วจีกรรมเป็นกรรมที่คนประมาทที่สุด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วงกรตน้ำ, 20 สิงหาคม 2017.

  1. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    811
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,433
    ถาม : ได้สนทนาธรรมกับเพื่อน เขาบอกว่าวจีกรรมนั้นเป็นกรรมที่ผู้คนประมาทกันที่สุด

    เพราะคนเรามักคิดว่ากรรมคือการกระทำ จึงไม่คิดว่าคำพูดจะเป็นกรรม และคน

    ส่วนมากมักจะคิดว่าดูนิสัยคนต้องดูที่การกระทำ ชอบนึกว่าคนปากร้ายมักใจดี

    ซึ่งขัดกับหลักพระธรรม คนปากร้ายชอบพูดบ่นด่ากระทบกระเทียบเสียดสี

    ก็เป็นอกุศลกรรมบถ ใจขณะนั้นเป็นอกุศล


    ตอบ :

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    gal00644369be20.jpg

    กรรม คือ การกระทำ ไม่ได้หมายเพียง การกระทำทางกาย เท่านั้น แต่หมายถึง การกระทำทางวาจา และ ใจด้วย เพราะ กรรมก็คือ เจตนาเจตสิกที่เกิดกับจิตที่เป็น กุศลจิต อกุศลจิต เป็นต้น ซึ่งเป็นผู้ละเอียดแล้ว ความประมาท คือ ขณะที่ไม่มีสติ ซึ่งสติ เป็นสภาพธรรมฝ่ายดีขณะที่ไม่มีสติ ที่ชื่อว่าความประมาท หมายถึง ขณะที่เป็นอกุศล ดังนั้น ขณะใดก็ตามที่เป็นอกุศลจิต ไม่ว่าจะมาก หรือ น้อย ชื่อว่าประมาทแล้วในขณะนั้น

    ดังนั้น ขณะใดที่เป็นเพียงอกุศลจิต ในใจ ชื่อว่าประมาทแล้ว แม้ไม่ได้แสดงออกทางกายวาจาเลย ดังนั้น กาย วาจาไม่ดี มีได้ ก็เพราะ อกุศลจิตที่เกิดขึ้นในจิตใจ เพราะฉะนั้น ความเป็นผู้ประมาทโดยมาก แม้ไม่พูด ไม่ทำ ก็เกิดจากใจที่ประมาท เพราะฉะนั้น ความประมาทโดยมากจึงเกิดทางใจเป็นสำคัญ

    ส่วนกรณี ปากร้ายใจดีนั้น หากเป็นการพูดในวจีทุจริต 4 คือ พูดเท็จ พูดหยาบพูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ จะกล่าว่าเกิดจากจิตที่ดีไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น จะต้องเกิดจากจิตที่เป็นอกุศลจิต แตกต่างกับการกล่าวด้วยความหวังดี แต่ ด้วยคำพูดที่ดูเหมือนดุ แต่เกิดจากจิตเมตตา ซึ่งจะเป็นด้วยจิตอะไร อย่างไรนั้น รู้ได้ด้วย สติและปัญญาที่เ่กิดระลึกรู้ในขณะที่พูด หรือ ทำในขณะนั้น

    ดังนั้น คนจะดู ดูที่การกระทำ ก็ต้องดูทั้งกาย วาจา และที่สำคัญ ใจของผู้นั้นเองที่จะรุ้ได้ ว่า เป็นกุศล หรือ อกุศล ขออนุโมทนา

    ขอบคุณ : www.dhammahome.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2017
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ถ้ามันยาวก็เอาสั้นๆ (นี่กรรมนัยหนึ่ง)

    กรรมนั้น เมื่อจำแนกตามคุณภาพ หรือตามธรรมที่เป็นมูลเหตุ แบ่งได้เป็น ๒ อย่างคือ * (องฺ.ติก.20/445/131,551/338 ฯลฯ)

