รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 14)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย karan20, 6 พฤศจิกายน 2011.

  1. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุพระโสดาบัน"
    หลักสูตรออนไลน์ 30 ชั่วโมง
    (ชั่วโมงที่ 14)

    เกริ่นนำ

    กฏของความเป็นธรรมดา คือ กฏของกรรม
    และกฏไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    คือความไม่เที่ยงแปรปรวน เป็นทุกข์ ไม่สามารถยึดถือได้ เสื่อมสลายไปในที่สุด

    พระโสดาบันนั้นยอมรับกฏธรรมดา ดังนั้นแม้เห็นทุกขังแต่ก็ไม่ขังทุกข์
    ทุกข์จึงอยู่ไม่นาน และมีอารมณ์จิตเป็นสุข

    เห็นน้ำท่วมขังพิจารณาให้เห็นทุกขัง

    คนทั่วไปเวลาเห็นน้ำท่วมขังทำให้เป็นทุกข์ เขาก็เพียงมองว่าเป็นทุกข์จากน้ำท่วม
    แต่พระโสดาบันมองเห็นว่าเป็นทุกข์จากการมีร่างกายเป็นมนุษย์
    คือขันธ์ 5 เป็นภาระหนัก ต้องคอยแบกหามมันหนีน้ำ
    ถ้าปล่อยให้แช่น้ำนาน ๆ มันก็จะเจ็บป่วยไม่สบาย
    ต้องลำบากหาที่อยู่ใหม่ หาเสื้อผ้าแห้ง ๆ หาอาหารมาเลี้ยงร่างกาย
    คิดได้แบบนี้แล้วยอมรับกฏความเป็นธรรมดา จึงจะถือว่าครบถ้วนกระบวนความ
    แม้มีทุกข์ทางกายแต่ใจจะไม่เศร้าหมอง ไม่เป็นคนซึมเศร้า ไม่เครียด

    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง) ท่านสอนว่า
    "...อย่าใช้อารมณ์ฝืนกฎธรรมดา
    เท่านี้อารมณ์จิตของเธอจะเป็นสุข.."


    มีเพื่อนของเราถามเรื่องการนึกถึงพระนิพพาน ว่าจะนึกถึงอย่างไรดี
    บทนี้จึงจะพักเรื่องที่ตั้งใจเขียนไว้ก่อน แล้วมานำเสนอเรื่องการนึกถึงพระนิพพาน


    ก่อนเข้าสู่การเรียนรู้ในชั่วโมงนี้ ขอย้ำว่าต้องทำการบ้านของทุกบทนะครับ.



    สรุปทบทวนจากชั่วโมงที่ 13

    เรื่องนี้เป็นจุดสำคัญอันหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติเพื่อพระโสดาบันพึงระวัง
    เหมือนเครื่องบิน ที่บินขึ้นไปแล้วแต่หาทางลงหรือลานจอดไม่ได้เพราะโดนน้ำท่วม
    เมื่อคิดถึงความตายแล้ว คิดถึงว่าเราจะต้องตายแล้ว
    หากไม่เข้าใจอาจจะ
    มีจิตใจเศร้าหมอง หรือมีอารมณ์ฟุ้งซ่าน
    อย่างที่ชาวบ้านทั่ว ๆ ไป เขากลัวการคิดถึงความตายนั่นเอง


    การแก้อารมณ์เศร้าหมองหรือฟุ้งซ่าน (เรียกสั้น ๆ ว่า ฟุ้ง หรืออารมณ์ฟุ้ง)
    ไม่ใช่การหลับตานั่งสมาธิให้จิตนิ่งอย่างที่พวกฤาษีโยคีทำกัน
    แต่ควรแก้ด้วยปัญญาญาณหรือวิปัสสนาญาณ คือการพิจารณายอมรับความเป็นธรรมดา
    หรือกฏของความเป็นธรรมดา

    การยอมรับกฏของความเป็นธรรมดานั้นนำไปสู่การละหรือการปล่อยวาง
    หรือกล่าวอีกอย่างว่า เราต้องละหรือปล่อยวางด้วยการยอมรับกฏของความเป็นธรรมดา
    นักเจริญมหาสติปัฏฐาน ชอบกล่าวกันว่า " รู้สักแต่ว่ารู้ " นั่นเอง


    (ชั่วโมงที่ 14)


    ตอนเด็ก ๆ ผู้เขียนมีเพื่อนอยู่คนหนึ่ง เขาบอกว่าเบื่อการเป็นคน
    เขาอยากเกิดเป็นหมา จะได้สบาย หมามีความสุข อยากนอนเมื่อไหร่ก็ได้
    หมามันไม่ต้องเรียน ไม่ต้องทำงาน
    นั่นเป็นความคิดของเด็ก ๆ เพราะไม่รู้จักพระนิพพาน
    เลยพาลอยากเป็นสัตว์เดรัจฉานที่อาจต้องตายไปโดยไม่รู้คำตอบว่าจะพ้นทุกข์ไปตลอดกาลได้อย่างไร


    การนึกถึงพระนิพพาน หรืออารมณ์รักพระนิพพานนั้นเป็นคำพูดที่เราคุยกันแบบง่าย ๆ
    แต่ถ้าพูดตามศัพท์แสง จะมีศัพท์ที่เกี่ยวข้องคือคำว่า อุปสมานุสติ และ นิพพิทาญาณ

    ศัพท์คำแรกคำว่า " อุปสมานุสติ " แปลแบบเข้าใจง่าย ๆ ว่าการระลึกนึกถึงพระนิพพาน
    การนึกถึงพระนิพพานมีความสำคัญ เหมือนคนเราทำอะไรก็ต้องนึกถึงเป้าหมาย
    อีกประการหนึ่งคือเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจิตใจให้เป็นสุข

