มโนมยิทธิ: ปัญหาของผู้เริ่มฝึกได้แล้วและการฝึกแบบเต็มกำลัง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 กุมภาพันธ์ 2017.

  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    16508217_1366589993362929_1988548124206329140_n.jpg








    มโนมยิทธิ: ปัญหาของผู้เริ่มฝึกได้แล้วและการฝึกแบบเต็มกำลัง

    ผู้ถาม : ผมเคยชวนคนอื่น ๆ มาฝึกมโนมยิทธิ แต่แล้วเขาบอกว่า พอออกไปแล้ว กลัวใครจะมาทำร้ายร่างกาย มาเผาร่างกาย เรื่องนี้จริงไหมครับ?

    หลวงพ่อ : ไอ้คนที่ได้มโนมยิทธิจริง ๆ ถ้าไปถึงสวรรค์ได้ เขาไม่อยากมองมนุษย์นะ เพราะเมืองมนุษย์มันเลอะเทอะด้วยประการทั้งปวง โลกทั้งโลกมันสกปรก ถ้าแดนสวรรค์ก็มีแก้วกับทอง สวรรค์มีความสุขมีที่อยู่สบาย ถ้าไปถึงพรหม เราก็ไม่อยากไปสวรรค์ เพราะพรหมเขาดีกว่า ถ้าเข้าถึงนิพพาน เราก็ไม่อยากมองพรหม

    ถ้าบังเอิญเวลานั้น ใครทำร้าย หรือจะเอาร่างกายไปเผาเสียก็ดี จะได้ไม่ต้องกลับมา กลัวเขาจะไม่ทำยังงั้นน่ะซิ ถ้ากลัวตายก็ฝึกวิชานี้ไม่ได้ อันนี้เป็นหัวใจสำคัญของการเจริญพระกรรมฐาน

    ผู้ถาม : มีลูกศิษย์บางคนนะคะ เขาไม่ชอบไปดูของสวย ๆ บนสวรรค์ เขาอยากไปนรก เขาบอกว่า เห็นในสิ่งที่ไม่ดี แล้วจะได้ไม่ทำในสิ่งนั้น

    หลวงพ่อ : เออ….ไอ้นี่เหมือนกับฉัน ไปได้ครั้งแรก ปีแรกฉันไม่ไปสวรรค์เลย ไปนรกจุดเดียว นรกนี่ใช้เวลา ๑ ปี ไปไม่ครบนะ นรกจริง ๆ มันมี ๔๐๐ ขุมกว่า ขุมใหญ่มี ๘ ขุม แต่ละขุมมันแยกไปอีก

    ไปถึงก็ถามเขา แต่ละขุมเราเคยมากี่เที่ยว แต่ละครั้งที่เรามาทำบาปอะไร เราขอดูภาพเดิม สมัยเป็นมนุษย์เราทำบาปอะไร นรกขุมนี้ลงโทษ แบบไหน ฉันไปทุกขุม ฉันก็ไปถามเขาทุกขุม ลองไล่เบี้ยดู เป็นการลงโทษตัวเอง ปรามตัวเอง

    อย่างไอ้หนูนี่คิดถูก ถ้าดูคนอื่นเขาลงน่ะมันไม่มันนะ ต้องดูของตัวเอง ดูว่าในสมัยที่เราเป็นคน เราทำอะไรผิด เราจึงลงนรก

    บางครั้งเราเป็นคนมีวาสนาบารมีสูง แต่ก็เมาในชีวิต มีอำนาจมากกว่าเขา ก็สร้างความชั่วข่มเหงเขาบ้าง ทำอะไรเขาบ้าง ตายแล้วก็ลงนรก

    ต้องขอดูภาพเดิม อย่าดูแต่ภาพนรกเฉย ๆ นะ ดูว่าสมัยเป็นมนุษย์ เราทำอะไรไว้ จึงถูกลงโทษแบบนี้ มันจะได้ประสานกัน

    ♢♢♢ ที่สวรรค์ จุดแรกที่ต้องการไปให้ถึง คือพระจุฬามณี อยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ♢♢♢

    ผู้ถาม : หลวงพ่อคะ ดาวดึงส์กับจุฬามณีนี่ที่เดียวกันใช่ไหมคะ?

