ลูกแก้วกลมทุกขนาด มนุษย์เท่านั้นสร้าง ไม่ใช่เทวดาบนฟ้าหรืออะไรใต้บาดาลสร้าง

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 28 กรกฎาคม 2017.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมปักธงกระทู้ไว้ก่อนครับ จะค่อยมาเขียนภายหลัง เพราะสงสารคนที่ไปหลงยึดลูกแก้วทุก ๆ ขนาด ว่าศักดิ์สิทธิ์เพราะไม่ใช่มนุษย์สร้าง

    มีโอกาสแล้วจะมาเขียนครับ

    เอาเวลาไปฟังธรรมะที่แสดงโดยบ้านธัมมะทาง youtube หรือฟังทางวิทยุ คีย์คำว่า dhammahome บ้านธรรมะ โดยอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ จะดีกว่าครับ
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    เมื่อวานนี้วันพฤหัสบดี คุณผู้หญิงท่านหนึ่งโทรศัพท์มาถามผมเกี่ยวกับเรื่องของลูกแก้วทุก ๆ ขนาดที่ศักดิ์สิทธิ์เพราะไม่ใช่มนุษย์สร้าง ผมได้เรียนท่านไปว่า ผมไม่อยากทุบหม้อข้าวของใคร แต่เมื่อมาพิจารณาอีกทีหนึ่ง การทำให้คนหลุดจากกรรมที่หลงยึดติด ไม่หลงงมงาย จะดีกว่าปล่อยให้คนหลงยึดโดยไม่รู้ความจริง

    เพราะฉะนั้นผมมาปักธงกระทู้นี้ มีโอกาสจะค่อย ๆ มาเขียนครับ
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมเกิดมาก็อยู่ในวงการแก้ว คุณพ่อผมเปิดโรงหลอมแก้วขนาดวันละ 2 ตันกับ 5 ตันต่อวัน พร้อมเชิญเหล่าอาจารย์วิชาแก้วที่เก่งที่สุดของไทยในสมัยนั้นมาสอนผมอยู่นานหลายปีตั้งแต่ผมอายุ 17 ขวบ ( พ.ศ. 2516 ) สร้างพระแก้ว ๒๕ พุทธศตวรรษหน้าตัก 1 - 5 นิ้วทุกปางด้วยวิธี pressed glass เฉลี่ยนาทีละ 1 องค์/น้ำแก้ว 1 เบ้า ( โรงงานแก้วของคุณพ่อผมมีการหลอมแก้ววันละ 6 - 14 เบ้า เบ้าละ 350 ก.ก. = วันละ 4,900 ก.ก. ตีว่า 5 ตันก็ได้ ) [ การมีเบ้าหลอมแก้วขณะที่หลอมมากที่สุดถึงวันละ 14 เบ้า หมายถึงการที่สามารถสร้างพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษได้นาทีละ 14 องค์ครับโดยทำงานวันละประมาณ 6 ชั่วโมง ] เนื่องจากยังมีเบ้าเล็กพิเศษอีกหลายเบ้าซึ่งเป็นเบ้าสีพิเศษในเตาหลอมแก้วทั้งสอง นอกจากสร้างพระแก้วในระบบ pressed glass แล้ว ยังสร้างโคมไฟทุกชนิดทุกขนาดทั้งที่ทนความร้อนเล็กน้อยไปถึงขั้นทนความร้อนสูง เช่น ตาไฟโคมหน้ารถยนต์, โคมถนนชนิดความร้อนสูงมาก 260 C, ที่ทับกระดาษ, แก้วต่อขาแฮนด์เมด, การปั้นแก้วมือเปล่าฟรีฟอร์ม , การขึ้นรูปชิ้นงานแก้วโดยไม่ใช้มือมนุษย์และอื่น ๆ อีกมาก

    ชิ้นงานขนาดใหญ่สุดที่โรงงานแก้วของคุณพ่อผมเคยสร้างคือแก้วขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 36 นิ้วด้วยวิธีเป่าแก้วด้วยปอดโดยใช้แม่พิมพ์เหล็กหล่อ และอื่น ๆ

    ในประเทศไทย ทุกโรงงานแก้วยังไม่มีใครสามารถสร้างพระพุทธรูปจากแก้วหน้าตัก 9 นิ้วได้เลยแม้แต่โรงงานเดียว ผมได้ทอฝันต่อยอดความรู้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 นั้น ในที่สุดก็สร้างสำเร็จเป็นรายแรกของไทยเมื่อปี พ.ศ. 2548 และยังไม่มีโรงงานแก้วใดสร้างได้อีกเลยแม้ช่างแก้วชุดเดิมก็ไม่สามารถสร้างได้

    ค่อยมาเขียนต่อครับ
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ก่อนอื่น ผมต้องขออภัยที่ต้องเล่าถึงภูมิหลังของผมว่า เคยหลอมแก้ววันละกี่ตันนั้น ไม่ใช่เป็นการอวดนะครับ และก็ไม่ได้เป็นการมุสาว่า ทำไมบางครั้งบางช่วงหลอมแก้ววันละ 2 ตัน แต่บางช่วงหลอมวันละ 5 ตัน นั่นเพราะบางช่วงงานน้อย ทางโรงงานเลือกตัดสินใจใช้เตาหลอมแก้วขนาด 6 เบ้าใหญ่ เบ้าละ 350 kg. ก็จะเป็นวันละ 2 ตัน บางช่วงที่งานเยอะ ต้องทำงานมากตามออเด้อร์ คุณพ่อผมและปรามาจารย์จึงตัดสินใจร่วมกันขยายเพิ่มเตาหลอมอีกเตา ซึ่งจะมีขนาด 8 เบ้า เบ้าละ 350 kg. ก็จะประมาณเพิ่มอีก 3 ตันต่อวัน รวมเตาหลักและเตาเสริมก็จะได้วันละ 5 ตันครับ บางวันก็มีเสริมแก้วหลากสีอีก จึงบางครั้งจะเป็นวันละ 5 ตันเศษ เพราะเราสามารถเสริมเบ้าเล็ก เบ้าละ 40 kg. เข้าไปในเตาหลักและเตาเสริมได้อีกเตาละไม่ต่ำกว่าเป็นสิบเบ้า แต่เบ้าเล็กนี้ พวกช่างหลอมแก้วอย่างผมนี่ไม่เคยนับครับ มันจิ๊บจ้อยเกินไป

