วัวธนู หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย wasan112, 29 มีนาคม 2017.

  1. wasan112

    wasan112 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,159
    ค่าพลัง:
    +161
    ชื่อบัญชี นาย วสันต์ ปิงสอน เลขที่บัญชี 5130066332 ธนาคาร กรุงไทย สาขา ลอง โทร 0819517866 id line wasan112 หรือ pm มาครับ

    ปิดแล้วครับ
    วัวธนูที่จัดสร้างขึ้นมามีหลายสำนัก หลายคณาจารย์ แต่มีอยู่หนึ่งท่านที่สร้างวัวธนูได้เข้มขลังมาก เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป นั่นก็คือ วัวธนู หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม หลวงพ่อน้อยได้จัดสร้างวัวธนูขึ้นตามตำรับโบราณตกทอดกันมา เจ้าของต้นตำรับการสร้างวัวธนูก็คือ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว

    สมเด็จ พระพนรัตน์ ท่านเป็นมหาเถระ ผู้แก่กล้าทางวิปัสสนา และยังเชี่ยวชาญทางด้านเวทย์มนต์คาถา ท่านได้ดำริสร้างวัวธนูขึ้นมาโดยเอาชันโรงมาสร้างวัวธนู และต้องเป็นชันโรงที่ได้มาจากต้นพุทราเท่านั้น (โบราณว่าใครพกชันโรงติดตัวจะแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง และมีเสน่ห์เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรีอีกด้วย)

    วัวธนู หลวงพ่อน้อย ที่จัดสร้างมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ

    1. สร้างจากเขาวัวกระทิงโดยใช้ส่วนปลายของเขามาแกะเป็นรูปวัว เขาวัวกระทิง 1 ข้างสร้างได้แค่ตัวเดียวเท่านั้น

    2. สร้างขึ้นจากครั่งพุทราและต้องเป็นครั่งที่จับกิ่งพุทราเป็นกิ่งที่อยู่ทางทิศตะวันออกเท่านั้น

    วิธีการสร้างวัวธนูตำรับหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง

    ในการจัดสร้างวัวธนู หลวงพ่อน้อย จะจัดพิธีในโบสถ์ เครื่องสังเวย มีหัวหมู เครื่องพร่าปลายำ และผลไม้ต่าง ๆ ล้อมวงด้วยสายสิญจน์รอบโบสถ์ พอถึงฤกษ์สิทธิโชคที่หลวงพ่อน้อยกำหนดไว้ ก็เริ่มจุดธูปเทียนชัย ผู้ที่จะเข้าร่วมพิธีทุกคน จะต้องถือศีลห้าก่อน 7 วัน และต้องนุ่งขาวห่มขาว เนื่องจากการสร้างวัวธนูจะต้องสร้างให้เสร็จสิ้นภายใน 2 ชั่วโมง 27 นาที และต้องจัดสร้างในวันมาฆบูชาหรือในวันวิสาขบูชาเท่านั้น ฉะนั้นจึงต้องมีการตระเตรียมวัสดุที่จะมาสร้างวัวธนูไว้แต่เนิ่น ๆ เช่น มีการผูกโครงวัวธนูด้วยเส้นลวดทองแดง และเตรียมแผ่นโลหะทองแดงสำหรับทำตะกรุดดอกเล็กเพื่อบรรจุในโครงวัวธนูด้วย ส่วนชันโรงได้นำมารวมกันใส่ในภาชนะตั้งไฟเคี่ยวเตรียมไว้เช่นกัน

    พอถึงฤกษ์ที่กำหนดไว้ หลวงพ่อน้อยก็ลงอักขระขอมในแผ่นโลหะพร้อมม้วนเป็นตะกรุด หลวงพ่อน้อยจะจารด้วยพระคาถาหัวใจพระฉิม “นะชาลิติ” บางแผ่นอาจมีจาร นะ๒๑ และโม๑๒ เข้าไปด้วย (หมายถึงคุณบิดามารดาผู้ให้กำเนิด) เสร็จแล้วท่านก็จะส่งให้ผู้เข้าร่วมพิธีนำไปบรรจุในโครงลวดและให้เอาชันโรงที่เคี่ยวไว้พอกทับโครงวัวธนู วัวธนูที่ปั้นเสร็จแล้วหลวงพ่อน้อยจะนำมาเจิมที่เขาด้วยน้ำมันจันทน์ทุกตัว พร้อมทั้งภาวนาคาถากำกับซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

