ร่วมย้อนลึกถึงความหมายและที่มาที่น่ารู้..ในประเพณีการทอดกฐิน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย คือ~ว่างเปล่า!, 24 ตุลาคม 2008.

  1. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" border=0><TBODY><TR><TD class=blue22blod vAlign=top>ร่วมย้อนลึกถึงความหมาย และที่มาที่น่ารู้...ใน ประเพณีการทอดกฐิน</TD></TR><TR><TD class=default12 vAlign=top>
    [​IMG]
    การทอดกฐิน ถือเป็นงานบุญที่ได้มีการสืบทอด และปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอนุญาต และบัญญัติไว้เป็นวินัยสงฆ์ว่า ให้ปฏิบัติโดยมีกำหนดเวลาตามจันทรคติ ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 รวมระยะเวลา 1 เดือน หลังจากออกพรรษาแล้ว จากตำนานของการทอดกฐิน ครั้งพุทธกาล มีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์พระวินัยปิฎก กฐินขันธกะว่า

    ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ 30 รูป ถือธุดงควัตรอย่างยิ่งยวด มีความประสงค์จะเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล จึงพากันเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองนั้น พอถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงสาวัตถีประมาณ 6 โยชน์ก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดี เดินทางต่อไปมิได้ ต้องจำพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกต ตามพระวินัยบัญญัติ ขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต เกิดความร้อนรน อยากเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นกำลัง ดังนั้นพอออกพรรษาปวารณาแล้วรีบเดินทาง แต่ระยะนั้น ยังมีฝนตกมาก หนทางที่เดินชุ่มไปด้วยน้ำเป็นโคลนตม ต้องบุกเข้ามาจนกระทั่งถึงกรุงสาวัตถี ได้เข้าเฝ้าสมความประสงค์

    พระพุทธเจ้าจึงมีปฏิสันถารกับภิกษุเหล่านั้น ถึงเรื่องการจำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต และการเดินทาง ภิกษุเหล่านั้น จึงกราบทูลถึงความตั้งใจ ความร้อนรนและการเดินทางที่ลำบาก ให้ทรงทราบทุกประการ พระพุทธเจ้าทรงทราบ และเห็นความลำบากของภิกษุ จึงทรงยกเป็นเหตุ และมีพระพุทธานุญาต ให้พระภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนแล้ว กรานกฐินได้ (การลาดหรือทาบผ้า ลงไปกับกรอบไม้แม่แบบ เพื่อตัดเย็บย้อม ทำเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง) และเมื่อกรานกฐินแล้ว จะได้รับอานิสงส์บางข้อ ตามพระวินัยต่อไป

    คำว่า กฐิน มีความหมายที่เกี่ยวข้องกัน 4 ประการ คือ

    - ประการแรก เป็นชื่อของกรอบไม้ อันเป็นแม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่า สะดึงก็ได้ สืบเนื่องจากในพุทธกาล การทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนดกระทำได้ยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญ ในการทำเป็นผ้านุ่งหรือผ้าห่ม หรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่าจีวร

    - ประการที่สอง เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่สงฆ์ เพื่อทำจีวร ตามแบบหรือกรอบไม้นั้น คือ ผ้าที่จะถวายนั้น จะเป็นผ้าใหม่หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาดหรือผ้าเก่า ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วเป็นอันใช้ได้

    - ประการที่สาม เป็นชื่อของบุญกิริยา คือ การทำบุญในการถวายผ้ากฐิน เพื่อให้สงฆ์ทำเป็นจีวร เป็นทานแก่พระสงฆ์ ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ 3 เดือน ให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด

    - ประการที่สี่ เป็นชื่อของสังฆกรรม คือ กิจกรรมของสงฆ์ ที่จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบ จากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

    การทอดกฐินที่ปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบันนั้น ตามหลักฐานที่ปรากฏ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี แยกเป็นประเภทได้ดังนี้

    กฐินหลวง คือ การที่พระเจ้าแผ่นดิน ได้ทรงรับเรื่องกฐินนี้ ขึ้นเป็นพระราชพิธีอย่างหนึ่ง ซึ่งทรงบำเพ็ญเป็นการประจำ เมื่อถึงเทศกาลกฐิน พระเจ้าแผ่นดินทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เกี่ยวกับกฐินเป็นเหตุให้เรียกกันว่า กฐินหลวง วัดใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นวัดหลวงหรือวัดราษฎร์ หากพระเจ้าแผ่นดิน เสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐินแล้ว เรียกว่ากฐินหลวงทั้งสิ้น มิใช่กำหนดว่าทอดที่วัดหลวงเท่านั้น ต่อมาได้เปลี่ยนไปตามภาวการณ์ เป็นเหตุให้มีการแบ่งแยกกฐินหลวงออกเป็นประเภทต่างๆ คือ

    กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนิน ไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เองเป็นประจำ ณ วัดสำคัญๆ ที่ทางราชการกำหนดขึ้น ทั้งในกรุงเทพมหานคร และส่วนภูมิภาค มีหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไว้อย่างเรียบร้อย

    กฐินต้น เกิดขึ้นเพราะพระเจ้าแผ่นดิน เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดที่ไม่ใช่วัดหลวง ส่วนมากจะเป็นวัดในต่างจังหวัด และเสด็จอย่างไม่เป็นทางการ เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์

    กฐินพระราชทาน เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าของหลวง แก่ผู้ที่กราบบังคมทูลขอพระราชทาน เพื่อไปถวายยังวัดหลวง นอกจากวัดสำคัญที่ทรงกำหนดไว้ ว่าจะเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เอง เหตุที่เกิดกฐินพระราชทาน เนื่องจากปัจจุบันวัดหลวงมีจำนวนมาก จึงเปิดโอกาสให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ตลอดจนคณะบุคคล หรือบุคคลที่สมควรรับพระราชทานผ้ากฐินไปถวายได้ และผู้ที่รับพระราชทาน จะเพิ่มไทยธรรมเป็นส่วนตนโดยเสด็จพระราชกุศลด้วยตามกำลังศรัทธาก็ได้

    กฐินราษฎร์ เป็นกฐินที่ประชาชน ผู้มีศรัทธานำผ้ากฐินของตนไปทอด ณ วัดต่างๆ และจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ตามลักษณะของวิธีการทอด คือ

    กฐิน เป็นการทอดกฐินของผู้มีศรัทธา เป็นการเฉพาะจะทอด ณ วัดใดก็ได้โดยนำผ้ากฐิน เป็นผ้าผืนเดียวหรือหลายผืนก็ได้ เป็นผ้าขาวที่ยังมิได้ตัดออกเป็นชิ้นๆ พอที่จะประกอบเข้าเป็นจีวร เมื่อทำเสร็จแล้ว จะยังไม่ได้ย้อมหรือย้อมแล้วก็ได้ จัดอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นองค์กฐิน

    จุลกฐิน เดิมเรียกว่ากฐินแล่น เป็นกฐินที่ทำด้วยความเร่งรีบ ที่มีเวลาจำกัดเพียงแค่ 1 วันเท่านั้น และต้องทำทุกอย่างให้เสร็จภายในวันนั้น เจ้าภาพที่จะทอดกฐินเช่นนี้ได้ ต้องมีพวกมากมีกำลังมาก คือเริ่มตั้งแต่นำฝ้ายที่แก่ใช้ได้แล้ว แต่ยังอยู่ในฝัก มีปริมาณให้พอแก่ ที่จะทำเป็นจีวรแล้วทำพิธี สมมติว่าฝ้ายจำนวนนั้น ได้มีการหว่านแตกงอก ออกต้น เติบโต ผลิดอก ออกฝักแก่ สุก แล้วนำมาเก็บเอาเมล็ดออก ดีดเป็นผงทำเป็นเส้นด้าย เบียออกเป็นใจ กรอออกเป็นเข็ด แล้วฆ่าด้วยน้ำข้าว ตากให้แห้ง ใส่กงปั่นเส้นหลอด ใส่กระสวยเครือ แล้วทอเป็นแผ่นผ้าตามขนาดที่ต้องการ แล้วนำไปทอดกฐิน มอบแก่พระภิกษุสงฆ์

    เมื่อพระสงฆ์รับผ้านั้นแล้ว มอบแก่พระภิกษุผู้เป็นองค์ครอง ซึ่งพระภิกษุองค์ครอง จะจัดการต่อไปตามพระวินัย หลังจากนั้น ผู้ทอดต้องช่วยทำต่อ คือ นำผ้ามาขยำทุบซัก แล้วเอาไปตากให้แห้ง แล้วนำมาตัดเป็นจีวร แล้วเย็บย้อม ตากแห้ง พับ ทับรีดเสร็จเรียบร้อย แล้วนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์อีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ท่านทำพินทุอธิษฐาน แล้วพระภิกษุสงฆ์ จะอนุโมทนาเป็นเสร็จพิธีจุลกฐิน จุลกฐินเป็นการทอดกฐินที่ต้องอาศัยคนหมู่มาก จึงจะสำเร็จ และมีระยะเวลาจำกัด จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไร มีเพียงบางแห่งเท่านั้น ที่ต้องการอนุรักษ์ประเพณีอันงดงามไว้เท่านั้น

