ราชพรหมยานมหาเถรานุสรณ์

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 27 มิถุนายน 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ลีลาการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า การสอนของพระพุทธเจ้าทรงมีความฉลาดมาก ใช้ระบบหลาย ๆ วิธี อัธยาศัยของคนนี้ไม่ตรงกับจุดนี้ก็ไปชนกับจุดนั้น เรียกว่าชนกับเป้าหนึ่ง ตั้งเป้าไว้หลาย ๆ เป้าให้มันติด ๆ กัน เรายกปืนขึ้นยิงไม่ถูกเป้านี้มันก็ถูกเป้านั้นเป้าใดเป้าหนึ่ง จะเป็นเป้าใดก็ตาม ตั้งแต่เราศึกษาขันธ์ ๕ กันมา ถ้าเราเข้าถึงจริง ๆ เขาเป็นพระอรหันต์กันนับไม่ถ้วนนะขันธ์ ๕ นี่ แล้วก็เวลาต่อมาเราก็มาเรียนอายตนะ หรือโพชฌงค์ ตัวโพชฌงค์นี่ก็ตัวบรรลุ ตัวอายตนะ นี่ก็ตัวบรรลุ

    ทีนี้มาตัว อริยสัจ ก็ต้องพิจารณาขันธ์ ๕ มันหนีกันไม่ได้ ทุกข์อะไรมันทุกข์ล่ะ เพราะเราใคร่ครวญ เราพอใจในขันธ์ ๕ มันจึงทุกข์ ตัวทุกข์จริง ๆ มันอยู่ที่ใจ ที่เราทุกข์เพราะเราเอาจิตไปยึดไปถือ ถือว่าเป็นเราเป็นของเรา แล้วใจเราก็ไม่ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง มันเกิดแล้วมันจะแก่ เราก็ดันไปห้ามแก่ไว้ เกิดแล้วจะป่วยไข้ไม่สบาย เราก็ดันไปห้ามความป่วยไข้ไม่สบาย จะไปห้ามได้อย่างไรละ มันห้ามไม่ได้ ไอ้เราทำแบบนั้นมันก็ทุกข์ ใจเราก็ทุกข์ ทุกข์เพราะร่างกายทรุดโทรม เราไม่อยากให้มันทรุดโทรม
    แล้วเราก็ไม่พยายามศึกษาหาความเป็นจริง ว่า ร่างกายมันเกิดมาแล้วมันต้องทรุดโทรมเป็นปกติ เคลื่อนไปหาความพังทุกวินาที ความป่วยไข้ไม่สบาย มันเกดขึ้นเป็นปกติ โรค แปลว่า เสียดแทง ไอ้การที่เราไม่สบายกาย ไม่สบายใจก็ชื่อว่าป่วย เรียกว่าโรค โรคทั้งนั้น ที่พูดว่า "ชิคัฉา ปรมา โรคา ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง" อันนี้นาน ๆ หิว เช้ากินอิ่มแล้ว มันก็พักเสียดแทงไปชั่วคราว ตอนกลางวันมันจะกินใหม่มันเริ่มหิว มันก็เสียดแทง แต่โรคเจ้าหนี้ทวงมันเสียดแทงทุกเวลาเจ้าหนี้ทวงหรือไม่ทวง ก็นึกอยู่เรื่อยกลัวเจ้าหนี้จะมา

    ทีนี้เรามาว่ากันถึงเรื่องทุกข์ ทุกข์น่ะอะไร อะไรมันก็ทุกข์ ทุกข์เพราะตัณหาคือความอยาก นี่เมื่อคืนตอนเช้ามืดท่านมาบอกว่า ถ้าจะพูดเรื่องอริยสัจ มันก็ไปชนกับขันธ์ ๕ ชนกับอายตนะ ชนกับโพชฌงค์ มันหนีกันไม่พ้น แต่ทว่าพูดไปเข้าใจยาก ท่านก็เลยบอกว่า ให้ทุกคนจับมรณานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ แล้วจะมีความรู้สึกง่าย

    มรณานุสสตินี่แปลว่าอะไรเล่า ความจริงตายนี่มันตายทุกวินาทีนะ จิตมันเคลื่อนไป ความเสื่อมโทรมของร่างกายเคลื่อนไป มรณานุสสติกรรมฐานนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ท่านบอกว่า ถ้าเราไปสอน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีในเรา เข้าใจยาก มันยากจริง ๆ ถ้าเรามาคิดกันตัวปลายสุด ไอ้ร่างกายของเรานี่มันตายแน่ นี่มันเห็นชัดดีนะ ก็จริงของท่าน เราก็ตาย เขาก็ตาย ในเมื่อตายแล้วมีอะไรบ้างที่เราจะแบกไปได้ นี่เรามานั่งยึดถือว่านี่ก็เป็นของเรา นั่นก็เป็นของเรา สิ่งที่ยังไม่มีอยากให้มีขึ้น ตัณหาแปลว่าความอยาก

    กามตัณหา นั้นอยากได้ในสิ่งที่ไม่พึงจะมี ไม่มีให้มันมีขึ้น อยากรัก ยังไม่มีเมีย อยากมีเมีย ยังไม่มีผัวอยากมีผัว ยังไม่มีลูกอยากมีลูก อีตัวเริ่มอยากเริ่มทุกข์แล้ว กลัวจะไม่สมความปรารถนา พอได้เริ่มทุกข์ เพราะว่างานมันเพิ่มขึ้น พอไอ้แอ๊วโผล่เข้ามายุ่งใหญ่เลย นอนไม่หลับแล้ว หมอก็หมอเถอะ ไอ้ลูกป่วยขึ้นมานอนไม่หลับเหมือนกัน รักษาไม่ได้ไอ้ลูกอ่อน นี่เป็นหมอแค่ไหนก็ลูกอ่อนเหมือนกัน ดีไม่ดีหมอก็อุ้มลูกไปหาหมออื่นอีก นี่ความจริงเป็นอย่างนั้นนี่เราจะป้องกันความอยากกัน เรื่องอยากนี้เราพูดกันมาตั้งแต่เมื่อวาน
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทีนี้พระพุทธเจ้าบอกว่าเราจะต้องกัน เราจะต้องดับตัณหาจริง ๆ ให้หาตัว มรณานุสสติ ไอ้ตัวตายเข้ามาเป็นที่ตั้ง เป็นพื้นฐานว่านี่เราตายแล้ว เราแบกอะไรไปได้บ้าง ก่อนที่เราจะตายมันก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ไอ้ตัวทุกข์นี่เราก็พูดกันมาแล้ว ว่าทุกอย่างในโลกมันเป็นปัจจัยของความทุกข์ทั้งหมด ไม่ว่าเงินหรือทอง ของใช้ คนหรือสัตว์เหมือนกันหมด ถ้าเราได้เข้ามาแล้วมันเป็นปัจจัยของความทุกข์ทั้งหมด ไม่ใช่ปัจจัยของความสุข เพราะมันเพิ่มภาระ และก็เพิ่มความห่วงใย อารมณ์จิตเข้าไปหน่วงเหนี่ยว คนก็ดี วัตถุก็ดี สัตว์ก็ดี ที่เป็นที่รักของเรา ถ้าบังเอิญตายไปหรือพังไป ใจเราก็ไม่สบาย เราไม่ต้องการให้มันเป็นอย่างนั้น นี่มันเป็นอาการของความทุกข์

    ทีนี้ท่านก็เลยบอกว่า ถ้าเราจะตัดตัณหาทุกอย่าง กามตัณหา ก็ดี ที่เราคิดว่าของมันยังไม่มีอยากให้มีขึ้น ภวตัณหา ที่มีแล้วอยากให้มันทรงตัว วิภวตัณหา เมื่อสิ่งเหล่านั้นเคลื่อนไปตามสภาพของมัน ถือเป็นกฎธรรมดา เราก็หาทางต้านทานว่า ร่างกายเรา จงอย่าแก่เลย จงอย่าป่วยไข้ไม่สบายเลย จงอย่าเป็นอย่างนั้นเลย จงอย่าเป็นอย่างนี้เลย มันห้ามไม่ได้ การห้ามไม่ได้มันก็เป็นทุกข์ ทีนี้ก็มานั่งพิจารณาขันธ์ ๕ ท่านบอกดูยาก เราก็นั่งนึกถึงตัวตายกัน นี่เราเกิดมาเพื่อตาย เราไม่ได้เกิดมาเพื่ออยู่ ไอ้สิ่งที่เราจะพึงหาได้โดยชอบธรรม และก็ไม่เป็นโทษ ยังมีถมไป

    ทีนี้ตัณหานี่ถ้าตัวต่ำนะท่านบอกให้ยับยั้งไว้ อยากได้ในสิ่งที่ไม่มีโทษถือว่ายังมีความเบาอยู่ใช้ได้ นี่ตัวต่ำ ถ้าตัวสูงขึ้นไปตั้งแต่อนาคามีขึ้นไปไม่ได้เลยอยากได้อะไรทั้งหมดในโลกถือว่าใช้ไม่ได้ อยากได้แล้วก็เกาะ ถ้าอยากได้มาแล้วไม่เกาะไม่เป็นไร อยากได้สิ่งนี้เพื่อความสะดวกในการเป็นอยู่แล้ว ก็คิดไว้ด้วยว่ามันจะได้มาหรือไม่ได้มาก็ช่างหัวมัน ถ้ามีโอกาสจะได้มาก็เอาเราจะใช้ ถ้าโอกาสที่จะพึงได้มาไม่มีก็ตามใจมัน เป็นเรื่องธรรมดา เราไปฝืนความสามารถและไม่ฝืนโอกาส แบบนี้ใจมันสบายตั้งแต่ก่อนจะได้

    ทีนี้พอได้มาแล้วเราก็ทราบเลยว่า ไอ้เจ้าตัวนี้นะ มันไม่อยู่กับเรานาน มันอาจจะอยู่นาน แต่เราก็ไม่อยู่กับมัน ไม่มันกับเราสักวันหนึ่งจะต้องจากกันและก่อนที่จะจากกันมันจะทรงสภาพอย่างเดิมอยู่ไม่ได้ มันจะมีสภาพเก่า ๆ ทรุดโทรมเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา หาทางพัง มันไม่ได้เปลี่ยนไปหาทางดี เปลี่ยนไปหาทางพังเมื่ออยากจะพังก็พังแก้ไขไม่ได้ แก้ไขได้ก็แก้ไป แก้ไขไม่ได้ก็แล้วไป นี่ความสบายมันก็เกิดขึ้น เวลามันพังไม่ถือเป็นเรื่องหนักใจ เรารู้อยู่แล้ว แล้วจิตของเราพร้อมแล้ว ถ้ามันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ เราจะถือว่าเป็นเรื่องปกติ

    นี่อาการอย่างนี้จะเกิดขึ้นได้จริง ๆ เราต้องมัดความตายเข้ามาเทียบ นี่เป็นสมถภาวนา ถ้าใครเขาบอกว่าสมถะเก่งหรือวิปัสสนาเก่ง ต้องบอกต้องเก่งคู่กัน เก่งคนเดียวใช้ไม่ได้ เก่งสมถะเป็นโลกียฌาน เดี๋ยวก็เจ๊ง เก่งวิปัสสนาอย่างเดียวไม่มีสมถะไม่มีทางจะใช้อะไรเลย

