วิชชา ธรรมกาย ไม่ได้มาจาก วัดพระธรรมกาย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย jack5487, 28 มิถุนายน 2008.

  1. jack5487

    jack5487 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2006
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +186
    <TABLE><TBODY><TR><TD width="10%">[​IMG] </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 8px" class=username width="25%">โดย ดร. มนัส โกมลฑา
    มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน</TD></TR></TBODY></TABLE>

    วิชชา ธรรมกาย
    ไม่ได้มาจาก

    วัดพระธรรมกาย

    บทนำ
    บทความนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากบทความที่ผมเผยแพร่งานวิจัยเรื่อง
     
  2. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,159
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,349
    เห็นด้วยอย่างแรงเลยครับผม
     
  3. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ธรรมกาย คือ กายที่เป็นธรรม ปรากฎในพระไตรปิฏก หมายถึง พระนิพพาน ที่ไม่ขึ้นกับ รูป

    แต่ ธรรมกาย ที่กำลังสอนกันอยู่นี้ มันเป็นรูป เป็นนิมิต ที่เลือนหาย เปลี่ยนแปลงได้ ให้ไปดูร้อยคน ก็บรรยายไม่เหมือนกัน สิ่งที่เห็นแตกต่างกัน เพราะว่ามันเป็นนิมิต
    ถ้าอยากจะรู้ว่า สิ่งที่เราเห็นจริงหรือไม่ ก็ให้พรรณามาว่า สิ่งที่เห็นนั้นทุกคนเห็นเหมือนกันหรือไม่ ต้องทุกประการนะ

    ถ้าไม่เหมือนกัน แสดงว่า ไม่จริง สิ่งที่เห็นนั้น เป็นสัจธรรมสูงสุดหรือไม่ ตอบว่าไม่ เพราะสัจธรรมสูงสุดย่อมไม่มีอะไรแย้งได้ แต่นี่ ก็แย้งมามากมาย

    ธรรมหลวงปู่มั่นไม่เห็นมีใครแย้งได้สักคน แล้วเราจะไปหาธรรมที่ไม่ใช่ธรรม ทำไม มันเป็นเรื่องนิมิตหลอก

    นี่จะไปเป็นพวกมารกันหมด ทั้งดอกเตอร์ หมอ อะไรนี่ ฉลาดทางโลกแต่ไม่ฉลาดทางธรรมเลย

    อย่าฉลาดในทางโลกแต่โง่ในทางธรรม
     
  5. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,662
    ค่าพลัง:
    +9,236
    ถ้าไม่ผิดเพี้ยน ก็สับสนล่ะค่ะ
     
  6. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709

    OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO


    ที่เห็นไม่เหมือนกันในรายละเอียดบางประการ

    เพราะยังอาศัยอายตนะสุดท้ายคือ ใจ

    ถึงแม้เป็นใจที่สะอาดมากขณะนั้น ด้วยการกำจัดกิเลสในระดับต่างๆ


    แล้ว ...แต่ใจ ก็ยังเป็นใจ ที่ช่วยให้สัมผัสสภาวะสูงสุดได้ในช่วงที่

    สะอาดที่สุด



    แต่ตราบใด ไม่ทิ้งขันธ์ห้าสุดท้าย คือ วิญญาณธาตุ อันเป็นขันธ์สุดท้ายในขันธ์ห้า


    ก็ไม่อาจเป็น ธรรมขันธ์อันแท้จริง


    เมื่อกำจัดกิเลสอาสวะ สังโยชน์ ได้ตามส่วน ก็

    รู้ เห็น และ เป็น ธรรมขันธ์ได้จริง ตามส่วน


    ไม่ใช่แค่เห็นนะครับ ...แต่เข้าไปเป็นธรรมขันธ์ตามส่วน

    คือ ทรงสภาวะ การตัดสังโยชน์ได้ตามส่วน

    ในระดับใจที่ทรงสภาวะระดับขนิกะ อุปจาระ ที่ใจไม่หยุด ไม่นิ่ง

    ไม่ใสจริง มีการปรุงของ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ วิญญาณขันธ์ ค่อนข้างมาก ตรงนี้ จึงบิดเบือนไป เห็นไม่ตรงกัน



    จึงขอเสริม และ ขยายตรงนี้ ให้คุณขันธ์เพิ่มเติมครับ
     
  7. prinjaa

    prinjaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    101
    ค่าพลัง:
    +145
    เห็นด้วยค่ะ
     
  8. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    เมื่อละเอียดเสมอกัน จึงพบกัน


    ยกตัวอย่างเช่น ถ้าทำวิชชาเข้าสู่นิพพานขององค์พระบรมศาสดาองค์ปัจจุบัน

    ซึ่งเป็นสภาวะจริง โดยไม่นัดหมายกันล่วงหน้า

    ก็พบกายธรรมของอีกคนที่นั่นได้


    เมื่อต้องกลับมาที่ขันธ์ห้าคือ กายมนุษย์ตามเดิม โดยที่ใจในส่วนละเอียด
    ไม่สามารถทรงสภาวะ ตัดกิเลสบางตัวที่เป็นเครื่องกั้นสภาวะนิพพานได้

