รู้ตัว-โป๊แคมฟร็อก 10สาวซ่าตะลึง-สาวออฟฟิศ

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย Catt Bewer, 21 ธันวาคม 2006.

  1. Catt Bewer

    Catt Bewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,768
    ค่าพลัง:
    +16,673
    นักธุรกิจหญิงก็มีตร.จ่อจับประเดิม วธ.ขยับ-จี้ปิดเว็บแฉ5ล้านเด็กไทย!บ้าคลิกดูรูปลามก



    ประเดิม 10 รายแรกสาวไทยใจกล้าโชว์เรือนร่างผ่านโปรแกรม"แคมฟร็อก"ดีเอสไอได้รายละเอียดหมดแล้ว เตรียมดำเนินคดี อยู่ระหว่างประสานว่าจะทำเองหรือส่งให้ตร.ดำเนินการ เผยชุดแรกเป็นสาวออฟฟิศ ทั้งฐานะและการศึกษาดี แต่ชอบโชว์เรือนร่าง "คุณหญิงไขศรี"รมว.วธ. เผยอยู่ระหว่างประสานกับไอซีทีจัดการเว็บดังกล่าว เปิดตัวเลขเยาวชนไทย 5 ล้านคนบ้าท่องเน็ตวันละหลายชั่วโมง ส่วนใหญ่เข้าเว็บบันเทิงหรือลามก มีแค่ร้อยละ 2 ที่เข้าไปหาความรู้ ด้านสสส.จี้เพิ่มโทษเว็บที่เปิดข้อมูลสมาชิกจำคุก 5 ปี เพราะเป็นอันตรายต่อเด็กที่เข้าไปเล่นถูกล่อลวงได้ง่าย

    ความคืบหน้าการปราบเว็บโชว์เรือนร่างผ่านโปรแกรม"แคมฟร็อก"ที่กำลังนิยมในหมู่นักท่องเว็บชาวไทย เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผบก.สํานักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงการดําเนินคดีกับกลุ่มหญิงสาวที่อาศัยโปรมแกรมแคมฟร็อกโชว์เรือนร่าง ว่า ขณะนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษได้รวมรวมพยานหลักฐานภาพถ่ายไว้หมดแล้วว่ามีใครบ้าง จากการสืบสวนและตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่ามีหญิงสาวประมาณ 10 คน ส่วนใหญ่เป็นสาวนักธุรกิจและสาวออฟฟิศ เป็นพวกมีงานทําแล้ว หน้าตาดี มีการศึกษา แต่เป็นพวกที่ชอบโชว์เรือนร่างให้คนอื่นดู ส่วนกลุ่มนิสิตนักศึกษาขณะนี้ยังไม่พบ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้จะนําเข้าที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (คกพ.) ต้นเดือนม.ค.นี้ โดยดีเอสไอจะเป็นเจ้าทุกข์ในการดําเนินคดีกับบุคคลดังกล่าวเอง เพราะถือว่าบุคคลดังกล่าวสร้างความเสียหายแก่รัฐ

    พ.ต.อ.ญาณพลกล่าวต่อว่า สําหรับเว็บแคมฟร็อก เปรียมเสมือนกับสวนสาธารณะที่ใครก็สามารถเข้าไปเดินเล่นหรือจู่จี๋กันได้และกลุ่มบุคคลที่โชว์เรือนร่างบนแว็บนี้ไม่ใช่เป็นแก๊งหรือเป็นก๊วน เพราะกลุ่มพวกนี้จะไม่มีรายได้อะไรจากการโชว์ เพียงแค่อยากโชว์เท่านั้น ทั้งนี้ สําหรับการปิดเว็บไซต์ดังกล่าวเป็นหน้าที่ของกระทรวงไอซีที ส่วนข้อมูลอื่นๆ นั้นขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้จะเสียรูปคดี

    คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รมว.วัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดของโปรแกรมแคมฟร็อกมากนัก ต้องศึกษาข้อมูลจากศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงวัฒนธรรม ที่เป็นผู้เฝ้าระวังค่านิยมที่ไม่เหมาะสมเสียก่อน ขณะเดียวกันได้รับรายงานว่านายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดวธ. สั่งการให้ทำหนังสือประสานงานไปยังกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา ยังไม่ได้หารือถึงแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวกับนายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.ไอซีที แต่อย่างใดเพราะต้องรอให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องก่อน สำหรับการแก้ปัญหานั้น หน่วยงานภาครัฐจะต้องบูรณาการทำงานร่วมกันอยู่แล้ว

    "จากข้อมูลที่สื่อมวลชนระบุว่าคนไทยใช้มากเป็นอันดับที่ 3 ของโลกถือเป็นเรื่องที่อันตรายต้องรีบแก้ปัญหาอย่างจริงจัง เชื่อว่าเมื่อกระทรวงไอซีทีทราบข่าวภัยอันตรายจากโปรแกรมแคมฟร็อกแล้ว คงกำลังศึกษาหาวิธีในการปิดหรือบล็อกโปรแกรมอนาจารนี้อยู่ ซึ่งเร็วๆ นี้ จะเร่งรวบรวมข้อมูลที่ได้รับแจ้งมาแล้วติดต่อประสานไปยังรัฐมนตรีไอซีที เพื่อร่วมมือกันแก้ปัญหาให้เร็วที่สุด" รมว.วัฒนธรรมกล่าว

    ด้านนายสมชาย เจริญอำนวยสุข รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ (สท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า ปัญหาเด็กและเยาวชนไทยแห่กันไปเล่นโปรแกรมแคมฟร็อกที่มีการโชว์ลามกอนาจารนั้น ต้องแยกให้ออกก่อน ว่าในความเป็นจริงแล้วตัวโปรแกรมแคมฟร็อกไม่ใช่โปรแกรมอันตรายอะไร แต่คนไทยนำไปใช้ในทางที่ผิดเอง ส่วนการแก้ปัญหานั้นขอให้หน่วยงานที่ใช้มาตรการทางกฎหมายดำเนินการเอาผิดกับคนแสดงโชว์ลามก ร้านอินเตอร์เน็ต แต่ในส่วนของสท. มองว่าการแก้ปัญหาเรื่องนี้ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจและเวทีให้เด็กทำกิจกรรมเพื่อดึงเด็กออกจากสิ่งไม่ดี โดยความร่วมมือจากกระทรวงด้านสังคม อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันรามจิตติ เป็นต้น

    "ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการรับวัฒนธรรมตะวันตกและนำมาเลียนแบบอย่างไม่คำนึงถึงเหตุผลต่างๆ ดังนั้น สิ่งที่สท.กำลังทำซอฟต์แวร์สมองเด็กสกัดกั้นสิ่งไม่ดี ให้เด็กสามารถบอกได้ว่า สิ่งไหนดี ไม่ดี ไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง หากิจกรรม เวทีให้เด็กแสดงออก ที่สำคัญ สท.ผลักดันร่างพ.ร.บ.ปราบปรามวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย ซึ่งกำลังเสนอสู่คณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศใช้ ควบคุมการกระทำที่ส่อไปในทางลามกอนาจารสร้างอันตรายยั่วยุในอินเตอร์เน็ต มีโทษหนักทั้งจำและปรับ ข้อหาหนักเหมือนการฟอกเงินเลยทีเดียว" รองผอ.สท.กล่าว

    นายสมชายกล่าวว่า ขณะนี้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญมากและมีอิทธิพลทั้งทางบวกและลบต่อเด็กและเยาวชน ซึ่งจากข้อมูลรายงานสภาวการณ์เด็กและเยาวชนในปี 2547-2549 พบว่า สถานศึกษาที่มีอินเตอร์เน็ต ระดับประถมศึกษาร้อยละ 67.31 ประถมศึกษาขยายโอกาสร้อยละ 80.59 มัธยมศึกษาร้อยละ 94.48 เวลาเฉลี่ยที่เด็กประถมศึกษาเล่นอินเตอร์เน็ต 75.66 นาทีต่อวัน มัธยมศึกษา-อุมศึกษาใช้ 94.01 นาทีต่อวัน โดยเฉลี่ยในจังหวัดต่างๆ จะมีจำนวนร้านอินเตอร์เน็ตเฉลี่ย 41.09 แห่งต่อจังหวัด ที่สำคัญพบว่าเด็กและเยาวชนใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อความบันเทิงมากกว่าการศึกษา ข้อมูลจาก NECTEC สำรวจข้อมูลผู้ใช้อินเตอร์เน็ตออนไลน์เมื่อปี 2548 พบว่า ประชากรอายุต่ำกว่า 20 ปีใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 21.2 ในปี 2548 โดยใช้เวลาเฉลี่ยสัปดาห์ละ 9.2 ช.ม. และพบว่าเว็บไซต์ที่เด็กและเยาวชนเข้าไปดูมากที่สุดกว่าร้อยละ 30 เป็นเว็บไซต์บันเทิง ในขณะที่เข้าไปดูเว็บไซต์ด้านการศึกษาร้อยละ 2

