วาวไสวใจสั่น หวั่นองค์อัปสรา จาก "ศรีขรภูมิ" ถึง "ตุนหวง"

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย guawn, 17 มีนาคม 2007.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>วาวไสวใจสั่น หวั่นองค์อัปสรา จาก "ศรีขรภูมิ" ถึง "ตุนหวง" </TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] [​IMG] เคยเล่าให้ฟังว่า งานศิลปะชิ้นสำคัญที่ประดับสนามบินสุวรรณภูมิให้มีสง่าราศี คือประติมากรรมเทิดทูนพระนารายณ์ ในฐานะองค์ประธานงานมหกรรมกวนเกษียรสมุทร


    เพื่อให้ได้น้ำอมฤตสำหรับเทวดาดื่มกินแล้วมีชีวิตเป็นอมตะ แต่ก่อนที่จะได้น้ำอมฤต มีหลายสิ่งผุดขึ้นมา เช่น ลักษมีเทวี ซึ่งพระนารายณ์อัญเชิญไปเป็นชายา ช้างเอราวัณ พระอินทร์จับจองเป็นพาหนะทรง (ตราสัญลักษณ์กรุงเทพมหานคร) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งนางอัปสราหรือเทพอัปสร ที่ผุดขึ้นมามากมายถึง 35 ล้านองค์
    ทำเอาพระนารายณ์ปวดเศียร เลยบัญชาให้ไปเป็นบาทบริจาริการับใช้เทวดาตามวิมานสถานต่างๆ กลายเป็นคตินิยมของช่างอินเดียและช่างขอมโบราณ นิยมแกะสลักภาพนางอัปสราประดับไว้ตามเทวสถานฮินดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาปราสาทนครวัด มีนางอัปสราประดับไว้ทุกซอกหลืบกว่า 1,700 องค์ เป็นเสน่ห์ตรึงใจใครต่อใครให้ใหลหลง อย่าง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ถึงกับพรรณนาว่าเทพอัปสรนครวัดนั้น ยิ้มหวานอย่างเมฆยามอรุณ
    แต่น่าฉงนใจนัก ว่าเหตุใด ปราสาทขอมซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตแดนประเทศไทย อย่างปราสาทพนมรุ้ง และพิมาย จึงไม่มีนางอัปสราประดับไว้ ทั้งๆ ที่พนมรุ้งก็สร้างโดยพระญาติวงศ์ของกษัตริย์ผู้สร้างปราสาทนครวัด และเมืองพิมายหรือ "วิมายปุระ" ก็ออกจะเป็นหัวเมืองสำคัญของขอม แต่นางอัปสรากลับปรากฏที่ปราสาทขนาดเล็กประจำท้องถิ่น อย่างปราสาทตาเมือนธม และปราสาทศรีขรภูมิ จ.สุรินทร์
    ตาเมือนธมนั้นตั้งอยู่ประชิดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จุดที่เคยเป็นสมรภูมิรบมาก่อน ภาพนางอัปสราจึงชำรุดเหลือเพียงท่อนขาน่าเสียดายนัก จะเหลือที่สมบูรณ์แทบไร้รอยตำหนิ คือนางอัปสราประดับกรอบประตูปรางค์ประธาน ปราสาทศรีขรภูมิ ซึ่งนักโบราณคดีอนุมาน (การคาดเดาอย่างมีหลักวิชาการ) ว่าเป็นนางอัปสราศิลปะนครวัด ดูจากการวางเท้า และการประดับเครื่องถนิมพิมพาภรณ์ ตลอดจนองค์เอวที่คอดกิ่วตามคตินิยมสมัยนครวัด เพียงแต่อัปสราศรีขรภูมิมีตะโพกผายและทรวงอกอวบอิ่มกว่า ซึ่งอาจเกิดจากพิมพ์นิยมของช่างท้องถิ่นแตกต่างจากช่างหลวงบ้างเป็นธรรมดา แต่ที่น่ารักน่าเอ็นดู ชนิดที่อัปสรานครวัดไม่มีให้เห็น คือนกแก้วที่ประดับบ่าขวา และกระรอกที่ประดับบ่าซ้ายนางอัปสราศรีขรภูมิ เป็นจินตนาการบรรเจิดของช่างท้องถิ่น อันคุ้มค่าแก่การสัญจรไปทัศนาเป็นบุญตา เพราะงามจนทำให้ใจไหวหวั่น เหมือนกับที่เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และ ดนู ฮันตระกูล พรรณนาไว้ในบทเพลง "อัปสรา" ว่า...อ่าองค์อัปสรา ฟ้าหยาดแสงดาว ดวงตาสุกสกาว วาวไสวใจหวั่น ร่ายรำสำอาง สมดั่งนางฟ้าลาวัลย์ คัจฉะปี่กันตรึมกระชั้น เจรียงรับอัปสรา...
