ราชินีขี่มังกร ซูสีไทเฮา

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย อำนวยกรณ์, 26 มกราคม 2011.

  1. อำนวยกรณ์

    อำนวยกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    515
    ค่าพลัง:
    +1,931
    [​IMG]

    ภาพวาดซูสีไทเฮา
    เมื่อ ครั้งเป็น พระอัครชายาอี


    [​IMG]
    [​IMG][​IMG]


    ซูสีไทเฮา (ภาษาจีน: 慈禧太后; พินอิน: Cíxǐ Tàihòu ฉือสี่ไท่โฮ่ว) (29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1835 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908) หรือรู้จักกันในประเทศจีนว่า ไทเฮาฝ่ายตะวันตก (西太后) และพระนามแต่งตั้งว่า เสี้ยวชินเซียนฮองเฮา (孝欽顯皇后) พระนางทรงเป็นผู้นำที่ทรงอำนาจและอยู่เบื้องราชสำนักจีนในสมัยราชวงศ์ชิง พระนางทรงอยู่ในอำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1861 จนสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1908
    นักประวัติศาสตร์พิจารณาแล้วว่าพระนางทรงตัดสินพระทัยอย่างดีที่สุดแล้วที่จะจัดการกับภาวะยากลำบากต่างๆ ในยุคนั้น แต่ด้วยความคิดอนุรักษ์นิยมของพระนางและชาติตะวันตกที่เข้ามามีอิทธิพลเหนือแผ่นดินจีนมากเรื่อยๆ ทำให้ราชสำนักและ ประเทศจีนในครั้งนั้นด้อยเรื่องเทคโนโลยีจนถูกต่างชาติครอบงำในที่สุด
    [​IMG][​IMG][​IMG]

    นางเกิดในรัชสมัยของจักรพรรดิเต้ากวง (道光) โดยเป็นบุตรขุนนางทหารเล็ก ๆ ผู้หนึ่ง เดิมชื่อ เยโฮนาลา เข้าถวายตัวในวังเมื่ออายุได้ 17 ปี ใน 3 ปีแรก นางไม่ได้พบกับพระจักรพรรดิเลย แต่นางใช้ความสามารถในทางร้องรำ จนทำให้ได้พบปะกับจักรพรรดิจนได้ในที่สุดด้วยชั้นเชิงและความทะเยอทะยานของนาง ซูสีไทเฮาได้เป็นมเหสีในจักรพรรดิเสียงเฟิง (咸丰皇帝)หลังจากจักรพรรดิเสียนเฟิงสวรรคตในค.ศ. 1861 พระนางและฉืออันไทเฮา (慈安太后) ก็ได้ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนจักรพรรดิองค์น้อยนามถงจื้อ (同治皇帝) ผู้เป็นพระโอรสของจักรพรรดิเสียนเฟิงในฐานะฮองเฮาหรือพระราชชนนี ภายใต้การชักนำของพระอนุชาของจักรพรรดิเสียนเฟิง ไทเฮาทั้ง 2 ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จนถึงค.ศ. 1873 เมื่อจักรพรรดิถงจื้อทรงมีพระชนมายุที่สามารถขึ้นมีพระราชอำนาจได้
    [​IMG]
    2 ปีต่อมา จักรพรรดิถงจื้อผู้ยังทรงพระเยาว์สวรรคต ซูสีไทเฮาฝ่าฝืนกฏการสืบสันตติวงศ์โดยนำหลายชายนาม กวางซวี (光绪皇帝) อายุเพียง 3 ขวบ ขึ้นมาเป็นจักรพรรดิองค์ต่อไป ไทเฮาทั้ง 2 พระองค์ก็ยังคงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระจักรพรรดิเช่นเดิม จนเมื่อฉืออันไทเฮาสิ้นพระชนม์ในค.ศ. 1881 ซูสีไทเฮาจึงได้ขึ้นมีอำนาจเต็มเหนือแผ่นดินจีน


    [​IMG]

