วันมาฆบูชา

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย เจริญใจ, 8 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. เจริญใจ

    เจริญใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    926
    ค่าพลัง:
    +127
    [​IMG]

    วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๓หรือประมาณราวเดือนกุมภาพันธ์ แต่หากเป็นปีอธิกมาส (ปีที่มีเดือน ๘ สองหน)วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปเป็น วันขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือน ๔หรือประมาณเดือนมีนาคม
    วันมาฆบูชา ย่อมาจากคำว่า"มาฆปุรณมีบูชา"แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๓ถือเป็น"วันจาตุรงคสันนิบาต"แปลว่าการประชุมอันประกอบด้วยองค์ ๔ซึ่งเป็นเหตุการณ์อัศจรรย์เกิดขึ้นพร้อมกันในสมัยพุทธกาล คือ
    ๑. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูปซึ่งจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสถานที่ต่างๆ เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
    ๒. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐รูปเหล่านี้ ล้วนเป็นพระอรหันต์ และได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้าโดยตรงด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา
    ๓. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูปต่างมาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยมิได้มีการนัดหมาย
    ๔. วันที่มาประชุมตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันเพ็ญกลางเดือน ๓)เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเทศนา อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คือโอวาทปาติโมกข์
    <O:pโอวาทปาติโมกข์คือข้อธรรมย่ออันเป็นหลักหรือหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา ๓ ประการ ได้แก่<O:p
    ๑. ไม่ทำความชั่วทั้งปวง เว้นจากความชั่วด้วยกาย วาจา ใจ
    ๒.ทำความดีให้ถึงพร้อม ด้วยกาย วาจา ใจ
    ๓. ทำจิตใจให้หมดจดบริสุทธิ์ผ่องใส
    หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และสั่งสอนพระธรรมมาเป็นระยะเวลา ๔๕ ปี พระองค์ทรงปลงมายุสังขาร คือตั้งพระทัยว่า"ต่อแต่นี้ไปอีก ๓ เดือนเราจักเสด็จดับขันธปรินิพพาน"การปลงอายุสังขารตรงกับวันมาฆบูชาในปีที่พระพุทธองค์มีพระชนมายุ ๘๐ พระชันษา
    ด้วยเหตุนี้ ในวันมาฆบูชาชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า รวม ๒ ประการ คือเป็นวันที่แสดงโอวาทปาติโมกข์ และ เป็นวันปลงอายุสังขาร
    ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบราชกุศลมาฆบูชาไว้ดังนี้ <O:p
    การมาฆบูชานี้ แต่เดิมก็ไม่ได้เคยทำมาพึ่งเกิดขึ้นเมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตามแบบโบราณบัณฑิตนิยมไว้ว่า วันมาฆบุรณมีพระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆะเต็มบริบูรณ์เป็นวันที่พระอรหันต์พุทธสาวก ๑,๒๕๐ ได้ประชุมกันพร้อมด้วยองค์สี่ประการเรียกว่าจาตุรงคสันนิบาต พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์เป็นการประชุมใหญ่ และเป็นการอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา นักปราชญ์จึงได้ถือเอาเหตุนั้นประกอบการสักการบูชาพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ๑,๒๕๐ พระองค์นั้นให้เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสและสังเวช
    <O:pการพระราชกุศลนั้นเวลาเช้าพระสงฆ์วัดบวรนิเวศน์และวัดราชประดิษฐ์ ๓๐ รูปฉันในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเวลาค่ำเสด็จออกทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการแล้วพระสงฆ์สวดทำวัตรเย็นเหมือนอย่างที่วัดแล้วจึงได้สวดมนต์ต่อไปมีสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วยสวดมนต์จบทรงจุดเทียนรายตามราวรอบพระอุโบสถ ๑,๒๕๐ เล่ม มีประโคมด้วยอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงได้มีเทศนาโอวาทปาติโมกข์กัณฑ์ ๑ เป็นเทศนาทั้งภาษามคธและภาษาสยามเครื่องกัณฑ์จีวรเนื้อดีผืนหนึ่ง เงิน ๓ ตำลึงและขนมต่างๆเทศน์จบพระสงฆ์ซึ่งสวดมนต์รับสัพพีทั้ง ๓๐ รูป
    <O:pการมาฆบูชานี้เป็นดือนสามบ้าง เดือนสี่บ้างตามวิธีปักษคณนาฝ่ายธรรมยุติกนิกาย แต่คงอยู่ในดือนสามโดยมากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทุกปีมิได้ขาดแต่ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกบ้างไม่ได้ออกบ้างเพราะมักจะเป็นเวลาประสบกับที่เสด็จประพาสหัวเมืองบ่อยๆถ้าฤดูคราวเสด็จพระราชดำเนินไปประพาสบางประอินหรือพระพุทธบาท พระพุทธฉายพระปฐมเจดีย์ พระแท่นดงรัง ก็ทรงทำมาฆบูชาในสถานที่นั้นๆขึ้นอีกส่วนหนึ่งต่างหากนอกจากในพระบรมมหาราชวังฯ

    การปลงมายุสังขาร

    หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และสั่งสอนพระธรรมมาเป็นระยะเวลา ๔๕ ปี พระองค์ทรงปลงมายุสังขาร คือตั้งพระทัยว่า"ต่อแต่นี้ไปอีก ๓ เดือนเราจักเสด็จดับขันธปรินิพพาน"<O:p
    การปลงอายุสังขารตรงกับวันมาฆบูชาในปีที่พระพุทธองค์มีพระชนมายุ ๘๐ พระชันษา
    ด้วยเหตุนี้ ในวันมาฆบูชาชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า รวม ๒ ประการ คือเป็นวันที่แสดงโอวาทปาติโมกข์ และ เป็นวันปลงอายุสังขาร
    <O:p

