รับปรึกษาปัญหาเรื่องตรวจเลือดและส่งเสริมสุขภาพ โดย นักเทคนิคการแพทย์

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย วสุธรรม, 1 มกราคม 2010.

  1. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ตอบ ท่านนายแว่น

    เมื่อท่าน"นายแว่น"เคยได้รับการฉีดวัคซีนมา จะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารโปรตีนชนิดแกมม่า
    โกลบบลูลิน(Gamma Globulin) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารแอนติบอดีย์(Antibody)ที่มีความจำเพาะ
    ตามชนิดของวัคซีน เช่น
    -วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ก็จะมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี

    หลังจากจากฉีดวัคซีนครบ ร่างกายจะมีความเข้มข้นของสารแอนติบอดีย์สูงสุดจากนั้น หากไม่ได้รับ
    การกระตุ้นจากวัคซีน หรือเชื้อตัวเป็นๆ จะมีผลให้ระดับความเข้มข้นของสารแอนติบอดีย์ลดลงอย่างสม่ำเสมอ จนอยู่ในระดับต่ำ และจะมีความเข้มข้นของสารแอนติบอดีย์สูงขึ้นอีกเมื่อเราไปรับเชื้อเข้าสู่
    ร่างกาย

    ภูมิต้านทานที่ได้รับจากการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อนั้นๆ จะมีไปตลอดชีวิตเพราะร่างกายจะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งทำหน้าที่เป็นmemory cell

    การบริจาคโลหิตไม่น่าจะมีผลต่อความเข้มข้นของสารแอนติบอดีย์ ร่างกายเพียงสูญเสียเลือดซึ่งมีภูมิต้านทานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

    วสุธรรม
     
  2. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    เรียนทีมงานเว็บบอร์ด
    ผมได้จัดการลบข้อความเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเว็บดังกล่าวแล้ว
    หากมีหลงเหลือในกระทู้ใดอีก กรุณแจ้งให้ผมทราบ จักดำเนินการให้เป็นที่เรียบร้อยครับ
    วสุธรรม
     
  3. yen-jit

    yen-jit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +709
    - การตรวจแคลเซียมในเลือด สามารถบอกอะไรได้ค่ะ ที่บริษัทมีรายการตรวจเพิ่ม

    - ช่วงปีครึ่งมานี้ มีภาวะประจำเดือนมาช้า หลังๆ มักจะมา 2 เดือน/ครั้ง แต่จำนวนวันยังเท่าเดิมอยู่คือ 7 วัน แต่ปริมาณน้อยลง
    จากเดิมที่มาเยอะมาก ปัจจุบันอายุเลย 46 ปี มา2 เดือน ประจำเดือนมีครั้งแรกอายุ 13 ปี
     
  4. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    เรียนคุณวสุธรรม ติงขออนุญาตเรียนถามปัญหาสุขภาพที่ติงกำลังประสบอยู่นะคะ คือประมาณ 3 เดือนมานี้ ติงมีอาการคันตามร่างกายเช่นแขนขา ลำตัว พอติงเกาก็จะเป็นรอยเล็บสีชมพูอมม่วง บางทีก็เป็นปื้น...

    บางครั้งก็มีรอยเป็นขีดๆ ยาวๆตามแขน โดยไม่คัน บางทีที่ฝ่ามือก็เป็นจ้ำสีชมพู คันนิดๆค่ะ

    อาการดังกล่าวหายได้ และป้องกันได้โดยทานยาแก้แพ้ เช่นคลอเฟนิรามีน หรือยา Cetirizine dihidrochloride 10 mg

    ติงเคยไปหาหมอ หมอฟังอาการ แล้วบอกว่าติงเป็นโรคผิวหนังอักเสบ แล้วให้ยาทามา Triamcinolone Acetonide 0.1 w/w แต่ติงว่าหมอน่าจะวินิจฉัยโรคผิดหรือเปล่า ไม่งั้นก็จ่ายยาไม่ถูกโรค เพราะยาที่หมอให้มาไม่ได้ผลเลย

    ถามเภสัชกรที่ร้านยา เขาก็ว่าแพ้อะไรหรือเปล่า ไม่งั้นก็เป็นเพราะระบบเลือด

    มีเพื่อนครูที่โรงเรียนเป็นและทานยาแก้แพ้มา 3 ปีแล้ว พี่สาวติงก็บอกว่าพี่ก็เคยเป็น ทานยาแก้แพ้ก็หาย
    แต่ติงไม่อยากทานยาแก้แพ้นานๆ เกรงผลข้างเคียงจากยาค่ะ

    ขณะนี้ติงก็ยังทานยาCetirizine dihidrochloride 10 mg อยู่ เพราะไม่ง่วง ทานวันละเม็ด บางวันก็ 2 เม็ด ไม่ทราบว่ายานี้อันตรายหรือมีผลต่อร่างกายในระยะยาว เมื่อทานติดต่อกันเป็นเวลานานหรือเปล่าคะ

    ติงเคยอ่านตำราวินิจฉัยโรคด้วยตนเอง พบว่าเป็นภูมิแพ้ ช่วงนี้จึงทานเห็ดหลินจือ วันละ 2 แค็ปซูล แต่ว่ายังไม่มีผลอะไร

    โรคนี้ ทำให้เกิดความรำคาณจากการคัน ซึ่งไม่เดือดร้อนมากมายนัก แต่ติงก็อยากหายค่ะ เพราะคันไปทั้งตัว ^^ บางทีเกาอย่างเมามัน จนเป็นแผลเพราะรอยเล็บ ^^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2010
  5. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    เรียนคุณวสุธรรมอีกนิดนะคะว่า จริงๆ ติงขี้โรคมากค่ะ ^^
    แต่ติงอดทน
    เช่น ติงจะเวียนหัวบ่อย ทานก๋วยเตี๋ยวแล้วเติมน้ำส้มสายชูก็จะปวดท้อง
    ปวดประจำเดือน(แบบทรมานมาก)ต้องทานพราราเซตามอล อย่างน้อย 2 เม็ด (เป็นแต่ละครั้งต้องทานยา) ไม่ก็ทานควบกับยาแก้ปวดประจำเดือน จึงทำงานได้ตามปกติ
    และโรคอื่นๆ ตามแต่ว่าวันไหนจะเป็นอะไร แต่ไม่รุนแรง ไม่ถึงกับต้องลางาน เพราะติงพอทนได้

    ติงยังบอกเพื่อนๆว่าติงน่ะ ไม่ใช่วันละโรค แต่วันละ 10 โรค แต่ทำไมไม่ยอมตายสักที 555 ทั้งๆที่ไม่กลัวตายสักนิด(แต่กลัวความเจ็บและความทรมานมาก เช่น เวลาอาเจียน ติงไม่ชอบเลย หรืออาการเวียนหัวแล้วบ้านหมุนๆๆๆๆ ติงก็ไม่ชอบ )

    สงสัยเพราะตอนเด็กๆ ชอบเอาสัตว์เล็กๆมาเล่น ทำให้เขาทรมาน จึงต้องมาเจอแบบนี้
     
  6. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    เรียนคุณติงติง
    ผมต้องขออภัยด้วยที่ตอบช้า ช่วงนี้ไม่ค่อยได้เข้าห้องสุขภาพ

    เริ่มเลยล่ะกันครับ ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่าคุณติงติงถามปัญหาที่ค่อนข้างยาก คือผมไม่ค่อยเก่งในเรื่องโรคผิวหนัง ได้อ่านชื่อยาแล้วมึนๆไปหลายวินาที
    เอิ๊กๆ... แต่เมื่ออ่านจนจบแล้วจิตของผม เชื่อว่าคุณติงติง เป็นโรคมาจากยุง
    กัดน่ะครับ

    ผมมีสมมุติฐานของโรคดังนี้ครับ คุณติงติงมีอาชีพเป็นครู ต้องนั่งโต๊ะทำงาน
    เป็นประจำ ในระหว่างนั่งทำงานเพลินๆ คุณติงติงน่าจะโดนยุงลายกัดอยู่บ่อยๆ
    ยุงลายได้นำไวรัสไข้เลือดออกสายพันธ์1ถึง5 มาฉีดใส่เข้าไปในร่างกาย

    เนื่องจากการรับประทานอาหารของคุณติงติง อาจจะไม่ส่งเสริมให้ภูมิต้านทานเก่งและแข็งแรง เชื้อไวรัสฯจึงสามารถแพร่ขยายพันธ์อยู่ในร่างกายของเราได้
    เชื้อไวรัสฯนี้เมื่ออยู่ในร่างกายของเรา มันต้องรับประทานอาหาร และขับถ่ายของเสียออกมา ของเสียที่มันขับถ่ายออกมาคือตัวต้นเหตุปัญหาต่างๆ เช่น
    ทำให้เกิดรูรั่วขนาดเล็กมากๆ(คล้ายรูพรุนเล็กๆ)ตามผนังหลอดเลือดที่มันอาศัย
    อยู่ ทำให้เลือดส่วนน้ำเหลืองรั่วไหลออกนอกหลอกเลือด
    [​IMG]
    ต่อมาเกล็ดเลือดจะถูกกระตุ้นให้มาทำหน้าที่อุดรูรั่วต่างๆ จนเกล็ดเลือดที่สมบูรณ์ถูกใช้จนหมดไป ร่างกายจะสร้างเกล็ดเลือดรุ่นเยาว์วัยใหม่ๆ ออกมาทำ
    หน้าที่อุดรูรั่วนั้น แต่เนื่องจากเกล็ดเลือดเป็นตัวอ่อน ไม่ค่อยสมบูรณ์ จึงทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์เหมือนกัน จึงเกิดรอยแผล รอยจ้ำเลือดต่างๆ

    ในช่วงที่ผ่านมาก่อนการเกิดโรคที่ผิวหนัง คุณติงติงน่าจะมีอาการได้2แบบคือ
    1.อ่อนเพลีย มึนหัวเป็นประจำ
    2.เป็นหวัดเรื้อรัง

    วิธีแก้ไขปัญหา
    1.ซื้อครีมกันยุง มาทาแขนขาที่น่าจะเสี่ยงโดนยุงกัด เป็นประจำ
    (ถ้าโดนยุงกัดอยู่เสมอๆ จะไม่หายเป็นปกติ)

