รับตอบข้อสงสัยในการเจริญพระกรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Xorce, 26 พฤศจิกายน 2008.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ชื่อ ชัด ครับ เรียก คุณชัด ก็ได้ครับ
     
  2. มรนังสุขัง

    มรนังสุขัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +52
    ขอเรียกอาจารย์ชัดนะครับ

    ขอความสว่างหน่อยนะครับอาจารย์ชัด คือ ผมอยากทราบว่า จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีการใช้คำภาวนา แล้วสามารถภาวนาเป็นแบบอื่นได้หรือไม่ เช่น หายใจเข้า A หายใจออก B (อันนี้แค่ยกตัวอย่างนะครับ ไม่ได้ต้องการลบหลู่หลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนา)

    ที่ผมถามแบบนี้เพราะผมเข้าใจเอาเองว่า หลักสำคัญในการทำสมาธิขั้นที่ผมกำลังปฏิบัติอยู่ คือการกำหนดสติให้รู้ทัน ดังนั้น ถ้าสติรู้ทัน การภาวนาก็ไม่จำเป็น จะภาวนาอะไรก็ไม่จำเป็น
     
  3. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ มรณังสุขัง ครับ

    ขอเรียกอาจารย์ชัดนะครับ

    ขอความสว่างหน่อยนะครับอาจารย์ชัด คือ ผมอยากทราบว่า จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีการใช้คำภาวนา แล้วสามารถภาวนาเป็นแบบอื่นได้หรือไม่ เช่น หายใจเข้า A หายใจออก B (อันนี้แค่ยกตัวอย่างนะครับ ไม่ได้ต้องการลบหลู่หลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนา)

    ที่ผมถามแบบนี้เพราะผมเข้าใจเอาเองว่า หลักสำคัญในการทำสมาธิขั้นที่ผมกำลังปฏิบัติอยู่ คือการกำหนดสติให้รู้ทัน ดังนั้น ถ้าสติรู้ทัน การภาวนาก็ไม่จำเป็น จะภาวนาอะไรก็ไม่จำเป็น

    เดี้ยวขออธิบายก่อนครับ

    บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต

    บริกรรมภาวนา อุปจารภาวนา อัปปนาภาวนา

    ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ

    <!-- google_ad_section_end -->นิมิต คือ เครื่องมือ บริกรรม คือ การกำหนดใจ

    บริกรรมนิมิต คือ เครื่องมือแรกเริ่มในการกำหนดใจ

    อุคคหนิมิต คือ บริกรรมนิมิตที่ติดตา หรือติดใจ

    ปฏิภาคนิมิต คือ อุคคหนิมิตที่มีความสวยงามมากกว่าปรกติ

    ภาวนา คือ การกำหนดสติ การตั้งสติลงไปในสิ่งนั้น

    บริกรรมภาวนา คือ การกำหนดสติลงในบริกรรมนิมิต

    อุปจารภาวนา คือ การกำหนดสติลงในอุคคหนิมิต

    อัปปนาภาวนา คือ การกำหนดสติลงในปฏิภาคนิมิต

    สมาธิ คือ ความตั้งมั่น ต่อเนื่อง คมชัดของสติ

    สติ คือ การระลึกรู้ ประคองรักษา และพิจารณาในสิ่งที่กระทำอยู่

    เมื่อสติถูกกำหนดลงในบริกรรมนิมิตนั้นแล้ว จึงเรียกว่าขณิกสมาธิ

    เมื่อสติถูกกำหนดลงในอุคคหนิมิตนั้นแล้ว จึงเรียกว่าอุปจารสมาธิ

    เมื่อสติถูกกำหนดลงในปฏิภาคนิมิตนั้นแล้ว จึงเรียกว่าอัปปนาสมาธิ


    ในกรรมฐาน40กองนั้น ไม่ใช่ทุกกองจำเป็นจะต้องมี คำภาวนา

    คำภาวนา คือ คำ ที่ใช้ในการกำหนดสติ

    คำภาวนา ถือ เป็นบริกรรมนิมิต เป็นเครื่องมือแรกเริ่มในการกำหนดจิต

    แต่บริกรรมนิมิตนั้น มีมากกว่าแค่ประเภทของคำภาวนา

    ลมหายใจเฉยๆ ก็คือเป็นบริกรรมนิมิต เพราะเป็นเครื่องมือแรกเริ่มในการตั้งสติ

    กรรมฐานบางกองก็จำเป็นจะต้องมีคำภาวนากำกับในระยะแรก

    เพราะต้องถือเอา คำภาวนา ในกรรมฐานกองนั้น เป็นบริกรรมนิมิต

    หากไม่มีบริกรรมนิมิต จิตก็จะเป็นสมาธิไม่ได้ เพราะไม่มีเครื่องมือให้ใช้สติกำหนด

    ส่วนอาณาปานสตินั้น เราจะถือเอาคำภาวนา ควบคู่กับลมหายใจเป็นบริกรรมนิมิต หรือลมหายใจอย่างเดียวเป็นบริกรรมนิมิตก็ได้

    ทั้งนี้คือ ที่เราเลือกคำภาวนานั้น

    ท่านมีระบุเอาไว้ในวิสุทธิมรรคว่า หากถือเอาตัวเลขนั้น

    ไม่ควรจะนับต่ำกว่า5 และนับเกิน10

    เพราะหากต่ำกว่า5 จะน้อยเกินไปจนจิตซัดส่ายไม่เป็นสมาธิ

    หากเกิน10 จิตจะมัวแต่ภะวงอยู่กับตัวเลข จนไม่เป็นสมาธิ

    ดังนั้น หากเราไปเลือกคำภาวนาที่แปลกๆพิศดารๆมาใช้ มันอาจจะเกิดผลดี หรืออาจจะไม่เอาถ่านเลยก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราเอาอะไรมาใช้

    คราวนี้ครูบาอาจารย์ท่านฉลาด

    ท่านรู้จักผูกกรรมฐานให้ลูกศิษย์

    อย่างจับลมหายใจ ก็ให้ ภาวนา พุทโธ สัมมาอรหัง นะมะพะธะ ยุบหนอพองหนอ

    เพื่อที่จะควบกรรมฐานกองอื่นให้ลูกศิษย์ไปด้วย

    โดยท่านหวังว่า วันดีคืนดี ลูกศิษย์ อาจจะเอามานั่งพิจารณาว่า

    พุทโธ สัมมาอรหัง นะมะพะธะ ยุบหนอพองหนอ แต่ละคำนั้นแปลว่าอะไร ทำไมครูบาอาจารย์ท่านจึงต้องให้คำนี้ในการภาวนา

    การพิจารณาความหมายของ พุทโธ และสัมมาอรหัง เป็นพุทธานุสติกรรมฐาน

    เป็นปัจจัยให้เข้าถึงซึ่งไตรสรณคม อันเป็นหนึ่งในอารมณ์ของความเป็นพระโสดาบัน

    นะมะพะธะ เป็น จตุธาตุววัตถาน 4 เป็นปัจจัยให้เกิดฤทธิ์อภิญญา

    ยุบหนอพองหนอ เป็นกายคตานุสติ เป็นปัจจัยให้เข้าใจในสภาวะร่างกาย อาการทั้ง32
    เพื่อถอดถอนจิตออกจากความปรารถนาในร่างกาย สามารถตัดได้ถึงความเป็นพระอรหันต์

