รูปราคะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย งูๆปลาๆ, 13 มกราคม 2018.

  1. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    รูปราคะ คือ สังโยชน์เครื่องร้อยรัดอย่างหนึ่ง ซึ่งอยู่ในระดับละเีอียด อันส่งผลให้บุคคลพัวพันอยู่ในรูปฌาน อันเป็นความสุขสงบอันละเอียด อนึ่ง พึงเข้าใจว่า "กามฉันทะ" แตกต่างจากรูปราคะด้วย กล่าวคือ การพัวพันอยู่ด้วย "รูป, รส, กลิ่น, เสียง, สัมผัส" อันน่าพึงปรารถนาทั้งหลายนั้น จนทำให้ไม่อาจหลุดพ้นออกมาสู่ธรรมได้ เราเรียกว่า "กามฉันทะ" ไม่ใช่รูปราคะ ดังนั้น คนที่หลงรูป, มีราคะเมื่อเห็นรูปแห่งคนที่งดงามถูกพัวพันอย่างนี้จนไม่อาจบรรลุธรรมได้นั้น ไม่ใช่รูปราคะ แต่เป็นไปด้วยกามฉันทะ ดังนั้น คำว่า "รูปราคะ" จึงใช้เฉพาะให้ชัดเจนคือ ในท่านที่เจริญ "รูปฌาน" ดี แล้วไม่ยอมปล่อยวางในรูปฌานที่เจริญได้นั้น ทำให้เสียดายฌานนั้นๆ ก็ดี, กลัวเสียฌานที่บำเพ็ญมา ก็ดี, ติดในความสงบสุขด้วยรูปฌานนั้น ก็ดี ฯลฯ อันพัวพันขัดขวางไม่ให้บุคคลบรรลุธรรมในระดับที่สูงขึ้นได้ คือ อรหันตผล นั่นแหละ ที่เรียกว่า "รูปราคะ" หรือแม้แต่บางท่านเจริญรูปฌาน, ได้นิมิต, ได้กสิณ, ได้ตาทิพย์ อย่างใดก็ดี แล้วเห็นรูปในระดับทิพย์ หมายเอาว่าถึงธรรมแล้ว ถึงนิพพานแล้ว ถูกรูปเหล่าันั้นพัวพันอยู่ จนไม่อาจบรรลุอรหันตผลได้ นี่ก็คือ "รูปราคะ" เช่น เห็นนิพพานเ็ป็นเมืองแก้ว แล้วคิดว่าบรรลุธรรมแล้ว, เห็นธรรมกายเป็นกายแก้ว แล้วก็คิดว่าบรรลุอรหันตผลแล้ว, เห็นพระพุทธเจ้ามี "รูป" มาโปรด ก็คิดว่าได้ธรรมแท้ บรรลุแน่แท้แล้ว (เห็นรูปตถาคตแต่ไม่เข้าถึงตถาคต) ถูกรูปเหล่านี้พัวพันอยู่ ร้อยรัดอยู่ ขัดขวางการเข้าสู่ธรรม เป็นอุปสรรคขวางกั้น ทำให้ไม่บรลุธรรมในระดับที่สูงขึ้นได้ นี่ย่อมจัดเป็น "สังโยชน์" อย่างหนึ่งที่เรียกว่า "รูปราคะ" นั่นเอง


    อนึ่ง สังโยชน์หรือเครื่องร้อยรัดจิตใจไม่ให้บรรลุธรรมนั้น หากจะแบ่งออกเป็นหยาบ, ปานกลาง และละเอียดจะได้เป็น

    ๑. สังโยชน์ระดับหยาบ ได้แก่ สักกายทิฐิ, วิจิกิจฉา, ศีลัพพตปรามาส
    ๒. สังโยชน์ระดับปานกลาง ได้แก่ ปฏิฆะ, กามฉันทะ
    ๓. สังโยชน์ระดับละเอียด ได้แก่ มานะ, อุทธัจจะ, รูปราคะ, อรูปราคะ, อวิชชา

