รวมเรื่องเล่า+ประสบการณ์;กรรมฐานมัชฌิมาฯตามรอยพระราหุล(ตามแบบแผนของพระพุทธเจ้า)

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย mature_na, 25 มีนาคม 2012.

  1. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    ============================================================================​

    ขั้นตอนการปฏิบัติพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

    ตอนสมถะภาวนา


    รูปกรรมฐาน ตอน ๑
    ๑.ห้องพระปีติห้า
    ๒.ห้องพระยุคลหก
    ๓.ห้องพระสุขสมาธิ
    พระ กรรมฐาน ๓ ห้องนี้เป็นพระกรรมฐาน สำหรับฝึกตั้งสมาธิ เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องของจิต จากจิตหยาบ ไปหาจิตที่ละเอียด ถึงขั้นอุปจารสมาธิเต็มขั้น หรือ เรียกว่ารูปเทียมของปฐมฌาน สอบนิมิต เป็นอารมณ์

    รูปกรรมฐาน ตอน ๒
    ๔.ห้อง อานาปานสติ ๙ จุด ทำให้จิตละเอียดขึ้น ถึงอัปปนาสมาธิ หรืออัปปนาฌาน
    ๕.ห้อง กายคตาสติกรรมฐาน
    ๖.ห้องกสิณ ๑๐ ประการ
    ๗.ห้องอสุภ ๑๐ ประการ เพื่อละราคะ
    ๘.ห้องปัญจมฌาน

    ห้อง พระอานาปานกรรมฐาน ถึงห้องปัญจมฌาน เป็นรูปกรรมฐาน สอบนิมิต เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องใน กายคตาสติกรรมฐาน และกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน
    พระ โยคาวจร ผู้เจริญอานาปานสติ เจริญอาการ ๓๒ เจริญกสิณ ๑๐ ประการ เจริญอสุภะ ๑๐ ประการ เจริญปัญจมฌาน พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า เป็นการเจริญกาย คตาสติกรรมฐานทั้งสิ้น ย่อมได้รับอานิสงส์มากมาย เปรียบเหมือน น้ำเต็มขอบสระ กาบินมาแต่ทิศใดย่อมดื่มกินน้ำได้ทุกทิศ

    อรูปกรรมฐาน (สอบสภาวธรรม)
    ๙.ห้อง อนุสสติ เจ็ดประการ เป็นคุณธรรม ของพระโสดาบัน
    ๑๐.ห้อง อัปปมัญญาพรหมวิหาร
    ๑๑. ห้อง อาหาเรปฎิกูลสัญญา
    ๑๒.ห้อง จตุธาตุววัฏฐาน
    ๑๓.ห้อง อรูปฌาน

    ตั้งแต่ ห้อง อนุสสติ ๗ ประการ ถึงห้องอรูปฌาน เป็นอรูปกรรมฐาน สอบอารมณ์ สอบสภาวธรรม จิตได้สภาวธรรมเต็มที่ การเจริญวิปัสสนา ก็แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เมื่อจะขึ้น พวิปัสสนาฌาน ให้ทำฌานสมาบัติแปด ถอยมาถึง ตติยฌาน แล้วเจริญ พระวิปัสสนา

    (จบสมถะ)

    ============================================================================
    วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมาแบบ ลำดับ

    ๑.เจริญวิสุทธิเจ็ดประการ เอาองค์ฌาน เป็นบาทฐาน
    ๒.พระไตรลักษณะญาณ ๓
    ๓.พระอนุวิปัสสนา ๓
    ๔.พระวิโมกข์ ๓ ประการ
    ๕.พระอนุวิปัสสนาวิโมกข์ ๓
    ๖.พระวิปัสสนาญาณ ๑๐
    ๗.พระโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เป็นบาทรองรับวิปัสสนา
    ๘.สัญโญชน์ ๑๐ เพื่อให้รู้กิเลสที่จะละ
    ๙.ออกบัวบานพรหมวิหาร เจริญเพื่อละพยาบาท เป็นหนทางสู่ มรรค ผล นิพพาน

    (จบ-สมถะ-วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับ)

    =============================================
    ===============================



    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    http://www.somdechsuk.org/node/312
     
  2. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    เมื่อขึ้นพระกรรมฐาน
    มัชฌิมาแบบ ลำดับ


    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    ดังที่ว่าไปแล้วในตอนต้นนะครับ ว่าการเริ่มฝึกกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับต้อง

    1. เข้าหากัลยาณมิตร คืออาจารย์ผู้บอกกรรมฐานและ
    2. ขอขึ้นกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ตามแบบแผนแต่โบราณ

