รบกวนปรึกษาเรื่องสมาธิ

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย someone_556, 26 ธันวาคม 2014.

  1. someone_556

    someone_556 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +134
    1.ในการประคับประคองอุคหนิมิตร เมื่อเป็นดวงขึ้นมานั้นผมพยายามประคับประคองและเพ่งลงไปในดวงของนิมิตที่เกิดขึ้น แต่สักพักนิมิตหายไปแต่กลับมีแต่ความสว่างและพบว่าตัวเองนั้นอารมณ์ตอนนั้นเป็นอารมณ์ที่ดิ่งและแน่วแน่มากจนเกิดอารมณ์สุขอย่างบอกไม่ถูกคือนั่งยิ้มคนเดียว หากต้องการประคับประคองนิมิตนั้นอารมณ์ที่เกิดไปไกลเลยเกินกว่าอุปจารสมาธิจึงทำให้นิมิตหายไปใช่หรือไม่ครับ และถ้าต้องการประคับประคองนิมิตต้องวางอารมณ์อย่างไร แค่ไหนครับ
    2.เมื่อเริ่มนั่งสมาธิ อาจจะมีบางช่วงที่จิตคิดออกไปเรื่องอื่นแต่พอนึกได้ก็ดึงจิตกลับ จังหวะที่จิตกลับมานั้นพอดึงกลับมาปรากฎว่าตัวถึงกับเด้งซ้ายขวา
    มันกลับมาแรงขนาดนั้นเลยหรือครับ
     
  2. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    1.เรื่องนิมิตรผมแนะนำให้ละ มันมาก็รู้ว่ามา มันมีก็รู้ว่ามี เมื่อมันมีก็ลองย่อและขยายดู การย่อให้ดูจุดกลาง ขยายให้ดูที่ขอบรอบนอก หากมันไม่มีก็ไม่มีครับอย่าไปติดมัน
    2.แสดงว่าสมาธิค่อนข้างดี เมื่อสมาธิดี สติก็ดีด้วยตรงนี้เนื่องกัน แรงสติย้อนกลับนี้ยิ่งดีก็ยิ่งแรง ที่ว่าร่างกายเด้งไปมานั้นเป็นแรงของสติครับ ไม่มีอะไรเสียครับ
     
  3. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ก็พยายามทำแบบนี้ให้เปนประจำบ่อยๆ อะคับ ถ้าจะประคับประคองก้ควรอย่ในอารม์ที่ว่างเปล่า และสบายๆ นิ่ง ไม่ตื่นเต้น ดีใจหรือ สงสัยอะไร ว่างจากอารมณ์และนิวรณ์ทั้งหลายนั่นแหละคับ (รวมไปถึง ไม่ตึง ไม่เกร็ง ไม่เครียดด้วยนะ จะดีมากๆ)

    อีกอย่าง ควรปฏบัติให้สม่ำเสมอ หรือมากกว่านี้ ยิ่งดี สมาธิของเราจะได้มั่นคง
    ส่วนจะประคองแค่ไหน ก้ให้ดูว่าประมาณไหน ที่เหมาะสมกับตัวเรา เพราะถ้าจิตมันสบาย มัน ว่าง เบา ว่างจากความร้สึกนึกคิดทั้งหลาย ก้ประคองได้นาน เอาความเหมาะสมของเราเปนที่ตั้ง พอเจอจุดที่ว่านี้เข้า ก้เอาจุดนี้แหละเปนเกณฑ์
     
  4. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014




    ญานที่ใช้ประครองนิมิต ก็คือ
    ญานชั้นต้น ญานต่ำๆ


    ส่วนญานที่ดิ่ง และนิ่งมาก
    เป็นญานชั้นสูง หรือ ญานที่สี่
    มีสภาวะนิ่งๆ แน่วแน่
    และเมื่อออกจากญานนั้น
    ก็จะสัมผัสได้ ถึงความสุข
    ในการเข้าญานสี่ได้


    หากอยากทรงญานสี่ นอกสมาธิ
    ก็ให้จำสภาวะสุขนั้น แล้วยิ้มให้รู้สึกว่าสุข
    ทำอย่างนี้เรื่อยๆ จะเป็นคนไม่ค่อยหิว
    เพราะกำลังเสพความสุขของญานอยู่