    กฐินสามัคคี เป็นกฐินที่มีเจ้าภาพร่วมหลายคน ใครบริจาคมากน้อยเท่าใดแล้วแต่ศรัทธา เพื่อไม่ให้การจัดงานยุ่งยาก มักมีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้น แล้วมีหนังสือบอกบุญไปยังผู้อื่น เมื่อได้ปัจจัยมาเท่าใด ก็นำมาจัดผ้าอันเป็นองค์กฐิน เมื่อปัจจัยเหลือก็ถวายวัด เพื่อวัดจะได้นำไปใช้จ่ายในการก่อสร้าง ศาสนสถาน การบูรณะปฏิสังขรณ์ โบสถ์ เจดีย์ กุฏิ เป็นต้น กฐินสามัคคีนี้ ส่วนมากมักนำไปทอด ยังวัดที่กำลังมีการก่อสร้าง หรือกำลังบูรณปฏิสังขรณ์ เพื่อเป็นการสมทบทุน ให้สิ่งอันพึงประสงค์ของวัดสำเร็จไปโดยเร็ว

    กฐินตกค้าง เนื่องจากอาจมีวัดตกค้างไม่มีใครทอด จึงมักมีผู้ศรัทธาไปสืบเสาะหาวัดเพื่อทอดกฐิน กฐินประเภทนี้ จะไม่มีการจองวัดไว้ล่วงหน้า และอาจทอดหลายวัดก็ได้ ตลอดจนสามารถนำของไทยธรรมที่เหลือ ทำเป็นการบุญอีกชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่าผ้าป่าแถมกฐิน

    ทั้งนี้ การทอดกฐิน พุทธศาสนิกชนควรทอดกฐินให้ถูกต้อง ตามความมุ่งหมายของกฐิน คือ การบำเพ็ญกุศล ด้วยการถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุซึ่งอยู่จำพรรษาครบสามเดือน ตามพุทธานุญาต ควรงดการใช้จ่ายในสิ่งที่ฟุ่มเฟือย และไม่จำเป็น โดยยึดถือการจัดแนวประหยัดเป็นหลักสำคัญ การรวบรวมทุนของผู้บริจาค ก็ควรให้เป็นไปตามกำลังศรัทธาตามสมควร เนื่องจากในปัจจุบัน มีการทอดกฐินบังหน้า ใช้เป็นเครื่องมือหากิน โดยมีคนปลอมเป็นพระ เรี่ยไรเงินจากชาวบ้าน เที่ยวบอกบุญเร่ร่อนไปตามสถานที่ต่างๆ สร้างความเดือดร้อน และรำคาญให้แก่ผู้คนที่พบเห็น เพื่อมิให้ประเพณีการทอดกฐินนั้น เกิดการเบี่ยงเบนไปจากเดิม เนื่องจากกฐิน ถือเป็นกุศลกรรม ที่สืบต่อกันมาแต่โบราณกาล ดังนั้น เราต้องรักษาประเพณีการทอดกฐินที่ถูกต้องไว้ ให้อนุชนรุ่นหลังสืบไป


    *******ข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือกฐิน และแนวทางในการปฏิบัติ ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ



    ข้อมูลข่าว : สิริวิภา ขุนเอม กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
    อัพเดทโดย : ศศิวิมล

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    -----------------
    ที่มา:
    http://variety.mcot.net/inside.php?docid=2651
     
  2. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ที่นำสาระ ดี ๆ มาให้อ่านครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p



    _____________________________<O:p</O:p
    เชิญร่วมบริจาคหนังสือ เข้าห้องสมุดชุมชนวัดย่านยาว<O:p</O:p
    http://palungjit.org/showthread.php?t=130823<O:p</O:p
    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบูรณะศาลาการเปรียญวัดย่านยาว<O:p</O:p
    http://palungjit.org/showthread.php?t=153325<O:p</O:p
     
  3. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047

แชร์หน้านี้

Loading...