    2.ในระหว่างมีปัญหาสุขภาพต่อไปนี้
    1.อ่อนเพลีย มึนหัวเป็นประจำ
    2.เป็นหวัดเรื้อรัง
    3.เป็นรอยผื่นคัน
    - ให้ซื้อนมถั่วเหลืองเป็นกล่องๆมาทานระดับปานกลางคือ 2-3กล่องต่อวัน
    - ปกติดี ดื่มนมถั่วเหลืองเป็นประจำวันละ1-2กล่องต่อวัน

    ลองปฏิบัติตามที่ผมแนะนำดูสัก1-2สัปดาห์นะครับทั้งสองข้อ หากได้ผลอย่าง
    ไร มาเล่าให้ฟังบ้างครับ

    วสุธรรม
     
  7. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    ขอบคุณมากค่ะ บ้านติงทานนมถั่วเปลืองเป็นประจำทุกวัน(แล็คตาซอย บางทีก็ซื้อที่เขาทำใหม่ๆ) แต่ติงไม่เป็นหวัดเลย หลายๆปี จึงเป็นสักครั้ง
    น่าจะเป็นโรคของระบบเลือดเหมือนที่คุณว่ามานะคะ ^^
     
  8. ้vicee

    ้vicee สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2011
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +6
    ถามเกี่ยวกับการตรวจเลือด hiv ครับ

    สวัสดีครับ พี่วสุธรรม ผมรบกวนถามพี่หน่อยนะครับ คือผมไปเสี่ยงมาประมาณ 2 เดือนกว่าๆก็เลยไปตรวจเลือดที่ รพ.เวชธานีตอนไปตรวจก็บอกเขาว่าตรวจเลือด hiv เขาก็พาเราไปเจะเลือดแล้วก็ให้ผมรอฟังผลประมาณ 1 ชม.ผมอยากถามพี่ว่า
    1.เขาใช้วิธีไหนตรวจเลือดให้ผมครับ
    2.ผมดื่มนํ้า mret มานานแล้ว อยากทราบว่านํ้า mret มีผลต่อการตรวจเลือด hiv ทําให้ตรวจไม่เจอได้หรือเปล่าครับ
    3.แล้วผมตรวจตอน 2 เดือนกว่านี้จะได้ผลขนาดไหนครับ
    4.แล้วผลตรวจที่ได้จาก รพ.จะมีข้อผิดพลาดบ้างไหมครับไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆก็ตามครับ
    พี่วสุธรรมช่วยตอบให้ผมหายข้องใจด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2011
  9. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543

    อีกประมาณ เดือนเศษๆ ไปตรวจเลือดใหม่อีกครั้งนะครับ
     
  10. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543
    ส่วนคุณ ติงติง นอกจากจะติดเชื้อไวรัสตามที่คุณ วสุธรรมบอกแล้ว
    ยังมีโรคอันเกิดจากไฟธาตุหย่อนด้วย (ไฟธาตุในกายน้อยกว่าที่ควรมี)
    ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดโรคแปลกๆ แปรไปมา จนไม่รู้ว่าเป็นอะไรแน่
     
  11. ้vicee

    ้vicee สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2011
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +6
    ขอบคุณ คุณ suwi มากนะครับผมก็จะไปตรวจอีกทีที่ 3 เดือนกว่าๆครับ แต่อยากได้คําตอบที่ผมถามเป็นข้อๆด้วยครับ ขอบคุณครับ
     
  12. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ตอบคำถาม

    ก่อนอื่นผมขอขอบพระคุณพี่สุวิที่กรุณามาช่วยตอบคำถามแทนตัวผมใน
    ระหว่างที่ผมไม่ได้มาตรวจกระทู้ พี่สุวิเป็นผู้มีจิตเมตตาสูงยิ่งครับ

    หากท่านใดต้องการคำตอบแบบด่วน กรุณาPMอีกทางหนึ่งจะทำให้ผมทราบข่าวครับ เข้ามาอ่านทุกวันครับแต่อยู่แถวห้องวิทย์ฯ ต้องขออภัยเพื่อนๆมา ณ โอกาสนี้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2011
  13. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    เอดส์

    <!-- /firstHeading --><!-- bodyContent --><!-- tagline -->จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
    <!-- /subtitle --><!-- jumpto -->ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- /jumpto --><!-- bodytext --><TABLE class="noprint metadata plainlinks ambox ambox-style"><TBODY><TR><TD class=mbox-image>[​IMG]

    </TD><TD class=mbox-text>บทความนี้ต้องการ การจัดหน้า การจัดหมวดหมู่ และใส่ลิงก์ภายใน เพื่อให้บทความมีคุณภาพดียิ่งขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก หรือใช้ป้ายข้อความอื่นระบุสิ่งที่ต้องแก้ไขให้เจาะจง</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="TEXT-ALIGN: left; PADDING-LEFT: 0.5em; WIDTH: 23em; PADDING-RIGHT: 0.5em; FONT-SIZE: 90%" class=infobox><TBODY><TR style="BACKGROUND: #afeeee; COLOR: #000000"><TH style="TEXT-ALIGN: center; FONT-SIZE: 120%" class=fn colSpan=2>กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม
    <SMALL>(Acquired immunodeficiency syndrome)</SMALL>
    </TH></TR><TR style="TEXT-ALIGN: center"><TD colSpan=2>[​IMG]


    </TD></TR><TR style="TEXT-ALIGN: center; LINE-HEIGHT: 1"><TD colSpan=2><SMALL>ริบบิ้นสีแดง สัญลักษณ์ของกลุ่มช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์</SMALL></TD></TR><TR style="TEXT-ALIGN: center; BACKGROUND: #afeeee"><TD colSpan=2>การจำแนกโรคหรืออาการ และแหล่งข้อมูลอื่น</TD></TR><TR><TH>ICD-10</TH><TD>B24.</TD></TR><TR><TH>ICD-9</TH><TD>042</TD></TR><TR><TH>DiseasesDB</TH><TD>5938</TD></TR><TR><TH>MedlinePlus</TH><TD>000594</TD></TR><TR><TH>eMedicine</TH><TD>emerg/253 </TD></TR><TR><TH>MeSH</TH><TD>D000163</TD></TR></TBODY></TABLE>เอดส์ หรือ กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม<SUP id=cite_ref-royin_0-0 class=reference>[1]</SUP> (Acquired Immune Deficiency Syndrome - AIDS) เป็นกลุ่มอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเพราะร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ที่เป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดน้อยลง จึงทำให้การติดเชื้อโรคได้ฉวยโอกาสแทรกซ้อนเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรคในปอด หรือต่อมน้ำเหลือง เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา โรคผิวหนังบางชนิด หรือเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตมักเกิดขึ้นจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้อาการจะรุนแรง และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
    ปัจจุบันเอดส์มีการตรวจพบทั่วโลก และประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตเนื่องจากเอดส์ อย่างน้อย 25 ล้านคน ตั้งแต่ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) นับเป็นโรคที่มีอันตรายสูงโรคหนึ่งของประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติ ในปี พ.ศ. 2548 ประมาณการว่ามีผู้ติดเอดส์ประมาณ 3.1 ล้านคน (ระหว่าง 2.8 - 3.6 ล้าน) ซึ่ง 570,000 คนของผู้ป่วยเอดส์เป็นเด็ก (UNAIDS, 2005)
    <TABLE id=toc class=toc><TBODY><TR><TD>เนื้อหา


    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT> ความหมายของเอดส์


    คำว่า เอดส์ มาจากภาษาอังกฤษว่า AIDS ซึ่งย่อมาจากคำเต็มว่า Acquired Immune Deficiency Syndrome ซึ่งแต่ละคำมีความหมายดังนี้
    • A = Acquired หมายถึง เกิดขึ้นภายหลัง ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิดหรือสืบทอดทางกรรมพันธุ์
    • I = Immune หมายถึง ระบบภูมิต้านทานหรือระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
    • D = Deficiency หมายถึง ความบกพร่อง การขาดไปหรือเสื่อม
    • S = Syndrome หมายถึง กลุ่มอาการคือมีอาการหลาย ๆ อย่างไม่เฉพาะที่ระบบใดระบบหนึ่ง
    รวมแปลว่า “กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม” เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชไอวี เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เสื่อมหรือบกพร่องลง เป็นผลทำให้เป็นโรคติดเชื้อหรือเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ อาการมักจะรุนแรง เรื้อรัง และเสียชีวิตในที่สุด
    พยาธิสรีรวิทยา

    เชื้อเอชไอวีเป็นเชื้อไวรัสในกลุ่ม Lentivirus ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มไวรัส Retrovirus ไวรัสกลุ่มนี้ขึ้นชื่อในด้านการมีระยะแฝงนาน การทำให้มีเชื้อไวรัสในกระแสเลือดนาน การติดเชื้อในระบบประสาท และการทำให้ภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้ออ่อนแอลง เชื้อเอชไอวีมีความจำเพาะต่อเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 T lymphocyte และ Monocyte สูงมาก โดยจะจับกับเซลล์ CD4 และฝังตัวเข้าไปภายใน เชื้อเอชไอวีจะเพิ่มจำนวนโดยสร้างสายดีเอ็นเอโดยเอนไซม์ Reverse transcryptase หลังจากนั้นสายดีเอ็นเอของไวรัสจะแทรกเข้าไปในสายดีเอ็นเอของผู้ติดเชื้ออย่างถาวร และสามารถเพิ่มจำนวนต่อไปได้

    อาการ

    <TABLE class="noprint metadata plainlinks ambox ambox-style"><TBODY><TR><TD class=mbox-image>[​IMG]

    </TD><TD class=mbox-text>บทความนี้ควรปรับปรุงภาษาหรือรูปแบบการเขียน เนื่องจากมีเนื้อหาที่แปลไม่สมบูรณ์ <SMALL>(ดูเพิ่ม)</SMALL> สะกดหรือใช้ไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง หรือเขียนด้วยภาษาพูด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ และแก้ไขรูปแบบให้เป็นสารานุกรม</TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG] [​IMG]
    โครงสร้างของเชื้อเอชไอวี


    เชื้อเอชไอวีทำลายเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซท์ ที่มีชื่อว่า CD4 เมื่อเม็ดเลือดขาวชนิดนี้ต่ำลง จะทำให้ร่างกายขาดภูมิคุ้มกัน และเกิดอาการของโรคติดเชื้อฉวยโอกาสแทรกซ้อนในที่สุด
    ภายหลังการได้รับเชื้อ ร่างกายต้องใช้เวลาในการสร้างปฏิกิริยาตอบสนองต่อเชื้อ ในปัจจุบันในการวินิจฉัยว่าติดเชื้อหรือไม่ เราไม่ได้ตรวจหาเชื้อโดยตรง แต่เป็นการตรวจว่าร่างกายเรามีปฏิกิริยาต่อเชื้อหรือไม่ โดยการตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อเอชไอวี (Anti-HIV antibody) ซึ่งการตรวจดังกล่าวอาจให้ผลลบได้ในกรณีที่ได้รับเชื้อมาใหม่ ๆ เนื่องจากร่างกายยังไม่ได้สร้างปฏิกิริยาตอบสนอง
    ภายหลังการรับเชื้อบางรายอาจไม่มีอาการใด ๆ เลย บางรายอาจมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัสทั่ว ๆ ไป เช่น มีไข้ ผื่นตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ อาการมักกินเวลาสั้น ๆ และหายไปได้เอง หลังจากนั้นผู้ป่วยจะไม่มีอาการใด ๆ เลย
    เชื้อไวรัสจะส่งผลให้ระดับเม็ดเลืดขาวที่เรียกว่าซีดีโฟร์ลดลงอย่างช้า ๆ จนผู้ป่วยเริ่มเกิดอาการของเอชไอวีเกิดขึ้น เช่นฝ้าในปาก ผึ่นคันตามตัว น้ำหนักลด โดยส่วนใหญ่มักเกิดอาการเมื่อระดับซีดีโฟร์ต่ำกว่า 200 cell/mm3
    อัตราเฉลี่ยของประเทศไทยตั้งแต่รับเชื้อจนเริ่มป่วยใช้เวลา 7-10 ปี ในช่วงที่เรามีเชื้อเอชไอวีอยู่ในร่างกายแต่ไม่ป่วยเพราะเรายังมีภูมิคุ้มกันที่ยังควบคุม หรือจัดการกับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ เรียกว่า เป็นผู้ติดเชื้อ และเมื่อภูมิคุ้มกันถูกทำลายเหลือจำนวนน้อย จนไม่สามารถควบคุม หรือจัดการกับเชื้อโรคบางอย่างได้ทำให้เราป่วยด้วยเชื้อโรคนั้น ๆ เรียกว่าเราเริ่มมี ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นผู้ป่วยเอดส์ โรคที่เราป่วยเนื่องจากภาวะภูมิบกพร่อง เรียกว่า โรคฉวยโอกาส

    แนวทางการดูแลผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์ที่สำคัญในปัจจุบัน


    มีอยู่สองแนวทาง ที่ต้องให้การดูแลควบคู่กันไปคือ
    1. การป้องกันและรักษาโรคฉวยโอกาส ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือป่วยด้วยโรคฉวยโอกาส (ที่สำคัญคือ หลายโรคป้องกันได้ และทุกโรครักษาได้)
    2. การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี เพื่อลดปริมาณไวรัสในเลือดให้น้อยที่สุดและควบคุมปริมาณไวรัสให้อยู่ในระดับต่ำนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งจะส่งผลให้ระดับภูมิคุ้มกันสูงขึ้น ลดโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคฉวยโอกาส
    สาเหตุการติดเชื้อ


    เชื้อไวรัสเอชไอวีพบในเลือดและสารคัดหลั่งหลายชนิดของร่างกาย ได้แก่ น้ำอสุจิ เมือกในช่องคลอดสตรี น้ำนม น้ำลาย และอาจพบได้ในปริมาณน้อยๆ ในน้ำตาและปัสสาวะ เมื่อพิจารณาจาก แหล่งเชื้อแล้วจะพบว่าเชื้อไวรัสเอชไอวีติดต่อได้ หลายวิธีคือ
    • การมีเพศสัมพันธ์ เกิดขึ้นได้ทั้งการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน และกับเพศตรงข้าม
    • การรับเลือดและองค์ประกอบของเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะรวมทั้งไขกระดูกและน้ำอสุจิที่ใช้ผสมเทียมซึ่งมีเชื้อ แต่ในปัจจุบันปัญหานี้ได้ลดลงไปจนเกือบหมด เนื่องจากมีการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีในผู้บริจาคเหล่านี้ รวมทั้งคัดเลือกกลุ่มผู้บริจาคซึ่งไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น ไม่รับบริจาคเลือดจากผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น เป็นต้น
    • การใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาเสพติดร่วมกัน และของมีคมที่สัมผัสเลือด
    • จากมารดาสู่ทารก ทารกมีโอกาสรับเชื้อได้หลายระยะ ได้แก่ เชื้อไวรัสแพร่มาตามเลือดสายสะดือสู่ทารกในครรภ์ ติดเชื้อขณะคลอด จากเลือดและเมือกในช่องคลอด ติดเชื้อในระยะเลี้ยงดูโดยได้รับเชื้อจากน้ำนม จะเห็นได้ว่าวิธีการติดต่อเหล่านี้เหมือนกับไวรัสตับอักเสบบีทุกประการ ดังนั้นถ้าไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ก็จะไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ด้วย
    การวินิจฉัย

    การวินิจฉัยโรคเอดส์ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีทำได้โดยดูว่าผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดงตามที่กำหนดหรือไม่ ตั้งแต่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1981 มีการให้คำนิยามของเอดส์หลายคำนิยามใช้เพื่อจัดตั้งการเฝ้าระวังทางวิทยาการระบาดอย่างคำนิยาม Bangui (Bangui definition) และคำนิยามกรณีผู้ป่วยโรคเอดส์โดยองค์การอนามัยโลก ฉบับเพิ่มเติมปี ค.ศ. 1994 (1994 expanded World Health Organization AIDS case definition) อย่างไรก็ดีเป้าหมายของระบบเหล่านี้ไม่ใช่เพื่อการแบ่งแยกระดับทางคลินิกของผู้ป่วยเอดส์ และก็ไม่มีความไว (sensitive) หรือความจำเพาะ (specific) แต่อย่างใดด้วย สำหรับในประเทศกำลังพัฒนานั้นองค์การอนามัยโลกได้สร้างระบบแบ่งระดับผู้ติดเชื้อเอชไอวีตามอาการทางคลินิกและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ส่วนในประเทศพัฒนาแล้วจะใช้ระบบจำแนกประเภทของศูนย์ควบคุมโรค (Centers for Disease Control - CDC)
    ระบบการแบ่งระยะ (staging) โรคเอดส์ขององค์การอนามัยโลก


    <DL><DD>ดูบทความหลักที่ ระบบการแบ่งระยะโรคติดเชื้อเอชไอวีโดยองค์การอนามัยโลก

    </DD></DL>ในปี ค.ศ. 1990 องค์การอนามัยโลก (World Health Organization - WHO) ได้จัดกลุ่มภาวะและการติดเชื้อเหล่านี้ไว้ด้วยกันโดยเสนอระบบการแบ่งระยะโรคของผู้ติดเชื้อเอชไอวี-1<SUP id=cite_ref-WHO_1-0 class=reference>[2]</SUP> ต่อมาจึงได้รับการปรับปรุงแก้ไขในเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 ภาวะส่วนใหญ่ที่ระบุไว้นี้เป็นการติดเชื้อฉวยโอกาสที่มักจะรักษาได้ง่ายในคนปกติ
    • ระยะที่ 1: การติดเชื้อเอชไอวี ไม่มีอาการ ไม่จัดเป็นโรคเอดส์
    • ระยะที่ 2: มีการแสดงออกทางเยื่อบุเมือก และการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบนเป็นซ้ำ (recurrent)
    • ระยะที่ 3: นับรวมเอาอาการท้องเสียเรื้อรังนานกว่าหนึ่งเดือนที่ไม่มีคำอธิบาย การติดเชื้อแบคทีเรียรุนแรง และวัณโรคปอด
    • ระยะที่ 4: นับรวมเอาการติดเชื้อทอกโซพลาสมาในสมอง การติดเชื้อราแคนดิดาในหลอดอาหาร หลอดลม หรือปอด และเนื้องอกคาโปซี โรคเหล่านี้บ่งชี้ถึงเอดส์
    ระบบการจำแนกประเภทของซีดีซี


    <DL><DD>ดูบทความหลักที่ ระบบการจำแนกประเภทการติดเชื้อเอชไอวีของซีดีซี

    </DD></DL>นิยามหลักๆ ของเอดส์มีสองนิยาม ทั้งสองนิยามได้รับการกำหนดโดยซีดีซี (Centers for Disease Control and Prevention) โดยนิยามเดิมอาศัยโรคที่พบร่วมกับเอดส์ เช่น พยาธิสภาพของต่อมน้ำเหลือง (lymphadenopathy) ซึ่งเป็นโรคที่เคยใช้เป็นชื่อของไวรัสเอชไอวี<SUP id=cite_ref-MMWR1982a_2-0 class=reference>[3]</SUP><SUP id=cite_ref-Barre_3-0 class=reference>[4]</SUP> ในปี ค.ศ. 1993 ซีดีซีได้ขยายคำนิยามสำหรับโรคเอดส์ให้ครอบคลุมถึงผู้มีผลตรวจเอชไอวีเป็นบวกทุกคนที่มีระดับเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 น้อยกว่า 200 เซลล์ต่อไมโครลิตร หรือน้อยกว่า 14% ของเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ทั้งหมด<SUP id=cite_ref-MMWR_4-0 class=reference>[5]</SUP> กรณีผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ๆ ในประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ ได้รับการวินิจฉัยโดยใช้นิยามนี้หรือนิยามเดิมปี ค.ศ. 1993 โดยคำวินิจฉัยเอดส์นั้นจะยังคงอยู่แม้ระดับ CD4 จะสูงกว่า 200 เซลล์ต่อไมโครลิตร หรือโรคที่พบร่วมกับเอดส์จะหายแล้ว หลังการรักษา
    การตรวจเอชไอวี


