ราชพรหมยานมหาเถรานุสรณ์

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 27 มิถุนายน 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การที่พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า "อัตตา หิ อัตตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโรสิยา อัตตนา หิ สุทันเตนะ นาถึง ลภติ ทุลลภัง" แปลเป็นใจความว่า "ตนแลย่อมเป็นที่พึ่งแก่ตน บุคคลอื่นใดใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้ เมื่อเราฝึกฝนตนเองดีแล้ว เราจะได้ที่พึ่งอันบุคคลอื่นจะได้โดยยาก"

    นี่เป็นพุทธภาษิต ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเตือน อัตตาหิ อัตตโน นาโถ ตนแลย่อมเป็นที่พึ่งแห่งตน คำนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะละพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และความดีทั้งหมด เราจะเข้าถึงความดีได้ก็เพราะอาศัยการฝึกฝนตนเอง คือ จิต คำว่าตนในที่นี้ได้แก่จิต ไม่ใช่ร่างกาย คือ เอาจิตของเราเข้าไปเกาะความดีเข้าไว้ ธรรมส่วนใดที่สามารถจะทำให้เราเข้าถึงพระนิพพานได้ เราทำส่วนนั้น

    ธรรมที่มีความสำคัญที่เราเห็นได้ง่าย คือ ตัดรากเหง้าของกิเลส ได้แก่
    โลภะ
    ความโลภ เราตัดด้วยการให้ทาน ทำจิตอยู่เสมอว่า เราจะให้ทานเพื่อทำลายโลภะ ความโลภ แล้วความโลภจะได้ไม่เกาะใจ

    ทีนี้อีกประการหนึ่ง รากเหง้าของกิเลส ได้แก่ ความโกรธ เมื่อจิตเราทาง พรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ เพื่อเป็นการหักล้างความโกรธ เมื่อจิตเราทรงพรหมวิหาร ๔ ความโกรธความพยาบาทมันก็ไม่มี

    ประการที่ ๓ โมหะ ความหลง ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ เป็นรากเหง้าใหญ่ เป็นตัวบัญชาการให้เกิดความรัก ความโลภ ความโกรธ ถ้าหลงไม่มีเสียอย่างเดียว ถ้าเราตัดความหลงได้ตัวเดียวละก็ เราตัดได้หมด

    ทีนี้การตัดตัวหลงเป็นอย่างไร ตัดตรง มรณานุสสติกรรมฐาน ก็คิดเสียว่าคนเราและสัตว์ทั้งหมดเกิดมาแล้วก็มีความตายเป็นที่สุด วัตถุต่าง ๆ ที่เป็นสมบัติของโลกมันมีการเกิด มีการก่อตัวเป็นเบื้องต้น และก็สลายตัวไปในที่สุดเหมือนกัน พัง วัตถุ เรียกว่า พัง คนและสัตว์เรียกว่า ตาย นี่เป็นอันว่าความแน่นอนของชีวิตที่ทรงอยู่มันไม่มีหาความแน่นอนอะไรไม่ได้ มันมีการสลายตัวไปในที่สุด

    เราก็มาหวนกลับจับเอา วิปัสสนาญาณ จะแลเห็นว่ามันเกิดมันตายเป็น สมถะ ถ้าหันมาจับตัวตายนี่ก็เป็น สักกายทิฐิ เป็นวิปัสสนาญาณไป ว่าทำไมมันถึงต้องตายร่างกายนี่มันเป็นของเราหรือเปล่า ถ้าร่างกายเป็นเรา เป็นของเราจริงมันจะตายได้อย่างไร เราคือจิต คิดอยู่เสมอว่าเราประคบประหงมร่างกายของเราให้เป็นปกติ สร้างสรรค์ความเจริญขึ้นให้เกิดกับร่างกาย อาหารประเภทไหนที่เขากล่าวว่ามีประโยชน์ เราพยายามหากิน ถึงว่ามันจะแพงมันจะเหนื่อยมันจะยากอย่างไรก็ตาม ก็หามาบำรุงบำเรอร่างกายให้มันทรงตัว แต่แล้วในที่สุดร่างกายของเรามันทรงตัวหรือเปล่า มันหาความทรงตัวไม่ได้ มันเดินเข้าไปหาความตายทุกวัน ทรุดโทรมไปตลอดเวลา

    [FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]ทุกวันเวลาเรากินอาหารเข้าไป ถ้ามันเป็นเราจริงเป็นของเราจริง เราไม่ต้องการให้มันหิว กินแล้วให้มันอิ่มตลอดกาลมันก็ไม่ยอม เราไม่ต้องการให้มันแก่มันก็จะแก่ เราไม่ต้องการให้มันป่วยมันก็จะป่วย เราไม่ต้องการให้มันตาย มันก็จะตาย นี่เราไม่ต้องการให้มันทุกข์ แต่เราห้ามไม่ได้ ห้ามแก่ไม่ได้ ห้ามป่วยไม่ได้ ห้ามทรุดโทรมไม่ได้ ห้ามตายไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แต่ว่าป้องกันความทุกข์ไม่ให้เกิดแก่มัน หมอชั้นดีที่ไหนมีอยู่ นักวิชาการที่ไหนปรากฏอยู่ เข้าไปพยายามทำทุกอย่างให้ร่างกายมันมีความสุข เราหาความสุขจากร่างกายได้หรือเปล่า มันก็เปล่า ร่างกายมันมีแต่ความทุกข์ทุกลมหายใจเข้าออก
    [/FONT]
    [/FONT]
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ในเมื่อมีร่างกายอยู่ ทุกข์จากความหิวมันก็เกิด ทุกข์จากความหนาว ความร้อนมันก็เกิดทุกข์จากความปวดอุจจาระปัสสาวะมันก็เกิด ทุกข์เพราะความไม่สบายกายไม่สบายใจ ไม่สบายกายได้แก่โรคภัยไข้เจ็บรบกวนมันก็เกิด ทุกข์จากความไม่สบายใจได้แก่ความปรารถนาไม่สมหวัง กระทบกับอารมณ์ที่เราไม่ต้องการมันก็เกิด เป็นอันว่าตลอด ๒๔ ชั่วโมง เราหาความดีจากร่างกายไม่ได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชิคัจฉา ปรมา โรคา โรคที่ประจำกายอย่างยิ่งนั้นก็คือ โรคหิว หิวในอาหารมันก็หิว มันก็สร้างความทุกข์ให้เกิดแต่ความหิวในอาหาร เราไม่มีโอกาสบริโภคอาหารได้ ความทุรนทุรายมันก็เกิด อาการเสียดแทงร่างกายมันก็เกิด ใจก็ไม่สบาย

    ตัวหิวนี่มันตลอดวัน มันมีตลอดกาลตลอดสมัยยันตาย ความหิวมันเป็นเครื่องเสียดร่างกาย เสียดแทงจิตใจ มันจะเป็นความสุขได้อย่างไร มันก็เป็นความทุกข์ หิวมันก็ไม่ใช่หิวแค่อาหาร หิวอยากจะได้อย่างโน้น หิวอยากจะได้อย่างนี้ มันหิวทางใจ ความปรารถนาทางใจมันเกิดขึ้นมา และความต้องการความปรารถนามันเกิดขึ้นมันก็มีความทุกข์อีก ถ้าความปรารถนาไม่สมหวัง คือ ว่าความปรารถนาจะสมหวังได้ก็ต้องตั้งใจตะเกียกตะกายประกอบกิจการงานรวบรวมทรัพย์เพื่อจะได้ของสิ่งนั้นมาเป็นสมบัติของเรา แล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่เราปรารถนาได้มาสมหวังแล้วถ้าตายเราเอาไปได้หรือเปล่า มันก็ไม่ได้ ไม่มีอะไรเอาไปได้เลย

    เป็นอันว่า ร่างกายนี้ไม่มีประโยชน์ การเกิดมามีร่างกายมีแต่โทษ มีแต่ความทุกข์มีแต่ความเดือดร้อน มันหาประโยชน์อะไรไม่ได้ นี่เราจะมานั่งเมาร่างกายเพื่อประโยชน์อะไร

    ทีนี้เรามาตัดตัวหลงกัน ในเมื่อเรามาหลงตัวเป็นสำคัญ ที่เราต้องมีความเหน็ดเหนื่อยด้วยประการทั้งปวงก็เพราะเราหลงตัวเรา การทำทุกอย่าง แสวงหาของทุกอย่าง ก็เพื่อประโยชน์แก่ร่างกายอย่างเดียว สำหรับจิตใจเป็นแต่แค่ความปรารถนาเท่านั้น หากว่าเราตายไปแล้วทุกสิ่งมันก็ไม่มีประโยชน์ แต่ว่าการหากิน การแสวงหาทรัพย์สินถือว่าเป็นหน้าที่ของการทรงอยู่ แต่ว่าทำใจของเราปลดไปเสีย อย่าไปเมาในทรัพย์สิน ที่คิดว่าจะอยู่กับเราตลอดกาลตลอดสมัยทำใจให้สบาย

    เหมือนกับในสมัยที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ายังอยู่ มีพระองค์หนึ่งท่านเคยเป็นพระราชามาก่อน ท่านจำพรรษาอยู่ในป่าซึ่งไม่ห่างไกลจากบ้านเมืองนัก วันหนึ่งเขามีงานนักขัตฤกษ์ประจำปี เห็นโคมไฟสว่างไสวทั้งเมือง เรียกว่ามีความสวยสดตระการตาอย่างยิ่งในเวลาราตรี แสงทำให้สว่างทำให้สวย ตัวท่านเองยืนอยู่ในป่า นั่งอยู่ในป่าอยู่ผู้เดียว มองไปดูแสงไฟก็มานั่งนึกอยู่ในใจ อริรัง วตยัง กาโย ปฐวิง อธิเสสสติ ฉุฑโฑ อเปตวิญญาโณ นิรัตถังวะ กลิงครัง

    แปลเป็นใจความโดยย่อว่า "ตัวเรานี้เวลานี้มีอุปมาเหมือนท่อนไม้ที่เขาทิ้งอยู่ในป่า ย่อมไม่มีใครมีความสนใจร่างกายของเรา นี่หาสาระประโยชน์ไม่ได้ เวลานี้ไม่มีประโยชน์ต่างอะไรกับท่อนไม้ที่เคลื่อนที่ได้ ในไม่ช้าความดับจะเข้ามาถึง" นี่ท่านคิดเพียงเท่านี้ พออารมณ์จับเข้าจริง ๆ ท่านก็ได้สำเร็จ อรหัตผล
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ที่การจะนึกว่าร่างกายมันจะต้องตายหรือร่างกายไม่มีประโยชน์ เราไม่เกาะในร่างกายเสียอย่างเดียว ในเมื่อเราเห็นว่าร่างกายมันไม่ดี เราไม่ยึดถือร่างกายเป็นสรณะ แต่ว่าการบริหารร่างกายก็มีความจำเป็น ในเมื่อมันยังไม่ตาย ถ้าเราไม่บริหารร่างกาย ไม่หาอาหารให้กิน ไม่ประคบประหงมมัน ทุกขเวทนามันก็บีบคั้นหนัก ในการที่เราจะหาอาหารให้มันกิน หาเครื่องนุ่งห่ม หายารักษาโรคให้ หาเครื่องทำความเย็นความร้อนให้ก็คิดว่าเราหามาเพื่อบรรเทาทุกขเวทนาชั่วขณะเท่านั้น ไม่ใช่ว่าจะหามาให้ทรงกายตลอดกาลตลอดสมัย