    ก็จะไม่เห็นกัน
     
  9. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    เอาธรรมที่เห็นเหมือนกันมาพูดสิ ว่า ตรงไหนที่เห็นเหมือนกัน

    มีไหม

    เอาภาพ เอาสมมติมาพูดทั้งนั้นนี่
     
  10. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    เพราะตรงกัน เลยไม่พูด
     
  11. จารุง นิ่มนวล

    จารุง นิ่มนวล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +105
    วิชาธรรมกาย

    ไม่เห็นจะโหลดได้เลยเข้าไปก็เก็บเงิน แล้วทำไมวิชาธรรมกายมีหลายกลุ่มจังหรือว่าความเห็นไม่ตรงกันหรือว่าชิงดีชิงเด่นกันแล้วจะเป็นแนวทางให้หลุดพ้นได้ไงครับพี่น้อง
     
  12. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    ฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯ

    ไม่ว่า สำนักไหน แนวไหน สายไหน

    ก็มีหลายกลุ่มเหมือนกันแหละครับ อย่างน้อยก็ขึ้นกับว่า เทคนิคการปฏิบัติของครูแต่ละท่าน ต่างกันบ้างตามจริต

    ครูอาจารย์สายอื่นๆ เช่นสายพระป่าหลวงปู่มั่น ฯลฯ ที่หลวงปู่สดท่านแนะนำให้รู้จักในนิมิตร

    ก็ได้พบตัวจริงหลังจากนั้น และหลวงปู่เหล่านั้นก็ยังกล่าวธรรมให้ฟังเป็นการยืนยัน


    ถ้าธรรมแห่งผลปฏิบัติไม่เข้าถึงกัน คงไม่มีเหตุการณ์แบบนี้


    ซึ่งไม่อาจอธิบายได้หมด นอกจากคุณ่จะได้สัมผัสถึงผลเหล่านี้เองบ้าง




    เป็นแนวทางหลุดพ้นได้ไง ก็ต้องเข้าถึง ผลการปฏิบัติบ้าง ก็ไม่ต้อง

    คิดมากเกินเหตุ จนเป็นมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม เลยครับ



    หรือ ถ้ามีเวลา ลองอ่านที่นี่ดู

    http://palungjit.org/showthread.php?t=132021
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 มิถุนายน 2008
  13. พระไตรภพ

    พระไตรภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,067
    ค่าพลัง:
    +7,521
    อะเนกะชาติสังสารัง สันธาวิสสัง อะนิพพิสัง
    เมื่อเรายังไม่พบญาณ, ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสงสารเป็นอเนกชาติ
    คะหะการัง คะเวสันโต ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง
    แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน, คือตัณหาผู้สร้างภพ,
    การเกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป
    คะหะการะกะ ทิฏโฐสิ ปุนะ เคหัง นะ กาหะสิ
    นี่แน่ะนายช่างปลูกเรือน, เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว,
    เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป
    สัพพา เต ผาสุกา ภัคคา คะหะกูฏัง วิสังขะตัง
    โครงเรือนทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว, ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว
    วิสังขาระคะตัง จิตตัง ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคา
    จิตของเราถึงแล้วซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป,
    มันได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา (คือ ถึงนิพพาน)
     
  14. พระไตรภพ

    พระไตรภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,067
    ค่าพลัง:
    +7,521
    ชะราธัมโมมหิ ชะรัง อะนะตีโต (อะนะตีตา)*
    เรามีความแก่เป็นธรรมดาจะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้
    พะยาธิธัมโมมหิ พยาธิง อะนะตีโต (อะนะตีตา)
    เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาจะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้
    มะระณะธัมโมมหิ มะระณัง อะนะตีโต (อะนะตีตา)
    เรามีความตายเป็นธรรมดาจะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้
    สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว
    เราจะละเว้นเป็นต่างๆ,
    คือว่าเราจะต้องพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวง
    กัมมัสสะโกมหิ กัมมะทายาโท กัมมะโยนิ
    กัมมะพันธุ กัมมะปะฏิสาระโณ (ณา)
    เรามีกรรมเป็นของๆ ตน, มีกรรมเป็นผู้ให้ผล, มีกรรมเป็นแดนเกิด,
    มีกรรมเป็นผู้ติดตาม, มีกรรมเป็นที่พึ่งมีอาศัย
    <SUP>
    * อภิณหัง อ่านว่า อะ - พิน - หัง
    </SUP>
    ยัง กัมมัง กะริสสามิ กัลฺยาณัง วา ปาปะกัง วา,
    ตัสสะ ทายาโท (ทา) ภะวิสสามิ
    เราทำกรรมอันใดไว้, เป็นบุญหรือเป็นบาป, เราจะเป็นทายาท,
    คือว่าเราจะต้องได้รับผลของกรรมนั้นๆ สืบไป
    เอวัง อัมเหหิ อะภิณหัง* ปัจจะเวกขิตัพพัง
    เราทั้งหลายควรพิจารณาอย่างนี้ทุกๆ วันเถิด
     
