รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 19)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย karan20, 29 พฤศจิกายน 2011.

  1. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุพระโสดาบัน"
    หลักสูตรออนไลน์ 30 ชั่วโมง
    (ชั่วโมงที่ 19)


    เกริ่นนำ

    มาถึงบทที่ 19 แล้ว
    ท่านผู้อ่านและท่านผู้ติดตามอ่านอย่าเพิ่งเข้าใจว่า
    ผู้เขียนคงแนะนำอะไรที่ยากขึ้นเรื่อย ๆ
    ขออย่าได้ไปนึกเปรียบเทียบว่าเหมือนเดินขึ้นเขาหรือเข็นครกขึ้นภูเขา
    ยิ่งเดินไปคงยิ่งสูงชันและเดินยากขึ้น

    การปฏิบัติเพื่อความเป็นพระโสดาบันนั้นคือเพียงการละสังโยชน์ 3 ข้อแรก
    เคยอธิบายไว้แล้ว ขอแสดงอีกครั้งโดยย่อคือ
    1. สักกายทิฏฐิ สำหรับพระโสดาบันคือคิดว่าเราต้องตาย ยอมรับว่าเราเกิดมาต้องตาย
    2. วิจิกิจฉา สำหรับพระโสดาบันคือเคารพในพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง ไม่ลังเลสงสัยในคำสอน
    3. สีลพตปรามาส สำหรับพระโสดาบันคือมีศีล 5 บริสุทธิ์เป็นขั้นต้น
    และมีความรักในพระนิพพาน ไม่ต้องการความเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา หรือพรหม

    วันนี้จะกล่าวถึงเรื่องศีลอีกครั้งโดยเน้นย้ำในข้อที่ 5 คือการงดเว้นบริโภคสุราและของมึนเมา
    ซึ่งว่าไปแล้วก็ดูจะมีประโยชน์น้อยที่จะนำมากล่าวแนะนำแก่ผู้อ่าน
    เพราะเชื่อว่าหากท่านผู้อ่านได้มานะอดทนยอมศึกษามาจนถึงบทนี้แล้ว
    คงเป็นผู้มองเห็นทุกข์และปราถนาพ้นทุกข์คือไปพระนิพพาน
    ทุกท่านคงไม่มีปัญหาในเรื่องการงดเว้นบริโภคสุราของมึนเมา

    แต่ว่าผู้เขียนจะขอนำเสนอไว้ เผื่อว่ามีผู้สงสัยมาสอบถามท่านว่าการปฏิบัติเพื่อพระโสดาบันเป็นอย่างไร
    แล้วเขาอยากปฏิบัติบ้างแต่จำเป็นต้องดื่มเหล้านั้นจะทำอย่างไร

    พระโสดาบันนั้นเป็นของไม่ยาก
    แต่ที่เขียนไปเขียนมาแล้วมีเนื้อหาเยอะก็เพราะต้องการแก้ไขความเข้าใจผิด
    และแก้อาการที่คิดว่าพระโสดาบันเป็นของยากจนไม่อาจบรรลุได้ในชาตินี้
    ข้อที่สำคัญที่สุดของพระโสดาบันคือการทรงศีลให้บริสุทธิ์เป็นอธิศีล


    สรุปทบทวนจากชั่วโมงที่ 18


    เมื่อพระพุทธเจ้าเทศน์จบมีผู้บรรลุพระโสดาบันมากมายในการฟังธรรมเพียงครั้งแรก
    แม้เด็กก็บรรลุพระโสดาบัน เช่น นางวิสาขา เปสการีธิดา (ธิดาช่างหูก) และภรรยานายพรานกุกุกฏมิตร
    เหล่านี้ได้เคยนำมาเล่าไว้แล้วในบทก่อน ๆ

    พระพุทธเจ้าเคยบอกท่านพระอนุรุทธะว่า
    ธรรมในพระธรรมวินัยของท่านนี้ เป็นธรรมแห่งความไม่เนิ่นช้า
    อ้างอิง