    และก็จำไว้เสมอว่าร่างกายมันจะต้องตาย ร่างกายเต็มไปด้วยความทุกข์ ร่างกายไม่ใช่แดนแห่งความสุข เป็นปัจจัยสร้างความทุกข์ให้เกิด เราเกิดชาติใดก็ดี ต่อไปในชาติต่อ ๆ ไป ชาตินี้มีภาวะเป็นอย่างไร ชาติต่อไปก็มีภาวะอย่างนั้น คือ มันจะเต็มไปด้วยความทุกข์ เราก็ไม่ต้องการขันธ์ ๕ และตั้งจิตใจไว้ว่า นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปขึ้นชื่อว่าขันธ์ ๕ คือร่างกายจะไม่มีสำหรับเรา เราไม่ต้องการการเกิดที่มีร่างกายต่อไป สิ่งที่เราต้องการคือ พระนิพพาน

    แต่การคิดเฉย ๆ มันก็นิพพานไม่ได้ ก็ต้องหันเข้ามาตัดความรักในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ด้วยอำนาจ อสุภสัญญา ก็เรียนกันมาแล้ว มาตัดความโลภด้วยการให้ทาน มาตัดความโกรธด้วยการทรงพรหมวิหาร ๔ ตัดความหลงด้วยเห็นว่า สักกายทิฐิ คือ ร่างกายของเรานี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา

    เดินไปเดินมาคิดอยู่เสมอว่าร่างกายมันจะพังเมื่อไรก็ได้ ร่างกายเต็มไปด้วยความทุกข์ ร่างกายเต็มไปด้วยความโสโครก คือ ความสกปรกโสมม มันเป็นดินแดนนำมาซึ่งความทุกข์ ร่างกาย คือ โรคนิทธัง มันเป็นรังของโรค ปภังคุณัง มันต้องมีความเปื่อยเน่าเป็นธรรมดา เราไม่ต้องการมันอีก ชาตินี้ถือเป็นชาติสุดท้ายสำหรับเรา เราไม่ต้องการร่างกายอีก การเป็นพระโสดา สกิทา อนาคา อรหันต์ หมดเพียงแค่นี้เท่านั้น

    แล้วจงพยายามรักษาศีลให้บริสุทธิ์ มีสติสัมปชัญญะควบคุมไว้ เรื่องของศีล เรื่องของทาน เรื่องของการเจริญภาวนา ถ้าบรรดาทานพุทธบริษัททั้งหลายโดยถ้วนหน้ามีจิตแบบนี้เป็น เอกัคคตารมณ์ คือ อารมณ์เดียว หมายความว่าเห็นว่าร่างกายเป็นแดนแห่งความทุกข์ ร่างกายเป็น อนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ ทุกขัง เป็น ทุกข์ อนัตตา มันจะสลายตัวไปในที่สุด เราไม่ต้องการร่างกายอีก ทรงสติสัมปชัญญะให้ดี ทรงอสุภสัญญา เป็นปกติ มีจาคะ จาคานุสสติกรรมฐาน จิตใจต้องการให้ทานเป็นปกติ มี สีลานุสสติกรรมฐาน มีการทรงศีลเป็นปกติ มีพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ เห็นว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันจะพังเมื่อไรก็ช่างมัน ยอมรับนับถือกฎธรรมดาเป็นปกติ อย่างนี้เราเข้าอริยมรรคอริยผลได้โดยไม่ยากนัก
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธรรมะขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามีความสำคัญอยู่เพียงเท่านี้ ในการเข้าถึงอริยมรรคอริยผล ไม่ใช่จะมาศึกษากันฟังแล้วก็ลืม ฟังแล้วก็จำ จำแล้วก็คิด คิดตลอดกาลตลอดสมัย

    ทำใจให้สบาย ไม่มีอารมณ์หวั่นไหวเมื่อร่างกายเกิดทุกขเวทนา เพียงเท่านี้จิตใจของทุกท่านโดยถ้วนหน้าก็จะเข้าถึงความสุข คือ อริยมรรค อริยผล ตามที่ตนพึงปรารถนา
    ต่อจากนี้ไปขอทุกท่านตั้งกายใจให้ตรงดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า หายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก เมื่อจิตสบายแล้วก็พิจารณาตามที่กล่าวมาแล้ว จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา


    พระราชพรหมยาน
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    มรณานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ ๓

    โอกาสนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายได้พากันสมาทานศีลและสมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อไปนี้ก็เป็นโอกาสที่บรรดาท่านพุทธบริษัทจะได้รวบรวมกำลังใจให้เป็นสมาธิคำว่า สมาธิ แปลว่า การตั้งใจมั่น ก็ตั้งใจไว้เฉพาะอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง คือระยะนี้ที่สอนกันมาเป็นพื้นฐาน คือ ให้บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านพยายามกำหนดจิตให้รู้ลมหายใจเข้าหายใจออก เวลาหายใจเข้านึกว่า พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ เอาเท่านี้พอ

    ถ้าขณะใดที่จิตของท่านยังรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก รู้คำว่า พุทโธ ก็แสดงว่าจิตของท่านเป็นสมาธิ เป็นมหากุศลใหญ่ตั้งใจไว้เพียงเท่านี้ก็เป็นบุญอนันต์ คือว่าจะนับประมาณอานิสงส์ไม่ได้ ถ้าทรงจิตใหญ่ตั้งใจไว้ตามปกติตายแล้วก็เกิดเป็นพรหม นี่ว่ากันถึงสมถภาวนา

    อารมณ์นี้ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายทรงไว้เป็นปกติ จะเป็นเวลานี้หรือเวลาอื่นใดก็ตามทำงานอยู่ นั่งรถนั่งเรือเดินทางไปไหนก็ตาม นึกถึงอารมณ์นี้ไว้เป็นปกติเวลาตายจะไม่หลงตาย จุดที่ไปอย่างเลวคือสวรรค์ อย่างดีก็ต้องพรหมโลก เพราะว่าสมถภาวนามีผลถึงพรหมโลก และเราจะไปนิพพานได้ ถ้ามีสมถภาวนาแจ่มใสพอสมควร ปัญญาก็จะเกิดเป็นวิปัสสนาญาณขึ้นมาเอง
    ในวันนี้ก็จะขอแนะนำ อนุสสติ ข้อต่อไป เพื่อเป็นการศึกษาไว้เวลาปฏิบัติ วันนี้จะสอนเรื่อง มรณานุสสติกรรมฐาน สำหรับมรณานุสสติกรรมฐานนี้เป็นกรรมฐานสำหรับบุคคลที่มีจริตเป็น พุทธจริต คือ เป็นบุคคลฉลาด บุคคลที่มีความฉลาดแล้วย่อมไม่กลัวความตายรู้จักสภาวะปกติของขันธ์ ๕ คือ ร่างกายว่ามันมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นมีความแปรปรวนในท่ามกลาง และก็ตายไปในที่สุด
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทีนี้การที่นึกถึงความตายไว้เป็นปกติ การนึกถึงความตายจงอย่านับอายุว่าเวลานี้เรายังหนุ่มอยู่ เรายังสาวอยู่ ยังไม่แก่ ยังไม่ตาย เวลานี้เราเป็นบุคคลวัยกลางคน มันยังไม่แก่ มันยังไม่ตาย หรือว่าเวลานี้เราแก่แล้วแต่ก็ยังคงไม่ตาย อารมณ์อย่างนี้ไม่ควรคิดเพราะว่าความตายย่อมไม่มีนิมิตเครื่องหมาย คนที่ตายไม่ใช่ว่าแก่หง่อมแล้วถึงจะตายเสมอไป
    บางคนเข้าอยู่ในครรภ์มารดาไม่ทันที่จะออกมาเห็นเดือนเห็นตะวันก็ตาย

    บางรายคลอดจากครรภ์มารดาไม่ทันจะเห็นเดือนเห็นตะวัน ไม่รู้ว่าโลกนี้เป็นอย่างไรก็ตาย
    บางรายเกิดมาแล้วไม่กี่วันก็ตาย หนุ่มก็ตาย เด็กก็ตาย แก่ก็ตาย วัยกลางคนก็ตาย นี่ความตายหาความแน่นอนไม่ได้

    องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงแนะนำให้บรรดาท่านพุทธบริษัทนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ จงคิดไว้ว่าวันนี้เป็นเวลาค่ำเรายังมีชีวิตอยู่ แต่ว่าเราอาจจะไม่เห็นพระอาทิตย์ของวันรุ่งขึ้นก็ได้ ความตายอาจมาถึง

    ทีนี้คนที่นึกถึงความตายเป็นปกติดีหรือเลวเป็นประเภทใด อันนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำว่า คนที่นึกถึงความตายเป็นปกติเป็นคนดีไม่มีความประมาท เมื่อรู้ว่าเราจะตายสภาวะความตายไม่ใช่สภาวะสูญ ถ้าเรายังไม่หมดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานเป็นอรหันต์เมื่อไร ความเกิดก็ปรากฏ

    เมื่อตายแล้วก็เกิดไม่ใช่หมายความว่าเกิดเป็นคนเสมอไป ถ้าทำกรรมชั่วไว้ จิตใจสั่งสมอยู่ในอารมณ์ชั่วก็ไปเกิดเป็นสัตว์นรกบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสุรกายบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง ถ้าเกิดเป็นคนมีความอุดมสมบูรณ์ มีความสุขสมบูรณ์กับใครเขาไม่ได้ นี่เป็นปัจจัยของความชั่วที่เราเรียกกันว่า บาป