    <DL><DD>ดูบทความหลักที่ การตรวจเอชไอวี

    </DD></DL>ผู้ป่วยจำนวนมากไม่รู้ตัวเองติดเชื้อเอชไอวี<SUP id=cite_ref-Kumaranayake_5-0 class=reference>[6]</SUP> ชาวเมืองในแอฟริกาที่มีเพศสัมพันธ์น้อยกว่า 1% เท่านั้นที่เคยได้รับการตรวจเอชไอวี และยิ่งน้อยกว่านี้ในชนบท นอกจากนั้นหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับบริการทางการแพทย์เพียง 0.5% เท่านั้นที่ได้รับการให้คำแนะนำ ตรวจ และรับผลตรวจ และยิ่งมีสัดส่วนน้อยกว่านี้ในชนบทอีกเช่นกัน<SUP id=cite_ref-Kumaranayake_5-1 class=reference>[6]</SUP> ดังนั้นเลือดและส่วนประกอบของเลือดรับบริจาคที่ใช้ในการแพทย์และงานวิจัยทางการแพทย์จึงต้องได้รับการตรวจคัดกรองเอชไอวี
    การตรวจเอชไอวีส่วนมากใช้ตรวจกับเลือดจากหลอดเลือดดำ ห้องตรวจทางปฏิบัติการหลายแห่งใช้วิธีการตรวจคัดกรองเอชไอวี "รุ่นที่สี่" ซึ่งตรวจหาแอนติบอดีต่อเอชไอวี (แอนติ-เอชไอวี - anti-HIV) ทั้งที่เป็น IgG และ IgM และแอนติเจนเอชไอวี p24 การตรวจพบแอนติบอดีหรือแอนติเจนต่อเอชไอวีในผู้ป่วยที่ทราบอยู่เดิมว่าผลเป็นลบนั้นถือเป็นหลักฐานของการติดเชื้อเอชไอวี สำหรับคนที่สิ่งตรวจครั้งแรกตรวจพบหลักฐานของการติดเชื้อเอชไอวีนั้นจะได้รับการตรวจซ้ำในตัวอย่างเลือดที่สองเพื่อยืนยันผลการตรวจ
    ระยะแฝง (window period) ซึ่งเป็นช่วงเวลาระหว่างการได้รับเชื้อจนถึงการมีแอนติบอดีมากพอที่จะตรวจพบ อาจแตกต่างกันได้ในแต่ละคนตั้งแต่ 3 เดือน ทั้งนี้สามารถตรวจพบไวรัสได้ในระยะแฝงโดยใช้วิธีตรวจด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส มีหลักฐานยืนยันว่าสามารถตรวจพบได้ก่อนที่จะตรวจพบด้วยการตรวจคัดกรอง EIA รุ่นที่สี่
    ผลบวกจากการตรวจด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสจะได้รับการยืนยันอีกครั้งด้วยการตรวจหาแอนติบอดี<SUP id=cite_ref-pmid16706742_6-0 class=reference>[7]</SUP> การตรวจเอชไอวีที่ทำเป็นประจำในทารกแรกเกิดและเด็กเล็ก (อายุน้อยกว่า 2 ปี)<SUP id=cite_ref-emed_7-0 class=reference>[8]</SUP> ที่มารดามีผลบวกเอชไอวีนั้นไม่เกิดประโยชน์เนื่องจากแอนติบอดีของแม่สามารถคงอยู่ในเลือดของเด็กได้ ดังนั้นในเด็กจึงต้องวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสต่อโปรไวรัลดีเอ็นเอในลิมโฟซัยต์ของเด็ก<SUP id=cite_ref-pmid11791341_8-0 class=reference>[9]</SUP>
    การป้องกัน

    <TABLE style="FLOAT: right; MARGIN-LEFT: 15px; FONT-SIZE: 85%" class=wikitable border=1><CAPTION>ประมาณความเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวี
    แยกตามวิธีการรับเชื้อ
    (ข้อมูลประเทศสหรัฐอเมริกา) <SUP id=cite_ref-MMWR3_9-0 class=reference>[10]</SUP>
    </CAPTION><TBODY><TR style="BACKGROUND: #efefef"><TH style="WIDTH: 100px" abbr=Route>ช่องทางการรับเชื้อ</TH><TH style="WIDTH: 130px" abbr=Infections>ประมาณการติดเชื้อ
    ต่อ 10,000 การสัมผัส
    ต่อแหล่งเชื้อ
    </TH></TR><TR><TH style="TEXT-ALIGN: left">การรับเลือด</TH><TD>9,000<SUP id=cite_ref-Donegan_10-0 class=reference>[11]</SUP></TD></TR><TR><TH style="TEXT-ALIGN: left">การคลอดบุตร <SMALL>(ติดต่อไปยังทารก)</SMALL></TH><TD>2,500<SUP id=cite_ref-Coovadia_11-0 class=reference>[12]</SUP></TD></TR><TR><TH style="TEXT-ALIGN: left">การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน</TH><TD>67<SUP id=cite_ref-Kaplan_12-0 class=reference>[13]</SUP></TD></TR><TR><TH style="TEXT-ALIGN: left">การถูกเข็มตำ</TH><TD>30<SUP id=cite_ref-Bell_13-0 class=reference>[14]</SUP></TD></TR><TR><TH style="TEXT-ALIGN: left">เพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก (ฝ่ายรับ)<SUP>*</SUP></TH><TD>50<SUP id=cite_ref-ESG_14-0 class=reference>[15]</SUP><SUP id=cite_ref-Varghese_15-0 class=reference>[16]</SUP></TD></TR><TR><TH style="TEXT-ALIGN: left">เพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก (ฝ่ายสอดใส่)<SUP>*</SUP></TH><TD>6.5<SUP id=cite_ref-ESG_14-1 class=reference>[15]</SUP><SUP id=cite_ref-Varghese_15-1 class=reference>[16]</SUP></TD></TR><TR><TH style="TEXT-ALIGN: left">เพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด (หญิง)<SUP>*</SUP></TH><TD>10<SUP id=cite_ref-ESG_14-2 class=reference>[15]</SUP><SUP id=cite_ref-Varghese_15-2 class=reference>[16]</SUP><SUP id=cite_ref-Leynaert_16-0 class=reference>[17]</SUP></TD></TR><TR><TH style="TEXT-ALIGN: left">เพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด (ชาย)<SUP>*</SUP></TH><TD>5<SUP id=cite_ref-ESG_14-3 class=reference>[15]</SUP><SUP id=cite_ref-Varghese_15-3 class=reference>[16]</SUP></TD></TR><TR><TH style="TEXT-ALIGN: left">เพศสัมพันธ์ทางปาก (ฝ่ายรับ)<SUP></SUP></TH><TD>1<SUP id=cite_ref-Varghese_15-4 class=reference>[16]</SUP></TD></TR><TR><TH style="TEXT-ALIGN: left">เพศสัมพันธ์ทางปาก (ฝ่ายสอดใส่)<SUP></SUP></TH><TD>0.5<SUP id=cite_ref-Varghese_15-5 class=reference>[16]</SUP></TD></TR><TR style="BACKGROUND: #efefef"><TH style="BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" colSpan=5><SUP>*</SUP> อนุมานว่าไม่มีการใช้ถุงยางอนามัย
    <SUP>§</SUP> หมายถึงการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
    กับอวัยวะเพศชาย
    </TH></TR></TBODY></TABLE>เชื้อเอชไอวีติดต่อกันได้สามวิธีหลักๆ คือการมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสสารคัดหลั่งหรือเนื้อเยื่อ และจากมารดาไปสู่ทารกปริกำเนิด นอกจากนี้ยังอาจพบเชื้อได้ในน้ำลาย น้ำตา และปัสสาวะของผู้ติดเชื้อ แต่ยังไม่มีรายงานการติดเชื้อ ความเสี่ยงของการติดเชื้อผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งเหล่านี้อาจถือได้ว่าไม่มี<SUP id=cite_ref-17 class=reference>[18]</SUP>
    เพศสัมพันธ์

    การติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันระหว่างคู่นอนที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเชื้อเอชไอวี การติดต่อของเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่ในโลกเป็นการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ระหว่างเพศชายและหญิง<SUP id=cite_ref-18 class=reference>[19]</SUP><SUP id=cite_ref-19 class=reference>[20]</SUP><SUP id=cite_ref-20 class=reference>[21]</SUP>
    การใช้ถุงยางอนามัย ไม่ว่าจะเป็นชนิดสำหรับผู้ชายหรือผู้หญิง เป็นทางเดียวที่สามารถลดโอกาสในการติดเชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และการตั้งครรภ์ได้ หลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สุดในปัจจุบันระบุว่าถุงยางอนามัยโดยทั่วไปสามารถลดการติดเชื้อเอชไอวีทางการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิงได้ประมาณ 80% ในระยะยาว โดยประโยชน์ของการใช้ถุงยางอนามัยน่าจะยิ่งมีมากขึ้นหากได้ใช้ถุงยางอนามัยในทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์<SUP id=cite_ref-Cayley_21-0 class=reference>[22]</SUP>
    ถุงยางอนามัยสำหรับเพศชายแบบที่ทำด้วยลาเทกซ์นั้นหากใช้อย่างถูกต้องโดยไม่ใช้สารหล่อลื่นที่มีน้ำมันเป็นส่วนผสมแล้วจะเป็นเทคโนโลยีที่ได้ประสิทธิภาพดีที่สุดในการลดการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆได้ ผู้ผลิตแนะนำว่าสารหล่อลื่นที่มีส่วนผสมของน้ำมันเช่นเจลปิโตรเลียม เนย หรือน้ำมันสัตว์นั้นไม่สามารถใช้กับถุงยางอนามัยที่ทำจากลาเทกซ์ได้เนื่องจากจะทำให้ลาเทกซ์ละลาย ทำให้ถุงยางอนามัยมีรู<SUP class="noprint Template-Fact">[ต้องการอ้างอิง]</SUP> หากจำเป็นผู้ผลิตแนะนำว่าควรใช้สารหล่อลื่นที่มีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำจะดีกว่า อย่างไรก็ดีสารหล่อลื่นที่มีน้ำมันเป็นส่วนผสมยังสามารถใช้กับถุงยางอนามัยที่ทำจากโพลียูรีเทนได้<SUP id=cite_ref-Durex_22-0 class=reference>[23]</SUP>
    การศึกษาแบบ randomized controlled trial หลายอันแสดงให้เห็นว่าการขลิบอวัยวะเพศชายลดอัตราเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์แบบชายหญิงได้สูงสุด 60%<SUP id=cite_ref-23 class=reference>[24]</SUP> จึงน่าเชื่อว่าการขลิบจะได้รับการแนะนำให้ทำกันมากขึ้นในหลายๆ ประเทศที่ได้รับผลจากเอชไอวี ถึงแม้การแนะนำนั้นจะต้องเจอกับปัญหาประเด็นทางการทำได้จริง วัฒนธรรม และทัศนคติอีกมาก อย่างไรก็ดีโครงการที่กระตุ้นการใช้ถุงยางอนามัยรวมทั้งการแจกฟรีให้กับผู้ที่มีรายได้น้อยนั้นเชื่อว่ามีความคุ้มค่าในการลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวีใน sub-Saharan Africa มากกว่าการขลิบถึงประมาณ 95 เท่า<SUP id=cite_ref-24 class=reference>[25]</SUP>
    ผู้เชี่ยวชาญบางคนเกรงว่าความรู้สึกว่ามีความปลอดภัยมากขึ้นที่ได้รับจากการขลิบอวัยวะเพศอาจทำให้ผู้รับการขลิบมีพฤติกรรมความเสี่ยงทางเพศมากขึ้น ทำให้เป็นการลดผลการป้องกันโรคที่มี<SUP id=cite_ref-25 class=reference>[26]</SUP> อย่างไรก็ดีมีการศึกษาแบบ randomized controlled trial ชิ้นหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าการขลิบในชายวัยผู้ใหญ่ไม่มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ<SUP id=cite_ref-26 class=reference>[27]</SUP>
    การสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่มีเชื้อ

    ผู้ปฏิบัติงานทางสาธารณสุขสามารถลดการสัมผัสเชื้อเอชไอวีได้โดยปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง (precaution) เพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสเลือดที่มีเชื้อ มาตรการระมัดระวังเหล่านี้เช่นการใช้สิ่งกำบังเช่นถุงมือ หน้ากาก กระจกกันตา เสื้อกาวน์ ผ้ากันเปื้อน ซึ่งลดโอกาสที่เชื้อจะสัมผัสผิวหนังหรือเยื่อบุ การล้างผิวหนังมากครั้งและทั่วถึงหลังสัมผัสกับเลือดหรือสารหลั่งอื่นๆ สามารถลดโอกาสติดเชื้อได้ ที่สำคัญคือวัตถุมีคมเช่นเข็ม ใบมีด กระจก จะต้องถูกทิ้งอย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันอุบัติเหตุถูกเข็มตำ<SUP id=cite_ref-27 class=reference>[28]</SUP> ในบางประเทศที่มีการติดเชื้อผ่านการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันมาก มีการนำวิธีการเช่นโครงการแลกเข็มมาใช้เพื่อลดผลเสียที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาเสพติด<SUP id=cite_ref-28 class=reference>[29]</SUP><SUP id=cite_ref-29 class=reference>[30]</SUP>
    การติดต่อจากแม่สู่ลูก

    แนวทางปัจจุบันกำหนดไว้ว่าหากสามารถใช้อาหารอื่นทดแทนได้ มารดาที่มีเชื้อเอชไอวีไม่ควรให้นมบุตร อย่างไรก็ดี หากไม่สามารถทำได้แนะนำว่าควรให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียวในช่วงเดือนแรกๆ และหย่านมให้เร็วที่สุด<SUP id=cite_ref-30 class=reference>[31]</SUP> รวมทั้งการให้นมทารกที่ไม่ใช่บุตรด้วย
    การศึกษาและความรู้

    การป้องกันที่สำคัญที่สุดที่จะลดพฤติกรรมเสี่ยงได้คือการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน มีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบทางบวกที่การศึกษาและการอ่านออกเขียนได้มีต่อพฤติกรรมทางเพศให้มีความระมัดระวังมากขึ้น การศึกษาเพียงอย่างเดียวนั้นไม่มีผลแต่จะช่วยนำไปสู่การมีความรู้ทางสุขภาพและความคิดอ่านทั่วไปมากขึ้น ทำให้ประชาชนมีความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมเสี่ยงของตัวเองกับผลที่จะตามมาจากการติดเชื้อเอชไอวีได้<SUP id=cite_ref-31 class=reference>[32]</SUP>
    การรักษา

    ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีใช้ทั่วไป และไม่มีวิธีรักษาการติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์ให้หายขาด วิธีป้องกันโรคอย่างเดียวที่มีใช้อยู่คือการหลีกเลี่ยงการได้รับเชื้อไวรัส หรือถ้าได้รับมาแล้วก็ต้องใช้ยาต้านไวรัสทันทีหลังจากการได้รับเชื้อ หรือ post-exposure prophylaxis (การป้องกันโรคหลังการสัมผัส - PEP) <SUP id=cite_ref-32 class=reference>[33]</SUP> การป้องกันโรคหลังการสัมผัสนี้ต้องให้ยาติดต่อกันสี่สัปดาห์โดยมีตารางเคร่งครัด และมีผลข้างเคียงเช่น ท้องเสีย ความรู้สึกไม่สบาย คลื่นไส้ และ อ่อนเพลีย<SUP id=cite_ref-PEPpocketguide_33-0 class=reference>[34]</SUP>
    ยาต้านไวรัส

    ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีทำได้โดยการให้ยาต้านไวรัสด้วยวิธี highly active antiretroviral therapy หรือ HAART<SUP id=cite_ref-DhhsHivTreatment_34-0 class=reference>[35]</SUP> ซึ่งวิธีการรักษาแบบ HAART ที่ใช้ยา protease inhibitor ได้ใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 และได้ผลดีมากต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี<SUP id=cite_ref-Palella_35-0 class=reference>[36]</SUP> สูตรยาต้านไวรัสแบบ HAART ที่ดีที่สุดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้เป็นการผสมยาต้านไวรัสอย่างน้อยสามชนิดในกลุ่มยาต้านไวรัสอย่างน้อยสองกลุ่ม สูตรที่ใช้ทั่วไปประกอบด้วยยาในกลุ่ม nucleoside analogue reverse transcriptase inhibitor (NRTR หรือ NARTI) สองตัว ร่วมกับยาในกลุ่ม protease inhibitor หรือ non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor (NNRTI) อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากการดำเนินโรคของการติดเชื้อเอชไอวีในเด็กดำเนินไปอย่างรวดเร็วกว่าในผู้ใหญ่ และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการหลายอย่างก็ไม่สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงของการดำเนินโรคได้ในเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก การรักษาที่แนะนำสำหรับเด็กจึงเป็นสูตรยาที่แรงกว่าในผู้ใหญ่<SUP id=cite_ref-2005dhhsHivChildren_36-0 class=reference>[37]</SUP> ในประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมีการใช้สูตรยา HAART นั้น แพทย์จะเป็นผู้สั่งตรวจระดับ viral load, ความรวดเร็วในการลดจำนวนลงของเซลล์ CD4 และความพร้อมของผู้ป่วยในการเลือกรับการรักษา ก่อนที่จะเริ่มการรักษา<SUP id=cite_ref-2005DhhsHivTreatment_37-0 class=reference>[38]</SUP>
    เป้าหมายทั่วไปของการรักษาโดยสูตรยา HAART คือการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ลดภาวะแทรกซ้อน และลดจำนวนไวรัสเอชไอวีในกระแสเลือดให้อยู่ต่ำกว่าระดับที่ตรวจวัดได้ แต่ทั้งนี้ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยให้หายจากการติดเชื้อเอชไอวีได้ เมื่อหยุดยาแล้วเชื้อเอชไอวีก็สามารถเพิ่มจำนวนกลับมาก่อโรคได้ และเชื้อที่เพิ่มจำนวนขึ้นมานี้มักดื้อต่อยาต้านไวรัส<SUP id=cite_ref-martinez_38-0 class=reference>[39]</SUP><SUP id=cite_ref-Dybul_39-0 class=reference>[40]</SUP> ทั้งนี้เวลาที่ต้องใช้ในการกำจัดไวรัสให้หมดไปจากร่างกายด้วยการใช้ยาต้านไวรัสนั้นก็นานกว่าอายุขัยของคนปกติ<SUP id=cite_ref-blankson_40-0 class=reference>[41]</SUP> อย่างไรก็ดีผู้ติดเชื้อเอชไอวีหลายคนรู้สึกได้ถึงสุขภาพทั่วไปและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งนำไปสู่การลดลงของอัตราการตายและอัตราการเป็นโรคที่เกี่ยวเนื่องกับเอชไอวี<SUP id=cite_ref-Pallelal_41-0 class=reference>[42]</SUP><SUP id=cite_ref-Wood_42-0 class=reference>[43]</SUP><SUP id=cite_ref-Chene_43-0 class=reference>[44]</SUP> ในขณะที่หากไม่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ผู้ป่วยจะมีการดำเนินโรคจากการติดเชื้อเอชไอวีไปยังการเป็นเอดส์ด้วยมัธยฐานระหว่าง 9-10 ปี และ median survival time หลังจากดำเนินเป็นโรคเอดส์แล้วที่ 9.2 เดือน<SUP id=cite_ref-Morgan2_44-0 class=reference>[45]</SUP> เชื่อกันว่าการรักษาด้วยยาต้านไวรัสสูตร HAART ทำให้เพิ่มอายุขัยได้ระหว่าง 4-12 ปี<SUP id=cite_ref-JTKing_45-0 class=reference>[46]</SUP><SUP id=cite_ref-Tassie_46-0 class=reference>[47]</SUP>
    สำหรับผู้ป่วยกว่าครึ่งการใช้สูตรยา HAART นั้นได้ผลไม่เต็มที่ เนื่องจากผู้ป่วยทนผลข้างเคียงของยาไม่ได้ หรือได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสแบบไม่เต็มที่มาก่อน หรือติดเชื้อเอชไอวีสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาต้านไวรัส สาเหตุส่วนใหญ่ของการที่ผู้ป่วยได้ผลจากยาไม่เต็มที่ส่วนใหญ่มาจากการกินยาไม่ต่อเนื่องหรือไม่สม่ำเสมอ<SUP id=cite_ref-becker_47-0 class=reference>[48]</SUP> สาเหตุของการกินยาไม่ต่อเนื่องหรือไม่สม่ำเสมอนั้นมีหลายอย่าง ส่วนใหญ่เป็นปัญหาทางจิตสังคมรวมถึงการขาดโอกาสเข้าถึงการรักษาพยาบาล การไม่มีปัจจัยสนับสนุนทางสังคม โรคทางจิตเวช และการใช้ยาอย่างไม่ถูกต้อง สูตรยา HAART นั้นบางครั้งซับซ้อนและใช้ยาก ลืมง่าย เนื่องจากมียาจำนวนมากที่ต้องกินบ่อยครั้ง<SUP id=cite_ref-Nieuwkerk_48-0 class=reference>[49]</SUP><SUP id=cite_ref-Kleeberger_49-0 class=reference>[50]</SUP><SUP id=cite_ref-heath_50-0 class=reference>[51]</SUP> ผลข้างเคียงของยาก็สามารถทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ยาต้านไวรัสได้อย่างต่อเนื่อง ผลข้างเคียงเหล่านี้เช่น lipodystrophy (ไขมันเจริญผิดรูป), dyslipidemia (ไขมันในเลือดสูง), ท้องเสีย, ภาวะดื้ออินซูลิน, เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคทางหัวใจและหลอดเลือดและความผิดปกติแต่กำเนิด<SUP id=cite_ref-Burgoyne2008_51-0 class=reference>[52]</SUP> นอกจากนั้นยาต้านไวรัสยังมีราคาแพง และผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่บนโลกยังไม่มีโอกาสเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขอีกด้วย
    สำหรับในประเทศไทยมียา GPO Vir S และ GPO Vir Z
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; MARGIN: 10px 0px 0px; BACKGROUND: none transparent scroll repeat 0% 0%; CLEAR: left; FONT-SIZE: 95%; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted" cellSpacing=0 cellPadding=3><TBODY><TR><TD vAlign=top width=40 align=middle>[​IMG]</TD><TD style="COLOR: #696969" align=left>ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้</TD></TR></TBODY></TABLE> การรักษาเชิงทดลอง