  15. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    [MUSIC]http://www.dhammakaya.org/wmp.asx[/MUSIC]


    http://www.dhammakaya.org/

    วัดหลวงพ่อสด ธรรมกายาราม
     
  16. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    [​IMG] OO จุดร่วม จุดสมานแห่งสายปฏิบัติธรรมสายต่างๆOO
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->หลังจากพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ศาสนจักรแบ่ง ช่วงละ 500 ปี หรือนัยหนึ่งเรียกว่า มั่นคงทั้งห้า ดังนี้

    1.วิมุติมั่นคง 500 ปีหลังพระปรินิพพาน สัทธรรมเฟื่องฟู ผู้คนมากด้วยกุศลมูล มั่นคงในศรัธา และบรรลุแจ้งด้วยปรมัตถ์กันมาก (ตั้งแต่ พ.ศ. 1 - 500)

    2.ฌานมั่นคง 500 ปีที่สองหลังพุทธกาล กุศลมูลของผู้คนด้อยลง การบำเพ็ญจึงหยุดอยู่ที่การฝึกณาน ฉะนั้นผู้ที่ฝึกสมาธิวิปัสสนาจึงมีมาก (จาก พ.ศ. 500 - 1000)

    3.สวนะมั่นคง 500ปีที่สาม กุศลมูลของผู้คนด้อยลงกว่าเดิมอีก ผู้บำเพ็ญธรรมรู้จักแต่หลักธรรม มากด้วยการค้นหาเหตุผล แต่น้อยคนที่จะปฏิบัติจริง ฉะนั้นจึงมีผู้สดับธรรมสวนะกันมาก (จาก พ.ศ. 1000 - 1500)

    4.วัดวาอารามมั่นคง 500ปีที่สี่ ช่วงนี้แม้คนที่ออกบวช ก็ไม่ยินดีในธรรมสวนะ รู้แต่จะสร้างวัด สร้างเจดีย์ สร้างเสนาสนะ เพื่อเชิดชูทัศนวิสัย หรือเพื่อสถานบำเพ็ญอยู่พักสบายในบรรพชิตแห่งตน (จาก พ.ศ. 1500 - 2000)

    5.ขัดแย้งมั่นคง 500ปีที่ห้า ช่วงนี้พุทธศาสนาเสื่อมลง ผู้บำเพ็ญต่างละทิ้งไตรสิกขา แต่กลับขัดแย้งชิงดีกัน ทำตัวนอกลู่นอกทาง ประพฤติผิดหลักธรรม (จาก พ.ศ. 2000 - 2500)

    ปัจจุบันนี้สองพันห้าร้อยกว่าปีหลังจากที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว เป็นวาระที่สัทธรรมเวียนกลับมารุ่งโรจน์อีกครั้งหนึ่ง วงล้อธรรมจักรกลับคืนสู่ยุคห้าร้อยปีแรก คือ วิมุติมั่นคง

    พระพุทธศาสนาทุกวันนี้ต่างก็ได้แยกเหล่า แยกนิกาย แยกสายไปทั่ว ดังที่เรารู้กันอยู่ทุกวันนี้ สายบุญนั้น สายบุญนี้ มีมากมายหลายสาย จนไม่รู้ว่าจะเดินไปสายไหน ไม่รู้ว่าทางสายไหนเป็นทางสายกลาง ถูกมรรค ถูกผล ถูกนิพพาน ในฝ่ายสัมมาทิฐิแต่ส่วนเดียว ซึ่งก็เป็นไปตามเรื่องของพงศ์เผ่าเหล่ากอ ที่ไม่ดูความเป็นจริงของธรรมชาติ มันถึงเวลาแล้วที่สายการปฏิบัติต่างๆ จะต้องรวมเป็นสายเดียวกัน คือ ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว ตามกฏแห่งกรรม โลกนั้นต้องอาศัยธรรม ธรรมนั้นต้องไม่ขัดกับโลก มีอยู่แต่ผู้อยู่ในโลกเท่านั้นที่ขัดกับธรรม
    <!-- / message --><!-- sig -->__________________
    บูชาพระธาตุข้าวบิ
     
  17. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->[​IMG]



    หลวงปู่ส ..... อ้าววันนี้ หลวงปู่พาหลวงปู่....มาแนะนำให้รู้จัก

    มาเรียนวิชานี้ (.......ฯลฯ ) กับท่านนะ



    เด็กชาย ป เอ ... หลวงปู่ ตั้งเยอะแยะ

    เห็นในข่าว ในทีวี ลูกศิษย์ว่ากันจังอะคับ

    แล้วทำไม่หลวงปู่ ไม่เห็นมาว่าอะไรกัน อะคับ


    หลวงปู่ ค. เอ้ย ไอ้หนู ใจมันถึงกัน

    เฮามันลูกพระพุทธเจ้าอย่างเดียวกัน

    ใจใครมันบ่ถึงกัน มันก็ว่าไปตามความคิดของมัน

    ปู่ เว่าบ่ได้ดอก ( พูดไม่ได้หรอก )


