มิลินท ปัญหา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 2 สิงหาคม 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๗ </center> <center> ถามถึงความเป็น
    พระราชาของพระพุทธเจ้า
    </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “ดูก่อนภิกศุทั้งหลายเราเป็นพราหมณ์ เป็นผู้ควรแก่การขอ” แต่ตรัสไว้อีกว่า “ดูก่อนเสลพราหมณ์ เราเป็นพระราชา” ดังนี้
    [/FONT] ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าคำที่ว่า “เราเป็นพราหมณ์” นั้นถูก คำว่า “เราเป็นพระราชา” ก็ผิด ถ้าคำที่ว่า “เราเป็นพระราชา” ถูก คำที่ว่า “เราเป็นพราหมณ์” ก็ผิด เพราะเหตุว่าในชาติ ๆ เดียว จะมี ๒ วรรณะ คือเป็นทั้งกษัตริย์ทั้งพราหมณ์ไม่ได้ ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ โปรดแก้ไขด้วย”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร ถูกทั้งสองอย่าง คือเหตุ ที่ให้เป็นพราหมณ์ก็มี เหตุที่ให้เป็นพระราชาก็มี”
    “ข้าแต่พระนาคเสน เหตุไรทำให้เป็นพราหมณ์ เหตุไรทำให้เป็นพระราชา ?”
    “ขอถวายพระพร เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงละบาปอกุศลทั้งสิ้นนั้นแหละ ทำให้เป็นพราหมณ์ ธรรมดาผู้ชื่อว่า พราหมณ์ ย่อมล่วงพ้นความสงสัยทั้งสิ้นด้วยตนเอง
    อีกอย่างหนึ่ง ธรรมดาพราหมณ์ย่อมพ้นจาก ภพ คติ กำเนิด ทั้งสิ้น พ้นจาก มลทินทั้งสิ้น ไม่มีใครเสมอเหมือน เป็นผู้มากไปด้วยคุณธรรมอันประเสริฐ เป็นผู้ไว้ซึ่งการเรียน การสอน การขวนขวาย การทรมานตน สำรวมตน มีนิยมเป็นกำหนดการ
    เป็นผู้รักษาไว้ซึ่งคำสอนและประเพณีอันดีทั้งปวง เป็นผู้ทรงทราบซึ่งความเป็นไปในภพน้อย ภพใหญ่ และคติ ทั้งปวง เป็นผู้ที่ได้พระนามขึ้นเองว่า เป็น พราหมณ์ พร้อมกับเวลาที่ได้สำเร็จพระสัพพัญญุตญาณ ภายใต้ต้นศรีมหาโพธิ
    ข้อที่ได้พระนามว่าเป็น พระราชา นั้นเพราะธรรมดาพระราชา ย่อมสั่งสอนนรชนในอาณาเขตของตน พระพุทธเจ้าก็ทรงสั่งสอนสัตว์โลกทั้งสิ้น
    ธรรมดาพระราชา ย่อมครอบงำมนุษย์ทั้งหลาย ทำให้หมู่ญาติรื่นเริง ทำให้หมู่ศัตรูทุกข์โศก ทรงยกเศวตฉัตรอันขาวสะอาดปราศจากมลทิน มีชี่ไม่ต่ำกว่าร้อย มีคันแก่นแน่นหนา นำมาซึ่งพระเกียรติยศและศิริอันใหญ่ฉันใด
    พระพุทธเจ้าก็ทรงยกเศวตฉัตรอันบริสุทธิ์คือวิมุตติ มรรค ผล นิพพาน แล้วทรง ทำหมู่เสนามารที่ปฏิบัติผิดให้เศร้าโศก ทรงทำเทพยดามนุษย์ที่ปฏิบัติถูกให้รื่นเริง ทรงยกเศวตฉัตรอันมีซี่ คือพระปรีชาญาณอันประเสริฐ มีคันไม้แก่นแน่นหนา แข็งแรง คือพระขันติ อันนำมาซึ่งยศและศิริอันใหญ่ ในหมื่นโลกธาตุฉันนั้น
    ธรรมดาพระราชา ย่อมเป็นที่กราบไหว้ของประชาชนผู้พบเห็นฉันใด พระพุทธเจ้าควรเป็นที่กราบไหว้ของเทพยดามนุษย์ทั้งหลายฉันนั้น ธรรมดาพระราชา ย่อมทรงโปรดปรานแก่ผู้ทำถูกฉันใด พระพุทธเจ้าก็ทรงโปรดปรานผู้ปฏิบัติถูกฉันนั้น
    ธรรมดาพระราชา ย่อมทรงเคารพนับถือโบราณพระราชประเพณี ดำรงราชกุลวงศ์ไว้ให้ยั่งยืนฉันใด พระพุทธเจ้าก็ทรงเคารพนับถือ ซึ่งพระพุทธประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน ไว้ให้ดีฉันนั้น
    ด้วยเหตุนี้แหละ มหาบพิตร สมเด็จพระธรรมสามิสร์ได้ทรงพระนามว่าเป็น พระราชา ด้วยพระคุณธรรมของพระองค์เอง
    เหตุที่จะให้พระตถาคตเจ้าได้พระนามว่าเป็น พราหมณ์ และเป็น พระราชา นั้นมีอยู่มาก ถึงจะพรรณนาไปตลอดกัปก็ไม่รู้จักสิ้น ไม่จำเป็นอะไรที่จะพูดให้มากเกินไป เชิญรับไว้เพียงย่อ ๆ เท่านี้เถิด ขอถวายพระพร”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “สาธุ...พระนาคเสน ท่านแก้ปัญหาข้อนี้ถูกต้องดีแล้ว [/FONT]
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๘ </center> <center> ถามถึงเหตุที่ไม่มีพระพุทธเจ้า </center> <center> เกิดขึ้นพร้อมกัน ๒ พระองค์ </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เกิดพร้อมกันในโลกธาตุอันเดียว”
    [/FONT] ก็พระตถาคตเจ้าทั้งปวง เมื่อจะทรงแสดงธรรม ก็ทรงแสดงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ อริยสัจ ๔ เมื่อจะให้ศึกษาก็ให้ศึกษาในไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) เมื่อจะทรงพร่ำสอนก็ทรงพร่ำสอนในอัปปมาทปฏิบัติ (การเป็นผู้ไม่ประมาท) เหมือนกันทั้งนั้น
    แต่เหตุไรจึงไม่เกิดพร้อมกัน ๒ องค์โยมเห็นว่า ถ้ามีพระพุทธเจ้าเกิดพร้อมกันหลายองค์ จะทำให้เกิดประโยชน์สุขแก่โลกมากยิ่งขึ้น แต่เหตุไรจึงเกิดพร้อมกัน ๒ องค์ไม่ได้ โยมสงสัย ?”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร หมื่นโลกธาตุนี้ ทรงไว้ได้เพียงพระคุณธรรมของพระพุทธเจ้า คราวละพระองค์เดียวเท่านั้น ถ้ามีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นพร้อมกันถึง ๒ พระองค์ หมื่นโลกธาตุนี้จะทรงอยู่ไม่ไหว จักถล่มทะลายไป เรือที่พอนั่งได้คนเดียวได้ เมื่อมีผู้มานั่ง ๒ คน เรือนั้นจะทรงอยู่ได้หรือไม่ ?”
    “ไม่ได้พระผู้เป็นเจ้า เรือนั้นต้องจม”
    “ข้อนี้ก็มีอุปมาฉันนั้นแหละ มหาบพิตรอีกประการหนึ่ง บุรุษกินข้าวอิมแล้ว มีผู้ให้กินข้าวเท่านั้นลงไป บุรุษนั้นจะเป็นสุขหรือไม่ ?”
    “ไม่เป็นสุข พระผู้เป็นเจ้า ถ้าขืนกินลงไปให้มากอีกเท่านั้น เขาก็ต้องตาย”
    ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร อีกอย่างหนึ่ง มีเกวียนอยู่ ๒ เล่ม บรรทุกเต็มไปด้วยรัตนะเหมือนกัน แต่เมื่อมีผู้มาขนเอารัตนะจากเกวียนอีกเล่มหนึ่ง
    ขึ้นไปบรรทุกรวมเกวียนเล่มเดียวกัน เกวียนเล่มนั้นจะทรงไหวไหม ?”
    “ไม่ไหว พระผู้เป็นเจ้า เกวียนเล่มนั้นดุมต้องแตก กำต้องหัก กงต้องทรุดลง เพลาต้องหัก เพราะหนักเกินไป”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร แต่ขอให้พระองค์ทรงสดับเหตุอื่นต่อไปอีก คือถ้ามีพระสัมมาสัทพุทธเจ้าเกิดขึ้นพร้อมกัน ๒ พระองค์ ความวิวาทชองพุทธบริษัทก็จักมีขึ้น คือ ต่างฝ่ายก็ยกย่องพระพุทธเจ้าของตน
    เปรียบเหมือนบริวารของอำมาตย์ผู้ใหญ่ ๒ คน ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็ยกย่องนายของตนฉะนั้น
    อนึ่ง ถ้ามีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นพร้อมกันถึง ๒ พระองค์ คำว่า อัคโต พุทโธ พระพุทธเจ้าเป็นอัครบุคคลนั้น คำนี้มิผิดไปหรือ
    เชฏโฐ พุทโธ พระพุทธเจ้าเป็นผู้เจริญที่สุดก็จะผิด
    วิสิฏโฐ พุทโธ พระพุทธเจ้าเป็นผู้เจริญกว่าเทพยดามนุษย์นั้นก็ผิด
    อุตตโม พุทโธ พระพุทธเจ้าเป็นผู้อุดม ก็ผิดไปสิ้น ดังนี้ เป็นต้น
    อีกประการหนึ่ง ธรรมดามีอยู่ว่า ในแผ่นดินใหญ่หนึ่ง ๆ ก็มีสาครใหญ่เพียงหนึ่งเขาสิเนรุราชเพียงหนึ่ง อากาศเพียงหนึ่งท้าวสักกะเพียงหนึ่ง ท้าวสักกะเพียงหนึ่ง มารเพียงหนึ่ง มหาพรหมเพียงหนึ่งเท่านั้น
    ด้วยเหตุเหล่านี้แหละ จึงไม่มีพระพุทธเจ้าเกิดพร้อมกันถึง ๒ พระองค์ ขอถวายพระพร”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ข้าแต่พระนาคเสน ปัญหาข้อนี้ พระผู้เป็นเจ้าแก้ไขดีด้วยเหตุการณ์หลายอย่าง โยมขอรับว่าถูกต้องดีทั้งนั้น” [/FONT]
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๙ </center> <center> ถามเรื่องสัมมาปฏิบัติ
    ของพระคฤหัสถ์และบรรพชิต
    </center>
    “ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า “เราสรรเสริญสัมมาปฏิบัติ ทั้งของคฤหัสถ์และบรรพชิต เพราะถ้าคฤหัสถ์และบรรพชิตปฏิบัติชอบ ก็ได้สำเร็จเญยยธรรม (ธรรมที่พึงรู้) อันเป็นกุศุล” ดังนี้
    ข้าแต่พระเป็นเจ้า ถ้าหากคฤหัสถ์ผู้เกลือกกลั้วด้วยบุตร ภรรยา ผู้ได้นุ่งห่มดี ผู้ได้ตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อมทา ผู้ยินดีในเงินทอง ผู้ประดับผมด้วยเครื่องประดับมีค่า ได้สำเร็จธรรมที่พึงรู้ได้เหมือนกับพรรพชิต ผู้นุ่งห่มผ้าย้อมฝาด อาศัยผู้อื่นเลี้ยงชีพ ทำให้บริบูรณ์ในสีลขันธ์ ทั้ง ๔ ยึดมั่นในสิกขาบททั้งหลาย ประพฤติธุดงคคุณ ๑๓ แล้ว
    คฤหัสถ์และบรรพชิต ก็ไม่เห็นจะแปลกอะไรกัน การบรรพชาทนอดอยาก ก็ไม่เห็นจะมีประโยชน์อะไรที่จะทำตัวให้ลำบาก เพราะผู้ทำตัวให้เป็นสุข ก็ได้สุขเหมือนกัน”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร สมเด็จพระชินวรเจ้าได้ตรัสว่า “เราสรรเสริญสัมมสปฏิบัติทั้งของคฤหัสถ์และบรรพชิต คฤหัสถ์ก็ตามบรรพชิตก็ตาม เมื่อปฏิบัติชอบแล้วก็ได้สำเร็จธรรมที่พึงรู้ทั้งนั้น”
    ข้อนี้ ทรงมุ่งการปฏิบัติชอบเป็นใหญ่ เพราะถึงเป็นบรรพชิตถ้าไม่ปฏิบัติชอบ ก็ห่างไกลจากคุณวิเศษ ไม่ต้องพูดถึงคฤหัสถ์ ถึงจะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม ถ้าปฏิบัติชอบก็สำเร็จธรรมพึงรู้ได้เหมือนกับบรรพชิต
    ก็แต่บรรพชิตเป็นใหญ่แห่งสามัญผล (ผลของความเป็นสมณะ) เพราะการบรรพชาเป็นของมีคุณมาก มีคุณเป็นเอนก มีคุณหาประมาณมิได้ไม่อาจปริมาณคุณของบรรพชาได้
    เหมือนกับแก้วมณีโชติของพระเจ้าจักรพรรดิ ที่ไม่มีใครอาจตีราคาได้ หรือเหมือนกับลูกคลื่นในมหาสมุทร ซึ่งไม่มีใครประมาณได้ฉะนั้น
    สิ่งที่ควรทำทุกสิ่ง บรรพชิตย่อมทำสำเร็จได้เร็วไม่ชักช้า คือบรรพชิตเป็นผู้มักน้อยผู้สันโดษ ผู้เงียบสงัด ผู้ไม่คลุกคลี ผู้มีความเพียรแรงกล้า ผู้ไม่มีห่วงใย ผู้มีศีล บริสุทธิ์ผู้มีอาจาระ (ความประพฤติ) ขัดเกลาแล้ว ฉลาดในการปฏิบัติธุดงค์ ย่อมสำเร็จคุณวิเศษได้เร็ว เหมือนกับลูกศรที่ไม่มีข้อมีปมที่เหลาเกลี้ยงเกลาดี ที่ตรงดี เวลายิงไปย่อมไปได้รวดเร็วฉันนั้น
    เป็นอันว่า สิ่งที่ควรทำทั้งสิ้น บรรพชิต ทำให้สำเร็จได้เร็วกว่าคฤหัสถ์ ขอถวายพระพร”
    “ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน”

    <center>
    จบวรรคที่ ๖
    </center>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> วรรคที่ ๗ </center> <center> ปัญหาที่ ๑ </center> <center> ถามเรื่องพระสึก </center>
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
    “ข้าแต่พระนาคเสน ศาสนาของพระตถคตเจ้านี้ เป็นของใหญ่ เป็นแก่น เป็นของที่เลือกแล้ว เป็นของดีที่สุด เป็นของประเสริฐ ไม่มีอะไรเปรียบ เป็นของบริสุทธิ์ เป็นของไม่มีมลทิน เป็นของขาว เป็นของไม่มีโทษ จึงไม่สมควรให้คฤหัสถ์บรรพชา ต่อเมื่อคฤหัสถ์นั้น ได้สำเร็จมรรคผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่อาจสึกมาได้ จึงควรให้บรรพชา
    ทั้งนี้ เพราะเหตุไร....เพราะเหตุว่า ปุถุชนบรรพชาในพระพุทธศาสนาอันบริสุทธิ์แล้วสึกออกมาก็เป็นเหตุให้มีผู้คิดว่า ศาสนาของพระสมณโคดม เป็นศาสนาเปล่า เพราะพวกที่บวชแล้วยังสึกมาได้ โยมเห็นอย่างนี้ โยมจึงว่าไม่สมควรให้คฤหัสถ์ปุถุชนบรรพชา”
    พระพนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร มีสระใหญ่เต็มเปี่ยมด้วยน้ำเย็นใสสะอาดอยู่หนึ่งสระหนึ่ง เมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งที่เปื้อนด้วยเหงื่อไคล ลงไปอาบน้ำในสระนั้นแล้ว ไม่ได้ขัดสีเหงื่อไคล หรือสิ่งที่เศร้าหมอง ได้ขึ้นมาจากสระ จะมีคนติเตียนบุรุษนั้น หรือติเตียนสระนั้นอย่างไร ?”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า จะมีแต่คนติเตียนบุรุษนั้นว่า ลงไปอาบน้ำในสระแล้วก็กลับขึ้นมาทั้งร่างกายยังสกปรกอยู่ ไม่มีใครจะติเตียนสระนั้นว่า ไม่ทำให้บุรุษนั้นสะอาด”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือพระตถาคตเจ้าได้ทรงสร้างสระอันประเสริฐ คือพระสัทธรรมเต็มด้วยน้ำใสสะอาด คือวิมุตติ อันประเสริฐไว้อีก พวกที่เศร้าหมองด้วยกิเลส ก็คิดว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายลงสรงน้ำในสระ คือพระธรรมนี้แล้ว ก็ล้างกิเลสทั้งปวงได้
    แต่ถ้ามีผู้ใดลงอาบน้ำในสระ คือพระธรรมอันประเสริฐ แล้วหวนกลับออกไปทั้งกิเลส ก็มีผู้ติเตียนเขาได้ว่า ได้บรรพชาในศาสนาอันปรปะเสริญแล้ว ก็ทำที่พึ่งให้แก่ตนไม่ได้ ยังต้องสึกไป พระศาสนาอันประเสริฐจะทำผู้ไม่ปฏิบัติตาม ให้บริสุทธิ์เองได้อย่างใด จะโทษพระศาสนาได้อย่างไร
    อีกอย่างหนึ่ง สมมุติว่ามีบุรุษคนหนึ่งกำลังป่วยหนัก ได้เห็นหมอผ่าตัดที่เคยรักษาคนไข้หายมามากแล้ว เป็นผู้รอบรู้ในเรื่องความเกิดแห่งโรค แต่ไม่ให้หมอนั้นรักษาได้กลับไปทั้งที่ยังเจ็บไข้อยู่ มหาชนจะติเตียนคนป่วยหรือติเตียนหมอ ?” ”อ๋อ...ต้องติเตียนคนป่วย ไม่มีใครจะติเตียนหมอเป็นแน่ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือพระตถาคตเจ้าได้ทรงจัดยาอมฤต อันสามารถระงับโรค คือกิเลสทั้งสิ้นไว้ในผอบ อันได้แก่พุทธศาสนาไว้แล้ว พวกที่รู้ตัวว่าถูกโรคภัย คือกิเลสบีบคั้น ก็ได้ดื่มยาอมฤตของพระพุทธเจ้า แล้วหายจากโรค คือกิเลสทั้งสิ้น
    ส่วนผู้ที่ไม่ดืมยาอมฤต ได้กลับสึกไปทั้งกิเลส ก็จะได้รับคำติเตียนว่า ได้บวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ทำที่พึ่งให้แก่ตัวไม่ได้ ได้หมุนเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลวอีก พระพุทธศาสนาจักทำให้ผู้ไม่ปฏิบัติตาม ให้บริสุทธิ์เองได้อย่างไร โทษอะไรจะมีแก่พระพุทธศาสนา
    อีกประการหนึ่ง บุรุษที่หิวข้าวไปถึงที่ เขาเลี้ยงข้าวแล้ว ไม่กินข้าว ได้กลับไปทั้งความหิว คนจะติเตียนบุรุษที่หิวนั้น หรือว่าจะติเตียนข้าวล่ะ...มหาบพิตร ?”
    “ต้องติเตียนบุรุษนั้นซิ ผู้เป็นเจ้า”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้น มหาบพิตร คือพระพุทธเจ้าได้ทรงจัดข้าว อันได้แก่กายคตาสติ อันมีรสอร่อยยิ่ง อันเป็นของเยี่ยม เป็นของประณีต เป็นของอันไม่รู้จักตายไว้ในผอบ คือพระพุทธศาสนาแล้ว
    พวกใดมีความหิว คือมีกิเลสครอบงำ มีใจเร่าร้อนด้วยตัญหา บริโภคข้าวอันนี้แล้ว ก็กำจัดตัญหาทั้งปวง ในกามภพ รูปภพ อรูปภพเสียได้ ส่วนผู้ที่ไม่กินข้าวนี้ กลับไปทั้งความหิวด้วยตัญหา ก็จะมีแต่ผู้ติเตียนเขา ไม่มีผู้ติเตียนพระพุทธศาสนา
    ขอถวายพระพร ถ้าพระพุทธเจ้าให้คฤหัสถ์ผู้ได้สำเร็จผล อย่างใดอย่างหนึ่งเสียก่อนแล้ว จึงโปรดให้บรรพชา การบรรพชานี้ จะชื่อว่าเป็นไปเพื่อละกิเลส เพื่ออบรมความบริสุทธิ์ได้อย่างไร สิ่งที่ควรทำในบรรพชาก็ไม่มี
    สมมุติว่า มีบุรุษคนหนึ่งได้ลงทุนให้คน ขุดสระไว้ แล้วประกาศว่า พวกที่มีร่างกายเศรัาหมอง อย่ามาลงอาบน้ำที่สระนี้เป็นอันขาด ให้ลงอาบได้แต่ผู้มีกายไม่เศร้าหมองเท่านั้นอย่างนี้จะสมควรหรือไม่ ?”
    “ไม่สมควร พระผู้เป็นเจ้า เพราะเขาได้สร้างสระน้ำไว้เพื่อต้องการให้คนที่มีร่างกายเศร้าหมองได้อาบ นอกจากนั้นก็ไม่มีอะไร”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหบพิตร ถ้าพระพุทธเจ้าจะโปรดให้บรรพชาเฉพาะคฤหัสถ์ผู้ได้สำเร็จมรรคผลอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วสิ่งที่เขาควรทำในการบรรพชา เขาก็ได้ทำแล้วเขาจะต้องการอะไรกับการบรรพชา
    ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง สมมุติว่ามีหมอยาวิเศษคนหนึ่ง ทำยาไว้แล้วเขาควรประกาศว่า ผู้มี่เจ็บไข้อย่ามาหาข้าพเจ้า ให้มาแต่ผู้ไม่เจ็บไข้เท่านั้น อย่างนี้หรือจึงจะสมควร ?”
    “ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า เพราะยาของเขาเป็นของสำหรับรักษาโรค คนไม่มีโรคก็ไม่จำเป็นที่เขาจะต้องรักษา”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือถ้าพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ให้บรรพชาเฉพาะคฤหัสถ์ที่มีมรรคผลแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องบรรพชา เพราะสิ่งที่ควรทำในบรรพชาก็ได้ทำแล้ว
    ขอถวายพระพร อีกประการหนึ่ง เหมือนกับบุรุษคนใดคนหนึ่ง จัดอาหารไว้หลายร้อยเข้ามา จงให้เข้ามาแต่พวกที่อิ่มแล้ว เขาประกาศอย่างนี้จะสมควรหรือไม่?”
    “ไม่สมควร พระผู้เป็นเจ้า”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร”