    หลวงพ่อ : ใช่ ที่เดียวกัน จุฬามณีตั้งอยู่ในเขตของดาวดึงส์

    ผู้ถาม : ดิฉันไปกราบท่านพ่อกับท่านแม่ที่ดาวดึงส์ค่ะ แล้วก็ไปนิพพาน

    หลวงพ่อ : ก็ได้ คือว่าเราต้องการให้อารมณ์จิตอยู่ที่นั่น ก็ต้องไปกราบทุกวันนะ ฉันก็กราบ ที่เราไปกราบพ่อแม่เพราะอะไร เพราะท่านจะไปนิพพานอยู่แล้ว

    พ่อแม่นี่มีความจำเป็นต้องกตัญญู

    ♢♢♢ ทางที่ดีพอขึ้นไปที่นั่นแล้ว พอกราบท่านแล้ว ก็ต้องถามท่านว่า มีอีกบ้างไหม ที่เป็นบิดามารดาเดิม ที่ยังเป็นเทวดาหรือพรหมอยู่ ขอเชิญมาประชุมหมด แล้วท่านก็จะมาหมด

    พอมาแล้ว ก็กราบท่าน เราขอขอบคุณท่าน เราจะได้รู้ว่า พ่อแม่ที่อยู่ เป็นเทวดา หรือพรหม มีเท่าไร พ่อแม่ของเราในอดีตมีเยอะ ขึ้นไปแล้วไม่หงอยเหงาแน่ ๆ เพลิดเพลินจนไม่อยากกลับทีเดียว ♢♢♢

    ผู้ถาม : หนูมีปัญหาอันหนึ่ง คือก่อนนอนก็ภาวนา นะ มะ พะ ธะ แล้วก็หลับไปเลย มีอยู่วันหนึ่งนะคะ ตอนใกล้เช้าค่ะ มีความรู้สึกว่าไม่ได้หลับ แต่มีความรู้สึกว่าจิตมันจะออกไป แต่ไม่ยอมลอยขึ้นไปข้างบน แล้วอยู่ๆ ก็ดึงลงไปข้างล่างเลยค่ะ ทั้งๆ ที่ไม่อยากจะให้ลง มันเป็นเพราะอะไรค่ะ?

    หลวงพ่อ : ถ้ามันดึงลงข้างล่างก็ให้มันดึงไป ไปเที่ยวนรก ถ้าปล่อยตัวหลุดแบบนั้น เป็นตัวอภิญญาแท้ คือ นะ มะ พะ ธะ ที่เราทำเวลานี้นะ ถ้ามันถึงจุด มันจะออก จุดออกของเขาจริง ๆ มันเหมือนกับตัวเราออกไปเลย มันออกไปจริง ๆ

    ทีนี้มันจะดิ่งลง ก็ให้มันลงไป อารมณ์อันหนึ่ง เขาอาจจะบังคับให้ไปดูนรกข้างล่างว่าเป็นยังไง แต่ไปแล้ว ไม่ต้องกลัวว่าจะกลับมาไม่ได้นะ กว่าจะกลับก็เช้า

    ทีหลังตั้งใจไว้ก่อนว่า ถ้าออกได้จะขอไปพระนิพพาน แล้วไปจะหาแม่หาปู่ แต่ว่าการตั้งใจไว้ก่อน เวลาภาวนาก็อย่านึกถึงท่านนะ ทิ้งเลย ถ้าออกปั๊บ มันจะพุ่งไปเลย

    ♢♢♢ ขณะที่ภาวนาเราต้องทิ้งอารมณ์อยากจะไปนิพพาน จะไปหรือไม่ไปไม่สำคัญ แต่ทำใจให้สบายนี่มันจะไปได้ ซึ่งซ้อมแบบนั้นน่ะดีแล้ว มันจะเคลื่อนได้ดี

    ถึงฝึกแบบเต็มกำลังจริง ๆ ออกไปได้จะสนุกมาก เห็นวิมานเยอะแยะ ไม่มืดสลัว เห็นชัดเจนแจ่มใสดีมาก แทบไม่อยากกลับมาทีเดียว ♢♢♢