    เว่าไปแล้ว มันบ่ดีหยังขึ้นมา ( มันไม่มีอะไรดีขึ้นมา)

    ปู่ก็บ่เว่า ( ก็ไม่พูด)


    เวลาฟังธรรมพระพุทธเจ้า บ่มีใครนั่งแบ่งเขต แบ่ง

    พรรค แบ่งสายกันเด้อ ถ้ามีตั๋วต๋น มันก็แบ่งกันอยู่

    ( ตั๋วต๋น = ตัวตน )
    <!-- / message --><!-- sig -->__________________
     
  18. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    [​IMG] OO" อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่น.ไม่ใช่สิ่งง่ายเลย.."OO



    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->
    <TABLE width=550 border=0><TBODY><TR><TD>พระพุทธองค์ตรัสแก่พระอานนท์ ว่า

    อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย

    อานนท์ ผู้แสดง ( พระธรรมกถึก ) ก่อนแสดงธรรม พึงตั้งธรรม ๕ อย่างไว้ในตน แล้วจึงแสดง คือ

    ๑. จักแสดงธรรมตามลำดับ ไม่ตัดวรรคถ้อยความ
    ๒. จักแสดงโดยปริยาย อ้างเหตุผลให้ผู้ฟังเข้าใจ
    ๓. จักอาศัยความเอ็นดูแสดงธรรม ( มีความเมตตาปรารถนาดีต่อผู้ฟัง )
    ๔. จักไม่เห็นแก่อามิส ( หวังอยากได้ลาภผล )
    ๕. จักไม่กล่าวคำที่กระทบตนและผู้อื่น ( ไม่ยกตนข่มท่าน หรือใช้คำเสียดสี )


    ดังนั้นผู้ที่จะให้ธรรมทานพึงตั้งอยู่ในองค์คุณดังกล่าวมานี้ จะยังประโยชน์ใหญ่ อานิสงส์ยิ่งใหญ่ให้
    เกิดขึ้นกับผู้แสดงธรรมได้อย่างเต็มที่ ทำให้ผู้แสดงธรรมได้บุญกุศลมหาศาล ดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส
    สรรเสริญว่า " บุคคลให้ธรรมเป็นทาน โดยไม่ปรารถนาลาภสักการะ ย่อมมีอานิสงส์ประมาณมิได้ "

    ooooooooooooooooooo

    อานิสงส์ของผู้แสดงธรรม


    .......เมื่อใดก็ตามที่มีการแสดงธรรมและฟังธรรมเกิดขึ้น ย่อมเป็นมงคลอย่างยิ่งกับสังคมนั้นๆ เป็นนิมิต
    หมายว่าความสุข ความสงบร่มเย็นจะบังเกิดขึ้น ธรรมะจะขจัดบรรเทาปัญหาทั้งปวง เกิดเป็นกระแสแห่ง
    ความดีเข้าแทนที่ สรรค์สร้างให้สังคมนั้นเป็นสังคมที่มีคุณภาพ และเป็นฐานในการสร้างคนดี สร้างคน
    ให้มีหลักธรรมในการดำเนินชีวิต การแสดงธรรมจึงให้ประโยชน์ทั้งผู้แสดงธรรมเอง และผู้ฟังธรรมทั้ง
    หลายด้วย

    ในส่วนของผู้แสดงธรรมนั้น ย่อมเป็นที่ตั้งเป็นพื้นฐานของความดีทั้งหลาย จนถึงทำให้รู้แจ้งเห็นแจ้ง
    ในธรรมทั้งปวงได้ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า


    " ........ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ถ้า
    พระศาสดา หรือ เพื่อนพรหมจรรย์ของภิกษุ
    นั้นไม่ได้แสดงธรรมให้ฟัง แต่ภิกษุนั้นแสดง
    ธรรมตามที่ตนได้สดับเล่าเรียนมาให้ผู้อื่นฟัง
    โดยพิสดารด้วยประการใดๆ เธอย่อมเป็นผู้รู้
    แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรมด้วยประการนั้นๆ
    ปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถรู้แจ้ง
    ธรรม ปีติย่อมเกิดแก่เธอผู้มีความปราโมทย์
    กายของผู้มีความปีติย่อมสงบ ผู้มีการสงบ
    ( ปัสสัทธิ ) ย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีความสุข
    ย่อมตั้งมั่น

    ภิกษุทั้งหลาย วิมุตตายตนะ ( เหตุแห่ง
    ความหลุดพ้น ) อันเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่
    ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ ( มีใจส่ง
    ไปในธรรมนั้น ) ซึ่งยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น
    หรืออาสวะทั้งหลายยังไม่สิ้นย่อมถึงความสิ้นไป
    หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะอัน
    เยี่ยมยอดที่ยังไม่บรรลุ "


