มีลูกสาวหรือลูกชายนั้นสำคัญไฉน

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย PalmPlamnaraks, 16 กุมภาพันธ์ 2005.

  1. PalmPlamnaraks

    PalmPlamnaraks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2005
    โพสต์:
    766
    ค่าพลัง:
    +5,790
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=650 border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 5px; PADDING-BOTTOM: 5px; PADDING-TOP: 5px" vAlign=top width=650>มีลูกสาวหรือลูกชายนั้นสำคัญไฉน โดย วรากรณ์ สามโกเศศ ส.วิจัยสังคมและเศรษฐกิจ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ มติชนรายวัน วันที่ 15 พฤษภาคม 2546

    มีคำพูดเก่าแก่ในภาษาอังกฤษนับร้อยปีว่า "ถ้ามีลูกชายเขาก็เป็นลูกของเรา จนวันที่เขามีครอบครัว แต่ถ้ามีลูกผู้หญิงเขาจะเป็นลูกของเราไปตลอดกาล" ซึ่งตรงข้ามกับค่านิยมของคนตะวันออก ที่นิยมมีลูกผู้ชาย มีอาจารย์นักเศรษฐศาสตร์หญิงสองคนจากมหาวิทยาลัย WASHINGTION ในซีแอตเทิล มีข้อมูลพิสูจน์ว่า อเมริกันชายก็มีค่านิยมคล้ายคนเอเชียในช่วงเวลาทศวรรษ 1960 ถึง 1993 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสังคมอย่างน่าสนใจ

    บทความของทั้งสองที่ปรากฏในวารสาร DEMOGRAPHY เมื่อเร็วๆ นี้ แท้จริงแล้วต้องการแสดงให้เห็นลึกซึ้งกว่านั้นว่า ข้อแตกต่างระหว่างเพศ มีผลกระทบต่อสังคมในบางลักษณะอย่างคาดไม่ถึง

    ในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน การมีลูกชายหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องใหญ่โตเพราะเห็นด้วยกับคำกล่าวข้างบน (บางคนอาจบอกว่าผู้เขียนพูดอย่างนี้ได้เพราะมีลูกชายหญิงเพศละหนึ่งคน) ผู้เขียนเคยท้าทายคนมีความเห็นตรงกันข้ามว่า การมีลูกหญิงนั้นทำให้เชื่อได้แน่ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า ลูกหลานต่อไปเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขเดียวกันแน่นอน เพราะลูกสาวนั้น ไม่ว่าใครเป็นพ่อ เมื่อคลอดออกมาก็เป็นผลงานจริงแท้แน่นอน แต่สำหรับลูกสะใภ้นั้น มีความเป็นไปได้ว่า หลานนั้นมีพ่อเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่ลูกเรา

    ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ทำให้ราชวงศ์จีนที่สืบทอดทางผู้ชายตลอดมา มีข้อกังขาว่ามีการสืบทอด โดยสายเลือดเนื้อเชื้อไขเดียวกัน มาตลอดหรือไม่ ด้วยเหตุผลเรื่องลูกสะใภ้ดังกล่าวข้างต้น

    อาจารย์สอนท่านนี้ได้รวบรวมข้อมูลประหลาดที่ไม่มีใครนึกมาก่อน กล่าวคือได้เก็บข้อมูลจากครัวเรือนอเมริกันนับพันตั้งแต่ปี ค.ศ.1968 เพื่อติดตามผู้หญิงจำนวน 600 คน ที่มีลูกนอกสมรสซึ่งจำนวนผู้หญิงลักษณะนี้มีมากมาย ในปี 1990 ปีเดียวมีจำนวนเด็กที่เกิดจากแม่เหล่านี้ถึง 1.17 ล้านคน

    ในจำนวนหญิงไม่ได้แต่งงาน 600 คนนี้ ทั้งสองพบว่า คนที่มีลูกชายมีโอกาสที่จะได้แต่งงาน กับคนที่เป็นพ่อเด็ก มากกว่าคนที่มีลูกเป็นหญิง กล่าวคือคนที่มีลูกเป็นชายร้อยละ 21.6 ได้แต่งงานกับพ่อเด็ก ส่วนคนที่มีลูกเป็นหญิงเพียงร้อยละ 15.6 เท่านั้นที่ได้แต่งงานกับพ่อเด็ก

    นอกจากนี้ยังพบอีกว่าหญิงมีลูกเป็นชายเฉลี่ยใช้เวลา 3.4 ปี ก่อนแต่งงานกับคนอื่นในที่สุด ในขณะที่หญิงที่มีลูกเป็นหญิง ใช้เวลานานกว่าคือ 4.6 ปี และสำหรับทุกอายุ แม่ที่มีลูกชายมีทางโน้ม ที่จะแต่งงานมากกว่าแม่ที่มีลูกหญิงถึงร้อยละ 35 ถึง 40

    ทั้งสองจึงสรุปว่าผู้หญิงที่มีลูกนอกสมรสเป็นชายมีทางโน้มที่จะแต่งงานสูงกว่าหญิงนอกสมรสที่มีลูกเป็นหญิง หรือพูดง่ายๆ ว่าการมีลูกชายเป็นสิ่งผลักดันให้เกิดการแต่งงานขึ้นในที่สุดไม่ว่าจะแต่งงานกับพ่อของเด็กหรือกับชายคนอื่นก็ตาม