    เมื่อเข้าไปในญานที่สี่
    นิิมิตต่างๆ รวมถึงการรับรู้
    จะหายไปครับ


    แต่ถ้าหากว่า อยากประครองนิมิตไว้
    สำหรับผู้ฝึกใหม่ ง่ายนิดเดียวครับ
    ก็คือ เพ่งที่กสินสีต่างๆ จะง่ายที่สุด
    เช่น เพ่งสีแดง จนเกิดนิมิตสีแดงขึ้น ต่อจากนี้
    เมื่อมีสีอะไรเกิดขึ้น ก็ให้บริกรรมตามสีนั้นไป
    คือเมื่อเกิด สีแดง ขึ้น บริกรรมว่า สีแดงๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
    ต่อมาเกิด สีเขียว ขึ้น บริกรรมว่า สีเขียวๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
    ต่อมาเกิด แสงสว่าง บริกรรมว่า เเสงสว่างๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

    อย่างนี้เรื่อยไป โดยไม่ต้องไปคิดก่อนว่า
    จะเกิดสีอะไรก่อน ไม่ว่าจะเกิดสีอะไร
    เราก็บริกรรมตามได้ทันที
    เรียกว่า การตามบริกรรมกสิน
    คือ กสินอะไร เราก็เรียกชื่อไว้
    ไม่ต้องไปเน้นเพ่งก่อน
    อย่างนี้ไม่หลุดจากนิมิตแน่นอน

    ต่อไป เมื่อชำนาญดีแล้ว
    ค่อยเพ่งบังคับนิมิต ก็ได้
     
  5. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014






    หลักการทำสมาธิของผม
    เป็นอย่างนี้ ครับ
    ญานที่ 1 วิตก คือ การท่องคำบริกรรม เช่น พุทโธ อาโป วาโย
    ญานที่ 2 วิจาร คือ ละคำบริกรรม เลิกท่อง
    ญานที่ 3 ปิติ คือ อาการต่างๆ เช่น น้ำตาใหล กลืนนำ้ลาย สั่น
    ญานที่ 4 สุข คือ ความว่าง ความสุข

    ช่วงที่ดึงกลับมา แล้วเกิดอาการเด้งซ่ายเด้งขวา
    มันคือ อาการที่จะเข้าจาก ญานที่2 ไป ญานที่3
    จะเข้าจาก วิจาร ไป ปิติ
    เพราะปิติ คือ อาการแปลกๆต่างๆ ที่เกิดขึ้นกันเรา
    ซึ่งปิติจะเกิดได้ กับ ผู้ที่ฝึกใหม่เท่านั้น
    พอชำนาญแล้ว เดี๋ยวปิติก็จะหายไปเอง
     
  6. lerkiat

    lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    ญาณ หรือ ฌานครับ

    อ่านที่ตอบกระทู้ด้านบน ก็ทำให้งง ว่า ท่านเข้าใจถูกหรือเข้าใจผิด หรือ "พิมพ์ผิด" กันแน่

    เพราะคำว่า "ฌาน" มันเป็นอาการนิ่ง ลึก เข้าภวังค์ ในสมาธิ เกิดจากการำสมาธิ สมถะกรรมฐาน
    ส่วนคำว่า "ญาณ" มันเป็นอาการหยั่งรู้ รู้แจ้ง เห็นจริงในระดับต่างๆ ซึ่งเกิดจากการทำวิปัสนาจนถึงขั้นของมันในแต่ละระดับ

    เกรงว่า สมาชิกที่เข้ามาอ่านใหม่ จะสับสน งุ่นงงกันไปนะครับ
    แต่ขออนุโมทนาในท่านที่สนใจใฝ่ธรรมะนะครับ มิเจตนาอะไรที่เป็น"อกุศล"
    สิ่งที่เป็นกุศล มีอยู่ในข้อสุดท้ายของ กุศลกรรมบถ 10 ทำใจให้เป็นสัมมาทิฏฐิ เห็นถูก ย่อมมีชัยแน่ๆ ครับ
     
  7. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014






    ไม่ต้องงงหรอกครับ
    เมื่อผ่าน บัญญัติ ได้
    ธรรมทั้งปวง ก็เป็นแค่ อนัตตา


    หากเน้นที่ตัวอักษรมากไป
    ก็คงทำไม่ถูกสักที
    เน้นปฏิบัติไปเลยครับ
    เมื่อถึงก็รู้เอง
    ส่วนเรื่องอักษร มันเป็นแค่สิ่งเทียบเคียง
    ไม่มีใครถูกเป๊ะๆ หรือ ผิดทั้งหมด
     
