มีอมตะ เป็นที่สุด ในพระไตรปิฏก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 20 สิงหาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER></CENTER><CENTER>ปุพพโกฏฐกสูตร</CENTER><CENTER>พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า</CENTER> [๙๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปุพพโกฏฐกะ ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้ว ตรัสว่า [๙๘๔] ดูกรสารีบุตร เธอเชื่อหรือว่า สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด วิริยินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. [๙๘๕] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ไม่ถึงความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นพึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่น ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แลอมตะนั้นชนเหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อมตะนั้น ข้าพระองค์รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้วพิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ข้าพระองค์จึงหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่าสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. [๙๘๖] พ. ดีละๆ สารีบุตร ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่นในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แล อมตะนั้น ชนเหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้วทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.<CENTER>จบ สูตรที่ ๔</CENTER>
    </PRE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER></CENTER><CENTER>สัญญาสูตรที่ ๒</CENTER> [๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ๗ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตต-*สัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า อสุภสัญญา อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในการร่วมเมถุนธรรม หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมากจิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญาอันภิกษุเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิตไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากันไม่คลี่ออกฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในความรักชีวิต หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้นภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้นภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า มรณสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะมีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะมีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในตัณหาในรส หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราไม่ได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูล-*สัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูล-*สัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายอาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก อานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลกอุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในความวิจิตรแห่งโลก หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้นภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับในลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในลาภสักการะ และความสรรเสริญ หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเราไม่มีผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับลาภ สักการะและความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา (ความสำคัญเป็นภัย) อย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมากภยสัญญาอย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมไม่ปรากฏเปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมไม่ปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้นฉะนั้น ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิ-*เศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญาอย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้นไซร้ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญา อันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้นภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกเขอนัตตสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะมีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเราตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ใจย่อมไม่ปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอก ไม่ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ ไม่สงบระงับ ยังไม่หลุดพ้นด้วยดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในทุกเขอนัตตสัญญานั้นดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลายสัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ<CENTER>จบสูตรที่ ๖</CENTER>
    </PRE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER></CENTER><CENTER>พรหมสูตร</CENTER><CENTER>ว่าด้วยท้าวสหัมบดีพรหม</CENTER> [๑๐๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ แทบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ทรงเกิดความปริวิตกแห่งพระหฤทัยอย่างนี้ว่า อินทรีย์ ๕ ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะมีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ที่เจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุดอินทรีย์ ๕ เหล่านี้ ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้ามีอมตะเป็นที่สุด. [๑๐๔๘] ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบความปริวิตกแห่งพระหฤทัยด้วยใจแล้วจึงหายตัวจากพรหมโลก มาปรากฏเบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น. [๑๐๔๙] ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม กระทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคตข้อนี้เป็นอย่างนั้น อินทรีย์ ๕ ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ ที่เจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. [๑๐๕๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์ได้ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ แม้ในเวลานั้น เขารู้จักพระองค์อย่างนี้ว่าสหกภิกษุๆ เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันข้าพระองค์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วข้าพระองค์จึงคลายกามฉันท์ในกามทั้งหลายเสียได้ เมื่อตายไป ได้เข้าถึงสุคติพรหมโลก แม้ในพรหมโลกนั้น เขาก็รู้จักข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท้าวสหัมบดีพรหมๆ. [๑๐๕๑] ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้นข้าพระองค์รู้ ข้าพระองค์เห็น ข้อที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.<CENTER>จบ สูตรที่ ๗</CENTER>
    </PRE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      23.2 KB
      เปิดดู:
      61

แชร์หน้านี้

Loading...