    คือเมื่อพิจารณาว่าทุกข์นั้นมาจากการมีร่างกาย คือ ขันธ์ 5 ทำให้มีภาระหนัก
    เราก็เกิดความเบื่อหน่าย แต่หากเราไม่รู้จักพระนิพพาน
    ใจเราก็อาจเป็นทุกข์เหมือนคนไม่มีทางไป เพราะไม่มีอะไรมารองรับใจ
    เปรียบเหมือนคนที่น้ำท่วมบ้านแล้วมีใจเบื่อหน่ายอยากอพยพเป็นอย่างยิ่ง
    แต่ไม่รู้จะอพยพไปไหน ใจก็ทุกข์อยู่อย่างนั้น
    แต่หากรู้ว่ายังมีพระนิพพานเป็นศูนย์อพยพอันปลอดภัยให้รอดพ้นภัยจากการต้องเวียนว่ายในวัฏสงสาร
    เราก็มีความหวัง มีความสุขใจ มีการนึกถึงพระนิพพานเป็นเครื่องทำให้ใจเราชุ่มชื่น
    อีกไม่นานเราก็จะพ้นไปจากร่างกายที่เป็นทุกข์นี้ คือไปพระนิพพานแล้ว

    เมื่อเปรียบเทียบพระนิพพานคือศูนย์อพยพหลบภัยจากสายน้ำแห่งวัฏสงสารอันเชี่ียวกราก
    ขอได้โปรดอย่านำไปเปรียบเทียบกับศูนย์อพยพชั่วคราวของหน่วยงานใดใด
    แต่ให้นึกถึงว่าพระนิพพานนั้นต้องเป็นศูนย์อพยพหลบภัยที่มีความสุขยิ่งกว่าพระบรมราชวังหรือปราสาทสามฤดู
    ที่แม้แต่เจ้าชายสิทธัตถะยังยอมสละมาเื่พื่อแสวงหาความสุขจากพระนิพพาน

    การนึกถึงพระนิพพานทำอย่างไร
    การนึกถึงพระนิพพาน มี 2 แบบ
    คือนึกถึงแบบคนเคยไปเห็น เช่นคนที่มีทิพย์จักขุญาณ
    หรือได้มโนมยิทธิ คือมีฤทธิ์ทางใจไปเห็นพระนิพพานด้วยตนเอง
    อีกแบบคือนึกถึงแบบคนไม่เคยเห็น

    ผู้เขียนขออธิบายแบบหลังนี้ คือการนึกถึงแบบคนไม่เคยเห็น

    การนึกถึงแบบคนไม่เคยเห็นพระนิพพานก็มีอีก 2 แบบ
    คือแบบตามตำราท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค
    และแบบที่หลวงพ่อพระราชพรหมยานสอน

    ในแบบคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นผู้เขียนขอรวบรัดเอาแบบสั้น ๆ ว่า
    เพียงบริกรรมภาวนาว่า "นิพพานัง" อ้างอิง
    หากท่านสนใจก็เชิญศึกษาเพิ่มเติม

    ในที่นี้ขอคัดลอกวิธีการนึกถึงพระนิพพานตามแบบของหลวงพ่อพระราชพรหมยานมาแสดงไว้
    ซึ่งเป็นวิธีที่ปฏิบัติตามได้ไม่ยาก หลวงพ่อท่านสอนว่า
    ถ้าหากใจเราผ่องใส คิดว่าพระนิพพานมีความสุข เกิดเป็นมนุษย์มันมีความทุกข์
    เกิดเป็นเทวดาหรือพรหม ก็ไม่พ้นความทุกข์
    นี่ถ้าอารมณ์คิดอย่างนี้เรียกว่าใจมันสบายใช้ได้
    ใช้อุปสมานุสสติกรรมฐานได้ว่า
    ไอ้มนุษย์มันก็ทุกข์ เป็นความสุขชั่วคราว
    คือเมื่อหมดอำนาจวาสนาบารมี ก็ต้องกลับมาทุกข์ใหม่ เราก็ไม่เอา เราไปพระนิพพานดีกว่า
    อ้างอิง

    คิดตามที่หลวงพ่อสอนก็พอแล้ว ไม่ต้องสงสัยว่าทำไมมันง่ายนัก ลังเลมากคือมีวิจิกิจฉา
    วิจิกิจฉาในพระอริยสงฆ์ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในสามของพระรัตนตรัย เป็นสังโยชน์ที่พระโสดาบันต้องละให้ได้
    วิจิกิจฉายังเป็นนิวรณ์ คือเครื่องกั้นความดีอีกด้วย อ้างอิง

    เราอาจนึกถึงพระนิพพานโดยการนึกถึงแบบอุปสมานุสติควบพุทธานุสติและควบมรณานุสติ
    คือคิดว่าหากเราตายตอนนี้ลูกพึ่งขอบารมีพระพุทธเจ้าืช่วยมารับลูกไปอยู่ที่พระนิพพานด้วยเถิด

    อีกคำศัพท์หนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการระลึกนึกถึงพระนิพพานคือคำว่า " นิพพิทาญาณ"
    แปลง่าย ๆ ว่าอารมณ์เบื่อโลกหรือเบื่อการเกิด พอเบื่อมาก ๆ ใจเราก็คิดไปถึงพระนิพพาน อ้างอิง

