพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาทรงพระปรารภอานุภาพของ พระภัททชิเถระ จึงทรงแสดงซึ่งชาดกนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย
    ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระมหามุนีเสด็จจำพรรษาอยู่ในกรุงพาราณสี ทรงดำริว่าจะสงเคราะห์ ภัททชิกุมาร จึงเสด็จไปสู่ภัททิยนคร ประทับอยู่ในชาติยาวันตลอดไตรมาสเพื่อรอให้วาสนาบารมีของพระภัททชิกุมารแก่กล้า
    ภัททชิกุมารนั้น เป็นบุตรแห่ง ภัททิยเศรษฐี ผู้มีทรัพย์ ๘๐ โกฎิ มีปราสาสถึง ๓ หลัง เป็นที่ยับยั้งอยู่ในฤดูทั้ง ๓
    ฝ่ายสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งจำพรรษาอยู้ในอารามนั้น สิ้นไตรมาส ๓ เดือนแล้ว จึงทรงตรัสอำลาชาวเมืองทั้งหลายว่า จะเสด็จไปจากเมืองนั้น
    พวกชาวเมืองจึงขอให้ประทับอยู่อีกวันหนึ่ง แล้วพากันถวายมหาทานในวันรุ่งขึ้น มีมหาชนไปประชุมถวายทานเป็นอันมาก
    เมื่อภัททชิกุมารไม่เห็นมหาชนไปคอยดูตน ในเวลาเปลี่ยนปราสาทตามฤดูเหมือนที่เคยมา จึงถามคนทั้งหลายจนรู้เหตุผลนั้นแล้วได้รีบตกแต่งกายด้วยเครื่องอลงกตพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก ออกไปเฝ้าสมเด็จพระบรมสุคต
    เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ ก็ได้ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล สมเด็จพระทศพลจึงตรัสบอกแก่เศรษฐี ผู้บิดาของภัททชิกุมารนั้นให้ทราบว่า ภัททชิกุมารได้สำเร็จพระอรหัตผลแล้ว ถ้าไม่ให้บรรพชาในวันนี้ เขาก็จักปรินิพพานเสีย
    มหาเศรษฐีจึงกราบทูลขอให้บรรพชา เมื่อภัททชิกุมารบรรพชาแล้ว ได้ทูลอาราธนาให้สมเด็จพระบรมศาสดา เข้าไปรับมหาทานในบ้านของตนอยู่ตลอด ๗ วัน
    ในวันที่ ๗ พระองค์จึงพาพระภัททชิเสด็จไปถึงโกฏิคาม ชาวโกฏิคามได้พร้อมกันถวายมหาทานแก้ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธองค์ทรงเป็นประธาน
    เมื่อเสร็จจากการฉันแล้ว เวลาพระพุทธองค์จะทรงอนุโมทนานั้น พระภัททชิ ได้ออกไปภายนอกบ้านเสียก่อน ไปนั่งเข้าฌานอยู่ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่งริมฝั่งแม่น้ำคงคา

    <center>
    อานุภาพของพระภัททชิเถระ
    </center> ฝ่ายชาวบ้านโกฏิคามได้ยกเรือทานถวายพระภิกษุสงฆ์ เวลาสมเด็จพระพุทธองค์เสด็จลงประทับในเรือแล้ว โปรดให้พระภัททชิไปในเรือลำเดียวกันด้วย พอไปถึงกลางแม่น้ำคงคา สมเด็จพระบรมศาสดาจึงตรัสถามว่า
    “ดูก่อนภัททชิ ปราสาทที่เธอเคยอยู่ในเมื่อครั้งเป็นพระเจ้ามหาปนาทราชนั้นอยู่ที่ไหน ?”
    พระภัททชิกราบทูลว่า
    “จมอยู่ตรงนี้ พระเจ้าข้า”
    ภิกษุทั้งหลายที่เป็นปุถุชนก็พากันร้องกล่าวโทษว่า พระภัททชิอวดมรรคผล สมเด็จพระทศพลจึงตรัสบอกพระภัททชิ ให้แก้ความสงสัยของภิกษุทั้งหลาย พระภัททชิถวายบังคมแล้วก็บันดาลปลายนิ้วเท้า ลงไปคีบยอดปราสาทอันสูงได้ ๒๕ โยชน์ ขึ้นจากแม่น้ำคงคา ไปปรากฏอยู่บนอากาศสูงจากพื้นน้ำได้ถึง ๓ โยชน์ แล้วปล่อยไปในแม่น้ำคงคา มหาชนทั้งหลายก็หมดความสงสัย
    สมเด็จพระจอมไตรจึงตรัสว่า ปราสาทหลังนี้ พระภัททชิเคยอยู่มาตั้งแต่ครั้งเป็นพระเจ้ามหปนาทราช