    ดังนั้น ผมจึงขอออกตัวไว้ก่อนว่า การพูดถึงประวัติความเป็นมาของผมนั้น ไม่ใช่เพื่ออวดหรือเพื่อมุสา แต่เพียงเพื่อให้ท่านได้รู้ว่า การผ่านงานเป็นนักหลอมแก้วขนาดวันละเท่านี้ และหลอมต่อเนื่องทุกวันมาหลายปี มันหมายถึงการรับรองความจริงว่า เราทำมาจริง ๆ ไม่ใช่เป็นแค่จำคนอื่นมาพูดครับ
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    เข้าประเด็นเลยดีกว่า

    จากที่คุณผู้หญิงเล่าให้ผมฟังว่า ได้ไปพบพระภิกษุรูปหนึ่ง มีเหล็กไหลจำนวนมากและมีหลายชนิด ได้ทำการทดลองให้เหล็กไหลทำปฏิกิริยาต่าง ๆ นั้น ผมทราบและตอบคุณผู้หญิงไปในทันทีว่า เป็นเรื่องลวงโลกครับ ( ยกเว้นแต่พระภิกษุรูปนั้นจะไม่รู้เรื่อง หรือที่ผมอาจใช่คำว่า " โง่จริง ๆ ที่ให้คนต้มแล้วเชื่อ แล้วไปต้มคนอื่นต่อโดยที่พระภิกษุนั้นก็ไม่รู้ " แต่ผมไม่เชื่อว่า พระภิกษุรูปนั้น " โง่จริง " ท่านคงไม่โง่ แต่กำลังหาเงินเพื่อนำไปใช้ในการกุศลหรือไปใช้อื่นใด )

    ซึ่งต่อให้ไปใช้ในการกุศลจริง ก็ไม่ใช่กิจของสงฆ์ครับ และถ้าหากท่านรู้ ไม่โง่ พระภิกษุรูปนั้นก็ปาราชิกไปแล้ว เนื่องจากรู้ แต่ต้มคนอื่น เงินได้มาทำบุญก็จริง แต่ต้องอาบัติ " ปาราชิก " ขาดจากความเป็นพระภิกษุแล้ว ชาตินี้บวชอีกไม่ได้แล้วครับ
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    คำตอบในเรื่องเหล็กไหลสำหรับผมนะครับ ไม่ว่าของจริงของปลอม อย่าไปสนใจมันก็สิ้นเรื่องครับ สู้การฟังธรรมะแล้วเกิดเทศนาปาฏิหารย์ไม่ได้ อย่างอื่นจะปาฏิหารย์ก็ช่างมันครับ เพราะอย่างอื่นบรรลุธรรมไม่ได้ เทศนาปาฏิหารย์อาจช่วยให้เรามีความเข้าใจธรรมะได้มากขึ้น ไม่ดีกว่าไปถูกเขาต้มตลอดเวลาหรือครับ

    แต่ตามที่คุณผู้หญิงท่านนี้อยากให้ลองค้นหาตารางธาตุในโลกนี้ดูว่า อะไรทำปฏิกิริยากับอุณหภูมิ หรือทำการแหกตาคนได้บ้าง ผมก็ลองค้นดู ไม่ยากครับ พบทันที เพราะมันก็คือวิชาเล่นแร่แปรธาตุธรรมดา ๆ ที่ช่างหลอมแก้วอย่างผมก็เคยทำมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ติดต่อต่อเนื่องกันมาหลายปีครับ และไม่ได้ทำกันคนเดียว เราทำกันทั้งประเทศครับ นอกจากช่างหลอมแก้วนับพัน ๆ คน เรายังมีนักหลอมเหล็กที่มากลายเป็นนักหลอมแก้วที่บังเอิญไปพบวิชานี้เข้าที่จังหวัดอุตรดิตถ์อีกหลายคนครับ และพบนักหลอมทรายแม่น้ำที่ไปพบลักษณะการเล่นแร่แปรธาตุอีกกลุ่มหนึ่งที่นครปฐม ซึ่งกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นโทษกับสังคม เพราะเขาไม่ได้ต้มคนหรือไม่ได้ลวงโลกนั่นเอง
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    Screenshot_2017-07-28-11-38-37.jpg Screenshot_2017-07-28-11-35-34.jpg

    แค่ค้นเข้าไปในยูทู๊ปหรือในกูเกิ้ลก็พบสิ่งที่มีขายกันตามปกติในตลาดของเมืองนอกครับ เป็นของขายกันเหมือนของเด็กเล่น เด็ก ๆ ในเมืองนอกอายุสิบกว่าขวบเขาเล่นกัน และถ้ามองจากมุมมองของผม ซึ่งเป็นนักหลอมแก้ว เราบอกได้เลยว่า สิ่งคล้าย ๆ กันแบบนี้มีมาก เราสามารถผสมกันก็ได้ ซึ่งการผสมสารต่าง ๆ นั้น คนไทยถนัดนัก เราเรียกว่า นักเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งถ้านำไปลวงโลก ก็ไม่ใช่เรื่องดีครับ
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    Screenshot_2017-07-28-11-42-41.jpg
    Screenshot_2017-07-28-11-42-49.jpg
    เพื่อเป็นการยืนยันว่า สารหลาย ๆ อย่างผสมกันได้ ผมจึงนำมาให้ชมกันว่า เราสามารถผสม borax เข้าไปในสิ่งที่คล้ายโลหะนี้ได้ ไม่ยาก