    ซึ่งสังโยชน์ระดับละเอียดนี้ เป็นระดับที่เฉพาะพระอรหันต์เท่านั้นจะหลุดพ้นได้
     
  2. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    รูปราคะก็ติดใจในสมาธิระดับรูปฌานเท่านั้นเอง. อนาคามีโน้นถึงทำได้
     
  3. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    ป่าวเลย ราคะ มีจุดกำเนิดจากรูป เกิดความกำหนัดใคร่ถวิลหาทุกยามเมื่อมีช่องว่าง จากทั้งภายนอกและภายใน ภายนอกจากอายตนะทางกาย ภายในจากอายตนะทางใจ เช่นเดียวกันกับการชอบในรูปขันธ์เกิดกำหนัดเกิดราคะ เช่นเดียวกันเกิดการติดอยู่ยึดมั่นถือมั่น รูปเป็นแบบหยาบ นามเป็นแบบละเอียด ให้ผลต่างกัน แต่จัดเป็นราคะความกำหนัดเช่นกันถ้าถวิลหาเพราะมีช่องว่าง
     
  4. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    ช่องว่างคืออะไร โปรดจงเติมให้เต็มนะขอรับ
     
  5. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ท่าน kenny2 สุตตะให้ดีให้ถ้วนทั่วก่อนเถิด
     
  6. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    แค่ไม่แยกวรรณะ ถ้าว่าด้วยราคะ แค่ไม่แยกชนชั้น ถ้าว่าด้วยกาม แต่พระวจนพระสูตรก็ถูกต้องดีคับ ผมเองที่ไม่รู้จักแยกแยะวรรณณะหรือชนชั้น คับคุณงูๆปลาๆ
     
  7. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    เช่นนั้นแหละท่าน อย่างนั้นแล้ว กามฉันทะควรละก่อน รูปราคะนั้นจึงถูกยึดเป็นที่อยู่ก่อนจะละในที่สุด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2018
  8. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    อ่านแล้วได้ประโยขน์ดี
    ปล เขียนเองหรือยกข้อความมาครับ
    ถ้ายกมาควรมีอ้างอิง
    ถ้าเขียนเองก็ถือว่าเขียนได้ครับ
     
  9. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ครับท่าเช่นนั้น ผมก้ขอยก ปฏิจจสมุปบาท ตามที่ท่านชี้แจงมานะครับ
    • เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
    • เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
    • เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
    • เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
    • เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี
    ท่านกล่าวว่ารูปเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลศจากการกระทบทางอายตนะ เพราะมีกามฉันทะ และปฏิคะ ชนผู้ขาดสติปัญญา จึงยึดเอาสิ่งที่กระทบเป็นเครื่องยึดมั่นถือมั่น ด้วยเพราะจิตขาด สิ่งที่ท่านเรียกว่าช่องว่าง คือขาดสติกำกับ ขาดปัญญาในไตรลักษณ์ ที่จะรู้เท่าทันว่า สิ่งใดๆนั้น เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปอย่างนั้นเป็นธรรมดายึดมั่นถือมั่นไม่ได้ เมื่อสติไม่บริบูรณ์ ย่อมเกิดช่องว่างให้ ราคะเกาะเกี่ยวจิต



    ช่องว่างที่ท่านหมายถึงนี้คือกำลังของสติ เข้าไปตรึกละลึกรู้ในกายในจิต ธัมวิจย พิจารณาไตร่ตรองด้วยโยนิโสมนสิการ วิริยะ ด้วยความเพียรเฟ้นด้วยธัมวิจย อันมีไตรลักษณะ 3 คือ อนิจจัง ทุขขัง อนัตตา เพื่อให้เกิดผลเป็น ปิติ ปัสสัทธิ และอุเบกขาต่อธรรมมารมนั้น ใช่หรือไม่ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...