ลักษณะคนดีและคนไม่ดี

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย วิญญาณนิพพาน, 18 กรกฎาคม 2017.

  1. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,282
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,001
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
    อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

    สัปปุริสสูตร

    [๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ พึงทราบว่าเป็นอสัตบุรุษ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ แม้ไม่ถูกถามก็เปิดเผยความเสียหายของผู้อื่น จะกล่าวอะไรถึงถูกถามเล่า และเมื่อถูกถามเข้าก็แก้ปัญหาโดยตรง ไม่อ้อมค้อม ไม่หน่วงเหนี่ยว แล้วกล่าวความเสียหายของผู้อื่นเต็มที่อย่างกว้างขวาง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงทราบว่าท่านผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ ฯ

    อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษในโลกนี้ แม้ถูกถามก็ไม่เปิดเผยความดีของผู้อื่น จะกล่าวอะไรถึงไม่ถูกถาม และเมื่อถูกถามแล้ว ก็ไม่แก้ปัญหาโดยตรงอ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว แล้วกล่าวสรรเสริญคุณผู้อื่นโดยย่อ ไม่เต็มที่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงทราบว่า ท่านผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ ฯ

    อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษในโลกนี้ แม้ถูกถามก็ไม่เปิดเผยความเสียหายของตน จะกล่าวอะไรถึงไม่ถูกถาม และเมื่อถูกถามแล้ว ก็ไม่แก้ปัญหาโดยตรง อ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว แล้วกล่าวความเสียหายของตนโดยย่อ ไม่เต็มที่ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงทราบว่า ท่านผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ ฯ

    อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษในโลกนี้ แม้ไม่ถูกถามก็เปิดเผยความดีของตน จะกล่าวอะไรถึงถูกถามเล่า และเมื่อถูกถามแล้วก็แก้ปัญหาโดยตรง ไม่อ้อมค้อม ไม่หน่วงเหนี่ยว แล้วกล่าวความดีของตนเต็มที่อย่างกว้างขวาง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงทราบว่า ท่านผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นอสัตบุรุษ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ พึงทราบว่าเป็นสัตบุรุษ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ สัตบุรุษในโลกนี้ แม้ถูกถามก็ไม่เปิดเผยความเสียหายของผู้อื่น จะกล่าวอะไรถึงไม่ถูกถามเล่า แต่เมื่อถูกถามเข้า ก็ไม่แก้ปัญหาโดยตรง อ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว กล่าวความเสียหายของผู้อื่นโดยย่อไม่เต็มที่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงทราบว่า ท่านผู้นี้เป็นสัตบุรุษ ฯ

    อีกประการหนึ่ง สัตบุรุษในโลก แม้ไม่ถูกถามก็เปิดเผยความดีของผู้อื่นจะกล่าวอะไรถึงถูกถามเล่า แต่เมื่อถูกถามเข้าก็แก้ปัญหาโดยตรง ไม่อ้อมค้อม ไม่หน่วงเหนี่ยว กล่าวความดีของผู้อื่นเต็มที่อย่างกว้างขวาง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงทราบว่าท่านผู้นี้เป็นสัตบุรุษ ฯ

    อีกประการหนึ่ง สัตบุรุษในโลกนี้ แม้ไม่ถูกถามก็เปิดเผยความเสียหายของตน จะกล่าวอะไรถึงถูกถามเล่า แต่เมื่อถูกถามเข้าก็แก้ปัญหาโดยตรง ไม่อ้อมค้อม ไม่หน่วงเหนี่ยว แล้วกล่าวความเสียหายของตนเต็มที่อย่างกว้างขวางดูกรภิกษุทั้งหลายพึงทราบว่า ท่านผู้นี้เป็นสัตบุรุษ ฯ

    อีกประการหนึ่ง สัตบุรุษในโลกนี้ แม้ถูกถามก็ไม่เปิดเผยความดีของตนจะกล่าวอะไรถึงถูกถามเล่า แต่เมื่อถูกถามเข้าก็ไม่แก้ปัญหาโดยตรง อ้อมค้อมหน่วงเหนี่ยว แล้วกล่าวความดีของตนโดยย่อ ไม่เต็มที่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงทราบว่า ท่านผู้นี้เป็นสัตบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นสัตบุรุษ ฯ

    อสัตตบุรุษ คือ ผู้ที่ไม่น่าคบ นั้น ดูได้อย่างนี้

    1. เปิดเผยความชั่วของผู้อื่น แม้ไม่มีคนถาม
    (คิดดูเอาว่าหากมีคนถามเขาจะเปิดเผยมากกว่านี้แค่ไหน)

    2. มีคนถามถึงความดีของคนอื่น ก็ไม่ตอบ หรือหาทางไม่ตอบ
    (คิดดูว่า หากไม่ถาม เขาจะพูดสรรเสริญความดีของคนอื่นหรือไม่)

    3. มีคนถามถึงความชั่วของตนเอง ก็ไม่ยอมตอบ
    (คิดดูว่า หากไม่ถาม เขาจะยอมพูดถึงความชั่วของตนไหม)

    4. พูดโอ้อวดความดีของตน แม้ไม่ถูกถาม
    (คิดดูว่า หากถูกถาม จะยกหางตัวเองขนาดไหน)

    สัตบุรุษ คือ ผู้ที่ควรคบให้ดูอย่างนี้ว่า

    1. แม้มีคนถามถึงความชั่วของคนอื่น ก็ไม่ตอบหรือหลีกเลี่ยงไม่ตอบ
    (คิดดูว่า ถ้าไม่มีคนถาม เขาจะพูดหรือไม่)

    2. แม้ไม่มีคนถามถึงความชั่วของตน ก็เปิดเผยให้ฟัง
    (คิดดูว่า ถ้ามีคนถาม เขาจะสารภาพมากแค่ไหน)

    3. แม้ไม่มีคนถามถึงความดีของคนอื่น ก็พูดให้ฟัง
    (คิดดูว่า ถ้ามีคนถาม เขาจะสรรเสริญมากแค่ไหน)

    4. แม้ถูกถามถึงความดีของตน ก็ไม่ตอบ หรือหลีกเลี่ยงที่จะตอบ
    (คิดดูว่าถ้าไม่ถาม เขาจะพูดจายกหางตัวเองหรือไม่)

    อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
    สัปปุริสสูตร

    http://www.84000.org/
     

แชร์หน้านี้

Loading...