รวมปกิณกะธรรมพระราชพรหมยาน

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 13 เมษายน 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]


    [FONT=&quot]ปกิณกะธรรม เล่มที่ 1

    [/FONT][FONT=&quot] [​IMG] การพอใจในกาม คือการพอใจในซากศพ ฆ่ากันตายเพราะศึกชิงนางหรือชิงนาย แย่งซากผีมาเป็นคู่ครอง เพราะคิดว่าร่างกายนี้เป็นเราเป็นของเรา ศีลทั้ง ๕ ข้อขาดได้จากโทษของกามเป็นเหตุ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เรื่องการเบียดเบียนจัดเป็นธรรมขั้นสูงในพรหมวิหาร ๔ เพราะปุถุชนหลงคิดว่ากายนี้เป็นเราเป็นของเรา จึงเอาใจกายซึ่งเป็นผู้อื่นมากกว่าจิต ซึ่งคือตัวเราซึ่งมาอาศัยกายอยู่ชั่วคราว จึงเป็นธรรมดาของปุถุชนที่เบียดเบียนผู้อื่นเห็นง่าย เบียดเบียนตนเองเห็นยาก ตรงข้ามกับการรู้ของ อริยชน ที่เห็นการเบียดเบียนตนเอง เพราะรู้ว่ากายนี้หาใช่เรา ใช่ของเราไม่ ตัวเราคือจิต รู้เรื่องกฎของกรรม รู้อารมณ์จิตของตนเองอยู่เสมอ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ใครจักมีความเห็นในการปฏิบัติเป็นอย่างไร ก็เรื่องของเขา จงอย่าไปขัดคอใคร เพราะบารมีธรรมของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน คิดได้เท่านี้ ก็จักวางอารมณ์ให้ลงตัวธรรมดาได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] รูปปั้น - รูปถ่าย - ภาพเขียนต่าง ๆ มิใช่ตถาคต ขันธ์ ๕ หรือร่างกายก็มิใช่ตถาคต มิใช่พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าคือพระธรรม หรือจิตผู้ทรงธรรม[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงอย่าคิดว่าตนดีแล้วเป็นอันขาด หากยังตัดสังโยชน์ยังไม่ได้ครบ ๑๐ ข้อ จะเป็นการประมาทเกินไป ประเดี๋ยวโดนท่านผู้มีฤทธิ์เหนือกว่าเราทดลองเอา เช่นเทวดา เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การกำหนดรู้วาระจิตในทุก ๆ ขณะจิตนั้นแหละ คือจิตตานุสสติปัฎฐาน และการสอนให้ปฏิบัติตามนี้ ถ้าใช้ภาษาในอดีต คือต้นพุทธกาล พวกเจ้าก็จักเข้าใจยาก หรือยากที่จักเข้าใจ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เจ้าจักเห็นได้ว่า ทุกชีวิตที่อยู่ในโลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ทุกๆ ลมหายใจเข้า - ออก มันอยู่กับความทุกข์และความทุกข์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด มันสืบเนื่องมาจากการมีร่างกายทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เมตตาคุ้มครองโลก อภัยทานจักเกิดแก่จิตของผู้ใด บุคคลนั้นจักต้องทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ครบ ๔ ตัวอยู่ตามปกติ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จริงๆ แล้วการปฏิบัติในศีลได้เป็นปกติ เพราะอำนาจหิริ โอตตัปปะ เพราะกลัวตกนรกและจัดว่าเป็นอำนาจของพรหมวิหาร ๒ ประการแรก คือ เมตตากับกรุณา ทำให้งดเว้นจากการกระทำกรรมชั่ว ๕ อย่างได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คนธรรมดาเห็นความตายแล้วลนลาน แต่พระอรหันต์เห็นความตาย แล้วจิตเป็นสุข เพราะยอมรับความจริงว่า ความตายมีคู่กับการเกิดมีร่างกาย, หมดกายก็หมดทุกข์,และการตายครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายสำหรับท่าน หากมี มรณา ควบอุปสมานุสสติ อยู่ทุกลมหายใจเข้า - ออก หรือรู้ลม รู้ตาย รู้นิพพานตลอดเวลา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] บุคคลส่วนใหญ่มักชอบอารมณ์เดือดร้อนใจ ซึ่งเป็นอารมณ์ทุกข์แต่ไม่รู้อารมณ์ของตนเอง จึงเกาะทุกข์ เกาะความเดือดร้อนใจอยู่ร่ำไป แต่ผู้รู้ก็จักพยายามละและปล่อยวางอารมณ์นั้นอยู่ตลอดเวลา ขอจงพยายามปฏิบัติให้ได้ตามนี้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ภาราหะเว ปัญจักขันธา ทุกข์อันใดจักมาเกินกว่าภาระที่มีต่อขันธ์ ๕ นั้นไม่มี อยู่คนเดียวก็ทุกข์คนเดียว ยิ่งอยู่หลายคนยิ่งเพิ่มทุกข์มากขึ้นเท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] โทษของกาม มิใช่กาเมเพียงสถานเดียว ตถาคตหมายถึงการติดรูป - รส - กลิ่น - เสียง สัมผัส - ธรรมารมณ์ ตัวสุดท้ายต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะอารมณ์ของจิตเป็นภัยร้ายแรงที่สุด ที่คอยทำร้ายจิตตนเองอยู่เสมอ การกำหนดรู้อารมณ์ของตนเอง จึงต้องมีอยู่ตลอดเวลา การพลั้งเผลอย่อมมีบ้างเป็นธรรมดา หากแก้ไขจุดนี้ไม่ได้ ก็ตัดสังโยชน์ ๔-๕ ไม่ได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ตราบใดที่ยังมีร่างกาย คำว่าปราศจากโรคนั้นย่อมไม่มี ผู้มีปัญญาย่อมรู้จักเห็นโรคอันเกิดจากธาตุ ๔ เสื่อมได้ตลอดเวลา แม้ความหิวก็นับว่าเป็นโรค ร่างกายจึงเป็นรังของโรค[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อโรคยาปรมาลาภา มีโรคก็เป็นทุกข์ ไม่มีโรคก็เป็นสุข แต่จริง ๆ แล้ว สำหรับนักปฏิบัติคำว่าไม่มีโรคนั้นไม่มี การมีขันธ์ ๕ จึงมีทุกข์อย่างยิ่ง ภาราหเวปัญจักขันธา ความโง่ทำให้ไม่เห็นทุกข์ คิดว่าการมีขันธ์ ๕ เป็นสุข เห็นกามตัณหาเป็นของดี ทั้งๆ ที่เป็นตัวทำให้เกิดขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของทุกข์ทั้งปวง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก หนีไม่พ้นกฎธรรมดาไปได้ (กฎของกรรมอันเดียวกัน)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ต้องแยกให้ออกระหว่าง โลกียธรรม กับโลกุตรธรรม เลือกให้เป็นจิตจักได้รับความสุขจากการปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าอยู่คนเดียว อย่าไปไหนคนเดียว ให้อยู่กับพระ ให้ไปกับพระ เพราะคุณของพระทั้ง ๓ คือพระรัตนตรัยนั้นหาประมาณมิได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทำงานรอความตาย แต่อย่าตายเปล่า ขอตายเป็นครั้งสุดท้าย มี มรณาและอุปสมานุสสติอยู่เสมอ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พวกปุถุชนจักมีความประมาทในชีวิตมากในเรื่องการเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ ซึ่งก็เป็นของธรรมดาถ้าหากจักถึงตายก็ตายเปล่า เพราะมิได้พร้อมตาย ซ้อมตายไว้เป็นปกติธรรม รู้ลม - รู้ตาย - รู้นิพพานอยู่เสมอ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่ พยายามตรวจดูศีล - สมาธิ - ปัญญา อย่าให้พร่องไปจากจิตเผลอก็เริ่มต้นใหม่ จิตจักชินอยู่กับความดีของหลักธรรมปฏิบัตินี้ จนอารมณ์ศีล - สมาธิ - ปัญญา ทรงตัว คำว่าคิดชั่วก็จักไม่ยอมคิดเลย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ไม่ต้องไปห้ามใคร ให้ห้ามใจตนเอง เพราะธรรมภายนอกแก้ไขไม่ได้หรือได้ยาก ให้แก้ธรรมภายในคือที่ใจตนเอง ทุกอย่างหนีไม่พ้นกฎธรรมดา หรือกฎของกรรมไปได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงอย่าฝืนกฎธรรมดา ไม่ต้องไปห้ามใคร ให้ห้ามใจตนเองดีกว่า นั่นแหละเป็นของจริงของแท้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้ดูอารมณ์จิตตัวเดียว ดูแต่ความเลวของตนเอง เพราะจะละชั่วได้ ต้องเห็นความชั่วที่ตัวเราเองก่อนเสมอ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พระตถาคตเจ้าทุก ๆ พระองค์ อนุญาตให้บริโภคเภสัชทั้ง ๕ ได้ในยามวิกาล รวมทั้งน้ำปานะด้วย (มีนมสด - นมเปรี้ยว - เนยแข็ง - เนยเหลวคือพวกน้ำมันจากพืชและสัตว์ - น้ำผึ้ง - น้ำอ้อย - น้ำผลไม้ จากผลไม้ที่ลูกเล็กกว่ากำปั้นมือคนโบราณ)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าฝืนโรคจนเกิดภัยเบียดเบียนตนเอง ในขณะที่กายยังมีชีวิตอยู่ ให้รักษาชีวิตไว้เพื่อการปฏิบัติธรรมตัดสังโยชน์ ๑๐ ให้หมดก่อนตาย ทุกอย่างให้เดินสายกลาง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พวกเจ้ายังมีอารมณ์ขี้เก็บ ชอบเก็บทุกข์เอาไว้ไม่ยอมวาง จิตคนช่างจดจำอยู่กับความชั่ว คำด่า คำนินทา ต่างกับคำสอนของตถาคตเจ้า พวกเจ้าฟังแล้วไม่ใคร่จักทำ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงหมั่นเรียนรู้ประโยชน์ของอานาปานัสสติให้มาก และจงหมั่นทำหาความชำนาญ เพราะจักทำให้จิตมีกำลังเมื่อจิตถอนออกจากฌานแล้ว จักใช้กำลังมาทำวิปัสสนาญาณ จักมีปัญญาคมกล้ามาก[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ติดรูปให้แก้ที่รูป ติดนามให้แก้ที่นาม ติดกามสัญญาให้แก้ที่กามสัญญา นี่เป็นอริยสัจ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อารมณ์สันโดษนั้นคือ วิเวกทั้งกาย วาจา ใจ มีศีลคุมกายให้วิเวก ไม่ทำร้ายตนเองและผู้อื่นทั้งในที่ลับและในที่แจ้ง วจีวิเวกหรือวาจาสันโดษ คือสงบทั้งทางปากและเสียงพูดทางใจด้วย ในวจีกรรม ๔ ในกรรมบถ ๑๐ ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ส่วนจิตสันโดษ คือไม่ต่อกรรมกับอารมณ์เลวร้ายที่เข้ามากระทบ เห็นเป็นธรรมดาในธรรมดาอยู่เป็นปกติ เห็นธรรมทั้ง ๓ ประการ กุศล อกุศล อัพยากฤตเป็นปกติธรรมจิตก็สงบ ไม่ฝืนกฎของธรรมดา เพราะจิตถึงพร้อมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คนติดฤทธิ์เพราะจิตของเขายังเข้าไม่ถึงพระอริยเจ้า ก็ย่อมจักติดฤทธิ์เป็นธรรมดา คนติดฤทธิ์ก็คือคนติดดี เพราะฤทธิ์เป็นของดีในพระพุทธศาสนา ควรจักกล่าวส่งเสริมเขาทำให้ถูกยิ่งๆ ขึ้นไปโดยให้เขารักษาศีลให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น[/FONT]
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปกิณกะธรรม เล่มที่ 2

    [FONT=&quot] [​IMG] ศีลเป็นฐานของพระธรรมทั้งหมด อานาปานัสสติ เป็นฐานของความสงบแห่งจิต ๒ ฐานนี้ เป็นหลักใหญ่ของพระพุทธศาสนา[/FONT] [FONT=&quot] [​IMG] การประกอบกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นการเมตตา กรุณาตนเอง และผู้อื่น (พรหมวิหาร ๔, ๒ ข้อแรก จะทรงตัวด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ นี่เอง)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงเอาพระธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ายึดติดในตัวบุคคล เวลา สถานที่ และวัตถุภายนอก ซึ่งล้วนไม่เที่ยง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทุกข์ เป็นธรรมที่ต้องกำหนดรู้ จึงจักรู้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] สมุทัย เป็นธรรมที่ต้องละ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] นิโรธ เป็นธรรมที่ต้องทำให้แจ้ง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] มรรค เป็นธรรมที่ต้องเจริญให้มาก ทำให้มากตลอดเวลา คือ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงอย่าประมาทในการสร้างความดี ยังมีชีวิตอยู่ จงอย่าทิ้งการทำบุญทำทาน แม้พระอรหันต์จบกิจแล้ว แต่ชีวิตยังอยู่ ท่านก็ไม่เว้น การทำบุญทำทาน เพราะมีผลเป็นจาคานุสสติ และ อุปสมานุสสติ ด้วย ท่านทำเพื่อพระนิพพานจุดเดียว เพราะท่านไม่ประมาทในความดี จงเอาอย่างท่าน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หากศีลยังไม่มั่นคง สมาธิยังไม่ตั้งมั่น ปัญญายังจู๋อยู่ ห้ามคิดว่าไม่ติดในบุญ ในทาน ในความดี เพราะจิตยังติดบาปอกุศลอยู่ แล้วยังจิตไม่เกาะติดบุญด้วย จิตจึงมีแต่บาปอกุศล จิตเป็นคนโง่อย่างแท้จริง พระอรหันต์ท่านยังไม่ทิ้งการทำบุญ ทำทาน เพราะท่านไม่ประมาทในกรรมทั้งมวล[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อยากฉลาดต้องมีคุณธรรมประจำจิต ยอมรับกฎของกรรม ยอมรับกฎของความเป็นจริงในสัทธรรม ๕ ยอมรับกฎของไตรลักษณ์ ทำใจให้เป็นกลางให้ได้ และเป็นคนไม่ประมาท ทบทวนพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์อยู่เสมอ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ความฟุ้งซ่านเกิด ก็จงหมั่นระงับด้วย มรณานุสสติและความไม่ประมาทในความตายไว้เสมอ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงมองหาชั่ว หาเลวที่เรา แล้วรีบแก้ไข อย่าไปหาชั่ว หาเลวที่ผู้อื่น ซึ่งแก้ไม่ได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ธรรมใดที่ยังมาไม่ถึง ก็จงละปล่อยวาง มาสงสัยศึกษาธรรมปัจจุบัน หาเหตุหาผลที่ทำให้เกิดอารมณ์จริตต่างๆ ให้พบ แล้วแก้ที่ต้นเหตุด้วยกรรมฐานแก้จริต ๖[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เรื่องที่ควรสนใจที่สุดในพระพุทธศาสนา คือ ความดับทุกข์อย่างแท้จริงนั้น เป็นอย่างไร[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พระธรรมมีพุทธบัญญัติอยู่ ๘๔,๐๐๐ บท ล้วนเป็นทางนำไปสู่ความพ้นทุกข์ทั้งสิ้น นอกเหนือจากนี้ มิใช่คำสอนของตถาคต และจงจำหลักไว้ทุกอย่างในไตรภพ ไม่มีอะไรเที่ยง ยึดเมื่อไหร่ทุกข์เมื่อนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ใครไปหาธรรมนอกกาย นอกจิตของตนเอง ถือว่ายังไม่เข้าใจพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง เพราะ ๘๔,๐๐๐ บท ล้วนเป็นอุบายทางธรรม เพื่อให้รู้จริงที่กายและจิตของตนเองทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ฝึกจิตให้หมั่นดูกายไว้เสมอ เพราะจิตถูกกิเลสมารมันหลอกมานานจนชิน จงใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นทุกข์ โทษ ภัย จากการเกิดมีร่างกาย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าฝืนธรรม อย่าฝืนโลก แล้วจิตจักเป็นสุข โดยการยอมรับนับถือกฎของกรรม กฎธรรมดาของขันธ์ ๕ ทุกอย่างมันเป็นธรรมดาทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การมีงานที่วัดจริง ๆ แล้ว ก็เหมือนการรวมญาติทางธรรมดีๆ นี่เอง ทุกคนมีพ่อคือพระพุทธเจ้าเป็นที่รวมใจ ตั้งจุดหมายปลายทางคือมีพระนิพพานเป็นที่ไป มีท่านฤๅษีเป็นตัวอย่างหลักของการปฏิบัติให้เข้าถึง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กรรมใดที่เป็นอกุศลทำจิตให้เศร้าหมอง ขอจงพยายามละให้ออกจากจิต[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พิจารณาภาระที่มีต่อขันธ์ ๕ เข้าไว้ ดูความไม่เที่ยงของมันเข้าไว้ จักทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายนี้อย่างจริงจังเสียที[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงอย่าไปจองเวรกับใคร รีบตัดกรรมเสียให้ได้ ไม่ต้องสนใจกรรมของผู้อื่นให้เสียเวลา หันมาสนใจมรรคผลที่จักปฏิบัติตัดกิเลสส่วนตนดีกว่า[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การทำงานให้แก่พระพุทธศาสนาเพื่อความหลุดพ้น จักต้องมีมารเข้ามาขัดขวางผลบุญเป็นธรรมดา จงแผ่เมตตาทรงพรหมวิหาร ๔ ให้ครบ อุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวรเหล่านี้ออกไป แล้วจิตจักเยือกเย็นไม่ผูกโกรธ จงอย่าประมาทระวังเข้าไว้ แต่จงอย่าระแวง จิตจักมีกังวล[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อารมณ์กระทบนั่นแหละเป็นของดี เพราะจักได้ทราบกระแสของจิตตนเองว่า กระทบแล้วหวั่นไหวตามไปหรือไม่ สอบได้หรือสอบตก[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คนหลงร่างกาย เพราะไม่รู้จักสันตติของร่างกาย การมีร่างกายทำให้ต้องมีกิจการงานทำไปไม่มีวันสิ้นสุด ทุกอย่างมันเป็นสันตติ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] วัดอารมณ์ของการปลดปล่อยร่างกายอยู่ตลอดเวลา นั่นแหละคือการปฏิบัติพระกรรมฐาน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การปฏิบัติไม่ต้องเลือกเวลา ไม่ต้องเลือกสถานที่ จิตอยู่ที่ไหนไม่ทิ้งอารมณ์ที่นั่น นี่แหละคือพระกรรมฐาน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การกำหนดรู้อารมณ์ของจิตอยู่เสมอๆ นี่แหละคือการปฏิบัติพระกรรมฐาน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การรู้อารมณ์คนอื่น พ้นทุกข์ไม่ได้ การรู้อารมณ์ตนเองพ้นทุกข์ได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อารมณ์จิตนี่แหละ คือตัวรู้สึกถึงความสุข หรือความทุกข์ไม่ใช่ที่ร่างกาย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าให้อารมณ์มันหลอกเรา คนอื่นหลอกเราไม่ร้ายแรงเท่ากับอารมณ์จิตของเราหลอกเราเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] บุคคลผู้ยังเกาะติดร่างกาย ต่างก็เป็นผู้น่าสงสาร เพราะมีอารมณ์หลงวนอยู่ในความทุกข์[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ติดอดีตและอนาคตธรรม จิตจักไม่เป็นสุข พยายามอยู่ในธรรมปัจจุบันให้มาก[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่ามองใครว่าผิดหรือถูก อย่ามองใครว่าชั่วหรือดี จงมองให้ทะลุถึงกฎของกรรมทั้ง ๓ กรรมใดใครก่อ ผลแห่งกรรมนั้นย่อมตกอยู่แก่บุคคลนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] โลกทั้งโลกไม่มีอะไรสุข มีแต่ทุกข์นี่คืออริยสัจ คนที่ไม่มีทุกข์ในโลกนี้ไม่มี หากอยากเป็นคนฉลาด ก็จงอย่าทิ้งอริยสัจ หรือกฎของกรรม[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ตำหนิกรรมเข้าเมื่อใด อุปาทานจะเกิดขึ้นเมื่อนั้น อคติ ๔ เกิดเป็นการไม่เคารพกฎของกรรม ไม่เคารพอริยสัจ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เมื่อเข้าใจกฎของกรรม ก็จักเมตตา กรุณา รักและสงสารจิตของเราที่โง่มานาน ที่ชอบทำร้ายจิตตัวเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าเข้าใกล้หรือข้องแวะกับความชั่วความเลวของใคร ซึ่งไม่ต่างกับเอาใบตองไปห่อสุนัขเน่า ขึ้นชื่อว่าสุนัขเน่า ใครๆ เค้าก็ไม่อยากเข้าใกล้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อารมณ์ฟุ้งซ่านคือ อารมณ์ลิงติดตัง ยิ่งดิ้นยิ่งรัดตัวเอง ยิ่งเพิ่มความทุกข์ให้ตนเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พระจะสงเคราะห์เราได้ ต่อเมื่อเราระงับอารมณ์ฟุ้งซ่านได้ก่อน ด้วยอานาปา, คำภาวนา, จิตจับภาพพระ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อานิสงส์ของอานาปานัสสติ หรือนิพพานสมบัติ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ใช้ทุกข์ให้เป็นประโยชน์ จักได้เข้าถึงอริยสัจกันจริง ๆ คนโง่เท่านั้นที่เห็นทุกข์แล้วกอดทุกข์ คนฉลาดตามกำหนดรู้ทุกข์เพื่อเข้าถึงอริยสัจ แล้วปล่อยวางทุกข์ก็ช่วยให้พ้นทุกข์ได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ในทุกข์ตัวเดียวกันนี้แหละ จักพ้นทุกข์ก็ได้ จักจมทุกข์ก็ได้ คนไม่รู้จักตัณหาก็พ้นตัณหาไม่ได้ คนไม่รู้จักทุกข์ ก็พ้นทุกข์ไม่ได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หากจิตเกาะงานทางโลก ตายแล้วตายอีก ก็ต้องกลับมาทำงานนั้นใหม่อย่างไม่รู้จบ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ถ้าไม่ฝืนความจริงเสียอย่างเดียว จิตก็สงบวางอารมณ์ยอมรับกฎของกรรมได้ หากทำได้ก็เรียกว่าเข้าถึงอริยสัจ จักพ้นทุกข์ได้ก็ที่ตรงนี้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] บุคคลใดใช้ปัญญาพิจารณากฎของกรรมตามความเป็นจริงแล้ว จักได้ชื่อว่าเข้าถึงอริยสัจ สามารถตัดสังโยชน์ได้ง่าย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กฎของกรรมหรือของอริยสัจนั่นแหละตัวเดียวกัน ให้รู้ว่าโลกนี้เป็นทุกข์ โลกนี้ไม่เที่ยง ยึดถืออันใดมิได้ กฎของกรรมเกิดขึ้นมาได้ เพราะเรายึดถือทุกข์[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หลักการของธรรมปฏิบัติ จักต้องรู้อารมณ์อยู่ตลอดเวลา ได้บ้างตกบ้างก็ไม่เป็นไร เพราะการกำหนดรู้อารมณ์คือ ผลของการปฏิบัติ และผลจักเป็นของจริงต้องถูกกระทบก่อนเสมอ แล้วจบลงที่ว่ามันทุกข์ มันเป็นอริยสัจ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้พิจารณาว่า อะไรเกิดขึ้นเป็นที่ขัดข้องแล้วล้วนแต่เป็นทุกข์ทั้งสิ้น นี่คืออริยสัจหรือกฎของกรรม[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] บุญบารมีเต็ม คือรักษาไว้ซึ่งกำลังใจให้เต็มอยู่ในการตัดสังโยชน์เป็นปกติ ทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพานจุดเดียว เอาทุกสิ่งทุกอย่างเป็นกรรมฐานหมด[/FONT]
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปกิณกะธรรม เล่มที่ 3