    ท่านบอกว่าให้นึกถึงความตายเป็นปกติ เรารู้อยู่ว่าเราจะตายเสียอย่างเดียว ถ้าเราไม่ลืมความตาย ความเมามันก็น้อย อารมณ์ที่จะเกิดตัณหาคือความอยากมันก็เบา มันอาจจะอยากอยู่บ้าง แต่ว่าอยากพร้อมกับปล่อยอยากได้มาพร้อมกับอารมณ์ปล่อย มันมีอยู่เสมอ จะได้มาหรือไม่ได้มาก็ไม่หนักใจ หรือโอกาสยังมาไม่ถึง เมื่อได้มาแล้วเราก็พร้อมใจรู้อยู่แล้วว่ามันจะพัง มันจะต้องเก่า มันจะต้องทรุดโทรมมันจะพังหรือมันจะไม่พังแต่ขโมยอาจเอาไปเสียก่อนก็ได้ ถ้าอาการอย่างใดอย่าหนึ่งปรากฏเราก็สบายใจนี่ถือตัวมรณานุสสติกรรมฐานเป็นพื้นฐาน
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แต่ว่าไอ้ตัวนี้ก่อนที่มันจะเกิด มันแย่เหมือนกันนา กว่าจะหาไอ้ตัวนี้ได้ต้องมีเครื่องมือช่วยมีเครื่องมีอันดับแรกหรือทั้ง ๓ อันดับ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อยู่แล้ว เราจะมานั่งพิจารณาแบบนี้หาความตายมาเป็นพื้นฐาน เอามาเปรียบเทียบกับอารมณ์ของวัตถุหรือบุคคลว่ามันเป็นไปตามกฎธรรมดา มันเป็นไปไม่ได้ อยู่ ๆ มันเกิดไม่ได้ มันก็ต้องมีพื้นฐาน คือ เครื่องมือสำหรับใช้ เรียกว่าขึ้นบันได จะขึ้นบ้านขึ้นตึกมันต้องมีบันได อยู่ ๆ จะกระโดดขึ้นไปบนหลังคาตึกน่ากลัวจะไม่สำเร็จ

    อันดับแรกเมื่อเรานึกถึงความตายเป็นอารมณ์ เมื่อนึกถึงความตายแล้วจิตมันก็ยังดิ้นรนอยู่ ไอ้ความทะเยอทะยานของจิต อยากได้โน่นอยากได้นี่ อยากให้มันทรงตัว อยากจะฝัน มันก็ทรงอยู่ และคิดว่าถึงแม้ว่าเราจะตายแล้ว ลูกหลานก็ยังจะได้ใช้

    ทีนี้วิธีที่จะป้องกัน และจะทำลายอำนาจของตัณหา อันดับแรก ตามที่พูดเมื่อวานนี้ ใช้ศีลครอบมันเข้าไว้ เอาศีลเข้าไปขังตัณหาคือความอยาก เอาศีลทำลูกกรงครอบตัณหาเข้าไว้ มันอยากได้โน่นอยากได้นี่ ให้มันวิ่งคึ่กคั่ก ๆ เอาไว้ มันโผล่มากัดไม่ได้อยู่ ๆ เป็นพระอยากจะมีเมียจะไปมีได้ที่ไหนก็ไม่ได้ ศีลมันค้ำอยู่นี่ ตัณหามันเกิดแล้วแต่ว่าขังตัณหาไว้ด้วยอำนาจของศีล อยากรัก รักก็รักได้ แต่รักแล้วอย่าไปยุ่งกับใครเขา รักอยู่แต่ในใจยุ่งเข้าอาบัติกินศีล ศีลบกพร่องไม่ได้ อันดับแรก นี้เอาศีลขังตัณหาเข้าไว้

    ทีนี้พออยากจะรวย อยากไปค้าขายกับเขาบ้าง จะไปรับจ้างเขาบ้าง ศีลของพระมันบังคับนี่ ศีลบังคับให้พระประกอบอาชีพใด ๆ ไม่ได้ ผิดเป็นไง ขังไว้อีกตัวซิ ไอ้ตัณหาอยากรวยถูกขังไว้อีกแล้ว ดิ้นโครม ๆ ทีนี้ตัณหาอีกตัวมาแล้ว อยากจะฆ่าหมอนี่มันพูดไม่ถูกใจ ทำอะไรไม่ถูกใจ ฆ่ามันเสียเถอะ แหม ฆ่าได้ที่ไหนศีลขาด นี่ศีลขังตัณหาเสียแล้ว ตัณหาคืออยากฆ่านะ ทีนี้ตัณหาตัวหลง ไอ้โน่นก็ดี ไอ้นี่ก็ดี โน่นของกู นี่ก็ของกู ไอ้สิ่งที่ว่าของกูแบบนี้พระใช้ไม่ได้ ใช้เมื่อไรลงนรกเมื่อนั้น

    พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ อนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ ทุกขัง มีสภาพเป็นปัจจัยของความทุกข์ อนัตตา มันสลายตัว ในเมื่อมันจะพัง มันมีอะไรเป็นของเรา ทีนี้ไอ้ความเมาของจิตก็ยังมีอยู่ ก็ดิ้นอยู่ในลูกกรง โผล่มาไม่ได้ก็ช่างมัน เก่งก็เก่งในลูกกรงนะ ไอ้เจ้าศีลตัวนี้ ถ้ามันขังไว้จริง ๆ คือว่า สิกขา ๓ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา นี่ก็บรรดาพุทธบริษัทที่ประกาศตัวเป็น สาวกของพระพุทธเจ้าจริง ๆ ต้องทรงสิกขา ๓ ประการให้ครบถ้วน

    ใช้คำว่า อธิ แปลว่า ยิ่ง คือเอากันจริง ๆ ไม่ใช้ล้อเล่น หรือว่าหลอกเล่น อธิศีลสิขา เราจะไม่ยอมให้สิกขาบทของศีลทุกสิกขาบท ถ้าเป็นฆราวาสก็ศีล ๕ หรือว่าศีล ๘ เป็นเณรศีล ๑๐ เป็นพระศีล ๒๒๗ ทั้งหมดนี้เราจะรักษาศีลยิ่ง

    คำว่ายิ่งเขาทำยังไง ๑. เราจะไม่ทำลายศีลด้วยตัวเอง ๒. จะไม่ยุให้ใครทำลายศีล และ ๓. [FONT=Cordia New,Cordia New][FONT=Cordia New,Cordia New]จะไม่ยินดีหรือไม่พอใจเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว
    [/FONT][/FONT]
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นี่รวมความว่า ศีลทั้งหมดที่เรามีอยู่ เราจะไม่ยอมให้มันบกพร่องแม้แต่นิดเดียวทำลายศีลเราก็ไม่ทำลาย ยุให้ใครทำลายก็ไม่ยุ ไม่ยินดี เมื่อเขาทำลายแล้วก็ไม่ยินดี อย่างนี้เรียกว่ารักษาศีลยิ่ง ทีนี้ในเมื่อจิตของเราอยู่ในขอบเขตของศีล ลองดูซิว่า ไอ้ตัณหา ความอยากมันจะอยากได้สักแค่ไหน คือว่ามันก็จะทรงตัวอยู่ ข้างในดิ้นคึ่กคั่ก ๆ มันก็จะดิ้นอยู่เฉย ๆ มันโดดมาทำร้ายใครเขาไม่ได้ ใช่ไหม มันจะมาอย่างไร รักก็รักได้ ในเมื่อเรามีศีลเราห้ามก้าวก่ายกับความรัก มันก็นึกได้อย่างเดียว นึกรักแต่แสดงความจริง ๆ ไม่ได้ในด้านกามารมณ์

    ทีนี้ความโลภ นึกอยากรวยได้ แต่ทำไม่ได้มันละเมิดศีลใช่ไหม อยากจะฆ่าเขานึกได้แต่ทำไม่ได้ ถ้าไปฆ่าเขาเดี๋ยวศีลขาด ไอ้ตัวหลงคือ โมหะ ว่านั่นเป็นของกู นี่เป็นของกู ก็นึกได้เหมือนกัน แต่สะสมจริง ๆ ไม่ได้ เพราะศีลบังคับอยู่

    นี่เป็นอันว่า อธิศีลสิกขา คือว่า สิกขาบทตัวต้น พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เรามีศีลเพื่อขังตัณหา เรามีศีลตัวเดียว เราทำลายกิเลสตัณหาไม่ได้ แต่ว่าเราขังความชั่วคือตัณหาไว้ได้

    คำว่า ตัณหา นี่แปลว่า ใฝ่ต่ำนะ ถ้าเราใฝ่สูง อยากจะไปสวรรค์ ไปพรหม ไปนิพพาน อันนี้ท่านไม่เรียกตัณหานะ มันตัวอยากเหมือนกัน ท่านเรียกว่า ธรรมฉันทะ มีความพอใจในธรรม พวกคุณต้องรู้ไว้ด้วยนะ เดี๋ยวพวกคุณจะไม่เข้าใจถามว่าไอ้คำว่าอยากนี่มันเป็นตัณหา ทีนี้อยากไปสวรรค์ อยากไปพรหมโลก อยากไปนิพพานเป็นตัณหารึเปล่า ถ้าย่องไปตอบว่าเป็นตัณหาเข้านี่มันผิดจังหวะ ต้องระวังไว้ด้วยนะ ต้องว่าอยากเลวไม่ใช่อยากดี เราอยากไปสวรรค์นี่ คนที่อยากไปสวรรค์เป็นเทวดาได้ ต้องอย่าลืมคุณ...ต้องมีหิริ และโอตตัปปะ อายความชั่ว เกรงกลัวผลของความชั่วนี่ มันดีหรือเลว อายความชั่วเราก็ไม่ทำชั่ว เกรงกลัวผลของความชั่วเราก็ไม่ทำชั่ว

    ทีนี้จะถือว่าตัณหาเป็นกิเลสเลวไม่ได้ นี่เป็นตัวดี แต่เป็นตัวดีก้าวที่ ๑ อย่าไปนึกว่าแค่สวรรค์นี่เป็นกามาวจร ยังมีผัวมีเมีย มีผู้หญิงผู้ชาย แล้วอย่าลืมว่าสวรรค์เป็นก้าวก้าวหนึ่งที่จะเข้าถึงพระนิพพาน ดีกว่าเราก้าวลงนรก

    ก้าวที่สองอยากไปเป็นพรหม ถามว่าเป็นตัณหาไหม ก็จะตอบว่าเป็นตัณหามันไม่ถูก พรหมนะเขาเป็นคนอยู่คนเดียวนะ เอกายโน อยัง ภิกเว จริง ๆ คือมีตัวผู้เดียว พรหมไม่มีคู่ แล้วพรหมไม่มีเพศ นี่เรียกว่ามีสภาพใกล้พระนิพพานเข้าไปอย่างนี้ต้องเรียกว่า ธรรมฉันทะ ถ้าอยากไปนิพพานนี่เราไม่ต้องพูดกันเป็นธรรมจริง ๆ ธรรมบริสุทธิ์ ถึงแม้ว่าเป็นเทวดาก็ต้องบริสุทธิ์เบื้องต้น