    แต่แม้ว่าเทพฮินดูจะเป็นผู้ให้กำเนิดอัปสรา ทว่าเมื่อศาสนาพุทธอุบัติขึ้น อัปสราก็กลายมาเป็นเทพธิดาผู้พิทักษ์พุทธสถานด้วย โดยเฉพาะพุทธสถานฝ่ายมหายาน อย่างปราสาทบายน เมืองนครธมอันเกรียงไกรของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และถึงแม้อัสราจะเกิดในอินเดีย แต่เมื่อพุทธมหายานแพร่หลายตามเส้นทางสายไหมไปจำเริญรุ่งเรืองในจีน เมื่อ 1,500 ปีก่อน เราจึงได้เห็นนางอัปสราหน้าตาเป็นหมวย ประดับอยู่ตามผนังถ้ำพุทธศิลป์โม่เกา ณ เมืองตุนหวง อดีตชุมทางการค้าบนเส้นทางสายไหม
    แล้วไม่ใช่แค่ภาพสองภาพ แต่มีอยู่มากมายถึง 4,500 องค์อัปสรา ประดับรายรอบจิตรกรรมฝาผนังภาพพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ใน 270 ถ้ำพระ จากทั้งหมด 492 ถ้ำ ซึ่งองค์การยูเนสโกยกย่องเป็นมรดกโลกประเภทพุทธศิลป์อันล้ำเลอค่าของมนุษยชาติ อัปสราบางองค์ เช่นที่ถ้ำหมายเลข 112 จิตรกรสมัยราชวงศ์ถังรังสรรค์ให้มีท่วงท่าพิสดารเหลือเกิน คือยืนย่อเข่าร่ายรำ แล้วยังอ้อมแขนกับเอื้อมมือไปดีดพิณจากด้านหลังด้วย เรียกว่าถ้าเป็นกีตาร์ก็ต้องระดับ "กีตาร์เทพ" หรือ "กีตาร์กูรู" ถึงจะดีดท่านี้ได้
    เหมือนอัปสราที่ปราสาทบายน ก็ยืนย่อเข่าเท้าเดียวแล้วร่ายรำ จนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตั้งชื่อให้ด้วยพระอารมณ์ขัน ไว้ในพระราชนิพนธ์ "เขมรสามยก" ว่า "ท่าผิดมนุษย์ม้วย" แต่ก็ด้วยความพิสดารพันลึกนี่เอง ที่ทำให้ภาพนางอัปสราดีดพิณจากถ้ำ 112 กลายมาเป็นรูปปั้นขนาดใหญ่ ประดับที่สี่แยกใจกลางเมืองตุนหวง จนดูเหมือนจะกลายเป็นภาพลักษณ์ของเมืองนี้ในสายตาชาวโลกไปเสียแล้ว
    ล่าสุด สำนักข่าวซินหัวของจีนรายงานว่า กว่าครึ่งของภาพเขียนบนผนังถ้ำโม่เกา 492 ถ้ำ กำลังถูกฝุ่นทรายกัดกร่อนอย่างหนัก เพราะความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำและป่าไม้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างร้อนรน เกินกว่าที่ธรรมชาติจะรับไหว จนนักธรณีวิทยาเตือนว่า บางจุดของถ้ำพุทธศิลป์โม่เกาความยาว 1.6 กม. อาจพังทลายลงมาในไม่ช้า ตราบใดที่รัฐบาลจีนยังเลือกอนุรักษ์การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างบ้าคลั่ง มากกว่าการอนุรักษ์มรดกทางอารยธรรมของชาวจีนและของโลก
    นึกแล้วก็ให้...วาวไสวใจสั่น หวั่นองค์อัปสรา มาแหลกลาญด้วยน้ำมือมนุษย์ก็ครานี้กระมัง? ชมรมท่องอุษาคเนย์ขอเชิญร่วมเดินทาง "สู่เมืองแมนที่ปลายฟ้า" (ลี่เจียง-จงเตี้ยน-แชงกรีล่า) วันที่ 9-13 พ.ค. สำรองที่นั่ง โทร.0-2637-7321-2, 08-1823-7373
    เรื่องและภาพ...ธีรภาพ โลหิตกุล

    -->[​IMG]
    เคยเล่าให้ฟังว่า งานศิลปะชิ้นสำคัญที่ประดับสนามบินสุวรรณภูมิให้มีสง่าราศี คือประติมากรรมเทิดทูนพระนารายณ์ ในฐานะองค์ประธานงานมหกรรมกวนเกษียรสมุทร