    [FONT=&quot] [​IMG] จิตที่เย็นสนิท คือ จิตที่พิจารณากฎของกรรม แล้วยอมรับความเป็นจริงของขันธ์ ๕ โดยไม่ดิ้นรน[/FONT] [FONT=&quot] [​IMG] บุคคลใดที่ต้องการจักไปพระนิพพานในชาตินี้ บรรดาเจ้าหนี้เก่าๆ ก็จักตามทวงตามเล่นงานอย่างไม่ลดละ หากทนไม่ได้ก็ไปไม่ได้ ต้องวางอารมณ์ยอมรับกฎของกรรมให้เป็นธรรมดาให้ได้ การพ่ายแพ้เป็นของธรรมดา แต่จงอย่าถอย จิตก็จักไม่ดิ้นรนมาก ไม่ช้าไม่นานกฎของกรรมก็จักคลายตัวไปเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทุกอย่างที่ทำให้จิตมีอารมณ์กังวลอยู่ ล้วนแต่เกี่ยวเนื่องด้วยการเกาะติดขันธ์ ๕ ทั้งสิ้น เช่น เศรษฐกิจไม่ดี การเจ็บป่วย ต้นเหตุเพราะจิตไม่ยอมรับนับถือกฎของกรรม[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ใช้ทุกขเวทนาให้เป็นประโยชน์ เอาทุกข์นั่นแหละ สอนจิตให้ยอมรับความไม่เที่ยงของโลก และ ขันธโลก (ร่างกาย) ทุกขสัจหรือทุกข์กาย ต้องกำหนดรู้จึงจักรู้ว่าเป็นทุกข์ แล้วลงตัวธรรมดาว่ามันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้เอง ไม่มีใครฝืนได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การเจ็บป่วยจึงเป็นของดี จักได้ไม่ประมาทในความตาย เพราะไม่มีใครเอาสมบัติของโลกไปได้ รู้ลม - รู้ตาย - รู้นิพพาน เป็นทางลัดเข้าสู่พระนิพพานได้ง่ายๆ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การรู้เป็นเพียงแค่เข้าใจเท่านั้น ของจริงอยู่ที่ผลของการปฏิบัติ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การรู้คือมรรค การปฏิบัติเพื่อตัดโกรธ - โลภ - หลงคือผล[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตฟุ้งอยู่ในสัญญา เพราะมัวไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่น จิตชอบจำแต่ความเลวของผู้อื่น อันเป็นภัยที่กลับมาทำร้ายจิตตนเองให้เศร้าหมอง ขาดเมตตากับกรุณาจิตตนเอง ชอบจุดไฟเผาตนเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ฟุ้งเลว ให้แก้ด้วยฟุ้งดี จำเลวแก้ด้วยจำดี ฟุ้งออกนอกตัวเป็นกิเลส ฟุ้งอยู่กับกายตัว เป็นพระธรรม หากฟุ้งเข้าหาอริยสัจ เข้าหาพระธรรมเป็น ธัมมวิจัย ไม่ใช่นิวรณ์[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ฟุ้งเรื่องอะไร ให้พยายามแก้เรื่องนั้น โดยใช้อริยสัจเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา หากแก้ไม่ไหว จงใช้อานาปานัสสติเข้าระงับจิตให้สงบ แล้วจึงใช้อริยสัจ ธรรมของตถาคตต้องหยุดอารมณ์จิตให้สงบก่อน จึงจักเห็นการเคลื่อนไหวของกิเลสได้ตามความเป็นจริง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตของผู้มีปัญญา จักเป็นจิตที่รู้เท่าทันความจริงในอริยสัจอยู่เสมอ พระอรหันต์ท่านทรงอธิปัญญาก็อยู่ที่ตรงนี้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ศีล ๓ ระดับ[/FONT]
    [FONT=&quot] ขั้น ๑ เอาศีลคุมกายให้เรียบร้อย[/FONT]
    [FONT=&quot] ขั้น ๒ เอาศีลคุมวาจาให้เรียบร้อย[/FONT]
    [FONT=&quot] ขั้น ๓ เอาศีลคุมใจให้เรียบร้อย ก็คือ กรรมบถ ๑๐ นั่นเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การวางอารมณ์ ราคะ และปฏิฆะ ไม่ได้อย่างสนิทใจเพราะบกพร่องใน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กายคตานุสสติ และพรหมวิหาร ๔ กายคตาตัดราคะ พรหมวิหาร ๔ ตัดปฏิฆะ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าหนีความโกรธ เพราะเป็นกิเลสที่ต้องละด้วยสมถะ และวิปัสสนา (กสิณ ๔ และพรหมวิหาร ๔) ให้คิดว่าคือครูทดสอบอารมณ์จิต จึงต้องแก้ที่จิตตน อย่าไปแก้ที่บุคคลอื่น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พุทธานุสสติอย่าทิ้งไปจากจิต เมื่อรู้ตัวว่าอารมณ์ โทสะจริต ยังเด่นอยู่ จงอย่าทิ้งพระ อย่าไปไหนคนเดียว อย่าอยู่คนเดียว ให้อยู่กับพระ พระอรหันต์ทุกองค์ท่านยังไม่ทิ้งพระ แล้วเราเป็นใคร[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คำว่ารัก มิใช่เพียงแต่หนุ่มสาว ให้ดูอารมณ์เกาะติดใน รูป - รส - กลิ่น - เสียง - สัมผัส - ธรรมารมณ์ด้วย คือ ให้สำรวมอายตนะทั้ง ๖ ประตูทั้ง ๖ ด้วย จึงจักวางอารมณ์เกาะติดลงได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การพิจารณาร่างกายอยู่เสมอ เป็นอุบายไม่ให้จิตส่งออกนอก เป็นวิปัสสนาญาณที่ถูกต้องของพระพุทธศาสนา เป็นอริยสัจ ให้ดูอาการของจิตที่เกาะติดร่างกายนี้ว่าเป็นเรา เป็นของเรานี่แหละเป็นสำคัญ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่า ทิ้งอาณาปานัสสติ ยิ่งกำหนดรู้ลมมากเท่าไหร่ จิตยิ่งทรงสติได้มากขึ้นเท่านั้น ช่วยเตือนใจว่าชีวิตนี้มันไม่เที่ยง อาจตายได้ตลอดเวลา มีมรณาควบอุปสมานัสสตอยู่เสมอ ความไม่ประมาทก็ยิ่งน้อยลง ก็ยิ่งใกล้พระนิพพานเพียงนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตจักเจริญได้ต้องอาศัยความเพียร ในการปฏิบัติจริงๆ แล้ว ให้ตัดสังโยชน์ ๓ ให้ได้ก่อน โดยเอาอธิศีลเป็นพื้นฐาน เมื่อได้แล้ว สังโยชน์ ๔ - ๕ ไม่ต้องตัด ให้รวบรัด ตัดอวิชชาข้อ ๑๐ เลย รู้ลม - รู้ตาย - รู้นิพพาน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อุบายที่ทรงเมตตาแนะวิธีเข้าพระนิพพานแบบง่าย ๆ สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานได้สังโยชน์ ๓ ข้อแรกแล้วก็คือ รู้ลม - รู้ตาย - รู้นิพพาน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กาม - กิน - นอน ๓ ตัวนี้ยังติดกันมาก ซึ่งล้วนเป็นเหตุที่ทำให้เกิดร่างกาย หรือ รูป - นาม (ขันธ์ ๕) ทั้งสิ้น อันเป็นโทษของการเกาะติด หากละวางได้ก็เป็นคุณ ซึ่งมีอยู่ในศีล ๘ ทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อธิศีล มีศีล ๕ รองรับ ก็พ้นอบายภูมิ ๔ ได้ถาวรอธิจิต ไม่ติดใน กาม - กิน - นอน มีศีล ๘ รองรับ ก็พ้นเกิดพ้นตาย อธิปัญญา จิตไม่ยินดี - ยินร้ายในสมมุติของโลก และ ขันธโลก ในสมมุติบัญญัติ ๖ คือหมดอุปาทาน มีศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ รองรับ จิตวางสมมุติได้ จิตก็วิมุติทั้งกาย - วาจา - ใจ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้พิจารณาโทษของการติดรูป - รส - กลิ่น - เสียง - สัมผัส - ธรรมารมณ์ให้มาก และพิจารณาโทษของการติดกาม - กินและนอนให้มากด้วย แล้วจักทำให้จิตหลุดจากกามคุณ[/FONT]
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปกิณกะธรรม เล่มที่ 5

    [FONT=&quot] [​IMG] คำสอนทั้งหมดเป็นของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระอริยสงฆ์รุ่นแรก รวบรวมและถ่ายทอดกันมาจนถึงพระ อริยสงฆ์รุ่นหลัง ท่านต่างทำหน้าที่สืบทอดพระพุทธศาสนาต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบันนี้ จึงต้องนึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ เข้าไว้ให้มากๆ เพราะพระรัตนตรัยนี้ ท่านเที่ยงแล้ว ไม่เกิดอีกต่อไป จึงยึดถือได้[/FONT] [FONT=&quot] [​IMG] การนึกถึงความตาย (มรณานุสสติ) เป็นพื้นฐานใหญ่ที่จักนำจิตของตนเองให้เข้าถึงความไม่ประมาทได้โดยง่าย หากใครทำได้จักเป็นผู้มีธุระน้อยลงทันที เพราะจิตรู้ชัดว่าไม่มีใครเอาสมบัติของโลกไปได้ ไม่มีใครเป็นใหญ่ได้ในโลก เพราะมีความตายเป็นที่สุด โลกไม่เที่ยง ขันธโลก หรือร่างกาย ก็ไม่เที่ยง ใครยึดเข้าก็เป็นทุกข์ โลกพร่องอยู่เป็นนิจ เพราะตกเป็นทาสของตัณหา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พยายามฝึกจิตให้รู้เห็นร่างกายตามความเป็นจริง จิตจักคลายความเกาะติดได้ทีละน้อย จนที่สุดจักปล่อยวางร่างกายลงได้สนิท อย่าละความเพียรเสียอย่างเดียว มรรค ผล นิพพานอยู่ที่ความเพียรนี่แหละ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ความสงสัยในธรรม คือ การเบียดเบียนจิตตนเองอย่างแท้จริง พระอนาคามี จักต้องหมั่นตัดอารมณ์สงสัยในธรรม หรือตำหนิธรรมปรามาสพระรัตนตรัยให้สิ้นไปจากจิต[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หาไตรลักษณ์ ไม่ต้องไปหานอกกาย นอกจิต หมั่นหาไตรลักษณ์ในกาย และจิตของตนให้พบ ธาตุ ๔ อาการ ๓๒ ก็อยู่ในกฎไตรลักษณ์ทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงอย่าประมาทในความตาย ทุกลมหายใจเข้า ออก มีความตายแฝงอยู่ แต่อย่าตีตนไปก่อนไข้ ทุกอย่างต้องเดินสายกลางให้ใช้เมตตาบารมี รัก และสงสารจิตตนเองให้มากๆ เพราะวันหนึ่งๆ ไม่มีใครทำร้ายเราได้มาก เท่ากับอารมณ์จิตของเราเอง ทำร้ายจิตตนเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้อดทนเข้าไว้ เพราะเป็นชาติสุดท้ายแล้ว อะไรเกิดขึ้นก็ต้องอดทน ทนไม่ได้ก็ต้องทน ปลดทุกข์ออกจากจิตโดยใช้อริยสัจ กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ละความเลวแล้วละที่จิตเรา หากไม่เห็นเลวก็ละเลวไม่ได้ ละเลวได้ ๑ หน เท่ากับทำดี ๑ หน ละเลวอย่างเดียวอยู่เสมอ ๆ ก็ทำจิตให้ผ่องใสได้ในที่สุด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พระธรรมที่นำไปสู่การหลุดพ้น ล้วนอยู่ที่กายเรา จิตเราทั้งสิ้น ใครไปหาธรรมภายนอก นอกจิตตนเอง ถือว่ายังไม่เข้าใจพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้เอาอดีตที่แพ้ต่อกิเลสมาเป็นครู เราจะพยายามไม่เผลออีก[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การอยู่ในธรรมปัจจุบัน เราเป็นผู้กำหนดรู้สิ่งกระทบต่าง ๆ ก็ให้รู้อยู่ในธรรมปัจจุบัน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงยอมรับกฎของกรรม ซึ่งยุติธรรมที่สุด ใครทำใครได้ อย่าไปมีหุ้นส่วนกับใครๆ เขา โดยการตำหนิกรรมเป็นอันขาด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ความกลัวที่สุดของคน คือ กลัวทุกข์ เพราะคิดว่าร่างกายเป็นของตน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เห็นทุกข์แต่ขาดปัญญา ลงตัวธรรมดาไม่ได้ ก็ต้องจมอยู่กับทุกข์[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การรู้อารมณ์คนอื่นพ้นทุกข์ไม่ได้ แต่การรู้อารมณ์ตนองพ้นทุกข์[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จะพ้นทุกข์ได้หรือไม่ อยู่ที่การรู้อารมณ์จิตของตนเองนี่แหละ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ศึกษาธรรมที่เป็นคุณดีกว่าศึกษาธรรมที่เป็นบาป[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คิดดี ดีกว่าคิดเลว ติดบุญดีกว่าติดบาป เพราะกั้นนรกได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าเอาความเลวไปแก้ความเลว อย่ามุ่งเอาชนะใคร ให้มุ่งเอาชนะใจตนเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าวางเฉยอย่างลิงที่กลัวไม้เรียว[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] รู้ธรรมพ้นโลกดีกว่ารู้ธรรมในโลก[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เพราะธรรมในโลกล้วนไม่เที่ยง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ล้วนเป็นธรรมสมมุติ ซึ่งใครยึดติดแล้วเกิดทุกข์ทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก หนีไม่พ้นกฎธรรมดาไปได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงอย่าไปห้ามใคร ให้ห้ามตนเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เพราะแก้ไขผู้อื่นไม่ได้หรือแก้ได้ยาก แก้ไขที่ตนเองง่ายกว่ามาก[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การกำหนดรู้อารมณ์ตนเอง คือผลของการปฏิบัติ (จิตตานุสสติ)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้ดูอารมณ์จิตตนเองอย่างเดียว ดูแต่ความเลวแล้วแก้ไขตนเอง หรือ อัตตนาโจทยัตตานัง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้มีสติกำหนดรู้อารมณ์จิตอยู่เสมอว่ามันเกาะอะไรอยู่ เพราะจิตมีสภาพเกาะ หากเกาะดีก็ไปสู่สุคติ เกาไม่ดีก็ไปสู่ทุคติ หากจิตเกาะโลก เท่ากับเกาะทุกข์ ก็พ้นทุกข์ไม่ได้ หากจิตเกาะธรรม พ้นโลก (นิพพาน) ก็ไปพระนิพพาน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การปฏิบัติให้ละปล่อย วางธรรมสมมุติ ซึ่งไม่เที่ยง ไปหาธรรมวิมุติ ซึ่งเที่ยงแทน เช่น พระรัตนตรัย พระนิพพาน เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทุกชีวิตอยู่ได้ (ด้วย) โดยพระธรรมทั้งสิ้น กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เป็นกฎตายตัว ใครทำสิ่งใดก็ย่อมได้สิ่งนั้นตอบสนองแน่นอน ไม่ผิดตัว[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงอย่าประมาทในความดี ทำอะไรอย่าหวังผลตอบแทน ทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพานจุดเดียว โจทย์จิตไว้เสมอ มองชั่ว แก้ชั่วเท่านั้น ความดีจักเข้ามาถึงเอง อย่าท้อแท้ เอาอุปสรรคทั้งหลายเข้ามาทดสอบจิตนี้แหละเป็นครู[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ความเบียดเบียนที่น่ากลัวที่สุด คือ ความเบียดเบียนตนของอารมณ์จิตของเรานั่นแหละ เบียดเบียนตนเองที่ร้ายกาจที่สุด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การจบกิจในพุทธศาสนา ก็คือ การหาไตรลักษณ์ในกายและจิตให้พบแล้ว ยอมรับนับถือในความไม่เที่ยงของมันว่า มันไม่เที่ยงเป็นธรรมดาอยู่อย่างนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เบียดเบียนผู้อื่นเห็นง่าย เบียดเบียนตนเองเห็นยาก การไปสนใจกายผู้อื่น ยังไม่ร้ายเท่ากับการสนใจกายตนเอง ซึ่งเป็นกามสัญญาตัวจริง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หลงใหญ่ก็คือหลงร่างกายตนเอง เท่ากับหลงสักกายทิฎฐิ คิดว่าการเกิดมีร่างกายเป็นของดี[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ร่างกายมีสภาพเหมือนผีหลอก เพราะมันไม่เที่ยง เกิดดับตลอดเวลาเป็นสันตติธรรม[/FONT]
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปกิณกะธรรม เล่มที่ 6