    ๑. อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล การกระทำที่ไม่ดี กรรมชั่ว หมายถึง การกระทำที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ หรือโมหะ

    ๒. กุศลกรรม กรรมที่เป็นกุศล การกระทำที่ดี หรือกรรมดี หมายถึง การกระทำที่เกิดจากกุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ หรืออโมหะ


    แต่ถ้าจำแนกตามทวาร คือทางที่ทำกรรม หรือทางแสดงออกของกรรม จัดเป็น ๓ คือ* (ม.ม.13/64/59 ฯลฯ)

    ๑. กายกรรม กรรมทำด้วยกาย หรือการกระทำทางกาย

    ๒. วจีกรรม กรรมทำด้วยวาจา หรือการกระทำทางวาจา

    ๓. มโนกรรม กรรมทำด้วยใจ หรือการกระทำทางใจ
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ลึกลงไป

    เจตนา ความตั้งใจ, ความมุ่งใจหมายจะทำ, เจตจำนง, ความจำนง, ความจงใจ, เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง เป็นตัวนำในการคิดปรุงแต่งหรือเป็นตัวการในการทำกรรม หรือกล่าวได้ว่าเป็นตัวกรรมทีเดียว ดังพุทธพจน์ว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ" แปลว่า "เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม"
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เมื่อจำแนกให้ครบตามหลักสองข้อที่กล่าวมาแล้ว ก็จะมีกรรมรวมทั้งหมด ๖ อย่าง คือ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม แต่ละอย่างที่เป็นอกุศล กับ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม แต่ละอย่างที่เป็นกุศล * (องฺ.ติก.20/445/131; 586/376)


    อีกอย่างหนึ่ง ท่านจำแนกกรรม ตามสภาพที่สัมพันธ์ กับ วิบาก หรือการให้ผล จัดเป็น ๔ อย่าง คือ (ที.ปา.11/256/242 ฯลฯ)

    ๑. กรรมดำ มีวิบากดำ ได้แก่ กายสังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร ที่มีการเบียดเบียน ตัวอย่างง่ายๆ เช่น ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และติดสุราเมรัยตั้งอยู่ในความประมาท

    ๒. กรรมขาว มีวิบากขาว ได้แก่ กายสังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร ที่ไม่มีการเบียดเบียน ตัวอย่าง คือ การประพฤติตามกุศลกรรมบถ ๑๐

    ๓. กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ได้แก่ กายสังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร ที่มีการเบียดเบียนบ้าง ไม่มีการเบียดเบียนบ้าง เช่น การกระทำของมนุษย์ทั่วๆไป

    ๔. กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ได้แก่ เจตนาเพื่อละกรรมทั้งสามอย่างข้างต้น หรือว่าโดยองค์ธรรม ได้แก่ โพชฌงค์ ๗ หรือมรรคมีองค์ ๘
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ในบรรดากรรม ๓ อย่าง คือ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น มโนกรรมสำคัญที่สุด และมีผลกว้างขวางรุนแรงที่สุด ดังบาลีว่า

    ดูกรตปัสสี บรรดากรรม ๓ อย่างเหล่านี้ ที่เราจำแนกไว้แล้วอย่างนี้ แสดงความแตกต่างกันแล้วอย่างนี้ เราบัญญัติมโนกรรมว่ามีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในความเป็นไปแห่งบาปกรรม หาบัญญัติกายกรรมอย่างนั้นไม่ หาบัญญัติวจีกรรมอย่างนั้นไม่(ม.ม.๑๓/๖๔/๕๖)


    เหตุที่มโนกรรมสำคัญที่สุด ก็เพราะเป็นจุดเริ่มต้น คนคิดก่อนแล้วจึงพูดจึงกระทำ คือ แสดงออกทางกายและวาจา ดังนั้น วจีกรรมและกายกรรม จึงขยายออกมาจากมโนกรรมนั่นเอง และที่ว่ามีผลกว้างรุนแรงที่สุด ก็เพราะว่ามโนกรรมรวมถึง ความเชื่อถือ ความเห็น แนวคิด และค่านิยมต่างๆ ที่เรียกว่าทิฏฐิ