    นี่ครูบาอาจารย์ท่านฉลาดแบบนี้

    แล้วหากถามว่าทำไมจึงไม่ให้ภาวนา พุทโธ สัมมอรหัง นะมะพะธะ ยุบหนอพองหนอเฉยๆ

    ก็เพราะว่า พุทธานุสติ และ จุตธาตุววัตถาน4นั้น

    ไม่อาจจะทำจิตให้เข้าถึงซึ่งปฐมฌาณได้ ได้มากสุดคืออุปจารสมาธิ

    ส่วนกายคตานุสตินั้น ทำได้ถึงปฐมฌาณ

    ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงให้ควบการจับลมหายใจ

    เพื่อให้จิตสามารถเข้าถึงซึ่งฌาณ4ได้

    ทำให้ได้ทั้ง ฌาณ4 และกรรมฐานที่มีอารมณ์คิดพิจารณา

    ท่านวางเอาไว้ให้ทั้งสมถะ และวิปัสสนา ตามแต่ความฉลาดของลูกศิษย์จะเข้าถึง

    แล้วทำไมจึงไม่ให้แค่อาณาปานสติล่ะ

    ก็เพราะว่าหากท่านไม่รู้จักจับเอาอาณาปานสติ มาถอดเป็นวิปัสสนา

    จิตของท่านก็จะหยุดอยู่แค่ฌาณ4

    ที่ท่านให้กรรมฐานควบนั้น นั่นคือในอดีต ซึ่งกว่าลูกศิษย์จะพบกับอาจารย์ได้ซักครั้ง มันยากลำบากนัก

    ท่านจึงต้องวางเผื่อเอาไว้ให้

    แต่ณปัจจุบันผมเห็นว่า ท่านพึงทำฌาณ4ให้ได้ก่อนเถิดจะเกิดผล

    แค่ท่านเล่นฌาณ4จนคล่องได้ ก็ถือว่าจิตของท่านละเอียดใช้ได้แล้ว

    จะต่อวิปัสสนาก็ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป

    แต่ถ้าท่านยังไม่ได้ฌาณ4 จากอาณาปานสติ

    ท่านจะไปต่ออะไรมันก็ยาก และเนิ่นนาน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวิสัยของบุคคลด้วย

    แต่มีฐานที่แน่นเอาไว้ ย่อมดีกว่าอย่างแน่นอนครับ
     
  4. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    การพิจาณาจำนวนมากกว่า 3 ฐาน กับลมไร้ฐาน

    เพราะผมเป็นพวกชอบรบนอกแบบกับพวกแม่ทัพกิเลสมาร เรื่องรูปแบบวิธีการเลยไม่ค่อยได้สนใจเท่าไหร่ มีโอกาสเป็นเข้าตีทันที จึงมีความสนใจในเรื่องของ ลมมากฐาน (การปฏิบัติแบบเป็นแบบแผน) กับ ลมไร้ฐาน (ไร้รูปแบบ)

    ช่วงนี้กระทู้กำลังอยู่ในประเด็นของการให้กำหนดจิต ความระลึกได้ รู้ตัว ลงในฐานทั้งสาม ได้แก่ จมูก อก และท้อง ของอานาปนสติ พอดีมีข้อสงสัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องเล็กน้อย จึงขอมาเรียนถามด้วยคนครับ

    การฝึกอานาปนสติหลายครั้ง ความคมชัดที่เกิดจากการกำหนดจิตเพียง 3 ฐาน นั้น ยังไม่พอต่อการใช้งาน ในกรณีของการนำฌาณไปใช้งานร่วมกับกรรมฐานกองอื่นๆ (ผมจะไม่กล่าวในรายละเอียดส่วนนี้ เพราะจะนอกประเด็นของอานาปนสติไป)

    ที่ปฏิบัติอยู่คือ การกำหนดจิตให้มากกว่า 3 ฐาน คือ จำนวนฐานมากจนนับจำนวนฐานไม่ได้ เพราะกำหนดจิตไว้ตลอดแนวทางการเดินของลม จากจมูก ไหลไปเรื่อยตามหลอดลม ไปสิ้นสุดที่ท้อง อย่างนี้ ผมว่าจิตมีความคมชัดมาก พอที่จะนำไปใช้งานได้ดี (ไม่ใช่ดีธรรมดา แต่อยู่ในระดับที่ดีมาก)

    ปัญหาคือ พอจำนวนฐานมันมากเข้า ความแตกต่างระหว่างการกำหนดลมมากฐานตลอดแนว (นับจำนวนฐานไม่ได้) กับการกำหนดลมแบบไร้ฐาน ความคมชัดของจิตแทบจะไม่ต่างกัน ทีนี้ควรจะทำอย่างไรดีครับ ในเมื่อทั้งสองแบบ ไม่มีความต่างกัน งั้น ไม่ต้องกำหนดฐานของลมได้ไหม เพราะจิตมันจับความรู้สึกไปเอง (เป็นอัตโนมัติ) อีกอย่างเวลานำฌาณไปใช้งาน เรื่องของฐานของลม แทบจะไม่มีความจำเป็นแล้ว (เพราะความเคยชินเป็นอัตโนมัติของจิต ที่มันทำของมันเอง จึงบอกว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปกำกับให้มันทำ)

    ที่อธิบายมาพอจะเข้าใจไหมครับ ขนาดผมอธิบายเองยังเรียบเรียงไม่ค่อยจะตรงกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ เลย แต่ก็ได้พยายามอธิบายออกมาเป็นตัวอักษรอย่างเต็มที่แล้ว

    สรุปว่าอย่างผมควรจะใช้แบบลมมากฐานหรือลมไร้ฐานดีครับ เพราะความคมชัดของจิต การนำเอาฌาณไปใช้งาน ทั้งสองแบบ ไม่มีความแตกต่างกันเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กรกฎาคม 2010
  5. เวิ้งว้าง

    เวิ้งว้าง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +177


    โชคดีและบุญของดิฉันจริง ๆ ที่ได้เข้ามาอ่านกระทู้ของอาจารย์ เพราะหลงไปโพสถามหน้ากระทู้เสียนาน และก็ได้คำตอบที่ไม่ค่อยโดนเท่าไร

    ขอขอบพระคุณในความเมตตาของอาจารย์มากนะคะ ที่สละเวลามาตอบข้อสังสัยให้พวกเราทุกคนได้กระจ่างในการปฏิบัติ แหมคำตอบของท่านนี่โดนใจจริง ๆ เหมือนที่มีท่านอื่นเขียนชมไว้ก่อนหน้านี้เลย คือท่านรู้จริง ๆ ว่าจุดประสงค์ที่เราถามนั้นคืออะไร คือเราอาจจะเขียนอธิบายความรู้สึกทั้งหมดไม่ถูก แต่คำตอบที่ได้นี่ใช่เลย