    [FONT=&quot] [​IMG] พระพุทธเจ้าเป็นได้เพราะพระธรรม ตถาคตคือพระธรรม[/FONT] [FONT=&quot] [​IMG] ร่างกายนี้มิใช่ตถาคต ตถาคตคือพระธรรม[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หลังตถาคตได้ปรินิพพานแล้ว พระธรรมวินัยทั้งหลาย จักเป็นพระศาสดา สอนเธอผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต บุคคลใดเห็นธรรม จึงจักเห็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็คือจิตที่เข้าถึงพระธรรม[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การกระทำในสิ่งที่เป็นโทษ โดยเข้าใจว่าไม่เป็นโทษ ก็ยังเป็นโทษ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ต้องวางมานะ กิเลส ให้ได้ก่อน แบบท่านพระใบลานเปล่า จึงจะบรรลุมรรคผลได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] บุคคลผู้ติดในสัญญา อันเป็นปัญญาทางโลก จึงมีความประมาท หลงคิดว่าตนมีปัญญาเป็นเลิศ สัญญาจึงบดบังปัญญา (แค่สอนวิธีจับเหี้ยให้ก็จบกิจได้ เท่ากับสอนอายตนะ ๖)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] สันตติ มี ๒ อย่าง ภายนอกคือ ขันธ์ ๕ ของตน หรือผู้อื่น สัตว์ วัตถุใดๆ ภายใน คือ อารมณ์จิตที่เกิด ๆ ดับ ๆ ตลอดเวลา ใครไม่รู้ก็ประมาทในอารมณ์ เท่ากับประมาทในความตาย เท่ากับประมาทในธรรมทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ บท[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] สันตติภายนอกแก้ไม่ได้ เป็นปกติธรรมของโลก สันตติภายในแก้ได้ ปัญญาเกิดจากจุดนี้ ตัวที่ไปรู้สันตติทั้ง ๒ นี้ คือ จิต คือ เรา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ฉลาดไม่เป็น เพราะชอบลืมอานาปา และปล่อยวาง (ลืม) พระธรรมคำสอน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทำอาณาปากองเดียวก็ถึงพระอรหันต์ แต่จักต้องทรงอาณาปาให้ได้ตลอด ๒๔ ชม. ตราบใดที่จิตนี้ยังตื่นอยู่ แม้กายหลับ แต่จิตยังตื่นอยู่ หากผู้ใดทำได้ขณะหลับด้วย แล้วยกกายในขึ้นอยู่บนพระนิพพาน ด้วยการปลง มรณะและอุปสมา และ กายคตา, อสุภะ,ให้กายหายไป[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าฝืนอารมณ์ของจิต ต้องกำหนดรู้อารมณ์ตลอด และแก้ไขด้วยจริต ๖ ตลอดด้วย ดังนั้นการพิจารณาสัจธรรม ๕ เนืองๆ จึงเป็นของดี ทำให้จิตยอมรับความจริงของขันธ์ ๕ ใจต้องเย็น ให้ดูท่านพระอานนท์เป็นตัวอย่าง ก่อนจะบรรลุมรรคผล ท่านเครียด เพราะรีบเร่งตลอดคืน ก็ไม่บรรลุ พออารมณ์เย็นความเครียดหาย ใจสบาย ก็บรรลุทันที ทุกอย่างต้องอาศัยหลักมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลางทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าฝืนสังขาร การพักผ่อนไม่พอ แล้วฝืนปฏิบัติธรรมจนเกินพอดี ทำให้จิตฟั่นเฟือนไปมากแล้ว กรรมฐานแก้ข้า คือ อานาปา จะคลายเครียดได้ชะงักที่สุด รู้พัก รู้เพียรในทางสายกลางเสมอ เจริญวิปัสสนาแล้วไม่ขาดทุน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ร่างกายที่เห็นอยู่นี้เป็นของใครก็ไม่รู้ มันเป็นสมบัติของโลก ไม่มีใครเอาไปได้ หากยังหลงติดอยู่ในร่างกายนี้ ก็เท่ากับถูกจองจำอยู่ในโลกไม่มีที่สิ้นสุด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้ดูร่างกายว่ามันเสื่อมลงทุกวัน เดินเข้าสู่ความตาย นี่แหละคือความจริงของร่างกาย ยืน เดิน นั่ง นอน ล้วนเป็นทุกข์ การดูแลรักษากาย ทำไปตามหน้าที่ โดยเดินสายกลาง ไม่มากไม่น้อยไป หากมันตายจิตก็ไม่ผูกพัน พร้อมปล่อยวางได้ทันที (เพราะกายนี้หาใช่เรา ใช่ของเราไม่)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ประมาทในความตายไม่ได้ เพราะจิตต้องแข่งกับเกิด ดับ ของธาตุขันธ์ตลอดเวลา พระอรหันต์ท่านยอมรับการเกิดดับของธาตุขันธ์ จิตของท่านไม่เคยลืมการเกิดดับของธาตุขันธ์ จิตเกาะพระนิพพานอยู่ทุกขณะจิต และวางเฉยในการเกิดดับของธาตุขันธ์ (หมายความว่า ท่านมี มรณา และอุปสมานุสสติเป็นอารมณ์ และ มีสังขารุเบกขาญาณทรงตัว)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หากหวังการไม่เกิด จงหมั่นดูกาย วาจา ใจ ของตนให้บริสุทธิ์อยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา หรืออริยมรรค ๘ นั่นเอง (หรืออย่าให้ผิดกรรมบถ ๑๐ ก็ได้)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พุทธศาสนามีพฤติกรรมที่สามารถลบล้างกรรมดี กรรมชั่วได้เด็ดขาด และอยู่เหนือกรรมได้ เมื่อปฏิบัติจนบรรลุมรรคผลนิพพาน จุดนี้ต่างหากที่ศาสนาอื่นไม่มี มีแต่พุทธศาสนา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทรงตรัสสอนให้รู้เห็นความจริงว่า คน สัตว์ วัตถุในโลก ล้วนเป็นไตรลักษณ์ ยึดติดอะไรไม่ได้ หมายความว่า สิ่งที่เราเห็นอยู่ รู้อยู่นี้ มันไม่ทรงตัว เป็นเพียงแค่สภาวธรรมที่เกิดดับๆ เคลื่อนไป เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ไม่ทรงตัว แต่อุปาทานคิดว่า ยึดว่าเป็นตัวเป็นตน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] บุคคลผู้ฉลาดในพุทธศาสนา ย่อมหาบ้านอยู่อย่างถาวร พร้อมที่จะทิ้งกายที่อาศัยเหมือนบ้านเช่าชั่วคราวไปอยู่บ้านที่ถาวรบนพระนิพพาน ได้ด้วยการปฏิบัติตามธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น หรือพ้นทุกข์ ซึ่งแจกให้เป็นธรรมทานอย่างจริงจัง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การเกาะร่างกายของพระพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์ หรือชิ้นส่วนของร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยธาตุ ๔ เท่ากับเกาะเปลือกความดีของท่าน ซึ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ยังเป็นโลกียมงคล แต่การเกาะพระธรรมซึ่งเป็นโลกุตรมงคล เพราะตถาคตคือพระธรรม หรือจิตผู้ทรงธรรม ซึ่งเที่ยง ไม่เกิด ไม่ดับ อีกตลอดกาล[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] วางธรรมสมมุติ ไปเกาะธรรมวิมุติ ซึ่งเที่ยงด้วยปัญญา ผู้ใดเจริญศีล สมาธิ ปัญญา จึงถึงพระนิพพานได้ ทุกคน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พระธรรมมีพุทธบัญญัติอยู่ ๘๔,๐๐๐ บท ล้วนเป็นทางนำไปสู่ความพ้นทุกข์ทั้งสิ้น นอกเหนือจากนี้ มิใช่คำสอนของตถาคต และจงจำหลักไว้ ทุกอย่างในไตรภพไม่มีอะไรเที่ยง ยึดเมื่อไหร่ทุกข์เมื่อนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตอยากคิดก็ให้คิด จิตอยากพักก็ให้พัก อย่าฝืนเวทนาของจิต หากฝืนมรรคผลจักเกิดได้ยาก เพราะจิตมีสภาพดิ้นรน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จักพ้นเกิดพ้นตายได้ก็ที่กายและจิตตนเองทั้งสิ้น ดังนั้นผู้ใดละอุปาทานขันธ์ ๕ หรือ สักกายทิฎฐิได้ ก็จบกิจในพระพุทธศาสนา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กิเลสเหมือนขโมยที่เล่นซ่อนหากับตำรวจ ตำรวจโง่จับขโมยไม่ได้ เพราะขาดปัญญา ไม่ใช้กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ และยังชอบกินสินบน เมื่อพบกับอายตนะสัมผัสทั้ง ๖[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตคนพาลจะไหวไปกับอายตนะสัมผัส สร้างเวทนา เกิดสัญญา สังขาร คือ ปรุงแต่งอารมณ์นั้นให้เป็นอกุศลกรรม จิตจึงร้อนอยู่ตลอดเวลา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การรู้ก็ดี การเห็นก็ดี คือ จิตมีสติกำหนดรู้ เห็นไปตามความเป็นจริง และพิจารณาไปเป็นธรรมดาในสิ่งนั้นๆ (ไม่ใช่อารมณ์ปรุงแต่งธรรม)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ที่กลิ่นไม่หายไป เพราะสัญญา คิดตามเวทนาของกลิ่นขี้วัวไม่ชอบใจกลิ่นขี้วัวที่เหม็น หากเวทนาไม่เกิด สัญญาก็ไม่เกิด หรืออารมณ์ ๒ พอใจกับไม่พอใจก็ไม่เกิด อย่างนี้เรียกว่ามีสติกำหนดรู้ตามความเป็นจริง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อายตนะสัมผัส ๑๒ มีภายนอก ๖ ภายใน ๖ เมื่อกระทบกัน จิตเราต้องรู้ แต่ให้ทรงอยู่ในอารมณ์สักแต่ว่า ไม่ปรุงแต่งธรรมนั้น ให้เกิดอารมณ์ ๒ คือ พอใจกับไม่พอใจ อย่างนี้แหละมิใช่อารมณ์ปรุงแต่งธรรม แต่เป็น ธัมมวิจยะ หรือ ธัมมวิจัย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การมีสติกำหนดรู้อารมณ์ของตนเองอยู่เสมอ คือ ผู้ไม่ประมาท หากมีอานาปา เข้มแข็ง จิตย่อมมีกำลัง และพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ ทำให้ขณะนั้นจะมีสมาธิ - ปัญญามั่นคง สู้กับกิเลสได้ โดยใช้หลักกรรมทั้งหลายมาแต่เหตุทั้งสิ้น เป็นหลักสำคัญ (อริยสัจ ๔)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] มีชีวิตอยู่อย่าหนีปัญหา เพราะหนีไม่พ้น หากกายยังอยู่ ปัญหาของโลกก็เป็นธรรมดาของโลก จะพ้นได้ เมื่อตัดอารมณ์ ๒ พอใจกับไม่พอใจได้เด็ดขาดแล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หากยังตัดอารมณ์ ๒ ไม่ได้ จงอย่าเอาอดีตที่ผ่านมาแล้ว และอนาคตซึ่งยังไม่ถึงมาครุ่นคิด เพราะล้วนเป็นทุกข์ของจิต ต้องอยู่ในปัจจุบันธรรม[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เรื่องสันตติภายใน คือ การกำหนดรู้อารมณ์จิตตนเอง ซึ่งเกิดดับๆ ตลอดเวลา จะช่วยดึงเหตุ จากอายตนะสัมผัสที่เข้ามากระทบจิตให้ช้าลง จนสามารถรู้ว่า ขณะจิตหนึ่งนั้นๆ จิตกำลังเสวยอารมณ์อะไร จักต้องใจเย็นๆ จึงจักเห็น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พึ่งกำหนดรู้อารมณ์ของจิตในขณะหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นธรรมปัจจุบัน ที่พึงจักจำแนกกิเลสให้หลุดพ้นไปจากจิตได้ จุดนี้เป็นการปฏิบัติที่ละเอียดอย่างยิ่ง แยกสันตติทางอารมณ์ให้ออก เพื่อใช้กรรมฐานแก้จริต ๖ ได้ถูกต้อง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตไม่ผ่องใส เพราะจิตยึดเวทนาของกายมากเกินไป ให้ใช้ปัญญา เป็นตัวปลด การจักทำได้หรือไม่ได้ ให้เอาเวทนาที่เกิดกับกาย นี่แหละเป็นตัววัด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การเบื่อนั้นเบื่อได้ แต่ยังเบื่อผสมทุกข์อยู่ เพราะขาดปัญญา จักต้องเบื่อ แล้วปล่อยวาง เห็นเป็นเรื่องธรรมดา จึงจักไม่ทุกข์[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อยากอยู่คนเดียว ก็ต้องทำจิตให้อยู่ในฌาน และวิปัสสนาญาณ หรืออยู่อย่างพรหม หรืออยู่บนพระนิพพานเลย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าลืม ไม่มีใครชอบเผด็จการกันหรอก จงหลีกเลี่ยงการขัดแย้งให้มากที่สุด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อารมณ์พระอรหันต์ ท่านตัดสังโยชน์ ๑๐ ข้อได้ ขันธ์ ๕ ท่านพังเมื่อไหร่ กฎของกรรมก็หมดเมื่อนั้น กรรมใหม่สำหรับพระอรหันต์นั้นไม่มี อารมณ์จิตท่านจึงเป็นสุขอย่างยิ่ง จิตทรงพรหมวิหาร ๔ ครบ มีทั้งเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาครบเป็น อัปปมัญญา เพราะท่านเห็นอริยสัจชนรอบที่สมบูรณ์ เห็นกฎของกรรม เห็นกรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เห็นทุกอย่างเป็นธรรมดาหมด ไม่มีอะไรจักมาสะดุดใจให้เศร้าหมอง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พวกเจ้าแม้ยังทำไม่ได้ ก็ให้พยายามคิดถึงธรรมจุดนี้ให้มาก จิตจักได้เป็นสุข ใจจักได้เย็นไม่ร้อน เหมือนในขณะนี้ อย่าลืมรักษาอารมณ์พรหมวิหาร ๔ ให้ครบถ้วน จิตจักได้เป็นสุข[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คนรู้จักพอดีนั้นหายาก ไม่เหมือนหลวงปู่ บุดดา เหตุเพราะโลกนี้ทั้งโลก มันไม่เที่ยง จึงหาความพอดีได้ยาก เพราะจิตคนไปติดอยู่ในความไม่เที่ยงนั้น ดังนั้นจึงต้องศึกษาหาความพอดีในจิตของตน มิใช่ไปหาความพอดีในจิตผู้อื่น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กายเหนื่อยต้องพักก็หาย แต่พอทำงานใหม่ก็เหนื่อยอีกเป็นธรรมดา เป็นสันตติของกาย เป็นธรรมดาของผู้มีร่างกาย ไม่มีวันสิ้นสุด (หากยังไม่เห็นจุดนี้ว่าเป็นทุกข์ ก็พ้นทุกข์ไม่ได้)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หนีกฎของกรรมไม่พ้น ก็จงอย่าหนี หากยอมรับก็เข้าถึงอริยสัจ ๔ เห็นเป็นธรรมดาของกฎของกรรม เห็นกรรมในกรรม หรือเห็นธรรมในธรรม เพราะหากกรรมใดที่เราไม่เคยก่อไว้ วิบากกรรมนั้นย่อมจักไม่เกิดกับเราอย่างแน่นอน[/FONT]
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปกิณกะธรรม เล่มที่ 7

    [FONT=&quot] [​IMG] จิตนี่แหละเป็นตน มีในตน ต้องมีสติสัมปชัญญะ กำหนดรู้อารมณ์ของจิตซึ่งเกิดๆ ดับๆ ตลอดเวลา รู้อะไรคือปัญหา รู้ต้นเหตุที่เกิดปัญหา และรู้วิธีดับปัญหาตลอดเวลาทุกอิริยาบถ เป็นอกาลิโก[/FONT] [FONT=&quot] [​IMG] การไม่รู้เท่าทันสันตติภายใน คือ ไม่รู้เท่าทันอารมณ์โมหะ โทสะ - ราคะที่เกิดดับอยู่ในจิตนี้ ดังนั้น เมื่อบุคคลใดรู้สันตติภายในแล้ว ก็ย่อมจักกำหนดรู้เหตุที่เกิดและดับแห่งอารมณ์นั้น ความประมาทย่อมไม่มี จุดนี้ละเอียดอ่อน และทำให้ทรงตัวได้ยาก ต้องใช้ความเพียรขั้นสูงสุด ใครทำได้ก็เป็นพระอรหันต์[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ที่สุดของธรรมก็คือ รู้แยกจิต แยกกาย แยกธรรม สรุปรวมเป็นหลักใหญ่ได้ ๒ ประการ คือ รู้เท่าทันกองสังขารแห่งกายและจิต (รู้ทันว่า กาย เวทนา จิต ธรรม เกิดดับ ๆ เป็นสันตติ ผู้รู้คือ ตัวเรา คือจิตที่เป็นตน มีในตน)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ความสำคัญของอานาปา ซึ่งเป็นฐานใหญ่ในการทำจิตสงบเป็นสุข มีรายละเอียดอยู่มาก แค่รู้ลม รู้ตาย รู้นิพพาน ก็เข้านิพพานได้แบบง่าย ๆ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ปัญหาของโลกรวมอยู่ในโลกธรรม ๘ ทั้งสิ้น ไม่มีโลกภายนอกหรือโลกภายใน นี่เป็นปกติของปัญหาโลก เป็นกฎของกรรม เป็นทุกข์ของชาวโลก และเป็นปกติที่ไม่มีใครหนีโลกธรรม ๘ อย่างเป็นไปได้พ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] นินทาและสรรเสริญ เหมือนสาดน้ำใส่กัน แต่การมีกายอยู่ในโลก ย่อมหนีโลกธรรมไม่พ้นเป็นธรรมดา จึงต้องซ้อมอารมณ์ลงตัวธรรมดาเข้าไว้เสมอ เพื่อกันมิให้อารมณ์ ๒ เกิด คือ ราคะกับปฏิฆะ ซึ่งเกิดแล้วจะปิดกั้นทางเข้าสู่พระนิพพานไว้สนิท เพราะเป็นนิวรณ์ ๒ ข้อแรก ทำปัญญาให้ถอยหลัง คือ โง่ตลอดกาล[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ปัญหาทางโลก ไม่มีใครแก้ได้หมดหรอก คิดให้ลงตัวธรรมดาเข้าไว้ จิตจักได้เป็นสุข[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าตำหนิใครที่ยังติดอดีตชาติ เพราะบางขณะ บางอารมณ์ บางคน ติดแล้วเขารู้สึกเป็นกันเองกับเรา สร้างศรัทธาให้เขาร่วมทำบุญ ทำทาน และร่วมปฏิบัติธรรมได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าหวังผลงานก่อนที่จักลงมือทำ เพราะอนาคตไม่เที่ยง จัดว่าเป็นอารมณ์ประมาทในธรรมทั้งหมด (๘๔,๐๐๐ บท)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าสนใจอารมณ์จิตของผู้อื่น ซึ่งแก้ไขไม่ได้ ให้สนใจแต่อารมณ์จิตของเรา ซึ่งแก้ไขได้ด้วยกรรมฐาน แก้จริต ๖[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จง พยายามอย่าสรรเสริญ หรือนินทาใคร โดยไม่จำเป็น เพราะดี - เลวของปุถุชนคนทั่วไปยังไม่ทรงตัว ยกเว้นแต่พระอริยเจ้าเท่านั้นที่ทรงตัวแล้ว ยิ่งท่านดีเท่าไหร่ ท่านยิ่งไม่สนใจในคำสรรเสริญและนินทาเท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ที่ยังอึดอัด เพราะไม่ยอมรับกฎธรรมดาของโลก โลกเขาอยู่กันด้วยสังคม ยิ่งหนียิ่งทุกข์ ต้องใช้ปัญญาพ้นจากโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ ด้วยอริยสัจ เป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ธรรมะเขาเจริญกันที่จิต มิใช่เลือกเวลาและสถานที่ ให้เอาการกระทบกระทั่งกับหน้าที่การงานนั่นแหละมาเป็นกรรมฐาน สอบได้หรือสอบตกก็รู้กันตรงนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้เอาอายตนะ ๑๒ นอก ๖ ใน ๖ ซึ่งต้องกระทบกันอยู่เป็นธรรมดานั้น มาเป็นกรรมฐานได้อย่างดี ผู้มีปัญญาจะเห็นธรรมที่เกิดขึ้น แยกเป็น ๓ พวก คือ กุศล อกุศล และอัพยากฤต เกิดดับๆ อยู่เป็นปกติ เห็นเป็นสันตติภายนอก และสันตติภายในเกิดดับๆ ติดต่อกันอยู่อย่างนั้น จุดนี้จิตต้องละเอียดจึงจะเห็นได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้ยอมรับว่า กาย เวทนา จิต ธรรม นี้หาใช่เรา หาใช่ของเราไม่ เราคือจิตเป็นผู้รู้อาการเกิดดับๆ ของธรรม ๔ ตัวนี้อยู่เป็นธรรมดา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การมุ่งหวังชนะความชั่วของผู้อื่นเป็นอธรรมภายนอก ให้มุ่งหวังชนะความชั่วของตนเอง ซึ่งเป็นอธรรมภายใน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงจำเอาไว้เสมอว่า ร่างกายจักตายในขณะจิตนี้แล้ว จักมาเกาะยึดอันใดกับงานภายนอกเล่า คิดให้จิตมันยอมรับว่าติดอันใดอันหนึ่ง ย่อมไปถึงพระนิพพานไม่ได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงพยายามอย่าเกาะติดอะไรทั้งหมด ยกเว้นอารมณ์เกาะติดพระนิพพานจุดเดียว[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พยายามดูอารมณ์จิตของตนไว้เสมอ อย่าปล่อยให้จิตฟุ้งซ่าน และพยายามขจัดความเศร้าหมองของจิตออกไปให้เร็วที่สุด รู้ลม - รู้ตาย - รู้นิพพาน รู้เพียงแค่นี้ จิตก็เข้าสู่พระนิพพานได้แบบง่ายๆ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงอย่าฝืนกฎธรรมดา ดูแต่ความเลวของตนเอง เพราะจะละความชั่วได้ ต้องเห็นความชั่วที่ตัวเราเองก่อนเสมอ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าอยู่คนเดียว อย่าไปไหนคนเดียว ให้อยู่กับพระ เพราะคุณของพระทั้ง ๓ คือ พระรัตนตรัย นั้นหาประมาณมิได้[/FONT]
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปกิณกะธรรม เล่มที่ 8