    ........จากพุทธดำรัสนี้ ทำให้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงผลานิสงส์ของการแสดงธรรมว่า ผู้ที่
    แสดงธรรมย่อมได้รับคุณความดีหลายอย่าง จนกระทั่งทำให้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะอันเยี่ยมยอดได้
    ความข้อนี้ผู้แสดงธรรมย่อมประจักษ์ชัดด้วยใจตนเอง เพราะทุกครั้งที่จะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น จิตของผู้แสดง
    ธรรมย่อมน้อมไปในธรรมนั้นด้วย จะโดยการที่ต้องทบทวน ท่องจำ ตรึกตรองทำความเข้าใจ เหล่านี้ล้วน
    เป็นการชำระใจให้สะอาดบริสุทธิ์ อันเป็นทางมาแห่งปัญญา แตกฉานในอรรถและธรรม เมื่อพิจารณา
    เห็นจริงตามธรรมนั้นจะรู้สึกปลาบปลื้มปีติใจ เป็นผลทำให้สามารถข่มกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ
    ความหลง ได้ขณะนั้น จึงเกิดความสงบกาย เป็นสุขสบายใจ ใจจึงตั้งมั่นเป็นสมาธิ และผลที่ยิ่งกว่านั้น
    คือทำให้ผู้ที่สั่งสมบุญมามากอาจจะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย สามารถบรรลุธรรมอันประเสริฐได้


    ดังนั้น การให้ธรรมทานจึงเป็นทานที่มีคุณค่า มีคุณประโยชน์อย่างยิ่ง และเป็นเลิศกว่าทาน
    ทั้งปวง เพราะทำให้ผู้ที่แสดงธรรม และผู้ฟังธรรมได้รับประโยชน์สุข คือความดีตั้งแต่เบื้องต้นจนถึง
    พระนิพพาน ดังกล่าวมานี้

    อย่างไรก็ตาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า " การที่ได้ฟังซึ่งพระสัทธรรม เป็นของอันบุคคล
    ได้โดยยาก " ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ

    ๑. ยากที่จะหาผู้เทศนาให้ฟัง คือ ต้องรอให้มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้แล้วแสดงธรรมเทศนาสั่งสอน
    หรือแม้จะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ธรรมและสั่งสอนแล้ว แต่ผู้ที่ได้ฟังหรือได้เล่าเรียนศึกษาไม่แตกฉานใน
    ธรรมวินัย เมื่อนำมาแสดงให้ผู้อื่นฟังก็ไม่เกิดความเข้าใจได้ จึงไม่เลื่อมใสศรัทธา

    ๒. ยากที่จะหาผู้เลื่อมใสในการฟังธรรม คือ คนมีนิสัยไม่อยากฟัง หรือแม้ได้ฟังก็ไม่ซาบซึ้งใน
    รสพระธรรม มีความเกียจคร้าน ฟุ้งซ่าน ง่วงเหงาหาวนอน หรือเกิดเป็นคนมิจฉาทิฏฐิพิการบ้าใบ้ หูหนวก
    หรือเกิดในอบาย ก็ไม่อยู่ในวิสัยที่จะฟังธรรมได้ จึงไม่สำเร็จประโยชน์ในการฟังธรรม


    ........พวกเราทุกคนเป็นผู้มีโชคดีอย่างยิ่ง ที่ได้เกิดในประเทศที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง และคำสอน
    ของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ยังมีผู้สืบทอดนำมาแสดงอยู่เสมอ แต่จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง หากผู้ที่ได้
    ศึกษาธรรมนั้นหมั่นศึกษาศิลปะการถ่ายทอดธรรมะ และฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้สามารถแสดงธรรมได้
    ซึ่งจะช่วยดำรงพุทธศาสนาให้คงอยู่อย่างมั่นคงต่อไป เพราะผลของการแสดงธรรมนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อ
    การดำรงอยู่ของศาสนาอีกด้วย ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้ว่า


    " ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้
    ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่เลอะเลือน ไม่
    เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเหล่านี้
    คือ

    ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียน
    ธรรม ( เรียนรู้พระไตรปิฎก )

    ๒. ภิกษุย่อมแสดงธรรมตามที่ฟังมา
    ตามที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิศดาร
    ( ให้ธรรมทานแก่คนจำนวนมาก )

    ๓. ภิกษุย่อมบอกธรรมตามที่ได้ฟังมา
    ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิศดาร ( การสนทนา
    ธรรมอย่างง่ายๆ )

    ๔. ภิกษุย่อมสาธยายธรรมตามที่ได้ฟัง
    มา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิศดาร
    ( อธิบายธรรมอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน )

    ๕. ภิกษุย่อมตรึกตรอง เพ่งด้วยใจ ซึ่ง
    พระสัทธรรมตามที่ได้ฟังและเล่าเรียนมาแก่ผู้
    อื่นโดยพิศดาร