    เมื่อจักรพรรดิกวางซวีผู้เป็นหลานของพระนางถึงพระชนมายุที่สามารถขึ้นมีพระราชอำนาจได้ พระนางก็วางมือจากการบริหารราชสำนัก ถึงกระนั้นก็ยังส่งสายลับของพระนางเข้าไปเป็นเครือข่ายในราชสำนักอยู่ดี หลังจากที่จีนแพ้สงครามกับญี่ปุ่น (ค.ศ. 1894-ค.ศ. 1895) จักรพรรดิกวางซวีก็ทรงเริ่มการปฏิรูปประเทศในหลายๆ ด้าน ซึ่งรู้จักกันในนาม "การปฏิรูปร้อยวัน" ส่งผลให้ซูสีไทเฮาทรงร่วมมือกับกองกำลังทหารซึ่งมีความคิดอนุรักษ์นิยมเช่นเดียวกับพระนางเข้ายึดพระราชอำนาจ และขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการอีกครั้ง นอกจากนั้น ยังทรงจับจักรพรรดิไปคุมขังในพระที่นั่งกลางทะเลสาบทางตะวันตกของนครต้องห้ามอีกด้วย
    [​IMG]
    ในปีต่อมา ซูสีไทเฮาได้หนุนหลังกลุ่มจลาจลหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มที่ต่อต้านการปฏิรูปและต่อต้านชาวต่างชาติ ต่อมา กองกำลังทหารต่างชาติได้บุกเข้าพระราชวังต้องห้ามและยึดกรุงปักกิ่งไว้ได้ ทำให้ซูสีไทเฮาต้องยอมรับข้อตกลงสงบศึก และพระนางทำการปฏิรูปประเทศจีนตามข้อตกลงทั้งที่พระนางเคยขัดขวางจักรพรรดิไว้ พระนางดำรงพระราชอำนาจซึ่งลดลงเรื่อยๆ จนสิ้นพระชนม์ในค.ศ. 1908

    [​IMG]
    จักรพรรดิกวางซวีสวรรคตก่อนพระนางซูสีไทเฮาเพียง 1 วัน มีรายงานว่าเป็นเพราะพระนางมีพระบัญชาให้วางยาปลงพระชนม์พระจักรพรรดิ
    [​IMG]
    มีผู้กล่าวไว้ว่า พระราชอำนาจของพระนางซูสีไทเฮามีเทียบเท่ากับสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียในสมัยเดียวกัน อย่างไรก็ตาม นอกจากด้านการเมืองแล้ว พระนางทรงสร้างคุณประโยชน์ให้เป็นที่จดจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านศิลปะ เช่น งิ้ว และยังทรงก่อตั้ง สวนสัตววิทยาปักกิ่งในค.ศ. 1906 ซึ่งต่อมาสวนสัตววิทยาแห่งนี้เป็นสถาบันแรกที่ขยายพันธุ์หมีแพนด้าสำเร็จ
    [​IMG]
    สำหรับชาวไทย อาจจะคุ้นเคยกับพระนางซูสีไทเฮาจากภาพยนตร์เรื่อง ซูสีไทเฮา และ จักรพรรดิโลกไม่ลืม (The Last Emperor) เมื่อนานมาแล้ว ที่แสดงภาพลักษณ์ของพระนางว่าเป็นผู้หญิงผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดคนหนึ่งของประวัติศาสตร์จีน
    พระนางซูสีสวรรคตเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451(ค.ศ. 1908)

    [​IMG]



    [​IMG]
    [​IMG]
    ซูสีไทเฮาเมื่อปี ค.ศ.1903 (พ.ศ.2445) ห้าปีก่อนสวรรคต

    ขบวนแห่พระศพ พระนางซูสีไทเฮา
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    ฮ่องเต้เสียนเฟิง
    [​IMG]
    ฉืออันไทเฮา
    [​IMG]
    ฮ่องเต้ถงจื้อ
    [​IMG]
    ฮ่องเต้ กวางสู
    [​IMG]
    สมเด็จพระมเหสีเจียชุ้น


    [​IMG]

    ธงตรงราชวงศ์ชิง(เซ็ง)

    [​IMG]
    ภาพฮ่องเต้ฟูยีทรงพระเยาว์ เป็นฮ่องเต้คนสุดท้ายของราชวงศ์ชิง(เซ็ง) หรือหลานพระนางซูสีไทเฮา
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG][​IMG]


    ภาพมเหสีหรือฮองเฮาของฮ่องเต้ฟูยี ตอนหลังเลิกกันเพราะไปมีอะไรกับคนขับรถจนมีลูกด้วยกัน