    บริสุทธิ์คือเราไม่ทำชั่ว คืออยากไปเป็นพรหม จิตเราระงับนิวรณ์ ๕ ประการ จัดว่าเป็น เนกขัมมบารมี นี่มันเลวที่ไหน ดีมาก สามารถกดกิเลสได้ให้มันโงไม่ได้ ความจริงเราไม่ฆ่ามัน แต่กดคอมันไว้ แต่พอมันลุกมาได้เมื่อไร่ มันล่อหงายท้อง หงายไปหลายองค์แล้ว พระได้ฌานสมาบัติทำหน้าทำตั้งท่าหลับตาปี๋ ไม่กี่วันไป ถามใหม่สึกแล้วจะกดคอกิเลส หรือกิเลสมันกดคอเข้าไว้ก็ไม่รู้ ชักสงสัย
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นี่เป็นอันว่าศีลที่เราทรงไว้ได้ก็ขังตัณหาไวได้ นี่เรียกว่าใช้กำลังเบา ๆ มันเป็นกำลังเบาขังไว้ มันอยากจะดิ้นก็เชิญดิ้น มันจะดิ้นก็ดิ้นไป ออกมากัดใครเขาไม่ได้ มันจะเอะอะโวยวายก็แต่อยู่ในลูกกรง พระพุทธเจ้าจึงบอกว่า ในขั้นต้นต้องทำอธิศีลสิกขาให้ได้ และก็นึกถึงความตายไว้เป็นปกติเป็นพื้นฐาน ถ้าเรามีศีลบริสุทธิ์ ถึงแม้ว่าเราจะไปนิพพานไม่ได้ แต่เราก็ไม่ไปอบายภูมิ เราไม่เกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉานเท่านี้พอใจรึยัง

    มีศีลชื่อว่าเราขังตัณหาไว้ได้ ความจริงเราขังไว้แล้วมันดิ้น มันดิ้นมันออกไม่ได้หนัก ๆ เข้ามันก็เพลียเหมือนกันนะ มันไม่มีอะไรจะกิน ปล่อยมันอดอยู่อย่างนั้น ใช่ไหม ใครเขามาก็ชะเง้ออยู่ข้างหน้าต่าง แต่งตัวสวย ๆ รูปร่างหล่อ ๆ มา ก็นี่ลูกสาว ใครหว่านี่ตัณหารัก ตัณหาโลภ แหม…เขาขี่รถยนต์สวย ๆ มันโก้จริงนะ โผล่หัวไปไหนไม่ได้ ไอ้ตัณหาโกรธ คิดจะไปฆ่าใคร ไปไงล่ะ ปืนก็ไม่มี มีดก็ไม่มี มีดพับ มีก็ต้องหักปลายก็ได้แต่ดิ้นอยู่ในลูกกรง ดิ้นไปดิ้นมา ดิ้นมาดิ้นไป มันออกไม่ได้ มันเพลียหนัก ๆ เข้าดิ้นอะไร ดิ้นไปก็ไปไม่ได้ นอนเฉย ๆ ดีกว่า

    อีตอนนอนบางทีไม่เฉยเหมือนกันนา บางทีก็นึกดิ้นไม่โผล่หน้าต่าง แต่ใจนึกโผล่อีกน่ะซิ แหม…ลูกสาวคนนั้นก็สวยดีนะ บ้านนี้ก็รวยดี ทองนี่มันสำคัญ แบงก์ปึกใหญ่ ๆ มากท่าจะดีนะ มีความสุขถ้าเรามีได้ นี่เป็นอันว่ามันเป็นอารมณ์ที่มันดิ้นอยู่ข้างใน ถ้ามันดิ้นนาน ๆ มันก็ชักจะเพลียเหมือนกัน

    ทีนี้พอเราขังมันได้แล้วด้วยอำนาจของศีล ขังนะไม่ได้ฆ่า ต่อมาระดับที่สอง ท่านบอกว่า ตัณหานี่ถ้าขังไว้เฉย ๆ ชักไว้ใจไม่ได้เหมือนกัน เพราะมันเป็นพิษร้าย ดีไม่ดีถ้ามันลอดหลุดออกมาเมื่อไร ฟัดไม่เลือกเลย ไอ้แบบพระบวชนาน ๆ นี่สึกไปเมากินเหล้าหัวโงขึ้นไม่ได้เลย ขังตัณหาไว้ มาอีกจุดหนึ่งในเมื่อเราขังมันได้ดีแล้ว ต้องขังให้ดีเสียก่อนนะ ถ้าเราขังไม่ดีละก้อ เราทำลายไม่ได้ อย่าให้มันหลุดมาได้ มาอีกจุดหนึ่งท่านบอก กดคอตัณหาให้มันจบลง นี่ยังไม่ฆ่านะ เมื่อขังให้มันดิ้น ดิ้นไปดิ้นมา จนมันเพลีย ใกล้จะหมดแรง ทำท่าจะได้ท่าก็จับมันกดคอลงไปเลย กดคอให้มันนั่งเฉย ๆ เข้าไว้ อีตอนกดคอมานี้ ทีเผลอมันก็โผล่มาเหมือนกัน นี่เป็นเรื่องธรรมดา

    ตอนกดคอตัณหานี่เขาทำอย่างไร ก็ทำสมาธิให้เกิด ตัวสมาธิ เป็นการกดคอตัณหา เพราะอะไร เพราะว่าเราไม่ได้ฆ่ากิเลส เพียงแต่ว่าใช้กำลังใจเข้ายับยั้งกิเลสเท่านั้น ขั้นสมาธิธรรมดาถ้าไม่ถึงความเป็นพระอริยเจ้า ท่าบอกว่าไว้ใจไม่ได้ กิเลสมันจะโผล่ขึ้นมาเมื่อไร ก็ได้เป็นแต่ระงับกิเลสเท่านั้น ถึงว่าจะเป็นการระงับ กดคอแล้วฆ่าไม่ได้ มันก็ยัง เป็นคน

    เพราะจิตของเรานี่สามารถจะมีอารมณ์เป็นทิพย์ได้ มันก็ไม่เลวนะ เราสามารถจะเห็นผี เห็นเทวดา เห็นนรก เห็นสวรรค์ ระลึกชาติได้ รู้ใจบุคคลอื่น รู้ใจบุคคลอื่น มันเยอะ นี่กำลังสมาธิแคบ ถ้าเราได้อภิญญาสมาบัติ อภิญญาสมาบัตินี่ก็ได้ ขั้นสมาธิ ขั้นโลกีย์เหาะเหินเดินอากาศ เนรมิตอะไรได้ ไม่เห็นมันยากเลย ตัวสมาธิ ที่เราจะสร้างให้มันเกิด เราจะทำแบบไหน นี่เราก็ต้องไปย้อนไปถึงอารมณ์สมถะเดิม ใช่ไหม เห็นจะไม่ต้องอธิบายกันมาก
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทีนี้มาย้อนถึงสมาธิ ไอ้ตอนที่จะปราบตัณหา ต้องปราบเป็นขั้น ๆ พระพุทธเจ้าท่านเทศน์ย้อนมาแบบนี้เราก็ต้องย้อนไป จะไปตัดของท่านเลยไม่ได้ วิธีทำสมาธิ กดคอตัณหาเขาทำอย่างไร เราก็ต้องไปนั่งคลำว่า ศัตรูของสมาธิเบื้องแรกมันคือใครต้องหาศัตรู ไอ้ตัวไหนที่มาทำจิตเราไม่ให้เข้าถึงฌาน รู้จักหน้าไหม ตัวนิวรณ์ ถ้ามันเข้ามาถึงใจเรามันสร้างความวอน ๆ อยู่เรื่อย วอนจะลงนรก ตัวสมาธิที่มันจะเป็นได้ก็คือ เราต้องระงับนิวรณ์ ๕

    เราจะต้องระงับความพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย การสัมผัส ตามความพอใจและอารมณ์ที่เกลือกกลั้วกับกามารมณ์นี่เป็นแค่ระงับชั่วคราวนะ ขณะที่เราต้องการจะให้จิตเป็นสมาธิ ต้องตัดมันได้ทันที ปั๊บเวลานี้เจ้านี่โผล่ไม่ได้ ฉันมีกำลังมากกว่าแก แกอย่าโผล่หัวขึ้นมานะ ฉันไม่ให้แกโผล่ มันต้องสงบ ฉันต้องเก่ง เราเป็นคนเก่ง
    ขันธ์ ๕ รูป เสียง กลิ่น รส น่ะนะ ไอ้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏรัพพะ กามารมณ์ กามฉันทะตัวนี้ เราจะระงับมันได้ด้วย อสุภ ๑๐ และกายคตานุสติ ก่อน เข้าใจแล้วใช่ไหม พูดกันมาแล้ว เราจะตัดตัวนี้ได้ก็อาศัยพิจารณาอสุภกรรมฐานเป็นอารมณ์หรือว่าพิจารณากายคตานุสสิกรรมฐานเป็นอารมณ์ จนกระทั่งขึ้นใจจิตเป็น เอกัคคตารมณ์ อย่างนี้เราจะระงับกามฉันทะได้อย่างสบาย ๆ แต่อย่าเผลอนะ นี่กดคอกันเข้าไว้นะ ไม่ใช่ฆ่าให้ตาย

    ตอนนี้มาถึง ด้านโทสะ และความพยาบาท นี่เราต้องดับเสียได้ด้วย พรหมวิหาร ๔ ประจำใจ มีเมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร แล้วมีอารมณ์ไม่อิจฉาริษยา มีจิตวางเฉย ยอมรับกฎของกรรม ไอ้คนเราลงรักเสียแล้ว ลงสงสารเสียแล้ว มันจะไปฆ่าใครเขาใช่ไหม มาอีก ๔ อย่าง ก็คือ กสิณ ๔ เขาเรียกว่า วรรณกสิน ได้แก่ กสินสีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาว อย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ฌานหรือฌาน ๔ นี่พระพุทธเจ้ากำหนดว่ากสิณ ๔ อย่างนี้ระงับโทสะได้ นี่อย่างนี้เราชื่อว่ากดคอตัณหาไว้นะ ยังไม่ได้ตัดนะ แค่ระงับยับยั้งเท่านั้นะ

    อีตัวระงับนี่จิตมันถึง ปัสสัทธิ ปัสสัทธินี่เป็นตัวฌาน ผมลืมโพชฌงค์ไว้วันนั้น ผมมาใส่เสียวันนี้ ใครจะว่าไงก็ว่า ผมไม่เชื่อใครทั้งหมด เพราะจิตเข้าถึงฌาน อารมณ์มันสงัด สงัดเขาเรียกว่า ปัสสัทธิ จิตก็สงัด ความรักไม่เกิด เห็นคนไหนมาเดินมาเน่าหมด เจริญอสุภกรรมฐานนี่ เห็นคนเดินผ่านไปผ่านมาเน่าหมดทุกคนนะ มันเน่าหมด เพราะใจเรามีความรู้สึกตามนั้น

    ถ้าหากว่าเราพิจารณากายคตานุสสติกรรมฐาน เห็นคนปั๊บมันไม่ติดอยู่แค่ผ้า มันทะลุเข้าไปในท้องเลย เห็นตับ ไต ไส้ พุง ปอด เลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง อุจจาระ ปัสสาวะ มันเลอะเทอะไปหมด แล้วมันจะเกิดราคะได้อย่างไร ทีนี้ไอ้ตัวตัณหาอยากรักสวยรักงามมันก็หมดไป แต่ความจริงมันไม่หมด มันไปตั้งท่า เพราะเรากดคอมันเอาไว้ ทีนี้มาด้านโทสะเราก็ระงับมันด้วยพรหมวิหาร ๔ หรือกสิณ ๔
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ถีนมิทธะ ความห่วงเหงาหาวนอน นี่ต้องดูร่างกายด้วย ถ้าร่างกายของเราเพลียมาก ถ้ามันเกิดความง่วง แสดงว่าไม่ใช่ง่วงจริง ร่างกายของเราต้องการพักผ่อน อย่าไปฝืน ถ้าฝืนเป็น อัตตกิลมถานุโยค ไม่เป็นเรื่อง ใช้ไม่ได้ ไม่มีผล ถ้าหากว่าร่างกายเราปกติ ไม่อดหลับไม่อดนอน โรคภัยไข้เจ็บไม่เบียดเบียน พิจารณาแล้ว ทีนี้มันง่วงเฉย ๆ มันง่วงเพราะนิวรณ์เข้าทับคือถินมิทธะ พระพุทธเจ้าบอกให้ลืมตากว้าง ๆ ไม่ต้องไปหาแม่รงมาถ่างตานะ ลืมตากว้าง ๆ เอาน้ำล้างหน้า ขยี้ตาหรือว่าเดินไปเดินมา เป็นการระงับความง่วง ไอ้นี่เป็นเรื่องธรรมดา ๆ