    เพื่อให้ได้น้ำอมฤตสำหรับเทวดาดื่มกินแล้วมีชีวิตเป็นอมตะ แต่ก่อนที่จะได้น้ำอมฤต มีหลายสิ่งผุดขึ้นมา เช่น ลักษมีเทวี ซึ่งพระนารายณ์อัญเชิญไปเป็นชายา ช้างเอราวัณ พระอินทร์จับจองเป็นพาหนะทรง (ตราสัญลักษณ์กรุงเทพมหานคร) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งนางอัปสราหรือเทพอัปสร ที่ผุดขึ้นมามากมายถึง 35 ล้านองค์
    ทำเอาพระนารายณ์ปวดเศียร เลยบัญชาให้ไปเป็นบาทบริจาริการับใช้เทวดาตามวิมานสถานต่างๆ กลายเป็นคตินิยมของช่างอินเดียและช่างขอมโบราณ นิยมแกะสลักภาพนางอัปสราประดับไว้ตามเทวสถานฮินดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาปราสาทนครวัด มีนางอัปสราประดับไว้ทุกซอกหลืบกว่า 1,700 องค์ เป็นเสน่ห์ตรึงใจใครต่อใครให้ใหลหลง อย่าง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ถึงกับพรรณนาว่าเทพอัปสรนครวัดนั้น ยิ้มหวานอย่างเมฆยามอรุณ [​IMG]
    แต่น่าฉงนใจนัก ว่าเหตุใด ปราสาทขอมซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตแดนประเทศไทย อย่างปราสาทพนมรุ้ง และพิมาย จึงไม่มีนางอัปสราประดับไว้ ทั้งๆ ที่พนมรุ้งก็สร้างโดยพระญาติวงศ์ของกษัตริย์ผู้สร้างปราสาทนครวัด และเมืองพิมายหรือ "วิมายปุระ" ก็ออกจะเป็นหัวเมืองสำคัญของขอม แต่นางอัปสรากลับปรากฏที่ปราสาทขนาดเล็กประจำท้องถิ่น อย่างปราสาทตาเมือนธม และปราสาทศรีขรภูมิ จ.สุรินทร์
    ตาเมือนธมนั้นตั้งอยู่ประชิดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จุดที่เคยเป็นสมรภูมิรบมาก่อน ภาพนางอัปสราจึงชำรุดเหลือเพียงท่อนขาน่าเสียดายนัก จะเหลือที่สมบูรณ์แทบไร้รอยตำหนิ คือนางอัปสราประดับกรอบประตูปรางค์ประธาน ปราสาทศรีขรภูมิ ซึ่งนักโบราณคดีอนุมาน (การคาดเดาอย่างมีหลักวิชาการ) ว่าเป็นนางอัปสราศิลปะนครวัด ดูจากการวางเท้า และการประดับเครื่องถนิมพิมพาภรณ์ ตลอดจนองค์เอวที่คอดกิ่วตามคตินิยมสมัยนครวัด เพียงแต่อัปสราศรีขรภูมิมีตะโพกผายและทรวงอกอวบอิ่มกว่า ซึ่งอาจเกิดจากพิมพ์นิยมของช่างท้องถิ่นแตกต่างจากช่างหลวงบ้างเป็นธรรมดา แต่ที่น่ารักน่าเอ็นดู ชนิดที่อัปสรานครวัดไม่มีให้เห็น คือนกแก้วที่ประดับบ่าขวา และกระรอกที่ประดับบ่าซ้ายนางอัปสราศรีขรภูมิ เป็นจินตนาการบรรเจิดของช่างท้องถิ่น อันคุ้มค่าแก่การสัญจรไปทัศนาเป็นบุญตา เพราะงามจนทำให้ใจไหวหวั่น เหมือนกับที่เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และ ดนู ฮันตระกูล พรรณนาไว้ในบทเพลง "อัปสรา" ว่า...อ่าองค์อัปสรา ฟ้าหยาดแสงดาว ดวงตาสุกสกาว วาวไสวใจหวั่น ร่ายรำสำอาง สมดั่งนางฟ้าลาวัลย์ คัจฉะปี่กันตรึมกระชั้น เจรียงรับอัปสรา...