    มีการผสมสารหลายตัวทั้งในอุณหภูมิห้อง และในอุณหภูมิพิเศษ หรืออาจเป็นการหลอมรวมกันที่อุณหภูมิสูงอย่างเช่นในการหลอมแก้ว เราหลอมสารหลายชนิดลงไปในแก้วผสมเป็นเนื้อเดียวกันได้ ทำให้แก้วกลายเป็นของแข็งก็ได้ กลายเป็นของนิ่มก็ได้ กลายเป็นของแข็งพิเศษชนิดปืนยิงไม่เข้าก็ได้ กระจกใสบางชนิดทุบด้วยฆ้อน 8 ปอนด์ไม่แตกเลยก็ทำได้ครับ และที่สุดอาจถึงกับหลอมแก้วให้กลายเป็นของเหลวก็ทำได้ ( ปัจจุบันเชื่อว่าทำได้แล้ว )
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ในลูกแก้วทุกขนาด ทั้งเล็กนิดเดียวเท่าเม็ดมะยม หรือใหญ่ถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางครึ่งเมตร หรือใหญ่กว่านั้น เช่นที่เกาหลี ลูกแก้วกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร 4 เมตรก็ทำได้เป็นเรื่องธรรมดาปกติ

    แต่ที่ทำกันมากที่สุดคงเป็นแผ่นดินใหญ่จีนที่สร้างลูกแก้วกลมมาขายโดยฝ่ายจีนไม่ได้มีเจตนาลวงโลก เพราะเขาขายเป็นลูกแก้วกลมธรรมดา เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.1 - 2.0 เมตร เขาขายเป็นสินค้า ไม่ใช่ของศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ ไม่ได้ลวงโลกครับ มนุษย์เท่านั้นสร้าง มนุษย์หรือคนนี่แหละ เป็นคนสร้าง ไม่ใช่อะไรสร้างทั้งบนฟ้าหรือใต้ดินอะไรทั้งนั้นครับ
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    Hot-Sell-Asian-Quartz-Green-Cat-Eye-Crystal-Ball-Healing-Sphere-40MM.jpg_640x640.jpg
    จีนสร้างลูกแก้วกลมที่ทำจากอะไรก็แล้วแต่ จากแก้วธรรมดา หรือจากแก้วผสมสารเคมี หรือแม้แต่นำก้อนแร่หรือหินหรือหยกในธรรมชาติมาสร้างเป็นลูกกลม ขายในราคาถูกมาก ๆ ครับ

    แต่พอบวกกับ stories มันเพิ่มมูลค่าอีกหลายสิบหรือหลายร้อยเท่า เงินของท่านก็ย้ายไปอยู่ในกระเป๋าคนอื่น ซึ่งนั่นก็เป็นการดีถ้าท่านเต็มใจและไม่ถูกหลอก ถ้าเขาบอกตรง ๆ ว่า ที่จริงคือ มันคือสินค้าธรรมดา ๆ

    อ้าว แล้วทำไมบอกว่าดี เงินย้ายกระเป๋าทำไมดี ก็ดีตรงที่พ่อค้าแม่ขายเขาจะได้นำเงินไปเลี้ยงครอบครัวเขาซึ่งบางครอบครัวมีคนต้องเลี้ยงนับสิบ ๆ คน เงินย้ายกระเป๋าจึงดีตรงนี้ครับ แต่มันจะไม่ดีตรงที่ stories ทำให้หลงยึดติด งมงาย และในที่สุดไปขวางกั้นการที่ต้องการจะฟังธรรม เพียงเพราะต้องการให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในลูกแก้วออกมาช่วยให้คนบูชาร่ำรวยหรือปลอดภัย ตรงนี้แหละครับที่ว่าไม่ดี
     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    colorful-japanese-fishing-floats-for-sale-apalachicola-florida-b2c8g9.jpg
    ลูกแก้วกลมมีประวัติความเป็นมาอย่างไร

    เมื่อประมาณ 300 ปีก่อน การเป่าแก้วด้วยปอดทำให้ช่างเป่าแก้วทั่วโลกประสบความสำเร็จในการสร้างลูกแก้วกลมขนาดที่สามารถทำให้ลอยน้ำ บอกเขตแดนในทะเลได้

    เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2504 ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมญาติที่เป็นชาวประมงที่เมืองชลบุรี ได้มีโอกาสเห็น ได้สัมผัสทุ่นแก้วลอยน้ำพวกนี้ทั้งที่อยู่ในทะเล และที่เขาเก็บไว้บนฝั่ง แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป ผมไปเยี่ยมญาติอีก หลังจากประมาณปี พ.ศ. 2514 ผมก็ไม่เคยเห็นลูกแก้วลอยน้ำหรือทุนแก้วลอยน้ำพวกนี้อีกเลย แต่ผมก็ไม่ได้สงสัยว่า เพราะอะไร ทำไมจึงไม่เห็นอีกเลย

    จากการคาดการณ์ของผมเองว่า มนุษย์เริ่มต่อยอดสร้างลูกแก้วลอยน้ำพวกนี้ เปลี่ยนวัตถุประสงค์จากการเป็นทุ่นลอยน้ำ ก็เปลี่ยนมาทำให้ตัน ๆ ไม่ต้องลอยน้ำแล้ว แล้วนำมาตั้งโชว์กันเป็นที่แพร่หลายทั่วโลก สร้างจากแก้วโซดาไลม์ซิลิก้า แก้วคริสตัล หรือจากแก้วผสมพิเศษอีกมากมายหลายชนิด เช่น แก้วโคบอลท์ แก้วยูเรเนี่ยม แก้วอื่น ๆ รวมทั้งการใช้หินหยก หรือหินแร่ธาตุอื่นใด เพียงเพื่องานตั้งโชว์เท่านั้น ส่วนขนาดก็สร้างใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งทุกวันนี้เส้นผ่าศูนย์กลางหลายเมตรแล้ว
     
