ยกวิทยาลัยอาชีวศึกษาศรีสะเกษผลิตนศ.ตอบโจทย์4.0

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 19 สิงหาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    วันเสาร์ ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2560, 19.29 น.

    วิทยาลัยอาชีวศึกษาศรีสะเกษสืบสานประเพณีชาวพุทธ ผลิต นศ. ตอบโจทย์ ๔.๐


    วิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีศรีสะเกษจัดทำบุญมหาสังฆทานสืบสานวัฒนธรรมอันดี ประเพณีชาวพุทธ ยกเป็นต้นแบบวิทยาลัยอาชีวศึกษาวิถีพุทธสู่วิถีชีวิต ผลิตนักศึกษามีคุณภาพตอบโจทย์สังคมภายใต้ยุค 4.0

    วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2560 มีงานบุญมหาสังฆทานอันยิ่งใหญ่ ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาวิถีพุทธชั้นนำระดับประเทศ คือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีศรีสะเกษ ซึ่งนำโดยคุณแม่ชีระเบียบ ถิรญาณี สตรีวิถีพุทธชั้นนำ ที่นำกระบวนการวิถีพุทธมาเป็นวิถีปฏิบัติ พัฒนาสู่วิถีชีวิต นิมนต์พระสงฆ์หมู่ใหญ่มารับมหาสังฆทาน ทำให้เกิดความสุข อิ่มบุญ อิ่มธรรม อิ่มใจ เพราะได้เห็นสมณะหมู่ใหญ่โดยมีพระเดชพระคุณพระราชธรรมสารสุธี ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ และรองเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์

    พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท พระวิทยากรกระบวนการธรรมะโอดี เปิดเผยว่า เป็นครั้งแรกที่มีโอกาสมาร่วมงานมหาสังฆทานอันยิ่งใหญ่ครั้งนี้ ได้เห็นถึงพลังศรัทธาของคุณแม่ชีระเบียบ ถิรญาณี และคณะศรัทธากัลยาณมิตรทั่วทุกสารทิศ เครื่องดื่มอาหารมีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อถวายพระสงฆ์และเป็นโรงทานสำหรับผู้มาร่วมงาน

    e0b8b2e0b8a5e0b8b1e0b8a2e0b8ade0b8b2e0b88ae0b8b5e0b8a7e0b8a8e0b8b6e0b881e0b8a9e0b8b2e0b8a8e0b8a3.jpg

    “วิทยาลัยแห่งนี้จึงมีความเอื้อเกื้อกูลต่อการเรียนรู้วิชาชีวิตเป็นอย่างดียิ่ง นำไปสู่ความเจริญของชีวิตทั้งวิชาชีพและวิชาชีวิต นักศึกษาที่จบจากวิทยาลัยจึงเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในด้านของ “กาย พฤติกรรม จิตใจ ปัญญา” ทำให้องค์กรหรือบริษัทต่างๆ มีความต้องการนักศึกษาที่จบจากที่นี่เพราะการผลิตมีคุณภาพ คุณธรรม” พระอาจารย์ปราโมทย์ กล่าวและว่า

    ฉะนั้นงานบุญมหาสังฆทานในครั้งนี้เห็นมิติการสร้างมนุษยสัมพันธ์ตามสูตรของพระพุทธเจ้า คือ ” เอื้ออารี วจีไพเราะ สงเคราะห์มวลชน วางตนเสมอสมาน “โดยเฉพาะคำว่า เอื้ออารี เป็นการฝึกการให้ เพราะผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ให้อามิสทาน และธรรมทาน ท่านพุทธทาสกล่าวว่า “หากเรามีขนมอยู่ในมือชิ้นหนึ่ง เรากินคนเดียวก็อิ่มแค่มื้อเดียว แต่หากแบ่งให้เพื่อน ขนมชิ้นนั้นจะอิ่มในใจเพื่อนไปตลอดกาล ” ทำให้เห็นมิติการพัฒนานักศึกษาอาชีวศึกษาผ่านคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อเป็นวิถีชีวิต สามารถนำไปปฏิบัติให้ยั่งยืนต่อไป