  8. lerkiat

    lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102

    ที่ท่านพูดมาว่า " เมื่อผ่าน บัญญัติ ได้
    ธรรมทั้งปวง ก็เป็นแค่ อนัตตา"
    เป็นความจริงอย่างยิ่ง
    คำว่า "บัญญัติ" นั้น แม้ว่าโดยเนื้อแท้นั้นไม่สำคัญต่อการบรรลุ ต่อการหลุดพ้น เพราะมันไม่มีความหมายในตัว

    แต่บัญญัตินั้น มีประโยชน์ในแง่การสื่อสารสาระแห่งธรรมจากผู้รู้ธรรม ไปสู่ผู้ไม่รู้ธรรม มันมีประโยชน์ตรงนี้ครับ ในบอร์ดนี้ผมคิดว่ามีจุดประสงค์หลักๆ เพื่อการเผยแพร่ความเข้าใจที่ถูกต้องแห่งธรรม เป็นสถานที่ที่ผู้คนมาแลกเปลี่ยนความคิดเเห็นทางธรรม ทางการปฏิบัติ ฯลฯ หรือประสบการณ์ต่างๆที่ได้ปฏิบัติกัน ซึ่งถูกบ้าง ผิดบ้าง ก็ตามบุญบารมีที่แต่ละคนได้สะสมมา

    สำหรับคำว่า "บัญญัติธรรม" หรือ "สมมติบัญญัติ" นั้น ถ้าใครไม่เคยศึกษาพระอภิธรรมจริงๆ อาจจะแย่งไม่ออกด้วยซ้ำกว่า "สมมติบัญญัติ" นั้นมันมาคู่กับ "ปรมัตถธรรม"

    แต่การศึกษาธรรมะ เขาก็แบ่งออกเป็น "ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวช"
    ดังนั้น การปฏิบัติที่ถูกต้องหรือให้ก้าวหน้า "ปริยัติ" มีความจำเป็นเป็นอย่างมาก แต่ทั้ง 3 อย่างที่กล่าวมา ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามลำดับนั้น บางคนอาจจะปฏิบัติก่อนแล้วถึงเข้าใจปริยัติ บางคนอาจจะศึกษาปริยัติก่อนแล้วปฏิบัติ แต่การปฏิบัติที่ถูกต้อง ย่อมได้รับ "ปฏิเวช" ที่เหมือนกัน คือ หลุดพ้น หรือ สงัดจากกิเลสได้

    ดังนั้น การทำให้ปริยัติที่ถูกต้อง ก็เหมือนกับการทำให้เป็น "สัมมาทิฏฐิ" แตั้งแต่ต้นทาง การปฏิบัติที่ตามๆมา ก็จะถูกต้อง และก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องหลงทาง ไม่เสียเวลา

    การปฏฺิบัติสมาธิ เพื่อให้เกิดความสงบของจิต ทำให้จิตมีพลัง ก็ต้องผ่าน วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกกัตคตา เหล่านี้แค่เพียง กดหรือระงับกิเลสไว้ชั่วคราว ผลของการกดทับกิเลสไว้ชั่วคราวเหล่านี้ เรียกว่า "ฌาณ" มันเป็นการทำให้จิตเพ่งหรือจดจ่อไปที่อารมณ์เพียงอารมณ์เดียว ผลที่เกิดขึ้นคือความสงบ ยังไม่ใช่ "การหยั่งรู้เพื่อการหลุดพ้น"

    และถ้าเรานำความสงบ ความมีพลังของจิตที่เกิดจากการได้ฌานเหล่านี้ไปต่อ ไปพิจารณา "ธรรม" เช่น รูป นาม ขันธ์ อายตนะ ไตรลักษณ์ ฯลฯ จนเกิดความเห็นแจ้ง จึงจะเกิด "ญาณ" ในระดับต่างๆ

    ถ้าหากเราผู้สนใจในธรรม ยังมองสิ่งเล็กๆ เหล่านี้ไป มองข้ามไป โดยบอกว่า "บัญญัติ" นั้นไม่สำคัญ หรือ ก้าวพ้นไปให้ได้ แล้วเราจะสื่อสาร "ธรรมะ" แก่คนที่เข้ามาในชุมชนนี้ภายหลังให้ถูกต้องได้อย่างไร หากว่ามันใครสักคนที่เพิ่งเริ่มสนใจในธรรมเข้ามาอ่านครั้งแรก และจำหรือเชื่อสนิทใจไป ก็อาจจะก่อให้เกิดวิบากกรรมตามมาอีก