    ระหว่างที่พิมพ์นี่ก็รู้สึกทราบซึ้งใจจนน้ำตาคลอ (ไม่รู้เว่อร์ไปหรือเปล่า 555) โดยเฉพาะที่ท่านได้อธิบายถึงสิ่งต่อไปนี้ ซึ่งมันเป็นกำลังใจในการปฏิบัติอย่างมากเลยทีเดียวค่ะ

    กับ การระลึกถึง พิจารณา และซาบซึ้ง ในพระคุณและความดีของครูบาอาจารย์ ของพระอริยสงฆเจ้า ที่เราเคารพรักสุดหัวใจ

    ถือเป็นสังฆานุสติกรรมฐาน แปลว่าอะไรเหรอคะ ช่วยอธิบายหน่อยค่ะ

    ยิ่งจิตซาบซึ้งในพระคุณในความดีของท่านมากเท่าไหร่ จิตเรายิ่งใกล้ต่ออารมณ์ของความเป็นพระโสดาบันมากเท่านั้นครับ

    ดังนั้นที่เราเข้าใจ และซาบซึ้งในพระคุณของท่านนั้น ถือเป็นผลและอารมณ์ของสังฆานุสติกรรมฐานครับ

    กำหนดสติเอาไว้อยู่เสมอ กำหนดเอาไว้ตลอดเวลา ถือว่าทำดีแล้วล่ะครับ

    เหมือนมาให้เช็คมากกว่าว่าทำถูกรึเปล่า คือแบบว่ากลัวหลงทางอ่ะค่ะ

    ถูกนะครับ ไม่ผิดหรอกครับ

    คือดิฉันจะมีความสงสัยในอารมณ์ปิติกับ sensitive คืออยากให้ท่านช่วยอธิบายหน่อยว่ามันแตกต่างกันอย่างไร เพราะดิฉันมักจะรู้สึกทราบซึ้งใจ ตื้นตัน ยินดีเวลาเห็นหรือได้ยิน ได้อ่านอะไรก็ตามที่คนทำความดี หรือพระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ สร้างคุณงามความดีไว้ ก็เหมือนน้ำตาจะไหล ตื้นตันอย่างบอกไม่ถูก อารมณ์มันจะปี๊ดขึ้นมาเลย ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเราเป็นคน sensitive เกินไปหรือเปล่า หรือเป็นเพราะจิตเราไวต่อสิ่งเหล่านี้

    และเดี๋ยวนี้เป็นอะไรก็ไม่รู้ รู้สึกว่าอยากจะค้นคว้า ศึกษาเรื่องธรรมมากขึ้น คือถ้าว่างก็เป็นต้องเข้าเวปเพื่อศึกษาหาข้อมูล หรืออยากจะนั่งสมาธิทุกครั้งที่ว่าง ไม่รู้ว่าอาการอย่างนี้เป็นการหมกหมุ่นมากเกินไปหรือเปล่าคะ

    และก่อนหน้าที่จะเริ่มลงมือปฏิบัติจริงจังก็มีความรู้สึกเข้ามาในหัวว่าโลกเรานี้ช่างว่างเปล่า เราก็เป็นแค่ดวงจิตดวงหนึ่งที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ อยู่ในที่ ๆ ไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ ทุกอย่างเวิ้งว้าง ว่างเปล่า

    รบกวนช่วยชี้แนะด้วยค่ะ
    ขอบคุณค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กรกฎาคม 2010
  6. เวิ้งว้าง

    เวิ้งว้าง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +177
    ขอถามต่ออีกนิดนะคะ ที่ท่านบอกว่า


    เป็นไปได้ครับที่จะมีครูบาอาจารย์มาสอน<!-- google_ad_section_end -->อาจจะมามากกว่า1ท่านก็ได้ครับ


    ดิฉันเลยขออนุญาตนำประสบการณ์ที่โพสไว้หน้ากระทู้มาเรียนถามอาจารย์ในนี้ด้วยนะคะ เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกัน
    <O:p
    เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อวานนี้โชคดีได้รู้จักพระเกจิอาจารย์โดยบังเอิญ 2 ท่านและอีก 1 ท่าน รู้จักแล้วแต่ไม่เคยได้อ่านประวัติของท่านมาก่อน

    ท่านแรกคือหลวงปู่กาหลง พออ่านประวัติท่านก็เลยรู้สึกศรัทธาและได้ตั้งอธิษฐานจิตถึงท่านขอบุญบารมีจากท่านได้โปรดแผ่เมตตามาสู่ลูกด้วยและหลังจากนั้นสักพักดิฉันก็รู้สึกดี มีความสุข สดชื่นอย่างที่ไม่เคยมาก่อนและก็เลยนึกถึงคำที่เพื่อนเคยบอกว่าถ้ามีคนแผ่เมตตามาให้เรานั้น เราจะรู้สึกดีมีความสุข

