เรื่องเด่น มุมมองศาสนิกต่อโทษประหารแนะฆ่ากิเลสดีกว่าฆ่าชีวิต

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 19 ธันวาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    มุมมองศาสนิกต่อโทษประหารแนะฆ่ากิเลสดีกว่าฆ่าชีวิต

    พระองค์ภาฯเสด็จเปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “มุมมองจากศาสนิกต่อโทษประหารชีวิต” ที่ กสม.ร่วมกับภาคเครือข่ายจัดขึ้น ผู้แทนจากศาสนาเสนอมุมมองมุ่งฆ่ากิเลสในใจดีกว่าฆ่าชีวิต
    e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b899e0b8b4e0b881e0b895e0b988e0b8ade0b982e0b897e0b8a9e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8ab.jpg
    วันที่ 19 ธ.ค.2560 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและผู้อำนวยการหลักสูตรสาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2560 ที่ผ่านมา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “มุมมองจากศาสนิกต่อโทษประหารชีวิต” ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ร่วมกับกลุ่มเครือข่ายร่วมจัดทั้งสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย กระทรวงยุติธรรม สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย และมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา จัดขึ้น
    b8a8e0b8b2e0b8aae0b899e0b8b4e0b881e0b895e0b988e0b8ade0b982e0b897e0b8a9e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8ab-1.jpg
    “ต่อจากนั้นเป็นการอภิปรายในหัวข้อดังกล่าว ซึ่งมีวิทยากรประกอบด้วยอาตมา มงซินญอร์ วิษณุ ธัญญอนันต์ รองเลขาธิการสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย นายสันติ เสือสมิง ผู้แทนสำนักจุฬาราชมนตรี โดยมีนายสุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการด้านศาสนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ซึ่งนายสุรพศเปิดฉากการเข้าสู่การอภิปรายด้วยการตั้งข้อสังเกตเอาไว้น่าสนใจว่า แม้ศาสนาทั้งหลายจะมีมุมมองต่อการประหารชีวิตในเชิงลบ แต่ศาสนาทั้งหลายกลับมีท่าทีที่เมินเฉยต่อการที่รัฐได้ออกมาตรการลงโทษประการชีวิตผู้กระทำผิดกฏหมาย แท้จริงแล้ว ศาสนาเมินเฉยดังที่ได้ข้อสังเกตหรือไม่?!? การนำหลักการของศาสนาต่างๆ มาอธิบายและขยายความ น่าจะเป็นช่องทางในการสนองตอบต่อข้อสังเกตของผู้ดำเนินรายการได้ แม้สุดท้ายแล้ว ผู้นำรัฐอาจจะเมินเฉยต่อหลักการของศาสนา แต่ศาสนาก็ได้แสดงจุดยืนของตัวเองเอาไว้เป็นหลักให้สังคมได้ร่วมเลือกหนทางที่เหมาะกับตัวเอง การเลือกหรือไม่เลือก จึงขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะของสังคมนั้นๆ เอง” พระมหาหรรษา กล่าวและว่า

    หากจะกล่าวถึงเนื้อแท้หรือแก่นแกนของหลักคำสอนของแต่ละศาสนานั้น จะพบว่า ศาดาของแต่ละศาสนาได้ออกแบบคำสอนที่สะท้อนตัวตนของตัวเองอย่างชัดแจ้ง ในฐานะที่ศาสนาคริสต์และอิสลามนั้น เป็นศาสนาแบบเทวนิยม ที่มองว่า พระเจ้าทรงเป็นพระผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งในจักรวาล หนึ่งในสิ่งที่ถูกสร้าง คือ “มนุษย์” พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ มนุษย์จึงมิใช่อะไรอื่น หากแต่เป็นฉายาของพระผู้สร้าง ฉะนั้น การทำลายชีวิตมนุษย์ จึงเป็นการทำลายสิ่งที่พระเจ้าทรงสร้างสรรปันแต่งมาจากลมหายใจของพระองค์