    ทีนี้ต่อไป อารมณ์ฟุ้งซ่าน นั่งไปแล้วตั้งใจจะจับลมหายใจเข้าออก ภาวนาว่าอย่างนี้ พิจารณาว่าแบบนี้มันไม่เอาถ่าน มันวิ่งเข้าบ้านเข้าช่องใครเขาไป มันหาที่หยุดไม่ได้อย่างนี้พระพุทธเจ้าให้ใช้ อานาปานุสสติ คือ กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก โดยไม่ต้องภาวนา

    ข้อที่ ๕ ถ้ามีความสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าก็จับจุดสั้น ๆ ว่าที่พระพุทธเจ้าบอกว่า คนเกิดมาแล้วมันแก่จริงไหม ถามใจดู ถ้าจริงบอกว่านี่แกสงสัยทำไม และเมื่อความป่วยไข้ไม่สบายมันปรากฏ ถามจริงไหม ต่อไปทุกคนต้องตายหมด นี่พระพุทธเจ้าเทศน์แบบนี้ ถ้ามันเกิดความสงสัยก็นึกดูว่า ที่พระพุทธเจ้าเทศน์แบบนี้มันตรงกับความจริงไหม ถ้าตรงกับความจริง เราไปสงสัยทำไม

    นิวรณ์ ๕ ประการ นี่ถ้าเราสามารถป้องกันให้ไม่มายุ่งกับใจได้ ก็เป็นอันว่าจิตของเรามีสมาธิแล้วก็สมาธิ จุดนี้ก็ปฐมฌาน นี่แค่ปฐมฌาน ก็มีกำลังพอที่จะตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้ คนเราถ้าจิตไม่มีสมาธิถึงปฐมฌาน ให้นั่งพิจารณาวิปัสสนาญาณไปกี่แสนกัปก็ไม่เป็นผลเลย กำลังจิตที่พิจารณาวิปัสสนาญาณไปด้วย รวบรวมกับกำลังใจด้านสมาธิไปด้วยพร้อม ๆ กัน นี่ว่ากันถึงฝ่ายสุกขวิปัสสโก และก็สุกขวิปปัสสโกเด็กๆ จิตต้องเข้าถึงอารมณ์ปฐมญาณ พอจิตเข้าถึงอารมณ์ปฐมฌานแล้ว จิตก็จะมีกำลัง ใช้กำลังวิปัสสนาญาณห้ำหั่นกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานได้ ฆ่าให้ตายได้

    นี่เพียงแต่เข้าถึงฌาน เรียกว่าเรากอคอตัณหาเข้าไว้ ใช่ไหม แต่กดคอได้ถึงฌาน ๔ จะมีกำลังใหญ่ แต่ปฐมฌานกดคอไว้บางทีเผลอ มันก็โผล่พรวดขึ้นมาโผล่ง่าย เพราะกำลังเรายังเด็ก ทางที่ดีใช้กำลังให้ถึงฌาน ๔ แล้วก็ทรงฌาน ๔ ไว้ให้ได้ จะเข้าฌานเมื่อไรก็ได้จะกำหนดเวลาเพียงไหน ก็ทรงได้ตามกำหนดของเวลานี้กำลังของตัณหาจะตกเพลียไปมาก ดีไม่ดีเรานึกว่าเราเป็นพระอรหันต์ เพราะอะไร เพราะก่อนจะหลับ เราก็ทรงฌาน ทรงฌานจนหลับ ถึงเวลาจะนอนก็นอน ตั้งอารมณ์จับจุดเป็นสมาธิ ทรงถึงระดับฌานหลับไปเลยระหว่างหลับเป็นฌาน เวลาพอตื่นขึ้นมาไม่ต้องไปเตือนมัน มันสตาร์ทเข้าฌานทันที

    [FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]ถ้าเราทรงฌานได้อย่างนี้วันนี้ทั้งวัน วันนั้นจะมีอารมณ์เป็นสุข นิวรณ์จะไม่รบกวนจิต จิต จะสะอาดตลอดเวลา นี่ไอ้ตรงฌาน ๔ นี่บางคนคิดว่าตนเองเป็นพระอรหันต์กันมาเยอะ ต้องระวังให้ดี ต้องรู้ว่านี่เราทรงจิตขนาดไหนต้องรู้ แต่รู้แบบไหนละ รู้แบบตำรา ตำราเขามีให้แล้วเป็นเครื่องวัด นี่เรียกว่าเรากดคอตัณหาลงไปได้ กดคอจนกระทั่งคล้าย ๆ มันหลับสนิทเลยนะ บางทีเราคิดว่าตาย นี่อย่าเผลอเชียวนะ ถ้าทำได้ขนาดนี้จงอย่าเผลอ อย่าคิดว่าเราสำเร็จมรรคผลแล้ว ระมัดระวังให้มาก นี่เอาเสียเยอะแล้ว ทำตั้งท่าเป็นพระอรหันต์เข้าพัก ไป ๆ มา ๆ ที่ไหนได้ สึกเสียแล้ว เผลอไปพ่อตัณหาโดดมาขี่คอเสียอีกแล้ว
    [/FONT]
    [/FONT]
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อันนี้เมื่อเราทำอธิจิตสิกขาได้แล้ว เอาสมาธิกดคอตัณหา พอจิตมีอารมณ์ดีตั้งอารมณ์ให้ได้สักเวลาเท่าไรก็ได้ นี่พูดถึงทรงฌาน ๔ กันเสียเลย ว่าทรงฌาน ๔ ได้แล้วตรงนี้เราก็ใช้วิปัสสนาเป็นอารมณ์ ตัดตอตัณหา ฟันมันเป็นท่อนเป็นตอนไปเลย ฟันให้แหลกให้รานไปไม่ยาก แบบไอ้เสือตายฟันตรงไหนก็ได้ เสือไม่ตายเราจับมัด ดิ้นไม่ได้แล้วฟันตรงไหนก็ฟันได้ จะฆ่าให้ตายเมื่อไรก็ทำได้ นี่กำลังทรงฌาน ๔ นะ แล้วก็สามารถทรงฌาน ๔ ได้ตามอัธยาศัย

    พระพุทธเจ้าจึงได้บอกว่า คนที่ทรงฌาน ๔ ได้ และก็รู้ใช้อารมณ์ของฌาน ๔ ควบคุมวิปัสสนาได้ ถ้ามีบารมีแก่กล่าจะเป็นพระอรหันต์ภายใน ๗ วัน ถ้ามีบารมีอย่างกลางจะเป็นพระอรหันต์ภายใน ๗ เดือน มีบารมีอย่างอ่อนจะเป็นพระอรหันต์ภายใน ๗ ปี เห็นไหม ภายในนะ ไอ้บารมีผมเคยบอกแล้ว บารมีเขาแปลว่ากำลังใจ มีบารมีแก่กล้า คือ มีกำลังจิตเข้มแข็งนั่นเอง ต่อสู้กับอารมณ์ที่เข้ามาต่อต้าน

    มีบารมีอย่างกลางมันเข้มข้นเหมือนกัน แต่ว่ามันเข้มบ้างไม่เข้มบ้าง เดี๋ยวก็จริงบ้าง เดี๋ยวก็ไม่จริงบ้าง ย่อ ๆ หย่อน ๆ ตึงบ้างหย่อนบ้าง อย่างนี้ใช้เวลาประมาณ ๗ เดือน หรืออาจจะไม่ถึง ๗ เดือน ทีนี้บารมีย่อหย่อน เปาะแปะ ๆ ตามอัธยาศัย ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง ปล่อยตามอารมณ์ อย่างนี้ไม่เกิน ๗ ปี นี่ผมพูดถึงว่าคนที่ทรงฌาน ๔ ได้ และก็ฉลาดในการใช้ฌาน ๔ ควบวิปัสสนาญาณ ถ้าโง่ละก้อดักดานอยู่นั่นแหละ กี่ชาติก็ไม่ได้เป็นอรหันต์

    ทีนี้ต่อมาเมื่อทรงสมาธิได้แล้ว ก็ใช้ปัญญาเป็นเครื่องตัด ตัดกิเลส อันนี้ไม่ยาก ง่ายนิดเดียว นี่ง่ายมาก ถ้าทำถึงฌาน ๔ ทรงฌาน ๔ ได้แล้วของกล้วย ๆ กล้วยสุกไม่ใช่กล้วยดิบ ง่ายบอกไม่ถูก เราจะมีความรู้สึกเลย แหม…ทำถึงปฐมฌานนี่มันยากกว่าตัดกิเลสเป็นไหน ๆ อีตอนนี้ผมเคยพูดแล้วนะว่า ถ้าใครสามารถทรงฌานได้ดี เวลาเจริญวิปัสสนาญานนี่ มันรู้สึกว่าง่ายบอกไม่ถูก ใช้เวลาไม่ช้านิดหน่อย เพราะกำลังเราดีแล้ว เหมือนกับกิเลสทั้งหมดเราจับมัดเสียหมดแล้ว กระดิกกระเดี้ยไม่ได้ ดิ้นไม่ได้เลย ทีนี้เราจะสับฟันตรงไหนก็ได้ตามอารมณ์

    ตอนนี้เมื่อทรง ฌาน ๔ แล้วเราก็เข้าฌาน ๔ เต็มอารมณ์ เราจะใช้วิปัสสนาญาณ เมื่อเข้าฌาน ๔ เต็มอารมณ์แล้ว ก็ถอยหลังมาถึงอุปจารสมาธิ เราจะตัดตัวไหนละ ตัดราคะ ความรัก รักสวยรักงาม เราก็ยกอสุภกรรมฐานขึ้นมาเป็นเครื่องเปรียบ ยกกายคตานุสสติกรรมฐานขึ้นมาเป็นเครื่องเปรียบ เปรียบเทียบกันว่าไอ้สิ่งที่เรารักนะ มันสะอาดหรือมันสกปรก กำลังของฌาน ๔ นี่เป็นกำลังที่กล้ามาก และปัญญามันเกิด

    พอถึงฌาน ๔ ปัญญามันเกิดเอง เกิดชัด มีความหลักแหลมมาก คุณยังไม่ถึงยังไม่รู้ ผมพูดไว้เผื่อคุณจะทำถึง ประเดี๋ยวเดียวมันเห็นเหตุเห็นผลชัด พอมันตัดได้แล้วมันไม่โผล่นะ เดินเห็นคนเน่าหมด ไม่เน่าอยู่คนเดียวเรา หรือไง แต่ความจริงมันเห็นเราเน่าก่อน มันเบื่อตัวเราก่อนแล้วก็ไปเบื่อคนอื่น รู้สภาพเรายอมรับนับถือสภาพความเป็นจริงทั้งหมด เห็นคนปั๊บไม่ต่างอะไรกับส้วมเดินได้ จะเอาเครื่องหุ้มห่อ สีสันวรรณะขนาดไหนก็ตาม มันบังปัญญาของพวกท่านพวกนี้ไม่ได้ นี่ไม่กี่วัน ๒-๓ วันเห็นชัด เห็นแล้วไม่ตกด้วยนะ
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พิจารณาขันธ์ ๕ ว่าขันธ์ ๕ เต็มไปด้วยความสกปรก ยกเอาอสุภกรรมฐานกับกายคตานุสสติกรรมฐานของสมถะเข้ามาควบ เอามาควบ คนที่เขาทำได้เขาเก่ง เขาเก่งกันแบบนั้น เขาต้องควบเก่ง

