มีมติให้ดำเนินคดี พระเกษม

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 1 สิงหาคม 2008.

  1. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
    ขอบคุณ คุณ Falcon Se มากๆครับ

    หลวงตาบัวผมเคยไปกราบท่านมาแล้วครับ.....แต่ไม่เคยได้สนทนากับท่าน แต่ก็ตามอ่านธรรมจากในเว็บหลวงตาบ่อยๆครับ
    ส่วนหลวงพ่อจรัญ ผมก็ไปทำบุญ และไป ปฏิบัติกรรมฐาน ที่วัดอัมพวันมา 7-8 ครั้งเห็นจะได้ แต่ไปทำบุญที่วัดท่านเกิน 20 ครั้งได้มั่งไม่แน่ใจ จำไม่ได้เพราะไม่ได้ไปนานแล้ว

    ส่วนหลวงพี่เล็ก ผมยังไม่เคยไปหาท่าน แต่ก็เคยอ่านเวลาท่านถาม-ตอบ ในเว็บนี้แระครับ

    ส่วนตามความคิดเห็นของคุณที่ว่า

    ซึ่งที่เหลืออยู่ผมเชื่อครับว่าล้วนแล้วแต่เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทดสอบดูก่อน ถ้าพวกท่านไม่ดีจริงก็ไม่ต้องไปนับถือพวกท่าน และหักดิบปฏิบัติตามพระไตรปิฎกไปเลย เพราะถ้าพวกท่านเหล่านี้ไม่น่าเคารพและมีวัตรปฏิบัตรไม่น่าเลื่อมใส ก็ไม่ควรนับถือพระสงฆ์ในยุคปัจจุบันอีกต่อไปแล้วครับ

    ก็หวังใจเช่นกันว่าคุณคงติดตามศึกษา หรือ ลองไปพบปะหลวงปู่เกษมดูบ้างนะครับ(ไม่ใช่รู้จักเพราะตามข่าวนะครับ)ที่นี่เลยครับ
    http://www.samyaek.com/mambo/index.php?option=com_content&task=category&sectionid=7&id=126&Itemid=44
    <!-- / message --><!-- sig -->
    ลองฟังธรรมของท่านดูบ้างครับ
    ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลครับ
     
  2. พลัjจิต

    พลัjจิต สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +18
    มันน่าจะมีกฎหมายออกมาว่า ผู้ที่บวชเป็นบรรพชิต ถ้าทำผิดพระวินัยใน227 ข้อให้ถือเสียว่าเป็น บุรุษโมฆะ สามารถจับสึกได้ทันทีเลย รวมถึงลงโทษผู้ให้บวชด้วยดีไหมคับ ผมว่าน่าจะเข้าถ้าดีนะ
     
  3. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
    หลักการที่ควรใส่ใจก่อนที่จะมีการตักเตือนกัน เล่ม 22 หน้า 68

    ....พวกเธออย่าเพิ่งโจทภิกษุรูปนั้นด้วยข้อโจท (ข้อที่น่าตำหนิ) พึงสอนสวนบุคคลก่อนว่า
    ด้วยอาการนี้ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ (มีการละเมิด)
    เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่มีทิฏฐิมั่น (ไม่ถือแต่ความคิดตนเป็นใหญ่)
    ยอมสละคืนได้ง่ายและเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

    อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เรา และความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ
    เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น (ถือแต่ความคิดตนเป็นใหญ่)
    แต่ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้
    ก็เรื่องความลำบากของเรา และความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัตินี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย
    ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลนั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

    อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เราและความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ แต่มีทิฏฐิมั่น ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้
    เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลำบากของเรา เป็นเรื่องเล็กน้อย
    ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้นั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

    ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เราและความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ
    เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น สละคืนได้ยาก
    แต่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้
    ก็เรื่องความลำบากของเราและความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัตินี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย
    ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้นั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

    แต่ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เราและความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ (ผู้มีการละเมิด)
    เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น สละคืนได้ยาก
    ทั้งเราก็ไม่อาจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ พวกเธอก็ต้องไม่ละเลยอุเบกขาในบุคคลเช่นนี้.