    <center>
    อานิสงส์สร้างบรรณศาลา
    </center> ในอดีตกาลมีช่างเสื่อลำแพนคนหนึ่งในเมืองพาราณสี เดินออกไปที่นาได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง จึงบอกให้บ่าวไพร่ออกไปหว่านข้าว ส่วนตนเองได้นิมนต์พระปัจเจกพุทธองค์นั้น กลับไปฉันอาหารที่บ้านของตนแล้วนิมาต์ไปที่ริมน้ำคงคาอีก
    ตนพร้อมกับบุตรได้สร้างบรรณศาลาด้วยเสาไม่มะเดือ ฝาไม้อ้อขึ้น แล้วกระทำที่เดินจงกรมถวายแก่พระปัจเจกเจ้าให้จำพรรษาอยู่ในที่นั้น เวลาออกพรรษาแล้วได้ถวายไตรจีวรแล้วนิมนต์ไปตามปรารถนา
    ต่อมาก็ได้นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าให้มาจำพรรษาในบรรณศาลานั้นปีละองค์ จนถึง ๗ องค์ เวลาออกพรรษาแล้วก็ได้ถวายไตรจีวรทุกองค์ไป
    เวลาบิดากับบุตรทั้งสองนั้นตายแล้ว ก็ได้ขึ้นไปเกิดในดาวดึงส์สวรรค์ ได้เสวยทิพย์สมบัติไป ๆ มา อยู่ในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น
    ต่อมาภายหลังบิดายังอยู่ในสวรรค์ ส่วนบุตรได้จุติจากสวรรค์ ลงมาบังเกิดในพระครรภ์ พระนางสุเมธาเทวี อัครมเหสีของ พระเจ้าสุรุจิ ในกรุงมิถิลามหานคร


    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] (ในตอนนี้ขอแทรกประวัติ พระเจ้าสุรุจิ และ พระนางสุเมธาเทวี อันปรากฏมีอยู่ใน สุรุจิชาดก ซึ่งสมเด็จพระพุทธองค์ทรงพระปรารภ นางวิสาขามหาอุวาสิกา ไว้เป็นต้นเหตุแล้วจึงได้ทรงแสดงขาดกนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย) [/FONT]
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> สุรุจิชาดก </center> ในอดีตกาลพระราชทรงพระนามว่า สุรุจิ เสวยราชสมบัติในพระนครมิถิลา ทรงได้พระราชโอรสจึงขนานพระนามว่า สุรุจิกุมาร พระกุมารทรงเจริญวัยแล้วทรงดำริว่า เราจักเรียนศีลปะในเมืองตักศิลา จึงเสด็จไปประทับนั่งพักที่ศาลาใกล้ประตูพระนคร
    ฝ่ายพระราชโอรสของพระเจ้าพาราณสีทรงพระนามว่า พรหมทัตกุมาร ก็เสด็จไปในที่นั้น เมื่อทรงไตรถามกันแล้วจึงไปสู่สำนักอาจารย์ไม่ช้านานต่างก็สำเร็จศีลปะ พากันอำราอาจารย์
    ก่อนที่จะเสด็จจากกัน ต่างทรงกระทำกติกากันว่า ถ้าข้าพเจ้าพระมีโอรส ท่านมีพระธิดา หรือท่านมีพระโอรส ข้าพเจ้ามีพระธิดา เราจักให้แต่งงานกัน
    ครั้นกุมารทั้งสองเสวยราชสมบัติ พระเจ้าสุรุจิมหาราชมีพระโอรส ทรงพระนามว่า สุรุจิกุมาร พระเจ้าพรหมทัตมีพระธิดา ทรงพระนามว่า สุเมธา พระกุมารสุรุจิทรงจำเร็ญวัย เสด็จไปเมืองตักศิลา ทรงเรียนศีลปะเสร็จแล้วเสด็จกลับมา
    พระราชบิดามีพระประสงค์จะอภิเษกพระกุมารในราชสมบัติ ทรงสดับว่า พระเจ้าพราหมทัตพระสหายของเรามีพระธิดา เราจักสถาปนานางให้เป็นอัครมเหสีของลูกเรา ทรงประทานบรรณาการให้พวกอำมาตย์นำไปเพื่อต้องการพระนางนั้น
    ภายหลังอำมาตย์เหล่านั้นกลับมากราบทูลว่า พระเจ้าพาราณสีไม่มีพระประสงค์ที่จะส่งนางเข้าไปภายในกลุ่มสตรี ประสงค์ที่จะส่งนางแก่ผู้ที่จะครองนางผู้เดียวเท่านั้น
    พระกุมารสุรุจิทรงสดับรูปสมบัติของพระนางสุเมธาแล้ว ก็ติดพระหฤทัยจึงกราบทูลว่า หม่อมฉันจักครองนางแต่ผู้เดียวไม่ต้องการกลุ่มสตรีโปรดเชิญนางมาเถิด
    ครั้นเชิญพระนางมาแล้วทรงอภิเษกให้เป็นอัครมเหสีของพระกุมาร พระกุมารนั้นทรงพระนามว่า สุรุจิมหาราช ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม ทรงอยู่ร่วมกับพระมเหสีตลอด ๑๐,๐๐๐ ปี ไม่ทรงมีพระโอรสหรือธิดาเลย