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    4476d9ec32ee715cd55174d505651e59--antique-glassware-glass-globe.jpg

    5385d4fb1e2b87f2c757c0675f2ddb5c--earth-craft-uranium.jpg

    ตัวอย่างลูกแก้วกลมที่สร้างจากแก้วยูเรเนี่ยม ซึ่งผมคาดว่าเดิมเคยมีการสร้างเป็นทุ่นแก้วยูเรเนี่ยมลอยน้ำด้วยในอดีต แต่ปัจจุบันเหลือแต่ลูกแก้วยูเรเนี่ยมชนิดตั้งโชว์ที่มีทั้งแบบแก้วเรียบผิวยูเรเนี่ยมชนิดสีเขียวใส ชนิดสีเขียวนมเนื่องจากผสมแก้วตะกั่วชนิด red lead oxide เข้าไป และอื่น ๆ
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    1pcs-50mm-Crystal-Glass-Bubble-Ball-Quartz-font-b-Marbles-b-font-Magic-Ball-Home-Decoration.jpg
    การสร้างฟองอากาศให้อยู่ในเนื้อแก้วแบบนี้ง่ายมาก ผมหลอมแบบแก้วฟองอากาศแบบนี้ได้ตั้งแต่เดือนแรกที่ผมหลอมแก้วแล้วครับ

    มันง่ายถ้าเรามีโอกาสได้ทำนะครับ แต่ใครจะมีโอกาสได้ทำนี่ก็อีกเรื่องหนึ่ง
     
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    Mooie-font-b-Chinese-b-font-Tiger-Eye-Crystal-font-b-Healing-b-font-font-b.jpg
    มนุษย์เท่านั้นสร้างพวกนี้ ไม่ใช่เทวดาหรือใต้บาดาลที่ไหน

    มนุษย์เท่านั้นสร้าง ที่เมืองนอกเขาขายเป็นสินค้าธรรมดา แต่ทำไมคนไทยจึงต้องสร้างเรื่องราว ก็เพียงเพื่อปั่นราคาส่วนต่างให้มากขึ้น ปั่นขึ้นไปกี่เท่า กี่สิบ กี่ร้อยเท่าก็ปั่นไปเถอะ แต่อย่าลวงโลกต่อไป
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    001.jpg 002.jpg 004.jpg 003.jpg
    ฝรั่งเขาไม่เคยคิดหลอกลวงใคร เขาสร้างให้คุณภาพดีขึ้น ๆ ดีถึงขนาดนำมาใช้ในทางวิทยาศาสตร์ได้แล้ว ก้าวหน้าเสียทีครับประเทศไทย หยุดลวงงงโลก แล้วประเทศจะเจริญญญญญญญญ
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    Glassware Chemical, เครื่องแก้ว สารเคมี อุปกรณ์วิทยาศาสตร์
    Laboratory Glassware, อุปกรณ์วิทยาศาสตร์, เครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการ
    Archive for the ‘ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแก้ว (glass introduction)’ Category

    แก้วพิเศษ (special glasses)
    PostDateIcon.png January 17th, 2010 | PostAuthorIcon.png Author: admin
    แก้วพิเศษ (special glasses) เป็นแก้วที่ผลิตขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อให้มีคุณสมบัติจำเพาะตามความต้องการใช้งาน แก้วจำพวกนี้จึงมีสมบัติเด่นเฉพาะตัว มีหลายชนิดด้วยกัน โดยแก้วพิเศษแต่ละชนิดจะระบุส่วนผสมหรือสารอนินทรีย์ที่มีในเนื้อแก้วนั้นๆ ด้วย ตัวอย่างของแก้วจำพวกนี้ได้แก่

    1. แก้วปลอดซิลิคอน (silicon free glass) ใช้ผลิตหลอดแสงโซเดียม (sodium vapor discharge lamp) โดยมีส่วนประกอบของ โบรอนออกไซด์ (B2O3) 36%, อลูมิเนียมออกไซด์ (Al2O3) 27%, แบเรียมออกไซด์ (BaO) 27% และ แมกนิเซียมออกไซด์ (MgO) 10%

    2. แก้วฟอตเฟต (phosphate glass) เป็นแก้วที่มีความทนทานต่อกรดที่กัดแก้วได้ (กรดไฮโดรฟลูออริก, HF) โดยมี่ส่วนประกอบของ ฟอสฟอรัสออกไซด์ (P2O5) 72%, อลูมิเนียมออกไซด์ (Al2O3) 18% และซิงค์ออกไซด์ (ZnO) 10%

    3. แก้วที่มีส่วนผสมของตะกั่วในปริมาณสูง (high lead content glass) ใช้ในงานทางด้านรังสี ซึ่งสามารถดูดกลืนรังสีแกรมมา (gramma ray) และรังสีเอ็กซ์ได้ (X-ray) ได้ นอกจากนั้นแก้วชนิดถูกจัดอยู่ในกลุ่มแก้ว very dense flint glass จึงมีการนำมาใช้ทำเลนซ์แว่นตาได้ โดยมีส่วนประกอบดังนี้ ซิลิกอนออกไซด์ (SiO2) 20% และตะกั่วออกไซด์ (PbO) 80%

    ในปัจจุบันมีการพัฒนาความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการผลิตแก้วที่มีคุณสมบัติพิเศษ มีความจำเพาะกับงานต่างๆ หลากหลายชนิด หากมีความสนใจสามารถสอบถามได้โดยตรงจากบริษัทผลิตแก้ว

    PostCategoryIcon.png Posted in ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแก้ว (glass introduction) | PostTagIcon.png Tags: glass, glassware chemicals, special glass | PostCommentsIcon.png 1 Comment »

    แก้วควอทซ์ (Fused quartz)
    PostDateIcon.png December 26th, 2009 | PostAuthorIcon.png Author: admin
    fused_quartz1.gif
    แก้วทนอุณหภูมิสูงและแก้วที่แสงอัลตร้าไวโอเลตส่องผ่านได้ (the high temperature and UV-transmission glasses) เป็นแก้วชนิดสุดท้ายที่พบในห้องปฏิบัติการ หรือเรียกกันทั่วไปว่าแก้วควอทซ์ หรือ ซิลิก้าบริสุทธิ์ (pure SiO2) แต่ยังคงมีโลหะอัลคาไลน์ (Na Mg) ไฮดรอกซิล (OH-) และออกไซด์ (Oxide) เจือปนอยู่เล็กน้อย (น้อยกว่า 1%)

    ในกระบวนการผลิตแก้วควอทซ์ทางอุตสาหกรรม จะใช้ซิลิกอนเตตระคลอไรด์ (silicon tetrachloride, SiCl4) หรือผลึกควอทซ์บริสุทธิ์ (pure quartz crystal, sand) เป็นสารตั้งต้น

    สมบัติของแก้วชนิดนี้ได้แก่ มีสัมประสิทธิ์การขยายตัวเชิงเส้นต่ำ มีความแข็งแกร่ง มีความต้านทานต่อสารเคมีและไฟฟ้าแม้ในขณะร้อน ไม่ดูดกลืนแสงในช่วงอัลตร้าไวโอเลตและวิสิเบิ้ล (Ultraviolet-Visible)

    แก้วควอทซ์นี้ใช้ประโยชน์ในการทำเครื่องแก้ววิทยาศาสตร์พิเศษที่ทนทานต่อสารเคมี และใช้ในการทดลองที่มีอุณหภูมิสูงๆ ใช้เป็นวัสดุสะท้อนแสงเลเซอร์ ใช้ทำครูซิเบิ้ล (crucible) สำหรับผลิตผลึกเดี่ยวของซิลิก้าบริสุทธิ์เพื่อใช้ในงานทางอิเล็กทรอนิก นอกจากนี้ยังใช้ทำกระจกสำหรับกล้องโทรทัศน์และดาวเทียมอีกด้วย

    PostCategoryIcon.png Posted in ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแก้ว (glass introduction) | PostTagIcon.png Tags: fused quartz, pure silica, เครื่องแก้วสำหรับห้องปฏิบัติการ, แก้วควอทซ์, แก้ววิทยาศาสตร์ | PostCommentsIcon.png No Comments »

    แก้วบอโรซิลิเกต (borosilicate glass)
    PostDateIcon.png December 22nd, 2009 | PostAuthorIcon.png Author: admin
    แก้วบอโรซิลิเกต (borosilicate glass) หรือ แก้วแข็ง (the hard glasses) เป็นแก้วอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในห้องปฏิบัติการ เหตุผล 2 ประการที่เรียกว่าแก้วแข็งเนื่องจาก 1. มีความแข็งทนต่อการกระแทก มากกว่า 3 เท่า เมื่อเทียบกับแก้วอ่อน และ 2. ทนความร้อน นอกจากนั้นแก้วแข็งมีค่าสัมประสิทธ์การขยายตัวต่ำเมื่อเทียบกับแก้วอ่อน เมื่อใช้งานที่อุณหภูมิสูงแล้วรูปร่างของแก้วจะไม่เปลี่ยนแปลง และยังทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมีต่างๆ ได้หลายชนิด รวมทั้งสารละลายเบสด้วย เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH)

    ในทางการค้าจะพบแก้วบอโรซิลิเกตที่ถูกนำมาใช้ในงานหลายๆ ด้าน เช่น ใช้ทำเป็นกระจกของเตาอบ ฝาหม้อสุกี้ เป็นต้น เนื่องจากว่าทนความร้อนได้นั่นเอง หรือมีการใช้ทำกระจกครอบไฟรถยนต์ และกระจกครอบไฟส่องสว่างที่ใช้ภายในและภายนอกอาคาร ส่วนภายในห้องปฏิบัติการก็ใช้ทำ บีกเกอร์ ขวดรูปชมพู่ บิวเรตต์ และขวดก้นกลม เป็นต้น โดยผู้ผลิตมี 3 ยี่ห้อ ด้วยกันคือ Pyrex, Kimax และ Duran

    แม้ว่าแก้วบอโรซิลิเกตจะทนทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมีหลายชนิดก็ตาม แต่มีสารเคมีบางชนิดที่สามารถละลายแก้วบอโรซิลิเกตได้ เช่น กรดไฮโดรฟลูออริก (HF) กรดฟอสฟอริกร้อน (hot H3PO4) สารละลายเบสแก่ (conc.NaOH) เพราะฉะนั้นควรระลึกไว้เสมอว่า ห้ามเก็บสารเคมีเหล่านี้ไว้ในขวดแก้ว หรือหากจำเป็นต้องเก็บสารละลายเบสอ่อนก็ไม่ควรเก็บไว้นานจนเกินไป

    PostCategoryIcon.png Posted in ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแก้ว (glass introduction) | PostCommentsIcon.png No Comments »

    แก้วอ่อน (the soft glasses)
    PostDateIcon.png December 17th, 2009 | PostAuthorIcon.png Author: admin
    glass_tube.gif

    แก้วอ่อน (the soft glasses)