    ประวัติการประกอบพิธีมาฆบูชา<O:p

    ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบราชกุศลมาฆบูชาไว้ดังนี้
    <O:pการมาฆบูชานี้ แต่เดิมก็ไม่ได้เคยทำมาพึ่งเกิดขึ้นเมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตามแบบโบราณบัณฑิตนิยมไว้ว่า วันมาฆบุรณมีพระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆะเต็มบริบูรณ์เป็นวันที่พระอรหันต์พุทธสาวก ๑,๒๕๐ ได้ประชุมกันพร้อมด้วยองค์สี่ประการเรียกว่าจาตุรงคสันนิบาต พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์เป็นการประชุมใหญ่ และเป็นการอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา นักปราชญ์จึงได้ถือเอาเหตุนั้นประกอบการสักการบูชาพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ๑,๒๕๐ พระองค์นั้นให้เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสและสังเวช
    <O:pการพระราชกุศลนั้นเวลาเช้าพระสงฆ์วัดบวรนิเวศน์และวัดราชประดิษฐ์ ๓๐ รูปฉันในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเวลาค่ำเสด็จออกทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการแล้วพระสงฆ์สวดทำวัตรเย็นเหมือนอย่างที่วัดแล้วจึงได้สวดมนต์ต่อไปมีสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วยสวดมนต์จบทรงจุดเทียนรายตามราวรอบพระอุโบสถ ๑,๒๕๐ เล่ม มีประโคมด้วยอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงได้มีเทศนาโอวาทปาติโมกข์กัณฑ์ ๑ เป็นเทศนาทั้งภาษามคธและภาษาสยามเครื่องกัณฑ์จีวรเนื้อดีผืนหนึ่ง เงิน ๓ ตำลึงและขนมต่างๆเทศน์จบพระสงฆ์ซึ่งสวดมนต์รับสัพพีทั้ง ๓๐ รูป
    <O:pการมาฆบูชานี้เป็นดือนสามบ้าง เดือนสี่บ้างตามวิธีปักษคณนาฝ่ายธรรมยุติกนิกาย แต่คงอยู่ในดือนสามโดยมากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทุกปีมิได้ขาดแต่ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกบ้างไม่ได้ออกบ้างเพราะมักจะเป็นเวลาประสบกับที่เสด็จประพาสหัวเมืองบ่อยๆถ้าฤดูคราวเสด็จพระราชดำเนินไปประพาสบางประอินหรือพระพุทธบาท พระพุทธฉายพระปฐมเจดีย์ พระแท่นดงรัง ก็ทรงทำมาฆบูชาในสถานที่นั้นๆขึ้นอีกส่วนหนึ่งต่างหากนอกจากในพระบรมมหาราชวังฯ
    <O:p<?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shape id=_x0000_s1026 style="MARGIN-TOP: 9pt; Z-INDEX: 1; LEFT: 0px; MARGIN-LEFT: 0px; WIDTH: 90pt; POSITION: absolute; HEIGHT: 126pt; TEXT-ALIGN: left; mso-position-horizontal: absolute; mso-position-horizontal-relative: text; mso-position-vertical: absolute; mso-position-vertical-relative: text" alt="" type="#_x0000_t75"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\CF33~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://www.banfun.com/image/monk01.gif"></v:imagedata></v:shape>ข้อเสนอแนะ ในวันมาฆบูชา

    <O:p> [​IMG]</O:p>

    - ควรออกมาทำบุญตักบาตรในตอนเช้า
    - ตั้งใจรักษาศีลห้าให้ครบถ้วนอย่างน้อยก็ให้รักษาไว้ตลอดทั้งวัน
    - และในตอนเย็นควรไปร่วมพิธีเวียนเทียน เพื่อสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยเป็นการร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนา
    - ตามสถานที่ราชการสถานที่ศึกษา และที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยายฉายสไลด์ หรือบรรยายธรรมเกี่ยวกับวันมาฆบูชา ฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจ
    http://www.banfun.com/buddha/maka02.html<O:p
    อ้างอิง : ประเพณี พิธีมงคล และวันสำคัญของไทย.กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก, 2539. <O:p
    <O:p
     
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    มาฆบูชา เป็นวันพิเศษอย่างไร

    โดย จรัล ทองเกษม อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>วันมาฆบูชา เป็นวันที่มีความสำคัญเป็นพิเศษของพุทธศาสนิกชน เพราะเป็นวันคล้ายวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประดิษฐานวางหลักของพระพุทธศาสนาไว้เป็นครั้งแรก เมื่อ 45 ปี ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน หรือเมื่อประมาณ 2,606 ปีมาแล้ว และยังเป็นวันคล้ายวันที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงปลงสังขาร เมื่อประมาณ 2552 ปีมาแล้วด้วย

    วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่บรรดาชาวพุทธทั่วโลกนิยมถือเป็นวันที่สมควรจัดพิธีถวายสักการบูชาพระรัตนตรัยเป็นพิเศษ 7 วัน ได้แก่ วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอัฎฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา วันสูปนายิกา วันปวารณาออกพรรษา และวันรักษาอุโบสถศีล

    ในบรรดาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาดังกล่าว นอกเหนือจากวันวิสาขบูชาแล้ว พุทธศาสนิกชนถือว่า "วันมาฆบุรมีปูชา" เป็นวันที่มีความสำคัญเป็นพิเศษยิ่ง เพราะถือกันว่า "เป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประกาศวางหลักพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรก"

    และในวันดังกล่าวนี้ ยังเป็นวันคล้ายวันที่สมเด็จพระบรมศาสดาของเรา "ทรงปลงสังขาร" ด้วย

    พิธีสักการบูชาพระรัตนตรัยเนื่องในมาฆบูชานี้ ไม่เคยมีมาก่อนแต่เพิ่งมามีขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้นเป็นพระราชพิธีบำเพ็ญกุศลและสำหรับประชาชนทั่วไป ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปีนี้

    วันมาฆบูชาตรงกับวันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 นับเป็นพิธีพระราชกุศลและพิธีกรรมของชาวพุทธที่ดำเนินการสืบเนื่องมาได้ประมาณ 189 ปีแล้ว

    คำว่า "มาฆ" หรือ "มาฆะ" เป็นชื่อเดือนที่ 3 ทางจันทรคติ เพราะชาวอินเดียเรียกเดือนที่ 3 ว่า เดือนมาฆะ ซึ่งปกติจะตกอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์ เว้นแต่ว่าปีใดเป็นปีอธิกมาส (คือปีที่มีเดือน 8 สองหน) เดือนมาฆะก็จะเลื่อนออกไปเป็นเดือน 4 ส่วนคำว่า "มาฆปุณณมี" หรือ "มาฆปุรณมี" หมายถึงวันที่พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์เต็มดวงในเดือนมาฆะ หรือวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือนมาฆะ หรือเดือน 3 นั่นเอง

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า "เจ้าชายสิทธัตถะ" ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโทนะโคตมะ และพระนางสิริมายา เสด็จออกบวชเมื่อพระชนมายุ 29 พรรษา

    ทรงค้นพบทางหลุดพ้นทุกข์ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อวันเพ็ญเดือนวิสขมาส (หรือเดือน 6) ก่อนพุทธศักราช 45 ปี และทรงตั้งพระทัยประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน โดยการส่งพระสาวกรุ่นแรกไปก่อนจำนวน 60 องค์

    ส่วนพระองค์เองเสด็จไปแสดงธรรมโปรดพี่น้องชฎิลและบริวารจนทั้งหมดได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์และขอบวชติดตามพระองค์ไปยังแคว้นราชคฤห์ รวม 1,000 องค์ พระเจ้าพิมพิสารพระราชาแห่งแคว้นได้แสดงพระองค์เป็นอุบาสกและถวายพระราชอุทยานเป็นสังฆารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เรียกว่า "วัดเวฬุวันมหาวิหาร" ทำให้พระพุทธศาสนาได้ประดิษฐานมั่นคงนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    ในพรรษาแรกของการประกาศศาสนา สมเด็จพระพุทธองค์ยังคงประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร ได้มีบุคคลหลากหลายมาเฝ้าฟังธรรมและทูลขออุปสมบทจำนวนมาก โดยเฉพาะสาริบุตรปริพาชกกับโมคคัลานะปริพาชกพร้อมด้วยบริวารอีก 250 คน และพระองค์ก็ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา ตามที่ขอ