    ผู้ถาม : กระผมสังเกตดู อย่างวิมานของหลวงปู่ก็ดี ของพระพุทธเจ้าก็ดี ปรากฏเห็นชัดดี แจ่มใสดี เวลาไม่ต้องการเห็นก็หายไป

    หลวงพ่อ : ใช่…ถ้าจิตเราไม่ต้องการเห็น แป๊บเดียวก็หาย มันเป็นไปตามกำลังของจิต แต่ความจริงไม่ใช่วิมานหายนะ จิตเราไม่เห็นเอง ถ้าเราไม่ต้องการ มันก็ไม่เห็น ไม่ใช่เราไปรื้อวิมานเขานะ ถ้าโยมไปรื้อวิมาน เทวดาตีตาย

    ผู้ถาม : เรื่องนี้องค์อื่นผมก็ไม่กล้าคุยครับ

    หลวงพ่อ : อาตมาไม่เป็นไรหรอกโยม ความจริงพระที่ท่านเข้าถึง ไม่มีองค์ไหนบอกนิพพานสูญ เรื่องของนิพพาน มันมีอยู่อย่างนี้ เราจะเห็นได้หรือไม่ได้ มันมีอารมณ์ของจิตตามขั้น ถ้าจิตของเราเป็นฌานโลกีย์ล้วน ไม่มีทางเห็นได้เลย

    สมมุติว่าเราไม่เป็นพระอริยเจ้าจริง เวลานั้นจิตมันต้องว่างจากกิเลสชั่วเวลาหนึ่ง อันนี้จึงจะเห็นนิพพาน ถ้าตามเกณฑ์ที่จะเห็นนิพพานได้

    25aa.png ▪ถ้าสุกขวิปัสสโกนี่ ท่านไม่เห็นเลยนะ ไม่เห็นผีไม่เห็นเทวดา ไม่เห็นนรก สวรรค์ ไม่เห็นอะไรทั้งหมด ก็ชื่อว่า ตัดกิเลสได้

    25aa.png ▪ถ้าเตวิชโช เขามีสองในวิชชาสาม คือ ทิพจักขุญาณ กับ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

    ถ้ายังเป็นฌานโลกีย์อยู่ ทิพจักขุญาณตัวนี้จะไม่สามารถเห็นนิพพานได้เลย จะเห็นได้แค่พรหมโลก นรกทุกขุมเห็นได้ สวรรค์ขึ้นไปถึงพรหมโลกเห็น ถ้าจิตเข้าถึง โคตรภูญาณ เป็นอย่างต่ำ อันนี้จึงจะเห็นนิพพาน

    ไม่ใช่ว่าทำทิพจักขุญาณได้ จะเห็นอะไรทั้งหมด ถ้าหากว่าเราปฏิบัติกันแล้ว ไปถึงนิพพานได้ แสดงว่าจิตเวลานั้น ว่างพอ สะอาดพอ

    ♢♢♢
    ผู้ถาม : หลวงพ่อคะ เวลาขึ้นไปแล้ว แต่ว่าทรงอารมณ์อยู่ไม่นานก็กลับมาใหม่ อันนี้เป็นเพราะเหตุใดคะ ขอให้หลวงพ่อชี้ข้อผิดพลาดด้วยค่ะ?

    หลวงพ่อ : มันไม่ผิดหรอก เวลาตั้งอารมณ์ จิตไม่ตั้งเป็นฌาน เพราะว่าอารมณ์ที่เป็นฌานมันน้อยเกินไป มันเป็นอุปจารสมาธิเสียมาก วิธีที่ฝึกเวลานี้ไม่ใช่ไปแก้จุดนั้น ไปแก้อีกจุดหนึ่ง

    เมื่อยามว่าง เราควรจะตั้งเวลา สัก ๓ นาที ๕ นาที จับลมหายใจเข้าออก แล้วว่า นะ มะ พะ ธะ เราจะนั่งท่าไหนก็ได้ ให้จิตมันอยู่ช่วงนี้ เฉพาะคำภาวนากับลมหายใจนะ
    ♢♢♢