    สูตรนี้ถึงแม้จะสอนพระ แต่โยมก็สามารถนำไปปรับใช้ได้เหมือนกัน
     
  4. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
    ในพระไตรฯ ระบุไว้ชัดที่เล่ม 25 หน้า 165
    ผู้ใด ตำหนิผู้ที่ควรยกย่อง และ ผู้ใดยกย่องคนที่ควรตำหนิ มีโทษคือมีบาปเท่ากัน

    เพราะฉะนั้นใครจะยกย่องใคร หรือ ใครจะตำหนิใคร ก็ให้เีรียนรู้จักพระธรรมของพระพุทธเจ้าให้ดี
    จากนั้นค่อยตำหนิและยกย่องกันไปตามธรรม อย่ายกย่องหรือตำหนิใครไปตามอคติส่วนตัว
     
  5. Bd6/9

    Bd6/9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +620
    ทำดีได้ดี - ทำชั่วได้ชั่ว ...." สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตาม กรรม "

    [ ประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 4 ความผิดเกี่ยวกับศาสนา มาตรา 206 บัญญัติว่า - " ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ แก่วัตถุหรือสถานอันเป็นที่เคารพในศาสนาของหมู่ชนใด อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปีหรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ " ]
     
  6. ดุสิตบุรี

    ดุสิตบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +273
    ถึงผมไม่เห็นด้วยกับพระอาจารย์เกษมในการห้ามกราบพระพุทธรูป ซึ่งเป็นตัวแทนพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

    แต่ผมก็ยังไม่กล้าปรามาสท่านหรอกครับ เพราะท่านยังไม่ปราชิก ท่านเป็นพระสงฆ์โดยถูกต้องอยู่ แต่ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของอธิกรณ์อยู่ครับ

    แต่ผมไม่เข้าใจเลย ทำไมไม่ให้พระผู้ใหญ่ฝ่ายธรรมยุติหรือฝ่ายวิปัสนาธุระ ไปชำระอธิกรณ์ที่พักสงฆ์เลย เหตุเกิดที่ตรงไหน ก็ต้องไปชำระอธิกรณ์กันที่ตรงนั้น ถ้าท่านไม่ยอมรับ ก็เป็นเรื่องของพระธรรมวินัยต่อไป

    อย่าให้ถึงกับเอาตำรวจ หรือฆราวาสไปจับท่าน บังคับท่านเลยครับ จะเป็นบาป

    ธรรมวินัยที่พระบรมศาสดาทรงแสดงไว้ยังสามารถระงับอธิกรณ์สงฆ์ได้เสมอ หากสงฆ์นั้นยอมรับพระธรรมวินัยที่องค์ตถาคตตรัสสอนไว้ดีแล้วอยู่ครับ
     
  7. dangcarry

    dangcarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +4,305
    พญามารแปลงกลายเป็นพระพุทธองค์ พระอุปคุตยังก้มกราบ
    ดังนั้นไม่ว่าอะไรก็ตามที่สื่อถึงพระพุทธองค์ ก็ควรจะสักการะ
    ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม แต่สิ่งนั้นมีคุณกับเรา คือ
    ช่วยให้เราระลึกถึงพระพุทธองค์ จะกระดาษก็ดี ทองเหลืองก็ดี
    หรืออะไรก็ดี สิ่งเหล่านั้นมีประโยชน์กับเราในด้านพุทธานุสติ

    ท่าน ว.วชิระ เมธี

    พระพุทธเจ้าจึงเสนอระบอบต่อไปอีก ให้พิจารณา โลกาธิปไตย ก็คือเสียงของคนส่วนใหญ่ คนส่วนใหญ่ว่ายังไง ถ้าคนส่วนใหญ่เอาด้วย ผู้นำเอาตามนั้นเลย โลกาธิปไตยมีข้อบกพร่องก็คือ ถ้าเสียงส่วนใหญ่เป็นเสียงที่ไม่มีวุฒิภาวะทางปัญญา หรือเป็นเสียงที่ด้อยการศึกษา โลกาธิปไตยพาผิดทางเลย
    สมมุติมีคนไปติดเกาะ 500 คน 499 คนเป็นประชาชน อีก 1 คนเป็นพระ เราจะโหวตกันละวันนี้เราต้องฆ่าช้างกินสักตัวหนึ่ง พระรูปเดิมโหวตค้าน 499 คนเขาโหวตฆ่าเลย แต่พระบอกฆ่าสัตว์ไม่ได้นะโยม พระโหวตสู้เขาได้ไหม?
    (ต๊อด
     
  8. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,159
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,349
    ใครจะใหญ่เกินกรรม
     
