รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 16)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย karan20, 10 พฤศจิกายน 2011.

  1. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุพระโสดาบัน"
    หลักสูตรออนไลน์ 30 ชั่วโมง
    (ชั่วโมงที่ 16)


    เกริ่นนำ

    หากญาติผู้ใหญ่วานให้ท่านผู้อ่านช่วยหยิบยาฆ่าแมลงให้เพื่อนำไปฉีดฆ่ามดหรือยุง
    หรือหากสัตว์มีพิษเข้าบ้านในยามน้ำท่วมหรือมีภัยพิบัติ ในภาวะอันตรายจวนตัวจนไม่อาจหลบเลี่ยง
    คนในบ้านร้องวานให้ท่านหยิบอาวุธ เช่น มีดหรือไม้ยาวเพื่อกำจัดสัตว์อันตรายนั้น
    ท่านผู้เป็นพระโสดาบันหรือปฏิบัติเพื่อความเป็นพระโสดาบันจะทำอย่างไร


    สรุปทบทวนจากชั่วโมงที่ 15

    คำถาม การเป็นพระโสดาบันนี่ ยากตรงไหน
    คำตอบ
    ยากตรงศีล ยากตรงศีล
    พระพุทธเจ้าบอกว่า บุคคลจะเข้าถึงพระโสดาบันได้ ต้องมีศีลเป็นอธิศีล
    ศีลจะบริสุทธิ์อย่างไร ?
    คือพร้อมทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ
    คือ ไม่ละเมิดด้วยตนเองด้วย ปากต้องไม่ยุบุคคลอื่นเขา
    และใจก็ไม่ยินดีในการละเมิดศีลของบุคคลอื่นเขา
    มันต้องบริสุทธิ์พร้อมกันทั้งหมดอย่างนี้จึงจะเรียกว่า อธิศีล

    ยังมีอุปสรรคซ่อนตัวอยู่อีกอันหนึ่ง
    ซึ่งอันที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร แต่ที่มันยากเพราะเราขาดความมั่นใจ
    หรือเรียกอีกอย่างคือ วิจิกิจฉา คือยังมีความโลเล ลังเลสงสัย
    วิจิกิจฉานี้เป็นทั้งสังโยชน์และเป็นทั้งนิวรณ์



    (ชั่วโมงที่ 16)


    พระพุทธเจ้าตรัสว่า "เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ"
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า "เจตนาคือกรรม"


    เป็นบุญหรือบาป พิจารณาที่เจตนาว่าเป็นกุศลหรือเป็นอกุศลขณะที่ทำ พูด และคิด
    หรือกล่าวอีกอย่างคือพิจารณาว่า ทำ พูด หรือคิดด้วยเจตนากุศลหรืออกุศล

    คำว่า "ไม่มีเจตนากระทำ" นั้นอันที่จริงหมายถึง "กระทำโดยไม่มีเจตนา"
    อย่ามาจากคำเต็ม ๆ ว่า "กระทำโดยไม่มีเจตนาอันเป็นอกุศล"

    ไม่ควรอ้างว่าดื่มเหล้าหรือเสพของมึนเมาจนขาดสติแล้วทำอะไรก็ได้ เนื่องจากไม่รู้ตัว ไม่มีเจตนา
    เพราะการเจตนาดื่มเหล้าหรือเสพของมึนเมานั้นเอง เป็นเจตนาที่จะขาดสติ ไม่เจริญสติ

    "ไม่เจตนาย่อมไม่ผิด" (ไม่มีเจตนาอกุศลย่อมไม่ผิด) นั้นต่างจากที่คนชอบเอามาอ้างว่า "ไม่รู้ย่อมไม่ผิด"
    เพราะตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คือ "ผิดที่ไม่รู้"
    เปรียบเหมือนคนจับถ่านไฟร้อนโดยไม่รู้ว่าร้อนย่อมได้รับอันตรายมาก
    การไม่รู้หรือรู้ไม่ครบในอริยะสัจเรียกว่า "อวิชชา"
    เป็นเหตุนำไปสู่อบายภูมิและการเวียนว่ายเป็นผู้ประสบภัยซ้ำซากในวัฏสงสาร


    แต่การอ้างว่า "ไม่รู้" ในทางกฏหมายบ้านเมืองนั้นจะผิดหรือถูกประการใด
    ก็แล้วแต่ผู้ตัดสินหรือผู้กำหนดกฏหมาย ว่าจะกำหนดโทษมากน้อยประการใด

    แม้ไม่รู้ว่าการฆ่าสัตว์เป็นบาปหรือหลงผิดแม้กระทั่งคิดว่าฆ่าสัตว์เพื่อบูชายัญเป็นบุญและไม่ผิดกฏหมาย
    แต่กระทำด้วยเจตนาอกุศล หมายถึงเป็นไปด้วยความ โลภ โกรธ หลง หรือคิดเบียดเบียนผู้อื่น
    เช่นนี้ย่อมเป็นบาปแม้ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นบาป


    เรื่องนายพรานกุกุกฏมิตร
    อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปาปวรรคที่ ๙ อ้างอิง
    อ่านเรื่องเต็มได้ตามลิ้งค์ เรื่องนายพรานกุกุกฏมิตร

    ผู้เขียนขอนำมาเล่าให้ฟังในสำนวนแบบเพื่อน มีใจความดังนี้

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน
    ทรงปรารภนายพรานชื่อกุกกุฏมิตร
    ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปาณิมฺหิ เจ วโณ นาสฺส" เป็นต้น.