    ทิฏฐินี้เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทั่วๆไปของบุคคล ความเป็นไปในชีวิตของบุคคล และคติของสังคมทั้งหมด เมื่อเชื่อ เมื่อเห็นหรือนิยมอย่างไร ก็คิดการ พูดจา สั่งสอน ชักชวนกัน และทำการต่างๆไปตามที่เชื่อที่เห็นที่นิยมอย่างนั้น

    ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ การดำริ การพูดจา และทำการ ก็ดำเนินไปในทางผิด เป็นมิจฉาไปด้วย

    ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิ การดำริ การพูดจา และทำการต่างๆ ก็ดำเนินไปในทางถูกต้อง เป็นสัมมาไปด้วย * (องฺ.ทสก.24/194-5/318-320) เช่น คนและสังคม ที่เห็นว่า ความพรั่งพร้อมทางวัตถุมีค่าสูงสุด เป็นจุดหมายที่พึงใฝ่ ประสงค์ ก็จะเพียรพยายามแสวงหาวัตถุให้พรั่งพร้อม และถือเอาความพรั่ง พร้อมด้วยวัตถุนั้น เป็นมาตรฐานวัดความเจริญรุ่งเรืองเกี่ยวกับเกียรติยศ และศักดิ์ศรี เป็นต้น วิถีชีวิตของคนและแนวทางของสังคมนั้น ก็จะ เป็นไปในรูปแบบหนึ่ง
    ส่วนคนและสังคม ที่ถือความสงบสุขทางจิตใจเป็นที่หมาย ก็จะมีวิถีชีวิตและความเป็นไปอีกแบบหนึ่ง
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ซอยให้พอดีๆ คงไม่ยาวนะขอรับ :D
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เมื่อเห็นศัพท์นี้ "กรรม" ที่ไหน ให้ดูบริบทด้วย ว่าเขาหมายถึงอะไร เพราะคำว่า กรรม แปลว่า การงาน อาชีพที่ทำ ก็ได้ ตย.


    มองในแง่กิจกรรมของหมู่มนุษย์ ได้แก่ กรรม ในความหมายของการประกอบอาชีพการงาน การดำเนินชีวิต และการดำเนินกิจการต่างๆ ของมนุษย์ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากเจตจำนง การคิดปรุงแต่งสร้างสรรค์ ซึ่งทำให้เกิดความเป็นไปในสังคมมนุษย์ อย่างที่เป็นที่เห็นกันอยู่ เช่น พุทธพจน์ในวาเสฏฐสูตรว่า

    "ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยโครักขกรรมเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นชาวนา มิใช่พราหมณ์...

    ผู้ใดเลี้ยงชีพด้วยศิลปะต่างๆ ผู้นั้นเป็นศิลปิน...

    ผู้ใดอาศัยการค้าขายเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นพ่อค้า...

    ผู้ใดเลี้ยงชีพด้วยการรับใช้ผู้อื่น ผู้นั้นเป็นคนรับใช้...

    ผู้ ใดอาศัยการลักทรัพย์เลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นโจร...

    ผู้ใดอาศัยศรและศัสตราเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นทหารอาชีพ...

    ผู้ใดเลี้ยงชีพด้วยหน้าที่ปุโรหิต ผู้นั้นเป็นเจ้าหน้าที่การบูชา หาใช่พราหมณ์ไม่...

    ผู้ใดปกครองบ้านเมือง ผู้นั้นเป็นราชา หาใช่พราหมณ์ไม่...ฯลฯ

    เราเรียกคนไม่มีกิเลสค้างใจ ไม่มีความถือมั่น ว่าเป็นพราหมณ์...