    <O:p<O:pและต่อมาในระหว่างวันที่ดิฉันทำงานอยู่ก็มีเพื่อนขอร้องให้ส่งไฟล์งานที่ดิฉันทำเองนั้นให้กับเขาซึ่งในใจดิฉันคิดว่าทีเราขอเขา แต่เขากลับปฏิเสธแกล้งบอกเราว่าลบไฟล์นั้นทิ้งไปแล้วดิฉันก็เลยลังเลว่าจะตอบแบบที่เขาเคยตอบกับเราไว้ดีไหมและหลังจากนั้นบังเอิญได้มาอ่านกระทู้ของหลวงปู่สรวงในเวปนี้พออ่านแล้วรู้สึกเกิดศัทธาในตัวท่าน และเขาบอกว่าเพียงเรานึกถึงท่านท่านก็สามารถมาให้เรารับรู้ได้และดิฉันก็ได้ตั้งอธิษฐานจิตถึงท่านขอบุญบารมีจากท่านได้โปรดแผ่เมตตามาสู่ลูกด้วยซึ่งตอนนั้นไม่ได้หวังว่าจะได้รับรู้หรือรับสัมผัสอะไรจากท่านแต่แล้วหลังจากนั้นไม่นาน ก็เหมือนมีความคิดขึ้นมาในหัว(เหมือนมีคนมาบอกในจิตว่าให้ส่งไฟล์งานให้เขาไป ซึ่งตอนนั้นดิฉันลืมเรื่องนี้ไปแล้วและเหมือนท่านจะมาเตือนให้เราทำความดี ทำในสิงที่ถูกต้องไม่ให้ความชั่วมาครอบงำเราได้ และน้ำตาก็ไหลออกมาเองเยอะมากมันรู้สึกซาบซึ้งและตื้นตันอย่างบอกไม่ถูก<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พอตอนเย็นก็มีเพื่อนฝากหนังสือประวัติหลวงปู่มั่นมาให้กลางคืนก็เลยอ่านดูและได้เห็นรูปต่าง ๆ และข้าวของเครื่องใช้รวามทั้งสถานที่ ๆท่านเคยอยู่มาก่อน ทำให้รู้สึกศรัทธาในตัวท่าน (อีกแล้ว)หลังจากนั้นก็มีเพื่อนโทรมาปรึกษาปัญหาที่เขาหาทางออกไม่ได้แล้วเขาก็บอกว่าให้หลวงปู่ช่วยชี้แนะแนวทางให้ด้วย แล้วอยู่ ๆดิฉันก็พูดบางสิ่งบางอย่างออกไปแบบช้าๆ เบาๆ เป็นจังหวะ เป็นคำ ๆ มีวรรคตอนเป็นข้อคิดเตือนสติ ซึ่งปกติแล้วดิฉันจะไม่ใช่คนพูดลักษณะนี้และเพื่อนก็ถามว่านี่หลวงปู่ใช่ไหมค่ะ ส่วนตัวดิฉันนั้นไม่รู้หรอกรู้แต่ว่าที่พูดไปนั้นรู้ตัวและมีสติดีทุกอย่าง แต่การพูดนั้นเหมือนมีคนบอกบทต้องรอให้คนบอกบทก่อนถึงจะพูดออกมาได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    และหลังจากนั้นก่อนนอนก็สวดมนต์นั่งสมาธิเหมือนทุกวันแต่แปลกตรงที่ว่าการสวดมนต์นั้นรู้สึกว่าเสียงของเราจะค่อยๆ เบาลงและช้าลงอย่างมากและเป็นจังหวะจะโคนแบบที่ตัวเองไม่เคยสวดมาก่อน เหมือนไม่ใช่เราสวด เหมือนคนแก่สวดรู้สึกแปลกดีแต่ก็รู้ตัวมีสติทุกอย่าง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พอตอนนั่งสมาธิก็อาราธนา (ขออภัยถ้าสะกดผิด) ถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทวดาและสิ่งศักดิ์ทั้งหลาย รวมทั้งครูบาอาจารย์ที่เรานับถือทุก ๆท่านให้ช่วยชี้แนะทางสว่างให้กับเรา และพอนั่งไปเพลินๆสักพักจนถึงช่วงที่ไม่สามารถกำหนดคำภาวนาได้ (แต่สติอยู่ที่ลมหายใจและกำหนดรู้หนอเมื่อรู้ตัว) ก็มีคำลอยขึ้นมาว่าหลวงพ่อจรัญมีความรู้สึกเหมือนกับช่วงนั้นท่านเข้ามาสอน เหมือนท่านมาบอกว่านี่คือท่านนะ (เพราะว่าดิฉันอาราธนาครูบาอาจารย์เยอะแยะไปหมดท่านคงกลัวว่าดิฉันจะสับสนไม่รู้ใครเป็นใคร)หลังจากนั้นดิฉันก็รู้สึกว่าหลังของดิฉันค่อย ๆงอลงทีละน้อยจนรู้สึกเหมือนกับว่าเป็นคนแก่มาก ๆ นั่งหลังงอซึ่งดิฉันก็ปล่อยไปตามสภาพแล้วก็ได้แต่กำหนดรู้หนอไปเรื่อย ๆโดยระหว่างนั้นก็จะมีคำบางคำ (เป็นคำสอน) ลอยขึ้นมาให้รับรู้ ให้กำหนดตาม<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    รบกวนท่านอาจารย์ช่วยชี้แนะสิ่งที่เกิดขึ้นกับดิฉันด้วยว่าเป็นไปได้ไหม หรือว่าจิตคิดปรุงแต่งไปเองค่ะ แต่ขอยืนยันว่าระหว่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นดิฉันมีสติเต็ม 100 เปอร์เซนต์ค่ะ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กรกฎาคม 2010
  7. Apiwut

    Apiwut Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +92
    ก้าวเดินอย่างค่อยเป็นค่อยไปและรู้วิธีอย่างละเอียด การจะพลาดพลั้งย่อมไม่มี
    ขอขอบคุณ อ.ชัช ที่ช่วยชี้แนะแนวทางการปฏิบัติอย่างละเอียด
    อนุโมทนา สาธุ ครับ
     
  8. สติรู้

    สติรู้ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +47
    สวัสดีครับครูชัช ขออนุญาตกราบเป็นศิษย์ครับ ทำสมาธิมาหลายปีไม่ก้าวหน้า ท้อบ้างหยุดบ้าง เปลี่ยนกองบ้าง มาอ่านข้อความของครูแล้วหลายคำตอบตรงกับข้อบกพร่องของผม เลยเอามาปรับตามครับ จับ 3 ฐานดีขึ้น นิ่งขึ้น สงบขึ้น (ที่ละฐานครับตามคำแนะนำของครู) ขออนุญาตสอบถามครับ ลมหายใจเบาสบาย ดึ่งนี่ง เกิดอาการร่างกายเกร่ง เส้นเอ็นตึง ลูกตาเกร่งๆ บอกไม่ถูก แล้วสมาธิถอนตลอด มีบางครั้งทนเอาให้ผ่านไปได้ อารมย์ดึ่งนึ่งดี กล้ามเนื้อเหมือนคลายตัวแต่เข็งทื่อ แต่ไม่เบาสบายครับ(ทำไห้ผ่านไปแบบนี้น้อยครั้งมาก..ไม่ทราบถูกทางหรือเปล่า พักหลังเมื่อร่างกายเกร่งผมก็ผ่อนให้สบายขึ้นแต่เหมือนสมาธิถอนนะครับ แล้วก็จะกลับมาเกร่งอีก...ผ่อนอีก..วนอยู่อย่างนี้)...ขอคำแนะนำด้วยครับครู ผมตั้งใจจะทำอาณาปานสติให้ได้ตามที่ครูแนะนำครับ ไม่ทราบถูกจริตหรือไม่ครับ...ขอขอบพระคุณครูล่วงหน้าครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2010
  9. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ตอนนี้ผมมีแนวคิดที่ จะรวบรวมคำถามเก่าๆ มาจัดเรียงหมวดหมู่ แล้วตอบใหม่

    โดยจะทำเป็นกระทู้ใหม่ขึ้นมา

    เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้เห็น ภาพโดยรวมของการปฏิบัติ อย่างชัดเจน

    ยกตัวอย่างเช่น มีผู้ที่ติดตรงอารมณ์หนักกี่คน เจอปีติแบบนี้ๆกี่คน จิตตกภวังค์กี่คน
    คนที่เจอกับอาการทางสมาธิแบบนี้ๆ กี่คน แล้ววิธีแก้นั้นเป็นอย่างไร นำไปทำแล้วมีตอบกลับมาว่าเกิดผลอย่างไรบ้าง

    โดยผมจะจัดกระทู้ให้มีความง่าย ต่อการค้นหา

    เพราะไม่อย่างนั้นคำถามเก่าๆที่เคยตอบไปแล้ว ก็จะไม่มีใครหาเจอ เนื่องจากมีคำถามเข้ามาเยอะมาก