    ธิดาเศรษฐีคนหนึ่งในกรุงราชคฤห์ เจริญวัยแล้ว
    มารดาบิดาจึงมอบหญิงคนใช้ให้คนหนึ่ง
    และให้อยู่ในห้องบนปราสาท 7 ชั้น

    ในเวลาเย็นวันหนึ่ง มองไปทางหน้าต่าง
    ได้เห็นนายพรานคนหนึ่งชื่อกุกกุฏมิตร นั่งบนแอกเกวียนใหญ่เต็มไปด้วยเนื้อสัตว์
    เข้าไปสู่พระนครเพื่อต้องการขายเนื้อ
    ธิดาเศรษฐีเกิดหลงรักนายพรานนั้นเพียงแรกเห็น
    จึงใช้ให้หญิงคนรับใช้นำสิ่งของบรรณาการไปให้นายพราน
    แล้วไปสอบถามว่านายพรานนั้นจะเดินทางกลับเมื่อไหร่
    นายพรานตอบหญิงรับใช้ว่า ขายเนื้อแล้วจะออกไปโดยประตูโน้นแต่เช้า
    หญิงคนรับใช้ฟังคำที่นายพรานนั้นบอกแล้วกลับมาบอกแก่ธิดาเศรษฐี

    ธิดาเศรษฐีรวบรวมเสื้อผ้าอาภรณ์อันของที่ตนควรถือเอา นุ่งผ้าเก่า ถือหม้อออกไปแต่เช้าตรู่
    แล้วได้ยืนคอยการมาของนายพรานอยู่ แม้นายพรานก็ขับเกวียนออกไปแต่เช้าตรู่
    ฝ่ายนางก็เดินตามหลังนายพรานนั้นไป
    เขาเห็นนางห้ามว่าอย่าตามมาครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ธิดาเศรษฐียืนยันว่าจะตามไป
    นายพรานทราบการมาของนางเพื่อตนโดยไม่สงสัยแล้ว ได้อุ้มนางขึ้นเกวียนไป
    ส่วนมารดาบิดาให้คนตามหาลูกสาวของตนไม่พบ ก็คิดว่าลูกสาวของตนคงตายไปแล้ว
    เมื่อธิดาเศรษฐีอาศัยการอยู่กินร่วมกับนายพรานก็มีลูกด้วยกัน 7 คน

    ภายหลังวันหนึ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลกในเวลาใกล้รุ่ง
    ทรงเห็นนายพรานกุกกุฏมิตรกับบุตรเข้าไปภายในข่าย คือพระญาณของพระองค์
    ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติมรรคของชนเหล่านั้นแล้ว
    ทรงถือบาตรและจีวรได้เสด็จไปที่ดักบ่วงของนายพรานนั้นแต่เช้าตรู่

    วันนั้นแม้สัตว์สักตัวหนึ่งก็ไม่ติดบ่วงของนายพราน
    พระพุทธองค์ทรงแสดงรอยพระบาทที่ใกล้บ่วงของเขา แล้วประทับนั่งที่ใต้ร่มพุ่มไม้ข้างหน้า
    นายพรานไปดูบ่วงแต่เช้าตรู่ ตรวจดูบ่วงไม่พบสัตว์ติดบ่วง
    แต่ได้เห็นรอยพระบาทของพระพุทธองค์
    แล้วคิดว่านี่คงเป็นรอยเท้าของผู้ที่ปล่อยสัตว์ออกจากบ่วงของตน
    เขาก็เลยผูกอาฆาต เมื่อเดินไปก็พบพระพุทธองค์ประทับนั่งที่โคนพุ่มไม้
    ก็คิดว่าสมณะองค์นี้ปล่อยสัตว์ของเรา เราจักฆ่าสมณะแล้วก็โก่งธนู
    พระพุทธองค์ให้โก่งธนูได้แต่ไม่ให้ยิงธนูออกมาได้ด้วยพระพุทธานุภาพ
    นายพรานไม่อาจลดมือลงได้ ถือค้างอยู่เช่นนั้นจนปวดแขน น้ำไหลออกจากปากและอ่อนเพลีย

    ครั้งนั้นต่อมาพวกลูก ๆ ของนายพรานเห็นว่าพ่อเข้าป่าไปนานผิดปกติ
    คิดว่าอาจจะมีเรื่องไม่ดีจึงต่างคนต่างถือธนูแล้วออกไปตามหาพ่อ
    ไปเจอแล้ว เห็นพ่อยืนเล็งธนูค้างอยู่เช่นนั้น ก็คิดว่าคงพระพุทธเจ้าเป็นศัตรู
    จึงเล็งธนูแล้วก็ค้างอยู่ในท่านั้นด้วยเพราะพระพุทธานุภาพ