    "คนมิใช่เป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิด แต่เป็นพราหมณ์เพราะกรรม ไม่เป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม

    เป็นชาวนาก็เพราะกรรม (การงาน อาชีพ ความประพฤติ การดำเนินชีวิต)

    เป็นศิลปิน เป็นพ่อค้า เป็นคนรับใช้ เป็นโจร เป็นทหาร เป็นปุโรหิต และแม้แต่เป็นราชา ก็เพราะกรรม
    บัณฑิตทั้งหลาย ผู้เห็นปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในกรรมและวิบาก ย่อมมองกรรมตามเป็นจริงอย่างนี้ โลกย่อมเป็นไปเพราะกรรม หมู่ประชาย่อมเป็นไปเพราะกรรม..." (ม.ม.13.707/643-9 ขุ.สุ.25//382/451-8)
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ธรรมะจัดสรร หูทิพย์ ตาทิพย์ นี่ก็กรรม :D

    "ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้ เป็นเหตุให้เดือดร้อน สองประการ คืออะไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มิได้ทำความดีงามไว้ มิได้ทำกุศล มิได้ทำบุญ ซึ่งเป็นเครื่องต่อต้านความขลาดกลัวไว้ ทำแต่บาป ทำแต่กรรมหยาบช้า ทำแต่กรรมร้ายกาจ เขาย่อมเดือดร้อนว่า เราไม่ได้ทำกรรมดีงาม ดังนี้บ้าง ว่าเราได้ทำบาปไว้ ดังนี้บ้าง " * (ขุ.อิติ.25/208-9/248-9)

    น่าสังเกตว่า เท่าที่สอนกันอยู่บัดนี้โดยมาก นอกจากเน้นกรรมในความหมายนี้แล้ว ยังมักเน้นแต่แง่อดีตชาติอีกด้วย
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ตัดมาจากหัวข้อใหญ่ยาวแล้ว ถึงกระนั้น ก็ยังอาจยาวอยู่ ที่น่าสนใจ คือ ชาวพุทธบ้านเรานำมาพูดให้ได้ยินบ่อยๆ

    ผลกรรมตามนัยแห่งจูฬกรรมวิภังคสูตร


    เมื่อทำความเข้าใจกันอย่างนี้แล้ว ก็ขอนำพุทธพจน์แห่งสำคัญ ที่กล่าวถึงผลกรรมซึ่งสืบเนื่องจากปัจจุบัน ไปถึงภพหน้า ตามที่ปรากฏในจูฬกัมมวิภังคสูตร* (ม.อุ.14/579-597/376-385) (เรียกอีกอย่างว่า สุภสูตร) มาแสดงไว้ สรุปใจความได้ดังนี้

    “ดูกรมานพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นที่กำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลาย ให้ทรามและประณีต”

    ๑. ก. สตรีหรือบุรุษ มักทำปาณาติบาต เป็นคนเหี้ยมโหด หมกมุ่นอยู่ในการประหัตประหาร ไร้เมตตาการุณย์ ด้วยกรรมนั้น ซึ่งถือปฏิบัติพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือมิฉะนั้น หากมาสู่ความเป็นมนุษย์ จะเกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง ก็จะเป็นคนมีอายุสั้น

    ข. สตรีหรือบุรุษ ผู้ละเว้นปาณาติบาต มีเมตตาการุณย์ มักเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ด้วยกรรมนั้น ซึ่งถือปฏิบัติพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ หรือมิฉะนั้น หากมาสู่ความเป็นมนุษย์ จะเกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง ก็จะเป็นคนมีอายุยืน


    ๒. ก. สตรี หรือบุรุษ ผู้มีนิสัยชอบเบียดเบียนทำร้ายสัตว์ทั้งหลาย ด้วยมือไม้ศัสตรา ด้วยกรรมนั้น ซึ่งถือปฏิบัติพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือมิฉะนั้น หากมาสู่ความเป็นมนุษย์ จะเกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง ก็จะเป็นคนมีโรคมาก (ขี้โรค)