    วิธีบูชาวัวธนู หลวงพ่อน้อย

    เมื่อท่านได้วัวธนูหลวงพ่อน้อยมาบูชาแล้ว ให้ทำหิ้งหรือชั้นสำหรับตั้งบูชา หรือจะจัดทำเป็นคอกวัวเล็ก ๆ ก็ได้ ส่วนเครื่องสักการะก็มีน้ำจากบ่อหรือสระก็ได้ 5 บ่อ บ่อละนิดหน่อยใส่ภาชนะเล็ก ๆ ไว้บูชา ใบพุทรา 5 ใบ หญ้าคา 5 ใบ ม้วนให้เล็ก ๆ โดยใช้ด้ายผูก เมื่อเตรียมเสร็จแล้ว ให้จุดธูป 4 ดอก เทียน 1 คู่ แล้วน้อมระลึกถึงสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ต้นตำรับการสร้างวัวธนูเป็นอันดับแรก น้อมระลึกถึง ทวดมี ทวดมา ผู้เป็นบิดา มารดา ของหลวงพ่อน้อย และสุดท้ายก็หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง เสร็จแล้วให้ภาวนาคาถากำกับพระคาถาดังนี้

    เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ

    ตะยะสาทา สาสาทิกุ กุทิสาสา

    กุตะกุภู ภูกุตะกุ ตะพุทธะโคสวาหะ

    เอเตนะ สัจเจนะ โสตถิเตฯ ชัย มังคลานิ (สวด 3 จบ)

    อภัยกุสุนราชา วิชัยพระรุทสุดยอดสอดอินทรา

    นันตรา สุขังโหตุ ชัยมังคลานิฯ (สวด 1 จบ)

    คาถาถวายหญ้าและน้ำ

    อมธัมมิธัมเม รัตนัง ปณีตัง

    ตถูปมัง สปุริสัง วันทามิ มิหัง (สวด 1 จบ)

    คุณประโยชน์ของวัวธนู หลวงพ่อน้อย

    จากประสบการณ์ และผู้ได้พบเห็นสรรพคุณของวัวธนู และตำนานโบราณกล่าวไว้ว่าดังนี้

    1. ให้ประโยชน์ในด้านทำมาค้าขาย หรือจะติดต่อผู้ใดแม้จะไปพบปะศัตรูก็ตามให้พกวัวธนูติดตัวไป

    2. ไปหาผู้ใหญ่หรือเจ้านายให้เอาน้ำรดวัวแล้วรองน้ำนั้นไปปะพรมตัวเองหรือจะปะพรมสิ่งของ ที่จะนำไปมอบให้ผู้ใหญ่ เขาเหล่านั้นจะรักและเอ็นดูและเกื้อกูลให้สำเร็จสมประสงค์

    3. ถ้ามีวัวควายเจ็บป่วยไม่กินหญ้ากินน้ำให้เอาน้ำรดวัวธนูแล้วรองเอาน้ำไปปะพรมหญ้าและผสมน้ำให้วัวควายกิน จะหายและแข็งแรงยิ่งขึ้น

    4. อาบน้ำวัวธนูแล้วรองน้ำมาอาบตัวยิ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำด้วยยิ่งวิเศษสุด จะเป็นมงคลและมีเสน่ห์

    5. พกติดตัวจะช่วยป้องกันชีวิต นอกจากนั้นใช้ในด้านคงกะพันชาตรีก็ได้ผลดีเช่นกัน

    6. วัวธนูใช้ป้องกันอาถรรพ์ ป้องกันผู้ร้าย และป้องกันไฟได้ดี

    7. วิธีบอกอาณาเขตให้วัวธนูดูแลให้เอาน้ำรดวัวธนูแล้วเอาถังน้ำมารองให้นำน้ำนี้ไปรดแนวรั้วทั้ง 4 ด้าน ของพื้นที่บ้านเพื่อเป็นการบอกอาณาเขตที่วัวธนูต้องดูแลบ้านหลังนั้น