    แต่ว่าอาการอย่างนั้น จะมีได้ในบางขณะ บางทีเราเริ่มจับปั๊บจิตมันตกต่ำลงไปเลย ถ้าหากว่ามันทรงไม่อยู่ไปแล้วกลับมา พอกลับมาก็ทรงอารมณ์ให้สบาย ไม่ไปไหนละ นั่งอยู่ภาวนาให้สบาย ๆ ให้จิตมันเป็นสุขพอ จิตมีกำลังปั๊บ ขึ้นไปใหม่ มันอยู่ได้ ไอ้นี่เรื่องธรรมดา

    ผู้ถาม : แต่บางครั้งในขณะที่ครูเขาทดสอบ มีความรู้สึกว่าจะตายค่ะ

    หลวงพ่อ : จะตายหรือ ดี คือ มีความรู้สึกว่าจะตาย ถ้ามันจะตายเวลานี้เราขออยู่ที่นิพพาน

    ผู้ถาม : พอมีความรู้สึกว่าจะตายเลยไม่ยอมไป

    หลวงพ่อ : ไม่เป็นไรนะ นั่นเป็นอารมณ์อันหนึ่ง ถือว่าเป็นอารมณ์แทรกเข้ามา คือว่ากำลังใจเราจะมั่นคงไหม แต่การแทรกเข้ามารู้สึกว่าจะตาย จะดูว่าเรามั่นใจในพระนิพพานไหม หรือเราจะไปยุ่งกับทุกขเวทนา

    ทีนี้ถ้าจิตมันตัด ตายก็ตาย ถ้าตายเราไปนิพพาน แค่นี้เขาก็พอใจแล้ว คือว่าอาการที่เป็นอย่างนั้น ไม่ใช่อาการของร่างกาย เป็นอาการถูกทดสอบจากพระอริยะ ถ้าเวทนาแบบนี้เข้ามา กำลังใจเราเป็นอย่างไร

    ถ้ากำลังใจเราตัดสินใจว่า ถ้าเราตายเวลานี้ เราไปนิพพานช่วงนี้ และตอนนั้นเราดีดตัวถึงพระนิพพานได้ ลงมาเราก็ไม่เป็นไร ถืออารมณ์อย่างเดียว คือว่า เราห่วงตัว หรือห่วงนิพพาน เขาต้องการเท่านี้แหละ

    การเจริญพระกรรมฐาน มักจะมีเทวดา ครูบาอาจารย์ และพระอริยะ มาทดลองเสมอ เพราะฉะนั้นอย่างได้กลัว ท่านต้องการให้เราได้ดี

    ผู้ถาม : หลวงพ่อคะ ตอนที่ฝึกมโนมยิทธินะคะ เมื่อขึ้นไปบนสวรรค์แล้ว เห็นใส่เสื้อผ้าเป็นธรรมดาค่ะ อันนี้เป็นภาพจริงหรือเปล่าคะ?

    หลวงพ่อ : ภาพน่ะเป็นภาพจริง แต่ไม่ตรงความจริง

    ผู้ถาม : แล้วยังเห็นคนที่เขาอยู่บนสวรรค์ เขาก็แต่งตัวไม่เหมือนชาวสวรรค์ เราเป็นมนุษย์ยังแต่งตัวสวยกว่าตั้งเยอะ

    หลวงพ่อ : ที่เราเห็นเขาอย่างนั้นน่ะ เขาทำภาพเดิมให้ดู คือว่าเขาเกรงว่าเราจะจำเขาไม่ได้ อันดับแรกเขา ต้องแสดงแบบนั้นก่อน ถ้าเราเห็นแบบนั้น เราควรจะถามเขาว่า เวลานี้ภาพความเป็นจริงของท่านมีรูปร่างเป็นอย่างไร ขอให้แสดงความเป็นจริง

    ผู้ถาม : อยากถามเขาเหมือนกันค่ะ แต่ดูหน้าตาเขาแล้ว ไม่อยากจะพูดกับเขาเลย ตอนนี้พยายามฝึกให้ได้ฌาน ๔ ก่อนเผื่อจะได้ถอดจิตไปถึงอินเดียบ้าง

    หลวงพ่อ : ฌาน ๔ เป็นอย่างไร?