    หลวงพ่อพระราชพรหมยานท่านว่า
    หากตั้งใจปฏิบัติเพื่อพระโสดาบันจริง ใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน
    อ้างอิง

    ท่านบอกว่า วิธีปฏิบัติจริง ๆ นี่ไม่มีใครมามุ่งพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี
    ก็ขั้นต้นกันจริง ๆ ก็มุ่งอรหัตตผลกันเลย เพราะว่าการมุ่งอรหัตตผลนี้
    เขาถือว่าอย่างเลวที่สุดจิตจะจับไว้เฉพาะพระโสดาบันก่อนเป็นอันดับแรก เพราะว่าเป็นของง่าย
    ความจริงการทรงพระโสดาบันไม่มีอะไรจะยาก เพียงทรงศีลบริสุทธิ์



    (ชั่วโมงที่ 19)


    หากถามคนที่คิดว่าตนต้องการจะบรรลุพระโสดาบันนั้น
    ส่วนใหญ่ติดหรือละสังโยชน์ข้อใดยากที่สุด
    เชื่อว่าหลายท่านคงจะโหวตให้สังโยชน์ข้อสีลพตปรามาส


    อยากชี้จุดสังเกตเรื่อง 'องค์ของศีล'

    องค์ของศีล
    เป็นเครื่องตัดสิน ถ้าครบองค์ของศีลข้อนั้นๆ ศีลข้อนั้นก็ขาด
    ถ้าไม่ครบองค์ที่วางไว้ ขาดไปหนึ่งหรือสองข้อ ถือว่าศีลไม่ขาด แต่ศีลก็เศร้าหมอง
    องค์ของศีลที่ท่านวางไว้จึงเป็นเครื่องเตือนใจให้สำรวมระวังไม่ประมาท

    โปรดสังเกตว่าองค์ของศีล ในศีล 5 ทุกข้อจะระบุถึงเรื่อง เจตนา
    คือให้สำรวจว่ามีจิดคิดที่จะละเมิดและมีความพยายามนั้นหรือไม่ อ้างอิง

    ศีลข้อ ๑ มีองค์ ๕ คือ

    ๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต

    ๒. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต

    ๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า

    ๔. อุปกฺกโม เพียรเพื่อจะฆ่า

    ๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความเพียรนั้น

    ศีลข้อ ๒ มีองค์ ๕ คือ
    ๑. ปรปริคฺคหิตํ ของมีเจ้าของหวงแหน

    ๒. ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้ว่ามีเจ้าของหวงแหน

    ๓. เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดจะลัก ( ทั้งโดยคิดลักเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นลักแทน )
    ๔. อุปกฺกโม เพียรเพื่อจะลัก
    ๕.เตน หรณํ นำของมาด้วยความเพียรนั้น

    ศีลข้อ ๓ มีองค์ ๔ คือ
    ๑. อคมนียวตฺถุ วัตถุที่ไม่ควรถึง (คือชาย หรือหญิงที่มีเจ้าของ หรือมีผู้คุ้มครองดูแลรักษา)
    ๒. ตสฺมึ เสวนจิตตํ จิตคิดจะเสพในวัตถุนั้น
    ๓. เสวนปฺปโยโค พยายามที่จะเสพ
    ๔. มคฺเคน มคฺคปฺปฏิปตฺติ อธิวาสนํ ทำมรรคต่อมรรคให้ถึงกัน

    ศีลข้อ ๔ มีองค์ ๔ คือ
    ๑. อตถํ วตฺถุ เรื่องไม่จริง

    ๒. วิสํวาทนจิตฺตํ จิตคิดจะพูดให้ผิด

    ๓. ตชฺโช วายาโม พยายามพูดออกไป

    ๔. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น

    ศีลข้อ ๕ มีองค์ ๔ คือ
    ๑. มทนียํ ของทำให้เมามีสุราเป็นต้น
    ๒. ปาตุกมฺยตาจิตฺตํ จิตใคร่จะดื่ม
    ๓. ตชฺโช วายาโม พยายามดื่ม
    ๔. ปีตปฺปเวสนํ ดื่มให้ไหลล่วงลำคอเข้าไป