  9. nopam

    nopam สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +1
    ตอบคุณเทวะสาวก ไม่รู้เหมือนกันว่าหลวงปู่ ได้บรรลุธรรมขั้นไหน แต่ท่านสามารถหยุดลม หยุดฝนได้ ....เห็นกับตา.....ไม่โกหกจริง ๆ น้า แต่ไม่อัศจรรย์แบบนั้นหรอก อัศจรรย์ที่ พูดได้ไม่หยุด ยิ่งพูดยิ่งดัง ไม่มีอ่อนแรง ....แสดงธรรมได้ชัดเจนในปัญหาที่ถาม...แถมยกตัวอย่างและสาธิตให้ดู....คือหลักจากพระไตรปิฎกตอบว่าอยู่ หน้านั้นเล่มนั้นอย่างฉับพลันทันใด ให้เราเข้าใจไม่งั้นไม่ผ่าน..ฟังแล้วรู้สึกว่าพระอะไร ไปเก่งมาจากไหนอยู่บนภูเขาสูงในป่าดง ไปเรียนรู้อะไรได้ทันสมัย ...ว่องไวถึงเพียงนี้...ยิ่งเรื่องของเชื้อโรค คิดว่าคุณหมอคงอาย ....ไม่รู้ไปเรียนแพทย์ที่ไหนมา อย่างอื่นที่ชาวบ้านชอบ ๆ กันด่าเลยถ้าใครชอบเล่นหวยถ้าท่านพูดเป็นตัวเลข ท่านแช่งก่อนเลยใครเอาไปซื้อขอให้ฉิบหายหมด....ก็อยากเห็นเหมือนกันว่า ท่านจะจนมุมในคำถามของใคร นี่แหละถึงบอกว่าอย่าปรามาสท่านเลย ใครที่ว่าท่านอย่างนั้นอย่างนี้ ช่วยบอกหน่อยว่าต้องการปะลองฝีมือกันเมื่อไหร่ อย่าใส่ความกันปาว ๆไม่ดีเลย ข่าวช่อง 7 บอกว่าชาวพิษณุโลกได้ไปนำพระพุทธรูปกลับไป แต่ไม่พบอาจารย์เกษม และลูกศิษย์ แล้วทำไมไม่มีภาพที่วัดด้วยหละ มีแต่ที่ ภาพที่สน.น้ำหนาวหรือที่ไหนก็ไม่รู้ ขึ้นไปได้หรือเปล่า เท่านั้นเอง นักข่าวช่อง 7 นี่ถ้าจะตกนรกเสียแล้ว...บอกเขาด้วยนะผู้หญิงที่อ่านข่าวนะ อ่านไปเยอะเสนอไปเยอะๆๆ นรกรอเธออยู่...หวังดี..
     
  10. kacher

    kacher เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    504
    ค่าพลัง:
    +235
    ทุกอย่างล้วนมีที่มาและมีที่ไป

    สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

    อนุโมทนาค่ะ
     
  11. อรมณีจันทร์

    อรมณีจันทร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    993
    ค่าพลัง:
    +499
    [​IMG]

    ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
     
  12. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
    อันที่จริงศาสนาพุทธก็ไม่นิยมรูปเคารพ
    แต่เดิม(สมัยพุทธกาล)ไม่นิยมสร้างรูปเคารพกันครับ
    เพราะถือว่าเป็นแค่วัตถุ สิ่งที่สำคัญในพุทธศาสนาคือ
    คำสอนครับ

    แต่มนุษย์ก็คือมนุษย์ย่อมยึดติดกับวัตถุมากกว่า
    แต่เนื่องจากในสมัยก่อนคำสอนเกี่ยวกับเรื่องไม่ให้
    ยึดติดวัตถุ(ในผู้นับถือยุคแรกๆ)ยังมีอยู่มาก
    ทำให้การสร้างรูปเคารพนั้นไม่มีและจะมีก็แต่การ
    สร้างรอยพระบาท..เพื่อเป็นการบ่งบอกว่าจะยึดมั่นตาม
    คำสอนของพระองค์มากกว่า..จึงเห็นว่าการสร้างรอย
    พระบาทในยุคแรกๆ นั้นยังมีมากอยู่

    แต่การสร้างรูปเคารพนั้นก็ได้มาจากวัฒนธรรมของชาว
    ตะวันตกครับ..แม้จะไม่มีการบันทึกไ้ว้ว่าเริ่มเมื่อใด
    แต่หลักฐานการสร้างนั้น มักจะปรากฏเมื่อเริ่มมีชาวตะวันตก
    แผ่อิทธิพลมาถึงแถบอินเดีย