    ผู้ถาม : ไม่ทราบซิคะ

    หลวงพ่อ : นี่กินขนมอยู่แล้วยังนึกว่ายังไม่ได้กิน

    ♢♢♢ ไอ้การไปสวรรค์ได้ไปพรหมได้ นี่มันเป็นกำลังของฌาน ๔ ถ้ากำลังไม่ถึงฌาน ๔ มันจะไปถึงจุฬามณีไม่ได้ ♢♢♢

    ¤¤¤¤¤ จำให้ดีว่า ขณะที่เราเห็นภาพครั้งแรกที่ครูเขาฝึก อันนี้เป็นทิพจักขุญาณ ตอนนี้เป็นอุปจารสมาธิ ถ้าเห็นภาพแล้วภาพเริ่มแจ่มใส ตอนนี้เป็นฌาน แต่ถ้าไม่ถึงฌาน ๔ จะเคลื่อนจิตไม่ได้ ถ้าจิตเคลื่อนไปถึงพระจุฬามณีได้ จงทราบว่าระหว่างนั่นเป็น ฌาน ๔ หมด เป็นฌาน ๔ สำหรับใช้งาน ¤¤¤¤¤

    ผู้ถาม : เป็นยังไงคะฌาน ๔ ใช้งาน?

    หลวงพ่อ : ฌานมันมี ๒ ลักษณะ ที่เขานั่งเข้าฌาน นั่งเฉย ๆ เป็นการฝึกให้ฌานมันเกิดขึ้น แล้วก็ทรงฌาน

    ทีนี้ฌาน ๔ สำหรับใช้งาน ก็คือ จิตเคลื่อนไปสู่ภพต่าง ๆ หรือไปที่ต่าง ๆ อย่างเรานั่งอยู่ตรงนี้ คนที่นั่งอยู่ข้างหลังคิดอะไรอยู่ เราอยากรู้ เราก็รู้ หรือเขาทำอะไร เราอยากรู้ เราก็รู้ได้ แล้วเป็นฌาน ๔ ประกอบไปด้วยอภิญญา

    ถ้าฌาน ๔ เฉย ๆ มันก็ไม่รู้เหมือนกัน ถ้าไม่เคยได้อภิญญา

    ความจริง ถ้าฝึกมโนมยิทธิ แบบเต็มอัตรา ที่ฝึกกันนี่ ใช้กำลังเพียงครึ่งหนึ่ง ถ้าแบบเต็มอัตรา มีสภาพเหมือนฝัน คือ ไปได้แบบตัวเราไปเที่ยวธรรมดา รู้สึกได้เต็มที่ ก็บังคับให้กำลังภาพมันหยาบหน่อย

    ที่เราฝึกนี่ใช้กำลังเพียงครึ่งเดียว คือ กำลังที่เราใช้แค่วิชชาสาม เนื้อแท้จริง ๆ ของมโนมยิทธิ ต้องเป็นกำลังของอภิญญา แต่ว่าถ้าจะหันเข้าไปฝึกอภิญญา มันเป็นของไม่ยาก อภิญญาต้องตั้งต้นด้วย กสิณ ๑๐ มี เตโชกสิณ อาโปกสิณ เป็นต้น

    แต่ว่าได้มโนมยิทธิแบบนี้แล้ว ก็ใช้จับภาพกสิณได้ทันที เพราะว่าตัวที่ได้มโนมยิทธิ ถ้าเราไปเริ่มต้นกสิณจริง ๆ เราก็ถอยหลังเข้าคลอง คือจับผลของกสิณเลย กสิณถ้ามันได้ผลจริง ๆ มันมีสีเหมือนกันหมด มีสีใสเป็นประกายแพรวเหมือนกันหมด เดิมจะเป็นสีอะไรก็ช่าง

