วันนี้คุณ “นิพพาน” แล้วหรือยัง:โดย ว.วชิรเมธี

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย aprin, 4 สิงหาคม 2011.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    [​IMG]

    เป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาก็คือ “พระนิพพาน” ทั้งนี้ กล่าวตามพระพุทธวัจนะที่ตรัสว่า “นิพพานัง ปรมัง วทันติ พุทธา” (พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็นธรรมอันสูงสุด) ลักษณะของพระนิพพานก็คือ ภาวะที่ปลอดจากราคะ (ราคักขโย) ปลอดจากโทสะ (โทสักขโย) ปลอดจากโมหะ (โมหักขโย) อย่างสิ้นเชิง กล่าวอย่างง่ายๆ ภาวะที่สิ้นกิเลสนั่นแหละ คือ พระนิพพาน และพระนิพพานนี้นับเป็นวิวัฒนาการสูงสุดแห่งความเป็นมนุษย์ ตามคติของพุทธศาสนา

    เมื่อกล่าวถึงหลักการที่แท้ของพระพุทธศาสนา มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะบรรลุนิพพานได้ในชีวิตนี้ แต่ตามความเชื่อที่เราคนไทยถือสืบต่อกันมา เรากลับเชื่อกันว่า การบรรลุพระนิพพานนั้นเป็นภาวะไกลสุดเอื้อม เป็นจุดหมายปลายทางสุดท้ายที่กว่าคนธรรมดาจะเอื้อมถึงต้องบ่มบำเพ็ญบารมีกันนับแสนล้านชาติภพ และชาติสุดท้ายอันเป็นที่ปรากฏของพระนิพพานจะมาถึงเมื่อไรก็ไม่มีหลักประกันใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อเชื่อกันอย่างนี้ พระนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของชาวพุทธ ก็ดูท่าว่าจะกลายเป็นเป้าหมายที่กลายเป็นหมันสำหรับคนธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ ที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนาในชีวิตนี้

    การเป็นชาวพุทธที่ไม่รู้ว่าจะบรรลุถึงพระนิพพานได้เมื่อไร ช่างเป็นเรื่องน่าสิ้นหวัง คงน่าสิ้นหวังพอๆ กับกัปตันสักคนหนึ่งซึ่งนำเรือออกจากท่า แล้วไม่รู้ว่าท่าที่มุ่งไปนั้นจะต้องใช้เวลากันนานแค่ไหนจึงจะบรรลุถึง

    คนไทยจะเข้าใจเรื่องพระนิพพานคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงกันมาอย่างนี้แต่เมื่อไรไม่ทราบได้ แต่ทราบอยู่อย่างหนึ่งว่า มีนักปราชญ์ไทยมากมายหลายท่านพยายามแก้ไขความเข้าใจเช่นนี้เสียใหม่ ปราชญ์เหล่านั้นก็เช่น หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่ชา หลวงตามหาบัว หลวงปู่ดูลย์ หลวงพ่อเทียน เป็นต้น พ่อแม่ครูอาจารย์เหล่านี้ได้ใช้ชีวิตของท่านพิสูจน์ให้ดูว่า นิพพานเป็นสิ่งที่บรรลุถึงได้ในชาตินี้ โดยเฉพาะหลวงตามหาบัวนั้นถึงกับประกาศให้ศิษยานุศิษย์ทราบกันตรงๆ เพื่อเกื้อกูลแก่การปฏิบัติว่า “ดูเอานี่ พระอรหันต์นั่งอยู่นี่โต้งๆ แล้ว...” อย่างนี้เป็นต้น วัตรปฏิบัติ ปฏิปทา คำสอน ตลอดถึงวิถีชีวิตของครูบาอาจารย์ชั้นนำเหล่านี้ คือประจักษ์พยานที่ยืนยันว่า การบรรลุนิพพานในชีวิตนี้ไม่ใช่เรื่องเหนือวิสัย หากแต่เป็นไปได้จริงในชีวิตนี้