    การแพทย์ทางเลือก

    พยากรณ์โรค

    หากไม่ได้รับการรักษาแล้วผู้ป่วยจะมี median survival time หลังติดเชื้อเอชไอวีจะอยู่ที่ประมาณ 9-11 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อเอชไอวีที่ได้รับ<SUP id=cite_ref-UNAIDS2007_52-0 class=reference>[53]</SUP> และ median survival rate หลังจากได้รับการวินิจฉัยโรคเอดส์ในพื้นที่ที่ไม่มียารักษาอยู่ระหว่าง 6-19 เดือน ตามแต่ละการศึกษาวิจัย<SUP id=cite_ref-53 class=reference>[54]</SUP> ในพื้นที่ที่มายารักษาเข้าถึงได้ทั่วไปนั้นการใช้ยาต้านไวรัสแบบ HAART เป็นการรักษาการติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ที่ได้ผลและลดอัตราการตายจากโรคลงได้ 80% เพิ่มอายุขัยของผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้เป็นประมาณ 20 ปี<SUP id=cite_ref-54 class=reference>[55]</SUP>
    ในขณะที่ยังมีการวิจัยหาวิธีรักษาใหม่ๆ และเชื้อเอชไอวียังมีการพัฒนาตัวเองอยู่เรื่อยๆ ให้ดื้อยาต้าน ประมาณการอายุขัยของผู้ป่วยยังต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสผู้ป่วยมักเสียชีวิตภายในหนึ่งปี <SUP id=cite_ref-Morgan2_44-1 class=reference>[45]</SUP> ผู้ป่วยส่วนใหญ่เสียชีวิตจากการติดเชื้อฉวยโอกาสหรือมะเร็งที่พบร่วมกับการสูญเสียการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน<SUP id=cite_ref-Lawn_55-0 class=reference>[56]</SUP> อัตราการดำเนินโรคนั้นแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคนและมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายอย่างตั้งแต่พื้นฐาน susceptibility และการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย<SUP id=cite_ref-Clerici_56-0 class=reference>[57]</SUP><SUP id=cite_ref-Morgan_57-0 class=reference>[58]</SUP><SUP id=cite_ref-Tang_58-0 class=reference>[59]</SUP> การดูแลสุขภาพ และการติดเชื้อร่วม<SUP id=cite_ref-Morgan2_44-2 class=reference>[45]</SUP><SUP id=cite_ref-Lawn_55-1 class=reference>[56]</SUP> รวมถึงว่าชนิดของไวรัสที่ได้รับ<SUP id=cite_ref-Campbell_59-0 class=reference>[60]</SUP><SUP id=cite_ref-Campbell2_60-0 class=reference>[61]</SUP><SUP id=cite_ref-Senkaali_61-0 class=reference>[62]</SUP>
    แม้จะได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสก็ตาม ผู้ติดเชื้อเอชไอวีอาจมีอาการทางระบบประสาท ภาวะกระดูกพรุน neuropathy มะเร็ง โรคไต และโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ยังไม่มีการยืนยันชัดเจนว่าภาวะเหล่านี้เกิดมาจากการติดเชื้อ เกิดจากภาวะแทรกซ้อน หรือเป็นผลข้างเคียงของการรักษา<SUP id=cite_ref-Woods2009_62-0 class=reference>[63]</SUP><SUP id=cite_ref-Brown2006_63-0 class=reference>[64]</SUP><SUP id=cite_ref-Nicholas2007_64-0 class=reference>[65]</SUP><SUP id=cite_ref-Boshoff2002_65-0 class=reference>[66]</SUP><SUP id=cite_ref-Yarchoan2005_66-0 class=reference>[67]</SUP><SUP id=cite_ref-Post2009_67-0 class=reference>[68]</SUP><SUP id=cite_ref-Burgoyne2008_51-1 class=reference>[52]</SUP><SUP id=cite_ref-68 class=reference>[69]</SUP>
    สาเหตุของภาวะป่วยจากการติดเชื้อเอดส์ที่พบมากที่สุดทั่วโลกคือการติดเชื้อวัณโรค
    ระบาดวิทยา

    [​IMG] [​IMG]
    ความชุกการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มคนอายุ 15-49 ปีในแต่ละประเทศ (ข้อมูลสิ้นปี ค.ศ. 2005)


    [​IMG] [​IMG]
    Disability-adjusted life year ของ HIV และ AIDS ต่อ 100,000 ประชากร ไม่มีข้อมูล ≤ 10 10-25 25-50 50-100 100-500 500-1000 1000-2500 2500-5000 5000-7500 7500-10000 10000-50000 ≥ 50000



    เอดส์กลายเป็นโรคระบาดทั่วและสามารถพบการระบาดของชนิดย่อยได้หลายๆ ชนิด ปัจจัยหลักที่ช่วยในการแพร่กระจายของโรคคือการมีเพศสัมพันธ์และการติดต่อจากแม่สู่ลูกผ่านการคลอดหรือการให้นมบุตร<SUP id=cite_ref-Kallings_69-0 class=reference>[70]</SUP> แม้ในปัจจุบันการเข้าถึงการรักษาพยาบาลและยาต้านไวรัสจะทั่วถึงมากขึ้นก็ตาม การระบาดทั่วของเอดส์ก็ยังมีจำนวนผู้ป่วยที่ยังมีชีวิตอยู่สูงถึงประมาณ 2.1 ล้านคน (1.9-2.4 ล้าน) ในช่วงปี ค.ศ. 2007 ในจำนวนนี้ 330,000 คนเป็นผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี<SUP id=cite_ref-UNAIDS2007_52-1 class=reference>[53]</SUP> Globally, an estimated 33.2 million people lived with HIV in 2007, including 2.5 million children. An estimated 2.5 million (range 1.8–4.1 million) people were newly infected in 2007, including 420,000 children.<SUP id=cite_ref-UNAIDS2007_52-2 class=reference>[53]</SUP>
    การระบาดทั่วของเอดส์ใน Sub-Saharan Africa ยังเป็นพื้นที่ที่มีความรุนแรงมากที่สุดอยู่จนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2550 มีผู้ป่วยเอดส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ 68% ของทั้งโลก และมีผู้เสียชีวิตจากเอดส์ 76% ของทั้งโลก
    สถานการณ์เอดส์ในประเทศไทย

    ศูนย์ข้อมูลทางระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานว่า กลุ่มอายุ 30 - 34 ปี มีผู้ป่วยสูงสุด (ร้อยละ 25.86) รองลงมาได้แก่ อายุ 25 - 29 ปี โดยพบว่า กลุ่มอายุต่ำสุด คือ กลุ่มอายุเพียง 10-14 ปี (ร้อยละ 0.29) เมื่อจำแนกตามอาชีพ พบว่า อาชีพรับจ้าง เป็นกลุ่มที่เป็นเอดส์มากที่สุด รองลงมา คือ เกษตรกรรม, ว่างงาน, ค้าขาย และแม่บ้าน
    ส่วนสาเหตุของการติดเชื้อเอดส์นั้น พบว่า ร้อยละ 83.97 ติดเชื้อเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์ รองลงมา คือ การฉีดยาเสพติดเข้าเส้น และติดเชื้อจากมารดา อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยที่ไม่ทราบถึงสาเหตุ ถึงร้อยละ 7.30
    ส่วนเชื้อฉวยโอกาส ที่สามารถตรวจพบในผู้ป่วยเอดส์มากที่สุด ได้แก่ เชื้อ Mycobacterium tuberculosis ซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดวัณโรค นั่นเอง
    ประวัติศาสตร์