    ข. สตรีหรือบุรุษ ผู้ไม่มีนิสัยชอบเบียดเบียนทำร้ายสัตว์ทั้งหลาย ด้วยกรรมนั้น ซึ่งถือปฏิบัติพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ หรือมิฉะนั้น หากมาสู่ความเป็นมนุษย์ จะเกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง ก็จะเป็นคนมีโรคน้อย (มีสุขภาพดี)


    ๓. ก. สตรี หรือบุรุษ ผู้เป็นคนมักโกรธ เคียดแค้นง่าย ใครว่ากล่าวนิดหน่อย ก็ขัดใจพลุ่งพล่าน พยาบาท แสดงความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ด้วยกรรมนั้น ซึ่งถือปฏิบัติพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือมิฉะนั้น หากมาสู่ความเป็นมนุษย์ จะเกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง ก็จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม (ไม่สวยไม่งาม)

    ข. สตรีหรือบุรุษ ผู้ไม่มักโกรธ ด้วยกรรมนั้น ซึ่งถือปฏิบัติพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ หรือมิฉะนั้น หากมาสู่ความเป็นมนุษย์ จะเกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง ก็จะเป็นคนน่าเลื่อมใส (มีรูปร่างท่าทางชวนใจนิยม)

    ๔. ก. สตรี หรือบุรุษ ผู้มีใจริษยาคนอื่น ได้ลาภได้รับความเคารพนับถือกราบไหว้บูชา ก็ไม่สบายใจ ทนไม่ได้ ด้วยกรรมนั้น ซึ่งถือปฏิบัติพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือมิฉะนั้น หากมาสู่ความเป็นมนุษย์ จะเกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง ก็จะเป็นคนมีศักดาน้อย (ต่ำต้อยด้อยอำนาจ)

    ข. สตรีหรือบุรุษ ผู้ไม่มีใจริษยา ด้วยกรรมนั้น ซึ่งถือปฏิบัติพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ หรือมิฉะนั้น หากมาสู่ความเป็นมนุษย์ จะเกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง ก็จะเป็นคนมีศักดามาก (มีเดชมีอำนาจมาก)

    ๕. ก. สตรีหรือ บุรุษ ผู้ไม่บำเพ็ญทาน ไม่ให้ปันข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม เป็นต้น ด้วยกรรมนั้น ซึ่งถือปฏิบัติพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือมิฉะนั้น หากมาสู่ความเป็นมนุษย์ จะเกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง ก็จะเป็นคนมีโภคะน้อย

    ข. สตรี หรือ บุรุษ ผู้บำเพ็ญทาน ให้ปันข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม เป็นต้น ด้วยกรรมนั้น ซึ่งถือปฏิบัติพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ หรือมิฉะนั้น หากมาสู่ความเป็นมนุษย์ จะเกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง ก็จะเป็นคนมีโภคะมาก

    ๖. ก. สตรี หรือ บุรุษ ผู้เป็นคนแข็งกระด้าง เย่อหยิ่ง ชอบดูถูกคน ไม่เคารพนับถือ กราบไหว้ แสดงความเอื้อเฟื้อ แก่ผู้ที่สมควรได้รับการปฏิบัติเช่นนั้น ด้วยกรรมนั้น ซึ่งถือปฏิบัติพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือมิฉะนั้น หากมาสู่ความเป็นมนุษย์ จะเกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง ก็จะเป็นคนมีตระกูลต่ำ

    ข. สตรี หรือ บุรุษ ผู้ไม่เป็นคนแข็งกระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง แสดงความเคารพนับถือ กราบไหว้ เอื้อเฟื้อ แก่ผู้ที่สมควรได้รับการปฏิบัติเช่นนั้น ด้วยกรรมนั้น ซึ่งถือปฏิบัติพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ หรือมิฉะนั้น หากมาสู่ความเป็นมนุษย์ จะเกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง ก็จะเป็นคนมีตระกูลสูง

