รำลึก วันคล้ายอนุปาทิเสสนิพพาน พระนางพิมพาฯ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 22 มีนาคม 2016.

  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    วันที่ ๒๒ มีนาคมตรงกับวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันคล้ายวันนิพพานของพระนางพิมพาภิกษุณีเถรี หรือ อีกพระนามนึงคือ พระภัททากัจจานาเถรี พระเอตทัคคะผู้เป็นเลิศในอภิญญาใหญ่กว่าภิกษุณีทั้งปวง พระนางพิมพาเถรี เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ พระอารามภิกษุณี กรุงสาวัตถี ในพรรษาที่ ๔๓ แห่งพระสมเด็จผู้มีพระภาคเจ้า
    ลูกหลานขอน้อมบูชาคุณพระภิกษุณีพิมพาเถรี ธรรมอันใดที่พระนางบรรลุมรรคผลดีชอบแล้ว ขอลูกหลานได้รู้ธรรมเห็นธรรมนั้นด้วยเทอญ






    เครดิต https://www.facebook.com/thindham?fref=photo

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 มีนาคม 2016
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    [​IMG]






    วันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันคล้ายวันนิพพานของพระนางพิมพาภิกษุณีเถรี หรือ อีกพระนามนึงคือ พระภัททากัจจานาเถรี พระเอตทัคคะผู้เป็นเลิศในอภิญญาใหญ่กว่าภิกษุณีทั้งปวง พระนางพิมพาเถรี เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ พระอารามภิกษุณี กรุงสาวัตถี ในพรรษาที่ ๔๓ แห่งพระสมเด็จผู้มีพระภาค

    พระประวัติย่อ
    พระนางพิมพาเถรีภิกษุณี พระองค์ประสูติวันเดียวกันกับเจ้าชายสิทธัตถะ (พระโคตมพุทธเจ้า) ซึ่งนับพระนางเป็น ๑ ในสหชาติทั้ง ๗ ของพระพุทธเจ้าซึ่งประกอบด้วย

    ๑.พระภัททากัจจานาเถรี หรือ พระนางยโสธรา
    ๒.พระอานนท์ หรือ เจ้าชายอานนท์
    ๓.พระฉันนเถระ หรือ นายฉันนะ
    ๔.พระกาฬุทายีเถระ หรือ กาฬุทายีอำมาตย์
    ๕.ม้ากัณฑกะ
    ๖.ต้นมหาโพธิ์
    ๗.ขุมทรัพย์ทั้งสี่

    พระนางยโสธราทรงเป็นป็นพระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ และพระมารดามีพระนามว่าพระนางอมิตาเทวี ประสูติในตระกูลศากยะแห่งโกลิยวงศ์ กรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ เมื่อแรกประสูติพระญาติทั้งหลายได้ทรงถวายพระนามว่า "ภัททากัจจานา" เพราะพระสรีระของพระองค์ มีพระฉวีวรรณสีเหมือนทองคำอันบริสุทธิ์ พอมีพระชนม์ ๑๖ พรรษา ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อมีพระชนม์ ๒๙ พรรษาได้ ประสูติพระราชโอรส โดยพระเจ้าสุทโธทนะให้พระนามว่าพระราหุล

    ครั้นเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช พระนางยโสธราทรงเกิดความเศร้าโศกพระทัยยิ่งนัก ได้ทรงละเว้นการตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับนานาประการ ทรงมีจิตผูกพัน และมีความรักอันลึกซึ้งต่อพระองค์ แม้วัฒนธรรมอินเดียในยุคนั้นจะถือว่าหญิงไม่มีสามีจะถือว่าไม่มีเกียรติ และหญิงนั้นสามารถมีสามีใหม่ได้ แต่พระนางก็ไม่สนพระทัยในชายอื่น พระนางยังคงทรงเฝ้ารอพระสวามีของพระนางเพียงพระองค์เดียว จนกล่าวได้ว่า...

    "..คราใดที่พระนางได้ยินข่าวว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงนุ่งห่มผ้าย้อมฝาด พระนางก็เปลี่ยนชุดทรงมานุ่งห่มผ้าย้อมฝาดด้วย
    คราใดที่พระนางได้ยินข่าวว่าเจ้าชายสิทธัตถะบรรทมบนพื้นไม้ พระนางก็บรรทมบนพื้นไม้ด้วย
    คราใดที่พระนางได้ยินข่าวว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงอดพระกระยาหาร พระนางก็ทรงอดพระกระยาหารด้วย
    ไม่ว่าจะได้ข่าวว่าพระสวามีทรงปฏิบัติตนอย่างไร พระนางพิมพาก็ทรงปฏิบัติตนเยี่ยงนั้น.."

    และเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์เพื่อโปรดพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ ในวันแรกพระนางมิได้ทรงออกไปถวายการต้อนรับ แต่ในวันที่สองขณะที่พระพุทธองค์เสด็จออกทรงรับบาตร พระนางยโสธราทรงชี้ให้พระราหุลได้ทอดพระเนตรพระบิดาของพระองค์แต่มิได้ออกไปทรงบาตร ทรงเก็บตัวอยู่ในพระตำหนัก และในวันที่สองเมื่อพระพุทธเจ้าทรงรับภัตตาหารในพระราชวังเสร็จ พระองค์จึงเสด็จไปโปรดพระนางในพระตำหนัก เมื่อพระนางได้ทรงพบถึงกับเข้ามากอดพระบาทร่ำไห้รำพันอย่างน่าสงสาร แต่พระพุทธองค์ก็ทรงเทศนาให้พระนางดำรงพระสติไว้ได้ และเมื่อพระพุทธเจ้าทรงเทศนาพระประยูรญาติแล้ว พระนางก็รับสั่งให้ราหุลราชโอรสตามเสด็จพระพุทธเจ้าเพื่อทูลขอราชสมบัติ พระพุทธเจ้าจึงทรงบรรพชาราหุลเป็นสามเณรและให้เสด็จติดตามพระองค์ไปด้วย

    หลังจากที่พระนางอยู่ในพระตำหนักได้ ๓ ปี พระเจ้าสุทโธทนะก็เสด็จสวรรคต และได้ทำพิธีให้เจ้าชายมหานามะขึ้นครองราชย์สมบัติสืบแทน พระนางยโสธราพิมพาจึงออกผนวชกับมาตุคาม ๑,๑๐๐ คน ประมาณพรรษาที่ ๕ แห่งพระผู้มีพระภาค ขอบรรพชาในสำนักของพระศาสดา พระนางยโสธราพิมพาไปยังสำนักของพระเถรี ได้รับคุรุธรรม ๘ ประการ บวชแล้ว เมื่อมีพระชนมายุ ๔๐ พรรษา มีพระนามว่า "พระภัททากัจจานาเถรี"

    พระภัททากัจจานาเถรี (พระนางพิมพาเถรี) ต่อมารับกรรมฐานจากพระพุทธเจ้าและเจริญวิปัสสนายังไม่ทันถึง ๑๕ วัน ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านเป็นผู้ช่ำชองชำนาญในอภิญญาทั้งหลายระลึกชาติได้ถึงอสงไขยหนึ่งยิ่งด้วยแสนกัปโดยการระลึกถึงเพียงครั้งเดียว เมื่อทรงสถาปนาภิกษุณีทั้งหลายไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะต่างๆตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระเถรีนี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาผู้บรรลุอภิญญาใหญ่

    สมเด็จพระนางพิมพาภิกษุณีเถรี ขณะมีพระชนมายุได้ ๗๘ พรรษา พระองค์ทรงได้ตรวจพิจารณาดูสังขารขันธ์วาระนิพพานของตนเองได้มาถึงกาลแล้ว จึงได้เสด็จไปกราบทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมทั้งกราบขอขมาโดยการระลึกชาติเป็นลำดับ ๆ ที่เคยได้ร่วมบำเพ็ญบารมีร่วมกับพระโพธิสัตว์เจ้าในภพชาติต่าง ๆ ที่เคยทำให้พระพุทธองค์ในอดีตชาตินั้น ๆ ต้องหนักใจ และบางชาติถึงกับต้องเสียสละชีวิตลงในชาตินั้น ๆ (ท่านใดสนใจฟังเรื่องราวในอดีตชาติของทั้งสองพระองค์ที่เคยบำเพ็ญเป็นคู่บารมีกันมาตั้งแต่ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า




    ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์เสียง Mp3 สมเด็จพระนางพิมพาภิกษุณีเถรี เสียงอ่านโดยท่านพระอาจารย์วิทยา กิจฺจวิชฺโช วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ มี ๓ ตอนจบ ได้ที่ลิงค์ http://www.doisaengdham.org/ชุดพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน/4-สมเด็จพระนางพิมพาภิกษุณี-1-2-3.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 มีนาคม 2016
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    <iframe width="420" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/dg8KHYtOcH8?&autoplay=1&rel=0" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     

แชร์หน้านี้

Loading...