    [FONT=&quot] [​IMG] ธรรมของตถาคตปฏิบัติเพื่อเข้าหาของจริง ทุกสิ่งจึงเป็นอริยสัจ คือ จริงที่จิตของผู้ปฏิบัติยอมรับกฎของกรรมนั่นแหละ จึงจักเข้าถึงตัวธรรมแท้ ๆ ที่ไม่มีการปรุงแต่ง[/FONT] [FONT=&quot] [​IMG] อารมณ์เบื่อคนเมื่ออยู่กับคน เป็นอารมณ์หนีปัญหา ไม่ใช้ปัญญาคืออริยสัจแก้ปัญหา ซึ่งสามารถแก้ได้หมดทุกชนิด ทางที่ถูกพึงเบื่อกำลังใจของตนเอง ที่เลวไม่ยอมรับกฎของธรรมดานั้น จิตที่ชอบฝืนความจริงนี่ซิน่าเบื่อ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คนไม่ประมาทก็ต้องมีสติ สติจะมิได้ก็ต้องกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เมื่อมีสติก็มีสัมปชัญญะ กำหนดรู้ทั่วถึงกรรมที่จะเกิดขึ้นทางกาย วาจา ใจ และต้องรู้อยู่ตลอดเวลาว่า สิ่งใดเป็นคุณ สิ่งใดเป็นโทษ เป็นบุญหรือบาป ควรพูดหรือไม่ควรพูด ตรงกับบาลีที่ว่า นิสัมมะกรณังเสยโย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จำไว้ ตัวรู้ไม่ใช่ตัวปฏิบัติ ตัวปฏิบัติให้มรรคผลเกิดจึงตามตัวรู้นั่นแหละ จึงจักเป็นของจริง (ปัจจุบันมีผู้รู้มาก คือรู้ปริยัติ แต่ไม่ยอมปฏิบัติให้เกิดมรรคผล ทั้งสมมุติสงฆ์และฆราวาส)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ฆราวาสตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ จงอย่าคิดว่าตนเองดีเป็นอันขาด เพราะสังโยชน์ ๑๐ ยังไม่หมด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้มองกายในกายอยู่เนื่องๆ คือแยกกายเป็นอาการ ๓๒ ไม่เที่ยง สกปรก มองให้คล่อง จักเกิดความเบื่อหน่ายในกายตนและผู้อื่น คลายความกังวลในกายตนและผู้อื่น มีแต่ทางนี้สายเดียวเท่านั้นที่จักหลุดพ้นได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อิทธิพลของสัญญา หรือความจำ ชอบจำแต่ของเลว ของดีไม่ยอมจำ บางครั้งจิตเกาะติดกรรมชั่ว จนเอาไปฝัน สร้างอารมณ์มาทำร้ายตนเองก็มี เหตุเพราะพรหมวิหาร ๔ ด้วยเมตตา ต้องรักตนเอง (จิต) ไม่เบียดเบียนตนเองให้ได้ก่อนอื่น และต้องใช้พรหมวิหาร ๔ ต้องใช้ครบ โดยเฉพาะอุเบกขา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ไม่มีบทใดเลยที่ไม่แสดงเรื่องกฎของกรรม เพราะกฎของกรรมคืออริยสัจ คือของจริงที่พระอริยเจ้า ทั้งหลายยอมรับ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พยายามเอากายทำงานทางโลก แต่เอาจิตทำงานทางธรรม หรือเอางานที่ทำนั่นแหละมาเป็นกรรมฐาน ทำแบบเบาๆ จึงจักเห็นผลของความสุขในการปฏิบัติ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ อะไรจักเกิดขึ้นก็ต้องหาสาเหตุให้พบ พบแล้วระงับได้ก็ให้ระงับ ตัดได้ก็ให้ตัด พิจารณาด้วยเหตุด้วยผล โดยยึดหลักอริยสัจเป็นสำคัญ เพื่อตัดอารมณ์ที่ทำให้เกิดทุกข์นั้นทิ้งไป[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ผู้ไม่มีโรคทางใจ หรือผู้ที่ไม่มีสังโยชน์ ๑๐ ร้อยรัดใจ ก็คือพระอรหันต์เท่านั้น ท่านจึงเป็นผู้มีลาภอันประเสริฐ เพราะพ้นภัยตนองแล้ว หมดความเบียดเบียนตนเองแล้ว หรืออโรคยา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การทำงานที่ถูกต้องทั้งงานทางโลกและทางธรรม ให้ถือเอาอารมณ์สันโดษเป็นหลัก ทำได้แค่ไหนให้พอใจแค่นั้น เอาความสบายใจเป็นหลักสำคัญ เพราะงานทางโลกทำเท่าไหร่ก็ไม่จบ ต้องพร้อมที่จักปล่อยวางได้ในทุกขณะจิต หรือในปัจจุบันธรรม[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ตั้งคำถามให้เกิดขึ้นกับจิตแล้วให้จิตหาคำตอบ ถามตอบ ๆ อยู่ในนั้นเป็นปกติ จักทำให้เกิดปัญญา สามารถรู้เห็นตามเหตุตามผลนั้น (รู้เห็นอริยสัจ) แล้วจิตจักเป็นสุขในธรรมได้มากขึ้นตามลำดับ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เวลา ที่ผ่านไปแล้วก็คือกรรมอดีต แก้ไขอะไรไม่ได้ เวลาที่ยังมาไม่ถึงก็เป็นอนาคต จะไปยุ่งกับมันทำไม เวลาที่อยู่กับจิตเราในขณะนี้จริงๆ ก็คือ กรรมปัจจุบันให้ทำตัวนี้ให้ดีๆ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้ดูบารมี ๑๐ ไว้ให้ตั้งมั่น จุดนั้นเป็นหลักใหญ่ของการปฏิบัติ เพราะหากบกพร่องในบารมี ๑๐ ทุกอย่างก็บกพร่องหมด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พวกเราได้พบขุมทรัพย์ใน มรณานุสสติแล้ว ถ้าไม่ฉลาดตักตวงก็สุดแล้วแต่อัธยาศัยเถิด ถ้าขยันเก็บสะสมไว้ให้จิตทรงตัวที่จุดนี้ จิตก็จักไม่ประมาทในชีวิต การตัดกิเลสก็จักเป็นของง่ายยิ่งขึ้น อย่าละความพยายามก็แล้วกัน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ความตั้งใจจริงนั่นแหละ คือ บารมีเต็ม และอย่าพึงไปเห็นสิ่งอื่นใดสำคัญกว่าจิต[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] โรงเรียนของเราก็อยู่ที่อายตนะ ๖ ภายใน ๖ ภายนอก ๖ กระทบกันก็เป็นนิโรธทั้งนั้น ถ้ามีปัญญาเรียนได้ทุกวัน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] บุคคลใดจักให้จิตเป็นสุข ก็จงพิจารณาร่างกายอันยังมีลมหายใจอยู่นี้ ให้มีความรู้สึกเหมือนซากศพอยู่ตลอดเวลา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ลาภสักการะย่อมเป็นเครื่องฆ่าคนโง่ ให้เห็นตามความเป็นจริงว่า ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นเครื่องมอมเมาจิตให้คนหลงอยู่ ต้องไปสู่ทุคติ มีอบายภูมิ ๔ เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ที่จริงแล้วคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ที่กายเรา จิตเราทั้งสิ้น ใครมีสติสัมปชัญญะมั่นคง นึกถึงกาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งมีอยู่ที่ตัวเราทุกคน กำหนดรู้และปฏิบัติได้ติดต่อกันแล้ว ก็ได้มรรคผลเหมือนกันหมด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ผู้ปฏิบัติจะพ้นได้ต้องสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของตนอย่าให้ยินดียินร้ายและมั่นคงในศีล ๕ และกรรมบถ ๑๐[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การรักษาพระธรรมวินัยคือ มีสติเที่ยวไปโดยความไม่ประมาทนั่นแหละคือปฏิบัติบูชา ดังนั้นคนอยากมีลาภ ได้ลาภ ก็ต้องทำทาน รักษาศีลและเจริญภาวนา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หากผู้ใดไม่เข้าใจเรื่องพุทธนิมิต ธรรมนิมิต สังฆนิมิตได้เป็นปกติที่เห็นชัดที่สุดคือทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ในวันออกพรรษา เสด็จลงจากดาวดึงส์ แสดงเพียงครั้งเดียวในทุกๆ พุทธันดร[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เรื่องคนไม่มีทุกข์ ไม่มีในโลก ให้ทบทวนคำสอนเรื่องมีร่างกายเหมือนมีลูกอ่อนที่ต้องเลี้ยงมันตลอดเวลา และเรื่องมีร่างกายเหมือนต้องติดคุกตลอดชีวิต แล้วจักเข้าใจดีขึ้น หากยังไม่เห็นทุกข์จริงก็ไม่มีทางพ้นทุกข์ได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การกำหนดรู้อารมณ์ของจิตต้องมีอยู่ตลอดเวลา สงบรู้ ไม่สงบก็รู้ จัดเป็นการปฏิบัติกรรมฐานโดยตรง รู้อารมณ์ของตนเองก็รู้จริต ๖ และรู้กรรมฐานแก้จริตไปในตัว คือการปฏิบัติกรรมฐานตลอดเวลาไปในตัว ต้องทำให้ชินจนจิตเป็นฌาน จิตจักเป็นอัตโนมัติกำหนดรู้อารมณ์ของมันเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คนประมาทชอบท่องเที่ยว นี่ก็เป็นปกติวิสัยของบุคคลที่ยังไม่เห็นทุกข์ อย่าลืมอยากรู้เรื่องนอกตัวเป็นการเพิ่มทุกข์ เพิ่มกิเลส อยากรู้เรื่องตัวเองเป็นการเห็นทุกข์ เห็นอริยสัจ เห็นพระธรรม เห็นพระพุทธเจ้าเข้าสู่พระนิพพานง่าย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ติดคุกทางโลกยังมีวันหมดอายุความ แต่ติดคุกในการเกิดมีร่างกายต้องติดตลอดชีวิต จึงต้องเพียรเอาจิตให้พ้นจากกิเลสให้ได้ก่อนตาย ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา โดยเอาสังโยชน์ ๑๐ ประการ เป็นเครื่องวัดผลของการปฏิบัติ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กฎของกรรมหรืออริยสัจหรือกฎธรรมดา ล้วนเป็นธรรมอันเดียวกัน พระพุทธเจ้าและพระสาวกท่านใช้กรรมทั้งหลาย มาแต่เหตุเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหาทั้งทางโลกและทางธรรมทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พระพุทธศาสนาเป็นของจริง ผู้ใดไม่เรียนรู้อย่างจริงจัง ก็รู้จริงไม่ได้ คนทำจริงเท่านั้นที่จักรู้จริง เห็นจริงในอริยสัจ คือเห็นทุกข์อันเกิดจากการเบียดเบียน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การคิดถึงความตายไม่ใช่ของง่าย เพราะความตายที่เป็นจริงอยู่ในธรรมปัจจุบัน คือความตายในขณะจิตเดียว จึงต้องนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก ตายเดี๋ยวนี้ไว้เสมอ รู้ลม รู้ตาย รู้นิพพาน สติเตือนใจอยู่มิได้ขาด นี่ซิของจริง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พวกเจ้าได้พบขุมทรัพย์ใน มรณรานุสสติแล้ว ถ้าไม่ฉลาดตักตวงก็สุดแล้วแต่อัธยาศัยเถิด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ถ้าขยันเก็บสะสมไว้ให้จิตทรงตัวที่จุดนี้ จิตก็จักไม่ประมาทในชีวิต การตัดกิเลสก็จักเป็นของง่ายยิ่งขึ้น อย่าละความพยายามก็แล้วกัน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ตัวธรรมล้วนๆ ไม่มีการปรุงแต่ง มันเกิด เสื่อม ดับ อยู่เป็นปกติตามหลักของมหาสติปัฎฐาน ๔ คือ มีสติกำหนดรู้อยู่เสมอว่า กาย เวทนา จิต ธรรม ล้วนเกิดดับๆ อยู่เป็นปกติธรรม[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตของเราเป็นผู้ไปรู้ธรรมนั้น ผู้ใดไปยึดไปฝืนกฎธรรมดาเข้าก็เป็นทุกข์[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การคิดหนีปัญหา หนีทุกข์ หนีอุปสรรค์ หนีอารมณ์ที่ถูกกระทบโดยอายตนะสัมผัส หนีนิวรณ์ ล้วนหนีไม้พ้น พระองค์ไม่เคยสอนให้หนีปัญหา แต่สอนให้เอาปัญหานั้นมาเป็นกรรมฐาน โดยพิจารณาเข้าหาอริยสัจ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตติดท่องเที่ยว หากเกิดตายขณะนั้น จิตก็เกาะติดสถานที่ จิตตนติดใจอยู่ หากตายก่อนอายุขัยก็เป็นสัมภเวสี จิตเกาะบุญ ก็เป็นเทวดานางฟ้าเฝ้าสถานที่นั้น หากจิตเศร้าหมองเป็น อารมณ์หลงก็เป็นสัตว์เดรัจฉานเฝ้าสถานที่นั้นๆ มีอุบัติเหตุหรือทะเลาะกันตายตอนนั้นก็ลงนรก[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ความกลัวทุกอย่างล้วนเป็น สักกายทิฏฐิ กลัวหิวกระหาย หนาว ร้อน ป่วย เป็นเรื่องของกายทั้งสิ้น เหตุเพราะจิตเกาะติดกาย รู้สึกกายเป็นเรา เป็นของเรา เมื่อกายเป็นอะไรก็ทนไม่ไหว การมีขันธ์ ๕ อยู่จึงเป็นทุกข์ เพราะมันไม่เที่ยง ฝืนบังคับมันก็ไม่ได้ดังใจนึก[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การกำหนดรู้ว่านี่เป็นทุกข์ เป็นอริยสัจ ผู้กำหนดรู้จึงจักพ้นทุกข์ไปได้ เช่น โลกทั้งโลกนี้ ล้วนเต็มไปด้วยความทุกข์ (ทั้งโลกภายนอกและโลกภายในคือร่างกาย) แล้วยอมรับความจริงว่าเป็นธรรมดา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าปล่อยให้ทุกข์มันผ่านไปเฉยๆ โดยไม่รับรู้ เพราะขาดสติสัมปชัญญะก็ใช้ไม่ได้ ของจริงในพุทธศาสนาจักต้องถูกกระทบก่อน นักปฏิบัติเขาวัดอารมณ์กันที่จุดนี้ เพราะอยู่สงบๆ โดยไม่ถูกกระทบ ก็หลงคิดว่าตนเองแน่แล้ว จึงถูกกิเลสหลอกอยู่ตลอดเวลา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] แม้ธรรมารมณ์ซึ่งจิตเราเป็นผู้สร้างขึ้น หากส่งออกนอกกาย นอกจิตก็เสมือนจิตท่องเที่ยวเช่นกัน หากคิดดีๆ ก็เข้าสู่พระนิพพานได้ไม่ยาก หากคิดไม่ดีก็มีสิทธิ์ลงอเวจีได้ทุกราย ก็เพราะความประมาทนี่แหละ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงอย่ากลัวอารมณ์กระทบ เช่น โลกธรรม กามคุณ ๕ ให้เอามาเป็นครู พิจารณาให้ลงตัวธรรมดา ทุกอย่างเกิดขึ้นตั้งอยู่ และดับไป ตามสภาวะของธรรม ซึ่งมีความไม่เที่ยงเป็นปกติ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การทำบุญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา (วันมาฆบูชา, วันวิสาขบชา) เป็นบุญใหญ่มาก เพราะเท่ากับทำบุญโดยตรง กับพระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์สาวกทั้งหมด คนฉลาดเอากายทำบุญทางโลก ใส่บาตร ถวายสังฆทาน เวียนเทียน แต่เอาจิตน้อมถึงพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ด้วย แม้ใช้ มโนมยิทธิไปทำบุญข้างบนก็สามารถทำได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คนเราพอเกิดมามีร่างกาย จิตก็ถูกจองจำเหมือนติดตารางตลอดชีวิต ยิ่งเกาะติดมากเท่าไหร่ทุกข์จากการติดตารางก็มากเท่านั้น (ติดตารางก็คือติดคุก)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หมั่นสอบอารมณ์ รู้อารมณ์ตนเอง จึงเป็นการปฏิบัติกรรมฐานโดยตรง เพราะกรรมฐานต้องทำที่จิต โดยไม่ติดบุคคล ไม่ติดสถานที่ ไม่ติดกาลเวลา ทำได้ทุกอิริยาบถ ไม่ติดสมบัติทุกอย่างในโลก ให้ติดแต่พระธรรมซึ่งเที่ยงแล้ว ไม่เกิดไม่ดับอีก (คนฉลาดเขาปฏิบัติกันอย่างนี้ เขาไม่ประมาทในธรรม ในความตาย จิตยึดนิพพานเป็นอารมณ์ รู้ลม รู้ตาย รู้นิพพาน ซ้อมตายและพร้อมที่จะตายไว้เสมอ)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ผู้ใดตัดสังโยชน์ ๓ ข้อแรกได้เป็นพระโสดาบันปัตติผลแล้ว จิตคิดท่องเที่ยวจักเบาบาง หรือแม้จักยังมีอยู่ก็มีอย่างผู้ไม่ประมาทในความตาย รู้ลม รู้ตาย รู้นิพพาน เพราะผู้ที่ไม่ติดอะไร ๆ ทุกย่างในโลกมีแต่พระอรหันต์เท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เรียนรู้แค่ธาตุลม หรืออานาปาตัวเดียว เรียนเท่าไหร่ก็ไม่จบ เรียนจบก็คือร่างกายมันตายนั่นแหละ ดังนั้น ผู้รู้ลมอยู่เสมอคือผู้ไม่ประมาทในความตาย รู้ลม รู้ตาย รู้นิพพานอยู่เป็นปกติ[/FONT]
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปกิณกะธรรม เล่มที่ 9