    ถ้าหากเราจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ไม่ถูกให้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง จะดีไหม
    แค่เราเปลี่ยนคำว่า "ญาณ" เป็น "ฌาณ" ให้ถูกต้องเสีย ก็จะเป็นการดีเป็นอย่างยิ่ง

    ไม่ว่าท่านจะปฏิบัติสมาธิให้ก้าวหน้าอย่างไร ก็คงได้เพียง "ความสงบ" ซึ่งมันก็มีระดับขั้นของมันไปตามนี้

    วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกกัตคตา
    อากาสนัญจายตนะ
    วิญญาณัญจายตนะ
    อากิญจัญญายตนะ
    เนวสัญญานาสัญญายตนะ

    ฌาน มันยังผลให้ได้ตามที่กล่าวมาเท่านั้น

    แต่ถ้าท่านศึกษา "ขันธ์5 ไตรลักษณ์ อายตนะ รุป นาม
    ฯลฯ เหล่านี้ ถ้าท่านปฏิบัติแบบไม่ลดละ หนักหน่วง ท่านก็ได้ "การหยั่งรู้" ขั้นต่าง ที่เรียกว่า "ได้ญาณ" ต่างๆ นั่นเอง

    เมื่อท่าน พิมพ์ผิด หรือเข้าใจผิด แล้วบอกว่า "อย่าไปสนใจมันเลย มันเป็นบัญญัติ" ขอให้ปฏิบัติให้ถูกดีกว่า ผมว่า "มันเหมือนพูดกล้อมๆแกล้ม แบบขอไปที"
    แค่เราแก้ไข คำเพียงคำเดียว มัันจะก่อประโยชน์ให้กับคนที่เข้ามาอ่านกระทู้ภายหลังได้ยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าท่านบอกว่า "อย่าไปสนใจบัญญัติเลย"

    ฉะนั้นต้องขอบอก สำหรับท่านที่กำลังศึกษาธรรมะใหม่ๆ ที่ยังไม่สามารถแยกแยtระหว่าง "บัญญัติ" กับ "ปรมัต" ได้ ก็ต้องอ่านให้ดีๆ ด้วย เดี๋ยวจะเข้าใจผิด หลงทางไปอีกนาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2015
  9. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
    ถ้าอย่างนั้น ที่ผมเห็นว่า
    ในพระไตรปิฏก ยังมีเรื่องที่ผิดอยู่
    ผมก็ควรจะไปแก้ที่พระไตรปิฏก ก่อน
    แล้วจึงค่อยปฏิบัติธรรม ใช่ไหมครับ
    หรือผมควรปฏิบัติธรรมเพื่อให้รู้เอง
    แล้วค่อยมาเทียบเคียงกับพระไตรปิฏก
     
  10. lerkiat

    lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    พระไตรปิฏกยังมีเรื่องที่ผิดอยู่..ท่านกำลังค้นพบสิ่งที่ยิ่งใหญ่

    เป็นเรื่องที่ดีมากครับ
    หากท่านได้ค้นพบว่า "ในพระไตรปิฏก ยังมีเรื่องที่ผิดอยู่ ผมก็ควรจะไปแก้ที่พระไตรปิฏกก่อน แล้วจึงค่อยปฏิบัติธรรม"
    ถ้าท่านค้นพบว่า พระไตรปิฏกมันมันเรื่องที่ผิด และท่านชี้ให้เห็นได้ว่ามันผิดตรงไหน ผิดเรื่องอะไร ฉบับไหนที่ผิด หน้าไหน บรรทัดไหนผิด ผิดอย่างไรและที่ถูกมันควรเป็นอย่างไร ฯลฯ" ถ้าท่านชี้ได้ และทำให้กระจ่างได้ มันจะเป็นประโยชน์ต่อวงการพุทธศาสนาเป็นอย่างมากเลยครับ

    พระไตรปิฏก มีมากว่า 2 พันกว่าปี คร่าวๆ ก็น่าจะเกือบ 2300 แน่ นับแต่มีการทำสังคยนาครั้งแรก และมีการทำการแก้ไขมาอีกหลายรอบ ให้มีความถูกต้องมากขึ้้น การแก้ไขต่างๆ ก็มิใช่ทำเพียงคนๆ คนเดียว เขาทำเป็นคณะ ทำโดยปราชญ์ โดยผู้รู้ โดยผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่ได้รับการยกย่องนับถือในแต่ละยุคแต่ละสมัย ที่สำคัญเป็น "ชำระคำสอนของพระพุทธองค์ให้บริสุทธิ์" ไม่มีการปลอมปนด้วยคำสอนที่ไม่ใช่ "ธรรมะของพระพุทธเจ้า"