    ภายหลังบริวารดังกล่าวได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ก่อนทุกรูป พระโมคคัลานะสำเร็จเป็นพระอรหันต์หลังจากนั้นเพียง 7 วัน

    ส่วนพระสาริบุตรได้ตามเสด็จพระพุทธองค์ไปยังถ้อสุกรชาดา เขาคิชกูฎ ใช้เวลาถึงครึ่งเดือนได้ฟังการสนทนาธรรมระหว่างฑีมนขปริพาชกกับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็บรรลุจากอาสวะทั้งปวงในเวลาตะวันบ่ายวันนั้น

    สมเด็จพระพุทธองค์เสด็จลงมายังวัดเวฬุวันมหาวิหาร พระอรหันต์ในกลุ่มของชฎิลเดิม และกลุ่มของปริพาชกเดิม รวมกันจำนวน 1,250 องค์ มาประชุมอยู่พร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย สมเด็จพระพุทธองค์ทรงทำ "วิสุทธิอุโบสถ" และแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นวาระที่ตรงกับมาฆปุณณมีดิถี หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 พอดี

    ถือว่าเป็นวันประกาศหลักธรรมพระพุทธศาสนา คือพระธรรมและพระวินัย ที่เรียกว่า "โอวาทปาฏิโมกข์" ซึ่งแปลว่า "โอวาทหลัก", "โอวาทประธาน" หรือ "คำสั่งสอนที่เป็นหลักสำคัญ"

    และโอวาทปาฏิโมกข์ถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาเพราะเป็นคำสอนที่เป็นหลักการใหญ่ อันเป็นหลักการสำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป

    ซึ่งสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องยึดถือเป็นหลักปฏิบัติทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์

    คำสั่งสอนของพระพุทธศาสนามีมากถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ มีบัณฑิตได้รวบรวมไว้ในพระไตรปิฎกถึง 45 เล่ม แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงย่นย่อลงไว้ใน "โอวาทปาฏิโมกข์" ดังนุทธนิพนธ์เป็นภาษาบาลี เพียงแค่ 3 พระคาถากึ่ง ดังนี้

    คาถาที่ 1

    ขนฺตี ปรมํ ตโป ติติกฺขา (ขันติ คือความอดทน เป็นตบะอย่างยิ่ง)

    นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา (ท่านผู้รู้กล่าวว่านิพพานเป็นยอด)

    น หิ ปพฺพริโต ปูรปมาตี (ผู้ทำร้ายผู้อื่นไม่ใช่บรรพชิต)

    สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต (ผู้เบียดเบียนผู้อื่นย่อมเป็นสมณะไม่ได้)

    คาถาที่ 2

    สพฺพปาปสฺส อกรณํ (การไม่ทำบาปทั้งปวง)

    กุสลสฺสฺปสมฺปทา (การเข้าถึงกุศลทั้งปวง)

    สจิตฺตปริโยทปนํ (การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว)

    เอตํ พุทฺธาน สาสนํ (นี่เป็นคำสอนของท่านผู้ตรัสรู้แล้วทั้งหลาย)

    คาถาที่ 3 อนูปวาโท อนูปฆาโต (การไม่ว่าร้าย ไม่ทำร้าย)

    ปาฏิโมกฺเข จ สวํโร (การสำรวมตนในพุทธบัญญัติ)

    มตฺตญฺญุตา กตฺตสมิ (การรู้จักประมาณในการกิน)

    ปนฺตญูจ สยนาสนํ (การอยู่ในที่อันสงัด)

    อธิจิตฺเต จ อาโยโค (การพยายามฝึกอบรมจิตอย่างยิ่ง)

    เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ (นี่เป็นคำสอนของท่านผู้ตรัสรู้แล้วทั้งหลาย)

    นอกจากวันมาฆบูชาจะเป็นวันแสดงวาทปาฏิโมกข์ หรือเป็นวันประกาศหลักพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นวันคล้ายวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปลงสังขาร คือเป็นวันที่พระองค์ทรงตกลงพระทัยแน่วแน่ที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน

    ดังความปรากฏในมหาปรินิพพานสูตรว่า

    "ในพรรษาสุดท้าย เสด็จจำพรรษา ณ เวฬุวคาม ในเขตเมืองเวสาลี ในพรรษานั้นพระองค์ประชวรหนัก ครั้นออกพรรษาแล้วในเดือนมาฆะ วันหนึ่งตรัสสั่งพระอานนท์ เอานิสีทนสันถัด (ผ้าปูนั่ง) ไปปูที่ใกล้ปาวาสเจดีย์ ทรงนั่งพักตลอดเวลากลางวัน ณ ที่นั้น ตรัสอานุภาพอิทธิบาท 4 ประการ (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) ว่าอาจทำบุคคลผู้เจริญได้เต็มที่แล้วให้มีชีวิตยืนอยู่ถึงกัปหนึ่งได้ แต่พระอานนท์มิได้ขอให้ทรงพระชนม์ยืนเพราะไม่ทันรู้สึก พระองค์จึงทรงบอกให้พระอานนท์ออกไป ครั้งนั้นมารจึงเข้ากราบทูลขอให้ปรินิพพานพระพุทธองค์ก็ทรงรับคำ แผ่นดินไหวเป็นมหัศจรรย์ ท่านพระอานนท์จึงเข้าไปกราบทูลถามสาเหตุที่ทำให้แผ่นดินไหว

    พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงบอกเหตุ 8 ประการคือ ลมกำเริบ 1 ผู้มีฤทธิ์บันดาล 1 พระโพธิสัตว์จุติ 1 ประสูติ 1 ตรัสรู้ 1 พระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมจักร 1 ปลงสังขาร 1 ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน 1 แต่ละอย่างย่อมเป็นเหตุให้แผ่นดินไหว ..."