    <DL><DD>ดูบทความหลักที่ ที่มาของเอดส์

    </DD></DL>มีรายงานถึงโรคเอดส์ครั้งแรกในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2526 เมื่อ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้บันทึกการระบาดของโรค Pneumocystis carinii pneumonia (ปัจจุบันเรียก Pneumocystis pneumonia จากเชื้อ Pneumocystis jirovecii) ในชายรักร่วมเพศ 5 คนในลอสแอนเจลิส<SUP id=cite_ref-MMWR2_70-0 class=reference>[71]</SUP> ในระยะแรก CDC ยังไม่มีชื่อเรียกโรคนี้ โดยมักเรียกตามลักษณะอาการที่ปรากฏของโรค เช่น lymphadenopathy (พยาธิสภาพของต่อมน้ำเหลือง) ซึ่งเป็นชื่อที่เคยใช้เป็นชื่อของไวรัสเอชไอวีเมื่อแรกค้นพบ<SUP id=cite_ref-MMWR1982a_2-1 class=reference>[3]</SUP><SUP id=cite_ref-Barre_3-1 class=reference>[4]</SUP> ชื่ออื่นเช่น Kaposi's Sarcoma and Opportunistic Infection (เนื้องอกคาโปซีที่มีการติดเชื้อฉวยโอกาส) ซึ่งเป็นชื่อที่มีการตั้งทีมงานดูแลในปี พ.ศ. 2524<SUP id=cite_ref-MMWR1982b_71-0 class=reference>[72]</SUP> โดยทั่วไปยังมีการใช้คำว่า GRID (Gay-related immune deficiency - ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องสัมพันธ์กับกลุ่มรักร่วมเพศ) อีกด้วย<SUP id=cite_ref-Altman_72-0 class=reference>[73]</SUP> ทาง CDC ระหว่างที่กำลังหาชื่อโรคอยู่นั้นเคยใช้คำว่า "โรค 4H" (the 4H disease) เนื่องจากโรคนี้ดูเหมือนจะพบในชาวเฮติ (Heitians) ,กลุ่มรักร่วมเพศ (Homosexuals), ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย (Hemophiliacs) และผู้ใช้ยาเฮโรอิน (Heroin users) <SUP id=cite_ref-SciRep470b_73-0 class=reference>[74]</SUP> อย่างไรก็ดีหลังจากมีการค้นพบว่าโรคนี้ไม่ได้พบแต่ในกลุ่มคนรักร่วมเพศ<SUP id=cite_ref-MMWR1982b_71-1 class=reference>[72]</SUP> คำว่า GRID ก็กลายเป็นคำที่ทำให้เข้าใจผิด และคำว่า AIDS ก็ถูกเสนอขึ้นมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2525<SUP id=cite_ref-Kher_74-0 class=reference>[75]</SUP> จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2525 CDC ก็เริ่มใช้ชื่อโรคเอดส์ และเริ่มให้นิยามของโรคนี้ได้อย่างเหมาะสม<SUP id=cite_ref-MMWR1982c_75-0 class=reference>[76]</SUP>
    ทฤษฎีอื่นที่ยังเป็นข้อถกเถียงซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อว่า ทฤษฎี OPV AIDS เสนอว่าการระบาดทั่วของเอดส์นั้นเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1950 ใน Belgian Congo โดยงานวิจัยของ Hilary Koprowski ที่ศึกษาเรื่องวัคซีนโรคโปลิโอ<SUP id=cite_ref-Curtis_76-0 class=reference>[77]</SUP><SUP id=cite_ref-Hooper_77-0 class=reference>[78]</SUP> ซึ่งตามข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ ไม่มีหลักฐานสนับสนุนแนวคิดนี้<SUP id=cite_ref-refuted_78-0 class=reference>[79]</SUP><SUP id=cite_ref-Berry_79-0 class=reference>[80]</SUP><SUP id=cite_ref-VaccineQA_80-0 class=reference>[81]</SUP>
    มีการศึกษาใหม่ๆ ระบุว่าเชื้อเอชไอวีอาจแพร่ระบาดจากแอฟริกามายังเฮติแล้วจึงเข้ามาในสหรัฐอเมริกาในช่วงปี พ.ศ. 2512<SUP id=cite_ref-81 class=reference>[82]</SUP>
    สำหรับในประเทศไทย พบผู้ป่วยโรคเอดส์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2527 จากชายรักร่วมเพศ<SUP id=cite_ref-82 class=reference>[83]</SUP> หลังจากนั้นภายในปีเดียวกันจึงพบมีการระบาดผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ชายหญิง อย่างไรก็ดีในช่วงแรกผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มชายรักร่วมเพศอยู่

    เอดส์ - วิกิพีเดีย
     
  14. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    วิธีตรวจโรคเอดส์ที่สำคัญ

    ตอบ จากอดีตถึงปัจจุบันนี้จะมีผู้พัฒนาวิธีตรวจหลายๆวิธี ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสียครับ โดยหากพิจารณาตามความไวในการตรวจ จากไวมากที่สุดมีดังนี้
    1.1 ตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวี
    โดย วิธีPolymerase Chain Reaction(PCR)

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=2KoLnIwoZKU"]YouTube - Polymerase Chain Reaction (PCR)[/ame]

    มีต่อ-
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2011
  15. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    วิธีตรวจโรคเอดส์ที่สำคัญ(ที่นิยมใช้กัน)
    1.1 ตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV Antigen)
    1.1.1 โดย วิธีPolymerase Chain Reaction(PCR)

    มักนิยมเรียกว่า Viral Load ได้แก่ HIV RNA Viral Load ค่าบริการตรวจ
    ประมาณ2800 บาทต่อครั้ง รอผลนาน3-7วัน

    มักนิยมใช้ตรวจเพื่อบ่งชี้ถึงภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อฯ ในเวลาน้อยกว่า3เดือน
    1.1.2 HIV Ag โดยวิธี Enzyme Immunoassay
    มักใช้เป็นการตรวจกรองคัดเลือกเลือดผู้บริจาคเลือด ไม่เหมาะสำหรับการตรวจ
    เพื่อบ่งชี้การติดเชื้อ โอกาสพบเชื้อน้อยมาก ค่าบริการประมาณ 500บาทต่อครั้ง
    รอผลนาน3-7วัน

    1.2 ตรวจหาสารแอนติบอดีย์ต่อไวรัสเอชไอวี (HIV Antibody)
    (เป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมาก)
    มีการนำมาใช้บริการโดยมีวิธีการตรวจแตกต่างกัน ได้แก่
    1.2.1 วิธี ECL (Electro chemiluminescent immunoassay)
    เป็นเทคนิคใหม่จำเป็นต้องใช้เครื่องตรวจแบบอัตโนมัติ มักพบมีใช้ตรวจตาม
    โรงพยาบาลใหญ่ๆ ค่าบริการ ประมาณ(ไม่ทราบราคา)บาทต่อครั้ง
    รอผลนาน2-3ช.ม.
    1.2.2 วิธี ELISA หรือ EIA (Enzyme Immunoassay) เป็นวิธีที่ต้องใช้
    เครื่องตรวจแบบอัตโนมัติ มักพบตามห้องแลบขนาดใหญ่ ค่าบริการประมาณ150บาท
    ต่อครั้ง รอผลนาน2-3ช.ม.
    1.2.3 วิธีImmunochromatographic เป็นวิธีที่ห้องแลบขนาดเล็กใช้กัน ไม่จำ
    เป็นต้องใช้เครื่องตรวจ ค่าบริการประมาณ150-200บาทต่อครั้ง
    รอผลนาน15นาที
    1.2.4 วิธีRapid testเป็นวิธีที่ห้องแลบขนาดเล็กใช้กัน ไม่จำ
    เป็นต้องใช้เครื่องตรวจ ค่าบริการประมาณ150-200บาทต่อครั้ง
    รอผลนาน15นาที
     
  16. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ตอบ
    1.เขาใช้วิธีไหนตรวจเลือดให้ผมครับ
    ตอบ วิธีตรวจสามารถดูได้จากในใบผลตรวจครับ โดยทั่วไปห้องแลบแต่ละ
    แห่ง จำเป็นต้องแสดงวิธีตรวจให้ทราบด้วย
    2.ผมดื่มนํ้า mret มานานแล้ว อยากทราบว่านํ้า mret มีผลต่อการตรวจเลือด hiv ทําให้ตรวจไม่เจอได้หรือเปล่าครับ
    ตอบ ไม่มีผลรบกวนการตรวจครับ เนื่องจากเป็นการตรวจแบบจำเพาะ
    เจาะจงต่อภูมิต้านทานต่อไวรัสเอชไอวีเท่านั้น เปรียบเทียบเหมือน
    จำเพาะกันแบบลูกกุญแจกับแม่กุญแจ ต้องเป็นของคู่กัน ลูกกุญแจ
    ของแม่กุญแจอื่นๆจะมาไขอย่างไรก็ไขให้ปลดล๊อคไม่ได้
    3.แล้วผมตรวจตอน 2 เดือนกว่านี้จะได้ผลขนาดไหนครับ
    ตอบ จากประสบการณ์ของผมเอง พบว่าเสี่ยงมานาน45วัน ก็ตรวจพบแล้ว
    ของคุณมากกว่า60วัน ผมเห็นว่า เป็นปกติ ไม่ติดเชื้อไวรัสฯครับ คือสบาย
    ใจได้
    แต่ควรตรวจซ้ำตอนครบ3เดือนอีกครั้งเพื่อความแน่ใจ
    4.แล้วผลตรวจที่ได้จาก รพ.จะมีข้อผิดพลาดบ้างไหมครับไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆก็ตามครับ
    ตอบ การตรวจตามโรงพยาบาล หรือศูนย์แลบใหญ่ๆ มีโอกาสพบข้อผิด
    พลาดจากการทำงานของบุคลากรได้ เช่น มีงานเยอะมาก บุคลากรสับสน
    เนื่องจากตรวจพร้อมกัน จำนวนมาก นำตัวอย่างเลือดสับเปลี่ยนกัน นำราย
    ที่ปกติกับผิดปกติมาสับเปลี่ยนกัน ที่คลินิกแลบเล็กๆอย่างคลินิกของผมเอง
    จะทำกันรายต่อราย ไม่เกิดการสับเปลี่ยนแน่ๆครับ เนื่องจากงานน้อยกว่ากัน