    ผู้ถาม : หลวงพ่อคะ คนที่ไม่เคยปฏิบัติธรรม แต่ว่ามีความรู้สึกเบื่อโลก อย่างนี้เป็นนิพพิทาญาณหรือเปล่าคะ?
    หลวงพ่อ : เบื่อนิพพิทาญาณหรือเบื่อหนักหนี้ หรือเบื่อกลุ้มใจ นิพพิทาญาณเขาแปลว่า เบื่อ ญาณเขาแปลว่ารู้สึกเบื่อ
    เราก็ต้องดูว่า ถ้าเขาเบื่อโลกไม่หวังเกิดอีก ไม่หวังเป็นเทวดา หรือพรหม หวังนิพพาน นี่เป็นนิพพิทาญาณ
    ถ้าเบื่อเฉยๆ ไม่อยากอยู่ในโลกนี้ อันนี้เรียกมีจิตกังวล จิตเศร้าหมอง นิพพิทาญาณนี่เขาไม่ซึม
    ผู้ถาม : อย่างนี้จะแก้โดยการเจริญสมาธิได้ไหมคะ?
    หลวงพ่อ : จะไหวเรอะ ไม่ไหวนะ ใจเขาเป็นแบบนั้น
    ต้องใช้พระสูตรง่าย ๆ จะเป็นเทปพระสูตรหรือหนังสือพระสูตรก็ได้
    เอาของที่ยากไปก็ไม่ไหว ถ้าพระสูตร หรือชาดกก็ดี ตอนที่ท่านประชุมชาดกดีมาก
    ผู้ถาม : คนที่เขาเบื่อโลก เบื่อนรก สวรรค์ พรหม ถ้าเขาตายแล้วจะได้ไปนิพพานไหมคะ?
    หลวงพ่อ : ถ้าเบื่อก็ไปนิพพาน ถ้าเบื่อร่างกายอย่างเดียวก็ไปนิพพานได้
    การเบื่อที่สำคัญที่สุดคือเบื่อร่างกายตนเองน เป็นการตัดสักกายทิฏฐิเด็ดขาด

    เรื่องหนึ่งที่สร้างความสับสนแก่นักปฏิบัติคือบางท่านบอกว่า
    สภาพพระนิพพานนั้นมีลักษณะสูญ คือเหมือนกับตายไปแล้วหมดความรู้สึก
    เรื่องนี้ขอให้ทราบว่าหลวงพ่อพระราชพรหมยานท่านยืนยันว่า
    พระนิพพานมีสภาพไม่สูญและมีความสุขอย่างยิ่ง
    อ้างอิง


    [FONT=&quot]ถามว่า "คนที่อยากไปนิพพานเป็นตัณหาหรือเปล่า"[/FONT]

    [FONT=&quot]หลวงพ่อตอบว่า "คนที่อยากไปนิพพานนี่เป็นธรรมฉันทะ คือมีความพอใจในธรรม[/FONT]"


    สวัสดี.


    - จบชั่วโมงที่ 14 -

    การบ้านของชั่วโมงที่ 14 :
    1. แสดงความคิดเห็น รู้สึกอย่างไรกับบทเรียนวันนี้
    2. ดาวน์โหลดไฟล์ MP3 ที่แนบมานี้ไปฟัง การบ้านคราวนี้มี 2 ไฟล์เสียง

    [​IMG] การบ้านบทที่ 14 - 1.mp3
    [​IMG] การบ้านบทที่ 14 - 2.mp3
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="3"><tbody><tr></tr><tr><td>
    </td><td>
    </td></tr></tbody></table>วิธีการฟัง :
    ให้ปิดไฟ หรือนั่งในที่มืดด้วยท่าสบายผ่อนคลาย
    ควรฟังในที่สงบหรือที่อันควรแก่การฟังธรรม
    ฟังอย่างตั้งใจและค่อย ๆ พิจารณาตามไปตลอดการฟัง

    3. ลองปฏิบัติสมาธิตามไฟล์เสียงประมาณ 10 นาที
    ไม่ต้องจับเวลา เพียงเปิดไฟล์เสียง แล้วปฏิบัติตาม เมื่อครบเวลาจะมีเสียงพระท่านบอกเตือน
    4. จากไฟล์เสียงเราควรนึกถึงพระนิพพานอย่างน้อยที่สุดวันละกี่ครั้ง เวลาใดบ้าง
    และท่านจะมีเทคนิคอย่างไรในการปฏิบัติเพื่อที่จะทำให้ไม่ลืมในการนึกถึงพระนิพพานในแต่ละวัน
    (เช่น เขียนป้ายติดไว้หรือวิธีอื่นตามแบบของท่าน)
    5. จากไฟล์เสียงที่ได้ฟัง ท่านประทับใจหรือชื่นชอบประโยคใดเป็นพิเศษ



    ไฟล์ MP3 การบ้านของวันนี้ คือเสียงเทศน์ของท่านจิตโต
    ท่านเป็นพระลูกศิษย์ของหลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง
    ดังนั้นเวลาที่หลวงพี่จิตโตกล่าวถึงคำว่า " หลวงพ่อ "
    ขอให้ทราบว่าหมายถึงหลวงพ่อพระราชพรหมยาน หรือหลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง


    ส่งการบ้านและพูดคุยกันได้ที่นี่
    สำหรับท่านที่ไม่ได้สมัครสมาชิกเว็บพลังจิต เชิญพูดคุยแนะนำกันได้ที่ Facebook กาขาว


    ทบทวนย้อนหลัง
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 1)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 2)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 3)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 4)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 5)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 6)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 7)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 8)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 9)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 10)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 11)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 12)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 13)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2011
  2. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
  3. eee