    พระโสดาบันนั้นถือว่ายอมตายดีกว่าศีลขาดนั้นเป็นความจริง
    แต่การกระทำบางอย่างโดยไม่มีเจตนาละเมิดศีลนั้นไม่ได้ทำให้ศีลขาด
    เช่น ไม่มีเจตนาดื่มเหล้าเพื่อความมึนเมา
    แต่มีเจตนาโดยบริสุทธิ์ใจอย่างแท้จริงเพื่อใช้เหล้าเป็นส่วนประกอบของยานั้นไม่ได้ทำให้ศีลขาด

    พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประเภทมีเหตุผล
    บางศาสนาเห็นโทษของเหล้า เห็นโทษของแอลกอฮอล์
    เพราะฉะนั้นนอกจากห้ามดื่มแล้วเอามาทาแผลก็ไม่ได้
    คนตายแล้วเอาแอลกอฮอล์มาเช็ดล้างศพก็ไม่ได้เพราะเป็นของบาป

    แต่ในพระพุทธศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามเหมารวมหมดอย่างนั้น
    เพราะทรงมองเห็นว่าเหล้าหรือสิ่งเสพย์ติดแม้จะมีโทษมหันต์
    แต่ในบางกรณีก็อาจนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้
    เช่น ใช้ฉีดระงับความเจ็บปวด หรือยาบางอย่างต้องอาศัยเหล้าสกัดเอาตัวยาออกมาเพื่อใช้รักษาโรค
    คือเอาเหล้าเพียงเล็กน้อยมาเป็นกระสายยา ไม่มีรสไม่มีกลิ่นเหล้าคงอยู่
    อย่างนี้ในพระพุทธศาสนาไม่ได้ห้าม
    แต่บางคนที่อยากจะดื่มเหล้าแล้วหาข้ออ้างนำเหล้ามาทั้งขวด
    เอายาใส่ไปนิดหน่อยอย่างนั้นใช้ไม่ได้ อ้างอิง

    อาจกล่าวได้ว่าการบริโภคดุจว่าเป็นยารักษาโรค
    ไม่ใช่บริโภคเพื่อเป็นความมัวเมาขาดสติ ไม่ถือว่าศีลขาด

    เรื่องการบริโภคเพื่อเป็นยานั้นไม่ค่อยถูกนำมาเป็นข้ออ้าง
    แต่ข้ออ้างที่พบบ่อย ๆ คือ รักษาศีลไม่ได้เพราะ
    " จำเป็นต้องกินเหล้าเพื่อเข้าสังคม "

    คำถามที่น่าสนใจคือสังคมที่เรากำลังจะเข้าไปนั้นเป็นสังคมแบบไหน
    กลุ่มคนเหล่านั้นเป็นคนประเภทใด
    ต่อไปเราต้องละเมิดศีลข้ออื่น ๆ เพื่อเข้าสังคมด้วยหรือไม่
    เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ โกหก มีกิ๊ก เพื่อเข้าสังคม

    หากเราไปอยู่ในสังคมที่นิยมการฆ่าสัตว์เพื่อบูชายัญ นิยมการฉ้อโกงทุจริตคอรัปชั่น
    หากเราทำตามคนส่วนใหญ่ไปด้วย
    เท่ากับว่าเรายอมรับผลกรรมจากการผิดศีลด้วยเพราะต้องการทำตามคนส่วนใหญ่ในสังคม

    เช่นนี้เองพระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนว่า การไม่คบคนพาลเป็นมงคลชีวิตข้อแรก
    และการคบบัณฑิตเป็นมงคลที่สอง จากมงคลสูตรทั้งหมด 38 ข้อ อ้างอิง