    <center>
    พระเทวี ๑๖,๐๐๐ นาง
    </center> ครั้งนั้น ชาวเมืองต่างพากันกราบทูลให้พระราชาทรงรับกลุ่มสตรีไว้ เผื่อจักได้มีพระโอรสไว้สืบสันติวงศ์ แต่พระองค์ทรงตรัสห้าม เนื่องจากทรงปฏิญาณไว้แล้วว่า จักไม่ครองหญิงอื่นเลย
    พระนางสุเมธาทราบเช่นนั้น จึงทรงดำริว่า พระราชามิได้ทรงนำสตรีอื่นมาเลย แต่เรานี่แหละจักหามาถวายแก่พระองค์ ดังนี้แล้วจึงทรงนำสตรี ๔,๐๐๐ นาง แต่ก็หามีพระโอรสหรือธิดาไม่ จึงคดมาถวายอีกคราวล่ะ ๔,๐๐๐ ถึง ๓ คราว ก็ไม่ได้พระโอรสพระธิดา
    รวมเป็นหญิงที่พระนางนำมาถวายทั้งสิ้น ๑๖,๐๐๐ นาง เวลาล่วงไป ๔๐,๐๐๐ ปีรวมกับเวลาที่ทรงอยู่กับพระนางองค์เดียว ๑๐,๐๐๐ ปี เป็น ๕๐,๐๐๐ ปี
    ครั้นนั้น ชาวเมืองก็พากันกราบทูลพระราชาอีก ขอให้ทรงบังคับพระเทวีทั้งหลาย พระเทวีเหล่านั้นเมื่อปรารถนาพระโอรส พากับนอบน้อมเทวดาต่าง ๆ พากันบำเพ็ญวัตร ต่าง ๆ แต่พระโอรสก็ไม่อุบัติอยู่นั้นเอง
    ครั้นถึงดิถีที่ ๑๕ พระนางสุเมธาจึงทรงสมาทานอุโบสถ ทรงระลึกถึงศีลทั้งหลายอยู่ในพระตำหนัก พระเทวีที่เหลือพากันประพฤติวัตรอย่างแพะอย่างโค ต่างไปสู่พระอุทยาน
    ด้วยเดชแห่งศีลของพระนางเจ้า พิภพของท้าวสักกะหวั่นไหว เมื่อพระองค์ทรงทราบความนั้นไซร์ จึงทรงเลือก นฬการเทพบุตร ผู้เป็นบุตรแห่งช่างเสื่อลำแพนนั้น
    ท้าวสักกะจึงเสด็จไปถึงประตูวิมารแล้วตรัสว่า
    “ท่านควรจำไปสู่มนุษย์โลก”
    เทพบุตรทูลว่า
    “ข้าแต่มหาราช โลกมนุษย์น่ารังเกียจสกปรก มนุษย์ต่างทำบุญมีให้ทานเป็นต้นปรารถนาเทวโลก ข้าพระองค์จักไปในโลกมนุษย์นั้นทำอะไร?”
    “ท่านจักได้บริโภคทิพยสมบัติที่เคยบริโภคทิพยสมบัติ ที่เคยบริโภคในเทวโลก จักได้อยู่ในปราสาทแก้วสูง ๒๕ โยชน์ ยาว ๙ โยชน์ กว้าง ๘ โยชน์ อยู่ในโลกมนุษย์ เชิญท่านรับคำเถิด”