    เรื่องเล่าเกี่ยวกับวัวธนู หลวงพ่อน้อย

    เรื่องแรก นานมาแล้วมีเศรษฐินีที่สามพรานคนหนึ่ง ชื่อจันทร์ ได้นิมนต์คณาจารย์ชื่อดังจำนวนหลายองค์ ไปในงานฉลองตลาดใหม่โรงหมูและเรือยนต์ โดยมีหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง, หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง รวมอยู่ด้วย โดยอาจารย์ทั้ง 3 องค์ไปก่อนวันงาน 1 วัน เนื่องจากเป็นอาจารย์ที่เคารพนับถือของเจ้าของงาน จึงต้องค้างแรมที่บ้านงานจัดเตรียมไว้ให้ คืนวันนั้นตกดึกหลวงปู่บุญได้ลุกขึ้นมาเพื่อไปทำกิจได้เดินผ่านหลวงพ่อน้อยไปเกิดพบเห็นอัศจรรย์ รุ่งเช้าพอฉันเพล ท่านก็นั่งเสวนาร่วมกับบรรดาพระที่ไปร่วมงานครั้งนั้น โดยมีการเสวนาดังนี้

    หลวงปู่บุญ...นี่ท่านน้อยเมื่อคืนฉันลงไปทำกิจเห็นรัศมีไฟสีแดงลุกท่วมตัวท่าน ท่านมีอะไรดีล่ะ

    หลวงพ่อแช่ม...อึ้ม ฉันก็เห็นเหมือนกัน

    หลวงพ่อน้อย...ไม่มีอะไรหรอก มีแต่วัวธนูในย่ามอยู่ตัวหนึ่ง

    หลวงปู่บุญ...อ้อ...ท่านทำเองใช้เองนะ ว่าง ๆ ทำให้ฉันใช้บ้างซิ

    เรื่องที่สอง คืนหนึ่งมีขโมยตั้งใจจะมาขโมยทรัพย์สินของจีนเส็ง (เจ้าของบ้าน) ซึ่งเป็นลูกศิษย์คนโปรดคนหนึ่งของหลวงพ่อน้อย จีนเส็งเป็นคนร่ำรวย ทำมาค้าขายอยู่ในนครชัยศรี และมีวัวธนูของหลวงพ่อน้อยไว้เฝ้าบ้านอยู่ตัวหนึ่ง คืนนั้นหลังจากดาวหมาขึ้นแล้วได้ฤกษ์ปลอด ขโมยผู้เรืองวิชาหยิบก้อนดินพร้อมกับภาวนาบริกรรมปลุกเสกก้อนดินเสร็จแล้วก็เหวี่ยงก้อนดินข้ามหลังคาบ้านจีนเส็ง เพื่อจะสะกดจีนเส็งและคนในบ้านให้หลับใหล แต่วัวธนูที่อยู่ในบ้านได้ยินเสียงผิดปรกติ จึงลุกขึ้นกระโดดออกจากบ้านตัว ดำมะเมื่อม ตาแดงปัด ร่างใหญ่โต ทำให้โจรพบเห็นจึงเกิดความหวาดกลัว จึงล่าถอยไป ภายหลังขโมยคนนั้นได้เล่าเรื่องนี้ให้เพื่อน ๆ ฟังจนเป็นที่รู้กันทั่ว
    วัวธนู หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง แกะจากเขาวัวกระทิง

    ลักษณะการปั้นวัวธนู ของหลวงพ่อน้อย

    วัวธนูหลวงพ่อน้อยมีอยู่ด้วยกันหลายขนาด

    - ขนาดใหญ่ ใช้บูชาประจำบ้าน มีความยาวถึง 5-6 นิ้ว

    - ขนาดกลาง ใช้บูชาประจำบ้านเหมือนกัน มีความยาวถึง 3-4 นิ้ว

    - ขนาดเล็ก ใช้พกติดตัว ความยาว 1-2 นิ้ว เป็นแบบที่นิยมที่สุด

    - ขนาดจิ๋ว ส่วนใหญ่จะใส่ในตลับสีผึ้ง

    1. ลักษณะการปั้นวัวธนูขนาดใหญ่ ให้สังเกตจะปั้นลำตัวยาว และผอม ขาหลังสั้นกว่าขาหน้า จะยืนค่อนข้างตรงหน้าเชิด ๆ ขึ้น เขาวัวงุ้มลง หางวัวจะปั้นใหญ่แต่สั้น