    แต่แม้ว่าเทพฮินดูจะเป็นผู้ให้กำเนิดอัปสรา ทว่าเมื่อศาสนาพุทธอุบัติขึ้น อัปสราก็กลายมาเป็นเทพธิดาผู้พิทักษ์พุทธสถานด้วย โดยเฉพาะพุทธสถานฝ่ายมหายาน อย่างปราสาทบายน เมืองนครธมอันเกรียงไกรของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และถึงแม้อัสราจะเกิดในอินเดีย แต่เมื่อพุทธมหายานแพร่หลายตามเส้นทางสายไหมไปจำเริญรุ่งเรืองในจีน เมื่อ 1,500 ปีก่อน เราจึงได้เห็นนางอัปสราหน้าตาเป็นหมวย ประดับอยู่ตามผนังถ้ำพุทธศิลป์โม่เกา ณ เมืองตุนหวง อดีตชุมทางการค้าบนเส้นทางสายไหม [​IMG]
    แล้วไม่ใช่แค่ภาพสองภาพ แต่มีอยู่มากมายถึง 4,500 องค์อัปสรา ประดับรายรอบจิตรกรรมฝาผนังภาพพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ใน 270 ถ้ำพระ จากทั้งหมด 492 ถ้ำ ซึ่งองค์การยูเนสโกยกย่องเป็นมรดกโลกประเภทพุทธศิลป์อันล้ำเลอค่าของมนุษยชาติ อัปสราบางองค์ เช่นที่ถ้ำหมายเลข 112 จิตรกรสมัยราชวงศ์ถังรังสรรค์ให้มีท่วงท่าพิสดารเหลือเกิน คือยืนย่อเข่าร่ายรำ แล้วยังอ้อมแขนกับเอื้อมมือไปดีดพิณจากด้านหลังด้วย เรียกว่าถ้าเป็นกีตาร์ก็ต้องระดับ "กีตาร์เทพ" หรือ "กีตาร์กูรู" ถึงจะดีดท่านี้ได้
    เหมือนอัปสราที่ปราสาทบายน ก็ยืนย่อเข่าเท้าเดียวแล้วร่ายรำ จนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตั้งชื่อให้ด้วยพระอารมณ์ขัน ไว้ในพระราชนิพนธ์ "เขมรสามยก" ว่า "ท่าผิดมนุษย์ม้วย" แต่ก็ด้วยความพิสดารพันลึกนี่เอง ที่ทำให้ภาพนางอัปสราดีดพิณจากถ้ำ 112 กลายมาเป็นรูปปั้นขนาดใหญ่ ประดับที่สี่แยกใจกลางเมืองตุนหวง จนดูเหมือนจะกลายเป็นภาพลักษณ์ของเมืองนี้ในสายตาชาวโลกไปเสียแล้ว
    ล่าสุด สำนักข่าวซินหัวของจีนรายงานว่า กว่าครึ่งของภาพเขียนบนผนังถ้ำโม่เกา 492 ถ้ำ กำลังถูกฝุ่นทรายกัดกร่อนอย่างหนัก เพราะความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำและป่าไม้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างร้อนรน เกินกว่าที่ธรรมชาติจะรับไหว จนนักธรณีวิทยาเตือนว่า บางจุดของถ้ำพุทธศิลป์โม่เกาความยาว 1.6 กม. อาจพังทลายลงมาในไม่ช้า ตราบใดที่รัฐบาลจีนยังเลือกอนุรักษ์การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างบ้าคลั่ง มากกว่าการอนุรักษ์มรดกทางอารยธรรมของชาวจีนและของโลก
    นึกแล้วก็ให้...วาวไสวใจสั่น หวั่นองค์อัปสรา มาแหลกลาญด้วยน้ำมือมนุษย์ก็ครานี้กระมัง?
    ชมรมท่องอุษาคเนย์ขอเชิญร่วมเดินทาง "สู่เมืองแมนที่ปลายฟ้า" (ลี่เจียง-จงเตี้ยน-แชงกรีล่า) วันที่ 9-13 พ.ค. สำรองที่นั่ง โทร.0-2637-7321-2, 08-1823-7373 เรื่องและภาพ...ธีรภาพ โลหิตกุล
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...