    <center>
    คุณอันชั่ง
    ไม่ได้ ๕ ประการ
    </center> “อนึ่ง พวกที่สึกไปย่อมแสดงให้คนอื่นเห็น ซึ่งคุณอันชั่งไม่ได้ ๕ ประการ ของพระพุทธศาสนา คุณอันชั่งไม่ได้ ๕ ประการนั้นคืออะไรบ้าง ...คือ ความเป็นภูมิใหญ่ ๑ ความเป็นของบริสุทธิ์ ๑ ความไม่อยู่ร่วมกับผู้ลามก ๑ ความรู้แจ้งแทงตลอดได้ยาก ๑ ความมีการสำรวมมาก ๑
    ข้อที่ว่า แสดงความเป็นภูมิใหญ่นั้น คือย่างไร....สมมุติว่ามีบุรุษคนหนึ่ง เป็นคนมีนิสัยต่ำช้า ไม่มีคุณวิเศษอันได ไม่มีความรู้อันใด เมื่อได้ราชสมบัติอันใหญ่หลวง ไม่ช้าก็จะถึงความวิบัติ ไม่อาจรักษาความเป็นใหญ่ไว้ได้เพราะความเป็นใหญ่นั้น เป็นของใหญ่ฉันใด
    พวกที่ไม่มีคุณวิเศษไม่ได้กระทำบุญไว้ไม่มีความรู้อันใด เวลาได้บรรชาในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ไม่อาจดำรงเพศบรรพชิตไว้ได้ ได้ตกออกไปจากพระพุทธศาสนาในไม่ช้า เพราะภูมิในพระพุทธศาสนาเป็นของใหญ่ฉันนั้น
    ข้อว่า แสดงให้เห็นความบริสุทธิ์อย่างเยี่ยมนั้น คืออย่างไร....คือน้ำที่ตกลงบนใบบัวย่อมกลิ้งไหลลงไปจากใบบัว ไม่ติดอยู่ในในบัวได้ เพราะใบบัวเป็นของบริสุทธิ์ฉันใด พวกที่มีนิสัยโอ้อวดคดโกง มีความเห็นไม่ดี ได้บรรพชาในพระพุทธศาสนาแล้ว ไม่ช้าก็ตกออกไปจากพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธศาสนาเป็นของบริสุทธิ์ฉันนั้น
    ข้อว่า แสดงให้เห็นความไม่อยู่ร่วมกันกับผู้ลามกนั้น คืออย่างไร....คือธรรมดามหาสมุทร ย่อมไม่อยู่ร่วมกับซากศพ ย่อมพัดซากศพขึ้นไปบนบกโดยเร็วพลัน เพราะมหาสมุทรเป็นที่อาศัยอยู่ของหมู่สัตว์ใหญ่ ๆ ฉันใด พวกที่ลามกได้บรรพชาในพระพุทธศาสนาแล้ว ไม่ช้าก็ตกออกไปจากพระพุทธศาสนา เพราะพุทธศาสนาเป็นที่อยู่ของผู้มีคุณธรรมใหญ่ คือพระอริยเจ้าทั้งหลายฉันนั้น
    ข้อว่า แสดงซึ่งความเป็นของรู้แจ้งได้อยากนั้น คืออย่างไร ...คือพวกที่ไม่เก่งในวิชาธนูย่อมไม่อาจยิงให้ถูกปลายขนทรายได้ฉันใด พวกที่ไม่มีปัญญา บ้าเซ้อ ลุ่มหลง ก็ไม่อาจแทงตลอดซึ่งอริยสัจ ๔ อันเป็นของละเอียดยิ่งได้ฉันนั้น เขาจึงได้ตกออกไปจากพระพุทธศาสนาโดยเร็วพลัน
    ข้อที่ว่า แสดงให้เห็นซึ่งความเป็นของมีการสำรวมมากนั้น คืออย่างไร....คือ บุรุษที่เข้าสู่ยุทธภูมิใหญ่ ได้เห็นข้าศึกล้อมรอบก็กลัวแล้ววิ่งหนี เพราะกลัวระวังรักษา ซึ่งศาตราวุธมีอยู่มากฉันใด
    พวกที่มีนิสัยลามก ไม่ชอบสำรวม ไม่มีความละอายบาป ไม่มีความอดทน ก็ไม่อาจรักษาสิกขาบทเป็นอันมากไว้ได้ ต้องตกออกไปจากพระพุทธศาสนา ในไม่ช้าฉันนั้น
    “ขอถวายพระพร ดอกไม้ทีมีหนอนเจาะย่อมมีในกอดอกมะลิ อันนับว่าสูงสุดกว่าดอกไม้ที่เกิดอยู่บนบกทั้งสิ้น ดอกที่หนอนเจาะก็ร่วงลงไป ส่วนดอกที่ยังอยู่ก็ส่งกลิ่นหอมฉันใด
    พวกที่บวชในพระพุทธศาสนาแล้วสึกไปก็เปรียบเหมือนดอกมะลิที่ถูกหนอนเจาะ แล้วร่วงลงไปฉันนั้น ส่วนพวกที่ยังอยู่ก็ทำให้มนุษย์โลก เทวโลก ได้รับกลิ่นหอม คือกลิ่นศีลอันประเสริฐฉันนั้น
    ข้าวสาลีอันชื่อว่า “กุรุมพกะ” อันมีในจำพวกข้าวสาลีแดงที่ไม่มีอันตราย แต่พอเกิดขึ้นแล้วก็เสียหายไปใหระหว่าง ส่วนข้าวสาลีที่ยังอยู่ ก็สมควรเป็นเครื่องเสวยสำหรับพระราชาฉันใด
    พวกที่บรรพชาแล้วสึกไป ก็เหมือนกับข้าวสาลีที่เสียไปในระหว่างฉันนั้น ส่วนพวกที่ยังอยู่ก็สมควรแก่ความเป็นพระอรหันต์ฉันนั้น
    อีกประการหนึ่ง แก้วมณีอันให้สำเร็จความปรารถนาทั้งปวง ถึงบางแห่งจะมีตำหนิก็ไม่มีผู้ติ ส่วนที่บริสุทธิ์ก็เป็นที่ชื่นชมยินดี ของมหาชนทั้งปวงฉันใด
    พวกที่บรรพชาในพระพุทธศาสนาแล้วสึกไป เท่ากับตำหนิหรือเป็นสะเก็ด ส่วนพวกที่ยังอยู่ย่อมทำให้เกิดความร่าเริงยินดีแก่เทพยดามนุษย์ทั้งหลายฉันนั้น
    อีกอย่างหนึ่ง แก่นจันทน์แดงถึงที่ไม่เน่าไม่เสียย่อมมีกลิ่นหอมฉันใด
    พวกที่สึกไปก็เหมือนกับแก่นจันทน์แดงที่เน่าที่เสีย ส่วนพวกที่ยังอยู่ก็ส่งกลิ่นหอมอันประเสริฐคือศีล ให้หอมทั่วเทวโลกมนุษย์โลกฉันนั้น ขอถวายพระพร”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “สาธุ...พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้แสดงความเป็นของประเสริฐสุด แห่งพระพุทธศาสนาไว้ถูกต้องแล้วทุกประการ” [/FONT]
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ตอนที่ ๒๘ </center> <center> ปัญหาที่ ๒ </center> <center> ถามเรื่องเวทนา
    ทางกายใจของพระอรหันต์
    </center>
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
    “ข้าแต่พระพนาคเสน มีคำกล่าวว่า พระอรหันต์ได้เสวยแต่เวทนาทางกายอย่างเดียวไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ ดังนี้
    โยมขอถามว่า พระอรหันต์มีจิตไหม สิ่งใดเป็นไปเพราะอาศัยกาย พระอรหันต์ไม่ได้เป็นใหญ่ในสิ่งนั้นอย่างนั้นหรือ ?”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “อย่างนั้น มหาบพิตร”
    “ข้าแต่พระนาคเสน ข้อที่ว่า พระอรหันต์ไม่ได้เป็นใหญ่ในกาย อันเป็นไปของผู้มีจิตวิญญาณอยู่นั้น ย่อมไม่สมควร เพราะถึงนกก็ย่อมเป็นใหญ่ในรังของตน”
    “ขอถวายพระพร สิ่งที่มีอยู่ในกาย วิ่งไปตามกาย หมุ่นไปตามกายทุกภพมีอยู่ ๑๐ อย่าง คือ ความเย็น ๑ ความร้อน ๑ ความหิว ๑ ความกระหาย ๑ อุจจาระ ๑ ปัสสาวะ ๑ ความง่วง ๑ ความแก่ ๑ ความเจ็บ ๑ ความตาย ๑ พระอรหันต์ไม่ได้เป็นใหญ่ในสิ่งทั้ง ๑๐ นั้น
    “ข้าแต่พระนาคเสน เหตุใดพระอรหันต์ จึงไม่มีอำนาจในกาย ไม่เป็นใหญ่ในกาย ?”
    “ขอถวายพระพร พวกสัตว์ที่อาศัยแผ่นดินทั้งสิ้น มีอำนาจในแผ่นดินหรือไม่ ?”
    “ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า”
    “ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ถึงจิตของพระอรหันต์อาศัยกาย พระอรหันต์ก็ไม่มีอำนาจทางกายฉันนั้น ขอถวายพระพร”
    “ข้าแต่พระนาคเสน เพราะเหตุได ปุถุชนไม่ได้อบรมจิตใจ จึงได้เสวยเวทนาทางกายบ้าง ทางใจบ้าง ข้อนี้เปรียบเหมือนโคที่กำลังหิว เขาผูกไว้ที่กอหญ้า หรือที่เครือไม้ เมื่อหิวจัดเข้าก็กระโดดหนีไป ทำให้เครื่องผูกนั้นขาดไปได้ฉันใด
    เวทนาเกิดแก่ผู้ไม่ได้อบรมจิตใจแล้ว ก็ทำจิตใจให้กำเริบ จิตกำเริบแล้วก็เกี่ยวเนื่องไปถึงกาย แล้วเขาก็ร้องให้คร่ำครวญ อันนี้แหละเป็นเหตุให้ปุถุชน ได้เสวยเวทนาทางกายบ้าง ทางใจบ้าง”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ก็เหตุใดเล่า ที่ทำให้พระอรหันต์ ได้เสวยแต่เวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ?”
    “ขอถวายพระพร เพราะพระอรหันต์ได้อบรมจิตใจไว้ดีแล้ว เวลาได้รับทุกขเวทนา ก็ยึดมั่นว่าเป็นอนิจจัง ผูกจิตไว้ในเสาคือสามาธิ แล้วจิตก็ไม่ดิ้นรนหวั่นไหว มีแต่กายเท่านั้นที่เป็นไปตามอำนาจเวทนา เหตุอันนี้แหละทำให้พระอรหันต์ได้เสวยแต่เวทนาทางกายอย่างเดียว”
    “ข้าแต่พระนาคเสน ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแสดงเหตุ ในการที่จิตไม่หวั่นไหวไปตามกายให้โยมฟัง”
    “ขอถวายพระพร ต้นไม้ใหญ่ที่สมบูรณ์ด้วยลำต้น กิ่ง ก้าน และใบ เมื่อกิ่งไหวเวลาถูกลมพัด ลำต้นจะไหวด้วยไหม ?”
    “ไม่ไหว พระผู้เป็นเจ้า”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เพราะจิตของพระอรหันต์มั่นอยู่ในอนิจจัง ไม่รู้จักหวั่นไหว เปรียบเหมือนลำต้นแห่งต้นไม้ใหญ่ฉะนั้น”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “น่าอัศจรรย์ พระผู้เป็นเจ้า ธรรมประทีปอันมีประจำอยู่ทุกเมื่ออย่างนี้ โยมไม่เคยได้เห็นเลย” [/FONT]
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๓ </center> <center> ถามเรื่องอันตรายแห่ง
    การสำเร็จธรรมของคฤหัสถ์ผู้ปาราชิก
    </center>
    “ข้าแต่พระนาคเสน ถ้ามีคฤหัสถ์ผู้ใดผู้หนึ่งต้องปาราชิกแล้ว ต่อมาภายหลังได้บรรพชาเขาเองก็ไม่รู้ว่า เราเป็นคฤหัสถ์ต้องปาราชิกแล้วผู้อื่นก็ไม่รู้ ธรรมาภิสมัยจะมีแก่เขาหรือไม่ ?”
    “ไม่มี มหาบพิตร”
    “เพราะเหตุไร พระผู้เป็นเจ้า ?”
    “ขอถวายพระพร เพราะเหตุว่า เหตุอันใดที่จะทำให้ได้ธรรมภิสมัย เหตุอันนั้นเขาได้ตัดขาดแล้ว เพราะฉะนั้น ธรรมภิสมัยจึงไม่มีแก่เขา”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มีคำกล่าวว่า ความรำคาญใจย่อมมีแก่ผู้รู้ เมื่อมีผู้รำคาญใจก็มีเครื่องกั้น เมื่อมีเครื่องกั้นแล้วมีจิตสงบอยู่ เหตุไรจึงไม่มีธรรมาภิสมัยแก้ไขยาก โปรดแก้ไขด้วย ?”
    “ขอถวายพระพร พืชที่หว่านลงในที่ดินอันดี จะงอกขึ้นได้หรือไม่ ?”
    “งอกได้ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร ถ้าพืชนั้นเขาหว่านลงบนศิลาแรง จะงอกขึ้ได้หรือไม่ ?”
    “งอกไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร เพราะเหตุไร จึงไม่งอกขึ้นที่ศิลาแลง ?”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เพราะศิลาแรง ไม่เป็นเหตุให้พืชงอกขึ้นได้ พืชจึงไม่งอกขึ้น”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เพราะเหตุที่เขาตัดสิ่งที่จะให้เกิดธรรมาภิสมัยเสียแล้ว ธรรมาภิสมัยจึงไม่มี อีกอย่างหนึ่ง ไม้ค้อนก้อนดินที่บุคคลโยนขึ้นไปในอากาศ ย่อมตกลงมาที่พื้นดิน หรือว่าค้างอยู่บนอากาศ ?”
    “ไม่ค้าง พระผู้เป็นเจ้า”
    “เพราะเหตุไร มหาบพิตร ?”
    “เพราะเหตุว่า อากาศไม่เป็นที่ตั้งอยู่แห่งไม้ค้อนก้อนดิน”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เพราะเมื่อเขาตัดเหตุที่จะให้ได้อภิสมัยแล้ว อภิสมัยก็ไม่มี อีกประการหนึ่ง ธรรมดาไฟย่อมลุกโพลงอยู่บนบก จึงขอถามว่า ไฟนั้นจะลุกโพลงอยู่บนน้ำได้หรือ ?”
    “ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า”
    “เพราะเหตุไร มหาบพิตร ?”
    “เพราะเหตุว่า น้ำไม่เป็นที่ให้ไฟลุก”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เมื่อเขาตัดเหตุที่จะให้ได้ธรรมาภิสมัย ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี”
    “ข้าแต่พระนาคเสน ขอท่านจงคิดเนี้อความข้อนี้อีก คือสมมุติว่าโยมไม่รู้เลยว่าโยมเป็นปาราชิก เมื่อไม่รู้ก็ไม่เกิดความรำคาญใจ จะมีเครื่องกั้นกางได้อย่างไร ?”
    “ขอถวายพระพร ผู้ที่ไม่รู้ยาพิษอันแรงกล้า แต่ได้กินยาพิษนั้นเข้า เขาจะตายไหม ?”
    “ตาย พระผู้เป็นเจ้า”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร บาปที่ผู้ไม่รู้กระทำ ห็กระทำอันตรายแก่อภิสมัยได้อีกอย่างหนึ่ง ผู้ที่เยียบไฟด้วยไม่รู้ ไฟจะไหม้ไหม ?”
    “ไหม้ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร บาปที่กระทำลงไปแล้ว ถึงไม่รู้ก็จะกระทำอันตรายแก่อภิสมัยได้ อีกประการหนึ่ง อสรพิษกัดผู้ที่ไม่รู้ตายไหม ?”
    “ตาย พระผู้เป็นเจ้า”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ถึงบาปผู้ไม่รู้กระทำ ก็กระทำอันตรายแก่อภิสมัยได้
    ขอถวายพระพร พระราชากาลิงคราชผู้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ได้ทรงช้างแก้วไปทางอากาศ ถึงไม่ทรงทราบว่า เป็นต้นไม้ศรีมหาโพธิเก่าอยู่ที่ตรงนั้น แต่ก็ไม่อาจเหาะข้ามไปบนต้นไม้ศรีมหาโพธินั้นไม่ใช่หรือ...อันนี้ก็ชี้ให้เห็นว่า ถึงบาปที่ผู้ที่ไม่รู้กระทำ ก็กระทำอันตรายแก่ธรรมาภิสมัยได้”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ข้าแต่พระนาคเสน คำแก้ไขของพระผู้เป็นเจ้านี้ ไม่อาจมีใครคัดค้านได้” [/FONT]
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๔ </center> <center> ถามเรื่องสมณะ
    ทุศีลคฤหัสถ์ทุศีล
    </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระพนาคเสน คฤหัสถ์ทุศีล กับ สมณะทุศีล ต่องกันอย่างไร คนทั้งสองนี้มี คติเสมอกัน มีวิบากเสมอกันหรืออย่างไร ?”
    [/FONT] “ขอถวายพระพร คุณธรรม ๑๐ ประการ ของ สมณะทุศีล ทำให้ยิ่งดียิ่งกว่า คฤหัสถ์ทุศีล และทำให้การถวายทางของชาวบ้าน มีผลมากได้ด้วยเหตุ ๑๐ ประการอีก