    แต่บางคนอาจบอกกับตัวเองว่า
    เราทุกข์เหลือเกิน เรามองเห็นภัยพิบัติในวัฏสงสารแล้ว
    เราจะรักษาศีล 5 เพื่อเข้าพระนิพพาน
    แต่ไม่ยอมละเมิดศีล 5
    เพื่อเข้าสังคม


    การตอบปัญหานั้นเราต้องวิเคราะห์ดูให้ดีว่ามันคือปัญหาจริง ๆ หรือเป็นเพียงข้ออ้าง
    หรือถามเพื่อหาข้อมูลเอามาหาช่องว่างช่องโหว่เพื่อ ' เลี่ยงบาลี ' อ้างอิง


    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=prQfKuYzbQU"]ดื่มสุราในงานสังคมกลัวผิดศีล - YouTube[/ame]


    ดูคลิปนี้แล้วต้องทำความเข้าใจดีดีนะครับ
    เป็นข้อถกเถียงกันมาก
    เพราะบางท่านถือศีลแบบตามตัวหนังสือเป๊ะ ๆ ก็บอกว่า
    การกินเหล้าจะมากน้อยหรือเพราะจำเป็นอย่างไรก็ถือว่าศีลขาด
    และยังเสริมอีกด้วยว่า พระโสดาบันนั้นถือว่ายอมตายดีกว่าศีลขาด

    แต่บางท่านก็ถือศีลเอาตามเจตนาของศีล
    ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ"
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า "เจตนาคือกรรม"


    และมีบาลีกล่าวว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว สีลํ วทามิ" เจตนา เป็นตัวศีล

    อ้างอิงจากคำสอนของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต


    ดังเช่นเรื่องของภรรยานายพรานกุกุกฏมิตร เล่าไว้แล้วในบทที่ 16
    ที่เธอส่งอาวุธให้สามีไปล่าสัตว์แต่พระพุทธเจ้ายืนยันว่าศีลของเธอนั้นไม่ขาด อ้างอิง

    " ไม้ขีดเพียงก้านเดียว อาจเผาผลาญเมืองทั้งเมืองให้มอดไหม้ไปได้ฉันใด
    น้ำเมาแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจทำลายทุกสิ่งทุกอย่างของเราได้ฉันนั้น "


    หากเราประมาทในศีลข้อที่ 5 เมื่อใด อาจทำให้เราละเมิดศีลข้ออื่น ๆ ได้ทั้งหมด
    ผู้ไม่ประมาทย่อมพยายามหลีกเลี่ยงอย่างที่สุดในการเข้าไปพัวพันกับสิ่งที่เป็นอันตรายต่อศีลของตน
    ไม่ว่าจะเป็นสถานที่อโคจร กลุ่มคนหรือสังคมที่ไม่มีศีล
    เพราะหากประมาทขาดสติเพียงนิดเดียว
    เช่น เผลอเพียงแว่บเดียวขณะที่สุราล่วงลงคอนั้นแล้วเกิดความยินดีในรสของสุรานั้น
    เผลอคิดไปว่า "เออ...รสชาติก็เข้าท่าดีเหมือนกันนะ"
    หรือยินดีที่คนอื่นดื่มสุรา หรือชักชวนให้คนอื่นดื่มสุรา เพียงเท่านี้ศีลก็ขาดแล้ว
    ทางที่ดีคืออย่าเสี่ยง อย่าประมาท

    จริง ๆ แล้วเรื่องการดื่มสุราเพื่อเข้าสังคมนี้มักเป็นข้ออ้างมากกว่า
    ลองถามเขากลับโดยคำถามสมมติเหตุการณ์ดังนี้

    สมมติว่าท่านเดินทางหลงเข้าไปในหมู่บ้านชนบทห่างไกลอยู่ในป่าลึก
    ชาวหมู่บ้านนั้นได้ต้อนรับท่านเป็นอย่างดีในฐานะแขก
    และหัวหน้าหมู่บ้านได้เชิญท่านร่วมรับประทานอาหาร
    อาหารในมื้อเย็นวันนั้นเป็นอาหารอย่างดีที่สุด คือ ไส้เดือนสดที่ยังไม่ได้ปรุงสุก
    สมมติว่าท่านรังเกียจไส้เดือนมาก
    ท่านจะกินไส้เดือนนั้นเพื่อเป็นการเข้าสังคม คือเพื่อเอาใจชาวหมู่บ้านนั้นหรือไม่