    ๗. ก. สตรี หรือ บุรุษ ผู้ไม่เข้าหาไม่สอบถามสมณะหรือพราหมณ์ ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรมีโทษ ไม่มีโทษ อะไรควรปฏิบัติ ไม่ควรปฏิบัติ อะไรเมื่อทำ จะเป็นไปเพื่อโทษทุกข์ อะไรเมื่อทำ จะเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขชั่วกาลนาน ด้วยกรรมนั้น ซึ่งถือปฏิบัติพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือมิฉะนั้น หากมาสู่ความเป็นมนุษย์ จะเกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง ก็จะเป็นคนทรามปัญญา

    ข. สตรี หรือ บุรุษ ผู้รู้จักเข้าหาสอบถามสมณะหรือพราหมณ์ ว่าอะไรดี อะไรชั่ว เป็นต้น ด้วยกรรมนั้น ซึ่งถือปฏิบัติพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ หรือมิฉะนั้น หากมาสู่ความเป็นมนุษย์ จะเกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง ก็จะเป็นคนมีปัญญามาก



    จะเห็นได้ว่า ในสูตรนี้ แม้จะกล่าวถึงผลที่จะประสบในชีวิตข้างหน้า แต่ก็เน้นที่การกระทำในปัจจุบัน โดยเฉพาะการกระทำที่มีลักษณะเป็นความประพฤติปฏิบัติอย่างประจำ

    เป็นส่วนแห่งการดำเนินชีวิต ชนิดที่จะสร้างสมคุณภาพของจิตใจ ปรุงแต่งลักษณะนิสัยและบุคลิกภาพได้ และเป็นเหตุปัจจัยโดยตรงแก่ผลจำเพาะแต่ละอย่าง


    ไม่ใช่เป็นอานิสงส์เฟ้อชนิดที่ว่า ทำกรรมดีอะไรครั้งเดียว เช่น ให้ทานครั้งหนึ่งก็มีผลมากมาย ไม่มีขอบเขต จะหวังเป็นอะไร ปรารถนาได้อะไร ก็ได้ก็เป็นอย่างนั้นหมด ซึ่งถ้าเน้นกันนัก ก็จะทำให้คนมุ่งแต่จะทำบุญกรรม แบบฝากเงินในธนาคารเฉยไว้ไปรอรับผลดอกเบี้ย หรือแบบคนเล่นลอตเตอรี่ที่ลงทุนทีหนึ่งหวังผลกำไรมหาศาลแล้วเลยไม่ใส่ใจกรรมดีชนิดที่เป็นความประพฤติปฏิบัติทั่วไป และการดำเนินชีวิตดีงามประจำวันอย่างที่ตรัสไว้ในสูตรนี้*


    รวมความว่า สาระของจูฬกรรมวิภังคสูตรนี้ ก็ยังคงยืนหลักการสำคัญที่ว่า การนึกถึงผลกรรมที่จะได้ประสบในชีวิตภพหน้า พึงเป็นไปในลักษณะของความมั่นใจที่อาศัยกรรม คือ คุณภาพจิตใจ และ คุณภาพแห่งความประพฤติ ที่ตนมีอยู่ในปัจจุบันนี้เอง และการได้รับผลห่างไกลเบื้องหน้านั้น มีลักษณะที่สืบทอดต่อเนื่องออกไปอย่างมีความสัมพันธ์กันได้ตามแนวทางแห่งเหตุปัจจัย


    หลักสำหรับวินิจฉัยในเรื่องนี้ อาจพูดอย่างสั้นๆได้แนวหนึ่งว่า ความเชื่อที่ถูกต้องเกี่ยวกับผลกรรมในชาติหน้า จะต้องเป็นความเชื่อที่มีลักษณะช่วยเสริมธรรมฉันทะให้เข้มแข็งแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