    นอกจากนั้นแล้ว ก็ยังมีนักปราชญ์ในสายวิชาการและสายปฏิบัติร่วมสมัยอีกอย่างน้อยสองท่าน คือ ท่านพุทธทาสภิกขุ และพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ที่เพียรใช้เวลาทั้งชีวิตของท่านในการปรับเปลี่ยนความเชื่อ ความเข้าใจของคนไทยเสียใหม่ว่า นิพพานอันเป็นอุดมคติสูงสุดของพุทธศาสนานั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปได้จริงในชีวิตนี้ ท่านพุทธทาสภิกขุเอง ถึงกับเทศน์ เขียน ย้ำ พร่ำสอน ถึงเรื่องนี้เอาไว้อย่างมากมายมหาศาล ย้ำแล้วย้ำอีก เทศน์แล้วเทศน์อีกว่า เราทุกคนมีสิทธิ์บรรลุพระนิพพาน ไม่แต่เพียงเท่านั้น ท่านยังหาวิธีให้คนไม่กลัวนิพพานและรู้จักนิพพานในระดับที่ “เป็นไปได้” สำหรับทุกคนอีกด้วย

    วิธีการสร้างสัมมาทิฏฐิในเรื่องนิพพานว่าเป็นเป้าหมายที่เป็นไปได้ในชีวิตของท่านพุทธทาสประการหนึ่งก็คือ การนำเสนอ “นิพพานชิมลอง” ว่าเป็นสิ่งที่เราทุกคนล้วนฝึกให้มี ให้เป็น ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอในชีวิตประจำวันได้ โดยท่านเสนอเป็นหลักการง่ายๆ ให้ใครๆ ก็สามารถปฏิบัติตามได้ว่า

    “จงปรับปรุงจิตใจให้ดีอยู่เสมอ อย่าให้กิเลสเกิดขึ้นมา ก็จะพบความเย็นที่นี่และเดี๋ยวนี้, ทำสมาธิให้ถูกต้อง กิเลสเกิดไม่ได้ ก็เย็นๆ หายใจเข้าก็เย็น หายใจออกก็เย็น, หายใจเข้าก็เย็น หายใจออกก็เย็น, อยู่กับพระนิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้...”

    คำว่า “นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้” กลายเป็นคำติดปากที่ท่านพุทธทาสเทศน์ สอน เขียน ย้ำแล้วย้ำอีกอยู่บ่อยๆ ตั้งแต่ช่วงต้นแห่งชีวิต (ดังที่ท่านได้เขียนหนังสือ ตามรอยพระอรหันต์ เพื่อยืนยันถึงความเชื่อนี้) ช่วงกลาง และช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตของท่าน และท่านก็ได้ใช้ชีวิตให้ดูตามที่ท่านเชื่อนั้นตั้งแต่ต้นจนมรณภาพจากไปอย่างสงบ

    แม้ “นิพพานชิมลอง” ยังไม่ใช่นิพพานในความหมายที่แท้ แต่การเริ่มต้นเปลี่ยนฐานคิดให้ถูกต้องก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวดต่อการแก้ไขความเข้าใจผิดที่สั่งสมกันมานาน ให้กลับมาสู่ฐานทางปัญญาที่ถูกต้องสำหรับคนรุ่นต่อไป

    สำหรับหนังสือ “นิพพานระหว่างวัน” เกิดขึ้นบนฐานความคิด บนฐานความรู้ บนฐานความเชื่อ และบนฐานของประสบการณ์ที่ว่า “นิพพานในชีวิตนี้ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้สำหรับเราทุกคน” เพียงต้องเริ่มตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ตอนนี้

    อาตมาเชื่อว่าเราฝึกนิพพานระหว่างวันได้ โดยไม่ต้องห่วงเรื่องมิติเวลาหรือสถานที่ เพราะเราฝึกที่ตัวเรา ไม่ต้องไปที่วัด ไม่ต้องเข้าคอร์สวิปัสสนา เราทำได้ทุกวันทุกเวลา ด้วยการตามสังเกตทุกเรื่องที่คิด ทุกกิจที่ทำ ทุกคำที่พูด ทุกครั้งที่เคลื่อนไหว