    eee สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +23
    1. แสดงความคิดเห็น รู้สึกอย่างไรกับบทเรียนวันนี้
    ตอบ ทำให้เข้าใจถึงแดนพระนิพพานมากขึ้น ในเชิงความหมายและจะได้ช่วยในการนึกถึง เพราะแต่ก่อนตอนได้ยินก็คิดว่าเป็นความว่างๆไม่มีอะไรเลยไม่สุขไม่ทุกข์ศึกษาแล้วก็ตั้งใจที่จะปฏิบัติไปเพื่อถึงซึ่งพระนิพพานค่ะ
    2. ดาวน์โหลดไฟล์ MP3 ที่แนบมานี้ไปฟัง การบ้านคราวนี้มี 2 ไฟล์เสียง
    การบ้านบทที่ 14 - 1.mp3
    การบ้านบทที่ 14 - 2.mp3
    วิธีการฟัง :
    ให้ปิดไฟ หรือนั่งในที่มืดด้วยท่าสบายผ่อนคลาย
    ควรฟังในที่สงบหรือที่อันควรแก่การฟังธรรม
    ฟังอย่างตั้งใจและค่อย ๆ พิจารณาตามไปตลอดการฟัง
    ตอบ ฟังแล้วค่ะ
    3. ลองปฏิบัติสมาธิตามไฟล์เสียงประมาณ 10 นาที
    ไม่ต้องจับเวลา เพียงเปิดไฟล์เสียง แล้วปฏิบัติตาม เมื่อครบเวลาจะมีเสียงพระท่านบอกเตือน
    ตอบ ปฏิบัติแล้วค่ะ
    4. จากไฟล์เสียงเราควรนึกถึงพระนิพพานอย่างน้อยที่สุดวันละกี่ครั้ง เวลาใดบ้าง
    และท่านจะมีเทคนิคอย่างไรในการปฏิบัติเพื่อที่จะทำให้ไม่ลืมในการนึกถึงพระนิพพานในแต่ละวัน
    (เช่น เขียนป้ายติดไว้หรือวิธีอื่นตามแบบของท่าน)
    ตอบ วันละ2ครั้ง ตื่นนอนและก่อนนอนเป็นอย่างน้อย เทคนิคคือการใช้ชีวิตในแต่ละวันเมื่อเกิดผัสสะมากระทบอายตนะ เมื่อเกิดโลกธรรม8 ก็นึกถึงความเบื่อหน่ายที่เกิดมามีร่างกาย มองทุกข์จากการมีร่างกายมีขันธ์ให้มากที่สุดและคิดว่าไม่ต้องการร่างกายไม่ต้องการเกิดในแดนนี้ หรือแดนไหน พอใจต้องการแค่แดนนิพพาน
    5. จากไฟล์เสียงที่ได้ฟัง ท่านประทับใจหรือชื่นชอบประโยคใดเป็นพิเศษ
    ตอบ 14-1ที่นี่ไม่วุ่นวายหนอ ที่นี่ไม่ขัดข้องหนอ ที่ของพระองค์คือนิพพาน ผู้ใดตั้งใจที่ไม่มีความพึงพอใจในความเป็นมนุษย์เสียแล้ว เทวดา นางฟ้า พรหมไม่ต้องการแล้ว ที่นิพพานมีอยู่ เป็นที่ให้ทุกคนอยู่อย่างมีความสุขไม่ต้องดิ้นรนแล้ว
    14-1 แล้วเมื่อใดล่ะที่จะเป็นโสดาปฏิผล เมื่อเธอเชื่อมั่นว่าสิ่งที่เธอทำเป็นทางแห่งความพ้นทุกข์จริงแล้วเธอทำด้วยความสบายใจแล้วไม่ได้ทำด้วยความอยาก บุญก็ทำเหมือนแต่ก่อน แต่จะสังเกตว่าใจจะไม่ถูกสิ่งที่มากระชากใจ ให้ต้องทำ ทีนี้ไม่ทำก็ไม่เป็นไรถ้าเห็นว่ายังไม่เหมาะควรไม่ทำก็ได้ อะไรที่เกี่ยวกับศาสนาเป็นสาธารณประโยชน์คนที่เป็นพระโสดาบันทำทันที ทำเพราะบูชาคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระอริยสงฆ์ ไม่ใช่ทำเพื่อหวังว่าผลอธิษฐานของเขาจะได้ถึงวึ่งนิพพานอย่างเดียว ทำเหมือนแสดงความกตัญญูกตเวทีใจนุ่มนวลขึ้นเบาขึ้น
    14-2 บรมสุข ไม่ต้องมีกิจพึงทำอะไรเลย ไม่ต้องระวังไม่ให้คิดชั่ว ไม่ต้องระวังต้องทำจิตให้ผ่องใส
     
  4. thitarat

    thitarat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +203
    สวัสดีค่ะ

    หายไปหลายวัน กลับมาดูอีกที ตามบทเรียนไม่ทันเช่นเคย ^^ ขออนุญาตส่งการบ้านค่ะ

    1. ความคิดเห็นที่ได้รับจากบทเรียนนี้

    โดยส่วนตัวมีความรู้สึกว่าบทเรียนนี้เป็นประโยชน์มาก ทำให้เข้าใจคำว่า อุปสมานุสติ และนิพพิทาญาณค่ะ

    เพราะหลังจากที่เรียนบทเรียนก่อนหน้า ทำให้เข้าใจถึงคำว่า อุปสมานุสติ คือการระลึกถึงพระนิพพาน แต่บทเรียนนี้ทำให้ได้ทราบว่า ในการไปสู่โสดาปัตติผล จะต้องมีนิพพิทาญาณด้วย ซึ่งนิพพิทาญาณนี้เอง เป็นหนึ่งในวิธีที่จะนำเราไปถึงนิพพาน

    การได้เรียนในบทเรียนนี้เป็นการเชื่อมต่อการปฏิบัติหลังจากการได้เรียนบทอื่นๆที่ผ่านมา เพราะเคยได้เรียนเกี่ยวกับการทำความเข้าใจว่าการมีขันธ์ 5 นั้นเป็นทุกข์ และก่อนหน้านี้ที่จะได้อ่านบทเรียนนี้ ดิฉันก็ได้ทบทวนบทเรียนที่ได้เรียนมา และพยายามศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับศีล 5 และกรรมบถ 10 และศึกษาธรรมะต่างๆ จากหนังสือธรรมะที่มีอยู่เพิ่มเติม