    มาถึงด้านโลภะ ความโลภ ไม่นั่งนึกว่าไอ้คนมันเน่าแล้ว ไอ้เราก็ตาย เราก็เน่าจะไปโลภมันทำไม มีก็กิน ไม่มีก็แล้วไป มีเท่านี้ใช้เท่านี้ ใครเขาไม่ให้เราก็ใช่มันเท่านี้ หมดก็หมดไป จะตายเราก็เชิญตาย เราเป็นทาสของกิเลสตัณหามานานแล้ว ตายเมื่อไรสบายเมื่อนั้น แต่ฌาน ๔ เฉย ๆ ไม่มีวิปัสสนาญาณ ก็ไปนอนตีเขลงเป็น พรหมดีกว่าเป็นคนตั้งเยอะ ทีนี้มาถึงโลภะ ตัดราคะได้ โลภะมันก็เจ๊ง ตัดโลภะ ราคะมันก็ไป ความจริงมันตัวเดียวกัน มันไม่ใช่สองตัว ผมพูดแยกเป็นสองตัวส่งเดชไปอย่างนั้น ให้เข้าใจง่าย

    ตอนนี้พอจะมาตัด โทสะ มาตัดโทสะ ความจริงเราระงับมันได้ กดคอมันได้ตั้งแต่เจริญฌานแล้วมันเป็นของไม่ยาก แล้วก็มาเปรียบเทียบกับขันธ์ ๕ ร่างกายนี่มันจะตายอยู่แล้ว มันจะพัง ไปนั่งโกรธมันอยู่ มีประโยชน์อะไร ไอ้คนที่มันชอบทำให้คนอื่นโกรธมันเป็นคนจัญไร มันทำลายความดีของตัว ทำลายความสุขของตัว คนประเภทนี้เป็นคนน่าสงสาร ไม่ใช่น่าโกรธ เพราะตัวเขาเองยังหาความสุขไม่ได้ ยังมีทุกข์ ตายแล้วก็ไปอบายภูมิ

    มันก็เกิดเป็น อภัยทาน ความโกรธ มันก็หาย เมื่อถึง ฌาน ๔ แล้วมันกล้วยจริง ๆ วิปัสสนาญาณ นี่ผมบอกให้นะทำฌาน ๔ ก็ไม่ยาก เดี๋ยวเดียวเท่านั้นก็ได้ ถ้ามันจะได้เสียอย่าง มันไม่ได้ก็แล้วไปถ้าเราทำใจสบายเดี๋ยวมันก็ได้ ถ้าเราอยากได้มันจะไม่ได้ เพราะตัณหาเข้าไปขวางใจ

    ทีนี้มา โมหะ ความหลง มันไม่มีอะไร ถ้าตัดได้ตัวเดียว อ๒ ตัว มันไม่เพื่อนแล้วไป ไอ้โต๊ะ ๓ ขานี่หักเสียขาตั้งอยู่ไหม พอตัดได้ตัวเดียวตัดราคะกับโลภะก็ตัวเดียวกัน พอตัดเจ้านี่ได้ตัวอีก ๒ ตัวหมดแรงเลย ความจริงเรามัดมันแล้ว เรามัดมันไว้แล้ว แรงมันก็สู้เราไม่ได้ พอเอามีดฟันเข้ามันก็หมดสิ้นไม่มีทางดิ้น โมหะ ความหลง มันจะมาหลงยังไง คนก็เน่า สัตว์ก็เน่า เป็นของน่าเกลียด ทรัพย์สินต่าง ๆ ไม่สามารถจะทรงความสุขให้เกิดแก่เราได้เพราะเป็นปัจจัยของความทุกข์ ีก

    อารมณ์มันเห็นแล้ว ถ้าเราจะโกรธ เราจะฆ่าเขา มันก็ไม่มีประโยชน์ เป็นการสร้างโทษให้เกิดแก่ตัว เป็นการทำลายความสุข นั่งเฉย ๆ ดีกว่า ไอ้คนที่เราจะฆ่ามัน เราไม่ต้องไปฆ่า ไม่ฆ่ามันก็ตายไม่ฆ่าดีกว่า เหนื่อย เราจะไปแกล้งเขามีความทุกข์มันเรื่องอะไร เราไม่แกล้งเขา เขาก็มีความทุกข์ เมื่อเราแกล้งเขา เขาก็มีความทุกข์ เราไม่ต้องแกล้งดีกว่า มันทุกข์ของมันอยู่แล้ว หมดเรื่อง

    ทีนี้หันเข้ามาหาตัว อะไรที่เป็นการทรงตัว ที่เป็นเราเป็นของเรา มีตรงไหน เรามีบ้าน ชาวบ้านเขาปลูกบ้านอย่างเรา บ้านมันพังไปกี่ร้อยหลัง แล้วเรามีผัว มีเมีย มีลูก มีพี่ มีน้อง มีพ่อ มีแม่ ไอ้คนที่เขามีอย่างเราแล้ว มันตายไปในโลกมันมีประมาณเท่าไร แล้วเราจะมาถือว่านี่พ่อของเรา แม่ของเรา อย่าอกตัญญูพ่อแม่เข้านะ ความดีของท่านข้าไม่ได้นะ นี่หมายถึงร่างกาย ร่างกายของท่านจะทรงอยู่ตลอดไป มันจะเป็นไปได้อย่างไร มันเป็นไปไม่ได้ ในที่สุดท่านก็ต้องตาย
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เมื่อถึงเวลาที่ท่านจะตายก่อนที่ท่านจะตายเราก็ต้องทำความดีให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แกไม่ต้องไปนั่งรำพึงรำพันว่า พ่อตายเสียแล้วยังไม่ได้สนองคุณ แม่ตายเสียแล้วยังไม่ได้สนองคุณ ไอ้คนแบบนี้มันคนจัญไร ไม่ใช่คนดี เวลาอยู่ไม่ให้เวลาตายคิดถึง ใช่ไม่ได้ ยอดของคนเลว เราตั้งใจสนองคุณตามกำลังที่เราพึงสนองได้ ไม่ใช่ต้องไปกอบโกยกู้ยืมเขามา ไม่ใช่อย่างนั้น

    อันนี้เราต้องมานั่งคิด พ่อก็ต้องตาย แม่ก็ต้องตาย ลูกเราก็ต้องตาย เมียก็ต้องตาย ผัวก็ต้องตาย ญาติพี่น้องก็ต้องตาย ไอ้เราก็ต้องตาย เราเห็นตัวเราเองว่าจะตายเสียอย่าง คนอื่นทั้งหมดก็ไม่มีความหมาย ในเมื่อคนในเมื่อสัตว์เลี้ยงตัวได้ยังต้องตาย ยังต้องพัง ทรัพย์สินทั้งหลายเหล่านี้จะทรงตัวอยู่ได้อย่างไร หากว่าเราจะยึดถือว่ามันเป็นของเรา เป็นของเราอยู่เราจะเกิดมาอย่างนี้ มันเต็มไปด้วยความทุกข์ เกิดเป็นเด็ก แล้วก็เป็นหนุ่ม เป็นสาว แล้วก็แก่ ก็ตายแล้วทรงความทุกข์ตลอดเวลา อันนี้จะเกิดประโยชน์อะไรมาจากไหน ใช่ไหม ไม่มีอะไรเป็นประโยชน์

    ผลที่สุดก็เห็นว่าโลกนี้ไม่มีอะไรเป็นของเราแม้แต่ร่างกายนี้มันก็ไม่ใช่เรา ถ้ามันเป็นเราจริง ๆ มันจะแก่ เราไม่ให้มันตาย มันก็ต้องอย่าแก่ซิ เราไม่ให้มันตาย ไม่ให้มันป่วย มันก็ต้องไม่ป่วย เราไม่ให้มันตาย มันก็ต้องไม่ตาย นี่มันเชื่อเรารึเปล่า ร้อนจัด เราต้องการให้มันไม่ร้อน มันก็ร้อน หนาวเราไม่ต้องการให้มันหนาว มันก็จะหนาว เป็นอันว่าเราบังคับมันไม่ได้ ในที่สุดเราไม่ต้องการให้มันตายมันก็จะตาย เราจะไปนั่งรำพึงรำพันเพื่อประโยชน์อะไร ว่ามันเป็นเราเป็นของเรา และความปรารถนาในความเกิด เราจะต้องการมาเพื่ออะไร เราเกิดมาเพื่อทุกข์ เราทุกข์แค่นี้มันก็เหลือกำลังที่จะทน

    พระพุทธเจ้าบอกว่า “ภารา หเว ปัญจักจขันธา ขันธ์ ๕ เป็นภาระอันหนัก” อันนี้ในเมื่อมันหนัก เรารู้ว่าหนัก แล้วเราจะต้องกลับมาแบกมันอีกหรือเราก็โง่นะซิ เราก็เลิกไม่แบก ทำยังไง ตอนนี้เราก็ใช้ “ช่างมัน” ใช่ไหม มันจะแก่ก็ช่าง ธรรมดาของมัน มันจะป่วยก็ “ช่างมัน” มันจะตายก็ “ช่างมัน” อีตอนที่มันจะเกิดนี่ไม่ช่างมันแล้ว ถ้าไม่เกิดอีก เพราะอะไร ข้าบังคับแกไม่ได้ เอ็งนี่มันหัวดื้อหัวด่าน อกตัญญูไม่รู้คุณเลี้ยงเท่าไร ๆ มันไม่จำ

    อยากจะกินเปรี้ยวหาเปรี้ยวให้ อยากกินเค็มหาเค็มให้ อยากกินหวานหาหวานให้ อยากจะแต่งตัวแบบไหนหาให้ อยากจะนั่งรถก็ซื้อให้ มันยังแก่ ยังป่วย ไอ้นี่คบไม่ได้ เลิกกัน เตสัง วูปสโม สุโข นึกถึงความดีที่พระพุทธเจ้าทรงเตือนว่า การเข้าไปสงบกายนั้นชื่อว่าเป็นสุข เป็นอันว่าความปรารถนาในร่างกายไม่มีสำหรับเรานับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป แล้วก็ใจทรงแบบนั้นเป็น เอกัคคตารมณ์ ความสุข ความทุกข์ใด ๆ เกิดขึ้นถือว่าเป็นกฎของกรรม เป็นเรื่องธรรมดาเราจะต้องทนสู้ต่อไป ในระยะไม่ช้าเราก็จะมีความสุข ถ้าร่างกายนี้พัง

    แค่นี้ก็จบแล้ว เป็นพระอรหันต์ อย่างนี้เป็นอารมณ์พระอรหันต์ พระอรหันต์นี่สังคมกับใครได้ทุกชั้น ทำตัวเสมอกัน แต่ถ้าจะให้อารมณ์ของท่านเข้าไปจับเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่งถือว่าเป็นเราเป็นของเราผูกมัดท่านไม่มีโอกาส เวลานี้มันจบแล้ว ชื่อว่า จบอริยสัจ เพียงแต่นี้นะ