    ------------------
    [​IMG]
    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act04090252&sectionid=0130&day=2009-02-09
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    มาฆบูชากับโอวาทปาฏิโมกข์

    โดย ไพรัตน์ แย้มโกสุม วุฒิอาสาธนาคารสมอง


    [​IMG]


    [​IMG]

    มาฆบูชา หรือจาตุรงคสันนิบาต เป็นวันทำบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนา ตรงกับวันเพ็ญ (ขึ้น 15 ค่ำ) เดือน 3 เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญ 4 ประการ

    1.พระสงฆ์จากที่ต่างๆ เดินทางมุ่งมาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีจำนวนถึง 1,250 องค์เป็นการประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย

    2.พระสงฆ์ที่มาประชุมเหล่านั้น ล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น

    3.พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนี้ ล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือได้รับอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า

    4.ดวงจันทร์ เสวยมาฆฤกษ์ เต็มบริบูรณ์

    ในวันอันมหัศจรรย์นี้ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ได้เกิดมีการประชุม ซึ่งได้รับการยกย่องว่า เป็นการประชุมครั้งสำคัญที่สุด ก็เพราะ พระพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาฏิโมกข์" แปลว่า "คำสอนที่เป็นหลักใหญ่" หรือ "คำสอนที่เป็นประธานของคำสอนทั้งหมด" จึงเรียกว่า "หัวใจของพระพุทธศาสนา" กล่าวสั้นๆ คือ "เว้นชั่ว-ทำดี-ทำใจให้บริสุทธิ์"

    กล่าวยาวหน่อยตามบทสวดมนต์แปล (แบบอ่านง่าย-เข้าใจง่าย)

    สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง (การไม่ทำบาปทั้งปวง)

    กุสะลัสสูปะสัมปะทา (การทำกุศลให้ถึงพร้อม)

    สะจิตตะปะริโยทะปะนัง (การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ)

    เอตัง พุทธานะสาสะนัง (ธรรม 3 อย่างนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย)

    นี่คือ...สิ่งมหัศจรรย์ ที่เกิดขึ้นมานานกว่า 2,500 ปีแล้ว แม้ปัจจุบันก็ยังอัศจรรย์อยู่ เพียงแต่ว่า...

    คนส่วนใหญ่ มองเห็นเฉพาะเหตุการณ์สำคัญ 4 ประการ ส่วนพุทธโอวาท หรือ โอวาทปาติโมกข์นั้น จะมองเพียงผ่านๆ สักแต่ ว่ามอง ไม่เห็นความสำคัญอะไร ถ้าเห็นความสำคัญ ต้องนำไปปฏิบัติจริงและก็จะไม่เกิดปัญหาขยะ (ทั้งภายนอกภายใน) ล้นโลก เฉกเช่นทุกวันนี้

    พระพุทธเจ้าทรงเป็นบรมครู ตรัสว่า.... พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ว่ากัปใด สมัยใด ต่างก็สอนอย่างเดียวกัน คือ... "ละชั่วบรรดามี ทำดีอยู่เป็นนิจ ทำจิต ประภัสสร" (ผู้เขียน-ดัดแปลงจากโอวาท ปาฏิโมกข์)

    ซึ่งหลักธรรมคำสอน 3 อย่างดังกล่าว เป็นหลักใหญ่หรือเป็นประธานของคำสอนทั้งปวง เมื่อนำไปประพฤติปฏิบัติจริง จนเข้าใจเข้าถึงครบ 3 ประการดังกล่าว ชีวิตอันน้อยนิดนี้ก็มีโอกาสที่จะพ้นทุกข์ได้

    แต่...ที่เราๆ ท่านๆ ทั้งหลาย ไม่ยอมพ้นทุกข์ คงเนื่องจากไม่รู้ว่า "อะไรเป็นอะไร" จึงคิดจึงทำไปตามกระแสโลกนิยม ตกเป็นเหยื่อเป็นทาสเขาอยู่ร่ำไป

    เห็นทุกข์เป็นสุข เห็นสุขเป็นทุกข์ เห็นธรรมะเป็นซาตาน เห็นซาตานเป็นธรรมะ เห็นกุศลเป็นอกุศล เห็นอกุศลเป็นกุศล เป็นนักการเมืองหรือผู้มีอำนาจโกงบ้างกินบ้างไม่เป็นไร มีผลงานให้เห็นบ้างก็ใช้ได้ เป็นชาววัดไม่ยอมทำใจให้ว่าง จึงวางไม่เป็น เมื่อวางไม่เป็น ก็แข่งมั่งแข่งมี แข่งยศแข่งอำนาจ แข่งโชคลาภวาสนา แข่งกิ๊กแข่งกั๊ก เยี่ยงชาวบ้าน ฯลฯ

    คนไม่รู้ว่า อะไรเป็นอะไร จะเป็นคนรู้จักตนได้อย่างไร คนไม่รู้จักตน จึงพึ่งตนไม่ได้ อย่าเพ้อฝันเลยว่าจะไปให้พ้นทุกข์ แค่ทุกข์น้อยลงบ้างก็คงหวังได้ยาก

    ธรรมะคือธรรมชาติ เป็นวลีเด็ดที่แพร่หลาย กลายเป็นธรรมะติดปากทุกเพศวัย ในทุกสมัย

    แต่กรรม-เมื่อกระทำอะไรลงไปนั้น ไม่ได้ดูครู-ผู้ไร้ปากอย่างธรรมชาติบ้างเลย

    เวลาปลูกพืชผัก ไม้ประดับ ไม้ผล อันดับแรกต้องเตรียมดิน ขจัดวัชพืช (พืชที่ก่อ ให้เกิดความรกเรื้ออันไม่พึงปรารถนา) ออกให้หมด เมื่อปลูกพืชแล้วก็ให้อาหาร คือ หมั่นรดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน อย่าให้วัชพืชเกิด ขึ้นได้ พืชที่ปลูกก็จะเจริญเติบโต ออกดอกออกผลกลายเป็นอาหาร และขายเป็นรายได้ของเจ้าของ

    ชีวิตคนเราก็เหมือนการปลูกพืชผัก มีกุศลเป็นพืชที่ต้องการ และอกุศลเป็นวัชพืชหรือพืชที่ไม่ต้องการ

    พืชที่เป็นกุศล ต้องสนใจเป็นพิเศษ หมั่นให้อาหารเสมอ จะได้เติบโตเต็มที่ ส่วนพืชที่เป็นอกุศล อย่าไปสนใจมัน อย่าให้อาหารมัน ในที่สุดมันก็จะเฉาตาย

    ในโลกแห่งความเป็นจริง ก็มีทั้งกุศลและอกุศล ไม่ว่าในตัวเราหรือนอกตัวเรา จะมีเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ มันมีสองอย่างเสมอ ขอให้เรารู้ทันมัน สิ่งดีก็จะเจริญ และสิ่งชั่วก็จะเสื่อม

    การปฏิบัติธรรม คือการปฏิบัติหน้าที่ นั่นคือการนำหลักธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะทำอะไร จะต้องเอาโอวาทปาฏิโมกข์ "ละชั่ว-ทำดี-ทำจิตผ่องใส" เป็นเป้าหมาย และเป็นมาตรวัดเสมอ

    อยากจะหาหนังสือธรรมะดีๆ อ่านเข้าใจง่าย แจกเป็นธรรมทาน ได้ทำได้แจกปีละหลายครั้ง ครั้งละหลายเล่ม เกิดปีติ มีความสุขใจ นี่คือต้นไม้กุศล ได้งอกงามแล้วในหัวใจ ขณะเดียวกัน มีเพื่อนมาชวนไปเที่ยวอาบอบนวด แรกๆ ก็อยากไป พอรู้ทัน ก็ปฏิเสธเพื่อนไป แม้เพื่อนจะเทียวมาชวนบ่อยๆ ก็ปฏิเสธเหมือนเดิม ในที่สุดต้นไม้อกุศลก็ค่อยๆ เฉาลงๆ และตายไป

    สมมุติเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีทำ ผิดกฎหมายบ้านเมือง นายกฯต้องกล้าหาญปลดรัฐมนตรี แม้ตัวเองคือนายกฯทำผิด ก็ต้องลาออก ถ้าไม่มีความกล้าหาญดังกล่าวก็เหมือนกับปลูกพืชผักทับวัชพืช มีแต่พูด ทำดีๆๆ ด้วยปาก อายธรรมชาติไร้ปากอย่างแสงแดด สายลม เมฆฝนบ้าง มันไม่เคยเลือกที่รัก มักที่ชัง มันทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันหมด ไม่เลือกว่าจะเป็นราชาหรือยาจก ไม่เลือกว่าจะเป็นคนฉลาด หรือคนโง่ ไม่เลือกว่าจะเป็นผู้มีพระคุณหรือนายทุนผู้เชิดหุ่น

    นี่คือ....ได้ละชั่ว และได้ทำดีแล้ว (ในระดับหนึ่ง)

    วันนี้ นั่งสมาธิ ดูลมเข้าออก ได้นานหลายนาที พอเผลอ (ขาดสติ) จิตคิดถึงอดีต เคยทำชั่วอะไรบ้าง ทำดีอะไรบ้าง พอมีสติ ก็ดูจิตกำลังคิดอะไร จิตก็เลยหยุดปรุงแต่ง พอเผลอขาดสติอีก จิตก็ไปต่อ ตอนนี้ไปถึง อนาคต อยากทำโน่นทำนี่ มีโครงการต่างๆ พอสติกลับมา รู้ทันว่าจิตกำลังคิดนึกอะไร จิตอายเลยหยุดเพ้อฝันรีบกลับมาอยู่กับลมหายใจ คราวนี้นาน สงบ-เย็น-เป็นสุข จิตได้พักผ่อน ได้อาหาร ได้ยาดี

    คนเลี้ยงควาย นำควายไปเลี้ยงใกล้ๆ นาชาวบ้าน ต้นข้าวกำลังเขียวน่าเคี้ยว ควายก็และเล็มหญ้าไปใกล้ๆ ต้นข้าว คนเลี้ยงควายก็กระแอมพร้อมกระตุกเชือก ควายก็ถอยไม่กล้ากินต้นข้าว พอคนเลี้ยงควายเผลองีบหลับไป ตอนนี้ควายได้ที ลุยกินต้นข้าวในนาหมดไปเกือบครึ่งแปลง

    คนเลี้ยงควายเปรียบเหมือนสติ มีสติก็ดี เผลอสติก็เสียหาย ควายก็คือจิตที่คิดปรุงแต่งไปเรื่อย คนเลี้ยงควายต้องดูแลให้ดี มีสติเสมอ เผลอเมื่อไหร่ ควายหรือจิตก็สร้างปัญหาเมื่อนั้น

    พินิจพิจารณาแล้วจะเห็นว่า สติ คือ ผู้ดู ผู้รู้ จิต คือ ผู้ถูกดู ถูกรู้ ที่มันนึก คิดปรุงแต่งไปเรื่อย เกิด-ดับ เกิด-ดับ เกิด- ดับ เพราะมันไม่เที่ยง (อนิจจัง) มันเป็นทุกข์ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ (ทุกขัง) มันไม่ใช่ตัวตน หรือไม่ใช่รูป-นาม บังคับบัญชาไม่ได้ (อนัตตา)

    แค่เฝ้าดู ก็รู้ธรรม คือรู้กาย-ใจ หรือรู้รูป-นาม มันก็แค่เกิด-ดับๆๆ เพราะมันเป็นไตรลักษณ์-อนิจจัง ทุกขัง-อนัตตา

    ขณะที่เฝ้าดูกาย-ใจนี่แหละ โอกาสที่จิตหนีเที่ยวปรุงแต่งเรื่อยไปก็น้อยลง มีสติเข้มแข็งรู้ ทันมากเท่าไหร่ จิตปรุงแต่งก็น้อยลงเท่านั้น (มีสติเต็มร้อยเมื่อไหร่ จิตปรุงแต่งจะเหลือศูนย์ทันที นั่นคือภาวะนิพพาน)

    เมื่อจิตปรุงแต่งน้อยลง ความบริสุทธิ์ผุดผ่องของจิตจะเข้าแทนที่ เปรียบเหมือนกระดาษขาวคือความบริสุทธิ์ของจิต ดินสอที่ขีดเขียนอะไรลงไปในกระดาษ คือจิตปรุงแต่ง ยางลบที่คอยลบข้อความต่างๆ ออกไป หรือหยุดเขียนข้อความต่างๆ ลงไปในกระดาษเสีย คือสติ หรือผู้ดู ผู้รู้

    นี่คือ...การทำจิตประภัสสร หรือจิตผ่องใส (ในระดับหนึ่ง)

    การไม่ทำบาปทั้งปวง และการทำกุศลให้ถึงพร้อม ธรรม 2 อย่างนี้ ทำกันได้ไม่ยากหรอก ส่วนธรรมข้อที่ 3 การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ นี้ซิ-ออกจะทำได้ยากอยู่ ถ้าขาดธรรมอันเป็นกำลัง

    ธรรมอันเป็นกำลัง (พละ 5) ได้แก่ ความเชื่อ (สัทธา) ความเพียร (วิริยะ) ความระลึกได้ (สติ) ความตั้งใจมั่น (สมาธิ) และปัญญา (ความรู้ทั่วชัด) ธรรม 5 อย่างนี้ เป็นอาหารของจิต และยาใจอย่างดีเชียวแหละ

    เพราะมีมาฆบูชา จึงมีโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งเป็น "คำสอนที่เป็นหลักใหญ่" หรือ "คำสอนที่เป็นประธานของคำสอนทั้งหมด" จึงเรียกว่า "หัวใจของพระพุทธศาสนา"

    มหัศจรรย์แห่งธรรม ดำรงอยู่ในหัวใจของผู้ใฝ่ธรรมเสมอ

    สยามประเทศไทยของเรา มีชาวพุทธประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ น่าภาคภูมิใจที่ เป็นเมืองพุทธ ถ้าชาวพุทธลืมหัวใจของพระ พุทธศาสนา จะเป็นผู้ "รู้-ตื่น-เบิกบาน" ได้อย่างไร ?!

    ---------
    [​IMG]
    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act05090252&sectionid=0130&day=2009-02-09
     
  4. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    มาฆบูชาคือโมฆบูชา?