    ขอให้ทุกๆท่านลองติดตามกระทุ้ใหม่ของผมด้วยนะครับ

    เดี้ยวทำแล้วจะนำลิงค์มาลงเอาไว้ครับ
     
  10. KOKOKING_<<0>>

    KOKOKING_<<0>> เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    813
    ค่าพลัง:
    +1,373
    อนุโมทนาในธรรมทานของอ.ชัช ด้วยครับ ดีมากๆเลยครับจะได้ติดตามได้สะดวกครับ เข้าใจว่าปัญหาในการปฏิบัติคงจะคล้ายๆกันนะครับ งานอ.ชัชจะได้เบาหน่อยครับ รักษาสุขภาพด้วยนะครับ อ.ชัช
     
  11. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    จุดประสงค์ของกระทู้ใหม่คือ

    ในส่วนที่เป็นคำถามกลางๆ หรือแนวทางกลางๆ จะได้รวมได้

    แต่ยังไงมันมีเรื่องที่จิตแต่ละคนไม่เหมือนกัน

    ซึ่งจะต้องตอบแยกย่อยอยู่ดี

    เพราะแนวทางกลางนั้น เป็นหลักให้ยึดได้ เป็นแบบแผนได้

    แต่ว่าจี้บุคคล ให้เข้าถึงธรรมะที่ลึกไม่ได้

    ดังนั้น ครูที่ดีทุกคน จะต้องมีการจี้คนที่มาขอคำแนะนำ อย่างละเอียด และลึกซึ้ง

    จึงจะทำให้ศิษย์เข้าถึงความดีได้

    เพราะฉะนั้นครูที่ไม่จี้ลูกศิษย์นั้น ถือว่าทรงความเป็นครูได้ไม่สมบูรณ์
     
  12. Tanunchapat

    Tanunchapat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    631
    ค่าพลัง:
    +3,191
    โมทนา.........สาธุค่ะ
     
  13. neverborn

    neverborn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +25
    อ.ชัช ครับ

    จิตตามลมหายใจ กับ กำหนดรู้ที่จมูก แตกต่างกันยังไงครับ

    กำหนดรู้ฐานที่จมูกคือ รับรู้การกระทบของลมอย่างเดียวใช่ไหมครับ
     
  14. Nichapas

    Nichapas สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +6
    เริ่มฝึกสมาธิ

    สวัสดีค่ะ อยากจะขอคำแนะนำท่านผู้รู้ค่ะ
    ดิฉันเพิ่งเริ่มฝึกสมาธิค่ะ อยากได้คำแนะนำว่าปฏิบัติได้ถูกต้องรึเปล่าค่ะ
    1. เริ่มกำหนดลมหายใจแบบยุบหนอ พองหนอ พอได้สัก 1 นาทีก็หยุดบริกรรม รู้สึกว่าจิตเริ่มนิ่ง
    2.เหมือนตาเรามองไปข้างหน้าแต่หลับตาอยู่เห็นแต่ความมืด สักพักก็เริ่มเห็นแสงสีม่วงจางๆ เป็นวงๆ ใหญ่มาเล็ก รวมกับอาการที่มีขนลุกตลอดร่าง
    3.ไม่รู้สึกว่ามีมือ มีเท้า เหมือนมีอาการชาไปเลย แล้วก็เห็นแสงสว่างในสมาธิ และพระพุทธรูป บางครั้งมีน้ำตาไหล
    4. เมื่อได้รับพลังแสงสีทองนั้นรู้สึกว่ายิ้มแล้วก็มีความสุขมากเลยค่ะ บางครั้งมีการโยกตัวเบาๆ
    5. พอรู้สึกตัวก็พยายามคิดว่าเรากำลังทำอะไร ก็กำหนด นั่งหนอ รู้หนอ สติก็เริ่มกลับมา แล้วมันก็เหมือนถอยลงมาที่เดิม แล้วก็เริ่มรู้สึกปวดขามากเลยค่ะ
    6.ขณะอยู่ในสมาธิก็ยังคงได้ยินเสียงต่างๆตามปกติ แต่ก็มีได้ยินเสียงดนตรีเบาๆ บ้าง หรือเห็นเป็นคนมานั่งรออะไรสักอย่าง แต่ก็แผ่เมตตาและอุทิศไปให้เค้านะคะ
    ตอนนี้ฝึกมาถึงขั้นนี้สักพัก แต่ก็ยังไม่ก้าวหน้าขึ้นเท่าไหร่ค่ะ ก็ขอขอบคุณล่วงหน้านะคะที่ช่วยแนะนำ ขออนุโมทนาค่ะ
     
  15. wuttichai0329

    wuttichai0329 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,016
    ค่าพลัง:
    +742
    คำว่า ของเก่ามีเยอะ หมายความว่ายังไงครับ ผมไม่เคยรู้มาก่อน บางทีรู้สึกเหมือนเราไม่ค่อยจะเหมือนใคร ๆ เค้า คือคล้ายกับว่าเราบ้า อยู่ของเราคนเดียว ครับท่านอาจารย์ชัด
     
  16. ToPiCaL

    ToPiCaL เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,475
    ค่าพลัง:
    +4,585
    สวัสดีคับคุณชัด
    พอดีผมเริ่มฝึกสมาธิ มาอ่านจึงมีคำถามขอถามหน่อยคับ
    1 วิธีฝึกอานาปานสติ ตอนแรกผมนึกว่าให้ตามดูลมหายใจ
    แต่จิง ๆ แล้วคือให้กำหนดรู้ สามฐาน ใช่ไหมครับ
    วิธีกำหนดรู้ 3 ฐาน คือ ให้ดูความรู้สึกที่จมูก หน้าอก และท้องใช่ไหมคับ
    อย่างที่หน้าอกและท้องให้ดูมันกระเพื่อม รู้ให้ดูความรู้สึกครับ
    ถ้าให้ดูความรู้สึก ให้จับความรู้สึกไหนครับ
    2 ผมขอใช้คำบริกรรม พุทโธ ครับ อยากทราบว่า
    ต้องบริกรรมไปถึงไหนแล้วค่อยทิ้งคำบริกรรมครับ
    3 ผมเริ่มใหม่สุด ๆ เลยคับ ไม่ทราบว่ามีคำแนะนำอะไรสำหรับเด็กใหม่
    บ้างหรือเปล่าครับ หรือแค่บริกรรมแล้วจับลมที่จมูกแค่นั้นพอ
    4 คุณชัดสอนในกรุงเทพที่ไหนบ้างหรือเปล่าครับจิได้ไปเรียน

    ขอบคุณครับ
     
  17. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ NICKAZ ครับ

    เพราะผมเป็นพวกชอบรบนอกแบบกับพวกแม่ทัพกิเลสมาร เรื่องรูปแบบวิธีการเลยไม่ค่อยได้สนใจเท่าไหร่ มีโอกาสเป็นเข้าตีทันที จึงมีความสนใจในเรื่องของ ลมมากฐาน (การปฏิบัติแบบเป็นแบบแผน) กับ ลมไร้ฐาน (ไร้รูปแบบ)