    แต่มีข้อแม้ว่าต้องไม่ตั้งใจเกินไปจนเกร็ง ให้คำนึงถึงคำว่า “อินทรีย สมตา” แปลว่า คำนึงถึงความสมดุลของอินทรีย์ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ต้องอยู่ในภาวะสมดุล การไม่ปล่อยเกินไปและไม่เพ่งเกินไป สังเกตเฉยๆ อย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่คาดหวังว่ามันจะต้องเกิดผลอย่างนั้นอย่างนี้ นี่คือมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลางสำหรับนักปฏิบัติ

    ที่สุดนี้ อาตมาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การฝึกที่จะมี “นิพพานระหว่างวัน” ด้วยการเพียรนำพาตัวเองกลับมา “เจริญสติ” จนตื่นรู้อยู่กับปัจจุบันขณะอยู่เสมอๆในชีวิตประจำวัน จนก่อเกิดเป็นความสดชื่นรื่นเย็นในชีวิตตามสมควร ซึ่งสมมติเรียกขานวิธีการดังกล่าวว่า “นิพพานระหว่างวัน” นั้น คงจะอำนวยประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติตามโดยทั่วหน้ากันตามสมควร

    http://www.komchadluek.net/detail/20110803/104729/วันนี้คุณ“นิพพาน”แล้วหรือยัง:โดยว.วชิรเมธี.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2011
  2. คิดดีจัง

    คิดดีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,626
    ค่าพลัง:
    +5,353
    อนุโมทนาครับ

    ผมพึงไปซื้อหนังสือ นิพพานระหว่างวันมาอ่านเองครับ

    แต่ยังอ่านไม่จบเลยครับ ...
     
  3. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    ขอบคุณค่ะ ฟังแล้วใจเบาสบายขึ้นเยอะ

    ทำให้นึกได้ว่าซื้อหนังสือ "นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้" มาไว้เหมือนกัน
    เล่มบางๆ 30 บาท ของท่านพุทธทาส
    เจอที่มุมหนังสือในร้านสะดวกซื้อ ปั้มน้ำมันแห่งหนึ่ง
    ยังไม่ได้อ่านเลย ต้องไปอ่านซะแล้ว
     
  4. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,359
    ค่าพลัง:
    +6,493
    "นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้" ใครหนอ? เคยสอนเราไว้ คุ้นๆ ขออนุโมทนา
     
  5. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้ แต่ก็ไม่ใช่สมุจเฉทิพพาน
    ใช่ครับ ทุกคนมีสิทธิที่จะถึงนิพพานได้ในชาตินี้
    แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะถึง แม้ปฏิบัติจริงๆ(อย่างถูกทาง)
    เพราะผู้ที่ปฏิสนธิด้วยจิตที่มีกุศลเหตุไม่ครบสาม คือ อโลภะ อโทสะ โดยเฉพาะอโมหะ
    ก็ไม่สามารถที่จะบรรลุมรรคผลได้ในชาตินั้นๆครับ
     
  6. phak

    phak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    473
    ค่าพลัง:
    +458
    Anumo...tana..satu..naka/
     
  7. tuta868248

    tuta868248 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +1,117
    โมทนาสาธุเจ้าคะ ก็พบนิพพานทุกวัน ปฏิบัติธรรมทำวัตรสวดมนต์ไหว้พระเจริญภาวนาทุกวัน เดินจงกรมนั่งสมาธิ จิตสงบเหมือนเราหลับแต่ไม่หลับ มีสติ จนติดสุขคะ คลายจากสมาธิมันอิ่มเอิบ สดชื่นคะ บุญรักษาคะ
     
  8. paya_po@yahoo.com

    paya_po@yahoo.com เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +227
    การเข้าถึงนิพพาน

    :'(
    [​IMG]


    เป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาก็คือ “พระนิพพาน” ทั้งนี้ กล่าวตามพระพุทธวัจนะที่ตรัสว่า “นิพพานัง ปรมัง วทันติ พุทธา” (พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็นธรรมอันสูงสุด) ลักษณะของพระนิพพานก็คือ ภาวะที่ปลอดจากราคะ (ราคักขโย) ปลอดจากโทสะ (โทสักขโย) ปลอดจากโมหะ (โมหักขโย) อย่างสิ้นเชิง กล่าวอย่างง่ายๆ ภาวะที่สิ้นกิเลสนั่นแหละ คือ พระนิพพาน และพระนิพพานนี้นับเป็นวิวัฒนาการสูงสุดแห่งความเป็นมนุษย์ ตามคติของพุทธศาสนา