    โดย ชำเลือง แผนสมบูรณ์


    [​IMG]

    มาฆบูชา คือ การบูชาในวันเพ็ญเดือนมาฆะ คือ เดือน 3 ซึ่งเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพุทธศาสนาดังทราบกันดี สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ก็ขอแจมเป็นกบในกะลาครอบศีรษะกันภัยเสื้อสองสีไว้ก่อน

    วันมาฆบูชาทุกปีซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ เป็นวันหยุดราชการเพื่อให้ข้าราชการ นักเรียน นักศึกษา ฯลฯ ที่เป็นพุทธศาสนิกชนปฏิบัติศาสนกิจเช่นเดียวกับพุทธศาสนิกชนทั่วไป เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรม เวียนเทียน สวดสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ฯลฯ

    พระพุทธเจ้าตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วสอนบุคคลอื่นให้ปฏิบัติตาม

    พระธรรม เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในทางชั่ว ซึ่งจะทำให้ตนเอง ผู้อื่นหรือสังคมส่วนรวมเดือดร้อนเสียหายได้

    พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมนั้นแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดผลดีแก่ตน

    พระรัตนตรัยมีคุณยิ่งจึงสมควรได้รับการบูชา พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าการบูชาบุคคลผู้ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุด

    การบูชามี 2 อย่าง คือ อามิสบูชา และ ปฏิบัติบูชา อย่างแรกเป็นการบูชาด้วยเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องสังเวยอื่นๆ เป็นต้น ส่วนการปฏิบัติบูชา คือ การบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสอน

    อามิสบูชา พระพุทธองค์ไม่ทรงสนับสนุน แม้บูชาด้วยอามิสมากเพียงใดก็ตาม บางศาสนาสอนให้ฆ่าสัตว์ฆ่ามนุษย์บูชาเทวดา หากเราเป็นผู้ถูกฆ่าบ้างก็ต้องว่าไม่ดี ส่วนพุทธศาสนาสอนไม่ให้ฆ่าสัตว์และมนุษย์ สอนให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน ไม่เบียดเบียนชีวิต การเบียดเบียนกันบุคคลย่อมเป็นอารยะไม่ได้ เพราะไม่เบียดเบียนทั้งปวงจึงเรียกว่าอารยะ (ไม่ขัดขืน) การเกื้อหนุนจุนเจือแทนการฆ่านั้น เป็นการบูชาอันชอบยิ่ง การบูชาที่เป็นมงคลสูงสุด คือ ปฏิบัติบูชา

    พระธรรม ซึ่งล้วนแต่เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนเป็นอันมากทุกชั้นวรรณะนั้น มีมากมายย่นย่อได้ 3 ประการ เรียกว่าหัวใจหรือหลักพระพุทธศาสนา คือ เว้นจากการทุจริตประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ประกอบสุจริตประพฤติดีด้วย กาย วาจา ใจ ประการสุดท้าย คือ ชำระจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ปราศจากเครื่องเศร้าหมองใจมี โลภ โกรธ หลง เป็นต้น

    หากปฏิบัติตามหลัก 3 ประการนี้ได้ ก็จะมีความสุขความเจริญตามควรแก่การปฏิบัติ จึงถือได้ว่าหลักธรรมทั้ง 3 นี้เป็นธรรมนูญชีวิตฉบับยอดเยี่ยมยิ่ง ไม่ต้องแก้ไข ใช้ได้ทุกกาละเทศะ ทุกสมัย ทุกรัฐบาล ไม่ต้องปฏิวัติรัฐประหารฉีกทิ้งแล้วร่างใหม่ฉีกทิ้งอีก

    การปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนาก็เพื่อขจัดทุกข์หรือปัญหาทั้งหลายที่ทำให้ไม่สบายกาย ไม่สบายใจให้หมด หรือเบาบางลงเพื่อให้กายใจสบาย ทุกข์ที่ทุกคนไม่ปรารถนามีหลายอย่าง เช่น การพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจ จากบ้านจากเมืองไปเป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น เช่น อยากเป็นรัฐบาลแต่ไม่ได้เป็นก็เป็นทุกข์

    การกำจัดทุกข์ต้องกำจัดที่เหตุให้เกิดทุกข์ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าธรรมทั้งปวงเกิดแต่เหตุและสงบระงับไปเพราะเหตุก่อน เหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหาความปรารถนาในอารมณ์

    ตัณหามี 3 ได้แก่ กามตัณหา ความปรารถนาในอารมณ์ที่ใคร่ ภวตัณหา ความอยากมีอยากเป็น เช่น อยากเป็นนักเมือง อยากเป็นรัฐบาล อยากเป็นนายกรัฐมนตรี อยากเป็นรัฐมนตรี อยากมีตำแหน่งใหญ่โต อยากมีเงินมากๆ ฯลฯ

    และวิภวตัณหา เหตุทุกข์ในความไม่อยากมีไม่อยากเป็น เช่น ไม่อยากเป็นฝ่ายค้าน ไม่อยากได้ใบเหลืองใบแดง ไม่อยากให้พรรคถูกยุบ ไม่อยากถูกเข้าชื่อถอดถอน ไม่อยากถูกย้ายล้างบาง ไม่อยากถูกไล่ตบ ฯลฯ

    ตัณหาผลักดันให้ต้องกระทำต่างๆ เพื่อให้สมปรารถนา ผู้ทำย่อมได้รับผลของการกระทำ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วเป็นทุกข์ตามกฎแห่งกรรม ตัวอย่างกฎแห่งกรรม

    - กรรม (การกระทำทางกาย วาจา ใจ) ย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวหรือดี

    - ผู้มีปัญญาทรามย่อมเดือดร้อนเพราะการกระทำของตนดุจถูกไฟเผาฉะนั้น

    - คนพาลย่อมสำคัญความชั่วว่ามีรสหวานตราบเวลาที่ความชั่วยังไม่ให้ผลเมื่อใดความชั่วให้ผลเมื่อนั้นเขาย่อมเข้าถึงความทุกข์

    - ถ้าท่านกลัวทุกข์ ไม่รักทุกข์ก็อย่าทำกรรมชั่วทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ถ้าท่านจักทำหรือทำอยู่ซึ่งกรรมชั่ว ความพ้นทุกข์จะไม่มีแก่ท่านผู้แม้โลดหนีไปอยู่

    เมื่อกลัวทุกข์ไม่รักทุกข์ก็ต้องขจัดตัณหาตามพุทธวิธี คือ ใช้มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง ไม่ยึดขั้วตึงหรือขั้วหย่อน เลือกข้างขั้วกลาง

    สำหรับสมณเพศ ละศฤงคารบ้านเรือนได้แล้ว ก็ใช้วิธีนี้ขจัดตัณหาที่อาจหลงเหลืออยู่บ้างได้

    แต่ผู้ครองเรือน บ้างยึดขั้วตึงเกินไป มีตัณหา 3 เป็นพันธมิตรชุมนุมอยู่ในตนอย่างเหนียวแน่นเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันแม้ในทางทุจริต ผู้รุมทำร้ายบ้านเมืองบาดเจ็บสาหัสต้องเข้าห้องไอซียู ผู้แสวงหาผลประโยชน์ทางการเมืองโดยมิชอบ ศฐบดีทั้งหลาย หากยังเป็นพุทธศาสนิกชนก็ต้องตอบแทนคุณแผ่นดินที่เกิดที่ตายใช้ตัณหาอย่างประหยัด ช่วยให้บ้านเมืองหายเจ็บป่วย พักผ่อนเป็นปกติสุขบ้าง