    เรียกชื่อตามคุณสมบัติทางกายภาพของแก้วเลย กล่าวคือเนื้อแก้วมีความอ่อนตัวได้ง่ายเมื่อเทียบกับแก้วชนิดอื่น ในทางการค้าจะเห็นวัสดุที่ทำด้วยแก้วอ่อน เช่น แผ่นกระจก ขวดแก้ว เหยือกแก้ว และแก้วน้ำ โดยแก้วอ่อนนี้สามารถเปลี่ยนสีได้ง่ายเพื่อความสวยงาน เช่นแก้วที่บรรจุเครื่องดื่มโดยทั่วไปจะเป็นสีน้ำตาล หรือสีเขียว หรือในห้องปฏิบัติการก็ใช้เป็นขวดใส่สารรีเอเจนต์ใส หรือสีชา เป็นต้น

    แก้วอ่อนที่พบในห้องปฏิบัติการจะเป็นชนิดแก้วโซดาไลม์ (soda lime glass) ซึ่งโซดา(soda) หมายถึง โซเดียมออกไซด์ (Na2O) และ ไลม์ (lime) คือ แคลเซียมออกไซด์(CaO)หรือแมกนีเซียมออกไซด์(MgO) ส่วนแก้ว(glass) คือ มีส่วนประกอบของซิลิก้าSiO2 เป็นส่วนประกอบหลัก วัสดุที่ใช้ผลิตแก้วชนิดนี้จะมีราคาถูก เนื่องจากอุณหภูมิที่ใช้ในกระบวนการผลิตไม่สูงมากนัก อายุการใช้งานก็นาน(ยกเว้นทำตกแตก) นอกจากนั้นสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ผ่านกระบวนการรีไซเคิล(recycle) ได้ง่ายอีกด้วย

    ส่วนคุณภาพของแก้วชนิดนี้ขึ้นอยู่กับส่วนผสมทางเคมี โดยทั่วไปจะพบ CaO อยู่ในปริมาณ 8-12% และ Na2O 12-17% นอกนั้นเป็น SiO2 หากแก้วมีส่วนผสมของ CaO มาก ระหว่างกระบวนการผลิตโครงสร้างแก้วจะมีบางส่วนเกิดเป็นผลึก หากมีส่วนผสมของ CaO น้อย (Na2O มาก) จะทำให้แก้วดูดความชื้นได้ดีมีโอกาสที่แก้วจะทำปฏิกิริยากับน้ำได้(ละลายน้ำได้) ทำให้อายุการใช้งานสั้นลง

    สารละลายโซเดียมซิลิเกต (sodium silicate) หรือแก้วที่ละลายได้ในตัวทำละลายที่เป็นน้ำ (water glass) จะมีส่วนผสมของ Na2O ในปริมาณมากจึงละลายน้ำได้ ซึ่งแก้วจะอยู่ในรูปของเหลว (liquid glass) และสามารถทำให้อยู่ในรูปของแข็งได้โดยการระเหยเอาน้ำซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายออก ส่วนประกอบโดยประมาณของสารละลายโซเดียมซิเกต คือ SiO2 27% , NaOH 14% (หากไม่มีน้ำจะอยู่ในรูป Na2O) และน้ำ 59%

    ส่วนใหญ่แก้วที่พบในห้องปฏิบัติการจะเป็นชนิดแก้วอ่อน สังเกตได้ง่ายๆ โดยดูอักษรติดที่เครื่องแก้ว หากมีคำว่า Pyrex, Kimax หรือ Duran จะไม่ใช่แก้วอ่อน หากไม่มีก็จะอยู่ในประเภทแก้วอ่อน ชนิดแก้วโซดาไลม์ นักเรียนหรือนักศึกษาที่เรียนปฏิบัติการทางด้านเคมี จะพบว่ามีบทเรียนพื้นฐานเกี่ยวกับการเป่าแก้ว โดยการทำอุปกรณ์ง่ายๆ ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ เช่น หลอดหยด (dropper) หลอดนำก๊าซ หลอดทดลอง(test tube) แท่งแก้วคน (stirring rod) เป็นต้น โดยแก้วที่ใช้จะเป็นแก้วอ่อน สามารถงอ หรือยืดแก้วได้โดยใช้ความร้อนจากตะเกียงบุนเสน(Bunsen burner) บริษัทที่ผลิตหลอดแก้วขาย เช่น Wheaton หรือ Friendrich&Dimmock และSchott

    PostCategoryIcon.png Posted in ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแก้ว (glass introduction) | PostCommentsIcon.png No Comments »

    ชนิดแก้ว (glass type)
    PostDateIcon.png December 17th, 2009 | PostAuthorIcon.png Author: admin
    cuvette.gif

    ประเภทแก้วหรือชนิดแก้วที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ (Type of glasses used in the Lab)

    แก้ว(glass) มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เนื่องจากส่วนประกอบ หรือองค์ประกอบทางเคมีมีความแตกต่างกัน ทำได้โดยการเติมออกไซด์ของโลหะลงไปในแก้ว การผลิตแก้วในทางการค้ามีการแบ่งประเภทของแก้วได้ประมาณ 1000 ชนิด แต่แก้วที่ใช้ในห้องปฏิบัติการมี 3 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกันคือ แก้วอ่อน (the soft glasses) แก้วแข็ง (the hard glasses) และแก้วที่มีคุณสมบัติส่องผ่านแสงอุลตร้าไวโอเลต(UV-transmission glasses) และทนความร้อนสูง (High-temperature)