    <!--Msg=2-->

    จากคุณ : <!--MsgFrom=2-->siamese dog
    [​IMG] - [ <!--MsgTime=2-->14 ส.ค. 46 13:37:52 <!--MsgIP=2-->]
    ทราบมาว่าในยุคต้น ๆ จะไม่มีการสร้างพระพุทธรูป ด้วยเหตุผลที่ว่า พระพุทธเจ้าท่านทรงยิ่งใหญ่เกินกว่าที่เราจะมองเห็นเป็นบุคคล และอีกอย่างคือ เป็นการป้องกันการเข้าใจผิดว่าจริง ๆ แล้วพระพุทธเจ้าท่านคือบุคคล

    การปั้นรูปพระพุทธเจ้า ท่านจะปั้นโดยใช้สัญลักษณ์อื่นๆ แทน เป็นต้นว่า ดอกบัว รูปสวัสดิกะ
    <!--Msg=3-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><T><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244><T><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></T></TBODY></TABLE></TD></TR></T></TBODY></TABLE></CENTER><!--pda content="end"-->ดูรายละเอียดภาพหินสลักพุทธประวัติ ก่อนการสร้างพระพุทธรูป ได้ที่
    http://www.buddhadasa.org/html/life-work/theatre/sculpture/s culpture.html <!-- Message body ''"" -->
     
  13. อนันตาลัย

    อนันตาลัย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +13
    สอนเรื่องพลังบุญ... แล้วท่านรู้หรือเปล่าว่า การปรามาสพระพุทธรูป อันเป็นพุทธานุสติน้อมนำให้ระลึกถึง องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นยังไง ท่านน่าจะลองเช็คพลังดูนะ ว่าดูหมิ่นคุณพุทธานุสติเป็นเช่นไร ผลกรรมนั้นรุนแรงเพียงใด เดี๋ยวไม่ช้าก้อเร็วจะได้เห็นผลกัน เพราะกรรมที่ให้ผลทันทีน่ะ คือกรรมที่หนักหน่วงและรุนแรง เช่นสิ่งที่ท่านกำลังสอน
     
  14. จารุง นิ่มนวล

    จารุง นิ่มนวล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +105
    เรื่องของสงฆ์ไห้สงฆ์จัดการเหมาะสุดครับ เราแค่เป็นได้แต่หูตา
     
  15. ทางธรรม

    ทางธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +391
    ถ้าท่านไม่เคารพ ไม่ศรัทธา ว่าสิ่งนี้ไม่ควรเคารพ สิ่งนี้ไม่ควรนับถือ
    ท่านก็ไม่ต้องนำเข้าไปไว้ในวัด จะถูกต้องที่สุด
    ไม่ต้องยุ่ง ก็คือ ไม่ยุ่ง
    หากท่านคิดว่าคำสอนของท่าน เป็นสิ่งถูก เป็นสิ่งดี
    อย่านำมาเปรียบเทียบกันเลย
    เพราะเรายังไหว้พระ ทั้งที่เดินได้ และ ที่เป็นเพียงวัตถุ
    เพียงเพราะไหว้แล้วเราสบายใจ ทำบุญแล้ว เรามีความสุข
    แค่นั้นจริงๆ
     
  16. olive36

    olive36 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +152
    (||)

