"วันนี้ เป็นวันสำคัญ คือวัน พระเจ้าตากสินมหาราช"

ในห้อง 'บันเทิงและศิลปวัฒนธรรม' ตั้งกระทู้โดย บ้องแบ้ว, 28 ธันวาคม 2016.

  1. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,294
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    "วันนี้ เป็นวันสำคัญ คือวัน พระเจ้าตากสินมหาราช"

    วิธีการหนึ่งที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงใช้ในการทดสอบความรู้ความสามารถในคัมภีร์พระไตรปิฎกของพระภิกษุสงฆ์ได้แก่ ทรงตั้งปัญหาเพื่อให้ตอบที่เรียกว่า “ปุจฉา-วิสัชนา” ในลักษณะเดียวกับที่พระเจ้ามิลินท์ทรงปฏิบัติต่อพระนาคเสนเถระ การที่พระภิกษุสงฆ์องค์ใดไม่สามารถถวายคำตอบได้โดยถูกต้องแจ่มแจ้งในสาระสำคัญที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ก็ตาม มิได้ยึดความถูกต้องตามหลักวิชาก็ตาม พระองค์ท่านจึงจะทรงพระกรุณาถวายพระบรมราโชวาทแนะนำให้ หากทรงพิจารณาวินิจฉัยแล้วเห็นว่า หมดหนทางที่จะผลักดันให้พระภิกษุสงฆ์นั้นพัฒนาตนเองได้ จึงคงจะต้องใช้มาตรการที่รุนแรงถึงขั้นปลดออกจากสมณศักดิ์ และสึกในขั้นตอนต่อไป ได้มีการกล่าวกันว่า เมื่อได้ทรงพระราชปุจฉาว่า ภิกษุจะไหว้คฤหัสถ์ที่บรรลุธรรมได้หรือไม่ เมื่อพระราชาคณะที่ทูลวิสัชนาว่าไม่ได้ก็ทรงพระพิโรธลงโทษทัณฑ์แก่ภิกษุราชาคณะและอนุจร ประหนึ่งว่าพระองค์ต้องพระราชประสงค์ให้พระภิกษุนบไหว้พระองค์ และได้มีการหยิบยกประเด็นนี้มากล่าวหาพระองค์ท่านว่า ทรงมีสติฟั่นเฟือนวิปลาส ก็ไม่ปรากฏหลักฐานที่ แน่ชัดพิสูจน์ยืนยันได้ว่า พระองค์ได้ทรงเป็นไปตามข้อกล่าวหา การบันทึกข้อความในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่ว่า จะเป็นจดหมายเหตุโหร ประชุมพระราชพงศาวดาร และบันทึกคำให้การ ก็ปรากฏว่า มีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนขัดแย้งกันในข้อเท็จจริงอยู่หลายครั้งหลายตอน ข้อความที่กล่าวว่า ภิกษุจะไหว้คฤหัสถ์ที่บรรลุธรรมได้หรือไม่นั้น พระราชปุจฉาของสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชอาจจะทรงใช้คำว่า “อริยบุคคล ๘” ก็เป็นได้ จึงเป็นเหตุให้พระภิกษุที่ มิได้มีความรู้ลึกซึ้งในพระธรรมเพียงพอจึงทูลถวายคำวิสัชนาผิดพลาดไป หากพระภิกษุรูปนั้นมีสมณศักดิ์เป็นถึงพระราชาคณะ ก็เป็นการสมควรแล้วที่พระองค์ท่านจะต้องทรงปลดออกจากสมณศักดิ์ เพราะจะคงไว้ก็ไม่มีประโยชน์ต่อพระบรมราโชบายของพระองค์ท่านในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา (การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. 2540: ออนไลน์)

    พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงวิปลาสจริงหรือ ?

    ที่มา : Bloggang.com :
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,294
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    ความเป็นจริงพระเจ้าตากมิได้ทรงพระสัญญา (สติ) วิปลาสฟั่นเฟือน เป็นเพียงข้อกล่าวหาเพื่อสร้างความชอบธรรมในการยึดอำนาจ พระเจ้าตากสินมหาราชทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาต่างหาก มิได้ถูกบังคับหรือร้องขอ (นี้คือข้อเท็จจริง) พระองค์ทรงวางพระทัยในผู้ใกล้ชิด มิได้ทรงระแวงเหตุร้ายที่ถูกวางแผนไว้นานกว่าขวบปี การภายใน ให้ นายบุนนาค,หลวงสุระ,หลวงชะนะ เป็นผู้ยุยงตัวสำคัญ ซึ่งแอบขึ้นไปตั้งทำการ ยุยงที่กรุงเก่า การภายนอกให้ เขมร และ ญวน ตีโอบแม่ทัพใหญ่ (คือขุนอิน) จับตัวขุนอินฯสำเร็จโทษเสียที่นอกเมือง ยกทัพหัวเมืองจากสามทางเข้าโอบตี ยึดเมืองหลวงไว้ สัญญาลับการกบฏที่มีต่อเขมร และญวนคือการส่งกำลังตอบแทนสองครั้ง และคำสัญญา ไม่กำหราบ เจ้าเขมร ให้ย่อยยับดังคำสั่งเหนือหัว พระองค์ทรงวางพระทัย เพราะสิ่งที่สั่งไว้ก่อนทรงผนวช ล้วนส่งคุณต่อลูกหลานเจ้าพระยาจักรี โดยไม่คาดคิดว่ามีผู้มักใหญ่ใฝ่สูง คิดยึดอำนาจไปเป็นของตัว โดยศักดิ์ พระเจ้าตากคือลูกเขย เจ้าฟ้าเหม็น เป็นหลานตา ในเจ้าพระยาจักรี กรุงธนบุรี พระเจ้าตากคิกการณ์ไว้ มอบให้แก่ ขุนอินฯ มิได้ตั้งใจมอบให้แก่เจ้าฟ้าเหม็น ดังตำนาน คืออีกหนึ่งรอยร้าวฉานเจ็บแค้น สุดท้าย เจ้าฟ้าเหม็น ต้องสิ้นใจ ภายใต้การโค้นล้มของ หลานชาย เจ้าพระยาจักรี (ร.3) หลังพระพุทธยอดฟ่าฯ สิ้นพระชมน์ 6 วัน

    สรุป เรื่องวิปลาส ไม่จริง ออกบวชเพราะถูกขอร้อง บังคับ ไม่จริง ถูกก่อกบฏ ยึดอำนาจ จริง (ความเป็นจริงพระเจ้าตากมิได้ทรงพระสัญญา (สติ) วิปลาสฟั่นเฟือน. 2553: ออนไลน์)

    จริงหรือ ที่พระเจ้าตากสินทรงมีพระสัญญาวิปลาส?

    โดยเฉพาะประเด็นอวดอุตริมนุษย์ธรรมว่าได้บรรลุโสดาปฏิมรรคแล้ว ถึงขนาดบังคับให้พระสงฆ์ยกมือไหว้ หรือโบยเฆี่ยนอำมาตย์ขุนนาง แม้กระทั่งจับนางสนมหัวแข็งย่างไฟสดเป็นว่าเล่นโดยไร้เหตุผล เรื่องนี้จริง-เท็จเช่นไรในฐานะของ “ความทรงจำ” หรือในฐานะ “ประวัติศาสตร์” ของชนรุ่นหลัง

    ประวัติศาสตร์ปรัศนี โบราณคดีปริศนา : ความจริงและความทรงจำ ?

    “ประวัติศาสตร์ที่พึ่งสร้าง หรือตำนานที่พึ่งเขียน” แตกต่างจาก “ความทรงจำ” อย่างไร เป็นประเด็นใหญ่คาใจนักประวัติศาสตร์ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ความทรงจำเรื่องการสวรรคตของพระเจ้าตากสินหรือรัชกาลที่ 8 จักถูกเล่าขานส่งผ่านข้อเท็จจริงของเหตุการณ์โดยไม่ตกอยู่ใต้อาณัติของ “ผู้ชนะ” ที่ถืออำนาจในมือแล้วปรุงแต่งความจริงของฝ่ายตนให้เป็น “ประวัติศาสตร์” อีกต่อไป

    ดังปรากฏการณ์ของความทรงจำนอกกระแสที่เกิดอาการ “ตาสว่าง” กันอย่างกว้างขวางในสังคมออนไลน์
    นักศึกษาประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ (โดยเฉพาะในเฟซบุ๊ก) เริ่มอ่านแตกและตีรหัสวาระที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใต้การปรักปรำว่าพระเจ้าตากสินมีสัญญาวิปลาสซึ่งประวัติศาสตร์กระแสหลักบันทึกไว้จนทะลุปรุโปร่ง จะวิปลาสหรือไม่วิปลาส ขอให้พิสูจน์กันที่วาระสุดท้ายก่อนจะถูกทุบด้วยท่อนจันทน์ พระเจ้าตากสินทรงรำพึงกับพระยาสรรค์ หนึ่งในแม่ทัพเอกผู้อยู่เคียงข้าง ณ แดนประหารว่า “เมื่อสิ้นบุญพ่อแล้ว ขออย่าให้ผองไพร่ต้องเดือดร้อนเลย” นัยของคำพูดนี้ เป็นการกล่าวอย่างผู้มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนบริบูรณ์ หรือเป็นคำกล่าวของคนวิกลจริต ทรงห่วงใยต่อไพร่ฟ้าว่าอาจเดือดร้อนเมื่อเปลี่ยนแผ่นดิน ถึงขนาดขอร้องให้ผู้จงรักภักดีต่อพระองค์อย่าได้ลุกขึ้นมาต่อต้านราชวงศ์ใหม่เลย ขอให้แต่ละคนจงรักษาตัวรอดเอาชีวิตไว้ก่อนเถิดด้วยเหตุนี้คำให้การของคนใกล้ชิดทุกพยานปาก ที่ถูกบันทึกไว้ในจดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์จึงสอดคล้องเหมือนท่องสคริปต์บทเดียวกันว่า