    เทพบุตรรับคำแล้ว ท้าวสักกะจึงเสด็จไปสู่อุทยาน ด้วยการแปลงเพศเป็นฤาษี จงกรมในอากาศเบื้องบนสตรีเหล่านั้นแล้วตรัสว่า
    “เราจักให้โอรสแก่สตรีผู้ทรงศีล”
    สตรีเหล่านั้นจึงพากันกล่าวว่า
    “เชิญไปสู่สำนักของพระนางสุเมธาเถิด”
    เมื่อพระนางสุเมธาได้ทราบความนั้นแล้วจึงประกาศศีลคุณของตนว่า
    “ดิฉันถูกเชิญมาเป็นอัครมเหสีตลอดหมื่นปีแต่ผู้เดียว ดิฉันมิได้รู้สึกเลยว่า ได้ล่วงเกินพระเจ้าสุรุจิด้วย กาย วาจา ใจ ทั้งในที่แจ้งหรือในที่ลับเลย ฯลฯ
    ดิฉันเป็นที่พอใจของพระภัสดา พระชนนีและพระชนกของพระภ้สดา ก็เป็นที่รักของดิฉัน พระองค์ท่านเหล่านั้นทรงแนะนำดิฉันตลอดเวลา ดิฉันยินดีในความไม่เบียดเบียน มีปกติประพฤติธรรมโดยส่วนเดียวมุ่งบำเรอพระองค์ ท่านเหล่านั้น โดยเคารพไม่รักเกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน ฯลฯ
    ความริษยาหรือความโกรธในสตรีผู้ร่วมเทวี ๑๖,๐๐๐ คน มิได้มีแก่ดิฉันในกาลไหน ๆ เลย คนไหนที่ไม่เป็นที่รักของดิฉันไม่มีเลย ดิฉันอนุเคราะห์หญิงผู้ร่วมสามีทั่วกับทุกคน เหมือนจะอนุเราะห์ตนฉะนั้น ฯลฯ
    ดิฉันเลี้ยงดูทาสกรรมกร ซึ่งจะต้องเลี้ยงดูและชนเหล่าอื่นผู้อาศัยเลี้ยงชีวิตโดยเหมาะสมกับหน้าที่ ดิฉันเบิกบานในกาลทุกเมื่อ ฯลฯ
    ดิฉันเลี้ยงดูสมณพราหมณ์และวณิพกเหล่าอื่น ให้อิ่มหน่ำสำราญด้วยข้าวและน้ำทุกเมื่อ ฯลฯ
    ดิฉันเข้าอยู่ประจำอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ทุกวันอุโบสถ ดิฉันสำรวมแล้วในศีลทุกเมื่อ ฯลฯ
    ข้าแต่พระฤาษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวเท็จ ขอศรีษะของดิฉันจงแตก ๗ เสี่ยง...”
    พระฤาษีจำเเลงจึงกล่าวสรรเสริญคุณของพระนางว่าเป็นความจริง พระนางทรงโสมนัส จึงตรัสถามท่านว่าท่านเป็นใคร