    ช่วงนี้กระทู้กำลังอยู่ในประเด็นของการให้กำหนดจิต ความระลึกได้ รู้ตัว ลงในฐานทั้งสาม ได้แก่ จมูก อก และท้อง ของอานาปนสติ พอดีมีข้อสงสัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องเล็กน้อย จึงขอมาเรียนถามด้วยคนครับ


    การฝึกอานาปนสติหลายครั้ง ความคมชัดที่เกิดจากการกำหนดจิตเพียง 3 ฐาน นั้น ยังไม่พอต่อการใช้งาน ในกรณีของการนำฌาณไปใช้งานร่วมกับกรรมฐานกองอื่นๆ (ผมจะไม่กล่าวในรายละเอียดส่วนนี้ เพราะจะนอกประเด็นของอานาปนสติไป)

    ที่ปฏิบัติอยู่คือ การกำหนดจิตให้มากกว่า 3 ฐาน คือ จำนวนฐานมากจนนับจำนวนฐานไม่ได้ เพราะกำหนดจิตไว้ตลอดแนวทางการเดินของลม จากจมูก ไหลไปเรื่อยตามหลอดลม ไปสิ้นสุดที่ท้อง อย่างนี้ ผมว่าจิตมีความคมชัดมาก พอที่จะนำไปใช้งานได้ดี (ไม่ใช่ดีธรรมดา แต่อยู่ในระดับที่ดีมาก)

    ปัญหาคือ พอจำนวนฐานมันมากเข้า ความแตกต่างระหว่างการกำหนดลมมากฐานตลอดแนว (นับจำนวนฐานไม่ได้) กับการกำหนดลมแบบไร้ฐาน ความคมชัดของจิตแทบจะไม่ต่างกัน ทีนี้ควรจะทำอย่างไรดีครับ ในเมื่อทั้งสองแบบ ไม่มีความต่างกัน งั้น ไม่ต้องกำหนดฐานของลมได้ไหม เพราะจิตมันจับความรู้สึกไปเอง (เป็นอัตโนมัติ) อีกอย่างเวลานำฌาณไปใช้งาน เรื่องของฐานของลม แทบจะไม่มีความจำเป็นแล้ว (เพราะความเคยชินเป็นอัตโนมัติของจิต ที่มันทำของมันเอง จึงบอกว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปกำกับให้มันทำ)

    ที่อธิบายมาพอจะเข้าใจไหมครับ ขนาดผมอธิบายเองยังเรียบเรียงไม่ค่อยจะตรงกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ เลย แต่ก็ได้พยายามอธิบายออกมาเป็นตัวอักษรอย่างเต็มที่แล้ว

    สรุปว่าอย่างผมควรจะใช้แบบลมมากฐานหรือลมไร้ฐานดีครับ เพราะความคมชัดของจิต การนำเอาฌาณไปใช้งาน ทั้งสองแบบ ไม่มีความแตกต่างกันเลย<!-- google_ad_section_end -->

    ขอให้เข้าใจว่า คุณจะจับอะไรก็จับได้ เพราะมีพื้นฐานที่แน่นอยู่แล้ว

    คือ ทรงสมาธิมันทั้งวัน ความเต็มของสติมากกว่าคนปรกติทั่วไป จับอะไรก็เป็นสมาธิได้หมด ไม่ใช่เรื่องยาก

    แต่ถ้าคนอื่นๆ เขาทำแบบที่คุณทำ คงจะตกม้าตายตั้งแต่ต้น เพราะมันยากสำหรับคนพึ่งเริ่มฝึก

    เอาเป็นว่าสิ่งใดที่ผมได้เคยแนะนำให้คุณ Nickaz ไป

    ขอให้คนอื่นๆ อย่าเอาไปทำตาม โดยไม่พิจารณาว่าตัวเองไหวหรือไม่ เพราะมันยากเกินวิสัยของคนที่พึ่งเริ่มฝึกทั่วๆไป

    ก่อนอื่นผมขออธิบายก่อนว่าทำไมครูบาอาจารย์ท่านถึง ให้กำหนดฐานของสติลงที่สามจุดนั้น

    อันนี้เป็นความรู้ของกรรมฐานโบราณ หาได้ในหนังสือทิพยอำนาจ และหนังสือของสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน

    บนร่างกายของเรานี้มีจุดต่างๆมากมาย จุดเหล่านี้เป็นจุดที่เกิดขึ้น โดยธรรมชาติ

    เป็นธรรมชาติของสรีระร่างกาย จะว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับจักระ และจุดฝังเข็มของจีนก็ว่าได้

    จุดที่ผมว่าเหล่านี้นั้น หากเราใช้จิตกำหนดสติ ตั้งฐานของสติในจุดเหล่านี้เอาไว้
    จะบังเกิดผลที่แตกต่างกันไปต่อร่างกายและจิตใจ ตามคุณสมับัติของแต่ละจุดซึ่งมีดังต่อไปนี้

    1.ตรงเหนือสะดือประมาณ 2 นิ้ว จะบังเกิดผลผ่อนบรรเทาทุกเวทนาได้
    2.ตรงสะดือ จะบังเกิดรู้เห็นส่วนต่างๆของร่างกายตามความเป็นจริง เหมาะแก่การพิจารณากาย
    3.ตรงท้องน้อยใต้สะดือ 2 นิ้ว จะบังเกิดความกำหนัด กามราคะขึ้น จึงเป็นจุดที่ควรจะหลีกเลี่ยงโดยประการทั้งปวง
    4.ตรงทรวงอกระดับหัวใจจะบังเกิดการตรัสรู้ขึ้น
    5.ตรงคอกลวงใต้ลูกกระเดือก จะทำให้หลับ
    6.ตรงคอกลวงเหนือลูกกระเดือกจะทำให้หายหิว
    7.ตรงปลายจมูกจะทำให้เกิดปีติซาบซ่าน
    8.ตรงลูกตา จะทำให้เกิดพลังจิตตานุภาพ
    9.ตรงระหว่างคิ้วจะบังเกิดการตื่นหายง่วงได้
    10.ตรงกลางกระหม่อมจะบังเกิดปฏิภาณผ่องแผ้ว และสามารถเห็นทวยเทพได้ด้วย
    11.ตรงท้ายทอย จะไม่รูสึกทุกเวทนาทางกายแต่ประการใด ใช้หลบเวทนาได้ดี
    12.ตรงประสาททั้ง5 จะบังเกิดสัมผัสญาณรับรุสิ่งต่างๆได้ดี คือตั้งไว้ที่ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย

    ท่านว่านอกจากนี้ยังมีอีกมากมาย แต่ท่านไม่กล่าวเอาไว้

    ทีนี้สังเกตุว่า จมูก อก ท้อง นั้นคือ
    7.ตรงปลายจมูกจะทำให้เกิดปีติซาบซ่าน
    4.ตรงทรวงอกระดับหัวใจจะบังเกิดการตรัสรู้ขึ้น
    1.ตรงเหนือสะดือประมาณ 2 นิ้ว จะบังเกิดผลผ่อนบรรเทาทุกเวทนาได้