    ความจริงพระไตรปิฏก ก็คือต้นธารของความรู้ทั้งหมดของพระพุทธศาสนาที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะพระพุทธเจ้าไม่มีแล้ว มีแต่ธรรมของท่่าน ท่านเคยรับสั่งว่า ให้ถือธรรมะของท่านแทนพระองค์ไว้ แต่ปัจจุบันผู้ปฏิบัติธรรมหลายคนกลับไปยืดถืออาจารย์มากกว่าธรรมะของพระองค์ มันก็เลยมีอาการหลงอาจารย์ให้เราเห็นกันบ่อยๆ

    ส่วนการปฏิบัติ โดยไม่ต้องไปแก้ไขพระไตรปิฏกก่อนตามที่ท่านว่า ก็ไม่ถึงขนาดนั้นหรอก พระพุทธเจ้าท่านปฏิบัติก็ไม่ได้อิงคัมภีร์ และท่านอิงอาจารย์ แต่ก็ไม่สำเร็จ จนกระทั่งมาปฏิบัติเองจนสำเร็จ ส่วนท่านเจ้าของกระทู้จะปฏิบัติก่อน แล้วมาเทียบเคียงพระไตรปิฏก ก็คงแล้วแต่วิธีการของท่าน แต่ท่านนำที่สิ่งที่ได้ปฏิบัติมาถ่ายทอดผิด ซึ่งมันอาจจะสร้างความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องสำหรับท่านอื่นๆ ที่จะเข้ามาอ่านภายหลัง ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ดีแน่ๆ ทั้งๆที่รู้ว่าผิด ไม่ว่าจะพิมพ์ผิด หรือเข้าใจผิด แล้วแก้ไขให้ถูกต้องเมื่อเทียบเคียงกับสิ่งที่ถูกในหนังสือ ในคัมภีร์ ในพระไตรปิฏก ที่ได้รับการยอมรับว่าถูกต้องแล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์

    ท่านจะปฏิบััติจนสำเร็จก่อน แล้วมาเทียบเคียงพระไตรปิฏกทีหลัง
    หรือ อ่านพระไตรปิฏกก่อน แล้วค่อยปฏิบัติทีหลัง
    ไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ ก็คงแล้วแต่ผู้ปฏฺิบัติ ถ้าใครสะดวกอย่างไร หรือได้ผล ก็แล้วแต่ละคนจะเลือกใช้เลือกปฏิบััติเอา

    บางท่าน อาจจะปฏิบัติไป อ่านไป ถามไป แต่ที่สำคัญไม่ว่าจะหาความรู้ ความกระจ่างด้วยวิธีการใดก็ตาม "อย่าลืมไตร่ตรองด้วยตนเอง จนเห็นว่าเป็น สัมมาทิฏฐิ "นั่นแหละดีล่ะ

    จริงๆ ผมไม่อยากจะต่อกระทู้นี่ให้ยาวเพื่อการถกเถียงกัันเพื่อให้รู้แพ้รู้ชนะ เพราะมันจะไม่เกิดประโยชน์อะไรต่อพื้นที่นี้มากนัก เพียงแต่ถ้าเราเห็นว่ามีสิ่งที่ผิด แก้ไขให้ถูก มันจะเป็นประโยชน์เท่านั้นเอง

    ส่วนที่ท่านบอกว่า ในพระไตรปิฏกยังมีสิ่งที่ผิดอยู่ ผมเสนอว่า ให้ท่านนำสิ่งที่ผิดเหล่านั้น มาบอก และแนะสิ่งที่ท่านเห็นว่าถูก แก้ไขไป เพื่อผู้รู้ผู้ปฏิบััติท่านอื่นจะได้มาช่วยกันว่า "แท้จริง มันผิดหรือถูกกันแน่" มันจะเป็นอานิสงต่อท่านและปุถุชนทั่วไปด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2015
  11. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,728
    ค่าพลัง:
    +3,243
    คือถ้าอยู่ในฌาน จริงๆ มีสมาบัติจริงๆ
    อารมณืเปลี่ยนจะชัดมาก