    ทีนี้คนที่มีความดีมีศีล ๕ กรรมบถ ๑๐ บริสุทธิ์ ก็เกิดเป็นมนุษย์ได้ แล้วก็เกิดเป็นมนุษย์ชั้นดี หรือมิฉะนั้นมีการภาวนาอยู่บ้าง มีศีลมีทานเป็นปกติ เกิดเป็นเทวดาก็ได้ ถ้ามีกำลังใจเป็นฌานสมาบัติทรงความดีไว้เป็นปกติ คำว่า ฌาน แปลว่า การเพ่ง เป็นอารมณ์ที่ทรงอยู่ ทรงอยู่แต่เฉพาะในอารมณ์ที่เป็นกุศล เวลาจะตายจิตก็ทรงอยู่ตามนั้น อย่างนี้ตายแล้วเกิดเป็นพรหม ถ้าตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้ เราไป พระนิพพาน
    เป็นอันว่าความตายมีอยู่ แต่ว่าตายแล้วก็ไม่สูญ ต้องเกิด จะเกิดเป็นอะไรก็ช่างสุดแล้วแต่กรรมที่จะพึงกระทำ เมื่อเรารู้แล้วเราทำความดีไปเกิดใหม่ในส่วนผลดีที่มีความสุข ทำความชั่วต้องไปเสวยทุกข์ในอบายภูมิ อย่างนี้เราก็ควรจะหลีกเลี่ยงความชั่วไว้เป็นสำคัญ จงระลึกถึงความตายเป็นปกติ อาจจะคิดว่าวันนี้เรามีชีวิต พรุ่งนี้เราอาจจะตายก็ได้ หรือว่าเวลานี้ขณะที่เรานั่งอยู่ อาจจะตายไปก่อนเวลาที่เราจะนอนเสียอีกก็ได้ ถ้าเราคิดไว้อย่างนี้เสมอ จิตใจของเราก็ไม่ประมาท พยายามแสวงหาความดีไว้เป็นปกติ
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การแสวงหาความดีไว้เป็นปกติจะเอาความดีกันทางไหนล่ะ เรารู้ตัวอยู่ว่าเราจะตาย เราก็เลือกทางเอา ถ้าเราต้องการเกิดเป็นมนุษย์ ก็พยายามรักษาศีลให้บริสุทธิ์ พยายามรักษากรรมบถ ๑๐ ให้บริสุทธิ์ เราก็พยายามคุมอารมณ์ศีลให้ปกติ อย่างนี้ตายแล้วเป็นมนุษย์ได้แบบสบาย ๆ แล้วก็เป็นมนุษย์ชั้นดี ตามพระบาลีว่า สีเลนะ สุคติง ยันติ เวลาตายแล้วคนมีศีลจะไปสู่สุคติ มีความสุขสมบูรณ์ สีเลนะ โภคสัมปทา เราจะมีโภคทรัพย์มากมาย สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ย่อมเป็นปัจจัยให้ถึงพระนิพพานได้โดยง่าย ทีนี้ถ้าเราเป็นคนมีศีล เรานึกถึงความตายไว้แล้ว ถ้าเราต้องการดีเราก็รักษาศีลให้เป็นปกติ

    ทีนี้ถ้าเราต้องการความสุขยิ่งไปกว่านั้น ต้องการไปสวรรค์หรือว่าพรหมโลก เราก็เจริญสมถกรรมฐานเป็นปกติ อย่างที่แนะนำว่า เวลาหายใจเข้านึกว่า พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ หายใจเข้าหายใจออกเป็น อานาปานุสสติกรรมฐาน กันอารมณ์ฟุ้งซ่านทางจิตได้ คำว่า พุทโธ เป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน คือ ระลึกถึงความดีของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ถ้าเราทำอย่างนี้เป็นปกติ เราก็ไปพรหมโลกได้

    ทีนี้การเจริญมรณานุสสติกรรมฐานเราจะไปได้เฉพาะพรหมโลกหรืออย่างไร ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น เราสามารถจะไปพระนิพพานได้ โดยยกสมถภาวนาขึ้นเป็นวิปัสสนาภาวนา การนึกถึงความตายเป็นอารมณ์เป็นสมถภาวนา มีผลตั้งแต่กามาวจรสวรรค์ถึงพรหมโลก ทีนี้การที่มีผลถึงสวรรค์หรือพรหมโลก เมื่อกี้ว่ายังหาความสุขให้เพียงพอไม่ได้ เราก็ต้องสรรหาความสุขให้ยิ่งไปกว่านั้น ความสุขที่ยิ่งไปกว่านั้นเราก็ต้องถือความตายเป็นอารมณ์ว่าเราเกิดมานี้มันต้องตายแน่ เราไม่สามารถจะทรงชีวิตอยู่ได้ ความตายเป็นของปกติ เราจะตายเช้า ตายสบาย ตายบ่าย ตายเย็น ตายเที่ยง เมื่อไรนี้เราไม่รู้ แต่ว่ามันต้องตายแน่

    ฉะนั้น เราก็ต้องเตรียมความตายไว้เฉพาะทุกลมหายใจเข้าออก คำว่า มรณานุสสติ การนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงกล่าวกับ พระอานนท์ ถามพระอานนท์ ว่า “อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เธอนึกถึงความตายวันละกี่ครั้ง” พระอานนท์ทูลตอบว่า “ข้าพระพุทธเจ้านึกถึงความตายประมาณวันละ ๗ ครั้งพระเจ้าข้า” สมเด็จพระบรมศาสดาทรงกล่าวว่า “อานันทะ ดูก่อนอานนท์ มันยังไกลเกินไป สำหรับตถาคตนี้นึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก” นี่แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็ยังไม่ละความตาย

    [FONT=Cordia New,Cordia New][FONT=Cordia New,Cordia New]นี่เรานึกถึงความตายแล้วปรารถนาความดี มีการให้ทาน การรักษาศีล มีการเจริญภาวนา ถ้าภาวนาเป็นด้านสมถภาวนาก็เป็นปัจจัยให้เกิดเป็นพรหมหรือไปสวรรค์ได้ การให้ทานรักษาศีลก็ไปเกิดบนสวรรค์ได้ เกิดเป็นมนุษย์ได้ แต่มันยังไม่ถึงที่สุดของความทุกข์ เพราะมันยังต้องการมีการเกิดต่อไปเราก็มาหาทางตัดความเกิดเสีย ถ้าเราไม่เกิดเสียอย่างเดียวเราก็หาความตายไม่ได้ ทีนี้ถ้าเราจะทำมรณานุสสติกรรมฐานให้เป็นวิปัสสนาญาณ เราทำอย่างไรมันจะเข้าถึงพระนิพพานได้ ความจริงสมถะทุกกองแปลงเป็นวิปัสสนาญาณได้หมด เราเจริญพระกรรมฐานกองไหนจนอารมณ์จิตเป็นฌานมีความมั่นคง เราใช้กรรมฐานกองนั้นเป็นวิปัสสนาญาณ เวลานี้เรามาพิจารณามรณานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ อันนี้ไม่ควรจะลืมต้องคิดไว้เสมอ แล้วจงอย่าคิดว่าเราจะมีชีวิตยืนยาว ถ้าคิดอย่างนี้มันเป็นความประมาท
    [/FONT][/FONT]
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    จงคิดไว้ว่าความตายจะเข้ามาถึงเราเมื่อไรก็ได้ หายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกมันก็ตาย หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้ามันก็ตาย กินข้าวไม่ทันอิ่มมันอาจจะตายคาชามข้าวก็ได้ ในเมื่อเรานึกถึงความตายเป็นปกติ คิดว่าเราจะต้องตาย แล้วก็ย้อนถอยหลังขึ้นมาสักนิดหนึ่งว่า ก่อนที่เราจะตาย นับตั้งแต่ที่เราเกิดจนถึงวันนี้เราจะตาย เราเป็นคนมีความสุขหรือมีความทุกข์ ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาหาความจริง ความทุกข์ แปลว่า จำจะต้องทน คือ ทนทำ ทนอยู่ ทนคิด ทนประกอบกิจการงานทุกอย่าง นี่เป็นอาการของความทุกข์ ทีนี้เรามานั่งคิดดูว่าความทุกข์ที่มันปรากฏมันมีอะไรบ้าง เราเกิดมานี้เราพบกับความทุกข์บ้างหรือเปล่า ก็นั่งใคร่ครวญกันดูนับตั้งแต่เกิดจากครรภ์มารดานี่เรามีความสุขหรือมีความทุกข์ ขณะที่เราไปนั่งคุดคู้อยู่ในครรภ์มารดานี่เราดูสภาพของคนที่นั่งกอดเข่า นั่งคุดคู้อยู่ในครรภ์มารดา จะเหยียดมือเหยียดเท้าก็เหยียดไม่ได้ เพราะรังมดลูกมันมีอยู่นิดเดียว นั่งกอดเข้าอยู่สิ้นเวลา ๑๐ เดือนเวลา ๑๐ เดือนนี่มันนาน นี่เราเป็นคนโตแล้ว เรามานั่งกอดเข่าเล่นโก้ ๆ สัก ๑วัน จะทนไหวไหม เราก็ทนไม่ไหว เพราะมันเมื่อยมันปวด ไม่มีการขยับขยายอิริยาบท นี่แสดงว่าความทุกข์มันมีมาตั้งแต่เกิดอยู่ในครรภ์มารดา นี่มันทุกข์อยู่ในครรภ์มารดาอาศัยความอบอุ่นจากธาตุไฟของมารดา พอเคลื่อนมาจากครรภ์มารดาแล้วมากระทบกับอาการของความหนาวและความร้อน แม้ว่าจะเป็นอาการปกติ แต่ว่าเราไม่เคยสัมผัสกับอากาศ เด็กที่เกิดจากครรภ์ใหม่ ๆ ส่งเสียงร้องจ้า นั่นแสดงว่าร่างกายมันแสบเต็มทน เพราะว่ากระทบความหนาวนิดหนึ่งแล้ว ความร้อนนิดหนึ่งมันไม่เคยสัมผัส มันก็มีความแสบกาย จึงร้อง แพทย์สมัยปัจจุบันมีความรู้พอ มีความฉลาดพอ เมื่อเด็กออกใหม่ ๆ เขาจึงนำผ้าสำลีมาหุ้มกายเด็กทันทีป้องกันการสัมผัสอากาศ มีอาการแสบตัว ทีนี้เมื่อเกิดมาเป็นคนแล้ว ความหิวมันก็เป็นทุกข์ ความหิวเป็นอาการเสียดแดง มันทุกข์ ไม่ใช่สุข ถ้าใครคิดว่าเป็นสุขลองปล่อยให้มันหิวตลอดกาล ไม่กินข้าว ไม่กินน้ำ ไม่กินอาหาร ลองดูซิมันจะทนไหวไหม และความกระหาย การปวดอุจจาระปัสสาวะ มันก็เป็นทุกข์ นอนไม่หลับก็เป็นทุกข์ ปวดเมื่อยไปทั้งตัว ความป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้นกับเราก็เป็นทุกข์ มันทุกข์ ความปรารถนาไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประกอบอาชีพต่าง ๆ การแสวงหาเงิน เราต้องใช้แรงงานเราต้องใช้ความคิด เราจะนั่งเฉย ๆ นอนอยู่เฉย ๆ มันไม่ได้ เพราะอะไร

    เพราะว่ามันจะต้องทำงาน อาการที่มันต้องทำงานก็ต้องทนจะหนาว จะร้อนก็ทน จะปวดจะเมื่อยก็ทน ต้องทน อยู่ดีไม่ดีกระทบกระทั่งกับบุคคลใต้บังคับบัญชาก็ดี ผู้บังคับบัญชาที่เหนือกว่าก็ดี เขาสร้างความกระหายกระเทือนใจเราก็ต้องทน ในเมื่อเราพบกับอารมณ์ที่เราไม่ชอบใจ ก็พบกับอาการกลัดกลุ้ม มันเป็นอาการของความทุกข์
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทีนี้อาการป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้นกับเรา มันก็เป็นอาการของความทุกข์ พอแก่ลงเข้าหน่อยหนึ่งหูตาฟาง ฟันหัก ผมหงอก ร่างกายไม่ดี สติปัญญาฟั่นเฟือน จะทำอะไรก็ไม่คล่องแคล่ว นี้เป็นอาการของความทุกข์ในที่สุด เมื่อความตายจะเข้ามาถึงเวลาตายจริง ๆ มันไม่ได้ตายแบบสบาย ๆ

    หรือนอนหลับ คนที่จะตายนั้นถูกทุกขเวทนาบีบคั้นอย่างหนักมีทุกขเวทนาอย่างหนัก มันเหลืออดเหลือทน ถ้ายังพอทนได้มันไม่ตาย อันทุกขเวทนามาบีบคั้นจนเหลือจะทนได้มันจึงตาย อันนี้เป็นอันว่า กว่าเราจะตายเรามีความทุกข์ ตั้งแต่วันเกิดกระทั่งถึงวันตาย นี่เราไม่มีความสุข