    เมื่อกล่าวถึงหลักการที่แท้ของพระพุทธศาสนา มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะบรรลุนิพพานได้ในชีวิตนี้ แต่ตามความเชื่อที่เราคนไทยถือสืบต่อกันมา เรากลับเชื่อกันว่า การบรรลุพระนิพพานนั้นเป็นภาวะไกลสุดเอื้อม เป็นจุดหมายปลายทางสุดท้ายที่กว่าคนธรรมดาจะเอื้อมถึงต้องบ่มบำเพ็ญบารมีกันนับแสนล้านชาติภพ และชาติสุดท้ายอันเป็นที่ปรากฏของพระนิพพานจะมาถึงเมื่อไรก็ไม่มีหลักประกันใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อเชื่อกันอย่างนี้ พระนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของชาวพุทธ ก็ดูท่าว่าจะกลายเป็นเป้าหมายที่กลายเป็นหมันสำหรับคนธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ ที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนาในชีวิตนี้

    การเป็นชาวพุทธที่ไม่รู้ว่าจะบรรลุถึงพระนิพพานได้เมื่อไร ช่างเป็นเรื่องน่าสิ้นหวัง คงน่าสิ้นหวังพอๆ กับกัปตันสักคนหนึ่งซึ่งนำเรือออกจากท่า แล้วไม่รู้ว่าท่าที่มุ่งไปนั้นจะต้องใช้เวลากันนานแค่ไหนจึงจะบรรลุถึง

    คนไทยจะเข้าใจเรื่องพระนิพพานคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงกันมาอย่างนี้แต่เมื่อไรไม่ทราบได้ แต่ทราบอยู่อย่างหนึ่งว่า มีนักปราชญ์ไทยมากมายหลายท่านพยายามแก้ไขความเข้าใจเช่นนี้เสียใหม่ ปราชญ์เหล่านั้นก็เช่น หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่ชา หลวงตามหาบัว หลวงปู่ดูลย์ หลวงพ่อเทียน เป็นต้น พ่อแม่ครูอาจารย์เหล่านี้ได้ใช้ชีวิตของท่านพิสูจน์ให้ดูว่า นิพพานเป็นสิ่งที่บรรลุถึงได้ในชาตินี้ โดยเฉพาะหลวงตามหาบัวนั้นถึงกับประกาศให้ศิษยานุศิษย์ทราบกันตรงๆ เพื่อเกื้อกูลแก่การปฏิบัติว่า “ดูเอานี่ พระอรหันต์นั่งอยู่นี่โต้งๆ แล้ว...” อย่างนี้เป็นต้น วัตรปฏิบัติ ปฏิปทา คำสอน ตลอดถึงวิถีชีวิตของครูบาอาจารย์ชั้นนำเหล่านี้ คือประจักษ์พยานที่ยืนยันว่า การบรรลุนิพพานในชีวิตนี้ไม่ใช่เรื่องเหนือวิสัย หากแต่เป็นไปได้จริงในชีวิตนี้

    นอกจากนั้นแล้ว ก็ยังมีนักปราชญ์ในสายวิชาการและสายปฏิบัติร่วมสมัยอีกอย่างน้อยสองท่าน คือ ท่านพุทธทาสภิกขุ และพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ที่เพียรใช้เวลาทั้งชีวิตของท่านในการปรับเปลี่ยนความเชื่อ ความเข้าใจของคนไทยเสียใหม่ว่า นิพพานอันเป็นอุดมคติสูงสุดของพุทธศาสนานั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปได้จริงในชีวิตนี้ ท่านพุทธทาสภิกขุเอง ถึงกับเทศน์ เขียน ย้ำ พร่ำสอน ถึงเรื่องนี้เอาไว้อย่างมากมายมหาศาล ย้ำแล้วย้ำอีก เทศน์แล้วเทศน์อีกว่า เราทุกคนมีสิทธิ์บรรลุพระนิพพาน ไม่แต่เพียงเท่านั้น ท่านยังหาวิธีให้คนไม่กลัวนิพพานและรู้จักนิพพานในระดับที่ “เป็นไปได้” สำหรับทุกคนอีกด้วย