    ใช่แล้วงับ
     
  17. nopam

    nopam สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +1
    "พระไตรปิฎก" ไม่ใช่กฏหมายรัชธรรมนูญ ที่ใครขึ้นมาเป็นรัฐบาล ก็จะต้องมาแก้ไขกันเพื่อให้ตนและพวกพ้องพ้นผิด ส่วนพระที่ไม่ได้ยิดหลักพระธรรมวินัย แล้วมาตักเตือนพระผู้ยึดหลักพระธรรมวินัยนั้น ไม่ละอายใจตนบ้างหรืออย่างไร ( พระพุทธรูปไม่ใช่ตัวแทนพระพุทธเจ้า นั้นก็ถูกแล้วครับ ) มนุษย์เรานั้นดื้อและโง่ มันเป็นกุสโรบายของคนสมัยเก่าเพื่อชักจูงให้คนเข้าวัด ฟังธรรมกัน ก็เลยคิดว่า น่าจะสร้างตัวแทนพระพุทธเจ้าขึ้นมา เพื่อให้คนเข้าวัดมากราบไหว้พระพุทธเจ้า ให้คนโง่เหล่านั้นเข้าวัดกันบ้าง แล้วกุสโรบายนั้นก็ได้ผลเกินคาดจริงๆ และการสร้างพระก็บังเกิดขึ้นตั้งแต่บัดนั้น แต่ทำไมคนที่เจริญแล้วอย่างพวกท่านยังคิดว่าพระพุทธรูป เป็นพระพุทธเจ้าอยู่ครับท่าน พิธิปลุกเสกพระ ไม่ได้อันเชิญพระพุทธเจ้ามาสถิตในทองเหลืองนะครับ แต่อันเชิญเทวดามาสถิต ที่เรากราบไหว้ ก็เท่ากับกราบไหว้เทวดา ไม่ใช่กราบไหว้พระพุทธเจ้าและก็นำข้าวไปถวายพระพุทธรูปอีก พระพุทธเจ้าท่านนิพพานไปแล้วของหยาบป่านนี้เขาเอาไว้ให้มนุษย์ขี้เหม็นกินกัน เข้าใจไว้ด้วย แต่คนส่วนมากคิดว่ากราบไหว้พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าอยู่ในใจเรา อยู่ทุกหนแห่งในจักรวาล 3 แดนโลกธาตุ แค่นึกถึงท่าน ก็สำเร็จแล้ว.... เนี๋ยพี่ชายบวชมา 30 พรรษาได้เปรียญ 3 หรือไงเนี๋ย ที่เรียกว่ามหา....น่ะ ยังยึดอยู่ตามปลายใบไม้โน้น....ทำบุญบ้านเอาพระเกจิด้วยนะมาเจิมบ้านซะงั้น .... จะบอกให้ก็กลัวโดนเตะ เคยถามว่าสึกมาทำไม เขาบอกว่าอยากมีเมีย ฮิๆๆๆๆ...มั๊ยหละ
     
  18. nopam

    nopam สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +1
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

    ๓. กินติสูตร

    พระพุทโธวาทเรื่องสามัคคี

    [๔๒] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในป่าชัฏ สถานที่บวง
    สรวงพลีกรรม ณ กรุงกุสินารา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ
    ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมี
    ความดำริในเราบ้างหรือว่า สมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุจีวร หรือเพราะ
    เหตุบิณฑบาตหรือเพราะเหตุเสนาสนะ หรือเพราะเหตุหวังสุขในภพน้อยภพ
    ใหญ่ด้วยอาการนี้.
    ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ช้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ไม่มี
    ความดำริในพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้เลยว่า พระสมณโคดมทรงแสดงธรรม
    เพราะเหตุจีวรหรือเพราะเหตุบิณฑบาต หรือเพราะเหตุเสนาสนะหรือเพราะ
    เหตุหวังสุขในภพน้อยภพใหญ่ด้วยอาการนี้.
    [๔๓] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นอันว่า พวกเธอไม่มีความดำริ
    ในเราอย่างนี้เลยว่า พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุจีวร หรือเพราะเหตุ
    บิณฑบาตหรือเพราะเหตุเสนาสนะ หรือเพราะเหตุหวังสุขในภพน้อยภพใหญ่
    ด้วยอาการนี้ ถ้าเช่นนั้น พวกเธอมีความดำริในเราอย่างไรเล่า.
    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์มีความดำริในพระผู้มี
    พระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงอนุเคราะห์ ทรงแสวงหา
    ประโยชน์เกื้อกูล ทรงอาศัยความอนุเคราะห์แสดงธรรม.