    ถ้าหากว่าเราจะปรารถนาความเกิดต่อไปก็ชื่อว่าโง่เต็มที่ ถ้าท่านจะเกิดเป็นคนอีกกี่แสนชาติก็ตาม มันก็ต้องพบกับความทุกข์อย่างนี้ตลอดเวลา ถ้าเราไปเกิดเป็นพรหมหรือเทวดาเมื่อหมดอายุขัย หมดบุญวาสนาบารมี มันก็พบกับความทุกข์ กลับมาเกิดเป็นคนก็ทุกข์แบบนี้ ดีไม่ดีเลยไปเกิดเป็นสัตว์นรกมันก็ยิ่งทุกข์ใหญ่ ไฟไหม้ตลอดทั้งวันมีสรรพาวุธสับอยู่ตลอดเวลา นึกถึงภาพดู เมื่อเกิดเป็นเปรตมีความทุกข์แสนสาหัส มีไฟท่วมตัวอยู่ตลอดเวลาจะเกิดเป็นอสุรกายก็ไม่ไหวมันหิวโหย ต้องไปหาอาหารที่เททิ้งแล้วจะเน่าเปื่อยกิน คอยหลบซ่อนตนไม่ให้คนเห็น

    ถ้าเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานแม้จะมีคนเมตตาปรานีประการใดก็ดี ย่อมมีความปรารถนาไม่สมหวัง บางทีต้องการอยากจะกินอย่างโน้นมีความปรารถนานั้น เขาก็ให้อย่างโน้น ป่วยไข้ไม่สบายก็บอกใครเขาไม่ได้ เมื่อเจ้านายบุคคลเลี้ยงเขายังไม่ให้ก็ทุกขเวทนา

    นี่เป็นอันว่าถ้าเราจะเกิดต่อไปอีกมันก็เต็มไปด้วยความทุกข์ พระพุทธเจ้าจึงทรงแนะนำให้หนีความเกิด โดยยกมรณานุสสติกรรมฐานขึ้นเป็นอารมณ์ ว่าเราเกิดมาแล้วมันต้องตาย ก่อนที่จะตายเต็มไปด้วยความทุกข์ ทำยังไงถึงจะได้ไม่เกิด อาการที่ทำให้เราเกิดเล่ามันเกิดเพราะอะไร เกิดเพราะกิเลส ความเศร้าหมองของจิต ตัณหา มีความทะยานอยาก อยากจะเป็นคนอยู่ตลอดเวลา อยากจะเกิด อุปาทาน ยึดมั่น ถือว่าเกิดเป็นคนนี่เป็นของวิเศษ อกุศลกรรม เราไม่ยอมทำใจของเราให้บริสุทธิ์ มีอารมณ์เศร้าหมองอยู่ตลอดเวลา เศร้าหมองไม่เศร้าหมองบ้างก็ตาม ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ของการเศร้าหมอง อาการทั้ง ๔ ประการนี้มันเป็นปัจจัยของการเกิดมาเสวยความทุกข์

    ทีนี้เราหนีความทุกข์ไปหาความสุข ที่เรียกว่า แดนอมตะ คือ พระนิพพาน เราหากันยังไง วิธีหาแดนพระนิพพาน ก็ต้องจับจุดกันเสียก่อน ว่าอะไรเป็นตัวดึงเราให้เกิดให้ไปพระนิพพานไม่ได้ อาการที่ดึงให้เราเกิด ไปนิพพานไม่ได้รากใหญ่มันก็มีอยู่ ๓ อย่าง คือ โลภะ ความโลภ โทสะ ความโกรธ โมหะ ความหลง

    นี่หากว่าเราตัดความโลภ ความโกรธ ความหลงเสียได้แล้วเราก็ไปนิพพาน เราจะตัดความโลภ ความโกรธ หรือว่าความหลงได้ ก็อาศัย กายคตา สักกายทิฐิ คือ การพิจารณาเห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ร่างกายเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ มาผสมกันเป็นเรือนร่างชั่วคราว แล้วมันก็มีความเสื่อมมีความทุกข์อยู่ตลอดเวลา และในที่สุดมันก็พัง
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ถ้ามันเป็นเราจริง มันเป็นของเราจริง มันย่อมไม่เป็นไปตามนั้น เพราะเราเป็นหนุ่มแล้วเราไม่ต้องการแก่ เรามีร่างกายแล้วเราไม่ต้องการป่วย ถ้าเราทรงตัวมาได้เร็ว เราไม่ต้องการตาย แต่เราห้ามมันไม่ได้ มันจะแก่เสียอย่างใครจะไปห้ามมัน มันจะป่วยใครจะไปห้ามความป่วยแม้แต่หมอยังป่วย ถ้ามันตายจริง ๆ ใครก็ห้ามมันไม่ได้ การที่เราห้ามไม่ได้ แสดงว่าร่างกายนี่มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เราก็คือจิต ที่เราเรียกว่า อทิสสมานกาย คือ การที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเรือนร่าง อาศัยเนื้อกระดูก เป็นต้น เป็นเรือนร่างที่อาศัยการต้องการอะไร เราคือ จิตเป็นผู้สั่ง ร่างกายมีอุปมาเหมือนหุ่นเท่านั้น

    ทีนี้เราก็มาคิดว่า ในเมื่อร่างกายมันไม่เป็นเรา มันไม่ใช่ของเรา มันเป็นแดนของความทุกข์ เป็นที่อาศัยของความทุกข์ เราก็วางเสีย คิดไว้เสมอว่าร่างกายนี้ไม่มีประโยชน์ มันเต็มไปด้วยความสกปรก เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนด้วยอาการของความทุกข์ เราไม่ต้องการร่างกายอีก เราเกิดมาแล้วชาตินี้ถือว่าเป็นชาติสุดท้าย เพราะพบธรรมขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ขอยึดถือพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระประทีปแก้วเป็นสำคัญ

    ส่วนที่เป็นสำคัญที่สุดก็นึกอยู่เสมอว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเสื่อมทุกวัน มันพังทุกวัน มันเต็มไปด้วยความทุกข์ สร้างความเบื่อหน่ายในการที่จะเกิดต่อไป เห็นโทษของความเกิด และประการที่สอง ตั้งใจยอมรับพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยใช้ปัญญาเข้าพิจารณาด้วย ไม่ใช่เชื่อเฉย ๆ ที่พระพุทธทรงตรัสไว้ว่าอย่างไร ว่าความเกิดมาแล้วมันเป็น อนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา มีการสลายตัว ลองคิดดูว่ามันจริงไหม

    อีกอย่างหนึ่ง พระองค์ทรงตรัสว่า ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ ตามที่พูดมาแล้ว ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมนัสสุปายาส เป็นต้น การเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ การพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ มันทุกข์เพราะอะไร มันทุกข์เพราะความปกติอันเป็นอนิจจังนั้นเป็นธรรมดาของการเกิด สภาวะมันเป็นอย่างนั้น แต่อุปาทานมันเข้ายึด อวิชชามันบังหน้า อวิชชาบังใจ ไม่ให้เกิดปัญญา

    ทีนี้เมื่อเราเห็นว่าพระพุทธเจ้าว่าเป็นทุกข์ นี่มันทุกข์จริงไหม ถ้าเราเห็นจริงตามนี้ แสดงว่าเรายอมรับนับถือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อยอมรับนับถือแล้วเราก็คิดต่อไปว่า พระพุทธเจ้าบอกว่า ตายแล้วมันไม่ถึงที่สุด มีเกิด อันดับแรก ก็เลือกทางเกิดในทางดีเสียก่อน แล้วก็จำกัดความเกิดให้มันน้อยลง ถ้าเราไม่สร้างความดี มันเกิดอีกกี่แสนวาระเราก็นับไม่ได้ นี่เราจะจำกัดความเกิดให้มันน้อยที่สุด ที่จะน้อยได้เมื่อยังไปไม่พ้น

    นั่นก็คือ การทำตนให้เป็น พระโสดาบัน อย่าลืมนะที่ว่าร่างกายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา คิดไว้เสมอเป็นปกติ ไม่ช้ามันจะพัง มันเต็มไปด้วยความทุกข์ เรายอมเชื่อถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า สองจุดนี้คลานเข้าไปจะเต็มอัตราพระโสดาบันแล้ว

    ต่อไปก็ยอมรับนับถือองค์สมเด็จพระประทีปแก้วที่ให้สร้างความดีในเบื้องต้น นั่นก็คือทรงศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ ไม่ยอมละเมิดศีล ๕ นี่เป็นหลักใหญ่ ๓ ประการ แล้วมีอารมณ์รักพระนิพพานเป็นอารมณ์ เพียงเท่านี้ เรานั่งพิจารณากันแบบง่าย ๆ ว่าศีล ๕ ของเราบริสุทธิ์ตลอดกาลตลอดสมัยไหม
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เราจะต้องไม่ละเมิดไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นทำลายในศีล ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว ยอมรับนับถือความดีของพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ มีจิตตั้งตรงเฉพาะพระนิพพานอย่างนี้เขาเรียกกันว่า พระโสดาบัน ไม่เห็นมีอะไรยาก มันของง่าย ๆ น่าจะทำกันได้ทุกคน คือว่าถ้าเราถึงพระโสดาบันแล้วเราจำกัดความเกิดได้ จำกัดเขตเฉพาะการเกิดได้ด้วย

    เมื่อเราเป็นพระโสดาบันแล้ว สิ่งที่เราไม่มีสิทธิ์ไปเกิดมี ๔ จุด นั่นก็คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน เราไม่มีสิทธิ์เป็น สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน ไปเขาก็ไม่รับ มีสิทธิ์ที่เราจะเกิดได้เป็นคนกับเทวดา หรือว่าพรหมกับคน สลับกันไปสลับกันมาอยู่แค่นี้ไม่ลงอบายภูมิ นี่ถ้าหากว่าเรามีกำลังใจอ่อนไปสักนิดหนึ่ง ท่านกล่าวว่าจะเกิดเป็นมนุษย์อีก ๗ ชาติ โดยสลับกับเทวดา ตายจากคนไปเกิดเป็นเทวดาพ้นจากภาวะเทวดามาเกิดเป็นคนสลับกันไปสลับกันมาอย่างละ ๗ เราก็ถึงพระนิพพานเป็นพระอรหันต์

    ทั้งนี้ถ้าหากว่ากำลังใจเข้มข้นขึ้นไปหน่อยหนึ่งขนาดกลาง เราก็เกิดเป็นมนุษย์อีกแค่ ๓ ชาติ แล้วเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมอีก ๓ ชาติ สลับกันไปแค่นี้ เราก็ถึงพระนิพพาน ถ้าเรามีอารมณ์เข้มข้นจริง ๆ มีจิตจับดิ่งโดยเฉพาะคิดว่าร่างกายไม่เป็นเรื่องธรรมะของพระพุทธเจ้าดัแล้วทรงศีลบริสุทธิ์มีความเข้มข้น แล้วมีการระมัดระวังมัธยัสถ์ในการปฏิบัติในการพูด การกระทำในความคิด ให้อยู่ในขอบเขตของความดีในกุศล มีจิตรักพระนิพพานเป็นอารมณ์