    วิธีการตรวจของผม ไม่มีเงินทุนมากมาย และคนไข้จำนวนมากๆ เหมือนโรง
    พยาบาลใหญ่ๆ คืออยากมีเครื่องตรวจๆดีๆ แพงๆ เหมือนกัน แต่เกิดมาจน
    เอง จึงมีปัญญาใช้แค่วิธีImmunochromatographic วิธีเหมือนทดสอบ
    การตั้งครรภ์ที่มีขายกันตามร้านขายยาน่ะครับ แต่น้ำยาที่เราใช้จะสั่งซื้อจาก
    บริษัทที่มีชื่อเสียง เชื่อถือได้ ก็เล็กพริกขี้หนูครับ ผมเปิดคลินิกมานาน13ปี
    แล้ว ผมไม่เคยพบปัญหา การต่อว่าจากลูกค้าเลยว่า ผลตรวจไม่ตรงความ
    จริง

    ผมอยากแนะนำให้คุณอย่าไปคิดมากเกินครับ เดี๋ยวจะเครียดโดยไม่เกิด
    ประโยชน์ใดๆ ผลตรวจของคุณได้ตรวจในระยะเวลาที่เกิน45วัน เป็น ผลลบ
    ไม่ติดเชื้อฯ เชื่อถือได้ครับ ปล่อยวางเสีย รอตรวจอีกครั้งตอนครบ90วันให้
    แน่ใจจริงๆอีกครั้ง แต่ผมขอพยากรณ์ไว้ล่วงหน้าครับ ว่า ปกติแน่นอน


     
  17. ้vicee

    ้vicee สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2011
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +6
    สวัสดีครับพี่ วสุธรรม ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณพี่มากๆเลยนะครับกับคําตอบและข้อมูลที่พี่ให้ผมมา ตอนนี้ผมรู้สึกสบายใจขึ้นมากเลยครับ สิ้นเดือนนี้ผมจะไปตรวจอีก1ครั้งครับ ผมขอให้พี่วสุธรรมมีความสุขมีความเจริญในชีวิตนะครับขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2011
  18. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ก่อนอื่นขอแสดงความยินดีด้วยนะครับ ที่ได้ถึงเวลาสำคัญคือครบ90วัน
    แห่งความไม่สบายใจ ต่อจากนี้ไปคุณจะพบแต่สิ่งที่ดี สิ่งที่ไม่ดีที่ผ่านมา
    ให้ลืมมันไป อย่าไปเก็บมาคิดทำให้ไม่สบายใจอีก ขอแสดงความยินดีอีกครั้งครับ

    การตรวจเลือดหาสารแอนติบอดีย์ต่อเชื้อไวรัสเอชไอวีนั้น ดังที่เรียนให้คุณทราบว่า
    วิธีการตรวจในปัจจุบันนั้นมีความไวในการตรวจหาสารแอนติบอดีย์ในระดับปานกลาง
    ได้ดี(45วัน)รายะเอียดดังนี้ครับ

    ตารางแสดงปริมาณสารแอนติบอดีย์ในเลือด

    วันที่1 วันที่2 วันที่3 วันที่4 วันที่5 วันที่6.....วันที่45....วันที่90
    ติดเชื้อ 1 2 3 4 5 6 45 90
    ไม่ติดเชื้อ 0 0 0 0 0 0 0 0

    จากตารางจะเห็นว่า หากติดเชื้อ จะพบสารเข้มข้น1 2 3 4 5 6คือเพิ่มขึ้นทุกวัน
    หากไม่ติดเชื้อ จะพบสารฯมีค่าเป็น0ตลอด
    วิธีการตรวจจะตรวจพบสารแอนติบอดีย์ตั้งแต่30ขึ้นไป ดังนั้นหากคุณเสี่ยงครบ90
    วันปริมาณสารแอนติบอดีย์จะตรวจได้90 ถึงแม้คุณจะทานยากดภูมิต้านทาน ซึ่ง
    สมมุติว่ากดลงไป45 เหลือ45 ก็ยังตรวจพบอยู่ดีครับ

    วสุธรรม
    ขออนุญาตนำลงกระทู้นะครับ
     
  19. ้vicee

    ้vicee สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2011
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +6
    ครับพี่ ขอขอบคุณพี่วสุธรรมมากๆนะครับ พี่ให้ความรู้ผมมาอีกเรื่องหนึ่งแล้วนะครับ
    ตอบได้เคลียร์จริงๆ ยังไงผมขอขอบคุณพี่อีกครั้งหนึ่งนะครับ ขอให้พี่มีความสุข ความเจริญ ในหน้าทีการงาน และมีสุขภาพที่ดีตลอดไปนะครับ สวัสดีครับ
     
  20. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    เรียนคุณXXXXX
    ผมได้อ่านเรื่องของคุณแล้ว จากประสบการณ์ของผม พิจารณาแล้วว่าคุณเสี่ยงต่อการติดเชื้อน้อยมากๆ
    เพราะว่า
    1.ข้อนี้สำคัญที่สุดคือคุณได้ตรวจเลือดหญิงคนนั้นแล้ว พบว่าผลเป็นผลลบ เรื่องนี้สามารถพยากรณ์ผลตรวจเลือดของคุณได้เลยว่าคุณตรวจอีกกี่ครั้งย่อมเป็นผลลบตลอด หมายถึงคุณไม่ได้เสี่ยงต่อการติดเชื้อเลย ปัญหาของคุณอยู่ที่ความคิดปรุงแต่งของคุณเท่านั้น
    1.1 คิดไปเองว่าผู้หญิงคนนั้นมีเชื้อไวรัสเอชไอวี
    ความจริงแล้วการตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสฯ พบว่าไม่มีสารภูมิต้านทานเลย ย่อมเป็นสิ่งประกันร่างกายของเธอว่า ยังไม่เคยสัมผัสเชื้อเลยในอดีตที่ผ่านมา แต่จากอาชีพของเธอทำให้เธอเสี่ยงต่อกาติดเชื้ออยู่เสมอๆ แต่สามารถป้องกันได้ โดยการใช้ถุงยางทุกครั้งที่ให้บริการทางเพศ ซึ่งหญิงบริการจะเข้มวงดต่อกฎข้อนี้มาก เพราะเธอเองก็กลัวการติดเชื้อ และการตั้งครรภ์

    ผมจะตั้งสมมุติเพื่อคล้อยตามคุณบ้างละกัน สมมุคิว่าเธอโชคไม่ดีไปเจอลูกค้างี่เง้าเป็นเอดส์อยู่ แล้วบังคับขืนใจเธอ เธอติดเชื้อฯจากชายคนนั้น เมื่อ2สัปดาห์ที่ผ่านมา จึงยังไม่สร้างภูมิต้านทาน ในวันที่คุณไปใช้บริการกับเธอคุณทำถุงแตก ในวันนั้นเนื่องจากเลือดเธอยังไม่บวก ย่อมแสดงถึงว่า เชื้อไวรัสย่อมมีน้อยมากๆ ดังนั้นคุณจึงมีโอกาสจะติดเชื้อน้อยมากตามไปด้วย

    ในการทำงานสิบกว่าปีที่ผ่านมาของผม ที่คลินิกของผมได้พบสามีภรรยา นับเกือบสิบคู่ที่มาตรวจเลือดแล้วได้ผลว่า
    1.สามี บวก ภรรยาลบ
    2.สามี ลบ ภรรยาบวก
    โดยทุกๆคู่ผ่านการไม่รู้ตัวมาทั้งสิ้นนาน2-3ปี มีเพศสัมพันธ์กันบ่อยมากตามปกติ เขายังมีผลเป็นดังกล่าวมาแล้วเลย

    1.2 คิดไปเองว่าคุณได้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีแล้ว จนต้องไปรับยาต้านไวรัสมาทาน

    2.เรื่องวินโดวส์พีเรียส นั้นพบน้อยมาก ร้อยคนอาจพบประมาณ1-5คน โดยต้องเป็นคนที่รับประทานอาหารไม่สมบูรณ์เหมือนเด็กๆขอทาน หรือเด็กโอธิโอเปีย หรือคนป่วยหนักเรื้อรังแบบไม่รู้ตัว หรืออาจรู้ตัวทำให้จิตใจหดหู่ เศร้าหมอง ไม่สนใจการกินอาหารให้ร่างกายแข็งแรง ...........อยากถามว่าคุณเป็นคนที่มีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไหม หากไม่ใช่คุณเป็นคนรับประทานได้เหมือนคนปกติ คุณก็ควรตัดความคิดเรื่องนี้ว่า ร่างกายคุณแข็งแรงดี ดังนั้นเมื่อคุณได้ผ่านการตรวจเลือดฯในระยะเวลาที่เหมาะสมคือ45-90วันแล้ว
    "ผมก็กล้าฟันธงอย่างทันทีว่า คุณไม่ติดเชื้อแน่นอน ให้ปล่อยวางเสีย เรื่องมันจบแล้ว" และคุณยังมีปัจจัยบวกเสริมในเรื่องการกินยาหลังเสี่ยงอีก

    "ฟันธง คุณไม่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีแน่นอนครับ เชื่อถือผมเถิด เลิกคิดถึงมันเสีย เลิกหาเรื่องให้ตนเองไม่สบายใจได้แล้ว ผมคือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้มากกว่าหมอๆทั้งหลาย ผมมีประสบการณ์โดยอาชีพสิบกว่าปีแล้ว ย่อมมีความคิดเห็นที่ถูกต้อง ทำให้คุณสบายใจได้แท้จริงครับ"

    **ขออนุญาตินำลงกระทู้โดยตัดชื่อของคุณออก**


    <HR id=stopSpelling>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...