    <center>
    คุณธรรม ๑๐ ประการ
    </center> ๑. ความเคารพในพระพุทธเจ้า
    ๒. ความเคารพในพระธรรม
    ๓. ความเคารพในพระสงฆ์
    ๔. ความเคารพในเพื่อนพรหมจรรย์
    ๕. ความพยายามเล่าเรียน
    ๖. ความมากไปด้วยการฟัง
    ๗. ความเคารพต่อที่ประชุม
    ๘. ความเป็นผู้มุ่งต่อความเพียร
    ๙. ยังรักษาไว้ซึ่งเพศภิกษุ
    ๑๐. ยังรู้จักปกปิดความชั่วของตัวไว้ด้วยความละอาย เหมือนกับหญิงที่มีสามี ลักลอบทำความชั่ว ด้วยกลัวผู้อื่นจะรู้เห็นฉะนั้น


    <center>
    เหตุ ๑๐ ประการ
    </center> เหตุ ๑๐ ประการ ที่ทำให้การถวายทานของชาวบ้านมีผลมากนั้น คืออะไรบ้าง คือ
    ๑. ความทรงไว้ซึ่งเกราะ คือกาสาวพัสตร์อันบุคคลไม่ควรฆ่า
    ๒. ความทรงไว้ซึ่งเพศภิกษุ
    ๓. ความเข้าถึงซึ่งการกระทำกิจวัตรของสงฆ์
    ๔. ความนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
    ๕. ความอบรมนิสัย ในทางความเพียร
    ๖. ความแสวงหาซึ่งพระธรรมคำสั่งสอนของพระชินวร
    ๗. ความแสวงซึ่งพระธรรมอันประเสริฐ
    ๘. การถือพระธรรมเป็นเถระ เป็นคติ เป็นที่พึ่งในเบื้องหน้า
    ๙. มีความเห็นตรงแน่วแน่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้เลิศ
    ๑๐. การถือมั่นซึ่งอุโบสถ

    ขอถวายพระพร สมณะทุศีล ถึงมีศีลวิบัติแล้ว ก็ยังทำทานของทายกผู้ถวายให้บริสุทธิ์ได้ เปรียบเหมือนน้ำอันชำระล้างซึ่งโคลน เลน ฝุ่นละออง เหงื่อไคลให้หายไปได้ หรือเปรียบเหมือนน้ำร้อน ถึงจะร้อน ก็ยังดับไฟกองใหญ่ได้ หรือเปรียบเหมือนโภชนะ อันกำจัดความหิวได้ฉะนั้น
    ข้อนี้ สมกับที่สมเด็จพระชินสีห์ได้ตรัสไว้ใน ทักขิณาวิภังคสูตร ว่า
    “ผู้มีศีลมีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลแล้ว ให้ทานของที่ได้มาโดยชอบแก่ผู้ทุศีล การถวายทานของเขาเหล่านั้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก” ดังนี้ ขอถวายพระพร”
    พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสสรรเสริญว่า
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้กระทำปัญหาที่โยมถาม ให้มีรสไม่รู้จักตายให้เป็นของควรฟัง ด้วยอุปมาเหตุการณ์หลายอย่าง เหมือนพ่อครัว หรือลูกมือของพ่อครัวผู้ฉลาด ได้เนื้อมาเพียงก้อนเดียว ก็ตกแต่งอาหารได้หลายอย่าง เพื่อถวายแก่พระราชาฉันนั้น” [/FONT]
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๕ </center> <center> ถามความมีชีวิตแห่งน้ำ </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    ข้าแต่พระนาคเสน เวลาน้ำถูกความร้อนย่อมมีเสียงร้องต่าง ๆ
    น้ำมีชีวิตหรืออย่างไร ?”
    [/FONT] “น้ำไม่มีชีวิต ขอถวายพระ ก็แต่ว่าเวลาน้ำถูกความร้อนด้วยไฟ ก็ย่อมมีเสียง”
    “ข้าแต่พระนาคเสน พวกเดียรถีย์บางพวกถือว่าน้ำมีชีวิต เขาจึงไม่ใช้น้ำเย็น ใช้แต่น้ำที่ต้มแล้วเท่านั้น ทั้งเขายังติเตียนชาวพุทธว่า พวกสมณศากบุตรเบียดเบียนของที่มีชีวิตอินทรีย์อันเดียว ขอพระผู้เป็นเจ้าจงปลดเปลื้องข้อครหานั้นเสียเถิด พระคุณเจ้าข้า”
    “ขอถวายพระพร น้ำไม่มีชีวิตเลย ชีพหรือสัตว์ไม่มีอยู่ในน้ำ ก็แต่ว่าน้ำมีเสียงดังได้ด้วยกำลังความร้อนแห่งไฟ เปรียบเหมือนน้ำอันตกลงในบึง ในสระ ในหนอง ในซอกเขา ในบ่อ ในที่ลุ่ม ในสระโบกขรณี ก็มีเสียงดังฉะนั้น
    อีกประการหนึ่ง ขอมหาบพิตรได้ทรงสดับให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ คือน้ำอันบุคคลใส่ลงไปในข้าวสาร แล้วยกขึ้นตั้งบนเตาไฟ น้ำจะมีเสียงดังไหม ?”
    “ไม่มีเสียงดัง พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร เวลาภาชนะน้ำนั้น ถูกยกขึ้นตั้งบนเตาไฟ น้ำจะนิ่งสงบอยู่ไหม ?”
    “ไม่นิ่งสงบ พระผู้เป็นเจ้า น้ำนั้นจะต้องเดือดมีฟองข้าวล้นออกไป”
    “เพราะเหตุไร น้ำปกติจึงนิ่งสงบ ส่วนน้ำที่ร้อนด้วยไฟจึงเดือดพล่าน ?”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า น้ำปกตินิ่งอยู่ ส่วนที่ร้อนด้วยไฟย่อมมีเสียงดัง เพราะกำลังความร้อนแห่งไฟ”
    “ขอถวายพระพร ถึงเหตุอันนี้ก็เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า น้ำไม่มีชีวิต ขอพระองค์จงสดับเหตุให้ยิ่งขึ้นไปปกว่านี้อีก คือน้ำที่อยู่ในภาชนะน้ำในบ้าน เขาปิดไว้ไม่ใช่เรือ ?”
    “ใช่ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ก็น้ำนั้นเดือดพล่านหรือไม่ ?”
    “ไม่เดือด พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร มหาบพิตรได้เคยทรงสดับหรือไม่ว่า น้ำในมหาสมุทรเป็นลูกคลื่น มีเสียงดังลั่นอยู่เสมอ ?”
    “เคยสดับ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร เหตุไรน้ำในขันที่เขาปิดไว้ จึงไม่เป็นลูกคลื่น ไม่มีเสียงดัง ส่วนน้ำในมหาสมุทรมีลูกคลื่น มีเสียงดัง ?”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า การที่น้ำในมหาสมุทรเป็นลูกคลื่น มีเสียงดังนั้น เหราะกำลังลมพัด ส่วนน้ำในขันน้ำเขาที่ปิดไว้นั้น ไม่ถูกลมพัด”
    “ขอถวายพระพร น้ำในมหาสุทรเป็นลูกคลื่นมีเสียงดัง เพราะกำลังลมฉันใด น้ำที่ต้มบนเตาไฟก็มีเสียงดัง เพราะกำลังความร้อนฉันั้น ขอถวายพระพร ธรรมดาหน้ากลองเขาย่อมหุ้มด้วยหนังแห่งไม่ใช่หรือ ?”
    “ใช่ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร กลองมีชีวิตจิตในหรือไม่ ?”
    “ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร กลองไม่มีชีวิตจิตใจแต่เหตุไรจึงมีเสียงดัง ?”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า กลองมีเสียงดังด้วยความพยายาม อันเกิดจากสตรีหรือบุรุษ”
    “ขอถวายพระพร กลองมีเสียงดังได้ด้วยความพยายามของสตรีหรือบุรุษฉันใด น้ำก็มีเสียงดังด้วยความร้อนฉันนั้น เหตุอันนี้ก็ชี้ให้เห็นว่า น้ำไม่มีชีวิตจิตใจ แต่มีเสียงดังได้เพราะความร้อนแห่งไฟ
    ขอถวายพระพร ปัญหาที่มหาพิตรได้ตรัสถามมาแล้ว ก็ได้ถวายดีแล้วทั้งนั้น จึงขอถามมหาบพิตรว่า น้ำในภาชนะทั้งปวง เมื่อถูกร้อนก็ดังเหมือนกันทั้งนั้น หรือดังเป็นบางภาชนะ ?”
    “ไม่ดังเหมือนกันหมด ดังเป็นบางภาชนะ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น ก็เป็นอันว่ามหาบพิตรได้ทิ้งความเห็นของพระองค์ กลับเข้าหาความเห็นของอาตมาภาพแล้วว่า น้ำไม่มีชีวิตจิตใจ
    ขอถวายพระพร ถ้าน้ำในภาชนะทั้งปวง เมื่อถูกร้อนก็ดังเหมือนกันหมด คำกล่าวน้ำมีชีวิตก็สมควร เพราะน้ำไม่ได้แยกออกไปเป็นสอง คือ มีชีวิตก็มี ไม่มีชีวิตก็มี
    ขอถวายพระพร ถ้าน้ำมีชีวิต เวลาฝูงช้างลงเล่นน้ำ ดูดน้ำเข้าไปทางงวง แล้วใส่เข้าไปในปากไหลเข้าไปในท้อง น้ำก็ต้องมีเสียงร้อง หรือเวลาสำเภาใหญ่ ๆ บรรทุกเต็มไปด้วยสินค้าแล่นไปในมหาสุมทร น้ำที่ถูกสำเภาเบียดเสียด ก็ต้องมีเสียงร้อง
    หรือเวลาปลาใหญ่ ๆ ตัวยาวตั้งหลายร้อยโยชน์ คือ ปลามิติมิงคละ ดำผุดดำว่าย อยู่ในน้ำมหาสมุทร ถ้าน้ำมีชีวิตก็ต้องร้องเพราะเหตุน้ำไม่มีชีวิตจึงไม่ร้อง”
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสยกย่องว่า
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “สาธุ ...พระนาคเสน ปัญหาอันถึงซึ่งการแสดง พระผู้เป็นเจ้าได้แจงออกไว้ เปรียบเหมือนแก้วมณีที่มีค่ามาก เมื่อส่งไปถึงนายช่างผู้ฉลาด เขาก็ทำให้ดียิ่งขึ้น หรือแก้วมุกดา แก่นจันทน์แดงอันน่าสรรเสริญฉะนั้น” [/FONT]
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๖ </center> <center> ถามถึงสิ่ง
    ที่ไม่มีในโลก
    </center>
    “ข้าแต่พระนาคเสน ในโลกนี้ย่อมปรากฏมีพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวก พระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าประเทศราช เทวดา มนุษย์ ผู้มีทรัพย์ ผู้ไม่มีทรัพย์ ผู้ไปดี เพศหญิง เพศชาย กรรมดีกรรมชั่ว ผลของกรรมดีกรรมชั่ว สัตว์ที่เกิดในฟองไข่ เกิดในท้องแม่ เกิดในเหงื่อไคล เกิดขึ้นเอง ไม่มีเท้าก็มี มีเพียง ๒ เท้า ๔ เท้า หลายเท้าก็มี
    มีทั้งยักษ์ รากษส กุมภัณฑ์ อสูร มาณพ คนธรรมพ์ เปรต ปีศาจ กินนร นาค ครุฑ ฤาษี วิชาธร ช้าง ม้า โค กระบือ อูฐ ลา แพะ แกะ เนื้อ สุกร สิงห์ พยัคฆ์ เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาใน สนัขบ้าน สุนัขป่า นกต่าง ๆ ทอง เงิน มุกดา มณี สังข์ ศิลา ประพาฬ แก้วแดง แก้วลาย แก้วไพฑูรย์ เพชร แก้วผลึก เหล็ก ทองแดง แร่เงิน แร่สัมฤทธิ์
    ผ้าป่าน ผ้าไหม ผ้าด้วย ป่าน ปอ ขน สัตว์ ข้าวไม่มีเปลือก ข้าวมีเปลือก ข้าวละมาน หญ้ากับแก้ ลูกเดือย หญ้าละมาน ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ถั่วพลู ต้นไม้ที่มีรากหอม มีแก่นหอม มีกระพี้หอม มีเปลือกหอม มีใบหอม มีดอกหอม มีผลหอม มีข้อหอม หญ้า เครือไม้ กอไม้ ต้นไม้ ดวงดาว ต้นไม้ใหญ่ แม่น้ำ ภูเขา ทะเล ปลา เต่า เป็นอันมาก
    สิ่งเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกทั้งนั้น สิ่งที่ไม่มีในโลก ถ้ามีอยู่ขอจงบอกให้แก่โยมด้วย”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร สิ่งที่ไม่มีในโลกมีอยู่ ๓ ประการ คือ
    ๑. สิ่งที่มีเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ตาม จะไม่แก่ไม่ตาย ไม่มีในโลก
    ๒. ความเที่ยงแห่งสังขารทั้งหลายไม่มี
    ๓. เมื่อว่าตามปรมัตถ์แล้ว คำว่าสัตว์บุคคลไม่มี

    รวมเป็นของไม่มีอยู่ในโลก ๓ อย่างนี้แหละ มหาบพิตร”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “สาธุ....พระพนาคเสน ปัญหาข้อนนี้พระผู้เป็นเจ้ากล่าวแก้ถูกต้องดีแล้ว” [/FONT]
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๗ </center> <center> ถามถึงความ
    เผลอสติของพระอรหันต์
    </center>
    “ข้าแต่พระนาคเสน ความเผลอสติของพระอรหันต์มีอยู่หรือ ?”
    “ขอถวายพระพร ไม่มี”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระอรหันต์ต้องอาบัติบ้างหรือไม่ ?”
    “ขอถวายพระพร ต้อง”
    “ต้องเพราะวัตถุอะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ต้องด้วยสำคัญผิดคือเวลาวิกาล เข้าใจว่าเป็นกาลก็มี ห้ามการรับประเคนแล้ว เข้าใจว่าไม่ได้ห้ามก็มี อาหารที่ไม่เป็นเดนภิกษุไข้ เข้าใจว่าเป็นเดนภิกษุไข้ก็มี”
    “ข้าแต่พระนาคเสน ภิกษุย่อมต้องอาบัติด้วยอาการ ๒ คือ ด้วยความไม่เอื่อเฟื้อ ๑ ด้วยความไม่รู้ ๑ พระอรหันต์อาบัติด้วยความไม่เอื่อเฟื้อมีอยู่หรือ ?”
    “ไม่มีเลย มหาบพิตร”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระอรหันต์ยังต้องอาบัติอยู่ แต่ความไม่เอื่อเฟื้อย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ ถ้าอย่างนั้นความเผลอสติ ก็มีแก่พระอรหันต์นะซิ”
    “ไม่มี มหาบพิตร เป็นแต่พระอรหันต์ยังต้องอาบัติอยู่”
    “ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้เป็นเจ้าจงให้โยมเข้าใจในข้อนี้ว่า เป็นเพราะอะไร ?”
    “ขอถวายพระพร ลักษณะแห่งโทษมีอยู่ ๒ ประการ คือ เป็นโลกวัชชะ ๑ เป็นปัณณัตติวัชชะ ๑  
    ที่เป็นโลกวัชชะ (เป็นโทษทางโลก) นั้นได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐  
    ที่เป็นปัญญัตติวัชชะ (เป็นโทษทางพระวินัย) นั้น ได้แก่ สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ   ไว้สำหรับพระภิกษุสาวกทั้งหลายอย่าง วิกาลโภชนสิกขาบท   คือการฉันอาหารในเวลาวิกาล เป็นโทษในทางพระวินัย แต่ไม่เป็นโทษทางโลก หรือ การทำให้ภูตคามเคลื่อนที่   คือการตัดต้นไม้ใบหญ้า เป็นต้น เป็นโทษทางพระวินัย แต่ไม่เป็นโทษทางโลก การว่ายน้ำเล่น   เป็นโทษทางพระวินัย แต่ไม่เป็นโทษทางโลก
    สิ่งที่เป็นโทษทางพระวินัยนี้แหละ เรียกว่า “ปัณณัตติวัชชะ” ส่วนที่เป็นทางโลกนั้น พระอรหันต์ไม่ทำอย่างเด็ดขาด สิ่งที่เป็นโทษทางพระวินัย เมื่อยังไม่รู้ก็ทำ เพราะว่าการรู้สิ่งทั้งปวงไม่ใช่วิสัยของพระอรหันต์ทั่วไป สิ่งที่พระอรหันต์ไม่รู้ก็มี เช่น นามและโคตรแห่งสตรีบุรุษ