    หากความเชื่อเกี่ยวกับผลกรรมในชาติหน้าอย่างใด ไม่ช่วยเสริมธรรมฉันทะ แต่กลับเป็นไปในทางส่งเสริมโลภะ หรือตัณหาถ่ายเดียว ก็พึงเข้าใจว่า ความเชื่ออย่างนั้น เป็นความเชื่อที่คลาดเคลื่อน และควรได้รับการแก้ไข

    ..................
    อ้างอิงที่ *

    * เนื้อหาของสูตรนี้ เป็นการตอบปัญหาของสุภมาณพ ซึ่งเป็นคนวรรณะพราหมณ์


    การที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบแก่สุภมาณพอย่างนี้ มองในแง่สัมพันธ์กับศาสนาพราหมณ์ มีข้อสังเกตอย่างน้อย ๒ ประการ คือ ประการแรก เป็นการแย้งต่อคำสอนของพราหมณ์ที่ว่า พรหมเป็นผู้สร้าง ผู้บันดาลชีวิตมนุษย์และทุกสิ่งทุกอย่าง โดยให้มองอย่างใหม่ว่า การกระทำของคนนั่นเอง เป็นเครื่องสร้างสรรค์ปรุงแต่งชีวิตของมนุษย์
    ประการที่สอง ตามพิธีกรรมของพราหมณ์ เช่น การบูชายัญ ผู้ประกอบพิธีและถวายทักษิณาแก่พราหมณ์ จะได้รับผลานิสงส์มากมายมหาศาลชนิดที่จะมองไม่เห็นความสัมพันธ์โดยทางเหตุปัจจัยกับสิ่งที่กระทำนั้นเลย การตรัสผลของกรรม ตามแนวแห่งสูตรนี้ เป็นการสร้างความเข้าใจอย่างใหม่ในแง่นั้นด้วย
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    คคห. จขกท. ลิงค์ที่เคยให้ดูบ่อยครั้งนั่นแหละ แต่นี่ตัดเอาบางส่วนมา

    ขอบคุณมากสำหรับทุกๆ ความเห็นค่ะ

    แต่ว่า ถ้าการฝึกสมาธิมันเสี่ยงกับการเป็นบ้า ทำไมเราถึงสนับสนุนคนให้ฝึกกันละคะ เพราะก็ไม่มีใครรู้หรอกว่าตัวเองมีเชื้อบ้าอยู่ในตัวไหม น่าจะสนับสนุนให้ศึกษาธรรมมะให้เข้าใจก็พอแล้ว คนที่เข้าใจธรรมมะจากการศึกษาก็พ้นทุกข์ได้ ไม่เห็นต้องมาเสี่ยงปฏิบัติ

    ดิฉันไม่รู้ว่าตัวเองมีเชื้อมากก่อนไหม แต่รู้ว่าตัวเองสุขภาพจิตดีก่อนเกิดเหตุ
    แต่เคยได้ยินว่าฝึกแล้วอาจจะบ้าได้
    แต่เสียดายไม่เคยคิดเลยว่ามันใกล้ตัวไป ก็ไม่ได้เคร่งเครียดอะไรในการฝึก
    ทำไปตามปกติสบายสบาย จนมันผิดปกติถึงได้พยายามแก้ไขเอง นี่เองจุดหักเข้าสู้ความตาย
    พอเห็นอาการทางกายหายไป แล้วดิฉันเริ่มหลง เพราะเห็นพระที่ดิฉันนับถือที่สุดในชีวิตเอาพระองค์เล็กๆใส่มาในตัวเรา
    ต่อจากนั้นก็รู้สึกไปว่าติดต่อทางจิตกับท่านตลอดเวลา
    ... เจอมุขนี้ มือใหม่จะรับมือไหวได้ยังไง

    หมอยังทำให้เบาใจได้ระดับนึงคือเขาคิดว่ามันเป็น Bipolar มากกว่า schizophrenia
    (ข้อแตกต่างของสองอันคือ schizophrenia จะไม่มีทางหาย แต่ bipolar หายได้)
     

แชร์หน้านี้

Loading...