    ถ้าจิตเป็นเอกัคคตารมณ์อย่างนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงกล่าวว่า ตายจากความเป็นคนไปเกิดเป็นเทวดาและพรหม ลงจากเทวดาและพรหมมาเป็นมนุษย์อีกเพียงครั้งเดียว ฟังเทศน์จากพระอีกครั้งเดียวเป็นอรหันต์ทันทีเข้าถึงพระนิพพานหมดความทุกข์

    นี่เพราะอะไร เพราะนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ เพราะก่อนที่จะตายมันเป็นทุกข์ การนึกถึงความตายเป็น สมถภาวนา เราลองคิดดูว่าตั้งแต่วันเกิดจนถึงวันตายมันเต็มไปด้วยอาการของคนทุกข์ มันไม่เที่ยง มันสลายตัว ที่เรียกว่า อนัตตา อันนี้เป็น วิปัสสนาญาณ บวกกันเข้าไปทั้ง ๒ อย่าง การเจริญพระกรรมฐานอย่าใช้อย่างเดียว มันไม่ทรงสภาพ เพียงเท่านี้ท่านพุทธบริษัทจะได้ชื่อว่ายับยั้งการเกิดไว้ได้มาก คือ การกำจัดเวลาความเกิดให้สั้นเข้ามาแทนที่จะเกิดเป็นแสน ๆ ครั้ง

    อย่างเลวที่สุดเราก็เกิด ๗ ครั้ง อย่างกลางเราก็เกิด ๓ ครั้ง ถ้าเราทำได้ดีที่สุดเราก็เกิดอีกครั้งเดียว แล้วเราก็ไม่มีโอกาสไปเกิดในดินแดนที่เต็มไปด้วยความทุกข์ คือ สัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน อย่างนี้ไม่มีทางจะไป

    เอาละ สำหรับวันนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายให้ท่านศึกษาไว้เพียงเท่านี้ เวลามันเกินมานานแล้ว จงนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ เรานึกถึงไว้เสมอว่าก่อนจะตายนี่มันสุขหรือมันทุกข์ ถ้าเรายังเห็นว่ามุมหนึ่งมุมใดของความเป็นมนุษย์ว่าเป็นสุขก็แสดงว่าใช้ไม่ได้ นึกถึงบาลีที่สมเด็จพระจอมไตรทรงตรัสไว้ว่า อัตตนา โจทยัตตานัง ตื่นขึ้นมาตอนเช้าเตือนใจไว้เสมอว่า เราจะต้องตายนะ ร่างกายมันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา ความดีที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ทำให้ครบถ้วน เราจะเป็นคนดีมีศีลบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา จิตใจของเรามีความปรารถนาอย่างเดียวคือพระนิพพาน นี่เป็นอาการของพระโสดาบัน
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ถ้าทำอย่างนี้ได้ทุก ๆ วัน บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน จงรู้ตัวว่าท่านเป็นพระโสดาบันแล้ว แล้วยังมีผลตามที่กล่าวมา ที่กล่าวว่าต้องเกิดเป็นคนอีก ๗ ชาติ ๓ ชาติ ๑ ชาติ นั้น ว่ากันตามตำรา ถ้าโดยจริยาแล้วคนที่เป็นพระโสดาบันถ้าตายไปเป็นเทวดาหรือพรหมไม่ช้า พระศรีอาริยเมตไตรย ตรัส ฟังเทศน์จากพระศรีอาริย์จบเดียวก็เป็นพระอรหันต์ ถาเผอิญเราลงมาเกิดเสียก่อนพระศรีอาริย์ ยังไม่ได้เป็นเทวดาหรือพรหม เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ธรรมดา พระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันต์ตั้งแต่วิชชาสาม ขึ้นไปก็ดีย่อมจะรู้อัธยาศัยของคนว่า คนที่มีบุญบารมีมีอะไรมาเป็นสำคัญ

    ท่านจะเทศน์เจาะเฉพาะกำลังใหญ่ที่มีทุนมาแล้วเท่านั้น เทศน์ซ้ำของเดิม เมื่อเทศน์ซ้ำของเดิม ความตั้งใจมันก็ปรากฏ ธรรมปีติก็ปรากฏ ทั้ง ๆ ที่เราไม่รู้ว่าเป็นของเดิม แต่มันถูกใจเหลือเกิน มีความถูกใจ ปลื้มใจ เลื่อมใส ฟังเทศน์จบเดียวก็เป็นพระอรหันต์ นี่เป็นอันว่าถ้าเราคุมกำลังใจของเรานั้นเป็นพระโสดาบันได้ในชาตินี้ เพียงแค่เวลาอีกประเดี๋ยวเดียวที่พระศรีอาริย์ตรัส เราก็เป็นพระอรหันต์ได้ ขึ้นชื่อว่าหมดความทุกข์หมดความเกิด

    พระนิพพานไม่มีสภาพสูญ เขาเรียกว่า ทิพย์วิเศษ เป็นแดนอมตะ ไม่มีการเคลื่อนไม่เหมือนเทวดาหรือพรหม เทวดาหรือพรหมหมดวาสนาบารมีก็ต้องลงมา ถ้าเข้าถึงแดนพระนิพพานเสร็จไม่มีการลง คงอยู่อย่างนั้นเป็นปกติ มีความสุขเป็นปกติ ไม่มีความหนักแม้แต่อารมณ์ข้องขัดแม้แต่นิดเดียว ขึ้นชื่อว่าเป็นความดี

    เอาละวันนี้เตือนกันเพียงเท่านี้นะ เป็นการศึกษา เมื่อเวลานี้ก็จะสอนกรรมฐาน ๔๐ ไปแต่ละวันจะได้รับจุดหนึ่ง ๆ ฉะนั้น ท่านที่มาใหม่อาจจะแปลกว่าสอนกันยังไง การที่สอนกรรมฐาน ครบ ๔๐ ก็จะได้มีไว้ใช้ เก็บไว้ใช้ได้ครบถ้วนว่าอะไรมันเกิดขึ้นยังไงเราชอบใจกองไหนทำกองนั้นให้หนัก แล้วอย่าลืมบวกวิปัสสนาญาณ

    เอาละต่อแต่นี้ไป ขอให้ทุกท่านตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น พยายามกำหนดลมหายใจเข้าออก หายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า หายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก แต่การหายใจนี่อย่าบังคับ มันจะสั้นมันจะยาว มันจะเบามันจะแรงช่างมัน ปล่อยมันไปตามปกติ เวลาหายใจเข้านึกถึงว่า พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ


    [FONT=Cordia New,Cordia New][FONT=Cordia New,Cordia New]พระราชพรหมยาน
    [/FONT][/FONT]
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    มรณานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ ๔

    สำหรับวันนี้จะได้พูดมรณานุสสติกรรมฐาน เพราะว่าเมื่อวานนี้พูดมายับยั้งอยู่แค่พระโสดาบันเวลามันหมด แต่ก่อนที่จะฟังและใคร่ครวญถึงมรณานุสสติในเบื้องสูงในอันดับแรกก็ขอให้ทุกท่านพยายามควบคุมกำลังใจให้เป็นสมาธิฟังกันอารมณ์จุตฟุ้งซ่านให้จิตทรงอารมณ์เป็นสมาธิ คือกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก

    สำหรับการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกที่เรียกว่า อานาปานุสสติกรรมฐาน เป็นการควบคุมอารมณ์จิตที่ฟุ้งซ่าน การฟังถ้าอารมณ์จิตไม่ฟุ้งซ่านก็จะจำได้ดี และการจำก็ไม่มีการลืมเลือน ที่เราจำอะไรไม่ได้ หรือฟังแล้วจได้แต่ลืมง่ายก็เพราะว่าอาศัยจิตขาดจากสมาธิคือปล่อยให้อารมณ์จิตฟุ้งซ่านเกินไป สัญญาไม่ทรงตัว คือการเจริญสมาธิเป็นการฝึกสัญญาให้ทรงตัวนั่นเอง

    ต่อไปนี้ขอให้ท่านทั้งหลายใคร่ครวญ รับฟังแล้วใคร่ครวญเรื่อง มรณานุสสติกรรมฐาน ต่อไป สำหรับเมื่อคืนนี้เรามายับยั้งกันไว้แค่พระโสดาบัน ก็หมายความว่า เรารู้แล้วว่าเราจะตาย เมื่อความตายมีอยู่ ก่อนจะตายเต็มไปด้วยความทุกข์ พิจารณาทุกข์ตามอริยสัจ คำว่า อริยสัจ หมายถึงความจริงที่มันทรงอยู่ เอาจิตของเรายอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง แสดงว่าไม่ทำจิตให้ดิ้นรนฝืนความเป็นจริง

    อะไรมันจริงบ้าง ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายเป็นทุกข์ ความหิวความกระหายเป็นทุกข์ การปวดอุจจาระปัสสาวะเป็นทุกข์ ความปรารถนาไม่สมหวังเป็นทุกข์ การประกอบกิจการงานเต็มไปด้วยความเหนื่อยยากเป็นทุกข์ และพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ที่คำว่าทุกข์มีอยู่ ก็เพราะเราไม่ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง เพราะความจริงไม่น่าจะมีอะไรเป็นทุกข์ เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นของธรรมดา

    เมื่อความเกิดมีขึ้น ความแก่ก็ตามมา ความป่วยไข้ไม่สบายก็ตามมา ความหิว ความกระหาย ความหนาวความร้อน การปวดอุจจาระปัสสาวะ การพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ตลอดจนความตายมันก็ต้องตามมา เพราะความเกิด เป็นต้น นี่เพราะอาศัยความเกิดมันจึงมีความทุกข์ คือ ของมันเป็นธรรมดาอยู่อย่างนี้ ถึงแม้ว่าเราจะทำใจเป็นทุกข์มันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ทั้งนี้ เพราะอะไร เพราะเราฝืนมันไม่ได้

    ถ้าจิตของเรายอมรับนับถือกฎของธรรมดาว่าความเป็นจริงของมันเป็นอย่างนี้ เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องรู้ว่ามันแก่ขึ้นมาทุกวัน ร่างกายมันเสื่อมโทรมลงทุกวันต้องประกอบกินอาหารทุกวันมันจึงจะพอดี มันก็ต้องมีความป่วยไข้ไม่สบายเป็นปกติของรักของชอบใจต้องพลัดพรากจากไปแล้วมีความตายไปในที่สุด ถ้าจิตเรายอมรับนับถือความเป็นจริงอย่างนี้ เราจะมีอะไรเป็นทุกข์
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทีนี้ถ้าเรากลัวทุกข์ เมื่อมันทุกข์มาแล้วจะทำอย่างไร ร่างกายเป็น โรคนิทธัง เป็นรังของโรค ปภังคุณัง มันจะต้องเปื่อยเน่าเป็นธรรมดา ถ้ารู้ว่ามันธรรมดาก็ยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ถ้ากฎของธรรมดาแบบนี้เป็นธรรมดาที่บีบคั้นให้เราเป็นทุกข์ เราไม่ต้องการมันอีก เราจึงพิจารณาเห็นว่าอัตตภาพร่างกายนอกจากมันจะตายมันจะทุกข์แล้ว มันก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันมีความตายไปในที่สุด เมื่อตายแล้วถ้าพกความชั่วก็ตกลงไปสู่อบายภูมิ พกความดีก็ไปสู่สุคติ ถ้าจิตบริสุทธิ์ก็ไปนิพพาน