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

    [๔๔] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นอันว่าพวกเธอมีความดำริใน
    เราอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลอาศัย
    ความอนุเคราะห์แสดงธรรม เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่าใด อันเราแสดงแล้ว
    แก่เธอทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
    อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เธอทั้งปวงพึงเป็นผู้
    พร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ ในธรรมเหล่านั้น ดู
    ก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพวกเธอนั้นพร้อมเพรียงกันยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน
    ศึกษาอยู่ จะพึงมีภิกษุผู้กล่าวต่างกันในธรรมอันยิ่ง เป็นสองรูป.
    [๔๕] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้ง
    สองนี้ มีวาทะต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ พวกเธอสำคัญภิกษุรูปใดใน
    สองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่าง
    นี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบ
    ความต่างกันนั้น แม้โดยอาการที่ต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ท่าน
    ทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ต่อนั้น พวกเธอสำคัญภิกษุอื่น ๆ ที่เป็น
    ฝ่ายเดียวกันรูปใดว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่าง
    นี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ขอท่านโปรด
    ทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ต่างกัน โดยอรรถและโดยพยัญชนะ
    ท่านทั้งสองอย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอต้องจำข้อที่
    ภิกษุทั้งสองนั้นถือผิด โดยเป็นข้อผิดไว้ ครั้นจำได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรม
    เป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น.
    [๔๖] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้ง
    สองนี้แล มีวาทะต่างกันแต่โดยอรรถ ย่อมลงกันได้โดยพยัญชนะ พวกเธอ

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

    สำคัญภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้ว
    กล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะต่างกันโดยอรรถย่อมลงกันได้โดย
    พยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดย
    พยัญชนะ ท่านทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ต่อนั้น พวกเธอสำคัญภิกษุ
    อื่น ๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกันรูปใดว่า ว่าง่ายกว่า พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าว
    แก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะต่างกัน แต่โดยอรรถ ย่อมลงกันได้โดย
    พยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดย
    พยัญชนะ ท่านทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอต้อง
    จำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือผิด โดยเป็นข้อผิด และจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือถูก
    โดยเป็นข้อถูกไว้ ครั้นจำได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น.
    [๔๗] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้ง
    สองนี้แล มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ ยังต่างกันแต่โดยพยัญชนะ พวกเธอ
    สำคัญภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น
    แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ ต่างกัน
    แต่โดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกัน
    ได้โดยอรรถ ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย
    ท่านทั้งสองอย่าถึงต้องวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย ต่อนั้น พวกเธอสำคัญ
    ภิกษุอื่น ๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกันรูปใดว่า ว่าง่ายกว่า พึงเข้าไปหารูปนั้น
    แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ ต่างกันแต่
    โดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกันได้
    โดยอรรถ ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ท่าน
    ทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอ
    ต้องจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้น ถือถูกโดยเป็นข้อถูก และจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้น

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

    ถือผิด โดยเป็นข้อผิดไว้ ครั้นจำได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรมเป็นวินัย พึงกล่าว
    ข้อนั้น.
    [๔๘] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้ง
    สองนี้แล มีวาทะสมกันลงกันทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ พวกเธอสำคัญ
    ภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าว
    แก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะสมกันลงกันทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ
    ขอท่านโปรดทราบคำที่ต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่สมกันลงกันได้ทั้งโดย
    อรรถและโดยพยัญชนะ ท่านผู้มีอายุทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ต่อนั้น
    พวกเธอสำคัญภิกษุอื่น ๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกัน รูปใดว่า ว่าง่ายกว่า พึง
    เข้าไปหารูปนั้นแล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะสมกันลงกัน
    ทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบคำที่ต่างกันนี้นั้น แม้โดย
    อาการที่สมกันลงกันได้ทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ท่านทั้งสอง อย่าถึงต้อง
    วิวาทกันเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอต้องจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือถูก โดย
    เป็นข้อถูกไว้ ครั้นจำได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น.
    [๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพวกเธอนั้นพร้อมเพรียงกัน ยินดี
    ต่อกันไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งพึงมีอาบัติ มีวีติกกมโทษ พวก
    เธออย่าเพ่อโจทภิกษุรูปนั้นด้วยข้อโจท พึงสอนสวนบุคคลก่อนว่า ด้วยอาการนี้
    ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะ
    บุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่มีทิฏฐิมั่น ยอมสละ
    คืนได้ง่ายและเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ดูก่อนภิกษุ
    ทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.
    อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เรา และ
    ความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

    มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น แต่ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้เขาออก
    จากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลำบากของเรา และความขัดใจของ
    บุคคลผู้ต้องอาบัตินี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจาก
    อกุศล ดำรงอยู่ในกุศลนั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวก
    เธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.
    อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เราและ
    ความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนไม่
    มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ แต่มีทิฏฐิมั่น ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้
    เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลำบากของเรา เป็นเรื่อง
    เล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้นั่น
    แล เป็นเรื่องใหญ่กว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้
    ก็ควรพูด.
    ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เราและความขัด
    ใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนมักโกรธ มีความ
    ผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น สละคืนได้ยาก แต่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรง
    อยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลำบากของเราและความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัติ
    นี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ใน
    กุศลได้นั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความ
    เห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.
    แต่ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เราและความ
    ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนมักโกรธ มี
    ความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น สละคืนได้ยาก ทั้งเราก็ไม่อาจะให้เขาออกจาก
    อกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ พวกเธอก็ต้องไม่ละเลยอุเบกขาในบุคคลเช่นนี้.