    นอกจากนี้ เอแบคโพลล์ได้สำรวจเรื่อง การใช้เวลาว่างช่วงปิดเรียนภาคฤดูร้อนของนักเรียน นักศึกษา อายุ 15.24 ปี ในเขตกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา พบว่ากิจกรรมไม่สร้างสรรค์ที่ทำในช่วงปิดเทอม 3 อันดับแรก ได้แก่ ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อดูภาพโป๊เปลือยร้อยละ 53.8 ดูวิดีโอ/วีซีดี/ซีดีเอ็กซ์ ร้อยละ 41.5 และมีเพศสัมพันธ์กับแฟนหรือคู่รัก ร้อยละ 29.1 ส่วนสสส.สำรวจเรื่อง การใช้อินเตอร์เน็ตของเด็กไทย อายุ 15-24 ปี ในเขตกทม. จำนวน 1,464 คน พบว่าเด็กอายุไม่ถึง 12 ปี เริ่มใช้อินเตอร์เน็ตถึงร้อยละ 20.8 เด็กอายุ 13.15 ปี เริ่มใช้มากที่สุดร้อยละ 45.3 โดยเด็กอายุน้อยที่สุดที่เริ่มใช้คือ 5 ขวบ เวลาที่เด็กนิยมใช้อินเตอร์เน็ตคือ 20.01-24.00 น. ซึ่งเป็นเวลาพักผ่อนของเด็กในวัยเรียน เมื่อถามผู้ปกครองว่าทราบหรือไม่ ว่าดูอะไรในอินเตอร์เน็ตบ้างร้อยละ 44.8 ระบุว่าไม่ทราบ และมีเพียงร้อยละ 12.6 เท่านั้นที่ดูแลการใช้ในส่วนของครู อาจารย์นั้นกว่าร้อยละ 33.1 ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าลูกศิษย์ใช้อินเตอร์ ทั้งนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเปิดเว็บไซต์รับแจ้งเบาะแสเว็บไม่เหมาะสม http://cyber.police.go.th/webreport มาตั้งแต่ปี 2543 จะพบว่าปีที่ผ่านมาได้รับแจ้งถึง 10,646 เว็บไซต์ ในจำนวนนี้เกือบร้อยละ 80 เป็นเว็บไซต์ลามก ขายบริการทางเพศ หรือวัตถุทางเพศ

    แหล่งข่าวจากเครือข่ายเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมระบุว่าหลังมีการเผยแพร่เรื่องมีกลุ่มคนแห่เข้าไปใช้โปรแกรมแคมฟร็อกในทางลามกอนาจาร ขณะที่ภาครัฐยังไม่ดำเนินการปิดหรือบล็อกโปแกรมดังกล่าวได้เลย ส่งผลให้กลุ่มเด็กและวัยรุ่นเข้าไปสมัครเป็นสมาชิก และโชว์อนาจารเป็นจำนวนมากขึ้นอย่างไม่เกรงกลัว รวมทั้งมีห้องสนทนาประเภทโชว์ลามกเกิดขึ้นในโปรแกรมแคมฟร็อกอีกจำนวนมาก ผู้เล่าเข้าไปวิพากษ์วิจารณ์ท้าท้ายภาครัฐว่าไม่ได้ผล ซึ่งมีสมาชิกแคมฟร็อกบางคนกล่าวในห้องสนทนาว่า ไอซีทีไม่มีทางปิดโปรแกรมแคมฟร็อกได้ บางคนบอกว่าเรามีสังคมพวกเราอย่างนี้ พอใจที่จะอยู่อย่างนี้ ไอซีทีไม่มีทางจัดการพวกเราได้