    (ในตอนนี้มีคำอธิบายว่า พระนางตรัสอย่างนี้ ก็เพราะท้าวสักกะทรงมีพระเนตรไม่กระพริบเลย)
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] แล้วพระองค์จึงทรงตรัสบอกความจริงว่าเป็นท้าวสักกเทวราชนั่นเอง [/FONT]
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> มหาปนาทราชกุมาร </center> ครั้นถึงเวลาใกล้รุ่ง นฬการเทพบุตร ก็จุติถือกำเนิดในพระครรภ์ของพระนางต่อมาได้ประสูติพระโอรถทรงพระนามว่า มหาปนาทราชกุมาร
    ชาวเมืองทั้งสองจึงพากันถวายทรัพย์เป็นค่าน้ำนม เมื่อพระกุมารทรงเจริญวัยได้ ๑๖ พรรษา ก็ทรงสำเร็จในศีลปะทุกประการ พระราชาทรงดำริที่จะอภิเษกในราชสมบัติ จึงทรงรับสั่งให้ช่างสำรวจพื้นที่เพื่อสร้างปราสาท
    ท้าวสักกะทรงทราบเหตุนั้น ตรัสสั่ง วิษณุกรรมเทพบุตร ให้ลงไปสร้างปราสาทแก้วยาว ๙ โยชน์ กว้าง ๘ โยชน์ สูง ๒๕ โยชน์ ให้แก่มหาปนาทราชกุมารนั้น เทพบุตรนั้นจึงแปลงเพศเป็นช่าง สั่งให้ช่างเหล่านั้นไปกินข้าวเช้าแล้วค่อยมา แล้วตีพื้นด้วยไม้ค้อน
    ทันใดนั้นเอง ปราสาทแก้ว ๗ ประการ ๗ ชั้น มีขนาดดังกล่าวแล้ว ก็ผุดขึ้นจากพื้นดิน มงคล ๓ ประการ คือ มงคลฉลองปราสาท มงคลอภิเษกสมโภชเศวตฉัตร และอาวาหมงคล ของพระกุมารได้มีคราวเดียวกันแล
    ชาวเมืองทั้งสองได้พากันฉลองมงคลด้วยมหรสพ สิ่งทั้งหมด เช่น ผ้า เครื่อง ประดับ ของเคี่ยวกิน ของชนทั้งหลาย ได้เป็นสิ่งของราชตระกูลทั้งสิ้น
    ครั้นล่าง ๗ ปี ชนทั้งหลายพากันกราบทูลต่อพระเจ้าสุรุจิมหาราชว่า เมื่อไรจะเลิกงานสมโภชเสียที พระราชาตรัสตอบว่า ตลอดงานลูกเราไม่เคยหัวเราะเลย เมื่อใดเธอหัวเราะ เมื่อนั้นพวกเจ้าทั้งหลายจงพากันไปเถิด
    ลำดับนั้น มหาชนพากันเชิญนักฟ้อน ๖,๐๐๐ คนแบ่งเป็น ๗ ส่วนกันรำฟ้อนก็มิอาจที่จะให้พระกุมารทรงพระสรวนได้ ทั้งนี้เพราะท้าวเธอเคยทอดพระเนตรกระบวนฟ้อนรำ อันเป็นทิพย์มาช้านาน การฟ้อนของนักฟ้อนเหล่านั้น จึงมิได้เป็นที่ต้องพระหฤทัย
    ครั้งนั้นจอมนักฟ้อน ๒ นาย หาอุบายต่าง ๆ เพื่อจะให้ทรงพระสรวลแต่ก็ไม่เป็นผลฝูงชนจึงพากันระส่ำระสาย
    ฝ่ายท้าวสักกะทรงทราบเหตุนั้น จึงทรงส่งนักฟ้อนเทวดามายืนบนอากาศ ในท้องพระลานหลวง แสดงขบวนฟ้อนที่เรียกว่า “อปฑฒังคะ” คือมือข้างเดียว เท้าก็ข้างเดียว ตาก็ข้างดียว แม้คิ้วก็ข้างเดียว ฟ้อนไปร่ายรำไป เคลื่อนไหวไป ที่เหลือคงนิ่งไม่หวั่นไหวเลย
    พระเจ้ามหาปนาททอดพระเนตรเห็นการนั้นแล้ว ทรงพระสรวลหน่อยหนึ่ง แต่มหาชนเมื่อหัวเราะ ก็สุดที่จะกลั้นความขบขันไว้สุดที่จะดำรงสติไว้ได้ ล้มกลิ้งไปในท้องพระลานหลวง มงคลเป็นอันเลิกได้ตอนนั้น พระเจ้ามหาปนาททรงกระทำบุญ มีถวายทานเป็นต้น เมื่อสิ้นพระชนม์ก็เสด็จไปสู่เทวโลกนั้นเอง
    พระศาสดาทรงนำธรรมเทศนานี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า มหาปนาท ในครั้งนั้นได้มาเป็น ภัททชิ สเมธาเทวี ได้มาเป็น วิสาขา วิษณุกรรม ได้มาเป็น อานนท์ ส่วน ท้าวสักกะ ได้มาเป็นเราตถาคต แล
    (เรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า พระนางสุเมธาเทวี หรือ นางวิสาขา ผู้งดงามด้วยเบญกัลยาณี มีจริยาดีมาโดยตลอด ข้อวัตรปฏิบัติต่อผู้ร่วมอาศัยชายคาเดียวกัน ประพฤติได้อย่างครบถ้วนท่านจึงมีความผาสุขในการครองเรือน สมควรที่ยกย่องว่าเป็นกุลสตรีที่แท่จริง
    สำหรับช่างเสื่อลำแพนสองพ่อลูก โดยเฉพาะลูกได้รับอานิสงส์มหาศาล เป็นด้วยผลจากการถวายภัตตาหาร ผ้าไตรจีวร และสร้างบรรณศาลาถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า จึงเกิดปราสาทแก้ว ๗ ประการ เพราะผลของทานร่วมกับบิดา
    แต่แปลกที่ว่าบุตรทำไมจึงไปนิพพานก่อน ส่วนบิดาจะมีความเป็นอย่างไรโปรดติดตามได้ต่อไปนี้)