    นี่ความจริงมันเป็นอย่างนี้ เมื่อรู้ตัวว่าเราจะตายก็เตรียมต่อสู้ไว้ เราไม่ต้องการความทุกข์ต่อไป การเปลื้องความทุกข์เบื้องต้นเป็นการผ่อนคลายความทุกข์ คือ ความเกิดได้แก่การนึกถึงความตายเป็นปกติ เห็นอัตภาพร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ร่างกายเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ประชุมกัน เป็นแต่ร่างกายที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น เราก็คือจิตหรืออทิสสมานกายที่อาศัยอยู่ในกาย ถ้าร่างกายมันพังแล้วเราก็ต้องไปจากมัน เรานึกอยู่เสมอว่าความตายเป็นของธรรมดา จะตายเมื่อไรก็ช่างร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา

    แล้วต่อแต่นี้ไป เพื่อเป็นการบรรเทาความทุกข์ บรรเทาการเกิด ยอมรับนับถือคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยปัญญา ไม่ใช่สักแต่เพียงว่ายอมรับนับถือต้องพิจารณาเสียก่อนว่าความจริงมันเป็นอย่างไร เมื่อเราเห็นว่าพระพุทธเจ้าเทศน์จริงตรงต่อความเป็นจริงแล้ว ต้องยอมรับนับถือ อันนี้ต้องใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา

    แล้วต่อมาก็ต้องรักษาศีล ๕ ให้เป็นปกติให้บริสุทธิ์ เพื่อเป็นการป้องกันอบายภูมิ มีจิตรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่สำหรับฆราวาส สำหรับพระเณรก็ต้องรักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์ไม่ให้บกพร่อง แล้วมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ อย่างนี้ชื่อว่าเป็น พระโสดาบัน มันไม่ยาก

    ทีนี้ในเมื่อนึกถึงความตายเป็นปกติ การเป็นพระโสดาบันมันต้องเกิดเป็นคนใหม่ ถึงมันจะเกิดเป็นคนเป็นแค่มนุษย์ เทวดาหรือพรหม ตอนที่เป็นเทวดาหรือพรหมมันก็มีความสุข แต่การที่จะเกิดมาเป็นมนุษย์มันก็จะต้องมาทนกับความทุกข์ ถึงแม้ว่าการเกิดจะอยู่ในเขตจำกัด เรามีอารมณ์อ่อนเกิดเป็นมนุษย์ ๗ ชาติ มีอารมณ์อย่างกลางเป็นมนุษย์ ๓ ชาติ มีอารมณ์อย่างละเอียดเป็นมนุษย์ ๑ ชาติ แม้แต่ตำว่า ๑ ชาติ ก็เต็มไปด้วยความบีบคั้น เราจะเกิดกันทำไมต่อไป

    ทีนี้การที่เราไม่ต้องการจะเกิดมันทำยังไง มันก็ต้องก้าวเข้าไปสู่ความเป็นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ ถ้าเป็นพระอนาคามีแล้ว ถ้าตายจากความเป็นมนุษย์ก็เกิดเป็นเทวดาหรือพรหม แล้วก็นิพพานแบบนั้นมีความสุข
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทำอย่างไรเราจึงจะเป็นพระอนาคามีได้ เราก็จะยกความตายขึ้นมาเป็นเหตุว่าร่างกายของเรามีความตายไปในที่สุด ก่อนที่มันจะตายการทรงชีวิตอยู่ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ทีนี้คนเราเมื่อตายแล้วมีสภาพอย่างไร ประกอบไปด้วยความสกปรกโสโครก สิ่งทั้งหลายที่หลั่งไหลออกมาจากร่างกายล้วนแต่เห็นได้ชัดแล้วว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันสกปรกร่างกายของคนเราหันไปดู สักกายทิฐิ หรือ กายคตานุสสติกรรมฐาน ที่พูดมาแล้วว่าร่างกายเต็มไปด้วยความสกปรก ร่างกายเต็มไปด้วยความโสโครก มีความแก่ลงทุกวันมีความทรุดโทรม เต็มไปด้วยความทุกข์ แล้วก็มีความตายไปในที่สุด

    การปรารถนาในการครองคู่เนื่องด้วยกามารมณ์ และอาศัยการสัมผัสเป็นปัจจัยมันไม่มีอะไรเป็นแดนของความสุข มันกลับเพิ่มความทุกข์เข้ามา เมื่อเราแสวงหาความสุข การมีคู่ครองต้องรับภาระการเอาใจคู่ครอง เอาใจบุคคลผู้เป็นญาติของคู่ครอง เพื่อนของคู่ครอง ทีนี้จะมีอะไรเป็นสุข ต้องมีบุตรมีธิดามาอีกก็ปรากฏว่าเพิ่มทุกข์หนักเข้ามานี่การแสวงหาคู่ครองหวังว่ามันเป็นความสุข แต่มันเป็นปัจจัยของความโง่ของคน ไม่ใช่ความฉลาด เห็นอาการของความทุกข์เป็นอาการของความสุข คนโง่จึงจะทำอย่างนั้น

    ทีนี้เราพิจารณาถึงร่างกายของบุคคลทั้งหลายที่เราต้องการในการครองคู่ ว่ามันสะอาด มันสวยงดงามมันดีตรงไหน เมื่อเราพิจารณาถึงร่างกายของเราว่ามันสกปรก กายของชาวบ้านที่ไหนเขาสะอาด การปรารถนาในการครองคู่นี่เราไม่ต้องการให้พรากจากกันเพราะอาศัยความรักเป็นปัจจัยเพราะว่าเราห้ามได้ไหมล่ะ คู่ครองของเราเราไม่ต้องการให้แก่ เราไม่ต้องการให้ทรุดโทรม เราไม่ต้องการให้ป่วยไข้ไม่สบาย เราไม่ต้องการให้ตาย เราห้ามได้ไหม ในที่สุดเราก็ห้ามไม่ได้

    เมื่อห้ามไม่ได้แล้วเราจะปรารถนาในการมีคู่ครองเพื่อประโยชน์อะไร รูปไม่มีการทรงตัว มันมีความทรุดโทรมเป็นปกติ เสียงสัมผัสหูแล้วก็ผ่านไป กลิ่นสัมผัสนาสิก (จมูก) แล้วก็ผ่านไป รสสัมผัสปลายลิ้นกับกลางลิ้น เลยเข้าไปถึงโคนลิ้นก็หมดรส ไม่มีความรู้สึกอย่างนี้เป็นต้น แล้วเราจะพะวงหลงไหลทำไม เพราะเป็นปัจจัยแห่งความทุกข์ ให้เกิดความทุกข์อยู่ตลอดเวลา ตั้งใจตัดเสีย ถือว่าเราจะตายอยู่แล้ว เราทรุดโทรมอยู่ทุกวัน เราจะแบกภาระในการมีคู่ครองอยู่เพื่อประโยชน์อะไร ไม่มีประโยชน์ มันเต็มไปด้วยความทุกข์ ไม่ใช่ปัจจัยของความสุข

    นี่เราเห็นทุกข์โดยเฉพาะ แล้วเรามาพิจารณาดูกายคตานุสสติว่า ร่างกายของคนเต็มไปด้วยความสกปรก มันน่าสะอิดสะเอียน พิจารณาแบบนี้เป็นปกติธรรมดาวันละเล็กละน้อยให้เกิดมีอารมณ์ชิน เราเห็นว่ามันสกปรกแล้วไม่มีอะไรทรงตัว มีความไม่เที่ยงเป็นปกติ ความสลายตัวไปในที่สุด เรามาหาความรักความปรารถนาความต้องการเพื่อประโยชน์อะไร

    เมื่อทำใจพิจารณาอย่างนี้เป็นปกติถือว่านี่เราจะตาย เราจะเอาซากศพมาเป็นของเราเพื่อประโยชน์อะไร ร่างกายของเราก็เป็นซากศพ ร่างกายบุคคลอื่นก็เป็นซากศพเต็มไปด้วยความโสโครก เมื่อเราพิจารณาเรื่องนี้เป็นปกติ เราก็สามารถตัดกามฉันทะได้ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส หรือสัมผัส จะไม่มีกับเรา
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นี่ค่อยทำค่อยไปทำใจให้สบาย ควบคุมกำลังใจให้เป็นสมาธิด้วยอำนาจอานาปานุสสติและพุทธานุสสติควบคู่กันไป เมื่อใจมีอารมณ์สบาย ใจมีอารมณ์สงบ ก็หันมาพิจารณา กายคตานุสสติกรรมฐาน คู่กับ วิปัสสนาญาณ ว่า ร่างกายมันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มันไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเรา ร่างกายเต็มไปด้วยความสกปรก ไม่ช้าจิตก็จะเกิดความเคยชิน มีความเบื่อหน่ายที่เรียกว่า นิพพิทาญาณ เมื่อนิพพิทาญาณเกิดขึ้น มีความเบื่อหน่ายอยากจะทำลายขันธ์ ๕ เสียให้สิ้นไป นี่อารมณ์อย่างนั้นมันต้องการอย่างนี้ มันอยากจะทำลายเสียให้หมดเปลือกหมดชาติกันต่อไป แต่ว่าการทำลายไม่มีประโยชน์ เพราะว่าเป็น อุปฆาตกรรม เป็นการทำลายชีวิตจิตมัวหมอง พระพุทธเจ้าทรงห้าม

    ในเมื่อมันจะทรงตัวอยู่ก็ตามใจมัน แต่เราไม่ติดใจในมันทำใจให้เป็น สังขารุเปกขาญาณ มันจะเป็นอะไรก็ช่างมัน ป่วยไข้ก็ช่าง หิวก็ช่าง มันจะมีการพลัดพรากจากของรักของชอบใจก็ช่าง มันจะตายก็ช่าง ช่างมัน หิวก็มีอาหารกิน ไม่มีก็แล้วไป อาหารที่กินเข้าไปก็ไม่จำเป็นจะต้องเลือกอย่างนั้นอย่างนี้ มันก็แก้ความแก่ไม่ได้ กันความป่วยไม่ได้ กันความตายไม่ได้

    คนที่ติดในรสอาหารก็เป็นคนโง่นั่นเอง ไม่ใช่เป็นคนฉลาด อาหารประเภทไหนจะมีรสประเภทใดก็ตามกินเข้าไปแล้วมันก็ป่วย มันก็แก่ มันก็ตายเหมือนกัน ร่างกายก็เต็มไปด้วยความสกปรก นี่เราก็ไม่ติดในรสอาหาร อาหารดีหรือไม่ดี อร่อยหรือไม่อร่อยสำคัญ เพราะใจเป็นอุเบกขา ถือว่ากินเพื่อยังชีพยังอัตภาพให้เป็นไป ถ้าใจเป็นสังขารุเปกขาญาณ การตัดกามฉันทะก็หมดไปด้วย