    การที่เราจงใจจะให้ภาพนิมิตของกสิน
    ให้ทรงตัวโดยที่ เปลี่ยนอารมณืฌาน เช่นจากขณิกสมาธิ เป็ฯอุปจาระสมาธิ
    จากอุปจาระสมาธิเป็ฯปฐมฌาน เปลี่ยนจากฌาน 1 เป็นสอง
    สองเป็ฯ 3 3เป็ฯสี่ ถอยขึ้นถอยลง
    คือเรื่องฝืนธรรมชาติ

    เพราะกลไกของความคิด จะมีการสิ้นสุดไป ของ ความคิดเดิม
    เช่นเราคิดถึงภาพกสิน แต่ปรกติไม่ต้องมีฌาน ไม่ต้องเปลี่ยนจาก ฌาน 1 2 3 4
    ไม่ถอยเข้าถอยออก
    ความคิดที่จะมีภาพ กสินก็เปลี่ยน มันหมดปัจจัยไปแล้วที่จะมีภาพกสินอยู่

    เช่นภาพกศินต้องประกอบด้วยอุปปาทานในวิญญาณขันธ์ อย่างน้อยอุปปาทานว่ามีสองวิญญาณขันธ์ เกิดดับพร้อมกัน
    โอากาสที่กุศล อื่นๆในการปฏิบัติกรรมฐาน ที่กำลังทำอยู่จะดลใจ
    ให้อุปปาทาน ที่จะมีกสิน มีภาพ มันดับไปแล้ว
     
  12. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,728
    ค่าพลัง:
    +3,243
    อยากได้อิทธิวิถีต้องมี
    ฉันทะ
    วิริยะ จิตตะ วิมังสา
    ก็ฉีนทะมันดับไปแล้วหนะ
    เพราะกุศลอื่นๆ ก่อนๆ หรือกำลังทำอยูี่มันดล
    ฉันทะดับไปแล้วไง
     
  13. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,728
    ค่าพลัง:
    +3,243
    แล้วถ้างี้ นั้นไปดับไปจะได้ฤทธิได้ไง

    ผมสังเกตุเห็นคนในบอร์ดพลังจิต
    จะบูชานิวรณ์ที่เรียกว่า ลังเลสงสัย บูชาแบบ ศักดิ์สิทธิมาก
    ศักดิ์สิทธิกว่า ธรรมารมณ์ใดๆ ในสามโลก
    จริงๆแล้วดี เพราะมันคือธรรมะวิจายะ
    มันน่าแปลกมากที่เค้าศรัทธาในนิวรณ์ มากกกกกก

    วิธีการพิสูจน์ วิธีการสังเคราะพ์เอาเหตุและผล มันแบบวิบัติ สุดๆ
    ให้กำหนดรู้ทุกข์ข้างใน นิวรณ์ทุกตัวแทน

    แล้วเดียวพระสัจจาอนุโลม ท่านจะมาสอนวิธีจะมีฤทธิให้ใหม่
    ให้บูชาพระสัจจาอนุโลมแแทน
    ให้เห็นว่า วางเฉย หรือฌานสี่ ก็แค่ความคิด ฌานสี่เป็ฯแค่ความคิด ชนิดหนึ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2015
  14. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014




    เราถกธรรมะกัน
    คงไม่มีใครแพ้ หรือ ชนะ
    แต่คนที่อ่านต่างหากละครับ
    ที่จะเข้าใจได้กระจ่างขึ้น
    เค้าจะเป็นผู้ที่ตัดสิน

    หากว่าประโยชน์ต่อคนส่วนมาก
    ก็เขียนไปเถอะครับ
    อย่าไปท้อ
    คำว่าท้อ ไม่มีสำหรับ
    ผู้ที่ต้องการจะสอนธรรมะ


    ส่วนเรื่องพระไตรปิฏก
    เป็นเรื่องอจินไตยที่เราไม่ควรคิด
    เพราะคิดไป ก็ไม่เกิดประโยชน์
    หากยังไม่ถึงเวลา ดิ้นรนมากไปก็เปล่าประโยชน์
    เหตุเพราะเรามีหนอนหนังสือ มากเกินไป
    แต่ผู้ที่เน้นปฏิบัติ มีน้อย
    หากกาลใด ไม่มีมหาเปรียญ
    กาลนั้นก็คง จะถึงเวลาแก้พระไตรปิฏกได้

     
  15. lerkiat

    lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    หมดปัญญาจริงๆ ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...