    [​IMG]

    หลังจากจีนเป็นคอมมิวนิสต์ฮ่องเต้ฟูยีต้องฝึกช่วยเหลือตัวเอง แล้วใช้ชีวิตแบบสามัญชนธรรมดา
    [​IMG]

    ฮ่องเต้ฟูยีได้แต่งงานใหม่กับนางพยาบาล ใช้ชีวิตแบบสามัญชนและสิ้นชีวิตไปก่อนปี 2000 ไม่นาน แล้วน้องชายชื่อฟูเจี๊ยก็สิ้นชีวิตตามไปไม่นานนี้เอง

    สมเด็จพระพันปีหลวงหรงยู่



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    เยเฮ่อน่าลา สมเด็จพระจักรพรรดินีเสิ้ยวติ้งจิง (จีน:孝定景皇后叶赫那拉氏) พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในพระนาม สมเด็จพระพันปีหลวงหรงยู่ (จีน:隆裕皇后) (พระนามเดิม:จิงเฟิน 靜芬) (พ.ศ. 2406 - พ.ศ. 2456) พระนางหรงยู่ทรงเป็นพระมเหสีในจักรพรรดิกวางซวีแห่งจีน สมัยราชวงศ์ชิง พระนางทรงมาจากเผ่าแมนจู เยเฮ่อน่าลา และพระองค์ยังทรงเป็นพระญาติกับจักรพรรดิกวางซวี ผู้ซึ่งครองราชสมบัติตั้งแต่ พ.ศ. 2418 ถึง พ.ศ. 2451 พระนางทรงเป็นพระนัดดาในซูสีไทเฮา พระนางทรงไม่มีพระโอรสธิดา พระนางทรงเป็นบุคคลสำคัญจากการเป็นตัวแทนในการลงนามสละราชบัลลังก์ของจักรพรรดิผู่อี๋เมื่อยังทรงพระเยาว์ในปี พ.ศ. 2454 นับเป็นการสิ้นสุดระบอบกษัตริย์ในประเทศจีนที่ยืนยาวมากว่า 2,000 ปี

    พระราชประวัติ


    <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    พระนางเยเฮ่อน่าลาทรงถูกเลือกเป็นพระมเหสีโดย ซูสีไทเฮาผู้เป็นพระปิตุจฉาของพระนาง เนื่องจากพระนางต้องการสร้างฐานอำนาจในเครือพระราชวงศ์ของพระนางให้ยิ่งใหญ่ พระนางเยเฮอนาราทรงอภิเษกสมรสกับจักรพรรดิกวางซวีในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2432และได้กลายเป็นพระจักรพรรดินีโดยทันทีหลังพระราชพิธีอภิเษกสมรส

    พระนางซูสีไทเฮาทรงทำให้พระมเหสีและจักรพรรดิผิดพระทัยกันเพื่อไม่ให้ทั้งสองพระองค์ร่วมมือกันต่อต้านพระนางดังเช่นในรัชสมัยจักรพรรดิถงจื้อที่ร่วมมือกับสมเด็จพระจักรพรรดินีเสี้ยวเจ๋อทำการต่อต้านพระนาง พระนางเยเฮ่อน่าราทรงเกลียดชังและไม่สนพระทัยในจักรพรรรดิกวางซวี พระจักรพรรดิทรงโปรดสมเด็จพระมเหสีเจินแห่งเผ่าตาลาลา(ภาษาจีน:他他拉氏珍妃) พระนางเยเฮ่อน่าลาทรงให้ร้ายพระมเหสีเจินโดยทรงเล่าเกินจริงเกี่ยวกับการเป็นกบฏของมเหสีเจินให้พระนางซูสีไทเฮาสดับฟัง พระมเหสีเจินสนับสนุนให้สมเด็จพระจักรพรรดิเรียกร้องการปกครองให้พระจักรพรรดิมีอำนาจสิทธิ์ขาดมากกว่านี้ พระมเหสีเจินทรงสนับสนุนการเมืองการปกครองระบอบใหม่ ในที่สุดพระนางซูสีไทเฮาทรงเป็นปริปักษ์กับมเหสีเจินและทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ลงโทษเฆี่ยนตีและนำพระมเหสีไปจำขังไว้ที่พระตำหนักเย็น หลังจากนั้นพระมเหสีเจินได้สนับสนุนจักรพรรดิอย่างลับๆให้ได้รับอำนาจการปกครองจากพระนางซูสีไทเฮา พระนางซูสีไทเฮาจึงมีพระราชเสาวนีย์ให้บรรดาขันทีเข้าจับพระมเหสีไปทิ้งลงบ่อน้ำนอกตำหนักหนิงเซี่ยจนสิ้นพระชนม์ ในขณะพระราชวงศ์กำลังจะเสด็จหนีไปซีอานเมื่อกองกำลังต่างชาติเข้ายึดปักกิ่ง