    ถ้าใช้มัชฌิมาปฏิปทาไม่ได้แม้สักน้อย ก็ขอเป็นแกนนำปลุกม็อบรับจ้างคนเดียวถือป้ายประท้วงให้ยึดธรรมนูญชีวิตที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศใช้ครั้งแรกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมื่อวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะในที่ประชุมครบองค์ ไม่ต้องเสนอนับองค์ประชุมให้วุ่นวายจนต้องสั่งพักการประชุม ถึงบัดนี้ก็สองพันหกร้อยกว่าปีแล้วละลายล้างตัณหาออกได้ง่ายกว่า

    ไม่ต้องชุมนุม ไม่ต้องต่อต้าน ให้เสียหายแต่อย่างใด

    ถ้าทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกขั้ว ทุกฝ่ายยึดธรรมนูญชีวิต ปฏิบัติบูชาสลายม็อบตัณหาได้บ้าง ตั้งแต่ไหนแต่ไรเสมอมาเพื่อชาติบ้านเมือง ก็เชื่อว่าไม่มีอะไรทับซ้อนซ่อนซุกตามที่ถูกกล่าวหา ไม่ต้องล่องหนเป็นนินจาไปกันคนละทิศละทาง ไม่มีลอบสังหาร ไม่มีสร้างสถานการณ์ ไม่มีนักกู้ชาติเฉพาะกิจ ไม่มีม็อบรับจ้าง ไม่มีใครต้องคดีกู้ชาติพิฆาตม็อบ ไม่มีมือถือสากปากถือศีล ไม่มีอหิงสาเป็นหิงสา ไม่มีกองทัพทำไม่ทำ ไม่มีอ้างทำเพื่อบ้านเมืองแต่แค้นเคืองทำเพื่อตน

    ไม่มีรัฐบาลนอกระบอบ ไม่มีฉบับลงประชามติให้ต้องดำริยื่นญัตติเข้าสภาขอแก้ไข จนดาวกระจัดกระจายตกลงเกลื่อนถนนถูกชาวบ้าน ยังกลายเป็นผีพุ่งไต้พุ่งเข้าใส่โดนทำเนียบอย่างจัง ต้องหนีกันหัวซุกหัวซุน บ้างก็พุ่งไปโดยแรงโดนท่อแก๊สน้ำตาแตกใส่ตัว ที่เหลือก็พุ่งเข้าสนามบิน

    ไม่มีรัฐประหารเงียบตามลักษณะปฏิบัติการที่สื่อพาดหัว กระบวนการยุติธรรมไม่ถูกแทรกแซงตามข่าว ไม่มีสองมาตรฐาน ไม่มีใบเหลืองใบแดง ไม่มีพรรคถูกยุบ ไม่มีบ้านเลขที่ตองหนึ่ง ไม่มีแบ่งฟากแบ่งฝ่ายทำลายเพื่อชัยชนะ ไม่มีต่างสีต่างกลิ่นไล่ตบกัน

    ไม่มีว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง ไม่มีรัฐบาล (เขาว่า) คุณขอมาใช้หนี้ ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ

    แต่มีมาฆบูชาทุกปี และขอบอกบุญท่านพุทธศาสนิกชนทุกคน ทุกสำนัก ทุกที่ว่า ตั้งแต่มาฆบูชาวันแห่งความรักของไทยปีนี้เป็นต้นไป ไม่ใช้อามิสบูชาขัดแย้งธรรมนูญชีวิต ด้วยเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมยาก ใช้ปฏิบัติบูชาอันเป็นมงคลสูงสุด บ้านเมืองได้อานิสงส์ หายเป็นปกติจากถูกตัณหาภิวัตน์รุมทำร้ายออกจากห้องไอซียูและไม่ถูกใครทำร้ายอีกต่อไป มิเช่นนั้นแล้ว มาฆบูชา คือ โมฆบูชา

    ยึดธรรมนูญชีวิตทีเถอะ หรือยึดได้แค่ที่ทำนาทำสนาม


    ----------
    [​IMG]
    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act06090252&sectionid=0130&day=2009-02-09
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    อัศจรรย์วันมาฆะ

    คอลัมน์ โลกสองวัย

    โดย บางกอกเกี้ยน



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>วันสำคัญทางพุทธศาสนานับตามวันทางจันทรคติ วันขึ้นแรม การนับวันขึ้นแรมเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย (เดือน 1) เป็นวันเริ่มปีใหม่ของปีนักษัตร

    ตามปฏิทินหลวง พุทธศักราช 2551 วันขึ้นปีฉลู คือวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย (เดือน 1) ตรงกับวันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน2551

    ส่วนใครจะนับวันขึ้นปีฉลูอย่างไร เช่นนับตามวันขึ้นปีใหม่แบบสากล คือวันที่ 1 มกราคม 2552 หรือนับตามปีปฏิทินของจีนที่นับเอาวันตรุษจีนเป็นวันขึ้นปีใหม่ ปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2552 เป็นวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 ก็ตามแต่จะนับ

    เดือน 3 เรียกอีกอย่างหนึ่ง คือ มาฆมาส หรือชื่อเดือนแห่งดาวมาฆะ ตรงกับเดือน 3ทางจันทรคติ ในทางพุทธศาสนา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันที่มีความพิเศษ 4 ประการ คือ

    เป็นวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3

    เป็นวันที่พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย

    พระภิกษุทั้งหมดนั้นล้วนแล้วเป็นเอหิภิกขุ คือได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้า

    พระภิกษุทั้งหมดนั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้ภิญญา 6

    เหตุที่เกิดขึ้นนี้เกิดก่อนเข้าพรรษาที่ 2 (หลังตรัสรู้ 9 เดือน) พระพุทธองค์จึงเห็นเป็นโอกาสเหมาะที่จะแสดงโอวาทปาติโมกข์ ประกาศหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติในการเผยแผ่พุทธศาสนาออกไปให้กว้างขวาง

    เนื้อหาของโอวาทปาติโมกข์ โดยสรุปคือ

    ให้ละความชั่วทุกอย่าง ทำความดีให้ถึงพร้อม และทำจิตใจให้ผ่องใส

    สำหรับประเทศไทยพิธีบูชาเนื่องในวันมาฆบูชา เริ่มครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงปรารภถึงความสำคัญของวันมาฆบูชาในเหตุทั้ง 4 ประการที่เรียกกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" จึงเห็นสมควรที่พุทธศาสนิกชนจะได้บูชาเพื่อรำลึกถึงความสำคัญของวันมาฆบูชา