    [FONT=&quot] [​IMG] จงหยุดตระเวนหาพระดีๆ เพื่อหาที่สงบๆ เพื่อปฏิบัติธรรม เพราะความสงบอยู่ที่ใจ หากไม่หยุดอารมณ์ฟุ้งซ่าน หยุดอารมณ์พอใจกับไม่พอใจ ไม่สำรวมอายตนะหกที่ใจของตนให้ได้ ก็ยังโง่เหมือนเดิม เพราะนิวรณ์ ๕ ยังครองจิตอยู่[/FONT] [FONT=&quot] [​IMG] ตราบใดที่ยังไม่ถึงซึ่งนิพพาน อย่าให้จิตทิ้งบุญ เพราะปกติจิตของเรามักจะไหลลงสู่เบื้องต่ำ คือใฝ่หาบาป ชอบทำจิตตนเองให้เศร้าหมองอยู่เสมอ แต่จิตของคนเกาะบุญไม่เหมือนกัน เพราะเขาได้ทำตามความพอใจของเขา แล้วจิตเขาเป็นสุข จงอย่าไปขัด ให้รับได้หมดทุกประเภท[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พระอริยเจ้าเบื้องสูง ท่านมุ่งดูอารมณ์จิตของตน รักษาจิตของตนไม่ให้ยุ่งกับจริยาของผู้อื่นเป็นสำคัญ การพูด-การคุยกับผู้อื่น จิตท่านไม่หวั่นไหวกับกรรมของผู้อื่น ไม่ปรุงแต่งธรรม อยู่กับธรรมภายในเป็นปกติ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ความทุกข์ - ความกังวล - ความวุ่นวายในโลก มีเหตุเกิดจากยึดติดในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่าเป็นเราเป็นของเราทั้งสิ้น หากวางมันได้แม้ชั่วคราวก็ยังดี ทำบ่อยๆ จิตจักชินเป็นฌานใน มรณา บวกอุปสมานัสสติ เป็นอัตโนมัติ จิตเรารู้จริงด้วยตนเองครั้งเดียว ดีกว่าผู้อื่นมาบอกให้รู้ ๑,๐๐๐ ครั้ง เพราะรู้ด้วยปัญญาตนเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เราคือจิตดวงเดียว ที่มาอาศัยร่างกายอยู่ชั่วคราวเท่านั้น เราอยู่เพื่อชดใช้กรรมเพื่อคอยวันตายเท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ประสาททั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นผู้ปรุงแต่งสุข - ทุกข์ ให้กับใจ คือกามคุณ ๕[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ผู้จะถึงพระนิพพาน ต้องพ้นจากกุศลธรรมและอกุศลธรรม (พ้นดีพ้นชั่ว) หรืออัพยากฤตธรรม คือองค์พระนิพพาน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ผู้ตั้งอยู่ในศีล ๒๒๗ จึงจัดว่าบางจากกิเลสได้สูงสุด ฆราวาสต้องกราบไว้พระเพราะเหตุนี้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ผู้ปฏิบัติอริยมรรคได้ถึงขั้น อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาแล้ว หรือตัดสังโยชน์ ๑๐ ได้ครบแล้ว จึงจักวางใจได้เหมือนกับแผ่นดิน คือจบกิจเป็นพระอรหันต์[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ผู้ตั้งอยู่ในศีล ๑๐ คือมีจิตไม่ยินดีไม่ยินร้ายในเงินในทอง หรือของมีค่า เป็นอารมณ์ตัดชีวิต คือไม่กลัวตาย กลัวอด ไม่ติดในกามคุณ ๕ ในโลกธรรม ๘ อันเป็น โลกียสุข[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ผู้มีความรู้ทางโลก จะฉลาดสักปานใด ไม่ควรถือตัวว่าเป็นผู้ยิ่งกว่าผู้มีศีล[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ศีลทำให้พ้นนรก พ้นเกิดพ้นตาย จนเข้าถึงพระนิพพานได้ คนฉลาดทางโลกยังไม่พ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พยายามปล่องวางอันเป็นการตัดกรรม แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร อดทนข่มใจให้มาก สร้างอภัยทานให้เกิดกับจิต อุทิศส่วนกุศลให้กับผู้สร้างปัญหาเหล่านี้ ทุกอย่างล้วนเป็นกฎของกรรม ซึ่งเที่ยงเสมอและให้ผลไม่ผิดตัวด้วย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ยังไม่ใช่พระอรหันต์ย่อมสอบตกเป็นธรรมดา จงอย่าละคามเพียรเสียอย่างเดียว ย่อมถึงจุดหมายได้ทุกคน หลักสูตรในพุทธศาสนาย่อมมีข้อสอบอยู่เสมอ ไม่ว่าจักปฏิบัติในขั้นไหน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หลวงพ่อฤๅษีท่านว่า สมบัติที่มีอยู่ก็คือขยะ ร่างกายท่านก็ถือว่าเป็นขยะ พวกนี้ชอบห่วงขยะของท่าน ซึ่งตรงกับสมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสว่า ร่างกายที่เห็นอยู่นี้เป็นของใครก็ไม่รู้ มันเป็นสมบัติของโลก ไม่มีใครสามารถเอาไปได้ พิจารณาจุดนี้บ่อย ๆ อารมณ์ห่วงขยะก็จักน้อยลง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เวลาในขณะจิตนี่แหละ คือ เวลาที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จักปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพาน เพราะความตายและอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ในขณะจิตเดียว รู้ลม - รู้ตาย - รู้นิพพาน จึงต้องรู้ในขณะจิตเดียว[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าไปหาธรรมภายนอก ให้หาที่กายและจิตตนเอง ๘๔,๐๐๐ อุบายที่ตถาคตสอน ล้วนอยู่ที่กายกับจิตนี่แหละ ความจริงคืออริยสัจ การพิจารณาขันธ์ ๕ อยู่เสมอ จึงจักพบความจริง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กฎของกรรมย่อมอยู่เหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมด เพราะเที่ยงเสมอ และให้ผลไม่ผิดตัวด้วย แม้แต่กรรมเล็กๆ น้อยๆ ก็ยังตามมาให้ผล[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ที่ศีลขั้น ๓ ยังไม่ดี เพราะไปยินดีในกรรมชั่วของผู้อื่น จิตขาดอุเบกขา ในพรหมวิหาร ๔ จุดนี้สำคัญมาก เพราะ สัมมาทิฎฐิ สัมมาสมาธิ เกิดได้ตรงศีลบริสุทธิ์ อันเป็นเหตุให้เกิดปัญญาบริสุทธิ์ด้วย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พึงหาความพอดีให้พบระหว่างกายกับจิต ไม่ตึงไป ไม่หย่อนไป โดยใช้พรหมวิหาร ๔ เป็นเครื่องวัดอารมณ์ของจิต เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ความเบื่อขันธ์ ๕ เป็นของดี เพราะทุกภพ - ทุกชาติพวกเจ้าไม่ค่อยเบื่อขันธ์ ๕ ต้องดูต้นเหตุให้ถึงที่สุดของความเบื่อ ว่าต้นเหตุเกิดจากภายนอก เช่น เศรษฐกิจไม่ดี หรือจากภายใน เห็นทุกข์ของการเกิดมีร่างกาย แล้วจักปลดอารมณ์ราคะและปฏิฆะได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กายป่วยก็ต้องรู้ว่ากายป่วย แต่สักเพียงแต่ว่ารู้ จิตไม่ทุกข์ไปกับกาย พิจารณาให้ลงกฎธรรมดาเข้าไว้ แล้วจิตจักสบาย ยอมรับกฎของธรรมดา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ความสุขสงบของจิตมี ๒ ประการ คือสุขจากสมถะภาวนาหรือฌาน กับสุขจากวิปัสสนาภาวนา ซึ่งเบากว่า ประเสริฐกว่ามาก ทำสลับกันเพื่อให้จิตทรงตัว[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การฟังธรรมแล้วลืม เพราะขาดสติไม่ตั้งใจฟัง ก็จำไม่ได้เป็นสัญญาหมด การฟังด้วยปัญญานั้น เขาฟังอย่างมีสติ - สมาธิ - ปัญญาก็เกิด จำได้ใคร่ครวญตามก็รู้เรื่อง เห็นอริยสัจตามธรรมนั้นก็เป็นปัญญา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ค่าของเงินย่อมน้อยกว่าอารมณ์ผ่องใสของจิต ทำดีกว่าไม่ทำ (ชำระหนี้สงฆ์) หากเกิดสงสัยให้ยึดความผ่องใสของจิตเป็นสำคัญ เพราะโกรธนิด - โลภหน่อย ก็เป็นความเศร้าหมองของจิต[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ยังมีอะไรเสียดายอีกไหม เช่น เสียดาย กามคุณ ๕, โลกธรรม ๘, ขันธ์ ๕ สมบัติของโลก หากยังมีก็ตัดอาลัยในโลกไม่ได้ คามกังวลไม่หมด จิตก็ไม่สงบสุข[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าทิ้งการกำหนดรู้สภาวะธาตุ ๔ ที่ไม่ทรงตัวอยู่นี้ ให้เห็นประโยชน์ของการเจ็บป่วยให้ชัดเจน แล้วจักละขันธ์ ๕ ได้สนิทใจ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พิจารณาให้เห็นทุกข์อันเกิดจากความไม่เที่ยง ให้เห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง แล้วจิตจักวางภาระของขันธ์ ๕ ลงได้ในที่สุด ให้วัดอารมณ์ตนเองไว้เสมอ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กฎธรรมดาอันนี้จงพยายามกำหนดรู้ เตือนจิตตนเองไว้เสมอ จุดนี้ต้องใช้ปัญญาพิจารณาอยู่เสมอ เพื่อให้จิตทรงตัว และจงอย่าเอาจิตไปกังวลกับงานให้มากเกินไป[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อารมณ์ใดกระทบแล้วปลดไม่ได้ อารมณ์นั้นคือกิเลส จุดนี้รวมถึงอารมณ์เกาะขันธ์ ๕ ตนเอง เกาะขันธ์ ๕ ผู้อื่น เกาะงาน เกาะกังวลถึงความเป็นอยู่ของชีวิตด้วย ยิ่งกายเจ็บป่วยด้วยจักเป็นเครื่องวัดอารมณ์ปลดได้อย่างดี[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่ากังวลใจไปล่วงหน้า (อย่าตีตนไปก่อนไข้) เพราะจักทำให้อุปาทานเกิด ให้เตรียมจิตพร้อมรับในปัจจุบันดีกว่า สติเท่านั้นจักทำให้ทันต่อเหตุการณ์ อย่าตกใจให้มากจนเกินไป[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กฎของกรรมเป็นของเที่ยง กรรมใครกรรมมัน ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมมีอุปสรรคเข้ามาทดสอบกำลังใจอยู่เสมอ เช่น สัทธรรม ๕, โลกธรรม ๘, ปัญหาครอบครัว - เศรษฐกิจ ละวางได้แค่ไหนคือของจริงเป็นครูวัดผลของการปฏิบัติ ให้มีสติกำหนดรู้ อย่าท้อถอยกับครูหรือเหตุการณ์ที่เข้ามาทดสอบ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าลืมสติเป็นใหญ่ของการปฏิบัติธรรม ให้เข้าถึงมรรคผลนิพพาน เพราะสติ - สัมปชัญญะเป็นปัญญาที่แท้จริงในพุทธศาสนา เป็นตัวรู้จากจิตมีสติ - สัมปชัญญะ (สติ - สมาธิ - ปัญญา) เห็นธรรมในธรรม รู้กายกับจิต หรือรู้รูปกับนาม (รู้ขันธ์ ๕) ตามความเป็นจริง จนจิตหลุดจากธรรมสมมุติถึงธรรมวิมุติ เข้าสู่พระนิพพานได้อย่างแท้จริง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] สัญญากับปัญญาเกิดขึ้นกับผู้ใดในจิตแล้ว จักเห็นว่าแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน เพราะสัญญานั้นจำได้ประเดี๋ยวก็ลืม แต่ปัญญาทางพุทธเกิดจากจิตมีสติ-สัมปชัญญะ พิจารณารู้กายกับจิต รู้รูปกับนาม (ขันธ์ ๕) ตามความเป็นจริง จนจิตยอมรับจุดนั้น จิตไม่มีคำว่าลืม[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การทำงานแม้จะทำได้พร้อมกัน แต่ควรใช้ปัญญาให้ความสำคัญ งานทางใจให้มาก ส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญงานทางโลกหรือทางกาย เช่น หลงติดกามคุณ ๕ (รูป - รส - กลิ่น - เสียง - สัมผัส) ติดโลกธรรมต้องแยกแยะให้ออกด้วย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การพิจารณาร่างกาย ให้พิจารณาจนเหลือสักแต่ว่ากาย อันเป็นธาตุ ๔ มีอาการ ๓๒ ไม่เที่ยง - มีอสุภะ เป็นที่ตั้ง ให้หาความจริงตามนี้ แล้วจักเบื่อกาย - เบื่อเกิดตามความเป็นจริง คือ อารมณ์นิพพิทาญาณกับสังขารุเบกขาญาณ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การห่วงขันธ์ ๕ ตนเองและผู้อื่นมากเกินไป ก็เป็นโทษ เป็นภัยกลับมาทำร้ายจิตตนเอง ขาดพรหมวิหาร ๔ พระอรหันต์เท่านั้นที่ไม่ห่วงขันธ์ ๕ ตนเอง และผู้อื่นอย่างจริงใจ ท่านเห็นเป็นของธรรมดาหมด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้มีสติกำหนดรู้อยู่เสมอว่า กาย - เวทนา - จิต - ธรรม ล้วนไม่เที่ยง เกิดดับๆ อยู่เสมอ มันหาใช่เรา ใช่ของเราไม่ เราคือจิตที่ไปรู้สภาวะธรรม ทั้ง ๔ นี้อยู่เป็นธรรมดาอยู่นั้น จิตจักสงบเป็นสุข เป็นผู้ไม่ประมาทในความตาย ไม่ประมาทในชีวิต และไม่ประมาทในกรรม (นี่คือสรุปของมหาสติปัฎฐาน ๔)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ปุถุชนคิดว่ากายเป็นเรา เป็นของเรา ทุกครั้งที่เวทนาเกิด ก็ยึดไว้ไม่ยอมให้ดับ เวทนาเก่ายังอยู่ เวทนาใหม่ก็เพิ่มเข้ามา เป็นเวทนาซ้อนเวทนา เพราะไม่ยอมวางสัญญาเดิม ไม่ยอมลืมอดีต เพิ่มทุกข์กับจิตตนเองอย่างต่อเนื่อง เพราะหลงคิดว่ากาย-เวทนาเป็นเรา เป็นของเรา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การหลงติดอยู่ในเงินตราหรือลาภสักการะ ฆ่าคนให้ต้องลงนรกมามากแล้ว จงอย่าประมาทในทุกกรณี อย่าลืมไม่มีใครเอาสมบัติของโลกไปได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อุบายในการละ-ปล่อย-วางขันธ์ ๕ หรือ สักกายทิฎฐิ มีอยู่มาก แต่ทุกอุบายหนีไม่พ้น กายคตานุสสติซึ่งเป็นมหาสมุทรแห่งธรรม เพราะ ๘๔,๐๐๐ อุบาย ก็สอนอยู่แค่กายกับจิต[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การเอาจิตอยู่กับตัว เป็นการหาทางพ้นทุกข์ได้อย่างประเสริฐสุด การเอาจิตออกนอกตัว เป็นการหาทุกข์เพิ่มทุกข์ให้กับจิต[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ชีวิตที่อยู่ในโลกนี้มีแต่ทุกข์ สุขจริงๆ ไม่มี ให้พิจารณาไปตามนี้ โดยเห็นเป็นปกติธรรม คิดให้ลงตัวธรรมดา จิตจักได้ไม่เศร้าหมอง อยู่กับโลกมีหน้าที่ก็สักแต่ว่าทำหน้าที่ในทางสายกลางเท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ในปัจจุบันชาวโลกชอบย้ำให้เห็นแต่ข่าวร้ายเป็นส่วนใหญ่ เช่น อุบัติเหตุ, ข่าวผิดศีลทั้ง ๕ ข้อ และพยายามย้ำข่าว - ตีข่าว - กวนข่าว
    ให้ละเอียดลงๆ จนผู้ดู - ผู้ฟังชิน กลายเป็นฌานในความชั่ว จิตชินกับความเลว ทำให้มีวิตกจริต ตีตนไปก่อนไข้ เกิดมงคลตื่นข่าว ได้อาหารที่เป็นพิษ บริโภคทางตาและทางหู ล้วนเป็นอกุศลกรรมทั้งสิ้น หากตายในขณะนั้นจิตก็เศร้าหมองไปสู่ทุคติทั้งนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จำไว้ทุกอย่างไม่เที่ยง อย่าไปคิดล่วงหน้า จิตจักเป็นทุกข์ พึงพยายามปล่อยวางเข้าไว้อยู่ในปัจจุบัน ให้แก้ไขปัญหาในปัจจุบัน แล้วจิตจักไม่วุ่นวาย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ไม่มีใครเกิดมาแล้วจักไม่มีปัญหาทุกคนมีปัญหาเหมือนกันหมด เพียงแต่ต่างกรรม ต่างวาระ เท่านั้นเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คนเงียบได้กำไร คนพูดมากขาดทุน หรือพูดให้น้อยพิจารณาให้มาก สติ-สัมปชัญญะจักทรงตัว จุดนี้แหละจักทำให้เลิกสนใจในจริตนิสัยของผู้อื่น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หน้าที่เป็นธรรมภายนอก การปฏิบัติเป็นธรรมภายใน อย่าคิดว่าเวลาของชีวิตจักมีมาก ตั้งใจเว้นหรือพอในความโลภ - โกรธ - หลง เพื่อพระนิพพานจุดเดียวเท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พยายามละธรรมภายนอกหรือเป็นผู้มีธุระน้อย มาอยู่กับธรรมภายใน เห็นสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ยึดถืออันใดไม่ได้ หันมายึดถือ พระธรรมพระนิพพานซึ่งเที่ยงเข้าไว้ แต่อย่าทำจนเครียด ให้เดินสายกลาง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้พิจารณาถาม - ตอบด้วยจิตของตนเอง จนจิตยอมรับความจริง อยู่กับธรรมภายใน ขันธ์ ๕ คือ ธาตุ ๔ มีอาการ ๓๒ สกปรก - ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ยึดถืออันใดไม่ได้ เหมือนติดคุก เหมือนเลี้ยงลูกอ่อนตลอดชีวิต จิตเราถูกบังคับให้ต้องดูแลมันตั้งแต่วันเกิดจนกระทั่งวันตาย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] นำความจริงของร่างกายมาพิจารณา ให้จิตยอมรับ จักได้ไม่ทุกข์ ไม่ยึดร่างกายว่าเป็นเรา เป็นของเรา ยอมรับเรื่องเกิด - แก่ - เจ็บ - ตาย เป็นของธรรมดา หากจิตละเอียดเห็นว่าชีวิตกับความตายใกล้กันนิดเดียว จิตปลดร่างกายได้มากแค่ไหน ก็เท่ากับไม่ประมาทในความตายได้มากแค่นั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อุบัติเหตุ คือ เหตุที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยไม่ได้คาดคิดมาก่อน จุดนี้หากจิตไม่มีพระนิพพานมั่นคงแล้ว อย่างไรก็เตรียมจิตไม่ทันแน่ ฉะนั้น พึงซ้อมจิตเตรียมรับอุบัติเหตุทุกรูปแบบเข้าไว้ให้ดี[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พระธรรมในพุทธศาสนามุ่งสอนคนให้พ้นทุกข์ ต้องการเอาจิตยอมรับสภาพตามความเป็นจริง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงอย่ามองทุกอย่างว่าเป็นโทษ ให้มองมุมกลับจักเป็นคุณ แม้การเจ็บป่วงของกายก็เป็นคุณ จักได้ไม่ประมาทในความตาย
    เห็นทุกข์ เห็นอริยสัจ - เห็นธรรม - เห็นกฎของกรรม จิตจักคลายความยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย เข้าสู่พระนิพพานได้ง่าย (รู้ลม - รู้ตาย - รู้นิพพาน)[/FONT]
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปกิณกะธรรม เล่มที่ 10