    ทำให้การปฏิบัติในด้านศีลพัฒนาขึ้นมากกว่าเดิม โดยมุ่งตั้งใจให้ตัวเองปฏิบัติโดยนึกถึงความเป็น "อธิศีล" มากกว่าแค่ไม่ทำให้ศีลขาด ต้องขอบพระคุณด้วยนะคะที่ทำให้ดิฉันได้นึกถึงความเป็นจริงในข้อนี้เพิ่มเติม ทำให้ตัวเองต้องไปศึกษาและทบทวนข้อปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องศีลเพิ่มขึ้นมาก และอยากรายงานเพิ่มเติมว่า หลังจากที่ได้ศึกษาเรื่อง "อธิศีล" และกรรมบถ 10 แล้ว ทำให้ดิฉันเกิดความตั้งมั่นในศีลเพิ่มมากขึ้น และเพิ่มความพยายามรักษาศีลโดยให้ความพยายามรักษาศีลนั้นออกมาจากจิตใจมากกว่าการบังคับตัวเอง และเกิดความตั้งมั่นในศีลจนกระทั่งพยายามถือสัจจะว่าจะไม่ยอมขาดศีลหรือทำให้ศีลพร่องอีกแล้ว

    ผลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทำให้ดิฉันเริ่มเกิดความรู้สึกมีความสุขในความสงบ อันเกิดขึ้นจากการรักษาศีลและไม่เบียดเบียนใคร และทำให้ความทุกข์ใจที่เกิดขึ้นจากการกระทบกระทั่งกันในชีวิตประจำวันกลายเป็นสิ่งที่เรานั้นรู้เท่าทันและไม่คิดจะเข้าไปยุ่งเกี่ยว และบางครั้งก็เห็นได้ว่า การที่เรานั้นรักษาศีลด้วยใจ ก็ทำให้ศีลก็รักษาเราได้เหมือนกัน (เช่นเมื่อไม่ไปที่อโคจร ก็ไม่มีทางมีเรื่องชกตีหรือต่อยกับใคร เมื่อไม่พูดจาส่อเสียด เพ้อเจ้อ หรือนินทาใครในทางเสียๆหายๆ เราก็ไม่มีทางจะได้มีความทุกข์ใจอันเกิดขึ้นจากการพูดจาส่อเสียด เพ้อเจ้อ หรือนินทานั้นๆ และก็จะมีน้อยคนที่ทำอย่างนี้กับเรา หรือล่าสุด มีคนโทรมาหาด้วยอารมณ์โมโห โทสะ ต้องการจะบ่น ว่า แต่ก็บังเอิญมีเหตุให้โทรศัพท์นั้นเสียงได้ยินไม่ชัด ทำให้สื่อสารกันไม่ถนัด ไม่ได้ยินซึ่งอารมณ์โกรธนั้น และเมื่อโทรกลับไปอีกครั้ง เจ้าของเสียงก็อารมณ์ดีแล้ว และสามารถคุยกันได้ด้วยเหตุผล ^^ ฯลฯ)

    และดิฉันได้สังเกตว่า เมื่อรักษากรรมบถ 10 ร่วมกันไปกับการรักษาศีล ทำให้ดิฉันมีความรู้สึกโลภ โกรธ หลง น้อยลง และมีความเมตตามากขึ้น คลายความยึดมั่นถือมั่นในตัวเองมากขึ้น จากที่แต่ก่อนเคยคิดว่าตัวเองเป็นผู้ที่เก่งกว่าคนอื่น ดีกว่าคนอื่น เหนือกว่าคนอื่น และเชื่อมั่นว่าตนเองปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้วในทางโลก และมักจะโกรธ หรือไม่พอใจเวลาที่มีใครมาวิพากษ์วิจารณ์ หรือให้คำแนะนำในการทำงาน เมื่อได้ศึกษาบทเรียนในหลักสูตรนี้ และรักษาศีลและกรรมบท 10 แล้ว ทำให้ดิฉันสามารถวางเฉยและรู้สึกมีความสุขต่อการได้รับคำแนะนำหรือวิพากษ์วิจารณ์ ลดความโกรธในตัว และทำให้เห็นถึงความใส่ใจและเมตตาธรรมของคนอื่นในการแนะนำมากขึ้น ทำให้รู้จักการวางอุเบกขา เห็นถึงความเป็นจริงในโลกมนุษย์ และเห็นว่า การอ่อนน้อมถ่อมตนนั้น เป็นสิ่งที่ดี และการยึดมั่นถือมั่นในตนเองนั้น ควรเป็นสิ่งที่ตัวเองควรได้ละวาง ทำให้ทุกวันนี้ เรื่องราวที่จะโกรธ หรือไม่พอใจ ลดระดับลงไปทุกที และเมื่อมีความรู้สึกโกรธ หรือไม่พอใจเกิดขึ้น จะรีบนึกถึงกรรมบถ 10 โดยเฉพาะในแง่ของมโนกรรม ว่าจะพยายามไม่คิดในสิ่งที่ไม่ถูกและไม่ควร ทำให้สามารถวางอารมณ์ได้เป้นปกติ และให้อภัยผู้อื่นได้มากขึ้น ซึ่งประสบการณ์และบทเรียนดังกล่าวได้ทำให้ดิฉันได้เข้าใกล้ถึงการพยายามรักษาศีลด้วยจิต (และคิดว่าสักวันคงจะสามารถรักษาศีลให้เป็นอธิศีลได้อย่างเป็นปกติธรรมดา)