    การประกอบพระราชกุศลในวันนั้น พระองค์เริ่มด้วยช่วงเช้านิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ และฉันภัตตาหารในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ช่วงค่ำ เสด็จออกฟังพระสงฆ์ทำวัตรเย็น สวดโอวาทปาติโมกข์ และทรงจุดเทียนเรียงรายตามราวขอบรอบพระอุโบสถ 1,250 เล่ม พระสงฆ์เทศนาโอวาทปาติโมกข์ พระสงฆ์ 3 รูป สวดมนต์รับเทศนา เป็นเสร็จพิธี

    เนื่องในโอกาสวันมาฆบูชาเวียนมาบรรจบอีกปีหนึ่ง ข้าพเจ้า(ผู้เขียน) ขอนำการเชิญชวนของศูนย์ประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มาเสนอต่อพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย โดยเฉพาะน้องหนูผู้รักการปฏิบัติธรรม ดังนี้

    เช้าตักบาตรพระสงฆ์ หรือถวายภัตตาหารเพล และบริจาคทรัพย์ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ยากไร้ และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์

    ตกเย็นไปฟังพระธรรมเทศนา และเวียนเทียนที่วัด

    ตลอดทั้งวันให้รักษาศีล สำรวมระวังกาย และวาจา ด้วยการรักษาศีล 5 หรือแก่กล้ารักษาศีล 8 ได้ก็ดี และบำเพ็ญเบญจธรรมไปด้วย

    พร้อมกันก็หมั่นเจริญภาวนาด้วยการไหว้พระสวดมนต์ ปฏิบัติธรรมเท่าที่จะปฏิบัติได้

    น้องหนูที่อยู่ในกรุงเทพมหานครมีวัดหลายวัดที่จัดกิจกรรมเนื่องในวันมาฆบูชาเพื่อให้พวกเราได้มีโอกาสไปบำเพ็ญบุญสร้างกุศล เช่น ตักบาตร

    ตอนเช้าไปถวายภัตตาหารเช้า ฟังเทศน์ช่วงสาย ถวายภัตตาหารเพล ฟังธรรมเทศนาตอนบ่าย และเวียนเทียนช่วงเย็นถึงค่ำ

    ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ขอให้พากันไปปฏิบัติธรรมในวันมาฆบูชาทั้งครอบครัวก็จะเป็นกุศลยิ่ง-สาธุ


    --------
    [​IMG]
    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra04090252&sectionid=0131&day=2009-02-09
     
  6. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    สดับธรรม"โอวาทปาติโมกข์" พุทธปฏิบัติรับวัน"มาฆบูชา"

    "โอวาทปาฏิโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นการประมวลคำสอนหลักของพระพุทธศาสนา เพื่อให้พระสงฆ์สาวกนำไปประพฤติปฏิบัติ และนำไปสั่งสอนผู้อื่นในแนวทางเดียวกัน..."

    <STYLE> P { margin: 0px; } </STYLE>มาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งพุทธศาสนิกชนจะพร้อมใจกันทำบุญเป็นกรณีพิเศษกว่าปกติ เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ นับว่าเป็นวันที่พระพุทธศาสนาได้วางรากฐานมั่นคง เรียกวันดังกล่าวนี้ว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งแปลว่า วันที่มีการประชุมที่ ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือ





    ๑. พระภิกษุสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
    ๒. พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
    ๓. พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้บวชให้เองทั้งสิ้น
    ๔. วันประชุมนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน ๓)





    [​IMG]

    เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่น่าอัศจรรย์เช่นนี้ พระพุทธองค์จึงทรงถือโอกาสแสดงโอวาทปาติโมกข์ คือ คำสอนที่เป็นหลักสำคัญ ในทางพระพุทธศานา ในท่ามกลางพระอริยสงฆ์นั้น นับเป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้นตลอดพุทธกาล โอวาทปาฏิโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นการประมวลคำสอนหลักของพระพุทธศาสนา เพื่อให้พระสงฆ์สาวกนำไปประพฤติปฏิบัติ และนำไปสั่งสอนผู้อื่นในแนวทางเดียวกัน


    หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติได้แก่ โอวาทปาติโมกข์ หมายถึงหลักคำสอนคำสำคัญของพระพุทธศาสนาอันเป็นไปเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น หรือคำสอนอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ วิธีการ ๖ ดังนี้

    หลักการ ๓

    ๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น การลด ละเลิก ทำบาปทั้งปวง ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งความชั่ว มีสิบประการ อันเป็นความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ



    ความชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม
    ความชั่วทางวาจา ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ
    ความชั่วทางใจ ได้แก่ การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม

    ๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดี ทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี ๑๐ อย่าง อันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ



    การทำความดีทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายเบียดเบียน ผู้อื่นมีแต่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการไม่ประพฤติผิดในกาม


    การทำความดีทางวาจา ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อพูดแต่คำจริง พูดคำอ่อนหวาน พูดคำให้เกิดความสามัคคีและพูดถูกกาลเทศะ


    การทำความดีทางใจ ได้แก่ การไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่นมีแต่คิดเสียสละการไม่ผูกอาฆาตพยาบาทมีแต่คิดเมตตาและปรารถนาดีและมีความเห็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

    ๓. การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบ มี ๕ ประการ ได้แก่




    ๑. ความพอใจในกาม (กามฉันทะ)
    ๒. ความอาฆาตพยาบาท (พยาบาท)
    ๓. ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน (ถีนะมิทธะ)
    ๔. ความฟุ้งซ่าน รำคาญ (อุทธัจจะกุกกุจจะ) และ
    ๕. ความลังเลสงสัย (วิกิจฉา) เช่น สงสัยในการทำความดี ความชั่วว่ามีผลจริงหรือไม่

    วิธีการทำจิตให้ผ่องใส ที่แท้จริงเกิดขึ้นจากการละบาปทั้งปวงด้วยการถือศืลและบำเพ็ญกุศล ให้ถึงพร้อมด้วยการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา จนได้บรรลุอรหัตผล อันเป็นความผ่องใสที่แท้จริง

    อุดมการณ์ ๔

    ๑. ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกายวาจา ใจ
    ๒. ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้ายรบกวน หรือ เบียดเบียนผู้อื่น
    ๓. ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ
    ๔. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จาการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘

    วิธีการ ๖

    ๑. ไม่ว่าร้าย ได้แก่ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือ กล่าวโจมตีใคร
    ๒. ไม่ทำร้าย ได้แก่ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
    ๓. สำรวมในปาติโมกข์ ได้แก่ ความเคารพระเบียบวินัย กฎ กติกา กฎหมาย รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของสังคม
    ๔. รู้จักประมาณ ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหาร หรือการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ
    ๕. อยู่ในสถานที่ที่สงัด ได้แก่ อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
    ๖. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ ได้แก่ ฝึกหัดชำระจิตให้สงบมีสุขภาพ คุณภาพและประสิทธิภาพที่ดี


    ขอขอบคุณข้อมูล จาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ



    ---------
    [​IMG]
    http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1234158005&grpid=01&catid=08
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    [​IMG][​IMG] ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...[​IMG][​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...