    พระอรหันต์รู้ได้เฉพาะวิมุตติ คือการหลุดพ้นก็มี พระอรหันต์ขั้นอภิญญา ๖ ก็รู้เฉพาะในวิสัยแห่งตน สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าเท่านั้น จึงจะรู้หมด ขอถวายพระพร”

    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ถูกต้อง พระนาคเสน” [/FONT]
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๘ </center> <center> ถามถึงความ
    มีอยู่แห่งพระนิพพาน
    </center>
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
    “ข้าแต่พระนาคเสน สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยกรรม สิ่งที่เกิดเหตุ สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยฤดู มีปรากฏอยู่ในโลกแล้ว สิ่งใดที่ไม่เกิดด้วยกรรม ไม่เกิดด้วยเหตุ ไม่เกิดด้วยฤดู ขอพระผู้เป็นเจ้าจงบอกสิ่งนั้นแก่โยม”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร สิ่งที่ไม่เกิดด้วยกรรม ไม่เกิดด้วยเหตุ ไม่เกิดด้วยฤดูนั้น มีอยู่ ๒ คือ อากาศ ๑ นิพพาน ๑”
    “ข้าแต่พระนาคเสน ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอย่าลบล้างคำของข้าพุทธเจ้า ไม่รู้ก็อย่าแก้ปัญหานี้”
    “ขอถวายพระพร เหตุใดอาตมาภาพจึงว่าอย่างนี้ และเหตุใดมหาบพิตรจึงห้ามอาตมาภาพอย่างนี้ ?”
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสต่อไปว่า
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เพราะไม่ควรกล่าวว่าอากาศไม่เกิดด้วยกรรม ไม่เกิดด้วยเหตุ ไม่เกิดด้วยฤดู สมเด็จพระบรมครูได้ทรงบอกทางสำเร็จนิพพานให้พระสาวก ด้วยเหตุหลายอย่างร้อยอย่าง พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า นิพพานไม่เกิดด้วยเหตุ”
    พระนาคเสนเฉลยว่า
    “ขอถวายพระพร สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ได้ทรงบอกทางสำเร็จนิพพานแก่พวกสาวกด้วยเหตุหลายร้อยอย่างจริง แต่ไม่ใช่ทรงบอกเหตุให้เกิดนิพพาน”
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสแย้งอีกว่า
    “ข้าแต่พระนาคเสน ในข้อนี้เท่ากับโยมออกจากที่มืดเข้าไปสู่ที่มืด ออกจากป่าเข้าสู่ป่าอีก ออกจากที่รกเข้าสู่ที่รกอีก เพราะเหตุให้สำเร็จพระนิพพานมีอยู่ แต่เหตุให้เกิดนิพพานไม่มี
    ถ้าเหตุให้สำเร็จนิพพานมีอยู่ เหตุให้เกิดนิพพานก็ต้องมี เหมือนบิดามีอยู่ เหตุที่ให้เกิดบิดาก็ต้องมีอยู่ อาจารย์มีอยู่ เหตุที่ให้เกิดของอาจารย์นั้นก็ต้องมีอยู่ พืชมีอยู่ เหตุให้เกิดพืชนั้นก็ต้องมีอยู่ หรือเมื่อยอดแห่งต้นไม้มีอยู่ ตอนกลางและรากก็ต้องมี”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร มหาราชะ นิพพาน เป็น อนุปาทานียะ คือไม่เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานเพราะฉะนั้นจึงไม่มีเหตุ”
    “ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแสดงให้โยมเข้าใจว่าเหตุให้สำเร็จนิพพานมีอยู่ แต่เหตุให้เกิดนิพพานไม่มี”
    “ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น ขอมหาบพิตรจงตั้งพระโสตลงสดับ อาตมาภาพจักแสดงถวาย คือบุรุษอาจจากที่นี้ไปถึงเขาหิมพานต์ได้ตามกำลังปกติหรือ ?”
    “ได้ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร บุรุษนั้นอาจนำภูเขาหิมพานต์ มาไว้ในที่นี้ได้ด้วยกำลังตามปกติหรือ ?”
    “ไม่อาจ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ คือบุคคลอาจบอกทางสำเร็จนิพพานได้ แต่ไม่อาจบอกเหตุให้เกิดนิพพานได้ ขอถวายพระพร บุรุษอาจข้ามมหาสมุทรไปได้ ด้วยเรือตามกำลังปกติไหม?”
    “อาจได้ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ก็บุรุษนั้นอาจนำเอาฝั่งมหาสมุทรข้างโน้นมาตั้งไว้ข้างนี้ ด้วยกำลังปกติไหม ?”
    “ไม่อาจ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ หมาบพิตร คือทางสำเร็จนิพพานนั้นอาจบอกได้ แต่ไม่อาจบอกเหตุให้เกิดนิพพานได้ เพราะนิพพานเป็น อสังขตธรรม” (ธรรมที่ไม่มีอะไรปรุงแต่ง)
    “ข้าแต่พระนาคเสน นิพพานเป็นสังขตธรรม ไม่มีใครอาจบอกได้อย่างนั้นหรือ ?”
    “อย่างนั้นมหาบพิตร นิพพานป็นอสังขตธรรม ไม่มีอะไรตกแต่งได้ ไม่มีอะไรกระทำได้ นิพพานเป็นของไม่ควรกล่าวว่า เกิดขึ้นแล้วหรือยังไม่เกิด หรือจักต้องเกิด ไม่ควรกล่าวว่า เป็นอดีต หรืออนาคต หรือปัจจุบัน ไม่ควรกล่าวว่า เป็นของต้องเห็นด้วยตา เป็นของต้องเห็นด้วยตา เป็นของต้องได้ยินด้วยหู รู้ด้วยจมูก ลิ้น กาย อย่างใดเลย”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าเป็นอย่างนั้น นิพพานก็เป็นความไม่มีเป็นธรรมดา เราพูดได้ว่านิพพานไม่มีอย่างนั้นซิ”
    “ขอถวายพระพร นิพพานเป็นของต้องรู้ด้วยใจ พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมได้เห็นนิพพาน ด้วยใจอันบริสุทธิ์ อันสงบ อันประณีต อันเที่ยงตรง อันไม่มีเครื่องกั้นกาง อันไม่มีอามิส”
    “ข้าแต่พระนาคเสน นิพพานนั้นเป็นเช่นไร ขอจงให้โยมเข้าใจด้วยคำอุปมา คือด้วยการเปรียบกับสิ่งที่มีอยู่ รู้อยู่ตามธรรมดา”
    “ขอถวายพระพร ลมมีอยู่หรือ ?”
    “มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ถ้าอย่างนั้น ขอมหาบพิตรจงแสดงลมให้อาตมาเห็นด้วยสี สัณฐาน น้อย ใหญ่ ยาว สั้น”
    “ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า เพราะไม่มีใครอาจจับต้องลมได้ แต่ว่าลมนั้นมีอยู่”
    “ขอถวายพระพร ถ้าไม่อาจชี้ลมได้ว่า ลมมีสี สัณฐาน เล็ก ใหญ่ ยาว สั้น อย่างไร ลมก็ไม่มีนะซิ ?”
    “มี พระผู้เป็นเจ้า โยมรู้อยู่เต็มใจว่าลมมี แต่ไม่อาจแสดงลมให้เห็นได้”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร นิพพานมีอยู่จริง แต่ว่าไม่มีใครอาจแสดงให้เห็นได้ว่า นิพพานมีสี สัณฐาน เล็ก ใหญ่ ยาว สั้น อย่างไร”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ข้าแต่พระนาคเสน โยมเข้าใจได้ดีตามข้ออุปมาแล้ว โยมยอมรับว่านิพพานมีจริง” [/FONT]
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๙ </center> <center> ถามถึงสิ่งที่เกิด
    จากกรรมและไม่เกิดด้วยกรรม
    </center>
    “ข้าแต่พระนาคเสน อะไรเกิดด้วยกรรม เกิดด้วยเหตุ เกิดด้วยฤดู และอะไรไม่เกิดด้วยกรรม ไม่เกิดด้วยเหตุ ไม่เกิดด้วยฤดู ?”
    “ขอถวายพระพร พวกสัตว์ที่มีจิตใจทั้งสิ้นเกิดด้วยกรรม ไฟกับพืชทั้งสิ้นเกิดด้วยเหตุ แผ่นดิน ภูเขา น้ำ ลม ทั้งสิ้นเกิดด้วยฤดู อากาศกับนิพพานไม่เกิดด้วยกรรม ไม่เกิดด้วยเหตุ ไม่เกิดด้วยฤดู
    นิพพาน ใคร ๆ ไม่ควรกล่าวว่า เกิดด้วยกรรม หรือเกิดด้วยเหตุ เกิดด้วยฤดู และไม่ควรกล่าวว่า เป็นของเกิดอยู่แล้ว หรือยังไม่เกิด หรือจักต้องเกิด ไม่ควรกล่าวว่า เป็นอดีตอนาคต หรือปัจจุปัน ไม่ควรกล่าวว่า เป็นของต้องรู้แจ้งด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย นอกจากเป็นของที่รู้ด้วยใจเท่านั้น


    แต่พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมเห็นนิพพานด้วยญาณอันบริสุทธิ์”

    “ข้าแต่พระนาคเสน ปัญหาอันน่ายินดี พระผู้เป็นเจ้าได้แก้ไขดีแล้ว ทำให้โยมสิ้นสงสัยแล้ว พระผู้เป็นเจ้าได้ชื่อว่า มาถึงความเป็นผู้เยี่ยมในคณะสงฆ์อันประเสริฐแล้ว”

    <center>[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    จบวรรคที่ ๗
    [/FONT]</center>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ตอน ที่ ๒๙ </center> <center> วรรคที่ ๘ </center> <center> ปัญหาที่ ๑ </center> <center> ถามถึงความตายแห่งยักษ์ </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ ข้าแต่พระนาคเสน ยักษ์มีอยู่ในโลกหรือ ? ’’
    [/FONT] “ ขอถวายพระพร มี ”
    “ ยักษ์จุติจากกำเนิดของยักษ์ไหม ? ’’
    “ ขอถวายพระพร จุติ ”
    “ แต่เหตุไร เวลายักษ์ตายจึงไม่เห็นซากศพ ไม่ได้กลิ่นซากศพ ? ”
    “ ขอถวายพระพร ซากศพของยักษ์ที่ตายไปแล้วมีอยู่ แต่กลิ่นซากศพถูกลมพัดไปเสีย ด้วยว่าเวลายักษ์ตายแล้วนั้น ปรากฏว่าเป็นตั๊กแตนก็มี เป็นหนอนก็มี เป็นมดก็มี เป็นยุงก็มี เป็นงูก็มี เป็นแมงป่องก็มี เป็นตะขาบก็มี เป็นสัตว์เกิดจากฟองไข่ก็มี เป็นเนื้อสัตว์ป่าก็มี ”
    “ ข้าแต่พระนาคเสน ผู้อื่นนอกจากผู้มีความรู้จากพระพุทธเจ้า ย่อมแก้ปัญหาข้อนี้ไม่ได้ ”
    <center>
    ปัญหาที่ ๒
    </center> <center> ถามเรื่อง
    ไม่ทรงบัญญัติสิกขาบท
    </center> “ ข้าแต่พระนาคเสน พวกอาจารย์ของพวกแพทย์ปางก่อนมีอยู่ เช่น นารทะ ๑ ธัมมันตริกะ ๑ อังคีรสะ ๑ กปิละ ๑ กัณฑรัตติกามะ ๑ อตุละ ๑ บุพพกัจจายตนะ ๑ อาจารย์เหล่านั้นทั้งสิ้น รู้จักความเกิดขึ้นแห่งโรค ต้นเหตุแห่งโรค แดนเกิดแห่งโรค กิริยาอาการแห่งโรค การรักษาโรครักษาหายและไม่หายได้โดยเร็วพลันว่า ในร่างกายจักมีโรคเกิดขึ้นเท่านี้ รู้ได้อย่างรวดเร็ว เหมือนกับจับกลุ่มด้ายแล้วม้วนไปตามลำดับฉะนั้น
    อาจารย์เหล่านี้ทั้งสิ้นไม่ใช่พระสัพพัญญู ส่วนสมเด็จพระบรมครูเจ้าเป็นพระสัพพัญญูทรงรู้อนาคตได้สิ้นว่า ในเรื่องนั้นจะต้องบัญญัติสิกขาบทเท่านั้น แต่เหตุใดจึงไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ให้สิ้นเชิงทีเดียว ต่อเมื่อเกิดเรื่องขึ้นแล้ว มีพวกมนุษย์ติเตียนแล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ? ”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ ขอถวายพระพร พระตถาคตเจ้าทรงทราบแล้วว่า ในสมัยนี้เมื่อมนุษย์เหล่านี้ติเตียน เราจักต้องบัญญัติสิกขาบท ๑๕๐ สิกขาบท กว่า ๆ แต่ว่าพระตถาคตเจ้าทรงเล็งเห็นว่า


    ถ้าเราจักบัญญัติสิกขาบทไว้ให้ครบทีเดียว มหาชนก็จักร้อนใจว่า ในศาสนานี้มีสิ่งที่จะต้องรักษาอยู่มาก เป็นการยากที่จะบรรพชาในศาสนาของพระสมณโคดม ถึงพวกอยากบรรพชาก็จักไม่บรรพชา ทั้งจักไม่มีผู้เชื่อฟังถ้อยคำของเรา พวกที่ไม่เชื่อฟังถ้อยคำของเรา ก็จักไปเกิดในอบาย เมื่อเกิดเรื่องขึ้นแล้ว มีความเสียหายปรากฏขึ้นแล้ว เราจึงบัญญัติสิกขาบท


    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นอย่างนี้ จึงไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ล่วงหน้าทีเดียว ขอถวายพระพร
    “ อย่างนั้น พระนาคเสน เป็นอันพระตถาคตเจ้าทรงเล็งเห็นเรื่องนี้ได้ดีแล้ว ถ้ามีผู้ได้ยินได้ฟังว่า มีสิ่งที่จะต้องรักษาในพระพุทธศาสนาอยู่มาก ก็จักสะดุ้งกลัว จักไม่มีผู้บรรพชา โยมยอมรับว่าถูกต้อง อย่างที่พระพุทธเจ้าวิสัชนา ”
    <center>
    ปัญหาที่ ๓
    </center> <center> ถามถึงมลทิน
    แห่งดวงอาทิตย์
    </center> “ ข้าแต่พระนาคเสน ดวงอาทิตย์นี้แผ่รัศมีแรงกล้าอยู่เป็นนิจ หรือว่าบางเวลาก็อ่อนไป ”
    “ ขอถวายพระพร ดวงอาทิตย์นี้แผ่รัศมีแรงกล้าอยู่ทุกเวลา ”
    “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าดวงอาทิตย์นี้แผ่รัศมีแรงกล้าอยู่ทุกเวลา เหตุไรบ่างเวลาจึงร้อยน้อย บางเวลาจึงร้อนมาก ? ”
    “ ขอถวายพระพร เหตุว่าดวงอาทิตย์ถูกโรค ๔อย่าง ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งบีบคั้นจึงร้อนน้อยไป โรค ๔ อย่างนั้นได้แก่ หมอก ๑ ควัน ๑ เมฆ ๑ ราหู ๑ ”
    “ น่าอัศจรรย์!พระนาคเสน ถึงดวงอาทิตย์อันมีเดชกล้าก็ยังมีโรค ไม่ต้องพูดถึงเหล่าสัตว์อื่น การจำแนกปัญหานี้ ผู้อื่นนอกจากผู้มีความรู้ดังพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ไม่อาจจำแนกได้ ”
    <center>
    ปัญหาที่ ๔
    </center> <center> ถามเรื่องความ
    ร้อนแห่งดวงอาทิตย์
    </center> “ ข้าแต่พระนาคเสน เหตุไฉนดวงอาทิตย์จึงต้องแผ่รัศมีแรงกล้าในฤดูหนาว ส่วนในฤดูร้อนไม่แผ่รัศมีแรงกล้า ? ”
    “ ขอถวายพระพร เพราะในฤดูร้อนนั้นมีธุลีน้อย มีฝุ่นละอองในท้องฟ้าน้อย มีหมอกหนา มีลมแรงกล้า สิ่งเหล่านี้ปิดรัศมีแห่งดวงอาทิตย์ไว้ เพราะฉะนั้น ในฤดูร้อนดวงอาทิตย์จึงแผดแสงน้อยไป
    ส่วนในฤดูหนาว เบื้องต่ำแผ่นดินเย็น เบื้องบนมีเมฆใหญ่ตั้งขึ้น มีผงธุลีมากส่วนละอองสงบนิ่งอยู่ไม่เที่ยวไปในท้องฟ้า ท้องฟ้าปราศจากมลทิน ลมบนอากาศพัดอ่อนๆ
    เมื่อเป็นอย่างนั้น ดวงอาทิตย์ก็บริสุทธิ์ รัศมีแห่งดวงอาทิตย์ก็แรงกล้า เพราะพ้นจากเครื่องขัดขวาง ส่วนที่ประกอบเครื่องขัดขวาง มีเมฆ เป็นต้น ย่อมทำให้รัศมีแห่งดวงอาทิตย์ไม่แรงกล้า
    ด้วยเหตุนี้แหละ ดวงอาทิตย์จึงเปล่งรัศมีแรงกล้าในฤดูหนาว ไม่เปล่งรัศมีแรงกล้าในฤดูร้อน ขอถวายพระพร ”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ ข้าแต่พระนาคเสน เป็นอันว่า ดวงอาทิตย์พ้นจากเครื่องกีดขวางทั้งหลาย จึงแผ่รัศมีแรงกล้า ถ้าประกอบด้วยเมฆ เป็นต้น ก็ไม่แผ่รัศมีแรงกล้า ” [/FONT]
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ถามเรื่อง
    ทานของพระเวสสันดร
    </center>
    “ ข้าแต่พระนาคเสน พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
    ย่อมให้บุตรภรรยาเป็นทานเหมือนกันหมดหรือ หรือให้เฉพาะพระเวสสันดรเท่านั้น ”
    “ ขอถวายพระพร เหมือนกันหมด ไม่เฉพาะแต่พระเวสสันดร ”
    “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ให้ทานบุตรและภรรยาเหมือนกันหมด ก็ขอถามว่าให้ด้วยความยินยอมของบุตรภรรยาเหล่านั้นหรือไม่ ? ”
    “ ขอถวายพระพร สำหรับภรรยานั้นยินยอม แต่ว่าบุตรนั้นยังเป็นทารกอยู่ ก็ร้องไห้เพราะยังไม่รู้จักอะไร ถ้ารู้ความดีแล้วก็ยินดีตาม ไม่ร้องไห้รำพันเช่นนั้น ”