    หลังจากการแผนการยึดอำนาจซูสีไทเฮาของจักรพรรดิกวางซวีประสบความล้มเหลว พระจักรพรรดิทรงถูกสั่งจองจำไว้ที่พระตำหนักกลางทะเลสาบ พระจักรพรรดินีเยเฮ่อน่าลาทรงทำหน้าที่สืบความเป็นอยู่และทุกอิริยาบถของจักรพรรดิและรายงานแก่พระนางซูสีไทเฮา เมื่อพระจักรพรรดิกวางซวีและพระนางซูสีไทเฮาเสด็จสวรรคต พระนางทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระพันปีหรงยู่ อันมีความหมายว่า "ความเป็นมงคลและเจริญรุ่งเรือง"



    สิ้นสุดพระราชวงศ์


    <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    พระนางเยเฮอนารา ขณะดำรงเป็นสมเด็จพระพันปีหลวงหรงยู่ทรงฉายพระรูปพร้อมเหล่าขันที
    ในขณะทรงดำรงเป็นพระพันปีหลวง พระนางเยเฮ่อน่าลาทรงรับจักรพรรดิซวนถง(จักรพรรดิผู่อี๋)มาเป็นพระโอรสเลี้ยงหลังจากจักรพรรดิกวางซวีเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2451 พระนางซูสีไทเฮาทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการจนพระนางสวรรคตและเมื่อหรงยู่ทรงได้รับการยอมรับในพระยศพระพันปี ในทางทฤษฎีพระนางทรงมีความมุ่งมั่นที่สำคัญในการตัดสินใจ แต่ในภาคปฏิบัติพระนางทรงไม่มีความรู้ด้านการเมืองการปกครองไม่เหมือนซูสีไทเฮา ในช่วงแรกราชสำนักตกอยู่ภายใต้อำนาจของไจ้เฟิง เจ้าชายชุนที่ 2และจากนั้นตกอยู่ภายใต้อำนาจของหยวน ซื่อไข่ โดยพระนางอยู่ภายใต้การควบคุมของบุคคลทั้งสอง
    ภายใต้คำแนะนำของหยวน ซื่อไข่ในปี พ.ศ. 2454 พระพันปีหรงยู่จำต้องทรงลงพระนามาภิไธยประกาศการสละราชสมบัติของจักรพรรดิซวนถงพระชนมายุ 6 พรรษา ในขณะการจัดเตรียมฐานะของราชวงศ์ยังคงอยู่ต่อไปในพระราชวังต้องห้ามและยังคงรักษาทรัพย์สิน พระยศและบ่าวไพร่รับใช้ ในปี พ.ศ. 2455 ราชวงศ์ชิงได้ถูกล้มล้าง มีการก่อตั้งสาธารณรัฐจีน
    เพียงไม่กี่วันของการสิ้นสุดราชวงศ์ชิง พระพันปีหรงยู่ทรงพระประชวรและสิ้นพระชนม์ที่ปักกิ่ง พระชนมายุ 44 พรรษา และพระนางทรงเป็นพระจักรพรรดินีแห่งจีนพระองค์เดียวที่หีบพระศพได้ถูกย้ายจากพระราชวังต้องห้ามไปยังสุสานโดยทางรถไฟ ในพระราชพิธีฝังพระศพ หลี่ หยวนหงรองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน ได้กล่าวสรรเสริญพระนางว่า "ทรงเป็นสตรีผู้ดีเลิศยิ่งท่างกลางสตรีทั้งปวง
    ที่มา : http://lia-andea-ramos.exteen.com/
    ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
     

แชร์หน้านี้

Loading...