    ที่รัฐสภา เครือข่ายอินเตอร์เน็ตปลอดภัยสร้างสรรค์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายครอบครัว มูลนิธิอินเตอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย สถาบันไทยรูรัลเน็ต สมาคมผู้ดูแลเว็บแห่งประเทศไทย ยื่นหนังสือถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)โดยมีน.ส.กัญจนา ศิลปอาชา ตัวแทนคณะกรรมาธิการกิจการสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุและคนพิการ และในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อขอให้แก้ไขร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์"

    นายสุนิตย์ เชษฐา ผู้จัดการแผนงานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า การแก้ปัญหาอินเตอร์เน็ตอย่างเป็นระบบ ต้องอาศัยความเด็ดขาดของกฎหมาย โดยควรแก้ไข"ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์" ที่แม้จะไม่เคยบังคับใช้ แต่ก็ร่างขึ้นตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งก้าวไม่ทันเทคโนโลยี ไม่ครอบคลุมประเด็นสำคัญบางประการ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนในระบบอินเตอร์เน็ต เพราะการที่เว็บไซต์หรือผู้ให้บริการเนื้อหาบนอินเตอร์เน็ต เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของเยาวชน ไม่ว่าจะเป็นอายุ วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ อีเมล์ เบอร์โทรศัพท์ ทำให้มิจฉาชีพสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าว ในการเข้าถึงตัวเด็กเพื่อประกอบอาชญากรรม

    นายสุนิตย์กล่าวว่า ควรเพิ่มข้อกฎหมายใน "พ.ร.บ.ด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ดังนี้ 1.เพิ่มบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเด็กและเยาวชนในระบบอินเตอร์เน็ต เช่น ห้ามผู้ให้บริการเนื้อหาบนอินเตอร์เน็ต เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีบนอินเตอร์เน็ต 2.เพิ่มบทลงโทษผู้ฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปีถึง 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 4 หมื่นถึง 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3.การให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการปิดกั้น (block) เว็บไซต์และบริการที่ผู้ให้บริการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการที่อายุต่ำกว่า 18 ปี

    ด้านน.ส.กัญจนากล่าวภายหลังรับหนังสือว่า เป็นโอกาสที่ดีที่ในช่วงนี้คณะกรรมาธิการกำลังพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ตนจะนำเข้าสู่ที่ประชุมเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนารวดเร็วมากจนตามไม่ทัน ทุกคนต้องเข้ามาดูและอุดช่องโหว่ เพื่อไม่ให้เยาวชนเข้าไปในเว็บไวต์ที่ไม่เหมาะสม

    นางศรีดา ตันทะอธิพานิช ผจก.มูลนิธิอินเตอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย กล่าวว่า ในประเทศไทยมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตประมาณ 8 ล้านคน เป็นเด็กและเยาวชนราว 5 ล้านคน ซึ่งอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงขยายตัวอย่างรวดเร็ว อุปกรณ์ราคาต่ำลง ภาพและเสียงของผู้ใช้จึงเผยแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ตมากขึ้น การเข้าเว็บไซต์ลามก ยั่วยุเรื่องเพศมากตามไปด้วย อย่างโปรแกรม CamFrog (แคมฟร็อก) ที่กลายเป็นแหล่งโชว์การมีเพศสัมพันธ์ในหมู่วัยรุ่น ในไทยเองมีเว็บไซต์เชิญชวนให้มีแฟน มีกิ๊ก การโชว์ การพูดคุยเรื่องเพศ ก็เพิ่มมากขึ้น โดยสิ่งที่น่าเป็นห่วงนอกจากเรื่องเพศ ที่กำลังฮิตมากในหมู่วัยรุ่นต่างประเทศคือ การเปิดเว็บไซต์ใส่ร้าย ทำลายคนที่ไม่ชอบ

    http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03p0101211249&day=2006/12/21
     

แชร์หน้านี้

Loading...