    <center>
    คำถามที่กระทำได้ยาก ๗ ข้อ
    </center> พระเจ้ามิลินท์ตรัสต่อไปว่า
    “ ข้าแต่พระนาคเสน การที่พระโพธิสัตว์ได้ให้บุตรอันเป็นที่รักของตน เพื่อไปเป็นทาสพราหมณ์ เป็นการกระทำได้ยาก ข้อที่ ๑
    การที่พระโพธิสัตว์ได้เห็นพราหมณ์ผูกมัดพระเจ้าลูกทั้งสอง ด้วยเครือไม้แล้วเฆี่ยนตีไป แต่ทรงเฉยอยู่ได้นั้น เป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก ข้อที่ ๒
    การที่พระโพธิสัตว์ได้ยกพระเจ้าลูกทั้งสองที่สลัดเครื่องผูกให้หลุดออก แล้ววิ่งกลับไปหาพระองค์อีกนั้น พระองค์ได้ทรงอนุญาตให้พราหมณ์ ผูกมัดไปด้วยเครือไม้อีก เป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก ข้อที่ ๓
    การที่พระโพธิสัตว์ทรงได้ยินเสียงพระเจ้าลูกทั้งสองร่ำร้องไห้ว่า “ พราหมณ์ นี้เป็นยักษ์จะนำหม่อมฉันทั้งสองไปกินเสีย ” ก็ทรงเฉยอยู่ไม่ทรงปลอบโยนว่า “ อย่ากลัวเลยลูกเอ๋ย ” อันนี้เป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก ข้อที่ ๔
    การที่พระชาลีกุมาร ได้หมอบกราบลงร้องไห้คร่ำครวญอยู่ที่พระบาทว่า “ ขอให้พระน้องนางกัณหากลับมาอยู่กับพระองค์เถิด หม่อมฉันผู้เดียวจะไปกับยักษ์ ยักษ์จะกินหรืออย่างไรก็ช่าง ” แต่พระเวสสันดรไม่ทรงรับคำอ้อนวอนอันนี้ ข้อนี้เป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก ข้อที่ ๕
    เมื่อพระชาลีกุมารร้องไห้คร่ำครวญว่า “ ข้าแต่พระบิดา พระหทัยของพระองค์ช่างแข็งกระด้างแผ่นศิลา เมื่อข้าพระองค์ทั้งสองกำลังได้ทุกข์ พระองค์ยังเพิกเฉยอยู่ได้ พระองค์ไม่ทรงห้ามยักษ์ ที่จักนำหม่อมฉันทั้งสองไปในป่าใหญ่ อันไม่มีมนุษย์นี้เลย ” ดังนี้ พระเวสสันดรก็ไม่ทรงกรุณา อันนี้เป็นสิ่งที่กระทำได้ยากข้อที่ ๖
    เมื่อพระเจ้าลูกทั้งสองร้องไห้ด้วยเสียงอันน่าสยดสยอง จนลับคลองพระเนตรไป แต่พระหฤทัยของพระเวสสันดร ซึ่งควรจะแตกออกเป็นร้อยเสี่ยง พันเสี่ยง ก็ไม่แตก ข้อนี้ก็เป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก ข้อที่ ๗
    พระนาคเสนเฉลยว่า
    “ ขอถวายพระพร เพราะเหตุที่พระเวสสันดร ได้กระทำสิ่งที่ทำได้ยาก จึงมีเสียงสรรเสริญทั่วหมื่นโลกธาตุ เหล่าเทพเจ้า อสูร ครุฑ นาค พระอินทร์ v ยักษ์ ต่างก็สรรเสริญ อยู่ในที่อยู่ของตน ๆ กลองทิพย์ก็บันลือขึ้นเอง จนกระทั่งทุกวันนี้ ยังมีผู้คิดกันอยู่ว่า ทานของพระเวสสันดรนั้น ดีหรือไม่ดี
    กิตติศัพท์อันนั้นย่อมแสดงให้เห็นคุณ ๑๐ ประการของพระโพธิสัตว์ ผู้มีสติปัญญาละเอียด ผู้รู้แจ้งในคุณ ๑๐ ประการนั้น

    <center>
    คุณ ๑๐ ประการของพระโพธิสัตว์
    </center> ๑. ความไม่ติดอยู่ในของรักของชอบใจ
    ๒. ความไม่อาลัยเกี่ยวข้อง
    ๓. ความสละ
    ๔. ความปล่อย
    ๕. ความไม่หวนคิดกลับกลอก
    ๖. ความละเอียด
    ๗. ความเป็นใหญ่
    ๘. ความเป็นของรู้ตามได้ยาก
    ๙. ความเป็นของได้ยาก
    ๑๐. ความเป็นของไม่มีใครเสมอ ”

    “ ข้าแต่พระนาคเสน บุคคลเหล่าใด ทำผู้อื่นให้เป็นทุกข์ด้วยการให้ทาน ทานของบุคคลเหล่านั้นจะให้ผลเป็นสุข จะทำให้ไปเกิดในสวรรค์ไดมีอยู่หรือ? ”
    “ มีอยู่มหาบพิตร ”
    “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ขอจงแสดงเหตุการณ์เปรียบเทียบ ”
    “ ขอถวายพระพร ถ้ามีสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีศีลธรรมอันดี เป็นโรคมีร่างกายตายไปแถบหนึ่ง หรือเป็นโรคง่อยเปลี้ยหรือหรือเป็นโรคอย่างใดอย่างหนึ่งเดินไม่ได้ มีผู้อยากได้บุญคนใดคนหนึ่ง ยกสมณพราหมณ์นั้นขึ้นสู่ยานพาหนะ นำไปส่งให้ถึงที่ประสงค์ บุคคลผู้นั้นจะได้ผลเป็นสุข ได้ไปบังเกิดในสวรรค์หรือไม่ ? ”
    “ ได้ไปเกิดทีเดียว พระผู้เป็นเจ้า อย่าว่าแต่ยานทิพย์เลย ถึงผู้นั้นจะเกิดในที่ใด ก็จะได้ยานพาหนะสมควรแก่ที่นั้น ๆ เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็ได้ยานช้าง ยานม้า ยานรถ ยานทางบก ยานทางน้ำ เมื่อเกิดในสวรรค์ก็จะได้ยานทิพย์ ความสุขจักต้องเกิดแก่เขาตามสมควรแก่ชาติกำเนิด ชาติสุดท้ายเขาก็จักได้ขึ้นยานฤทธิ์ ไปถึงเมืองพระนิพพานเป็นแน่ ”
    “ ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นทานที่ให้ด้วยทำให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่นก็มีผลเป็นสุข ทำให้เกิดในสวรรค์ได้ พระเวสสันดรทำให้พระเจ้าลูกทั้งสองต้องเป็นทุกข์ ด้วยการผูกมัดด้วยเถาวัลย์ ก็จะได้สุขเหมือนอย่างนั้น
    แต่ขอมหาบพิตรจงทรงสดับเหตุให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก เพื่อให้เห็นว่าการให้ทานด้วย การทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ก็มีผลเป็นสุข ทำให้เกิดในสวรรค์ได้ คือ
    พระราชาที่เก็บพลีกรรม ( ส่วย ) โดยชอบธรรม มาทรงบริจาคทานตามอำนาจนั้นมีอยู่ พระราชานั้นจะได้ความสุข อันเกิดจากการทรงให้ทานนั้นบ้างหรือ ทานนั้นจักทำให้ไปเกิดในสวรรค์ได้หรือไม่ ? ”
    “ได้ พระผู้เป็นเจ้า พระราชานั้นจักต้องได้ รับผลแห่งทานนั้นหลายแสนเท่า จักได้เกิดเป็นพระราชายิ่งกว่าพระราชา จักได้เกิดเป็นเทวดายิ่งกว่าพระราชา จักได้เกิดเป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดา เกิดเป็นพรหมยิ่งกว่าพรหม เกิดเป็นพราหมณ์ยิ่งกว่าพราหมณ์ เกิดเป็นพระอรหันต์ยิ่งกว่าพระอรหันต์เป็นแน่ ”
    “ ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นทานที่ให้ด้วยการทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์ ก็ต้องมีผลเป็นสุขต้องให้เกิดในสวรรค์ได้ เพราะพระราชาทรงบีบคั้นประชาชนมาให้ทาน ยังได้เสวยยศและสุขอย่างนั้นได้ ”

    <center>
    อติทาน
    </center> พระเจ้ามิลินท์ตรัสต่อไปว่า
    “ ข้าแต่พระนาคเสน ทานที่พระเวสสันดร ทรงกระทำนั้นเป็นอติทาน คือเป็นทานอย่างยิ่ง เพราะพระเวสสันดรได้ทรงให้ทานพระอัครมเหสีของพระองค์ เพื่อไปเป็นภรรยาของผู้อื่น ทรงให้ทานพระเจ้าลูกทั้งสอง เพื่อให้ไปเป็นทาสของพราหมณ์
    ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อันธรรมดาการให้ทานเกินไป ผู้รู้ทั้งหลายในโลกก็ตำหนิติเตียน เปรียบเหมือนเกวียนที่บรรทุกหนักเกินไปเพลาเกวียนก็หัก เรือบรรทุกหนักเกินไปก็จมอาหารที่กินมากเกินไปก็ไม่ย่อย ข้าวในนาเมื่อฝนตกมากเกินไปก็เสีย การให้ทานเกินไปสิ้นทรัพย์ แดดร้อนเกินไปในแผ่นดินก็ร้อน รักเกินไปก็บ้า โกรธเกินไปก็มีโทษ
    หลงเกินไปก็ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ โลภเกินไปก็ทำให้ลักขโมย พูดมากเกินไปก็พลาด น้ำเต็มฝั่งเกินไปก็ล้น ลมแรงเกินไปสายฟ้าก็ตก ไฟร้อนเกินไปน้ำก็ล้น เอาใจใส่ต่อการเรียนเกินไปก็บ้า กล้าเกินไปก็ตายเร็ว ฉะนั้น ข้าแต่พระนาคเสน พระเวสสันดรให้ทานเกินไป ก็ไม่มีผล ”
    พระนาคเสนถวายวิสัชนาว่า
    “ขอถวายพระพร อติทาน คือทานอันยิ่งเป็นของผู้รู้ทั้งหลายในโลกสรรเสริญ พวกใดให้ทานเป็นเช่นนั้นได้ พวกนั้นย่อมได้รับความสรรเสริญในโลก คนปล้ำย่อมทำให้คนปล้ำ อีกฝ่ายหนึ่งล้มลงด้วยกำลังแรงกว่า แผ่นดินย่อมทรงไว้ได้ซึ่งคนและสัตว์ ภูเขา ต้นไม้ ทั้งหลาย เพราะแผ่นดินเป็นของใหญ่ยิ่ง
    มหาสมุทรไม่รู้จักเต็ม เพราะมหาสมุทรเป็นของใหญ่ยิ่ง เขาสิเนรุไม่รู้จักหวั่นไหว เพราะเขาสิเนรุเป็นของหนักยิ่ง อากาศไม่มีที่สุดเพราะอากาศเป็นของกว้างยิ่ง ดวงอาทิตย์จำกัดเมฆหมอกเสียได้ เพราะรัศมียิ่ง ราชสีห์ไม่มีความกลัว เพราะมีชาติกำเนิดยิ่ง แก้วมณีให้ความสำเร็จปรารถนาทั้งปวง เพราะเป็นของคุณยิ่ง
    พระราชาย่อมเป็นใหญ่ เพราะเป็นผู้มีบุญยิ่ง ไฟย่อมเผาสิ่งทั้งปวงได้ เพราะมีความร้อนยิ่ง เพชรย่อมเจาะแก้วมณี แก้วมุกดาแก้วผลึกได้ เพราะเป็นของแข็งอย่ายิ่ง เทพยดา มนุษย์ ยักษ์ อสูร ทั้งหลาย ย่อมหมอบกราบภิกษุ เพราะมีศีลยิ่ง พระพุทธเจ้าไม่มีผู้เปรียบเพราะเป็นผู้วิเศษยิ่ง
    ข้อความเหล่านี้ฉันใด ทานอันยิ่งก็เป็นที่สรรเสริญของผู้รู้ทั้งหลายฉันนั้น
    ทานอันยิ่งของพระเวสสันดรนั้น มีผู้สรรเสริญทั่วหมื่นโลกธาตุ เพราะทานอันยิ่งนั่นแหละ พระเวสสันดรจึงได้เป็นพระพุทธเจ้าผู้ล้ำเลิศใน มนุษยโลก เทวโลก ขอถวายพระพรทานที่ไม่ควรให้มีอยู่หรือ ? ”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า ทานที่ไม่ควรให้นั้นมีอยู่ ๑๐ อย่าง ผู้ใดให้ทานเหล่านั้น ผู้นั้นก็ไปสู่อบาย มีดังนี้ [/FONT]
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ทาน ๑๐ อย่างที่ไม่ควรให้ </center> ๑. หญิงให้เมถุนธรรมเป็นทาน
    ๒. ปล่อยโคตัวผู้เข้าไปในฝูงแม่โคเพื่อเมถุนธรรม
    ๓. ให้น้ำเมา คือสุราเมรัยเป็นทาน
    ๔. ให้รูปเขียน อันประกอบด้วยเมถุนธรรมเป็นทาน
    ๕. ให้ศาตราวุธเป็นทาน
    ๖. ให้ยาพิษเป็นทาน
    ๗. ให้โซ่ตรวน ขื่อคา เป็นทาน
    ๘. ให้ไก่เพื่อให้เขาไปฆ่า
    ๙. ให้สุกรเพื่อให้เขาไปฆ่า
    ๑๐. ให้ทานเครื่องตวง ตาชั่ง ทะนาน เพื่อใช้โกง

    เหล่านี้ บัณฑิตไม่สรรเสริญ ทำให้ผู้ให้ให้แล้วไปสู่อบายนะ พระผู้เป็นเจ้า ”
    “ ขอถวายพระพร อาตมภาพไม่ได้ถามถึงสิ่งที่ไม่ควรให้ทาน ถามถึงสิ่งที่ควรให้ทาน แต่เมื่อทักขิไณยบุคคล (ผู้ควรรับประทาน ) ยังไม่เกิดก็ยังไม่ควรให้ ว่าทานอย่างนั้นมีอยู่หรือดังนี้ต่างหาก ”
    “อ๋อ...ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า เพราะเมื่อจิตเลื่อมใสเกิดขึ้นแล้ว คนบางพวกก็ให้ทานโภชนะแก่ทักขิไณยบุคคล บางพวกก็ให้ทานเครื่องนุ่งห่มก็มี ให้ทานที่นอนก็มี ให้ทานที่อยู่อาศัยก็มี ให้ทานเครื่องปูก็มี ให้ทานเครื่องนุ่งห่มก็มี ให้ทานทาสีและทาสก็มี ให้ทานเรือกสวนไร่นาที่ดินก็มี ให้ทานสัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้าก็มี ให้ทานทรัพย์ตั้งร้อยตั้งพันก็มี ให้ทานราชสมบัติใหญ่ก็มี ให้ทานชีวิตก็มี ”
    “ขอถวายพระพร ถ้าหากว่าในโลกนี้ผู้อื่นยังให้ทานชีวิตได้ เหตุใดจึงมีผู้ติเตียนพระเวสสันดร ผู้เป็นทานบดีอย่างร้ายแรง เพราะเหตุพระราชทานพระราชทานพระราชโอรส ธิดาอัครมเหสี
    อีกประการหนึ่ง เมื่อว่าตามปกติโลกแล้ว บิดาให้บุตรเป็นค่าใช้หนี้ หรือเป็นค่าเลี้ยงชีพ หรือขายไป เพื่อเหตุใดเหตุหนึ่งก็ได้ไม่ใช่หรือ?”
    “ ได้ พระผู้เป็นเจ้า ”
    “ถ้าได้ พระเวสสันดรเมื่อยังไม่สำเสร็จพระสัพพัญญุตญาณก็เป็นทุกข์ เพื่อต้องการพระสัมพัญญุตญาณนั้น จึงได้ให้โอรส ธิดา อัครมเหสี เป็นทาน แต่เหตุใดมหาบพิตร จึงทรงติเตียนพระเวสสันดรอย่างร้ายแรงล่ะ ? ”
    “ข้าแต่พระนาคเสน โยมไม่ได้ติเตียนทานของพระเวสสันดรเลย เป็นแต่ติเตียนการที่พระเวสสันดร ได้ให้ทานโอรสธิดากับอัครมเหสีเท่านั้น เพราะเมื่อว่าตามที่ถูกแล้วเวลายาจกมาทูลขอโอรส ธิดา อัครมเหสี พระเวสสันดรควรพระราชทานตัวของพระองค์เอง จึงสมควร ”
    “ขอถวายพระพร ข้อนั้นไม่ใช่การกระทำของสัตบุรุษ คือเมื่อเขาขอบุตรภรรยา จะให้ตัวเองนั้นไม่ถูก เมื่อเขาขอสิ่งใด ๆ ก็ควรให้สิ่งนั้น ๆ อันนี้เป็นการกระทำของสัตบุรุษทั้งหลาย
    ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่ามีบุรุษคนหนึ่งมาขอน้ำ ผู้ใดให้ข้าวแก่บุรุษนั้นจะเรียกว่าผู้นั้นเป็นกิจจการี คือผู้กระทำตามหน้าที่แล้วหรือ ? ”
    “ไม่เรียก พระผู้เป็นเจ้า เมื่อเขาขอสิ่งใดก็ให้สิ่งนั้น จึงเรียกว่ากระทำถูก ”
    “ข้อนี้ก็เหมือนฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือเมื่อพราหมณ์ทูลขอโอรส ธิดา อัครมเหสี พระเวสสันดรผู้เป็นทานบดี ก็ไม่พระราชทานตัวของพระองค์เอง ได้พระราชทานโอรสธิดาอัครมเหสีไปแก่พราหมณ์นั้น ถ้าพราหมณ์นั้นขอพระสรีระทั้งสิ้นของพระเวสสันดร พระบาทท้าวเธอไม่ห่วงใยเสียดายพระองค์ ต้องทรงบริจาคพระองค์ไปแล้ว
    ถ้านักเลงสะกา หรือสุนัขบ้าน สุนัขป่าเข้าไปทูลขอพระเวสสันดรว่า ขอจงให้พระองค์ยอมเป็นทาสของข้าพระองค์ พระเวสสันดรก็จะทรงยินยอมทีเดียว ทั้งที่ไม่ทรงเดือดร้อนเสียใจภายหลัง เพราะว่าพระวรกายของพระเวสสันดรเป็นของทั่วไปแก่คนหมู่มาก
    เหมือนกับต้นไม้มีผล อันเป็นของทั่วไป แก่หมู่นกต่างๆ ฉะนั้น ด้วยพระเวสสันดรทรงเห็นว่า เมื่อเราปฏิบัติอย่างนี้ จึงจะสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ
    อีกอย่างหนึ่ง บุรุษผู้ไม่มีทรัพย์ ผู้ต้องการทรัพย์ ย่อมเที่ยวแสวงทรัพย์ ย่อมเที่ยวหาไปตามทางดงทางเกวียน ทางน้ำ ทางบก เพื่อให้ได้ทรัพย์ฉันใด พระเวสสันดรผู้ไม่มีทรัพย์คือพระสัพพัญญุตญาณ ก็ได้แสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ ด้วยการพระราชทานทรัพย์และธิญชาติ ยาน พาหนะ ทาสี ทามา ทรัพย์ สมบัติ บุตร ภรรยา ตลอดถึงหนัง เลือดเนื้อ หัวใจ ชีวิตของพระองค์ฉันนั้น
    อีกประการหนึ่ง อำมาตย์ผู้ต้องการความเจริญ ต้องการเป็นใหญ่เป็นโต คือต้องการเป็นพระราชา ย่อมสละทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทอง ทั้งสิ้นของตนแก่คนอื่นๆ ฉันใดพระเวสสันดรก็ทรงสละสิ่งของภายนอกตลอดจนถึงชีวิตแก่ผู้อื่น เพื่อให้ได้พระสัมมาสัมโพธิญาณฉันนั้น
    ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง พระเวสสันดรทานบดีทรงดำริว่า พราหมณ์ขอสิ่งใดเราควรให้สิ่งนั้น จึงจะเรียกว่าเราทำถูก ทรงดำริอย่างนี้จึงได้พระราชทานโอรส ธิดา อัครมเหสี
    การที่พระองค์พระราชทานโอรส ธิดาอัครมเหสี ให้แก่พราหมณ์นั้น ไม่ใช่เพราะความเกลียดชัง หรือเห็นว่ามีอยู่มาก หรือเพราะไม่อาจเลี้ยงได้ หรือเพราะรำคาญ ได้พระราชทานไปเพราะทรงมุ่งหวังพระสัพพัญญุตญาณต่างหาก ทรงรักพระสัพพัญญุตญาณมากกว่า
    ข้อนี้สมกับที่ตรัสไว้ใน จริยาปิฎก ว่า