    อย่าง โลหิตกสิณ (กสิณสีแดง) จับภาพทีแรกมันเป็นสีแดง เขาต้องภาวนา “โลหิตกสิณัง” แต่ว่าถ้าทำไป ๆ สีแดงมันจะกลายจนกระทั่งขาว พอขาวแล้วก็เป็นประกายแพรวเต็มที่ ถ้าจิตมีกำลังถึงฌาน ๔ กสิณจะเป็นประกายแพรว

    ฉะนั้น กสิณทุกกองจะมีภาพเหมือนกัน เมื่อถึงฌาน ๔ เราจับกสิณก็เป็นประกายให้หมด ใช้กำลังมโนมยิทธิที่เราได้ จับปลายของกสิณเลย แล้วมันจะคล่องตัว ปลุ๊บ ๆ จับได้หมด จับได้ก็ย้อนไปย้อนมาจนชิน จนกระทั่งอารมณ์เราจะใช้เวลาไหนก็ได้ กำลังปวดท้องขี้เต็มที่จับภาพกสิณก็ได้ ต้องได้จริง ๆ นะ ไม่ใช่ล้อเล่น ต้องได้จริง ๆ จึงจะฝึกอภิญญาได้

    ผู้ถาม : ถ้าฝึกอภิญญาได้ก็แสดงฤทธิ์ได้ใช่ไหมคะ?

    หลวงพ่อ : แสดงฤทธิ์ได้ แสดงไปเดี๋ยวก็หลงตัวเอง ความสำคัญมีอยู่ว่า ทำอย่างไรจึงจะเข้าใจว่า สวรรค์มีจริง พรหมโลกมีจริง นิพพานมีจริง พวกเปรต อสุรกายมีจริง ความสำคัญมันมีอยู่แค่นี้เอง

    ¤¤¤¤¤ วิชานี้ที่เรามีอยู่แล้ว ทำเสียให้เต็มที่ ทำให้พอใจ เพราะว่าถ้าเราเป็น มโนมยิทธิเต็มที่ เต็มกำลัง เราก็รู้อะไรทั้งหมด เวลานี้เราก็รู้หมดอยู่แล้ว กำลังอ่อนหน่อย ก็ไม่แปลก รู้ได้เหมือนกัน เราก็ใช้กำลังส่วนนี้ รู้จักพระนิพพาน จิตก็จับพระนิพพานเป็นอารมณ์ มันก็แค่นื้ ที่ทำทั้งหมดก็เพื่อนิพพานอย่างเดียว ไม่ใช่ทำเพื่ออวดชาวบ้าน ¤¤¤¤¤

    ผู้ถาม : ถ้าหากเราฝึกมโนมยิทธิได้แล้ว ต้องการดูกระแสจิตของเราเอง จะได้ไหมคะ?

    หลวงพ่อ : ได้….การดูใจเขาดูแบบนี้ คือ ดูแสงสว่างของใจที่มันออกมา กระแสจิตของนักปฏิบัติเป็นสีเนื้อหรือสีเคลือบแก้ว

    ถ้ายังเป็นสีเนื้ออยู่ ก็แสดงว่า บุคคลนั้นเป็นปุถุชนเต็มอัตรา ถ้าเป็นแก้วเคลือบหนาขึ้นไป ทีละหน่อย ๆ จนกระทั่งเป็นแก้วใสสะอาด อย่างนี้ใช้ได้ในด้านสมถภาวนา

    ต่อไปอีกขั้นหนึ่ง ถ้าเป็นประกายแพรวพราว อันนี้เขาถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ถ้าจะดีจริง ๆ มันเป็นแสงละเอียด เหมือนประกายแว้บ ๆ เหมือนกระจกน่ะดี แต่ยังดีไม่เต็มที่

    ถ้าจะดูว่าอารมณ์จิตละเอียดไหม ถ้าวิปัสสนาญาณมาก จิตจะเป็นประกายมาก ถ้าประกายน้อย จิตมีวิปัสสนาญาณน้อย

    ทีนี้กระแสจิตที่ออกมาน่ะ ออกเรียบร้อยดีไหม … หรือว่าลุ่มๆดอนๆ ถ้ากระแสจิตเรียบร้อยดี อย่างนี้มีหวัง ไม่มีทางพลาดหวังพระนิพพาน ท่านบอกไว้เลยนะ