    ในส่วนของการพยายามละสักกายทิฏฐินั้น ดิฉันได้้พิจารณาขันธ์ 5 และตัดสักกายทิฏฐิออกบ้างตามแต่กำลังใจที่จะสามารถตัดได้ และมีความรู้สึกเกี่ยวกับการเกิดนิพพิทาญาณ เกิดความเบื่อหน่ายในร่างกาย เกิดความเบื่อหน่ายในการเกิด เกิดความเบื่อหน่ายในโลก ไม่อยากกลับมาเกิดอีกแล้ว และทำให้บางทีตัวเองวางใจไม่ถูกว่าจะทำอย่างไร ในเมื่อกลับมาเกิด เกิดความรู้สึกกังวล รีบหักโหมปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทั้งเร่งทำบุญ ทำทาน เข้าวัด สวดมนต์ ฟังธรรม ศึกษาธรรมะ และนั่งสมาธิ (ซึ่งบางครั้งก็ดู "มาก" เกินไป บางทีร่างกายและใจก็ยังรับไม่ไหว เพราะในเวลานั้นยังวางใจตัวเองไม่ถูก) แต่เมื่อได้อ่านและได้ฟังไฟล์เสียงเพิ่มเติม ทำให้เข้าใจว่า การเกิดนิพพิทาญาณ เป็นหนึ่งในการเข้าสู่โสดาปัตติผล และตนเองควรน้อมใจกายให้เข้าสู่ความเป็นโสดาปัตติผลให้ได้ค่ะ ก็เลยรู้สึกว่า แท้จริงแล้ว ความรู้สึกที่เราเกิดขึ้นก่อนหน้านี้นั้นเป็นการเกิดนิพพิทาญาณ และบทเรียนนี้ทำให้ได้รู้ว่า เมื่อเกิดนิพพิทาญาณแล้ว เราควรทำอย่างไรต่อไปค่ะ ^^ (ยาวไปหน่อยนะคะ แต่อยากถือโอกาสนี้รายงานความคืบหน้าในการศึกษาและการปฏิบัติค่ะ ด้วยความระลึกถึงท่านอาจารย์เจ้าของกระทู้ผู้ให้ความรู้และความเข้าใจในทางธรรมค่ะ และขอรายงานเพิ่มเติมด้วยความดีใจว่า ขณะนี้ ไม่ได้พยายามอ่านไปจดไปอีกแล้ว แต่อ่าน และฟังไฟล์เสียงไปแล้ว ทำให้เกิดความเข้าใจด้วยจิต และให้จิตนั้นเป็นผู้จดจำธรรมะนั้นให้ขึ้นใจแล้วเอาไปปฏิบัติ ถ้าไม่เข้าใจ ฟังเพิ่มเติมใหม่จนกว่าจะเข้าใจ ไม่ต้องกลัวคนอื่นคิดว่าตัวเองโง่ หรือไม่ทัน ... เพิ่งรู้ว่าวิธีนี้เรียนธรรมะง่ายกว่าเยอะเลยค่ะ... ไม่ได้ใช้สมองเรียน... แต่ใช้ใจเรียน^^)


    2. ลองนั่งสมาธิตามไฟล์เสียง.... ลองนั่งตามแล้วค่ะ ก่อนหน้านี้นิดหน่อยก็มีการปฏิบัติสมาธิเหมือนกันค่ะ ได้ลองหาทางปฏิบัติสมาธิหลายๆแบบ และศึกษาเกี่ยวกับการนั่งสมาธิเพิ่มเติมค่ะ ทำให้รู้สึกว่า การนั่งสมาธินั้นเป็นการทำให้เกิดความสุขในความสงบได้จริงๆ

    จากการลองนั่งสมาธิ หรือทำให้จิตเป็นสมาธิเป็นประจำ ทำให้รู้สึกว่า จิตมีความพร้อมที่จะน้อมนำเข้าไปสู่ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพิ่มขึ้น มีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัยเพิ่มขึ้น และพร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสอนของท่านอย่างไม่มีเงื่อนไข ด้วยเชื่อแล้วว่าท่านต้องปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบเป็นตัวอย่างให้เราประพฤติตามแน่นอน

    นอกจากนี้ การนั่งสมาธิ ให้เกิดความสงบ ก่อนที่จะใช้จิตน้อมฟังท่านจิตโตทำให้จิตเป็นสมาธิ

    และเมื่อดิฉันได้ทำสมาธิต่อไปในการฟังไฟล์เสียงและพิจารณา ทำให้ดิฉันได้เข้าใจถึงการทำสมถะสมาธิ และวิปัสสนาสมาธิมากขึ้น ทำให้พิจารณาเรื่องราวในแต่ละไฟล์เสียงได้ง่ายขึ้น และเข้าใจได้ง่ายขึ้นค่ะ

    และจากบทเรียนที่ผ่านมา ทำให้ดิฉันลองนำบทเรียนนั้นไปปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอด้วยการพยายามทำสมาธิก่อนนอน และหลับไปพร้อมกับสมาธิ และตื่นมาลองทำสมาธิ ก่อนจะใส่บาตรในตอนเช้า ปรากฎว่าเป็นอย่างที่ท่านจิตโตได้กล่าวไว้จริงๆ ว่าจิตจะเกิดความรู้สึกเคยชิน และจะเริ่มสามารถปฏิบัติสมาธิได้ง่ายขึ้นจริงๆค่ะ และทำให้ตื่นเช้าด้วย (ด้วยต้องตื่นมาใส่บาตรในตอนเช้า และทุกวัน ที่ได้เห็นพระ ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกปิติสุข ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เห็นธงธรรมจักรก็ปลื้มใจ ปลาบปลื้มยินดีในกองทัพธรรม ในความที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนาจนเกิดความปิติและน้ำตาคลอ) รู้สึกมีความสุขง่ายขึ้นมากกว่าเมื่อก่อนเลยค่ะ ^^ (แต่ในการทำสมาธิก็ยังไปไม่ค่อยถึงไหนนะคะ ไม่ถึงขั้นได้ฌาณ หรือรู้สึกว่าลมหายใจหมดไป แต่ก็มีความสุขในการได้ทำสมาธิ และรู้สึกถึงความสงบและความสามารถในการพิจารณาธรรมะที่เกิดขึ้นตรงหน้าได้ง่ายขึ้นค่ะ ^^)