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

    [๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอนั้นที่พร้อมเพรียงกัน ยินดี
    ต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่ ตีเสมอกันด้วยทิฏฐิ
    ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้น บรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกัน
    ในที่นั้นหมายสำคัญเฉพาะรูปใดว่าเป็นผู้ว่าง่าย เธอพึงเข้าไปหารูปนั้น แล้ว
    กล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ เรื่องที่พวกเราพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน
    ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ เกิดการพูดยุแหย่กัน ตีเสมอกัน ด้วยทิฏฐิกัน
    ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้นนั้น พระสมณะเมื่อทรงทราบจะพึงทรงติเตียน
    ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ท่าน
    ผู้มีอายุ เรี่องที่พวกเราพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่
    เกิดการยุแหย่ ตีเสมอกันด้วยทิฏฐิ ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกัน
    ขึ้นนั้น พระสมณะเมื่อทรงทราบจะพึงทรงติเตียนได้ ก็ภิกษุอื่น ๆ จะพึงถาม
    เธอว่า ท่านผู้มีอายุ ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว จะพึงทำนิพพานให้แจ้งได้หรือ
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมี่ออจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ท่านผู้มี
    อายุ ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว จะพึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้ ต่อนั้น พวกเธอ
    สำคัญในเหล่าภิกษุอื่น ๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกันเฉพาะรูปใดว่า เป็นผู้ว่าง่าย พึง
    เข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ เรื่องที่พวกเรา
    พร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ เกิดการพูดยุแหย่กัน
    ตีเสมอกัน ด้วยทิฏฐิ ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้นนั้น
    พระสมณะเมื่อทรงทราบจะพึงทรงติเตียนได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะ
    ชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ เรื่องที่พวกเราพร้อมเพรียงกัน
    ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ เกิดการพูดยุแหย่ ตีเสมอกันด้วยทิฏฐิ
    ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้นนั้น พระสมณะเมื่อทรงทราบ
    จะพึงติเตียนได้ ก็ภิกษุอื่น ๆ จะพึงถามเธอว่า ท่านผู้มีอายุ ภิกษุไม่ละธรรมนี้

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

    แล้ว จะพึงทำนิพพานให้แจ้งได้หรือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะ
    พยากรณ์โดยชอบพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว
    จะพึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอื่น ๆ พึงถามเธออย่างนี้ว่า ท่านให้
    ภิกษุเหล่านี้ของพวกเรา ออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลแล้วหรือ ภิกษุเมื่อ
    จะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้า
    ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า
    ข้าพเจ้าพึงธรรมของพระองค์แล้ว ได้กล่าวแก่ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้น
    ฟังธรรมแล้ว ออกจากอกุศล และดำรงอยู่ในกุศลได้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุเมื่อพยากรณ์อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่ยกตน ไม่ข่มคนอื่น พยากรณ์ธรรม
    สมควรแก่ธรรมด้วย ทั้งวาทะของศิษย์อะไร ๆ อันชอบด้วยเหตุ ย่อมไม่
    ประสบข้อน่าตำหนิด้วย.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
    จบ กินติสูตรที่ ๓

    ถ้าใครอยากจะด่า ก็ด่าต่อไป ด่าให้สมใจอยากแต่...เราหยุดแล้วเพราะกรรมนั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว....เพราะทำเอาไว้ในชาติก่อน ๆ ...จึงต้องมาพบมารในชาตินี้.....และการปล่อยให้มารทำลายร้างได้นั่นคือเราชนะแล้ว...พ้นมารกลุ่มนี้แล้ว....หรือไม่พอใจกับจับฆ่าเลยก็ได้ไม่กลัว....เลยความตายมาเลย...
     