    ในยุคนี้สามารถทำได้ที่ ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023

    รถเมล์สาย 19 40 56 57 149 ผ่านหน้าวัด ติดต่อหลวงพ่อวีระ(จิ๋ว)โทร. 084-651-7023

    ================================================

    เครื่องสักการะพระรัตนตรัย
    เมื่อขึ้นพระกรรมฐาน


    เมื่อ จะเรียนพระกรรมฐานนั้น ต้องมอบตัวต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ อาจารย์ ผู้บอกพระกรรมฐาน โดยให้จัดเตรียม ดอกไม้ ๕ กระทง ข้าวตอก ๕ กระทง เทียน ๕ เล่ม ธูป ๕ ดอก ใส่เรียงกันในถาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า มาขึ้นในวัน พฤหัสบดี ข้างขึ้น หรือ ข้างแรมก็ได้

    บททำวัตรพระ

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
    (ให้ว่า ๓ หน)

    พุทธํ ชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
    อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสะทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสสานํ
    พุทโธ ภควาติ ฯ
    เย จ พุทธา อตีตา จ, เย จ พุทธา อนาคตา,
    ปจฺจุปฺปนฺนา จ เย พุทธา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทา,
    พุทธานาหสฺมิ ทาโสว, พุทธา เม สามิกิสฺสรา,
    พุทธานญฺ จ สิเร ปาทา, มยฺหํ ติฏฐนฺตุ สพฺพทาฯ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, พุทโธ เม สรณํ วรํ,
    เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
    อุตฺตมํเคน วนฺเทหํ, ปาทปงฺสุง วรุตฺตมํ,
    พุทโธ โย ขลิโต โทโส, พุทโธ ขมตุ ตํ มมํ ฯ

    (กราบแล้วหมอบลงว่า)
    ข้าฯ จะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระพุทธเจ้า และคุณพระพุทธเจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลนานทุกเมื่อ และข้าฯจะขอเป็นข้าแห่งพระพุทธเจ้า ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ขอพระบาทบาทาของพระพุทธเจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลนานทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ข้าฯไหว้ละอองธุลีพระบาท ทั้งพระลายลักษณ์สุริยะฉาย ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด อนึ่ง โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ขอพระพุทธเจ้าจงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิด ฯ (คำแปล พระเทพโมลีกลิ่น)
    (กราบ)

    ธมฺมํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
    สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหีติฯ
    เย จ ธมฺมา อตีตา จ, เย จ ธมฺมา อนาคตา,
    ปจฺจุปปนฺนา จ เย ธมฺมา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทาฯ
    ธมฺมา นาหสฺสมิ ทาโสว, ธมฺมา เม สามิกิสฺสรา,
    สพฺเพ ธมฺมาปิ ติฏฐนฺตุ, มมํ สิเรว สพฺพทาฯ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, ธมฺโม เม สรณํ วรํ,
    เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
    อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ ธมฺมญฺ จ ทุวิธํ วรํ,
    ธมฺเม โย ขลิโต โทโส, ธมฺโม ขมตุ ตํ มมํฯ

    (กราบแล้วหมอบลงว่า)
    ข้าฯ จะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระปริยัติธรรมเจ้า และพระนวโลกุตตระธรรมเจ้า และคุณพระธรรมเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งมวล อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันสิ้นกาลทุกเมื่อ แลข้าฯจะขอเป็นข้าฯแห่งพระธรรมเจ้า ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้น จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ ขอพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิดฯ
    (กราบ)

    สงฺฆํ ชีวิตตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจิฉามิ ฯ
    สุ ปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสะยุคฺคานิ อฏฺฐะ ปุริสปุคะลา, เอส ภควโต สาวกสํโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทกฺขิเนยโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญญกฺเขตตํ โลกสฺสาติ
    เย จ สงฺฆา อตีตา จ เย จ สงฺฆา อนาคตา
    ปจฺจุปปนฺนา จ เย สงฺฆา อหํ วนฺทามิ สพฺพทา ฯ
    สงฺฆานาหสฺสมิ ทาโสว สงฺฆา เม สามิกิสฺสรา
    เตสํ คุณาปิ ติฏฐนฺตุ มมํ สิเรว สพฺพทา ฯ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สงฺโฆ เม สรณํ วรํ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมงฺคลํฯ
    อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ, สงฺฆญฺ จ ทุวิธุตฺตมํ,
    สงฺเฆ โย ขลิโต โทโส สงฺโฆ ขมตุ ตํ มมํ ฯ

    (หมอบกราบ แล้วว่า)
    ข้าฯ ขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระอริยสงฆ์เจ้า และคุณพระอริยสงฆ์เจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลทุกเมื่อ และข้าฯจะขอมอบตัวเป็นข้าฯแห่งพระอริยสงฆ์เจ้า ขอพระอริยสงฆ์เจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาคุณแห่งพระอริสงฆ์เจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระอริยสงฆ์เจ้าป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาด พลั้งไว้ในพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ ขอพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านั้นเถิดฯ
    (กราบ)