    อาการของคนที่กินเหล้าเพื่อเข้าสังคมจริง ๆ (ไม่ใช่ข้ออ้าง)
    ย่อมไม่ต่างอะไรกับอาการของคนจำใจกินไส้เดือนยังไม่ได้ปรุงสุก

    คือกินเพื่อถนอนน้ำใจหรือเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
    แต่ไม่ได้มีใจที่คิดอยากกิน คือเห็นเป็นของมีโทษ สกปรก น่ารังเกียจ
    แต่จำฝืนใจกิน กินแต่น้ิอย ไม่กินเพื่อความอิ่มเอม ไม่กินเพราะหลงในรส
    ไม่มัวเมาในการกินนั้น ไม่สนุกสนานในการกินเลยแม้แต่น้อย
    การจำใจกินเพื่อเข้าสังคมนั้น ย่อมไม่มีจิตทีปราถนาใคร่จะกิน
    และไม่มีความพยายามที่จะกิน คือไม่ขอเติมอีกเรื่อย ๆ เมื่อกินหมด

    แต่สิ่งที่เราเห็นส่วนใหญ่คือการกินเหล้าอย่างมัวเมาโดยอ้างว่าเพื่อเป็นการเข้าสังคม
    หากเป็นข้ออ้างแล้ว ต่อให้เราจะแนะนำให้ข้อคิดอย่างไร
    เขาก็ยังคงเป็นอยู่เช่นเดิม เพราะมันเป็นเพียงข้ออ้างไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง
    เราควรเลี่ยงไปคุยประเด็นอื่น ๆ หรือนั่งดูลมหายใจของเราเองจะมีประโยชน์กว่าสนทนาด้วย

    เราไม่สามารถทำให้ใครบรรลุพระโสดาบันได้ หากเขาไม่มีความปราถนา
    เราไม่สามารถชักชวนใครไปพระนิพพานได้
    หากผู้นั้นยังไม่เห็นทุกข์ของภัยพิบัติจากการตายซ้ำซากในวัฏสงสาร



    สวัสดี.


    - จบชั่วโมงที่ 19 -

    การบ้านของชั่วโมงที่ 19 :
    1. แสดงความคิดเห็น รู้สึกอย่างไรกับบทเรียนวันนี้
    2. ดาวน์โหลดไฟล์ MP3 ที่แนบมานี้ไปฟัง การบ้านคราวนี้มี 2 ไฟล์เสียง

    [​IMG] การบ้านบทที่ 19 - 1.mp3
    [​IMG] การบ้านบทที่ 19 - 2.mp3

    <table style="width: 10px; height: 27px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="3"><tbody><tr></tr></tbody></table>วิธีการฟัง :
    ให้ปิดไฟ หรือนั่งในที่มืดด้วยท่าสบายผ่อนคลาย
    ควรฟังในที่สงบหรือที่อันควรแก่การฟังธรรม
    ฟังอย่างตั้งใจและค่อย ๆ พิจารณาตามไปตลอดการฟัง

    3. จากไฟล์เสียงที่ได้ฟัง ท่านประทับใจหรือชื่นชอบประโยคใดเป็นพิเศษ



    ไฟล์ MP3 การบ้านของวันนี้ คือเสียงเทศน์ของท่านจิตโต
    ท่านเป็นพระลูกศิษย์ของหลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง
    ดังนั้นเวลาที่หลวงพี่จิตโตกล่าวถึงคำว่า " หลวงพ่อ "
    ขอให้ทราบว่าหมายถึงหลวงพ่อพระราชพรหมยาน หรือหลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง


    ส่งการบ้านและพูดคุยกันได้ที่นี่
    สำหรับท่านที่ไม่ได้สมัครสมาชิกเว็บพลังจิต เชิญพูดคุยแนะนำกันได้ที่ Facebook กาขาว


    ทบทวนย้อนหลัง
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 1)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 2)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 3)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 4)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 5)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 6)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 7)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 8)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 9)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 10)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 11)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 12)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 13)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 14)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 15)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 16)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 17)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 18)

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2011
  2. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    อ่านเพิ่มเติม (นอกเวลา)


    มีบางท่านกล่าวอ้างว่า ไม่จำเป็นต้องรักษาศีลก็บรรลุธรรมได้

    โดยอ้างถึง อหิงสกะหรือองคุลีมาลโจร ซึ่งต่อมาคือพระองคุลีมาลเถระ
    อ้างว่าท่านเคยปล้น ฆ่าคนมากมายก็ยังเป็นพระอรหันต์ได้
    การกล่าวเช่นนั้นไม่ควร เพราะที่จริงท่านเป็นตัวอย่างของผู้ที่กลับใจเข้าหาพระธรรม
    ไม่ใช่ให้เป็นตัวอย่างว่าไม่จำเป็นต้องรักษาศีลก็บรรลุธรรมได้

    หากเราศึกษาประวัติและบุพกรรมของพระองคุลีมาลเถระจึงจะเข้าใจว่า
    บารมีขององคุลีมาลท่านถึงพร้อมแล้วที่จะบรรลุอรหันต์ในชาติสุดท้ายนั้น
    แต่เรื่องการฆ่าคนมากมายนั้นเป็นเรื่องของบุพกรรมที่คนเหล่านั้นเคยมีเวรต่อกัน อ้างอิง

    องคุลีมาลโจรเคยสะสมบารมรต่าง ๆ มา จนมีวาสนาอยู่ในข่ายพระญาณของพระพุทธเจ้า
    หากไม่ได้พระพุทธเจ้าไปยับยั้งไว้ องคุลีมาลก็จะทำอนันตริยกรรม
    ทำให้หมดโอกาสบรรลุมรรคผลนิพพานในชาตินั้น และต้องไปใช้กรรมในนรกอีกนานแสนนาน

    การไปหลงเชื่อว่าไม่ต้องมีศีลก็บรรลุธรรมได้นั้น
    ก็ไม่ต่างอะไรกับที่อหิงสกะ หรือองคุลีมาลไปหลงเชื่อคำสอนของอาจารย์เก่าของตน

    ท่านองคุลีมาลนั้นหากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็คงมีโอกาสน้อยกว่า 1 ในล้าน
    แล้วเราจะมีวาสนาบารมีเช่นท่านหรือ มีโอกาสจะได้พบพระพุทธเจ้ามาโปรดหรือ
    ในเมื่อเราตัดสินใจว่าชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว เราจะไปนิพพานชาตินี้
    เราก็ไม่ควรประมาทในศีล ไม่ลูบคลำในศีล
    ละซึ่งสีลพตปรามาส คือรักษาศีลอย่างจริงจังเป็นอธิศีล
    คือไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีล ไม่ยินดีที่ผู้อื่นละเมิดศีล

    ใน อุทิมพริกสูตร องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงตรัสกับนิโครธะปริพาชกว่า
    "
    สาวกของเราจะไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง
    ไม่แนะนำให้บุคคลอื่นทำลายศีล
    และก็ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว
    " อ้างอิง

    ดังนั้นผู้ที่กล่าวว่าไม่จำเป็นต้องรักษาศีลจึงไม่ใช่สาวกของพระพุทธองค์

    ผู้กล่าวดูถูกศีล ว่าศีลไม่จำเป็นนั้น
    นอกจากไม่สามารถละสีลพตปรามาสแล้วยังปรามาสต่อพระรัตนตรัย