    เพราะอะไร ใจมันเฉย เห็นรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสใด ๆ ก็ตาม ใจไม่ต้องการก็มีความเบื่อหน่ายเป็นอารมณ์ ความวางเฉยเป็นปกติ นี่เราก็ถือว่าเราจะตายแล้วนี่ เราไม่ต้องการอะไรกับใครกับร่างกายของบุคคลอื่นที่เราต้องการเขาเข้ามา เขาก็แก่เขาก็ตายเหมือนกัน เต็มไปด้วยความสกปรก อย่างนี้เรียกว่า เราสามารถตัดกามฉันทะได้แบบไม่ยาก เมื่อตัดกามฉันทะได้แล้วก็ต้องตัดความพยาบาทเพื่อความเป็น พระอนาคามี

    การตัดความพยาบาทเราก็ยกเอาความตายขึ้นมาเป็นเหตุ ว่าร่างกายของเราจะต้องตาย ร่างกายของบุคคลอื่นก็ต้องตาย นอกจากมันจะตายแล้วมันก็เต็มไปด้วยความทุกข์ เต็มไปด้วยความบีบค้น แล้วเราจะต้องการมันเพื่ออะไร ไม่มีแล้วความต้องการในขันธ์ ๕ คือความต้องการในขันธ์ ๕ สำหรับเราไม่มี เราจะโกรธจะฆ่าใครเพื่อประโยชน์อะไร นี่คนเราทุกคนสัตว์ทุกประเภทเกิดมาแล้วมันก็ต้องตาย ไม่ต้องฆ่า ทีนี้เราไม่ต้องการจะฆ่า เราอยากจะทรมานให้เขาเป็นทุกข์ เขาก็เป็นทุกข์อยู่แล้ว

    ทีนี้การที่แก้ความโกรธ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ใช้ เมตตาในพรหมวิหาร เป็นสำคัญ ทำจิตใจของเราให้รักในบุคคลและสัตว์ทั้งหลาย ว่าสัตว์และบุคคลทั้งหลายเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย เต็มไปด้วยความทุกข์เหมือนกัน เราจะไม่พยาบาทพิฆาตเข่นฆ่า จะไม่ทำอันตรายชีวิตของใครและร่างกายของใคร นอกจากจะไม่คิดทำร้าย อารมณ์ใจของเราจะเยือกเย็น มีแต่ความสงสาร มีแต่จิตเมตตา มีความปรารถนาต้องการให้เขามีความสุข อารมณ์จิตใจของเราเยือกเย็น

    หรือมิฉะนั้น ถ้าเมตตาพรหมวิหารไม่เป็นถูกใจ เราใช้กสิณ ๔ ประการ กล่าว คือ กสิณสีแดง สีเขียว สีเหลือง สีขาว อย่างใดอย่างหนึ่งรักษาอารมณ์ใจให้เป็นปกติ ในที่สุดเราจะสงบใจ กล่าวคือทำลายความโกรธความพยาบาทเสียได้ เมื่อความโกรธความพยาบาทไม่ปรากฏกับใจเราก็ชื่อว่าเราตัดเสียได้แล้วซึ่ง พยาบาท หรือโทสะ ความโกรธ ความพยาบาท หวังในการคิดประทุษร้ายกับบุคคลอื่นไม่มี
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เมื่อเราตัดความรักในเพศ ความโกรธความพยาบาทเสียได้ โดยยกเอามรณานุสสติกรรมฐาน เป็นอารมณ์ โดยนิยมคิดว่าเราจะต้องตาย จะไปฆ่าเขาทำไม ถ้าไม่ฆ่าเขาก็ตาย เขามีความทุกข์อยู่แล้ว เราจะไปทรมานเขาทำไม นอกจากว่าเราจะผูกใจเป็นมิตรซึ่งกันและกัน เราจะผูกมิตรโดยใช้พรหมวิหาร ๔ เป็นปัจจัย คือ เมตตา ไม่ใช่หมายความว่ามีเยื่อใย ต้องการเมตตาจุนเจือเอาไว้เป็นสำคัญ ไม่มีอารมณ์เป็นอย่างนี้ ถือแต่เพียงเมื่อเราจะตายเขาจะตาย การพลัดพรากจากของรักของชอบใจมันจะเกิดขึ้น ก็ถือว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ในขณะที่มีชีวิตอยู่ก็มีความเมตตาปรานีสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน เป็นการผูกมิตรเอาไว้ทำให้ใจเป็นสุข นี่อย่างนี้เราเป็นพระอนาคามีได้อย่างเต็มที่

    เมื่อเป็นพระอนาคามีได้แล้วเราก็ไม่ต้องเกิดเป็นคน จะมานั่งเกิดเป็นคนอย่างพระโสดา สกิทา ไม่มีอีกแล้วสำหรับรา เราก็มีแต่ใจใสเป็นแก้ว ไม่มีความผูกพันในกามารมณ์ ไม่มีความผูกพันในความโกรธ ความพยาบาท จิตใจก็มีความสุข เมื่อตายเป็นเทวดาหรือพรหมอยู่ที่นั่นจนเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน

    ทีนี้เมื่อเราเป็นพระอนาคามี ระยะเวลาอีกไม่ช้าเท่าไร เราก็เป็นพระอรหันต์ได้ ก็ยกความตายเป็นมาตรฐานเป็นตัวต้น เพราะคนเราแม้ว่าจะเป็นพระอนาคามี แต่ว่ายังต้องตายอีก มันเป็นความทุกข์ ทุกข์ตอนไหน เพราะมันเป็นมนุษย์อยู่ต้องอาศัยลมหายใจ ต้องหายใจมีอาหารเป็นเครื่องเกื้อกูล มันยังเป็นภาระ ทั้งนี้ถ้าตายเป็นเทวดาหรือพรหมแล้วมันก็ยังมีภาระที่จะต้องปฏิบัติให้พ้นจากความเป็นเทวดาหรือพรหม เพื่อเข้าถึงซึ่งพระนิพพานต่อไป ไหน ๆ เราก็เป็นพระอนาคามีได้แล้ว ก็เป็นพระอรหันต์ไปเสียเลยดีกว่า

    ตอนนี้ไม่ต้องการยกความตายขึ้นมาเป็นอารมณ์ เห็นว่าเทวดาหรือพรหมมันยังไม่หมดความทุกข์ ก็ยกเอาอริยสัจเป็นเบื้องหน้า ความเป็นเทวดามีภาระในการทำคือ ต้องทำกิจที่จะต้องให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน เมื่อจิตเข้าถึงตอนนี้แล้วนั้น เราก็ตัด ไปพระนิพพานเสียเลยทีเดียว ไม่ต้องไปเกิดเป็นเทวดาหรือเป็นพรหมตอนนี้เป็นของง่าย ง่ายตอนไหนง่ายตอนเป็นพระอนาคามีแล้วจิตละเอียดมามากพอแล้ว

    ต่อไปก็ตัดกิเลสเป็น อนุสัย นั่นก็คือความมัวเมาใน รูปฌาน และอรูปฌาน อย่าไปนั่งมัวเมาในรูปฌาน และอรูปฌาน จะยึดถือเอารูปฌานและอรูปฌานว่าดีเลิศประเสริฐยังใช้ไม่ได้ ถือว่ารูปฌานและอรูปฌานเป็นบันไดก้าวไปสู่พระนิพพาน เป็นกำลังของจิตเป็นการควบคุมกำลังของจิตให้ทรงสมาธิเท่านั้น แล้วเราก็ไม่ได้ทิ้งรูปฌานและอรูปฌานให้รูปฌานและอรูปฌานเป็นบันไดก้าวขึ้นไปสู่พระนิพพาน คุมกำลังฌานให้เป็นปกติ
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตัด มานะ ความถือตัวถือตนเสีย การที่คิดว่าเราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา เราเสมอเขายกยอดทิ้งไป คิดว่าสภาพร่างกายมันเป็นธาตุ ๔ มันไม่มีความคงที่ มีการเปลี่ยนแปลงและมีความตายไปในที่สุด เราจะเอาอะไรมาเป็นเครื่องเปรียบเทียบว่าเราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา เราเสมอเขา ร่างกายของใครมันก็เป็นของใคร ความจะดีกว่ามันไม่ปรากฏเพราะอะไร มันเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน จะว่าเสมอกันไม่ได้ จะว่าเขาหิวเราไม่หิว เราง่วงเขาไม่ง่วง เราแก่เขาไม่แก่ เราตายเขายังไม่ตาย จะมีอะไรมาเสมอกัน ก็หาความเสมอกันมันก็ไม่ได้ จะหาว่าใครเลวกว่ากันมันไม่ได้ เพราะอะไร เพราะเกิดแก่เจ็บตายเสมอกัน

    เป็นอันว่า มานะ ความถือตัวถือตนว่าเราเสมอเขา เราสูงกว่าเขา เราเลวกว่าเขา ไม่มีสำหรับเรา แม้แต่สัตว์เดรัจฉานเราก็ไม่รังเกียจ เพราะมันเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน มีร่างกายประกอบด้วยธาตุ ๔ เหมือนกัน มีความหิวความกระหายมีความป่วยไข้ไม่สบาย มีความแก่เฒ่า และความตายไปในที่สุดเหมือนกัน ถือมันคือเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกับเรา คิดได้อย่างนี้แล้วใจก็ใกล้พระนิพพานเต็มทีเหลืออีก ๒ อัน ก็คือ อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ

    ความจริงเป็นพระอนาคามีนี่จิตก็ยังฟุ้งซ่าน ที่เราบอกว่านั่งสมาธิที่ยังคงจิตใจไม่ได้ตลอดกาล ไม่ใช่อะไร เพราะเรายังไม่ใช่พระอรหันต์ ถ้ายังไม่ถึงพระอรหันต์เพียงใดใจมันก็จะยังไม่คงตัว แต่ว่าการซ่านของพระอนาคามีมันไม่ถึงทำลายศีล ไม่เข้าไปถึงการทำลายธรรมะ แต่มันยับยั้งทำให้ช้า คือมีความสุข ยังคิดว่าการมีความสุขเป็นปัจจัยให้เกิดบนสวรรค์ หรือมีความสุขเป็นปัจจัยให้มีความสุขในชาตินี้และสัมปรายภพ จิตมันจะคิดนอกลู่นอกทางไม่จับพระนิพพานเป็นอารมณ์ จิตยังไม่ตรงเลยทีเดียว หมายความว่าจิตยังตั้งไม่ตรงจุด คือ จิตที่จะไปให้ใกล้ถึงพระนิพพานนั้น ไม่ค่อยจะไปมันขวางหน้าขวางหลัง อยู่ข้างหน้าข้างหลัง นึกถึงอย่างโน้นอย่างนี้

    แต่ในส่วนที่เป็นความดี อย่างนี้องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาจะให้ใช้ อานาปานุสสติ ควบไปกับ วิปัสสนาญาณ ทรงใจของเราให้ดีโดยเฉพาะจับพระนิพพานเป็นอารมณ์และจุดอื่นเราไม่ต้องการ เราต้องการพระนิพพานอย่างเดียว จะทำอะไรก็ตามในส่วนที่เป็นกุศล เราไม่ต้องการพบกับความเป็นมนุษย์ เทวดา หรือพรหม เราต้องการเฉพาะพระนิพพาน ถ้าจิตเรานึกแต่อย่างนี้อยู่ตลอดเวลาตลอดกาลตลอดสมัย ใจทรงแต่เฉพาะพระนิพพาน ขึ้นชื่อว่าเราตัดอุทธัจจะกุกกุจจะความฟุ้งซ่านลงได้แล้ว จิตมีน้ำใจใสเหมือนแก้วเข้าสู่พระนิพพานได้