    อธิบายบททำวัตรกรรมฐาน

    บท ทำวัตรสวดมนต์นี้มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ใช้สวดทำวัตรเช้า เย็น และใช้สวดทำวัตรในการขึ้นพระกรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ได้นำมาจากกรุงศรีอยุธยา และใช้สวดกันเป็นประจำ ที่วัดราชสิทธารามนี้ มาเลิกสวดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ แต่พระภิกษุที่เรียนพระกรรมฐานยังใช้สวดกันมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนคำแปลท้ายสวดมนต์นี้ มาแปลในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อคราวทำสังคายนาสวดมนต์ แปล พ.ศ. ๒๓๖๔

    ================================================
    **** ยังมีต่ออีก จะนำมาลงในครั้งต่อไปนะครับ ****

    ================================================

    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/kumausamatawipassanakammathan.doc





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    http://www.somdechsuk.org/node/312
     
  3. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    คำถวายนมัสการ

    ข้าบังคมพระบาทบรมนาถผู้ทรงญาณ พระธรรมอันพิศดารทั้งพระสงฆ์อันบวร
    ข้าเชิญพระญาณสังวรเจ้ามาปกเกล้าฯปกเกษี ชัยชนะแก่โลกีย์ทั้งภัยพาลอันตราย
    ขอให้พบพระพุทธศาสนาด้วยศรัทธาอันพากเพียร รู้แจ้งคัมภีร์เรียนสมถะ-วิปัสสนาทุกชาติไป
    ขอเชิญคุณครูบามารักษาให้มีชัย ดลจิตบันดาลใจสำเร็จทุกประการ
    สิทธิกิจจังสิทธิกัมมังสิทธิการิยะตะถาคะโต
    สิทธิเตโชชโยนิจจังสิทธิลาโภนิรันตะรัง สัพพกัมมังประสิทธิเมสัพพสิทธิภะวันตุเม

    ประพันธ์โดย
    พระครูสังฆรักษ์วีระฐานวีโร
    ๕ธันวาคม๒๕๔๖

    "กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีความเป็นมาอย่างไร มีในพระไตรปิฏก หรือไม่"

    38_04_03_10_10_29_06.jpe

    เล่มนี้มีคำตอบครับ

    มีพระสูตร จากพระไตรปิฏก มากมาย ที่ปรากฏข้อความพระไตรปิฏก เนื่องด้วยกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นมีที่มาโดยการรวบรวมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดย พระอริยะพุทธชิโนรส พระราหุล มหาเถระเจ้า นะครับ

    ย้อนไปสมัยพุทธกาลนั้น พระราหุลมหาเถระเจ้า ได้บรรลุอรหันต์เป็นเอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา

    พระองค์ ได้สอบถามกับพระพุทธองค์ว่าพุทธองค์มีการปฎิบัติกรรมฐานอย่างใด และท่านได้รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่อีกทั้งท่านยังได้ ไปเรียนรู้และสอบถามความรู้เพิ่มเติมกับพระอรหันต์สาวกองค์อื่นๆอีกเป็น จำนวนมาก และรวบรวมการปฎิบัติกรรมฐานของพระพุทธศาสนาไว้เป็นด้วยกันเป็นการฝึกฝนแบบ ตามลำดับขั้นตอน

    จากนั้นจึงกำเนิดการเรียนรู้กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ในขอบเขตของบวรพระพุทธศาสนาขึ้น จากการเรียบเรียงของพระราหุลนั่นเอง


    บูรพาจารย์ เล่าว่าในสมัยโบราณผู้ศึกษากรรมฐานในพุทธศาสนานั้นมีการฝึกฝนสมาธิและ วิปัสสนาตามแบบกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ทั้งสิ้นไม่มีการแบ่งแยกเหมือนสมัยนี้แต่อย่างใด

    รูปพระราหุลมหาเถระเจ้า

    [​IMG]


    link
    ตำราคัมภีร์ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
    ตำราคัมภีร์ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

    ความสำคัญโดยย่อ ของ
    พระ กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับสำหรับพระพุทธศาสนาในไทยนั้นสำคัญขนาดที่ว่า พระมหากษัตริย์ในแทบจะทุกยุคของไทยแลแถบสุวรรณภูมิตั้งแต่สมัย ทวารวดี สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ทรงให้ความใส่ใจและทรงศึกษาเพื่อรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับให้คงอยู่ตลอดมา รัชกาลที่1-2-3-4นั้นก็ยังทรงศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนี้กับสมเด็จ พระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)