    พร้อมกันนี้ยังได้เห็นมิติการศึกษาจากประสบการณ์ตรงของนักศึกษา ในทางจิตวิทยาการศึกษาเรียกว่า “เป็นการศึกษาแบบให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง หรือ Learning by Doing ” เป็นการเรียนวิชาชีวิต วิชาพระพุทธศาสนาผ่านประสบการณ์ตรง เป็นกิจกรรมการเรียนรู้วิถีชีวิตชาวพุทธ เพราะ ” กิจกรรมใดก็ตามที่เกิดจากกิเลส กิจกรรมนั้นมักจะมีทุกข์เป็นผล ส่วนกิจกรรมใดก็ตามที่เกิดจากปัญญา กิจกรรมนั้นมักจะมีสุขเป็นผล ” กระบวนการพัฒนาคนต้องจึงเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง โดยเฉพาะการเป็นคนดี ต้องผ่านการฝึกฝนพัฒนา การมีต้นแบบอย่างที่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดี พ่อแม่จึงส่งลูกมาศึกษาที่นี่เพราะหวังให้ลูกเป็นคนดี ขัดเกลาบ่มเพาะพัฒนาตนเอง โดยมีพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือการพัฒนาชีวิต ถือว่าเป็นเหตุผลสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกมาศึกษา ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีศรีสะเกษ ทำให้นึกถึงในหนังสือหิโตปเทศ โบราณาจารย์ท่านกล่าวว่า ” มีลูกดีแต่ตายแล้ว มีลูกชั่วแต่ยังมีชีวิตอยู่ สู้มีลูกดีแต่ตายแล้วเสียยังดีกว่า ” แสดงให้เห็นว่าความหวังของพ่อแม่ต้องการลูกเป็นคนดี

    b8b2e0b8a5e0b8b1e0b8a2e0b8ade0b8b2e0b88ae0b8b5e0b8a7e0b8a8e0b8b6e0b881e0b8a9e0b8b2e0b8a8e0b8a3-1.jpg

    คุณภาพของนักศึกษาจึงสามารถตอบโจทย์สังคมภายใต้ยุค 4.0 เพราะการผลิตเน้น 2 ประการ คือ 1) Academic competence คือ เป็นคนเก่งเพื่อพัฒนาวิชาชีพ 2) Character development คือ เป็นคนดี เพื่อพัฒนาวิชาชีวิต ปราชญ์จึงกล่าวว่า นักศึกษาที่มีคุณภาพจะต้อง ” มีความรู้ประดุจนักปราชญ์ มีจรรยามารยาทประดุจผู้ทรงศีล ” ถือว่าเป็นกระบวนการพัฒนาเพื่อให้นักศึกษาเป็นคนดี และคนเก่ง เป็นการตอบโจทย์สังคม แต่ต้องผ่านกระบวนการพัฒนาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณี โดยมีท่านแม่ชีระเบียบ ถิรญาณี เป็นประธานในการพัฒนาวิถีพุทธ ทำให้พระพุทธศาสนามีชีวิต

    “ฉะนั้น เมื่อสถานศึกษามีการนำวิถีพุทธมาเป็นวิถีปฏิบัติพัฒนาสู่วิถีชีวิต จะทำให้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพ เป็นคนดีคนเก่งของพ่อแม่และสังคม ไปทำงานที่ใดก็มีคุณภาพ เพราะได้พัฒนาตนจนเป็นคนมีคุณภาพ เรียกว่า “อัตตหิตสมบัติ” คือ ฝึกตนให้เป็นคนคุณภาพ ด้วยการเก่งคน เก่งงาน เก่งบริการสังคม และพัฒนาไปสู่ “ปรัตถปฏิบัติ” คือ ปฏิบัติตนให้คนเขาได้พึ่ง สรุปสั้นๆ ว่า ” ตนเป็นที่พึ่งของตน จากนั้นจึงให้คนเขาได้พึ่ง ” ความอ่อนน้อมถ่อมตนจึงเป็นเครื่องมือชี้วัดว่าได้นำวิถีพุทธไปปฏิบัติในวิถีชีวิตอย่างดีเยี่ยม” พระวิทยากรกระบวนการธรรมะโอดี กล่าว



    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/education/88536
     

แชร์หน้านี้

Loading...