    ต่อมาภรรยาของนายพรานเห็นสามีและลูกเข้าป่าไปนานผิดปกติจึงได้ออกตามหา
    ไปเจอทั้งสามีและลูกยืนโก่งธนูเล็งอยู่ ก็สงสัยว่าจะยิงใคร
    แต่ก็ต้องตกใจประคองแขนแล้วร้องเสียงดังว่า ท่านอย่าทำอันตรายบิดาของเรา
    (เธอบรรลุโสดาบันแล้ว มีความรักและเคารพดุจว่าพระพุืธเจ้าเป็นบิดาของเธอ เรียกพระพุทธเจ้าว่าบิดา)
    นายพรานกก็ตกใจคิดว่า เราแย่แล้ว คิดว่าสมณะนี้คือพ่อตาของเรา
    ส่วนลูกของนายพรานก็ตกใจคิดว่า เราแย่แล้ว คิดว่าสมณะนี้คือตาของเรา
    ภรรยานายพรานก็บอกว่าให้รีบวางธนูเสียแล้วรีบขอให้บิดาของฉันอดโทษให้
    ทั้งนายพรานและลูกเมื่อมีจิตใจอ่อนลง พระพุทธเจ้าก็บันดาลให้ลดแขนลงได้

    พวกเขาทั้งหมดต่างถวายบังคมพระศาสดาแล้วขอให้พระองค์อดโทษ
    ลำดับนั้นพระศาสดาตรัส 'อนุปุพพีกถา' แก่พวกเขา
    ในเวลาจบเทศนา นายพรานกุกกุฏมิตรพร้อมทั้งบุตรและภรรยาก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว
    พระศาสดาก็เสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตและได้เสด็จไปสู่วิหาร

    ลำดับนั้น พระอานนทเถระทูลถามพระองค์ว่าวันนี้พระองค์เสด็จไปไหน? พระเจ้าข้า
    พระศาสดาก็ตรัสเล่าว่าไปสำนักของกุกกุฏมิตร นายพรานกุกกุฏมิตรนั้นตั้งอยู่ในศรัทธาอันไม่คลอนแคลน
    เป็นผู้หมดสงสัยในรัตนะ 3 เป็นผู้ไม่ทำกรรมคือปาณาติบาตแล้ว
    พวกภิกษุกราบทูลว่า นายพรานนั้นมีภรรยาด้วยมิใช่หรือ
    พระศาสดาตรัสว่า ใช่แล้ว นางเป็นกุมาริกาในเรือนของผู้มีตระกูลและบรรลุโสดาปัตติผล

    พระภิกษุคุยกันถึงเรื่องของ ภรรยาของนายพรานชื่อกุกกุฏมิตร
    นางได้บรรลุโสดาบันตั้งแต่อายุ 7 ขวบ
    เมื่อโตมาได้หนีบิดามารดาตามมาอยู่กินกัยนายพราน
    เมื่ออยู่มาอยู่กินกัน นายพรานก็วานให้ภรรยาช่วยหยิบ ธนู ลูกศร หอก หลาว ตาข่าย เื่พื่อใช้นำไปล่าสัตว์
    ภรรยาก็หยิบส่งให้แก่สามีผู้เป็นนายพราน

    พระภิกษุนั้นก็สงสัยกันว่าทำไมพระโสดาบันยังทำผิดศีล คือการฆ่าสัตว์อยู่อีก
    พระพุทธเจ้าได้ยินเสียงสนทนาจึงตรัสถามว่ากำลังคุยเรื่องอะไรกัน
    พระภิกษุก็เล่าให้พระองค์ฟังและทูลถาม


    พระพุทธองค์ตรัสว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย พระโสดาบันย่อมไม่ทำปาณาติบาต
    แต่นางได้ทำอย่างนั้น ด้วยคิดว่า ‘เราจักทำตามคำสามี’
    จิตของนางไม่มีเลยว่า สามีนั้นจงถือเอาเครื่องประหารนี้ไปทำปาณาติบาต
    จริงอยู่ เมื่อแผลในฝ่ามือไม่มี ยาพิษนั้นก็ไม่อาจจะให้โทษแก่ผู้ถือยาพิษได้ฉันใด
    ชื่อว่าบาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำบาป แม้นำเครื่องประหารทั้งหลาย มีธนูเป็นต้นออกให้
    เพราะไม่มีอกุศลเจตนาฉันนั้นเหมือนกัน"
    ดังนี้แล้ว

    เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
    <table class="D" border="0" cellspacing="0"> <tbody><tr valign="top"><td>
    </td><td>ปาณิมฺหิ เจ วโณ นาสฺส </td><td>หเรยฺย ปาณินา วิสํ </td></tr><tr valign="top"><td>
    </td><td>นาพฺพณํ วิสมเนฺวติ </td><td>นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต. </td></tr><tr valign="top"><td>
    </td><td colspan="2">ถ้าแผลไม่พึงมีในฝ่ามือไซร้, บุคคลพึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้, </td></tr><tr valign="top"><td>
    </td><td colspan="2">เพราะยาพิษย่อมไม่ซึมเข้าสู่ฝ่ามือที่ไม่มีแผล ฉันใด, </td></tr><tr valign="top"><td>
    </td><td colspan="2">บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำอยู่ ฉันนั้น</td></tr></tbody></table> <center>
    </center>พระพุทธองค์ยังกล่าว่า ธิดาเศรษฐีนั้น บรรลุโสดาปัตติผลแล้วตังแต่ยังเป็นเด็ก
    ความสิเนหาในก่อนได้ครอบงำธิดาของเศรษฐี ตั้งแต่แรกเห็นนายพรานกุกกุฏมิตรนั้น
    พระองค์ตรัสว่า ความรักนั้น ย่อมเกิด เพราะอาศัยเหตุ 2 ประการ อย่างนี้ คือ
    เพราะการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน และ/หรือ เพราะการเกื้อกูลกันในปัจจุบัน
    ธิดาของเศรษฐีนั้นได้ไปสู่ตระกูลของพรานเนื้อ เพราะความสเน่ห์หาในปางก่อน