    เป็นความจริงที่พระเจ้าตากมีสัญญาวิปลาส

    กองทหารโพกหัวแดงชาวล้านนาสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าตากสินปีพุทธศักราช 2317 มีเหตุการณ์สำคัญยิ่งที่ทำให้เกิดการพลิกหน้าประวัติศาสตร์ล้านนา นี่คือช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ล้านนาต้อง “เลือกข้าง” ว่า จะอยู่กับใคร ระหว่างการยอมอยู่ใต้บังคับของพม่าดุจช่วงสองร้อยปีที่ผ่านมานับแต่บุเรงนองยึดเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ.2101 หรือว่าอยากทดลองเปลี่ยนไปอยู่กับอำนาจใหม่เป็นประเทศราชของสยามแทน (พลับพลาพระเจ้าตาก สัญญาที่ไม่วิปลาส ต่อกองทหารโพกหัวแดง. 2554: ออนไลน์)

    ทรงถูกสำเร็จโทษเนื่องจากทรงเสียพระสติ

    สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ ซึ่งไปราชการทัพเมืองเขมร และยกกำลังเข้าตีเมืองเสียมราฐ เมื่อทราบข่าวการจลาจลในกรุงธนบุรี จึงได้รีบยกทัพกลับ ขณะนั้นเป็นเดือนเมษายน 2325 เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกมาถึงในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ก็ได้สืบสวนเรื่องราวความวุ่นวายที่เกิดขึ้น และจับกุมผู้ก่อการกบฏมาลงโทษ รวมทั้งให้ข้าราชการปรึกษาพิจารณาความที่มีผู้ฟ้องร้องกล่าวโทษว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเป็นต้นเหตุเนื่องจากพระองค์ทรงเสียพระสติไป เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากอีกจึงให้สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วยการตัดพระเศียร ณ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ แล้วฝังพระบรมศพที่วัดบางยี่เรือใต้ เสด็จสวรรคตในวันพุธ แรม 13 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล แต่ยังเป็นตรีศก จ.ศ.1143 หรือตรงกับวันที่ 10 เมษายน 2325

    "อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก
    ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา
    ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา
    แด่ศาสนา สมณะ พุทธโคดม
    ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี
    สมณะพราหมฌ์ ชีปฏิบัติ ให้พอสม
    เจริญสมถะ วิปัสสนา พ่อชื่นชม
    ถวายบังคม แทบบาท พระศาสดา
    คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า
    ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
    พระพุทธศาสน์ อยู่ยง คู่องค์กษัตรา
    พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน"

    ที่มา : บรรณานุกรม สุดารา สุจฉายา. ( 2550). ประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี. กรุงเทพฯ พิมสารคดี

    อวสานแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี. (2556). สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2556, จาก
     
  3. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,294
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    ((๒๔๙ ปี วัดตากสินมหาราช))

    ครั้งหนึ่งนั้นพระยาตากหากฟันฝ่า
    ศึกพม่าด้วยแรงความเเข็งขัน
    ก่อนกรุงเก่าเราเสียเอกราชพลัน
    เจ้าตากนั้นเราสู้กอบกู้มา

    คืนศักดิ์ศรีคนไทยใจนักรบ
    เทิดเคารพพระพุทธศาสนา
    ถวายแผ่นดินด้วยเอกอุตม์พระพุทธบูชา
    แด่สมเด็จพระสัมมามหาโคดม

    ให้คนไทยเป็นไทไม่เป็นข้า
    มีอาณาเขตขัณฑ์อันเหมาะสม
    สงบสุขทุกคืนวันมั่นนิยม
    น้อมบังคมด้วยชีวินแม้สิ้นใจฯ

    ๒๘ ธันวาคม ๒๓๑๐ ถึง ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๙ ครบ ๒๔๙ ปี ที่คนไทยทุกคนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มหาราชผู้แผ่นดินไทยครั้งที่ ๒

    ส.ธรรมาภิเบศร
     

แชร์หน้านี้

Loading...