    คุณสมบัติของแก้วที่นักวิทยาศาสตร์สนใจคือ การขยายตัวได้ของแก้วที่อุณหภูมิสูง ค่าดัชนีหักเหของแสงเมื่อส่องผ่านแก้วและค่าความต้านทานไฟฟ้าของแก้ว ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงได้ที่อุณหภูมิต่างๆ ดังนั้นการออกแบบแก้วหรือผลิตแก้วให้ได้ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานจะต้องคำนึงถึงส่วนประกอบและอุณหภูมิในการใช้งาน เช่น แก้วที่ทำให้ร้อนจะมีความต้านทานไฟฟ้าลดลงหรือนำไฟฟ้าได้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันโครงสร้างแก้วจะขยายตัว ขนาเช่องว่างในโครงสร้างใหญ่ขึ้น ทำให้แสงหรืออะตอมอื่นๆ ทะลุผ่านได้ง่ายขึ้น หรือในกรณีที่เราเติมออกไซด์ของตะกั่ว (PbO2) ลงไปในแก้วซิลิเกต (silicate glass) จะได้แก้วที่มีความหนืดเพิ่มแต่การนำไฟฟ้าจะลดลง จะเห็นได้ว่าเราได้คุณสมบัติอย่างหนึ่งตามต้องการแต่จะเสียสมบัติอีกอย่างหนึ่งไปด้วย

    แก้ววิทยาศาสตร์ (science glasses)
    PostDateIcon.png December 12th, 2009 | PostAuthorIcon.png Author: admin
    แก้ววิทยาศาสตร์ (science glasses) โครงสร้างแก้ว (structure of glass) และสมบัติแก้ว (properties of glass)

    เมื่อนึกภาพถึงการทดลองทางวิทยาศาสตร์ คนส่วนมากจะนึกถึงนักวิทยาศาสตร์ผมยุ่ง ทำการทดลองวิทยาศาสตร์อะไรสักอย่างที่มีอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ(laboratory equipment) และเครื่องแก้วทางวิทยาศาสตร์(laboratory glassware)ใส่สารเคมีวางเรียงรายอยู่เต็มไปหมดและยังมีควันสีขาวลอยออกมาจากการทดลองนั้น เครื่องแก้วที่พบเห็นหรือที่สังเกตได้ คือ หลอดทดลอง(test tube) บีกเกอร์(beaker) ขวดก้นกลม(round bottom flask) เป็นต้น ซึ่งเครื่องแก้วจะไม่รวมอยู่ในกลุ่มของสารเคมี(chemicals) และกลุ่มของเครื่องมือ แต่จะแยกออกมาเป็นกลุ่มของเครื่องแก้วต่างหาก แน่นอนว่าเครื่องแก้วมีสำคัญอย่างมากในการทำปฏิบัติการเพราะมีความจำเป็น 3 ประการดังนี้

    1. แก้วมีความใส ทำให้สังเกตเห็นปฏิกิริยาภายในได้อย่างชัดเจน

    2. เป็นวัสดุที่มีความเสถียรมาก ไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีอื่นได้ง่าย

    3. ง่ายต่อการออกแบบเป็นรูปทรงต่างๆ เพื่อใช้สร้างอุปกรณ์ที่มีรูปร่างเหมาะสมกับการทดลอง นอกจากนี้ยังสามารถซ่อมแซมได้หากชำรุด

    สมบัติและโครงสร้างของแก้ว (structure and properties of glass)

    คำจำกัดความที่เป็นมาตรฐานของแก้วเมื่อปี ค.ศ. 1985 คือ “ของแข็งที่ไม่เป็นผลึก” (“noncrystalline solid”) ส่วน ASTM (Americal Society for Testing Material) ให้คำจำกัดความว่า “เป็นสารอนินทรีย์ที่เกิดจากการหลอมและเย็นตัวลงจนได้สถานะที่มีความคงตัวโดยไม่เกิดเป็นผลึก” แต่หลังจากปีค.ศ. 1985 มีการคิดค้นแก้วที่เกิดจากวัสดุที่เป็นสารอินทรีย์ และโลหะขึ้นมา ทำให้เกิดคำจำกัดความที่มีความถูกต้องมากกว่าคือ “ วัสดุใดๆ ที่มีการเย็นตัวลงเร็วเพียงพอที่ทำให้ไม่เกิดโครงสร้างที่เป็นผลึก”

    ทำไมแก้วจึงมีคุณสมบัติแตกต่างกัน พิจารณาได้จากโครงสร้างของผลึกควอทซ์ (quartz crytal) และแก้วควอทซ์(quartz glass) โดยการเปรียบเทียบโครงสร้างในระดับโมเลกุล

    glass-structure.gif

    ธาตุที่เป็นองค์ประกอบของผลึกควอทซ์ คือ ซิลิคอน (Si) และ ออกซิเจน (O) โดยมีสูตรเคมีเป็น SiO2 ไม่มีธาตุอื่นปนอยู่ ซึ่ง SiO2 จะเป็นส่วนประกอบหลักของแก้วทั่วๆไป โครงสร้างของผลึกควอทซ์จะมีการจัดเรียงเป็นรูปทรงแบบเตตระฮีดรอน(tetrahedral)ที่เกิดจากอะตอมออกซิเจน และมีอะตอมของซิลิคอนอยู่ในช่องว่างแบบเตตระฮีดรอน(tetrahedral hole) ซึ่งอะตอมออกซิเจน 2 อะตอมจะเชื่อมต่อกับออกซิเจนอะตอมอื่นในลักษณะ 3 มิติ (ดังภาพซ้าย) และมีความเป็นระเบียบของโครงสร้าง(เป็นผลึก)