    อย่างไรก็ตาม ศาสนาคริสต์ยืนยันอย่างหนักแน่นว่า ไม่เห็นด้วยกับบทลงโทษประหารชีวิต และถือเป็นแนวทางที่ศาสนาคริสต์ยืนยันมาตลอด และสนับสนุนให้ยกเลิกโทษการประหารชีวิต ในขณะที่ศาสนาอิสลามแม้จะเห็นด้วยว่า ชีวิตมนุษย์มาจากพระเจ้า การทำลายชีวิตจึงเป็นการผิดต่อสิ่งที่พระเจ้าสร้างมา แต่สิ่งที่น่าสนใจนั่นก็คือ อาจารย์สันติยืนยันอย่างหนักแน่นอนว่า ในคัมภีร์ของศาสนาอิสลามนั้น มีข้อยกเว้นให้มนุษย์สามารถฆ่าผู้ทำผิดได้ เพื่อหยุดยั้งมิให้เกิดการฆ่าในโอกาสต่อไปอีก การฆ่าจึงเป็นการหยุดการทำชั่วของใครบางคนที่มิอาจจะเยียวยาได้ ฉะนั้น ในขั้นสุดท้ายแล้ว โทษประหารจำเป็นต้องมีเพื่อมนุษย์ย่ำเกรง และป้องกันมิให้มนุษย์ทำลายกันและกัน

    พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนาแบบ “อเทวนิยม” ที่มีจุดยืนว่า สรรพสิ่งมิได้เกิดจากผู้สร้าง หากแต่สรรพสิ่งพึ่งพิงอิงอาศัยอย่างเป็นเหตุเป็นปัจจัยตามกฏธรรมชาติ มนุษย์จึงเป็นสมบัติของธรรมชาติที่ถูกหล่อหลอมมาจากกรรม ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล ถึงกระนั้น การเกิดเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่ได้มาอย่างยากลำบาก (กิจฺโฉ มนุสฺสปฺปฏิลาโภ) เพราะความยากนี่เองจึงทำให้ชีวิตของมนุษย์มีคุณค่า ในฐานะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาชีวิตจนเข้าถึงความจริงสูงสุดคือ “นิพพาน” ชีวิตที่ประกอบด้วยรูปกับนาม จึงเป็นเครื่องมือที่จะนำพามนุษย์เข้าถึงความจริงดังกล่าวได้

    ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสย้ำถึงจุดยืนที่สะท้อนถึงตัวตนของพระพุทธศาสนาในวันการประกาศโอวาทปาติโมกข์ ที่สัมพันธ์กับหลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 กล่าวคือ (1) หลักการ เตือนมิให้ทำบาปทั้งปวง อันมีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตตามศีลข้อที่ 1 (2) อุดมการณ์ ตรัสเตือนว่า ผู้ที่จะได้ชื่อว่าเป็นบรรพชิต หรือผู้งดเว้นจากบาปได้ ต้องไม่ฆ่าผู้อื่น (3) วิธีการ ตรัสเตือนมิให้ฆ่าหรือนิยมชมชื่นกับการฆ่าตามหลักอนูปฆาโต

    จะเห็นว่า ทั้งหมดคือจุดยืนของพระพุทธศาสนาที่ถูกประกาศให้ศาสนิกของศาสนา และเจ้าลัทธิต่างๆ ได้เห็นเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาว่ามีอัตลักษณ์ที่แตกต่างจากแนวคิดและแนวปฏิบัติอื่นๆ ที่มีอยู่แล้วในชมพูทวีปในสมัยนั้น จะเห็นว่า พระพุทธศาสนามิได้เน้นให้ฆ่าทางเนื้อหนัง หากแต่เน้นให้ “ฆ่ากิเลส” การฆ่าทางเนื้อหนังหรือฆ่าชีวิตจึงเป็นการฆ่าที่ผิดฝาผิดตัว เพราะตัวที่ชักนำให้มนุษย์ไปกระทำผิดพลาดบกพร่อง คือ “กิเลส” ที่เกิดขึ้นและเกาะกุมจิตใจให้มนุษย์ไปกระทำการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