    “ ไม่ใช่ว่าลูกทั้งสองเป็นที่เกลียดชังของเราไม่ใช่มัทรีไม่เป็นที่รักของเรา พระสัพพัญญตญาณเป็นที่รักของเรา เราจึงได้ให้ทานบุตรธิดาภรรยา อันเป็นที่รักของเรา ”

    ขอถวายพระพร ครั้งพระเวสสันดร พระราชทานโอรสธิดาไปแล้ว ก็ได้เสด็จเข้าไปภายในบรรณศาลา ทรงกรรณแสงด้วยความรักยิ่ง ดวงหทัยได้ร้อนขึ้น เมื่อพระนาสิกไม่พอหายใจก็ได้ปล่อยลมหายใจร้อย ๆ ออกมาทางพระโอษฐ์ มีน้ำพระเนตรเจือด้วยพระโลหิต ไหลนองเต็มสองพระเนตร
    เป็นอันว่า พระเวสสันดร ทรงรักพระราชโอรสธิดาอย่างยิ่ง แต่ได้ทรงอดกลั้นความโศกไว้ได้ ด้วยทรงดำหริว่า อย่าให้ทานของเราเสียไปเลย

    <center>
    อานิสงส์ ๒ ประการ
    </center> ขอถวายพระพร คราวนั้น พระเวสสันดรได้เล็งเห็นอานิสงส์ ๒ ประการ จึงได้ทรงพระราชทานพระเจ้าลูกทั้งสอง เพื่อให้ไปเป็นทาสของพราหมณ์ อานิสงส์ ๒ ประการนั้นคือประการใดบ้าง
    ประการที่ ๑ ว่า อย่าให้ “ ทานตบะ ” เครื่องเผากิเลส คือ ทานของเราเสียไปเลย
    ประการที่ ๒ ว่า ลูกเล็กทั้งสองของเราเป็นทุกข์ ด้วยได้กินแต่ลูกไม้หัวมัน เมื่อเราให้ทานไป พระเจ้าปู่ทรงจะได้ทรงรับไปเลี้ยง เพราะพระเวสสันดรทรงทราบดีอยู่ว่า คนอื่น ๆ ไม่อาจใช้ลูกของเราให้เป็นทาสทาสีทาสาได้ พระเจ้าปู่จะต้องไถ่ลูกทั้งสองของเราไว้ ทั้งจักมารับเราด้วย
    เป็นอันว่า พระเวสสันดรเล็งเห็นคุณวิเศษ คืออานิสงส์ ๒ ประการนี้ จึงได้พระราชทานลูกทั้งสองไป
    อีกประการหนึ่ง พระเวสสันดรทรงทราบอยู่ว่า พราหมณ์ผู้นี้แก่เฒ่าเต็มทีแล้วใกล้จะตายอยู่แล้ว คงไม่อาจใช้ลูกทั้งสองของเราเป็นทาสได้ บุรุษอาจจับดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากลงมาใส่ไว้ในชะลอมหรือในผอบ หรือทำให้หมดรัศมีได้ ด้วยกำลังปกติหรือไม่ ? ”
    “ ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า ”
    “ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร พราหมณ์เฒ่าผู้มีบุญน้อยนั้น ก็ไม่อาจใช้พระเจ้าลูกทั้งสองให้เป็นทาสได้เหมือนกันฉะนั้น
    อีกอย่างหนึ่ง ขอจงสดับเหตุให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก คือแก้วมณีโชติของพระเจ้าจักรพรรดิอันมีรัศมีแผ่ไปตลอด ๑๐๐ โยชน์นั้น ไม่มีใครอาจเอาผ้าหุ้มห่อปิดไว้ได้
    อนึ่ง ช้างแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิย่อมไม่มีใครขึ้นขี่ได้ หรืออาจปกปิดไว้ได้ด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งฉันใด พระเจ้าลูกทั้งสองของพระเวสสันดร ก็ไม่มีใครอาจใช้เป็นทาสทาสีได้ฉันนั้น
    อีกอย่างหนึ่ง มหาสมุทรอันกว้างใหญ่หาประมาณมิได้ ย่อมไม่มีใครอาจปิดให้มีแต่เพียงท่าเดียวได้ พระยานันโทปนันทนาคราชที่สามารถพันรอบเขาสิเนรุราชได้ ๗ รอบนั้นย่อมไม่มีใครสามารถจับมาใส่ชะลอมหรือผอบไปเล่นละครได้
    พระยาเขาหิมพานต์อันสูงถึง ๕๐๐ โยชน์ กว้างยาวถึง ๓๐๐ โยชน์ มียอดถึง ๘ หมื่น ๔ พันยอด อันเป็นแดนเกิดแห่งมหานที ๕๐๐ สาย อันเป็นที่อาศัยของหมู่ภูตใหญ่ ๆ เป็นที่ทรงไว้ซึ่งไม้หอมต่าง ๆ สล้างสลอยไปด้วยทิพยโอสถตั้งร้อย ๆ อย่างย่อมแลดูสูงตระหง่านเหมือนกับเมฆอันลอยในท้องฟ้าฉันใดพระเวสสันดรก็สูงด้วยพระเกียรติยศ เหมือนกับพระยาเขาหิมพานต์ฉันนั้น ใครเล่าจักอาจใช้พระเจ้าลูกทั้งสองให้เป็นทาสได้
    อีกประการหนึ่ง กองเพลิงที่ลุกรุ่งเรืองอยู่บนภูเขา ในเวลากลางคืนมืด ๆ ย่อมปรากฏเห็นแต่ไกลฉันใด พระเวสสันดรก็ปรากฏเห็นไกลฉันนั้น
    อีกอย่างหนึ่ง กลิ่นดอกกากะทิงบนภูเขาหิมพานต์ เมื่อมีลมพัดมา ย่อมส่งกลิ่นไปไกลถึง ๑๒ โยชน์ฉันใด กลิ่นความดีของพระเวสสันดร ก็หอมฟุ้งไปทั่วแดนอสูร คนธรรมพ์ ยักษ์ รากษส นาค ครุฑ กินนร อินทร์พรหมทั้งหลายทุกชั้นฟ้าฉันนั้น เมื่อเป็นอย่างนั้น ใครเล่าจักอาจใช้พระเจ้าลูกทั้งสองของพระเวสสันดร ให้เป็นทาสทาสีได้
    ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง พระเวสสันดรได้ทรงกำชับสั่งพระชาลีกุมารไว้ว่า
    “ลูกเอ๋ย....พระเจ้าปู่จักต้องไถ่เจ้าทั้งสองด้วยทรัพย์จากพราหมณ์ไป แต่เมื่อจะทรงไถ่นั้น จงให้ไถ่ตัวเจ้าด้วยทองคำพันตำลึง ให้ไถ่น้องกัณหาด้วยทาส ทาสี ช้าง ม้า โค ทองคำ อย่างละร้อย ๆ ถ้าพระเจ้าผู้จะทรงบังคับเอาเปล่า ๆ พวกเจ้าจงอย่ายอม จงติดตามพราหมณ์ไป” ทรงสอนอย่างนี้แล้ว จึงได้พระราชทานไป
    ผ่ายพระชาลีกุมารที่พระเจ้าปู่ตรัสถามว่าจะต้องไถ่เจ้าทั้งสองอย่างไร จึงกราบทูลว่า
    "พระบิดาของหม่อมฉันได้ตีราคาหม่อมฉันไว้พันตำลึงทอง ได้ตีราคาน้องกัญหาไว้ด้วยทรัพย์อย่างละร้อย มีช้าง ๑๐๐ เชือก เป็นต้น พระเจ้าข้า" เรื่องมีอย่างนี้แหละมหาบพิตร"
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ข้าแต่พระพนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้ทำลายข่ายทิฏฐิ ย่ำยีถ่อยคำของผู้อื่นได้แล้วได้แสดงเหตุผลไว้เพียงพอแล้ว ทำให้เข้าใจปัญหาข้อนี้ได้ง่ายแล้ว” [/FONT]
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๗ </center> <center> ว่าด้วย
    กำลังแห่งกุศลอกุศล
    </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    " ข้าแต่พระนาคเสน กุศลกับอกุศลอย่างไหนยิ่งกว่ากัน มีกำลังกว่ากัน ? "
    [/FONT] " ขอถวายพระพร กุศล ยิ่งกว่า มีกำลังแรงกว่า "
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสต่อไปว่า
    " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมไม่เชื่อว่ากุศลยิ่งกว่ามีกำลังแรงกว่าเพราะเห็นอยู่ทั่วกันว่าผู้ทำปาณาติบาต ฆ่ามนุษย์ ผู้ทำอทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปล้นชาวบ้าน ปล้นคนเดินทาง ฉ้อโกง หลอกลวง ทั้งสิ้นนี้ย่อมถูกลงโทษต่าง ๆ คือ
    ถูกตัดมือก็มี ตัดเท้าก็มี ตัดหู ตัดจมูกก็มี เอาหม้อข้าวครอบหัวก็มี ถลกหนังแล้วขัดด้วยหินหยาบให้ขาวเหมือนสังข์ก็มี ทำปากราหูคือจุดไฟยัดเข้าปากก็มี ทำตัวเป็นดอกไม้เพลิงคือเอาผ้าชุบน้ำมันพันตัวแล้วจุดไฟก็มี จุดนิ้วมือต่างประทีป คือผ้าขี้ริ้วชุบน้ำมันพันนิ้วมือ แล้วจุดไฟก็มี
    ทำหนังแกะ คือลอกหนังตั้งแต่คอลงไปถึงข้อเท้า แล้วให้เดินเหยียบหนังตัวเองไปก็มี
    ทำผ้าผูกคอ คือถลกหนังตั้งแต่คอลงไปพักไว้ที่บั้นเอวเสียตอนหนึ่ง ถลกหนังจากใต้บั้นเอวลงไปถึงข้อเท้า ให้เหมือนนุ่งผ้าเปลือกปอก็มี ตอกข้อเท้าทั้งสองเข่าทั้งสองขึงไว้กับพื้นดินก็มี เอาเบ็ดเกี่ยวเนื้อออกเป็นชิ้น ๆ ก็มี
    เชือดเนื้อออกทีละก้อน ๆเท่าเงินกหาปณะก็มี ฟันแทงให้ทั่วตัว แล้วเอาน้ำแสบน้ำเค็มเทราดก็มี ให้นอนตะแคงเอาหลาวแทงช่องหู ปักลงไปกับพื้นดินให้แน่น แล้วจับเท้าหมุนก็มี
    ทำดังฟาง คือเชือดเอาผิวหนังออกแล้วทุบกระดูกให้แตกด้วยก้อยหิน จับผมดึงถลกหนังขึ้น ทำให้เหมือนมัดฟางก็มี เอาน้ำมันร้อน ๆ เทราดก็มี ให้สุนัขกัดกินก็มี เสียบหลาวไว้ทั้งเป็นก็มี ตัดศรีษะด้วยดาบก็มี
    พวกทำบาปในกลางคืนได้รับผลบาปในกลางคืนก็มี พวกทำบาปกลางคืนได้รับผลบาปกลางวันก็มี พวกทำบาปกลางวันได้รับผลบาปกลางวันก็มี บางพวกที่ได้รับกลางคืน บางพวกล่วงไป ๒-๓ วันจึงได้รับ เป็นอันว่าพวกทำบาปทั้งสิ้น ได้รับผลในทันตาเห็น
    ส่วนผู้ให้ทานแก่สมณพราหมณ์องค์เดียวหรือ ๒ องค์ ๓ องค์ ๔ องค์ ๕ องค์ ๑๐ องค์ ๑๐๐ องค์ พันองค์ แสนองค์ จึงได้รับผลคือทรัพย์ ยศ หรือสุข ในปัจจุบันก็มี บางคนก็ได้เสวยสมบัติด้วยศีล ๕ ก็มี ด้วยศีล ๘ ก็มี
    พระนาคเสนตอบว่า
    " ขอถวายพระพร บริษัททั้ง ๔ นี้ ให้ทานรักษาศีล รักษาอุโบสถ แล้วไปสวรรค์ทั้งเป็นก็มีอยู่ "
    " คือใครบ้างล่ะ พระผู้เป็นเจ้า ? "
    " ขอถวายพระพร คือ พระเจ้ามันธาตุราช ๑ พระเจ้าเนมิราช ๑ พระเจ้าสาธินราช ๑ โคตติลพราหมณ์ ๑"
    " ข้าแต่พระนาคเสน เรื่องบุคคลทั้ง ๔ นั้น เป็นเรื่องนานหลายพันชาติมาแล้ว ถ้าพระผู้เป็นเจ้าสามารถ จงบอกเรื่องที่มีอยู่ในครั้งพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ว่า ผู้ที่ทำบุญแล้วได้ผลทันตาเห็นนั้นคือใครบ้าง ? "