    ยาพิษย่อมไม่อาจซึมซาบเข้าสู่ฝ่ามือที่ไม่มีแผล ฉันใด ชื่อว่าบาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำบาป
    แม้นำเครื่องประหารทั้งหลายมีธนูเป็นต้นออกให้ เพราะไม่มีอกุศลเจตนา ฉันนั้นเหมือนกัน
    แท้จริง บาปย่อมไม่ติดตามจิตของบุคคลนั้น เหมือนยาพิษไม่ซึมเข้าไปสู่ฝ่ามือที่ไม่มีแผลฉนั้น




    สวัสดี.


    - จบชั่วโมงที่ 16 -

    การบ้านของชั่วโมงที่ 16 :
    1. แสดงความคิดเห็น รู้สึกอย่างไรกับบทเรียนวันนี้
    2. ดาวน์โหลดไฟล์ MP3 ที่แนบมานี้ไปฟัง การบ้านคราวนี้มี 2 ไฟล์เสียง

    [​IMG] การบ้านบทที่ 16 - 1.mp3
    [​IMG] การบ้านบทที่ 16 - 2.mp3
    <table style="width: 10px; height: 27px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="3"><tbody><tr></tr><tr><td>
    </td><td>
    </td></tr></tbody></table>วิธีการฟัง :
    ให้ปิดไฟ หรือนั่งในที่มืดด้วยท่าสบายผ่อนคลาย
    ควรฟังในที่สงบหรือที่อันควรแก่การฟังธรรม
    ฟังอย่างตั้งใจและค่อย ๆ พิจารณาตามไปตลอดการฟัง

    3. จากไฟล์เสียงที่ได้ฟัง ท่านประทับใจหรือชื่นชอบประโยคใดเป็นพิเศษ



    ไฟล์ MP3 การบ้านของวันนี้ คือเสียงเทศน์ของท่านจิตโต
    ท่านเป็นพระลูกศิษย์ของหลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง
    ดังนั้นเวลาที่หลวงพี่จิตโตกล่าวถึงคำว่า " หลวงพ่อ "
    ขอให้ทราบว่าหมายถึงหลวงพ่อพระราชพรหมยาน หรือหลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง


    ส่งการบ้านและพูดคุยกันได้ที่นี่
    สำหรับท่านที่ไม่ได้สมัครสมาชิกเว็บพลังจิต เชิญพูดคุยแนะนำกันได้ที่ Facebook กาขาว


    ทบทวนย้อนหลัง
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 1)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 2)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 3)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 4)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 5)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 6)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 7)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 8)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 9)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 10)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 11)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 12)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 13)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 14)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 15)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2011
  2. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    อ่านเพิ่มเติม มิลิทปัญหา

    ปัญหาเรื่องทำบาปโดยรู้ตัวกับทำโดยไม่รู้ตัว
    พระเจ้ามิลินท์ ตรัสถามมีใจความว่า
    ท่านเองเคยกล่าวว่าผู้ใดฆ่าสัตว์โดยไม่รู้ บาปมีกำลังกล้าย่อมเกิดแก่ผู้นั้น
    ส่วนในพระวินัยบัญญัติ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ภิกษุผู้ไม่รู้ตัวฆ่าสัตว์ไม่ต้องอาบัติ
    ดังนี้ข้อความทั้ง 2 ฟังดูขัดแย้งกันอยู่

    พระนาคเสนถวายพระพรตอบว่า ประเด็นทั้ง 2 มิได้ขัดแย้งกัน
    เพราะแต่ละประเด็นมีความหมายพิเศษแตกต่างกัน
    ประเด็นแรกที่ว่าคนฆ่าสัตว์ โดยไม่รู้ว่าเป็นบาป ย่อมได้บาปมากนั้น
    หมายความว่า คนที่ไม่รู้ว่าอะไรเป็นบุญ อะไรเป็นบาปนั้น
    ย่อมไม่มีความละอายหรือความกลัวต่อบาป
    ย่อมมีความยินดีในบาปอย่างเต็มที่ จึงเผลอตัวทำบาปอย่างเต็มที่
    เมื่อทำเต็มที่ก็ย่อมจะได้บาปอย่างเต็มที่
    เปรียบเหมือนคนไม่รู้ว่าถ่านมีไฟร้อน จึงจับถ่านร้อนเต็มมือย่อมจะ ถูกไฟไหม้มากกว่า
    ส่วนคนที่รู้ว่าเป็นถ่านร้อน เขาจะจับถ่านด้วยความระมัดระวังให้เป็นอันตรายแก่มือน้อยที่สุด