    เป็นสามจุดที่เกิดอานิสงค์มาก และเหมาะแก่การเจริญสมาธิ
    อันนี้คือความฉลาดของครูบาอาจารย์ ซึ่งท่านอาจจะไม่ได้อธิบายให้ฟังโดยละเอียดถึงที่มาที่ไป

    จึงเป็นเหตุให้ท่านสอนจมูก อก ท้อง

    หากเรากำหนดสติเอาไว้ที่จุดอื่นก็ย่อมเกิดอานิสงค์แบบอื่น หรืออาจจะไม่เกิดเลยก็ได้
    ซึ่งอานิสงค์ของจุดอื่นๆนั้น อาจจะไม่เมหาะกับการเจริญสมาธิในขั้นต้น

    การจับลมตลอดสายนั้น สำหรับคุณ Nickaz อาจจะประคองสติได้ก็จริง แต่ว่า
    ย่อมไม่เกิดอานิสงค์ต่อร่างกายและจิตใจ เท่าลม3ฐาน หรือมากฐานกว่านั้น

    ดังนั้นตัวลมไร้ฐาน จึงเป็นขั้นที่หยาบกว่าลม 1ฐาน 2ฐาน 3ฐาน ทั้งในด้านของอานิสงค์ และความคมชัดของสติที่จะเกิดขึ้น (ต่อบุคคลธรรมดา ยกเว้นพวกที่ชำนาญแล้วจะจับอะไรก็สติคมชัดเสมอกัน)

    สมาธิ คือ การประคองสติเอาไว้ กับอารมณ์ของกรรมฐานกองนั้นๆ

    และเมื่อสมาธิตั้งมั่นลงไปในจุดเหล่านี้แล้ว อานิสงค์ย่อมเกิดมาก เพราะมีการกระตุ้นคุณสมับติต่างๆทั้งทางร่างกายและจิตใจ

    อันนี้จึงเป็นความต่างของการกำหนดฐาน และไม่กำหนดฐาน

    ลองจำ จุดอื่นๆ ไปลองทำดูบ้างก็ได้ครับ โดยการประคองสติเอาไว้ที่บริเวณจุดนั้นๆ ให้ได้เป้นระยะเวลาหนึ่ง ในตำราท่านว่า 5นาที 10นาที หรือมากกว่านั้นบ้าง

    ย่อมเกิดผลเป็นที่น่าพอใจ
     
  18. มรนังสุขัง

    มรนังสุขัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +52
    เห็นด้วยกับท่านอาจารชัชครับ

    เคยมีมีปรมาจารย์กังฟูหมัดแปดปรมัตถ์(จำชื่อท่านไม่ได้ครับ)กล่าวไว้ว่า กังฟู 100 ท่า แต่ฝึก 1 ปี ไม่สู้กังฟู 1 ท่า แต่ฝึกมา 100 ปี ท่านยังยกตัวอย่างลูกศิษย์ที่จัดว่าเบาปัญญาคนนึงของท่าน ลูกศิษย์คนนั้นถูกรังแกประจำ เคยคิดจะเรียนกังฟูแต่ก็ทำไม่ไหว เรียนช้ากว่าคนอื่นมาก และเอาไปใช้ไม่ได้ ลูกศิษย์คนนี้ได้ยินกิตติสรรพท่านปรมาจารย์ เลยมาขอเป็นศิษย์ ท่านปรมาจารย์ได้ฟังปัญหาแล้ว จึงสอนท่าการออกหมัดตรงให้ (เป็นท่าพื้นฐานเลยครับ คนทั่วไปอยากเรียนแต่ท่ายากๆสวยงาม) และบอกกับศิษย์คนนี้ว่า "ต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเดินไปที่ไหน จงทำท่าก้าวขาและออกหมัดตรงไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงที่หมาย" ด้วยความที่ศิษย์เบาปัญญา, ซื่อตรง และศรัทธาต่ออาจารย์ จึงปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
    หลังจากนั้นเพียง 1 ปี ลูกศิษย์คนนี้ก็เลิกถูกรังแก และกลายเป็นคนมีชื่อเสียงทางกังฟูคนนึง ท่ากังฟูที่ศิษย์คนนี้ใช้มีแค่ท่าเดียว คือหมัดตรงที่ง่ายๆ ทุกคนสามารถก็ทำได้ จึงมีนักกังฟูหลายคนมาท้าสู้ แต่สุดท้ายก็ต้องพ่ายแพ้ไป เพราะถึงแม้จะมีหลายท่า แต่ทุกครั้งที่ออกหมัด ศิษย์คนนี้จะออกหมัดตรงถึงเป้าหมายก่อนเสมอ แม้ว่าจะออกหมัดทีหลัง นี่แสดงให้เห็นว่า แทนที่เราจะสนใจใน 100 ท่า แ่ต่ไม่แตกฉานในท่าใดเลย ไม่เข้าใจถ่องแท้ถึงวิถี และประโยชน์ที่จริงแท้ในท่านั้นๆๆ สู้รู้แค่ 1 ท่าแต่แตกฉานไม่ดีกว่าหรือ?

    พิมให้อ่านเล่นครับ สนุกๆ
    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นกับความถนัดของแต่ละคนนะครับ เลือกทำเอาตามถนัดแหละเหมาะกับตัวเองครับ ดีที่สุดแล้ว
     
  19. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ผมอยากจะขอให้คุณ NICKAZ

    ช่วยอธิบายวิธีการที่ตัวเองใช้เข้าสมาธิตั้งแต่ รูปฌาณ 1 2 3 4 จนถึง อรูป 1 2 3 4

    ให้ทุกๆคนได้อ่านหน่อยได้ไหมครับ เพื่อเป็นธรรมทาน

    เพราะรู้สึกว่าจะมีวิธีเข้าที่เป็นลักษณะพิเศษของตัวเอง

    จึงอยากจะขอแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยครับ

    จุดที่ผมสนใจเป็นพิเศษคือ อรูปฌาณ4 ถ้าจะไม่อธิบายรูปฌาณก็ไม่เป็นไรครับ แต่ขอในส่วนของอรูปได้ไหมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2010
  20. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    เส้นทางสู่การมีความรู้เต็มรอบนั้นมีอยู่จริง

    เข้าใจแล้วครับ การกำหนดสติรับรู้ลมที่กระทบแต่ละจุด ก็จะมีอานิสงค์แตกต่างกัน แล้วแต่ตำแหน่งของจุดที่ลมกระทบ ส่วนลมไร้ฐาน สามารถครองสติได้เหมือนกัน แต่อานิสงค์จะไม่เท่าการจับลมแต่ละฐาน อันนี้นับเป็นความรู้ใหม่ครับ ขอขอบคุณเจ้าของกระทู้ที่ได้อธิบายให้ผู้มีปัญญาทึบอย่างผมได้เข้าใจ