    2. ลักษณะการปั้นวัวธนูขนาดกลาง ให้สังเกตจะปั้นได้สัดส่วนกว่าขนาดใหญ่ แต่ไม่ทิ้งเอกลักษณ์ขาหลังสั้นกว่าขาหน้า ยืนขาถ่างเล็กน้อย หน้าเชิด ๆ เช่นกัน เขาวัวงุ้มลง หางวัวจะใหญ่แต่สั้น

    3. วัวธนูขนาดเล็ก เป็นขนาดที่นิยมที่สุด มีจำนวนการสร้างมากกว่าขนาดอื่น ลักษณะการปั้นได้สัดส่วน ขาหลังสั้นกว่าขาหน้ายืนขาถ่าง หน้าเชิด ๆ เขาวัวปั้นชี้ขึ้นและถ่างออก หางวัวจะใหญ่แต่สั้น

    4. วัวธนูขนาดจิ๋ว จะปั้นไม่ค่อยได้สัดส่วน ให้รู้คร่าว ๆ ว่าเป็นวัวธนูเท่านั้น

    5. ลักษณะชันโรงที่ปั้นวัวธนูจะมีสีดำอมน้ำตาล มีจุดแดง ๆ อมน้ำตาลลักษณะเนื้อในใส ๆ บ้างบางจุด

    6. พื้นผิวของวัวธนูจะไม่เรียบ มีรอยกระปุ่มกระป่ำมีรอยปริแตกของครั่งเป็นรอยแบบเล็บจิกลงไปในเนื้อ บางจุดจะมีผงขาว ๆ อมเหลืองติดอยู่ตามตัววัวธนู ที่จริงเป็นเปลือกต้นพุทราที่ติดมากับชันโรง

    7. วัวธนูหลวงพ่อน้อยจะไม่มีการลงรักปิดทองส่วนใหญ่ที่เห็นก็จะปิดทองแค่แผ่นเดียวบนครั่งพุทราที่ตัววัวเลย และไม่มีการลงอักขระหรือจารบนตัววัว เนื่องจากหลวงพ่อน้อยได้ฝังตะกรุดในลำตัววัวก่อนที่จะพอกครั่งทับ

    8. วัวธนูส่วนใหญ่จะมีโครงลวดทองแดงและมีตะกรุดทองแดงบรรจุอยู่ในลำตัววัว จึงทำให้วัวธนูมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ก็มีวัวธนูส่วนหนึ่งที่ไม่มีโครงลวดทองแดงและตะกรุดทองแดงบรรจุอยู่ในตัววัว จึงทำให้วัวมีน้ำหนักเบาเล็กน้อย ให้ผู้อ่านสังเกตศิลปะการปั้นวัวธนูและดูพื้นผิวครั่ง ดังที่กล่าวข้างต้นแทน

    9. ส่วนวัวธนูที่แกะจากเขากระทิงส่วนใหญ่จะแกะเป็นวัวขนาดเล็กทั้งสิ้น ศิลปะการแกะก็คล้าย ๆ วัวธนูแบบครั่งพุทรา และบางตัวจะมีจารอักขระข้าง ๆ ลำตัวด้วย

    ขอบคุณข้อมูล โดย คุณ ช้างไทย...

    เปิดให้บูชา 4999 บาท ค่าจัดส่ง 50 บาทตัวนี้ขนาด 4 ซม.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF3381.JPG
      DSCF3381.JPG
      ขนาดไฟล์:
      65.5 KB
      เปิดดู:
      895
    • DSCF3382.JPG
      DSCF3382.JPG
      ขนาดไฟล์:
      59.8 KB
      เปิดดู:
      368
    • DSCF3385.JPG
      DSCF3385.JPG
      ขนาดไฟล์:
      59 KB
      เปิดดู:
      363
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2017

แชร์หน้านี้

Loading...