    การเห็นกระแสจิต เรียกว่า เจโตปริยญาณ เป็นญาณหนึ่งในญาณ ๘ ถ้าฝึกมโนมยิทธิได้ ฝึกญาณ ๘ ได้ง่ายมาก”

    ผู้ถาม : หลวงพ่อคะ ครั้งแรกที่ฝึกมโนมยิทธิ เวลาที่ขึ้นไปพระนิพพานแล้ว ครูก็จะปล่อยให้นั่งชมบารมีของพระพุทธองค์ พอกลับไปบ้าน ก็นึกถึงภาพนี้อยู่เสมอ บางครั้งจะเห็นว่า ที่ขึ้นไปอีกคน ไม่ใช่ภาพที่เห็นค่ะ?

    หลวงพ่อ : ตัวเรามีคนเดียว

    ผู้ถาม : แต่ทำไมถึงเห็น ๒ คนเล่าคะ?

    หลวงพ่อ : เห็นได้ เพราะสภาพความเป็นทิพย์ เห็นกี่แสนคนก็ได้ รวมได้เป็นคนเดียวเสีย เมื่อไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ถ้าใช้มันจะใช้กี่แสนคนก็ได้ ทำงานเหมือนกันหมด ทำงานคนละอย่าง คนหมดโลกนี่ต่างคนต่างพูดกันคนละเรื่อง เขายังทำกันได้ เพราะสภาพความเป็นทิพย์ ไม่งั้นเขาจะเรียกความเป็นทิพย์ทำไม?

    ผู้ถาม : คือสงสัยค่ะ ปกติเห็นแต่ตัวเราคนเดียว

    หลวงพ่อ : นี่เขาทำให้ดูอย่างนั้นแหละ อะไรบ้างที่เราผูกพัน เขาต้องทำสภาวะอย่างนั้นให้ดู ถ้าเราเห็นอย่างนั้น จิตมันก็ผูกพันอยู่กับสิ่งนั้น ถ้าตายปุ๊บมันก็ไปอยู่ที่นั่น ท่านหาทางให้จิตไปอยู่ที่นั่น

    ผู้ถาม : บางที ขออาราธนาบารมีท่านให้พาไปที่อื่น ท่านก็เกาะหัวจุกไปเลย บางทีก็เกาะพระบาท บางทีก็เกาะบั้นเอว

    หลวงพ่อ : จะถามอะไรก็ตาม ถ้าทำให้เราดึงดูดใจ ท่านก็ทำภาพนั้น ท่านใจดีจะตาย โดยมากท่านต้องการให้คนของท่าน อย่างน้อยต้องขึ้นดาวดึงส์ให้หมด (คำว่า “คนของท่าน” หมายถึง ลูกก็ดี หลานก็ดี บริวารก็ดี) เวลานี้คนของฉันไม่มี เพราะว่าตัดสินใจแล้ว เพราะถ้าตัดไปกันหมดแล้ว แสดงว่าไม่ค้าง ถ้ายังค้างอยู่ ยังไปไม่ได้ ก็ไปสมัยพระศรีอาริย์

    พวกที่ได้มโนมยิทธิแล้วนี่ ถ้าไม่เป็นครูสอนเขา ของเรามันจางง่าย พยายามสอนเขา ถ้าเราเริ่มสอนเขาจะได้ระมัดระวังตัวเอง คือเราจะได้ฝึกฝนตัวเอง

    การสอนเขามันมีประโยชน์มาก มันได้ ๒ อย่าง

    ประการที่ ๑ การทรงตัว การคล่องตัว แจ่มใส มันจะเกิดขึ้น
    ประการที่ ๒ ได้ธรรมทาน เป็นการเร่งรัดบารมีเดิม ให้มันแจ่มใสเร็วขึ้น เพราะธรรมทานมีอานิสงส์สูงมาก คือว่าผลที่เราจะพึงได้ แทนที่จะ ๑๐ปี อาจจะเหลือ ๓ ปี อานิสงส์สูงมาก