  19. deneta

    deneta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    2,711
    ค่าพลัง:
    +5,720
    ด้านพระพยอม กัลยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว จ.นนทบุรี ให้สัมภาษณ์ที่ จ.นครราชสีมา ถึงพฤติกรรมของพระเกษมว่า เรื่องความคิดสุดโต่งมีขึ้นอยู่เรื่อย คนไม่รู้จักคำว่าสายกลาง ชาวบ้านมีตั้งหลายระดับ อีกอย่างพระพุทธรูปเป็นสัญลักษณ์เหมือนศาสนาอื่นๆ อย่างพระพุทธชินราช คนเป็นทุกข์ไปกราบไหว้เห็นพระพักตร์แจ่มใสเยือกเย็น พุทธลักษณะเด่น โครงหน้าอิ่มสุข ไม่อมทุกข์ ตนคิดว่า พระพุทธรูปอาจจะเผยแพร่ได้ดีกว่าองค์ที่บ้าไม่ให้ไหว้พระพุทธรูป บอกว่าตัวเองหลุดพ้นแล้ว ไม่นับถือวัตถุ ไม่ยึดถือวัตถุ คำว่า วัตถุตะยัง แปลว่า วัตถุที่เห็นแล้วเป็นบุญหู บุญตา ใครเห็นพระพุทธรูปแล้วรกหู รกตาก็แสดงว่า ตา หู ไม่ไหวแล้ว ฉะนั้นตัวท่านก็ต้องคิดถึงคนอื่นเขาบ้าง เรื่องนี้เจ้าคณะจังหวัดท่านจัดการอยู่แล้ว แต่พระจะดื้อแค่ไหนและจะเล่นงานกับคนดื้อยังไงเท่านั้น


    พระพยอมกล่าวอีกว่า เรื่องนี้ชาวพุทธต้องต่อต้านและคงไม่เอาไว้แน่นอนกับพระที่เป็นขนาดนี้ และอาจติดคุกได้ อย่างเช่น เอาน้ำกรดไปราดพระพุทธรูปก็เท่ากับทำลายวัตถุหรือทำลายศาสนสมบัติ อย่างน้อยก็ถูกดำเนินคดี เพราะทำลายทรัพย์สิน อย่างที่มีภาพปรากฏใช้เท้าเหยียบนั้นเป็นการทำลายจิตใจกันมาก ชาวพุทธคงไม่ปล่อยให้ ลอยนวลแน่
     
  20. ป.วิเศษ

    ป.วิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    329
    ค่าพลัง:
    +411
    กรรมจากการลอกทองพระพุทธรูป ถูกเผาในนรก

    เกิดใหม่ ก็เป็นเด็กดักแด้ ผิวกายแสบร้อน...


    เราเคารพครูบาอาจารย์ เราก็นำมากราบไหว้

    มาไว้บนปกหนังสือ ประกาศเกียรติคุณของท่าน

    รูปบนปก ก็คือ ตัวแทน (ทางใจที่จะระลึกความดีงาม)


    พระพุทธเจ้า คือ ครูทางธรรมคนแรกของศาสนา

    การนำรูป ภาพเหมือน ภาพศิลป์ ฯลฯ กราบไหว้

    ด้วยสติ ระลึกถึง


    พระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้ให้ "ยึด" ท่านให้ "วาง"

    หลักธรรมที่พระพุทธองค์ สอน และสืบทอดโดย

    พระสงฆ์ เราเองรับมาปฏิบัติ ทำให้เราพ้นทุกข์

    จากสังสารวัฏนี้ พระคุณของพระพุทธเจ้านั้นสูงล้น

    เกินบรรยาย

    กราบพระพุทธรูปได้ หน้าผาก จรดลงพื้นดิน

    ไม่กลัวความสกปรกใด ๆ เพราะแม้นกราบลงเท่าใด

    ไม่จุใจ กับสิ่งที่ท่านทำให้เราหลุดพ้นหรอกค่ะ

    ปฏิรูปความคิด พินิจพิเคราะห์สักนิดเถิด


    (ที่เห็นผีในพระพุทธรูปน่ะ เพราะไม่สวดมนต์ เจริญเมตตา

    วิญญาณผีก็มาใช้สสารที่ตั้งอยู่ได้ แต่ถ้าสวดมนต์แล้ว

    เทวดาเขาก็มาอารักษ์พระพุทธรูปนั้นค่ะ วิญญาณผี

    เขาก็มาอยู่ไม่ได้ค่ะ ... )

    อนุโมทนา
    ขอขอบพระคุณอาจารย์เสริมศิลป์ ขอนวงค์
     

แชร์หน้านี้

Loading...