    ที่อ่านมา ผมสนใจในเรื่องลมมากฐานอยู่ดี ซึ่งมีอยู่หลายๆ จุดมาก ดังนี้

    1.ตรงเหนือสะดือประมาณ 2 นิ้ว จะบังเกิดผลผ่อนบรรเทาทุกเวทนาได้
    2.ตรงสะดือ จะบังเกิดรู้เห็นส่วนต่างๆของร่างกายตามความเป็นจริง เหมาะแก่การพิจารณากาย
    3.ตรงท้องน้อยใต้สะดือ 2 นิ้ว จะบังเกิดความกำหนัด กามราคะขึ้น จึงเป็นจุดที่ควรจะหลีกเลี่ยงโดยประการทั้งปวง
    4.ตรงทรวงอกระดับหัวใจจะบังเกิดการตรัสรู้ขึ้น
    5.ตรงคอกลวงใต้ลูกกระเดือก จะทำให้หลับ
    6.ตรงคอกลวงเหนือลูกกระเดือกจะทำให้หายหิว
    7.ตรงปลายจมูกจะทำให้เกิดปีติซาบซ่าน
    8.ตรงลูกตา จะทำให้เกิดพลังจิตตานุภาพ
    9.ตรงระหว่างคิ้วจะบังเกิดการตื่นหายง่วงได้
    10.ตรงกลางกระหม่อมจะบังเกิดปฏิภาณผ่องแผ้ว และสามารถเห็นทวยเทพได้ด้วย
    11.ตรงท้ายทอย จะไม่รูสึกทุกเวทนาทางกายแต่ประการใด ใช้หลบเวทนาได้ดี
    12.ตรงประสาททั้ง5 จะบังเกิดสัมผัสญาณรับรู้สิ่งต่างๆได้ดี คือตั้งไว้ที่ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย

    ท่านว่านอกจากนี้ยังมีอีกมากมาย แต่ท่านไม่กล่าวเอาไว้

    ผมสนใจหมดทุกจุดเลย โดยเฉพาะจุดที่ 4 ที่ต้องเน้นให้มาก (หากอยากจะมีความรู้เต็มรอบ ก็ต้องทำให้ได้) จะลองไล่ไปดูแต่ละจุดว่าจะเป็นอย่างไร ส่วนที่นอกเหนือจากนี้ ที่มีอีกมากมาย แต่ที่ครูบาอาจารย์ท่านไม่ได้กล่าวไว้ ก็จะลองไปทำดูเอาเองครับ

    ขอให้เข้าใจว่า คุณจะจับอะไรก็จับได้ เพราะมีพื้นฐานที่แน่นอยู่แล้ว

    คือ ทรงสมาธิมันทั้งวัน ความเต็มของสติมากกว่าคนปรกติทั่วไป จับอะไรก็เป็นสมาธิได้หมด ไม่ใช่เรื่องยาก

    แต่ถ้าคนอื่นๆ เขาทำแบบที่คุณทำ คงจะตกม้าตายตั้งแต่ต้น เพราะมันยากสำหรับคนพึ่งเริ่มฝึก


    ตรงนี้ขอแก้นิดหนึ่ง เดี๋ยวท่านอื่นๆจะเข้าใจผิดเอา จริงๆ ก็ไม่ได้ทรงสมาธิมันทั้งวันหรอกครับ หลวงพ่อฤาษีท่านก็สอนให้เน้นอานาปนสติอย่างมาก แต่ที่ว่ามากของท่าน ก็ไม่ใช่หมายความว่าต้องล่อมันทั้งวัน จนไม่ต้องทำมาหากิน

    วิสัยปุถุชน ต้องมีเวลาทำงานทำการ เอาใจไปใส่อยู่กับงานบ้าง แต่ถ้ามีเวลาว่างจากการงาน ไม่ได้เจรจาความกับใคร มีเวลาปั๊บ จับภาพพระปั๊ป เห็นพระแล้วใจสงบดีครับ มีเวลาเมื่อไหร่เป็นทำทันที เวลาน้อยมากไม่เกี่ยง เข้าห้องน้ำ อุจจาระ ปัสสาวะ ขึ้นรถ ลงเรือ ไปเหนือ ล่องใต้ ทำตลอด

    จับภาพพระมากๆ บางทีก็แบ่งภาพเป็นสอง สาม สี่ ห้า หรือมากกว่านั้น จับไปอยู่ทางซ้ายบ้าง ขวาบ้าง บนบ้าง จับมารวมกันบ้าง ทำเป็นองค์ใหญ่องค์เล็กบ้าง ก็ให้ความเพลิดเพลินดี ที่ทำกันจริงๆก็แค่นี้

    อันนี้เรียกว่าการทรงฌาณหรือเปล่าครับ?

    ผมอยากจะขอให้คุณ NICKAZ

    ช่วยอธิบายวิธีการที่ตัวเองใช้เข้าสมาธิตั้งแต่ รูปฌาณ 1 2 3 4 จนถึง อรูป 1 2 3 4

    ให้ทุกๆคนได้อ่านหน่อยได้ไหมครับ เพื่อเป็นธรรมทาน

    เพราะรู้สึกว่าจะมีวิธีเข้าที่เป็นลักษณะพิเศษของตัวเอง

    จึงอยากจะขอแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยครับ

    จุดที่ผมสนใจเป็นพิเศษคือ อรูปฌาณ4 ถ้าจะไม่อธิบายรูปฌาณก็ไม่เป็นไรครับ แต่ขอในส่วนของอรูปได้ไหมครับ

    เอาอย่างงั้นเลยหรือครับ ผมเองเป็นคนอธิบายอะไรไม่เป็นเรื่องเป็นราวกับเขาเท่าไหร่ (อธิบายไม่เป็น) เวลาจะมาถามอะไรกับเจ้าของกระทู้แต่ละทีก็ต้องพิจารณาแล้ว พิจารณาอีก เพราะการบรรยายเป็นตัวอักษร ผมมักจะเรียบเรียงได้ไม่ตรงกับปรากฏการณ์จริงๆ เท่าไหร่ แต่พื้นฐานเป็นคนชอบทดลองครับ (วิสัยของคนฝักใฝ่อภิญญาเป็นอย่างนี้กันหรือเปล่าไม่ทราบ) เลยพบปรากฎการณ์อะไรแปลกๆ บ้าง

    เรื่องอย่างนี้ ท่านผู้ใดมีฌาณญาณ คงจะพอทราบ (ผมไม่เคยปิด เปิดให้ดูกันตลอด) ดูกันแล้วก็จะพบว่าจริตของผมนั้นเป็นอย่างไร

    งั้นขอรับไปไว้ก่อนล่ะกันครับ มีโอกาสคงจะได้มาคุยกันในส่วนนี้แน่นอนครับ

    "สัญญาเวทยิตนิโรธ"

    อันนี้เคยได้ยินมานาน แต่ไม่เข้าใจ และไม่ได้สนใจ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องของพระอริยเจ้า ไม่เกี่ยวกับปุถุชน

    ตอนนี้การทรงสมาบัติ 8 ก็เต็มกลืนอยู่แล้ว แต่เจ้าของกระทู้แนะมาอย่างนี้ ก็เป็นการบ้านที่จะต้องไปค้นคว้ากันต่อไปครับ



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2010
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...