    การให้ธรรมทานนั้นมีผลที่ยิ่งใหญ่ ทั้งในส่วนของผู้ให้และในส่วนของผู้รับ โดยผู้ให้ย่อมได้รับ
    อานิสงส์มากมาย ยิ่งกว่าการให้ใดๆ ดังกล่าวมาแล้ว ส่วนผู้รับนั้นย่อมได้รับความสุข ได้รับสมบัติซึ่ง
    เป็นที่พึ่งอันเกษม ดังเรื่อง เพชฌฆาตเคราแดง และเรื่องพระเจ้าปุกกุสาติ เป็นต้น หรือแม้แต่พระอริย-
    สาวกรูปอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ต่างได้เข้าถึงสภาวะของการหมดทุกข์โดยสิ้นเชิง ก็ด้วยอาศัยธรรมทาน
    ทั้งสิ้น

    ความสำคัญอีกประการหนึ่งของธรรมทาน คือ เป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ตลอด
    ระยะเวลาของการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในภพชาติต่างๆ นั้น พระพุทธองค์ทรงเป็นตัว
    อย่างของผู้ให้มาโดยตลอด ให้ตั้งแต่สิ่งที่เป็นอามิสทั้งหลาย จนกระทั่งเลือดเนื้อและชีวิต ท้ายที่สุดพระองค์
    ทรงให้ธรรมทาน คือพุทธศาสนา ซึ่งชาวพุทธทั้งหลายได้น้อมนำหลักธรรมนั้นมาถือปฎิบัติสืบทอดติดต่อ
    กันมาช้านานเกิดเป็นประโยชน์เกื้อกูลกัน และจะเป็นเช่นนี้ต่อไปตราบจนถึงที่สุดแห่งสังสารวัฏ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    [​IMG] OO เมื่อหลวงปู่ปาน ให้หลวงพ่อฤาษีเรียนกับหลวงปู่สด วัดปากน้ำ(ภาษีเจริญ)OO
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->หลวงพ่อฤาษีฯ ท่านเล่าว่า.........



    "อาตมาเองก็เป็นคนงมงายมาก่อน ในกาลก่อนใครพูดเรื่องนิพพานไม่เชื่อ นิพพานมีสภาพสูญ เขาว่าอย่างนั้น ต่อมา หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งเป็นอาจารย์ ท่านเห็นว่า เรามีสันดานชั่วละมั้ง ก็ส่งให้ไปหา หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ไปเรียนกับหลวงพ่อสดประมาณ ๑ เดือน ก็ทำได้ตามสมควร เรียกว่าพื้นฐานมีอยู่แล้ว ต่อมาวันหนึ่งประมาณ เวลา ๖ ทุ่มเศษ หลังจากทำวัตร สวดมนต์ เจริญกรรมฐานกันแล้ว หลวงพ่อสดท่านก็คุยชวนคุย คนอื่นเขากลับหมด ก็อยู่ด้วยกันประมาณ ๑๐ องค์ วันนั้น ท่านก็บอกว่าฉันมีอะไรจะเล่าให้พวกคุณฟัง คือ พระที่ไปถึงนิพพานแล้ว มีรูปร่างเหมือนแก้วหมด ตัวเป็นแก้ว เราก็นึกในใจว่าหลวงพ่อนี่ไปมากแล้ว นิพพานเขาบอกว่ามีสภาพสูญ แล้วทำไมจะมีตัวมีตน

    แล้วท่านก็ยังคุยต่อไปว่า นิพพานนี้เป็นเมือง แต่ว่าเป็นทิพย์พิเศษ เป็นทิพย์ที่ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก มีพระอรหันต์มากมาย คนที่ไปนิพพานได้ เขาเรียกว่า พระอรหันต์ จะตายเมื่อเป็นฆราวาสจะตายเมื่อเป็นพระก็ตาม ต้องถึงอรหันต์ก่อน เมื่อถึงอรหันต์ก่อนแล้วก็ตาย ตายแล้วก็ไปอยู่ที่นั่น ร่างกายเป็นแก้วหมด เมืองเป็นแก้ว สถานที่อยู่แพรวพราวเป็นระยับ อาตมาก็นึกในใจว่าหลวงพ่อนี่ไปเยอะ ตอนก่อนก็ดี สอนดี มาตอนนี้ชักจะไปมากเสียแล้ว

    แต่ก็ไม่ค้าน ฟังแล้วก็ยิ้ม ๆ ท่านก็คุยต่อไปว่า เมื่อคืนนั้น ขี่ม้าแก้วไปเมืองนิพพาน (เอาเข้าแล้ว) แล้วต่อมาคุยไปคุยมาท่านก็บอกว่า (ท่านคงจะทราบ ท่านไม่โง่เท่าเด็ก เพราะพระขนาดรู้นิพพานไปแล้ว อย่างอื่นก็ต้องรู้หมด แต่ความจริงคำว่า รู้หมด ในที่นี้ บรรดาท่านพุทธบริษัท ไม่ใช่รู้เท่าพระพุทธเจ้า แต่ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่ควรจะรู้ ก็สามารถรู้หมด)