    <center>
    บุคคลตัวอย่าง
    </center> " ขอถวายพระพร คือ นายปุณณกะ ผู้เป็นทาสของเศรษฐี ( เมณฑกเศรษฐี ) ซึ้งได้ใส่บาตรพระสารีบุตรเถระ แล้วได้เป็นเศรษฐีในวันนั้น
    พระนางโคปาลมาตาเทวี ตัดมวยผมออกขายได้เงิน ๘ กหาปณะ แล้วซื้ออาหารถวายแก่พระ ๘ องค์ มีพระมหากัจจายนเถระเป็นประธาน แล้วได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน ( ในพระสูตรว่าเป็นพระเจ้าจัณฑปัชโชติ ) ในวันนั้น
    นางสุปิยาอุบาสิกา เชือดเนื้อขาออกปิ้งถวายพระอาพาธองค์หนึ่ง แล้วรุ่งขึ้นก็มีเนื้องอกขึ้นเต็มเป็นปกติ
    พระนางมัลลิกา ได้เอาขนมถั่วใส่บาตรพระพุทธเจ้า แล้วได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าโกศลในวันนั้น
    นายสุมนมาลาการ บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกมะลิ ๘ กำมือ แล้วได้พระราชทานรางวัลจากพระราชาสิ่งละ ๘ ในวันนั้น เป็นอันว่าบุคคลทั้งสิ้นนี้ ได้ทรัพย์ ยศ ในชาติปัจจุบันนี้ ขอถวายพระพร "
    " ข้าแต่พระนาคเสน ท่านพิจารณาเห็นเพียง ๖ คนเท่านั้นหรือ ? "
    " เพียง ๖ คนเท่านั้นแหละ มหาบพิตร "
    พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสอีกว่า
    " ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้น อกุศลก็มีกำลังยิ่งนัก เพราะว่าคราวหนึ่งโยมได้เห็นบุรุษคราวละ ๑๐ คน ๒๐ คน ๓๐ คน ๔๐ คน ๑๐๐ คน ๑,๐๐๐ คน ถูกเสียบหลาวทั้งเป็นด้วยผลบาปของเขา
    บุตรของเสนาบดีแห่งพระเจ้าจันทคุตต์ชื่อว่า " ภัททบาล " ได้เกิดทำสงครามกับพระเจ้าจันทคุตต์ ในการทำสงครามกลางเมืองคราวนั้นพลนิกายทั้งสองฝ่าย ต่างก็มีมือถือดาบอันคมกล้า ฆ่าฟันกันล้มตายเป็นอันมาก
    การที่พวกนั้น ถึงความพินาศอย่างนั้น ก็เพราะผลของบาปกรรม เหตุอันนี้แหละโยมจึงว่าอกุศลมีกำลังยิ่งกว่า
    โยมได้ฟังมาว่า พระเจ้าโกศล ได้ถวายอสทิสทาน ในครั้งพระพุทธองค์ยังคงดำรงอยู่จริงไหม ? "
    พระนาคเสนยอมรับว่า
    " จริง มหาบพิตร "
    " ข้าแต่พระนาคเสน พระเจ้าโกศลถวาย อสทิสทานนั้นแล้วได้ทรัพย์ ยศ หรือสุขอย่างใดอย่างหนึ่งในปัจจุบันหรือไม่ ? "
    " ไม่ได้ มหาบพิตร "
    " ถ้าไม่ได้ก็เป็นอันว่า อกุศลมีกำลังยิ่งกว่า "
    " ขอถวายพระพร อกุศลย่อมให้ผลเร็วเพราะเป็นของเล็กน้อย ส่วนกุศลย่อมให้ผลช้าเพราะเป็นของใหญ่ ความข้อนี้ควรทราบด้วยอุปมา ดังนี้
    ในอปรันตชนบทมีธัญชาติ คือข้าวเปลือกชนิดหนึ่งชื่อว่า " กุมุทธภัณฑิกา " อันจัดเป็นข้าวเบาหว่านลงในนาเดือนเดียวก็ได้ผล ส่วนข้าวสาลีต้อง ๕-๖ เดือนถึงจะได้ผล ข้อนี้มหาบพิตรว่าเป็นเพราะอะไร ? "
    "โยมว่าเป็นเพราะข้าวกุมุทธภัณฑิกาเป็นของเล็กน้อย ส่วนข้าวสาลีเป็นของใหญ่เพราะเป็นข้าวเสวยของพระราชา ส่วนข้าวกุมุทธกัณฑิกา เป็นข้าวของพวกทาสกรรมกร "
    " ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เพราะอกุศลเป็นของเล็กน้อย จึงให้ผลเร็ว ส่วนกุศลเป็นของใหญ่ จึงให้ผลช้า "
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสต่อไปว่า
    " ข้าแต่พระนาคเสน สิ่งใดให้ผลเร็ว สิ่งนั้นชื่อว่า มีกำลังยิ่งกว่า เพราะฉะนั้น อกุศลจึงมีกำลังยิ่งกว่า เหมือนกับพลรบที่เข้าสู่สนามรบผู้ใดจับศัตรูมาได้เร็ว ผู้นั้นชื่อว่าผู้แกล้วกล้าสามารถ หมอผ่าตัดคนใดถอนลูกศรออกได้เร็ว หมอผ่าตัดคนนั้นชื่อว่าหมอฉลาด คนนับคนใดนับได้เร็ว คนนับคนนั้นก็ชื่อว่าเก่ง คนปล้ำคนใดจับคู่ปล้ำด้วยกันฟาดลงได้ทั้งยืน คนปล้ำคนนั้นก็ชื่อว่าแกล้วกล้าสามารถ
    ข้อเปรียบเหล่านี้มีอุปมาฉันใด กุศลหรืออกุศลใดสามารถให้ผลเร็ว กุศลหรืออกุศลนั้นก็ชื่อว่ามีกำลังยิ่งกว่าฉันนั้น "
    พระนาคเสนอธิบายว่า
    " ขอถวายพระพร กรรมทั้งสองนี้ เป็นกรรมให้ผลในชาติที่ ๒ รองจากชาตินี้ลงไปอีกอย่างหนึ่ง อกุศลที่ให้ผลในปัจจุบันนั้นเป็นเพราะมีโทษมาก
    กษัตริย์องค์ก่อน ๆ ทรงกำหนดโทษไว้ว่า ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ขโมยของผู้อื่น เป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น กล่าวเท็จ ปล้นบ้านเมือง แย่งชิงคนเดินทาง ทำของปลอม ทำการหลอกลวงผู้นั้นต้องได้รับโทษอาญาคือฆ่าหรือตัดอวัยวะหรือเฆี่ยนตี อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ แล้วพระราชาเหล่านั้น ก็ลงโทษตามที่ทรงกำหนดไว้
    ส่วนผลของทานศีล มีผู้กำหนดไว้หรือไม่ว่า ผู้ใดให้ทาน รักษาศีล รักษาอุโบสถพระราชาต้องพระราชทานทรัพย์ ยศ แก่ผู้นั้นเหมือนกับการลงโทษผู้กระทำผิดกฏหมาย ? "
    " ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า "
    " ขอถวายพระพร ถ้ามี กุศลก็ต้องให้ผลทันตาเห็นแก่ผู้ให้ทานทั้งนั้น แต่เพราะไม่มีพระราชกำหนดกฏหมายไว้ กุศลจึงไม่ได้ผลทันตาเห็นเสมอไป ส่วนในภพต่อ ๆไป เขาก็ได้ผล มีกำลังยิ่งกว่า สำหรับอกุศลไม่ใช่อย่างนั้น "
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ปัญหานี้ท่านได้แก้ไขถูกต้องดีแล้ว " [/FONT]
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๘ </center> <center> ว่าด้วย
    การทำบุญให้ผู้ตาย
    </center>
    " ข้าแต่พระนาคเสน พวกทายกให้ท่านแล้ว
    อุทิศให้แก่ผู้ที่ตายไปก่อนแล้วว่า ขอทานนี้จงมีแก่พวกนั้น ดังนี้ ขอถามว่า พวกนั้นได้รับผลจากทานนั้นบ้างหรือไม่ ? "
    " ขอถวายพระพร บางพวกก็ได้รับ บางพวกก็ไม่ได้รับ "
    " พวกไหนได้รับ พวกไหนไม่ได้รับ พระผู้เป็นเจ้า ? "
    " ขอถวายพระพร พวกเกิดในนรก สวรรค์เดรัจฉาน ทั้ง ๓ จำพวกนี้ไม่ได้รับ และอีก ๓ จำพวก คือ จำพวกอสุรกาย จำพวกเปรตอดข้าวอดน้ำ จำพวกเปรตเพลิงไหม้อยู่เป็นนิจก็ไม่ได้รับ ได้รับแต่จำพวก ปรทัตตูปชีวีเปรต คืออาศัยผู้อื่นอุทิศให้จำพวกเดียวเท่านั้น "
    " ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้นทานที่พวกทายกให้ ก็เป็นทานเสียเปล่า ไม่มีผลเพราะพวกที่ตายไปแล้วไม่ได้รับ ? "
    "ขอถวายพระพร จะไม่มีผลหามิได้เพราะพวกทายกยังได้รับผลแห่งทานนั้นอยู่"
    " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอ้างเหตุให้โยมเข้าใจ "
    " ขอถวายพระพร เหมือนอย่างที่คนพวกหนึ่ง จัดปลา เนื้อ สุรา อาหาร ส่งไปให้แก่พวกญาติ ถ้าพวกญาติไม่รับไว้ ข้าวน้ำที่ส่งไปทั้งหลายนั้น จะเสียเปล่าหรืออย่างไร? "
    " ไม่เสียเปล่า พระผู้เป็นเจ้า ของนั้นเขาต้องส่งกลับมาให้เจ้าของอีก "
    " ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ถึงพวกที่ล่วงลับไปแล้วไม่ได้รับผลทานนั้น พวกทายกก็ยังได้รับ อีกอย่างหนึ่ง อาตมภาพขอถามว่า เมื่อบุรุษเข้าไปในห้อง ไม่มีประตูทะลุออกไปเขาจะออกทางไหน ? "
    " เขาต้องออกทางที่เข้าไปซิ ผู้เป็นเจ้า "
    " ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร พวกทายกก็ยังได้รับผลทานนั้นอยู่ "
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] " อย่างนั้นพระนาคเสน โยมรับว่า พวกทายกยังได้รับผลทานของเขาอยู่ เพราะฉะนั้นโยมไม่ซักถึงเหตุผลอีกละ " [/FONT]
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๙ </center> <center> ว่าด้วยความใหญ่
    และไม่ใหญ่ แห่งกุศลอกุศล
    </center>
    " ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าท่านที่พวกทายกให้ไปถึงผู้ที่ตายไปแล้ว
    พวกที่ตายไปแล้วได้รับผลทานนั้น ผู้ใดฆ่าสัตว์ ฆ่ามนุษย์ มีมือเปื้อนด้วยโลหิต มีใจคิดร้าย ทำกรรมหยาบช้าแล้วอุทิศผลให้แก่พวกที่ตายไปแล้วว่า ผลแห่งกรรมของเรานี้จงไปถึงพวกที่ตายไปแล้วดังนี้ ผลแห่งกรรมนั้นจะถึงพวกที่ตายไปแล้วหรือไม่ ? "
    พระนาคเสนตอบว่า
    " ไม่ถึง มหาบพิตร "
    " เหตุไร พระผู้เป็นเจ้า อกุศลนั้นจึงไม่ไปถึง ? "
    " ขอถวายพระพร ธรรมดาอกุศลย่อมไม่มีใครต้องการไม่มีใครอาจทำโลกทั้งสิ้นให้มีรส
    ชาติอันเดียวกัน ขอมหาบพิตรอย่าถามอาตมภาพอย่างนี้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ควรถามเช่นจะถามว่า
    เหตุใดฝักข้าวโพดจึงตั้ง ลูกฟักเขียวจึงห้อย น้ำในคงคาจึงไม่ไหลขึ้นข้างบน มนุษย์กับสัตว์มีปีกจึงมี ๒ เท้า สัตว์ป่าเป็นต้น มี ๔ เท้า ดังนั้น เป็นของไม่ควรถามทั้งนั้น "
    " ข้าแต่พระนาคเสน โยมไม่ได้ถามด้วยมุ่งจะทำให้พระผู้เป็นเจ้าลำบากใจ โยมถามด้วยมุ่งให้หมดความสงสัยเท่านั้น พวกมนุษย์เป็นอันมากที่ทำบาป ที่ไม่รู้จักอะไร ย่อมไม่ได้โอกาสที่จะถามพระผู้เป็นเจ้า เพราะฉะนั้นโยมจึงถามพระผู้เป็นเจ้าอย่างนี้ "
    " ขอถวายพระพร อาตมภาพไม่อาจจำแนกบาปกรรมให้หมดรวดเดียวได้ด้วยอนุมาน
    อันนี้ เหมือนอย่างว่า พวกมนุษย์กระทำให้น้ำไหลไปไกลด้วยรางได้ แต่ว่าอาจทำให้น้ำไหลขึ้นไปสู่ภูเขา ที่เป็นโพรงด้วยรางน้ำได้หรือไม่ ? "
    " ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า "
    " ข้อนี้ก็ฉะนั้นแหละ มหาบพตร อาตมาอาจแบ่งผลกุศลได้ แต่ไม่อาจแบ่งผลอกุศลได้อีกอย่างหนึ่ง ประทีปย่อมลุกโพลงด้วยน้ำมันแต่มหาบพิตรอาจทำให้ประทีปลุกโพลงด้วยน้ำได้หรือไม่ ? "
    " ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า "
    " ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร อาตมาก็อาจแบ่งผลกุศลได้ แต่ไม่อาจแบ่งผลอกุศลได้ อีกประการหนึ่ง พวกชาวนาย่อมไขน้ำจากเหมืองมาสู่นาทำให้ข้าวงามได้ แต่ว่าอาจไขน้ำมหาสมุทรเข้ามาสู่นา ทำให้ข้าวงามได้หรือไม่ ? "
    " ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า "
    " ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร อาตมาก็อาจแบ่งผลกุศลได้ แต่ไม่อาจแบ่งผลอกุศลได้"
    " ข้าแต่พระนาคเสน เหตุใดจึงว่าอาจแบ่งผลกุศลได้ ไม่อาจแบ่งผลอกุศลได้ ขอจงอ้างเหตุให้โยมเข้าใจ โยมไม่ใช่คนตาบอด ไม่ใช่ผู้ไม่มีเครื่องกำหนด โยมได้ฟังแล้วจักเข้าใจได้"
    " ขอถวายพระพร บาปมีผลน้อย บุญมีผลมาก อกุศลย่อมให้ผลเฉพาะผู้กระทำเท่านั้นแผ่ผลไปถึงผู้อื่นไม่ได้ ส่วนกุศลย่อมแผ่ผลไปทั่วโลกได้ "
    " ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมา "
    " ขอถวายพระพร หยาดน้ำนิดเดียวตกลงไปที่พื้นดินแล้วจะไหลซึมไปตลอดที่ ๑๐โยชน์หรือ ๑๒ โยชน์ ๑๓ โยชน์ ได้หรือไม่ ? "
    " ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า หยาดน้ำนิดเดียวนั้น ตกลงไปในที่ใดก็ซึมแห้งไปในที่นั้น "
    " เพราะอะไร มหาบพิตร "
    " เพราะหยาดน้ำนั้นมีน้อย ผู้เป็นเจ้า "
    " ข้อนี้ก็ฉะนั้นแหละ มหาบพิตร อกุศลมีผลน้อย ให้ผลได้เฉพาะผู้กระทำเท่านั้น ไม่อาจแบ่งผลให้ผู้อื่นได้
    อีกอย่างหนึ่ง เมฆใหญ่ตกลงมา ย่อมทำให้บึง สระ เหมือง ซอกระแหง สระโบกขรณีที่ลุ่ม ที่ดอน ทั้งสิ้นเต็มไปด้วยน้ำ แต่เมฆใหญ่นั้นจะไหลลงไปเต็มทั้งข้างล่าง และทางขวาง และไหลทั่วไปรอบตัวได้หรือไม่ ? "
    " ได้ พระผู้เป็นเจ้า "
    " เพราะเหตุไร มหาบพิตร ? "
    " เพราะเมฆใหญ่ คือฝนห่าใหญ่นั้น เป็นของใหญ่น่ะซิ พระผู้เป็นเจ้า "
    " ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร กุศลมีผลมาก จึงอาจแจกแบ่งไปถึงเทพยดามนุษย์อื่น ๆ ได้ "
    " ข้าแต่พระนาคเสน เพราะเหตุไร บาปจึงมีผลน้อย บุญจึงมีผลมาก? "
    " ขอถวายพระพร เหมือนอย่างผู้ใดผู้หนึ่งได้ให้ทาน รักษาศีล รักษาอุโบสถศีลแล้ว เขาย่อมร่าเริงดีใจเรื่อย ๆไป เมื่อเขาร่าเริงดีใจเรื่อย ๆไป กุศลก็เจริญยิ่งขึ้นฉันใด
    บ่อน้ำที่มีน้ำออกมา ถึงจะมีผู้ตักไปน้ำก็ไหลออกเรื่อยไป ไม่อาจทำน้ำนั้นให้สิ้นได้ฉันใด เมื่อบุคคลคิดถึงกุศล ก็เกิดปีติเรื่อยไปฉันนั้น
    ถ้าเขาทำกุศลอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปีแล้ว นึกถึงกุศลนั้นอยู่เรื่อยไป กุศลก็เจริญยิ่ง ๆขึ้นไป ผู้นั้นอาจแบ่งส่วนกุศลให้แก่ผู้อื่นได้ตามชอบใจ อันนี้ก็เป็นเหตุอันหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า บุญมีผลมาก
    ส่วนผู้ทำอกุศลย่อมร้อนใจ ใจย่อมหดหู่ถอยกลับจากอกุศลนั้น อกุศลนั้นก็ไม่งอกงามอีกต่อไป มีแต่จะหมดไปเท่านั้น
    เหมือนอย่างว่า น้ำน้อยที่มีอยู่ในแม่น้ำ อันมากไปด้วยทราย มีแต่จะแห้งหายไปเท่านั้นอันนี้เป็นเหตุชี้ให้เห็นว่า อกุศลมีน้อย ขอถวายพระพร "
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] " ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน เป็นอันว่าปัญหาข้อนี้ พระผู้เป็นเจ้าได้ทำลายลัทธิคด ๆ โกง ๆ ของพวกเดียรถีย์สิ้นแล้ว " [/FONT]
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๑๐ </center> <center> ว่าด้วย
    ความฝันและเหตุให้ฝัน
    </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    " ข้าแต่พระนาคเสน หญิงชายทั้งหลายในโลกนี้
    ย่อมฝันเห็นสิ่งต่าง ๆ ดีก็มี ไม่ดีก็มีเคยเห็นก็มี ไม่เคยเห็นก็มี ปลอดภัยก็มี มีภัยก็มี
    [/FONT] " ควรทำก็มี ไม่ควรทำก็มี อยู่ไกลก็มี อยู่ใกล้ก็มี บางทีฝันเห็นสิ่งที่ล่วงมาแล้วตั้งหลายกัป การฝันนั้นเป็นอะไร ใครเป็นผู้เห็น ? "
    พระนาคเสนตอบว่า
    " ขอถวายพระพร สิ่งใดเข้ามาถึงทางแห่งปฐมจิตดวงแรก สิ่งนั้นชื่อว่า สุบินนิมิต คือ เครื่องหมายแห่งการฝัน ผู้เห็นสุบินนิมิต คือผู้ฝันมีอยู่ ๖ จำพวก ได้แก่จำพวก
    ลมกำเริบ ๑ ดีกำเริบ ๑ เสมหะกำเริบ ๑ สิ่งทั้ง ๓ นี้กำเริบ ๑ เทพสังหรณ์ ๑ สิ่งที่เคยประพฤติมาปรากฏ ๑
    ในการฝัน ๖ ประการนั้น สิ่งที่เคยประพฤติ คือบุญบาปที่ทำไว้ในปางก่อนมาปรากฏให้เป็นนิมิตเท่านั้น เป็นของจริงเสมอไป นอกนั้นไม่จริง "
    " ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ที่ฝันแต่สิ่งที่เคยประพฤติมาปรากฏนั้น จิตของผู้นั้นไปเลือกค้น
    นิมิตนั้นเอง หรือว่านิมิตนั้นปรากฏในจิตเอง หรือว่าผู้อื่นแสดงนิมิตให้เห็น? "
    " ขอถวายพระพร จิตของผู้นั้นไม่ได้ไปเลือกค้นนิมิตนั้นเอง ผู้อื่นก็ไม่ได้บอกแก่ผู้นั้นนิมิตนั้นเองมาปรากฏในจิต
    " ข้อนี้เปรียบเหมือนกระจก คือธรรมดากระจกไม่ได้ไปเลือกค้นเงา ผู้อื่นก็ไม่ได้นำเงาให้ปรากฏในกระจก แต่เงาก็มาจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มาปรากฏในกระจกฉันใด จิตก็ไม่ได้ไปค้นนิมิตเอง ผู้อื่นก็ไม่ได้มาบอก แต่นิมิตได้มาจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มาปรากฏในจิตฉันนั้น "
    " ข้าแต่พระนาคเสน จิตนั้นฝันเห็นสิ่งใด จิตนั้นรู้หรือไม่ว่าจักมีผล คือความปลอดภัยหรือมีภัยด้วยการฝันเห็นอันนี้ ? "
    " ขอถวายพระพร ไม่รู้ แต่ว่าเมื่อนิมิตเกิดขึ้นแล้ว คือฝันเห็นแล้วก็เล่าให้ผู้อื่นฟัง ผู้อื่นก็ช่วยตีความฝันจากนิมิตนั้น "
    " ข้าแต่พระนาคเสน ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอ้างเหตุมาแสดง "
    " ขอถวายพระพร สมมุติว่ามีเมล็ดดำ ๆ เท่าเมล็ดงาเกิดขึ้นในร่างกาย เพื่อความมีลาภหรือความไม่มีลาภ เพื่อความมียศ หรือความไม่มียศ เพื่อความนินทาหรือสรรเสริญเพื่อทุกข์หรือเพื่อสุข เมล็ดดำ ๆ เท่าเมล็ดงานั้นรู้หรือไม่ว่า เราจักแสดงผลอันนี้ จึงได้เกิดขึ้น ? "
    " ไม่รู้ พระผู้เป็นเจ้า ต่อเมื่อพวกเนมิตกาจารย์ได้เห็นถึงจะรู้ "
    " ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร จิตที่ฝันเห็นนั้นไม่รู้ว่า จะมีผลอย่างไร ต่อเมื่อฝันเห็นแล้ว ผู้นั้นบอกแก่ผู้อื่น ผู้อื่นจึงช่วยตีความฝันนั้นให้ "
    " ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ที่ฝันนั้น ขณะนั้นหลับหรือตื่น ? "
    " ขอถวายพระพร เวลาหลับก็ไม่ฝัน ตื่นก็ไม่ฝัน ฝันในระหว่างยังไม่หลับไม่ตื่น คือจิตของผู้นั้นย่างลงสู่ความหลับ จิตลงจากภวังค์แล้วมิได้กลับไปกลับมา ขณะนั้นจะรู้ว่าสุขทุกข์นั้นหามิได้ ความฝันย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่รู้จักสุขทุกข์ ต่อเมื่อจิตประหวัดเป็นไปได้จึงจะฝัน
    เงาย่อมไม่ปรากฏในกระจกในที่มืดฉันใด เมื่อจิตไม่กลับไปกลับมา ก็ไม่ฝันฉันนั้น กระจกส่องเป็นฉันใด กายเราก็เป็นฉันนั้น ที่มืดเป็นฉันใด การหลับก็เป็นฉันนั้น แสงแห่งดวงอาทิตย์ฉันใด จิตก็ฉันนั้น
    อีกประการหนึ่ง รัศมีแห่งดวงอาทิตย์ อันหมอกปกคลุมแล้ว ย่อมไม่ปรากฏ รัศมีแห่งดวงอาทิตย์ก็มีอยู่นั่นเอง เมื่อหมอกยังไม่จางไป รัศมีแห่งดวงอาทิตย์ก็ไม่ปรากฏฉันใด จิตที่หลับไปจากภวังค์แล้วมิได้หวั่นไหวไปมา เมื่อจิตมิได้หวั่นไหวไปมาแล้วก็มิได้ฝันฉันนั้น
    ดวงอาทิตย์ฉันใด กายเราก็ฉันนั้น เมฆหมอกที่ปกคลุมฉันใด การหลับก็ฉันนั้นรัศมีแห่งดวงอาทิตย์ฉันใด จิตก็ฉันนั้น
    " ขอถวายพระพร ถึงร่างกายมีอยู่ จิตของบุคคลทั้งสองจำพวก คือ
    จำพวกที่หลับสนิท กับ จำพวกที่เข้านิโรธสมาบัติ ย่อมไม่หวั่นไหว
    เวลาตื่นจิตก็โลเล ขุ่นมัว หวั่นไหว ไม่เป็นปกติ นิมิตก็ไม่มาปรากฏแก่จิต พวกบุรุษที่มุ่งความลับ ย่อมเว้นจากที่แจ้ง ที่ปรากฏเปิดเผย มีผู้คนไปมาฉันใด
    เหตุผลอันเป็นทิพย์ ก็ไม่ปรากฏแก่ผู้ตื่นฉันนั้น เพราะฉะนั้น ผู้ตื่นจึงไม่ฝัน
    อีกอย่างหนึ่ง โพธิปักขิยธรรมทั้งหลายอันเป็นฝ่ายกุศล ย่อมไม่ปรากฏแก่ภิกษุผู้เสียศีลธรรมอันดีฉันใด
    เหตุผลอันเป็นทิพย์ ก็ไม่ปรากฏแก่ผู้ตื่นฉันนั้น เพราะฉะนั้น ผู้ตื่นจึงไม่ฝัน "
    " ข้าแต่พระนาคเสน ลักษณะของการหลับมีอยู่ ๓ ประการมิใช่หรือ ? "
    " ขอถวายพระพร การหลับมีอยู่ ๓ ประการ คือหลับในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด "
    " หลับในเบื่องต้น ท่ามกลาง ที่สุดนั้นเป็นประการใด ? "
    " ขอถวายพระพร หลับในเบื้องต้นนั้น   ได้แก่การที่กายอ่อนแอ หมดกำลัง ไม่ควรแก่การงาน
    หลับท่ามกลางนั้น   ได้แก่หลับ ๆ ตื่น ๆ คล้ายกับการหลับแห่งวานร
    หลับในที่สุดนั้น   ได้แก่จิตลงจากภวังค์เพราะฉะนั้น ผู้หลับท่ามกลาง คือผู้หลับ ๆตื่น ๆ เหมือนกับการหลับแห่งวานรนั้นแหละฝัน
    ธรรมดาพระโยคาวจร ผู้มีสมาธิอันได้อบรมแล้ว มีใจมั่นคงแล้ว มีปัญญาไม่วอกแวกเข้าไปอยู่ในที่กลางป่าอันเงียบสงัด เพื่อใคร่ครวญซึ่งอรรถอันสุขุม ย่อมไม่หลับ ก็ย่อมรู้ธรรมอันสุขุม
    ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ผู้ที่ไม่ใช่ตื่น ไม่ใช่หลับเพียงแต่เข้าถึงการหลับครึ่งๆ กลาง ๆเหมือนกับวานร ย่อมฝันฉันนั้น
    เสียงอึกทึกฉันใด ผู้ตื่นก็ฉันนั้น วิเวกฉันใด ผู้หลับดังวานรก็ฉันนั้น ผู้ละความอึกทึกเว้นการหลับมีจิตเป็นอุเบกขา ย่อมรู้ธรรมอันสุขุมได้ฉันใด ผู้ที่ไม่ใช่ตื่น ไม่ใช่หลับ มีอาการหลับดังวานร ก็ฝันเห็นฉันนั้น ขอถวายพระพร "
    " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมจะรับถ้อยคำจำไว้ในกาลบัดนี้ "