    สอนเขาใหม่ ๆ มันอาจจะงงก็ได้ ถ้าตามทันหรือไม่ทันไม่สำคัญ ให้มีความเข้าใจเรื่องตั้งอารมณ์เอาไว้ เพราะเราผ่านมาเรารู้ใช่ไหม… ถ้าเราไปถึงนั่นแล้ว เผอิญเราตามไม่ทัน ก็กวดไปทีหลังได้ ถามความรู้สึก ถ้าเขาไม่รู้สึกก็แก้อารมณ์ที่ขัดข้องให้

    ถ้าเป็นครูเขา สมเด็จฯ ท่านก็จะช่วยมากขึ้น คือว่าเป็นครูสอนเขา ให้ขออาราธนาบารมีพระพุทธเจ้าโดยตรง บอกว่า การสอนก็ดี การติดตามก็ดี ขอเป็นภาระของพระองค์

    บางทีเราจะพูดสิ่งที่เราไม่เคยคิดไว้เลย ถ้าพูดไปนั่น มันเหมาะสมสำหรับบุคคลผู้นั้น ก็ต้องใช้แบบนั้นนะ พอเริ่มก็ขออาราธนาท่าน ขอเป็นภาระของพระองค์ จะเป็นผลดีแก่ผู้ที่รับฝึกต่อไป

    สำหรับการฝึกมโนมยิทธิแบบเต็มอัตรา จะลองซ้อม ๆ ที่บ้านก็ได้ แต่เครื่องบูชาครูนี่ขาดไม่ได้นะ มีดอกไม้ ๓ สี ธูป ๓ ดอก เทียนหนัก ๑ บาท ๑ เล่ม สตางค์ ๑ สลึง ต้องตั้งไว้ทุกครั้งที่ทำการภาวนา หายใจเข้า นะมะ หายใจออก พะธะ เฉย ๆ โดยไม่ต้องการรู้การเห็นอะไร ทำเป็นสมาธิ ถ้ามันจะเต้นจะรำก็ปล่อยมันเลย การเต้นนี่มันจะเริ่มต้นตั้งแต่อุปจารสมาธิ แต่บางคนก็ไม่เต้นเลย พอถึงฌาน ๔ มันก็เลิกเต้น เพราะกำลังของจิตทรงตัว

    จะสังเกตได้ ถ้ามันจะมีความสว่าง คือ เห็นจุดข้างหน้าขาวโพลน เป็นทางไปไกล เป็นทางขาวใหญ่ ถ้าเห็นข้างหน้า ก็ลองใช้กำลังใจพุ่งจิตไปตามสายของทางนั้น คิดว่าเราไปละ พอนึกว่าไปล่ะ ถ้ากำลังจิตเราพอมันก็ไป

    พอมันออกไปแล้ว มันไม่ใช่ออกไปแบบความฝัน มันจะออกไปแบบชนิดมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ เหมือนกับออกจากตุ่มหรือกระบอก หรือเหมือนกับถอดไส้หญ้าปล้องออกจากหญ้าปล้อง ออกไปแล้ว ไปได้ชัด สว่างเหมือนกลางวัน มันจะเหลียวหน้าเหลียวหลังมาดูได้ มาดูไอ้โลกต่าง ๆ จะเห็นตัวเรานี่นั่งโด่อยู่ ดูแล้วก็เป็นคนสองคน

    ต่อไปถ้าฉันสร้างที่ใหม่เสร็จ จะต้องพักการเดินทางออกต่างจังหวัด จะลองเอาคนที่ได้แล้วนี่แหละ มาฝึกแบบเต็มอัตรา คนที่ได้แล้วนี่ไม่ยาก ได้ใหม่หรือไม่ได้ไม่สำคัญ แต่ถ้าไม่เต็มแบบก็ยังดี ได้ผลเท่ากันนั่นแหละ แต่แบบนี้กำลังสูงหน่อย”

    (หลวงพ่อเริ่มฝึกให้แล้ว เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๒๘ ที่ศาลาสองไร่เป็นเวลา ๑ เดือน)

    หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒ หน้า ๒๒-๓๗
    พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง




    --------------------------------------------


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...