    <center>
    มหานฬการเทพบุตร
    </center> ครั้นพระเจ้ามหาปนาทสวรรคตแล้ว ปราสาทนั้นก็ได้เลื่อนลอยลงสู่แม่น้ำคงคา ในที่ตั้งบันใดปราสาทเดิมนั้น ได้กลายเป็นบ้านเมืองหนึ่ง ชื่อว่า ปยาคปติฏฐนคร ที่ตรงยอดปราสาทนั้น ได้กลายเป็นบ้านชื่อว่า โกฏิคาม
    มีคำถามว่า เพราะเหตุไร ปราสาทหลังนั้นจึงย้งไม่อันตรธาน
    มีคำแก้ว่า เป็นเพราะอานุภาพแห่งช่างเสื่อลำแพนซึ่งเป็นบิดาในปางก่อน มีนามกรว่า มหาฬการเทพบุตร จะจุติมาเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขจักร ปราสาทหลังนั้นจักผุดขึ้นมาเพื่อเป็นที่ประทับของพระองค์

    <center>
    สมัยพระศรีอารียเมตไตรย
    </center> ตามพระบาลีใน จักวัตติสูตร คัมภีร์ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค มีเนื้อความว่า
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘ หมื่นปี เด็กหญิงมีอายุ ๕๐๐ ปี จึงจักมีสามีได้
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวที่มนุษย์มีอายุ ๘ หมื่นปีนั้น จักเกิดมีอาพาธ ๓ อย่าง คือ ความอยากกิน ๑ ความไม่อยากกิน ๑ ความแก่ ๑ เท่านั้น
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘ หมื่นปี ชมพูทวีปนี้จักมีมนุษย์มีอายุ ๘ หมื่นปี ชมพูทวีปนี้จักมั่งคั่งและรุ่งเรือง มีบ้านนิคมและราชธานีพอชั่วไก่บินตก ชมพูทวีปนี้ประหนึ่งว่าอเวจีมหานรก จักยัดเยียดไปด้วยผู้คนทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้อ้อหรือป่าไม้แก่น ฉะนั้น

    <center>
    เกตุมดีราชธานี
    </center> ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘ หมื่นปี เมืองพาราณสีนี้จักเป็นราชธานีมีนามว่า “เกตุมดี” เป็นเมืองที่มั่งคั่งและรุ่งเรืองมีพลเมืองมาก และมีอาหารสมบูรณ์
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘ หมื่นปี ในชมพูมวีปนี้จักมีเมือง ๘๐,๐๐๐ เมือง มีเกตุมดีราชธานีเป็นประมุข

    <center>
    พระเจ้าสังขจักพรรดิ
    </center> ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘ หมื่นปี จักมีพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงพระนามว่า “พระเจ้าสังขจักรพรรดิ” เสวยราชสมบัติอยู่ในเกตุมดีราชธานี เป็นพระราชาโดยชอบธรรมเป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราอาณาจักรมั่งคงสมบูญณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ
    จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปรินายกแก้ว พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชนะโดยธรรม มิต้องใช้อำนาจอาชญาหรืออาวุธประการใด

    <center>
    พระพุทธเจ้าทรงอุบัติ
    </center> ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘ หมื่นปี จักมีพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า “เมตไตรย” จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ฯลฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าสังขจักรนั้น จักเสวยราชย์อยู่ที่ปราสาทของพระพระเจ้ามหาปราทอันมีมาในอดีตกาลนั้น
    แล้วจักทรงสละปราสาทนั้นให้เป็นทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้าคนเดินทางและคนขอทานทั้งหลาย แล้วจักปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้าย้อมฝาด ออกบรรพชาในสำนักของพระศาสดา ทรงพระนามว่า “เมตไตรย”
    เมื่อพระเจ้าสังขจักรทรงบรรพชาแล้วจักออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว จักไม่ปรามาทจักมีความเพียน จักมีใจตั้งมั่น แล้วจักสำเร็จถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันเป็นสิ่งยอดเยี่ยมซึ่งเป็นที่ปรารถนาของกุลบุตร ที่พากันออกจากเรือนเป็นบรรพชิตทั้งหลาย”
    (เนื่อความในพระบาลีขอนำมากล่าวไว้แต่เพียงแค่นี้)