    [FONT=&quot] [​IMG] ติดอยู่จุดไหนให้พิจารณาจุดนั้นให้ถึงที่สุด แล้วจักพบความสุข ที่มั่นคงของจิต โดยไม่ต้องไปแสวงหาที่ภายนอก ทุกอย่าง อยู่ที่กายกับจิตเราเองทั้งสิ้น (ติดตรงไหนให้ตัดตรงนั้น)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงทำจิตที่อาศัยกายที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อยู่อย่างมีความสุขได้ ด้วยการเดินสายกลาง โดยไม่เบียดเบียนกายและจิตตนเอง (ไม่สร้างกิเลส คือ ติดในรสของอาหารมากจนเกินไป เป็นต้น)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทุกคนที่ปรารถนาจักไปพระนิพพาน จักต้องมีข้อทดสอบทยอย เข้ามากระทบอยู่เนืองๆ ให้พิจารณาเข้าหาทุกข์ อันเป็นอริยสัจ เป็นหลักสำคัญ หรือสัทธรรม ๕ ซึ่งทุกคนจักต้องพบ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ร่างกายที่ประกอบด้วยกายกับจิต คือ ตู้พระไตรปิฎก แสดงธรรมอยู่ตลอดเวลา พวกมีปัญญาก็เห็น ไม่มีปัญญาก็ไม่เห็น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ปกิณกะธรรมที่ให้ไว้มากมายหลายวิธี ล้วนเป็นอุบายในการพิจารณา เพื่อละ ปล่อย วาง ร่างกายหรือขันธ์ ๕ ว่ามันหาใช่เรา หาใช่ของเราไม่[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตเราชอบอุบายใดก็ให้เร่งรัดปฏิบัติตามอุบายนั้น ๆ โดยมีสังโยชน์ ๑๐ เป็นเครื่องวัด มีบารมี ๑๐ เป็นเครื่องช่วย และมีอานาปานัสสติเพื่อระงับนิวรณ์ทั้ง ๕ ทำจิตให้สงบเป็นสุข[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์สอนให้พ้นทุกข์ ด้วยการรู้จักตัวทุกข์ตามความเป็นจริง จึงจักพ้นทุกข์ มิใช่สอนให้หนีทุกข์ เพราะไม่รู้จักตัวทุกข์ก็พ้นทุกข์ไม่ได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าไปเอาวิชา ความรู้ ศักดิ์ศรี ฐานะ ตระกูล มาเป็นเครื่องตัดกิเลส เพราะนั้นเป็นเพียงสิ่งภายนอก มิใช่ตัวจิตแท้ๆ ถ้าไปยึดถือก็เป็นมานะกิเลส[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] วิชาความรู้นั้นเกิดจากสัญญาซึ่งไม่เที่ยง แต่วิชชาในพุทธศาสนา เกิดจากกรรมภายในอันมีศีล สมาธิ ปัญญา หรือ ทาน ศีล ภาวนา ซึ่งเป็นปฏิบัติบูชา เป็นกรรมหรือการกระทำของกาย วาจา ใจของตนเอง ไม่เกี่ยวกับวิชาความรู้ ศักดิ์ศรี ฐานะ หรือ ตระกูลแม้แต่อันใด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าไปแก้กรรมของใคร อย่าไปรับกรรมของใคร ให้ปล่อยวาง กรรมใครกรรมมัน เพราะทุกคนต่างก็มีกรรมหนักอยู่แล้ว ที่จักต้องเลี้ยงดูร่างกายตนเองและครอบครัวซึ่งหนักอยู่แล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าเศร้าใจ อย่าเสียใจ เมื่อถูกกระทบด้วยอายตนะสัมผัส ให้เห็นทุกอย่างเป็นครู หรือบทเรียนสอนใจ ปักจิตให้เห็นธรรมดาในเรื่องของทุกเรื่องไป ให้เอามาเป็นพระกรรมฐานทั้งหมด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หากคิดให้ดีๆ ร่างกายนี้ไม่มีเวลาสุขจริงเลย มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย แสดงธรรมที่ไม่เที่ยงอยู่ตลอดเวลา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าไปแก้กรรมของใคร อย่าไปรับกรรมของใคร ให้ปล่อยวางกรรมใครกรรมมัน เพราะทุกคนต่างก็มีกรรมหนักอยู่แล้ว ที่จักต้องเลี้ยงดูร่างกายตนเองและครอบครัวซึ่งหนักอยู่แล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าเศร้าใจ อย่าเสียใจเมื่อถูกกระทบด้วยอายตนะสัมผัส ให้เห็นทุกอย่างเป็นครู หรือบทเรียนสอนใจ ปรับจิตให้เห็นธรรมดาในเรื่องของทุกเรื่องไป ให้เอามาเป็นพระกรรมฐานทั้งหมด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เกาะสุขก็เป็นทุกข์ เพราะสุขทางโลกก็ไม่เที่ยง หากไม่เข้าใจจุดนี้ จิตก็จักมีอุปาทาน หลงแสวงหาสุขที่ไม่เที่ยงนั้นๆ ซึ่งต่างกับสภาวะจิตที่เข้าถึงพระนิพพาน ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่เกิด ไม่ดับ เป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ร่างกายไม่ดี ย่อมพาจิตให้ไม่ดีไปด้วย มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ร่างกายไม่ดี จิตใจไม่เกี่ยวเกาะร่างกาย จิตของท่านดีอยู่เสมอ ดังนั้นผู้ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ จึงยังมีอารมณ์ไหลขึ้นไหลลง ดีบ้างไม่ดีบ้าง ยิ่งวันไหนร่างแย่ จักเห็นอารมณ์ของจิตแย่ตามชัด ก็นับว่าเป็นปกติธรรมอยู่[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ร่างกายนี้เป็นสมบัติของโลก ไม่มีใครเอาไปได้ ไม่ชาเรา ไม่ใช่ของเรา จึงบังคับมันให้ทรงตัวไม่ได้ มันจักเป็นอย่างไรเป็นเรื่องธรรมดา ให้ใช้จิตพิจารณาคำว่าธรรมดาเข้าไว้ ดูแลมันตามหน้าที่ตามทางสายกลาง แล้วความสุขจักเกิดขึ้นกับจิต[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กายไม่เที่ยง อารมณ์จิตก็ไม่เที่ยง ใครไม่รู้ยึดเข้าก็เป็นทุกข์[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ต้นเหตุแห่งทุกข์ คือ ความทะยานอยากของจิต (สมุทัย หรือ ตัณหา) ให้ดับด้วยปัญญาอันเกิดจากสมาธิ ซึ่งตั้งมั่นอยู่บนศีลบริสุทธิ์เท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จักวางทุกข์ได้ต้องอาศัยปัญญาพิจารณาประกอบ มิฉะนั้นเห็นทุกข์ก็จักเกาะทุกข์ ก็ยิ่งทุกข์ใหญ่[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] โลภ โกรธ หลง และสังโยชน์ทุกข้อ ล้วนมีต้นเหตุเกิดจากการมีร่างกายทั้งสิ้น การไม่เกิดจึงเป็นยอดของความสุข (พระนิพพาน)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทำจิตให้เหมือนดูหนัง ดูละครผ่านไปแล้วก็ผ่านเลย หรือทำจิตให้เหมือนกระจกเงา อะไรผ่านเข้ามาก็เห็นหมด แต่เมื่อเลยไปแล้วกระจกเงาก็มิได้ยึดภาพเหล่านั้นไว้เลย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้ยอมรับนับถือกฎของกรรม อย่าไปตำหนิใครว่าเลวหรือชั่ว นั่นเป็นเพราะอกุศลเข้าครอบงำจิต จึงทำไปตามอำนาจของกรรมที่เป็นอกุศล[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่า ลืม คนดีเขาไม่ด่าคน ไม่เสียดสีคน ไม่นินทาคน จิตเราไม่ดีเองที่ไปเก็บเอาคำสรรเสริญคำนินทา หรือกรรมของผู้อื่นมายึดถือว่าเป็นเราเป็นของเรา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ร่างกายเป็นเครื่องผูกสัตว์ให้หลงยึดเป็นอัตตาตัวตน เป็นบ่วงล่อให้จิตของสัตว์โลกหลงติดอยู่ในรูปในนามนี้ แม้กระทั่งหลงอยู่ในกายพรหม เทวดา นางฟ้า ก็ยังเป็นอุปาทานขันธ์๕ อยู่ดี[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้ดูอารมณ์ที่เกิด - ดับ จักทุกข์ก็ดี จักสุขก็ดี มันไม่มีอะไรเที่ยง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จำไว้โลกแก้ไม่ได้ ให้แก้ที่จิตของตนเอง เพื่อให้พ้นไปเสียจากโลก[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตมีสภาพเกาะติด จึงต้องใช้ปัญญาหาต้นเหตุให้พบ จึงจักแก้ได้(ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พิจารณาธรรมทั้งหลายที่เข้ามากระทบ คือ อายตนะทั้ง ๖ ทุกเรื่องล้วนทำให้เกิดทุกข์ หากเอามาเป็นกรรมฐาน จักได้ประโยชน์จากการกระทบนั้นอย่างมหาศาล[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การกระทบทุกครั้งจากอายตนะหก ล้วนเป็นพระธรรม สอบได้สอบตกก็อยู่ที่จุดนี้ นี่คือจริตหก[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การตำหนิ การนินทา เป็นความไม่ดี จงอย่าให้เกิดขึ้นแก่จิต เพราะผิดกรรมบถสิบ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หากคิดให้ดีๆ ร่างกายนี้ไม่มีเวลาสุขจริงเลย มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย แสดงธรรมที่ไม่เที่ยงอยู่ตลอดเวลา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เกาะสุขก็เป็นทุกข์ เพราะสุขทางโลกก็ไม่เที่ยง หากไม่เข้าใจจุดนี้ จิตก็จักมีอุปาทานหลงแสวงหาสุขที่ไม่เที่ยงนั้นๆ ซึ่งต่างกับสภาวะจิตที่เข้าถึงพระนิพพาน ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่เกิด ไม่ดับ เป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ร่างกายไม่ดี ย่อมพาจิตให้ไม่ดีไปด้วย มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ร่างกายไม่ดี จิตใจไม่เกี่ยวเกาะร่างกาย จิตของท่านดีอยู่เสมอ ดังนั้นผู้ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ จึงยังมีอารมณ์ไหลขึ้นไหลลง ดีบ้างไม่ดีบ้าง ยิ่งวันไหนร่างกายแย่ จักเห็นอารมณ์ของจิตแย่ตามชัด ก็นับว่าเป็นปกติธรรมอยู่[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ร่างกายนี้เป็นสมบัติของโลก ไม่มีใครเอาไปได้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา จึงบังคับมันให้ทรงตัวไม่ได้ มันจักเป็นอย่างยิ่ง ก็เป็นเรื่องธรรมดา ให้ใช้จิตพิจารณาคำว่า ธรรมดา เข้าไว้ดูแลมันตามหน้าที่ ตามทางสายกลาง แล้วความสุขจักเกิดขึ้นกับจิต[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เรื่องอะไรจักเกิด ก็ย่อมเกิดตามกรรมตามวาระ ทุกเรื่องเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งสิ้น เห็นทุกอย่างพังหมดเข้าไว้เสมอ แม้กระทั่งร่างกายของตนเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ไม่มีใครเขาทิ้งพรหมวิหาร ๔ กัน เพราะเลี้ยงศีล สมาธิ ปัญญา เป็นกำลังใหญ่ให้เข้าถึงพระอรหัตผลได้ง่าย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าสนใจกับจริยา หรือปัญหา หรือกรรมของผู้อื่น เพราะปัญหาของตนเองก็มากพอแล้ว ให้มองลงตรงกฎธรรมดา กรรมใครกรรมมัน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ที่ยังเอาดีไม่ได้ เพราะยังมีความอาลัยอาวรณ์ในขันธ์ ๕ เป็นเหตุ กลัวทุกข์ กลัวลำบาก กลัวอด ห่วงกายมากกว่าห่วงจิต ตัดตัวนี้ไม่ได้ก็ยังเอาดีไม่ได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทุกๆ วันให้ตรวจสอบตนเองว่า มีอะไรดีขึ้นกว่าเก่าบ้างไหม ในการปฏิบัติธรรม จักเห็นว่าขันธ์ ๕ ทุกอย่างเสื่อมหมด ให้ถามจิต ให้จิตตอบ เพราะเหตุใด หากจิตยังไม่ยอมรับความจริงในสัทธรรม คือ ฝืนโลก ฝืนธรรม จัดเป็นวิภวตัณหา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การปฏิบัติจักต้องไม่ฝืนความจริงของขันธ์ ๕ เพราะแม้ไม่ยึดตัวใดตัวหนึ่งในขันธ์ ๕ นี้ ก็สามารถจบกิจในพุทธศาสนาได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ผู้ใดปรารถนาพระนิพพานเป็นที่ไป จักถูกขันธมาร และกิเลสมารเล่นงานหนัก จึงต้องเตรียมตัวเตรียมใจไว้ให้พร้อม เพื่อยอมรับสภาพกฎของกรรมในรูปแบบต่างๆ อย่างมีสติสัมปชัญญะ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทุกสิ่งในโลกไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา ทุกอย่างในโลกหนีกฎไตรลักษณญาณไปไม่พ้น จิตยอมรับกฎของธรรมดาก็จะมีความสุขมาก[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ร่างกายที่ยังคงอยู่ก็เพราะอาศัยสันตติ คือ การสืบเนื่องไม่ขาดสายของธาตุ ทั้ง ๔ (ดิน น้ำ ลม ไฟ) ให้กำหนดรู้สภาพของร่างกายตามความเป็นจริง อยู่เสมอ จิตจักปลดร่างกายได้ในที่สุด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้มองจิตตนเอง จนรู้อารมณ์จิตตนเองในแต่ละขณะจิต จักเห็นความหวั่นไหวไปตามอายตนะสัมผัสต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ต้องใช้สติสัมปชัญญะ กำหนดรู้เป็นอย่างยิ่งและใจเย็นด้วย จึงจักได้ผล[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ขอให้อดทนต่ออุปสรรคทั้งปวง จักไปพระนิพพาน กฎของกรรมจักต้องทยอยเข้ามาเล่นงานอย่างหนัก ต้องฝึกจิตให้เข้มแข็ง บารมี ๑๐ อย่าทิ้ง อย่าลืมวางขันธ์ ๕ ได้อย่างเดียว ก็วางทุกสิ่งทุกอย่างได้หมด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การนอนให้นอนอย่างนักปฏิบัติ คือ หลับในฌานหรือวิปัสสนาญาณ อย่านอนทิ้งนอนขว้าง จักตายเสียเปล่า[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าทิ้งการพิจารณาทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยเฉพาะมุ่งตัดขันธ์ ๕ ของตนเองเป็นสำคัญ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] สภาพของจิตมีอารมณ์ชอบยึด ชอบเกาะ จึงต้องรู้สภาวะจิต ซึ่งยึดทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามากระทบจิต[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าฝืนร่างกาย ให้อนุโลมตามเหตุตามผลของความเป็นจริง ฝืนเท่าไหร่ทุกข์มากเท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ศีลและธรรมเท่านั้นที่จักชำระจิต ให้หลุดพ้นจากการถูกรบกวนด้วยอารมณ์ทั้งปวง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ตั้งสัจจะอธิษฐานเข้าไว้ จิตของเราจักไม่ตั้งตนเป็นศัตรูกับใคร ทำให้ได้จริงๆ แล้ว จิตจักไม่สนใจจริยาของผู้อื่น จิตเป็นสุขสงบ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ตัดกังวลภายในจิตลงให้ได้มากที่สุด ด้วยการใช้ปัญญาถามจิต ให้จิตตอบว่าจักกังวลกับชีวิตไปเพื่อประโยชน์อันใดกัน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ร่างกายที่จิตเราอาศัยอยู่ชั่วคราวนี้ มันประกอบด้วยธาตุ ๔ มีอาการ ๓๒ ให้หมั่นกำหนดรู้พิจารณาว่ามันไม่ใช่เรา มันไม่มีในเราอยู่เสมอๆ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าทิ้งกรรมฐาน ๕ คือ พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ให้เป็นสมถะและวิปัสสนาอยู่เสมอ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่างทิ้งการพิจารณาอายตนะ ๖ จักเห็นเด่นชัดว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] บุคคลใดเห็นทุกข์จากการเกิดมามีขันธ์หรือร่างกายแล้ว จักเป็นผู้มีธุระน้อยทางโลกลงได้ตามลำดับ ความไม่ประมาทในชีวิตและความตาย จักมีมากขึ้นเพียงนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เห็นความไม่เที่ยงของร่างกายอยู่ตลอดเวลา จักเป็นเหตุให้จิตคลายความเกาะติดในร่างกายและเบื่อหน่ายในการมีร่างกายลงได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] วิปัสสนาญาณ ๙ จงอย่าทิ้ง เพราะเป็นตัวปัญญาแท้ที่ใช้ตัดขันธ์ ๕ โดยตรง (ให้เห็นร่างกายเป็นไตรลักษณ์ แล้วเดินไปสู่ความพังอย่างเดียว เต็มไปด้วยความทุกข์จึงน่ากลัวจากความไม่เที่ยง เห็นโทษและภัยจากกฎของกรรมตามมาให้ผล มีอารมณ์เบื่อกาย - เบื่อเกิดเป็นผล พิจารณาให้จิตหลุดพ้นด้วยบารมี ๑๐ และสังโยชน์ ๑๐ พิจารณาให้จิตหลุดพ้นด้วยจริตหก ยอมรับความจริง ๗ ข้อแรกแล้ววางได้ เกิดสังขารุเบกขาญาณ ทบทวนธรรมทั้ง ๘ ข้อ กลับไปกลับมาให้ชำนาญ)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ไม่มีใครมีร่างกายแล้วหนีการเจ็บป่วย ความแก่ ความตาย ไปได้ ผู้ใดไม่คิดถึงจุดนี้ ผู้นั้นประมาทอย่างยิ่ง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้พิจารณาขันธ์ ๕ ให้จงหนัก จิตจึงจักตัดราคะกับปฏิฆะได้ ให้พิจารณาขันธ์ ๕ ปล่อยวางขันธ์ ๕ ให้เห็นทุกอย่างเป็นของธรรมดา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้หมั่นพิจารณาร่างกายโดยอเนกปริยาย รวมไปถึงการกระทบ กับอารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ โดยอาศัยร่างกายนี้เป็นต้นเหตุ หากวางร่างกายได้ก็จบกิจ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา จุดนี้ต้องย้ำและพิจารณาให้หนัก จักได้ไม่หวั่นไหวเมื่อมรณะภัยมาถึง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คนเรียนมาก รู้มาก มิใช่ว่าจักตัดกิเลสได้มาก แค่เรียนรู้ยังเป็นสัญญา หรือความจำ ยังไม่ใช่ปัญญา การคิดพิจารณาเรื่องของร่างกายตามความเป็นจริง แล้วละปล่อยวางได้จึงจักเป็นปัญญาแท้ในพุทธศาสนา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การมีร่างกายอยู่นี้เป็นการอยู่กับความตายทุกๆ ขณะจิต เพราะชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง และความตายไม่มีนิมิตเครื่องหมาย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การจักปฏิบัติแก้กิเลสจุดไหน ให้ระวังกิเลสจุดนี้จักเล่นงานอย่างหนัก บารมี ๑๐ จึงทิ้งไม่ได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อดทนให้มากกับภัยจากภายนอกที่เข้ามากระทบจิตใจ (มีอินทรีย์สังวรหรือสำรวจอายตนะ) หากหลีกไม่พ้น ให้ถือว่าเป็นกฎของกรรม อย่าต่อกรรม อย่าไปแก้ปัญหาที่ผู้อื่น ให้แก้ที่ตนเองเสมอ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ไม่มีใครเอาสมบัติของโลกไปได้ก็จริงอยู่ แต่ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ปัจจัย ๔ ก็เป็นสิ่งจำเป็นของชีวิต แต่จิตพร้อมที่จักละวางในสมบัติของโลกได้ทันที[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กายไม่เที่ยง อารมณ์จิตไม่เที่ยง ใครไม่รู้ ยึดเข้าก็เป็นทุกข์ ต้นเหตุแห่งทุกข์ คือความทะยานอยากของจิต (สมุทัย หรือตัณหา) ให้ดับด้วยปัญญาอันเกิดจากสมาธิ ซึ่งตั้งมั่นอยู่บนศีลบริสุทธิ์เท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จักวางทุกข์ได้ต้องอาศัยปัญญาพิจารณาประกอบ มิฉะนั้น เห็นทุกข์ก็จักเกาะทุกข์ ก็ยิ่งทุกข์ใหญ่[/FONT]
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปกิณกะธรรม เล่มที่ 11