    คือปรามาสพระพุทธเจ้า พระธรรมคือคำสอนของพระพุทธเจ้า
    ตลอดจนพระอริยะสงฆ์คือตัวอย่างของผู้ปฏิบัติตามคำสอน


    เพราะเหตุว่าศีลนั่นล่ะคือส่วนหนึ่งของพระธรรม
    ศีล พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ มีอยู่ในอยู่ บุญสิกขา คือ ทาน ศีล ภาวนา
    ศีล
    พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ มีอยู่ใน ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
    ศีล
    พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ มีอยู่ในสังโยชน์ 10 (ข้อที่ 3 คือ สีลพตปรามาส)
    ศีล
    พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ มีอยู่ในบารมี 10 (ศีลบารมี)

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า
    ศีลเป็นเหตุให้ไปสู่สุคติ (สีเลนะ สุคติง ยันติ)
    ศีลเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ (สีเลนะ โภคะสัมปะทา)
    ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน (สีเลนะ นิพพุติง ยันติ)




    การจะเป็นพระพุทธเจ้าก็เพราะเคยบำเพ็ญศีลบารมี

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=Q18hAmwkpX4"]6 ภูริทัตชาดก บำเพ็ญศีลบารมี.flv - YouTube[/ame]


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2011
  3. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
  4. eee

    eee สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +23
    การบ้านของชั่วโมงที่ 19 :
    1. แสดงความคิดเห็น รู้สึกอย่างไรกับบทเรียนวันนี้
    ตอบ รู้สึกว่าศาสนาพุทธ เป็นระบบที่มีเหตุมีผล เรื่งองค์ของศีลก็เป็นเครื่องเตือนให้สำรวมไม่ประมาท ข้าพเจ้าจะตั้งใจรักษาศีล เจริญเมตตา ถือศีลแต่ไม่แบกศีลค่ะ^^
    2. ดาวน์โหลดไฟล์ MP3 ที่แนบมานี้ไปฟัง การบ้านคราวนี้มี 2 ไฟล์เสียง
    การบ้านบทที่ 19 - 1.mp3
    การบ้านบทที่ 19 - 2.mp3

    วิธีการฟัง :
    ให้ปิดไฟ หรือนั่งในที่มืดด้วยท่าสบายผ่อนคลาย
    ควรฟังในที่สงบหรือที่อันควรแก่การฟังธรรม
    ฟังอย่างตั้งใจและค่อย ๆ พิจารณาตามไปตลอดการฟัง
    ตอบ ฟังแล้วค่ะ
    3. จากไฟล์เสียงที่ได้ฟัง ท่านประทับใจหรือชื่นชอบประโยคใดเป็นพิเศษ
    19-2 ศีลจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยความตั้งมั่นตั้งมั่นที่จะกระทำความดี ละความชั่ว จิตที่ตั้งมั่นคือสมาธิ ถ้าเราไม่ตั้งมั่นในอารมณ์มันก็จะส่ายไป ฉันจะทำก็ไดไม่ทำก็ได้ รักษาก็ได้ไม่รักษาก็ได้แสดงว่าเราไม่เอาดีไม่คิดจะทำให้จิตของเราพ้นจากความชั่ว ..จิตตั้งมั่นคิดอยุ่เสมอว่าเราจะไม่คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่วในศีล5และกรรมบถ10ถ้าแค่ท่องเป้นข้อๆและปฏิบัติก็เป็นสมาธิ ปัญญายังไม่เกิดศีลไม่สามารถครองใจเรา
    ถ้าเราเอาปัญญาไปคิด เราต้องเห็นว่าศีลทำให้เราเป็นสุขจริง มีโภคทรัพย์มาก เป็นบันไดไปสู่นิพพาน ไม่ถือแบบท่อง ตั้งมั่นไม่ทำความชั่วอย่างจริงจังเพราะนึกอยุ่เสมอว่าถือศีลเพื่อให้พ้นทุกข์ ไม่กลับมาเกิดอีกรักษาให้เคร่งครัดเอาจริงเอาจัง
     

แชร์หน้านี้

Loading...