    คำถามก็คือทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คำตอบที่ได้จากการสัมภาษณ์ก็คือ เมื่อมีลูกเป็นชายก็จำเป็นต้อง (รีบ) แต่งงานเพื่อให้ลูก ได้มีตัวอย่างของชาย ที่จะเลียนแบบ ดังนั้นดีมานด์ของการมีสามี จึงอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ผู้มีลูกเป็นหญิง ไม่มีความจำเป็น เพราะมีแม่เป็นแบบอย่างอยู่แล้ว อย่างนี้เท่ากับว่าสำหรับหญิงมีลูก เป็นหญิงมีดีมานด์ของการมีสามีในระดับต่ำ

    สำหรับในด้านฝ่ายชาย มีงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า เพศของลูกมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของพ่อ พ่อที่มีลูกชายใช้จ่ายเงิน ให้แก่ครอบครัว มากกว่าพ่อที่มีลูกสาว และหลังการเกิดของลูก หากเป็นลูกชายจะทำงานเพิ่มขึ้น 40 ชั่วโมงต่อปี และจ่ายเงินเกี่ยวกับบ้านที่อยู่อาศัยมากขึ้นเมื่อเทียบกับมีลูกหญิง นักวิจัยสรุปว่าดูเหมือนการมีลูกชายจะเพิ่มคุณค่า ของการแต่งงานและเป็นตัวกำหนดการลงทุนในครัวเรือนมากกว่าการมีลูกสาว

    เมื่อการมีลูกชายดูเป็นสิ่งมีคุณค่าสำหรับเขา ดังนั้นจึงนิยมการมีครอบครัวที่มีลูกชาย มากกว่าลูกสาว จึงเป็นโอกาสที่เปิดให้แก่หญิงมีลูกชายนอกสมรส ที่จะได้แต่งงาน พูดภาษาเศรษฐศาสตร์ก็คือ เมื่อหญิงมีดีมานด์ของการมีสามีสูง และมีซัพพลายของชาย ประเภทที่ชอบจะมีครอบครัวที่มีลูกชายสูง เมื่อดีมานด์สูงพบกับซัพพลายสูงเช่นนี้แล้วมันจะไปไหนเสียเล่า

    เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้กลุ่มผู้ที่ควรได้รับความสนใจ ก็คือลูกสาวนอกสมรส นัยสำคัญทางสังคมก็คือ เด็กสาวเหล่านี้มีโอกาสที่จะเติบโต ในครอบครัวที่มีแม่คนเดียวมากกว่าลูกชาย ที่เกิดมาในสถานะเดียวกัน โดยที่ตนเองเป็นผู้รับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพียงเพราะเกิดมาเป็นเพศหญิง

    การมีแม่คนเดียวสนับสนุนครอบครัวบางเวลาหรือตลอดเวลานั้น โดยทั่วไปย่อมหมายถึงฐานะทางเศรษฐกิจ ที่มั่นคงน้อยกว่าครอบครัวที่มีทั้งพ่อ (เลี้ยง) และแม่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากอยู่ในเศรษฐกิจชั้นล่าง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นไปเพราะ ความเป็นเพศหญิงของเด็กนอกสมรส

    อย่างไรก็ดี การศึกษานี้มาจากข้อมูลระหว่างปี 1968-1993 ในช่วงปีหลังจากนี้มีข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไป รสนิยมการเลือกลูกชาย เหนือลูกหญิงของคนอเมริกันเริ่มลดถอยลง โอกาสแต่งงานของแม่นอกสมรส ดูจะเกี่ยวพันน้อยลงกับเพศของลูก ยิ่งไปกว่านั้น ความเชื่อที่ว่าการมีลูกชายในครอบครัว เป็นตัวเพิ่มความเป็นไปได้ ของการมีชีวิตสมรส ยืนยาวมากกว่า การมีลูกผู้หญิงก็กำลังหายไปนับแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา

    งานวิจัยของอาจารย์ PHILIP MORGAN นักสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย DUKE รัฐนอร์ธคาโรไลนา ชี้ให้เห็นว่า ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้าม ครอบครัวอเมริกัน พ่อปัจจุบันยุ่งเกี่ยวกับชีวิตของลูกสาวมากกว่า เมื่อร้อยปีก่อน ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะเด็กผู้หญิงสมัยใหม่ ทำกิจกรรมที่เคยเป็นกิจกรรมเฉพาะ ของเด็กผู้ชายเท่านั้น ในสมัยก่อน เช่น เล่นฟุตบอล (ซอกเกอร์) ดังนั้น จึงเปิดโอกาสให้พ่อเข้าไปร่วมกิจกรรมของลูกสาวได้มากขึ้น

    การศึกษาในเรื่อง GENDER GAP (ช่องห่างของเพศ) ในทำนองนี้เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ในเรื่องสถานการณ์ และปัญหา ยังมีอยู่น้อยมากในประเทศไทย สมควรที่จะมีการศึกษาวิจัยมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในการกำหนดนโยบายของประเทศ ในเรื่องสำคัญที่เสี่ยงกับ ความเท่าเทียมกันของหญิง และชาย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. PalmPlamnaraks

    PalmPlamnaraks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2005
    โพสต์:
    766
    ค่าพลัง:
    +5,790
    เป็นไรก็ได้ขอให้เป็นคนดีครับ ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 มกราคม 2006
  3. PalmPlamnaraks

    PalmPlamnaraks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2005
    โพสต์:
    766
    ค่าพลัง:
    +5,790
    ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 มกราคม 2006

แชร์หน้านี้

Loading...