    เมื่อจิตจับพระนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว ก็เหลืออนุสัยเพียงตัวเดียว คือ อวิชชา ความโง่ โง่นิดเดียวมันไม่โง่มาก คือว่ามีอารมณ์ปรารถนา มีความต้องการในโลกมนุษย์ พรหมโลก เทวโลก เห็นว่าเกิดมาแล้วก็แก่ แล้วก็เจ็บเต็มไปด้วยความทุกข์ คือถ้าเราเกิดเป็นเทวดา ยังมีภาระที่จะต้องปฏิบัติมันไม่มีความสุขจริง ๆ นะ เทวดายังมี กามฉันทะ การที่ยังมีผู้หญิงผู้ชายเราไม่ต้องการ และมีความวุ่นวายสำหรับใจ

    ถึงแม้จะมีความสุขกว่ามนุษย์ตั้งหลายล้านเท่าก็ตามที แต่มันยังดีไม่ถึงที่สุด ยังมีอารมณ์หนัก เรายังต้องการเป็นพรหม พรหมก็ยังมีอารมณ์ที่จะปฏิบัติ ก็อาศัยพระธรรมปีติเป็นอาหาร ต้องการพระนิพพานแต่ใจยังมีความสุขยังไม่ถึงพระนิพพานยังมีภารกิจที่จะต้องทำยังมีอยู่ ฉะนั้นองค์สมเด็จพระบรมครูจึงสอนตัดให้ตัดเทวดาหรือพรหมเสีย เราไม่ต้องการ เราต้องการอย่างเดียวคือ[FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]พระนิพพาน
    [/FONT][/FONT]
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เมื่อจิตเข้าถึงจุดพระนิพพานแล้วเราก็จะสังเกตได้ว่า โลภะก็ดี ราคะ ความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสก็ตาม ความปรารถนาในทรัพย์สิน ความต้องการในความร่ำรวย เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี ย่อมไม่มีในเรา เพราะว่ายังมีชีวิตอยู่ก็ต้องประกอบกิจการงานเพื่อความเป็นอยู่ ทำฐานะให้เจริญรุ่งเรืองอย่างนี้องค์สมเด็จพระบรมครูไม่ทรงติ
    แต่ทว่าเราต้องไม่ติดในทรัพย์สินทั้งหลาย คือ ว่าเราอยู่ก็หากันไปเพื่อทรงอัตภาพให้เป็นไปเพื่อนตัวเรา เพื่อบุตรธิดาสามี แต่ทว่าทรัพย์สินทั้งหลายมันจะสลายตัวไป จะหายไป พังไป เราก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา จิตใจไม่หวั่นไหว ถ้าเราจะต้องพลัดพรากจากมันไป เราจะต้องตายจากทรัพย์สินเราก็ไม่หนักใจถือเป็นเรื่องธรรมดา

    เป็นอันว่าความปรารถนาในความเป็นมนุษย์ไม่มีสำหรับเรา ความต้องการเป็นเทวดาก็ไม่มี ความต้องการเป็นพรหมก็ไม่มี เมื่อความรักไม่มี ความโลภไม่มี ความโกรธมันก็ไม่มี ใจก็สบาย อันจิตที่จะนึกว่ามันเป็นเรา นั่นเป็นเรา โน่นเป็นเรา เป็นของเรามันไม่มีในใจ คือว่ามันเป็นสมบัติของโลกีย์ เราตายแล้วนำไปไม่ได้ แม้ถ้าเรามีชีวิตอยู่ก็ครองมันไม่ได้นาน สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เราไม่ต้องการ อารมณ์เต็มไปด้วยความสุข ยอมรับนับถือกฎธรรมดาเป็นปกติ อะไรจะมาทางไหนก็ตามจิตไม่หวั่นไหว

    ถูกนินทาก็จิตใจเฉย ๆ สบาย มีใครเขาสรรเสริญไม่ยินดีด้วย จิตใจของเราไม่ยอมรับนับถือในความดีความชั่วที่บุคคลเขายกย่องปั้นให้ จิตใจของเรามีความสบาย ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน ไม่มีอารมณ์อย่างใดที่สร้างจิตให้หวั่นไหว จิตประเภทนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาถือว่าเป็นจิตที่เข้าถึงพระนิพพานแล้ว สมใจจามที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วต้องการให้เราทุกคนเข้าถึง

    ที่พูดในมรณานุสสติกกรรมฐานอย่างย่อ ๒ ตอน คือเมื่อคืนที่แล้วและคืนนี้ หากว่าท่านทั้งหลายจะพิจารณากันให้ดีละก็ เฉพาะกรรมฐานกองนี้กองเดียวบวกกับวิปัสสนาญาณแล้วก็ไปพระนิพพานได้แบบสบาย สำหรับมรณานุสสติกรรมฐานที่องค์สมเด็จพระจอมไตรให้เราพิจารณาเมื่อจิตมันเป็นพุทธจริตเท่านั้น จิตมีความฉลาด

    ถ้าจิตยังประกอบด้วยราคจริต โทสจริต โมหจริต วิตกจริต ศรัทธาจริต มรณานุสสติกรรมฐาน เรายังใช้ไม่ได้ แต่เมื่อใดจิตใจมีความสบายมีความเหนื่อยหน่ายในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส เป็นต้น ไม่นิยมในความโกรธ ความพยาบาทจิตใจมีความโปร่ง จึงควรหยิบยกเอามรณานุสสติกรรมฐานมาบวกกับวิปัสสนาญาณ เพื่อหวังพระนิพพานโดยปกติ

    เอาละ พูดเท่านี้หวังว่าพอจะเข้าใจบ้าง ต่อไปนี้ขอให้ทุกท่านตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา


    [FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]พระราชพรหมยาน
    [/FONT][/FONT]
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คำสอนสายกลาง โดย…พระราชพรหมยาน

    (คำสอนที่สายลม ๑๐ ส.ค. ๒๕๒๒)

    สำหรับวันนี้เป็นวันเริ่มแรกสำหรับเที่ยวนี้นะ ความจริงห่างกันไม่กี่วัน ห่างกันไม่กี่วันมาอีกแล้ว เดือนนี้ขยับมา วันที่ ๒๕ มาอีกแล้ว วันที่ ๒๖ จะไปเทศน์วัดพระแก้ว และก็วันที่ ๑ มาอีกแล้ว ขยันเสียจนลุกไม่ขึ้นเหนื่อยกลับไปถึงวัดก็นอนแหมบ…เฮ้ย..ป่วยจนเกือบลุกไม่ไหว เดินซิ่งแซ่ง ๆ พอมีแรงนิดถึงเวลามาอีกแล้ว เป็นอันว่าวันนี้ก็เริ่มกันใหม่นะ เรื่องใหม่หรือเรื่องเก่า ตอนนี้เรื่องใหม่นะ มันก็คงไม่ใหม่นะ เมื่อวานว่ากันทีหนึ่งแล้ว

    สำหรับการเจริญพระกรรมฐาน เมื่อเที่ยวที่แล้วรู้สึกว่าขันธ์ ๕ มันไม่ดีจริง ๆ ขันธ์ ๕ ไม่ดีแต่ว่าใจสบาย ทั้งนี้เพราะอะไร ก็เพราะว่าตลอดเวลาระยะ ๔ วัน ถ้าจะเทียบกับการมาทุก ๆ ครั้ง ครั้งตั้งแต่เริ่มต้นก็รู้สึกว่าเที่ยวที่แล้วนี้กำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท อยู่ในเกณฑ์ดีมากนะ ถ้าดีนี่เหมือนกับคนปลูกต้นไม้ ถ้าต้นไม้งามมีดอกออกผล ไอ้คนปลูกถึงจะเหนื่อยหรือจะแก่ก็ยิ้มได้ ใช่ไหม ก็เหมือนกับที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณใหม่ ๆ

    ในกัณฑ์แรกองค์สมเด็จพระจอมไตรทรงแสดงพระธรรมเทศนา ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร พอจบ ท่านโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม คือ พระโสดาบัน เพียงองค์เดียวเท่านั้น รู้สึกว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดีพระทัยมาก ถึงกับเปล่งอุทานวาจาว่า อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ ซึ่งแปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ใช่ไหม ดีใจ

    สำหรับอาตมาก็เหมือนกัน เที่ยวที่แล้วรู้สึกว่าบรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าไล่วันกันไปถึง ๔ วัน ในวันแรกจิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหมด ทั้งนี้ก็ต้องเว้นสำหรับท่านที่มาใหม่ไม่กี่ท่าน คืนที่ ๓ ดูเหมือนจะมี ๔ ท่าน มี ๑๑ ท่านที่มาจากที่อื่นนะ มาจากที่อื่นไม่ใช่ว่าท่านไม่ดี ท่านดี แต่ทว่ากำลังใจก็ปรับกันไม่ได้ระดับกัน ทั้งนี้เพราะว่ากำลังใจของท่านที่ฝึกมาจากที่อื่นมันแย่งตัวภาวนากัน คือว่าถ้าอารมณ์ไม่แย่งกันก็จะเกือบเท่า ๆ กัน

    เป็นอันว่ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทดีขึ้นตามลำดับ วันที่ ๑ วันที่ ๒ วันที่ ๓ ที่ ๔ วันที่ ๑ กำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท โน่น…ดู…ไฟฟ้าที่ห้อยเมื่อขณะใช้อำนาจ เจโตปริยญาณ เห็นกำลังใจของทุกท่านสว่างเหมือนกับไฟฟ้าเลยนะ จะมากกว่ากันบ้างน้อยกว่ากันบ้างก็นิดหน่อย ก็ถือว่าเป็นระดับเดียวกัน

    [FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]แต่ว่าวันที่ ๒ แสงสว่างหายไปเสียแล้ว เสร็จ แต่ว่าพอวันที่สองมันไม่เป็นดวง มันเป็นแสงสว่างกระจายออก อันนี้เป็นที่ต้องการของบุคคลทั้งสองอย่าง ถ้าเป็นดวงจับสว่างอยู่ภายใน ก็ถือว่ากำลังใจของท่านทรงความดีมีทั้งสมถะวิปัสสนาพร้อม พอคืนที่ ๒ ปรากฏว่าดวงกลมหายไปหมด แต่ว่าเป็นแสงสว่างกระจายออกอันนี้แสดงถึงกำลังวิปัสสนาญาณมีกำลังกล้า แต่ว่าวิปัสสนาญาณจะมีกำลังกล้า ก็จะต้องอาศัยกำลังสมถะคือสมาธิเป็นตัวสนับสนุนจึงจะไปได้ พอคืนที่ ๓ กระจายออกกว้างมาก คืนที่ ๔ แสงสว่างกระจายออก แต่ว่ากำลังใจแน่นสนิท ที่ท่านตรัสว่าเหมือนกับเอาหินก้อนใหญ่มาวางไว้ อันนี้ใช่ไหม เป็นที่ต้องการของคนฝึก
    [/FONT]
    [/FONT]
     

แชร์หน้านี้

Loading...