    3. จากไฟล์เสียง ทำให้ได้รู้ว่าเราควรนึกถึงนิพพานอย่างน้อยวันละสองครั้ง ก่อนนอนและเมื่อตื่นนอน จากการปฏิบัติตามท่านจิตโตในไฟล์เสียงครั้งก่อนๆ ทำให้รู้ว่าจิตในช่วงก่อนนอนและตื่นนอนนี้สงบดีจริงๆ และเป็นเวลาที่เหมาะสม (เวลาทอง) ในการนึกถึงนิพพานค่ะ แต่โดยส่วนตัว ก่อนหน้านี้พยายามนึกถึงนิพพานตลอดเวลา ทุกครั้งที่มีโอกาส และทุกครั้งที่นึกได้ พยายามตัดสักกายทิฏฐิ และพิจารณาขันธ์ 5 ตลอดเวลา แต่แน่นอนค่ะ อะไรที่ทำมากเกินไปมันก็ทุกข์ก็ต้องเดินตามทางสายกลาง ให้จิตใจนั้นผ่องใสเข้าไว้ ฟังท่านจิตโตกล่าวแล้วก็รู้สึกดีค่ะ นึกถึงวันละสองครั้ง ถ้ามีเวลาระหว่างวันทำได้ก็ถือว่าเป็นกำไรชีวิต ก็เลยรู้สึกว่า อย่างน้อยก็ยังดี ปฏิบัติไม่ขาดทุน ถึงแม้ว่าวันไหนจะทำงานยุ่ง อย่างน้อยที่สุดก็ยังเสมอตัวที่ก่อนนอนและตื่นนอน ^^

    ส่วนวิธีการในการนึกถึงพระนิพพานนั้น ดิฉันน้อมนำสภาวะธรรมชาติตามที่ท่านจิตโตได้สอนมาพิจารณา เช่น ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย หิว ป่วย ร้อน ฯลฯ ทุกอย่างทำให้เราได้เข้าใจถึงสภาพธรรมชาติว่าขันธ์ 5 นี้ไม่เที่ยง และเมื่อเข้าใจว่าขันธ์ 5 นี้ไม่เที่ยงแล้วก็ทำให้ใจเกิดอุเบกขาในเวทนาที่เกิดขึ้นได้ และเห็นธรรมที่เกิดขึ้นจากการเกิดเวทนานี้ค่ะ ว่า ถ้าเราไปนิพพาน ก็จะไม่เกิดภาวะอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเราจงตั้งมั่นในพระพุทธศาสนา และรักษาตนให้เกิดศีล สมาธิ และปัญญาเถิด

    วิธีที่นำเอาสภาพธรรมดามาพิจารณาก็เช่น พิจารณาว่าเมื่อตัวเองปวดท้องเพราะ หิวข้าว อิ่ม ปวดท้องเข้าห้องน้ำ เหนื่อย ง่วง เพลีย หนาว ร้อน ก็พิจารณาถึงความเบื่อหน่ายในการมีขันธ์ 5 และพิจารณาต่อไปว่า เราต้องพยายามดูแลและใช้ขันธ์ 5 หรือร่างกายที่เรามีอยู่นี้ให้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และทำดีที่สุดในชาตินี้ เพื่อที่เราจะได้ไม่เกิดอีกในชาติต่อไป ต้องเรียนเกี่ยวกับเวทนาที่เกิดขึ้นให้ครบ เพื่อที่จะไม่ต้องมีอีกต่อไป ประมาณนี้น่ะค่ะ

    อีกอย่างหนึ่งเพิ่งได้อ่านมาก็มีเรื่องหนึ่งที่ทำให้รู้สึกว่าโชคดีที่ได้เกิดเป็นมนุษย์เพราะอยู่ในสภาวะที่มีทุกข์เพราะมีขันธ์ 5 แต่ก็ไม่ได้อยู่ในสภาวะทุกข์จนเกินไปจนกระทั่งไม่สามารถบรรลุธรรมได้เหมือนกับอยู่ในนรก ทำให้ตัวเองรู้สึกว่า ในเมื่อมีสภาวะทุกข์ให้เห็น เราก็ต้องเรียนรู้จากทุกข์นี้ให้ได้ และผ่านมันไปให้ได้น่ะค่ะ ก็เลยรู้สึกว่าการนึกถึงนิพพาน เป็นเรื่องที่ควรปฏิบัติเสียจริงๆ ^^

    4. ในส่วนที่ฟังเกี่ยวกับไฟล์เสียงและชอบ มีหลายเรื่อง ตั้งแต่การคิดถึงนิพพาน สภาวะการไปนิพพาน นิพพิทาญาณ (อันนี้ฟังจนจิตจำได้และเข้าใจ เพราะฟังหลายรอบ) สภาพธรรมชาติ เช่น การกิน การย่อยอาหาร ร่างกายมนุษย์ที่สกปรก ฯลฯ ทำให้เกิดความปลงในร่างกาย (จนบางทีก็ทำให้คิดถึงเรื่องการฝึกปลงอสุภะ ซึ่งแต่ก่อนตัวเองกลัวมาก แต่เดี๋ยวนี้กลับเข้าใจว่าสักวันเราก็เป็นเหมือนเขา)

    และท่านจิตโตก็กล่าวได้ตรงใจในเรื่องของการทำบุญ เพราะก่อนหน้านี้บ้าทำบุญเสียเหลือเกินเพื่อหวังไปนิพพาน แต่เมื่อฟังแล้วทำให้ใจเกิดอุเบกขาว่า เราควรพึงกระทำในสิ่งที่พุทธศาสนิกชนพึงกระทำ ตามความเหมาะสม มากกว่าการกระทำเพื่อหวังผล หรือความอยากได้อยากมี เมื่อคิดแล้วใจก็สบายค่ะ (ปฏิบัติเท่าเดิม แต่รู้สึกกังวลน้อยลง) และฟังแล้วก็หวังว่าสักวันเราคงจะได้บรรลุเป็นโสดาบัน (อย่างน้อยที่สุดก็ก่อนที่จะตาย) เพื่อทำให้เราปิดอบายภูมิ และปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในร่มโพธิ์พระพุทธศาสนาต่อไป (นิพพานถ้ายังไม่ถึงชาตินี้ไปฝึกชาติหน้าก็ได้ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องบรรลุโสดาบันให้ได้เพื่อที่จะต้องเรียนรู้การปฏิบัติที่ละเอียดอ่อนกว่านี้ในขั้นต่อไป)