    <center>[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    จบวรรคที่ ๘
    [/FONT]</center>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> วรรคที่ ๙ </center> <center> ปัญหาที่ ๑ </center> <center> ถามถึง
    กาลมรณะอกาลมรณะ
    </center>
    " ข้าแต่พระนาคเสน อันว่ามนุษย์ทั้งหลายตายในเวลาที่ควรตายทั้งนั้น หรือว่าตายในเวลาที่ยังไม่ควรตายก็มี ? "
    " ขอถวายพระพร ตายในเวลาควรตายอันเรียกว่า กาลมาณะ ก็มี ตายในเวลายังไม่ควรตายอันเรียกว่า อกาลมรณะ ก็มี "
    " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พวกไหนตายในเวลาควรตาย พวกไหนตายในเวลไม่ควรตาย ? "
    " ขอถวายพระพร ต้นมะม่วงหรือต้นไม้อื่น ที่มีผลหล่นไปแต่กำลังตั้งช่อก็มี หล่นไปในเวลามีขั่วแล้วก็มี หล่นไปในเวลาโตเท่าหัวแมลงวันก็มี หล่นไปในเวลาดิบก็มี หล่นไปในเวลาสุกก็มี มหาบพิตรเคยเห็นบ้างไหม ? "
    " อ๋อ...เคยเห็นซิ พระผู้เป็นเจ้า "
    " ขอถวายพระพร ผลไม้ที่หล่นไปในเวลาสุก เรียกว่า " หล่นไปในเวลาที่ควรหล่น " ส่วนผลไม้นอกนั้น เรียกว่า " หล่นไปในเวลายังไม่ควรหล่น " คือหล่นไปด้วยหนอนเจาะก็มี นกจิกก็มี ลมพัดก็มี เน่าก็มี เรียกว่า " หล่นไปในเวลาที่ยังไม่ควรหล่นทั้งนั้น " ฉันใด
    พวกที่ตายในเวลาชรา เรียกว่า " ตายในเวลาที่ควรตายทั้งนั้น "นอกนั้นเรียกว่า "ตายในเวลายังไม่ควรตาย " คือบางพวกก็ตายด้วยกรรมแทรก บางพวกก็ตายด้วยคติ คือคติอันหนักชักไปบางพวกก็ตายด้วยกิริยา "
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามอีกว่า
    " ข้าแต่พระนาคเสน เป็นอันว่า พวกตายด้วยกรรมชักไปก็ดี ตายด้วยคติชักไปก็ดีตายด้วยกิริยาชักไปก็ดี ตายด้วยชราครอบงำก็ดี โยมเห็นว่า ตายในเวลาควรตายทั้งนั้น
    ก็ผู้ที่ตายในท้องก่อนที่จะคลอด หรือพอออกจากท้องมารดาก็ตาย หรือตายในเวลามีอายุ๕- ๖ เดือน หรือตายในเวลามีอายุ ๑๐ เดือน หรือตายในเวลามีอายุ ๗ ปี โยมก็เห็นว่าตายในเวลาควรตายทั้งนั้น
    ถ้าความเห็นนี้ถูก อกาลมรณะ คือการตายในเวลายังไม่ควรตายก็ไม่เรียกว่า " ตายในเวลาที่ควรตาย " ด้วยกันทั้งนั้น "

    <center>
    ผู้ที่ตายก่อนอายุขัยมี ๗ จำพวก
    </center> " ขอถวายพระพร ผู้ที่ตายในเวลายังไม่สิ้นอายุขัย มีอยู่ ๗ จำพวก คือ พวกหิวจัดตายก็มีกระหายน้ำจัดตายก็มี ถูกงูกัดตายก็มี ถูกยาพิษตายก็มี ถูกไฟไหม้ตายก็มี ตกน้ำตายก็มี ถูกอาวุธตายก็มี พวกนี้เรียกว่า " ตายในเวลายังไม่ควรตาย "

    <center>
    ทั้งนั้นตายด้วยเหตุ ๘ ประการ
    </center> อันความตายของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ ลมกำเริบ ดีกำเริบ เสมหะกำเริบ สิ่งทั้ง ๓ นี้กำเริบ ฤดูแปรปรวนบริหารร่างกายไม่ดี ถูกผู้อื่นกระทำ กรรมให้ผลรวมเป็น๗ ประการด้วยกัน
    ตายด้วยกรรมให้ผล เรียกว่า " ตายสมควรแก่กรรมของตน " นอกนั้นเรียกว่า " ตายไม่สมควรแก่กรรม "
    คือบุคคลบางพวกตายด้วยกรรมที่ทำไว้ในชาติปางก่อน ผู้ใดทำให้ผู้อื่นอดตายไว้ในชาติก่อน ผู้นั้นต้องตายด้วยความอดอยากหลายพันปี บางทีตายด้วยความอดอยากในเวลาเป็นเด็กก็มี ในเวลากลางคนก็มี ในเวลากลางอายุก็มี ในเวลาแก่ก็มี
    ผู้ใดทำให้ผู้อื่นอดน้ำตายไว้ในชาติก่อน ผู้นั้นต้องอดน้ำตายอยู่หลายพันปี คืออดน้ำตายในเวลาเป็นเด็กก็มี กลางคนก็มี แก่ก็มี
    ผู้ใดทำให้ผู้อื่นตายด้วยให้งูกัดสัตว์ต่อย ผู้นั้นก็ต้องตายด้วยงูกัดสัตว์ต่อยอยู่หลายพันชาติตายในเวลายังเป็นเด็กก็มี กลางคนก็มี แก่ก็มี
    ผู้ใดทำให้ผู้อื่นตายด้วยยาพิษ ผู้นั้นก็ต้องตายด้วยยาพิษหลายพันชาติ ตายในเวลายังเป็นเด็กก็มี เป็นผู้ใหญ่ก็มี แก่ก็มี
    ผู้ใดทำให้ผู้อื่นตายด้วยไฟ ผู้นั้นก็ต้อง ตายด้วยไฟหลายแสนชาติ ผู้ใดทำให้ผู้อื่นตายด้วยน้ำ ผู้นั้นก็ต้องตายด้วยน้ำหลายแสนชาติ คือตกน้ำตาย จมน้ำตาย ผู้ใดทำให้ผู้อื่นตายด้วยอาวุธผู้นั้นก็ต้องตายด้วยอาวุธหลายแสนชาติ
    การตายของพวกเหล่านี้ เรียกว่า " ตายสมควรแก่กรรมทั้งนั้น "
    " ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าเห็นว่า ตายในเวลาไม่ควรตายอันเรียกว่า อกาลมรณะ มีอยู่ ขอนิมนต์แสดงอกาลมรณะให้โยมฟัง "
    " ขอถวายพระพร กองไฟใหญ่ที่ไหม้หญ้าไหม้ไม้ กิ่งไม้ หมดแล้วก็ดับไป กองไฟใหญ่นั้นชื่อว่าดับในเวลาควรดับหรือ ? "
    " อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า "
    " ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ผู้ที่มีชีวิตอยู่นานจึงตาย เรียกว่า " ตายในเวลาควรตาย " อีกประการหนึ่ง กองไฟใหญ่ที่ยังไหม้เชื้อไม่หมด แต่มีฝนห่าใหญ่ตกลงมาทำให้ดับ กองไฟใหญ่นั้นจะชื่อว่าดับในเวลาควรดับหรือไม่ ? "
    " เรียกไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า "
    " เพราะอะไร มหาบพิตร กองไฟอย่างหลังจึงไม่มีคติเสมอกับกองไฟอย่างก่อน ? "
    " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เพราะกองไฟอย่างหลัง ถูกน้ำที่มาใหม่เบียดเบียน จึงได้ดับไป "
    " ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ผู้ที่ตายด้วยโรคอันมีลม หรือดี หรือเสมหะ เป็นสมุฏฐานหรือสิ่งทั้ง ๓ กำเริบ หรือฤดูแปรปรวนการรักษาร่างกายไม่ดี หรือผู้อื่นกระทำ หิวกระหายถูกงูกัด ถูกยาพิษ ถูกไฟไหม้ จมน้ำ ถูกอาวุธตาย เหล่านี้ เรียกว่า " ตายในเวลายังไม่ควรตายทั้งนั้น "
    เหตุที่ให้ตายในเวลายังไม่ควรตาย ได้แก่โรคเป็นต้น อย่างที่ว่ามานี้แหละ ขอถวายพระพร
    อีกอย่างหนึ่ง เมฆตั้งขึ้นในท้องฟ้า เมื่อจะทำที่ลุ่มที่ดอนให้เต็มก็เป็นฝนตกลงมา เมฆนั้นไม่มีสิ่งใดกีดขวาง ก็ตกลงมาได้ไม่ใช่หรือ ? "
    " อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า "
    " ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือ ผู้มีชีวิตอยู่นานก็ตายไปเอง อีกประการหนึ่งเมฆตั้งขึ้นในท้องฟ้า แล้วมีลมมาพัดไป จะเป็นฝนตกลงมาได้ไหม ? "
    " ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า "
    " เพราะเหตุไร มหาบพิตร เมฆอย่างหลังกับอย่างก่อน จึงไม่มีคติเสมอกัน ? "
    " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เพราะเมฆอย่างหลังถูกลมพัดไปเสีย จึงเป็นฝนตกลงมาไม่ได้ "
    " ข้อที่ตายในเวลาไม่ควรตาย ก็มีอุปมาฉันนั้นแหละ มหาบพิตร
    ขอถวายพระพร อนึ่ง อสรพิษที่มีฤทธิ์แรงกล้า ได้โกรธกัดบุคคลคนหนึ่งให้ถึงซึ่งความตาย ไม่มียาแก้ได้ พิษของงูนั้น เรียกว่าถึงซึ่งที่สุดฉันใด ผู้ที่มีอายุอยู่นานสิ้นอายุขัยแล้ว ก็ตายไปฉันนั้น
    อีกอย่างหนึ่ง ผู้ที่ถูกงูกัด แต่มียาฆ่าพิษนั้นเสีย พิษนั้นเรียกว่า หมดไปในเวลาที่ควรหมดหรือไม่ ? "
    " ไม่เรียก พระผู้เป็นเจ้า "
    " เพราะเหตุไร มหาบพิตร พิษงูอย่างก่อนกับอย่างหลัง จึงไม่เหมือนกัน ? "
    " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พิษงูอย่างก่อนถูกยากำจัดเสีย จึงหมดไปในเวลายังไม่ควรหมด "
    " ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ผู้ที่ตายในเวลายังไม่หมดอายุขัย ก็เรียกว่า " ตายในเวลาไม่ควรทั้งนั้น "
    ขอถวายพระพร อีกสิ่งหนึ่ง นายขมังธนูยิงลูกธนูไปลูกธนูนั้นจะต้องไปจนสุดกำลังในเมื่อไม่มีสิ่งใดกีดขวางฉันใด ผู้ที่มีชีวิตอยู่นานก็ต้องตายด้วยสิ้นอายุขัยฉันนั้น ลูกธนูที่มีสิ่งขัดขวางก็ไปไม่ถึงที่สุดฉันใด พวกมีสิ่งขัดขวางก็ตายในเวลายังไม่ถึงที่สุดแห่งอายุขัยฉันนั้น
    อีกเรื่องหนึ่ง เสียงภาชนะทองเหลืองที่มีผู้ตี จะต้องดังไปจนสุดเสียง ในเมื่อไม่มีสิ่งขัดขวางฉันใด บุคคลก็จักต้องตายในเวลาแก่เวลาสิ้นอายุขัย ในเมื่อไม่มีอันตรายอย่างใด อย่างหนึ่งฉันนั้น เสียงภาชนะทองเหลือง ถ้ามีสิ่งขัดขวางก็ดังไปไม่ถึงที่สุดฉันใด สัตว์ทั้งหลายถ้ามีสิ่งขัดขวาง ก็ตายในเวลายังไม่สิ้นขายุขัยฉันนั้น
    อีกอย่างหนึ่ง พืชที่บุคคลหว่านลงในที่นาดี ถ้าฝนตกดี และไม่มีสิ่งเบียดเบียนก็จักงอกงามดีฉันใด สัตว์ทั้งหลายถ้าไม่มีอันตรายมาแทรกแทรง ก็จะอยู่ไปจนกระทั้งสิ้นอายุขัยฉันนั้น พืชที่เขาปลูกหว่านไว้ ถ้าขาดน้ำก็ตาย เรียกว่ามีสิ่งขัดขวางฉันใด สัตว์ทั้งหลายถ้ามีอันตรายก็ตายก่อนสิ้นอายุขัยฉันนั้น
    ขอถวายพระพร มหาบพิตรได้เคยทรงสดับหรือไม่ว่า มีหนอนเกิดในต้นข้าวอ่อน ๆ กัดกินกระทั่งราก ? "
    " เคยได้สดับ ทั้งได้เคยเห็นด้วย พระผู้เป็นเจ้า "
    " ขอถวายพระพร ข้าวนั้นเรียกว่า เสียไปในเวลาควรเสียหรือไม่ ? "
    " ไม่เรียก พระผู้เป็นเจ้า "
    " ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ผู้ที่ตายด้วยอันตรายต่าง ๆ ในระหว่างอายุขัย ก็เรียกว่า" ตายในเวลาไม่ควรตาย "
    ขอถวายพระพร มหาบพิตรได้เคยทรงสดับหรือไม่ว่า เมื่อข้าวกำลังออกรวงมีฝนห่าใหญ่ตกลงมาทำให้ข้าวร่วงไปหมด ? "
    " เคยได้สดับ ทั้งเคยได้เห็นด้วย พระผู้เป็นเจ้า "
    " ข้าวกล้าที่เสียไปด้วยฝนนั้น เรียกว่าเสียไปในเวลาไม่ควรเสียฉันใด ผู้ที่ตายด้วยโรคภัยต่าง ๆ ในระหว่างอายุขัยก็เรียกว่า " ตายในเวลาไม่ควรตาย " ฉันนั้น ขอถวายพระพร "
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] " น่าอัศจรรย์! พระนาคเสน ปัญหาข้อนี้ พระผู้เป็นเจ้าแก้ไขแจ่มแจ้งดีแล้ว" [/FONT]
     

แชร์หน้านี้

Loading...