    [FONT=&quot] [​IMG] การปฏิบัติจักต้องย้อนหน้า - ถอยหลัง เนื่องจากจิตติดกับกิเลสตัวเก่าคือโกรธ - โลภ - หลง ไม่รู้จักพอ ยุให้จิตยึดเกาะขันธ์ ๕ เป็นของเรา เพราะสติ - สัมปชัญญะไม่ต่อเนื่อง ให้มีสติกำหนดรู้ไว้เสมอว่า ร่างกายนี้เป็นเพียงที่อาศัยชั่วคราว มันพังเมื่อไหร่ก็พร้อมที่จักไปพระนิพพานเมื่อนั้น[/FONT] [FONT=&quot] [​IMG] อย่าเห็นปัญหาอื่นใด สำคัญไปยิ่งกว่าการรักษาจิตใจของตนเอง ปล่อยวางทุกสิ่งเพื่อความสบายใจของตนเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] รับฟังเรื่องราวเหตุการณ์ใดมา ก็ให้ถือว่าเป็นธรรมดาของโลก ฟังแล้วก็พึงกำหนดรู้ สภาวะธรรม เหล่านั้นได้ดับไปแล้ว เป็นอดีตไปแล้ว ให้ปล่อยวางทันที ถือว่าเป็นเรื่องไร้สาระ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าพึงเข้าใจไตรลักษณ์แล้ว ให้พิจารณาจนเกิดอารมณ์ชิน ไม่เผลอยึดสิ่งที่ไม่เที่ยง จนจิตทรงตัว โดยอาศัยอานาปานัสสติเป็นสำคัญ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นไปตามกฎของกรรม จิตจักสบายไม่ดิ้นรนไปด้วยประการใด ๆ ทั้งปวง โดยอาศัยพรหมวิหาร ๔ เป็นหลักสำคัญ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พยายามรักษาอารมณ์ยอมรับกฎของธรรมดาของร่างกายเข้าไว้ แยกกาย-เวทนา-จิต-ธรรม จิตอยู่ในอารมณ์สักเพียงแต่ว่ารู้ สักเพียงแต่ว่าอาศัยอยู่เท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ชีวิตเกิดขึ้นมาแล้ว ก็มีแก่ - มีเจ็บ - มีตาย เป็นธรรมดา เมื่อยังไม่ตาย ก็มีความปรารถนาไม่สมหวัง มีการพลัดพรากจากของรัก ของชอบใจเป็นธรรมดา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าเพลินอยู่กับสุข อย่าเศร้าหมองอยู่กับทุกข์ ให้เดินสายกลางคืออัพยากฤต[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าทำตนเป็นเก่ง แก้ไขไปเสียทุกอย่าง อุเบกขาหรือปล่อยวางเสียบ้าง สนใจแต่ปัญหาของตนล้วนๆ จิตจักได้ไม่วุ่นวาย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] มองทุกข์จากการเกิด แล้วเพียรปล่อยวาง ให้เห็นเป็นของธรรมดา อย่าเห็นทุกข์แล้วเกาะทุกข์ จิตจักยึดทุกข์ของขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา เป็นของเราตลอดกาล[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทุกครั้งที่แพ้กิเลสเพราะขาดสติ เห็นผิดเป็นชอบ จึงต้องไม่ทิ้งอานาปานัสสติ ซึ่งเป็นตัวทำให้มีสติสัมปชัญญะตลอดชีวิต[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การรู้เป็นเพียงแค่เข้าใจเท่านั้น ของจริงอยู่ที่ผลของการปฏิบัติ การรู้คือมรรค การปฏิบัติเพื่อตัดโกรธ - โลภ - หลงคือผล[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตฟุ้งอยู่ในสัญญา เพราะมัวไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่น จิตชอบจำแต่ความเลวของผู้อื่น อันเป็นภัยที่กลับมาทำร้ายจิตตนเองให้เศร้าหมอง ขาดเมตตากับกรุณาจิตตนเอง ชอบจุดไฟเผาตนเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ฟุ้งเลว ให้แก้ด้วยฟุ้งดี จำเลวแก้ด้วยจำดี ฟุ้งออกนอกตัวเป็นกิเลส ฟุ้งอยู่กับกายตัว เป็นพระธรรม หากฟุ้งเข้าหาอริยสัจเข้าหาพระธรรม เป็น ธัมมวิจัย ไม่ใช่นิวรณ์[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่ากังวลใจ ให้พยายามลงกฎของธรรมดาให้ได้หมดทุกเรื่อง จิตใจจึงจักสงบได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ฟุ้งเรื่องอะไร ให้พยายามแก้เรื่องนั้น โดยใช้อริยสัจเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา หากแก้ไม่ไหว จงใช้อานาปานัสสติเข้าระงับจิตให้สงบ แล้วจึงใช้อริยสัจ ธรรมของตถาคตต้องหยุดอารมณ์จิตให้สงบก่อน จึงจักเห็นการเคลื่อนไหวของกิเลสได้ตามความเป็นจริง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตของผู้มีปัญญา จักเป็นจิตที่รู้เท่าทันความจริงในอริยสัจอยู่เสมอ พระอรหันต์ท่านทรงอธิปัญญาก็อยู่ที่ตรงนี้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การวางอารมณ์ราคะและปฏิฆะไม่ได้อย่างสนิทใจ เพราะบกพร่องใน กายคตานุสสติและพรหมวิหาร ๔ ( กายคตาตัดราคะ พรหมวิหาร ๔ ตัดปฏิฆะ)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] มองทุกอย่างให้เป็นธรรมดาเสียอย่างเดียว อารมณ์ปล่อยวางก็จักเกิดขึ้นได้โดยง่าย หากจิตฝืดให้ฟังเทป หรืออ่านหนังสือธรรมะ ช่วยแก้ไขจิตได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การรับทานหรือการให้ทาน พึงดูบารมี ๑๐ ควบคู่ไปด้วยเสมอ จักทำให้การปฏิบัติเป็นการเจริญพระกรรมฐานไปในตัว อารมณ์พอใจกับไม่พอใจ จักไม่เกิดในขณะนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ศีล ๓ ระดับ ขั้น ๑ เอาศีลคุมกายให้เรียบร้อย ขั้น ๒ เอาศีลคุมวาจาให้เรียบร้อย ขั้น ๓ เอาศีลคุมใจให้เรียบร้อย ก็คือกรรมบถ ๑๐ นั่นเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ปัญญาในพุทธศาสนา คือ การรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจ หรือการรู้เท่าทันในกองสังขารแห่งกายและจิต[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พิจารณาร่างกายของใคร ก็ไม่สำคัญเท่ากับพิจารณาร่างกายตนเอง เนื่องด้วยความโกรธ - โลภ - หลง ก็ดี มาจากร่างกายเป็นเหตุทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การพิจารณาทุกข์ทุกครั้ง ให้ลงตรงขันธ์ ๕ เป็นตัวรับทุกข์ แต่ก็ไม่ควรลืมต้นเหตุแห่งทุกข์ คือกามตัณหา - ภวตัณหา - วิภวตัณหา ซึ่งทำให้เกิดมีขันธ์ ๕ ด้วย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การรู้อารมณ์ตนเองอยู่เสมอทำให้พ้นทุกข์ได้ จงอย่าไปสนใจจริยาของผู้อื่น อันเป็นกิเลสเพิ่มทุกข์ให้กับใจตนเอง ทำปัจจัยให้เป็นสุข[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การพิจารณาศีล - สมาธิ - ปัญญา โดยเอาสังโยชน์ ๑๐ เป็นเครื่องวัดอารมณ์จิตอยู่เสมอ บวกกับบารมี๑๐ เป็นเครื่องช่วยพิจารณา จักเป็นทางเข้าถึงพระนิพพานได้ง่ายขึ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ใช้ปัญญาพิจารณาขันธ์ ๕ เป็นสำคัญ จึงจักวางเรื่องที่เข้ามากระทบทางกาย - วาจา - ใจ ได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าหนีความโกรธ เพราะเป็นกิเลสที่ต้องละด้วยสมถะ และวิปัสสนา (กสิณ ๔ และพรหมวิหาร ๔) ให้คิดว่าคือครู ทดสอบอารมณ์จิต จึงต้องแก้ที่จิตตน อย่าไปแก้ที่บุคคลอื่น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พุทธานุสสติอย่าทิ้งไปจากจิต เมื่อรู้ตัวว่าอารมณ์ โทสะจริต ยังเด่นอยู่ จงอย่าทิ้งพระ อย่าไปไหนคนเดียว อย่าอยู่คนเดียวให้อยู่กับพระ พระอรหันต์ทุกองค์ท่านยังไม่ทิ้งพระ แล้วเราเป็นใคร[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คำว่ารัก มิใช่เพียงแต่หนุ่มสาว ให้ดูอารมณ์เกาะติดในรูป - รส - กลิ่น - เสียง - สัมผัส - ธรรมารมณ์ด้วย คือให้สำรวมอายตนะทั้ง๖ ประตูทั้ง ๖ ด้วย จึงจักวางอารมณ์เกาะติดลงได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ที่ยุ่งยากกาย - ใจ อยู่ทุกวันนี้ เนื่องด้วยอุปาทานขันธ์๕ เป็นต้นเหตุทั้งสิ้น การพิจารณาร่างกายอยู่เสมอ เป็นอุบายไม่ให้จิตส่งออกนอกกาย เป็นวิปัสสนาที่ถูกต้องของพระพุทธศาสนาเป็นอริยสัจ ให้ดูอาการของจิตที่เกาะติดร่างกายนี้ว่าเป็นเรา เป็นของเรานี้แหละเป็นสำคัญ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าทิ้งอานาปานัสสติ ยิ่งกำหนดรู้ลมมากเท่าไหร่ จิตยิ่งทรงสติได้มากขึ้นเท่านั้น ช่วยเตือนใจว่าชีวิตนี้มันไม่เที่ยง อาจตายได้ตลอดเวลา มีมรณาควบอุปสมานัสสติอยู่เสมอ ความไม่ประมาทก็ยิ่งน้อยลง ก็ยิ่งใกล้พระนิพพานเพียงนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตจักเจริญได้ต้องอาศัยความเพียร ในการปฏิบัติจริง ๆ แล้ว ให้ตัดสังโยชน์ ๓ ให้ได้ก่อน ให้รวบรัดตัดอวิชชาข้อ๑๐ เลย รู้ลม - รู้ตาย - รู้นิพพาน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อุบายที่ทรงเมตตาแนะวิธีเข้าพระนิพพานแบบง่ายๆ สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานได้สังโยชน์๓ ข้อแรกแล้ว ก็คือ รู้ลม - รู้ตาย - รู้นิพพาน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กาม - กิน - นอน ๓ ตัวนี้ยังติดกันมาก ซึ่งล้วนเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดร่างกาย หรือรูป - นาม (ขันธ์๕) ทั้งสิ้น อันเป็นโทษของการเกาะติด หากละวางได้ก็เป็นคุณ ซึ่งมีอยู่ในศีล ๘ ทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อธิศีล มีศีล ๕ รองรับ ก็พ้นอบายภูมิ ๔ ได้ถาวร อธิจิต ไม่ติดในกาม - กิน - นอน มีศีล ๘ รองรับ ก็พ้นเกิดพ้นตาย อธิปัญญา จิตไม่ยินดี - ยินร้ายในสมมุติของโลกและ ขันธโลก ในสมมุติบัญญัติ๖ คือหมดอุปาทาน มีศีล๑๐ และศีล ๒๒๗ รองรับ จิตวางสมมุติได้ จิตก็วิมุติทั้งกาย - วาจา - ใจ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้พิจารณาโทษของการติด รูป - รส - กลิ่น - เสียง - สัมผัส - ธรรมารมณ์ให้มาก และพิจารณาโทษของการติดกาม - กินและนอนให้มากด้วย แล้วจักทำให้จิตหลุดจากกามคุณ ๕ ได้หากโชคดีก็จบกิจเลย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] งานใดที่ทำอยู่พึงคิดว่างานนั้นเป็นกรรมฐาน เห็นธรรมภายนอกก็น้อมเข้ามาเป็นธรรมภายใน ให้เห็นไตรลักษณ์ เห็นทุกข์ในงานนั้นๆ พิจารณาเข้าหาอริยสัจ อันเป็นตัวปัญญาสูงสุดในพุทธศาสนา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้สังเกตอายตนะสัมผัสกระทบให้มาก แล้วดูอารมณ์จิตที่ไหวไปตามอายตนะนั้นด้วยปัญญา คือรู้เท่าทันกองสังขารแห่งกายและจิต ชื่อว่าปัญญา จงอย่าเผลอในธรรมสัมผัสที่เกิดจากทวารทั้งหก หมั่นพิจารณา กายคตานัสสติกับอสุภกรรมฐานเข้าไว้ เพื่อเตือนสติให้รู้เท่าทันสภาวะร่างกายของตน จักได้คลายอารมณ์เกาะติดรูปในยามที่ถูกกระทบ จุดนี้สำคัญ จักต้องใช้ปัญญาพิจารณาจริงจัง จึงจักวางได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตที่เย็นสนิท คือจิตที่พิจารณากฎของกรรม แล้วยอมรับความเป็นจริงของขันธ์ ๕ โดยไม่ดิ้นรน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] บุคคลใดที่ต้องการจักไปพระนิพพานในชาตินี้ บรรดาเจ้าหนี้เก่า ๆ ก็จักตามทวงตามเล่นงานอย่างไม่ลดละ หากทนไม่ได้ก็ไปไม่ได้ ต้องวางอารมณ์ยอมรับกฎของกรรมให้เป็นธรรมดาให้ได้ การพ่ายแพ้เป็นของธรรมดา แต่จงอย่าถอย จิตก็จักไม่ดิ้นรนมาก ไม่ช้าไม่นานกฎของกรรมก็จักคลายตัวไปเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทุกอย่างที่ทำให้จิตมีอารมณ์กังวลอยู่ ล้วนแต่เกี่ยวเนื่องด้วยการเกาะติดขันธ์ ๕ ทั้งสิ้น เช่นเศรษฐกิจไม่ดี,การเจ็บป่วย ต้นเหตุเพราะจิตไม่ยอมรับนับถือกฎของกรรม ใช้ทุกขเวทนาให้เป็นประโยชน์ เอาทุกข์นั่นแหละสอนจิต ให้ยอมรับความไม่เที่ยงของโลก และ ขันธโลก (ร่างกาย)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทุกขสัจหรือทุกข์กายต้องกำหนดรู้จึงจักรู้ว่าเป็นทุกข์ แล้วลงตัวธรรมดาว่ามันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้เอง ไม่มีใครฝืนได้ การเจ็บป่วยจึงเป็นของดี จักได้ไม่ประมาทในความตาย เพราะไม่มีใครเอาสมบัติของโลกไปได้ รู้ลม - รู้ตาย - รู้นิพพาน เป็นทางลัดเข้าสู่พระนิพพานได้ง่ายๆ ไม่ช้าไม่นานกฎของกรรมก็จักคลายตัวไปเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าสงสัยในธรรมทั้งปวง การไม่ปรุงแต่งธรรม คือธรรมที่แท้จริง เป็นธรรมล้วนเนื่องด้วยความโกรธ - โลภ - หลง ก็ดี มาจากร่างกายเป็นเหตุทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทั้งๆ ที่รู้ว่าร่างกายไม่มีแก่นสาร ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา แต่จิตยังห่วง - หวงรักร่างกายตนเองอย่างยิ่ง หากยังมีสังโยชน์ค้างอยู่มากเท่าไหร่ ก็ยังห่วง - หวงมากเท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ที่ยุ่งยากกาย - ใจ อยู่ทุกวันนี้ เนื่องด้วยอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นเหตุทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การฟังธรรมหรือปฏิบัติธรรมจิตต้องมีสมาธิเป็นหนึ่ง ( เอกัตคตารมณ์) เท่านั้น จึงจักตัดกิเลสได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตต้องพร้อมละทุกอย่าง เพื่อพระนิพพาน คือละความโลภ - โกรธ - หลง จากจิตเราเป็นสำคัญ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คนเราเกิดมาเพื่อตาย ใครจักตายไม่สำคัญเท่ากับกายที่จิตเราอาศัยอยู่มันตาย จิตต้องพร้อมที่จักไปพระนิพพานอยู่เสมอ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ใครคิดว่าตนรู้จักร่างกายของตนดีแล้ว แสดงว่าตกเป็นทาสของกิเลส เพราะหากรู้จริงความเกาะในร่างกายนี้จักไม่มี[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าปรุงแต่งธรรม ใครไปอย่างไร ใครมาอย่างไร ให้ปล่อยไปตามนั้น ให้เกิด - ดับไปเป็นธรรมดา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ความเบื่อหน่ายจริง จักต้องเบื่อธรรมภายใน คือรูป - นาม (ขันธ์ ๕) ตนเอง ซึ่งหาความเที่ยงไม่ได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การพิจารณาจักต้องทำให้สม่ำเสมอ จิตจักสามารถเห็นร่างกายตามความเป็นจริงได ที่ยังแพ้ต่อกิเลส เพราะสติและบารมี ๑๐ ยังไม่เข้มแข็งพอ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กิเลสทั้งหลายจักเกิดขึ้นมาไม่ได้ ก็อาศัยขันธ์ ๕ หรือร่างกายนี้แหละเป็นเหตุ อายตนะทั้งหมด ภายนอก ๖ ภายใน ๖ ล้วนเป็นบ่อเกิดของความเกิดทั้งสิ้น หากยังวางมันไม่ได้[/FONT]
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปกิณกะธรรม เล่มที่ 12

    [FONT=&quot] [​IMG] ผู้ไม่ปฏิบัติธรรมให้เกิดผล ยิ่งเรียนยิ่งถูกกิเลสจูงไปข้างหน้า ไม่มีโอกาสย้อนดูผลความจริงข้างหลัง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การปฏิบัติธรรมต้องทำเอง ทำแทนกันไม่ได้ เหมือนทำ ทำนบกั้นน้ำพระธรรม ไว้ดับไฟโลภ โกรธ หลง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าลืม ธรรมของตถาคตเป็นสัจธรรม ไม่มีเก่าไม่ล้าสมัย เป็นอริยสัจ คือความจริงที่อยู่กับโลกทุกกาลสมัย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] นักปฏิบัติต้องวางสมมุติทางโลก ให้หมดจากใจจึงจะวิมุติ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ชนะตนเองไม่กระเทือนผู้อื่น
    ชนะโลก ชนะผู้อื่นกระเทือนแน่[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คนเกิดมาแล้วมาแย่งชิงกัน เอาโลกธรรม ๘ ซึ่งพระพุทธเจ้าสอนให้ละ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตจริงๆ เป็นกลาง ไม่คิด ไม่ปรุง อยู่กับปัจจุบันเป็นอัตโนมัติ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การเคารพที่ดี ต้องถือเอาเจตนาของใจเป็นหลักใหญ่[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ธรรมทานชนะทานทุกอย่าง (การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง) รสพระธรรมชนะรสทุกอย่าง ความยินดีในธรรมชนะความยินดีทุกอย่าง ความสิ้นตัณหา ชนะทุกข์ทุกอย่าง (เพราะไม่เกิดอีกแล้ว) [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กาเลนะ ธัมมสากัจฉา เท่ากับการสนทนาธรรมตามกาลตามสมัย เป็นมงคลที่ ๓๐ ทรงสอนจากง่ายไปหายากในมงคล ๓๘[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การยอมรับนับถือกฎธรรมได้ตัวเดียว เท่ากับยอมรับกฎของกรรม คือ อารมณ์พระนิพพานของพระอรหันต์ ท่านตัดอารมณ์ทั้ง ๓ ได้หมด [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หมดความหวั่นไหวในโลกธรรม ๘ เท่ากับหมดอคติ ๔[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ความโศกเศร้าเสียใจเกิดจากความรัก ภัยอันตรายเกิดจากความรัก เท่ากับปิยะโต ชายะเตโสโก และปิยะโต ชายะเตภะยัง [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ผู้ใดใคร่ครวญสัทธรรมอยู่เป็นปกติ ผู้นั้นจะไม่มีวันเสื่อมจากสัทธรรม เท่ากับธัมมวิจัย ทำให้เกิดปัญญา เท่ากับปุจฉา วิสัชนา [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงอย่าหนีทุกข์ จงอย่าเบื่อทุกข์ ให้เห็นเป็นของธรรมดาของผู้เกิดมามีร่างกาย ทุกข์นี้จะหมดไปพร้อมกับความตาย [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หวงขี้ ๓ กอง เพราะใจโง่ ละขี้ ๓ กองได้ก็เป็นพระอนาคามี[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การพยายามฝืนทุกข์ของกาย เหมือนกับพยายามต้อนช้างให้ลงรูปู (เพราะหาตัวธรรมดาไม่ได้) [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คิดดีก็เป็นทุกข์ เท่ากับเป็นความเลวที่แฝงมากับความดี เท่ากับผู้ร้ายที่แฝงมากับผู้ดี [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงอย่าเป็นทุกข์กับสิ่งที่มีทุกข์อยู่แล้ว เช่นทุกข์กายเท่ากับทุกขสัจ [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การปฏิบัติจักได้ผล สมาธิต้องทรงตัว โดยมีสติกำหนดรู้ตลอด (เท่ากับทรงอานาปาตลอดในยามว่าง) [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทุกข์กายห้ามฝืน ทุกใจต้องฝืนด้วยอริยสัจ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ธรรมปัจจุบันอยู่ที่ลมหายใจ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หาปกติธรรมให้พบ แล้ววางจิตจักเบา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หาธรรมดาให้พบ แล้ววางจิตจักเบา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] มองทุกสิ่งในโลกเป็นไตรลักษณ์ เท่ากับมองเห็นกฎธรรมดาของโลก เท่ากับใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง เท่ากับไตรลักษณ์เป็นอาวุธฆ่ากิเลสได้ทุกชนิด [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] สุข - ทุกข์เกิดจากอายตนะทั้ง ๖ ต้องอยู่ในอัพยากฤตตลอด เพราะอัพยากฤตไม่มีปรุงแต่ง หรือไม่มีอุปาทาน เท่ากับทรงอัพยากฤตตลอด [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ไม่ประมาทในความตาย คือ นิพพานสมบัติ ไม่ประมาทในความตายขั้นต้น ก็เป็นพระโสดาบันได้ [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ตำหนิกรรม (ผู้อื่น) คือ ตำหนิพระธรรม เท่ากับตำหนิพระรัตนตรัย ทรงสอนให้ตำหนิตนเอง แก้ไขตนเองอยู่เสมอ [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าหาพระไตรปิฏกนอกตัว เท่ากับอย่าหาพระธรรมหรือความจริงนอกตัว [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าไปเที่ยวบ้านคนอื่น จงดูแลบ้านตนให้ดีก่อน เท่ากับอย่าสนใจกายและจิตคนอื่น ให้สนใจแต่กายและจิตตนเอง [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงละ - เว้น - ปล่อย - วาง และหยุด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ถ้าเห็นกาย เวทนาและจิต ธรรม เกิดดับๆ ก็เป็นวิปัสสนา เท่ากับเห็นสันตติภายนอกและภายใน (เห็นกาย เวทนา จิต ธรรม เกิด - ดับๆ) [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การปฏิบัติธรรมให้ตัดโกรธก่อน เท่ากับปิดนรกได้ (วิธีปฏิบัติคืออย่าทิ้งพระ)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] แจกเงินทองย่อมหมดได้ แจกธรรมะไม่มีหมดมีแต่เพิ่ม[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตที่มิได้ฝึก เหมือนจิตผู้แทน เที่ยวรับกรรมของผู้อื่น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อุปาทานเหมือนผู้แทน เท่ากับหมดอุปาทานก็หมดผู้แทน เท่ากับก็เป็นพระอรหันต์ [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หวงขี้ ๓ กอง เพราะใจโง่[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การพยายามฝืนทุกข์ของกาย เหมือนกับพยายามต้อนช้างให้ลงรูปู (เพราะหาตัวธรรมดาไม่ได้)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ติดดีก็เป็นทุกข์ เท่ากับเป็นความเลวที่แฝงมากับความดี เท่ากับผู้ร้ายที่แฝงมากับผู้ดี [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงอย่าเป็นทุกข์กับสิ่งที่มีทุกข์อยู่แล้ว เช่น ทุกข์กายเท่ากับทุกขสัจ [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] โลกพร่องอยู่เป็นนิจ เพราะตกเป็นทาสของตัณหา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หาตัวธรรมดาให้พบแล้วยอมรับ จิตจักเป็นสุข[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] บาป - บุญ, สุข - ทุกข์, ดี - ชั่ว ล้านเกิดจากความคิดของเราเองทั้งสิ้น [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ถ้าจิตของเธออยู่กับตถาคต จิตของตถาคตก็อยู่กับเธอ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การรู้จักประมาณตนเองเป็นของประเสริฐ คือรู้มัชฌิมาปฏิปทานั่นเอง [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อารมณ์จิตที่เป็นสุขที่สุด คืออารมณ์รักพระนิพพาน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าใช้อารมณ์ปรุงแต่งมาเป็นเครื่องตัดสินใจปัญหา เพราะเป็นอุปาทานของจิต[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หลับมากก็ประมาทมาก ปฏิบัติธรรมได้น้อย (เท่ากับอย่าติดการนอน) ซึ่งเป็นอารมณ์หลง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ที่ยังแพ้ต่อกิเลส เพราะสติและบารมี ๑๐ ยังไม่เข้มแข็งพอ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กิเลสทั้งหลายจักเกิดขึ้นมาได้ ก็อาศัยขันธ์ ๕ หรือร่างกายนี้แหละเป็นเหตุ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อายตนะทั้งหมด ภายนอก ๖ ภายใน ๖ ล้วนเป็นบ่อเกิดของความเกิดทั้งสิ้น หากยังวางมันไม่ได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ความสันโดษ เป็นบรมทรัพย์ หรือทรัพย์ชั้นยอด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ความสันโดษ คือพอใจอย่างเหมาะสม หรือทางสายกลางนั่นเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ปัญญาแปลว่า รู้ออก (จากกามคุณ ๕, วัฏฏะ, ทุกข์, กิเลส, อารมณ์ ๓, สังโยชน์)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย คนประมาทเหมือนคนตายแล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] มัชชปานา จะสัญญโม เท่ากับการไม่ดื่มของมึนเมา จัดเป็นอุดมมงคล (การงดเว้น ก็คือการสำรวมนั่นเอง)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ดีเมื่อไหร่ตายวันนั้น จงอย่าหลงคิดว่าตนดีเป็นอันขาด ตราบใดที่ชีวิตร่างกายยังอยู่[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คนมีธรรมอยู่กับใจ เหมือนมียากิน มีหมอรักษา เท่ากับธรรมโอสถ เท่ากับหมอคือพระ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ซ้อมตายและพร้อมตายอยู่เสมอ คือความไม่ประมาท หรือคือนิพพานสมบัติ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ศีล สมาธิ ปัญญา หรือทาน ศีล ภาวนา เป็นหนทางสายตรงเข้าสู่พระนิพพาน [/FONT]
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปกิณกะธรรม เล่มที่ 13