    พอฟังแล้วก็ทำให้ดิฉันนึกถึงความเบื่อหน่ายในการมีร่างกายตลอดเวลา (แต่ไม่ได้ทุกข์นะคะ วางอุเบกขาไว้ให้เห็นเป็นเรื่องปกติธรรมดาของการมีร่างกาย นึกด้วยจิตใจที่ผ่องใส) ตั้งแต่ตื่นนอน ก็ต้องทำความสะอาดร่างกาย ต้องดูแล ยิ่งได้ฟังธรรมเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและการกินอาหารและการย่อยอาหาร ว่าร่างกายนี้เป็นของสกปรกก็ยิ่งทำให้เข้าใจความหนักของการมีร่างกายนี้มากขึ้น แต่เราก็ต้องทรงร่างกายนี้ไว้เพื่อปฏิบัติ แต่ถ้าไม่มีอีกก็ไม่เป็นไร จะขอไปนิพพาน (คิดง่ายๆ เลยค่ะ)

    ก็คงมีเท่านี้ค่ะสำหรับบทเรียนนี้ ไว้จะตอบใหม่ในบทเรียนหน้าค่ะ ขอขอบคุณและอนุโมทนาสาธุการในบุญกุศลที่ท่านเจ้าของกระทู้ได้ทำในครั้งนี้และขอบคุณที่ได้เป็นผู้ชักนำให้ดิฉันเริ่มเกิดดวงตาเห็นธรรมในทางธรรมและเริ่มศึกษาและปฏิบัติอย่างจริงจังนะคะ


    ฐิตารัตน์
     
  5. gogogourmet

    gogogourmet สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +24
    1. แสดงความคิดเห็น รู้สึกอย่างไรกับบทเรียนวันนี้
    - เข้าใจการนึกถึงพระนิพพานมากขึ้นค่ะ
    3. ลองปฏิบัติสมาธิตามไฟล์เสียงประมาณ 10 นาที
    ไม่ต้องจับเวลา เพียงเปิดไฟล์เสียง แล้วปฏิบัติตาม เมื่อครบเวลาจะมีเสียงพระท่านบอกเตือน
    - ปฏิบัติแล้วค่ะ
    4. จากไฟล์เสียงเราควรนึกถึงพระนิพพานอย่างน้อยที่สุดวันละกี่ครั้ง เวลาใดบ้าง
    และท่านจะมีเทคนิคอย่างไรในการปฏิบัติเพื่อที่จะทำให้ไม่ลืมในการนึกถึงพระนิพพานในแต่ละวัน
    - วันละ 2 ครั้ง ก่อนนอนและตอนตื่นใหม่ๆ
    - ระลึกถึงความตายก่อนนอนทำให้นึกถึงพระนิพพานไปด้วย ระหว่างวันก็นึกถึงกฎของความเป็นธรรมดา
    5. จากไฟล์เสียงที่ได้ฟัง ท่านประทับใจหรือชื่นชอบประโยคใดเป็นพิเศษ
    - อารมณ์นิพพิทาญาณเป็นอารมณ์สำคัญอย่างยิ่งในการเข้าถึงความดี ใครไม่มีอารมณ์นิพพิทาญาณไม่มีโอกาสถึงความสุขได้เลย
    - พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า หากบุคคลผู้ใดพินิจพิจารณาไปในกฎของความเป็นจริงอย่างนี้ อย่างเดียวไม่ต้องกำหนดองค์ภาวนา ไม่ต้องกำหนดลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องตั้งพระกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง คิดได้เรื่อยๆคิดแล้วไม่มีอะไรมากวนใจในระหว่างที่คิด นี่คือวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดแล้ว ให้ผลมาก
    การที่คิดอยู่กับความเป็นจริงแล้วก็คิดสืบเนื่องต่อไปเรื่อยๆ ไม่ต้องคำนึงถึงว่าตอนนี้สมาธิอยู่ขั้นไหน จิตจะสงบหรือไม่สงบ แต่ยามที่เธอยอมรับกฎของความจริงหรือเอาความจริงมาคิดเพื่อให้ถึงซึ่งความยอมรับมันได้ จิตตอนนั้นมันสงบแล้ว
     
  6. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379


    แล้วเมื่อใดล่ะที่จะเป็นโสดาปฏิผล เมื่อเธอเชื่อมั่นว่าสิ่งที่เธอทำเป็นทางแห่งความพ้นทุกข์จริงแล้วเธอทำด้วย ความสบายใจแล้วไม่ได้ทำด้วยความอยาก บุญก็ทำเหมือนแต่ก่อน แต่จะสังเกตว่าใจจะไม่ถูกสิ่งที่มากระชากใจ ให้ต้องทำ ทีนี้ไม่ทำก็ไม่เป็นไรถ้าเห็นว่ายังไม่เหมาะควรไม่ทำก็ได้ อะไรที่เกี่ยวกับศาสนาเป็นสาธารณประโยชน์คนที่เป็นพระโสดาบันทำทันที ทำเพราะบูชาคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระอริยสงฆ์ ไม่ใช่ทำเพื่อหวังว่าผลอธิษฐานของเขาจะได้ถึงวึ่งนิพพานอย่างเดียว ทำเหมือนแสดงความกตัญญูกตเวทีใจนุ่มนวลขึ้นเบาขึ้น
    14-2 บรมสุข ไม่ต้องมีกิจพึงทำอะไรเลย ไม่ต้องระวังไม่ให้คิดชั่ว ไม่ต้องระวังต้องทำจิตให้ผ่องใส



    สาธุ สาธุ สาธุ......
     
  7. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379

    สาธุ สาธุ สาธุ........
     

แชร์หน้านี้

Loading...