    บทสนทนาธรรมระหว่างพระพุทธเจ้ากับนายเกสีผู้ฝึกม้า คือ คำตอบที่เห็นได้ชัดว่า ในขณะที่นายเกสีตัดสินใจฆ่าชีวิตของม้าที่ฝึกไม่ได้ แม้จะพูดดีแล้วก็ตาม หรือเฆียนตีแล้วก็ตาม แต่พระพุทธเจ้ามิได้มองไปที่การฆ่าชีวิต หากแต่เน้นไปที่การฆ่ากิเลสโดยการใช้หลักอริยวินัยด้วยวิธีการลงพรหมทัณฑ์ ซึ่งตัวแบบที่พระพุทธเจ้าให้วิธีการนี้หลังจากที่พระองค์ปรินิพพาน คือ “พระฉันนะ” จนในที่สุดพระฉันนะได้เกิดการตระหนักรู้ถึงความผิดพลาดบกพร่องจนนำไปสู่การบรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด

    กรณีขององคุลีมาลก็เช่นเดียวกัน ในขณะที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพยายามจะนำกองทัพไปปราบและฆ่าชีวิตของจอมโจรองคุลีมาล ที่ฆ่าคนจำนวน 999 คน เพื่อให้หยุดยั้งการกระทำดังกล่าวตามแนวทางฆ่าองคุลีมาลเพื่อหยุดยั้งมิให้จอมโจรองคุลีมาลไปฆ่าคนอื่นๆ อีก แต่ในทางกลับกัน พระพุทธเจ้าทรงเลือกที่จะเสด็จไปหาองคุลีมาลเพื่อใช้โอกาสดังกล่าวฆ่ากิเลสที่มีอยู่ในตัวขององคุลีมาล และผลจากการใช้วิธีการดังกล่าว จึงทำให้องคุลีมาลบรรลุธรรมและบวชเป็นพระภิกษุออกไปช่วยเหลือหมู่ชนจำนวนมาก ปัญหาคือ ถ้าพระพุทธเจ้าปล่อยให้พระเจ้าปเสนาิโกศลฆ่าชีวิตของจอมโจรองคุลีมาลเสียแล้ว องคุลีมาลจะมีโอกาสเข้าถึงความจริงหรือไม่ และจะมีโอกาสได้สร้างคุณประโยชน์ต่อไปหรือไม่

    การฆ่า หรือประหารชีวิตเพื่อให้ตายตกไปตามกันแบบตาต่อตาฟันต่อฟันนั้น อาจจะทำให้มองว่า เกิดความยุติธรรม และสาสมต่อการทำผิดแล้ว อีกทั้งสามารถเยียวยาจิตใจของผู้ที่ถูกกระทำได้อย่างลงตัวแล้ว แต่ถึงกระนั้น วิธีการเหล่านี้ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า คนที่ใช้ความรุนแรงเพื่อดับความรุนแรง หรือคนที่เอาการฆ่ามาจัดการคนที่ฆ่าคนอื่น จะมีภูมิธรรมที่ต่างกันตรงไหน สุดท้ายใครมีมโนธรรมสูงกว่ากัน

    “การฆ่ากิเลสจึงเป็นวิถีที่ท้าทายต่อจิตวิญญาณของมนุษยชาติ โดยร่วมกันออกแบบเครื่องมือ หรือสร้างกระบวนการในการกล่อมเกลา เพื่อคืนคนที่เคยทำผิดพลาดบกพร่องกลับไปสู่สังคม พร้อมทั้งให้โอกาสในฝึกฝนพัฒนาตนเอง และสามารถอยู่ร่วมกับกลุ่มคนอื่นๆ ในสังคมได้อย่างมีความสุข และสังคมก็ควรต้องดีใจเพราะสามารถพัฒนาคนไม่ดี คนมีภูมิคุ้มกันกิเลสบกพร่องให้กลับมาเป็นคนดี และสร้างสรรค์สิ่งดีงามแก่สังคมต่อไป” ผู้ช่วยอธิการบดี มจร ระบุ

    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/politic/98468
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 ธันวาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...