    ***ข้อควรรู้ล้นเกล้ารัชกาลที่สองทรงสังคายนาพระกัมมัฏฐานแบบลำดับ(กรรมฐานมัชฌิมา)


    [​IMG]

    [​IMG]

    ใน ขณะนั้น พระกรรมฐานและเนื้อหาการเรียนรู้ในบวรพระุพุทธศาสนายังไม่้เรียบร้อยและไม่เป็นหมวดหมู่ดีนัก
    ล้น เกล้ารัชกาลที่สองทรงเล็งเห็นว่าจะเป็นภัยแก่พระศาสนาที่คนรุ่นต่อไปจะหา ของจริงที่ถูกต้องไว้เล่าเรียนไม่ได้จึงทรงมีพระบรมราชโองการ ให้ทำ สังคายนาพระกัมมัฏฐานแบบลำดับ ไว้เป็นหมวดหมู่ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)ทรงเป็นองค์ประธาน ในการชุมนุมพระสงฆ์สังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับเมื่อพุทธศักราช ๒๓๖๔

    อนึ่ง มูลเหตุของการทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนั้นเกิดจากการพูดคุย สนทนากัน ในหมู่พระสงฆ์จากหัวเมืองและชานกรุงว่า ...... การปฎิบัติกรรมฐานอย่างนี้ถูกการปฎิบัติกรรมฐานอย่างนี้ผิด เสียงวิจารณ์เล่าลือขยายไปทั่วกรุงรัตนโกสินทร์ .......


    ความ นั้นทราบไปถึงเจ้านายชั้นผู้ใหญ่และข้าราชการผู้ใหญ่ในราชสำนักผู้มีหน้าที่ ควบคุมดูแลกิจการคณะสงฆ์ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่และข้าราชการผู้ใหญ่สองท่านนั้น จึงนำความทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นกราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัยทรงทราบฝ่าพระบาท

    ต่อมาจึงมีการประสานงานระหว่างทางราชการและ คณะสงฆ์ให้ชุมนุมสงฆ์ ทำการประชุมสังคายนาพระกรรมฐานขึ้น3วัน ....พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานถวาย ภัตตาหาร น้ำปานะ แด่พระสงฆ์ ๓ เพลาทุกวัน


    ซึ่ง พระกัมมัฎฐานแบบลำดับนั้นต่อมาก็ได้เผยแพร่สืบต่อกันเรื่อยๆมาอย่างไม่ขาด สายสมกับ พระราชประสงค์ จนถึง พระสังวรานุวงศ์เถระ(ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม ปรากฏว่า พระกัมมัฎฐานแบบลำดับนั้นรุ่งเรืองมาก มีภิกษุ สามเณร ร่ำเรียนมากมาย

    ===============================================================

    เหตุ ที่เรียก พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เพราะเป็นพระกรรมฐานที่ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในพระสมถะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และเรียนเป็นลำดับไปจนครบ ๔๐ กอง จนถึงลำดับสู่วิปัสสนากรรมฐาน จึงเป็นการรวบรวมเอาพระสมถะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และวิปัสสนากรรมฐานทั้งมวลไว้ในที่เดียวกัน เพื่อมิให้แตกกระจายไปในทางปฏิบัติ มิต้องให้ความสำคัญกับพระกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง

    สรุปได้้่ว่่ากรรมฐานมัชฌิมา คือการเรียนปฎิบัติไปตามกำลังของจิต เกิดสมาธิเป็นขั้นๆไป นั่นเองครับ

    จาก นั้น กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ได้รับการสืบทอดต่อๆกันมาเรื่อยๆได้เข้ามาแถบเอเชียอาคเนย์ และทางสุวรรณภูมิ โดยกลุ่มของพระโสณะและพระอุตตระ นั่นเองครับ

    รูปภาพที่มีผู้เชื่อว่าเป็นกลุ่มของพระโสณะและพระอุตตระ[​IMG]

    จาก นั้น ประเทศไทยของเราตั้งแต่สมัย ทวาวดี สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการฝึก กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ เป็นอันมากและเป็นกรรมฐานหลักในการฝึกฝนในประเทศไทย เป็นแบบเดียวที่มีการฝึกฝนกัน

    ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นั้นผู้ที่ สืบทอดต่อมาเป็นปรมาจารย์ต้นของยุคนี้ คือ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเถระเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
    [​IMG]
    รูปสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเถระเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)ครับ


    และ ในช่วงนี้ 2554 ผู้ที่ดำรงการสืบทอดกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ คือ พระครูสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร ) ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023
    ผู้บอกวิชชาพระกรรมฐาน ยุคปัจจุบันครับ
    [​IMG]


    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    http://www.somdechsuk.org




    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน http://www.somdechsuk.org/node/257


    [/QUOTE]

     

แชร์หน้านี้

Loading...