    ส่วนในเรื่องเกี่ยวกับอาบัติของพระนั้น ทรงแบ่งพระวินัยออกเป็น 2 ประเภท
    คือสัญญาวิโมกข์ หมายถึงความผิดที่ภิกษุล่วงละเมิดโดยไม่รู้ตัว
    ที่พระตถาคตเจ้าตรัสว่า ภิกษุกระทำกรรมชั่วโดยไม่รู้ตัว ไม่ต้องอาบัตินั้น
    ทรงหมายถึงอาบัติประเภทสัญญาวิโมกข์

    อีกประการหนึ่งคือ นสัญญาวิโมกข์ ได้แก่อาบัติที่แม้ไม่รู้ตัวขณะที่กระทำ ก็ยังต้องอาบัติ
    เช่น การดื่มสุรา แม้ไม่รู้ว่าเป็นสุรา ดื่มเข้าไปก็ต้องอาบัติ
    เพราะฉะนั้น กรณีทั้ง ๒ จึงมีจุดมุ่งหมายต่างกัน
    กรณีแรกใช้กับคนทั่วไป กรณีหลังใช้กับพระวินัยของพระภิกษุเท่านั้น

    พระเจ้ามิลินท์ ทรงพอพระทัยในคำตอบของพระนาคเสน


    ข้อมูลจาก...ธรรมในมิลินทปัญหา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2011
  3. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
  4. eee

    eee สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +23
    การบ้านของชั่วโมงที่ 16 :
    1. แสดงความคิดเห็น รู้สึกอย่างไรกับบทเรียนวันนี้
    ตอบ เพิ่งฟังทางแห่งความดี ของอ.วศิน เรื่องนี้พอดีเลยค่ะ ^^ รู้สึกว่าใช้ชีวิตง่ายสบายไม่กดดัน เอาใจตัวเองเป็นหลักวัดไม่ต้องแคร์เสียงรอบข้างมากนัก เพราะแต่ละคนเขาก็ยึดสิ่งที่ดีที่สุดของตนเองจึงตัดสินเรื่องต่างๆตามใจตน เรามีหลักธรรมของพระพุทธเจ้าถือว่าโชคดีมากแล้วค่ะ
    2. ดาวน์โหลดไฟล์ MP3 ที่แนบมานี้ไปฟัง การบ้านคราวนี้มี 2 ไฟล์เสียง
    การบ้านบทที่ 16 - 1.mp3
    การบ้านบทที่ 16 - 2.mp3
    วิธีการฟัง :
    ให้ปิดไฟ หรือนั่งในที่มืดด้วยท่าสบายผ่อนคลาย
    ควรฟังในที่สงบหรือที่อันควรแก่การฟังธรรม
    ฟังอย่างตั้งใจและค่อย ๆ พิจารณาตามไปตลอดการฟัง
    ตอบ ฟังแล้วค่ะ
    3. จากไฟล์เสียงที่ได้ฟัง ท่านประทับใจหรือชื่นชอบประโยคใดเป็นพิเศษ
    ตอบ ไฟล์16-1 ศีล5ประการไม่ใช่เรื่องยาก แค่เธอมีใจเมตตา คนเรามีใจเมตตาสงสารมันเกิดขึ้นได้ง่าย แค่เรามอง เห็นความทุกข์ของคนอื่นของเรา ก็สงสารจับใจแล้ว จะรักษาศีล5บริสุทธิ์ได้ดี คนไม่เห็นทุกข์ของคนอื่นจะมีเมตตามาจากไหน...
    **เมื่อใดก็ตามที่เธอตั้งมั่นในองค์ของศีลได้ ชีวิตของเธอจะไม่เป็นไปด้วยความสูญเปล่าเป็นโมฆบุรุษ โมฆสตรี
    16-2 เอาคำสอนของครูบาอาจารยืนำเราไป นั่นแหล่ะเรียก ละทิฎฐิมานะ อย่าให้เอามานะทิฎฐิของเรามาแสดงเป็นตัวตนเหนือคำสอนของครูบาอาจารย์เด็ดขาด
    เจตนาดีนั้นเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นตัวเดินด้วยหรือเปล่า หรือ เป็นมานะทิฎฐิความคิดที่เป็นของตัวเอง..ทำด้วยเมตตา กรุณา มุทิตาหรือเปล่า ทำเพราะต้องการอะไรหรือเปล่า มีโลกธรรมส่วนใดที่เธอต้องการหรือเปล่า
     
  5. thitarat

    thitarat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +203
    สวัสดีค่ะ

    ขอส่งการบ้านบทที่ 16 ค่ะ (เรียนยังไงก็เรียนไม่ทันจริงๆ นักเรียนยังขยันไม่เท่าอาจารย์เลยค่ะ ^^ อุตส่าห์เอาบทที่ 15 ไปฟังเป็นการบ้านแล้วตอนกลางคืน เช้ามาก็ฟังบทที่ 16 เป็นการบ้าน กะว่าจะให้ทันบทที่ 17 ในวันนี้ ไม่ทันไรมีบทที่ 18 อีกแล้วค่ะ ^^ ขออนุโมทนาบุญค่ะ จะตั้งใจเรียนต่อไปเรื่อยๆค่ะ ^^)