    [FONT=&quot] [​IMG] การบรรลุ เขาบรรลุกันในขณะจิตเดียว[/FONT] [FONT=&quot] [​IMG] หากยอมรับกฏของกรรมเพียงตัวเดียว เท่ากับยอมรับอริยสัจด้วย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พยายามชำระจิต อย่าให้ติดอยู่กับโลกทั้งหมด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ไม่อยากมีขันธ์ ๕ พึงพิจารณาอริยสัจให้มาก[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตเห็นจิตเป็นมรรค จิตส่งออกเป็นทุกข์[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตอยู่กับกายเป็นธัมโม (สัมมาทิฏฐิ) จิตออกนอกกายเป็นธัมเมา (มิจฉาทิฏฐิ)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงชนะตนเองด้วยการพิจารณาด้วยเหตุ-ผล[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คนรู้ตนเองย่อมไม่สาย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เรื่องของเวลาในแต่ละมิติแตกต่างกันมาก[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ปัญหาหรืออุปสรรคทุกอย่าง มีเหตุเพราะหลงยึดขันธ์ ๕ ทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าคิดไปชนะผู้อื่น ให้รู้จักชนะใจตนเอง [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงวางเฉยในกฎของกรรมลงเสียบ้าง แล้วจิตจักเป็นสุข[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่ากังวลใจ อะไรจักเกิดขึ้น ให้พิจารณาว่าเป็นกฎของกรรมทั้งหมด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่ามองคนในแง่ดีหรือแง่ร้าย ให้มองเป็นธรรมดา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงวางใจให้เป็นกลาง ไม่คิดทั้งแง่ดีและแง่ร้าย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จักมีอะไรยิ่งใหญ่ไปกว่าความไม่กลัว เพราะรู้และยอมรับนับถือกฎของธรรมดา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ใคร่ครวญเสียก่อนจึงค่อยทำ มิใช่สักเพียงแต่ว่าทำ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตตกไม่มีกำลัง เพราะยังเกาะขันธ์ ๕ อยู่มาก[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าเบื่อร่างกาย ให้เบื่อหน่ายในทุกข์[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตชินกับอะไรก็จักไปตามนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พระอรหันต์ไม่ฝืนกฎของธรรมดา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เราคือจิต เมื่อเป็นอมตะแล้ว ย่อมไม่กลัวความตาย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าเบื่อกาย ให้เบื่อทุกข์ เพราะกายเป็นโลก ทุกข์เป็นอริยสัจ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การปฏิบัติให้ดูอารมณ์จิตเป็นสำคัญ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] รู้มัชฌิมาเข้าไว้ จักทำให้กาย-วาจา-ใจสงบเย็นได้ตามลำดับ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การนึกสงสัยเป็นของดี ดีกว่าฟุ้งส่งเดชโดยไม่คิด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตทรงตัวหรือไม่ ให้ใช้สังโยชน์เป็นเครื่องวัด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] วิปัสสนาคือ การรู้กายตามความเป็นจริงจนวางกายได้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] วิปัสสนาญาญ คืออุบายทุกชนิดในการตัดอุปาทานขันธ์[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] รักษาจิตให้ผ่องใสอยู่เสมอ คือหน้าที่แท้จริงของจิต[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คนห่วงกายมากกว่าจิต เพราะหลงกายว่าเป็นเรา เป็นของเรา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้เห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง แล้วปล่อยวางสมมติทั้งปวง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ไม่ต้องกังวลใจกับอะไรทั้งปวง อะไรจักเกิดมันต้องเกิด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อะไรๆก็ไม่เที่ยง มีแต่ธรรมะนี้แหละคือตัวเที่ยง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ตั้งอะไรเอาไว้ทั้งหมดให้เห็นเป็นธรรมดา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การไม่หวังผลตอบแทน จักทำให้จิตเป็นสุข[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทุกคนต่างมีเหตุผลของตนเองเป็นใหญ่ ยิ่งถือมากก็ยิ่งมากไปด้วยสักกายทิฏฐิ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้เห็นธรรมดาด้วยปัญญา มิใช่เหมาเอาว่าทุกอย่างเป็นธรรมดา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตใจที่เห็นโลกตามความเป็นจริง ย่อมไม่มีการปรุงแต่งธรรม[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คติประจำใจพระอรหันต์คือ ช่างมันๆๆ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คนดีในพระพุทธศาสนา จักจับผิดตนเองว่ายังไม่ดีอยู่เสมอ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ฆราวาสคิดว่าดีเมื่อไหร่ เลวเมื่อนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ขันธ์ ๕ จักทุกข์ ให้ทุกข์ไป แต่จิตใจไม่ทุกข์ด้วย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าไปแก้ไขใคร ให้แก้ไขใจตนเองเป็นสำคัญ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พิจารณาธรรมดา แล้วจิตจักเป็นสุข[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ตัณหามาจากความปรารถนาไม่สมหวัง อยากให้สมหวัง เหตุใหญ่มาจากขันธ์ ๕ ทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทุกคนต่างรักษาผลประโยชน์ของตน ตามอุปาทานของเขา (ตามทิฏฐิของเขา)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าเข้าข้างตนเอง อย่าสนใจเรื่องใคร ให้ดูแต่จิตตนหาธรรมดาให้พบ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ความกังวลเป็นต้นเหตุให้เกิดทุกข์[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ฝึกจิตให้เป็นธรรม อย่าปล่อยจิตให้เป็นโลก[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าหวังพึ่งกายของใคร แม้กายตนเองก็พึ่งไม่ได้ ที่สุดก็อนัตตา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตชินกับอะไร ก็จักไปตามนั้น ให้หมั่นเกาะพระนิพพานให้จิตชิน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่ามองคนในแง่ดีหรือร้าย ให้มองเป็นธรรมดา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าไปชนะผู้อื่น ให้ชนะความโกรธของตนเองเสียก่อน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เฉย-อุเบกขารมณ์คือ เฉยด้วยยอมรับกฏของธรรมดาตามความเป็นจริง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ปฏิบัติธรรมให้ได้ผล จิตต้องอยู่ในปัจจุบัน-ไม่ยุ่งอดีต-ไม่สร้างอนาคต[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทำปัจจุบันให้ดีไว้ แล้วทุกอย่างจะดีหมด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การยอมรับธรรมดาจัดเป็นขั้นๆ ไป[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตเห็นจิตเป็นมรรค จิตส่งออกเป็นทุกข์[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เห็นธรรมดาเสียอย่างเดียว จักรู้แจ้งในทุกข์หมดทุกอย่าง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เมื่อรู้ทุกข์-รู้ธรรมดา จิตก็จักไม่เกาะทุกข์ ไม่เกาะธรรมดานั้นๆ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้เอากายเป็นครูสอนจิต เห็นธรรมดาของกายต้องเป็นอย่างนี้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ดูแลกายตามหน้าที่ จิตพร้อมวางกายได้ตลอดเวลา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พยายามต่อสู้กับจิตที่ชอบฝืนความจริงของกาย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ขุ่นมัวเพราะเหตุใด ถามจิตตนเองให้เห็นตามความเป็นจริง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทุกข์เกิด เพราะอารมณ์ใจเป็นเหตุ ไม่เห็นตัวธรรมดา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] มองธรรมดาให้พบ แล้วพิจารณาให้จิตยอมรับ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] รักษากำลังใจเข้าไว้ ทำดีต้องอาศัยกำลังใจเป็นหลักคือบารมี ๑๐[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทำงานทุกอย่างด้วยใจเย็น อย่าทำด้วยอารมณ์[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าจำเลว ให้จำแต่สิ่งที่ดี[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พยายามอยู่กับพระให้มาก รู้ลม-รู้ตาย-รู้นิพพาน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] สติ-สัมปชัญญะเป็นตัวกำหนด จิตเป็นผู้รู้จักเห็นจิตวิ่งเข้าหานิวรณ์[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตว่างจากกิเลส ไม่ใช่กิเลสว่างจากจิต เพราะกิเลสหายไปเฉยๆ นั้นไม่มี[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คนเป็นมีปกติต้องคิด คนตายเท่านั้นที่ไม่คิด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าโกหกตนเอง คือความซื่อตรงของนักปฏิบัติ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การดูกาย ดูจิต ให้ดูตรงที่อารมณ์เกาะเกี่ยวร่างกายตรงไหนบ้าง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การพิจารณาขันธ์ ๕ อยู่เสมอ จึงเป็นสิ่งประเสริฐ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พยายามทรงอารมณ์สักแต่ว่าอยู่เสมอ ๆ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงอย่ายึดธรรมปรุงแต่งมาเป็นอารมณ์[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตผ่องใส คือจิตที่มีศีล-สมาธิ-ปัญญา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ไปเก็บเลวของเขา ก็เลวไปตามเขา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ยังติดอายตนะเท่าใด ก็ติดร่างกายมากเท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ถ้าอกุศลเกิด ให้ตัดด้วยอานาปา และไตรลักษณ์[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หมั่นถามตนเองอยู่เสมอว่า หากตายขณะนี้จักไปไหน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่ากลัวทุกข์ เพราะทุกข์เป็นของจริง มีคู่มากับการเกิด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทุกข์กายหรือทุกขสัจ จึงเป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องละ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] มรณานุสสติเป็นอารมณ์ตัดโกรธ-โลภ-หลงชั้นเลิศ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าห่วงอนาคต ทำทุกอย่างให้ดีในปัจจุบัน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ปกติจิตมนุษย์ มักจักฝืนสัทธรรม[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้พิจารณาธรรมดาทุก ๆ ขณะจิตที่ยังตื่นอยู่[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนเป็นธรรมดาหมด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตฉลาดจักไม่เห็นกายเป็นมาร-เป็นศัตรู แต่เห็นเป็นครูใหญ่ที่สอนจิต[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กายสอนความจริงให้กับจิต จนจิตไม่ฝืนปกติธรรมของกาย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การไม่หวังผลตอบแทน จักทำให้จิตเป็นสุข[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ยิ่งถือ-ยิ่งยึดมากเท่าใด สักกายทิฎฐิก็มากเท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] โลกทั้งโลกไม่มีอะไรแปลก ถ้าเข้าถึงตัวธรรมดา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตไม่มีกำลัง เพราะเกาะขันธ์ ๕ มากเกินไป[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เห็นธรรมดาเสียอย่างเดียว จักรู้แจ้งในทุกข์หมดทุกอย่าง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เมื่อรู้ทุกข์-รู้ธรรมดา จิตก็จักไม่เกาะทุกข์ ไม่เกาะธรรมดานั้น ๆ [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้เอากายเป็นครูสอนจิต เห็นธรรมดาของกายต้องเป็นอย่างนี้[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ดูแลกายตามหน้าที่ จิตพร้อมวางกายได้ตลอดเวลา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พยายามต่อสู้กับจิตที่ชอบฝืนความจริงของกาย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ขุ่นมัวเพราะเหตุใด ถามจิตตนเองให้เห็นตามความเป็นจริง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ทุกข์เกิด เพราะอารมณ์ใจเป็นเหตุ ไม่เห็นด้วยธรรมดา[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงเอาร่างกายเป็นครูสอนจิต[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เห็นทุกข์ของกายเห็นยาก เห็นทุกข์ของใจเห็นง่าย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ปัญหามีไว้ให้แก้ มิใช่มีไว้ให้ยึด ให้แก้ด้วยอริยสัจ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ขันธ์ ๕ เป็นครูสอนที่ซื่อสัตย์มากที่สุด[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ขันธ์ ๕ เป็นรังของโรค หาตัวธรรมดาให้พบ[/FONT]
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปกิณกะธรรม เล่มที่ 14

    [FONT=&quot] [​IMG] ธรรมพรตปรามาสจงอย่าให้เกิด ธรรมของตถาคตต้องหยุด จึงจักเห็นความเคลื่อนไหวทั้งปวงของกิเลสได้ แล้วหมั่นละด้วยความสงบ [/FONT] [FONT=&quot] [​IMG] หมั่นขอขมาพระรัตนตรัยมาก ๆ เพราะอดีตเคยปรามาสมาบ่อย จึงขวางมรรคผล [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] พยายามให้จิตอยู่กับพระกรรมฐานให้มากที่สุด อย่าฝืนความต้องการของจิตว่าจะพักหรือเพียร ระวังไว้อันเดียว คือตอนจิตเฉย มันไม่จับอะไรเลย แต่สภาวะอย่างนั้นอยู่ไม่นาน ก็จะเดินเครื่องใหม่ [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จำไว้อย่าทำแบบเครียด ๆ ต้องรู้เสมอว่าจิตเราอยู่ในอารมณ์ใด ในกรรมฐานบทไหน [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จำไว้ อย่าให้พระกรรมฐานหลุดไปจากจิต ตายเป็นตาย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ถ้าหลับมากก็ประมาทมาก ปฏิบัติธรรมได้น้อย[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จงเอาจริง อย่ากลัวตายในขณะปฏิบัติธรรมนั้น ๆ ต้องเพียรเพื่อพิสูจน์ธรรม [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ทำแทนกันไม่ได้ (รู้-เห็นได้เฉพาะตน) จงอย่าเอามาเปรียบเทียบกัน กรรมใคร กรรมมัน กรรมเที่ยงเสมอ แต่เที่ยงไม่เท่ากัน [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] โลกนี้มีแต่ขี้ทั้งนั้น ขี้เป็นกรรมอะไร (กรรมชั่ว)[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กิจในพุทธศาสนาจบลงได้ที่กายตน และจิตของตนเท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าเที่ยวไปสอนผู้อื่น สอนตนเองให้ได้เสียก่อน[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าไปยุ่งกับกรรมของใคร[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] สิ่งที่ให้วางเฉย คือ กิเลสที่มากระทบอายตนะ ๖ แล้วตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย-ใจ มันทำหน้าที่ของมัน จิตไม่ปรุงแต่งธรรม มันก็อยู่-รู้อยู่แต่ปัจจุบัน จิตก็สงบไม่มีเรื่อง [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คุมอายตนะจิตตัวเดียว การปรุงแต่งธรรมในอดีต กับอนาคตก็ไม่มี [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คนชอบเอาลมปากมาเผากัน เผาตนเอง เป็นปกติโลกียชน ชอบจุดไฟ ๓ กองเผาตัวเอง แล้วยังพาลจ่อไฟเผาผู้อื่น หรือเอาไปใกล้ผู้อื่นทำให้ผู้อื่นร้อนด้วย พระอริยเจ้าท่านไม่ร้อนแล้ว ระวังอย่าเอาไฟไปใกล้ท่าน [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] หมั่นดับไฟในอายตนะจิตตัวเดียวพอ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จิตอยากคิด ก็ให้คิด จิตอยากพักก็ให้พัก อย่าฝืนเวทนาของจิต หากฝืนเวทนา มรรคผลเกิดได้ยาก [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้กำหนดจิตตามรู้เวทนานั้นด้วยสติ-สัมปชัญญะ ใช้เวทนานั้นให้เป็นประโยชน์[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] การรู้เท่าทันสภาวะของจิตนั้นเป็นการศึกษาธรรมที่เข้ามากระทบอารมณ์อย่างแท้จริง[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] จะทำอะไรก็ให้เป็นกรรมฐานหมด ถ้าไม่รู้ลมและภาวนา ก็หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาว่าเราอาจตายได้ทุกๆ ขณะที่ทำงาน [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ให้แยกจิตออกจากการงานของกาย ให้รู้ว่าการทำงานเพื่อกาย ในขณะนี้อาจเป็นครั้งสุดท้าย ให้เห็นทุกข์ของการเกิดมีกาย หากตายเมื่อใด จิตก็ขอให้ไปนิพพานให้ได้จุดเดียว จิตวางทุกข์-วางสุขของกายที่ได้รับ เป็นสังขารุเบกขาญาณ[/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ประคองจิตให้อยู่ในอารมณ์พระกรรมฐานตลอด เพื่อให้จิตพ้นทุกข์-พ้นสุข เพื่อมรรค ผล นิพพาน [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] สำรวมกาย-วาจา-ใจ ให้มากๆ สงบมากเท่าใด ความดีก็มีมากเท่านั้น [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าติกรรมผู้ถวายอาหาร เพราเขาจะถวายตามอุปาทานที่เขาติด คือ ติดในกามคุณ ๕ อยู่เกี่ยวกับอาหาร เราติเขา เขาได้บุญ แต่เราได้บาปในวจีกรรม [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] คนโกรธก็รู้ว่าโกรธไม่ดี แต่ก็ยังโกรธ เพราะมีอุปาทานคิดว่าโกรธเป็นของดี [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] เพราะจิตมีอุปาทาน ยังยึดดี-เลว ถูก-ผิดอยู่ เท่ากับยึดอุปาทานของผู้อื่นมาไว้กับใจตน เลยติดอุปาทานของผู้อื่นจนเพลิน เท่ากับมีอารมณ์ขี้เก็บ หรือเก็บขี้ เพราะคิดว่าดี [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] ผู้ตำหนิกรรม เท่ากับเมาในอดีต-และอนาคต และปัจจุบันธรรม (ติดดี ติดผิด-ถูก เท่ากับติดสมมติ) [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] กรรมที่ผูกพันกัน เช่น เปรตประเภท ๑๒ ที่โมทนาได้ ก็ต้องโมทนาจากญาติของตนเท่านั้น [/FONT]
    [FONT=&quot] [​IMG] อย่าตำหนิอารมณ์ เท่ากับอารมณ์ปฏิฆะ เท่ากับเสียท่ากิเลส ๒ ต่อ ความจริงก็คือ ตำหนิกรรมของตนเอง



    [/FONT][FONT=&quot]รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
    www.tangnipparn.com


    [/FONT]
     
  14. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    *
    [​IMG]

    เชิญแวะอ่านธรรมะของหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ที่
    เฟสบุ๊ค ศูนย์พุทธศรัทธา
    และร่วมกันแบ่งปันธรรมะของหลวงพ่อฯ ไปยังกระดานของท่าน

    <IFRAME style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 600px; HEIGHT: 300px; OVERFLOW: hidden; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" src="http://www.facebook.com/plugins/likebox.php?href=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fpages%2FBuddhaSattha%2F158726110822792&width=600&connections=20&stream=true&header=false&height=300" frameBorder=0 allowTransparency scrolling=no></IFRAME>
    *<!-- google_ad_section_end -->
    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p

    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com
    <O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p>
     
  15. ton_parata

    ton_parata สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +2
    เล่ม4

    :cool:เล่ม4ไปไหนครับ
     
  16. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]


    <table style="width: 870px; height: 64px;"><tbody><tr valign="top"></tr><tr valign="top"><td> กำหนดการรับสังฆทานบ้านวิริยบารมี ปี ๒๕๕๔ /ตารางเดินรถตู้บริการ [​IMG]
    ฎิทินพลังจิตธรรมสัญจร ๒๕๕๔ [​IMG]
    ทริปธรรมสัญจร (๖) เป่ายันต์เกราะเพชรวัดท่าขนุน-อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม ๙ ทัพ-ย้อนรอยโรงถ่ายตำนานสมเด็จ "พระนเรศวร" ๗ พ.ค. [​IMG][​IMG]</td></tr></tbody></table>
     
  17. anoldman

    anoldman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +4,559
    สาธุๆ






    ลูกหลานขอกราบพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลวงพ่อฤาษีลังดำด้วยเคารพยิ่ง ขอรับ
    __^/|^__

    ขออนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ด้วยครับ ^_^

    ______________________________
    hello9
    กลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติจังหวัดเพชรบูรณ์
    กลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติจังหวัดเพชรบูรณ์มาทำงานกัน


    แจกเหรียญน้ำมนต์รุ่น 4 รูปลักษณ์หลวงปู่เทพโลกอุดร ครับ
    แจกเหรียญน้ำมนต์รุ่น-4-รูปลักษณ์-หลวงปู่เทพโลกอุดร-ครับ
     
  18. นางสาวอยู่จ้ะ

    นางสาวอยู่จ้ะ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +3,865
    จะเก็บไว้อ่านทบทวนเสมอๆค่ะ
    อนุโมทนาบุญกับ พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ และ คุณ vanco นะคะ
    ถ้า "สิ้นภพ จบชาติ" ได้เมื่อไหร่จะไม่ลืมพระคุณเลยค่ะ สาธุ....
     
  19. waythai

    waythai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,499
    ค่าพลัง:
    +15,192
    สาธุขอร่วมโมทนาในมหากุศลทั้งหมดทั้งสิ้นครับ**ขออนุญาตประชาสัมพันธ์ครับ**ท่านใดมีความประสงค์อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเพื่อสักการะบูชาสามารถติดต่อขอรับพระบรมสารีริกธาตุ(ไม่มีค่าใช้จ่าย)ได้ที่ 08-2685-5608 อั๋นครับ
    (ขอสงวนสิทธิ์ไม่ส่งพระบรมสารีริกธาตุทางไปรษณีย์โดยเด็ดขาดครับ เพื่อความเหมาะสมเป็นการแสดงความเคารพและไม่เป็นการปรามาสต่อพระพุทธองค์ครับ
    ชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในกระทู้ด้านล่างนี้ครับ

    http://palungjit.org/threads/มอบพระบรมสารีริกธาตุกว่า15-สัณฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นมีมอบให้เรื่อยๆ.244017/

    <!-- google_ad_section_end -->
    http://palungjit.org/threads/เมื่อกระผมและคณะได้น้อมถวายพระบรมสารีริกธาตุสมเด็จองค์ปฐมต้นพุทธวงศ์ที่วัดท่าซุง.290965/

    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านครับ


    ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงพบแล้ว ขอธรรมนั้น จงสำเร็จแก่ท่านทั้งหลายโดยเร็วด้วยเถิด สาธุ สาธุ สาธุ
    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโมทนา ส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้า จะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด หากท่านทั้งหลายยังไม่มีโอกาสได้อนุโมทนาเพียงใด ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงเป็นสักขีพยานให้แก่ข้าพเจ้าด้วย เจอเธอเมื่อใด ขอให้เธอได้อนุโมทนาส่วนกุศลนี้ด้วยเถิด ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาตินี้ ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้า ได้เข้าถึง ซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด หากแม้นยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ขอคำว่าไม่รู้ ไม่มี ในสิ่งที่ดี จงอย่าได้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าเลย ขอผลบุญทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้า ได้กระทำแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ จงบังเกิดผล ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

     

แชร์หน้านี้

Loading...