    เมื่อเราหลอมผลึกควอทซ์ และทำให้เย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว การเชื่อมต่อแบบผลึกจะเปลี่ยนเป็นการเชื่อมต่อแบบไม่เป็นระเบียบ (ภาพด้านขวา) เรียกชื่อใหม่ว่า “fused quartz” “fused silica” หรือ “quartz glass” จะเห็นได้ว่าโครงสร้างมีการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้คุณสมบัติทางกายภาพเปลี่ยนไป นอกจากนั้นเรายังสามารถเติมสารเคมีอื่นๆ ลงไปเพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างและคุณสมบัติทางเคมี เช่นเติมโลหะสีมีสีลงไปเพื่อให้มีสีสันต่างๆ ตามความต้องการในการใช้งาน

    credit แก่ http://glasswarechemical.com/category/introduction-of-glass/
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    มนุษย์พบแก้วในธรรมชาติจากการที่ฟ้าผ่าลงในทรายตามชายหาดทะเลเมื่อมากกว่าหมื่นปีก่อน แต่บันทึกไว้หลายพันปีก่อนคริสศักราช โดยเฉพาะในประเทศจีนพบบันทึกเกี่ยวกับวิชาหลอมแก้วด้วยมนุษย์มานานกว่า 6,000 ปี แต่ประเทศจีนเป็นชนเผ่าที่หวงวิชาความรู้ มักจะเก็บไว้ให้ลูกชายคนโตของสกุลเท่านั้น วิชาจึงค่อย ๆ หายไปจากจีน เมื่อ 30 ปีก่อน ศิลปินสาวจีนไต้หวันท่านหนึ่งชื่อหยาง ฮุ้ย ซานได้ไปเรียนวิชาแก้วในยุโรปและอเมริกาเป็นเวลานานถึง 19 ปี แล้วนำความรู้วิชาแก้วกลับสู่ดินแดนมาตุภูมิคือจีนไต้หวัน และได้รับเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ ( นี่ถ้าไม่มีคนนำกลับมา คงสูญหายไปกับกาลเวลาและความหวงวิชาของคนจีนแล้ว )

    ยุคโรมันทหารชนะศึกแล้ว ย่างวัวกินกันบนชายหาดโดยใช้ฟืนกองใหญ่มาก เผาอยู่หลายวันหลายคืน หลังการฉลองได้พบใต้ทรายเป็นแก้ว นำขึ้นถวายกษัตริย์ ฝรั่งเมื่อพบวิชาแล้วเผยแพร่ สอนต่อ ต่อยอด ตรงไปตรงมา ปัจจุบันวิชาแก้วจึงแพร่หลายในยุโรปและต่อมาตลาดความรู้ในอเมริกาได้มีองค์กรหลายองค์กรนำความรู้วิชาแก้วมาสอนกัน เรียกว่า ตลาดวิชาแก้วโดยมี CMG คอนนิ่งมิวเซี่ยมออฟกล้าสเป็นแกนนำทางวิชาการ ทางด้านปฏิบัติของประเทศ นำประเทศอเมริกาให้เป็นผู้นำทางเทคโนโลยีเหนือยิ่งกว่าประเทศยุโรปผู้ค้นพบในยุคโรมัน

    แล้วไทยล่ะ จะยังผูกติดกับเรื่องลวงโลกต่อไป หรือจะรู้จักโตเสียที
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    เรื่องเหล็กไหลที่พระภิกษุรูปนั้น ลวงโลกครับ

    ผมพบแล้วในการค้นหาในกูเกิ้ล เป็นวัสดุชนิดหนึ่งครับ มีขายในเมืองนอก สั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ แต่ผมไม่บอกนะครับว่าคืออะไร เพราะจะได้ไม่ต้องให้พวกลวงโลก พวกมิจฉาชีพเอาไปสั่งมาหลอกลวงคนไทยกันต่อไป

    มองดูเป็นโลหะนะครับ คล้ายเหล็กไหลเงินยวง เหล็กไหลโกฏปี หรือเหล็กไหลอะไรก็แล้วแต่จะไปตั้งชื่อเอาเอง ถ้าคนธรรมดาหลอกลวงกัน ก็ขายเหล็กไหลนี้ไป คนถูกหลอกก็เสียเงินไปเท่านั้นเอง แต่พระภิกษุนี่สิครับ ทำไมถึงยอมปาราชิกล่ะครับ แย่จัง สึกเสียเถอะครับ

    m00.jpg
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    m01.jpg
    คำถามที่ว่า พอเอาเหล็กไหลมาบริกรรมในมือพระภิกษุ เหล็กไหลย้อยได้ ก็เขาเป็นธาตุชนิดหนึ่งครับ เขาทำปฏิกิริยากับอุณหภูมิที่ต่ำมาก ๆ ครับ แค่ 30 C เศษ ๆ เขาก็ย้อยแล้ว

    นี่ครับ คนไทยถูกหลอก เอาเงินไปสร้างโบสถ์สร้างวิหาร เอาไปบำรุงพระพุทธศาสนา บางคนโดนครั้งละเป็นล้านบาท บางคนโดนเป็นแสน แต่ที่สำคัญคือ มันเป็นการหลอกลวง เป็น 18 มงกุฏซึ่งผมเชื่อว่าพระภิกษุที่หลอกนี้ ไม่ได้เอาเงินไปทำบุญทำกุศลอย่างใด น่าจะแอบแฝงมาหาเงินส่งไปให้คนทางบ้านหรือเมียที่รออยู่ทางบ้านมากกว่าครับ
     
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    m02.jpg
    อีกรูปแบบหนึ่ง คือการบริกรรมคาถาแล้วเหล็กไหลหมื่นปีละลายคามือ ก็เพราะธาตุตัวนี้ทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิต่ำครับ เมื่ออยู่ในฝ่ามือ อุณหภูมิในฝ่ามือได้ที่ เขาก็ละลายครับ พอเป่าน้ำมนต์ลงไป อุณหภูมิก็ลดลง จึงกลับกลายแข็ง แล้วเขาก็เอาแยกออกไป เอาเหล็กไหลก้อนใหม่มาให้ดู มันคือ 18 มงกุฏครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...