    <center>
    อรรถกถา
    </center> พระอรรถกถาจารย์ท่านอธิบายคำว่า “พอไก่บินตก” คือพอไก่บินจากหลังคาบ้านหนึ่งไปตกที่หลังคาอีกบ้านหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งได้แก่ระยะทรงพอชั่วไก่เดินไปมาถึงกันได้ อันได้ใจความว่า ในครั้งนั้นมีบ้านเรือนอยู่หนาแน่น
    คำว่า “เหมือนกับอเวจีนั้น” คือมีคนอยู่เต็มเป็นนิจ เหมือนกับสัตว์ในอเวจีมหานรก
    คำว่า “พระเมตไตรยจักเกิดขึ้นในโลกคราวที่มนุษย์มีอายุ ๘ หมื่นปีนั้น” ไม่ใช้ตรัสด้วยความเจริญของมนุษย์ เพราะพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้น ในเมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุเจริญขึ้น แต่พระพพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น ในเมื่อมนุษย์ทั้งหลายอายุเสื่อมลง
    คำที่ว่า “พระเจ้าสังขจักรทรงสละปราสาทให้เป็นทานนั้น” คือทรงสละโดยไม่มีความเสียดาย ก็ปราสาทหลังเดียวจะทรงสละให้แก่คนหลายคนได้อย่างไร ?”
    ได้อย่างนี้... คือพอพระเจ้าสังขจักรคิดจะสละให้เป็นทาน ปราสาทหลังนั้นก็จะหักกระจัดกระจายเป็นท้อนน้อยท้อนใหญ่ แล้วพระบาทท้าวเธอก็เปล่งวาจาว่า
    ผู้ใดต้องการสิ่งใดก็จงถือเอาสิ่งนั้น...
    (เนื่อความในบาลีและอรรถกถานำมาไว้โดยย่อเพียงแค่นี้ ส่วนในหนังสือ อนาคตวงศ์ ท่านพรรณนาไว้แปลกอีกนิดหน่อยดังนี้)
    “พระเจ้าสังขจักรมีพระราชโอรส ๑ พัน พระองค์ พระราชโอรสผู้ใหญ่นั้น ทรงพระนามว่า อชิตราชกุมาร และมีตำแหน่งเป็น ปรินายกแก้ว แห่งสมเด็จพระราชบิดาอีกด้วย
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] ฝ่ายมหาปุโรหิตผู้ใหญ่ของสมเด็จพระสังขจักรนั้น มีนามว่า สุตพราหมณ์ ส่วนนางพราหมณีผู้เป็นภริยานั้น มีนามว่า นางพราหมณวดี ท่านทั้งสองนี้แหละเป็นผู้ให้กำเนิด พระศรีอาริยเมตไตรย ดังนี้” [/FONT]
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ตอนที่ ๑๙ </center> <center> ปัญหาที่ ๙ </center> <center> ถามเรื่องสิ่งที่
    ควรทำยิ่งของพระพุทธเจ้า
    </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    สมเด็จพระราชาธิบดินทร์มิลินทราชพระบาทท้าวเธอตรัสถามปัญหาข้อต่อไปอีกว่า
    [/FONT] ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้สิ่งที่ควรทำทั้งสิ้น สมเด็จพระมหามุนินทร์ ทรงทำสำเร็จแล้วที่ภายใต้ไม้ศรีมหาโพธิ ไม่มีสิ่งที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ไม่มีการสะสมสิ่งที่ทำแล้ว ดังนี้ แต่มีปรากฏอยู่ว่า พระตถาคตเจ้าได้ทรงประทับอยู่ในสงัดถึง ๓ เดือน
    ถ้าพระคถาคตเจ้าได้ทำสิ่งที่ควรทำหมดแล้ว คำที่ว่า พระตถาคตเจ้าทรงเช้าอยู่ในที่สงัดถึง ๓ เดือนนั้นก็ผิดไป
    ถ้าถือการที่พระตถาคตเจ้าอยู่ในที่สงัดตลอด ๓ เดือนนั้นถูก คำที่ว่า พระตถาคตเจ้าได้ทำสิ่งที่ควรกำหนดแล้วนั้นก็ผิดไป
    ข้าแต่พระนาคเสน การอยู่ในที่สงัด คือการเข้าฌานสมาบัติ ย่อมไม่มีแก่ผู้ที่ได้ทำสิ่งที่ควรทำเสร็จแล้ว
    เหมือนกับความจำเป็นที่ต้องทำด้วยยา ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีโรค ความจำเป็นด้วยโภชนาหาร ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่หิวฉะนั้น ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ มีถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้วขอโปราดแก้ไขด้วยเถิด”
    พระนาคเสนเถระวิสัชราว่า
    “ขอถวายพระพร สมเด็จพระชินวรได้ทำสิ่งที่ควรทำเสร็จแล้ว ที่ภายใต้โพธิพฤกษ์ ไม่มีสิ่งที่ควรทำอีก ไม่มีการสะสมสิ่งที่ควรทำไว้แล้วนั้นก็เป็นจริง
    คำที่ว่า พระตถาคตเจ้าได้ทรงเข้าฌานสมาบัติอยู่ตลอด ๓ เดือนนั้นก็จริง คือเมื่อพระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงเข้าฌาน อันมีคุณมาก มีคุณเป็นเอนก แล้วจึงสำเร็จพระสัพพัญญุตญาณ เมื่อทรงระลึกถึงคุณที่ฌานเหล่านั้น ได้กระทำไว้แล้ว จึงทรงเข้าฌานอีก
    เหมือนกับผู้ได้รับพรจากพระพราชา คือได้ลาภยศจากพระราชาแล้ว เมื่อระลึกถึงคุณของพระราชา ก็ไปเฝ้าพระราชาอยู่เนือง ๆ
    หรือเหมือนกับบุรุษผู้เจ็บไข้ ได้หายเจ็บไข้ เพราะหมอคนใด เมื่อระลึกถึงคุณหมอคนนั้น ก็ไปหาหมอเนือง ๆ ไปเพิ่มทรัพย์ให้หมอคนนั้นอีกเนือง ๆ ฉะนั้น”