    วิธีการสร้างสัมมาทิฏฐิในเรื่องนิพพานว่าเป็นเป้าหมายที่เป็นไปได้ในชีวิตของท่านพุทธทาสประการหนึ่งก็คือ การนำเสนอ “นิพพานชิมลอง” ว่าเป็นสิ่งที่เราทุกคนล้วนฝึกให้มี ให้เป็น ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอในชีวิตประจำวันได้ โดยท่านเสนอเป็นหลักการง่ายๆ ให้ใครๆ ก็สามารถปฏิบัติตามได้ว่า

    “จงปรับปรุงจิตใจให้ดีอยู่เสมอ อย่าให้กิเลสเกิดขึ้นมา ก็จะพบความเย็นที่นี่และเดี๋ยวนี้, ทำสมาธิให้ถูกต้อง กิเลสเกิดไม่ได้ ก็เย็นๆ หายใจเข้าก็เย็น หายใจออกก็เย็น, หายใจเข้าก็เย็น หายใจออกก็เย็น, อยู่กับพระนิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้...”

    คำว่า “นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้” กลายเป็นคำติดปากที่ท่านพุทธทาสเทศน์ สอน เขียน ย้ำแล้วย้ำอีกอยู่บ่อยๆ ตั้งแต่ช่วงต้นแห่งชีวิต (ดังที่ท่านได้เขียนหนังสือ ตามรอยพระอรหันต์ เพื่อยืนยันถึงความเชื่อนี้) ช่วงกลาง และช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตของท่าน และท่านก็ได้ใช้ชีวิตให้ดูตามที่ท่านเชื่อนั้นตั้งแต่ต้นจนมรณภาพจากไปอย่างสงบ

    แม้ “นิพพานชิมลอง” ยังไม่ใช่นิพพานในความหมายที่แท้ แต่การเริ่มต้นเปลี่ยนฐานคิดให้ถูกต้องก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวดต่อการแก้ไขความเข้าใจผิดที่สั่งสมกันมานาน ให้กลับมาสู่ฐานทางปัญญาที่ถูกต้องสำหรับคนรุ่นต่อไป

    สำหรับหนังสือ “นิพพานระหว่างวัน” เกิดขึ้นบนฐานความคิด บนฐานความรู้ บนฐานความเชื่อ และบนฐานของประสบการณ์ที่ว่า “นิพพานในชีวิตนี้ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้สำหรับเราทุกคน” เพียงต้องเริ่มตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ตอนนี้

    อาตมาเชื่อว่าเราฝึกนิพพานระหว่างวันได้ โดยไม่ต้องห่วงเรื่องมิติเวลาหรือสถานที่ เพราะเราฝึกที่ตัวเรา ไม่ต้องไปที่วัด ไม่ต้องเข้าคอร์สวิปัสสนา เราทำได้ทุกวันทุกเวลา ด้วยการตามสังเกตทุกเรื่องที่คิด ทุกกิจที่ทำ ทุกคำที่พูด ทุกครั้งที่เคลื่อนไหว

    แต่มีข้อแม้ว่าต้องไม่ตั้งใจเกินไปจนเกร็ง ให้คำนึงถึงคำว่า “อินทรีย สมตา” แปลว่า คำนึงถึงความสมดุลของอินทรีย์ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ต้องอยู่ในภาวะสมดุล การไม่ปล่อยเกินไปและไม่เพ่งเกินไป สังเกตเฉยๆ อย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่คาดหวังว่ามันจะต้องเกิดผลอย่างนั้นอย่างนี้ นี่คือมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลางสำหรับนักปฏิบัติ

    ที่สุดนี้ อาตมาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การฝึกที่จะมี “นิพพานระหว่างวัน” ด้วยการเพียรนำพาตัวเองกลับมา “เจริญสติ” จนตื่นรู้อยู่กับปัจจุบันขณะอยู่เสมอๆในชีวิตประจำวัน จนก่อเกิดเป็นความสดชื่นรื่นเย็นในชีวิตตามสมควร ซึ่งสมมติเรียกขานวิธีการดังกล่าวว่า “นิพพานระหว่างวัน” นั้น คงจะอำนวยประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติตามโดยทั่วหน้ากันตามสมควร