    ท่านก็เลยบอกว่า เธอดูดาวงดวงนี้นะ ดาวดวงนี้สุกสว่างมาก ประเดี๋ยวฉันจะทำให้ดาวดวงนี้ริบหรี่ลง จะค่อย ๆ หรี่ลงจนกระทั่งไม่เห็นแสงดาว ท่านชี้ให้ดู แล้วก็มองต่อไป ตอนนี้เริ่มหรี่ ละ ๆ แสงดาวก็หรี่ไปตามเสียงของท่าน ในที่สุด หรี่ที่สุด ไม่เห็นแสงดาว ท่านถามว่า เวลานี้ทุกคนเห็นแสงดาวไหม ก็กราบเรียนท่านว่า ไม่เห็นแสงขอรับ ท่านบอกว่า ต่อนี้ไป ดาวจะเริ่มค่อย ๆ สว่าง ขึ้นทีละน้อย ๆ จนกระทั่งถึงที่สุด แล้วก็เป็นไปตามนั้น

    พอท่านทำถึงตอนนี้ก็เกิดความเข้าใจว่า ความดีหรือวิชาความรู้ที่เรามีอยู่ มันไม่ได้ ๑ ในล้านที่ท่านมีแล้ว ฉะนั้นคำว่านิพพานจะต้องมีแน่ ท่านมีความสามารถอย่างนี้เกินที่เราจะพึงคิด ครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ที่ศึกษามาในด้านกรรมฐานก็ดีหรือที่คุยกันมาก็ดี นี่ท่านรู้จริง ท่านก็ไม่ปฏิเสธเรื่องนิพพาน คำว่านิพพานสูญท่านไม่ยอมพูด ไปถามท่านเข้าว่านิพพานสูญรึ ท่านนิ่ง ในที่สุดก็ไปถาม ๒ องค์ คือ หลวงพ่อปาน กับหลวงพ่อโหน่ง ถามว่านิพพานสูญรึ ท่านตอบว่า ถ้าคนใดสูญจากนิพพาน คนนั้นก็เรียกว่านิพพานสูญ แต่คนไหนไม่สูญจากนิพพาน คนนั้นก็เรียกนิพพานไม่สูญ ก็รวมความว่า นิพพานไม่สูญแน่

    ทีนี้ต่อมา หลวงพ่อสดท่านก็ยืนยันเอาจริงเอาจัง ต่อมาท่านก็สงเคราะห์คืนนั้นเอง ท่านก็สงเคราะห์บอกว่า เรื่องต้องการทราบนิพพาน เขาทำกันอย่างนี้ ท่านก็แนะนำวิธีการของท่าน รู้สึกไม่ยาก เพราะเราเรียนกันมาเดือนหนึ่งแล้ว ตามพื้นฐานต่าง ๆ ท่านบอกว่าใช้กำลังใจอย่างนี้ เวลาผ่านไปประมาณสัก ๑๐ นาที รู้สึกว่านานมากหน่อย ทุกคนก็ไม่ปฏิเสธเรื่องนิพพานมีจริง เห็นนิพพานเป็นแก้ว แพรวพราวเป็นระยับ พระที่นิพพานทั้งหมด เป็นแก้วหมด แต่ไม่ใช่แก้วปั้น เป็นแก้วเดินได้ คือแพรวพราวเหมือนแก้ว สวยงามระยับทุกอย่างที่พูดนี้ยังนึกถึงบุญคุณหลวงพ่อ สดท่านยังไม่หาย ท่านมีบุญคุณมาก

    รวมความว่า เวลานั้นเรายังเป็นคนโง่ อาจจะมีจิตทึมทึก แต่ความจริงขอพูดตามความเป็นจริงเวลานั้นจิตไม่ดำ จิตใสเป็นแก้ว แต่ความแพรวพราวของจิตไม่มีการใสเป็นแก้วนั้น เวลานั้นเป็นฌานโลกีย์ ฌานสูงสุด ใช้กำลังเฉพาะเวลานะ ฌานโลกีย์นี้เอาจริงเอาจังกันไม่ได้ จะเอาตลอดเวลานี้ไม่ได้ เพราะอยู่ต่อหน้าครูบาอาจารย์ แล้วท่านก็สั่งว่า หลังจากนี้ต่อไป ทุก ๆ องค์ จงทำอย่างนี้จิตต่อให้ถึงนิพพานทุกวัน ตามที่จะพึงทำได้ อย่างน้อยที่สุด จงพบนิพพาน ๒ ครั้ง คือ ๑. เช้ามืด และประการที่ ๒. ก่อนหลับ หลังจากนี้ไป เธอกลับไปแล้ว ทีหลังกลับมาหาฉันใหม่ ฉันจะสอบ