    1. จากการได้เรียนในชั่วโมงนี้ ทำให้รู้ว่า เราต้องเรียนรู้เรื่องเจตนาเพิ่มเติม เรียนรู้กฎธรรมดาเพิ่มเติม ว่าถ้าเราไม่มีเจตนาในการผิดศีล บาปก็ไม่เกิด การผิดศีลก็ไม่เกิด เราต้องรู้จักพิจารณาถึงกฎของความเป็นธรรมดาเมื่อเกิดอะไรที่ไม่คาดคิด ไม่คาดฝันเกิดขึ้น และทรงใจไว้ให้ได้ เพื่อที่จะพร้อมเข้าสู่ความเป็นนิพพาน

    พอได้เรียนรู้ในบทนี้ ทำให้เราวางใจในเรื่องการต้องระวัง หรือความรู้สึกไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ในการต้องระวังกาย วาจา ใจ ในการรักษาศีลให้ได้ ด้วยการมีเจตนาอันดีในการรักษาศีลตลอดเวลา ไม่ให้ด่างพร้อย ทำจิตใจให้ผ่องใส เพราะก่อนหน้านี้อารมณ์ในการรักษาศีลยังไม่ทรง ยังคงเศร้า เสียใจ เมื่อตัวเองไปทำให้สัตว์เล็กตาย เช่น มด โดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น เวลาซักผ้า ก่อนจะเทน้ำลงบนพื้นซีเมนต์ ก็ดูแล้ว ว่าไม่เห็นมดแน่ๆ พยายามไล่มดออกไปจนกระทั่งมั่นใจว่า ไม่มีมดแน่ๆ ถึงเทน้ำลงไป หรือเห็นว่า เทน้ำไปบางส่วน เหลือพื้นที่บางส่วนให้มดหนีแล้ว แต่มดยังไม่หนี กลับเข้าไปหาน้ำ จนสำลักน้ำตาย จะเข้าไปช่วย เอาอะไรมาให้มดเกาะเพื่อหนี ก็ไม่ทัน เพราะมดเข้าไปเอง ไม่หนีเอง ทำให้ดิฉันเสียใจมากๆ ทั้งที่ไม่ได้มีเจตนา คล้ายพระนางมัลลิกา ในเวลาที่ท่านสะดุดข้อเท้าพระสวามีแล้วทำให้ท่านต้องลงนรกไป 7 วัน

    พอได้อ่านและได้ฟังบทเรียนในวันนี้ ทำให้ทราบว่า ในเมื่อพระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ผิด ก็คือต้องไม่ผิด สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องมีกรรมเป็นของตัวเอง เราไม่ทำให้เขาตาย เขาก็มีเหตุให้ต้องตายเอง ก็ถือว่าเขามีกรรมเป็นของเขา เป็นไปตามกฎของความเป็นธรรมดา เมื่อพระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ผิดก็คือไม่ผิด ดูที่เจตนาเป็นหลัก เพราะฉะนั้น เราควรระวังกาย วาจา ใจ ให้มีเจตนาในการรักษาศีลให้เป็นอธิศีลตลอดเวลาให้ดีเสียดีกว่าจะต้องมานั่งเศร้าโศกเสียใจในสิ่งที่ตนเชื่อว่ามันผิดทั้งที่พระพุทธเจ้าบอกไว้แล้วว่าไม่ผิด แล้วกรรมในการที่เราคิดว่ามันผิดนั้นเอง จะได้นำเราลงสู่นรก ด้วยคำกล่าวของท่านจิตโตในไฟล์เสียง ทำให้รู้สึกว่า วันๆ เราก่อเหตุในการนรกด้วยตนเองมากกว่าที่เราจะโดนกรรมที่แท้จริงของเราพาไปลงนรกเสียอีกค่ะ เพราะฉะนั้นจากนี้ไปจะไม่ก่อนรกด้วยตนเองอีกแล้ว เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาไปเสียดีกว่าที่จะหาเรื่องก่อนรกให้ตนเองค่ะ ^^

    2. สิ่งที่ประทับใจจากไฟล์เสียง มีหลายเรื่องค่ะ ต่อเนื่องตั้งแต่การได้มีความรู้สึกซาบซึ้งในพระรัตนตรัยและเข้าถึงไตรสรณคมณ์ ในบทที่ 15

    เริ่มรู้สึกว่าตัวเองมีครูบาอาจารย์ มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง มีใจรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ (เวลาคิดถึงพระรัตนตรัยและพระนิพพานจะเกิดปิติ ซาบซึ้งจนน้ำตาคลอทุกครั้ง... เป็นพวกน้ำตาไหลง่าย จนบางทีก็เกินไปค่ะ แต่โชคดีมักจะอยู่คนเดียวเวลาที่เป็นอย่างนี้)

    เวลาคิดถึงความตาย ก็เริ่มยอมยิ้มให้กับความตายบ้างแล้ว ยอมตาย ตายได้ จะตายก็ตายเลย ไม่กลัวแล้ว เมื่อตายแล้วก่อนตายขอพระรัตนตรัยพาไปสู่ที่ชอบๆด้วย แต่ไม่ขอลงอบายภูมิ ^^