     
  9. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    กับพระอาจารย์ที่ได้เผยแพร่พระธรรม
    ที่เป็นเป้าหมายสูงสุดให้เข้าใจแบบง่าย ๆ
    และท่านทั้งหลายที่ได้สร้างบุญ
    สร้างกุศลทุกอย่าง ด้วยครับ
    การสะสมบุญ คือ การสะสมความสุข

    การฝึกให้เกิดปัญญา คือ การรู้เห็น รูป-นาม,เกิด-ดับ
    เป็นพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ทุกสรรพสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตนที่แท้จริง
    เป็นทุกข์ เป็นโทษ เป็นภัย เป็นอันตราย
    เกิดความเบื่อหน่าย แล้วปล่อยปละ ละวาง รูป-นาม ได้
    จึงจะดับทุกข์ได้ แล้วจะเกิดความสุข
    นิพพานัง ปรมัง สุญญัง
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ


    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 สิงหาคม 2011
  10. COME&Z

    COME&Z เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +234
    ขอบพระคุณท่านเจ้าของกระทู้ค่ะ
    ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ^/\^
     
  11. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    มีนิพพานระหว่างวันได้ด้วยหรือนี่ อยากรู้ว่าบิดเบือนพุทธดำรัสของพระศาสดาหรือไม่ เหมือนที่พระรูปนี้เคยว่าฆ่าเวลาบาปกว่าฆ่าคนมาทีแล้วไม่มีการชำแหล่ะกันซะที
     
  12. changpinit

    changpinit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2009
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +294
    อนุโมทนาสาธุครับ มีความกระจ่างชัดในนิพพานมากขึ้นจริงๆครับ เป็นแนวทางที่ดีในการปฏิบัติตนเพื่อเข้าสู่ภาวะนิพพานได้อย่างดียิ่ง
     
  13. bestsu

    bestsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +617
    "นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้" ของพุทธทาส สอดคล้องกับ "ทำจิตตภาวนาให้ทันปัจจุบัน" ของหลวงตามหาบัว
    เห็นด้วยไหมครับ
     
  14. สองเสาร์

    สองเสาร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +124
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนามิ

    ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,358
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้ @ ท่านพุทธทาสภิกขุ

    namo 125 :-
    Published on Jul 31, 2017
    ขอเชิญท่านรับฟังธรรมะที่สนใจ
    https://www.youtube.com/user/kancha085

    ฟังธรรมะ พระธรรมโกศาจารย์ (ท่านพุทธทาสภิกขุ) https://www.youtube.com/watch?v=DJTW6...

    ประวัติท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ

    พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม ท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. พุทธศักราช 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ท่านได้ตัดสินใจมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านพร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด

    ท่านพุทธทาสภิกขุมีนามเดิมว่า เงื่อม พานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย หรือวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. พุทธศักราช 2449 ในสกุลของพ่อค้า ที่ตลาดพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นพุมเรียงยังเป็นที่ตั้งของตัวเมืองไชยา หรือจังหวัดไชยา ก่อนที่จะกลายมาเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ เซี้ยง พานิช ประกอบอาชีพหลักคือการค้าขายของชำ บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุมีเชื้อสายจีน เนื่องจากปู่ของท่านพุทธทาสภิกขุอพยพจากมณฑลฝูเจี้ยนในประเทศจีน มาเป็นช่างเขียนภาพสีบนกระจกที่เมืองไชยา ย่าของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อส้มจีน ซึ่งเชื้อสายของย่าอพยพจากอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาอยู่เมืองไชยาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมบิดาของท่านพุทธทาสภิกขุใช้แซ่โข่วหรือข่อ (หรือโค้ว ในภาษาแต้จิ๋ว) ต่อมาเมื่อมีพระราชบัญญัตินามสกุลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางราชการจึงเปลี่ยนนามสกุลของบิดาท่านเป็น พานิช เพราะตอนนั้นมีเพียงครอบครัวของท่านเท่านั้นที่ทำการค้าขาย งานอดิเรกที่รักยิ่งของบิดาท่านพุทธทาสภิกขุคืองานด้านช่างไม้ โดยในเวลาว่าง บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุจะทำการต่อเรือไม้เป็นอาชีพเสริม ซึ่งทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุสนใจ และชอบในงานด้านนี้ไปด้วย แม้ที่สวนโมกขพลาราม งานไม้ส่วนใหญ่ก็เกิดจากการทำกันเองของคณะสงฆ์ นอกจากนี้ บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุยังมีความสามารถในทางกวี ซึ่งความสามารถด้านนี้ส่งอิทธิพลต่อท่านพุทธทาสภิกขุเป็นอย่างมาก โดยผลงานธรรมะของท่านพุทธทาสภิกขุส่วนหนึ่งได้ประพันธ์ไว้ในรูปร้อยกรอง ซึ่งมีความไพเราะ และดึงดูดใจให้คนทั้งหลายเข้าถึงเนื้อหาธรรมะได้ง่ายขึ้น

    มารดาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ เคลื่อน พานิช เกิดที่อำเภอท่าฉาง ตาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อเล่ง มียศเป็นขุนสิทธิสาร ปกครองหัวเมืองกระแดะ หรืออำเภอกาญจนดิษฐ์ในปัจจุบัน ครอบครัวของตายายมีความมั่นคงในพระพุทธศาสนา และมีการปฏิบัติสมาธิภาวนากันภายในบ้านเรือน ทำให้มารดาของท่านพุทธทาสภิกขุใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามาตั้งแต่เด็ก ซึ่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนานี้ได้ส่งต่อมาที่บุตร และหล่อหลอมให้เด็กชายเงื่อม พานิช กลายเป็นท่านพุทธทาสภิกขุในเวลาต่อมา ท่านพุทธทาสภิกขุมีน้องสองคน ซึ่งมีอายุห่างจากท่านพุทธทาสภิกขุ 3 ปี และ 6 ปี ตามลำดับ น้องคนโตเป็นชาย ชื่อ ยี่เกย พานิช ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธรรมทาส พานิช และได้เป็นกำลังหลักของคณะธรรมทานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา และสนองงานของท่านพุทธทาสภิกขุ ส่วนน้องสาวคนสุดท้องของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ กิมซ้อย พานิช ซึ่งภายหลังแต่งงานไปอยู่บ้านดอน และใช้นามสกุลสามีว่า เหมะกุล

    ท่านพุทธทาสภิกขุได้บวชเรียนตามประเพณี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. พุทธศักราช 2469 ที่โรงอุโบสถวัดอุบล หรือวัดนอก ก่อนจะย้ายมาประจำอยู่ที่วัดพุมเรียง มีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมาโล) รองเจ้าคณะเมืองในสมัยนั้น และมีพระปลัดทุ่ม อินทโชโต เจ้าอาวาสวัดอุบล และ พระครูศักดิ์ ธมฺรกฺขิตฺโต เจ้าอาวาสวัดวินัย หรือวัดหัวคู เป็นพระคู่สวด ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับฉายาว่า อินทปญฺโญ ซึ่งแปลว่าผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่

    ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และยังมีผลงานอื่นๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วนซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ต่อชนรุ่นหลังในการศึกษาศาสนาพุทธเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ท่านยังเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ ปัญญานันทภิกขุ วัดชลประทานรังสฤษฎ์ และท่าน บ.ช. เขมาภิรัตน์

    พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. พุทธศักราช 2536 สิริรวมอายุ 87 ปี 67 พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่ทรงคุณค่าแทนตัวท่านให้อนุชนคนรุ่นหลังได้สืบสานปณิธานของท่านรับมรดกความเป็น "พุทธทาส" เพื่อพุทธทาสจะได้ไม่ตายไปจากพระพุทธศาสนา

    หากท่านมีความสนใจศึกษาเพิ่มเติม ** http://www.buddhadasa.org/%E0%B8%9B%E...

    ** ถ้าหากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขอโทษขออภัยแก่ผู้รับฟังด้วย และขอน้อมรับการปรับปรุงแก้ไขทุกประการ

     

แชร์หน้านี้

Loading...