    เมื่อได้ลีลามาอย่างนั้นแล้วก็กลับ มาหาครูบาอาจารย์เดิม คือ หลวงพ่อปาน พอขึ้นจากเรือก็ปรากฏว่าพบหลวงพ่อปานอยู่หน้าท่า ท่านเห็นหน้าแล้วท่านก็ยิ้ม ว่าอย่างไรท่านนักปราชญ์ทั้งหลาย เห็นนิพพานแล้วใช่ไหม ตกใจ ก็ถามว่า หลวงพ่อทราบหรือครับ บอก เออ ข้าไม่ทราบหรอก วะ เทวดาเขามาบอก บอกว่าเมื่อคืนที่แล้วมานี่ หลวงพ่อสดฝึกพวกเอ็งไปนิพพานใช่ไหม ก็กราบเรียนท่านบอกว่า ใช่ขอรับ ท่านบอกว่า นั่นแหละ เป็นของจริง ของจริงมีตามนั้น หลวงพ่อสดท่านมีความสามารถพิเศษในเรื่องนี้
    ก็ถามว่า ถ้าหลวงพ่อสอนเองจะได้ไหม ท่านก็ตอบว่า ฉันสอนเองก็ได้ แต่ปากพวกเธอมันมาก มันพูดมาก ดีไม่ดีพูดไปพูดมา งานของฉันก็มาก งานก่อสร้างก็เยอะ งานรักษาคนเป็นโรคก็เป็นประจำวัน ไม่มีเวลาว่าง ถ้าเธอไปพูดเรื่องนิพพาน ฉันสอนเข้าฉันก็ไม่มีเวลาหยุด เวลาจะรักษาคนก็จะไม่มี เวลาที่จะก่อสร้างวัดต่าง ๆ ก็ไม่มี ฉันหวังจะสงเคราะห์ในด้านนี้ จึงได้ส่งเธอไปหาหลวงพ่อสด ก็ถามว่า หลวงพ่อสดกับหลวงพ่อรู้จักกันดีรึ ท่านก็ตอบว่า รู้จักกันดีมาก เคยไปสอบซ้อมกรรมฐานด้วยกัน สอบกันไปสอบกันมาแล้ว ต่างคนต่างต้นเสมอกัน ก็รวมความว่ากำลังไล่เรื่อยกัน บรรดาท่านพุทธบริษัท นี่เป็นจุดหนึ่งที่อาตมาแสดงถึงความโง่กับครูบาอาจารย์์........."


    OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO
    ปล...ผมจำชื่อหนังสือ ของหลวงพ่อฤาษีไม่ได้ เล่มไหน หน้าอะไร สำเนาไว้เฉพาะเนื้อเรื่อง

    ท่านที่ทราบกรุณาบอกรายละเอียดด้วยครับ....
    เป็นพระคุณอย่างสูง เพื่อท่านที่สนใจ จะศึกษาต่อ
     
  20. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035
    ธาตุมารนั้นมีอานุภาพมากนักหนา
    มากจนมนุษย์ธรรมดาคาดไม่ถึงตามไม่ทัน
    รู้เห็นก็ปิดได้ บิดได้ หลอกได้หมด

    ศิษสายหลวงพ่อสดทุกคนทุกสายกรุณาฟัง
    หากท่านมีศรัทธาเลื่อมใสในครูอาจารย์ท่านใด
    ก็จงปฏิบัติตามท่านนั้นให้จงดีเถิด
    และอย่าได้ว่าร้ายกัน อย่าได้พยายามชี้แจงออกมาว่าใครดีกว่าใคร เ

    อย่านำเอาสิ่งที่ผู้อื่นรู้เห็นมา นำมาบอกต่ออย่างไม่จำกัดกลุ่ม
    เพราะความรู้นั้นอาจถูกหลอกรู้มาอีกที
    กรรมจะตกกับผู้รู้ไม่ทันกลมาร


    เมื่อใดเราอยากบอกว่าสายนั้นดีกว่าสายโน้น
    สายนั้นไม่ดี
    นั่นหมายถึงเราตกอยู่ในผังแตกแยก ของมารแล้ว


    ดังนั้นหากรักเครพหลวงพ่อสดจงอย่าเปรียบเทียบ
    ครูอาจารย์ของตนกับครูของคนอื่น

    จะเชื่อใครก็ไปตามนั้น อย่าพูดมาก เพราะมันเป็นกรรมสัมพันธ์กันมา

    เป็นครูกันมาหลายชาติ และเราเป็นผู้เลือกครูของเราเอง
    และครูบาอาจารย์แต่ละท่านก็มีปนิธานในการสร้างบารมีไม่เหมือนกัน ต้องใช้บารมีไม่เท่ากัน จึงมีวิถีต่างกันไป


    พูดมากมีแต่เสีย เสียถึงหลวงพ่อสดด้วย

    ดังนั้นหวังว่าสายหลวงพ่อแท้ๆ จะไม่มาหลงกับกระทู้ล่อเป้านี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มิถุนายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...