    เวลาทำบุญก็เริ่มหวังผลจากบุญน้อยลง เริ่มรู้สึกว่าเราไม่ได้ต้องการอะไรจากการทำบุญ ทำเพื่อการสละความโลภ โกรธ หลงในตัว ทำเพื่อตอบแทนพระศาสนา ทำเพื่อให้เราเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ไม่ได้หวังแม้กระทั่งจะให้พระให้พรยาวๆ จะได้ซาบซึ้งในพระธรรมได้นานๆ (ปกติตอนเช้าเวลาทำบุญที่ลาว บางครั้ง พระจะสวดยาว สวดให้สามบท บางครั้งพระจะสวดสั้นให้สองบท บางทีก็บทเดียว ช่วงแรกๆก็งงๆ แต่เดี๋ยวนี้ไม่ได้หวังเลย เมื่อเช้าไม่ได้หวังเลย คิดแม้กระทั่งว่า ท่านจะรับที่ดิฉันใส่บาตรแล้วเดินไปเลยก็ได้ ดิฉันไม่หวังอะไรจริงๆ ^^)

    เดี๋ยวนี้ก็เริ่มเกิดศรัทธา ทำบุญด้วยความศรัทธา ทำบุญด้วยความรู้สึกว่ามันเป็นของดี เมื่อพระพุทธเจ้าทรงสอนว่าการทำบุญทำทานนั้นเป็นของดี ทำไมเราไม่เชื่อตามท่าน และไม่ทำ ตามที่เราเห็นว่ามันดี เราต้องมีเจตนาในการทำบุญที่ดี ทำเพื่อละกิเลสในตัว ทำเพราะเรารู้ว่ามันดี ทำเพราะทำนุบำรุงพระศาสนา ไม่ได้ทำตามแฟชั่น ไม่ได้ทำให้คนยอมรับนับถือ เชื่อตามที่ท่านจิตโตบอกในเรื่องศรัทธา โดยพยายามหาโลกธรรม 8 มาจับ ว่าตัวเองยังคงหวั่นไหวในโลกธรรม 8 อยู่ไหม หรือความหวั่นไหวในโลกธรรม 8 อันเกิดขึ้นจากการทำบุญลดลงหรือยัง วันนี้เราทำบุญเพราะอะไร ทำเพราะโลภมาก ทำเพราะอยากให้ไปถึงนิพพาน หรือทำเพราะอยากทำ เพราะรู้ว่ามันเป็นของดี เพราะฉะนั้นเมื่อได้ยินไฟล์เสียงในบทนี้ก็เริ่มเกิดบททดสอบทางจิตสำหรับตัวเอง ทั้งในเรื่องศีล ทาน ภาวนาที่เริ่มชัดเจนมากขึ้น กลไกการปิดอบายภูมิสำหรับตัวเองเริ่มชัดเจนมากขึ้น เริ่มสอบอารมณ์ตัวเองได้ และเข้าใจจิตใจตัวเองได้มากขึ้น

    และแน่นอน เมื่อจิตมีศีล มีสมาธิ มีการทำบุญทำทานละโลภ โกรธ หลง ดิฉันก็เริ่มที่จะละความโกรธ ความไม่พอใจจากการที่ตัวเองต้องเริ่มตื่นเช้า มาทำบุญ ซึ่งไม่ใช่วิสัยของตัวเองที่จะตื่นเช้า และไม่ใช่วิสัยของตัวเองที่จะต้องรอตักบาตร เพราะที่นี่ต้องรอตักบาตรประมาณครึ่งชั่วโมงค่ะ (แล้วแต่พระมา เวลาตั้งแต่ 6.30-7.00) ออกมาก่อนก็ต้องรอก่อน ตอนแรกๆ วันแรกๆ รอแบบไร้ความหวัง ต่อมาเริ่มรอแบบชาวนาเวลาหว่านกล้า ยังไม่เห็นข้าวหรอก แต่รู้ว่าข้าวจะต้องเกิด จะต้องมา เชื่อว่าพระท่านจะต้องเดินผ่าน จะต้องมาแน่ๆ ไม่ไปก่อนแน่ๆ จนเดี๋ยวนี้เวลาพระท่านมาช้ากว่าเวลาปกติ จะเริ่มรู้สึกวางเฉย บางทีก็รู้สึกยินดีว่า สงสัยต้องมีคนใส่บาตรให้ท่านเยอะแน่ๆ และขออนุโมทนาบุญกับผู้มีจิตศรัทธาตักบาตรในตอนเช้าก่อนเราด้วยที่มีจิตใจทำนุบำรุงพระศาสนา หาของอันละเอียด ประณีต ถวายให้พระสงฆ์ ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เพราะลำพังตัวเราเองคงไม่มีความสามารถในการหาอาหารอันละเอียด ประณีต ปรุงสุกใหม่ และสะอาดได้ดีและมากเท่ากับท่านผู้ใจบุญก่อนหน้านี้เป็นแน่ แล้วก็ทำให้รอ และใส่บาตรด้วยความสบายใจ