    <center>
    การเข้าฌานมีคุณ ๒๘
    </center> “ขอถวายพระพร การเข้าฌานมีคุณ ๒๘ เมื่อสมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงระลึกถึงคุณ ๒๘ นั้น ก็ทรงเข้าฌาน

    <center>
    คุณแห่งการเข้าฌาน ๒๘ นั้น คือ
    </center>
    ๑ รักษาตัว
    ๒ ทำให้อายุเจริญ
    ๓ ทำให้เกิดกำลัง
    ๔ ปิดเสียซึ่งโทษ
    ๕ กำจัดเสียซึ่งสิ่งที่ไม่มียศ
    ๖ ทำให้เกิดยศ
    ๗ กำจัดเสียซึ่งความไม่ยินดีในธรรม
    ๘ ทำให้เกิดความยินดีในธรรม
    ๙ กำจัดเสียซึ่งภัย
    ๑๐ กระทำให้เกิดความกล้าหาญ
    ๑๑ กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน
    ๑๒ ทำให้ความเพียร
    ๑๓ กำจัดซึ่งราคะ
    ๑๔ ระงับซึ่งโทสะ
    ๑๕ กำจัดเสียซึ่งโมหะ
    ๑๖ กำจัดเสยซึ่งมานะ
    ๑๗ ทิ้งเสียซึ่งวิตก
    ๑๘ ทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
    ๑๙ ทำให้จิตรักในที่สงัด
    ๒๐ ทำให้ร่าเริง
    ๒๑ ทำให้เกิดปีติ
    ๒๒ ทำให้เป็นที่เคารพ
    ๒๓ ทำให้เกิดลาภ
    ๒๔ ทำให้เป็นที่รักแก่ผู้อื่น
    ๒๕ รักษาไว้ซึ่งความอดทน
    ๒๖ กำจัดเสียซึ่งอาสวะแห่งสังขารทั้งหลาย
    ๒๗ เพิกถอนเสียซึ่งการเกิดในภพต่อไป
    ๒๘ ให้ถึงซึ่งสามัญผลทั้งปวง
    ดูก่อนมหาราชะ การเข้าฌานย่อมมีคุณ ๒๘ ประการดังที่ว่านี้ สมเด็จพระชินห์ทั้งหลายจึงเข้าทรงฌาน อีกประการหนึ่ง เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงต้องการเสวยสุขอันสงบ ก็ทรงเข้าฌาน
    อนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงเข้าฌานโดยเหตุ ๔ คือ เพื่อความอยู่เป็นสุข ๑ เพื่อความไม่มีโทษมีแต่มากด้วยคุณ ๑ เพื่อความเจริญแห่งพระอริยะอย่างไม่เหลือ ๑ เป็นของที่พระพุทธเจ้าทั้งปวงสรรเสริญว่าประเสริฐ ๑
    สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงเข้าฌานด้วยเหตุเหล่านี้ไม่ใช่ทรงเข้าฌานด้วยเหตุที่ยังมีสิ่งที่ควรทำอยู่หรือด้วยเหตุเพื่อจะสะสมสิ่งที่ควรทำแล้วทรงเข้าด้วยทรงเล็งเห็นคุณวิเศษโดยแท้ขอถวายพระพร”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] พระผู้เป็นเจ้าโปรดนี้โยมไม่มีข้อสงสียโยมจะรับไว้ซึ่งถ้อยคำของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยประการดังนี้” [/FONT]
     

แชร์หน้านี้

Loading...