    พระราชพรหมยาน

    หมายเหตุ เรื่องอริยสัจนี้คัดจากหนังสือ ธรรมปกิณกะ เล่ม ๒ ว่าด้วยเรื่อง มหาสติปัฏฐานสูตร ตอน ธัมมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน อบรมพระในระหว่างพรรษาปี ๒๕๑๗
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    มรณานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ ๑

    สำหรับอนุสสติวันนี้ ได้แก่ มรณานุสสติกรรมฐาน คำว่า มรณานุสสติกรรมฐานนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีความมุ่งหมายให้นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ แต่ความจริงเรื่องความตายนี้ ท่านพุทธบริษัท เราเห็นคนตายกันเสมอ ได้ยินข่าวการตายกันอยู่เกือบจะทุกวัน เวลานี้อาจจะเป็นวันละหลายครั้งก็ได้ เพราะมีวิทยุมีหนังสือพิมพ์เป็นเครื่องทราบ หรือบางครั้งบางคราว เราก็ไปเผาคนอื่นที่เขาตาย แต่ทว่าตัวเองของเราเองกลับไม่เคยคิดว่าจะตาย อย่างนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาถือว่า มีความประมาทอย่างยิ่ง ทั้งนี้ เพราะว่ากฎธรรมดาที่เราพึงเกิดมาเมื่อมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น ก็ต้องมีความตายไปในที่สุดเหมือนกัน

    เมื่อความตายเข้ามาถึงแล้ว บางท่านคิดถึงความตายเหมือนกัน แต่ทว่าคิดว่าเมื่อตายแล้วมันก็แล้วกันไป หมดเรื่องหมดราว หมดทุกข์ ถ้าความตายมีสภาพเป็นอย่างนั้นจริงก็ไม่น่าจะวิตกกังวล ขณะที่เรามีชีวิตเป็นคน เราจะสร้างความดีหรือจะสร้างความชั่วอย่างไรก็ได้ เพราะตายแล้วถือว่าแล้วกันไป
    แต่ทว่าองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาท่านไม่ได้บอกอย่างนั้น ท่านกลับบอกว่า ถ้าเรายังไม่หมดกิเลสเพียงใด ตายแล้วมันก็ยังไม่หมดเรื่อง ถ้าหากว่าจิตของเราเต็มไปด้วยอำนาจของความชั่วเข้ามาครอบงำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รากเหง้าของอกุศลและบริวารของรากเหง้าของอกุศล
    อกุศลเดิม คือ รากเหง้าจริง ๆ แห่งความชั่ว ได้แก่

    ๑. ราคะ ความรัก หรือโลภะ ความโลภ ๒ อย่างนี้เป็นอันเดียวกัน
    ๒. โทสะ ความโกรธ
    ๓. โมหะ ความหลง

    ความชั่วจริง ๆ ที่เป็นพื้นฐานรากเหง้าตัวต้นของมันมีอยู่ ๓ หรือ ๔ อย่างนี้เท่านั้น แล้วมันก็แตกกระจัดกระจายไปเป็นกิ่งก้านสาขานับไม่ถ้วน ถ้าอารมณ์จิตของเรายังหมกมุ่นอยู่กับอำนาจของความชั่วตามที่กล่าวมานี้ ตายแล้วแทนที่จะมีความสุข มันก็กลับมีความทุกข์ คือ ไปเกิดในอบายภูมิ มีสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น ถ้ามาเกิดเป็นคนก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ความยาก ความลำบาก ไม่มีความสุขสมบูรณ์เหมือนเขา

    ถ้าจิตในของเรามีกุศล คือ มีอารมณ์ตรงกันข้าม แทนที่จะทำลายทรัพย์สินของบุคคลอื่นด้วยความโลภ กลับเป็นผู้ให้ ได้แก่ การให้ทาน จิตมีความเมตตาปรานี คือ มีความรัก มีความสงสาร เห็นสัตว์หรือคนที่มีความทุกข์ เราสงเคราะห์ให้เขามีความสุขตามกำลัง ที่เราจะพึงให้ได้ เมื่อใครเขาทำผิด ถ้ามันไม่ผิดระเบียบวินัย กฎข้อบังคับ เราก็ให้อภัย ถ้ามันเป็นเรื่องส่วนตัว ถ้าเป็นเรื่องส่วนรวม การลงโทษถือว่าเป็นการหวังดี เพื่อไม่ให้บุคคลนั้นทำความชั่วต่อไป แล้วก็หาหลงไหลใฝ่ฝันในรูปโฉมโนมพรรณ ไม่มีในเรา รวมความว่า จิตเป็นกุศล คือ

    ๑. จิตพอใจในการให้ทาน
    ๒. จิตพอใจในการสงเคราะห์
    ๓. จิตไม่มัวเมาในชีวิต มีความรู้สึกคิดอยู่เสมอว่า เราจะต้องตาย แต่ก่อนที่เราจะตาย ถ้าเราเป็นคน เราก็ขอเป็นคนดี ถือว่าถ้าเราเป็นคนดีแล้ว ถ้าตายเป็นผีเราก็เป็นผีดี ผีดีเขาอยู่กันที่ไหนบ้าง เขาก็อยู่ในเขตของเทวดาบ้าง อยู่ในเขตของพรหมบ้าง ที่เรียกกันว่า เทวดา นางฟ้า หรือพรหม ถ้าดีถึงที่สุดก็ไป นิพพาน องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงกล่าวอย่างนี้
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์ท่านทรงยืนยัน เราก็ควรจะคิดว่า ถ้าอย่างนั้นในสมันที่เราเป็นคน เราก็ควรจะเป็นคนดี อะไรบ้างที่เป็นระเบียบวินัย เป็นธรรมะที่ควรประพฤติปฏิบัติที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์ทรงสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุที่จะทำให้หลงไหลใฝ่ฝันในรูปโฉมโนมพรรณจนเกินไป ความโลภ อยากจะได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นมาโดยไม่ชอบธรรม ผิดระเบียบ ผิดวินัย ผิดธรรมะ ผิดกฎหมาย และความโกรธคิดประทุษร้ายบุคคลอื่น อิจฉา ริษยา บุคคลอื่น หลงไหลใฝ่ฝันในชีวิต ไม่คิดว่าเราจะต้องตายอย่างนี้ จงอย่ามีในจิตของเรา หลีกเลี่ยงเสีย เมื่อเรามีจิตเมตตาปรานี ใคร ๆ เขาก็รักใคร ๆ เขาก็ว่าดี เมื่อเรามีความเคารพชีวิตของเรา คิดว่าชีวิตมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มันก็มีความตายไปในที่สุด ความประมาทมันก็ไม่มี เมื่อปฏิบัติตามนี้ ถ้าเป็นคนก็เป็นคนดี ตายแล้วก็เป็นผีดี คือ เป็นเทวดาหรือเป็นพรหม

    การพิจารณาถึงความตายเป็นสำคัญ บางท่านที่มีความหวาดหวั่นในชีวิต คิดว่าถ้าเรานึกถึงความตาย มันจะเป็นลางร้าย ทำให้เราตายเร็ว แต่ความจริงเรื่องความตายนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัท อย่างไร ๆ มันก็ต้องตายแน่ เราจะหนีความตายให้พ้นไปไม่ได้ การที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงแนะนำให้เรานึกถึงความตาย คือ ไม่เมาในชีวิต คิดว่าวันนี้วันพรุ่งนี้เราอาจจะตายก็ได้ เราจะได้สร้างความดีเข้าไว้ ส่วนใดที่เป็นความดี สมมติว่าชาตินี้เราขาดแคลนด้วยทรัพย์สิน เห็นชาวบ้านมีความร่ำรวย แต่งตัวสวยมีพาหนะดี ๆ แต่ว่าเราไม่มีกับเขา เราก็จงคิดว่า เขาสร้างบุญญาธิการอะไรไว้

    อันนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรกล่าวว่า เพราะอาศัยการให้ทานกับคน การให้ทานกับสัตว์ การถวายทานแก่พระสงฆ์ การถวายทานแก่พระอริยสงฆ์ เป็นสำคัญ เป็นปัจจัยให้คนเกิดมาแล้วมีความร่ำรวยในทรัพย์สินต่าง ๆ ถ้าเราเห็นเขามีรูปสวย ทรัพย์สินของเขาที่มีอยู่ โจรขโมยไม่ลัก คนที่อยู่ในปกครองว่าง่าย สอนง่าย ไม่มีใครนอกใจใคร จะพูดอะไรก็เป็นที่รักของบุคคลผู้รับฟัง มีสติปัญญาสมบูรณ์ทุกอย่าง เราอยากเป็นอย่างนั้นบ้าง อันนี้องค์สมเด็จพระชินสีห์กล่าวว่า เพราะมีศีลบริสุทธิ์เป็นปัจจัย ถ้าเราต้องการอย่างนั้น ในชาตินี้เราก็รักษาศีลเสียให้บริสุทธิ์ ชาติหน้าจะมีความเป็นเช่นนั้นบ้าง ตามที่เราต้องการ
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ถ้าหากว่าเห็นคนเขามีสติปัญญาเฉียบแหลมเป็นกรณีพิเศษกว่าคนใด ๆ อันนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรกล่าวว่า เป็นผู้ทรงสมาธิ และวิปัสสนาญาณตามสมควร ถ้ามีฌานสูง มีวิปัสสนาญาณสูง เกิดชาติใหม่ก็มีปัญญาดีมาก มีสมาธิต่ำ เจริญวิปัสสนาได้ต่ำก็มีปัญญาดีน้อย แต่ก็ดีกว่าคนที่มีศีลปกติ ชื่อว่าเป็นปัญญาชนคนที่มีความฉลาด หรือคนที่มีความรู้

    องค์สมเด็จพระบรมครูทรงแนะนำว่า ถาเรารู้ตัวว่าเราจะตาย เราจะได้ไม่ประมาทในชีวิต คิดจะทำความดีไว้เสมอ คนที่คิดถึงความตายไว้เป็นปกติ เป็นคนไม่ประมาทสามารถเป็นพระอริยเจ้าได้ง่าย ตัวอย่างที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองอาฬวี ตอนนั้นองค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่า

    "ท่านทั้งหลาย ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง ท่านทั้งหลายจงอย่าประมาทในชีวิต อย่าคิดว่าเราจะไม่ตาย ในขณะใดที่เรายังทรงชีวิตอยู่ องค์สมเด็จพระบรมครูแนะนำให้สร้างแต่ความดี คือ พยายามตัดความโลภ มีการยื้อแย่งทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่น คดโกงเขาเอาทรัพย์สินมาเป็นส่วนตน ด้วยการให้ทาน ประการที่สอง ให้ระงับอารมณ์ของโทสะและพยาบาท ด้วยมีจิตเมตตาปรานี ทรงอยู่ในศีล ๕ ประการ ประการที่สาม องค์สมเด็จพระพิชิตมารกล่าวว่า จงอย่าประมาทในชีวิต จงคิดไว้เสมอว่า เราจะตายเดี๋ยวนี้ เราจะตายอีกประเดี๋ยวหนึ่งก็ได้ อย่าพึงคิดว่า ชีวิตของเราจะยืนยาวเกินไป"

    องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาเทศน์เพียงเล็กน้อยเท่านี้แล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็เสด็จกลับ จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าเทศน์แต่ละคราวพระพุทธเจ้าไม่ได้เทศน์มาก ขณะที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเทศน์ ชาวบ้านหลายร้อยคนมาฟังกัน และในเวลาเดียวกันนั้นก็มีเด็กหญิงน้อย ๆ อายุเพียง ๑๓ ปี ชื่อว่า เปสการี มาฟังอยู่ด้วย เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปแล้ว ชาวบ้านลุกขึ้นกลับบ้าน เทศน์ของพระพุทธเจ้าหล่นอยู่ตรงนั้นหมด ไม่มีใครจำพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมสุคตไปปฏิบัติเลย

    มีเด็กหญิงอายุเพียง ๑๓ ปีเพียงคนเดียว มองดูพระรูปพระโฉมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นว่าสวยสง่างาม พระสุรเสียงที่แสดงพระธรรมเทศนาก็ไพเราะ วาจาที่กล่าวออกมาก็ไพเราะ เธอก็จับใจ เมื่อเดินกลับไปก็มีความคิดอยู่เสมอว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสั่งว่า อย่าประมาทในชีวิต ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้สร้างความดีมีเมตตา คือ มีการให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น เธอจำพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระทศพลแล้วปฏิบัติตาม สิ้นระยะเวลา ๓ ปี
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วันหนึ่งองค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงตรวจอุปนิสัยของสัตว์ในเวลาเช้ามืด สมเด็จพระทรงสวัสดิ์ได้ทรงเห็นภาพเด็กสาวผู้นี้ เวลานี้อายุ ๑๖ ปี ตกอยู่ในข่ายพระญาณ สมเด็จพระพิชิตมารตกพระทัยว่านี่มันเรื่องอะไร พิจารณาไปก็ทราบว่าตอนสายวันนี้เธอจะตาย จึงได้พิจารณาต่อไปว่า การตายของเธอคราวนี้ ถ้าเราไม่ช่วย คติของเธอจะแน่นอนหรือไม่แน่นอน ก็ทรงทราบว่า ถ้าองค์สมเด็จพระชินวรไม่ช่วยเหลือ คติของเธอจะไม่แน่นอน

    ฉะนั้นเวลาตอนเช้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จไปพระองค์เดียวไปคอยเธออยู่ระหว่างทางที่เธอจะมาจากบ้าน และไปโรงทอหูกของพ่อ (ขอเล่าลัด ๆ เพราะไม่ต้องการประวัติของนาง) เมื่อคนมาเฝ้าองค์สมเด็จพระทศพล เธอก็มาแล้วองค์สมเด็จพระประทีปแก้วมองหน้าเธอ ความจริงเธออยู่ข้างนอก เธอก็มองหน้าตาจ้องมองตาพระพุทธเจ้าเห็นพระพุทธเจ้ามองหน้าเธอ เธอก็ทราบว่าองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าต้องการให้เธอเข้าไปใกล้ เธอเข้าไปแล้ว องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงได้มีพระพุทธฎีกา ถามว่า
    "ภคินิ ดูก่อน น้องหญิง เธอมาจากไหน" นี่พระพุทธเจ้าท่านจะเรียกคนหนุ่ม คนสาว คนแก่ ท่านเรียกอย่างนี้ทั้งหมด ท่านไม่ถือว่าท่านใหญ่โต ท่านถือว่าทุกคนคนทุกคนเป็นน้องท่าน ท่านแสดงความรักความเมตตาสม่ำเสมอกัน

    เธอตอบองค์สมเด็จพระจอมไตรว่า "ไม่ทราบพระพุทธเจ้าข้า"
    สมเด็จพระบรมศาสดาจึงถามไม่ว่า "เธอจะไปไหน"
    เธอก็ตอบว่า "ไม่ทราบ พระพุทธเจ้าข้า"
    พระผู้มีพระภาคเจ้าถามต่อไปว่า "เธอไม่ทราบหรือ"
    เธอตอบว่า "ทราบ พระพุทธเจ้าข้า"
    และพระพุทธองค์จึงถามต่อไปว่า "เธอทราบหรือ"
    เธอก็ตอบว่า "ไม่ทราบ พระพุทธเจ้าข้า"

    เมื่อเธอตอบแบบนี้ คนที่ฟังอยู่หลายร้อยคนหาว่าเด็กหญิงล้อเลียนองค์สมเด็จพระทศพล จึงด่าว่า "อีเด็กถ่อย สามารถกล้าล้อเลียนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" พระผู้มีพระภารเจ้าจึงได้ห้ามปรามเขาเหล่านั้น แล้วก็กลับมาถามย้อนไปใหม่ว่า "ภคินี ดูกร น้องหญิง ที่ตถาคตถามเธอว่า เธอมาจากไหน เธอตอบว่าไม่ทราบนั้น หมายความว่าอย่างไร"

    เธอตอบว่า "คำถามขององค์สมเด็จพระจอมไตร มีความหมายว่าก่อนที่หม่อมฉันจะมาเกิดเป็นมนุษย์ หม่อมฉันมาจากไหน อันนี้หม่อมฉันไม่ทราบ พระพุทธเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าก็ยกมือขึ้นตรัสว่า "สาธุ สาธุ ดีแล้ว ตอบถูกแล้ว"
    และองค์สมเด็จพระประทีปแก้วถามว่า "ที่ถามเธอว่าเธอจะไปไหน เธอตอบว่าไม่ทราบ มีความหมายว่าอย่างไร"

    เธอก็ตอบว่า "ที่ว่า ไม่ทราบ หม่อมฉันไม่ทราบว่า เวลาที่ตายจากชาตินี้ไปแล้วจะไปไหน จะไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดเป็นคน เกิดเป็นเทวดาหรือพรหม หม่อมฉันไม่ทราบ พระพุทธเจ้าข้า"
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยกมือ ตรัสว่า "สาธุ เธอตอบถูกแล้ว" แล้วองค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็ถามต่อไปว่า "น้องหญิง ที่ตถาคตถามว่า เธอไม่ทราบหรือเธอตอบว่า ทราบ หมายความว่าอย่างไร"

    เธอตอบว่า "ที่ว่าทราบ ก็หมายความว่า จำได้แน่นอนว่า ชีวิตของหม่อมฉันอย่างไร ต้องตายแน่พระพุทธเจ้าข้า"

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ให้สาธุการ และองค์สมเด็จพระพิชิตมารกล่าวว่า "ข้อสุดท้ายที่ตถาคตถามเธอว่า เธอทราบหรือ เธอตอบว่า ไม่ทราบ หมายความว่าอย่างไร"

    เธอก็กราบทูลองค์สมเด็จพระจอมไตร "ที่ว่า ไม่ทราบ หม่อมฉันไม่ทราบว่าความตายจะปรากฏขึ้นวันนี้ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ เดือนนี้ เดือนโน้น จะตายตอนเช้า ตอนสาย ตอนบ่าย ตอนเที่ยง อันนี้หม่อมฉันไม่ทราบ พระพุทธเจ้าข้า" องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกมือขึ้นสาธุ

    เพียงแค่ถามปัญหา ๔ ข้อ แต่อาศัยที่เธอระลึกถึงความตายไว้เป็นปกติ และเธอทรงศีล ๕ เป็นปกติ มีความเคารพในพระพุทธเจ้าเป็นประจำ ทุกวัน ทุกคืน เวลาเธอนั่งอยู่ นอนอยู่ ยามว่าง จิตใจของเธอนึกถึงวงพักตร์ คือ ดวงหน้าขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เสมอ จัดว่าเธอมี พุทธานุสสติกรรมฐาน เป็นประจำ แล้วก็มี มรณานุสสติกรรมฐาน เป็นประจำ ทรงศีล ๕ บริสุทธิ์ มีจิตเมตตาสงเคราะห์แก่บุคคลหรือสัตว์ผู้ยากอยู่เสมอ แต่ว่ากำลังใจยังไม่มั่นคงนัก

    เมื่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าชมเธอว่า ตอบได้ถูกต้อง มีปัญญาหลักแหลม ให้สาธุการว่า "ดีแล้ว ถูกแล้ว" อย่างนี้ อารมณ์ของเธอก็เกิดธรรมปีติเวลานั้นเอง ความมั่นคงของจิตก็ปรากฏ ก็ปรากฏว่า เธอได้บรรลุ พระโสดาปัตติผล หลังจากนั้น พระพุทธเจ้ากลับ เธอไปที่โรงหูก พ่อกำลังหลับ เธอไปกระทบพื้นเข้า พ่อตกใจพุ่งกระสวยโดยแรง กระสวยถูกอกของเธอล้มลงสู่ความตาย ตายแล้วก็ไปเกิดเป็นเทวดาชั้นดุสิต

    อันนี้องค์สมเด็จพระธรรมสามิสรชี้ให้เห็นว่า คนที่นึกถึงความเป็นอารมณ์แล้วมีความไม่ประมาทในชีวิต มีความคิดอยู่เสมอว่า เราจะตาย แต่ว่าการตายของเรานี้จะต้องตายอย่างคนผู้มีเหตุผล ตายอย่างคนผู้มีความดี ถ้าเราคิดอย่างนี้ เราก็ตั้งใจให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ก็ย่อมเป็นปัจจัยให้ท่านทั้งหลายได้บรรลุมรรคผลได้โดยง่ายอย่าง เปสการีธิดา ที่ได้กล่าวมาแล้ว

    ถ้าเรานึกถึงความตายเป็นอารมณ์ (นี่มาพูดกัน) นึกถึงความตาย และก็คิดว่า ถ้าเราตายไม่ดี เราก็มีทุกข์ ถ้าเราตายไปกับความดี เราก็มีความสุข อันดับแรก ก็ยึดหัวหาดไว้ก่อนว่า ธรรมะนี้องค์สมเด็จพระชินวรเป็นคนเตือนเรา และเวลานี้พระพุทธเจ้านิพพานแล้ว พระสงฆ์นำมาแนะนำให้กับเรา เรายอมรับนับถือความดีของพระพุทธเจ้า ความดีของพระธรรม และความดีของพระอริยสงฆ์

    นี่อาตมาเจาะลงไปเฉพาะพระอริยสงฆ์ ก็เพราะว่าพระสงฆ์ธรรมดาไว้ใจไม่ได ้
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แม้แต่อาตมาเองก็เหมือนกันไว้ใจไม่ได้ พระที่จะไว้ใจได้จริง ๆ ต้องตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป เพราะตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปไม่มีอารมณ์โยกโคลง ทรงอยู่ในความดี จึงได้บอกว่า ให้ท่านมีความเคารพในพระอริยสงฆ์ ถ้าจิตใจมั่นคงอยู่อย่างนี้

    อันดับต่อไปก็ทรงศีล ๕ บริสุทธิ์ ที่เรียกว่า เจริญสีลานุสสติกรรมฐาน เป็นประจำ ตื่นขึ้นมาใหม่ ๆ ก็ตั้งใจจะทรงศีลให้บริสุทธิ์ วันทั้งวันจิตกำหนดอยู่ในศีลบริสุทธิ์อยู่เสมอ ก่อนจะหลับก็ใคร่ครวญดูว่า ตั้งแต่ตื่นมาจนถึงเวลานี้ เราบกพร่องในศีลสิกขาบทไหนบ้าง เมื่อเห็นว่าจิตใจของเราทรงศีล ๕ ประการ (เฉพาะฆราวาส) เป็นเอกัคคตารมณ์ คือ มีอารมณ์อันเดียว ไม่ลืม ไม่เผลอ ไม่ต้องระวังในศีล และขอแถมอีกนิดหนึ่ง ถ้าจิตใจรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ อย่างนี้ท่านเรียกว่า พระโสดาบัน ก็ไม่ยากนัก

    องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า คนที่คิดว่า ตัวจะตาย ถ้าคิดต่อไปว่า ถ้าเราเป็นพระโสดาบัน เราจะต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์กับเทวดาสลับกันไป ความเหนื่อยยากในการยังมีอยู่ องค์สมเด็จพระบรมครูตรัสว่า ถ้าอย่างไรก็ดี ตัดความเกิดเสียให้สิ้น จุดหมายปลายทางก็คือ พระนิพพาน

    การจะเข้าพระนิพพาน ถ้าจะว่ากันตามสังโยชน์ ๑๐ ประการ ก็รู้สึกว่าจะช้า เราก็ไปรวบยอดกันตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ใน มหาสติปัฏฐานสูตร ที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า "เราจงอย่าสนใจในร่างกาย กายในกาย ได้แก่ กายของเรา จงมีความคิดว่า กายนี้มันสักแต่ว่าเป็นกาย กายนี้สักแต่ว่าเป็นเรือนร่างที่อาศัยชั่วคราว มันมีความเกิดในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง มีการสลายตัวไปในที่สุด เรา คือ จิตที่เข้ามาอาศัยอยู่ในกาย ถ้ากายมันพังเราก็ต้องไป ไปแล้วถ้าหากว่าเรายังต้องการกายมาเป็นที่เกิดอีก เราก็มีความทุกข์อย่างนี้"

    องค์สมเด็จพระชินสีห์รวบรัดตัดใจความว่า "เธอจงอย่าสนใจในกายของเธอ ในเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ทำงานหาอาหารเลี้ยงมัน หาผ้านุ่ง ผ้าห่มให้แก่มัน เพื่อเป็นการป้องกันการหนาว การร้อน และการหิวกระหายในอาหาร แต่ทว่าจงอย่าคิดว่า เรากับร่างกายนี้จะอยู่ร่วมกันไปตลอดกาลตลอดสมัยให้มีความรู้สึกเสมอว่า ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เรา คือ จิตที่เข้ามาอาศัยร่างกายชั่วคราวเท่านั้น เมื่อมันสลายตัวเมื่อไร เราก็ต้องไป"

    องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงแนะนำว่า "จงอย่าผูกพันในร่างกายต่อไป เราจงคิดไว้เสมอว่า ร่างกายเป็นแดนของความทุกข์ เป็นปัจจัยของความทุกข์ ไม่ได้บันดาลความสุขให้แก่เรา เมื่อร่างกายนี้หมดไปเมื่อไร ขึ้นชื่อว่ากายอย่างนี้สำหรับเราไม่มีอีก"

    และก็ทรงแนะนำว่า "แม้แต่ร่างกายของบุคคลอื่น เราก็ไม่ต้องการ และก็ไม่ต้องการผูกพันในวัตถุทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ถือว่าเป็นสมบัติของโลก มันก็เป็นสมบัติของโลก ในเมื่อชีวิตินทรีย์ของเรานี้หมดไป ก็เป็นเหตุสุดวิสัยที่เราจะปกครองสมบัติของโลกต่อไปได้"
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ถ้ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายคิดอย่างนี้เป็นปกติ และแถมต่อไปสักนิดว่า "ถ้าเราตายคราวนี้เราขอมีพระนิพพานเป็นที่ไป มนุษยโลกก็ดี เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี ไม่เป็นที่ยินดีสำหรับเรา เราต้องการอย่างเดียว คือ พระนิพพาน ถ้าอารมณ์ใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านคิดไว้อย่างนี้เป็นปกติ อารมณ์ความรักในเพศ อารมณ์ความโลภในทรัพย์สิน อารมณ์ความโกรธ ความพยาบาททั้งหลาย ความหลงไหลใฝ่ฝันในรูปโฉมโนมพรรณ ร่างกาย และทรัพย์สินทั้งหลาย ก็สลายตัวไปจากจิต อย่างนี้องค์สมเด็จพระธรรมสามิสร กล่าวว่า ท่านเป็นผู้เข้าถึงซึ่งอารมณ์แห่งพระนิพพาน รวมความว่า เป็นพระอรหันต์ ตายจากชาตินี้แล้วก็ไปพระนิพพานทันที สวัสดี
     
  18. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    มรณานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ ๒

    สำหรับวันนี้จะขอพูดถึงเรื่อง สมถะ และวิปัสสนา ควบกัน เพราะว่าสมถะและวิปัสสนานี้ ถ้าเราจะปฏิบัติให้ได้ผลจริง ๆ ก็ต้องควบกันอยู่เสมอ ๆ คำว่า มรณานุสสติกรรมฐาน คือ การนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ กรรมฐานกองนี้เป็นกรรมฐานที่มีความสำคัญกองหนึ่ง คือ บรรดาพระอรหันต์ทั้งหลายแม้กระทั่งพระพุทธเจ้าก็ดี ไม่ยอมละ แม้แต่พระองค์ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแล้วเป็นพระอรหันต์แล้วก็ตาม ก็ไม่ทรงยอมละกรรมฐานกองนี้เหมือนกัน

    เราจะเห็นได้ว่าการที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเรียกพระอานนท์เข้ามาหา แล้วองค์สมเด็จพระศาสดาทรงถามว่า "อานันทะ ดูก่อน อานนท์ เธอนึกถึงความตายวันละกี่ครั้ง" พระอานนท์ตอบว่า "ข้าพระพุทธเจ้านึกถึงความตายวันละ ๗ ครั้ง"

    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า "อานันทะ ดูก่อน อานนท์ ยังห่างมากนัก" ความจริงท่านเป็นพระโสดาบัน ท่านนึกถึงความตายวันละประมาณ ๗ ครั้ง พระพุทธเจ้าทรงบอกว่าห่างมากเกินไป "ตถาคตนี่นึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก"

    [FONT=Cordia New,Cordia New][FONT=Cordia New,Cordia New]การนึกถึงความตายนี่เป็นสมถภาวนา ถ้าใครเขาว่าสมถภาวนาไม่มีความสำคัญไม่ใช่จุดหมายปลายทางของการบรรลุมรรคผล ก็อย่าไปเชื่อเขา เพราะสมถภาวนาถ้าไม่ดีจริง ๆ พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงสอนให้เราปฏิบัติ และพระพุทธเจ้าก็จะไม่ยึดสมถภาวนาไว้เป็นอารมณ์ ทั้ง ๆ ที่พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว นี่จงอย่าลืมว่าพระอรหันต์ทุกท่าน แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี ใช้กรรมฐาน ๔๐ กอง ควบกับวิปัสสนาญาณเพื่อความอยู่เป็นสุข ไม่ใช่ว่าเป็นพระอรหันต์แล้วเลิกกัน อย่างนั้นเข้าใจผิด
    [/FONT][/FONT]
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระอรหันต์นี่เขากลับขยันกว่าเราทั้งหมด เพราะเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ คำว่า มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ก็หมายถึงว่า การเห็นสภาวะตามความเป็นจริงของขันธ์ ๕ ท่านเห็นเป็นปกติ ท่านไม่ยอมปล่อย ไม่ยอมละ เพราะการทรงขันธ์ ๕ เป็นอาการของความทุกข์ ถ้าเราละสมถะและภาวนาทั้ง ๒ ประการเสียแล้ว อารมณ์มันปล่อย มันไม่ยอมรับความเป็นจริง อาการความทุกข์มันเกิด ถ้าอารมณ์จิตของเราทรงสติสัมปชัญญะเป็นปกติ นึกถึงสมถภาวนาเป็นอารมณ์ จิตใจมันก็สบาย ปล่อย ยอมรับนับถือกฎธรรมดา

    นี่การนึกถึงความตายเป็นอารมณ์เป็นของดีเพราะเราจะได้ไม่ประมาท และจงอย่าคิดว่าอายุของเรายังน้อย ยังไม่ตาย คิดอย่างนี้ก็ผิด การคิดถึงความตายต้องคิดอยู่ทุกขณะจิตว่าเราจะตายเมื่อไรก็ได้ ทีนี้ก่อนที่เราจะนึกว่าเราจะตาย เราก็ต้องหาทางไปให้มันเหมาะสม เวลานี้ การเกิดมาเวลานี้นับว่าเป็นโชคดีมาก พระศาสนาขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ายังมีความสมบูรณ์บริบูรณ์อยู่ เว้นไว้แต่เพียงว่าเราจะไม่ยอมรับนับถือคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมครูกลายเป็นแกะดำในพระพุทธศาสนา นั่นแหละความทุกข์มันจะเข้ามาถึงใจ

    เมื่อเรารู้ว่าเราจะตาย เราก็ตั้งใจไว้ มันเป็นของไม่ยาก ถ้าเราไม่อยากไปอบายภูมิ เราก็รักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ อันนี้ถ้าเรารักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์แล้ว เราก็ไม่ไปอบายภูมิเรามีการเกิดเป็นมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ ถ้าเราอยากจะเกิดเป็นเทวดาก็ทรง หิริ และโอตตัปปะ หิริ แปลว่า ความละอาย ละอายต่อความชั่ว โอตตัปปะ เกรงกลัวผลของความชั่วจะให้ผลเป็นทุกข์ นี่คนที่นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ต้องหาทางเลือกแบบนี้ อาการที่เราจะเลือกก็เลือกอยู่ทุกวัน หิริ ความละอายต่อความชั่ว ขึ้นชื่อว่าความชั่วคนอย่างเราไม่ทำ โอตตัปปะ เกรงต่อความชั่วจะให้ผลเป็นทุกข์ เราก็ไม่ทำ เพราะกลัวเสียแล้วจะทำได้อย่างไร

    ความชั่วมี ๒ ฝ่าย ได้แก่ วินัย คือ ศีล และฝ่ายธรรมะ ธรรมะส่วนใดที่องค์สมเด็จพระจอมไตร ทรงกล่าวว่าเป็นอธรรม เป็นธรรมที่ทำให้เกิดความทุกข์ ตัวอย่างเช่น นิวรณ์ ๕ ประการ ถ้าเราไปคบนิวรณ์ ๕ ประการเข้าถึงแม้ว่าเราไม่ขาดศีล เราก็ไปอบายภูมิได้ เพราะจิตมันมัวหมอง นี่การนึกถึงความตายเป็นอารมณ์มันดีอย่างนี้

    ถ้าเราต้องการเป็นพรหมก็ทรงสมาธิจิตให้เข้าถึงอารมณ์ฌาน ถาทรงฌานไว้ตลอดเวลา ทีนี้ถ้าหากว่าเราคิดว่าการเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เทวดาก็ดี หรือพรหมก็ดี ย่อมไม่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ กล่าวคือไม่สามารถจะทรงความสุขได้ตลอดกาลตลอดสมัย มันสุขชั่วขณะแล้วก็กลับมาแสวงหาทุกข์ใหม่ในเมื่อหมดบุญวาสนาบารมี เราไม่เอา เราก็ตั้งใจไปพระนิพพาน

    การที่จะไปพระนิพพานก็ตั้งใจเอามรณานุสสติกรรมฐาน เป็นเครื่องนำทาง การนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ นึกถึงตัวเราจะต้องตาย ถ้าเราหวังจะอาศัยใครเขาเป็นที่พึ่ง เราก็ต้องนึกถึงว่าที่พึ่งของเราคนนั้น ไม่ช้าท่านก็จะต้องตายเหมือนกัน ถ้าเราหวังจะเอาวัตถุใดเป็นที่พึ่งก็จงรู้ว่า วัตถุส่วนนั้นก็จะสลายเช่นกัน ไม่มีอะไรทรงตัว นี่การที่เราจะเขาถึงที่พึ่งได้จริง ๆ ก็ต้องเข้าถึงตัวเองเป็นสำคัญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...