    เมื่อเช้า ก่อนใส่บาตร คิดถึงคำว่า สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตามที่ท่านจิตโตได้เมตตาสอนไว้ พอมาคิด ก็จริงๆด้วย โดยเฉพาะคำว่า สีเลนะนิพพุติง ยันติ ที่ท่านสอนว่าการรักษาศีลย่อมพาไปให้ถึงนิพพานได้ เพราะฉะนั้นจากนี้ไป จงตั้งใจรักษาศีลเถิด พอคิดได้อย่างนี้แล้วก็จิตใจผ่องใส มีความสุข และคิดเพิ่มเติมแม้กระทั่งเรื่องรักษาศีล 8 ซึ่งการรักษาศีล 8 ในวันนี้เป็นเรื่องที่ทำให้ดิฉันแปลกใจมาก ที่จู่ๆ ก็มีใจอยากจะรักษาศีล 8 อยู่ดีๆ ตื่นขึ้นมาในตอนเช้าก็รู้สึกว่า เครื่องประดับที่เราใส่อยู่นี้ มันหนัก (ก่อนหน้านี้ใส่ตั้งหลายวันทำไมไม่หนัก) เห็นแล้วรู้สึกเหนื่อยว่าทำไมเราต้องแบกเครื่องประดับไปให้คนอื่นเห็นว่าเรามีดีจากภายนอก ทำไมเราไม่ให้ผู้อื่นเห็นว่าเรามีดีจากภายใน ตื่นเช้ามา อาบน้ำ ก่อนออกจากบ้าน ก็เริ่มตั้งใจจะทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้านตามความเคยชิน ใจก็เริ่มคิดอีก จะทาไปทำไม ในเมื่อทาไปก็รักษาได้แค่กาย แต่รักษาใจไม่ได้ พอออกจากบ้านจะไปกินข้าวเช้า ก็เริ่มคิดอีก วันนี้กินแค่นี้พอ เท่านี้พอ วิกาละโภชนาวันนี้เราไม่อยากกิน ไม่รู้สึกหิว ไม่รู้สึกว่าจำเป็น (เริ่มละการกินมื้อเย็นตั้งแต่เมื่อวานที่ผ่านมาแล้ว วันนี้เลยเริ่มรู้สึกว่าไม่จำเป็น) พอเริ่มคิดได้วันนี้ พอมาถึงที่ทำงานก็เริ่มสมาทานศีล 8 เมื่อมาถึงเลย รู้สึกว่าใจพร้อมแล้ว ขอสมาทานศีลแปด ในวันโกน กับวันพระ และเริ่มมีจิตใจตั้งมั่นที่จะรักษาศีล 8 ในทุกวันโกน กับวันพระ หรือทุกวันที่สามารถกระทำได้ค่ะ

    เรื่องหลักๆ ที่ได้จากการเรียนในบทที่ 16 ก็มีเท่านี้ค่ะ ถ้ามีเวลาจะย้อนกลับไปฟังเพิ่มเติม โดยเฉพาะไฟล์ที่ 2 ในเรื่องเจตนา เพราะรู้แล้วว่า เจตนานั้น เป็นสิ่งที่สำคัญและเราไม่อาจมองข้ามได้ ดิฉันต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้เพิ่มเติมในส่วนนี้เพื่อให้ดิฉันสามารถเข้าถึงทาน ศีล สมาธิ และภาวนา ได้อย่างบริสุทธิ์ขึ้น และละมิจฉาทิฏฐิส่วนตัวให้ได้มากยิ่งขึ้นค่ะ

    ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของกระทู้ที่กรุณาเสียสละเวลาสรุปธรรมะเพื่อเป็นธรรมทานให้กับพวกเรา และขออนุโมทนาสาธุการกับทุกท่านที่ร่วมเดินในเส้นทางบุญนี้นะคะ

    ฐิตารัตน์
     
  6. gogogourmet

    gogogourmet สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +24
    1. แสดงความคิดเห็น รู้สึกอย่างไรกับบทเรียนวันนี้
    - รู้สึกว่าโชคดีที่ได้เกิดมาเจอพระพุทธศาสนาค่ะ ได้รู้หลักธรรมและได้นำมาปฏิบัติ เมื่อรู้แล้วจะได้ไม่สร้างเวรสร้างกรรมเพิ่มอีก
    3. จากไฟล์เสียงที่ได้ฟัง ท่านประทับใจหรือชื่นชอบประโยคใดเป็นพิเศษ
    - ขณะใดก็ตามที่เธอได้กระทำความดี ให้ทานก็ดี รักษาศีลก็ดี เจริญภาวนาก็ดี แล้วนึกถึงคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์และเอามาปฏิบัตินั่นคือการละซึ่งทิฏฐิมานะ เธอละทิฏฐิมานะได้มากเท่าไหร่ปัญญาของเธอก็มากเท่านั้น พอเธอมีปัญญามากเธอก็จะเป็นคนที่ทำความดีแล้วมีความสุขมากตาม พอมีความสุขมากตามก็จะกลายเป็นสุขเช่นเดียวกับเหล่าพระอริยะทั้งหลายคือผู้เข้าถึงอริยะสัจแล้ว
    เครื่องวัดใจเธอว่าได้ทำตามพระพุทธเจ้าก็คือโลกธรรม ถ้าโลกธรรมทั้ง 8 ประการมันไม่ทำให้เธอหวั่นไหวเลย หรือหวั่นไหวน้อยลงๆ จนทำให้หมดความหวั่นไหว แสดงว่าเธอได้ทำตามคำสอนของครูบาอาจารย์จริงๆ
    คนที่มีจิตทำตามพระพุทธเจ้าสอนด้วยการให้ทานย่อมไม่มีความพึงพอใจในโลกธรรม
    เมื่อไรที่เธอเอาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาตักเตือนในการให้เสมอทุกครั้ง เธอจะมีความสุขทุกครั้งเลย แต่เมื่อเธอลืม เธอจะมีความสุขปะปนเสมอเพราะมีมานะทิฏฐิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...